The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ฐานภูมิปัญญา1

ฐานภูมิปัญญา1

ฐานภูมิปัญญา สรรพวิชาที่ควรรู้ อยู่คู่สังคมไทย ขยายผล จุดประกาย ทนสู้ รู้คิด ฉลาดคิด ฉลาดท า พึ่งตนเอง กศน.ต าบลบ้านหลุม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอเมืองสุโขทัย


บทน า กระบวนการเรียนรู้พึ่งตนเอง เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน แต่ กระบวนการต้องรู้จักตัวเองก่อนว่ามีปัญหาอะไร แล้วพัฒนาให้เกิด ปัญญา แล้วน า ปัญญาไปแก้ไขปัญหาของตนเอง เป็นหลักการที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุด และสามารถ ท าได้ในระยะเวลาสั้น กระบวนการเรียนรู้พึ่งตนเองเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ยากที่สุด ในยุคที่ประชาชนส่วนใหญ่มีค่า่นิยมสูงแต่เศรษฐกิจตกต่ าการพัฒนามุ่งสโครงการ ต่างๆซึ่งมีงบประมาณ(เงิน) ข้าราชการคนไหน ท างานไม่มีโครงการ ก็ไม่มีผลงาน เศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการพระราชด าริฯ สามารถแก้ปัญหาความยากจนแป้ญ หาหนี้สินได้กระบวนการเปลี่ยนวิธีคิดชีวิตจะเปลี่ยนไป เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ว่า ท าใช้เองทุกอย่าง ไม่ต้องซื้ออะไร ให้ท าเพียง 1 ใน 4 ส่วน ก็สามารถด ารงชีวิตได้ อย่างมีความสุข ถอยหลังมาหนึ่งก้าว เพื่อเดินหน้าอย่างยั่งยืนนั้น ถอยหลังมาเพื่อใช้ ภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่มีบทบาทต่อชีวิต ขณะนี้ภูมิปัญญา ชาวบ้านนั้น คนรุ่นใหม่เริ่มเลือนหายไป หนังสือเล่มนี้กระผมได้รวบรวมเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อกระบวนการเรียนรู้ พึ่งตนเอง แผนชีวิตครอบครัว จากผู้รู้ จากค าบอกเล่าของเกษตรกร จากสารพัด เอกสารต ารา จากหนังสือภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรกรรมไทย แม้ไม่มีความรู้เชิง วิชาการแต่ก็หาความรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วย วิธีสังเกตุหรือลองผิด ลองถูก แม้ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ใช้วิธีบอกกล่าวเล่าขานสืบต่อ กันมา เป็นฐานภูมิปัญญา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น หากยุคนี้น าหลักกาทั้งฐานภูมิปัญญามาผสมผสานกับ ภูมิปัญญาวิชาการสมัยใหม่อย่างถูกต้องตามสภาวการณ์ แล้ว ย่อมประสบกับความล้ าเร็จอย่างเเน่นอน นายอุดมศักดิ์ ชูยิ้ม ครู กศน.ต าบลบ้านหลุม รวบรวมข้อมูล


ขอขอบคุณ - หนังสือฐานภูมิปัญญา ของนายประเสริฐ ปิ่นนาค - นางมารศรี ศรีม่วง ปราชญ์ชาวบ้านต าบลบ้านหลุม - บ้านแสนรัก


สารบัญ แก้น ้ำในบ่อขุดใหม่ขุ่น 1 เรื่อง หน้า แก้น้ าบ่อขุดใหม่ซึมหายลงดิน 1 ไก่ฟังเพลงไข่ดก 2 เลี้ยงแพลงค์ตอน (น้ าเขียว) 4 สมุนไพรป้องกันโรคไก่ 2 ปัญหามูลไก่บนบ่อปลา 5 ก าจัดหอยเชอรี่ 6 ก าจัดปลิงในน้ า 12 ก าจัดหญ้าคา 12 ปุ๋ยบ ารุงมะพร้าว 22 ไอเสียกระตุ้นมะพร้าวออกดอก 23 ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน 17 ก าจัดวัชพืชในนาข้าว 14 ป้องกันก าจัดด้วงงวงเจาะยอดมะพร้าว 23 ปลูกมะพร้าวโดนเล็กโคนใหญ่ 23 กล้าพันธุ์มะพร้าว 24 เลือกต้นพันธุ์ขนุน 25 กล้าต้นพันธุ์ไม้ทั่วไป 25


แก้น ้ำในบ่อขุดใหม่ขุ่น ความขุ่นของน้ าเกิดจากฝุ่นตะกอนดินที่ไหลมา พร้อมกับน้ าใหม่หรือ เกิดจากปลาประเภทชอบขุดคุ้ยดิน (ปลาดก) แก้ไขได้ดังนี้ - ปล่อยผักปอดลงไป เพื่อให้รากผักปอดดูดชับฝุ่นละอองดิน - ใส่กิ่ง/ใบสดมะขามป้อมปล่อยให้เน่า สารแทนนินในมะขามป้อมสามารถ ปรับน้ าขุ่นให้เป็นน้ าใสได้ใส่ปุ๋ยน้ าชีวภาพหมักดีแล้วหรือใส่จุลินทรีย์เปล่า ๆ ลงไปเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฝุ่นตะกอนดินแล้วจมลงสู่พื้นกันบ่อ ปล่อยน้ าใหม่ใสกว่าเข้าข้าๆ เพื่อให้น้ าใหม่(ใส) ดันน้ าเก่า(ขุ่น) ออกไป แก้น้ าบ่อขุดใหม่ซึมหายลงดิน สาเหตุบ่อใหม่เก็บน้ าไม่อยู่เป็นเพราะมีช่องว่างระหว่างเม็ดดิน หรือเม็ดดินขนาดใหญ่หยาบ แก้ไขด้วยกระบวนการจุลินทรีย์ ดังนี้ - หว่านปุ๋ยคอกสดใหม่หรือเก่าแห้งก็ได้หว่านให้ทั่วพื้นที่บ่อ ทิ้งไว้ให้ เกิดน้ าเขียว สีเขียวของน้ าที่เห็นคือแพลงค์ตอนซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว แพลงค์ตอนจะลงไปอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดินเป็นการปิดช่อง ไม่ให้น้ าซึมลงไปใต้ดินได้ - หว่านฝุ่นดินละเอียดให้ทั่วบ่อจนกระทั่งน้ าขุ่น ยิ่งขุ่นมากยิ่งดีแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ฝุ่นดินตกตะกอนลงไปอยู่กันบ่อหรือใส่ปุยชีวภาพหมักดี แล้ว จุลินทรีย์ในปุยน้ าชีวภาพจะย่อยสลายฝุ่นดินลงไปปิดช่องว่าง ระหว่างเม็ดดินไม่ให้น้ าซึมลงไปใต้ดินได้ กลับสารบัญ 1


ไก่ฟังเพลงไข่ดก ไก่ไข่ในกรงถ้ามีเสียงดังมากๆ เช่นจักรยานยนต์ เรือยนต์ หรือเสียงอื่น ดังขึ้นอย่างฉับพลันโดยไก่ไม่ทันรู้ตัว ถ้าเป็นไก่ไข่ แม่ไก่จะตกใจอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ไม่ออกไข่หรือทั้งแม่ไก่ไข่และไก่ตัวผู้ตกใจอย่างรุนแรง ชนกรง ถึงกับบาดเจ็บ วิธีแก้ไขก็คือ ท าให้ภายในโรงเรือน มีเสียงอยู่เสมอตลอดเวลา เพื่อให้ไก่ คุ้นเคยแล้วจะไม่ตกใจเมื่อได้ยินเสียง ดังๆ อย่างฉับพลันการเปิดเสียงเพลงตลอดเวลา นอกจากไก่จะคุ้นเคยกับ เสียงแล้วคนเลี้ยงหรือคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็ได้รับความเพลิดเพลินไปด้วยไก่ฟัง เพลงไม่รู้เรื่องแต่คุ้นเคยกับเสียงดัง ๆ เมื่อแม่ไก่ไม่เกิดอาการตกใจอย่าง รุนแรงก็จะออกไข่ตามปกติ สมุนไพรป้องกันโรคไก่ สูตร 1 ฟ้าทะลายโจรแก่จัดทั้งตัน ตากแดดแห้งสนิท บดละเอียดจน เป็นผง 1 ก.ก. ผสมกับอาหารไก่ 100 ก.ก. ให้ไก่กินประจ าตั้งแต่เกิด สามารถช่วยป้องกันโรคท าได้ ไก่จะสมบูรณ์แข็งแรงและโตเร็ว สูตร 2 ปุ๋ยน้ าชีวภาพหมักดีแล้ว1-2 ซีซี ผสมน้ าสะอาด 10-20 ลิตร ให้ไก่กินเป็นประจ า จุลินทรีย์มีประโยชน์ในปุ๋ยน้ าชีวภาพสามารถช่วยก าจัด จุลินทรีย์เชื้อโรคในร่างกายไก่ช่วยป้องกันโรคทางระบบย่อยอาหารและอื่นๆ ได้ดี กลับสารบัญ 2


สูตร 3 ใบสดแก่ตันเหงือกปลาหมอตัวเมีย ทุกส่วนของฟ้าทะลาย โจรสดแก่ ลูกใต้ใบสดแก่ ใบตันขาไก่ค าสดแก่ อย่างละเท่าๆกัน โขลก พอแหลก น้ าที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในภาชนะที่ไม่ไซโลหะ ใส่กากน้ าตาล 1 ส่วนต่อพืชสมุนไพร 3 ส่วน ใส่น้ ามะพร้าวพอท่วม ใส่จุลินทรีย์ (ติด เปลือกสับปะรด แป้งข้าวหมาก ยาคูลท์ น้ าหมักชีวภาพ อย่างใดอย่าง หนึ่ง) เล็กน้อยเก็บในร่ม คนวันละ 2 -3 ครั้ง หมักนาน 10 วันขึ้นไป ได้ หัวเชื้อสมุนไพรหมัก ยิ่งหมักนานยิ่งดี เก็บรักษาได้นานนับปี วิธีใช้และอัตราใช้ หัวเชื้อสมุนไพรหมัก 5-10 ชีชี+น้ า 20 ลิตร ให้ไก่กินทุกวันตั้งแต่ เกิดสามารถช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคและช่วยให้ไก่โตเร็วสมบูรณ์ แข็งแรงดี (สูตร วันเพ็ญสนลอย สวนวันเพ็ญพันธุ์ไม้ 62/1 หมู่ 5 ต.ไม้ เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรึ) สูตร 4 เถาบอระเผ็ดสดแก่ ตัดเป็นท่อนขนาด 2 ข้อนิ้วมือไม่ต้อง ทุบแช่น้ าให้ไก่กินทุกวันตั้งแต่เกิด สามารถช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคและ ช่วยให้โตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง เนื่องจาก บอระเพ็ดมีรสขม ไก่โตอาจไม่ กิน แต่ไก่เล็กที่ฝึกให้กินตั้งแต่เกิดจะเคยชินแล้วยอมกินน้ าบอระเพ็ด กลับสารบัญ 3


กลับสารบัญ 4 เลี้ยงแพลงค์ตอน (น้ าเขียว) ก่อนการปล่อยปลากินแพลงค์ตอนหรือกินพืชลงบ่อควรท าน้ าให้ เป็นสีเขียวหรือท าแพลงค์ตอนให้เกิดในน้ าอย่างเพียงพอส าหรับเป็น อาหารปลาก่อน โดยมีวิธีท าเองอย่างง่าย ๆ ดังนี้ - หว่านปุ๋ยคอกแห้งหรือสดลงไปในน้ า โดยการหว่านให้กระจายทั่ว บ่อหรือเฉพาะบางจุด(ริมบ่อ) หรือใส่กระสอบ / ถุงไนล่อนวางตามจุด ต่าง ๆ ทั่วบริเวณบ่อ ปล่อยให้จุลินทรีย์จากปุ๋ยคอกเกิดขึ้นเองแล้วพัฒนา เป็นแพลงค์ตอนกระจายไปทั่วบ่อต่อไป - ทิ้งเศษใบพืชแห้ง (ฟาง หญ้า ใบไม้) หรือหญ้าสด (แห้งดีกว่าสด) แบบเป็นกองลงไปที่ก้นบ่อหรือใส่กระสอบไนล่อน ปล่อยแช่ทิ้งไว้ในน้ า จะเกิดจุลินทรีย์และแพลงค์ตอนเองหว่านปุ๋ยชีวภาพ ให้กระจายทั่วบ่อ ปุ๋ยชีวภาพ ท าให้เกิดแพลงค์ตอนเองปล่อยทิ้งไว้จนน้ าเป็นสีเขียว เรียกว่า น้ าเขียว สีเขียวที่เห็นคือแพลงค์ตอนอาหารธรรมชาติส าหรับ ปลากินพืช


กลับสารบัญ 5 ปัญหามูลไก่บนบ่อปลา ปัญหาการเลี้ยงไก่บนบ่อปลาอย่างหนึ่งก็คือ การมีมูลไก่มาก เกินไปจนกระทั่งปลากินไม่ทันหรือกินไม่หมด มูลไก่ตกค้างจ านวนมาก ท าให้เกิดผลเสีย คือ - เกิดแก๊ซแอมโมเนียมากท าให้ปลาหายใจไม่สะดวก - เกิดแพลงค์ตอนมากท าให้แย่งออกชิเจนจากปลา - ปลามีกลิ่นคาวจัดและล าตัวมีสีด าคล้ าไม่น่ารับประทาน วิธีแก้ไข - ลดปริมาณมูลไก่ที่ลงสู่น้ าในบ่อด้วยการใช้ตาข่ายไนล่อนหรือ วัสดุใดๆ ก็ได้ รองรับมูลไก่ที่ไก่ถ่ายออกมาไว้ไม่ให้ตกลงไปในน้ า - ถ่ายน้ าเก่าออก 1 ใน 3 ส่วน แล้วเติมน้ าใหม่เข้าไปจนเต็ม - ลดจ านวนไก่ให้เหลือน้อยลงเพื่อลดปริมาณมูลไก่


กลับสารบัญ 6 ก าจัดหอยเชอรี่ สูตร 1 ใช้ลูกมะกรูดสดแก่จัดใส่ตะกร้าเขย่าแรง ๆ ให้ผิวซ้ าแล้วผ่าเป็น2 ซีก หว่านลงในนาข้าวที่มีระดับน้ าประมาณ 1-2 ฝามือ ให้มะกรูดผ่าชีคแต่ละ ชิ้นตกห่างกันประมาณ 10-15 เมตร กระจายทั่วนา ในช่วงก าลังระบาดเพื่อ การก าจัด หรือใช้ช่วงก่อนการระบาดเพื่อป้องกัน หอยเชอรี่ เมื่อสัมผัสกับน้ ามันมะกรูดจะหายใจไม่ออกแล้วตาย (สูตร ปรีชา เรือนเย็น ร.พ.สวรรค์ประชารักษ์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์) สูตร 2 ใส่ปุ๋ยน้ าชีวภาพ อัตรา 1-2 ลิตร/ไร่ ลงไปผสมกับน้ าระดับอีก1 ฝ่ามือ หรือปล่อยไปพร้อมกับน้ าจังหวะสูบน้ าเข้า กลิ่นและสารในปุ๋ยน้ าชีวภาพจะ ช่วยขับไล่หอยเชอรี่ให้หนีไป ถ้าไม่หนีก็ต้องเป็นอัมพาตไม่สามารถกิน อาหารได้ ไม่นานก็ตายไปเอง สูตร 3 ใช้กากชาหรือกากใบชาที่ชงน้ าซากินจนจืดแล้วหว่านลงในบริเวณที่ หอยเชอรี่อยู่อาศัย สารออกฤทธิ์ในกากใบชาจะท าให้หอยเชอรี่ตาย สูตร 4 ใช้ ต้น/ใบ/ดอก ยาสูบสดอายุ 5 เดือนขึ้นไปถึงแก่จัดบดละเอียด 1 กก แช่น้ าเปล่ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน ได้น้ าหัวเชื้อพร้อมใช้งาน น าน้ าหัวเชื้อ ไม่เจือจางน้ าเปล่าสาดให้ทั่วพื้นนาที่มีระดับน้ าประมาณ 1-2 ฝ่ามือ หรือ ปล่อยไปพร้อมกับช่วงสูบน้ าเข้านา ท าให้หอยเชอรี่/ปลิง/กากกุ้งตายแต่ ปลา/กบ/เขียด/อื่งอ่าง/คางคกไม่เป็นอันตราย


กลับสารบัญ 7 สูตร 5 ล่อหอยเชอรี่ให้มาติดกับดัก โดยการหาพื้นที่บริเวณท้ายน้ า ซึ่งเป็น ที่ลุ่มต่ าสุดของพื้นที่ มีร่มไม้บังแดด ถ้าไม่มีร่มไม้ตามธรรมชาติก็ให้ท า หลังคาเพิงหมาแหงน ขุดดินบริเวณร่มงาให้เป็นแอ่งลึกกว่าผิวพื้นดิน ปกติประมาณ 20-30 ซม.วางตะแกรงหรือตาข่ายไนล่อนลงไปกั้นเองใส่ ใบสดต าลึงหรือใบสดมันส าปะหลังหรือใบสดมะละกอ (อย่างใดอย่าง หนึ่งหรือทลายอย่าง) ลงไป จากนั้นปล่อยน้ าออกจากนาให้ไหลช้า ๆ น้ า จะไหลจากด้านสูงของพื้นที่ไปทางด้านต่ ากว่าของพื้นที่ เมื่อหอยเชอรี่ รู้ตัวว่าน้ าก าลังเริ่มแห้งก็จะออกเดินทางตามสายน้ าไหลไป จนมาถึงแอ่ง ที่ขุดดักเอาไว้ซึ่งมีความลึกมากกว่า หอยเชอรี่รู้ว่าน้ าในแอ่งไม่แห้งแน่ แถมมีอาหารของชอบให้กินด้วยก็จะเข้าไปกินอาหารเหยื่อล่อด้วยความ เอร็ดอร่อย จากนั้นก็ให้จับหอยเชอรี่น าไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องออก แรง หมายเหตุ การฆ่าหอยเชอรี่ให้ตายในเนื้อดินเมื่อใครย่ าเท้าเปล่าลง ไปมีสิทธิ์ถูกคมเปลือกหอยเชอรี่บาดเท้าแน่ เพราะเปลือกหอยฝังอยู่ใต้ ดินได้นานนับปีถึงหลาย ๆ ปี


กลับสารบัญ 8 การจัดการหอยเชอรี่ให้ประสบผลส าเร็จ จ าเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวจะท าให้การก าจัดไม่ได้ผล อีกทั้งยัง ต้องใช้สารเคมีในปริมาณมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรค านึงว่าการจัดการ หอยเชอรี่ที่ดีที่สุดคือใช้วิธีผสมผสานโดยปฏิบัติดังนี้ 1.ใช้วัสดุกั้นทางที่ไขน้ าเข้านา หอยเชอรี่แพร่กระจายและระบาดเข้าสู่ นาข้าว โดยทางน้ าเท่านั้น ดังนั้นทุกครั้งที่สูบน้ าเข้านาไม่ว่าจะเป็นนาด า หรือนาหว่านให้ใช้เฝือกกันสวะและหอยที่มีขนาดใหญ่ก่อน แล้วจึงกั้นตาม อีกชั้นด้วยตาข่ายไนล่อนตาถี่ ต้องเก็บหอยและสวะออกจากตาข่ายเพื่อ ไม่ให้กีดขวางทางน้ าเข้าอย่างสม่ าเสมอ 2.ท าลายตัวหอยและไข่ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในเวลาเช้าหรือเย็น โดยใช้กระชอนที่มีด้านยาวช้อนตัวหอยและไข่ ซึ่งตัวหอยจะอยู่บริเวณที่ลุ่ม หรือที่ร่มข้างคันนา ส่วนไข่มักจะติดอยู่ตามต้นข้าวและวัชพืช ทั้งนี้เพราะ ถ้าปล่อยทิ้งให้หอยอยู่ในนาข้าว หอยจะกัดกินต้นข้าวและวางไข่ แพร่ ลูกหลานอีกจ านวนมาก 3.การน าหอยเชอรี่มาท าประโยชน์ เช่น ท าอาหารบริโภคในครัวเรือน น ามาจ าหน่ายหรือน ามาเป็นอาหารสัตว์ต่าง ๆ แต่ไม่ควรเก็บหอยเชอรี่จาก บริเวณที่ใช้สารเคมีหรือแหล่งน้ าบริเวณอุตสาหกรรมมาใช้อย่างเด็ดขาด และการน าหอยเชอรี่มาท าปุ๋ยน้ าหมัก


กลับสารบัญ 9 4.ใช้สารฆ่าหอย เพื่อก าจัดหอยที่ฝังตัวจ าศีลค้างอยู่ในนาตั้งแต่ฤดูที่ แล้ว การใช้สารฆ่าหอยจะต้องใช้ขณะที่น้ าในนาสูง 5 ซม. และต้องฉีดพ่น ให้มากขึ้นในบริเวณที่ลุ่ม ซึ่งหอยมักจะรวมกันเป็นจ านวนมาก ดังนั้นในนา ด าจึงต้องพ่นให้มากขึ้นในบริเวณที่ลุ่ม ซึ่งหอยมักจะรวมกันเป็นจ านวน มาก ดังนั้นในนาด าจึงต้องพ่นให้มากขึ้นในบริเวณที่ลุ่ม ส่วนในนาหว่านน้ า ตมให้ใช้สารฆ่าหอยหลังจากหว่านข้าวและไขน้ าเข้านา 1 – 2 ซม. และ ระดับ น้ าสูงคงที่ 5 ซม. ข้อส าคัญในการใช้สารฆ่าหอยคือจะต้องใช้เพียง ครั้งเดียวต่อฤดูปลูกข้าว ใช้ในวันที่ฝนไม่ตกและใช้เฉพาะที่กองกีฎและสัตว วิทยา กรมวิชาการเกษตรแนะน าเท่านั้น 5.ควบคุมระดับน้ า ภายหลังใส่สารอย่างน้อย 2 วัน ต้องควบคุมให้ ระดับน้ าสูงเฉลี่ย 5 ซม. ทั้งนี้เพื่อรักษาความเข้มข้นของสารฆ่าหอยที่ใส่ลง ในนาข้าว ถ้าน้ ามากหรือน้อยเกินไปปริมาณสารที่หอยได้รับจะไม่เพียง พอที่จะท าให้หอยตาย หลังจากระยะนี้ผ่านไปแล้ว ถ้าหากเป็นไปได้ควรลด ระดับน้ าในนาให้ต่ าที่สุด เพื่อป้องกันหอยที่เหลือกัดท าลายต้นข้าว


กลับสารบัญ 10 การป้องกันและก าจัดโดยวิธีผสมผสาน เนื่องจากหอยเชอรี่ เป็นหอยที่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ระบาดแพร่กระจายโดยลอยไปตามน้ าไหล กินพืชน้ าได้เกือบทุกชนิด วิธีการ ป้องกันและก าจัดที่ให้ผลดีควรจะป้องกันและก าจัดโดยวิธีผสมผสาน ซึ่งเป็น การน าเอาวิธีการป้องกันหลาย ๆ วิธีมาด าเนินการ ในระยะเวลาที่เหมาะสม และตามความจ าเป็นคือ 1. วิธีกล 1.1 เก็บกลุ่มไข่และตัวหอยมาบดท าลายหรือบดหอยเชอรี่ใช้เป็น อาหารสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ ปลา กะ ตะพาบน้ า หรือเลี้ยงเป็ด ก่อนปลูกข้าว หรือหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วควรท าอย่างต่อเนื่องตลอดปี หาก เกษตรกรจะน าเนื้อหอยมาประกอบเป็นอาหารบริโภคจะต้องต้มให้สุกก่อน เสมอ เพื่อฆ่าตัวพยาธิที่อาจติดมากับหอย และการจับหอยเชอรี่มาบดเพื่อท า ปุ๋ยน้ าหมักใช้กับพืชต่าง ๆ 1.2 ใช้ตาข่ายไนล่อนชนิดตาถี่ ดักจับหอยเชอรี่ขณะสูบน้ าเข้านา 1.3 เมื่อเตรียมเทือกเพื่อหว่านเมื่อปักด าเสร็จแล้ว ควรทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ให้มีน้ าขังอยู่ในระดับ 5 – 10 ซม. และหาที่ก าบังร่ม ใช้ใบหญ้าอ่อนล่อให้ หอยเชอรี่มากิน แล้วคอยเก็บหอยที่มากินหรือมาหลบแดด น ามาท าลายหรือ ท าประโยชน์ให้หมด


กลับสารบัญ 11 2. ชีววิธี 2.1 ใช้สัตว์ตัวน้ า เช่น นกปากห่าง นกกระยาง นกอีลุ้ม เป็ด ฯลฯ กินหอยเชอรี่เป็นอาหารในฤดูปลูกข้าว ทั้งก่อนเพาะปลูกหรือหลังการเก็บ เกี่ยวข้าว โดยอาจปล่อยฝูงเป็ดเข้าไปในนา เพื่อให้เป็ดกินหอยเชอรี่ที่ หลงเหลือจากการก าจัดโดยวิธีกล 2.2 วิธีการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เกษตรกรควรจะช่วยกันอนุรักษ์ และปกป้องคุ้มครองนกปากห่าง รวมทั้งสัตว์อื่น ๆ ที่กินหอยเป็นอาหาร เพื่อช่วยก าจัดอีกทางหนึ่งด้วย 3. วิธีการใช้สารเคมี ถ้าไม่จ าเป็นเกษตรกรไม่ควรใช้สารเคมีก าจัดหอย เพราะเปลือกหอย ที่ตายแล้วในนาจะบาดมือและเท้าเกษตรกรขณะท านา เกษตรกรอาจ ได้รับเชื้อโรคผ่านทางบาดแผลได้ง่าย โดยเฉพาะโรคฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตส ไปโรซีส ซึ่งก าลังระบาดรุนแรงอยู่ในขณะนี้


กลับสารบัญ 12 ก าจัดปลิงในน้ า ใช้ล าต้นสดมะละกอ ตัดเป็นท่อน ๆ ใส่ลงในน้ าบริเวณที่มีปลิงอยู่ กลิ่นยางมะละกอจะออกมาช่วยขับไล่ปลิงให้หนีไปได้ (สูตร สถาพร ปีมา 273 หมู่ 12 ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา) ก าจัดหญ้าคา หญ้าคา มีเหง้าหรือไหลและรากจ านวนมาก หยั่งลงไปในดินลึก แผ่ กระจายเป็นบริเวณกว้าง ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีชนิดฉีดพ่นทางใบยี่ห้อได้ ก าจัดเหง้าหญ้าคาอย่างเด็ดขาดได้ สังเกตได้ที่หลังจากฉีดพ่นไม่นานหรือ เมื่อฝนตก เหง้าหญ้าคาจะแตกหน่อขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง หากต้องการก าจัด หญ้าคาให้สิ้นซากจริง ๆ ต้องใช้วิธีการธรรมชาติหลายวิธี ดังนี้ ในแปลงขนาดใหญ่ ไถพรวนดิน / เตรียมดินส าหรับปลูกพืชไร่ตามปกติแล้วหว่านงาลง ไป ถ้าต้องการผลผลิตงาก็ต้องปฏิบัติบ ารุงต้นงาให้เจริญเติบโต หลังเก็บ เกี่ยวงาแล้วให้ไถกลบต้นงาลงดินเป็นปุ๋ยพืชสดบ ารุงดินต่อไป ถ้าไม่ ต้องการผลผลิตงาก็ไม่ต้องปฏิบัติบ ารุงมากนัก ปล่อยให้ตันงาโตเอง อย่างไรก็ตามอาจต้องบ ารุงบ้างเพื่อให้ต้นงามีรากมาก ๆ เมื่อต้นงาโตเต็มที่ แล้วให้ไถกลบลงดินลงไปเป็นปุ๋ยพืชสดบ ารุงดินต่อไป ระหว่างที่ต้นงา ก าลังเจริญเติบโตนั้น หญ้าคาเริ่มโทรมลงอย่างเห็นได้ซัด ทั้งนี้เนื่องจากใน รากงามีสารออกฤทธิ์สามารถท าให้รากและเหง้าของหญ้าคาตาย


กลับสารบัญ 13 ในแปลงขนาดเล็ก วีธีที่ 1 ตัดหญ้าคาให้สั้นติดดินก่อน แล้วรดน้ าบ ารุงให้เหง้าหญ้าคา แตกยอดขึ้นมาใหม่ จากนั้นปล่อยห่านลงไป 4-5 ตัว/ไร่ ห่านจะกัดกินยอด หญ้าคาที่แตกใหม่จนไม่มีโอกาสโตขึ้นรับแสงแดด เมื่อต้นหญ้าคาไม่รับแสง เเดดก็ไม่สามารถสร้างอาหารได้ ไม่นานก็ตายไปเอง วิธีนี้อาจต้องล้อมตา ข่ายกั้นเขตและมีร่มให้ห่านอยู่ด้วย วิธีที่ 2 ตัดหญ้าคาให้สั้นติดดิน โรยทับด้วยแกลบดิบหนาๆ ยิ่งหนายิ่ง ดี แล้วรดน้ าบ ารุงให้หญ้าคาที่แตกยอดใหม่จังหวะนี้ราก/เหง้าหญ้าคาจะ ลอยขึ้นมาอยู่บนแกลบจากนั้นให้ใช้วิธีถอนทั้งรากและเหง้าขึ้นมาได้อย่าง ง่ายดาย วิธีที่ 3 ตัดหญ้าคาให้สั้นติดดินแล้วใช้พลาสติกปูบังแดด เมื่อหญ้า แตกยอดใหม่ขึ้นมารับแสงแดดสังเคราะห์อาหารไม่ได้ก็ตายไปเอง วิธีที่ 4 ตัดให้สั้นติดหน้าดินไม่ต้องโรยทับด้วยแกลบดิบ แล้วรดด้วย แกลบดิบ แล้วรดด้วยน้ า+ปุยน้ าชีวภาพ จุลินทรีย์ ในปุ๋ยน้ าชีวภาพจะท า ให้ดินอ่อน ร่วน ซุย จากนั้นให้ถอนด้วยมือ ทั้งราก และเหง้าจะติดขึ้นมา กับตอไม่ขาดค้างในดินให้งอกใหม่ได้อีก


กลับสารบัญ 14 ก าจัดวัชพืชในนาข้าว หลักการก็คือ ท าให้ต้นวัชพืชไม่สามารถแตกยอดใหม่ขึ้นมารับ แสงแดดได้ ซึ่งระหว่างที่ไม่มีใบช่วยสังเคราะห์อาหารนี้ ต้นจะกินอาหารเดิม ที่สะสมไว้ในหัว/เหง้า เมื่ออาหารในหัว/เหง้าหมด หัว/เหง้าจะเน่า ส่งผล ให้ต้นตายไปเอง เมื่อท าลายต้นวัชพืชในนาได้เด็ดขาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การป้องกันเมล็ดพันธุ์จากภายนอกไม่ให้เข้าไปแพร่ขยายในเนื้อนา โดยหมั่น ท าลายเมล็ดพันธุ์วัชพืชในนาได้เด็ดขาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการป้องกัน เมล็ดพันธุ์จากภายนอกไม่ให้เข้าแพร่ขยายในเนื้อนาโดย หมั่นท าลายเมล็ดพันธุ์วัชพืชจากพื้นที่ใกล้เคียงไม่ให้ปลิวเข้าไปตกในเนื้อนา ได้ ชั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ - หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วให้ล้มฟาง ปล่อย น้ า + ปุยน้ าชีวภาพ 2-3 ลิตร/ไร่ เข้าไปให้สูงกว่าตอข้าวประมาณ 15-20 ชม. แช่ทิ้งไว้ 5-7 วัน จะ พบว่ามีต้นหญ้า วัชพืชและต้นข้าวขึ้นจ านวนมากให้ใช้ลูกทุบหรืออีขลุบเข้า ย่ าทั้งฟาง ตอชัง วัชพืชเหมือนการท าเทือกปกติ - หลังจากย่ าท าเทือกรอบแรกแล้ว 5 วัน พบว่ายังมีวัชพืชกับต้นข้าว บางส่วนหลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นของเก่าที่รอดพ้นจากการถูกย่ าหรือของใหม่ เพิ่งงอกก็ให้ท าการย่ าเป็นรอบสองหลังจากย่ าเทือกรอบสองแล้ว 5 วัน จะ ยังมีวัชพืชบางส่วนหลงเหลืออยู่อีกแต่น้อยลงจากครั้งแรกมากก็ให้ท าการย่ า เทือกซ้ าอีกท าการย่ าเทือกหลาย ๆ รอบจนแน่ใจว่าไม่มีวัชพืช เมื่อท านาปี ต่อ ๆ ไปแม้ว่าย่ าเทือกเพียงครั้งเดียวก็สามารถก าจัดวัชพืชได้การก าจัด วัชพืชแบบย่ าเทือกนี้ไม่เป็นการท าลายดิน ตรงกันข้ามกลับเป็นการบ ารุงดิน ด้วย


กลับสารบัญ 15 - ป้องกันเมล็ดพันธุ์วัชพืชจากภายนอกบริเวณใกล้เคียง ให้ท าลาย ด้วยการใช้ไม้เรียวเล็ก ๆ ฟาดก้านดอก เมื่อพัฒนาเป็นเมล็ดได้อย่าปล่อยให้ ดอกแก่เด็ดขาด เพราะเมื่อดอกแก่แล้วปลิวเข้าไปในเนื้อนาก็จะงอกเป็นต้น ต่อไป ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าก าจัดวัชพืชบนคันนา แต่ให้ใช้วิธีการตัดลด ความสูงลงครึ่งหนึ่งของต้นข้าวในนา ตอต้นวัชพืชที่เหลือบนคันนาเป็น แหล่งอาศัยของแมลงธรรมชาติคอยช่วยก าจัดแมลงศัตรูข้าวให้ - พยายามท าลายดอกวัชพืชไม่ให้กลายเป็นเมล็ดในบริเวณใกล้เคียง และปริมณฑล เพราะดอกวัชพืชเมื่อแก่เต็มที่แล้วสามารถลอยตามลมไปลง ในเนื้อนาได้ - การไม่เปิดโอกาสให้เมล็ดวัชพืชได้แพร่ขยายพันธุ์ ไม่นานวัชพืช ชนิดนั้นก็สูญพันธุ์ไปเอง ในขณะเดียวกันวัชพืชบางสายพันธุ์เมื่อได้ออก ดอกขยายพันธุ์แล้วหมดอายุขัยก็จะเป็นการเร่งหรือตอกย้ าให้สูญพันธุ์ แน่นอนเร็วขึ้น ขึ้นไปอีก


กลับสารบัญ 16 หมายเหตุ - ยาฆ่าหญ้าหรือสารก าจัดวัชพืชทุกยี่ห้อและทุกประเภทมีสถานะเป็น กรดจัด เมื่อฉีดพ่นจนซึมเข้าไปในเนื้อวัชพืชแล้ว ครั้งเมื่อวัชพืชต้นสลายตัว สารออกฤทธิ์ในสารก าจัดวัชพืชก็จะละลายออกมา ปูนเปื้อนในเนื้อดิน ส่งผลให้ดินเป็นกรดได้ - ไม่มียาฆ่าหญ้าหรือสารก าจัดวัชพืชใดในโลกสามารถก าจัดได้ถึงราก/ เหง้าหัว ตามค าโฆษณา สังเกตได้หลังจากใช้ไปแล้ว 2 - 3 เดือนหญ้าหรือ วชัพช ื ตน ้ น ้ัน (ต้นเดิม) กง ็ อกเจรญิเตบิโตข ้ ึ นมาใหม่นัน่หมายความว่าจะต้องฉีดพ่น สารก าจัดวัชพืชทุกๆ 2-3 เดือน เท่ากับเร่งให้ดินเป็นกรดจัดมากยิ่งข ้ ึ น - สารก าจัดวัชพืชประเภท ยาฆ่า - ยาคุม ที่ชาวนานิยมใช้ช่วงแรก ตอนอายุต้นข้าว 20-30 วนัอาจไม่เหน ็ ตน ้ วชัพช ื เกดิแต่ครน ้ัถง ึ วนัเกี่ยวข้าวกลับ ม ี ตนัวชัพช ี ข ้ ึ นโตและส ู งกว่าตน ้ ขา ้ วเป็ นจา นวนมากทา ใหส ้ งสยัว่า ต้นหญ้า/วัชพืช เหลา่น ้ันมาจากไหน ในเม่ื อไดใ้ ชท ้ ง ้ัยาฆ่าและยาคม ุ แลว ้ - ยาฆ่าหญ้าสารกัดวัชพืช ไม่ใช่สารอาหารพืชแต่ยาฆ่าหญ้า/สาร ก าจัดวัชพืช ปนเปื้อนอยู่กับดินบริเวณที่รากพืชอยู่ จึงเชื่อได้ว่าต้นพืชได้ ดูดชับสารก าจัดวัชพืชเข้าไปในต้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เมื่อต้นพืชได้รับ สารพิษแทนสารอาหารย่อมอ่อนแอหรือไม่เจริญเติบโตเป็นธรรมดา


กลับสารบัญ 17 ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน การตอนต้นไม้บางครั้งพบว่าไม้บางชนิดออกรากง่าย บางชนิดออกราก ยากหรือที่เรียกว่า "หวงกิ่ง" บางครั้งก็ออกรากไม่รอบกิ่งหรือออกเฉพาะด้าน เดี่ยวของกิ่ง การให้ฮอร์โมนเร่งรากแก่กิ่งตอนสามารถช่วยให้กิ่งตอนแตกรากดี สูตร 1 ใช้"กะปี" ท าจากกุ้งเคยล้วน ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อนใส่ น้ าเปล่า 100-200 ซีซี ละลายกะปิให้เข้ากันดี ทาที่แผลกิ่งตอนหลังจากควั่น เปลือกเรียบร้อยแล้ว เสร็จแล้วใส่ตุ้มตอนตามปกติ.......ภูมิปัญญาพื้นบ้าน กะเหรี่ยงใช้กะปิล้วนๆ สดๆ โดยไม่ต้องละลายน้ าก่อนทาแผลตอนแล้วหุ้มด้วย ตุ้มตอนเลย กิ่งตอนก็ออกรากดีเช่นกัน สูตร 2 แช่หรือหมักขุยมะพร้าวส าหรับท าตุ้มตอนใน น้ ามะพร้าวทึนทึก (มะพร้าวที่มีเนื้อกรุบขนาดหนังหมู) นาน 1-2 คืนก าขุยมะพร้าวอัดใส่ ถุงพลาสติกท าตุ้มตอน น าไปใช้ตอนไม้ตามปกติ สูตร 3 ใช้"รองเท้าทหาร" ที่เรียกว่ารองเท้าคอมแบ็กหรืออีโอ๊บเป็นหนัง เก่าใช้การไม่ได้ทิ้งไว้จนผุเปื่อยแต่ไม่เบื่อย น าส่วนที่เป็นหนังมาเผาไฟไม่ให้ไหม้ เกรียม แล้วบดละเอียดผสมกับดินโคนต้นของต้นที่ต้องการตอนกิ่ง อัตราส่วน 1:1 น าไปหุ้มแผลตอนควั่นกิ่งพร้อมแล้ว ห่อด้วยใบตองหลาย ๆ ชั้น รัดหัว ท้ายให้มั่นคงสารอาหารพืชจากหนังเก่าจะช่วยให้กิ่งตอนออกรากเร็วขึ้น สูตร 4 ใช้"ดินโคนต้น" ของต้นที่ต้องการตอน ดินนั้นไม่มีปุ๋ยเคมีและไม่ มีสารเคมีปนเปื้อน แต่มีเศษชากอินทรีย์วัตถุที่หมักสะสมตัวเองมานานน าขึ้น หุ้มแผลตอนที่ควั่นเปลือกพร้อมแล้ว จากนั้นห่อด้วยใบตอง 1 – 2 ชั้นให้ มิดชิด มัดหัวท้ายให้แน่นหนา สารอาหารจากดินโคนต้นเป็นสารอาหารที่พืช ต้นนั้นได้รับประจ าจะช่วยให้กิ่งตอนออกรากเร็วขึ้น


กลับสารบัญ 18 สูตร 5 ใช้"สาหร่ายทะเลสด" หมักแบบท าปุยน้ าชีวภาพหมักนาน 3-6 เดือนขึ้นไป อัตราใช้ 20 -50 ซีซี. น้ า 1 ลิตร ทาบนแผลตอนก่อนหุ้มด้วยตุ้ม มะพร้าว โฮร์โมนไซโตดินนินในสาหร่ายทะเลจะช่วยให้ กิ่งตอนออกรากเร็วขึ้น สูตร 6 ใช้"ผงชูรส" 100 กรัม ผสมน้ า 1/ลิตร เป็นฮอร์โมนเร่งรากใน กิ่งช า ให้น ากิ่งพันธุ์ที่จะขยายพันธุ์แบบปักช าจุ่มลงในน้ าละลายชูรสนาน 30 วินาที -1นาที ยกขึ้นปล่อยให้แห้งแล้วน าไปปักช าได้ กลูโคสและโปรตีนใน ผงชูรสเป็นตัวช่วยให้กิ่งปักช านั้นออกรากเร็วขึ้น สูตร 7 ใช้"ปุ๋ยน้ าชีวภาพ 100 ซีซี + ฮอร์โมนไซโตดินนิน 10 ชีซี ผสมน้ า 1 ลิตร" แช่ ขุยมะพร้าวให้ชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์นาน 1-2 คืน น า ขุยมะพร้าวไปท าตุ้มตอนปกติ ฮอร์โมน ไซโตดิเนนินท าเองเเละในน้ า มะพร้าวจะเป็นตัวช่วยให้กิ่งตอนแตกรากเร็วขึ้น สูตร 8 ใช้"กะปิ + มูลแม่วัวตั้งท้อง + ดินโคนต้น" สัดส่วน 1:3:2 ผสม คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ท าตุ้มตอนแล้วห่อด้วยใบตองในมูลแม่วัวตั้งท้องมี ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตเป็นตัวช่วยให้กิ่งตอนออกรากเร็วและจ านวน มาก


กลับสารบัญ 19 พันธุ์ไม้หลายชนิดได้มาจากการตอนกิ่ง ซึ่งกิ่งตอนที่สามารถเจริญเติบโตในตินได้ แล้วก็จะน าไปปลูก หรือช าลงใน ถุงพลาสติกที่เตรียมดินไว้ก่อนสักระยะ เพื่อให้กิ่งตอนแข็งแรง และเมื่อ น าไปปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีความทนทานต่อแดดฝน หลายคนมี พันธุ์ไม้ที่บ้านอยู่แล้ว หากอยากปลูกต้นไม้ชนิดเดิมเพิ่ม คุณสามารถเปิด google ดูได้ว่าต้นไม้ชนิดนั้นขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ไม่ ต้องไปซื้อต้นไม่ให้เปลืองตัง หาอุปกรณ์มาท าการตอนกิ่งเองใด้เลย อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้ 1.แก้วพร้อมฝาปิด 2.คัดเตอร์ 3.เทปใส 4.ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยอินทรีย์+น้ า 5.กระดาษฟอยหรือกระดาษหนังสื่อพิมพ์ 6.เชือกและกิ่งไม้ 7.น้ ายาเร่งรากหากไม่มีให้ใช้กะปิ 1 ช้อน ต่อน้ าดื่มชูก าลัง ครึ่งขวด วิธีการตอน 1. การเลือกกิ่งนับว่าเป็นสิ่งส าคัญอันดับแรกๆ จ าเป็นต้องเลือกกิ่ง จากต้นพันธุ์ดี ต้องเป็นกิ่งเพสลาด (กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากการท าลายของโรคและแมลง ถ้าเป็นกิ่งกระโดงได้ยิ่งดี หรือกิ่ง จากส่วนอื่นที่สมบูรณ์แบบ


กลับสารบัญ 20 กรณีที่ต้นพันธุ์ดีมีอายุมาก กิ่งไม่สวย จ าเป็นต้องตัดกิ่งเพื่อให้กิ่งชุดใหม่แตก ออกมาเสียก่อน แล้วจึงท าการตอนบนกิ่งชุดใหม่นั้น กิ่งที่มีความสมบูรณ์ พร้อมต่อการขยายพันธุ์ ลอกเปลือกออกง่ายมาก เปลือกไม่ติดเนื้อกิ่ง เปลือก กิ่งในจะมีน้ าหล่อเลี้ยงชุ่มชื้นดี 2. พอได้กิ่งที่จะท าการตอนแล้ว ก็ไปผสมตุ้ม กิ่งตอนกันก่อน โดยน าขุยมะพร้าวใส่ในกาละมัง แล้วใส่น้ าผสมลงไป ใช้มือเคล้าขุยมะพร้าวกับน้ า ให้เข้ากัน ใช้มือเดียวก าขุยมะพร้าวแล้วบีบ มีน้ าหยดลงมาก็ใช้ได้ ไม่ต้องให้ เปียกโชก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในขุยมะพร้าวที่อยู่ในกาละมังพอประมาณ แล้ว ใช้มือเคล้าผสมให้เข้ากัน (อย่าใส่มาก เดี๋ยวพอไปตอนกิ่งแล้ว กิ่งพันธุ์จะ เหี่ยวเฉาและกิ่งตาย) 3. ท าการควั่นกิ่ง การควั่นกิ่งเป็นวิธีที่นิยมและใช้กันมานาน แล้ว สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด เช่น มะนาว ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง ลิ้นจี ส้มโอ และไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ วิธีนี้เหมาะ ส าหรับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกได้ง่าย โดยการใช้มีดควั่นกิ่ง โดยรอบเป็นวงแหวน ๒ วง ความห่างของวงแหวนประมาณ ความยาวของเส้นรอบวงของกิ่งที่ท าการตอน จากนั้นกรีดรอยแผลจากด้านบนถึงด้านล่าง แล้วลอกเอาเปลือกไม้ออกและขูดเยื่อเจริญที่เป็น เมือกลื่นๆ รอบกิ่งออกให้หมด เสร็จแล้วใช้เชือกมัด พร้อมกิ่งไม้เล็กไว้ใต้แก้ว เพื่อไม่ให้แก้วหล่น การขูดผิวเมือก : เป็นการตัดท่อน้ าเลี้ยงท่อ อาหารของพืช หลายคนมักพูดว่าไม่จ าเป็นต้องขูดออก มันก็งอกรากได้


กลับสารบัญ 21 ไม่ต้องมากเรื่องนี้ใช่ถูกต้องครับ แต่เท่าที่ผมท า มาก่อนและสังเกตเห็นว่า รากจะออกได้ช้ากว่า จ านวนน้อยกว่า เพราะว่ารากของพืชยังสามารถ ส่ง Auxins,IAA,IBA และสารอื่นๆ ไปเลี้ยงปลาย ยอดได้อยู่ ท าให้พืชยังเจริญเติบโตทางยอดและ ล าต้น Auxins ยังไม่ถูกตัดขาดฉบับพลัน Auxins ที่อยู่ปลายยอดจึงไม่ไหลย้อนลงมาที่บาดแผล (รอยควั่น)ได้มากพอ จึ่งท าให้พืชออกรากได้ช้าลงครับ 4. น าฮอร์โมนเร่งรากทาเหนือบริเวณรอยควั่นขึ้นไป 2-4 ซม. รอจน น้ ายาแห้ง 5. น าแก้วพาสติกผ่าแล้วน ามาใส่กิ่งตอน น าขุยมะพร้าวเก่า+ปุ๋ย อินทรีย์ผสมกันเรียบร้อยที่แช่น้ าจนอิ่มตัว แล้วบีบน้ าออกพอหมาดๆอัดลง ในแก้วพลาสติกอย่าให้แน่นมาก แล้วใช้ฝาปิดแก้ว เสร็จแล้วน าพลาสติกใส พันโดยรอบหรือใช้ยางวงรัดโดยรอบ 6. ใช้กระดาษฟอยหรือหนังสือพิมพ์ห่อแก้ว ป้องกันความร้อนจากแสงแดด หลังจาก 20 วัน จะเห็นรากงอกออกมาให้เห็น เมื่อกิ่งตอนงอกรากซึ่งจะเกิดตรงบริเวณ รอยควั่นต้านบน และรากเริ่มแก่เป็นสีเหลือง หรือมีสีน้ าตาล ปลายรากมีสีขาวและมีจ านวน รากมากพอ จึงตัดกิ่งตอนไปช าหรือปลูกได้ ตัดกิ่งตอนไปช าในภาชนะ ในกระถางหรือ ถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป แหล่งที่มา: web.ku.ac.th , https:/'www.sharesod.com อ้างอิงรูปและข้อมูลจาก: อาจารย์ภูชิต พุทธาวุฒิไกรและราเชน มั่นตะคุ


กลับสารบัญ 22 ปุ๋ยบ ารุงมะพร้าว สูตร 1 มะพร้าวเป็นพืชชอบน้ าประเภท ลักจืดลักเค็ม หรือพื้นที่ ๆ น้ า ทะเลขึ้นถึงในพื้นที่ปลูกที่ไม่มีน้ าทะเลขึ้นถึงสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ย อินทรีย์ที่มีความเค็ม เช่น ใช้เกลือสมุทรหรือเกลือแกงหว่านที่โคนต้น อัตรา 1/2 - 1 ก.ก/ต้นปี แล้วตามด้วยปุ๋ยคอก หรือใช้กากปลาจากการหมักน้ าปลา ที่คั้นหรือกรองน้ าปลาออกไปหมดแล้วผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ อัตรา 1:10 ใส่โคนต้น 1-2 ครั้งปี จะช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโตดี สูตร 2 ทางมะพร้าวตัดลงมาจากต้นทิ้งไว้ให้แท้งแล้วเผาให้เป็นถ่าน เรียกว่า "ถ่านทางมะพร้าว"ใช้ถ่านทางมะพร้าวผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1 ใส่โดนมะพร้าวจะช่วยให้มะพร้าวสมบูรณ์แข็งแรงให้ผลดกและมี คุณภาพดี หมายเหตุ มะพร้าวเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยข้ามปี ถ้าต้องการให้มะพร้าวออกจั่น ติดผลในเดือนใดของปีใด ต้องบ ารุงใส่ปุ๋ยล่วงหน้า 1 ปี หรือบ ารุงใส่ปุ๋ยเดือน นี้ปีนี้ มะพร้าวจะออกจั่น (ดอก) ติดผลในเดือนนี้ของปีรุ่งขึ้น - เทคนิค "ถีบทาง"หมายถึง การใช้เท้าเหยียบบนทางมะพร้าวอายุหลัง เพสลาดแล้วให้โดนทางเป็นมุมกว้างกับล าตัน (คอ)เป็นการเร่งให้จั่นมะพร้าว แทงออกมาเร็ว และมีคุณภาพดี - ช่วงมะพร้าวเริ่มแทงจั่นฉีดพ่นด้วย เอ็นเอเอ(ท าเอง) 1 ครั้งช่วยให้ ดอกในจั่นนั้นติดเป็นผลได้มากหรือดกขึ้น - ช่วงดอกตูมและเริ่มติดผลเล็ก ฉีดพ่นด้วยจิ๊บเบอเรลลิน (ท าเอง) ช่วง ละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ก้านทะลายยาวขึ้นมีพื้นที่ว่างระหว่างผลมากและเมื่อ บ ารุงด้วยฮอร์โมนไซโตดินนิน (ท าเอง)ท าให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย - ก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นด้วย ฮอร์โมนมูลค้างคาวสกัด ช่วยให้มะพร้าวมี รสหวานและกลิ่นดี


กลับสารบัญ 23 ไอเสียกระตุ้นมะพร้าวออกดอก มะพร้าวริมคลองมีเรือแล่นผ่านประจ า หรือมะพร้าวข้างทางที่มี่รถแล่น ผ่านบ่อย ๆ ไอสียจากเครื่องยนต์เรือ และรถ ซึ่งมีส่วนประกอบของ คาร์บอนไดออกไซด์พ่นออกมา เมื่อตันมะพร้าวได้รับบ่อย ๆ จะเจริญเติบโต ให้ผลดกและมีคุณภาพดี ปลูกมะพร้าวโดนเล็กโคนใหญ่ ถ้าต้องการให้ต้นมะพร้าวโตขึ้นแล้วมีโคนต้นขนาดใหญ่ ให้ปลูกต้นพันธุ์ โดยการฝังลึกเพียงครึ่งผลต้นพันธุ์ แต่ถ้าต้องการให้ต้นมะพร้าวโตขึ้นแล้วมี โคนต้นเล็กตามปกติ ให้ปลูกต้นพันธุ์ โดยการฝังลึกมิดผลต้นพันธุ์ทั้งนี้การฝัง ผลต้นพันธุ์ลึกหรือตื้น จะให้ผลผลิตที่อายุเท่ากัน ป้องกันก าจัดด้วงงวงเจาะยอดมะพร้าว ด้วงงวงเจาะยอดมะพร้าวถือเป็นศัตรูพืชส าคัญตัวหนึ่งส าหรับมะพร้าว ต้นโตแล้ว เข้าท าลายโดยการเจาะยอดเพื่อกินเนื้ออ่อนในยอดการใช้สารเคมี ได้ผลเพียงชั่วคราวเท่าที่สารออกฤทธิ์ยังคงสภาพเเล้วก็ไม่สามารถป้องกัน ก าจัดด้วยงวงได้อีกต้องเดิมสารเคมีใหม่ทุกครั้งไป


กลับสารบัญ 24 กล้าพันธุ์มะพร้าว การเลือกหน่อหรือกล้าพันธุ์มะพร้าวให้ได้มะพร้าวพันธุ์ดีมีหลักเกณฑ์ การเลือกดังนี้ • เกิดจากต้นแม่อายุไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือต้นแม่อายุยิ่งมากยิ่งดี • ต้นแม่ให้ผลดกตลอดปี คุณภาพดี เป็นมะพร้าวนั่งทาง • มีประวัติการให้ผลไม่น้อยกว่า 16-18 ทะลาย/ปี • รูปร่างลักษณะผล รส กลิ่น สี เหมือนต้นแม่ • ทรงดันแม่เมื่อมองจากภายนอก ปลายทาง (กิ่ง) ของทุกทางยื่นออกไป เป็นวงกลมดี ทางที่อายุรุ่นเดียวกันต้องซื้อออกล าตันเป็นมุมเท่ากันหรือ สม่ าเสมอ • ข้อหรือปล้องทุกข้อตามผิวล าตันมีระยะห่างเท่ากันตั้งแต่โดนถึงยอด ลักษณะปล้องห่าง หมายถึง ปีนั้นมะพร้าวได้รับธาตุอาหารและน้ าสมบูรณ์ แต่ถ้าปล้องชิดแสดงว่าปีนั้นมะพร้าวได้ธาตุอาหารและน้ าน้อย • ผลที่น ามาเพาะท าพันธุ์ต้องเป็นผลแก่จัดคาต้น (ไม่ถึงกับเปลือกแห้ง) • การน าผลลงจากต้นแม่ต้องไม่ปล่อยทิ้งลงกระแทกพื้นดิน แต่ใช้วิธี ผูกเชือกกับทะลายแล้วค่อยๆ หย่อนลงมาหรือเด็ดผลแล้วทิ้งลงน้ าต้นกล้า พันธุ์หรือหน่อที่งอกแล้วควรมีลักษณะดังนี้ - มีความสูงไม่เกิน 30 ชม. - ใบล่างสุดแผ่กางเล็กน้อย ใบยอด ตั้งตรงไม่แผ่กาง - คอหรือโคนต้นพันธุ์ไม่เป็นกระเปาะ กลมใหญ่แต่ส่วนปลายเล็กลักษณะหน่อเรียว จากโคนถึงยอด โดยส่วนโคนใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียวเล็กลงคล้ายต้นกล้วย - ล าต้นส่วนที่ติดกับกะลาไม่คดงอ


กลับสารบัญ 25 เลือกต้นพันธุ์ขนุน ลักษณะต้นกล้าพันธุ์ขนุนที่ดีต้อง ล าเปาตรงกลมมีกิ่งสาขาน้อย เรียง สม่ าเสมอจากโคนถึงปลาย ช่วงข้อทั้งส่วนเปาและกิ่งยาวเรียว ส่วนประกอบ อื่นๆ ที่ต้องมี ได้แก่ ระบบรากสมบูรณ์ แข็งแรง โคนรากด าปลายรากขาว จ านวนมาก ใบยอดแก่จัด ต้นกล้าพันธ์ลักษณะดังกล่าวนี้จะให้ผลผลิตเร็วดก ดี และมีคุณภาพ กล้าต้นพันธุ์ไม้ทั่วไป เทคนิคการเลือกกิ่งพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งกิ่งตอน กิ่งทาบ กิ่งเพาะช า กิ่งตุ้ม เล็ก กิ่งตุ้มใหญ่ และเพาะเมล็ด ได้แก่ - เป็นกิ่งที่ได้จากกิ่งกระโดง - อายุกิ่งก่อนขยายพันธุ์กลางอ่อนกลางแก่เปลือกเริ่มเกิดลายงา สี เปลือกเขียวเข้มแต่ไม่เขียวด ากล้ า ไม่มีสะเก็ดเปลือกถ้าเป็นกิ่งปกติจากต้น (ไม่ใช่กิ่งกระโดง) ต้องเป็นกิ่งชี้ขึ้น ไม่ใช่กิ่งชี้ลง หรือชี้ออกข้าง ลักษณะนี้ สังเกตได้จากส่วนปลายยอดว่าชี้ตรงหรือชี้เลี้ยว - ส่วนล าเปายาวหรือกิ่งงามแรกสูงจากพื้นโคนต้นมาก ๆ - ใบยอดแก่จัด ต้นกล้าพันธุ์ใบยอดอ่อนมักสู้แดดไม่ไหว เมื่อน าลงปลูก ใบอ่อนจะถูกแสงแดดเผาจนเหี่ยวแล้วร่วงไป ต้นต้องใช้เวลานานกว่าจะ สร้างยอดใหม่ขึ้นมาได้ แต่ถ้าเป็นต้นกล้าพันธุ์ใบยอดแก่จัดย่อมทนทานต่อ ความร้อนจากแสงแดดได้ ไม่เหี่ยว และไม่ร่วงแต่จะเจริญเติบโตต่อทันที หลังจากรากเริ่มเดิน ถ้าต้นกล้าพันธุ์ใบยอดยังเป็นใบอ่อนอย่ารีบร้อนน าลง ปลูกในแปลงจริง แต่ให้อนุบาลไว้ก่อนจนกว่าใบยอดจะเป็นใบแก่จัด หรือให้ เด็ดยอดอ่อนที่ติดมาทิ้งไปเลยไม่ต้องเสียดายเพราะถ้าท าแบบนี้ตันกล้าพันธุ์ จะแตกยอดใหม่จากข้อใต้ใบแก่ได้เร็ว


กลับสารบัญ 26 - มีรากจ านวนมาก สมบูรณ์ แข็งแรง ปลายรากขาว โดนรากสีน้ าตาล เข้ม - กิ่งพันธุ์พืชตระกูลส้มที่มีรากมากหรือยาวจนแทงทะลุออกมานอกถุง แสดงว่ารากส่วนใหญ่หมุนวนอยู่ในถุงแล้วเรียกว่า"รากวน" เมื่อน าลงปลูกใน แปลงจริงต้องจัดรากทุกรากให้ชี้ออกข้างให้ดีก่อนเพื่อป้องกันรากในหลุมปลูก การเลือกกิ่งพันธุ์พืชตระกูลส้มควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่รากยังไม่มากและยังไม่แก่ จัดนัก - กิ่งพันธุ์ประเภทกิ่งทาบ แผลหายต้องติดสนิทดีสังเกตจากแผลทาบ บวมดันพลาสติกพันกิ่งจนนูนขึ้นมาเห็นได้ชัดหรือพลาสติกพันกิ่งเริ่มผุเปื่อย - กิ่งพันธุ์ในถุงด าให้สังเกตเนื้อดินในถุงต้องเป็นดินเก่า แสดงว่ากิ่งพันธุ์ ต้นนั้นผ่านการอนุบาลหลังตัดลงมาจากต้นแม่นานพอสมควร ถ้าดินในถุงมียัง ใหม่แสดงว่าเพิ่ม ตัดลงมาใส่ถุงช าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบบรากยังเดินไม่มีและยัง เลี้ยงตัวเองไม่ได้การจับตัน แล้วยกขึ้นพร้อมถุงด า สามารถบอกได้ถึงความ แข็งแรงของรากในถุงด าได้เป็นอย่างดี - กล้าพันธุ์ไม้ยีนต้นที่ยายพันธุ์มาจากกิ่งอายุน้อย ๆ หรือลักษณะต้นยัง อ่อนดีกว่ากิ่งพันธุ์ที่เป็นกิ่งอายุมากหรือเป็นกิ่งแก่......กิ่งแก่ อายุกิ่งมาก ๆ ความสูงมาก ๆ ความสูงมาก ๆ เมื่อน าลงปลูกในแปลงจริงแล้วมักให้ผลผลิต ดีและดกในช่วง 2-3 ปีแรก จากนั้นจะไม่ดกและอายุต้นมักสั้น ต้องแก้ไขด้วย การตัดแต่งกิ่งท าสาวใหญ่


กลับสารบัญ จัดท ำโดย นำยอุดมศักดิ์ ชูยิ้ม ครู กศน.ต ำบลบ้ำนหลุม วันที่ 1 กุมภำพันธ์ 2562 กลับเข้าสู่ หน้าปก ค านา สารบัญ


กศน.ต าบลบ้านหลุม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอเมืองสุโขทัย ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุโขทัย 088 281 0288 กศน.ต าบลบ้านหลุม 131 หมู่ที่ 1 ต าบลบ้านหลุม อ าเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย


Click to View FlipBook Version