The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บุคคลที่มีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tapathon Jantamas, 2022-11-29 14:41:20

บุคคลที่มีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย (2)

บุคคลที่มีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

บุคคลที่มีบทบาทในการส่งเสริมการ
สร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย


จัดทําโดย

นายธีมาฤทธิ์ เจริญบุญญา เลขที่ 4
นายภูมิพัฒน์ พิมพ์บุญมา เลขที่ 5
นายตปธน จันทมาศ เลขที่ 6
นายกฤตมุข ศรีโพธิ์ เลขที่ 11
นายศุภฤกษ์ แก้วใส เลขที่ 18
นางสาวกชพร วิชาพูล เลขที่ 24
นางสาวกัสมา กาฬเนตร เลขที่ 25
นางสาวปวิชญาดา เลขที่ 28
นางสาวพรณรัตน์ ศรีมันตะ เลขที่ 32
นางสาวชญตว์มณฑ์ พีระเศรษฐวุฒิ เลขที่ 35
นางสาววีร์สุดา จันทร์เพ็ชร เลขที่ 39
สัตย์ซื่อ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8
เสนอ คุณครูกนกพร สุขสาย

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนประกอบของ
รายวิชาประวัติศาสตร์ (ส31112)

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี




คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เรื่อง บุคคลที่มี
บทบาทในการส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
ประวัติศาสตร์ (ส31112)

คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับผลงาน
ของบุคคลที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
ชาติไทย และผลงานของบุคคลสำคัญในท้องถิ่น คณะผู้จัดทําหวังว่า
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่าน หรือ
นักเรียน นักศึกษาที่สนใจศึกษาผลงาน หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิด
พลาดประการใด คณะผู้จัดทําขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทํา


สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ 1
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 2
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 3
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า 4
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ 5
นายคำหมา แสงงาม (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 6
เฉลิม นาคีรักษ์ (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 7
ครูสลา คุณวุฒิ (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 8
นางบานเย็น รากแก่น (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 9
นางคำปุน สีใส (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 10
สมบัติ เมทะนี (บุคคลสำคัญในท้องถิ่น) 11


1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9)

1) ด้านพระพุทธศาสนา ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
โปรดเกล้า ฯ ให้คณะสงฆ์ปรับปรุงพระไตรปิฏกฉบับหลวง
และทรงสนับสนุนการสร้างพระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์
ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จัดทำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเนื่องใน
มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2531

2) ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ทรงส่งเสริมภูมิปัญญาและ
วัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะด้านงานหัตถกรรมพื้นบ้านและงานช่าง ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ
ขึ้นหลายแห่งเพื่อเป็นที่รวบรวมสินค้าจากฝีมือชาวบ้านและเป็นแหล่งสอนงานหัตถกรรมแก่
ชาวบ้าน ทรงดำเนินการเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ทรงเริ่ม
โครงการหัตถกรรม ทรงเริ่มโครงการศิลปาชีพ ทรงส่งเสริมให้จัดตั้งโรงฝึกหัตถกรรมและ
ศูนย์ฝึกศิลปาชีพ

3)ด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
- การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย ได้แก่ ปัญหาน้ำเน่าเสียตามแหล่งน้ำชุมชมและแหล่งน้ำ
ธรรมชาติเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและสิ่งแวดล้อมมา
- การป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก


2

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

• ความมั่นคงของชาติ ทรงห่วงใยความ
มั่นคงของชาติและทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ทุกวิถีทางที่จะช่วยทะนุบำรุงและปกป้องรัก
ประเทศชาติ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงเยี่ยมทหาร ตำรวจ ราษฎรอาสาสมัคร
จนถึงฐานปฏิบัติการ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่
อันตรายเพียงใดก็ตามได้พระราชทานถุงของ
ขวัญประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
เพื่อพระราชทานกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้าน
ความมั่นคงของชาติตลอดมา




• ศูนย์ศิลปาชีพ ทรงริเริ่มโครงการให้ราษฎรโดย
เฉพาะชาวนาในท้องถิ่นชนบททำอาชีพเสริมโดยใช้เวลา
ว่างจากการทำนาทำไร่มาทำงานศิลปาชีพ จนราษฎรเหล่า
นั้นมีความรู้ความสามารถในงานผลิต งานศิลปหัตถกรรม
จนเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยและระดับสากล



สายใจ•ไทกยารสใานธพารรณะบสรุขมรทาชรูงปริถเัรมิ่มภจ์ัดใตนั้งกมูรลณนีิทธีิ่
ทรงพบราษฎรเจ็บป่วยก็จะทรงรับไว้เป็นคนไข้
ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทรงอุปถัมภ์องค์กร
การกุศล สมาคม มูลนิธิต่างๆ เป็นจำนวนมาก

• การส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ พระทรงมี
พระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการป่ารักน้ำ” ทั้งนี้เพื่อ
ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการร่วมกันปลูกป่า หลังจาก
นั้นยังมีโครงการตามพระราชดำริที่ปรากฏขึ้นเพื่อส่ง
เสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ อาทิ โครงการสวนสัตว์ป่า
เปิดภูเขียวตามพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์และ
ขยายพันธุ์เต่าทะเล โครงการเพาะเลี้ยงและขยาย
พันธุ์สัตว์ป่า โครงการปลูกป่าเสริมธรรมชาติ
โครงการพระราชดำริสวนหาดทรายใหญ่ เป็นต้น


3

พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า “สมเด็จย่า” ทั้งนี้พระองค์ยังได้ประกอบพระราช
กรณียกิจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่อาศัยในถิ่นทุรกันดารและได้พระราชทานความช่วยเหลือ
ผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถี
ชีวิตที่ดีขึ้น ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามว่า “แม่ฟ้าหลวง”

พระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเริ่มและปฏิบัติจนประสบผล
สำเร็จด้วยพระปรีชาญาณ และความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์
การพยาบาล การศึกษา ตลอดจนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และการยกระดับคุณภาพชีวิต พระ
ราชกรณียกิจเหล่านี้ยังปรากฏผลสืบเนื่องและมีพัฒนาการมาเป็นลำดับสืบมา



ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี มีอักษรย่อว่า พอ.สว. หน่วยแพทย์อาสา
เคลื่อนที่ เดินไปในถิ่นทุรกันดาร
มูลนิธิขาเทียม เมื่อ 17 ส.ค. 2535 ทำให้ผู้พิการสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัว และ
ครอบครัวได้
จัดตั้งมูลนิธิถันยรักษ์ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ มี.ค. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจ
วินิจฉัยเต้านม
ทรงสนับสนุนส่งเสริมวิชาชีพและการศึกษาพยาบาลตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งสมาคมพยาบาลแห่ง
ประเทศไทยสมัยแรก โดยทรงร่วมเป็นกรรมการของสมาคม สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราช
ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยจังหวัดสงขลา
ใน พ.ศ. 2503 ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้าง “อาคารศรีสังวาลย์”
ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อให้เป็นที่ตรวจรักษาและบำบัดคนพิการ
พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่เอื้อคุณประโยชน์ต่อพสก
นิกรชาวไทยอย่างมหาศาลอีกประการหนึ่ง คือ งานเกี่ยวกับการฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
ตลอดจนสิ่งแวดล้อมให้ฟื้นคืนกลับมามีสภาพที่ดีดังเดิม ซึ่งหนึ่งในหลายๆ งานในด้านนี้ของ
พระองค์ ได้แก่ โครงการพัฒนาดอยตุง ดังพระราชดำริที่ว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง”พระราชดำริ
นี้รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณ สูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นจึงได้
ก่อตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ในปี พ.ศ. 2531 และอีกหลายๆ งาน เช่น
ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง
ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และนำไม้ดอกมาปลูก
โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง, กล้วย, กล้วยไม้, เพาะเห็ดหลิน
จือ, สตรอว์เบอรี่
จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บ้านผาหมี ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย
จ.เชียงราย พระองค์ทรงได้รับขนานนามว่า “สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง” ของปวงชนชาวไทย


4

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระ

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ทรงเป็ น “วิศิษฏศิลปิ น”
วิศิษฏศิลปิน หมายถึง ผู้เป็นเลิศทางศิลปะ ประเสริฐเลิศกว่าศิลปินทั้งปวง
ความเป็นศิลปินของท่าน เป็นที่ประจักษ์จากความเชี่ยวชาญในศิลปะหลาย
แขนง ด้านดนตรี
ทรงเชี่ยวชาญการเล่นเครื่องดนตรีไทย ทน้รำงมัสนร้ภางาผพลวางดานหฝมีึพกจรีนะหัตจถภิ์ตาพดทรัว้้งากาภดนรดา้พรวยกมโาปร์ตรูแนกรมภคาพอมวาพดิวสเีตน้อำร์ ภาพวาดสี
และเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น ซออู้ ซอ ยังมีงาน
ด้วง ระนาด จะเข้ ขลุ่ย เปียโน ทรัมเป็ต ด้านประติมากรรม ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ศิลปะแบบปะปิด โดยเฉพาะ
งานฝีพระหัตถ์ภาพการ์ตูนสะท้อนพระอุปนิสัยสนุกสนานและพระ
อารมณ์ขัน

บทเพลงในพระราชนิพนธ์

พระองค์โปรดการเขียนบทกลอน ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ บทกลอนเหล่านี้ ได้แก่ รักแลจันทร์ ชายทะเลพัทยา และ
กลางพนา เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อง สำหรับเพลงไทยเดิมด้วย เช่น บทร้องสำหรับ เพลง
เต่าเห่ เพลงปลาทองเถา และ เพลงตับชมสวนขวัญ เป็นต้น สำหรับตัวอย่างเพลงในพระราชนิพนธ์ ได้แก่

เพลง “ส้มตำ” เป็นเพลงแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งคําร้องและทำนองเมื่อปี พ.ศ.2513
เพลง “เมนูไข่” ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารที่ทําจากไข่ เมื่อ พ.ศ. 2518
เพลง “ดุจบิดามารดร” เดิมเป็นพระราชนิพนธ์ลิลิต “กษัตริยานุสรณ์” ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระราชนิพนธ์เล่มแรกๆ ของเจ้าฟ้ านักอักษรศาสตร์

ทรงเป็นปราชญ์ทางด้านภาษาและวรรณศิลป์ ทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาในระดับประ
ถมฯ ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญภาษาไทยและภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ จีน บาลี
สันสกฤต เป็นต้น

พระองค์มีงานพระราชนิพนธ์จำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในหลายศาสตร์สาขา เช่น
หนังสือชุดเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ งานวรรณกรรมเยาวชน ตำราอาหาร
งานพระราชนิพนธ์แปลนวนิยายและร้อยกรอง งานวิชาการทั้งด้านการพัฒนา
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น

Reflexions (ความคิดคำนึง) (พระราชนิพนธ์ร้อยกรอง ภาษาฝรั่งเศส)
ขบวนการนกกางเขน (แปลงานวรรณกรรมเยาวชนเล่มแรกจากภาษาฝรั่งเศส )
แก้วจอมแก่น และแก้วจอมซน
นิทานโกหกเยอรมัน (แปลจากภาษาเยอรมัน)




ทรงเป็ นนักโภชนากรที่ห่วงใยประชาชน

ทรงเห็นความสำคัญของโภชนาการกับการพัฒนามนุษย์ ดังที่ทรง
ริเริ่ม “โครงการอาหารกลางวันผักสวนครัว” ในโรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดนสามจังหวัดคือ ราชบุรี กาญจนบุรี และ
ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2523 (ต่อมาคือ“โครงการเกษตร เพื่อ
อาหารกลางวัน” และพัฒนาเป็น “กองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชน
ในถิ่นทุรกันดาร”) นอกจากจะแก้ปัญหาการขาดโภชนาการแล้ว ยัง
เป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำอาหาร เรียนรู้
ธรรมชาติ และพืชพรรณต่างๆ ในท้องถิ่นของตน


5

สมเด็จพกรรมะเหจ้ลาพวีง่นนารงาเธธิวอ

าสเรจ้าาชฟ้นากคัลรินยาทณร์ิวัฒนา

"พระนิพนธ์" ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอทรงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการสร้างสรรค์
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรง
สนพระทัยอ่านหนังสือทุกประเภทโดยเฉพาะด้านภาษาไทย และประวัติศาสตร์

สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงพระปรีชาสามารถด้านพระ
นิพนธ์เป็นที่ประจักษ์จากผลงาน ประกอบด้วย พระราชนิพนธ์เกี่ยวกับราชวงศ์ 12 เรื่อง
เช่น แม่เล่าให้ฟัง พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และงานศิลปะและ
จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา
เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์หนังสือประเภทอื่นๆอีกจำนานมาก เช่น พระ
นิพนธ์สารคดีเชิงท่องเที่ยว พระนิพนธ์แปล และพระนิพนธ์บทความทางวิชาการ
เป็นต้น

ในพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะทรงเอาพระทัย
ใส่ในการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด และทรงตรวจสอบหนังสืออ้างอิงและหลักฐาน
ต่างๆ ในทางประวัติศาสตร์เพื่อใช้ประกอบงานพระนิพนธ์เป็นจำนวนมาก นับเป็นแบบอย่างใน

การศึกษาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีไทยเป็นอย่างดี

ด้านศิลปะวัฒนธรรม

พระองค์ได้ทรงส่งเสริมงานแสดงด้านวัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทรง
พระราชทานชื่อโรงละครโจหลุยส์ว่า "นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก" และได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
มูลนิธิ "นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก" อันประกอบด้วย โรงละคร และนักแสดงที่สืบทอดปณิธาน
การแสดงหุ่นละครเล็ก ด้วยพระกรุณาธิคุณดังกล่าวที่สมเด็จพระเจ้าฟ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ
วัฒนา กรมหลวงนราธิวาศราชนครินทร์ ทรงส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นผลดีต่อการสร้างสรรค์

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยในแขนงนี้ให้คงอยู่ต่อไป


6

นายคำหมา แสงงาม

ท่านเกิดเมื่อสมัยรัชกาลที่5 ในวัยเยาว์ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน เขียนอ่าน จากทางวัด
ต่อมาท่านได้ศึกษาศิลปะการช่างเพิ่มเติม จากพระครูวิโรจน์ รัตโนบล และได้ติดตามศึกษา
และท่องหาประสบการณ์ไปกับพระอาจารย์ของท่าน ทำงานด้านศิลปะอย่างเต็มตัว พร้องทั้ง
ยังคงพัฒนาความรู้ความสามารถของตน จากการอารตำรับตำรา ต่างๆ ฝึกฝนและนำปรับใช้
จนต่อยอดกลายมาเป็นงานศิลป์อันงดงานหลายงานในกาลต่อมา ด้วยท่านเป็นอาจารย์ผู้
เมตตาจึงได้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ที่มาเล่าเรียนความรู้กับท่าน และยึดถือความเป็นผู้มี
คุณธรรมน้ำใจยึดเอาไว้เป็นแบบอย่าง และสืบทอดเจตนารมของท่านมาจวบจนปัจจุบัน

ผลงานที ่สำคัญ




-การบูรณะองค์พระธาตุพนม ขณะนายคำหมาบรรพชาเป็นสามเณร ได้ร่วมเดินทาง

ไปกับคณะพระครูวิโรจน์ รัตโนบล ช่างไทยรุ่นแรกที่ไปบูรณะพระธาตุพนมเมื่อปี

พ.ศ. ๒๔๔๔

-การบูรณะโบสถ์ ซุ้มประตู วัดเอี่ยมวรนุช กรุงเทพมหานคร

-การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี

แนะนำออกแบบและดูแลลูกศิษย์บูรณะหัวเสากำแพงรอบวัด

-ออกแบบและแกะสลักเทียนพรรษาจนได้รับรางวัลชนะเลิศ ณ จังหวัดอุบลและ

จังหวัดใกล้เคียง เป็นประจำทุกปี

การออกแบบสร้างสรรค์เมรุชั่วคราว รูปนกหัสดีลิงค์

การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ออกแบบและแกะสลักเทียนพรรษา


7

เฉลิม นาคีรักษ์

งานศิลปะของ เฉลิม นาคีรักษ์ โดยหลักนั้นคืองานจิตรกรรม ซึ่งมีทั้งแนวสากล
สมัยใหม่ และแนวประเพณีประยุกต์ ส่วนเทคนิคที่ใช้มีทั้งสีน้ำมัน สีน้ำ สีฝุ่น และสี
พลาสติก ส่วนเนื้อหาและเรื่องราวที่เขียนนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพหุ่นนิ่ง ภาพ
ทิวทัศน์ ภาพบุคคล และภาพเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งผลงานเหล่านี้
ล้วนเป็นผลงานที่ดีเด่นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ผลงานสำคัญที่ได้สร้างสรรค์ไว้ได้แก่พระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระมหากษัตริย์และเจ้า
นายในราชวงศ์จักรีอีกหลายพระองค์ ซึ่งประดิษฐานไว้ในสถานที่สำคัญต่างๆ หลาย
แห่ง ด้านการเขียนภาพสีน้ำ ก็เป็นงานที่ท่านรักและทำได้ดีเป็นพิเศษ จนได้รับคำ
ชมเชยจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี งานประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ที่
ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ท่านได้เดินทางไปพบเห็นและเกิดความประทับ
ใจ

รางวัล/เกียรติยศ

2443 - รางวัลการวาดภาพจากอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร
2484 - รางวัลประกวดภาพสีน้ำ จัดโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

2485 - รางวัลประกวดภาพส่งเสริมศิลปหัตถกรรม จัดโดยสำนัก
นายกรัฐมนตรี
2486 - รางวัลประกวดภาพเขียน ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ
2531 - รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สำนักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
2533 - ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
2535 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

ความประทับที่สำคัญที่สุดในชีวิตของ เฉลิม นาคีรักษ์ คือการที่ได้มี
โอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน

โอกาสสำคัญ 2 โอกาสๆ แรกเข้าเฝ้าฯพร้อมคณะศิลปินเมื่อปี
พุทธศักราช 2506 เพื่อเขียนภาพถวายให้ทอดพระเนตร และได้ร่วม
โต๊ะเสวยด้วย ส่วนครั้งที่ 2 ได้ร่วมคณะไปกับอธิบดีกรมศิลปากร และ

อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกหลายท่าน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี
พระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายคำวิจารณ์ผลงาน
จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้ อันเป็นโอกาสสำคัญซึ่งท่านถือว่าเป็น

พระมหากรุณาธิคุณ และเป็นศิริมงคลสูงสุด


8

ครูสลา คุณวุฒิ

อดีตครูที่ผันตัวเองมาเป็นนักประพันธ์หรือนัก
แต่งเพลงแนวลูกทุ่งอีสาน โปรดิวเซอร์เพลง
และนักร้องเพลงลูกทุ่ง ผู้อยู่ทั้งทั้เบื้องหน้าและ
เบื้องหลังนักร้องลูกทุ่งดังหลายคน มีผล
งานการแต่งเพลงที่โด่งดังเป็นที่รู้จัก เช่น ล้าง
จานในงานแต่ง ยาใจคนจน ปริญญาใจ โทรหา
แหน่เด้อ เกี่ยวข้าวรอแฟน แพ้รบสนามรัก

เป็นต้น

ครูสลาเข้าสู่วงการนักแต่งเพลงเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยการชักชวนและชักนำ จาก ปัญญา
คุณวุฒิ, วิทยา กีฬา และรุ่งเพชร แหลมสิงห์ บทเพลงแรกที่ได้บันทึกเสียงคือเพลง สาว
ชาวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และถูกตั้งเป็นชื่ออัลบั้มใหม่ของรุ่งเพชรอีกด้วย ถือเป็นผลงาน

แจ้งเกิดครูสลาในฐานะนักแต่งเพลงมือทอง
ครูสลาเป็นทั้งทั้นักร้องนักดนตรีและเป็นโปรดิวเซอร์ ของค่าย แกรมมี่โกลด์ และได้มีนัก
ร้องหลายท่านนำ เพลงประพันธ์ของครูสลาไปออกเป็นเทปแผงสู่ท้องตลาด โดยมีบทเพลง
ดังจากการแต่งเพลง เช่น ล้างจานในงานแต่ง ยาใจคนจน ปริญญาใจ โทรหาแหน่เด๊อ

เกี่ยวข้าวรอแฟน แพ้รบสนามรัก เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2559 ครูสลาได้แต่งเพลง เล่าสู่หลานฟัง เพื่อรำ ลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมหา

ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลังการสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 ครูสลาได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) ประจำ ปี พ.ศ. 2564


9

นางบานเย็น รากแก่น

บานเย็น รากแก่น หรือ นิตยา รากแก่น
ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการแต่งตั้งให้
เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
(การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ) ประจำปี
2556

ผลงานของบานเย็น รากแก่น

ผลงานเพลงที่สร้างชื่อให้กับ บานเย็น รากแก่น ได้แก่ เพลง งิ้วต่องต้อน
อ้อนผู้บ่าว รวมทั้งลำเพลิน และลำเรื่องต่อกลอนอีกมากมาย เคยออกอัลบั้ม
บันทึกเสียงร่วมกับ ปริศนา วงศ์ศิริ นักร้องหมอลำ และนักแสดง อดีต
นางเอกภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง แม่นาคพระโขนง

ตัวอย่างเกียรติคุณที่บานเย็น รากแก่นได้รับ

ประกาศเกียรติคุณ จากสหพันธ์สมาคมหมอลำแห่งประเทศไทยให้บานเย็น
รากแก่นเป็น “ผู้ร่วมฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย สาขาการแสดงพื้นบ้าน”
รางวัล “พระพิฆเณศทองพระราชทาน” ครั้งที่ 4 ประเภทเพลงพื้นบ้านอีสาน
ยอดเยี่ยม จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โล่จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากการร่วมงาน “60 ปี เล่าขาน
ตำนานลูกทุ่งไทย” ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2543 โล่เกียรติคุณ ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี สาขาศิลปะการแสดง
ด้านการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. 2556 ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ)


10

นางคำปุน ศรีใส

ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ครูศิลป์ของแผ่นดิน
ปี พ.ศ. 2553 จาก สถาบันส่งเสริมศิลป
หัตถกรรมไทย (SACICT)
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดก
อีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมผ้าทอ)
ประจำปี พ.ศ. 2558 จาก มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น
ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.
2561 สาขาทัศนศิลป์ ประเภทประยุกต์ศิลป์
(ประณีตศิลป์-ทอผ้า)

แม่คําปุน ศรีใส บําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้วยการ
บริจาคเงินทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสของโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่จังหวัด
อุบลราชธานี จํานวนมากมาย ขณะเดียวกันก็ได้บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศลต่างๆ
ให้แก่องค์กรต่างๆ เช่น สภากาชาดไทย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ศูนย์ช่วย
เหลือผู้ประสบอุทกภัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ฯลฯ และที่สําคัญ คือ งานบํารุง
พระพุทธศาสนา นางคําปุน ศรีใส ได้บริจาคเงินจํานวนมากทํานุบํารุงวัดในจังหวัด
อุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร


11

สมบัติ เมทะนี
อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย

สมบัติ เมทะนี ชื่อเล่น แอ๊ด (26 มิถุนายน พ.ศ. 2480 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565) เป็นนักแสดงและผู้
กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ชนะเลิศรางวัลตุ๊กตาทองและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง และเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ กินเนสบุ๊คยังบันทึก
ไว้ว่าเป็นนักแสดงที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์มากที่สุดในโลกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2530 หลังจาก
ทำการแสดงเรื่อง "คู่สร้างคู่สม" ซึ่งเป็นเรื่องที่ 600 โดยทั้งหมดทำการแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง

ผลงานทางภาพยนตร์ รางวัลที่ได้รับ

•4 สิงห์อิสาน (2512) รับบท ผจญอุดร •พ.ศ. 2559 ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2559
•คมแฝก (2513) รับบท กัลป์ เกรียงไกร สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์-ละคร
•สื่อกามเทพ (2514) โทรทัศน์)
•ล่า (2520) รับบท กุลชาติ
•แม่นาคพระโขนง (2521) รับบท ทิดมาก

ผลงานกำกับภาพยนตร์ พระสุรัสวดี

•ในสวนรัก (2514) นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
•ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516) พ.ศ. 2508 – ศึกบางระจัน
•นักเลงเทวดา (2518)

ผลงานทางโทรทัศน์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์

•2503 หัวใจปรารถนา •พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็น
•2511 หญิงก็มีหัวใจ ที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้าง
•2529 โอ้..ลูกรัก
•2537 น้ำใสใจจริง เผือก (ท.ช.)
•2538 ขุนศึก


Click to View FlipBook Version