The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน วิชาระบบคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ หน่วยที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by witsarut.w, 2022-04-20 23:51:55

หน่วยที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

เอกสารประกอบการสอน วิชาระบบคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ หน่วยที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 2

องคป์ ระกอบของระบบคอมพวิ เตอร์

สาระสาคญั

ระบบคอมพวิ เตอร์ควรจะประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบ 5 ด้าน ที่ตอ้ งทำงานประสานกนั คอื
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คอื ตัวเครอ่ื งที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง
จอภาพ เคร่ืองพมิ พ์ คยี ์บอรด์ เปน็ ตน้
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดของคำสั่งที่ถูกเขียนข้ึนเพ่ือให้
คอมพิวเตอรท์ ำงานตามที่เราตอ้ งการ
3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ถือเป็น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มคี วามสำคัญมาก เพราะถ้าบุคลากรไมม่ ีความรู้ในการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ อาจจะทำให้การใช้งานไมม่ ีประสิทธิภาพ หรอื ไม่ได้ผลลัพธต์ ามเป้าหมายท่ีตงั้ ไว้
4. ข้อมูล (Data) เปน็ องค์ประกอบสำคญั อย่างหน่งึ ในระบบคอมพิวเตอร์เพราะเปน็ ส่ิงที่
ต้องบันทึกลงไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมท่ีนักคอมพิวเตอร์ได้เขียนไปเพื่อผลิตผลลัพธ์ท่ี
ตอ้ งการออกมา
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) กระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ในการทำงานกับคอมพวิ เตอรผ์ ู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพ่ือให้ไดง้ านที่ถูกต้อง และมี
ประสิทธภิ าพ

จดุ ประสงคก์ ารเรียนการสอน 27

จดุ ประสงคท์ ั่วไป
1. เพือ่ ใหม้ คี วามรเู้ ก่ยี วกับองค์ประกอบของระบบคอมพวิ เตอร์
2. เพือ่ ใหม้ ีกจิ นสิ ัยในการศึกษาหาความรเู้ พมิ่ เตมิ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกองคป์ ระกอบของระบบคอมพวิ เตอรไ์ ด้
2. บอกสว่ นประกอบพ้ืนฐานของฮารด์ แวร์ได้
3. อธบิ ายหนา้ ทีข่ องส่วนประกอบของฮารด์ แวรไ์ ด้

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ

4. อธิบายลกั ษณะของหนว่ ยความจำหลักได้
5. อธิบายวธิ ีการเช่ือมตอ่ ของอปุ กรณ์คอมพิวเตอร์ได้
6. บอกชนิดของซอฟต์แวร์ได้
7. อธิบายลกั ษณะของซอฟตแ์ วรช์ นิดตา่ ง ๆ ได้
8. บอกบคุ ลากรทางคอมพวิ เตอรไ์ ด้
9. อธิบายหนา้ ที่การทำงานของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ได้
10.อธิบายลกั ษณะของขอ้ มลู ได้
11.อธิบายลกั ษณะของกระบวนการทำงานได้

เน้ือหา

2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2.1.1 หน่วยรับข้อมลู หรอื อนิ พุต (Input Unit)
2.1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit)
2.1.3 หนว่ ยความจำ (Memory Unit)
2.1.3.1 หนว่ ยความจำหลักแบบอ่านไดอ้ ยา่ งเดียว (ROM)
2.1.3.2 หนว่ ยความจำหลักแบบแกไ้ ขได้ (RAM)
2.1.4 หน่วยแสดงผลขอ้ มลู (Output Unit)

2.2 ซอฟตแ์ วร์ (Software)
2.2.1 ซอฟต์แวรร์ ะบบ (System Software)
2.2.1.1 ซอฟตแ์ วรร์ ะบบปฏบิ ตั กิ าร
2.2.1.2 ซอฟต์แวรแ์ ปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator Program)
2.2.1.3 ซอฟตแ์ วร์อรรถประโยชน์ (Utility Program)
2.2.2 ซอฟต์แวรป์ ระยกุ ต์ (Application Software)
2.2.2.1 ซอฟแวรส์ ำเร็จรปู
2.2.2.2 ซอฟตแ์ วร์ใช้เฉพาะทาง

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 28

2.3 บคุ ลากร (Peopleware)
2.3.1 ผใู้ ชง้ านคอมพิวเตอร์ (User/End User)
2.3.2 ชา่ งเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Technician)
2.3.3 นกั วิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
2.3.4 นกั เขยี นโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
2.3.5 วศิ วกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
2.3.6 ผบู้ ริหารฐานขอ้ มูล (Database Administrator)
2.3.7 ผดู้ แู ลระบบเครอื ขา่ ย (Network Administrator)
2.3.8 ผูป้ ฏิบัติการ (Operator)
2.3.9 ผ้บู รหิ ารสงู สุดดา้ นสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Chief Information Officer)

2.4 ข้อมลู (Data)
2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure)

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 29

แบบทดสอบกอ่ นเรียน หน่วยท่ี 2
องคป์ ระกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คำชีแ้ จง 1. แบบทดสอบเป็นชนิดเลือกตอบ แตล่ ะข้อมี 4 ตวั เลอื ก จำนวนท้ังหมด 15 ข้อ
คะแนนเตม็ 15 คะแนน ใช้เวลา 10 นาที

2. ให้นกั เรียนทำเคร่ืองหมาย X เพื่อเลอื กคำตอบในชอ่ งคำตอบ ก ข ค หรอื ง ที่เห็นว่า
ถกู ต้องทส่ี ุดเพยี งคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใชอ่ งค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ก. ฮาร์ดแวร์ ข. ซอฟตแ์ วร์

ค. บุคลากร ง. สารสนเทศ

2. องคป์ ระกอบของระบบคอมพวิ เตอรใ์ ดท่มี ีลกั ษณะเป็นนามธรรม

ก. ฮาร์ดแวร์ ข. ซอฟต์แวร์

ค. บุคลากร ง. สารสนเทศ

3. ขอ้ ใดไมใ่ ชอ่ งคป์ ระกอบของฮาร์ดแวร์

ก. หนว่ ยรบั ขอ้ มูล ข. หน่วยแสดงผล

ค. หน่วยความจำสำรอง ง. หนว่ ยประมวลผลกลาง

4. หน่วยความจำใดทีอ่ ยูภ่ ายในตวั ซพี ยี ู

ก. รอม ข. แรม

ค. รจี สิ เตอร์ ง. ซมี อส

5. อุปกรณ์ใดท่ีไม่ได้จัดอยูใ่ นหน่วยรับขอ้ มลู

ก. กลอ้ งดิจติ อล ข. สแกนเนอร์

ค. ลำโพง ง. เมาส์

6. ข้อใดคอื หน้าทข่ี องบัส (Bus)

ก. รับขอ้ มลู จากภายนอก ข. แสดงผลข้อมลู ออกอปุ กรณ์แสดงผล

ค. เชือ่ มต่ออปุ กรณค์ อมพวิ เตอร์เข้าหากัน ง. ควบคมุ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

7. ข้อใดจดั อยใู่ นประเภทของซอฟตแ์ วร์ประยุกต์

ก. ซอฟต์แวรร์ ะบบ ข. ซอฟต์แวร์สำเร็จรปู

ค. ซอฟตแ์ วร์อรรถประโยชน์ ง. ซอฟตแ์ วร์แปลภาษา

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 30

8. ซอฟตแ์ วรร์ ะบบท่ที ำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการใชง้ านคอมพิวเตอร์

ก. โปรแกรมอรรถประโยชน์ ข. โปรแกรมระบบปฏิบตั กิ าร

ค. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ง. โปรแกรมจดั การทรัพยากร

9. โปรแกรมประมวลผลคำอยู่ในซอฟตแ์ วร์ประเภทใด

ก. ซอฟต์แวรอ์ รรถประโยชน์ ข. ซอฟตแ์ วร์ใชเ้ ฉพาะทาง

ค. ซอฟต์แวรส์ ำเรจ็ รปู ง. ซอฟต์แวร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์

10. โปรแกรมใดจัดอย่ใู นซอฟตแ์ วร์อรรถประโยชน์

ก. โปรแกรมนำเสนองาน ข. โปรแกรมป้องกันไวรัส

ค. โปรแกรมแตง่ ภาพ ง. โปรแกรมเลน่ วิดีโอ

11. ซอฟต์แวรท์ ใ่ี ช้สำหรบั คดิ ราคาสินค้าในห้างสรรพสนิ ค้าจัดอยใู่ นซอฟตแ์ วร์ประเภทใด

ก. ซอฟต์แวรอ์ รรถประโยชน์ ข. ซอฟต์แวร์ใชเ้ ฉพาะทาง

ค. ซอฟตแ์ วร์สำเร็จรูป ง. ซอฟต์แวร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์

12. ผูใ้ ดท่ตี อ้ งมคี วามร้ดู ้านฮาร์ดแวร์ และซอฟตแ์ วร์เป็นอยา่ งดี

ก. โปรแกรมเมอร์ ข. ผู้บริหารฐานข้อมลู

ค. ช่างเทคนคิ คอมพิวเตอร์ ง. ผ้ปู ฏบิ ตั ิการ

13. ผทู้ ่ที ำหน้าทใี่ นการรวบรวมขอ้ มลู ขอ้ เทจ็ จริงเก่ยี วกับความตอ้ งการของผ้ใู ช้คอื ขอ้ ใด

ก. นักวเิ คราะห์ระบบ ข. โปรแกรมเมอร์

ค. ผู้บริหาร ง. ผู้ปฏิบตั ิการ

14. หน่วยข้อมลู ใดเกดิ จากการนำตัวอักษรหลาย ๆ ตัวมารวมกัน

ก. ฟิลด์ ข. เรคอร์ด

ค. ตาราง ง. ฐานข้อมลู

15. คู่มอื ใดไม่ได้จดั อย่ใู นกระบวนการทำงาน

ก. คมู่ ือผดู้ แู ลระบบ ข. ค่มู อื ผใู้ ช้งาน

ค. ค่มู ือการใช้เครือ่ งคอมพิวเตอร์ ง. คู่มือการปฏบิ ตั งิ าน

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 31

หน่วยท่ี 2

องคป์ ระกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์นนั้ มีวธิ กี ารทำงานอย่างเป็นระบบ ซึง่ หมายถงึ ภายในระบบงานคอมพวิ เตอร์
ประกอบด้วยองคป์ ระกอบย่อยทีม่ หี นา้ ที่เฉพาะ ทำงานประสานกนั เพ่อื ให้งานบรรลตุ ามเปา้ หมายใน
ระบบงานคอมพิวเตอร์ แต่การที่มีเคร่ืองคอมพิวเตอร์เพยี งอย่างเดียว จะยงั ไมส่ ามารถทำงานได้ด้วย
ตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเปน็ ระบบและมีประสิทธภิ าพแลว้ ระบบคอมพวิ เตอร์
จะตอ้ งประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบ 5 ดา้ น เพอ่ื ทำงานประสานกนั คอื

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟตแ์ วร์ (Software)
3. บุคลากร (Peopleware)
4. ขอ้ มลู (Data)
5. กระบวนการทำงาน (Procedure)

2.1 ฮารด์ แวร์ (Hardware)
เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจบั ต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ

เคร่ืองพิมพ์ คีย์บอร์ด เป็นต้น ซ่ึงสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ ซึ่งมี
รายละเอยี ดดังน้ี

ภาพท่ี 2.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
ทมี่ า : http://www.rtafa.ac.th/cs/course/CS423-Com-Arc/Learning_com/pdf

/chapter1.pdf, 2559

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 32

2.1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input Unit) ทำหน้าท่ีรับข้อมูลและโปรแกรมสู่
เครอื่ ง ได้แก่ คยี บ์ อร์ด เมาส์ เครอ่ื งสแกน เคร่ืองรูดบัตร ดิจิไตเซอร์ (Digitizer) เปน็ ต้น

ภาพท่ี 2.2 อุปกรณ์ทที่ ำหนา้ ทรี่ บั ขอ้ มลู
ท่ีมา : http://thn243666unit1.blogspot.com/2016/06/keyed-device.html, 2559

2.1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าท่ีในการ
ทำงานตามคำส่ังท่ีปรากฏอยู่ในโปรแกรม หน่วยน้ีจะประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือ หน่วย
คำนวณทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ (ALU : Arithmetic and Logic Unit) , หน่วยควบคุม
(Control Unit) และรจี สิ เตอร์ (Register) ซึ่งปจั จบุ นั ซพี ียขู องเคร่อื งพีซี รูจ้ กั ในชือ่ ไมโครโปรเซสเซอร์
(Micro Processor)

ภาพที่ 2.3 ซีพยี ู (CPU) 33
ทมี่ า : https://www.ihavecpu.com/category/3/cpu-ซพี ีย,ู 2559

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ

2.1.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เปน็ อุปกรณ์ท่ีใช้ในการจดจำข้อมลู และ
โปรแกรมต่าง ๆ ท่อี ยรู่ ะหวา่ งการประมวลผลของคอมพวิ เตอร์ บางครงั้ อาจเรยี กวา่ หน่วยเกบ็ ขอ้ มลู
หลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท คอื

2.1.3.1 หน่วยความจำหลักแบบ อ่านได้อย่างเดียว (Read Only
Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำช่ัวคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อ
บันทกึ ในคอมพวิ เตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซำ้ ได้ เป็นความจำที่ซอฟตแ์ วรห์ รอื ข้อมูลอยแู่ ล้ว และ
พร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรงหน่วยความจำประเภทน้ีแม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่
ข้อมูลกจ็ ะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทว่ั ไปจะใช้เก็บข้อมูลท่ีไม่ตอ้ งมีการแก้ไข
อีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ที่ควบคุม
การทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเคร่ืองคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของ
คอมพวิ เตอรท์ ่ีทำงานเฉพาะด้าน เชน่ ในรถยนตท์ ใ่ี ชร้ ะบบคอมพวิ เตอร์ควบคมุ วงจร ควบคุมในเคร่อื ง
ซกั ผา้ เป็นต้น

ภาพท่ี 2.4 หน่วยความจำหลกั แบบอ่านไดอ้ ย่างเดียว (ROM)
ทมี่ า : https://korkingkub.wordpress.com/2012/09/10/bios-คอื อะไร/

2.1.3.2 หน่วยความจำหลักแบบแกไ้ ขได้ (Random Access Memory -
RAM) เป็นหนว่ ยความจำหลกั ท่ใี ชใ้ นระบบคอมพิวเตอร์ยคุ ปัจจบุ ัน หนว่ ยความจำชนิดนี้ อนญุ าตให้
เขยี นและอา่ นข้อมลู ไดใ้ นตำแหนง่ ตา่ ง ๆ อยา่ งอสิ ระ และรวดเร็วพอสมควร ซ่ึงตา่ งจากสอ่ื เกบ็ ข้อมลู
ชนดิ อนื่ ๆ อยา่ งเทป หรือดิสก์ ท่ีมขี ้อจำกัดในการอ่านและเขียนขอ้ มูล ท่ีต้องทำตามลำดับกอ่ นหลงั
ตามที่จัดเกบ็ ไว้ในสอ่ื หรอื มีขอ้ กำจดั แบบรอม ทอี่ นุญาตใหอ้ ่านเพยี งอยา่ งเดียว ข้อมลู ในแรม อาจ
เป็นโปรแกรมทก่ี ำลงั ทำงาน หรอื ข้อมลู ทีใ่ ช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมทก่ี ำลงั ทำงานอยู่ ข้อมลู

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 34

ในแรมจะหายไปทันที เม่อื ระบบคอมพิวเตอรถ์ กู ปดิ ลง เน่อื งจากหนว่ ยความจำชนิดนี้ จะเกบ็ ขอ้ มูลได้
เฉพาะเวลาท่ีมกี ระแสไฟฟา้ หลอ่ เล้ยี งเท่านัน้

ภาพท่ี 2.5 หนว่ ยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (RAM)
ท่มี า : http://www.businesssoft.com/blog/?p=846, 2559
2.1.4 หนว่ ยแสดงผลข้อมลู (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลพั ธ์ท่ีไดจ้ ากการ
ประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเคร่ืองพมิ พ์ เปน็ ตน้ และจะเช่อื มตอ่ กันดว้ ยบัส (Bus)

ภาพท่ี 2.6 หน่วยแสดงผลขอ้ มูล (Output Unit)
ทีม่ า : http://pantitatammaput.blogspot.com/2011/12/output-unit.html, 2559

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 35

ภาพท่ี 2.7 การเช่ือมต่อของอปุ กรณ์คอมพิวเตอรผ์ ่านบสั (BUS)
ท่ีมา : http://www.rtafa.ac.th/cs/course/CS423-Com-Arc/Learning_com/pdf

/chapter1.pdf, 2559

2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมหรือชุดของคำส่ังที่ถูกเขียนข้ึนเพ่ือให้

คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ หากไม่มซี อฟตแ์ วร์เคร่อื งคอมพิวเตอรก์ ็จะไม่สามารถทำงานได้
เลย ซอฟต์แวร์นั้นเป็นองคป์ ระกอบทางนามธรรมท่ีไม่สามารถจบั ตอ้ งหรือสัมผัสได้เหมือนฮาร์ดแวร์
ซึง่ ซอฟต์แวรส์ ามารถแบง่ ได้เปน็ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คอื

2.2.1 ซอฟตแ์ วร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟตแ์ วร์เขียนขน้ึ เพ่อื หนา้ ที่ควบคุม
ระบบการทำงานของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าท่ีควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และ
คอยอำนวยความสะดวกให้กบั ผใู้ ช้ ซึ่งสามารถแบ่งเปน็ ส่วนย่อยไดด้ ังนี้

2.2.1.1 ซอฟตแ์ วร์ระบบปฏิบตั กิ าร (Operating System) นยิ มเรียกวา่ โอ
เอส (OS) เปน็ โปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพวิ เตอรท์ งั้ ระบบ ปัจจุบนั ระบบปฏบิ ัติการท่ีมกี าร
ใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ เชน่ DOS (Disk Operating System) , ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่น
ตา่ ง ๆ ระบบปฏิบัตกิ าร UNIX, Linux เป็นต้น

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 36

ภาพที่ 2.8 สัญลักษณ์โปรแกรมระบบปฏบิ ัตกิ ารตา่ ง ๆ
ที่มา : https://www.pinterest.co.uk/pin/387802217893520419/, 2559

2.2.1.2 ซอฟต์แวร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator Program) เป็น
โปรแกรมแปลคำสง่ั ที่เขยี นในภาษาระดับสูง เชน่ ภาษา Pascal ภาษา C ภาษา Visual Basic ภาษา
Visual C เป็นต้น ซ่ึงซอฟต์แวร์แปลภาษานี้จะแปลชดุ คำส่ังให้เป็นภาษาเคร่ือง ซึ่งมีลักษณะวิธีการ
แปล 2 ลักษณะคือแปลโปรแกรมท้ังโปรแกรมในคราวเดียวเรียกว่าคอมไพเลอร์ (Compiler) อีก
ลักษณะคือแปลทีละบรรทัด จะเรียกว่าอนิ เตอรพ์ รีเตอร์ (Interpreter) เชน่ ภาษา Basic

ภาพท่ี 2.9 กระบวนการแปลภาษาคอมพวิ เตอร์ของภาษาซี 37
ทม่ี า : https://computer.howstuffworks.com/c1.htm, 2559

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ

2.2.1.3 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Program) เปน็ โปรแกรมท่ที ำ
หน้าท่ีอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการติดตอ่ กับคอมพิวเตอร์โดยจะชว่ ยลดขั้นตอนในการเขียน
โปรแกรมที่ยงุ่ ยาก เช่น การตรวจคน้ หาแฟม้ ข้อมูลทล่ี บไปแลว้ การบีบอดั ข้อมลู เปน็ ตน้

ภาพที่ 2.10 โปรแกรมอรรถประโยชน์ตา่ ง ๆ
ที่มา : https://nanat1997.weebly.com/utility-program.html, 2559
2.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ท่ีใช้กับงานด้าน
ตา่ ง ๆ ตามความตอ้ งการของผใู้ ช้ ท่ีสามารถนำมาใช้ประโยชนไ์ ดโ้ ดยตรง ปจั จบุ ันมผี ู้พฒั นาซอฟต์แวร์
ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย
เราอาจแบ่งซอฟต์แวรป์ ระยุกตอ์ อกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเรจ็ รูป และซอฟต์แวร์ใชเ้ ฉพาะทาง

2.2.2.1 ซอฟแวร์สำเร็จรูป เปน็ ซอฟตแ์ วร์หรือโปรแกรมประยุกต์ทีม่ ผี ู้จดั ทำ
ไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่าง ๆ โดยทผ่ี ู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับข้อมูลของ
ตนได้ ตวั อย่างเชน่ ชุดโปรแกรม Microsoft Office

ภาพที่ 2.11 ชุดโปรแกรม Microsoft Office
ทีม่ า : http://trapptechnology.com/office-pro-plus-2013-download/, 2559

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 38

2.2.2.2 ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง เป็นโปรแกรมท่ีได้รับการออกแบบและ
พฒั นาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหน่งึ ตามความตอ้ งการของผใู้ ช้ โดยท่ีผู้เขียน
โปรแกรม คือ โป รแกรมเมอร์ (Programmer) ที่ มีความสามารถในการเขียนโป รแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศกึ ษาทำความเข้าใจงานและรายละเอยี ดของการประยุกต์น้ันเป็นอยา่ งดี
เชน่ โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมชว่ ยจดั การบริการลกู ค้า ฯลฯ โดยปกตจิ ะไม่ค่อยได้
พบเหน็ ซอฟตแ์ วรป์ ระเภทน้ีในท้องตลาดทวั่ ไป แต่จะซ้ือหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหนา่ ยในราคา
ค่อนขา้ งสงู กว่าซอฟต์แวรท์ ีใ่ ชง้ านทวั่ ไป

ภาพที่ 2.12 ตวั อย่างโปรแกรมสนิ คา้ คงคลงั
ทม่ี า : http://www.businesssoft.com/easy-acc3/easy-acc5, 2559
สำหรบั ในประเทศไทย ซอฟตแ์ วร์ใช้เฉพาะทางจะเป็นซอฟต์แวร์ท่ีบรษิ ัทผู้ผลิตผู้พัฒนา
ซอฟต์แวร์ไดอ้ อกแบบมาเพื่อรองรบั งานด้านธรุ กจิ ซ่ึงอาจจะสามารถจดั ประเภทของซอฟต์แวรท์ ี่ใช้
เฉพาะทางไวด้ งั น้ี

- ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหน้ี
บญั ชลี ูกหน้ี บัญชสี ินทรพั ยถ์ าวรและคา่ เสือ่ มราคาสะสม บญั ชแี ยกประเภททั่วไป และบัญชเี งนิ เดือน

- ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย ได้แก่ ระบบงานรับใบส่ังซื้อ
สินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลงั และระบบงานประวตั กิ ารขาย

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 39

- ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบงาน
กำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลติ การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผล
งานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวสั ดุ การควบคุมการทำงาน
ภายในโรงงาน การกำหนดเงินทนุ มาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต

- ซอฟต์แวร์อ่ืน ๆ ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหาร
การเงิน การเช่าซือ้ อสงั หาริมทรัพย์ และการเช่าซอ้ื รถยนต์

2.3 บุคลากร (Peopleware)
หมายถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ซ่ึงถือเป็นองค์ประกอบของระบบ

คอมพวิ เตอรท์ ม่ี ีความสำคญั มาก เพราะถ้าบคุ ลากรไมม่ ีความรใู้ นการใช้งานคอมพวิ เตอร์ อาจจะทำให้
การใชง้ านไมม่ ีประสทิ ธิภาพ หรอื ไมไ่ ด้ผลลัพธต์ ามเป้าหมายทต่ี ง้ั ไว้ สำหรับบุคลากรด้านคอมพวิ เตอร์
สามารถแบ่งได้ต่อไปน้ี

2.3.1 ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User/End User) เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุด ซึ่งไม่
จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากนัก โดยอาจจะศึกษาจากคมู่ ือปฏิบัตงิ านหรือคู่มือ
การใช้โปรแกรม อาจต้องเข้ารับการอบรมเพื่อให้สามารถใช้งานไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง บุคลากรกลุ่มน้ีจะมี
มากที่สุดในหน่วยงาน คือจะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์พ้ืนฐานท่ัวไป เช่น พนักงานธุรการ พนั กงาน
ปอ้ นข้อมลู พนกั งานบรกิ ารลูกค้าสมั พันธ์ เป็นตน้

ภาพที่ 2.13 ผู้ใชง้ านคอมพิวเตอร์ (User/End User)
ท่ีมา : https://phys.org/news/2014-03-digital-user-invading-privacy.html, 2559

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 40

2.3.2 ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Technician) โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น
บุคลากรที่มีความชำนาญด้านเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่เกิด
ขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยจะต้องมีทักษะและ
ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านฮาร์ ดแวร์หรือ
ซอฟต์แวร์ ซ่ึงในบางหน่วยงานอาจตั้งศูนย์ช่วยเหลือและแก้ปัญหาการใช้งานที่เรียกว่า เฮลป์
เดสก์(Help Desk) หรอื อาจจะเรียกผู้ท่ีทำหน้าท่ีนี้วา่ เฮลป์เดสก์ ซพั พอรต์ (Help Desk Support)
หรือ ไอทีซพั พอรต์ (IT Support ) กไ็ ด้

ภาพที่ 2.14 ชา่ งเทคนคิ คอมพิวเตอร์ (Computer Technician)
ท่ีมา : https://boxsupport.com/onsite-support/, 2559
2.3.3 นกั วเิ คราะหร์ ะบบ (System Analysis) มหี นา้ ทวี่ เิ คราะห์ความตอ้ งการของผู้ใช้
รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงาน องคก์ รน้ัน ๆ วา่ ต้องการระบบหรือโปรแกรมท่ีมีลักษณะแบบไหน
อยา่ งไร เพ่อื จะพฒั นาระบบงานใหต้ รงตามความต้องการและมปี ระสิทธภิ าพมากท่ีสดุ

ภาพท่ี 2.15 นกั วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 41
ทม่ี า : http://mybcom54.blogspot.com/, 2559

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ

หากเปรยี บเทียบการพัฒนาโปรแกรมกบั การสร้างบ้าน นกั วเิ คราะหร์ ะบบก็
เปรียบได้กับสถาปนกิ ท่ีมหี น้าท่ีออกแบบบา้ นให้ตรงตามความตอ้ งการของเจ้าของบ้าน โดยสถาปนกิ
ตอ้ งเกบ็ ข้อมลู หรือสอบถามความต้องการของเจ้าของบ้านว่าต้องการบา้ นลกั ษณะใด จากนัน้ จงึ นำไป
เขยี นแปลนบา้ นเพอ่ื นำไปใช้ในการสร้างบา้ นตอ่ ไป เพยี งแตน่ ักวเิ คราะห์ระบบต้องเกบ็ ขอ้ มลู หรอื
สอบถามความต้องการของผ้ใู ชโ้ ปรแกรมว่าต้องการโปรแกรมลักษณะใด จากนนั้ จงึ วิเคราะหแ์ ละ
ออกแบบระบบเพื่อนำไปพฒั นาโปรแกรมตอ่ ไป

2.3.4 นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) ได้แก่บคุ คลท่ีทำหน้าท่ี
เขียนโปรแกรมประยุกต์ (Application Program) ตามรายละเอียดและข้อกำหนดที่นักวิเคราะห์
ระบบได้ออกแบบไว้ โปรแกรมเมอร์จะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ตนเองถนัด ซงึ่ ขน้ึ อยกู่ ับความเหมาะสม
สมรรถนะของภาษาคอมพิวเตอร์ และลักษณะของงานที่จะพัฒนา เช่น งานด้านธุรกิจ ด้าน
วทิ ยาศาสตร์ ด้านการคำนวณ เป็นต้น ซึ่งนิยมเรียกโปรแกรมเมอร์ที่มีความเช่ียวชาญในการพัฒนา
โปรแกรมแต่ละด้านคือ นักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ (Web Programmer) นักเขียนโปรแกรม
สำหรับใช้งานเฉพาะทาง (Application Programmer) และนักเขียนโปรแกรมระบบ (System
Programmer)

ภาพที่ 2.16 นกั เขียนโปรแกรม หรอื โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
ทม่ี า : http://www.adweek.com/digital/facebook-invites-participants-for-third-annual-
hacker-cup/, 2559

2.3.5 วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ทำหนา้ ทใ่ี นการวิเคราะห์และตรวย
สอบซอฟต์แวรท์ พี่ ัฒนาอย่างมีแบบแผน โดยอาศยั หลักการทางวศิ วกรรมศาสตรม์ าช่วย เชน่ วดั คา่

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 42

ความซับซ้อนของซอฟต์แวร์วา่ ใชบ้ รรทดั คำสง่ั (Line of code) ในการเขียนโปรแกรมมากน้อย
เพยี งใด การเขยี นโปรแกรมนั้นถูกตอ้ งตามหลักการเขียนโปรแกรมท่ีดีหรอื ไม่ มีบรรทดั คำสง่ั ในการ
เขียนโปรแกรมทีไ่ มจ่ ำเป็นมากนอ้ ยเพยี งใด ซงึ่ ส่ิงต่าง ๆ เหลา่ นส้ี ามารถวัดและหาคณุ ภาพของ
ซอฟตแ์ วร์ทผ่ี ลิตข้นึ มาได้ วศิ วกรซอฟตแ์ วรจ์ ะอยใู่ นทมี พฒั นาซอฟตแ์ วร์ ซึ่งสว่ นใหญจ่ ะอย่ใู นทมี
พฒั นาซอฟตแ์ วรท์ มี่ ีขนาดใหญ่ เชน่ การพัฒนาระบบปฏบิ ตั กิ าร การสร้างเกม หรือโปรแกรมในการ
ดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น

ภาพที่ 2.17 วิศวกรซอฟตแ์ วร์ (Software Engineer)
ทม่ี า : www.renishaw.com/en/choosing-the-right-path-into-engineering--42778, 2559

2.3.6 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) สำหรับระบบหรือองค์กร
ขนาดใหญ่ ซ่งึ มกี ารจัดการฐานขอ้ มลู ทสี่ ลบั ซบั ซอ้ นจะต้องมีผบู้ รหิ ารฐานขอ้ มลู หรอื ดบี เี อ (DBA) เปน็
ผู้บริหารในการจัดการควบคุมจริงแก้ไขเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลและให้สิทธิในการใช้ฐานข้อมูลแก่
ผู้ใช้งานท่วั ไป

ภาพที่ 2.18 ผู้บริหารฐานขอ้ มลู (Database Administrator)
ทีม่ า : http://www.affirmaconsulting.com/hire-database-administrator-dba/, 2559

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 43

2.3.7 ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Administrator) มีหน้าที่ดูแลและบริหาร
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร มักเกี่ยวข้องกับลักษณะงานหลัก ๆ ทางด้านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เช่น การติดต้ังระบบเครือข่าย การควบคุมสิทธ์ิของผู้ท่ีใช้เข้าใช้งาน การ
ป้องกันการบุกรุกระบบเครือข่าย เป็นต้น ผู้ท่ีทำหน้าที่น้ีจะต้องมีความเช่ียวชาญเก่ียวกับระบบ
เครอื ข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี และมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที หากไม่
สามารถแก้ไขได้ อาจเกิดความเสียหายตอ่ องคก์ ร เช่น เกิดการบุกรุกทางเครือขา่ ยคอมพิวเตอร์และ
โจรกรรมข้อมูลทเ่ี ป็นความลับขององคก์ ร ผดู้ แู ลระบบเครือข่ายจะต้องหาทางป้องกนั และแนะนำวิธี
ปฏิบตั ใิ ห้กับผู้ใช้งานระบบภายในองค์กร

ภาพท่ี 2.19 ผู้บรหิ ารฐานข้อมลู (Database Administrator)
ทีม่ า : www.enterpriseitpro.net/6-เครอื่ งมอื -troubleshooting-network-เบอ้ื งต้น/, 2559

2.3.8 ผู้ปฏิบัติการ (Operator) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมี
เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเม่ือมีปัญหาซ่ึงอาจเกิดขัดข้อง
จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเคร่ือง
(System Software) อีกทีหน่ึง นอกจากนน้ั ยงั ต้องทำการสำรองข้อมูล (Back up) ไว้ในเทปหรอื ส่ิง
อน่ื ซึ่งหากเปน็ เครือ่ งคอมพวิ เตอร์พีซี ผใู้ ช้ (User) จะเปน็ ผ้ปู ฏิบัตกิ ารไปในตวั

ภาพที่ 2.20 ผปู้ ฏบิ ตั กิ าร (Operator) 44
ทม่ี า : https://asuscontrolcenter.asus.com/#/, 2559

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ

2.3.9 ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Chief Information
Officer) สำหรบั หนว่ ยงานขนาดใหญท่ ีต่ ้องพงึ่ พาเทคโนโลยคี อมพิวเตอรใ์ นการดำเนินงาน อาจจะมี
บุคลากรในตำแหน่งที่เรียกว่าซีไอโอ (CIO) ซึ่งย่อมาจาก Chief Information Officer ซ่ึงเป็น
ตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารงานคอมพิวเตอรใ์ นองค์กร สำหรับซีไอโอน้ันจะทำหน้าท่ีกำหนด
ทิศทาง นโยบายและแผนงานทางด้านคอมพิวเตอร์ในองค์กรทั้งหมดว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใด
ควรจะปรับเพมิ่ ลด องคป์ ระกอบด้านคอมพิวเตอรใ์ นสว่ นใดบา้ งเพื่อใหต้ รงตามเป้าหมายขององค์กร
มากทสี่ ดุ

ภาพที่ 2.21 ผู้บรหิ ารสงู สดุ ดา้ นสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Chief Information Officer)
ท่ีมา : http://www.northstarwm.com/Retirement-Plan-Consulting.7.htm, 2559

2.4 ข้อมลู (Data)
ขอ้ มูลเปน็ องคป์ ระกอบสำคัญอย่างหนง่ึ ในระบบคอมพวิ เตอร์เพราะเปน็ ส่งิ ท่ีต้องบันทกึ ลง

ไปในคอมพิวเตอร์พร้อมกับโปรแกรมทน่ี ักคอมพิวเตอร์ได้เขียนไปเพอื่ ผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา
ดังนั้นข้อมูลต้องมีความถูกต้อง ข้อมูลท่ีจะนำเข้ามาจะมีหน่วยที่เล็กที่สุดได้แก่ ตัวอักขระ
(Character) ซึ่งจะประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เมื่อนำตัวอักขระเหล่าน้ีมา
ประกอบกัน จะทำให้ได้หน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น คือ ฟิลด์ (Field) และการนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มา
ประกอบกันจะเป็น เรคคอร์ด (Record) และถ้านำหลาย ๆ เรคคอร์ดมาประกอบกันจะเป็นไฟล์
(Field และ หากนำหลายๆ ไฟล์มารวมกัน ในลักษณะท่ีมีความสัมพันธ์กันในแต่ละไฟล์ด้วยจะ
กลายเป็นฐานขอ้ มูล (Database)

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 45

ภาพที่ 2.22 ขอ้ มูล (Data)
http://www.thongjoon.com/2011/04/excel-pivot-table.html, 2559
2.5 กระบวนการทำงาน (Procedure)
องค์ประกอบด้านน้ีหมายถึงกระบวนการทำงานเพ่ือให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการ
ทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบข้ันตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้อง และมี
ประสิทธิภาพ ซ่ึงอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายข้ันตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือ
ปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ (User manual) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ (Operation manual) เพ่ือเป็น
แนวทางในการดำเนินงานของผูท้ ีเ่ ก่ียวขอ้ งกบั ระบบงาน

ข้อมูลเขา้ (2) ประมวลผล (3) วเิ คราะห์
ข้อมลู
(1) (5) ข้อมูลเพือ่
(2) ประมวลผล (3) Internet สนับสนนุ การ
ขอ้ มลู
ฐานขอ้ มูล GIS จัดการดา้ น

ต่าง ๆ

(4)

ภาพท่ี 2.23 ตัวอยา่ งกระบวนการทำงานในระบบสารสนเทศภมู ิศาสตร์ (GIS)
ทีม่ า : https://sites.google.com/site/rabbsarsnthesphumisastrgis/krabwnkar-thangan-
khxng-gis, 2559

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 46

แบบฝึ กหดั หน่วยที่ 2

องคป์ ระกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คำช้ีแจง แบบฝกึ หัด มีทง้ั หมด 7 ขอ้ ใหน้ ักเรียนทำแบบฝกึ หดั ทุกขอ้ คะแนนเต็ม 20 คะแนน
ใชเ้ วลา 15 นาที

1. จงบอกองค์ประกอบของระบบคอมพวิ เตอร์ (1 คะแนน)
2. จงบอกสว่ นประกอบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (1 คะแนน)
3. จงอธิบายข้อแตกตา่ งของหน่วยความจำรอม และหนว่ ยความจำแรม (1 คะแนน)
4. จงอธบิ ายลกั ษณะของซอฟตแ์ วร์ดังตอ่ ไปนี้ (6 คะแนน)

- ซอฟต์แวร์ระบบ
- ซอฟตแ์ วรแ์ ปลภาษาคอมพวิ เตอร์
- ซอฟตแ์ วรอ์ รรถประโยชน์
- ซอฟตแ์ วร์ประยกุ ต์
- ซอฟตแ์ วรส์ ำเร็จรปู
- ซอฟตแ์ วรใ์ ชเ้ ฉพาะทาง
5. จงบอกหน้าทขี่ องบคุ ลากรที่เกี่ยวข้องกบั ระบบคอมพิวเตอร์ดังตอ่ ไปนี้ (9 คะแนน)
- ผ้ใู ชง้ านคอมพวิ เตอร์
- ช่างเทคนคิ คอมพิวเตอร์
- นักวเิ คราะห์ระบบ
- โปรแกรมเมอร์
- วศิ วกรซอฟต์แวร์
- ผบู้ รหิ ารฐานขอ้ มูล
- ผู้ดแู ลระบบเครอื ข่าย
- ผปู้ ฏบิ ตั ิการ
- ผู้บรหิ ารสูงสดุ ด้านสารสนเทศและคอมพวิ เตอร์
6. จงอธบิ ายลักษณะของข้อมูล (1 คะแนน)
7. จงบอกสาเหตุท่ีต้องมกี ระบวนการทำงาน (1 คะแนน)

ระบบคอมพิวเตอร์และสว่ นประกอบ 47

แบบทดสอบหลงั เรียน หน่วยที่ 2
องคป์ ระกอบของระบบคอมพวิ เตอร์

คำช้ีแจง 1. แบบทดสอบเปน็ ชนดิ เลือกตอบ แต่ละข้อมี 4 ตัวเลอื ก จำนวนท้งั หมด 15 ขอ้
คะแนนเตม็ 15 คะแนน ใชเ้ วลา 10 นาที

2. ให้นักเรียนทำเครอ่ื งหมาย X เพือ่ เลอื กคำตอบในชอ่ งคำ ตอบ ก ข ค หรือ ง ที่เหน็ วา่
ถกู ต้องทสี่ ดุ เพยี งคำตอบเดียว

1. ขอ้ ใดจดั อยใู่ นประเภทของซอฟตแ์ วร์ประยกุ ต์

ก. ซอฟตแ์ วร์แปลภาษา ข. ซอฟตแ์ วร์อรรถประโยชน์

ค. ซอฟตแ์ วรส์ ำเร็จรูป ง. ซอฟตแ์ วรร์ ะบบ

2. อุปกรณใ์ ดทไี่ มไ่ ดจ้ ัดอย่ใู นหนว่ ยรบั ขอ้ มลู

ก. เมาส์ ข. ลำโพง

ค. สแกนเนอร์ ง. กล้องดจิ ติ อล

3. คู่มอื ใดไมไ่ ดจ้ ดั อยู่ในกระบวนการทำงาน

ก. คู่มอื การใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์ ข. ค่มู ือการปฏิบตั งิ าน

ค. คมู่ อื ผู้ดแู ลระบบ ง. คมู่ อื ผู้ใชง้ าน

4. ข้อใดไม่ใชอ่ งค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ก.บคุ ลากร ข. สารสนเทศ

ค. ฮาร์ดแวร์ ง. ซอฟตแ์ วร์

5. หน่วยข้อมลู ใดเกดิ จากการนำตัวอกั ษรหลาย ๆ ตัวมารวมกนั

ก. เรคอร์ด ข. ตาราง

ค. ฟลิ ด์ ง. ฐานข้อมลู

6. ซอฟต์แวร์ท่ีใชส้ ำหรบั คดิ ราคาสนิ ค้าในห้างสรรพสนิ ค้าจัดอยู่ในซอฟต์แวร์ประเภทใด

ก. ซอฟต์แวร์ใชเ้ ฉพาะทาง ข. ซอฟตแ์ วรอ์ รรถประโยชน์

ค. ซอฟตแ์ วรแ์ ปลภาษาคอมพวิ เตอร์ ง. ซอฟตแ์ วรส์ ำเร็จรูป

7. องคป์ ระกอบของระบบคอมพวิ เตอรใ์ ดทีม่ ีลกั ษณะเปน็ นามธรรม

ก. บุคลากร ข. สารสนเทศ

ค. ฮาร์ดแวร์ ง. ซอฟต์แวร์

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 48

8. ผู้ใดทต่ี อ้ งมีความรูด้ ้านฮารด์ แวร์ และซอฟตแ์ วร์เป็นอยา่ งดี

ก. ช่างเทคนคิ คอมพิวเตอร์ ข. ผ้บู ริหารฐานข้อมลู

ค. โปรแกรมเมอร์ ง. ผูป้ ฏิบัตกิ าร

9. ข้อใดคือหน้าที่ของบัส (Bus)

ก. แสดงผลข้อมูลออกอุปกรณ์แสดงผล ข. ควบคมุ การทำงานของระบบ

ค. รับข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์ ง. เชอ่ื มต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เขา้ หากัน

10. ขอ้ ใดไมใ่ ชอ่ งคป์ ระกอบของฮาร์ดแวร์

ก.หน่วยแสดงผล ข. หนว่ ยความจำสำรอง

ค.หน่วยประมวลผลกลาง ง. หนว่ ยรบั ข้อมลู

11. ซอฟต์แวร์ระบบทีท่ ำหนา้ ที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานคอมพวิ เตอร์

ก. โปรแกรมระบบปฏบิ ตั ิการ ข. โปรแกรมจดั การทรัพยากร

ค. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ง. โปรแกรมอรรถประโยชน์

12. ผู้ทที่ ำหนา้ ท่ใี นการรวบรวมขอ้ มลู ข้อเท็จจริงเกยี่ วกับความต้องการของผู้ใช้คือข้อใด

ก. โปรแกรมเมอร์ ข. นักวิเคราะหร์ ะบบ

ค. ผู้ปฏิบตั ิการ ง. ผู้บรหิ าร

13. โปรแกรมประมวลผลคำอยใู่ นซอฟตแ์ วร์ประเภทใด

ก. ซอฟตแ์ วร์ใช้เฉพาะทาง ข. ซอฟต์แวรส์ ำเรจ็ รูป

ค. ซอฟตแ์ วรอ์ รรถประโยชน์ ง. ซอฟตแ์ วรแ์ ปลภาษาคอมพวิ เตอร์

14. โปรแกรมใดจัดอยู่ในซอฟตแ์ วรอ์ รรถประโยชน์

ก. โปรแกรมนำเสนองาน ข. โปรแกรมเล่นวดิ โี อ

ค. โปรแกรมปอ้ งกันไวรัส ง. โปรแกรมแต่งภาพ

15. หน่วยความจำใดทีอ่ ยู่ภายในตัวซีพียู

ก. ซมี อส ข. รีจสิ เตอร์

ค. รอม ง. แรม

ระบบคอมพิวเตอรแ์ ละสว่ นประกอบ 49


Click to View FlipBook Version