สิ่งประดิษฐ์หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย นางทุมมา แสนทวีสุข นายสว่าง ธนะพัตร นางส่องศรี สมศรี นางบานเย็น แสนทวีสุข นางหนูเล็ก นามบุญ ที่ปรึกษา นางญาณิศา โมทอง ครูชำนาญการ นายนิรันดร ยิ่งยืน ครู นายชาคริต โพธิ์งาม ครูอาสาสมัครฯ นางสาวฐิติมาส รอดพร้อม ครูอาสาสมัครฯ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอพิบูลมังสาหาร สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุบลราชธานี
บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยจำนวนผู้สูงอายุจะอยู่ราวร้อยละ 20-30 และยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสูงเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้น ไปร้อยละ 28 ในปี พ.ศ. 2574 ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ ที่มักมีอาการปวดเมื่อย และพบบ่อย ที่สุด คือ ปวดบริเวณ หลัง คอ เอว น่อง และตามข้อต่างๆ กลุ่มผู้สูงอายุตำบลอ่างศิลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพกายผู้สูงอายุจึงมีแนวคิดใน การนำวัสดุอุปกรณ์ธรรมชาติ คือ หินกรวดอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ทำเป็น “สิ่งประดิษฐ์หินกรวดนวดเท้าเพื่อ ช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ” มาเป็นเครื่องมือช่วยนวด เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนวดผ่อนคลาย ลด อาการปวดเมื่อยด้วยตนเองได้โดยได้รับคำปรึกษาจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอพิบูลมังสาหาร จุดประสงค์ของโครงงาน 1 .เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณเท้าของผู้สูงอายุ 2. เพื่อสร้างทางเลือกในการนวดเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ การตั้งสมติฐาน (Hypothesis) สมมติฐาน คือ หากใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุนวดบริเวณที่ปวด เมื่อย จะสามารถนวดด้วยตนเองได้อย่างสะดวก ช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงวัยได้และสร้างทางเลือกใน การนวดเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ตัวแปร ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ การนวดด้วยมือและหินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วย เสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ กล้ามเนื้อบริเวณที่นวดจะรู้สึกผ่อนคลายช่วยลดอาการปวดเมื่อย ของผู้สูงวัยได้ ตัวแปรควบคุม (Controlled variable) คือ ระยะเวลาในการนวด
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า 1.กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุตำบลอ่างศิลา ตำบลอ่างศิลาอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี 2.สถานที่ ชมรมผู้สูงอายุตำบลอ่างศิลา ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 3.ระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม - กรกฎาคม 2566) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ที่สามารถนวดผ่อน คลาย ช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงวัยได้ 2.ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่สร้างมูลค่าทางสังคมในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้สามารถอยู่กับ ครอบครัว และชุมชน ได้อย่างมีความสุข 3.สามารถเป็นแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 4.สามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดการประกอบอาชีพอื่นในชุมชนและภายนอกชุมชนได้
บทที่ 2 เอกสาร/ทฤษฎี/หลักการที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร/ทฤษฎี/หลักการที่เกี่ยวข้องกับการทำหินกรวดนวดเท้า เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุดังนี้ 1. นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation) 2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3 การนวดผ่อนคลายเพิ่มการไหลเวียนของเลือด 4.วิทยาศาสตร์ในการนวดและการประคบ 1. นวัตกรรมการเรียนรู้(Learning Innovation) “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็น การพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วย ให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และ ถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้ 1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย 2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ 3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการ พัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมา ใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 2.1 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือ ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์ จะต้อง อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา แต่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ นำมาใช้แต่ละคนมีขั้นตอนที่แตกต่างกันบางคนแบ่งเป็น 4 ขั้น บางคนแบ่งเป็น 5 ขั้น และบางคนแบ่งเป็น 6 ขั้น ซึ่งในการจัดขั้นต่าง ๆ ก็มีการสลับลำดับกันบ้าง เช่น ขั้นที่ 1. การสังเกต รวมทั้งการบันทึกข้อมูล ขั้นที่ 2. การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ขั้นที่ 4. การสรุปผล อีกแบบหนึ่ง มีผู้แบ่งไว้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1. ตั้งปัญหา ขั้นที่ 2. เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง ขั้นที่ 3. สร้างสมมติฐาน ขั้นที่ 4. ทดลองพิสูจน์ ขั้นที่ 5. สรุปผล อย่างไรก็ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ยังมีผู้แบ่งเป็น 6 ขั้น ก็มี แต่พบว่าประเด็นที่สำคัญจะมีลักษณะ ที่คล้ายคลึงกันมาก จะแตกต่างกันเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น 2.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญและความสามารถในการใช้ การคิดและ กระบวนการคิดเพื่อค้นหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ กระบวนการคิดและเรียนรู้รวมทั้งการ จินตนาการเป็นผลของการคิดเฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเจริญ รวดเร็วในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงอายุ 7 – 12 ปี สมองส่วนนี้คิดเชิงวิเคราะห์ สร้างมโนทัศน์ และภาษา ส่วนสมองซีกขวาเจริญในอัตราสูงและเด่นชัดในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ทำหน้าที่คิดเชิงจินตนาการ สร้างสรรค์ สังเคราะห์และความคิดเชิงเทียบเคียง การส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นการ รับรู้โดยผ่านระบบประสาทสัมผัสทุกระบบ กระตุ้นการคิดของสมองทั้งการคิดพื้นฐานทุกกระบวนการคิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความจำและภาษา หรือความคิดเชิงพหุปัญญาของสมองทั้งรายคนและแบบ กลุ่ม จัดกิจกรรมที่ยั่วยุ ท้าทายการคิดค้น ของระบบประสาทและสมอง ครูต้องเตรียมกิจกรรมการสอนอย่าง
หลากหลาย เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้สมองคิด เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้เพียงพอ เรียนร่วมกับเด็ก เพื่อศึกษา แบบการเรียนรู้ของเด็ก ครูคิดหาเทคนิคการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ เสมอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นหัวใจที่สำคัญของกระบวนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่ง แบ่งออกเป็น 13 ทักษะด้วยกัน คือ สมาคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ( American Association for the Advancement of Science-AAAS) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ ทักษะพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้น ( Basic Science Process Skill) ประกอบด้วย 8 ทักษะ ได้แก่ ทักษะที่ 1-8 ทักษะขั้นบูรณาการ หรือ ทักษะขั้นสูง ( Intergrated Science Process Skill) ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะที่ 9-13 3. การนวดผ่อนคลายเพิ่มการไหลเวียนของเลือด การนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ถือเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกัน ผู้ป่วยติดเตียงจากอาการยึดติดของกล้ามเนื้อ ถือเป็นวิธีการเสริมที่ใช้ควบคู่กับ การทำกายภาพบำบัด ได้เป็น อย่างดี เพราะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การใช้ชีวิตส่วนใหญ่จึงอยู่บนเตียง ซึ่งส่งผล ให้ผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า ปวดตึง ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายติดขัด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับอีก ด้วย ผู้ดูแลจึงควรหาตัวช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยตึงต่าง ๆ และหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม คือ การนวด การนวด เป็นทักษะที่ติดตัวเรา ตัวอย่างที่สามารถพูดถึงได้ คือ เมื่อเราประสบอุบัติเหตุ เช่น ข้อเท้า พลิก แน่นอนว่าจะมีอาการปวดที่ข้อเท้า เราจะเห็นว่า จะมีการนวดคลึงที่ข้อเท้าด้วยตนเอง ณ ตำแหน่งที่ปวด หรือ เมื่อเรามีอาการปวดท้อง เราก็มักจะเห็นการกดบีบเพื่อบรรเทาอาการ ดังนั้นการนวดจึงไม่ใช่สิ่งที่ยาก เกินไป ไม่ซับซ้อน แต่หากต้องการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ได้ผลมากที่สุด จึงเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และ ฝึกฝน โดยการนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อน นวด และการเตรียมตัว การทำความเข้าใจก่อนนวด และการเตรียมตัว ก่อนนวด ผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องเข้าใจก่อนว่า เนื้อเยื่อผู้ป่วยไม่ได้แข็งแรง ง่ายต่อการบาดเจ็บ ดังนั้น การนวดจึงต้องนิ่มนวล ไม่ออกแรงเพื่อเอาชนะหรือบี้ขยี้เพื่อให้หายปวด เราต้องคิดเสมอว่า เรามีหน้าที่ในการ ดูแล เข้าใจ และมีความปรารถนาดี ไม่ใช่การบีบเค้น หรือใช้แรงเพียงอย่างเดียว แรงนวดที่ใช้ต้องพอประมาณ การออกแรงนวด กด คลึง ต้องเริ่มจากเบา ๆ ก่อน แล้วถึงค่อย ๆ เพิ่ม ไม่ใช่กดลงไปด้วยแรงเต็มที่ ต้องค่อยๆ เพิ่มแรง เมื่อแรงพอเหมาะแล้วถึงค่อยรักษาแรงให้คงที่ตลอดการนวด และเมื่อต้องถอนแรงออก จาก ณ ตำแหน่งที่นวด ให้ค่อยๆ ถอนแรงออก ไม่ชักมือหรือนิ้วขึ้นทันที
การนวดในผู้ป่วยติดเตียง เรามีวัตถุประสงค์ เพื่อผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนเลือด และยังช่วยในการ ลดอาการตึงเกร็งได้ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ ผู้ดูแลสามารถใช้ครีม โลชั่น ในกลุ่มบำรุงผิว เพื่อลดความฝืดในการนวดได้ และยังสามารถช่วยเพิ่ม ความชุ่มชื้นของผิวผู้ป่วยได้ เพื่อประโยชน์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ อย่างไรก็ตามควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันนวดที่ฤทธิ์รุนแรง เผ็ดร้อนมาก ๆ เพราะอาจทำให้ผิวของผู้ป่วยแสบไหม้เป็นแผลได้ สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ร่างกายผู้ป่วยด้านที่อ่อนแรงจะมีการตึงเกร็ง หรือไม่ก็อ่อนแรง มีการเคลื่อนไหว น้อย แน่นอนว่าย่อมมีการยึดติดแข็งของข้อต่อ มีการตึงแข็งเป็นลำของกล้ามเนื้อ และมีอาการตึงปวดเมื่อย 4.วิทยาศาสตร์ในการนวดและการประคบ การนวด หมายถึง การกระทำด้วยมือต่อเนื้อเยื่อของร่างกายอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลต่อระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหายใจ และทำให้การหมุนเวียนของโลหิตและการ ถ่ายเทของน้ำเหลืองทั้งเฉพาะที่และทั่วไปดีขึ้น ประเภทของการนวด แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1) การนวดเพื่อแก้ไขระบบลมปราณ การนวดประเภทนี้มีแนวคิดแบบตะวันออกที่ว่า ร่างกายคนคือ องค์ประกอบแห่งดุลยภาพของธาตุต่าง ๆ เป็นดุลยภาพระหว่างธาตุร้อนและเย็น ภายนอกและภายใน หรือ กายและจิตใจ ธาตุในร่างกายคนยังโคจรแปรเปลี่ยนสู่กันและกัน ผ่านเส้นสิบของไทยหรือจิวโหลวทั้ง 14 ของ จีน สิ่งที่โคจรเป็นพลังผลักดันการดำรงชีพประจำวันของร่างกายคือ เลือดลมของไทย ชี่ของจีน และคิของญี่ปุ่น ที่มักเรียกโดยรวมว่า พลังชีวิตหรือพลังลมปราณ ยามใดที่ธาตุต่าง ๆ มีดุลยภาพ เส้นสายเดินสะดวก ร่างกายก็ ปกติ แต่ถ้ายามใดที่ธาตุต่าง ๆ เสียดุล เลือดลม ชี่ หรือคิเดินไม่สะดวกก็จะทำให้เกิดโรค ตัวอย่างการนวด ประเภทนี้ ได้แก่ การกดจุด การนวดแบบญี่ปุ่น การนวดแบบไทย 2) การนวดเพื่อแก้ไขโครงสร้างของร่างกาย การนวดประเภทนี้มีแนวคิดว่า ร่างกายมีลักษณะคล้าย เครื่องยนต์ และเลือกพิจารณาแก้ไขส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเท่าที่มองเห็นด้วยตาและวัดระดับการทำงานได้ แน่นอนเท่านั้น ตัวอย่างการนวดประเภทนี้ ได้แก่ การนวดแบบสวีดิช ออสทีโอพาธี ไคโรแพรคติก เป็นต้น การ นวดแบบสวีดิชมุ่งเน้นที่การคลายกล้ามเนื้อที่ตึงโดยการลูบ คลึง บิด ทุบ และต้องทำบนผิวเนื้อโดยตรง และใช้ น้ำมันหรือแป้งเข้าช่วยให้หล่อลื่น เพื่อให้นวดสะดวก อีก 2 วิธี คือ ออสทีโอพาธีและไคโรแพรคติก เชื่อว่าการ ทำงานผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดจากการบิดหรือเคลื่อนของกระดูกบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระดูกสันหลัง สองวิธีนี้มุ่งใช้วิธีการดัดหรือบิดกระดูกสันหลังให้เข้าที่เป็นส่วนใหญ่ 3) การนวดแบบผสมผสาน เป็นการนำวิธีแบบตะวันออกและตะวันตกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดย เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกอย่างประกอบด้วยการรวมตัวกันของอะตอมจำนวนหนึ่ง ภายในอะตอมแต่ละตัวจะมีการสั่น ไหว ส่งพลังและความร้อนออกมาคล้ายคลื่น การนวดประเภทนี้จึงมุ่งส่งเสริมการไหลเวียนของพลังชีวิตและ ปรับปรุงโครงสร้างของร่างกาย ตัวอย่างกานวดประเภทนี้ ได้แก่ ไรเดียนเทอราปี โพลาริตี้ การนวดแบบไรเดีย นเทอราปี เป็นการนำการนวดและการทำจิตบำบัดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ส่วนการนวดแบบโพลาริตี้เป็นการ
นวดที่ให้ความสำคัญกับการจัดโครงสร้างของร่างกายไปพร้อม ๆ กับการช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของพลัง ชีวิต โดยได้รับแนวคิดมาจากอินเดียและโยคะ 4.1 ความเป็นมาของการนวดไทย จากประวัติศาสตร์ไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาจึงถึงรัชกาลที่ 5 และ 6 หมอนวดที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ได้แก่ หมออินเทวดา เป็นหมอนวดในราชสำนักการนวดโดยทั่วไปมี 2 สาย คือ การนวดสายราชสำนัก และการนวดสายเชลยศักดิ์ การนวดสายราชสำนักเป็นการนวดที่ใช้ในพระราชวัง และใช้นวดด้วยนิ้วมือเท่านั้น ส่วนการนวดสายเชลยศักดิ์จะใช้ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากมือ เช่น ศอก ท่อน แขน สันเท้า ดัดตัว เป็นต้น และมักใช้เวลาในการนวดมาก 4.2 ลักษณะของการนวดแบบไทย การกด เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ เลือดจะถูกขับออก จากหลอดเลือดและไหลมาเลี้ยงในบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำหน้าที่ได้ดี ช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็วขึ้น ข้อควรระวังในการกด คือ ถ้ากดนานเกินไปหรือหนักเกินไปจะทำให้หลอดเลือด เป็นอันตรายได้ การคลึง เป็นการใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วมือหรือสันมือออกแรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไปมาหรือ คลึงเป็นวงกลม ข้อควรระวัง คือ การคลึงที่รุนแรงมากอาจทำให้เส้นเลือดฉีกขาดหรือถ้าคลึงถูกเส้นประสาท อาจทำให้รู้สึกเสียวแปล๊บ และทำให้เส้นประสาทอักเสบได้ การบีบ เป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือ แล้วออกแรงบีบที่กล้ามเนื้อ เป็นการเพิ่มการไหลเวียนเลือด มายังกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายจากอาการเมื่อยล้า ข้อควรระวัง คือ หากบีบนานเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อช้ำ การดึง เป็นการออกแรงเพื่อที่จะยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไปออก ในการดึงข้อต่อมักได้ยินเสียงลั่นในข้อ ซึ่งแสดงว่าการดึงได้ผลและไม่ควรจะดึงต่อไปอีก ข้อควรระวัง คือ อาจ ทำให้เส้นเอ็นหรือพังผืดที่ฉีกขาดอยู่แล้วขาดมากขึ้น การบิด เป็นการออกแรงเพื่อหมุนข้อต่อหรือกล้ามเนื้อให้ยืดออกทางขวาง ควรระมัดระวังเช่นเดียวกับ การดึง การดัด เป็นการออกแรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ปกติ การดัดต้องออกแรงมากและค่อนข้าง รุนแรง จึงต้องระวังในการทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด หรือการทำให้กระดูกหักในผู้สูงอายุ การทุบ การสับ หรือการตบตี เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ การเหยียบ เป็นการให้เด็กหรือผู้นวดขึ้นไปเหยียบหรือเดินอยู่บนหลัง ซึ่งเป็นท่านวดที่อันตรายมาก 4.3 ผลการนวดต่อระบบไหลเวียน ผลการนวดต่อระบบการไหลเวียนในเชิงวิชาการ ผลการนวดต่อระบบการไหลเวียนเลือด เมื่อหลอดเลือดถูกกด เลือดในหลอดเลือดจะไหลไปข้างหน้า หรือเข้าสู่หัวใจ และเลือดที่อยู่ข้างหลังเข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับน้ำเหลือง ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่ถูกรักษาด้วยการ นวดมีเลือดที่สดและใหม่มาเลี้ยงเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังชะลอความเสื่อมของร่างกายและเพิ่มเมแทบอลิซึมบริเวณนั้น
ผลการนวดต่อการไหลเวียนของน้ำเหลือง การนวดช่วยให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองตามผิวหนังและเนื้อเยื่อ ใต้ผิวหนังดีขึ้น ช่วยให้การดูดซึมของเสียดีขึ้น และใช้รักษาอาการบวมได้ด้วย 4.4 ผลการนวดต่อระบบประสาท การนวดมีผลต่อระบบประสาททั้งเซลล์ประสาท ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ กล่าวคือ การนวดทำให้ตัวเซลล์ประสาทในเส้นประสาทที่ถูกตัดขาดมีการสร้างประสาทส่วนปลายขึ้นใหม่ ภายหลังการนวดและช่วยออกกำลังกายอวัยวะส่วนนั้น อีกทั้งการนวดยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เพราะการนวดทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ กลไกการเกิดอาการปวดความเจ็บปวดเป็นความรู้สึกไม่สุขสบายหรือทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บ อันเกิดจากการทำหน้าที่ของระบบประสาทที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาทำลายเซลล์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทาง เคมีของเซลล์ประสาทและเกิดกระแสประสาท ส่งผ่านไปยังประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้นั้นเกิดการรับความรู้สึก และเกิดการตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นอันตราย อาการปวดมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง กลไกการเกิดความ เจ็บปวดมี 4 ขั้นตอน คือการเหนี่ยวนำให้เกิดสัญญาณประสาท สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด มี 3 ชนิด คือ แรงกล อุณหภูมิและสารเคมี ความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันเกิดจากกระตุ้นของแรงกลอย่างแรง ความร้อนสูง หรือความเย็นจัด ส่วนความเจ็บปวดแบบเรื้อรังเกิดจากการกระตุ้นทั้งแรงกล อุณหภูมิและสารเคมี เมื่อเซลล์ ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าจนบาดเจ็บและปล่อยสารเคมี คือ พรอสตาแกลนดิน ฮิสตามีน ซีโรโตนิน แบรดีไค นิน แลกเทต โพแทสเซียมไอออนและไฮโดรเจนไอออนออกมา สารเคมีเหล่านี้จะไปกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวด ที่ปลายประสาทอิสระที่แผ่กระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อเกือบทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่าน ไปตามใยประสาทรับความรู้สึกการส่งผ่านกระแสประสาท เมื่อตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดส่งกระแสประสาทไป ตามใยประสาทนำเข้า เข้าสู่ไขสันหลัง ซึ่งใยประสาทนำเข้า มี 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คือ ใยประสาทเอเดลตา รับ ความรู้สึกได้รวดเร็ว รุนแรง นำความรู้สึกเจ็บปวดครั้งแรก แบบปวดแปล๊บ เหมือนเข็มแทง บอกตำแหน่งได้ ชัดเจนแต่ปวดไม่นาน กลุ่มที่ 2 คือ ใยประสาทซี นำความรู้สึกแบบตื้อ ๆ ปวดแสบปวดร้อน บอกตำแหน่งปวด ได้ไม่ชัดเจน และกลุ่มที่ 3 คือ ใยประสาทเอเบตา นำความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส การลูบ แรงกดและ สั่นสะเทือน ไม่สามารถแยกแยะความรู้สึกปวดได้ พบมากบริเวณผิวหนัง ถ้าเนื้อเยื่อได้รับการกระตุ้นพร้อมกัน ใยประสาทเอเดลตาจะนำความรู้สึกปวดแปล๊บก่อน แล้วตามด้วยใยประสาทซี ทำให้เกิดความรู้สึกปวดตุบ ๆ ในขณะที่ใยประสาทเอเบตาซึ่งเป็นใยประสาทขนาดใหญ่จะนำกระแสประสาทไป เพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิด ความรู้สึกน้อยลงการรับรู้ความเจ็บปวด ระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่แปลสัญญาณและตอบสนองต่อ ความเจ็บปวด โดยทาลามัสจะทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด สมองใหญ่ส่วนพาไรทัลทำหน้าที่จำแนกตำแหน่ง และความรุนแรง ระบบลิมบิกในสมองส่วนหน้าทำหน้าที่ให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ต่อความเจ็บปวด สมองส่วนหน้าซึ่งเป็นบริเวณของการสั่งงานทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด เช่น การเบ้หน้า การร้องขอความช่วยเหลือ เป็นต้นการควบคุมความเจ็บปวด ไขสันหลังเป็นส่วนสำคัญในการ ควบคุมความเจ็บปวด โดยเกิดในส่วนซับสแตนเทียเจลาติโนซาหลั่งเอนเคฟาลิน ไปยับยั้งการนำส่งกระแส
ประสาทไปสู่สมอง ทำให้ไม่เกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้ การกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ใยประสาท นำความเจ็บปวด เช่น การนวด ยังช่วยยับยั้งการถ่ายทอดประสาทความเจ็บปวดได้ 4.5 ผลการนวดต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ การนวดมีส่วนทำให้อาหารและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นในกล้ามเนื้อปกติ การนวดจะช่วยให้ กล้ามเนื้อคลายจากอาการล้าได้เร็วขึ้น และช่วยให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นปกติดีส่วนในกล้ามเนื้อที่ได้รับ บาดเจ็บ การนวดจะช่วยลดการเกิดพังผืดและการหนาตัวของเนื้อเยื่อสำหรับกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมา เลี้ยง การนวดจะช่วยลดพังผืดและการยึดติดและช่วยให้กล้ามเนื้อลีบช้าลง ในกรณีที่กล้ามเนื้อตึงจนทำให้เกิด ความเจ็บปวดและระคายเคือง การนวดจะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและทุเลาอาการปวดลงได้การนวด ไม่มีผลโดยตรงต่อกระดูก ไม่สามารถช่วยลดการบางลงของกระดูกได้ แต่การนวดกล้ามเนื้อทำให้กระดูกได้รับ เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ในรายที่มีกระดูกหัก ถ้าสามารถนวดบริเวณนั้นโดยไม่ทำให้ปลายกระดูก เคลื่อน จะช่วยให้กระดูกติดกันเร็วขึ้น การนวดนักกีฬาโดยการกดลึก ๆ จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดและ น้ำเหลืองดีขึ้น และไปกำจัดกรดแลกติกออกจากกล้ามเนื้อ ส่งผลให้อาการเมื่อยล้าลดลง 4.6 ผลจากการนวดต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกาย ผลต่อระบบผิวหนัง การนวดมีผลต่อผิวหนังหลายประการ คือ ทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วลอกหลุด ออกมา ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น ทำให้ผิวหนังนุ่มและลดการยึดติดของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และ ช่วยรักษาแผลเป็นที่ผิวหนังได้ ผลต่อระบบหายใจ การนวดสามารถขับเสมหะออกจากปอด เป็นการช่วยป้องกันและรักษาโรคปอดได้ ทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน ผลต่อระบบทางเดินอาหาร การนวดมีผลกระตุ้นการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้ การย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสียดีขึ้น ลดอาการท้องผูกและกระตุ้นความอยากอาหาร ผลต่อระบบสืบพันธุ์ ในผู้หญิงการนวดทำให้มดลูกหย่อนที่มีอาการปวดหน่วงและปวดที่ขาหนีบดีขึ้น ในผู้ชายการนวดรอบสะดือเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ แต่ต้องอาศัยความชำนาญและระมัดระวังมาก ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จากผลวิจัยการนวดช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโรค ลดความวิตกกังวลและคลาย เครียดได้
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ 1. วัสดุอุปกรณ์ประกอบด้วย 1. กระด้งสำหรับใส่กรวดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 35 เซนติเมตร 2. หินกรวด ภาพที่ 3.1 วัสดุและอุปกรณ์การทำหินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ
2.วิธีการดำเนินการศึกษา ได้ดำเนินการศึกษาตามแผนการปฏิบัติการโครงงาน “หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ” ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.สำรวจเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา สนใจ หรือประเด็นปัญหาที่พบเห็น 2.ศึกษาข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ศึกษา วิเคราะห์เพื่อประกอบการจัดทำโครงงาน 3.กำหนดและวางแผนการการจัดทำ 4.ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5.เขียนรายงานผลการดำเนินงาน 3.ขั้นตอนดำเนินการ คณะผู้จัดทำ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1.สำรวจเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา สนใจ หรือประเด็นปัญหาที่พบเห็น คณะจัดทำ ได้หารือกัน เกี่ยวกับประเด็นที่สนใจที่จะนำมาจัดทำ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 2566 โดยได้พิจารณาจากสิ่งที่ใกล้ ตัวของสมาชิกในกลุ่ม โดยได้ลงความเห็นว่าทำอย่างไรจะสามารถนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์อุปกรณ์การนวด ที่สามารถนำไปใช้กับผู้สูงวัยได้โดยที่ผู้สูงวัยสามารถใช้งานอุปกรณ์การนวดนี้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึงพาการ นวดจากคนอื่นและสามารถนวดได้ทุกส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยของ ผู้สูงวัย และ เหมาะสมกับความต้องการของคนในชุมชนและนอกชุมชน และได้นำประเด็นดังกล่าวนำเสนอต่อที่ปรึกษากลุ่ม เพื่อดำเนินการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ในลำดับต่อไป 2.ศึกษาข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ศึกษา วิเคราะห์เพื่อประกอบการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ หลังจากได้ มติในประเด็นที่จะจัดทำสิ่งประดิษฐ์ สมาชิกในกลุ่มจึงได้ร่วมกันศึกษาข้อมูล และสอบถามผู้รู้เพิ่มเติมใน ประเด็นที่สงสัยนอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์ของสมาชิกภายในกลุ่มที่มีเกี่ยวกับกระบวนการการ นวดจากด้วยหินกรวดเพื่อสุขภาพ ที่จะต้องนำหลักการและวิธีใช้ที่ถูกต้องให้สามารถนำไปใช้กับผู้รับบริการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 3.กำหนดและวางแผนการการจัดทำสิ่งประดิษฐ์สมาชิกในกลุ่มได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกันวางแผนการจัดทำสิ่งประดิษฐ์การนวดด้วยหินกรวดเพื่อสุขภาพ รวมทั้งได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำ มอบหมายภารกิจการจัดหาวัสดุระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และนัด หมายกำหนดการจัดทำสิ่งประดิษฐ์การนวดด้วยหินกรวดเพื่อสุขภาพ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 2566 4.ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ เมื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อม และเพียงพอในการจัดทำ จึง ได้ลงมือปฏิบัติการ เดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 2566 โดยใช้ระยะเวลาในการจัดทำ ประมาณ 1วัน (โมเดล ต้นแบบ) และได้ปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ จนกระทั่งสามารถเป็นสิ่งประดิษฐ์การนวดด้วยหินกรวดเพื่อสุขภาพ
และได้ปรับรูปแบบโมเดลรุ่นที่ 2 เดือน มิถุนายน 2566 เพื่อให้มีรูปทรงกะทัดรัด เพิ่มความนุ่นในการใช้งาน และสวยงามมากขึ้น 5.เขียนรายงานผลการดำเนินงาน นำแนวทางการจัดทำรายงานจากที่ปรึกษากลุ่มได้ให้ความรู้ พร้อมทั้งศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารการจัดทำรายงาน โดยใช้ระยะเวลาราว 1 สัปดาห์ ในการจัดทำรายงาน โครงงาน และได้ปรับรูปเล่มแก้ไขเพื่อร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ในห้วงเดือน มิถุนายน 2566
บทที่ 4 ผลดำเนินการ สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงวัย “หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1 .เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณเท้าของผู้สูงอายุ 2. เพื่อสร้างทางเลือกในการนวดเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีผลการศึกษาดังต่อไปนี้ 1.ศึกษารูปแบบ และวิธีการทำหินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ วัสดุอุปกรณ์ 1. กระด้งสำหรับใส่กรวดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 35 เซนติเมตร 2. หินกรวด ผลการศึกษาเปรียบเทียบการนวดด้วยมือและการใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงอายุด้วยตนเอง ตารางที่ 4.1 เปรียบเทียบการนวดด้วยมือและการใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยตนเอง การนวด จุด/ บริเวณ ร่างกาย นวด จำนวนจุด ที่นวด ระยะเวลา จำนวนคน คำอธิบาย นวดด้วยมือ ด้วยตนเอง ฝ่าเท้า ฝ่ามือ 5 จุด จุดละ 2 นาที 10 คน การนวดด้วยมือหากนวดให้ตัวเองสามารถนวดได้ เฉพาะแขน และขาบางจุด อาจนวดไม่ถนัด หรือบาง อวัยวะอาจเอื้อมไม่ถึง ทั้งต้องใช้แรงบีบมาก มีความ ยากลำบากในการนวด ผู้รับการนวดทั้ง 10 คนมีความ พึงพอใจ ร้อยละ 20 การใช้หินกรวด นวดเท้าเพื่อ ช่วยเสริม คุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ ฝ่าเท้า ฝ่ามือ 7 จุด จุดละ 2 นาที 10 คน การนวดด้วยหินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพ ชีวิตสำหรับผู้สูงอายุสามารถที่นวดตามส่วนต่างๆของ ฝ่าเท้าได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกทุกส่วน ได้ทุกที่ทุก เวลา ไม่จำกัดสถานที่ และช่วยผ่อนแรงในการนวด เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้อ ลงไปที่ส่วนของ ร่างกาย สามารถทำให้ผ่อนคลายมากกว่า ซึ่งเป็น ทางเลือกที่ดีกว่าการนวดด้วยมือด้วยตนเอง ทั้ง 10 คน มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80
จากตาราง พบว่า การนวดด้วยมือหากนวดให้ตัวเองสามารถนวดได้เฉพาะแขน และขาบางจุด อาจนวดไม่ถนัด หรือ บางอวัยวะอาจเอื้อมไม่ถึง ทั้งต้องใช้แรงบีบมาก มีความยากลำบากในการนวด ผู้รับการนวดทั้ง 10 คนมี ความพึงพอใจ ร้อยละ 20 การนวดด้วยหินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สามารถที่นวดตามส่วน ต่างๆของฝ่าเท้าได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกทุกส่วน ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดสถานที่ และช่วยผ่อนแรงในการ นวด เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้อ ลงไปที่ส่วนของร่างกาย สามารถทำให้ผ่อนคลายมากกว่า ซึ่งเป็น ทางเลือกที่ดีกว่าการนวดด้วยมือด้วยตนเอง ทั้ง 10 คนมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพกับการนวด ประเภทสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงวัย “หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลด อาการปวดเมื่อยบริเวณเท้าของผู้สูงอายุ และเพื่อสร้างทางเลือกในการนวดเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้ผู้นวด สามารถนวดด้วยตนเองได้สะดวกทุกส่วนของร่างกาย และเพื่อให้ผู้ที่นวดนั้นมีทางเลือกใช้ไม้นวดเพื่อสุขภาพ แทนการใช้มือนวดเพียงอย่างเดียว โดยมีสมมติฐานว่า หากใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิต สำหรับผู้สูงอายุนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย จะสามารถนวดด้วยตนเองได้อย่างสะดวกทุกส่วนของร่างกายมากกว่า การใช้มือนวด และช่วยลดอาการปวดเมื่อยของผู้สูงวัยได้ ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า สถานที่ กลุ่มผู้สูงอายุตำบลอ่างศิลา ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม - กรกฎาคม 2566) วิธีการดำเนินการศึกษา ได้ดำเนินการศึกษาตามแผนการปฏิบัติงาน “หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริม คุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ” ซึ่งคณะผู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์ดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1.แนะนำให้คำปรึกษากลุ่มผู้สูงวัยในการคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ในการนวดผ่อนคลาย 2.ศึกษาข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ศึกษา มาให้ผู้สูงวัยร่วมวิเคราะห์เพื่อประกอบการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ใหม่ 3.กำหนดและวางแผนการการจัดทำเค้าโครงของงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ 4.ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5.เขียนรายงานผลการดำเนินงาน สรุปผล จากการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดทำโครงงาน“หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับ ผู้สูงอายุ”พบว่า 1. การใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุช่วยลดอาการปวดเมื่อยของ ผู้สูงอายุ ช่วยผ่อนแรงในการนวด 2. ผู้สูงอายุสามารถนวดด้วยตนเองได้อย่างสะดวกทุกส่วนของร่างกาย การนวดด้วยมือหากนวดให้ ตัวเองสามารถนวดเฉพาะส่วนแขนกับขาบางจุด และนวดไม่ถนัดหรือบางจุดมือเอื้อมไม่ถึง อีกทั้ง ต้องใช้แรง บีบมาก ส่งผลให้มีความยากลำบากในการนวด 3.ผู้สูงอายุมีทางเลือกใช้ไม้นวดเพื่อสุขภาพแทนการใช้มือนวดเพียงอย่างเดียว การนวดด้วยหินกรวด นวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ด้วยตนเองทุก
ส่วนโดยสามารถใช้วิธี การกด การทุบ การสับ การคลึง หรือการตบตี เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้อ ลงไป ที่ส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนวดด้วยมือด้วยตนเอง อภิปรายผล การใช้หินกรวดนวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุนวดด้วยตนเองสามารถที่จะนวด ตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ด้วยตนเองอย่างสะดวก ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดสถานที่ และช่วยผ่อนแรงในการ นวด เป็นการออกแรงกระตุ้นกล้ามเนื้อ ลงไปที่ส่วนของร่างกาย สามารถทำให้ผ่อนคลายมากกว่า ซึ่งเป็น ทางเลือกที่ดีกว่าการนวดด้วยมือด้วยตนเอง รวมทั้งการใช้แนวทางตามปรัชญา คิดเป็น ในการตัดสินใจโดยใช้ ข้อมูลรอบด้าน คือ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลทางสังคม และข้อมูลทางวิชาการ ผู้จัดทำได้คิดสิ่งประดิษฐ์หินกรวด นวดเท้าเพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุสามารถสร้างสรรค์ผลงานนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ตามชุมชน นำใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ได้ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมด้าน การ นวดเพื่อสุขภาพ และสร้างอาชีพในชุมชนเพื่อความยั่งยืนต่อไป
บรรณนุกรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566. จาก https://www.pangpond.com การนวดผ่อนคลายเพิ่มการไหลเวียนของเลือด สืบค้นมือวันที่ 1 มิถุนายน 2566 จาก https://seniacare.com/patient-massage. ความหมายของนวัตกรรม.(ม.ป.ป.) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566. จาก http://benjamas22.212cafe.com. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ม.ป.ป.) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/384945 วิทยาศาสตร์ในการนวดและการประคบ. สืบค้นมือวันที่ 1 มิถุนายน 2566. จาก https://be7herb.wordpress.com.