The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนที่ชุมชนตำบลสะแกซำ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanyaya2543, 2022-07-23 23:09:13

THANYALAK

แผนที่ชุมชนตำบลสะแกซำ

ตำบลสะเเกซำ

อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำบลสะเเกซำ

ตำบลสะแกซำแยกออกจากตำบลเสม็ดในปี พ.ศ. 2532 ใน
ขณะนั้นมีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ปัจจุบันมี 19 หมู่บ้านตั้งอยู่ใน
พื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีการตั้งรกรากมานาน ชุมชนในท้องถิ่นมี
การประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรมและอาชีพรอง หลัง
จากว่างเว้นจากอาชีพหลักชาวบ้านก็จะประกอบอาชีพเสริมใน
เวลาว่างเพื่อเป็นอาชีพเสริม และใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
เครื่องจักสาน เครื่องมือจับปลา กุ้ง ทอเสื่อกก ทอผ้าผ้าไหม
เป็นต้น

1

แผนที่ตำบลสะแกซำ

กลุ่มปลูกผัก ม.15

กลุ่มจักรสาน กลุ่มทอผ้าไหม ม.2 กลุ่มทอผ้าไหม ม.8
กลุ่มทำข้าวหมาก-สาโท กลุ่มสินค้า OTOP
ถนนสาย 2445
บุรีรัมย์ - ประโคนชัย สวนนก

วัดบ้านสะแกซำ

กลุ่มทอผ้าไหม ม.17

อ่า่างเก็บน้ำห้วยตลาด แจ๋มฟิ ชชิ่งปาร์ค&ติงตังคาเฟ่

แผนที่ตำบลสะแกซำ
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์




2

แหล่งท่องเที่ยว

สวนนกบุรีรัมย์

ตั้งอยู่ตำบลสะแกซำ อยู่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด จากการ
สำรวจพบว่าในแต่ละปีมีนกชนิดต่าง ๆ มาอาศัยอยู่โดยรอบจำนวนกว่า
100 ชนิด โดยเฉพาะในช่วง ฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน
จะมีฝูงนกมาอาศัยอยู่มากเป็นพิเศษ บางชนิดใกล้สูญพันธุ์และหาดูได้
ยาก เช่น นกเป็ดหงส์ นกเป็ดก่า และนก กาบบัว ในบริเวณบ้านของ
คุณสวัสดิ์ คชเสนีย์ ได้จัดทำเป็นสวนนก และ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
เหมาะสำหรับเที่ยวชมฝูงนกในยามเย็น ทุกวัน เวลาประมาณ 17.00-
18.00 น. จะมีฝูงนกยางสีขาวนับหมื่นตัวบินกลับ รังเป็นภาพที่น่าชม
มาก มีบริการรถชมรอบบริเวณ สอบถามข้อมูล โทร. 04460 5169
การเดินทาง จากตัวเมืองบุรีรัมย์ไป 12 กิโลเมตร ตาม ทางหลวง
หมายเลข 219 (เส้นทางบุรีรัมย์-ประโคนชัย) ถึงสถานีอนามัย บ้านโคก
ตาลเลี้ยวซ้ายประมาณ 2.5 กิโลเมตร

4

อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด

ตั้งอยู่ตำบลสะแกซำ บนเนื้อที่ 37 ไร่ จากพื้นที่ห้วย
ตลาดทั้งหมดกว่า 4,000 ไร่ บริเวณถนนสายบุรีรัมย์-

ปกรำะหโคนนดชเัปย็นหเ่ขางตจห้าากมตลั่วาสเัมตือว์งป
่ปารเมะื่มอาปณี 251435กิโเลป็เนมแตหรล่ง

ท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง
เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนอีกด้วย

5

แจ๋มฟิชชิ่งปาร์ค&ติงตังคาเฟ่

เป็นคาเฟ่เล็กๆท่ามกลางธรรมชาติ กลางทุ่งนา มี
กิจกรรมตกปลาเบ็ดไม้ไผ่ สำหรับเด็กๆ มีบ่อตกปลาใหญ่
ด้านหน้า สำหรับมืออาชีพ มีที่พักสำหรับผู้ที่อยาก สัมผัส
ชีวิตแบบธรรมชาติของคนต่าง จังหวัดอย่างแท้จริง

6

วัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่น

แซนโฎนตา

เป็นการรำลึกและอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วง
ลับ โดยประเพณีแซนโฎนตา จะจัดขึ้นทุกปีในช่วง
แรม 15 ค่ำ เดือน 10

อาจเรียกว่า เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคน
ก็เรียกว่า “สารทเขมร” (คล้ายๆ กับสารทจีน สารทไทย)
คล้ายกับประเพณีสลากภัตตานก๋วยสลากหรือบุญ
เดือนสิบในภาคอื่นๆ แต่อาจแตกต่างในรายละเอียด
พิธีกรรม โดยประเพณีแซนโฏนตาบูชาบรรพบุรุษ
ตำนานที่สืบทอดนานกว่า 1,000 ปี

8

จวลมะม๊วด (รำเเม่มด)

พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกัน
มาแต่บรรพบุรุษของชาวเขมรแถบอีสานตอนล่าง ตาม
แนวเทือกเขาพนมดงรัก โดยมีความเชื่อว่า วิญญาณ
ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ และดวงวิญญาณของ
บรรพบุรุษมีอยู่จริง ในอดีตทุกชุมชนหมู่บ้านชาวเขมร
สุรินทร์ ต่างร่วมกันจัดงาน “พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด”
ระหว่างหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ไปถึงก่อนฤดูการผลิต
ใหญ่ “ทำนา” เพื่อเป็นศิริมงคล กระทั่งเป็นประเพณี
ประจำปีของชุมชนสืบต่อ ๆ กันมาถึงปัจจุบัน

9

บุญหมู่บ้าน

เป็นประเพณีไทยที่จัดภายในบริเวณลานกว้างๆ ใน
หมู่บ้านที่เป็นสถานที่ที่เคยจัดกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่อ
เป็นการชุมนุมชาวบ้านมาร่วมจัดงานประเพณีร่วมกัน
โดยมีรายละเอียดการจัดแตกต่างกันไป สร้างความ
สามัคคีของคนในหมู่บ้าน ให้มีความรักสามัคคี ไต่ถาม
ทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เป็นลักษณะของความเชื่อ การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วน
กุศลกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เเห่ตาปู่รอบหมู่บ้านเพื่อให้
คนในหมู่บ้านได้รดน้ำตาปู่ และก็มีเด็กๆหรือคนในหมู่บ้าน
มาช่วยกันก่อเจดีย์ทรายร่วมกัน

10

ศาสนา

วัดบ้านสะเเกซำ

ตำบลสะแกซำส่วนใหญ่ร้อยละ 95 นับถือศาสนา
พุ ทธ ส่วนที่เหลือเป็นประชากร ที่ย้ายถิ่นฐานมานับถือ
ศาสนาอื่นเป็นส่วนน้อย ตำบลสะแกซำมีทั้งหมด 19
หมู่บ้าน มี วัดจำนวน 3 แห่ง

12

อาชีพในชุมชน

กลุ่มปลูกผัก

เกษตรกรได้มีการปลูกผักเพื่อบริโภค ต่อมา
มีแนวคิดที่รวมกันซื้อปัจจัยการ ผลิตร่วมกัน ซึ่ง
เป็นการต่อรองราคาในแง่การตลาด จึงทำให้เกิด
การรวมกลุ่มเกษตรกร ปลูกผักบ้านโคกสะอาด
และบ้านสง่างามขึ้น

14

กลุ่มสินค้า OTOP

กลุ่มสินค้าโอท็อป ซึ่งจัดตั้งกลุ่มอยู่ที่บ้านสะแกซำ
หมู่ที่8 โดยมีประธานกลุ่มคือ นางรัชดาภรณ์ เรืองรัมย์
ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตพรมเช็ดเท้า ส่งไปจำหน่ายที่ตลาด
เซราะ กราวจังหวัดบุรีรัมย์ และตามท้องตลาด เพื่อดป็
นการกระจายไปสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง

15

กลุ่มทอผ้าไหม

อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของชาวตำบล
สะแกซำ พอหลังจากฤดูเก็บ เกี่ยวก็จะว่างงาน จึง
มีการรวมกลุ่มกันเลี้ยงไหม สาวไหม รวมกันทอผ้า
ไหม ซึ่งกลุ่มทอ ผ้านี้อยู่หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8 และ หมู่ที่
17 เพื่อจำหน่ายให้ท้องตลาด ซึ่งเป็นผ้าที่มี
เอกลักษณ์ของชาวตำบลสะแกซำ

16

กลุ่มจักสาน

กลุ่มจักสานเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น โดยการรวม
กลุ่มของชาวตำบลสะแกซำ รวม กลุ่มกันหลังจาก
ฤดูเก็บเกี่ยว มารวมกลุ่มกันจักสาน เช่นสานสุ่มไก่
สานข้องใส่ปลา ไซ ดักปลา ฯลฯ

17

การทำข้าวหมาก- สาโท

การรวมกลุ่มของชาวตำบลสะแกซำ รวมกลุ่ม
กันเพื่อทำไว้รับประทานใน ครอบครัวและชุมชน

18

อาหารประจำถิ่น

อันซอมอัง (ข้าวต้มมัดปิ้ ง)

20

หนมกระจ๊อบ (ขนมเทียน)

21

แกงหยวกกล้วยไก่บ้าน

22

เเกงต้นบุก

23

ตำบลสะแกซำ

อำเภอเมือง จั
งหวัดบุรีรัมย์

เสนอ
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง

จัดทำโดย
นางสาวธัญญลักษณ์ เรืองรัมย์
รหัสนักศึกษา 620112205008
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และ
สารสนเทศศาสตร์ ชั้นปีที่4

24


Click to View FlipBook Version