The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมแผนการจัดการเรียนรู้จำนวนเต็ม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by oiller45180, 2023-07-10 11:47:59

รวมแผนการจัดการเรียนรู้จำนวนเต็ม

รวมแผนการจัดการเรียนรู้จำนวนเต็ม

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นางสาวพรชิตา เซซ่ง ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เอกสารประกอบการประเมิน ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งสำหรับการ สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย


ก คำนำ เอกสารประกอบการประเมินเล่มนี้ จัดทำขึ้นตามตัวชี้วัดและคะแนนการประเมินภาค ค ความ เหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในโรงเรียน สำหรับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน ปี 2566 ในเอกสารประกอบการประเมินนี้ประกอบด้วย 1. โครงสร้างรายวิชาคณิตศาสตร์ 2. หน่วยการเรียนรู้ 3. แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้จัดทำได้เรียบเรียงข้อมูลเป็นลำดับไว้ในเอกสารประกอบการประเมินแล้ว และขอขอบพระคุณ ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ไห้คำปรึกษา เสนอแนะ และช่วยเหลือให้เอกสารเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยดี นางสาวพรชิตา เซซ่ง ผู้จัดทำ


ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข โครงสร้างรายวิชาคณิตศาสตร์ 1 - ความสำคัญของคณิตศาสตร์ 1 - ทักษะและกระบวนการการทางคณิตศาสตร์ 1 - สาระสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2 - สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 2 - คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน 7 - โครงสร้างรายวิชา 8 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 10 แนวการสอน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ 19


1 ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจาก คณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบมีแบบแผน สามารถ วิเคราะห์ ปัญหา หรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือใน การศึกษาด้วยคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ ชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม กับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึง จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความรู้ทาง คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับนี้ จัดทำขึ้น โดยคำนึงถึงการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้ มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและ อยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้ ทั้งนี้การจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้อง เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะ ประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จัดเป็น 3 สาระ ได้แก่ จำนวนและพีชคณิต การวัดและ เรขาคณิต และสถิติและความน่าจะเป็น ✧ จำนวนและพีชคณิต เรียนรู้เกี่ยวกับ ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริงอัตราส่วน ร้อยละ การประมาณค่า การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน การใช้จำนวนในชีวิตจริง แบบรูปความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน เซต ตรรกศาสตร์ นิพจน์ เอกนาม พหุนาม สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ดอกเบี้ย และ มูลค่า ของเงิน ลำดับและอนุกรม และการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนและพีชคณิตไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ✧ การวัดและเรขาคณิต เรียนรู้เกี่ยวกับความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความ จุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่าง ๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วนตรีโกณมิติ รูปเรขาคณิต และสมบัติของรูปเรขาคณิต การนึกภาพ แบบจำลองทางเรขาคณิต ทฤษฎีบททางเรขาคณิต การแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน และการนำความรู้เกี่ยวกับการวัด และ เรขาคณิตไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ


2 ✧ สถิติและความน่าจะเป็น เรียนรู้เกี่ยวกับ การตั้งคำถามทางสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูลการ คำนวณค่าสถิติ การนำเสนอและแปลผลสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ หลักการนับ เบื้องต้นความ น่าเป็น การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณต่าง ๆ และช่วยในการตัดสินใจ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่1 จำนวนและพีชคณิต มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการ ของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติการดำเนินการ และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหา ที่กำหนดให้ สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้ มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ ระหว่างรูปเรขาคณิตและทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้ สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติและใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้ คุณภาพผู้เรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนจริง ความสัมพันธ์ของจำนวนจริง สมบัติของจำนวนจริง และใช้ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ และใช้ความรู้ความเข้าใจนี้ในการ แก้ปัญหาในชีวิตจริง


3 ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม และใช้ความรู้ความ เข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรและ อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และใช้ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพหุนาม การแยกตัวประกอบของพหุนาม สมการกำลังสองและใช้ ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์และฟังก์ชันกำลังสองและใช้ ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจทางเรขาคณิตและใช้เครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำ ความรู้เกี่ยวกับกำรสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติและใช้ความรู้ความ เข้าใจนี้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ ✧ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย และทรงกลม และใช้ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนาน รูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการรูป สามเหลี่ยมคล้าย ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ และนำ ความรู้ความเข้า ใจนี้ไปใช้ในการแกปัญหาใน ชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการแปลงทางเรขาคณิต และนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติและนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาในชีวิตจริง ✧ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทฤษฎีบทเกี่ยวกับวงกลม และนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ✧ มีความรู้ความเข้าใจทางสถิติในการนำเสนอข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และแปลความหมายข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับแผนภาพจุด แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม ค่ากลางของข้อมูล และแผนภาพกล่องและใช้ความรู้ ความเข้าใจนี้รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ✧ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความน่าจะเป็นและใช้ความรู้ความเข้าใจนี้ในการแก้ปัญหา ในชีวิตจริง


4 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของเป้าหมายการเรียนรู้ วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มุ่งจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยตระหนักถึง ศักยภาพของผู้เรียน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียน อย่างมีความสุข และส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์และตระหนักในคุณค่าและมี เจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เป้าหมายของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีในสาระคณิตศาสตร์ที่จำเป็น พร้อมทั้ง สามารถนำไปประยุกต์ได้ 2. มีความสามารถในการแก้ปัญหา สื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยง ให้เหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์ 3. มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ เห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ สามารถนำ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ตลอดจนการประกอบอาชีพ 4. มีความสามารถในการเลือกใช้สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อเป็น เครื่องมือในการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน และ การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


5 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง 2560 1. ทำความเข้าใจ หรือสร้างกรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากรณีตัวอย่างหลายๆ กรณี 2. มองเห็นว่าสามารถใช้คณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ 3. มีความมุมานะในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4. สร้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเองหรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่าง สมเหตุสมผล 5. ค้นหาลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และประยุกต์ใช้ลักษณะดังกล่าว เพื่อทำความเข้าใจหรือ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ คุณลักษณะอันพึงประสงค์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ


6 วิเคราะห์เชื่อมโยงทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฉบับปรับปรุง 2560 1. การแก้ปัญหา 2. การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 3. การเชื่อมโยง 4. การให้เหตุผล 5. การคิดสร้างสรรค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


7 คำอธิบายรายวิชา รหัสวิชา ค 21101 รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้ จำนวนตรรกยะ จำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็ม ทศนิยมและเศษส่วน จำนวนตรรกยะและ สมบัติของจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก การนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ และเลขยกกำลังไปใช้ในการแก้ปัญหา การสร้างทางเรขาคณิต การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต การสร้างรูปเรขาคณิตสองมิติโดยใช้การ สร้างพื้นฐานทาง เรขาคณิต การนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตไปใช้ในชีวิตจริง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ ภาพที่ได้จากการมอง ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เลขยกกำลัง เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม คูณและหาร เลข ยกกำลังที่มีฐานเดียวกันและเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มได้ เขียนแสดงจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (AX10" เมื่อ 1S A<10 และ n เป็นจำนวนเต็ม) การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยสอดแทรกทักษะกระบวนการณ์ทางคณิตศาสตร์ และจำลอง สถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัว ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุปรายงาน เพื่อพัฒนาทักษะในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำ ประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีความรับผิดชอบ ในตนเองและมีความเชื่อมั่นในตนเอง ตัวขี้วัด ค 1.1 ม.1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวน ตรรกยะในการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง ค 1.1 ม.1/2 เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวกในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์และ ปัญหาในชีวิตจริง ค 2.2 ม.1/1 ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิต ตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ใน การแก้ปัญหา ในชีวิตจริง ค 2.2 ม.1/2 เข้าใจและใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างรูป เรขาคณิตสองมิติและรูป เรขาคณิตสามมิติ รวมทั้งหมด 4 ตัวชี้วัด


8 โครงสร้างรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต หน่วยการ เรียนรู้ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด จำนวน ชั่วโมง น้ำหนักคะแนน (ในการประเมิน) 1 จำนวนเต็ม - จำนวนเต็ม - การบวกจำนวนเต็ม - การลบจำนวนเต็ม - การคูณจำนวนเต็ม - การหารจำนวนเต็ม - สมบัติของการบวกและการคูณจำนวนเต็ม ค 1.1 ม.1/1 12 10 2 การสร้างทางเรขาคณิต - รูปเรขาคณิตพื้นฐานและการสร้างพื้นฐาน ทางเรขาคณิต - การสร้างรูปเรขาคณิต ค 2.2 ม.1/1 10 10 3 เลขยกกำลัง - ความหมายของเลขยกกำลัง - การคูณและการหารเลขยกกำลัง - สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ค 1.1 ม.1/2 10 10 4 ทศนิยมและเศษส่วน - ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม - การบวกและการลบทศนิยม - การคูณและการหารทศนิยม - เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน - การบวกและการลบเศษส่วน - การคูณและการหารทศนิยม - ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน ค 1.1 ม.1/1 12 10 5 รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ - หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ - ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติ ค 2.2 ม.1/2 14 10 สอบกลางภาค 20 สอบปลายภาค 30 รวม 60 100


9 วิเคราะห์ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ รหัสวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทอม 1 จำนวนเต็ม - จำนวนเต็ม - การบวกจำนวนเต็ม - การลบจำนวนเต็ม - การคูณจำนวนเต็ม - การหารจำนวนเต็ม - สมบัติของการบวก และการคูณจำนวน เต็ม เลขยกกำลัง - ความหมายของเลขยกกำลัง - การคูณและการหารเลขยกกำลัง - สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ทศนิยมและเศษส่วน - ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม - การบวกและการลบทศนิยม - การคูณและการหารทศนิยม - เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน - การบวกและการลบเศษส่วน - การคูณและการหารทศนิยม - ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ - หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ - ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพ ด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ การสร้างทางเรขาคณิต - รูปเรขาคณิตพื้นฐานและ การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต - การสร้างรูปเรขาคณิต


วิเคราะห์มาตรฐาน รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียน หน่วย ที่ สาระการเรียนรู้ ด้านความรู้ (K) 1 จำนวนเต็ม จำนวนเต็ม ค 1.1 ม.1/1 การบวกจำนวนเต็ม การลบจำนวนเต็ม การคูณจำนวนเต็ม การหารจำนวนเต็ม สมบัติของการบวกและการคูณจำนวนเต็ม 2 การสร้างทางเรขาคณิต หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ ค 2.2 ม.1/1 การสร้างรูปเรขาคณิต 3 เลขยกกำลัง ความหมายของเลขยกกำลัง ค 1.1 ม.1/2 การคูณและการหารเลขยกกำลัง สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ 4 ทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม ค 1.1 ม.1/1 การบวกและการลบทศนิยม


10 การเรียนรู้/ตัวชี้วัด ค21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นที่ 1 เวลาเรียน 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะ (A) P1 P2 P3 P4 P5 A1 A2 A3 A4 A5 √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ v √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √


หน่วย ที่ สาระการเรียนรู้ ด้านความรู้ (K) 4 ทศนิยมและเศษส่วน การคูณและการหารทศนิยม ค 1.1 ม.1/1 เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกและการลบเศษส่วน การคูณและการหารทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน 5 รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต ค 2.2 ม.1/2 ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนของรูป เรขาคณิตสามมิติ


11 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะ (A) P1 P2 P3 P4 P5 A1 A2 A3 A4 A5 √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √ √


แน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค211 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 สัปดาห์ แผนการ จัดการเรียนรู้ ชื่อหน่วยการ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรี สัปดาห์ที่ 2/แผนการ จัดการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ ที่ 1 จำนวน เต็ม การบวกจำนวน เต็มที่ต่างชนิด กัน ด้านความรู้ (K) : นักเรียน 1. หาเหตุผลของจำนวนเต็ 2. ตระหนักถึงความสมเหต ของจำนวนเต็มที่ได้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ ( ทักษะ 3. การแก้ปัญหา (P1) 4. การสื่อสารและการสื่อ คณิตศาสตร์ (P2) ด้านคุณลักษณะ(A) : นักเ 5. ทำความเข้าใจหรือการ ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษา (A1) 6. มีความมุมานะในการท และแก้ปัญหาคณิตศาสตร์


12 นวการสอน 101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ยนรู้ (K-P-A) รูปแบบการสอน/ วิธีการสอน/ เทคนิคการสอน สื่อการเรียนรู้ หลักฐาน/ ร่องรอย /ชิ้นงาน นสามารถ ต็มบวกที่กำหนดให้ (K) ตุสมผลของผลบวก (P) : นักเรียนเกิด ความหมายทาง เรียนสามารถ รสร้างกรณีทั่วไปโดย ากรณีตัวอย่าง ๆกรณี ทำความเข้าใจปัญหา (A3) - การจัดการเรียน การสอนโดยใช้ คำถาม - ใช้สื่อการสอน จัดกิจกรรมกลุ่ม - การอธิบาย เนื้อหา 1. สื่อการสอนคณิต หรรษา 2. แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกจำนวนเต็มที่ ต่างชนิด 3. E – book สำหรับ การเรียนออนไลน์และ ทบทวนความรู้ - แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก จำนวนเต็มที่ต่าง ชนิด


13 เกณฑ์การวัดผลประเมินผล รายวิชา ค21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต 1. เกณฑ์การให้คะแนนด้านความรู้ความคิด 1.1 เกณฑ์การให้คะแนนด้านความรู้ความคิด (เดี่ยว) -ข้อสอบปรนัย เกณฑ์การประเมินผ่านเกณฑ์ 70% ขึ้นไป -ข้อสอบอัตนัย คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การให้คะแนน 3 (ดีมาก) แสดงวิธีทำได้ถูกต้องสมบูรณ์ และคำตอบถูกต้อง 2 (ดี) แสดงวิธีทำได้ถูกต้องสมบูรณ์ แต่คำตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ได้สรุปคำตอบ 1 (พอใช้) แสดงวิธีทำถูกต้องบางส่วน แต่ยังไม่สมบูรณ์ และคำตอบไม่ถูกต้องหรือไม่ได้สรุป คำตอบ 0 (ต้องปรับปรุง) ไม่มีร่องรอยการเขียนใด ๆ *หมายเหตุ: ผ่านเกณฑ์ 2 คะแนน ขึ้นไป - ชิ้นงาน คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา 4 (ดีมาก) -มีการวางแผนการสร้าง และการแสดงรายละเอียดของชิ้นงานแต่ละส่วน ชัดเจน สมบูรณ์ -แก้ปัญหาและตอบสนองตามความต้องการ -มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และดึงดูดความสนใจ -ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ประหยัด และคุ้มค่า -คู่มือแนะนำการใช้มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย 3 (ดี) -มีการวางแผนการสร้าง และการแสดงรายละเอียดของชิ้นงานแต่ละส่วน ชัดเจน สมบูรณ์ -แก้ปัญหาและตอบสนองตามความต้องการ -มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ขาดการดึงดูดความสนใจ -ใช้งานได้ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไข -คู่มือแนะนำการใช้ไม่ชัดเจน หรือมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน


14 คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา 2 (พอใช้) -มีการวางแผนการสร้าง แต่การแสดงรายละเอียดของชิ้นงานบางส่วนไม่ สมบูรณ์ -แก้ปัญหาและตอบสนองตามความต้องการ -มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ขาดการดึงดูดความสนใจ -ใช้งานได้ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไข -คู่มือแนะนำการใช้ไม่ชัดเจน หรือมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน 1 (ต้องปรับปรุง) -มีการวางแผนการสร้าง แต่การแสดงรายละเอียดของชิ้นงานไม่ชัดเจน หรือไม่ สมบูรณ์ -ไม่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการ -ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ -ชิ้นงานขัดข้อง หรือใช้งานไม่ได้ตามที่คาดหวัง -คู่มือแนะนำการใช้ไม่ชัดเจน หรือไม่มีคู่มือแนะนำการใช้ *หมายเหตุ: ผ่านเกณฑ์ 2 คะแนน ขึ้นไป แบบประเมินการทำงานแบบกลุ่ม กลุ่มที่......................... ชื่อกลุ่ม............................................................................................................. เรื่อง...................................................................................... วันที่ .........../.........................../.............. สมาชิกในกลุ่ม 1. ................................................................................................... ชั้น...................... 2. ................................................................................................... ชั้น..................... 3. ................................................................................................... ชั้น..................... 4. ................................................................................................... ชั้น..................... 5. ................................................................................................... ชั้น.....................


15 เกณฑ์การให้คะแนนด้านความรู้ความคิด(กลุ่ม) คำชี้แจง : ให้ผู้ประเมิน ประเมินการนำเสนอผลงานของนักเรียนตามรายการที่กำหนดแล้วขีด ✓ลงใน ช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน ( ระดับคุณภาพ ) 3 2 1 1. มีความรับผิดชอบ 2. การดำเนินงาน 3. เวลา 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. มีความร่วมมือภายในกลุ่ม รวมคะแนน ผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับ ดี ขึ้นไป ( 8 – 11 คะแนน ) 1.2 เกณฑ์การให้คะแนนด้านความรู้ความคิด (K) (กลุ่ม) ระดับคุณภาพ คะแนน ดีมาก 12 – 15 ดี 8 – 11 พอใช้ ต่ำกว่า 8 คะแนน ประเด็นการ ประเมิน คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา มีความ รับผิดชอบ 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - สมาชิกทุกคนรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็ม ความสามารถ - สมาชิกบางคนรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็ม ความสามารถ - สมาชิกบางคนรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การดำเนินงาน 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - คัดเลือกและเตรียมข้อมูลได้เหมาะสม มีการวาง แผนการทำงานและปฏิบัติตามแผนงานนั้นอย่างเป็นระบบ - คัดเลือกและเตรียมข้อมูลได้เหมาะสม มีการวางแผนการทำงานและ ปฏิบัติตามแผนงานเป็นบางขั้นตอน - คัดเลือกและเตรียมข้อมูลได้บางส่วน มีการวางแผนการทำงานเป็น บางขั้นตอน เวลา 3 (ดีมาก) 2 (ดี) - งานเสร็จตามกำหนดเวลา เละงานมีคุณภาพดี - งานเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลาเวลา แต่งานมีคุณภาพ


16 1.3 เกณฑ์การให้คะแนนด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 1 (พอใช้) - งานเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลาและงานไม่มีคุณภาพ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - มีแนวคิด / วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติ ได้ถูกต้องสมบูรณ์ - มีแนวคิด / วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติ ได้ถูกต้องแต่นำไปปฏิบัติแล้วไม่ถูกต้องสมบูรณ์ - มีแนวคิด / วิธีการไม่แปลกใหม่แต่นำไปปฏิบัติได้ ถูกต้องสมบูรณ์ มีความร่วมมือ ภายในกลุ่ม 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - ทุกคนมีการถ่ายทอดวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันมีการรับฟังความ คิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม - รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่มแต่ไม่ได้ร่วมกันแก้ปัญหาใน การทำงานกลุ่ม - ไม่รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มและสมาชิกไม่ได้ร่วมกัน แก้ปัญหาใน การทำงานกลุ่ม ทักษะและ กระบวนการ คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา การแก้ปัญหา (P1) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จมีประสิทธิภาพและอธิบาย ถึงเหตุผลในการใช้วิธีการดังกล่าวได้อย่างชัดเจน - ใช้ยุทธวิธีดำเนินการแก้ปัญหาสำเร็จ แต่อธิบายถึงเหตุผลในการ ใช้วิธีการดังกล่าวไม่ได้ - มีร่องรอยการแก้ปัญหาบางส่วน แต่แก้ปัญหาไม่สำเร็จ การสื่อสารและการ สื่อความหมายทาง คณิตศาสตร์ (P2) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - ใช้รูป ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อ ความหมายถูกต้อง นำเสนอได้เป็นระบบ ชัดเจน และมีความ ละเอียดสมบูรณ์ - ใช้รูป ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อ ความหมาย พยายามนำเสนอได้เป็นระบบ ชัดเจนบางส่วน - ใช้รูป ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อ ความหมายอย่างง่ายๆ นำเสนอไม่เป็นระบบ ไม่มีความชัดเจน การเชื่อมโยง (P3) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) - นำความรู้ หลักการ และวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการเชื่อมโยง กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์เนื้อหาอื่นๆ/ศาสตร์อื่นๆ/ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ได้อย่าง สอดคล้องและเหมาะสม - นำความรู้ หลักการ และวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการเชื่อมโยง กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์เนื้อหา อื่นๆ/ศาสตร์อื่นๆ/ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ได้


17 หมายเหตุ : เกณฑ์ผ่าน ได้ระดับ 2 (คุณภาพดี) ขึ้นไป 1.4 เกณฑ์การให้คะแนนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา ทำความเข้าใจหรือสร้าง กรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ ได้จากการศึกษากรณีตัว อย่างหลายๆกรณี(A1) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - ทำความเข้าใจและสร้างกฎ หลักการ กรอบแนวคิดได้อย่าง ชัดเจน และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ - ทำความเข้าใจและสร้างกฎ หลักการ กรอบแนวคิดได้ หรือ สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้บางส่วน - ทำความเข้าใจได้แค่บางส่วน ไม่สามารถสร้างกฎ หลักการ กรอบแนวคิดได้ มองเห็นว่าสามารถใช้ คณิตศาสตร์แก้ปัญหาใน ชีวิตจริงได้(A2) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - ตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์และสามารถนำ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ - ตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์และสามารถนำ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้บางส่วน - ตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์บางส่วนหรือ สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ บางส่วน ทักษะและ กระบวนการ คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา 1 (พอใช้) บางส่วน - นำความรู้ หลักการ และวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการเชื่อมโยง กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์เนื้อหาอื่นๆได้บางส่วน การให้เหตุผล (P4) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - มีการอ้างอิง เสนอแนวคิดประกอบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล - มีการอ้างอิงที่ถูกต้องบางส่วน และเสนอแนวคิดประกอบการ ตัดสินใจ - เสนอแนวคิดไม่สมเหตุสมผลในการประกอบการตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ (P5) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - มีแนวคิด/วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ - มีแนวคิด/วิธีการแปลกใหม่ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องแต่ นำไปปฏิบัติแล้วไม่ถูกต้องสมบูรณ์ - มีแนวคิด/วิธีการไม่แปลกใหม่และนำไปปฏิบัติแล้วไม่ถูกต้อง สมบูรณ์


18 คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ คะแนน (ระดับคุณภาพ) เกณฑ์การพิจารณา มีความมุมานะในการทำ ความเข้าใจปัญหาและ แก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ (A3) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - มีความพยายามในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์จนแล้วเสร็จและถูกต้อง - มีความพยายามในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์จนแล้วเสร็จแต่ไม่ถูกต้อง - ไม่ปรากฏร่องรอยในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ สร้างเหตุผลเพื่อ สนับสนุนแนวคิดของ ตนเองหรือโต้ แย้ง แนวคิดของผู้อื่นอย่าง สมเหตุสมผล (A4) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - สามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเองได้อย่าง เหมาะสม - สามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเองได้ บางส่วน - ไม่สามารถสามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิด ของตนเองได้ ค้นหาลักษณะที่เกิด ขึ้นซ้ำๆและ ประยุกต์ใช้ ลักษณะดังกล่าวเพื่อทำ ความเข้าใจหรือแก้ ปัญหาในสถานการณ์ ต่างๆได้(A5) 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) - นำความรู้ หลักการทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการ แก้ปัญหาได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม - นำความรู้ หลักการทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการ แก้ปัญหาได้บางส่วน - ไม่สามารถนำความรู้ หลักการทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาได้


19 แผนการจัดการเรียนรู้


20 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนเต็ม เรื่อง การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิดกัน จำนวน 1 ชั่วโมง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/............. วันที่ ............... เดือน ........................ พ.ศ. .............. คาบที่ ........... ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/............. วันที่ ............... เดือน ........................ พ.ศ. .............. คาบที่ ........... ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/............. วันที่ ............... เดือน ........................ พ.ศ. .............. คาบที่ ........... 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ค 1.1เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของ จำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้ 2. ตัวชี้วัด เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง (ค 1.1 ม.1/1) 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. หาเหตุผลของจำนวนเต็มบวกที่กำหนดให้ (K) 2. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของผลบวกของจำนวนเต็มที่ได้ (K) 3. การแก้ปัญหา (P1) 4. การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ (P2) 5. ทำความเข้าใจหรือการสร้างกรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากรณีตัวอย่าง ๆกรณี (A1) 6. มีความมุมานะในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (A3) 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. มีความสามารถในการสื่อสาร 2. มีความสามารถในการแก้ปัญหา 3. มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 5. สาระสำคัญ การบวกกันของจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ การบวกกันของจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก และการบวกของจำนวนเต็มใด ๆ กับศูนย์ แล้วพิจารณาการหาคำตอบของผลบวกนั้นว่าเป็นจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนเต็มลบ


21 6. สาระการเรียนรู้ การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิดกัน 7. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นทบทวนความรู้เดิม 1. ครูอธิบายวิธีการบวกจำนวนเต็มชนิดเดียวกัน คือการบวกจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก และการ บวกจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ ใช้การสาธิตของชาวจีน โดยการยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ ดังนี้ ไม้แดง 1 อัน รวมกับไม้แดง 1 อันจะได้ไม้แดง 2 อัน เปรียบได้ว่า 1+1=2 ในทำนองเดียวกัน ถ้าไม้ดำ 1 อันรวมกับไม้ดำ 1 อัน จะได้เป็น ไม้ดำ 2 อัน เปรียบได้กับ (-1) + (-1) = -2 ไม้แดง 1 อันรวมกับไม้ดำ 1 อัน จะลบกันหมดไป เปรียบได้ว่า 1 + (-1) = 0 2. ครูยกตัวอย่าง 2-3 ข้อ แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม ขั้นสอนเนื้อหาใหม่ 1. ครูนำเสนอวิธีการบวกกันของจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ โดยใช้สื่อการสอนคณิตหรรษา ใน การแสดงวิธีการหาผลบวกของจำนวนเต็มใด ๆ นั้น 2. ครูอธิบายลักษณะของสื่อการสอนคณิตหรรษา แต่ละอย่าง ดังนี้ 2.1 ปิงปองสีแดง แทนจำนวนเต็มลบ , ปิงปองสีขาว แทนจำนวนเต็มบวก 2.2 ช่องใส่จำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ 2.3 บัตรโจทย์คณิตศาสตร์ 2.4 เส้นจับคู่ 2.5 วิธีการเล่น 3. ครูยกตัวอย่าง จงหาผลบวก (-8) + 4 = ครูนำลูกปิงปองสีแดงใส่ช่องจำนวนเต็มลบ 8 ลูก และใส่ช่องลูกปิงปองสีขาวช่องจำนวนเต็มบวก 4 ลูก (ดังรูป)


22 จากรูปพิจารณาว่าลูกปิงปองสีแดงจับคู่กับลูกปิงปองสีขาวลบกันออกไป 4 คู่ เหลือลูกปิงปองสีแดงที่ ไม่ได้จับคู่อยู่4 ลูกและอยู่ทางเครื่องหมายลบ แสดงว่าคำตอบ (-8) + 4 = - 4 4. จงหาผลบวก 5 + (-3) = ครูนำลูกปิงปองสีขาวใส่ช่องจำนวนเต็มบวก 5 ลูก และใส่ช่องลูกปิงปองสีแดงช่องจำนวนเต็มลบ 3 ลูก (ดังรูป) จากรูปพิจารณาว่าลูกปิงปองสีขาวจับคู่กับลูกปิงปองสีแดงลบกันออกไป 3 คู่ เหลือลูกปิงปองสีขาว ที่ไม่ได้จับคู่อยู่2 ลูกและอยู่ทางเครื่องหมายบวก แสดงว่าคำตอบ 5 + (-3) = 2 5. จงหาผลบวก (-4) + 7 = ครูนำลูกปิงปองสีแดงใส่ช่องจำนวนเต็มลบ 4 ลูก และใส่ช่องลูกปิงปองสีขาวช่องจำนวนเต็มบวก 7 ลูก (ดังรูป) จากรูปพิจารณาว่าลูกปิงปองสีแดงจับคู่กับลูกปิงปองสีขาวลบกันออกไป 4 คู่ เหลือลูกปิงปองสีขาวที่ ไม่ได้จับคู่อยู่3 ลูกและอยู่ทางเครื่องหมายบวก แสดงว่าคำตอบ (-4) + 7 = 3 6. จงหาผลบวก (-5) + 0 = ครูนำลูกปิงปองสีแดงใส่ช่องจำนวนเต็มลบ 5 ลูก และใส่ช่องลูกปิงปองสีขาวช่องจำนวนเต็มบวก 0 ลูก (ดังรูป)


23 จากรูปพิจารณาว่าลูกปิงปองสีแดง ไม่จับกับลูกปิงปองสีขาวเลย เหลือลูกปิงปองสีแดงที่ไม่ได้จับคู่อยู่ 5 ลูกและอยู่ทางเครื่องหมายลบ แสดงว่าคำตอบ (-5) + 0 = - 5 (กรณีเรียนออนไลน์ หรือทบทวนความรู้เดิม จะเตรียมการเรียนรู้ผ่าน E-book ในการนำเสนอ) ขั้นสรุป 1. ครูสรุปจากการใช้สื่อการเรียนรู้ การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิดกันเมื่อมาบวกกันแล้วคำตอบของผลบวก นั้นจะขึ้นอยู่จำนวนเต็มที่มาก ถ้าจำนวนเต็มติดลบ คำตอบจะติดลบ ถ้าจำนวนเต็มบวกคำตอบจะเป็นบวก เช่น (-4) + 3 ซึ่งนำมาบวกกันแล้วคำตอบเท่ากับ 1 แล้วคำตอบนั้นติดลบ เพราะ 4 ค่ามาก ขั้นฝึกทักษะ 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5 คน โดยให้นักเรียนร่วมกันทำแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกจำนวนเต็มต่างชนิด หาคำตอบร่วมกับเพื่อนในกลุ่มจากชุดแบบฝึกทักษะจำนวนเต็มที่ครูได้สร้างขึ้น โดยนักเรียนกลุ่มใดทำได้ คะแนนมากที่สุดจะได้คะแนน 10 คะแนน และคะแนนรองลงมา 9 คะแนน ขั้นนำไปใช้ 1. ให้นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างการบวกจำนวนเต็มต่างชนิด โดยใช้สื่อการสอนคณิตหรรษา 8. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ 1. สื่อการสอนคณิตหรรษา 2. แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิด 3. E – book สำหรับการเรียนออนไลน์และทบทวนความรู้


24 9. การวัดและประเมินผล (K – P – A) จุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมินผล ความรู้ความเข้าใจ (K) 1. หาเหตุผลของจำนวนเต็มบวก ที่กำหนดให้ 2. ตระหนักถึงความสมเหตุสมผล ของผลบวกของจำนวนเต็มที่ได้ - ตรวจแบบฝึกหัด ทักษะ เรื่อง การบวก จำนวนเต็มที่ต่างชนิด - แบบฝึกหัดทักษะ เรื่อง การบวกจำนวน เต็มที่ต่างชนิด - นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมินร้อยละ 70 ขึ้นไป ด้านทักษะกระบวนการ (P) 1. การแก้ปัญหา (P1) 2. การสื่อสารและการสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ (P2) - การแสดงความ คิดเห็นและการตอบ คำถาม - สังเกตพฤติกรมการ ทำงานกลุ่มและ รายบุคคล - แบบสังดเกต - นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมินระดับ 2 (พอใช้) ขึ้นไป ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) - ทำความเข้าใจหรือการสร้าง กรณีทั่วไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จาก การศึกษากรณีตัวอย่าง ๆกรณี (A1) - มีความมุมานะในการทำความ เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ (A3) - การแสดงความ คิดเห็นและการตอบ คำถาม - แบบสังเกต - นักเรียนผ่านเกณฑ์ การประเมินระดับ 2 (พอใช้) ขึ้นไป กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................


25 เกณฑ์การวัดและประเมินผล ระดับคุณภาพในการประเมินผลด้านความรู้ ได้คะแนนรวม ร้อยละ 80 ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก ร้อยละ 70-79 หมายถึง ดี ร้อยละ 60-69 หมายถึง ปานกลาง ร้อยละ 50-59 หมายถึง พอใช้ ต่ำกว่าร้อยละ 50 หมายถึง ปรับปรุง ผ่านการประเมินตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ระดับคุณภาพในการประเมินผลด้านทักษะและกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้คะแนน ระดับ 3 หมายถึง ดีมาก ระดับ 2 หมายถึง ดี ระดับ 1 หมายถึง ปานกลาง ระดับ 0 หมายถึง ปรับปรุง ผ่านเกณฑ์คะแนนระดับ 2 (ดี) ทุกข้อ


26 ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้


27 บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/…… ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………. ปัญหา / แนวทางการแก้ไข ……………………………………………………………………………………………………….…… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/…… ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ปัญหา / แนวทางการแก้ไข …………………………………………………………………………………………………….……… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/…… ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ปัญหา / แนวทางการแก้ไข …………………………………………………………………………………………………….……… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………… . ลงชื่อ ........................................... ผู้สอน (นางสาวพรชิตา เซซ่ง) วันที่.........เดือน...............................พ.ศ. ............


28 ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้เหมาะสมใช้สอนได้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เหมาะสม วิธีการวัดและประเมินผลเหมาะสม ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..............… ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมิน (...........................................) ความเห็นหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามโครงสร้างสาระการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนการสอนเหมาะสม ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..............… ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมิน (...........................................) ความเห็นท่านผู้อำนวยการ อนุมัติแผนการเรียนรู้ดำเนินการสอนได้ ไม่อนุมัติ ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..............… ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมิน (...........................................)


29 ภาคผนวก


30 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิด


31 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกจำนวนเต็มที่ต่างชนิด สื่อการเรียนรู้ออนไลน์


32 แบบประเมินการทำงานแบบกลุ่ม ค 21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต กลุ่มที่......................... ชื่อกลุ่ม............................................................................................................. เรื่อง...................................................................................... วันที่ .........../.........................../.............. สมาชิกในกลุ่ม 1. ................................................................................................... ชั้น...................... 2. ................................................................................................... ชั้น..................... 3. ................................................................................................... ชั้น..................... 4. ................................................................................................... ชั้น..................... 5. ................................................................................................... ชั้น..................... 6. ................................................................................................... ชั้น..................... 7. ................................................................................................... ชั้น..................... 8. ................................................................................................... ชั้น..................... 9. ................................................................................................... ชั้น..................... 10. ................................................................................................. ชั้น..................... เกณฑ์การให้คะแนนด้านความรู้ความคิด(กลุ่ม) คำชี้แจง : ให้ผู้ประเมิน ประเมินการนำเสนอผลงานของนักเรียนตามรายการที่กำหนด แล้วขีด ✓ลงใน ช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ข้อที่ รายการประเมิน คะแนน ( ระดับคุณภาพ ) 3 2 1 1. มีความรับผิดชอบ 2. การดำเนินงาน 3. เวลา 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. มีความร่วมมือภายในกลุ่ม รวมคะแนน ผลการประเมิน ระดับคุณภาพ คะแนน ดีมาก 12 – 15 ดี 8 – 11 พอใช้ ต่ำกว่า 8 คะแนน


33 แบบประเมินผลการเรียนรู้ (K-P-A) ค 21101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/…… เลข ที่ ชื่อ – สกุล ด้าน ความรู้ (K) ด้านทักษะและกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะ (A) แบบฝึกทักษะ ผลประเมิน P1 P2 P3 P4 P5 ผลประเมิน A1 A2 A3 A4 A5 ผลประเมิน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24


34 เลข ที่ ชื่อ – สกุล ด้าน ความรู้ (K) ด้านทักษะและกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะ (A) แบบฝึกทักษะ ผลประเมิน P1 P2 P3 P4 P5 ผลประเมิน A1 A2 A3 A4 A5 ผลประเมิน 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 สรุปผลการประเมิน ด้านความรู้ ผ่านเกณฑ์ .......... คน ไม่ผ่านเกณฑ์ .......... คน ด้านทักษะและกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ .......... คน ไม่ผ่านเกณฑ์ .......... คน ด้านคุณลักษณะ ผ่านเกณฑ์ .......... คน ไม่ผ่านเกณฑ์ .......... คน ลงชื่อ ................................................. ผู้ประเมิน (นางสาวพรชิตา เซซ่ง) วันที่ ......... เดือน ........................ พ.ศ. …………


Click to View FlipBook Version