The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือ กำหนดตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อนันดา เสานาด, 2020-09-10 22:54:32

คู่มือ กำหนดตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ

คู่มือ กำหนดตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ

คมู่ ือ

การกำหนดตำแหนง่ นายแพทยเ์ ชย่ี วชาญ

กลมุ่ งานอัตรากำลัง กองบริหารทรพั ยากรบุคคล
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำนำ

การกำหนดหลักเกณฑ์และเง่ือนไขการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำหรับตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ
และประเภทท่ัวไป เพ่ือประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหาร
ทรัพยากรบุคคลท่ีเปลี่ยนไปของส่วนราช และเพ่ือพัฒนากระบวนการทำงานเก่ียวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล การปรับปรุงการกำหนด
ตำแหน่งในสายงานแพทย์ โดยกำหนดทางก้าวหน้าตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ หรือชำนาญการ หรือ
ชำนาญการพิเศษ ท่ีปฏิบัติงานให้บริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพเป็นตำแหน่งนายแพทย์ระดับเช่ียวชาญได้
ทุกตำแหน่ง โดยต้องประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานท่ี ก.พ. กำหนด โดยไม่
ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวมซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเง่ือนไขตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร
1008.3.3/314 ลงวันท่ี 10 สิงหาคม 2552 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ท่ี นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19
กุมภาพันธ์ 2558 ซง่ึ ปัจจุบนั พบปัญหาการเขียนแบบประเมินค่างานไม่มีการยกตวั อยา่ งการให้เหตุผลในการเลือก
ข้อคำตอบที่แสดงถึงคุณภาพงาน ความยุ่งยากซับซ้อน ส่งผลกระทบทำให้ การดำเนินการกำหนดตำแหน่งเป็น
ระดับสูงข้ึน ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญเกิดความล่าช้า กลุมงานอัตรากําลัง กองบริหารทรัพยากรบุคคล
เปนหนวยงานท่ีรับผิดชอบเกย่ี วกับการปรับปรุงการกําหนดตาํ แหนง จึงจัดทำแนวทางน้ีขึน้ เพื่อเป็นเครื่องมือชว่ ยใหผ้ ู้
ประเมินในการพิจารณาเลือกข้อคำตอบของ 20 ข้อคำถามและอธิบายในคำตอบในแบบประเมินค่างาน สำหรับ
กรณีการพิจารณากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชีย่ วชาญได้ถูกตอ้ งชดั เจน ซึ่งในแนวทางนจี้ ะมีคำอธิบาย
แต่ละข้อคำถาม – ข้อคำตอบให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นรวมทั้งมีตัวอย่างการให้เหตุผลในการเลือกข้อคำตอบ
เพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการเขียนแบบประเมินค่างาน ให้ถูกต้องครบถ้วน สามารถกำหนดตำแหน่ง
เปน็ ระดับเชย่ี วชาญไดง้ า่ ยข้ึน

ห วั ง เป็ น อ ย่ า ง ยิ่ ง ว่ า คู่ มื อ ป ร ะ เมิ น ค่ า ง า น น้ี จ ะ เป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ต่ อ ผู้ ท่ี มี ส่ ว น เก่ี ย ว ข้ อ ง แ ล ะ
จะช่วยให้สามารถเขยี นแบบประเมนิ คา่ งานเพ่อื ขอกำหนดตำแหนง่ เป็นไปอย่างถูกตอ้ ง และครบถ้วน ตอ่ ไป

คณะผจู้ ดั ทำ กลมุ งานอัตรากำลัง
กองบริหารทรพั ยากรบุคคล

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสขุ

สารบัญ

วตั ถุประสงค หน้า
ขอบเขต
คําจํากัดความ 1
Work Flow กระบวนการ 1
ข้นั ตอนการปฏบิ ัตงิ าน 2
เอกสารอางอิง 4
6
9

ภาคผนวก

แบบประเมนิ คา่ งานในการขอกำหนดตำแหน่งนายแพทยเ์ ช่ยี วชาญ 10

ถาม – ตอบ 40

2) บัญชีรายละเอยี ดการปรับปรุงกำหนดตำแหน่ง (เอกสารหมายเลข 1) 9

3) แบบประเมนิ คางานตาํ แหนงประเภทวชิ าการ (ระดบั ชำนาญการ และระดบั ชำนาญการพเิ ศษ) 10

และแบบประเมินคา่ งานตำแหน่งประเภทท่วั ไป (ระดับชำนาญงาน และระดบั อาวุโส) (เอกสารหมายเลข 2)

คูมอื การปฏิบัตงิ าน (Work Manual)
การกำหนดตำแหนง่ นายแพทย์เช่ียวชาญ

เน่ืองจากการดำเนินการเรอ่ื งต่างๆ ควรมกี ารแก้ปญั หาและปรับปรุงอยา่ งตอ่ เน่ืองซ่ึงถือเป็นปัจจัยสำคัญท่ี
จะทำให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายท่ีวางไว้ สำหรับงานอัตรากำลังเป็นงานท่ีหลากหลายวิธีการดำเนินการ
ประกอบกับจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือแนวทางท่ี สำนักงาน ก.พ และสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุขกำหนด ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลา และผู้เกี่ยวข้องที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอนทำให้การดำเนินการเป็น
การกระทำซ้ำๆตามแนวทางที่กำหนด โดยไม่มกี ารทบทวนการดำเนินการ เพื่อปรบั ปรงุ แนวทางการดำเนินการใหม้ ี
ประสิทธิภาพย่ิงขึ้น จึงควรนำวงจร PDCA หรือ วงจรการควบคุมคุณภาพ ท่ีเป็นเทคนิคในการแก้ปัญหาและ
ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง มาใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งซ่ึงขั้นตอนของวงจร PDCA
ประกอบด้วย (P=Plan) การวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป (D=Do)
การปฏิบัติงานตามแผน (C=Check) ตรวจสอบผลที่เกิดข้ึนว่าวิธีปฏิบัติใดมีประสิทธิผลมากท่ีสดุ และ (A=Action)
ดำเนินการให้เหมาะสมโดยจัดทำให้เป็นมาตรฐานหากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็ต้องมองหาวิธีการปฏิบัติ
ใหม่ หรือใช้ความพยายามให้มากข้ึนกว่าเดิม ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการหรือแนวปฏิบัติ
ทเี่ กีย่ วข้องบทวิเคราะห์/แนวความคิด/ขอ้ เสนอการกำหนดตำแหน่งถอื เป็นภารกิจหลกั ของกลุม่ งานอัตรากำลงั กอง
บริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ซ่ึงการกำหนดตำแหน่ง จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
สำนักงาน ก.พ และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนบางครั้งเกิด
ข้อผิดพลาดในบางขั้นตอน ซึ่งอาจเป็นเพราะความไม่ชัดเจนในกระบวนการปฏิบัติงาน หรือประสบการณ์
ของผู้ปฏิบัติงานเอง ดังนั้นในกระบวนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานอัตรากำลังในการกำหนดตำแหน่งนายแพทย์
เช่ียวชาญจงึ นำวงจร PDCA มาเป็นแนวทางในการตรวจสอบและปรับปรงุ กระบวนการปฏิบตั ิงาน

1. วตั ถปุ ระสงค์
1.1 เพือ่ ใช้เป็นคูม่ ือการทำงานในการพฒั นากระบวนการทำงาน เร่ือง การปรบั ปรงุ การกำหนด ตำแหน่ง

ข้าราชการ ของข้าราชการในสังกัดกรมการแพทย์ในการขอกำหนดตำแหน่งนายแพทย์ ระดับเชี่ยวชาญ
และให้ผู้ปฏิบัติ ผู้เก่ียวข้อง ผู้รับบริการ ผู้สนใจทราบและเข้าใจกระบวนการการกำหนดตำแหน่งนายแพทย์
เช่ียวชาญ

1.2 เพ่อื ลดระยะเวลาในการดำเนนิ การปรับปรงุ การกำหนดตำแหน่งให้มีความรวดเรว็ ขึน้
1.3 เพือ่ เป็นขวัญ และกำลังใจให้แกข่ า้ ราชการท่ีปฏบิ ตั ิงานในกรมการแพทย์

2. ขอบเขต
การปรบั ปรุงการกําหนดตาํ แหนงนายแพทยเ์ ชี่ยวชาญมีขนั้ ตอนในการดาํ เนินการ ดงั น้ี
2.1 รับเร่ืองจากหน่วยงาน ตรวจสอบข้อมูลตำแหน่งท่ีขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งจากบัญชี 1

และฐานข้อมูลข้าราชการ ในเร่ืองของคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตำแหน่งว่าง
ที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและใช้ยุบเลิก รวมท้ัง โครงสร้าง ข้อมูลประกอบคำขอปรับปรุง
การกำหนดตำแหนง่ พรอมเอกสารประกอบการพจิ ารณาการปรับปรุงการกําหนดตาํ แหนง

2.2 ตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดทำแบบประเมินค่างาน 20 ข้อคำถาม ตามลักษณะงาน หนาท่ีและ
ความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงาน ความรูความสามารถและประสบการณ ที่ตองการ
ในการปฏิบตั ิงาน

2.3 รวบรวม วิเคราะห์ จัดบญั ชรี ายละเอยี ดการปรับปรงุ กำหนดตำแหนง่ และสรปุ ผลการประเมินคางาน
พรอมเหตุผล เสนอกรมการแพทย์ ลงนามถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอคณะกรรมการการกำหนด
ตำแหน่งระดับสูงพิจารณาแบบประเมินค่างาน 20 ข้อคำถาม และอ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาการ
กำหนดตำแหนง่

2.4 แจง้ ...

-2-
2.4 แจ้ง มติ อ.ก.พ. ให้หน่วยงานที่เก่ียวข้องทราบและดำเนินการบันทึกความเคลื่อนไหวของข้อมูล
ตำแหนง่ ในบัญชี 1 และฐานข้อมลู ตำแหนง่ ข้าราชการตาม มติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสขุ ใหเ้ ปน็ ข้อมลู ปัจจบุ นั
3. คําจํากัดความ
3.1 ตําแหน่ง (Position) หมายถึง กลุมหน้าที่ความรับผิดชอบที่คลายคลึงเก่ียวของสัมพันธกัน
ที่มอบหมายใหบุคคลใดบุคคลหน่ึงปฏิบัติอยางมีประสิทธิภาพ จากคำจำกัดความน้ี ย่อมจะเห็นได้ว่า ตำแหน่ง
ประกอบด้วยองคป์ ระกอบสำคัญ 2 ประการคือ

3.1.1 หนา้ ที่ความรบั ผิดชอบท่ีสัมพันธ์และคลา้ ยคลึงกัน เพื่อจะได้มอบหมายให้บุคคลหนึ่งปฏบิ ตั ิได้
3.1.2 คุณ วุฒิ ของผู้ดำรงตำแห น่ง เพื่ อจะได้บ รรจุบุ คคลให้ เหมาะสมกับห น้าที่ความ
รับผิดชอบ เพ่ือการปฏิบัติงานจะได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักของการจำแนกตำแหน่ง
ตามหน้าทแ่ี ละความรับผิดชอบ
3.2 การกําหนดตําแหนง หมายถึง การกําหนดใหมีตําแหนงในสวนราชการใด จํานวนเทาใด และเปน
ตําแหนงประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้หมายความรวมถึง การปรับปรุงการกําหนดตําแหนง
การเกล่ียอัตรากําลัง (การตัดโอนตําแหน่งและอัตราเงินเดือน) การเปล่ียนชื่อตําแหน่งในสายงาน การเปลี่ยน
ดานความเช่ียวชาญ การปรับปรุงการกําหนดตําแหนงสำหรับผูปฏิบัตงิ านประเภทวิชาการ และประเภทท่ัวไป โดย
ไม่เปล่ียนประเภทตำแหน่งและสายงาน และกรณีอ่ืนๆ โดยการกำหนดตำแหน่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก รวมท้ังจะต้องเป็นไปตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัด
ประเภทตำแหนง่ และระดบั ตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3.3 อ.ก.พ.กระทรวง ยอ่ มาจาก คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง
3.4 เงินประจำตำแหนง่ คือ ค่าตอบแทนกำหนดขึ้นสำหรบั ข้าราชการท่ไี ดร้ บั การแต่งตั้งและปฏบิ ัตหิ น้าท่ี
หลักในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด เช่น ตำแหน่งท่ีต้องใช้ทักษะด้านการบริหารซึ่งมีความรับผิดชอบท้ังด้านการ
บริหารแผนงาน แผนเงิน และแผนคนในองค์กร รวมท้ังตำแหน่งท่ีต้องใช้ความรู้ความสามารถทางด้านอาชีพ เป็น
ต้น ท้ังนี้ วัตถุประสงค์ในการกำหนดเงินประจำตำแหนง่ นั้น ก็เพ่ือลดความแตกต่างของอัตราค่าตอบแทนของภาค
ราชการกับอตั ราตลาด และเพือ่ แกป้ ญั หาการสญู เสียกำลังคนในภาคราชการในขณะน้ัน
3.5 PDCA ย่อมาจากคำว่า Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติตามแผน) Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตาม
แผน) Act (ปรับปรงุ แกไ้ ข)
Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอยา่ งรอบคอบ ครอบคลุมถงึ การกำหนดหัวข้อ
ท่ีต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึนจากการปฏิบัติงาน อาจ
ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ
เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและ
ก ำห น ด งบ ป ร ะ ม า ณ ท่ี จ ะ ใช้ ก า ร เขี ย น แ ผ น ดั งก ล่ า ว อ าจ ป รั บ เป ลี่ ย น ได้ ต า ม ค ว าม เห ม า ะ ส ม ข อ งลั ก ษ ณ ะ
การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆ
ที่อาจเกดิ ขนึ้ ได้
Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ
การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการปร ะชุมของ
คณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และ
มีผลของการดำเนินการ (เชน่ รายชอื่ นักศึกษาท่รี ับในแต่ละปี)

Check….

-3-
Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย
การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินข้ันตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ
การดำเนินงานตามแผนท่ีได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบ
แผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซ่ึงเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมา
ประเมนิ แผน หรือไมจ่ ำเปน็ ต้องคิดเครอ่ื งมอื หรอื แบบประเมนิ ทย่ี งุ่ ยากซับซ้อน
Act (ปรับปรงุ แกไ้ ข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ
ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือข้ันตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาส่ิงที่ดีอยู่แล้วให้ดี
ยงิ่ ขนึ้ ไปอกี และสังเคราะหร์ ปู แบบ การดำเนินการใหมท่ ี่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีตอ่ ไป
3.3 การประเมินค่างาน หมายถึง เป็นการประเมินคุณภาพของงาน โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการใน
การตีคา่ งานของตำแหน่งน้นั ๆ เพ่อื กำหนดตำแหนง่ ได้อยา่ งสมเหตสุ มผลและเป็นธรรม
องค์ประกอบการประเมินค่างาน หมายถึง ปัจจยั (Factor) ท่ีมีผลตอ่ การจำแนกค่างาน โดยจะนำมา
เปรียบเทยี บดว้ ยคา่ คะแนนของตำแหนง่ ๆ ในองค์กร องค์ประกอบการประเมนิ ค่างานมี 3 ดา้ น ได้แก่

- ความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน
- ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
- ภาระรบั ผดิ ชอบ

ความรู้ หมายถึง ผลรวมท้ังหมดของความร้แู ละทักษะทพี่ ัฒนาขึน้ มาจากประสบการณ์การทำงานและการ
ฝึกฝน (Input) ซึง่ ผ้ปู ฏิบัติงานจะตอ้ งมีเพอ่ื ให้สามารถปฏบิ ัติงานในระดับทีเ่ ป็นที่ยอมรบั ได้

ความสามารถในการแก้ไขปัญหา เป็นการประเมินค่าความสามารถในการคิดริเร่ิมของผู้ที่เป็นเจ้าของ
งาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการวเิ คราะห์ประเมนิ สรา้ งสรรค์ความคิดใหม่ ๆ การให้เหตุผลและการไดม้ าซึ่งข้อสรุป จะ
เกี่ยวข้องกับความจำเป็นที่ผู้เป็นเจ้าของงาน หรือผู้ปฏิบัติงานจะต้องใช้ Know-How ในการแก้ปัญหาปัจจัยเรื่อง
ทักษะในการแก้ไขปัญหาประกอบไปดว้ ยปัจจัยย่อย 2 สว่ น คอื

- อิสระในการคดิ (Thinking Environment)
- ระดบั ความยากของปัญหา (Thinking Challenge)
ภาระรับผดิ ชอบ คอื ความรับผดิ ชอบประจำตำแหน่งตอ่ การกระทำและผลที่ตามมาของการกระทำน้ัน ๆ
กล่าวคอื บทบาทของตำแหน่งงานต่อผลงานในขัน้ สุดทา้ ย
- อิสระในการตดั สนิ ใจ (Freedom to Act)
- บทบาทของตำแหน่งงานต่อผลงานในขั้นสุดทา้ ย (Job Impact on End Results)
- ขอบเขตของบทบาทท่ีต าแหน่งงานนั้น ๆ สง่ ผลถงึ (Magnitude/ Area of Impact

4. work…

-4-
4. Work Flow กระบวนการ

ตามหนงั สือสำนกั งาน ก.พ. ท่ี นร 1008.3.3/314 ลงวนั ท่ี 10 สงิ หาคม 2552 การดำเนินการกำหนด
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งนายแพทย์ ด้านเวชกรรม สาขาต่างๆ ระดับปฏิบัติการ หรือชำนาญการ หรือ
ชำนาญการพิเศษท่ีปฏิบัติงานให้บริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ เป็นตำแหน่งนายแพทย์เช่ียวชาญได้ทุก
ตำแหน่ง โดยไม่ต้องนำตำแหน่งวา่ งมายุบรวมและต้องเป็นผู้มีคณุ สมบัติมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนายแพทย์ระดับ
เช่ยี วชาญ และตอ้ งผ่านการประเมนิ ค่างาน ตามหลกั เกณฑ์และเงื่อนไข ตามหนังสอื สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/
ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และเง่ือนไขการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งประเภท
วชิ าการ ระดับเชี่ยวชาญ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดบั สงู ของกระทรวง กอ่ น
เสนอ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาอนุมัติ เพ่ือให้บุคลากรด้านการแพทย์ของกรมการแพทย์มีความก้าวหน้าและ
สามารถดำเนินการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงข้ึนได้เพิ่มมากข้ึนโดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิกเพื่อเป็น
ค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เพ่ิมสูงขึ้นในการกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นจึงได้จัดทำข้ันตอนการกำหนดตำแหน่ง
นายแพทยร์ ะดับเชย่ี วชาญ เพ่อื สามารถกำหนดตำแหน่งนายแพทยไ์ ด้อยา่ ง มีประสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ล ดังน้ี

แผนผัง/ขน้ั ตอนการกำหนดตำแหนง่ นายแพทยร์ ะดบั เชีย่ วชาญ
เร่มิ ต้น

หนว่ ยงานบันทกึ คำขอประเมินค่างานท่ีผา่ น คบห. เห็นชอบ และคณะกรรมการกลั่นกรองคัดเลือกของหน่วยงาน
ผ่านโปรแกรมประเมินคา่ งาน

รวบรวมตรวจสอบข้อมูลตำแหนง่ ตามบัญชจี ดั ตำแหนง่ ฯ (บญั ชี ๑)
และคณุ สมบตั ผิ ้ดู ำรงตำแหนง่ ตามมาตรฐานการกำหนดตำแหนง่
ตามหนงั สอื สำนักงาน ก.พ. ท่ี นร 1008/ ว 2 ลว. 19 ก.พ. 2558

จัดทำแบบประเมนิ ค่างาน ส่งใหส้ ำนกั งาน ก.พ. พิจารณา

ทำหนังสอื เสนอกรมฯ ขอกำหนดตำแหน่งเป็นระดบั เช่ียวชาญ ไปยงั คณะกรรมการการกำหนดตำแหนง่ ระดบั สูง
ของกระทรวงสาธารณสุข

จดั ทำเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 1 ชดุ และสง่ เอกสารอเิ ลค็ ทรอนกิ ส์

อ.ก.พ....

-5-

อ.ก.พ. กระทรวงมมี ตอิ นมุ ตั ิให้ปรบั ปรงุ การกำหนดตำแหน่ง กรมการแพทยด์ ำเนนิ การ ดงั นี้
1. คดั เลอื กบุคคลโดยคณะกรรมการคัดเลือกของกรมการแพทยเ์ ปน็ ผพู้ ิจารณา
2. แจ้งมตกิ ารกำหนดตำแหนง่ และผลการคดั เลอื กผเู้ หมาะสมให้ประเมนิ ผลงานให้

หนว่ ยงานและกลุม่ งานท่ีเกีย่ วข้อง
3. บันทึกขอ้ มูลความเคล่อื นไหวตำแหนง่ ท่กี ำหนดให้เป็นปจั จุบนั ในฐานข้อมูลและในบญั ชีจดั ตำแหน่ง

ข้าราชการ พลเรือน (บญั ชี ๑ และบัญชี ๓) เพอื่ ให้ผู้ทเ่ี กย่ี วขอ้ งนำไปใช้ประกอบการปฏิบตั ิงาน

ผไู้ ดร้ บั การคดั เลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการสง่ ผลงานประเมินภายในระยะเวลา
ท่ี อ.ก.พ. กรมการแพทย์กำหนด

กรมการแพทยส์ ง่ ผลงาน
เพ่อื เสนอ สานกั งาน ก.พ. พจิ ารณา

ผา่ น ไมผ่ า่ น

สำนักงาน ก.พ. แจ้งผลการคดั เลอื กให้สำนกั งาน กรมแจ้งผ้ไู ด้รบั การคดั เลอื ก ฯ แก้ไขผลงาน
ปลดั กระทรวงสาธารณสุขเพื่อออกคำส่งั แตง่ ตงั้

สำนกั งานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแจ้งคำสง่ั แต่งตง้ั

กรมการแพทยบ์ ันทึกขอ้ มลู การกำหนดตำแหนง่
ใน ก.พ. 7 และแจง้ คำส่ังแตง่ ตงั้ ใหห้ น่วยทราบ

สน้ิ สุด

คำอธิบาย...

-6-

คำอธบิ ายข้นั ตอนการดำเนินการกำหนดตำแหนง่ นายแพทยร์ ะดับเช่ียวชาญ
ข้ันตอนท่ี 1 หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ดำเนินการบันทึกคำขอกำหนดตำแหน่งนายแพทย์ระดับเช่ียวชาญ
และส่งแบบประเมินค่างานการกำหนดตำแหน่งนายแพทย์เช่ียวชาญท่ีได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการ
บริหารหน่วยงานเห็นชอบและคณะกรรมการกลั่นกรองคัดเลือกของหน่วยงาน ซ่ึงสามารถบันทึกข้อมูลผ่าน
โปรแกรมประเมินค่างานทีก่ รมการแพทย์กำหนด
ขั้นตอนท่ี 2 กองบริหารทรัพยากรบุคคลสำรวจและรวบรวมคำขอท่ีหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์บันทึกคำขอ
ประเมินค่างานผ่านโปรแกรมประเมินค่างานรวมทั้งตรวจสอบข้อมูลตำแหน่งตามบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการ
ตำแหน่งนายแพทย์เช่ียวชาญ (บัญชี ๑) และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานการกำหนด
ตำแหน่งและตามหนงั สอื สำนกั งาน ก.พ. ท่ี นร 1008/ ว 2 ลว.19 กพ. 2558 ซึ่งเป็นต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
กำหนดตำแหน่งของ สำนักงาน ก.พ. คอื

1. มีคุณสมบตั เิ ฉพาะสำหรบั ตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏบิ ัติการ
2. ดำรงตำแหนง่ ใดตำแหนง่ หน่งึ มาแลว้ ดังตอ่ ไปนี้

2.1 ประเภทอำนวยการระดบั ต้น
2.2 ตำแหน่งนายแพทย์ ระดบั ชำนาญการพิเศษ
2.3 ตำแหน่งนายแพทย์ ระดับชำนาญการ ไม่น้อยกว่า 4 ปี
2.4 ตำแหน่งอ่ืนท่ีเทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
การกำหนดตำแหนง่ ที่ ก.พ. กำหนด
3. ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ หรืองานอื่นท่ีเก่ียวข้องตามท่ีส่วนราชการเจ้าของสังกัดเห็นว่า
เหมาะสมกบั หน้าท่คี วามรบั ผิดชอบและลกั ษณะงานที่ปฏบิ ัตมิ าแล้วไม่น้อยกวา่ 1 ปี
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแบบประเมินค่างาน 20 ข้อคำถาม ส่งให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณา เพื่อการประเมิน
คุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด ซึ่งเป็นวิธีดำเนินการอย่างเป็นระบบ
ในการจัดลำดับชั้นงาน เพื่อให้ได้ค่างานอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมโดยการวิเคราะห์ลักษณะงานหน้าท่ีและ
ความรับผิดชอบคุณภาพและความยุ่งยากของงานตามองค์ประกอบหรือปัจจัยการประเมินที่มีระดับการวัดที่
กำหนดไว้เป็นมาตรฐานให้ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องตามคุณภาพของงานโดยองค์ประกอบหลักในการ
ประเมนิ คา่ งาน ๓ ด้าน ซง่ึ ประกอบดว้ ย ๘ องค์ประกอบยอ่ ยที่มีความสัมพันธก์ นั ดังต่อไปน้ี
๑. องค์ประกอบหลักด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในงาน หมายถึง ระดับและขอบเขตของ
ความรู้ ความสามารถ ความรอบรู้ ความชำนาญงาน และทักษะท่ีพัฒนาข้ึนมาจากประสบการณ์ การทำงานและ
การฝึกฝน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นต้องมีเป็นพ้ืนฐาน เพ่ือให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตำแหน่งนั้นได้อย่าง
เหมาะสมและมปี ระสิทธิภาพ ซ่ึงจำแนกออกเป็นองคป์ ระกอบย่อยได้ ๓ องคป์ ระกอบ ดงั นี้
องค์ประกอบท่ี ๑ ความรู้และความชำนาญ หมายถึง ระดับและขอบเขตของความรู้
ความสามารถ ความรอบรู้ ความชำนาญงาน และทักษะที่จะต้องมีเพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
โดยพจิ ารณาจากสภาพงานของตำแหนง่ นัน้
องค์ประกอบที่ ๒ การบริหารจัดการ หมายถึง ระดับและขอบเขตของความรู้ ความสามารถใน
การบริหารจัดการท่ีต้องการของตำแหน่งนั้น ๆ โดยพิจารณาจากลักษณะงาน และการบริหารจัดการในการ
วางแผน กำกบั ตรวจสอบ ตดิ ตามการปฏิบตั ิงาน และการทำงานเป็นทีม
องค์ประกอบที่ ๓ การส่ือสารและปฏิสัมพันธ์ หมายถึง ระดับและขอบเขตของความรู้
ความสามารถ และทักษะในการติดต่อส่ือสารกับผู้อ่ืน การทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการให้ผู้อ่ืนร่วมทำงานให้ โดย
พิจารณาจากวตั ถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ

2. องค์ประกอบ...

-7-
2. องค์ประกอบหลักดา้ นความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ระดับและขอบเขตของการใช้
ความคิดและการตัดสินใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ข้ันตอนท่ีตำแหน่งนั้นจะต้องนาความรู้มาใช้ ในการ
แกป้ ัญหา เพอื่ ให้งานบรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ ซึ่งจำแนกออกเปน็ องคป์ ระกอบย่อยได้ ๒ องค์ประกอบ ดังน้ี
องค์ประกอบที่ 4 กรอบของอำนาจและอิสระในการคิด หมายถึง ระดับขอบเขตของความคิด
เพ่ือตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัตงิ านหรือการแก้ปัญหาในงานของตำแหน่ง โดยพิจารณาจากการได้รับอำนาจ
ในการปฏบิ ัตงิ านน้นั ตาม กฎ ระเบยี บ ข้อบังคัด หรือตามกฎหมายทีก่ ำหนดไว้

องค์ประกอบที่ ๕ ความท้าทายในการคิดแก้ปัญหา หมายถึง ระดับของความความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ในการแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาที่เกิดข้ึนจากการป ฏิบัติงานของตำแหน่งตามความรับผิดชอบหรือ
ตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปได้ โดยพิจารณาจากลักษณะงาน สภาพงาน รูปแบบของการคิด และ
กระบวนการจัดการขอ้ มูลของตำแหน่ง

๓. องค์ประกอบหลักด้านภาระรับผิดชอบ หมายถึง ระดับและขอบเขตของผลกระทบที่เกิดจาก
งาน ความรบั ผิดชอบหรอื คณุ ภาพของงานท่ีเกดิ ขึน้ รวมถึง ความอิสระหรอื ข้อจำกัดในการปฏบิ ัตงิ านของตำแหน่ง
น้นั ซึ่งจำแนกออกเปน็ องคป์ ระกอบยอ่ ยได้ ๓ องคป์ ระกอบ ดังน้ี

องค์ประกอบที่ ๖ อิสระในการปฏิบัติงาน หมายถึง ระดับและขอบเขตของการวินิจฉัยหรือ
ตัดสินใจในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากการได้รับอำนาจ การควบคุม กำกับ ตรวจสอบ และการบังคับบัญชา
ภายใตเ้ งอ่ื นไขหรือขอ้ จำกัดทางกฎหมายที่กำหนดไวเ้ ปน็ กรอบในการปฏิบตั ิงาน

องค์ประกอบที่ ๗ ผลกระทบจากการปฏิบัติงาน หมายถึง ระดับและขอบเขตของผลกระทบ
ท่ีเกิดจากการปฏิบัติงานของตำแหน่งน้ัน ซ่ึงส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจหลักของส่วนราชการ โดย
พจิ ารณาจากผลสัมฤทธิ์ของตำแหน่งงานตอ่ หน่วยงาน กรม กระทรวง และประเทศ

องค์ประกอบที่ ๘ ลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง หมายถึง ลักษณะสำคัญของหน้าที่
ความรับผิดชอบของตำแหน่งซึ่งส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจหลักของหน่วยงาน
โดยพิจารณาจากลักษณะหน้าท่ีความรับผิดชอบและผลสัมฤทธ์ิที่เกิดข้ึนของตำแหน่งนั้นต่อภารกิจโดยรวม
ของส่วนราชการ
ขั้นตอนท่ี 4 ขอกำหนดตำแหน่งเป็นระดับเช่ียวชาญ ไปยังคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของ
กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดทำเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา 1 ชุดพร้อมท้ังส่งไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
และจัดทำ PowerPoint เพอ่ื นำเสนอและให้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสขุ พจิ ารณากำหนดตำแหน่ง
ขน้ั ตอนที่ 5 เม่ือ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติอนมุ ัติให้ปรบั ปรุงการกำหนดตำแหนง่ กรมการแพทย์ดำเนนิ การ ดังน้ี

1. กลุ่มงานสรรหาและพัฒนามาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลดำเนินการคัดเลือกบุคคล
โดยคณะกรรมการคดั เลือกของกรมการแพทยเ์ ปน็ ผพู้ ิจารณาคัดเลอื ก

2. กลมุ่ งานอัตรากำลังแจ้งมติ อ.ก.พ. กระทรวง การกำหนดตำแหน่งใหห้ น่วยงานทเ่ี กี่ยวข้องทราบ
3. กล่มุ งานสรรหาและพัฒนามาตรฐานการบรหิ ารทรัพยากรบุคคลแจง้ ผลการคดั เลือกผเู้ หมาะสม
เพอื่ ใหด้ ำเนนิ การส่งประเมนิ ผลงานตามระยะเวลาที่ อ.ก.พ. กรมการแพทย์กำหนด
4.บันทึกข้อมูลความเคล่ือนไหวตำแหน่งท่ีกำหนดให้เป็นปัจจุบันในฐานข้อมูลและในบัญชี
จดั ตำแหนง่ ข้าราชการ พลเรอื น (บัญชี ๑ และบญั ชี ๓) เพอื่ ให้ผู้ท่เี กยี่ วข้องนำไปใช้ประกอบการปฏบิ ัตงิ าน
ข้นั ตอนท่ี 6 ผูไ้ ด้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการจัดทำผลงานทางวิชาการเพือ่ ส่งผลงานฯประเมิน
ภายในระยะเวลา ที่ อ.ก.พ. กรมการแพทยก์ ำหนด

ข้ันตอน...

-8-
ขนั้ ตอนที่ 7 กรมการแพทยส์ ง่ ผลงานทางวชิ าการใหส้ านกั งาน ก.พ. เพ่ือพิจารณาผลงานวิชาการ

กรณที ี่ 1 พิจารณาผลงาน ฯ ผา่ น
1. หากสำนักงาน ก.พ. พิจารณาผลงานวชิ าการผา่ น จะแจง้ สำนักงานปลดั กระทรวงสาธารณสขุ ออกคำส่งั
แต่งแจง้ ให้กรมการแพทย์ทราบ
2. กรมการแพทย์แจ้งคำส่ังใหห้ นว่ ยงานทราบ และบนั ทึกความเคลอ่ื นไหวใน ก.พ. 7 ในระบบ DPIS

กรณีที่ 2 พจิ ารณาผลงาน ฯ ไมผ่ ่าน
กรมการแพทย์แจ้งหน่วยงานแกไ้ ขผลงาวชิ าการและดำเนินการตอ่ ตามกรณที ี่ 1 ตามขั้นตอน

-9-
6. เอกสารอางอิง

1) หนังสอื สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันท่ี 19 กุมภาพนั ธ์ 2558 เรื่องหลกั เกณฑแ์ ละเงอ่ื นไข
การกำหนดตำแหนง่

2) มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สำนักงาน ก.พ.
3) สำนักงาน ก.พ. สำนกั พัฒนาระบบจำแนกตำแหนง่ และค่าตอบแทน (2559). ค่มู ือประเมินค่างานตาม

หลักเกณฑ์และเง่ือนไขการกำหนดตำแหนง่ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครง้ั ที่ 1. นนทบุรี

ภาคผนวก

แบบประเมนิ ค่างานในการขอกำหนดตำแหน่งนายแพทย์เชีย่ วชาญ
1. ตำแหนง่ เลขท่.ี ......................................
ชอ่ื ตำแหน่ง...........................................................ระดับ.................................................. ............................
งาน/ฝา่ ย/กลุ่ม............................................กอง/สำนกั ................................... ..............................................
กรม..................................................................กระทรวง........................................... ..................................
ขอกำหนดเป็นตำแหนง่ ......................................................ระดับ.................................... ..............................
กอง/สำนัก/ส่วนกลาง.................................................................กรม.......................... .................................
2. หนา้ ทแ่ี ละความรบั ผิดชอบของตำแหน่ง (เดิม)

(เขยี นจากงานทป่ี ฏิบตั ิจริง ประกอบกบั มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระดับเดมิ 4 ดา้ น ได้แก่
ด้านปฏบิ ัตกิ าร ดา้ นการวางแผน ดา้ นประสานงาน ด้านบรกิ าร)
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
3. หนา้ ท่แี ละความรบั ผิดชอบของตำแหนง่ (ใหม่)
(เขียนจากงานท่ีปฏบิ ัตจิ ริง แต่มคี วามย่งุ ยากเชงิ คณุ ภาพเพิ่มขนึ้ ประกอบกบั มาตรฐานกำหนดตำแหนง่ ระดบั
ใหม่ 4 ดา้ น ได้แก่ ดา้ นปฏิบัติการ ด้านการวางแผน ดา้ นประสานงาน ด้านบริการ)
.............................................................................................................................................................................
..................................................................................................................... ........................................................
.................................................................................................................... .........................................................
.................................................................................................................... .........................................................
.................................................................................. ...........................................................................................
4. วเิ คราะห์เปรียบเทียบหน้าท่แี ละความรบั ผิดชอบคุณภาพและความยุ่งยากของงานทเ่ี ปล่ยี นแปลงไป
(นำหนา้ ทคี่ วามรับผิดชอบมาเปรยี บเทยี บเป็น 4 ดา้ น คือ หน้าที่ความรับผดิ ชอบ ความยงุ่ ยากของงาน
การกำกับตรวจสอบ การตดั สินใจ)เปรียบเทียบเป็นตารางดังน้ี

คณุ ภาพและความยุ่งยากของระดับเดมิ คณุ ภาพและความย่งุ ยากของระดับใหม่

1. หนา้ ทค่ี วามรับผดิ ชอบ 1. หนา้ ทค่ี วามรับผิดชอบ
อธบิ าย.................................................................... อธบิ าย....................................................................

2. ความยุ่งยากของงาน 2. ความยงุ่ ยากของงาน
อธบิ าย.................................................................... อธบิ าย....................................................................

3. การกำกับตรวจสอบ 3. การกำกับตรวจสอบ
อธบิ าย.................................................................... อธบิ าย....................................................................

4. การตัดสินใจ 4. การตัดสนิ ใจ
อธบิ าย.................................................................... อธบิ าย....................................................................

แบบประเมินคา่ งานโดยใชโ้ ปรแกรมประเมนิ ค่างาน
ให้พิจารณาเลือกคำตอบเพียงคำตอบเดียวที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหน้าที่ความรับผิดชอบหรือ

ลกั ษณะงานทเ่ี ปลย่ี นแปลงไปของตำแหน่งที่ต้องการประเมินพร้อมระบเุ หตผุ ล
1. ระดบั การศกึ ษา

เปน็ การประเมินคา่ งานจากระดับการศึกษาทต่ี ำแหนง่ นน้ั ตอ้ งการหรือจำเป็นต้องใชใ้ นการปฏบิ ัติงาน

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

๒. ระดับปริญญาหรอื เทียบเท่าขน้ึ ไป 2

เหตผุ ล :
- การตอบข้อคำถามควรคำนึงถงึ ตำแหน่งงานไมใ่ ช่คำนงึ ถงึ บุคคลท่ีดำรงตำแหนง่

- ระดบั การศกึ ษาในท่ีนีเ้ ป็นเพยี งการรวบรวมข้อมูลประกอบการวเิ คราะห์งานของตำแหนง่ เทา่ นัน้
ยกตวั อยา่ ง เชน่
เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์และความเช่ียวชาญในทางวิชาการเก่ีย วกับการ

บำบัดรักษา ให้บริการทางการแพทย์ ศกึ ษาวิเคราะห์ วจิ ัย ถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ และได้รับวุฒิบัตรการแพทย์
เฉพาะทาง ศึกษาวิเคราะห์วจิ ยั ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้ทางการแพทย์ซ่งึ มรี ะยะเวลาในการศึกษาอีก๓ – ๕ ปหี ลังจาก
จบแพทยศาสตรบัณฑิตและควรมีการศึกษาตอ่ เฉพาะทาง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………

2. ประสบการณ์ท่ีจำเป็นในงาน
เปน็ การประเมินค่างานจากประสบการณใ์ นงานท่ีเก่ยี วขอ้ งทีจ่ ำเป็นตอ้ งใชใ้ นการปฏบิ ัติงานของตำแหน่ง

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

7. มีประสบการณ์ 13 - 15 ปี 7

เหตผุ ล :
- จำนวนปีประสบการณ์ ในท่ีนี้เป็นจำนวนปีที่เหมาะสมกับประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ระยะเวลา
การดำรงตำแหน่ง จึงไม่ใช่จำนวนปีท่ีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และไม่ใช่จำนวนปี
ประสบการณข์ องบุคคลทดี่ ำรงตำแหน่ง
ยกตวั อย่าง เชน่
นายแพทย์เชี่ยวชาญเป็นตำแหน่งที่จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ไม่
น้อยกว่า๑๓- ๑๕ปี เน่ืองจากลักษณะงานที่ปฏิบัติมีผลกระทบกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้ป่วยต้องมีความรู้
ประสบการณ์ ความเช่ียวชาญเชิงลึกเฉพาะสาขาผ่านการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ได้แก่ การให้บริการทางการ
รักษา การสอนฝึกอบรม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาองค์ความรู้ โดยประยุกต์ใช้ข้อมูล
หลักฐานการศึกษา เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้.....ยกตัวอย่าง...เพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานและ
แสดงถึงความเชย่ี วชาญของตำแหนง่ ในแต่ละสาขาที่จะขอกำหนด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………

3. ความรู้ทจ่ี ำเป็นในงาน

เป็นการประเมินคา่ งานจากระดบั ของความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความชำนาญงานและความเชีย่ วชาญ

ทจี่ ำเป็นต้องใชเ้ ป็นหลักในการปฏิบตั งิ านของตำแหนง่

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

10. เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความเชีย่ วชาญในงานเชิงวชิ าการหรือวิชาชีพเฉพาะหรือ 10

ทกั ษะและความชำนาญเฉพาะตวั สูงมากในตำแหน่งหนา้ ท่ที ี่รับผดิ ชอบรวมทั้งเป็นงาน

ที่จะตอ้ งแก้ไขปัญหาทีย่ งุ่ ยากซับซ้อนและให้คำปรึกษาได้

เหตุผล :

เป็นความรู้ท่ีจำเป็นในงานระดับที่เพ่ิมมากข้ึนจาก “ความชำนาญ” มาเป็นระดับ “ความเชี่ยวชาญ” หรือ

“ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก” ในตำแหน่ง หน้าท่ีท่ีรับผิดชอบ ซ่ึงหมายความว่าต้องมี

ประสบการณ์ ในหลาย ๆ กรณี จนทำให้มีความรู้ความสามารถที่ เพิ่มมากขึ้น และสามารถใช้ความรู้ความ

เชี่ยวชาญน้ัน แก้ไขปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน ท่ีเกิดข้ึนในงานได้ รวมทั้ง ต้องสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ท่ี

เก่ียวข้องหรือผทู้ ีอ่ ยู่ใน ความรับผิดชอบได้

ยกตวั อย่าง เชน่

นายแพทยเ์ ชี่ยวชาญเปน็ งานที่ตอ้ งใช้ความรูค้ วามเชยี่ วชาญด้านการบริการทางการแพทยเ์ ฉพาะทางสาขาตา่ งๆ ท่ี

สูงมากในการตรวจวินิจฉัย คัดกรองและรักษาผู้ป่วยท่ีมีความยุ่งยากซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงถึงชีวิตได้ เช่น .....ยก

ตัวอย่าง.....งานท่ีปฏบิ ตั ิท่ีต้องใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูง และแสดงถึงความเชี่ยวชาญของตำแหน่ง

4. ความรคู้ วามสามารถและทกั ษะในเชงิ เทคนิค
เปน็ การประเมนิ ค่างานจากระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความรอบรู้และความชำนาญงานในเชิง

เทคนิคท่ีจำเปน็ ต้องใช้ในการปฏบิ ัติงานของตำแหน่ง

ขอ้ คำตอบ เลือก

14. เป็นงานท่ีต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นเลิศด้านวิชาการเชิงลึกหรือทักษะและความ 14

ชำนาญเฉพาะตวั สงู มากในการพฒั นาองคค์ วามรู้วิธีการหรือเทคนคิ ในสายอาชีพและสามารถ

ใหค้ ำปรึกษาด้านเทคนคิ ได้

เหตผุ ล :

ลักษณะงานต้องใชค้ วามรู้ ความสามารถเชิงลึกในระดบั ท่ียอดเย่ียมเปน็ พิเศษ หรือใช้ทักษะหรือความชำนาญ

เฉพาะตัวในระดับที่สูงมาก โดยความรู้ ความสามารถ หรือทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวน้ัน

จะตอ้ งนำไปใช้ในการพฒั นาความรู้ วธิ กี าร หรอื ความเปน็ วชิ าชีพ และสามารถให้คำปรึกษาในเชงิ เทคนคิ ได้

- เป็นเลิศด้านเชิงวชิ าการเชงิ ลกึ ในทนี่ ี้หมายถึง งานไม่สามารถใช้ความรู้ทางวิชาการหรือวิชาชีพตามปกติ

ได้ผู้ปฏิบัติงานในงานนี้ต้องมีความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค ทางใดทางหนึ่งมากเป็นพิเศษจึงปฏิบัติงานได้เป็น

อยา่ งดี

- ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ในที่นี้ หมายถึง ไม่ใช่งานทางด้านวิชาการ แต่เป็นงานที่ใช้

ทักษะในเชิงเทคนิคโดยอาศัยประสบการณ์เฉพาะตัวสูงมาก เป็นที่ยอมรับในระดับยอดเยี่ยมของวงการน้ันๆ

ยกตัวอยา่ ง เชน่

นายแพทย์เช่ียวชาญต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการแพทย์ในเชิงลึกและทักษะคว ามชำนาญ

เฉพาะตัวท่สี ูงมากในการตรวจ วินิจฉยั รักษาผู้ปว่ ยทย่ี ุ่งยากซับซ้อนและมีภาวะความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะปัจจุบันมี

โรคท่ีเป็นอุบัติการณ์ใหม่ๆ เกิดข้ึน จึงมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ วิธีการรวมท้ังสร้างนวัตกรรม

ทางเทคโนโลยขี ้ันสงู การศกึ ษา ค้นควา้ วิจยั พัฒนาหลกั สตู รและระบบการเรยี นการสอน ท้ังภาคทฤษฎีและปฏิบตั ิ

แก่นกั ศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและเนือ่ งจากลักษณะงานเกยี่ วขอ้ งกับชวี ิตความปลอดภยั ของผปู้ ่วย ตอ้ งใช้

ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการพยาบาลในเชิงลึก และใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะตัวสูงมากในการ

ตรวจ วินจิ ฉัยรักษาผปู้ ่วยท่ียงุ่ ยากซับซ้อน และมีภาวะความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะปจั จุบันมีโรคที่เป็นอบุ ัติการณใ์ หม่

ๆเกิดขน้ึ จึงมีการศกึ ษา คน้ ควา้ วจิ ัย พัฒนาองค์ความรู้ วิธกี าร รวมท้ังสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีช้นั สงู เพื่อ

พัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน และมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรและ

ระบบการเรียนการสอน ทง้ั ภาคทฤษฎีและปฏิบตั ิแกน่ ักศกึ ษาแพทย์ ใหม้ ีความร้คู วามชำนาญและความเช่ยี วชาญ

ในงานวชิ าชีพทนั ต่อสถานการณ์โรคที่เกิดขึน้ ในปัจจบุ ัน ตวั อยา่ งเชน่ ........

5. การบรหิ ารจัดการ

เป็นการประเมินคา่ งานจากระดับและขอบเขตของความสามารถในการดำเนนิ การทจ่ี ะทำให้เกิด กิจกรรม

หรอื เกดิ การปฏิบตั ิอันจะนำไปสเู่ ป้าหมายขององคก์ รตามท่ีกำหนดไวภ้ ายใต้ทรัพยากรท่ีมี

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

5. เป็นงานท่ีต้องปฏิบัติด้านการวางแผนติดตามบริหารจัดการงานวิชาการให้ 5

คำปรกึ ษาและประสานงานระหว่างสว่ นราชการในระดบั นโยบาย

เหตผุ ล :

มีการบริหารจัดการ “งานวิชาการ” ซ่ึงเป็นภารกิจที่สำคัญ รวมท้ังยังมุ่งเน้นไปท่ี “การประสานงาน”

ระหว่างส่วนราชการ ท้ังระดบั กอง/สำนัก และระดับกรม ในระดบั นโยบายอีกที

ยกตัวอย่าง เช่น

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องปฏิบัติด้านการวางแผนติดตามบริหารจัดการงานวิชาการให้คำปรึกษาและ

ประสานงานระหว่างส่วนราชการในระดับนโยบายโดยประยุกต์และถ่ายทอดวิชาการทางการแพทย์ลงสกู่ าร

ปฏิบัติ เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์ โครงการวิจัย โดยประยุกต์และถ่ายทอดทางเทคนิควิชาการทาง

การแพทย์ลงสู่การปฏิบัติ การบริหารจัดการโครงการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ในเขตพ้ืนท่ีที่

รับผิดชอบ การบริหารจดั การโครงการวจิ ัยต่างๆ ตามนโยบาย เพ่อื ใหบ้ รรลุวสิ ัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของ

หน่วยงานและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ส่วนราชการ ต้องบริหารจัดการอย่า งมีประสิทธิภาพ

เป็นคณะทำงานบริหารหน่วยงานในตำแหน่งต่างๆ หรือที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร เพื่อให้การทำงาน

ของหน่วยงานเป็นไปอย่างราบร่ืน ท้ังในด้านการบริหาร บริการ วิชาการ และพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน

เป็นผู้นำทีมพัฒนาคุณภาพทางการแพทย์พัฒนาความรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาล บริหารจัดการ

โครงการวิจัย(principal investigator) เช่น เผยแพร่งานวิจัย เร่ืองอะไร อย่างไร ยกตัวอย่าง

.........................................................................................................................................................

6. ลกั ษณะของการทำงานในทีม
เป็นการประเมินค่างานจากระดับและบทบาทการมีส่วนร่วมในทีมของตำแหน่งต่อผลสัมฤทธิ์

ของงานตามทก่ี ำหนด

ขอ้ คำตอบ เลือก
10
10. เป็นงานที่ต้องมีส่วนร่วมกับทีมมากกว่าท่ีกำหนดไว้ในข้อ 9 (เป็นงานท่ีต้องกำกับ
ตรวจสอบและประสานงานกับสมาชิกอื่นๆในงานท่ีเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพ่ือผลสัมฤทธิ์
ตามท่ีกำหนดไว้)และในบางกรณีอาจต้องมีส่วนร่วมกับทีมตามลักษณะท่ีกำหนดในข้อ
11 (เป็นงานที่ต้องอำนวยการ ควบคมุ ดูแล ตรวจสอบและประสานงานกบั สมาชิกอื่นๆ
ท้ังในงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หรืออาจจะแตกต่างกันในเชิงเนื้อหาเพื่อผลสัมฤทธ์ิ
ตามทีก่ ำหนดไว้) ด้วย

เหตุผล :
นอกจากจะควบคุมบังคับบัญชาสมาชิกในทีมแล้ว ยังมีบทบาทในการกำกับ
ตรวจสอบ และประสานงาน ประสานความรว่ มมือกับสมาชิกอนื่ หรอื หน่วยงานอื่นท่ี
มี ความเก่ียวข้องกัน โดยเนื้อหางานไม่แตกต่างกัน “กำกับ” ในท่ีน้ีหมายถึง การ
ควบคมุ ทม่ี ีลักษณะ ไม่เข้มงวด ไมใ่ ชด่ ูแลบงั คับบญั ชาโดยตรง
“ตรวจสอบ” ในท่ีน้ีหมายถึง การพิจารณาความถูกต้อง ความเรียบร้อย หรือ
เป้าหมายของงานที่ทำ เป็นคำที่ แสดงสถานะทางอำนาจของหัวหน้าทีมหรือ
ผบู้ งั คบั บญั ชา
และบางครั้งลักษณะงานต้องอำนวยการ ควบคุมดูแลการทำงาน พิจารณาความ
ถูกต้องเรียบร้อยของงานของสมาชิก ในทีม และต้องประสานงาน ประสานความ
ร่วมมือกับ สมาชิกอื่น เช่น หน่วยงานระดับสำนักหรือกองอื่น ในกรม หรือส่วน
ราชการอ่นื ท้งั ในงานทมี่ เี น้อื งาน เกยี่ วขอ้ งหรอื แตกตา่ งกัน
“อำนวยการ” ในท่ีนี้หมายถึง อำนาจในการสั่งการ ตามอำนาจหน้าที่ ท้ังตาม
กฎหมายหรือตามทไ่ี ด้รับ มอบหมาย มใิ ชห่ มายถงึ ประเภทของตำแหน่ง
ยกตวั อย่าง เช่น
นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องอำนวยการในการให้คำปรึกษาวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
ประสานงานกับทีมงานทั้งในโรงพยาบาลตามหลัก (PDCA) และประสานงานเชิงบูรณา
การกับหน่วยงานนอกโรงพยาบาลในระดับ สำนัก กอง กรม ต่างๆ และเป็นผู้นำทีมใน
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางสาขาต่างๆที่ต้องใช้ความรู้เช่ียวชาญซับซ้อนสูงมาก
ต้องใช้ความเป็นผู้นำในการประสานกับผู้อ่ืนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
ประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ (พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักเทคนิค
การแพทย์ นักรังสีการแพทย์ เป็นต้น) เพ่ือเกิดผลสัมฤทธ์ิภายใต้การทำงานแบบทีม
หรือคณะกรรมการเพื่อสร้างความเข้าใจ ความรว่ มในการรักษาผปู้ ่วย งานวิชาการ การ
เรียนการสอน หรือดำเนินการใดๆ บางคร้ังเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงาน
เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรเป็นผู้ควบคุม กำกับ
และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการตรวจสอบภายในคุณภาพ
ของหน่วยงาน เช่น อะไร อยา่ งไร (ยกตวั อยา่ ง) ให้เหน็ ชดั เจน

7. การวางแผน
เป็นการประเมินค่างานจากลักษณะและระดับของการวางแผนในกระบวนการบริหารงานท่ีตำแหน่งนั้น

รับผิดชอบ

ขอ้ คำตอบ เลือก

6.เป็นงานที่ต้องดำเนินการมากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 5 (เป็นงานท่ีต้องวางแผน 6

กำหนดวัตถุประสงค์กรอบเวลาและทรัพยากรท่ีต้องการในกิจกรรมโครงการหรือ

แผนงานระยะส้ันบางอย่างของส่วนราชการระดับสำนักหรือกองได้) และในบางกรณี

อาจต้องต้องดำเนินการตามที่กำหนดในข้อ 7 (เป็นงานที่ต้องบูรณาการแผนงานต่างๆ

ของส่วนราชการระดับสำนักหรือกองรวมทั้งกำหนดวิธีการบริหารโครงการทรัพยากร

เวลาและขัน้ ตอนสำคญั เพื่อผลสมั ฤทธติ์ ามทกี่ ำหนดไว้)

เหตุผล :

ลักษณะเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของ หน่วยงาน ท่ีต้องกำหนดวัตถุประสงค์ กรอบเวลา

ซึ่งระบุไว้แล้ว และยังต้องมีการกำหนดถึงทรัพยากร ท่ีต้องการใช้ในการทำงาน กิจกรรม โครงการ

หรือแผนงานบางอย่างท่ีไม่มีความยงุ่ ยากซบั ซ้อนมากนัก โดยเป็นโครงการหรือแผนงานระดับสำนักหรอื กอง

“โครงการหรือแผนงานระยะสั้น” ในท่ีน้ีหมายถึง โครงการหรือแผนงานท่ีสามารถปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงไป

ในระยะเวลาอันสั้น

และบางครง้ั ลกั ษณะเปน็ แผนปฏบิ ตั ิการเช่นเดียวกัน แต่มีการรวม แผนงานต่าง ๆ ของสำนกั หรือกอง เขา้ มา

เชื่อมโยง ประสานให้สอดคลอ้ ง และนำไปสู่การปฏบิ ัติอยา่ งมี สัมพันธภาพ ซ่ึงเรียกว่าเป็น “การบูรณาการ”

รวมทั้ง ยังต้องกำหนดวิธีการบริหารโครงการ ซ่ึงเก่ียวกับ ทรัพยากรที่จะนำมาใช้ ระยะเวลาในการดำเนิน

โครงการ และข้ันตอนที่สำคัญตามแผนงานที่กำหนดไว้ อีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่ผลสัมฤทธ์ิของงาน

ตามท่ี ได้มกี ารวางแผนไว้

ยกตัวอยา่ ง เช่น

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องมีการวางแผน มอบหมาย กำกับ ติดตาม และให้คำปรึกษา แนะนำ พร้อมแก้ไขปัญหา

เพ่ือให้การบริการที่ดีต้องมีการวางแผนประสานงานเครือข่ายการรักษาในแต่ละจังหวัดให้ดีมีการบูรณาการ

ความรู้ทางวิชาการสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ เช่น การลดข้ันตอนการให้บริการผู้ป่วยโดยมี

การประสานงานระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายล่วงหน้า การกำหนดกรอบระยะเวลาและจัดหาทรัพยากรท่ี

เหมาะสมในการดำเนินกิจกรรม โดยเป็นงานที่ต้องบูรณาการแผนงานต่างๆของส่วนราชการระดับสำนักหรือกอง

เช่น การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล (HA)ของหน่วยงาน การจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้สู่

ประชาชน การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนท่ีตามถ่ินทุรกันดารจังหวัดต่างๆ ท้ังในภาพกรม และกระทรวง การจัด

ประชุมเชิงวชิ าการด้านการแพทยเ์ ฉพาะทางสาขาตา่ งๆ เป็นต้น เป็นคณะอนุกรรมการฝึกอมรมแพทยป์ ระจำบ้าน

คณะกรรมการสอบเพื่อหนังสืออนุมัติบัตร โครงการประชุมเพ่ือสร้างเครือข่ายเฉพาะทางสาขาต่างๆ ในระดับ

Asian เพอ่ื เตรียมเข้าสู่ AEC เช่นอะไร อยา่ งไร ยกตัวอย่าง..

8. มนษุ ย์สัมพันธ์ท่ีจำเปน็ ในงาน
เป็นการประเมินค่างานจากลกั ษณะของความสัมพันธ์หรือการพัฒนาความสมั พันธก์ ับบคุ คลต่าง ๆ ที่

จำเป็นต่อการปฏบิ ตั งิ านของตำแหนง่

ขอ้ คำตอบ เลือก

5. เป็นงานที่ต้องพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อให้สามารถคลคี่ ลายสถานการณ์ท่ีเปราะบางซึ่งอาจ 5

นำไปสูค่ วามขัดแย้งรวมท้ังเปน็ งานทต่ี อ้ งสามารถปรบั เปลีย่ นพฤติกรรมของบุคคลได้

เหตุผล : มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งต้องใช้ ภาวะผู้นำ การนำเสนอ ช้ีแจง โน้มน้าว

และเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อคล่ีคลายสถานการณ์ที่เปราะบาง อันอาจจะกระทบ ต่อความรู้สึกของบุคคลต่าง ๆ ได้

ซึ่งอาจจะนำไปสู่ ความขัดแย้ง ท้ังน้ี ควรยกสถานการณ์เหล่าน้ันในงานได้ อย่างเป็นรูปธรรม นัยสำคัญอีก

ประการหน่ึงคอื ต้องเป็น งานทีเ่ กยี่ วขอ้ งกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล

“สถานการณ์ท่ีเปราะบาง” ในท่ีน้ีหมายถึง สถานการณ์ท่ีอาจกระทบต่อความรู้สึกที่ดีระหว่างกันท่ีอาจ

นำไปสคู่ วามรสู้ ึกหรือทัศนคตใิ นเชิงลบ และอาจ ตอ่ เน่ืองไปถงึ ความขดั แยง้ ในการปฏิบัติงาน

“สามารถปรบั เปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลได”้ ในที่นห้ี มายถึง พฤติกรรมของผ้มู สี ว่ นเกีย่ วขอ้ งในงาน ทุกฝา่ ย

ทั้งในทีม เพ่ือนร่วมงาน บุคคลภายนอก หรือผู้รับบริการ เป็นพฤติกรรมที่เปล่ียนไปในทิศทางที่สร้างหรือ

พัฒนามนษุ ยสัมพันธ์ได้

ยกตวั อย่าง เช่น

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน ต้องทำงานเป็นทีม ลักษณะงานเก่ียวกับการให้

การรกั ษาพยาบาลบางรายอยู่ในระยะวิกฤติ ภายใต้สถานการณ์ท่ีไม่อาจคาดเดาได้ อันอาจจะนำไปสู่ความเครียด

ซ่ึงอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตของผู้ป่วย ดังน้ัน ในฐานะของหัวหน้าทีมการให้บริการรักษาพยาบาล จึงต้องมีมนุษย์

สัมพันธ์กับผู้ร่วมทีมการรักษาพยาบาล คือ บุคลากรทางการแพทย์ท่ีเก่ียวข้อง และตัวผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมท้ัง

ผอู้ นื่ ท่ีเกยี่ วข้อง เพ่ือสร้างความเข้าใจ ความรว่ มมือในการดูแลรักษาผปู้ ่วย หรือดำเนนิ การใดๆ เพอ่ื แก้ไขปญั หาใน

ประเด็นสำคัญท่ีมีผลต่อการให้บริการรักษาพยาบาล และปัจจุบันมีปัญหาการร้องเรียนเก่ียวกับการให้บริการทาง

การแพทย์ค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ ทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ในการสื่อสาร ชักจูง โน้มน้าว อาจถึงข้ัน

สามารถปรับเปล่ียนพฤติกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอก รวมท้ังผู้รับบริการ เพ่ือให้

สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่เปราะบาง ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เช่น การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอะไร

อย่างไร อธิบายทแ่ี สดงถงึ ความสามารถในการคลีค่ ลายสถานการณ์ทเี่ ปราะบาง ซง่ึ อาจนำไปสู่ความขดั แย้งรวมท้ัง

เปน็ งานที่ตอ้ งสามารถปรับเปลย่ี นพฤตกิ รรมของบคุ คลได้อยา่ งไร

9. การตดิ ตอ่ สอ่ื สารท่จี ำเป็นในงาน
เป็นการประเมินค่างานจากลักษณะและระดับของการติดต่อสื่อสารท่ีจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานของ

ตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การยอมรับ นำไปสู่การให้ความร่วมมือและการสนับสนุนต่อการปฏิบัติงานให้
เกิดผลสมั ฤทธไ์ิ ด้

ข้อคำตอบ เลือก

7. เป็นงานท่ีต้องสามารถติดต่อส่ือสารในระดับท่ีโน้มน้าวและส่งผลต่อการตัดสินใจ 7

ของส่วนราชการระดับสำนักหรอื กองได้

เหตุผล : การติดต่อสื่อสารในระดับน้ีเป็นการสื่อสารท่ผี ู้ส่ือสารมี ความสามารถโนม้ นา้ วจูงใจ หรือสรา้ งความ

เชื่อถือ การยอมรับ ให้เกิดข้ึนได้ จนนำไปสู่การตัดสินใจของ ส่วนราชการระดับสำนักหรือกองได้ ซึ่งจะ

มุ่งเน้น สัมฤทธิผลของการติดต่อสื่อสารมากกว่าจะพิจารณาจาก ลักษณะของงานแต่เพียงประการเดียว

การประเมินค่างานในข้อคำตอบนี้จึงต้องแสดงให้เห็น ข้อเท็จจริงของการสื่อสาร การโน้มน้าวใจ ท่ีมีผลต่อ

การตัดสนิ ใจของสว่ นราชการระดับสำนกั หรอื กอง

ยกตัวอยา่ ง เช่น

นายแพทย์เช่ียวชาญต้องมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สามารถโน้มน้าว จูงใจ สร้างความเชื่อถือ การ

ยอมรับ ให้เกิดข้ึนในระดับกลุ่ม ฝ่าย ได้อย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน ซ่ึงมีผลต่อการตัดสินใจ

ของผบู้ รหิ ารจนนำไปสู่การกำหนดเปน็ แผนกลยุทธ์ และถ่ายทอดลงสู่การปฏิบัติ เพือ่ ให้เกิดผลสมั ฤทธ์เิ ป็นไปตาม

ยุทธศาสตร์และหน่วยงานต่อไปการพัฒนางานด้านการพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ (excellent center)

จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดท่ียังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขเช่น ยกตัวอย่างสถานการณ์ท่ีแสดงถึงการสื่อสารท่ีโน้มน้าวและ

มีผลตอ่ การตัดสนิ ใจของส่วนราชการระดับสำนกั กองไดอ้ ยา่ งไร อธิบาย..............................................................

10. กรอบแนวคิดสำหรบั การแก้ปัญหา

เป็นการประเมินคา่ งานจากความสามารถในการกำหนดแนวทาง วิธีการแกป้ ัญหาในการปฏบิ ตั งิ าน ตาม

หนา้ ที่และความรบั ผดิ ชอบของตำแหน่ง ภายใต้กรอบแนวคิด เป้าหมาย และนโยบายของสว่ นราชการ

ข้อคำตอบ เลือก

8. เป็นงานท่ีตอ้ งแก้ปัญหาภายใตก้ รอบแนวคิดมากกว่าทกี่ ำหนดไว้ในข้อ 7 (เป็นงานที่ 8

ต้องแก้ปัญหาภายใต้นโยบาย และเป้าหมายระยะส้ันของส่วนราชการ ซึ่งเป็นงานท่ีมี

อิสระในการคิดแนวทาง แผนงาน กระบวนการ หรือขั้นตอนใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุตาม

วัตถุประสงค์ท่ีกำหนดไว้) และในบางกรณีอาจต้องแก้ปัญหาตามกรอบแนวคิดในข้อ 9

(เป็นงานท่ีต้องแก้ปัญหาภายใต้นโยบาย พันธกิจ และเป้าหมายระยะยาวของส่วน

ราชการ ซึ่งเป็นงานท่ีมีอิสระในการกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน หรือโครงการเพื่อให้บรรลุ

ตามวัตถุประสงค์ทกี่ ำหนดไว้)

เหตุผล : กรอบของการแก้ปัญหาในความรับผิดชอบจะอยู่ภายใต้ นโยบายและเป้าหมายระยะสั้นของส่วน

ราชการ โดยเป็นงานที่ให้อิสระในการดำเนินการท่ีจะกำหนด แนวทาง กระบวนการ หรือขั้นตอนใด ๆ ใน

การแก้ปัญหาได้ รวมท้ังมีอิสระในด้านความคิดหรือดลุ ยพินจิ มากข้ึน แต่มีข้อจำกัดเกยี่ วกบั ขนาดของปัญหา

เท่านั้น และเป็นการแกป้ ัญหาในระดับนโยบาย พันธกจิ และเป้าหมายระยะยาวของส่วนราชการ ซงึ่ แสดงให้

เห็นถึงอิสระที่จะกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน โครงการหรือกระบวนการอ่ืนใดที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วน

ราชการ กรอบของปัญหาในข้อนี้เป็นกรอบปัญหาของส่วนราชการระดับกรม มีอิสระในการใช้ดุลยพินิจใน

การแก้ปัญหา แต่มีข้อจำกัดเพียงอยู่ในกรอบของนโยบาย พันธกิจ และเป้าหมายระยะยาวของส่วนราชการ

เทา่ น้นั

ยกตัวอยา่ ง เชน่

นายแพทยเ์ ช่ียวชาญตอ้ งแก้ปัญหาภายใต้นโยบาย และเปา้ หมายระยะส้ันของส่วนราชการ ซง่ึ เปน็ งานที่มอี ิสระใน

การคิด แนวทาง แผนงาน กระบวนการ เน่ืองจากลักษณะงานเป็นงานวิชาชีพเฉพาะที่ต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วย

โดยตรง ลักษณะงานท่ปี ฏิบัติมผี ลกระทบกบั ชีวิตทรัพย์สินของผู้ป่วย และเป็นงานท่ีต้องแกป้ ัญหาภายใตน้ โยบาย

พันธกิจและเป้าหมายระยะยาวของส่วนราชการเนื่องจากลักษณะงานเป็นงานวิชาชีพเฉพาะท่ีต้องปฏิบัติงาน

โดยนายแพทย์เช่ียวชาญจะต้องสามารถวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพการ

รวมท้ังการกำหนดแผนงาน/โครงการในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์

ที่สนับสนุนการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่สอดคล้องตามภารกิจ หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการ เช่น ยกตัวอย่าง

อธบิ ายรายละเอียดและยกตัวอย่างใหเ้ หน็ ชดั เจนมากยง่ิ ขนึ้ ........................................................................ .............

11. อสิ ระในการคดิ

เป็นการประเมินคา่ งานจากระดับของการคิดหรือการตัดสินใจที่จะพิจารณาดำเนินการตามกรอบแนวทาง

ท่ีมีอยู่ หรือมีอิสระในการคิดเพ่ิมขึ้นไปจนถึงสามารถกำหนดแนวทางและนโยบายในการปฏิบัติงานของ

สว่ นราชการได้

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

9. เปน็ งานทตี่ ้องคดิ พจิ ารณาเลอื กหรอื ตัดสินใจในการกำหนดแนวทางหรอื เป้าหมายของ 9

ส่วนราชการรวมทั้งงานอ่ืนที่อาจต้องคิดค้นองค์ความรู้ระบบแนวคิดหรือกระบวนการ

ใหมๆ่ เพ่ือผลสมั ฤทธ์ิทกี่ ำหนดไวไ้ ด้

เหตุผล : สามารถคิดและใช้ดุลยพินิจที่จะเลือกหรือตัดสินใจในเร่ืองใหม่ ๆ เพื่อกำหนดแนวทางหรือ

เป้าหมายของส่วนราชการ รวมทั้งมีอิสระในการคิดค้นองค์ความรู้ระบบ แนวคิด หรือกระบวนการใหม่ ๆ

เพ่ือใช้ในการปฏิบัตงิ านในหนา้ ทใ่ี หเ้ กดิ ผลสำเร็จของส่วนราชการได้ด้วย

ยกตวั อย่าง เชน่

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องมีความคิดพิจารณาเลือกหรือตัดสินใจในการกำหนดแนวทางหรือเป้าหมายของส่วน

ราชการรวมท้ังงานอื่นที่อาจต้องคิดค้นองค์ความรู้ระบบแนวคิดหรือกระบวนการใหม่ๆเพื่อผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

ไว้ได้ เช่น เปน็ งานลักษณะวชิ าชีพเฉพาะ มีอิสระในความคิดที่จะใชว้ ิธีการในการรักษาผู้ป่วยซ่ึงมีหลากหลายวิธี

ให้ได้ผลดีท่ีสุดมีอิสระในการบริหารจัดการงานทางวิชาการ หรือโครงการที่มีความหลากหลายซับซ้อนของเน้ือ

งาน ยกตัวอย่าง องค์ความรู้ ระบบแนวคิด หรือกระบวนการใหม่ ๆ และอธิบายรายละเอียด ทำอะไร อย่างไร

มกี รณีศึกษาอะไรอธิบายเพ่ือให้เห็นรปู ธรรมชดั เจน..............................................................................................

12. ความท้าทายในงาน

เป็นการประเมินค่างานจากลักษณะงานหรือสถานการณ์ท่ีท้าทายการแก้ไขหรือการจัดการกับปัญหาที่

เกดิ ข้ึนในงานของตำแหนง่ ใหล้ ุลว่ งไปได้ด้วยรปู แบบและวิธกี ารต่าง ๆ

ข้อคำตอบ เลือก

8. เป็นงานที่ต้องจัดการกับสถานการณ์ท่ียุ่งยากมากกว่าท่ีกำหนดในข้อ7 (เป็นงานท่ี 8

ต้องจัดการกับสถานการณ์ท่ีต้องมีการประเมินและตีความโดยใช้วิจารณญาณเพ่ือ

ตดั สินใจหาทางแก้ปัญหาที่อาจมีความเส่ียงและไมม่ ีคำตอบเพียงคำตอบเดียว) แตน่ ้อย

กว่าข้อ9 (เป็นงานท่ีต้องจัดการกับสถานการณ์พิเศษท่ีอาจไม่เคยเกดิ ข้ึนมาก่อนซ่งึ ต้อง

ใชค้ วามคดิ สร้างสรรคห์ รอื ความคดิ นอกกรอบเพ่ือใหเ้ กิดผลสมั ฤทธ์ิในระดบั ประเทศได้)

เหตุผล : มีความท้าทายในสถานการณ์มากข้ึน โดยต้องจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ

ธรรมดา แต่เป็นสถานการณ์ท่ีต้อง “ประเมินและตีความ” โดยต้องใช้วิจารณญาณหรือดุลยพินิจในการ

จัดการกบั สถานการณน์ ้นั เพอ่ื ตดั สนิ ใจหาทางแก้ปญั หาที่อาจมคี วามเส่ียงและไมไ่ ด้มีทางแกเ้ พียงทางเดียว

“การประเมินและตีความ” ในท่ีนี้หมายถึงการประเมินความเส่ียงและวินิจฉัยตีความตามหลักการของเร่ือง

เพ่อื ลดความเส่ยี งทีจ่ ะเกดิ ข้ึน

“ไม่มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว” ในที่นี้หมายถึงสถานการณ์ท่ีท้าทายต่อการตัดสินใจท่ีมีหลายทางเลือก

สง่ ผลกระทบต่อการดำเนนิ ภารกิจของกรม

ยกตัวอยา่ ง เช่น

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องจัดการกับสถานการณ์ที่ต้องมีการประเมินและตีความโดยใช้วจิ ารณญาณเพ่ือตัดสินใจ

หาทางแก้ปัญหาที่อาจมีความเส่ียงและไม่มีคำตอบเพียงคำตอบเดียวต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางการแพทย์

เฉพาะทาง และเป็นการทำงานเชิงรุกต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยเพ่ือพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ในสาขา

เฉพาะทางที่ประเมินโดยมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลหลักฐานการศึกษาวิจัยเพ่ือสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ สามารถ

ถ่ายทอดเผยแพร่เพ่ือพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพเพ่ิมมากข้ึนมีการบูรณาการ หลักวิชาการ/วิชาชพี ช้ันสูง มาพัฒนา

งานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน สามารถถ่ายทอด องค์ความรู้ ตลอดจนเป็นแบบอย่างท่ีดี เป็นที่ยอมรับใน

วงการวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ อะไร อย่างไร อธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง

กรณศี กึ ษาเพ่อื ให้เกิดความชดั เจนมากย่ิงขึ้น………………………………………………………………………….....................

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....

13. การวเิ คราะห์ขอ้ มูล

เป็นการประเมินค่างานจากระดับของความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูล

ประกอบการตัดสินใจ ในการท างานระดบั ต่าง ๆ

ข้อคำตอบ เลอื ก

8. เป็นงานที่ต้องใชค้ วามร้คู วามสามารถในการวเิ คราะห์และสังเคราะห์ข้อมลู เพ่ือ 8

กำหนดหลักการหรือแนวทางออกแบบกระบวนการหรือระบบท่สี ำคัญหรือสรา้ ง

แบบจำลองเพ่อื สนับสนุนภารกจิ ของสว่ นราชการ

เหตุผล :นอกจากต้องใช้ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องมีการสังเคราะห์ข้อมูล

เพิ่มขึ้นด้วยซ่ึงท้ังการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในข้อนี้เป็นไปเพื่อกำหนดหลักการ แนวทาง ออกแบบ

กระบวนการหรือระบบที่สำคัญ หรือเพ่ือใช้สร้างแบบจำลองเพ่ือสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการ ในข้อน้ี

ต้องแสดงข้อเท็จจริงว่ามีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ข้อมูลเก่ียวกับอะไร และได้นำไปใช้กำหนดหลักการ

แนวทางออกแบบกระบวนการ หรือออกแบบระบบอะไรข้นึ มาใหมท่ สี่ ำคัญ

“การสังเคราะห์ข้อมูล” ในที่นี้หมายถึง การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลตา่ ง ๆ นำมารวมเข้าเป็นสง่ิ ใหม่

หรือความรู้

ยกตวั อยา่ ง เชน่

นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจากผลการรักษา และ

วิธีการรักษาผู้ป่วยท้ังในอดีตและปัจจุบัน และสามารถคาดการณ์ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณะสุขที่อาจ

เกิดข้ึนได้ในอนาคต เพื่อนำมาปรับปรุงขั้นตอน กระบวนการ วิธีการ รวมท้ังคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและ

เทคโนโลยีชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผูป้ ่วยและการให้บรกิ ารทางการแพทย์ใหไ้ ดผ้ ลดี มีประสทิ ธิภาพ เช่น

การพัฒนาทางเทคโนโลยีการทางการแพทย์ใหม่ๆ กำหนดแนวทางการักษาเฉพาะทางสาขาต่างๆ จัดการเรียน

การสอนหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน มีผลงานด้านวิชาการทางการแพทย์เฉพาะทาง เช่น อะไร ยกตัวอย่าง

กรณีศึกษา และอธิบายรายละเอียดให้ขัดเจน กำหนดหลักการ แนวทาง ออกแบบกระบวนการหรือระบบท่ี

สำคญั อะไร อยา่ งไร ยกตวั อย่างกรณศี ึกษาให้ชัดเจน.............................................................................. ............

…………………………………………………………………………………………………………………………….....................................

…………………………………………………………………………………………………………………………………………...........…….....

14. อสิ ระในการทำงาน
เป็นการประเมินค่างานจากระดับความสามารถปฏิบัติงานด้วยตนเองและความรับผิดชอบของ

ผปู้ ฏิบัตงิ านในตำแหน่ง ภายใต้เง่อื นไขหรือขอ้ จำกดั ในระดับต่าง ๆ

ข้อคำตอบ เลือก

6. เป็นงานทมี่ อี สิ ระในการปฏบิ ตั งิ านหรือให้คำปรึกษาภายใต้นโยบายของส่วน 6

ราชการระดับกรมโดยอาจต้องรายงานผลสัมฤทธ์แิ ละขอคำปรกึ ษาตามสมควร

เหตุผล : ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งมีอิสระในการทำงานเพ่ิมมากขึ้นโดยนอกจากรบั ผิดชอบผลสัมฤทธิข์ องงาน

ในระดับสำนักหรือกองแล้ว ยังสามารถดูแลรับผิดชอบผลสัมฤทธิ์น้ันโดยตรง หรือสามารถให้คำปรึกษาใน

ระดับกรมได้ภายใต้นโยบายของส่วนราชการระดับกรม ทั้งน้ีความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นเร่ือง

สำคัญจึงอาจตอ้ งรายงานผลสัมฤทธ์ิและขอคำปรกึ ษาบ้างตามสมควร

ยกตัวอยา่ ง เชน่

นายแพทย์เชี่ยวชาญเป็นงานท่ีมีอิสระในการปฏิบัติงานหรือให้คำปรึกษาภายใต้นโยบายของส่วนราชการระดับ

กรมโดยอาจต้องรายงานผลสัมฤทธิ์และขอคำปรกึ ษาตามสมควร เนื่องจากหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ เป็น

โรงพยาบาลระดบั ตติยภูมิเชีย่ วชาญเฉพาะทาง ซง่ึ ลักษณะงานเปน็ วิชาชีพเฉพาะจึงมีความเป็นอิสระในการทำงาน

สามารถวางแผนกำหนดทศิ ทาง ข้นั ตอน กระบวนการ วิธีการในการรักษาพยาบาลผู้ปว่ ย ซ่งึ มหี ลากหลาย ท้ังทาง

เทคนิคและวิธีการที่จะนำมาใช้ให้ได้ผลสัมฤทธ์ิ ภายใต้กรอบมาตรฐานวิชาชีพ อะไร อย่างไร ยกตัวอย่างอธิบาย

รายละเอยี ด และยกตวั อยา่ งกรณีศึกษา ใหเ้ ห็นชดั เจน.......................................................................................

…………………………………………………………………………………………………………………………………..........................……..

……………………………………………………………………………………………………………………………………...........………………..

15. การได้รับอำนาจในการทำงาน
เป็นการประเมินคา่ งานจากระดับของอำนาจท่ีไดร้ ับในการทำงาน โดยพิจารณาจากขอบเขตหรือข้อจำกัด

ตามลกั ษณะงาน สายการบังคับบญั ชา และการใช้ดลุ ยพนิ จิ

ขอ้ คำตอบ เลือก

9. เปน็ งานท่ีตอ้ งปฏบิ ตั ิภายใตก้ รอบนโยบายทชี่ ดั เจนโดยสามารถใชด้ ลุ ยพินจิ 9

ดำเนนิ การตามขนั้ ตอนและวธิ ีปฏิบตั ิท่กี ำหนดไว้อยา่ งกว้างๆรวมทง้ั สามารถพัฒนา

กระบวนการวิธกี ารหรือระบบใหม่ๆเพื่อใหบ้ รรลผุ ลสมั ฤทธิ์ทีก่ ำหนด

เหตุผล : ได้รับอำนาจใช้ดุลยพินิจในการทำงานมาก โดยเป็นการปฏิบัติงานภายใต้กรอบนโยบายที่ชัดเจน

อาจจะมีข้ันตอนและวิธีการที่กำหนดไว้บ้าง แต่เป็นลักษณะกว้าง ๆ ไม่แน่นอนตายตัว อำนาจท่ีได้รับในชั้นนี้

ตอ้ งมขี อ้ เทจ็ จรงิ วา่ สามารถตดั สนิ ใจพฒั นากระบวนการหรอื วิธกี ารทำงาน หรือระบบงานใหม่ ๆ ได้ด้วย

ยกตวั อย่าง เชน่

นายแพทย์เช่ียวชาญตอ้ งปฏิบัติภายใต้กรอบนโยบายที่ชัดเจนโดยสามารถใช้ดุลยพินิจดำเนนิ การตามขั้นตอนและวิธี

ปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆรวมท้ังสามารถพัฒนากระบวนการวิธีการหรือระบบใหม่ๆเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธ์ิที่

กำหนดมขี อบเขตความรับผิดชอบในการวางแผนกำหนดแนวทางการทำงานหรือโครงการสำคัญตามแผนปฏิบัติการ

และนโยบายของหน่วยงาน มอบหมาย ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ และประสานการดำเนินงานท้ังภายในและ

ภายนอกหน่วยงาน รวมท้ังใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาทางเทคนิควิชาการท่ีมีความยุ่งยากซับซ้อนมาก

และมีผลกระทบต่อความสำเร็จของงาน/โครงการ มีความอิสระในการปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ.วิชาชีพเฉพาะเช่น

กระบวนการ วิธกี ารหรือระบบใหมๆ่ อะไร อย่างไร อธบิ ายรายละเอียดและยกตัวอยา่ ง กรณศี กึ ษา...........................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………...........................

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………............

16. อำนาจในการตดั สนิ ใจ

เป็นการประเมินค่างานจากระดับของการใช้อำนาจในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุ

วตั ถปุ ระสงคห์ รอื เป้าหมายของสว่ นราชการ

ข้อคำตอบ เลอื ก

6. เป็นงานที่มอี ำนาจตัดสนิ ใจดำเนนิ การและบูรณาการกลยทุ ธบ์ างสว่ นของสว่ น 6

ราชการระดับกรม

เหตุผล : มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหาการดำเนินงานในระดับสำนักหรือกอง และยังมีส่วนในการตดั สินใจ

ในประเดน็ ยทุ ธศาสตรบ์ างสว่ นของกรม รวมทง้ั การบรู ณาการประเดน็ ยุทธศาสตรบ์ างส่วนของกรมดว้ ย

ยกตัวอย่าง เชน่

นายแพทย์เชี่ยวชาญเป็นงานต้องมีอำนาจตัดสินใจดำเนินการและบูรณาการกลยุทธ์บางส่วนของส่วนราชการระดับ

กรม เนื่องจากเป็นงานที่มีอำนาจการตัดสินใจ ตามวิธีการ กระบวนการ ตามวิชาชีพเฉพาะ มาตรฐานวิชาชีพโดยใช้

ดุลยพินิจ ทักษะ ประสบการณ์ ภายใต้บริบทของประชาชนท่ีมาขอรับบริการทางการแพทย์เพื่อให้ได้รับคุณภาพใน

การบำบัด รักษา และความพึงพอใจในการขอรับบริการ การมสี ่วนร่วมในการตดั สินใจแก้ปญั หาท่ีเกดิ ข้ึนในงาน เช่น

การวางแผนการรกั ษาคนไขอ้ ะไร อย่างไร อธบิ ายรายละเอียดพร้อมยกตวั อยา่ ง กรณศี ึกษา.......................................

…………………………………………………………………………………………………………………………………..........................…………

………………………………………………………………………………………………………………………………………...........…………………

17. ผลกระทบจากการปฏบิ ัตงิ าน

เปน็ การประเมินคา่ งานจากระดบั และขอบเขตผลกระทบท่ีเกิดข้ึนจากการปฏิบัตงิ านและส่งผลต่อการ

ดำเนินงานในภาพรวมระดบั กรม ระดับกระทรวง และระดบั ประเทศ

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

8.เป็นงานที่ส่งผลกระทบมากกว่าข้อ7 (เป็นงานที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน 8

แผนปฏิบัตงิ านหรือการวางแผนกลยทุ ธ์โดยรวม) ของสว่ นราชการระดับกรมแตน่ อ้ ยกว่า

ขอ้ 9 (เป็นงานที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานแผนปฏิบัติงานหรอื การวางแผนกลยุทธ์

โดยรวมของส่วนราชการระดับกระทรวง)

เหตุผล : งานส่งผลกระทบเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยส่งผลต่อวัตถุประสงค์หรือภารกิจหลักของกรมโดยตรง
ในการดำเนนิ งานตามแผนปฏิบตั ิงานหรอื การวางแผนกลยุทธ์โดยรวมของกรม
ยกตวั อยา่ ง เชน่
นายแพทย์เช่ียวชาญต้องเป็นงานท่ีส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานแผนปฏิบัติงานหรือการวางแผนกลยุทธ์โดยรวม
ต้องลักษณะงานที่ปฏบิ ัติมีผลกระทบกบั ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปว่ ย ครอบครัว ช่ือเสยี งของหน่วยงาน จำเป็นตอ้ งใช้
ความรู้ ประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานอ่ืนๆ และสามารถกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการ
ตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา หรือป้องกัน ฟื้นฟู ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขท่ีอาจเกิดขึ้น รวมทั้งโรคอุบัติ
ใหม่ท่ีส่งผลกระทบในวงกว้าง มีผลให้เกิดนโยบายในระดับกรม อะไร อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
.......................................................................................................................................................................................
………………………............................................................................................................................ ……………………………
………………………………..........……………………………………………………………………..……………………………………………………

18. ลกั ษณะงานท่ปี ฏบิ ตั ิของตำแหนง่

เป็นการประเมินค่างานจากบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และลักษณะงานท่ีปฏิบัติของตำแหน่ง

ตามภารกิจของสว่ นราชการ

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

4.เป็นงานให้คำปรึกษาโดยใช้ความเช่ียวชาญเป็นพิเศษในสายอาชีพซึ่งจะส่งผลต่อ 4

การกำหนดกลยุทธข์ องสว่ นราชการ

เหตุผล : นายแพทย์เช่ียวชาญต้องให้คำปรึกษาโดยใช้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในสายอาชีพโดยต้องใช้ความรู้

ความชำนาญในวิชาการ ทักษะ ประสบการณ์ท่ีสั่งสมเพ่ือวินิจฉัยโรค ถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทั้งการศึกษาวิจัย

เพ่ือใหไ้ ด้แนวทางในการรักษาใหม่ๆ ทไ่ี ด้มาตรฐาน....……………………………………………………………………………...........

……………………………………………………………………………….............………………………………………………………………………

19. วตั ถุประสงคห์ ลกั ของงานของตำแหนง่

เป็นการตรวจสอบผลการประเมินค่างานโดยพิจารณาจากวตั ถุประสงค์หลักของงานของตำแหน่งท่จี ะ

ประเมนิ

ขอ้ คำตอบ เลือก

3. วัตถุประสงค์หลักของงานคือการสนับสนุนประสานให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคคลหรือ 3

หนว่ ยงานอืน่ ตามกรอบความร้หู รอื แนวทางท่ีกำหนดไว้

เหตุผล : นายแพทย์เชี่ยวชาญต้องมีวัตถุประสงค์หลักของงานคือการสนับสนุนประสานให้คำปรึกษาแนะนำแก่

บุคคลหรือหน่วยงานอ่ืนตามกรอบความรู้หรือแนวทางที่กำหนดไว้เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถ

ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีการค้นคว้า อ้างอิง ใช้ข้อมูลจากภายนอกเพื่อให้ประชาชนมี

สุขภาพที่ดี พัฒนาแนวทางและประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติด้านการแพทย์ และสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับใน

สังคม เสนอแนะแนวทางตรวจ วินิจฉัย บำบดั รักษาและฟ้ืนฟูสมรรถภาพ ส่งเสริม ควบคมุ ป้องกนั ปัญหาสขุ ภาพท่ี

ยาก เพื่อพัฒนาองค์ความรทู้ างวิชาการแพทย์และสาธารณสุข วิเคราะห์ปัญหา ศกึ ษาสภาวะสุขภาพของประชาชน

ในเขตพ้ืนท่ีท่ีรับผิดชอบ และแนวโน้มความเปล่ียนแปลงที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อวางแผนการ

ดำเนนิ งานใหเ้ ป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกบั บริบทของพื้นที่ภารกิจหลักของกรมการแพทย์ และกระทรวง

สาธารณสขุ

20. ประเภทและระดบั ตำแหน่ง

เป็นการตรวจสอบผลการประเมินค่างานโดยพิจารณาจากประเภทและระดับของต ำแหน่งท่ีจะ

ประเมิน

ขอ้ คำตอบ เลอื ก

8. ประเภทวชิ าการระดบั เชย่ี วชาญ 8

เหตุผล :

………………………………………………………………………...........………………………………………………………...............……………

…………………………………………………………………………………................................……………………………………………………

แบบบันทกึ คำตอบสำหรับโปรแกรมประเมนิ คา่ งาน

ตำแหนง่ เลขที่______________________________________________________________________
ช่อื ตำแหน่ง__________________________________ระดับ__________________________________
งาน/ฝา่ ย/กลุม่ _____________________________________กอง/สำนกั ________________________
กรม________________________________________ กระทรวง______________________________
ขอกำหนดเปน็ ตำแหนง่ _________________________ระดับ__________________________________

คำถาม คำตอบ หมายเหตุ
คำถามขอ้ ที่ 1 : ระดบั การศึกษา 2
คำถามข้อท่ี 2 : ประสบการณ์ในงานทเี่ กย่ี วข้อง 7
คำถามขอ้ ท่ี 3 : ความร้ทู ่จี ำเป็นในงาน 10
คำถามข้อท่ี 4 : ความรคู้ วามสามารถและทกั ษะในเชิงเทคนคิ 14
คำถามข้อท่ี 5 : การบริหารจัดการ 5
คำถามขอ้ ท่ี 6 : ลกั ษณะของการทำงานในทมี 10
คำถามข้อท่ี 7 : การวางแผน 6
คำถามข้อท่ี 8 : มนษุ ยสัมพนั ธท์ ีจ่ ำเป็นในงาน 5
คำถามข้อท่ี 9 : การตดิ ตอ่ ส่ือสารที่จำเป็นในงาน 7
คำถามขอ้ ท่ี 10 : กรอบแนวคดิ สำหรับการแกป้ ัญหา 8
คำถามข้อท่ี 11 : อิสระในการคดิ 9
คำถามขอ้ ท่ี 12 : ความท้าทายในงาน 8
คำถามข้อท่ี 13 : การวเิ คราะหข์ อ้ มลู 8
คำถามขอ้ ท่ี 14 : อสิ ระในการทำงาน 6
คำถามขอ้ ที่ 15 : การได้รับอำนาจในการทำงาน 9
คำถามขอ้ ที่ 16 : อำนาจในการตัดสนิ ใจ 6
คำถามข้อที่ 17 : ผลกระทบจากการปฏิบัตงิ าน 8
คำถามข้อท่ี 18 : ลกั ษณะงานทป่ี ฏบิ ตั ิของตำแหนง่ 4
คำถามข้อที่ 19 : วัตถปุ ระสงคห์ ลักของงานของตำแหน่ง 3
คำถามขอ้ ที่ 20 : ประเภทและระดบั ตำแหน่ง 8

ความเหน็ ของส่วนราชการ
ไดต้ รวจสอบรายละเอียดแลว้ ขอรับรองว่าข้อมลู ข้างต้นของตำแหน่งเลขท่.ี ............ถูกตอ้ งและ

เป็นไปตามหลักเกณฑแ์ ละเง่ือนไขการกำหนดตำแหน่งและหลกั เกณฑก์ ารประเมนิ ค่างาน

(ลงชอื่ ) ..................................................
(.................................................)
หัวหน้ากลมุ่ งานอตั รากำลัง
กองบริหารทรัพยากรบุคคล

( ) เหน็ ด้วย
เหตผุ ล…………………………………………………………………………...

( ) ไมเ่ ห็นด้วย
เหตุผล………………………………………………………………………

(ลงชอ่ื ) ..................................................
(................................................)

ผ้อู ำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล

( ) เห็นควรนำเสนออ.ก.พ. กระทรวง
เหตุผล…………………………………………………………………………...

( ) ไม่เห็นควรนำเสนออ.ก.พ. กระทรวง
เหตุผล…………………………………………………………………………..

(ลงช่อื ) ..................................................
(................................................)
อธิบดกี รมการแพทย์

การพจิ ารณาของคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวง
คณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขในการประชุมคร้ังท่ี……/………
วนั ที…่ ……………………. ได้พิจารณาตามหลกั เกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและหลกั เกณฑ์การประเมินค่างานแลว้ มมี ติ
ดงั น้ี

( ) เห็นควรอนมุ ตั ิ
เหตุผล……………………………………………………………………………………

( ) ไม่เหน็ ควรอนุมัติ
เหตผุ ล……………………………………………………………………………………

( ) อืน่ ๆ……………………………………………………………………………………..

(ลงชอ่ื ) ..................................................
(................................................)

เลขานกุ ารคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดบั สงู
ของกระทรวงสาธารณสขุ

ขอรับรองว่ามตคิ ณะกรรมการฯดงั กลา่ วถูกต้องตรงตามหลักเกณฑ์และเงือ่ นไขท่กี .พ. กำหนด

(ลงชอื่ ) ..................................................
(.................................................)

ประธานคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูง
ของกระทรวงสาธารณสขุ
หรือผูท้ ีป่ ระธานฯมอบหมาย

การพจิ ารณาของอ.ก.พ. กระทรวง
อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสขุ ในการประชมุ คร้งั ท…ี่ …/………วนั ท…่ี …………………….
ไดพ้ จิ ารณาตามหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและหลกั เกณฑ์การประเมินค่างานแลว้ มมี ติดงั นี้
( ) อนมุ ัติ

เหตุผล……………………………………………………………………………………
( ) ไม่อนุมตั ิ

เหตุผล……………………………………………………………………………………
( ) อืน่ ๆ……………………………………………………………………………………..

(ลงชือ่ ) ..................................................
(................................................)

เลขานกุ ารอ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสขุ

ขอรบั รองวา่ มติอ.ก.พ.ฯดงั กล่าวถกู ตอ้ งตรงตามหลักเกณฑ์และเง่ือนไขท่กี .พ. กำหนด

(ลงช่อื ) ..................................................
(.................................................)

ประธานอ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสขุ

ตัวอย่างการตอบขอ้ คำถาม

๒. ประสบการณท์ ่ีจำเปน็ ในงาน

ขอ้ คำตอบ เลือก

7. มีประสบการณ์13 - 15ปี √

เหตผุ ลนายแพทย์เช่ียวชาญเป็นตำแหน่งท่ีจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ ความเช่ียวชาญทางการแพทย์ไม่

น้อยกว่า๑๓- ๑๕ปี เนื่องจากลักษณะงานที่ปฏิบัติมีผลกระทบกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้ป่วยต้องมีความรู้

ประสบการณ์ ความเชย่ี วชาญเชิงลึกเฉพาะสาขาผ่านการปฏิบตั ิงานตา่ งๆ ไดแ้ ก่ การใหบ้ รกิ ารทางการรกั ษาพยาบาล

การสอนฝึกอบรม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาองค์ความรู้ โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลหลักฐาน

การศึกษา เพอ่ื สร้างนวตั กรรมและองค์ความรู้ ดงั น้นั จึงตอ้ งมปี ระสบการณใ์ นการทำงานดา้ นการแพทยเ์ ฉพาะทางสูง

มากพอท่ีจะต้องตดั สินใจหรอื แก้ไขปัญหาในทางวิชาการท่ียากและซับซอ้ นมากได้เพื่อให้มคี วามเข้าใจในกระบวนการ

ทำงาน Health Promotion, Health Preventionในแต่ละระดับโดยเฉพาะการดูแลรักษาผู้ป่วยผู้ป่วยโรคระบบ

ประสาทและสมอง โรคเน้ืองอกในสมอง โรคลมชัก ท่ตี ้องใหก้ ารรักษาโดยการระงับความรสู้ ึก เช่น ผปู้ ่วยโรคเนอ้ื งอก

สมองท่ีมีเนื้องอกขนาดใหญ่หรืออยู่ใกล้หลอดเลือดแดง ทำให้มีความเส่ียงต่อการสูญเสียเลือดขณะท ำผ่าตัด

ปริมาณมาก การผา่ ตัดรกั ษาโรคลมชักท่ตี ้องใชเ้ คร่ืองตรวจคล่ืนไฟฟา้ สมอง การระงับความรูส้ ึกผ้ปู ว่ ยโรคหลอดเลือด

สมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันท่ีรักษาด้วยวิธี Mechanical Thrombectomy ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างๆ เช่น

มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ท่ีจะต้องให้การรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาภูมิคุ้มกันบำบัด การตรวจ

ระบบทางเดินอาหาร ท่อน้ำดี และตับอ่อนด้วยกล้องส่องอัลตร้าซาวน์ โรคหัวใจการทำหัตการผู้ป่วยโรคหัวใจ

ด้วยการสวนและจ้ไี ฟฟ้าหัวใจผู้ป่วย โรคเต้นผิดจังหวะชนิดยุ่งยากซับซ้อนด้วยวิทยาการสมัยใหม่ (สามมิติ) ใส่เครื่อง

กระตุกหัวใจกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ฉีดสีทำบอลลูนหัวใจ การรักษาโรคหัวใจร่วมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

โรคมะเร็งท่ีเข้ารับการรักษาด้วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์มะเร็งไทรอยด์ชนิดมีการพัฒนา (Differentiated thyroid

carcinoma) หรือคนไข้กลุ่มไทรอยด์เป็นพิษที่รักษาด้วย ไอโอดีน - 131 คนไข้กลุ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพ่ือทำการ

ตรวจการตอบสนองต่อการรักษาด้วยแกลเลียมสแกน(Gallium Scan) หรือ เพทสแกน (F-18 FDG PET/CT) คนไข้

ท่ีต้องประเมินการทำงานของไตเพื่อประกอบการพิจารณาผ่าตัดนิ่วในไต หรือดูภาวะปฏิกิริยาร่างกายต่อต้านอวัยวะ

ปลูกถ่าย (Graft rejection) ในผูป้ ว่ ยเปลยี่ นถา่ ยไตด้วยสแกนไต (Renal Scan) ตรวจการทำงานของตบั และท่อน้ำดี

ในทารกแรกเกิดท่ีมีภาวะดีซ่านเพ่ือค้นหาโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด (Billiaryatresia)ท่ีต้องทำการรักษาโดยการ

ปลูกถ่ายตับ (Livertransplantation)ด้วยแสกนตับและท่อน้ำดี (DISIDAscan)ผู้ป่วยโรคผิวหนังเฉพาะทางด้านแพ้

ภูมิตัวเองแพมฟกิ ัสที่มอี าการรุนแรงในการรักษาต้องใชย้ ากดภูมิขนาดสงู เพอ่ื ควบคมุ โรค โรคเอสแอลอี และผ้ปู ว่ ยโรค

หนังแข็ง ซึ่งมีอาการในหลายระบบนอกจากอาการทางผิวหนัง ซ่ึงจำเป็นต้องนำเครื่องมือทางการแพทย์ท่ีใช้

เทคโนโลยีข้ันสงู เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรกั ษา เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซอ้ นในการรักษา ต้องใช้

ประสบการณ์ความเช่ียวชาญเฉพาะทางสูงมาก มาพัฒนาและประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติงานที่เป็นท่ียอมรับในระดับ

สากลให้เหมาะสมกับสภาพการณ์

๓. ความรทู้ ่จี ำเปน็ ในงาน

ข้อคำตอบ เลือก

๑๐. เปน็ งานทตี่ ้องใชค้ วามรู้ความเชย่ี วชาญในงานเชิงวิชาการหรอื วิชาชพี เฉพาะหรอื ทักษะและความ √

ชำนาญเฉพาะตวั สูงมากในตำแหน่งหนา้ ที่ทร่ี บั ผิดชอบรวมท้ังเปน็ งานที่จะต้องแกไ้ ขปัญหาทย่ี งุ่ ยาก

ซบั ซอ้ นและให้คำปรึกษาได้

เหตุผลนายแพทย์เช่ียวชาญเปน็ งานที่ตอ้ งใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบรกิ ารทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ

ทสี่ งู มากในการตรวจวนิ จิ ฉัย คัดกรองและรักษาผู้ปว่ ยทีม่ ีความยุ่งยากซบั ซ้อนและมีความเสย่ี งสงู ถึงชวี ติ ได้ เชน่

สาขาวสิ ัญญีวทิ ยา

จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริการทางการแพทย์เฉพาะทางด้านวิสัญญีวิทยาและทักษะความชำนาญ

เฉพาะตัวที่สูงมากในการให้การวินิจฉัยและตัดสินใจในการให้บริการทางวิสัญญีแก่ผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของ

ผู้ป่วย โดยต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเช่ียวชาญ ในการประเมินผู้ป่วยท่ีจะเข้ารับการผ่าตัด

เพ่ือการเตรียมการทำวิสัญญีได้โดยถูกต้องและปลอดภัยตรวจหรือส่ังตรวจทางเอ็กซเรย์ หรือการทดสอบพิเศษถ้าต้องการ

รายละเอียดเพ่ิมเติมพิจารณ าผลการตรวจและผลการทดสอบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่น

ตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติก่อนเตรียมการให้ผู้ป่วยรับการทำวิสัญญีแนะนำผู้ป่วยในเร่ืองการปฏิบัติตน

ที่จำเป็นสำหรับการทะนุถนอมสุขภาพหรือการกลับคืนสู่สภาพปกติ ก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัดประเมินความพร้อม

ของผู้ป่วยพร้อมทั้งพิจารณาข้ันตอนวิธีการทำวิสัญญีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดเฉพาะโรค หรือเฉพาะสภาวะ

รวมถึงการประเมินระยะเวลาท่ีต้องใช้ในการผ่าตัดเช่น ผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมอง ผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

ผ่าตัดโรคลมชัก การระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันท่ีรักษาด้วยวิธี

Mechanical Thrombectormyผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง คือการนำเอาล่ิมเลือดท่ีอุดตันในหลอดเลือดสมอง

ออกผา่ นทางสายสวน เพ่อื เปิดหลอดเลอื ดใหเ้ ลอื ดสามารถไปเล้ียงสมองได้ โดยเป็นเป็นหตั ถการท่ีต้องใช้ความละเอยี ด

ในสูงซ่ึงจะได้ผลดีเม่ือทำงานในเคร่ืองเอกซ์เรย์สองระนาบ (biplane angiography system) เป็นเครื่องเอกซเรย์

สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาระบบหลอดเลือดโดยเฉพาะ ทำงานด้วยระบบการสร้างภาพแบบสอง

ระนาบ คือ จากหน้าไปด้านหลังและจากด้านข้างโดยเป็นการจับภาพพร้อมกัน ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการ

ส้ันลง ภาพท่ีได้มีรายละเอียดและความคมชดั สูง สามารถสร้างภาพ 3 มิติของหลอดเลือดและภาพตดั ขวางในบริเวณที่

ต้องการได้ แพทย์จึงมองเห็นสายสวนและพยาธิสภาพของหลอดเลือดท่ีมีขนาดเล็กมากได้อย่างชัดเจน โดยไม่

จำเป็นต้องใช้สารทึบรังสีปริมาณมาก ผู้ป่วยจึงได้รับผลข้างเคียงน้อยลง และการรักษาเป็นไปอย่างแม่นยำและมี

ประสิทธิภาพมากข้ึน ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีความเส่ียงสูงต่อการเกิดความพิการและการเสียชีวิต รวมท้ังต้องใช้เครื่อง

ติดตามคลื่นไฟฟ้าสมองร่วมด้วย เพื่อให้การวางยาสลบหรือการให้ยาชาเป็นไปอย่างถูกต้องกับโรค สภาพของผู้ป่วย

และการยอมรับของร่างกายของผู้ป่วย การแพ้ยา และอื่นๆเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและป้องกันมิให้มีความ

ผิดพลาดเกิดขึน้ ในระหวา่ งและหลังการผ่าตดั การบรหิ ารยาและยาสลบตามตอ้ งการเช่นการให้ยาสลบโดยการสดู ดมยา

เทคนิคต่างๆหรือให้ยาสลบทางเส้นเลือดหรือที่เรียกว่า Nerve Block รวมถึงการให้ยาชายาแก้ปวด หรือยาหย่อน

กล้ามเนื้อ ขึ้นอยู่กับประเภทของคนไข้และการผ่าตัดจัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับการผ่าตัดในส่วนท่ีต้องรับผิดชอบ เช่น

อาจต้องใช้ จอภาพ (Monitor) พ้ืนฐาน ซ่ึงความต้องการจะแตกต่างกันไปเก็บรักษาบันทึกเก่ียวกับผู้ป่วย และการ

รักษาท่ีได้ให้หรือสั่งอาจจะอยู่เฝ้าระวังในระหว่างการทำการผ่าตัดผู้ป่วยอาจผสมยาและรับผิดชอบส่ังงานสำหรับ

พยาบาลในโรงพยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลโดยจะทำงานร่วมกบั แพทย์ผู้ชำนาญการอ่ืนๆ โดยเฉพาะศัลยแพทย์

รังสีแพทย์ อายุรแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพท่ีเกี่ยวข้องประชุมเตรียมการให้การรักษาผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

ตรวจผู้ป่วยท่ีอยู่ในความรับผิดชอบปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดในห้องผ่าตัดอาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลา

เพ่อื ทำการวสิ ญั ญีคนไขใ้ นกรณที ตี่ ้องทำการผ่าตัดฉุกเฉินในสถานท่ที ำงานจะตอ้ งพบเห็น คนเจ็บ คนป่วยหรอื คนป่วยท่ี

มีอาการหนักเปน็ ส่วนใหญ่เพราะกรณขี องการทำวิสัญญอี าจจะตอ้ งเป็นการผ่าตดั ใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งการทำศลั ยกรรม

ผู้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งเพราะหากมีจิตใจท่ีอ่อนไหวต่อส่ิงท่ีได้พ บเห็นได้ง่ายจะมีผลกระทบ

ต่อการปฏิบัติงานได้ รวมถึงการทำหัตถการโดยใช้เคร่ืองมือพิเศษ เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจด้วยกล้องส่องนำทางใน
ผ้ปู ว่ ยทใ่ี ส่ท่อช่วยหายใจยาก การใชเ้ ครือ่ งระงับปวด PCA ในการควบคมุ ความปวดหลงั ผ่าตดั เป็นต้น
สาขารงั สวี ทิ ยา
จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเช่ียวชาญด้านการบริการทางการแพทย์เฉพาะทาง ดา้ นรังสีวิทยาที่สูงมาก ในการให้บริการ
ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟ้ืนฟู ส่งเสรมิ สุขภาพ ควบคมุ ป้องกันโรคเฉพาะทาง หรือโรคท่ีมีความยงุ่ ยากซับซอ้ น และมี
ความเส่ียงสูงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆสามารถแก้ไขปัญหาท่ียุ่งยาก ซับซ้อนที่เกิดข้ึนในงาน และทำหัตการพิเศษใน
การรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ เช่น คนไข้กลุ่มมะเร็งไทยรอยด์ชนิดมีการพัฒนา (Differentiated
thyroidcarcinoma)หรือคนไขก้ ล่มุ ไทรอยด์เป็นพิษทร่ี กั ษา ทเี่ ขา้ รับการรกั ษาดว้ ยเวชศาสตรน์ ิวเคลยี ร์ใชส้ ารเภสชั รงั สี
เพ่ือดแู ลรกั ษาผ้ปู ว่ ย เช่น ไอโอดีน-131 ซามาเรียม-153สตรอนเทยี ม-59 คนไขก้ ลุ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพ่ือทำการ
ตรวจการตอบสนองต่อการรักษาด้วย Gallium Scan หรือ F-18 FDG PET/CT คนไข้ที่ต้องประเมินการทำงานของ
ไตเพื่อประกอบการพิจารณาผา่ ตัดน่ิวในไต หรือดูภาวะปฏิกิรยิ าร่างกายตอ่ ต้านอวยั วะปลกู ถ่าย (Graft rejection) ใน
ผปู้ ่วยเปลี่ยนถ่ายไตด้วย Renal Scan ตรวจการทำงานของตับและท่อน้ำดีในทารกแรกเกิดที่มีภาวะดีซ่าน เพ่ือค้นหา
โรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด (Billiary atresia) ท่ีต้องทำการรักษาโดยการปลูกถ่ายตับ (Liver transplantation) ด้วย
DISIDA scan เป็นตน้ การให้บริการการตรวจทางเวชศาสตรน์ วิ เคลียร์เพ่ือประเมินการตอบสนองต่อการรกั ษาด้วยการ
ผ่าตัด (Surgery)รังสีรักษา (Radiotherapy) เคมีบำบัด (Chemotherapy) และหรือฮอร์โมน (Hormonal therapy)
และการรักษาแบบมุ่งเป้า(Targeted therapy) เพ่ือดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตามข้อบ่งชี้และแก้ปัญหาท่ียุ่งยาก
ซับซ้อนท่ีเกิดขึ้นในงานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้ เช่น การควบคุมการรั่วไหลหรือปนเป้ือนของสารกัมมันตภาพรังสี
ทางการแพทย์จากอบุ ตั เิ หตุทางรงั สตี ่อผู้ปฏิบตั ิงาน ชุมชน และสง่ิ แวดล้อมและการวางระบบการทำงานด้านเวชศาสตร์
นวิ เคลยี ร์ทั้งทางดา้ นการแพทย์ การพยาบาล
สาขาอายุรกรรม
จำเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริการทางการแพทย์เฉพาะทาง ด้านอายุรกรรมท่ีสูงมาก ในการ
ให้บริการ ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรค ฟ้ืนฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุม ป้องกันโรคเฉพาะทาง หรือโรคท่ีมีความยุ่งยาก
ซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนท่ีเกิดขึ้นในงาน และทำ
หัตการพิเศษในการรักษา เช่น การดูแลคนไข้กลุ่มโรคมะเร็งต่างๆผู้ป่วยมะเร็งปอด มะเร็งไฝดำ melanomaยามุ่งเป้า
ทยี่ ับย้ังการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง เช่น CDK4/6 inhibitor ในโรคมะเร็งเต้านม เป็นต้น ผู้ป่วยมีรายละเอียดท่ีต่างกัน
เช่น โรคประจำตัว การแพ้ยายังต้องมีมิติทางสังคม จิตใจของผู้ป่วย ยามุ่งเป้าที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใน
มะเร็งชนิดต่างๆ และผลข้างเคียงของยาต่างๆ เพราะเป็นยาใหม่ไม่คุ้นเคย นอกจากน้ัน ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ที่มี
ภาวะแทรกซ้อน หรือบางคร้ังอาการรุนแรงต้องนอนในหอผู้ป่วย ICU เช่น ผู้ป่วยมะเรง็ เต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด แต่
เกดิ การติดเช้อื รุนแรง มภี าวะเม็ดเลอื ดขาวต่ำ ติดเชอ้ื ในกระแสเลือด ต้องนอนใส่ทอ่ ช่วยหายใจในโรงพยาบาล ในห้อง
ICUซ่ึงต้องติดตามอาการผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดมีการจำแนกเป็นหลายประเภท เช่น กลุ่มมีการกลายพันธ์
ของยีน Epidermalgrowthfactorreceptorหรือยีน Anaplasticlymphomakinaseเป็นต้น หรือ การรักษาผู้ป่วย
มะเร็งเต้านมทม่ี ี ยนี Human epidermal receptor-2 เปน็ บวก เปน็ ตน้
การดูแลรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจจากผลการตรวจสอบเลือดและไขกระดูกด้วย
กล้องจุลทรรศน์และผลการทดสอบทางพันธุกรรมของผู้ป่วยว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการกลายพันธุ์ของ
โครโมโซมทเ่ี รียกว่า ฟิดาเลเฟีย โครโมโซมหรือไม่ในผปู้ ว่ ยบางรายอาจจะไมส่ ามารถวินิจฉัยอาการได้ จนกระทง่ั อาการ
ปว่ ยน้ันรนุ แรงจนถึงระยะวิกฤตแิ ล้ว ซ่งึ เม่ือผูป้ ่วยมีอาการจนถึงระยะน้ีแล้ว จะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากเป้าหมาย
ของการรักษามุ่งเน้นไปท่ีการลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวและฟื้นฟูการสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติการรกั ษามัก
เร่มิ ตน้ ดว้ ยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ซ่ึงนอกจากการยับย้ังการเจริญเตบิ โตแล้วยังรวมไปถึงการแพร่กระจาย
ของเซลล์ด้วย หลังจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบใหม่ ด้วยยารักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบเม็ด
(ยายับยั้งเอนไซม์ไทโรซีน ไคเนส) การรักษานี้จะเป็นการรักษาอย่างต่อเน่ืองทุกวันไปจนตลอดชีวิตของผู้ป่วยเองใน
หลายกรณีการใช้สารยับยั้งเหล่าน้ีให้ผลออกมาดีมากจนแพทย์ไม่สามารถหาเซลล์มะเร็งได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี
ธรรมดาทุกวันน้ีผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอิลอยด์ (CML) ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอย่างปกติหากการรักษาใน

รปู แบบของการรับประทานยาเม็ดน้ีไม่ได้ผลตามท่ีต้องการผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
(Blood stem cell)ที่ดีจากผู้บริจาค ในอนาคตโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอิลอยด์ (CML) อาจจะสามารถรักษาได้
โดยยาชนิดเม็ด ในระยะเวลาเพยี งช่วงหนึ่งดีกว่าท่จี ะต้องให้ผูป้ ่วยรบั ยาไปตลอดชวี ิต
การรักษาผูป้ ่วยโรคลนิ้ หัวใจรัว่ โดยเฉพาะลิ้นไมทรลั (Mitral Regurgitation) ซึ่งสาเหตุอาจเกดิ จากล้ินหัวใจ เชน่ ลิ้น
หัวใจหย่อนหรือขาด ล้ินหัวใจรูมาติก ซ่ึงจากการประเมินหาสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยการตรวจด้วยคล่ืน
สะท้อนเสียงหัวใจ 3 มิติ ทางหลอดอาหาร (3D Transesophageal Echocardiography) มีความสำคัญอย่างมากต่อ
การเลือกวิธีการรักษาของศัลยแพทย์ เช่น เลือกเทคนิคการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนล้ินหัวใจ การผ่าแบบปกติ หรือมี
ความสำคัญอย่างย่ิงในการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) หรืออาจเป็นจาก Annular Dilatation ใน
ภาวะหัวใจโตและบีบตัวอ่อนอาจเลือกวิธี Less Invasive คือ Transcatheter Mitral Valve Repair เป็นต้น
ซ่ึงนับเปน็ นวัตกรรมใหม่ ดงั น้ันการประเมนิ และเลอื กคนไข้ที่มีความเหมาะสม จึงมีความสำคัญอยา่ งมาก
การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นพล้ิวของหัวใจห้องบน (atrial fibrillation) ด้วยการจ้ีไฟฟ้าหัวใจในกรณีท่ีผู้ป่วยมีอาการ
มากไม่สามารถควบคุมด้วยการใช้ยาได้หรือเร่ิมมีการบีบตัวของหัวใจเริ่มแย่ลง โดยการจี้ไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยกลุ่มน้ี
จำเปน็ ตอ้ งทำการแทงทะลผุ นงั กน้ั ห้องหัวใจหอ้ งบน (transeptum puncture) โดยใช้เขม็ สำหรับแทงทะลุผนังก้ันห้อง
หัวใจ ซ่ึงถือเป็นหัตถการที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และความเสี่ยงสูง แพทย์ผู้นำทีม ต้องสื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติมี
ความเข้าใจและรับรู้ถึงข้อบ่งช้ี ประสิทธิภาพ และความเสี่ยงของการรักษาท่ีอาจเกิดขึ้นระหว่างการให้การรักษา
เพ่ือใหก้ ารให้การรักษาเป็นไปอยา่ งราบรื่นและลดความเสีย่ งท่ีสามารถเกิดข้นึ ได้ใหน้ อ้ ยทส่ี ุด
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันและเร้ือรัง การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันท่ีมีสาเหตุเกิด
จากนิ่วในท่อน้ำดี มีความจำเป็นต่อการวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัยโดยอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องหรือ
เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องมีความแม่นยำในการวินิจฉัยน่ิวในท่อน้ำดีด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดี รวมทั้ง
การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังโดยการส่องกล้อง เช่น การฉีดยาชาเข้าไปบริเวณปมประสาท
ในชอ่ งท้อง เพ่ือลดอาการปวดทอ้ งของผปู้ ่วย
สาขาตจวทิ ยา
จำเปน็ ต้องใช้ความรู้ความเช่ียวชาญด้านการบริการทางการแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผิวหนังทส่ี ูงมาก ในการให้บริการ
ตรวจวินิจฉัย รกั ษา ฟน้ื ฟู ส่งเสริมสุขภาพ ควบคมุ ปอ้ งกันโรคเฉพาะทาง หรือโรคทีม่ คี วามยุ่งยากซบั ซ้อน และมีความ
เส่ียงสูงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การดูแลรักษาผู้ป่วยท่ีมีความยุ่งยากซับซ้อน และมีความเส่ียงสูง ใช้เครื่องมือพิเศษ
ในการรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนงั เอสแอลอี โรคหนังแขง็ โรคเส้นเลือดอักเสบ โรคตุม่ น้ำพอง ผู้ป่วยกลมุ่ นี้เป็น
กลุ่มที่จะต้องใช้การตรวจช้ินเนื้อร่วมกับการตรวจพิเศษทางอิมมูนเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกโรค ซ่ึงต้องอาศัยความรู้
เฉพาะทางเชิงลึกมาช่วยสนับสนุน การรักษาโรคกลุ่มน้ีมีความยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ยากดภูมิต้านทานใน ขนาดสูง
ซึ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากทั้งตัวโรคและจากยาที่ใช้การรักษา จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเช่ียวชาญในระดับสูง
มาก การรักษาด้วยยากลุ่มชีวโมเลกุล ท่ีควบคุมการทำงานของเซลล์ เป็นการรักษาที่ทำให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น
การรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเองเพมฟิกัส จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เน่ืองจากจะพบการติดเช้ือที่
ผิวหนังหรือกระแสเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ในการรักษาต้องใช้ยากดภูมิขนาดสูงเพ่ือควบคุมโรค ซึ่งผู้ป่วยมี
โอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาท่ีใช้ในการรักษาเช่นกัน ในขั้นตอนการรักษาจึงต้องใช้ความรู้รอบด้านและความ
เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิจัยและประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงลึกมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพ
และปลอดภยั สงู สดุ
การรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคแพภ้ ูมิตัวเองจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิต้านทานและยาท่ีมีผลต่อระบบภูมคิ ุ้มกัน เช่น ยาสเตอร์รอยด์
ยากดภูมติ ้านทาน ซึ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสงู ท้ังแบบฉับพลัน และในระยะยาว จงึ ต้องมีการทบทวนการดแู ลผู้ป่วย
เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง การใช้ยาความเส่ียงสูง จึงต้องกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังติดตามผลข้างเคียงจากยาที่มี
ความเสี่ยงสูง การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากหลักฐานวิชาการเชิงลึก ทำให้เกิดการปรับการรักษาผู้ป่วยท่ีมีอาการรุนแรง
หรือด้ือต่อการรักษา โดยใช้ยาฉีดชนิดไซโคลฟอสฟาไมด์ในขนาดสูงและการใช้ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้น
ซ่งึ ควบคุมโรคได้ดีข้ึน แต่มโี อกาสเกิดความเสี่ยงมากข้ึน มีการนำปญั หาท่ีเกิดขึ้นมาวิเคราะห์ ทบทวน และกำหนดเป็น
นโยบายในการใชย้ าฉดี สำหรับผปู้ ว่ ยกลมุ่ น้ี เพอ่ื ให้เกดิ ความปลอดภยั สูงสดุ แก่ผู้ป่วย

๔. ความรูค้ วามสามารถและทกั ษะในเชิงเทคนิค

ข้อคำตอบ เลือก

14. เปน็ งานทีต่ ้องใชค้ วามรู้ความสามารถเปน็ เลศิ ด้านวชิ าการเชงิ ลึกหรือทกั ษะและความชำนาญ √

เฉพาะตัวสงู มากในการพฒั นาองค์ความรู้วิธกี ารหรือเทคนคิ ในสายอาชพี และสามารถใหค้ ำปรกึ ษา

ดา้ นเทคนคิ ได้

เหตุผลนายแพทย์เช่ียวชาญต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการแพทย์ในเชิงลึกและทักษะความ

ชำนาญเฉพาะตัวที่สูงมากในการตรวจ วินิจฉัย รักษาผู้ปว่ ยท่ียุ่งยากซับซ้อนและมีภาวะความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะ

ปัจจุบันมีโรคที่เป็นอุบัติการณ์ใหม่ๆ เกิดข้ึน จึงมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ วิธีการรวมท้ังสร้าง

นวัตกรรมทางเทคโนโลยีข้นั สงู การศึกษา ค้นคว้าวจิ ัย พฒั นาหลักสตู รและระบบการเรยี นการสอน ทง้ั ภาคทฤษฎี

และปฏิบัตแิ กน่ ักศกึ ษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน เช่น

สาขาวิสัญญีวิทยา

จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการแพทย์ในเชิงลึกและทกั ษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สงู มาก

ในการให้การวินิจฉัยและตัดสินใจ และทักษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สูงมากในการรักษาผู้ป่วยโรคระบบ

ประสาทและสมอง ผ่าตัดเนือ้ งอกในสมอง ผ่าตัดลมชัก การระงบั ความรู้สกึ ผูป้ ่วยโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์จะ

พิจารณาตามสาเหตอุ าการ ตำแหนง่ และความรนุ แรงของโรคตอ้ งทำการรักษา ดังนี้

- การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่รักษาด้วยวิธี Mechanical

Thrombectormyผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง คือการนำเอาล่ิมเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออกผ่าน

ทางสายสวน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ โดยเป็นหัตถการที่ต้องใช้ความละเอียดสูงซ่ึง

จะได้ผลดีเมือ่ ทำงานในเครื่องเอกซ์เรย์สองระนาบ (biplane angiography system) เปน็ เครอ่ื งเอกซเรย์สำหรับ

ใชใ้ นการตรวจวินจิ ฉยั ทางรังสวี ิทยาระบบหลอดเลือดโดยเฉพาะ ทำงานด้วยระบบการสร้างภาพแบบสองระนาบ

คอื จากหน้าไปด้านหลงั และจากด้านข้างโดยเป็นการจับภาพพร้อมกัน ทำให้ระยะเวลาท่ใี ช้ในการทำหัตถการสั้น

ลง ภาพท่ีได้มีรายละเอียดและความคมชัดสูง สามารถสร้างภาพ 3 มิติของหลอดเลือดและภาพตัดขวางใน

บริเวณท่ีต้องการได้ แพทย์จึงมองเห็นสายสวนและพยาธิสภาพของหลอดเลือดท่ีมีขนาดเล็กมากได้อย่างชัดเจน

โดยไม่จำเปน็ ต้องใช้สารทบึ รังสีปรมิ าณมาก ผปู้ ่วยจึงได้รับผลขา้ งเคียงนอ้ ยลง และการรักษาเป็นไปอย่างแม่นยำ

และมปี ระสิทธิภาพมากขน้ึ ซง่ึ เปน็ การผา่ ตดั ทมี่ คี วามเสี่ยงสงู ตอ่ การเกดิ ความพิการและการเสียชวี ติ

- การระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมอง ท่ีเน้ืองอกมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ใกล้หลอดเลือดแดง ทำให้มี

ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเลือดขณะทำการผ่าตัดปริมาณมาก จึงต้องใช้ทักษะในการทำหัตถการเปิดหลอดเลือด

ดำและใส่สายวัดระดับสารน้ำในร่างกาย ร่วมกับการเปิดหลอดเลือดแดงเพ่ือเตรียมเฝ้าระวังความดันโลหิตของ

ผู้ป่วยอย่างต่อเน่ือง ต้องใช้ความรู้ในการวางแผนและประยุกต์วิธีการระงับความรู้สึกท่ีมีประสิทธิภาพ เพื่อลด

ความเส่ยี งและเตรยี มวางแผนแกป้ ัญหาที่อาจเกดิ ขึ้นเม่ือเกิดการสูญเสียเลอื ดปริมาณมาก

- การระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดโรคลมชัก เน่ืองจากในการผ่าตัดรักษาโรคลมชัก อาจใช้

เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเพ่ือหาตำแหน่งท่ีเป็นรอยโรคลมชัก ดังน้ันจึงต้องใช้ความรู้เฉพาะทางเชิงลึกในการ

วางแผนและเลือกวธิ ีการระงับความรู้สึกที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการบดบังสญั ญาณคลื่นไฟฟา้ สมองจากการให้

ยาระงับความรู้สึกทีม่ ากเกินไป

- การระงับความรู้สึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่รักษาด้วยวิธี

Mechanical Thrombectomy ผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางในการเข้าใจพยาธิ

สภาพของผปู้ ว่ ยโรคหลอดเลอื ดสมองในการวางแผนและเลอื กวธิ กี ารระงับความรู้สึกที่เหมาะสม

สาขารังสีวิทยา
จำเปน็ ตอ้ งใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการแพทย์ในเชิงลกึ และทกั ษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สูงมาก
ในการให้การวินิจฉัยและตัดสินใจ และทักษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สูงมากในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งและ
โรคอื่นๆ เช่น คนไขก้ ลุ่มมะเร็งไทยรอยดช์ นิดมกี ารพัฒนา (Differentiated thyroidcarcinoma) หรือคนไขก้ ลุ่ม
ไทรอยด์ เป็นพษิ แพทย์จะพจิ ารณาตามสาเหตอุ าการ ตำแหนง่ และความรุนแรงของโรคต้องทำการรกั ษา ดังน้ี

- การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เขา้ รับการรกั ษาด้วยเวชศาสตร์นิวเคลยี ร์โดยใชส้ ารเภสัชรงั สี เพื่อดูแล
รกั ษาผู้ป่วย เช่น ไอโอดนี -131 ซามาเรยี ม-153 สตรอนเทยี ม-59 เชน่ คนไข้กลุ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพอ่ื ทำ
การตรวจการตอบสนองต่อการรักษาด้วย Gallium Scan หรือ F-18 FDG PET/CT คนไข้ที่ต้องประเมินการ
ทำงานของไตเพ่ือประกอบการพิจารณาผ่าตัดนิ่วในไต หรือดูภาวะปฏิกิริยาร่างกายต่อต้านอวัยวะปลูกถ่าย
(Graft rejection) ในผู้ป่วยเปล่ียนถ่ายไตด้วย Renal Scan ตรวจการทำงานของตับและท่อน้ำดีในทารกแรก
เกิดท่ีมีภาวะดีซ่าน เพ่ือค้นหาโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด (Billiaryatresia)ท่ีต้องทำการรักษาโดยการปลูกถ่าย
ตับ (Liver transplantation) ดว้ ย DISIDA scan

- การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งไทรอยด์ โดยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์และให้การรักษาต่อด้วยไอโอดีน-
131 หลังการผ่าตัดแล้ว 4-6 สัปดาห์ หรือจนกว่าระดับ TSH มากกว่า 30 หน่วยสากลต่อมิลลิลิตร หลังจาก
นั้นจะติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโดยดูค่าไทโรโกลบูลิน(Tg) และไทโรโกลบูลินแอนติบอดี (Anti-Tg) ร่วมกับการ
ทำอัลตราซาวด์บริเวณคอ และสแกนท้ังร่างกาย (Total body scan) เพ่ือตรวจติดตามการกลับมาเป็นซ้ำหรือ
การลกุ ลามของโรคหลงั จากใหก้ ารรกั ษาด้วยไอโอดีน-131 ไปแล้ว 6-12 เดอื น

- การถ่ายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์โดยการทำสแกนท้ังร่างกายมีการใช้สารเภสัชรังสี คือไอโอดีน-
131 (I-131)ในการตรวจหาการกลับมาเป็นซ้ำและการลุกลามภายหลังการรักษา ในขณะท่ีเทคนิเชียม-99
เอ็มมิบิ (Tc-99m MIBI) เป็นสารเภสัชรังสีทางเลือกท่ีสามารถตรวจติดตามมะเร็งได้หลายชนิดรวมท้ังมะเร็ง
ไทรอยด์ ซงึ่ สารเภสชั รงั สที ้งั 2 ชนิด มพี ลังงานของรงั สี กลไกการจบั ของเซลล์ และการเตรียมตัวผู้ปว่ ยตา่ งกนั
สาขาอายรุ กรรม
จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางการแพทย์ในเชิงลึกและทักษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สงู มาก
ในการให้การวินิจฉัยและตัดสินใจ และทักษะความชำนาญเฉพาะตัวที่สูงมากในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง
ต่างๆผู้ป่วยมะเร็งปอด มะเร็งไฝดำ melanomaยามุ่งเป้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง เช่น CDK4/6
inhibitor ในโรคมะเร็งเต้านมแพทย์จะพจิ ารณาตามสาเหตอุ าการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรคตอ้ งทำการ
รักษา ดงั นี้

- การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจจากผลการตรวจสอบเลือดและไขกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศนแ์ ละผลการ
ทดสอบทางพันธุกรรมของผู้ป่วยว่า ได้มีการเปล่ียนแปลง หรือมีการกลายพันธุ์ของโครโมโซมท่ีเรียกว่า ฟิดาเล
เฟีย โครโมโซมหรือไม่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยอาการได้ จนกระทั่งอาการป่วยน้ันรุนแรงจนถึง
ระยะวิกฤติแล้ว ซ่ึงเม่ือผู้ป่วยมีอาการจนถึงระยะน้ีแล้ว จะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากเป้าหมายของการรักษา
มุ่งเน้นไปท่ีการลดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวและฟ้ืนฟูการสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติการรักษามักเริ่มต้นด้วย
การยบั ยั้งการเจริญเตบิ โตของเซลล์

- การรกั ษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Cancer Immunotherapy)โดยการยับย้ังกลไกที่กดการทำงาน
ของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซ่ึงเป็น
ความก้าวหน้าและนวัตกรรมยารักษาโรคมะเรง็ ซงึ่ ปจั จุบัน ได้ใช้รักษาผู้ปว่ ยมะเรง็ ปอด มะเร็งไฝดำ melanoma
ยามุ่งเป้าท่ียบั ย้งั การแบ่งตวั ของเซลล์มะเรง็ เช่น CDK4/6 inhibitor ในโรคมะเร็งเตา้ นม

- การผ่าตัดโรคของระบบทางเดินอาหารมาก่อนและเกิดโรคของทางเดินน้ำดีตามมาในภายหลัง เช่น
การอุดตันของท่อน้ำดีจากพังผืดภายหลังการผ่าตัดถุงน้ำดหี รือการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ การรักษาเพื่อถ่างขยายท่อ
น้ำดีทีอ่ ุดตันโดยการส่องกล้องจดั ว่าเปน็ ทางเลอื กที่ควรใช้เปน็ วธิ สี อ่ งกลอ้ ง

- การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (automatic
implantable cardioverter defibrillator, AICD) การจี้หัวใจด้วยคล่ืนวิทยุความถ่ีสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจท่ีต้อง
ได้รับการใส่เคร่ืองกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) ได้แก่ ผู้ท่ีรอดชีวิตจากใหลตาย ผู้ท่ีมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ผิดปกติชนิดBrugadaและเคยมีหลักฐานการตรวจพบว่ามีหัวใจห้องล่างเต้นพล้ิว ผู้ที่มีคล่ืนไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
ชนิดBrugadaร่วมกับมีประวัติครอบครัวเสีย ชีวิตจากใหลตาย หรือมีประวัติวูบท่ีสงสัยว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิด
จังหวะ สำหรับผู้ที่มีคล่ืนไฟฟ้า หัวใจผิดปกติชนิดBrugadaจากการกระตุ้นด้วยยา หรือผู้ท่ีมีคล่ืนไฟฟ้าหัวใจ
ผิดปกติชนิดBrugadaแต่ไม่มีประวัติครอบครัวเสีย ชีวิตจากใหลตายหรืออาการวูบ ทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยง
เพิ่มเติมโดยละเอียด เพ่ือพิจารณ าประโยชน์ของการใส่ AICD การจี้หัวใจด้วยคล่ืนวิทยุความถี่สูง
(radiofrequency ablation, RFA) RFA ช่วยลดจำนวนคร้ังของการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นพล้ิวได้ แต่จะทำใน
ผู้ป่วยที่เกิดการกระตุกของเครื่องAICD บ่อยครั้งเน่ืองจากมีหัวใจ ห้องล่างเต้นพลิ้วบ่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพ
ชวี ิตของผ้ปู ว่ ยและยืดอายุการทำงานของAICD
สาขาตจวิทยา
จำเปน็ ตอ้ งใช้ความรู้ความสามารถดา้ นวิชาการทางการแพทยใ์ นเชิงลกึ และทักษะความชำนาญเฉพาะตวั ที่สงู มาก
ในการให้การวินิจฉัยและตัดสินใจ และทกั ษะความชำนาญเฉพาะตัวท่สี งู มากในการรักษาผปู้ ว่ ย เช่น

- ผู้ปว่ ยโรคภูมแิ พ้ตัวเองเพมฟิกัสที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องเข้ารับการรกั ษาในโรงพยาบาล มักได้รับ
การส่งตอ่ มาจากโรงพยาบาลอืน่ และพบการติดเชื้อท่ีผิวหนงั หรือกระแสเลือดเป็นสาเหตขุ องการเสียชีวิต ในการ
รักษาต้องใช้ยากดภูมิขนาดสูงเพ่ือควบคุมโรค ซ่ึงผู้ป่วยมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาท่ีใช้รักษาเช่นกัน ใน
ขั้นตอนการรักษาจึงต้องใช้ความรู้รอบด้านและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ต้องมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและ
ประยุกตใ์ ชค้ วามรใู้ นเชงิ ลึกมาใช้ในการดูแลผูป้ ่วยแต่ละราย เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประสิทธิภาพและปลอดภยั สงู สดุ

- การรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง ต้องใช้ยากดภูมิต้านทานและยาท่ีมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
เช่น ยาสเตอร์รอยด์ ยากดภูมิต้านทาน ซ่ึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูง ท้ังแบบฉับพลัน และในระยะยาว
ผลข้างเคียงจากยาท่ีมีความเสี่ยงสูง การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากหลักฐานวิชาการเชิงลึก ทำให้เกิดการปรับการ
รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือดื้อต่อการรักษา โดยใช้ยาฉีดชนิดไชโคลฟอสฟาไมด์ในขนาดสูงและการใช้
ยาอมิ มูโนโกลบูลินชนดิ ฉดี เขา้ เสน้ ซึ่งควบคุมโรคไดด้ ี

- การตรวจช้ินเน้ือร่วมกับการตรวจพิเศษทางอิมมูนเพ่ิมเติมเพื่อวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ผิวหนังเอ
สแอลอีโรคหนังแข็ง โรคเส้นเลือดอักเสบ โรคตุ่มน้ำพอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มท่ีจะต้องใช้ ซึ่งต้องอาศัยความรู้
เฉพาะทางเชิงลึกมาช่วยสนับสนุน การรักษาโรคกลุ่มนม้ี ีความย่งุ ยากซับซ้อนตอ้ งใช้ยากดภมู ิต้านทานในขนาดสูง
ซึ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากท้ังตัวโรคและจากยาที่ใช้การรักษา จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเช่ียวชาญใน
ระดับสูงมาก การรักษาด้วยยากลุ่มชีวโมเลกุล ที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ เป็นการรักษาท่ีทำให้ควบคุมโรค
ไดด้ ีขน้ึ

ถาม – ตอบ

1. การขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งอะไรบ้าง ท่ีไม่ต้องใช้ตำแหน่งว่างมายุบเลิกเพื่อเป็นค่าตอบแทนเฉล่ียด้าน
บคุ คลที่เพิ่มข้ึน
ตอบ 1. ตำแหน่งนายแพทย์ ระดับปฏิบัติการ หรือชำนาญการ หรือชำนาญการพิเศษ เป็น ตำแหน่ง
นายแพทย์เช่ียวชาญ
2. ตำแหน่งพยาบาลเทคนิค ระดับปฏิบัติงาน หรือชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทท่ัวไป เป็น ตำแหน่ง
พยาบาล วิชาชีพปฏบิ ตั ิการ หรือชำนาญการ ตำแหน่งประเภทวชิ าการ
3. ตำแหน่งเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ ระดับปฏิบัติงาน หรือชำนาญงาน เป็น ตำแหน่งนักเทคนิค
การแพทย์ ปฏบิ ัตกิ าร หรอื ชำนาญการ
ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.3.3/314 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2552 เร่ือง หลักเกณฑ์

และเง่อื นไขการกำหนดตำแหนง่

2. หน่วยงานมีตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ จะขอกำหนดตำแหนง่ เปน็ ระดับเชย่ี วชาญ มขี ้นั ตอนวธิ กี ารอยา่ งไร
ตอบ กรณีมีผู้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษท่ีมีคณุ สมบัติจะประเมินคา่ งานเป็นระดับเช่ียวชาญได้
ให้ดำเนนิ การตามแนวทางและหลักเกณฑท์ กี่ รมการแพทย์กำหนด ดังน้ี
1. หน่วยงานพิจารณาตำแหน่งแพทย์สาขาใดมีคุณภาพของงานสูงข้ึนสมควรกำหนดเป็นระดับสูงขึ้นโดย
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหน่วยงาน และผ่านคณะกรรมการกล่ันกรองของหน่วยงาน
ดำเนินการคัดเลือกบุคคลท่ีมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
กำหนดตำแหนง่ และมวี ุฒบิ ัตรตรงตามสาขาของตำแหน่ง
2. หน่วยงานแจ้งกรมการแพทย์เพ่ือขอประเมินค่างานของตำแหน่ง พร้อมแจ้งผลการคัดเลือกบุคคล
ให้กรมการแพทย์ทราบเพื่อเสนอแบบประเมินค่างานคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวง
สาธารณสขุ กอ่ นเสนอเขา้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข พจิ ารณากำหนดตำแหน่ง
3. เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติให้ปรับปรุงกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น นำผลการคัดเลือกเสนอ
คณะกรรมการคัดเลือกของกรมการแพทยพ์ จิ ารณา
4. กรมการแพทย์แจ้งผลการอนุมัติการกำหนดตำแหน่งและผลการคดั เลือกผู้เหมาะสมให้ประเมินผลงาน
เพอื่ ดำรงตำแหนง่ นายแพทยเ์ ช่ียวชาญ
5. ผู้ได้รับคัดเลือกส่งผลงานประเมินตามหลักเกณฑ์ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กรมการแพทย์แจ้งผล
พิจารณาคดั เลอื ก

3. ตำแหนง่ ประเภทวชิ าการระดับเชีย่ วชาญ ให้ได้รบั เงินประจำตำแหนง่ ในอัตราเท่าไหร่
ตอบ 9,900 บาท

4. ตำแหน่งอะไรบ้างทไี่ ด้รับเงินเพิม่ สำหรับตำแหนง่ ท่ีมเี หตุพิเศษ ซงึ่ ต้องนำเงนิ มาคำนวณค่าตอบแทนเฉลย่ี ในการ
ปรบั ปรงุ การกำหนดตำแหนง่ ด้วย ยกตวั อย่างมา 5 ตำแหนง่
ตอบ 1. แพทย์
2. ทันตแพทย์
3. เภสัชกร
4. พยาบาลวชิ าชีพ
5. นักรงั สกี ารแพทย์

5. เกณฑ์การตัดสินการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ.กำหนด
ตำแหนง่ ประเภทวิชาการ ระดับเช่ียวชาญ คอื ก่ีคะแนน
ตอบ ตำแหนง่ ระดบั เชี่ยวชาญ จะตอ้ งไดค้ ะแนน 631 – 900 คะแนน

6. การขอปรับปรุงตำแหน่งนายแพทย์ ระดับเช่ียวชาญ ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.3.3/314
ลงวนั ที่ 10 สิงหาคม 2552 เร่ือง หลักเกณฑแ์ ละเง่อื นไขการกำหนดตำแหน่ง ผู้ดำรงตำแหน่งต้องมคี ุณสมบตั ิ
ตามมาตรฐานกำหนดตำแหนง่ คอื ต้องดำรงตำแหน่งนายแพทย์ ระดับชำนาญการพเิ ศษ ไม่นอ้ ยกวา่ กีป่ ี
ตอบ 3 ปี

7. องค์ประกอบหลักในการประเมินค่างาน สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ มีกี่ด้าน
กอี่ งคป์ ระกอบ อะไรบา้ ง
ตอบ 3 ดา้ น 8 องค์ประกอบ
1. ด้านความรูแ้ ละทกั ษะทจี่ ำเปน็ ในงาน
องค์ประกอบท่ี 1 ความรูค้ วามชำนาญ
องคป์ ระกอบที่ 2 การบรหิ ารจัดการ
องคป์ ระกอบท่ี 3 การสอื่ สารและปฏสิ มั พนั ธ์
2. ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา
องคป์ ระกอบที่ 4 กรอบของอำนาจและอสิ ระในการคดิ
องคป์ ระกอบที่ 5 ความท้าทายในการคดิ แกป้ ัญหา
3. ด้านภาระรบั ผดิ ชอบ
องคป์ ระกอบที่ 6 อิสระในการปฏบิ ตั งิ าน
องค์ประกอบท่ี 7 ผลกระทบจากการปฏบิ ัติงาน
องคป์ ระกอบท่ี 8 ลักษณะงานท่ปี ฏิบัติของตำแหน่ง

8. หากมติ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาอนุมัติการกำหนดตำแหน่งนายแพทย์เช่ียวชาญ ผู้มีคุณสมบัติท่ีถูกคัดเลือก
ต้องดำเนินการส่งแบบประเมนิ บุคคลและผลงานทางวิชาการภายในก่ีเดือน
ตอบ 12 เดือน หรอื 1 ปี หลงั จากท่กี รมการแพทยล์ งนามแจ้งผลการคดั เลือก

9. ผทู้ ่พี จิ ารณาแบบประเมนิ บุคคลและผลงานทางวิชาการของตำแหนง่ นายแพทยเ์ ชี่ยวชาญ คอื ใคร
ตอบ สำนกั งาน ก.พ.

10 ผทู้ มี่ อี ำนาจออกคำส่งั แตง่ ตงั้ ตำแหนง่ นายแพทย์เช่ยี วชาญ คอื ใคร
ตอบ กระทรวงสาธารณสขุ


Click to View FlipBook Version