The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thunyalukka84, 2021-12-29 08:09:45

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุดกจิ กรรมการเรยี นรโู้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 2

ชุดที่ 7 การเขยี นรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละการนำเสนอ 7

การเขยี นรายงาน ใบความรู้ 7.1
โครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสารจัดว่าเป็น
ขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน เม่ือนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ขอ้ มลู พร้อมทั้งแปรผล และสรปุ ผลแล้ว งานข้ันต่อไปทต่ี อ้ งทำคือ การเขยี นรายงาน

การเขียนรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ เป็นวิธีสือ่ ความหมายท่ีมีประสิทธิภาพวธิ หี นง่ึ เพ่ือใหค้ นอ่นื ๆ
ได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
เกี่ยวกับโครงงานนัน้

การเขียนรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ ประกอบด้วยหวั ข้อตา่ ง ๆ ดังนี้

1. ชื่อโครงงาน
2. ชอื่ ผจู้ ดั ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารยท์ ป่ี รึกษาโครงงาน
4. บทคดั ย่อ
5. กติ ตกิ รรมประกาศ
6. ท่มี าและความสำคัญของโครงงาน
7. วัตถปุ ระสงค์ของการทำโครงงาน
8. สมมติฐานของการศกึ ษา
9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
10. นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ

ชุดกิจกรรมการเรียนรูโ้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นักเรยี นชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 2

ชดุ ท่ี 7 การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนอ 8

11. วิธดี ำเนินการ
12. ผลการศึกษาค้นคว้า
13. สรุปผลและขอ้ เสนอแนะ
14. เอกสารอา้ งอิง / บรรณานุกรม

1 ชอ่ื โครงงาน

ชื่อโครงงานเป็นสงิ่ สำคัญประการแรก เพราะชอ่ื โครงการจะช่วยโยงความคิดไปถงึ วัตถุประสงคข์ องการ
ทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์ และควรกำหนดชือ่ โครงการให้สอดคลอ้ งกบั วตั ถปุ ระสงคห์ ลักด้วย

การตั้งช่ือโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งช่ือให้มีความกะทัดรัด
และดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาท่ี
สนใจศึกษาอยา่ งแท้จริง อนั จะนำไปสกู่ ารเข้าใจวัตถุประสงคข์ องการศึกษาอยา่ งแทจ้ รงิ ดว้ ย เช่น

โครงงานวิทยาศาสตร์ ช่ือ “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย” ซ่ึงปัญหาเร่ืองที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำ
พลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคน
หรือบางคณะอาจสนใจต้ังช่ือโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า “การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก” หรือ
“ผลการใช้ถงุ น้ำพลาสติกต่อการไลแ่ มลงวัน” ก็เปน็ ได้

อย่างไรก็ตามจะตั้งช่ือโครงการในแบบใด ๆ น้ัน ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึง
วัตถุประสงคท์ ต่ี อ้ งการศกึ ษาได้ชัดเจน

2 ชอ่ื ผจู้ ัดทำโครงงาน

การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความ
รบั ผดิ ชอบของใครและสามารถติดตามไดท้ ่ีใด

ชดุ กจิ กรรมการเรยี นรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2

ชุดท่ี 7 การเขยี นรายงานโครงงานวิทยาศาสตรแ์ ละการนำเสนอ 9

3 ชอ่ื อาจารยท์ ี่ปรกึ ษาโครงงาน

การเขียนชื่อผู้ให้คำปรกึ ษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมท้ังขอบคุณท่ีได้ให้คำแนะนำการทำ
โครงงานวิทยาศาสตรจ์ นบรรลเุ ปา้ หมาย

4 บทคัดย่อ

เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ที่สั้นได้ใจความชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหา
สำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ เน้ือหาในบทคัดย่อ เป็นการเขียนเรียงความต่อเนื่อง โดยระบุจุดประสงค์
ขอบเขตของโครงงาน รวมถึงวธิ ีการทางสถิติทใ่ี ชแ้ ละผลการดำเนินงาน ในสว่ นของวิธีการดำเนินงานควรระบุ
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับจุดประสงค์ แล้วนำเสนอผล
การดำเนินงานตามลำดับ การเขียนไม่ต้องมีการอา้ งอิงหรือยกตัวอย่าง ข้อความ สมการ ภาพ คำวิจารณ์
และคำฟุ่มเฟือย นำเสนอเฉพาะประเด็นสำคัญในลักษณะการสรุปเท่านั้น ความยาวท้ังหมดไม่ควรเกิน
1 หนา้ A4 (ประมาณ 300-350 คำ)

5 กติ ติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศเป็นส่วนท่ีผู้ทำโครงงานเขียนแสดงความขอบคุณบุคคล หน่วยงาน สถาบันท่ีให้
ความช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือท้ังในการค้นคว้าความรู้ การดำเนินงาน ให้ข้อคิดเห็นและให้ข้อมูล การ
ระบุช่ือควรใช้ช่ือนามสกุลและตำแหน่งวิชาการที่ถูกต้อง ชื่อเต็มสถาบันหรือหน่วยงาน ส่วนใหญ่โครงงาน
วิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมท่ีได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนั้นเพ่ือเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศ
ของความร่วมมอื จงึ ควรไดก้ ล่าวขอบคุณบคุ ลากรหรอื หน่วยงานต่าง ๆ ที่มสี ่วนชว่ ยให้โครงงานน้สี ำเรจ็ ด้วย

ชดุ กิจกรรมการเรยี นรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนกั เรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปที ่ี 2

ชดุ ท่ี 7 การเขียนรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละการนำเสนอ 10

6 ทม่ี าและความสำคัญของโครงงาน

ในการเขียนท่ีมาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการ
ทฤษฎีเกี่ยวกับเร่ืองที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิด
สนับสนนุ เพราะความรู้เหล่าน้ีจะเป็นแนวทางสำคัญในเรอื่ งตอ่ ไปนี้

- แนวทางต้ังสมมติฐานของเรอ่ื งทศ่ี ึกษา
- แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมลู
- ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และส่ิงประดิษฐ์

ใหม่ที่ค้นพบไปใชป้ ระโยชนต์ ่อไป
การเขียนที่มาและความสำคญั ของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ตอ้ งทำ ทำแล้วได้
อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ท่ัว ๆ ไป คือ มีคำนำ
เนอื้ เร่อื ง และสรุป
สว่ นที่ 1 คำนำ : เปน็ การบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทัว่ ๆ ไป หรอื ปัญหาที่มสี ่วนสนับสนุนให้
ริเริม่ ทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์
สว่ นที่ 2 เน้ือเรอ่ื ง : อธิบายถึงรายละเอยี ดเช่ือมโยงให้เห็นประโยชนข์ องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โดยมี หลกั การ ทฤษฎีสนบั สนนุ เรอื่ งท่ีศกึ ษา หรอื การบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเร่อื งนี้
สว่ นที่ 3 สรปุ : สรปุ ถึงความจำเป็นที่ตอ้ งดำเนินการตามสว่ นที่ 2 เพ่ือแก้ไขปัญหา คน้ ขอ้ ความรู้ใหม่
ค้นส่งิ ประดิษฐใ์ หม่ให้เปน็ ไปตามเหตุผลสว่ นที่ 1

ชดุ กิจกรรมการเรยี นรโู้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 2

ชุดท่ี 7 การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนอ 11

7 วตั ถปุ ระสงคข์ องการทำโครงงาน

วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ใน
การเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับช่ือโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลาย
ประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ท่ี
ค้นพบหรอื ส่ิงประดิษฐ์ท่ีค้นพบนั้นจะมีความสมบรู ณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวตั ถปุ ระสงค์ทกุ ๆ ขอ้

8 สมมตฐิ านของการศกึ ษา

สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญ
เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซ่ึงสมมติฐานก็คือ
การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมหี ลักและเหตุผล ตามหลักการ ทฤษฎี รวมทง้ั ผลการศึกษาของโครงงาน
ทไ่ี ดท้ ำมาแลว้

9 ขอบเขตของการทำโครงงาน

ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผล
การศึกษาทน่ี ่าเช่อื ถอื ซึ่งไดแ้ ก่ การกำหนดประชากร กลุม่ ตวั อยา่ ง ตลอดจนตัวแปรทศ่ี ึกษา

1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจ
เป็นคนหรือสัตว์หรอื พืช ช่ือใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เม่ือเวลาใด รวมท้ังกำหนดกลุ่มตวั อย่างท่ีมีขนาด
เหมาะสมเปน็ ตวั แทนของประชากรทส่ี นใจศึกษา

2. ตัวแปรท่ศี ึกษา การศกึ ษาโครงงานวิทยาศาสตร์ สว่ นมากมักเป็นการศกึ ษาความสัมพันธ์
เชงิ เหตแุ ละผล หรือความสัมพันธร์ ะหว่างตวั แปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึน้ ไป การบอกชนิดของ ตัวแปรอย่างถูกต้อง
และชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไมส่ นใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทผ่ี ู้ทำโครงงาน
ต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเปน็ ตวั แปรตน้ ตวั แปรใดทศี่ ึกษาเป็น ตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเปน็ ตวั แปรที่
ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงาน
วทิ ยาศาสตร์ท่ถี ูกตอ้ ง ส่ือความหมายใหผ้ ้ฟู ังและผู้อา่ นให้เข้าใจตรงกัน

ชดุ กจิ กรรมการเรียนรโู้ ครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 2

ชดุ ที่ 7 การเขียนรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์และการนำเสนอ 12

10 นิยามศัพทเ์ ฉพาะ

เป็นการให้ความหมาย หรือคำจำกัดความของคำศัพท์ที่ผู้ทำโครงงานใช้ในการทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ซ่ึงเป็นความหมายที่ใช้เฉพาะงานท่ีทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจท่ีตรงกัน ท้ังผู้ทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์และผอู้ ่าน อาจเรียกได้ว่าเป็น นิยามเชิงปฏิบัตกิ าร ซึ่งเปน็ การกำหนดความหมายและขอบเขต
ของคำต่างๆ ในการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ในการ
ดำเนินการศึกษา การเก็บข้อมลู หรือ การสรุปผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การเลือกส่ิงทีน่ ำมากำหนด
นิยามเชิงปฏิบัติการ จะต้องเป็นส่ิงที่สำคัญ ซ่ึงมีผลต่อการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ซ่ึงมี
รายละเอียดสำคัญและหากไม่กำหนดนิยามดังกล่าว จะทำให้ผู้อ่ืนเข้าใจคลาดเคลื่อนนิยามเชิงปฏิบัติการท่ีดี
จะตอ้ งให้รายละเอียดของคำท่ตี ้องการกำหนดนยิ ามเชิงปฏิบัตกิ ารใหช้ ดั เจน เขา้ ใจงา่ ย

11 วิธีดำเนินการ

วธิ ีดำเนินการ หมายถึง วธิ กี ารท่ีช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงคข์ องการทำโครงงาน ตง้ั แต่เร่ิมเสนอ
โครงการกระท่งั สิน้ สดุ โครงการ ซ่งึ ประกอบดว้ ย

1. การกำหนดประชากร กลุม่ ตัวอย่างที่ศกึ ษา
2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมขอ้ มลู
3. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
4. การวเิ คราะห์ข้อมลู
ในการเขยี นวิธดี ำเนินการใหร้ ะบุกจิ กรรมทต่ี ้องทำให้ชดั เจนวา่ จะทำอะไรบา้ ง เรียงลำดบั กจิ กรรมกอ่ น
และหลังให้ชัดเจน เพอ่ื สามารถนำโครงการไปปฏบิ ัติอย่างตอ่ เน่ืองและถูกต้อง

ชดุ กิจกรรมการเรียนร้โู ครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั เรียนช้นั มัธยมศึกษาปีที่ 2

ชดุ ท่ี 7 การเขยี นรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละการนำเสนอ 13

12 ผลการศึกษาค้นคว้า

นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ท่ีสังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่
วเิ คราะห์ไดด้ ว้ ย

13 สรุปผลและข้อเสนอแนะ

อธิบายผลสรุปท่ไี ดจ้ ากการทำโครงงาน ถา้ มีการต้งั สมมติฐาน ควรระบุด้วยวา่ ข้อมลู ท่ไี ด้สนับสนนุ หรือ
คัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้ หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากน้ียังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์
อปุ สรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตทส่ี ำคัญหรือขอ้ ผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานน้ี
รวมทงั้ ข้อเสนอแนะเพ่ือการปรับปรงุ แกไ้ ข หากมผี ้ศู กึ ษาคน้ ควา้ ในเร่อื งทท่ี ำนองนีต้ อ่ ไปในอนาคตด้วย

14 เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม

เอกสารอ้างองิ คือ รายช่อื เอกสารที่นำมาอ้างอิงเพ่ือประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจน
การเขียนรายงานการทำโครงงานวทิ ยาศาสตร์ ควรเขยี นตามหลกั การทนี่ ยิ มกนั

ชดุ กิจกรรมการเรยี นรูโ้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นักเรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2

ชดุ ท่ี 7 การเขยี นรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตรแ์ ละการนำเสนอ 17

องคป์ ระกอบของการเขยี นรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์

ส่วนนำ - ปกนอก ประกอบดว้ ย ตราโรงเรยี น ชอ่ื โครงงาน และช่อื ผทู้ ำ
- ใบรองปก
- ปกใน คล้ายกับปกนอก แต่เพม่ิ ช่อื ครูท่ปี รกึ ษา หรือท่ปี รึกษาพเิ ศษ
- บทคดั ยอ่
- กติ ตกิ รรมประกาศ
- สารบัญ ประกอบด้วย สารบัญตาราง สารบญั รปู ภาพ (ถ้ามี)
- คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ (ถา้ ม)ี

บทที่ 1 บทนำ

- ทีม่ าและความสำคัญของโครงงาน

- วัตถุประสงค์

- สมมตฐิ าน (ถ้าม)ี

- ตัวแปร (ถ้าม)ี

- นิยามศัพท์เฉพาะ (ถ้ามี)

ส่วนเน้ือหา 5 บท - นิยามเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร (ถา้ มี)

- ขอบเขตการศึกษา

บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ัยท่ีเก่ียวข้อง

บทท่ี 3 วธิ กี ารดำเนนิ การทดลอง

- วัสดุอปุ กรณ์ และสารเคมี (ถ้าม)ี

- ขัน้ ตอนการดำเนินงาน

บทท่ี 4 ผลการทดลอง

บทท่ี 5 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ

ส่วนอ้างองิ บรรณานกุ รม

ชดุ กิจกรรมการเรยี นรโู้ ครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนกั เรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 2

ชุดที่ 7 การเขยี นรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนอ 14

ในการเขยี นรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ มอี งคป์ ระกอบท้งั หมด 3 ส่วนคือ สว่ นนำ สว่ นเนือ้ เร่อื ง
และส่วนอา้ งองิ

ส่วนนำ ประกอบด้วย

ปกนอก ขอ้ ความที่แสดงควรมี ชอื่ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ ช่ือนักเรียนผู้จัดทำโครงงานทกุ คน
มขี อ้ ความทบ่ี อกให้ทราบถงึ โอกาสในการทำโครงงาน เช่น รายงานนี้เปน็ ส่วนหนึง่ ของรายวิชาสนกุ กับโครงงาน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียน.............. ภาคเรียนที่...... ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี....... ปีการศึกษา............ ซึ่งท้ังหมดควร
จัดเรียงให้กระจายอยู่บนปก โดยการนำเสนอข้อมูลมีความเป็นระเบียบ อ่านง่าย ขนาดตัวอักษรพอเหมาะ
และการเลอื กกระดาษทีใ่ ชค้ วรสีสุภาพ ไมม่ ีลวดลาย

ปกใน มีเน้ือหาและลักษณะการวางข้อความเช่นเดียวกับปกนอก อาจมีรายนามอาจารย์ที่
ปรกึ ษาหรอื ทีป่ รึกษาพเิ ศษ ในกรณที ี่มที ่ีปรกึ ษาจากหนว่ ยงานนอกโรงเรยี น

บทคัดย่อ เป็นข้อความโดยสรุปของรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตรท์ ่ีส้ันได้ใจความ ความยาวไม่
เกินคร่งึ หนา้

กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนท่ีทำโครงงานเขียนแสดงความขอบคณุ บุคคล สถาบัน หน่วยงานท่ี
ให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือในการค้นคว้าความรู้ อนุเคราะห์เครื่องมือ การดำเนินงานให้
ขอ้ คดิ เหน็ และขอ้ มลู ที่เปน็ ประโยชน์ในการทำโครงงาน

สารบัญ เป็นส่วนที่แสดงลำดับของรายงานท้ังฉบับ ซ่ึงถ้ารายงานโครงงานมีการแสดงผลเป็น
ตารางและภาพ เช่น รูปภาพ แผนท่ี แผนภูมิ กราฟ เป็นต้น ต้องมีสารบัญตาราง และสารบัญภาพเพ่ิมเติม
ดว้ ย

สว่ นเน้อื หา 5 บท ประกอบด้วย

บทท่ี 1 บทนำ
- ท่มี าและความสำคัญของโครงงาน
- จดุ ประสงค์
- สมมตฐิ าน (ถา้ ม)ี
- ตวั แปร (ถ้ามี)
- นิยามเชงิ ศัพท์เฉพาะ (ถา้ มี)
- ขอบเขตการศึกษา
- ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะได้รบั

ชุดกิจกรรมการเรียนรูโ้ ครงงานวทิ ยาศาสตร์ สำหรบั นกั เรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี 2

ชุดท่ี 7 การเขยี นรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนอ 15

บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ัยทีเ่ กี่ยวข้อง ประกอบไปดว้ ยเนือ้ หา ทฤษฎีจากเอกสารงานวิจยั หนังสอื
และโครงงานวิทยาศาสตรท์ ่เี กี่ยวข้องโดยตรงกบั โครงงานของนักเรยี น ซึ่งมผี ู้อ่ืนศึกษาทดลองมากอ่ น

บทท่ี 3 วิธีการดำเนินการทดลอง

บทนี้เป็นการนำเสนอวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า รูปแบบหรือประเภทของโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง
เครือ่ งมือทใ่ี ชใ้ นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล วธิ ีการวิเคราะหข์ อ้ มลู โดยมีหัวข้อย่อย ดงั นี้

1. วัสดุ อุปกรณ์
2. สารเคมี (ถา้ มี) เขยี นเป็นภาษาไทยตามศัพท์บัญญตั โิ ดยราชบณั ฑิต และควรระบเุ ปน็ ชอื่ ภาษาอังกฤษ
พร้อมวงเลบ็ สตู รเคมีไว้ท้ายชอ่ื
3. ข้ันตอนการดำเนนิ งาน นกั เรยี นตอ้ งเขยี นรายงานเรียงลำดบั ตามจดุ ประสงคแ์ ละสมมติฐานให้
สอดคลอ้ งและครบถ้วน นอกจากนี้ ควรกลา่ วถึงการออกแบบสำรวจ ประดิษฐ์ ทดลอง และสถิตทิ ี่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลไว้อยา่ งชัดเจน

บทท่ี 4 ผลการทดลอง / ผลการศกึ ษา

ส่วนนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษา การสำรวจ ประดิษฐ์ ทดลอง ท่ีนักเรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
รวมทั้งรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการเขียนผลการศึกษาต้องเขียนตามลำดับให้สอดคล้องกับ
จุดประสงค์และวิธีการดำเนินงาน ใช้ข้อความกะทัดรัด อาจมีการจัดกระทำข้อมูลและนำเสนอในรูปของ
ตาราง กราฟ ภาพประกอบให้เหมาะสมกับขอ้ มูล

บทที่ 5 สรุปและอภปิ รายผล

การเขียนสรุปผลท่ีได้จากการทำโครงงานอย่างย่อ ถ้ามีการสมมติฐานควรระบุว่า ผลที่ได้สนับสนุน
หรือคัดค้านกับสมมติฐาน แล้วสรุปผลเป็นลำดับตามจุดประสงค์และผลการดำเนินงาน ในส่วนของการ
อภปิ รายผลการดำเนนิ งาน เปน็ การอธบิ ายเหตผุ ลท่ีทำใหไ้ ด้ผลการพสิ ูจน์ สำรวจ ประดิษฐ์ ทดลอง หรอื การ
ค้นพบความรู้ใหม่ การอภิปรายผลนักเรียนควรสืบค้นความรู้ต่างๆ เช่น ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์มา
อา้ งอิง เพื่อสนบั สนุนผลการดำเนินงานเพื่อความนา่ เช่ือถอื ของผลการศกึ ษา

นอกจากสรุปและอภิปรายผลแล้ว ควรมีข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นการเสนอข้อควรปรับปรุงหรือแก้ไข
ปัญหา อปุ สรรค เพ่ือนำไปสู่การพฒั นา หากมผี ู้ที่ต้องการศึกษาเรือ่ งนี้ต่อ

ชุดกจิ กรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรบั นกั เรยี นชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 2

ชดุ ท่ี 7 การเขยี นรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์และการนำเสนอ 16

ส่วนอา้ งองิ เปน็ สว่ นทา้ ยของรายงาน ประกอบดว้ ย บรรณานกุ รมและภาคผนวก
บรรณานุกรม เป็นการแสดงรายการช่ือหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การสัมภาษณ์ ฯลฯ ท่ีนำมาใช้
ประกอบการทำโครงงาน ท้ังน้ีการเขียนรายงานอ้างอิงมีหลายระบบ นักเรียนสามารถเลือกใช้ระบบใดระบบ
หนง่ึ แตต่ ้องเป็นระบบการเขียนเดียวกันโดยตลอด
ภาคผนวก เป็นส่วนประกอบที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของผู้ทำโครงงาน ซ่ึงอยู่ในส่วนท้ายของ
รายงาน ตัวอย่างข้อมูลท่ีนำมาไว้ในภาคผนวก เช่น ข้อมูลสำรวจ สิ่งประดิษฐ์ การทดลองที่ยงั ไมไ่ ด้จัดกระทำ
ตาราง รูปภาพ กราฟที่มีรายละเอียดมาก ข้อมูลผลการทดลองเบ้ืองต้น ข้อความซึ่งเป็นรายละเอียดเทคนิค
วธิ ีการตา่ ง ๆ ที่ต้องการให้ผู้สนใจได้ศกึ ษา เป็นต้น


Click to View FlipBook Version