The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by noomabb, 2022-05-11 21:56:13

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

"คมู่ ือทักษะความฉลาดทางดจิ ิทลั สาหรบั ครู”

เสนอ
อ. ดร.สจุ ติ ตรา จันทร์ลอย
อ. ดร.สธุ ดิ า ปรชี านนท์

จัดทาโดย
นางสาวเบญจมาภรณ์ หุ่นงาม
รหัสประจาตัว 647190303

รายงานนีเ้ ปน็ ส่วนหน่งึ ของวชิ า การพฒั นาความเปน็ ครู
(GD58201)

หลกั สตู รประกาศนยี บตั รบัณฑติ สาขาวิชาชพี ครู
ปกี ารศึกษา 2564

มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คานา

เน่ืองจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันทาใหเ้ กิดแนวคิดใหม่ทางการศกึ ษามากมาย
อย่างท่ีไม่คาดคิดมาก่อน นักเรยี นต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยีดิจิตอลมากกว่าคร้ังใดๆ ที่ผ่านมา พวก
เขาใช้เวลากับส่ิงเหล่านั้นมากกว่ากับผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเสียอกี ซ่ึงตอ้ งยอมรบั กันว่าการเกดิ ข้ึนของ
เทคโนโลยีมีผลท้ังทางบวกและทางลบต่อนักเรียน ที่ให้ผลในทางลบที่พึงใส่ใจ เช่น ขาดความเอาใจใส่
ช่วงความสนใจส้ัน ใจลอย หมกมุ่น ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เก็บตัว ซึมเศร้า และอ่ืนๆ อีกมาก แต่
อย่างไรก็ตาม ผลในทางบวกก็มีเช่นกัน เป็นเหรียญอีกด้านหน่ึงท่ีต้องยอมรับความจริงกันว่าการสอนใน
โลกปจั จบุ ันจะต้องแตกตา่ งไปจากศตวรรษท่ีผ่านมา ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 ควรมีทกั ษะดจิ ติ อล เตรยี ม
ให้นักเรียนมีความพร้อมในการ ปรับตัวเพื่อการดารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมกับลักษณะที่เป็นไปในสังคม
แวดล้อมที่เปล่ียนแปลงไป ดังนั้นจึงได้จัดรวบรวม 8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลลงในรายงานเล่มน้ีเพื่อ
ประโยชน์กับครมู อื อาชีพตอ่ ไป

นางสาวเบญจมาภรณ์ หนุ่ งาม
ผ้จู ัดทา

สารบัญ หนา้

เรอ่ื ง ก

คานา 1
สารบัญ 2
8 ทกั ษะความฉลาดทางดิจิทัล 3
ทักษะท่ี 1 เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity) 4
ทกั ษะท่ี 2 การบริหารจดั การเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management) 5
ทักษะท่ี 3 การจดั การการกลน่ั แกลง้ บนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) 6
ทกั ษะที่ 4 การจัดการความปลอดภยั บนระบบเครอื ข่าย (Cybersecurity Management) 7
ทักษะที่ 5 การจัดการความเป็นสว่ นตวั (Privacy Management) 8
ทกั ษะท่ี 6 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 9
ทักษะที่ 7 รอ่ งรอยทางดจิ ิทัล (Digital Footprints) 10
ทักษะท่ี 8 ความเห็นอกเหน็ ใจและสรา้ งสมั พันธภาพทีด่ ีกบั ผู้อ่ืนทางดจิ ทิ ลั (Digital Empathy)
บทสรปุ
บรรณานกุ รม
ประวตั ิผู้จดั ทา

8 ทักษะความฉลาดทางดจิ ิทลั

ความฉลาดทางดจิ ทิ ลั (Digital intelligence)
ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ( Digital Citizenship) เป็นพลเมืองท่ีมี

ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจดั การ ควบคมุ กากับตน รู้ผิดรู้ถูก
และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม มีความ
รับผิดชอบ เรียนรู้ท่ีจะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย พลเมืองดิจทิ ัลจึง
ต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทลั เข้าใจถงึ สทิ ธิและความรบั ผดิ ชอบ
ในโลกออนไลน์ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล นับเป็นมาตรฐานหนึ่งด้านทางเทคโนโลยี
การศึกษาที่เสนอโดยสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE : International
Society for Technology in Education) เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถแสดงความ
เข้าใจประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
สารสนเทศ และปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตามครรลองกฎหมายให้ใช้ข้อมูล
ข่าวสารได้อย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย ซึ่งมีความสาคัญในทักษะแห่งการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 ทักษะสาคญั ทีจ่ ะทาให้เป็นพลเมืองดจิ ิทลั ที่สมบูรณ์

ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นผลจากศึกษาและพัฒนาของ DQ institute
หน่วยงานท่ีเกิดจากความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนท่ัวโลกประสานงาน
ร่วมกับ เวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ที่มุ่งม่ันให้เด็ก ๆ ทุก
ประเทศได้รับการศึกษาด้านทักษะพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลก
ออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความฉลาดทาง
ดิจิทัล เป็นกรอบแนวคิดท่ีครอบคลุมของความสามารถทางเทคนิคความรู้ความ
เขา้ ใจและความคดิ ทางสงั คมที่มพี ืน้ ฐานอยใู่ นคา่ นยิ มทางศลี ธรรมทช่ี ่วยใหบ้ คุ คลทจ่ี ะ
เผชิญกบั ความท้าทายทางดจิ ิทลั ความฉลาดทางดิจทิ ลั มีสามระดับ 8 ด้าน และ 24
สมรรถนะท่ีประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยม โดยบทความนี้จะ
กล่าวถึงทักษะ 8 ด้านของความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัล ซึ่งเป็นความ
สามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและส่ือในรูปแบบที่ปลอดภัยรับผิดชอบ และมี
จรยิ ธรรม ดังน้ี

1.เอกลกั ษณพ์ ลเมืองดจิ ทิ ลั (Digital Citizen Identity)

เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล เป็นความสามารถสร้างและบริหารจัดการอัต
ลักษณ์ที่ดีของตนเองไวไ้ ด้อยา่ งดีท้ังในโลกออนไลน์และโลกความจรงิ อัตลักษณ์ท่ีดคี ือ
การท่ีผู้ใช้ส่ือดิจทิ ัลสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแงบ่ วก ท้ังความคิด
ความรู้สึก และการกระทา โดยมีวิจารณญาณในการรับส่งข่าวสารและแสดงความ
คิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อ
การกระทา ไม่กระทาการทผี่ ิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เชน่ การละเมิด
ลิขสิทธิ์ การกลนั่ แกลง้ หรือการใชว้ าจาทสี่ ร้างความเกลยี ดชงั ผู้อ่นื ทางสื่อออนไลน์

ตัวอย่าง

ในโลกโซเชียลที่ไม่มีความลับแห่งนี้ หากเร่ืองที่ทาให้ภาพลักษณ์ของตัวเรา
เส่ือมเสียนั้นถูกเปิดเผยบนโซเชียลมีเดีย เราควรมีแผนรองรับอย่างดี หนึ่งในการ
แก้ปัญหาท่ีดีท่ีสุด คือ การแสดงความเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้น คาอธิบายที่จริงใจ และ
ความเขา้ ใจในข้อจากัดของสงั คมและตัวเราเอง การขาดการไตรต่ รองกอ่ นทจี่ ะลงมือ
สิ่งตา่ งๆ อาจส่งผลกระทบตอ่ ภาพลกั ษณ์ของตัวเราเองในอนาคต

2.การบริหารจดั การเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถควบคุมตนเอง
ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการ ใช้งานอุปกรณด์ ิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยี
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อสังคม (Social Media) และเกม
ออนไลน์ (Online Games) ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาท่ี
ใชอ้ ุปกรณ์ยคุ ดิจิทลั รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และ
โลกความเป็นจริง อีกท้ังตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพจากการใช้เวลาหน้าจอ
นานเกินไป และผลเสียของการเสพติดสอื่ ดจิ ิทัล

ตวั อย่าง

3.การจดั การการกลน่ั แกลง้ บนไซเบอร์ (Cyberbullying
Management)

การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการป้องกัน
ตนเอง การมีภูมิคุ้มกันในการรับมือและจัดการกับ สถานการณ์การกล่ันแกล้งบน
อินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญฉลาด การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเคร่ืองมือหรือช่องทางเพื่อ
ก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเ ทอร์เน็ตและสื่อสังคม
ออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึง เด็กวัยร่นุ การกลนั่ แกล้งบนโลก
ไซเบอร์คล้ายกันกับการกล่ันแกล้งในรูปแบบอ่ืน หากแต่การกล่ันแกล้งประเภทนี้จะ
กระทาผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้ง
อาจจะเป็นเพื่อนร่วมช้นั คนรู้จกั ในส่ือสังคมออนไลน์ หรอื อาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็
ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทาจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งรูปแบบของการกลั่นแกล้งมักจะ
เป็นการว่าร้าย ใส่ความ ขู่ทาร้าย หรือใช้ถ้อยคาหยาบคาย การคุกคามทางเพศผ่าน
สื่อออนไลน์ การแอบอ้างตวั ตนของผู้อืน่ การแบล็กเมล์ การหลอกลวง การสรา้ งกลุ่ม
ในโซเชยี ลเพอ่ื โจมตีโดยเฉพาะ

ตัวอย่าง

4.การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย (Cybersecurity
Management)

การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความสามารถใน
การสารวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ในระบบเครือข่าย ป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยท่ีเข้มแข็ง
และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการถูกโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการ
รักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์การรักษาความปลอดภัยของ
ตนเองในโลกไซเบอร์ คือการปกป้องอุ ปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลท่ีจัดเก็บและข้อมูล
สว่ นตวั ไมใ่ หเ้ สยี หาย สูญหาย หรอื ถกู โจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์

ตัวอยา่ ง

-กาหนดระดับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ – ระบุพื้นที่เสี่ยงในโลกออนไลน์ของคุณ
และวางแผนรับมือตอ่ ความพยายามในการโจมตี
-จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ – ให้แนวทางปฏิบัติที่ดีท่ีสุด
โดยใช้อินเทอรเ์ น็ต เครอื ข่าย และแอปพลิเคชนั
-สารองข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ – การสารองข้อมูลไฟล์ในระบบคลาวด์อย่าง
ปลอดภยั ซึง่ เป็นสว่ นหนงึ่ ของการวางแผนความตอ่ เนื่องทางธุรกิจ ซ่ึงจะช่วยปกปอ้ ง
คณุ ในกรณีทข่ี อ้ มลู ถูกขโมยไป
-ป้องกันรหัสผ่านทั้งหมด – ตรวจสอบให้แน่ใจมีรหัสผ่านที่รัดกุม และไม่ซ้าใครใน
บญั ชีตา่ ง ๆ ควรใหพ้ นักงานเปลี่ยนรหัสผา่ นอยา่ งน้อยทุก ๆ สามเดอื น
-ระมัดระวังอุปกรณ์ – ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบ และแอปพลิเคชันความปลอดภัย
ด้วยการอัปเดตอัตโนมัติ สร้างเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) สาหรับผู้ปฏิบัติงาน
ระยะไกล เป็นต้น

5.การจัดการความเปน็ สว่ นตวั (Privacy Management)

การจัดการความเป็นส่วนตัว เป็นความสามารถในการจัดการกับความเป็น
ส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น การใช้ข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน การแบ่งปันผ่านสื่อ
ดิจทิ ัล ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการ รู้จักปอ้ งกันขอ้ มลู สว่ นบุคคลของตนเอง เชน่ การ
แชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเคร่ืองมือดิจิทัล การขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมี
ความสามารถในการฝึกฝนใช้เคร่ืองมอื หรือวิธกี ารในการป้องกันข้อมูลตนเองไดเ้ ป็น
อย่างดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ เพ่ือรักษาความเป็น
ส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือสิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวใน
โลกออนไลน์ของผู้ใช้งานที่บุคคลหรือการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รวมถึงการใช้
ดลุ ยพนิ จิ ปกป้อง ข้อมูลสว่ นบุคคลและขอ้ มลู ทีเ่ ปน็ ความลบั ของผูอ้ ่นื

ตัวอย่าง

6.การคิดอยา่ งมีวจิ ารณญาณ (Critical Thinking)
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการ

ตัดสินของบุคคลว่าควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ ควรทา หรือไม่ควรทาบน
ความคิดเชิงเหตุและผล มีความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะ
ระหว่างข้อมูลท่ีถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลท่ีมีเนื้อหาเป็น
ประโยชน์และข้อมูลท่ีเข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ท่ี
น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเช่ือถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหา
ใดมีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และ
ประเมิน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลท่ีหลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการ
หลอกลวงต่าง ๆ ในส่ือดิจิทัล เช่น ข่าวปลอม เว็บไซต์ปลอม ภาพ
ตัดต่อ ข้อมลู อันท่เี ทจ็ เป็นต้น
ตัวอยา่ ง

7.รอ่ งรอยทางดิจทิ ลั (Digital Footprints)

ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของ
การใช้ชีวิตในโลกดิจทิ ัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ ร่องรอย
ทางดิจิทัล อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ท่ีเกิดจากร่องรอยทางดิจิทัล
เข้าใจผลลัพธ์ท่ีอาจเกิดข้ึน เพื่อนามาใช้ในการจัดการกับชีวิตบทโลก
ดจิ ิทัลดว้ ยความรบั ผิดชอบ ขอ้ มูลรอ่ งรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน
อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เม่ือถูกส่งเข้าโลก
อินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ ให้ผู้อื่น
สามารถตดิ ตามได้ และจะเป็นขอ้ มลู ท่รี ะบตุ ัวบุคคลไดอ้ ย่างงา่ ยดาย

ตวั อยา่ ง

8.ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพท่ีดีกับผู้อ่ืนทางดิจิทัล
(Digital Empathy)

ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล
เป็นความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น การตอบสนองความต้องการของ
ผู้อื่น การแสดง ความเห็นใจและการแสดงน้าใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัล
ได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู
เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูล
ออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ท่ีต้องการ
ความช่วยเหลือในโลกออนไลน์
ตัวอย่าง

ในสังคมหลายๆ ระดับท่ีมีความขัดแย้ง ตั้งแต่หน่วยที่เล็กท่ีสุดในบ้านอย่าง
ครอบครัว ไปจนถึงหน่วยย่อยท่ีโตข้ึนอย่างองค์กรท่ีทางาน หรือสังคมที่กว้างใหญ่ไปกว่านั้น
ความสัมพันธ์ของผู้คนดูเหมือนจะเปราะบาง บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่าแม้พยายามที่จะสื่อสาร แต่
กลับไม่เข้าใจตรงกันสักที สง่ ผลเป็นรอยร้าวและบาดแผลต่อท้ังความสัมพันธ์ สุขภาพจิต และ
ประสิทธิภาพในการทางานน่าสนใจท่ีผู้เช่ียวชาญเผยว่ามีเครื่องมือสาคัญอย่างหนึ่งที่อาจช่วย
ให้เราสื่อสารและเข้าใจกันได้มากขึ้น เป็นกาวใจท่ีจะคอยประสาน เป็นกุญแจที่ชว่ ยใหส้ ังคมน้ี
มองเห็นกันถึงความเป็นมนุษยท์ ่ีอยู่ตรงหน้า และเคร่ืองมอื สาคัญท่ีวา่ นน้ั ก็คือ การสื่อสารอย่าง
เห็นใจ หรอื Empathic Communication

สรปุ

จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลเป็น
ทักษะที่สาคัญสาหรับนักเรียน และบุคคลท่ัวไปในการสื่อสารในโลก
ออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหารจัดการ
เวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการการกล่ันแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการ
ความปลอดภยั บนระบบเครือข่าย การจัดการความเปน็ ส่วนตัว การคิด
อย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็นอกเห็นใจและสร้าง
สัมพันธ ภาพที่ดีกับผู้อื่ นทาง ดิจิทัล หากบุคคลมีทักษะและ
ความสามารถท้ัง 8 ประการจะทาให้บุคคลน้ันมีความสามารถในการ
ใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กากับตน รู้ผิดรู้ถูก และ
รู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม
เรียนรูท้ ่จี ะใชเ้ ทคโนโลยอี ย่างชาญฉลาด และปลอดภยั



บรรณานุกรม

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนลิ ./(2562).//ความฉลาดทางดจิ ทิ ลั (Digital intelligence)./สืบค้น /2 พฤษภาคม 2565,// from/
https://www.scimath.org/article-technology/item/10611-digital intelligence
มลู นธิ สิ ง่ เสริมส่อื เด็กและเยาวชน./(2563).// “ทกั ษะในการรกั ษาข้อมลู สว่ นตวั ” (PRIVACY MANAGEMENT)./สบื ค้น
/2 พฤษภาคม 2565,// from/http://www.childmedia.net/archives/241


Click to View FlipBook Version