หนังสิออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การขัดแย้งทางการเมืองในยุคปัจจุบัน ม.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ ปาง เสนอ จัดทำ โดย นางสาวนันทพร สง่าวุฒิเลิศ รหัสนักศึกษา 66181660325 สาขาวิชา สังคมศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์พร พันธ์เพ็ง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การขัดแย้งทางการเมืองในยุคปัจจุบัน ม.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ ปาง เสนอ จัดทำ โดย นางสาวนันทพร สง่าวุฒิเลิศ รหัสนักศึกษา 66181660325 สาขาวิชา สังคมศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์พร พันธ์เพ็ง
คำ นำ รายงานนี้อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำ รงชีวิตในสังคม เรื่อง ความขัดแย้งทางการเมืองในยุคปัจจุบัน ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย รูปแบบการปกครอง ความเป็นมาต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และตัวอย่างเหตุการณ์วำ คัญ ของระบอบประชาธิปไตย รวมไปถึง การ เลือกตั้งต่างๆที่ครอบคลุมทั้งความหมาย หลักการสำ คัญ ระบบการเลือกตั้งในประเทศไทย และยังมี เนื้อหาอีกมากมายที่ให้นักเรียนศึกษาอย่างเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการเรียน ผู้จัดทำ หวังว่ากนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่มีความสนใจที่จะ ศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใด หรือข้อแนะนำ ผู้จัดทำ น้อมรับ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นันทพร สง่าวุฒิเลิศ ผู้จัดทำ
สารบัญ คำ นำ ก สารบัญ ข ความหมายของประชาธิปไตย ความเป็นมาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ประชาธิปไตย 1 2 - 3 รูปแบบการปกครองของระบอบประชาธิปไตย 4 - 5 ประเภทของประบอบประชาธิปไตย 6 ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย 7 - 8 ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย 9 - 10 ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำ คัญในอดีตนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย 2475 ถึงปัจจุบัน 11 - 13 การเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง ความหมายของการเลือกตั้ง 14 14 ความสำ คัญของการเลือกตั้ง 15 หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้ง 16 ตระกูลระบบการเลือกตั้ง คุณสมบัติของการเลือกตัิง 19 สถานการณ์ปัญหา 20 ภารกิจ 21 ฐานความช่วยเหลือ 21 แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 22 บทสรุป 23 แบบทดสอบ 24 หนังสืออ้างอิง 25 ประวัติผู้จัดทำ 26 - 30 17 - 18
ความหมายของประชาธิปไตย 1.ความหมายของคำ ว่า ประชาธิปไตย ตรงกับคำ ในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งมาจาก คำ ภาษากรีกว่าDemocratia ซึ่งประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ Demos กับ kratein คำ ว่า Demos หมายถึง ประชาชน และ Kratein หมายถึง การปกครอง ฉะนั้นประชาธิปไตย (Demoskratia) จึง หมายถึง ประชาชนปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน 2.ความหมายที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค นักปรัชญาการเมืองหลายท่านที่ ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองที่เคารพสิทธิและความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อ ว่าสมาชิกของสังคมทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ยอกจากนี้ระบบการเมืองจะต้องเปิดโอกาส หรือ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการดำ เนินการใดๆ ภายใต้กฎระเบียบของสังคมด้วย ซึ่งรูปแบบการ ปกครองดังกล่าว ก็คือระบอบประชาธิปไตย 3.ความหมายที่เน้นเจตนารมณ์ของประชาชน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น แห่ง สหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของคำ ว่าประชาธิปไตยไว้อย่างกระชับและคมคายว่า เป็นการปกครอง ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำ ทางการเมืองเป็น ผู้ที่ถือเสมือนเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ของประชาชนรัฐบาลเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่มีเสียง ข้างมาก หรือได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ รัฐบาลจะคงอยู่ในอำ นาจต่อไปได้เมื่อวาระสิ้นสุดลง ก็ โดยการแสดงให้ประชาชนผู้เลือกตั้งเห็นว่า รัฐบาลสามารถสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น 4.ความหมายตามที่มาและขอบเขตอำ นาจ มีผู้ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า อำ นาจ สูงสุดมาจากประชาชน ทั้งนี้โดยอ้างว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ โดยธรรมชาติ พวกเขาสามารถที่คิดและกระทำ การใดๆ ได้ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม เขาจะสละสิทธิ์ และอำ นาจบางประการให้กับผู้ปกครอง เพื่อใช้อำ นาจนั้นดำ เนินการภายในกรอบที่กำ หนดฉะนั้น เราจะพบว่ารัฐบาลในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นจะมีอำ นาจที่มีขอบเขต
ความเป็นมาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นวันสำ คัญสำ หรับการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย เพราะ เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบราชาธิปไตยตาม รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ที่เรียกว่ากันในวันนี้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันนั้นมีคณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า “ คณะราษฎร” ได้นำ กำ ลังทหารและพลเรือนเข้ายึดอำ นาจ การปกครองแผ่นดินในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จแปรพระราชฐาน ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำ เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะผู้ยึดอำ นาจที่มี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าได้ตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารที่มีนายทหารระดับ นายพันเอก 3 คน คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสรุเดช และพระยาฤทธิอัคเนย์โดยมี พระยาพหลพลหยุหเสนาเป็นหัวหน้าเมื่อสามารถระดมกำ ลังทหารมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าได้ เป็นจำ นวนมากจากหลายกองพันในกรุงเทพ ประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร ถึงเหตุและความ ตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตลอดจนกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ของรัฐบาลมาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารก็ได้มีหนังสือและส่ง น.ต. หลวงศุภชลาศัย ไปยังพระราชวังไกลกังวล กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนคร ดังมีความสำ คัญว่า “ คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่าง ใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ” วันรุ่งขึ้น 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัถเลขาถึงผู้ รักษาพระนครฝ่ายทหาร มีความตอนหนึ่งว่า “...คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กัน ทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมืองและความจริงข้าพเจ้า ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำ นองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่ จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดย สะดวกฯ”
ความเป็นมาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย (ต่อ) ในคืนวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั่นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จกลับ พระนครโดยรถไฟพระที่นั่งที่ทางคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารส่งไปรับ และในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ให้บุคคลสำ คัญของคณะราษฎรเข้าเฝ้าและพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาธิปไธยพระราช กำ หนดนิรโทษกรรมแก่คณะผู้ทำ การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราวให้เป็นกติกาการปกครองบ้านเมืองเป็นการชั่วคราวไปก่อน
ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองเหมือนๆ กันทั้งหมด นัก วิชาการได้พยายามเสนอหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศ ประชาธิปไตยมากมายด้วยกัน สรุปได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้ 1.หลักประมุขของประเทศ แบ่งรูปแบบประชาธิปไตยได้ 2 ลักษณะคือ 1) มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำ นาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน โดยใช้องค์กรแยกกันเป็น 3 ทางคือ ทรงใช้อำ นาจนิติบัญญัติโดยผ่านทาง รัฐสภา อำ นาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรีและอำ นาจตุลาการโดยผ่านทางศาล ส่วนองค์พระ มหากษัตริย์จะทรงเป็นกลางในทางการเมือง เช่น ไทย อังกฤษเป็นต้น 2) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ผู้อำ รงตำ แหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือก ตั้งของประชาชน ทำ หน้าที่เป็นประมุขของรัฐเพียงหน้าที่เดียว เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ และบาง ประเทศประธานาธิบดีทำ หน้าที่เป็นประมุขของฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฯลฯ 2.หลักการรวมและการแยกอำ นาจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ 1 )แบบรัฐสภา ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทน ราษฎรเพียงสภาเดียวหรืออาจมี 2 สภาก็ได้ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัวแทนหรือสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรที่ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งเป็น สภาของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนมากสมาชิกได้มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภาในบางประเทศก็มา จากการเลือกตั้ง ชื่อสภาอาจเรียกต่างกันได้ เช่น ในอังกฤษเรียกสภาผู้แทนราษฎรว่า สภาล่างและ วุฒิสภาว่า สภาสูงหรือสภาขุนนาง แต่โดยหลักการสภาทั้งสองต้องประชุมร่วมกันรวมกันเป็น รัฐสภา ผู้ใช้อำ นาจนิติบัญญัติและอำ นายบริหาร คือมีอำ นาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ปกครองประเทศ และมีอำ นาจบริหารในการให้ความเห็นชอบหรือจัดตั้งรัฐบาล และควบคุมการบริหารของรัฐบาลด้วย รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2) แบบประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมี ลักษณะคล้ายคลึงกับแบบรัฐสภา การมีรัฐสภาเหมือนกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การมี ประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำ นาจบริหาร โดยประธานาธิบดีมีสิทธิและหน้าที่ในการจะแต่งตั้งคณะ รัฐมนตรีขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศและรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนอำ นาจนิติบัญญัตินั้นก็ยังคง ตกอยู่ที่รัฐสภา การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้ ทั้งประธานาธิบดีและสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ทั้งสองฝ่าย จึงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อระชาชน ส่วนอำ นาจตุลาการยังคงเป็นอิสระฉะนั้นอำ นาจนิติบัญญัติ อำ นาจบริหาร และอำ นาจตุลาการ ต่างก็ เป็นอิสระและแยกกัน สถาบันผู้ใช้อำ นาจทั้งสามจะเป็นตัวที่คอยยับยั้งและถ่วงดุลกันและกัน ไม่ให้ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำ นาจเกินขอบเขต เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น 3) แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายรัฐมนตรี ในด้านการ บริหารนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมายและคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้ อำ นาจบริหาร แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วนรัฐสภาเองก็ยังคงทำ หน้าที่สำ คัญคือ ออกกฎหมาย และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตย แบบนี้เป็นผู้กำ หนด นโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่วๆ ไปทั้งยังทำ หน้าที่อนุญาโตตุลาการ ระหว่างรัฐสภากับ คณะรัฐมนตรีนอกจากนี้ยังมีอำ นายยุบสภาได้ด้วย จึงมีอำ นาจมาก เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย (ต่อ)
1.ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ ใช้อำ นาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุม โดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตย ประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิก จำ นวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียด และมีเหตุผล แต่ถ้านำ เอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำ นวนมาก แล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง 2.ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกัน เพื่อแก้ ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้แทนที่ประชาชนทุก คนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทน หรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภา ของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป ประเภทของระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำ นาจในการปกครอง โดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกันพิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้ เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิง ปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำ นวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมี โอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำ เอา ประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำ นวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้ง ประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง 2.การพัฒนาเศรษฐกิจ จะพบว่าประเทศพัฒนานั้นจะมีระดับของความเสมอภาคทาง เศรษฐกิจสูงกว่าประเทศด้วยพัฒนาทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นผลให้สังคมมีสวัสดิการต่างๆที่ดี เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ฯลฯ นอกจากเศรษฐกิจที่ดีมั่นคงจะช่วยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามี ส่วนร่วมทางการเมืองด้วยความสมัครใจ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือการถูก ชักจูง ขู่เข็ญใดๆ และ ยังมีผลให้ระบอบประชาธิปไตย ดำ เนินไปด้วยดี และมีเสถียรภาพด้วย 3.บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตย ยั่งยืนอยู่ได้ ลักษณะของบุคลิกภาพเหล่านี้คือความสนใจที่จะมีต่อกิจการบ้านเมือง เมื่อสนใจแล้วก็ มีความกระตือรือร้นที่จะติดตามความเป็นไป มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ไร้อคติ และ ที่สำ คัญได้แก่ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยถือเสมือนว่าเป็นหน้าที่ที่ตนจะต้องทำ หรือที่ตนจะ ต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกผู้หนึ่งของสังคม ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย
4.เสถียรภาพของสถาบันทางการเมือง มีส่วนช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้า มั่นคงด้วย นั่นคือ เมื่อสถาบันหรือองค์กรทางการเมืองเป็นที่ยอมรับของประชาชน ประชาชนก็จะมี ความศรัทธา และจะเข้าไปเป็นสมาชิก หรือเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น เมื่อพรรคการเมืองมั่นคง สามารถแสดงออกซึ่งเจตนาของสมาชิกได้อย่างแจ่มชัด นโยบายที่ออกมาก็ได้รับการเชื่อถือและนำ มาปฏิบัติ ประชาชนจะมีความศรัทธาพรรคการเมืองนั้น และเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เท่ากับ เป็นการเกื้อกูลให้ระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นด้วย 5.พัฒนาการทางการปกครองและการบริหาร ปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองและการบริหารต้องมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน นโยบายของรัฐบาลตรงตามเจตนารมณ์และมีผลดีต่อประชาชน คือ ประชาชนได้มีโอกาส ได้มีส่วน ร่วมและได้รับประโยชน์จากการดำ เนินงานอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนเข้าใจศรัทธาและยึดมั่น การเมืองระบอบประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น เจ้าของมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางการเมือง มากขึ้นไปด้วย ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย (ต่อ)
ข้อดี 1.ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นคน เหมือนกันไม่ว่ายากดีมีจนเช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน ทุกคนมีเสรีภาพในการกระทำ ใดๆ ได้หากเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพ ในการพูด การเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ และทุกคนมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกันที่จะได้รับการ คุ้มครองโดยกฎหมาย มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ เป็นต้น 2.ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนไปใช้อำ นาจนิติบัญญัติ ในการออกกฎหมายมาใช้ปกครองตนเอง และเป็นรัฐบาลเพื่อใช้อำ นาจบริหาร ซึ่งสามารถสนอง ตอบความต้องการของประชาชนส่วนรวมได้ดี เพราะผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของปวงชนย่อมรู้ความ ต้องการของประชาชนได้ดี 3.ประเทศมีความเจริญมั่นคง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทำ ให้ประชาชนมี ความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติตามกฎ และระเบียบที่ตนกำ หนดขึ้นมายอมรับในคณะผู้บริหารที่ตน เลือกขึ้นมาและประชาชนไม่มีความรู้ต่อต้านทำ ให้ประเทศมีความสงบสุขเจริญก้าวหน้าและมั่นคง ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย
ข้อเสีย 1.ดำ เนินการยาก ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ดี แต่การที่จัดสรรผล ประโยชน์ตรงกับความต้องการประชาชนทุกคนย่อมทำ ไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่จะให้ ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามสิทธิ เสรีภาพทุกประการ ทั้งนี้เพราะวิสัยของ มนุษย์ย่อมมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ การดำ เนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจึงมีการกระทบกระทั่ง และละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้ 2.เสียค่าใช้จ่ายสูง การปกครองระบอบประชาธิปไตย จำ เป็นต้องให้ประชาชนไปใช้ สิทธิเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งในแต่ละระดับต่างต้องเสียค่าใช้จ่าย มาก ทั่งงบประมาณดำ เนินงานชองทางราชการและค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3.มีความล่าช้าในการตัดสินใจ การตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยต้องใช้เสียง ส่วนใหญ่ โดยผ่านขั้นตอนการอภิปราย แสดงเหตุผลและมติที่มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของสมาชิก ส่วนใหญ่ จึงต้องดำ เนินตามขั้นตอนทำ ให้เกิดความล่าช้า เช่น การตรากฎหมาย ต้องดำ เนินการ ตามลำ ดับขั้นตอนของวาระ อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือนหรือบางฉบับต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะ ตราออกมาเป็นกฎหมายได้ ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย (ต่อ)
ไทย 88 ปี บนเส้นทางประชาธิปไตยหลังปฏิวัติสยาม เหตุการณ์ที่ 1: 2475 กลุ่มบุคคลในนาม คณะราษฎร ซึ่งนำ โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึด อำ นาจการปกครองแผ่นดินและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัช สมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองโดยรัฐสภา การยึดอำ นาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำ คัญในอดีตนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2475 จนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ที่ 2: พ.ศ 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรก จัดตั้งรัฐสภาขึ้น ทว่า ความขัดแย้งในสภาระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร ได้นำ ไปสู่การรัฐประหารโดยพระยาพหลพล พยุหเสนา โดยเขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ดำ รงตำ แหน่งเป็นเวลา 5 ปี ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำ คัญในอดีตนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2475 จนถึงปัจจุบัน (ต่อ) เหตุการณ์ที่ 3: พ.ศ 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายใต้การนำ ของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เข้ายึดอำ นาจจากรัฐบาลทักษิณ ขณะที่เขาร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในสหรัฐฯ คปค. แต่งตั้ง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์ที่ 4: มีนาคม - พฤษภาคม 2553 ผู้สนับสนุนทักษิณในนามกลุ่มคนเสื้อแดงจัดชุมนุมประท้วงในหลายพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ เรียก ร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา นำ ไปสู่การสลายการชุมนุมโดยทหาร ทำ ให้มีผู้เสีย ชีวิตอย่างน้อย 98 ราย ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำ คัญในอดีตนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2475 จนถึงปัจจุบัน (ต่อ) เหตุการณ์ที่ 5: ตุลาคม 2559 ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริ พระชนมพรรษา 88 พรรษา หลังครองราชย์มา 70 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 10
ระบบการเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้งเป็นประดิษฐกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นเพื่อการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) และรักษาเสถียรภาพทางการเมือง (Political Stability) ระบบเลือกตั้ง จึงเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนจากการต่อสู้ด้วยความรุนแรงมาสู่แนวทางสันติวิธีในการเข้าสู่อำ นาจ ดังคำ เปรียบเปรยที่ว่าระบบเลือกตั้งเปลี่ยนจากหัวกระสุนมาสู่บัตรเลือกตั้ง (From Bullets to Ballots) ความหมายของระบบเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้ง คือ การแปลงคะแนนเสียงที่ได้จากการเลือกตั้งทั่วไป ให้กลายเป็นที่นั่งที่ได้มา โดยพรรคการเมืองและผู้สมัคร ตัวแปรสำ คัญคือสูตรการเลือกตั้งที่ใช้ โครงสร้างของบัตรเลือกตั้งและ ขนาดของเขตเลือกตั้ง การกระจายของที่เลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง การลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือก ตั้ง ใครเป็นผู้จัดการเลือกตั้ง เป็นต้น การออกแบบระบบเลือกตั้งยังมีผลกระทบต่อกฎหมายเลือกตั้งในด้านอื่น ๆ ด้วย การเลือก ระบบเลือกตั้งมีอิทธิพลต่อวิธีการปักปันเขตเลือกตั้ง การจัดทำ ทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การ ออกแบบบัตรเลือกตั้งการนับคะแนนเสียง และอีกหลายแง่มุมของกระบวนการเลือกตั้ง
ความสำ คัญของระบบการเลือกตั้ง 1. ระบบเลือกตั้งทำ ให้เกิดการปรับแต่งสถาบันทางการเมืองได้ง่ายที่สุด เกิดการแปลงคะแนน เสียงที่ได้จากการเลือกตั้งทั่วไปให้กลายเป็นที่นั่งในองค์กรนิติบัญญัติ การเลือกระบบเลือกตั้ง สามารถกำ หนดได้ว่าใครจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งและพรรคการเมืองใดจะขึ้นสู่อำ นาจ[3] 2. ระบบเลือกตั้งเป็นการออกแบบวิธีการที่ทำ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตย โดยประชาชนสามารถเลือกผู้แทนของตนเองให้ไปทำ หน้าที่แทนตนใน การใช้อำ นาจรัฐทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 3. ระบบการเลือกตั้งเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) หรือ การยอมรับจากประชาชนในการเข้าสู่อำ นาจทางการเมืองเพื่อใช้อำ นาจอธิปไตยแทนประชาชน 4. ระบบการเลือกตั้งเป็นการสะท้อนให้เห็นมติมหาชน และเป็นการตรวจสอบประเมินผล ทางการเมืองของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำ นาจอธิปไตย 5. ระบบการเลือกตั้งเป็นกระบวนการเปลี่ยนอำ นาจการบริหารประเทศที่มีเสถียรภาพทางการ เมือง (Political Stability)
หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้ง 1. หลักความทั่วไปของการเลือกตั้ง (Universal suffrage) หมายถึง ประชาชนโดยทั่วไป ย่อมมีสิทธิที่จะลงคะแนนเลียงเลือกตั้งได้โดยไม่มีการกีดกั้นโดยอาศัยเหตุผลทางด้านเชื้อชาติ ศาล นา เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น 2. หลักอิสระแห่งการเลือกตั้งหรือการเลือกตั้งโดยเสรี (Free Vote) หมายถึง ประชาชน ผู้มี สิทธิเลือกตั้งย่อมมีอิสระในการที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะเลือกหรือไม่เลือกใครก็ได้ โดย ปราศจากการใช้อิทธิพลคุกคาม บังคับขู่เข็ญใด ๆ ห้ามมิให้มีการควบคุมทิศทางการลงคะแนนเลียง ไม่ว่าในรูปแบบใด 3. หลักการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม (Free and Fair Election) หมายถึง การเลือกตั้งจะ ต้องแสดงถึง การจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ปราศจากการชื้อสิทธิ ขายเสียง และการ แทรกแซงจากอำ นาจรัฐ 4. หลักการเลือกตั้งตามกำ หนดระยะเวลา (Periodical Election) หมายถึง การเลือกตั้ง จะ ต้องกระทำ อย่างสม่ำ เสมอ ตามเวลาที่มีการกำ หนดไว้หรือตามวาระ เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสตรวจสอบการทำ งานและตัดสินใจว่าจะยังคงเลือกผู้แทนคนเดิม หรือไม่ 5. หลักความเสมอภาคของการเลือกตั้ง (Equal Suffrage) หมายถึง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละ คน มีคะแนนเลียงเท่ากันและแต่ละคะแนนมีค่าเท่ากัน ตามหลักหนึ่งคน หนึ่งเลียง (One man, one vote) 6. หลักการเลือกตั้งโดยลับ (Secret Vote) หมายถึง การลงคะแนนเลียงเลือกตั้งนั้น ต้อง ไม่มีการเปิดเผยหรือทำ ให้รู้ว่าผู้ลงคะแนนเลียงเลือกตั้งได้ลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใดหรือ พรรคการเมืองใด
ตระกูลระบบการเลือกตั้ง ในโลกนี้มีระบบเลือกตั้งต่าง ๆ กันจนนับไม่ถ้วน แต่โดยหลัก ๆ แล้ว อาจแบ่งได้ประมาณ 12 ระบบ ส่วนใหญ่จัดอยู่ในตระกูลกว้าง ๆ ได้ 3 ตระกูล หากใช้เกณฑ์การแบ่งโดยพิจารณาหลักการ ความเป็นสัดส่วนมาใช้ พร้อมด้วยข้อพิจารณาบางอย่าง เช่น สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งในแต่ละเขตมี จำ นวนเท่าไร และผู้ลงคะแนนลงได้กี่เสียง เราก็จะได้โครงสร้างตระกูลระบบเลือกตั้ง ดังแสดงใน ภาพที่ 1 1 ระบบคะแนนนำ /เสียงข้างมาก (Plurality/Majority System) ลักษณะที่เด่นชัดของระบบคะแนนนำ /เสียงข้างมาก คือ โดยทั่วไปจะใช้เขตเดียวเบอร์เดียว ในระบบคะแนนนำ กำ ชัย (คนช.) (First Past The Post: FPTP) บางครั้งรู้จักในชื่อว่า ระบบ คะแนนนำ เขตเดียวเบอร์เดียว ผู้ชนะคือผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด แต่ไม่จำ เป็นต้องได้เสียงข้างมาก เด็ดขาด เมื่อระบบนี้นำ มาใช้กับเขตเดียวหลายเบอร์ จึงกลายมาเป็นระบบคะแนนเสียงเป็นพวง (คพ.) (Block Vote: BV) ผู้ลงคะแนนมีคะแนนเสียงเท่ากับจำ นวนที่นั่งของเขตเลือกตั้งนั้น และ ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดก็จะได้รับเลือกตั้ง โดยไม่คำ นึงว่าจะได้คะแนนเสียงร้อยละเท่าไร จาก ระบบนี้ ถ้าเปลี่ยนให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อพรรคแทนที่จะเลือกผู้สมัครเป็นคน คนไป ก็จะกลายมาเป็นระบบคะแนนเสียงเป็นพวงสำ หรับพรรค (คพพ.) (Party Block Vote: PBV) ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาด เช่นระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก (คล.) (Alternative Vote: AV) และการเลือกตั้งสองรอบ (ลสร.) (The Two-Round system: TRS) พยายามให้แน่ใจว่าผู้ สมัครที่ชนะจะได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (นั่นคือ มากกว่าร้อยละ 50) แต่ละระบบมีสาระ สำ คัญอยู่ที่การใช้ความชอบในลำ ดับที่สองของผู้ลงคะแนน เพื่อให้ได้ผู้ชนะที่มีเสียงข้างมากเด็ด ขาด หากไม่ได้รับเสียงข้างมากเช่นนั้นในการลงคะแนนรอบแรก
ตระกูลระบบการเลือกตั้ง (ต่อ) 2. ระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน ความเป็นเหตุเป็นผลที่หนุนระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (ตสบ.) (Proportional Representation: PR) ทั้งหมดนั้นคือการจงใจลดความไม่เสมอกันระหว่างส่วนแบ่งของคะแนน เสียงระดับชาติของพรรคกับส่วนแบ่งของที่นั่งในสภาของพรรคนั้น หากพรรคใหญ่พรรคหนึ่งได้รับ คะแนนเสียง ร้อยละ 40 ก็ควรจะได้รับที่นั่งในสภาประมาณ ร้อยละ 40 ส่วนพรรคเล็กกว่าที่มี คะแนนเสียงร้อยละ 10 ก็ควรจะมีที่นั่งในองค์กรนิติบัญญัติ ร้อยละ 10 เช่นกัน มักมองกันว่าการ บรรลุความเป็นสัดส่วนได้ดีที่สุดก็โดยการใช้บัญชีรายชื่อพรรค โดยพรรคการเมืองนำ เสนอบัญชีราย ชื่อของผู้สมัครต่อผู้ลงคะแนนในการเลือกตั้งระดับชาติหรือระดับภูมิภาค แต่การลงคะแนนตามลำ ดับ ความชอบก็ใช้การได้ดีเช่นกัน การให้ผู้ลงคะแนนจัดลำ ดับผู้สมัครตามที่ตนชอบในกรณีเขตเดียว หลายเบอร์ หรือที่เรียกกันว่าระบบคะแนนเดียวโอนได้ (คอ.) (Single Transferable Vote: STV) เป็นระบบสัดส่วนอีกระบบหนึ่งที่ใช้งานได้ดี 3. ระบบผสม ระบบคู่ขนานเป็นระบบที่ใช้องค์ประกอบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (ตสบ. หรือ PR) กับ องค์ประกอบคะแนนนำ /เสียงข้างมาก (หรือระบบอื่น) โดยองค์ประกอบทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน ระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (สสผ.) (Mixed Member Proportional: MMP) ก็ใช้สององค์ ประกอบเช่นกัน (โดยหนึ่งในนั้นคือระบบตัวแทนแบบสัดส่วนหรือ ตสบ.) แต่แตกต่างกับระบบคู่ ขนานตรงที่องค์ประกอบ ตสบ. ใช้ชดเชยความไม่เป็นสัดส่วนที่เกิดจากระบบคะแนนนำ /เสียงข้าง มากหรือระบบอื่น ซึ่งปกติจะให้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบคู่ขนาน ระบบคู่ขนานกับ ระบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสมมีใช้อย่างแพร่หลายในประเทศประชาธิปไตยใหม่ในแอฟริกาและ อดีตสหภาพโซเวียต 4. ระบบอื่น ๆ มีการเลือกตั้งอีกสามระบบซึ่งไม่อาจจัดอย่างลงตัวให้เข้ากับกลุ่มประเภททั้งสามดังกล่าวข้างต้น ได้ ระบบคะแนนเสียงเดียวโอนไม่ได้ (คอม.) (Single Non-Transferable Vote: SNTV) เป็น แบบเขตเดียวหลายเบอร์ มีผู้สมัครเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้ลงคะแนนมีเสียงเดียว ระบบคะแนนเสียง จำ กัด (คจ.) (Limited Vote: LV) ค่อนข้างเหมือนกับระบบ คอม. แต่ให้ผู้ลงคะแนนมีมากกว่า หนึ่งเสียง (อย่างไรก็ดี จำ นวนเสียงน้อยกว่าจำ นวนที่นั่งที่พึงมีในเขตนั้นจึงไม่เหมือนกับระบบ คะแนนเสียงเป็นพวง (คพ. หรือ BV) การนับแบบบอร์ดา (นบ.) หรือ (BC) เป็นระบบตามลำ ดับ ความชอบที่ใช้ในกรณีเขตเดียวเบอร์เดียวหรือเขตเดียวหลายเบอร์
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสัญชาติไทยโดยกำ เนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำ กว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำ กว่า 18 ปีบริบูรณ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช, ต้องไม่อยู่ใน ระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำ สั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย, ต้อง ไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือน
ประเทศไทยในปัจจุบันมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ซึ่งมีการเลือกตั้งโดยการใช้มติของประชาชนและรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือก ตั้ง ความหมายของประชาธิปไตย คือ ระบบการปกครองที่อำ นาจอธิปไตยเป็นปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการแบ่งอำ นาจและหลักการที่ว่าด้วยความถูก ต้องและกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่การเลือกตั้ง หมายถึงการที่ราษฎรได้ใช้สิทธิและความคิดเห็นของตนเอง ในการเลือกตัวแทนเพื่อ ทำ หน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศโดยผู้เลือกตั้งมีคุณสมบัติดังนี้ 1 มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2 อายุไม่ต่ำ กว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง 3.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับ ถึงวันเลือกตั้ง 4.และคุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำ หนด เป็นต้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น มีการเลือกตั้งทั้งหมด 3 พรรค คือ พรรคสีส้ม พรรค สีแดง และพรรคสีเหลือง ซึ่งผลการเลือกตั้งได้ดังนี้ พรรคสีส้มได้คะแนนเสียง 14 ล้านเสียง พรรคสีแดง 7 ล้าน เสียง และพรรคสีเหลือง 5 ล้านเสียง สรุปการเลือกตั้งนี้สีส้มเป็นฝ่ายชนะเพราะได้ คะแนนเสียงมากที่สุด ซึ่งตามระบอบประชาธิปไตยผู้ที่ชนะการเลือกตั้งควรได้รับการ บริหารของประเทศ แต่ต่อมาในสภามีการถกเถียงต่างๆนาๆทำ ให้เกิดความขัดแย้ง ใน ที่สุดทำ ให้สส และ สว. เป็นผู้โหวตว่าเห็นชอบหรือไม่ ทำ ให้ผลสรุปออกมาว่า พรรคสี ส้มไม่ได้บริหารประเทศ สถานการณ์ปัญหา
1 นักเรียนมีความคิดเห็นกับเหตุการณ์นี้อย่างไร 2 นักเรียนคิดว่าพรรคสีไหนควรได้รับการบริหารประเทศ เพราะเหตุใด 3 จากสถานการณ์นี้นักเรียนคิดว่าประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ลักษณะของประชาธิปไตย 1. เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล โดยไม่ศรัทธาบุคคลใดถึงชั้นปุชนียบุคคล (แต่ก็ต้องกตัญญูต่อญาติ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ) จะต้องไม่เคร่งครัดเรื่องระบบอาวุโส (แต่ก็ต้องให้ความเคารพผู้อาวุโส) ประชาธิปไตยจะดำ เนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อค้นหาเหตุผล และความถูกต้องที่แท้จริง เพราะเหตุผลเท่านั้นที่จะจรรโลงให้ประชาธิปไตยดำ เนินไปได้ และ ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล 2. รู้จักการประนีประนอม คือ ยอมรับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ไม่นิยมความรุนแรง ต้องรู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นหรือดึงดันแต่ความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ยอมผ่อน ปรนแก้ไข และต้องยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไขความคิดเห็นของตนเองเมื่อผู้อื่นมีความคิดเห็นที่ดีกว่า ปรัชญาประชาธิปไตย โดยพื้นฐานไม่ปรารถนาให้มีการใช้กำ ลังและการล้มล้างด้วยวิธีการรุนแรง เพราะถ้ามีการใช้กำ ลังและความรุนแรงแล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ไม่มีหรือไม่ใช้เหตุผล ซึ่งก็ขัดกับ หลักความเชื่อขั้นมูลฐานของประชาธิปไตยที่ถอว่ามนุษย์มีเหตุผล 3. มีระเบียบวินัย คือ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างสม่ำ เสมอ และช่วยทำ ให้กฎหมาย ของบ้านเมืองมีความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ยอมให้ผุ้ใดมาละเมิดตามอำ เภอใจ แต่ถ้ามีความรู้สึกว่ากฎหมาย ที่ใช้อยู่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องหาทางเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น มิใช่ฝ่ายฝืนหรือไม่ยอมรับ การใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจนละเมิดหรือก้าวก่ายในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมทำ ให้เกิดความไม่ สงบขึ้นในสังคม เพราะสังคมที่ไม่มีการจำ กัดในเรื่องสิทธิเสรีภาพเลยนั้นหาใช่สังคมประชาธิปไตย ไม่แต่เป็นสังคมอนาธิปไตยที่เปรียบเสมือนไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย ไร้ระเบียบวินัยทางสังคมโดย สิ้นเชิง 4. มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเกิดขึ้นจากความรู้สึกของคนในสังคมว่า ตนเป็นเจ้าของประเทศ และประเทศเป็นของคนทุกคน โดยสำ นึกว่า การที่ตนได้รับการศึกษา สามารถทำ มาหาเลี้ยงชีพและ ดำ รงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะสังคมอันเป็นส่วนรวมของทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีหน้าที่ทำ ประโยชน์ให้เป็นการ ตอบแทน นอกจากนี้ลักษณะวิถีชีวิตประชาธิปไตยยังมีอีกหลายประเด็น เช่น ต้องเป็นคนหนักแน่น ไม่หูเบา, ต้องไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ , มีทัศนะที่ดีต่อคนอื่น, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น, เคารพใน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, มีน้ำ ใจเป็นนักกีฬาคือรู้แพ้รู้ชนะ เป็นต้น ภารกิจ ฐานความช่วยเหลือ
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม https://youtu.be/uGOQY1lLzDo?feature=shared https://youtu.be/U6snH7z9_RU?feature=shared https://youtu.be/Y4zE7GiUNFY?feature=shared
บทสรุป ระบอบการปกครองที่อำ นาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการ ของการแบ่งแยกอำ นาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการ เลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำ นาจให้ใช้อำ นาจอธิปไตยแทนประชาชน ซึ่ง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่อง กฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชน โดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมายการยื่นถอดถอนนักการเมือง ที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำ ประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำ ประชามติระบอบนี้มี ลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้ วางใจจากประชาชนส่วนมาก ในปัจจุบันระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำ ชัดเจน ถูกตัองไม่เกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง เพราะได้มีการนำ เทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้ใน การเลือกตั้ง เช่น ระบบการลงคะแนนด้วยการสแกนด้วยแสง ระบบลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสะดวก และรวดเร็วในการเลือกตั้ง ทั้งนี้การเลือกตั้งต้องเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี กล่าวคือต้องเปิดกว้างให้อิสระ ในการ ตัดสินใจทั้งในแง่ของผู้สมัครและผู้ออกเสียงทั้งนี้ต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรมไม่มีการชี้ นําหรือบังคับให้เลือก
1 ข้อใดกล่าวถึงความหมายของประชาธิปไตยได้ชัดเจนที่สุด ก. การปกครองที่มีรัฐสภาที่เป็นแกนในการดำ เนินกิจกรรมทางการเมือง ข. การปกครองที่เคารพสิทธิของประชาชน ค. การปกครองที่ถือว่าประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ มีสิทธิในการรับผิดชอบต่อบ้านเมืองอย่างเท่า เทียมกัน 2 การที่เราต้องไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เราต้องมีอายุกี่ปี ก. 18 ปี บริบูรณ์ ข. 19 ปี บริบูรณ์ ค. 20 ปี บริบูรณ์ 3 ข้อใดกล่าวถึงความหมายของการเลือกตั้งได้ถูกต้องที่สุด ก. การที่ทุกคนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ข. การที่ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองในการเลือกตั้งตัวแทนต่างๆในการ ปกครองแต่ละระดับของประเทศ ค. ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งเลย 4 บุคคลใดต่อไปนี้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ถูกต้องตามกฎหมาย ก. เอ มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี ข. บี มีอายุครบ 18 ปี แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ค. ซี มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยน้อยกว่า 5 ปี 5. ในปัจจุบันระบบการเมืองการปกครองในประเทศไทยเรียกระบบการปกครองแบบใด ก. ระบบพ่อปกครองลูก ข. ระบบการปกครองแบบเผด็จการ ค. ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบทดสอบ เฉลย ค ก ข ก ค
หนังสืออ้างอิง ความหมายของประชาธิปไตย,รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย, ประเภทของประบอบประชาธิปไตย,ปัจจัยที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย,ข้อดีและ ข้อเสียของประชาธิปไตย.สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/social1_1_1/social1_2/ more/page01.php ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร,ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเน ติ.ประวัติความเป็นมาของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=24_มิถุนายน_พ.ศ._2475 บีบีซีไทย. (2563). ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำ คัญในอดีตนับตั้งแต่ วันที่ 24 มิ.ย 2475 ถึงปัจจุบัน.สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53160098 รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย,ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ.ระบบการ เลือกตั้ง,ความหมายของระบบเลือกตั้ง,ความสำ คัญของระบบเลือกตั้ง,หลักการพื้น ฐานของการเลือกตั้ง,ตระกูลระบบการเลือกตั้ง.สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ระบบการเลือก ตั้ง_(Election_System) วีกิพีเดีย.คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง.สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งในประเทศไทย
นางสาวนันทพร สง่าวุฒิเลิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ ปาง ประวัวั วั ติวั ติ ติ ส่ติ ส่ ส่ วส่ วนตัตั ตั วตั ว นางสาวนันทพร สง่าวุฒิเลิศ ประวัวั วั ติวั ติ ติ ส่ติ ส่ ส่ วส่ วนตัตั ตั วตั ว คณะครุศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ ปาง
LETTEROFINSPIRATION อาชีพชีครูเรูป็นป็อาชีพชีหนึ่ง นึ่ ในการรับรั ใช้สัช้งสัคม ซึ่ง ซึ่ เป็นป็อาชีพชีที่มี ที่ มี เกียกีรติใตินด้าด้นการศึกศึษา การจัดจัการระบบที่เ ที่ กี่ย กี่ วกับกัการศึกศึษา นอกจากนี้ยั นี้ งยัเป็นป็การอบรม สั่งสั่สอนคนในสังสัคมให้อห้ยู่ร่ยู่ วร่มกันกั และสามารถใช้คช้วามรู้ ไปใช้ใช้นการพัฒพันาบุคบุลากรของประเทศ ในอนาคต แรงบันบัดาลใจในการเป็นป็ครูมรูาจากรุ่นรุ่ พี่ที่ พี่ อ ที่ ยู่ที่ยู่ บ้ ที่ าบ้นเรียรีนครู เหมือมืนกันกัทำ ให้ดิห้ฉัดินฉัเห็นห็ว่าว่การเรียรีนครูไรูม่ไม่ด้เด้ป็นป็แค่อค่าชีพชีที่มี ที่ มี เกียกีรติอติย่าย่งเดียดีว แต่ยัต่งยัสามารถเป็นป็อาชีพชีที่มั่ ที่ นมั่คง สามารถ พัฒพันาตนเอง พัฒพันาสังสัคม พัฒพันาเด็กด็ๆให้อห้าศัยศัอยู่ร่ยู่ วร่มกันกั กับกัผู้อื่ผู้ น อื่ ได้ โดยนึกนึถึงถึการให้ปห้ระโยชน์ขน์องส่วส่นรวมเป็นป็หลักลั และยังยัเป็นป็การให้คห้วามรักรัความอบอุ่นอุ่ แก่เก่ด็กด็ๆที่ด้ ที่ อด้ยโอกาส เพื่อ พื่ สร้าร้งแรงบันบัดาลใจและมอบรอยยิ้มยิ้ให้กัห้บกัพวกเขาเหล่าล่นั้นนั้ " ถ้าถ้ไม่มีม่คมีรูครูอยอบรมสั่งสั่สอนในวันวันั้นนั้คงไม่มีม่เมีด็กด็ที่จ ที่ ะพร้อร้ม พัฒพันาสังสัคมในวันวันี้ " และอีกอีอย่าย่งดิฉัดิฉันเป็นป็เด็กด็จบนดอยที่ ไม่มีม่ โมีอกาสเรียรีนครบในทุกทุ ๆด้าด้นเหมือมืนเด็กด็ ในเมือมืงกรุงรุแต่ อาศัยศัความพยายาม ความตั้งตั้ ใจ เลยสามารถเรียรีนเท่าท่ทันทัคน อื่น อื่ ที่มี ที่ โมีฮกาสมากกว่าว่และมีผมีลการเรียรีนที่ดี ที่ ขึ้ดีน ขึ้ เรื่อ รื่ ยๆทำ ให้วัห้นวั นี้เ นี้ป็นป็เด็กด็ที่ไที่ ม่มีม่คมีวามกลัวลัเเละกล้าล้ลงมือมืทำ ได้อด้ย่าย่งเต็มต็ที่ ในการเลือลืกเรียรีนครู เพราะถ้าถ้ดิฉัดินฉัคิดคิว่าว่สิ่งสิ่ที่สำ ที่ สำคัญคัที่สุ ที่ ดสุ สำ หรับรัครูใรูนอุดอุมคติขติองฉันคือคืต้อต้งเป็นป็ครูที่รูมี ที่ คุมีณคุธรรม จริยริธรรมและมีหัมีวหั ใจของการเป็นป็ครู อย่าย่งเต็มต็เปี่ย ปี่ ม เพราะสิ่งสิ่ นี้จ นี้ ะเป็นป็หัวหั ใจสำ คัญคั ให้แห้สงเทียทีน หรือรืเรือรืลำ นี้สา นี้ มารถนำ พา และช่วช่ยขัดขัเกลานักนัเรียรีนนักนัศึกศึษาไปสู่จุสู่ดจุหมายปลายทาง และ พบกับกัความสำ เร็จร็ของชีวิชีตวิพร้อร้มที่จ ที่ ะเป็นป็บุคบุลากรที่ดี ที่ ขดีอง ชาติต่ติอต่ ไปได้ แรงบับับั บั น บั น บั นดาลใจในการเรีรีรี รี ย รี ย รี ยนครูรูรู รู สั รู สั รู สั สั ง สั ง สั งคม
นางสาว นันนัทพร สง่าวุฒิเฒิลิศ Nantaporn Sangwuttiliod ข้ข้ ข้ อข้ อมูมูมู ล มู ลส่ส่ ส่ วส่ วนตัตั ตั วตั ว ชื่อ : นางสาวนันทพร สง่าวุฒิเลิศ ชื่อเล่น : มิ้น เกิด : วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม 2547 อายุ : 19 ปี สัญชาติ : ไทย เชื้อชาติ : ไทย ศาสนา : พุทธ น้ำ หนัก : 63 กิโลกรัม ส่วนสูง : 156 เซนติเมตร ประวัติการศึกษา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย : ราชภัฏลำ ปาง งานอดิเรก : เล่นกีฬา ประวัติครอบครัว บิดา : นายอภิชาติ สง่าวุฒิเลิศ อาชีพ : เกษตรกร อายุ : 43 ปี ติดต่อ : 086-138-3526 มารดา : นางสมส่วน สง่าวุฒิเลิศ อาชีพ : เกษตรกร อายุ : 39 ปี ติดต่อ : 063-118-1527 น้องชายคนที่ 1 : นายฉันทัช สง่าวุฒิเลิศ อายุ : 16 ปี ติดต่อ : 086-467-0536 น้องชายคนที่ 2 ด.ชกัญษลักษณ์ สง่าวุฒิเลิศอายุ : 15 ปี ติดต่อ : 081-231-4909 : 082-518-8297 : [email protected] : 147/3 หมู่ 11 ต. ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ. แม่ฮ่องสอน 58110 ข้อมูลการติดต่อ
EDUCATION โรงเรียรีนสันสั ป่าป่ตองวิทวิยาคม ชั้น ชั้ มัธ มั ยมศึก ศึ ษาตอนปลาย 4-6 โรงเรียรีนบ้าบ้นอมพาย ชั้น ชั้ มัธ มั ยมศึก ศึ ษาตอนต้น ต้ 1-3 โรงเรียรีนบ้าบ้นอมพาย ชั้น ชั้ ประถมศึก ศึ ษาปีที่ ปี ที่1-6 ประวัติวักติารศึกศึษา
จัจัจัด จั ด จั ด จั ทำทำทำ ทำทำทำโโดดยย "อย่ย่ย่ย่าย่ย่ยอมแพ้พ้พ้พ้กัพ้กัพ้กับกักักัความฝัฝัฝัฝันฝัฝัที่ที่ที่คุคุคุ ที่ที่ที่ ณคุคุคุพยายามทำทำทำทำทำทำทำทำทำมาทั้ทั้ทั้งทั้ทั้ทั้ชีชีชีวิวิวิชีชีชีตวิวิวิ" นนาางงสสาาววนันันัน นั น นั น นั ททพพรร สสง่ง่ง่ ง่ า ง่ า ง่ าวุวุวุวุ ฒิ วุ ฒิ วุ ฒิเฒิฒิเฒิลิลิลิลิศลิลิศ