The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มารู้จัก ป่าเศรษฐกิจ กันล่ะเบ๋อ!!-Ebook-สศท.3

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

มารู้จัก ป่าเศรษฐกิจ กันล่ะเบ๋อ!!

มารู้จัก ป่าเศรษฐกิจ กันล่ะเบ๋อ!!-Ebook-สศท.3

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นลำดับ ต้น ๆ ของโลก สร้างความเสียหายในวงกว้างต่อเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มที่จะทวี ความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์มีนโยบายสำคัญหลายประการ หนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมการทำวนเกษตร (ปลูกป่า) ควบคู่ไปกับการทำการเกษตร กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ประกอบอาชีพ ทางการเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกป่าในพื้นที่ของตนเอง หรือเรียกว่า ป่าเศรษฐกิจ โดยเกษตรกรที่เป็นเจ้าของแต่ละราย มีการดูแลรักษาต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือ ปลูกขึ้นใหม่เพื่อเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนภายในชุมชน และสามารถนำผลผลิตที่ได้ จากป่าไปขายเป็นรายได้ และยังช่วยอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของ ตนเองยังคงอยู่ถึงรุ่นลูกหลาน โดยความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จึงถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถนำแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร มาขยายผล ในพื้นที่ต่างๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ในปี 2567 สำนักงานเศรษฐกิจที่ 3 จึงได้มีการรถอดบทเรียน ความสำเร็จในการปลูกป่าเศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งรายงาน ผลฉบับสมบูรณ์คาดว่า จะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2567 สำหรับข้อมูลที่ปรากฏอยู่ใน E – Book ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกษตรกร ได้รับจากการปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อให้ที่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ควรนำไปใช้ประโยชน์ ในการส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่ของ เกษตรกรควบคู่ไปกับทำการเกษตร ซึ่งจะนำมาสู่รายได้และความยั่งยืนของทรัพยากรป่า ไม้ในพื้นที่


หน้า 1. หลักการและเหตุผล............................................................................... 1 2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา.................................................................... 2 3. ขอบเขตและวิธีการศึกษา...................................................................... 3 - 8 4. นิยามศัพท์ “ป่าเศรษฐกิจ”.................................................................... 9 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ..................................................................... 10 6. ข้อมูลส าคัญที่ได้จากการถอดบทเรียน 6.1 ประเภทของป่าเศรษฐกิจ................................................................. 11 6.2 การปลูกป่าเศรษฐกิจ 5 ระดับ........................................................ 12 6.3 ประโยชน์ของป่าเศรษฐกิจ............................................................. 13 5.4 ประเด็นส าคัญที่น าไปใช้เชิงนโยบาย................................................ 14 7. สรุปผลการถอดบทเรียน……………………………………………………............... 15 8. บรรณานุกรม…………………………………………………………………................. 16


1. ภาวะโลกร้อน (Global warming) เกิดจากการเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบทั่วโลกต่อความสมดุลของธรรมชาติ และ จะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก 3. จังหวัดสกลนครมีพื้นที่ปลูกปา 2,115,180.64 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.72 จากพื้นที่ป่า 7 จังหวัดที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 รับผิดชอบ ได้แก่ จังหวัด อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม (4,951,513.53 ไร่) (กรมป่าไม้,2565) โดยจังหวัดสกลนครมีเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีแนวทางการส่งเสริมอนุรักษ์และ ฟื้นฟูสภาพทรัพยากรป่าไม้ “โครงการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ ป่าไม้จังหวัดสกลนคร ทั้งใน พื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่สาธารณประโยชน์ และพื้นที่ของประชาชนและเกษตรกร และ สนับสนุนให้เกิดการขยายผลเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่จังหวัด เช่น การแปรรูป ของป่า หรือการจัดทำคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่า เป็นต้น 4. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 (สศท. 3) เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาถอดบทเรียนการพัฒนาป่าเศรษฐกิจของเกษตรกรจังหวัดสกลนคร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาขยายผลการดำเนินการปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการทำการเกษตร 2. ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 –2570) มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมุดหมาย ที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ กำหนดเป้าหมายว่า ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และมีการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น โดยเป็นป่าไม้ธรรมชาติร้อยละ 33 และพื้นที่ ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ ร้อยละ 12 ของพื้นที่ประเทศ ภายในปี 2570 1


เพื่อถอดบทเรียน ป่าเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดท าแนวทาง การขยายผล การพัฒนาป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการท า การเกษตรของเกษตรกร 1. 2. 2


1.ประชากร กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร ที่ปลูกป่าพื้นที่ของตนเอง 2.พื้นที่ท าการศึกษา จังหวัดสกลนคร 3 . ร ะ ย ะ เ ว ล า ด า เ นิ น ก า ร ( ตุ ล า ค ม 2566 ถึงสิงหาคม 2567) 3


ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วย การ วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินทั้งต้นทุนและรายได้จากการปลูกป่า รูปแบบการ จัดการป่าเศรษฐกิจ และแนวทางการพัฒนาป่าเศรษฐกิจ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกป่าเศรษฐกิจ จะท าการ วิเคราะห์ต่อหน่วยพื้นที่ การผลิต คือ ต้นทุนและผลตอบแทนเฉลี่ยต่อพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ภายในระยะเวลา 1 ปีของการด าเนินงาน ซึ่งจะท าให้ทราบถึงก าไรที่เกษตรกร ได้รับ โดยแบ่งการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ต้นทุนผันแปร (variable costs) ต้นทุน คงที่ (fixed cost) รายได้จากการผลิต และก าไรจากการผลิต เป็นต้น 2) รูปแบบการจัดการป่าเศรษฐกิจของกลุ่มเกษตรกร จะท าการวิเคราะห์จาก การรับรู้เรื่องกระบวนการจัดการป่า ได้แก่ การจัดการปลูกไม้เศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบูรณาการการท างาน/การประสานงาน และการกระจายอ านาจหน้าที่ของ คณะกรรมการกลุ่ม 3) แนวทางการพัฒนาป่าเศรษฐกิจ จะท าการวิเคราะห์ จากผลการวิเคราะห์ ผลตอบแทนทางการเงิน รูปแบบการจัดการป่าเศรษฐกิจครอบครัว ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในพื้นที่ และการถอดบทเรียน โดยอิงหลักทฤษฎีการพัฒนา พื้นฟูป่าไม้ อันเนื่องมาจากพระราชด าริ เป็นต้น 6


การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ รวบรวมจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ดังนี้ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เกษตรกร ผู้ปลูกป่า ผู้น าชุมชน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จ านวน 80 ราย 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับป่าเศรษฐกิจ ครอบครัว โดยรวบรวมจากรายงานการศึกษา บทความ ข้อมูลจากเครือข่าย อินเตอร์เน็ต วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยเอกสารวิชาการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน 7


การวิเคราะห์ข้อมูล 1)การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Analysis) โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นการอธิบายข้อมูล ทั่วไปของครัวเรือนเกษตรที่ท าการศึกษา และสถานการณ์การปลูกป่าของกลุ่ม เกษตรกร โดยอาศัยเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าคงที่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และสัดส่วนรายได้และต้นทุน ผลตอบแทนจากการปลูกป่า 2)ก า ร วิเ ค ร า ะห์ข้ อ มู ลเ ชิ งคุณภ าพ (Qualitative Data Analysis) โดยวิธีการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เพื่อถอดบทเรียนจาก เกษตรกร ผู้น าชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาทาง แนวทางการพัฒนาหรือขยายผลการปลูกป่าเศรษฐกิจ 8


เตรียมงานวิชาการ การตรวจสอบเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการถอดบทเรียน และป่าเศรษฐกิจ (พร้อมทั้งเล่ม รายงานวิจัยการพัฒนาข้อเสนอแผนการพัฒนาสกลนครสู่เมืองน่าอยู่) แล้วกำหนดกลุ่มเป้าหมาย/ตัวอย่าง รวมทั้งออกแบบสอบถาม พร้อมทั้งลงพื้นทีสำรวจข้อมูลเบื้องต้นร่วมกับกลุ่มป่าเศรษฐกิจครอบครัวบ้าน โคกสะอาด โดยทำการทดสอบแบบสอบถาม (กลุ่มป่าโคกสีไค) เพื่อปรับปรุงแบบสอบถาม ลงพื้นที่ส ารวจข้อมูล จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัวอย่าง ทั้งหมด 80 ตัวอย่าง ตามแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มป่าโคกสีไค ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 2) กลุ่มป่าอินแปง ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 3) กลุ่ม ป่าต้นผึ้ง ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 4) กลุ่มป่าโคกสะอาด ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นที่ป่า เศรษฐกิจครอบครัว โดยแบ่งคำถามออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ หน้าที่สมาชิกภายในกลุ่มป่าเศรษฐกิจครอบครัว เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เอกสาร สิทธิที่ดินทำกิน วัตถุประสงค์หลักในการใช้ประโยชน์ มูลค่าที่ได้จากการใช้ประโยชน์ อาชีพหลัก/อาชีพรอง ต้นทุนการผลิต รายได้ และส่วนที่ 2 การรับรู้ เกี่ยวกับรูปแบบการจัดป่าเศรษฐกิจครอบครัว ประกอบด้วย 1) กระบวนการจัดการของป่าเศรษฐกิจครอบครัว (ภาพรวม) 2) การจัดการปลูกไม้เศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) 4)การจัดการความรู้ 5) การถ่ายทอดเทคโนโลยี 6) การกระจาย อำนาจหน้าที่/การจัดการแผนกงาน และ 7) การบูรณาการการทำงาน (ภาพรวม) บันทึกและประมวลข้อมูล สร้างตารางบันทึกข้อมูลตามแบบสอบถาม ทำการบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จัดท าร่างการถอดบทเรียนฯ จัดทำร่างรายงานการถอดบทเรียนป่าเศรษฐกิจครอบครัว กรณึศึกษาจังหวัดสกลนคร แล้วนำเสนอ ภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อทำการปรับปรุงร่างการถอดบทเรียน โดยนำเสนอผู้บริหารภายใน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 ดังนี้ 1.เสนอร่างให้ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 (จำนวน 7 วัน) เพื่อให้ข้อเสนอแนะและปรับปรุงร่างการถอดบทเรียน 2. เสนอร่างให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 (จำนวน 7 วัน) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและทำการ ปรับปรุงร่างรายงานการถอดบทเรียนฯ บันทึกและประมวลข้อมูล เพื่อนำเสนอผู้บริหารภายในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปใช้ ประโยชน์ต่อไป เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แจ้งเวียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปใช้ประโยชน์ทางราชการ และเผยแพร่ทาง Website และ Facebook สศท.3 5


ป่าเศรษฐกิจ คือ ระบบการท าเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบวนเกษตรในพื้นที่ป่า เช่น ปลูกพืชแซมการเลี้ยงสัตว์ และการเก็บผลผลิตจากป่าสามารถน าไปสู่การได้รับ ผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้างระบบเกษตรให้มีลักษณะเลียนแบบระบบ นิเวศป่าธรรมชาติ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร 9


1. เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ มีข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทาง การพัฒนาป่าเศรษฐกิจให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น 2. ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถน ามาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการก าหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรป่าเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (วนเกษตร) ซึ่งเป็นการ เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง 10


ป่าเศรษฐกิจ หมายถึง พื้นที่ป่าซึ่งเป็นสมบัติส่วนบุคลลที่เกษตรกรถือเอกสารสิทธิครอบครอง ตามกฎหมาย ได้แก่ โฉนด (น.ส.4) ที่ดิน น.ส.3 ก ที่ดินส.ป.ก. โดยเจ้าของแต่ละราย ดูแลรักษาต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือปลูกขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ ให้กับครอบครัวหรือชุมชน และสามารถน าผลผลิตที่ได้จากป่าไปขายเป็นรายได้ ป่าครอบครัว หมายถึง แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในที่ดินที่ครอบครัวครอบครองอยู่ ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ ที่ครอบครัวพัฒนาขึ้นให้เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือมีสภาพที่ใกล้เคียง กับป่าธรรมชาติ (Mimicking nature) ให้เป็นแหล่งอาหารและป่าที่ยั่งยืน (ส านักงาน พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ องค์การมหาชน BEDO, 2567) ป่าชุมชน หมายถึง ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่อื่นของรัฐนอกเขตป่าอนุรักษ์ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น ป่าชุมชน โดยชุมชนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ บ ารุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชนอย่างสมดุลและ ยั่งยืนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 (ส านักงานจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้, 2567) ป่าดั่งเดิม หมายถึง ป่าธรรมชาติดั้งเดิม ที่เกิดตามธรรมชาติแล้วก็ค่อยเปลี่ยนสภาพ กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ หรือตามกระบวนการทดแทนของสังคมพืช (Ecological succession Processes) ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบปี เช่น ป่าหัวไร่ปลายนา ป่าเหล่า เป็นต้น ป่าปลูกใหม่/ป่าสร้างขึ้น หมายถึง ป่าที่เพิ่งเริ่มปลูกภายใต้ระยะเวลาไม่นานมากนัก 5 –10 ปี เพื่อประโยชน์ ทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและให้ผลตอบสร้างรายได้ให้กับ ครอบครัว 11


เพื่อเป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า หอมหัวใหญ่ หอมแดง มันเทศ เช่น บวบ น้ าเต้า ถั่วฝักยาว แตงกวา ต าลึง มะระขี้นก ถั่วพลู ต าลึง เพื่อใช้เป็นอาหาร และยารักษาโรค เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ฟ้าทะลายโจร มีความสูงรองจากไม้ยืนต้น เช่น มะกรูด มะนาว ขนุน ทุเรียน กล้วย มะม่วง ให้ร่มเงาและรักษาระบบนิเวศ เช่น ตะเคียน ยางนา มะค่า พยุง 12


ไม้ใช้สอย - ปลูกเพื่อใช้ประโยขน์จาก เนื้อไม้ เช่น ท าเฟอร์นิเจอร์ หัตถกรรม เครื่องจักสาน ท าฟืน ไม้กินได้ - ปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน เช่น ไม้ผล พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้เศรษฐกิจ - ปลูกเพื่อน าเนื้อไม้มาใช้ ประโยชน์โดยตรงเพื่อการค้า เช่น ตะเคียนทอง สัก ประดู่ 13


ที่ ไ ด้ จ า ก ก า ร ถ อ ด บ ท เ รี ย น เพื่อน าไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย ได้ทราบถึงข้อมูลและองค์ความรู้ของการปลูกป่าเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น ระบบการท าเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบวนเกษตร (ระบบหนึ่งของ เกษตรกรรมยั่งยืน) ตามนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ของ กษ. ได้ประเด็นส าคัญจากผลการถอดบทเรียนฯเพื่อน าไปสู่การจัดท า แนวทางการพัฒนาหรือขยายผลในการส่งเสริมการท าการเกษตรควบคู่ไปกับ การปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ของเกษตรกร โดยจัดท าเป็นข้อเสนอโครงการ ระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เช่น 2.1 ข้อเสนอโครงการใหม่ๆ เพื่อของบประมาณปีต่อไป เช่น โครงการ จัดท าแนวทางการการพัฒนาระบบวนเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 2.2 การขยายผลจากการปลูกป่าเศรษฐกิจครอบครัว เช่น การจัดท า แนวทางการพัฒนาคาร์บอนเครดิตจากป่าเศรษฐกิจครอบครัว (วนเกษตร) กษ.และหน่วยงาน กษ. ระดับจังหวัด สามารถน ารายงานผล การถอดบทเรียนฯ ไปใช้ในการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรควบคู่ ไปกับการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ 1. 2. 3. 14


สรุป ป่าเศรษฐกิจ ป่าเศรษฐกิจ คือ ระบบการท าเกษตรกรรม ยั่งยืนในรูปแบบวนเกษตรในพื้นที่ป่า เช่น ปลูกพืชแซมการเลี้ยงสัตว์ และการเก็บ ผลผลิตจากป่าสามารถน าไปสู่การได้รับผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้าง ระบบเกษตรให้มีลักษณะเลียนแบบระบบนิเวศน์ป่าธรรมชาติ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ ที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ท าให้เกิดประโยชน์ที่ส าคัญ ดังนี้ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความยั่งยืนให้กับ ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้มี ปริมาณเพียงพอ อนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ พันธุ์พืช และสัตว์ การอยู่รวมกันของพื้นที่ ป่ากับการเกษตร เพื่อลดปัญหา การบุกรุกป่า 1. 2. 3. 4. 15


1. ส านักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2567 เกษตรกรรมยั่งยืน , วนเกษตร เข้าถึงได้จากopsmoac.go.th/sustainable_agri-sustainable. วันที่ 20 มกราคม 2567 2. ส านักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ 2567 รูปแบบการพัฒนาและบริหารจัดการ ป่าอย่างยั่งยืน เข้าถึงได้จาก https//www.forest.go.th วันที่ 20 มกราคม 2567 3. ส านักพัฒนาเศรษฐกิจจากทางชีวภาพ 2567 โครงการไม้มีค่า ป่าครอบครัว จังหวัดสกลนคร เข้าถึงได้จาก https//www.bedo.or.th วันที่ 15 มกราคม 2567 16


Click to View FlipBook Version