The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ยาเสพติด

ยาเสพติด

กศน.อ ำเภอหนองมะโมงหัวใจสีขำว ร่วมกันต้ำนยำเสพติด


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อน าเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ท าให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะท าให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจ าทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะส าคัญของสารเสพติด จะท าให้เกิดอาการ และอาการแสดง ต่อผู้เสพดังนี้ - เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น - เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้ - มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา - สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ ความหมายของยาเสพติด


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้ รับเข้าไปในร่างกายซ้ าๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะท าให้ - บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อ านาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว - ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือท า ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง - เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นใน ผู้เสพ ความหมายโดยทั่วไป


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ยาเสพติด หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ท าให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะส าคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอน ยา เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและ สารเคมี ที่ใช้ใน การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจา นุเบกษา แต่ไม่หมายความ ถึงยาส าคัญประจ าบ้านบางต ารับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่ ความหมายตามกฎหมาย


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดประเภทของยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เป็นยาที่ไม่มีการน ามาใช้ในทางการแพทย์ และท าให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของ ประชากรในระดับรุนแรง เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี เป็นต้น ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคในระดับน้อยจนถึงมาก และท าให้เกิดการเสี่ยงต่อการ ติดยาของประชากรในระดับที่ต้องพึงระวัง เช่น มอร์ฟีน โคเคน โคเดอีน เป็นต้น ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนต ารับไว้ เป็นยาที่ท า ให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อย แต่ยังคงมีอันตราย และมีประโยชน์ มากในการรักษาโรคเช่น ยาแก้ไอผสมโค เดอีน เป็นต้น ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท2 เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride) ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภทที่1 ถึงประเภทที่4เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ประเภทของสารเสพติด


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป ต้นฝิ่นเป็นพืชล้มลุก นิยมปลูกกันทางภาคเหนือของประเทศไทย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตราพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) ฝิ่นมีสีน้ าตาล กลิ่นเหม็น เขียว รสขม เรียกว่าฝิ่นดิบ และหากน าฝิ่นดิบมาต้ม เคี่ยวหรือหมัก จะได้ฝิ่นที่มีสีน้ าตาลไหม้ปนด า มีรสขมเฉพาะตัว เรียกวา ฝิ่นสุก ทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก มีฤทธิ์ในการ กดระบบประสาท อาการผู้เสพติดฝิ่น มีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจาวกไปวนมา อารมณ์ดี และการตัดสินใจเชื่องช้าผู้ที่เสพฝิ่น ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ดวงตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ า อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงเหลาหาวนอน เกียจคร้าน อารมณ์แปรปรวนง่าย พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย ความจ าเสื่อม ชีพจร เต้นช้า ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้เสพฝิ่นเมื่อถึงเวลาจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย บางรายมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง ดิ้น ทุรนทุราย น้ ามูกน้ าตาไหล ม่านตาขยายผิดปกติ ปวดตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจ ล าบาก อาจชักและหมดสติได้ ฝิ่น (OPIUM)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ า ง่าย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) มีฤทธิ์ในการกดประสาทและ สมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ ๘-๑๐ เท่า เสพติดได้ง่าย มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมมี เครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ าบรรจุหลอด อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวล คลายความเจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ท าให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะท าให้ผู้เสพมีอาการ เหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกายสุขภาพร่างกายผ่ายผอม ทรุดโทรม และเมื่อ ไม่ได้เสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสนพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่ หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและหมดสติในที่สุด มอร์ฟีน (MORPHINE)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท ๑ (ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒) เฮโรอีนได้จากการสังเคราะห์ตามกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์ของเฮโรอีนมีความรุนแรงกว่ามอร์ฟีน ประมาณ ๔-๘ เท่าและ รุนแรงกว่าฝิ่นประมาณ ๓๐-๘๐ เท่า อาการผู้เสพติดเฮโรอีน เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรง เสพติดได้ง่ายเมื่อใช้เพียง ๑ หรือ ๒ ครั้ง อาจท าให้เกิดอาการ มึนงงเซื่องซึม ง่วง เคลิ้มหลับได้เป็นเวลานาน ไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง บางรายเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาลาย ส าหรับผู้ที่เสพจนติด เสพเป็นประจ าร่างกายจะทรุดโทรม ผอมตัวซีดเหลือง ขอบตาคล้ า ดวงตาเหม่อลอย น้ าหนักตัวลดอย่าง รวดเร็ว สมองและประสาทเสื่อม ความคิดสับสน ความจ าเสื่อม อ่อนเพลียไม่มีแรง และหากใช้ยาเกิดขนาด ฤทธิ์ของเฮโรอีน จะท าให้หัวใจหยุดท างาน เกิดอาการ "ช็อค" ถึงแก่ความตายได้ทันที ส าหรับอาการขาดยาหรือไม่ได้เสพยาเมื่อถึงเวลาเสพ ผู้ เสพติดเฮโรอีนจะเกิดอาการทุรนทุราย ทุกข์ทรมาน น้ ามูก น้ าตาไหล ความคิดฟุ้งซ่าน สับสน หงุดหงิด กระวนกระวาย ปวด เจ็บตามกล้ามเนื้อตามกระดูก ปวดท้องอย่างรุนแรง หูอื้อ ตาพร่ามัว อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด นอนไม่หลับ บางรายมีอาการเพ้อคลั่ง ชักและหมดสติอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เฮโรอีน หรือ ผงขาว (HEROIN)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ส่วนใบของต้นโคคา (จัดเป็นยาเสพ ติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และ อเมริกากลาง เช่น ประเทศโบลิเวีย เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เป็นต้น มีฤทธิ์ในการ กระตุ้นประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับ แอมเฟตามีน (ยาม้า) แต่ท าให้เกิดอาการติดยาได้ง่ายกว่า โคเคนหรือโคคาอีนนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า COKE , SNOW , SPEED BALL , CRACK ฯลฯ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น มักนิยมเสพโดยใช้วิธีสูบ ฉีด หรือสูดพ่นเข้าไป ในจมูก ฯลฯน อาการผู้เสพติดโคเคน ผู้เสพติดโคเคนเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของโคเคนจะกระตุ้นประสาทท าให้เกิดอาการไร้ ความรู้สึก ดูเหมือนคล้ายมีก าลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายและความรู้สึกจะ อ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมาทันที มีอาการเซื่องซึมและหากว่าเสพจนถึงขั้นติดยาจะเกิดผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น หัวใจเต้น แรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อน มีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ ฯลฯ และหากเสพโคเคนเข้าสู่ร่างกายเกิดขนาดจะเกิดพิษ เฉียบพลัน ฤทธิ์ของยาจะไปกดการท างานของหัวใจ ท าให้หายใจไม่ออกอาจชัก และเสียชีวิตได้ โคเคน (COCAINE)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป กระท่อมเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางชนิดหนึ่ง พบมากในแถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ไทย ฯลฯ (จัดเป็นยาเสพติดประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบคล้ายใบกระดังงาหรือใบฝรั่ง มี ดอกกลมโตเท่าผลพุทรา มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย การเสพจะใช้ส่วนที่เป็นใบเคี้ยวสด หรือตากแห้ง แล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบน าไปผสมกับน้ าร้อนดื่มแทนใบชาจีน อาการผู้เสพติดกระท่อม ผู้เสพใบกระท่อม จะพบว่าร่างกายทรุดโทรมมาก เนื่องจากสุขภาพร่างกายท างานเกินก าลัง ลักษณะที่เห็นชัด คือ ผิวหนังตามร่างกายแห้งเกรียมด า ปากแห้ง แก้มเป็นจุดด า ๆ และมีอาการนอนไม่หลับ ท้องผูก อุจจาระ เป็นสีเขียวคล้ายมูลแพะ และหากเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะท าให้สภาพจิตใจสับสนอาจมีอาการทาง ประสาทและเมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา ร่างกายจะอ่อนเพลียปวดเมื่อยตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ อารมณ์หงุดหงิด กระวน กระวาย เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ กระท่อม (KRATOM)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป เป็นเห็ดพิษที่มักขึ้นอยู่ตามมูลความแห้ง และมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกกันใน บรรดานักท่องเที่ยวว่า MAGIC MUSHROOM (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะของเห็ดขี้ควายมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บริเวณส่วนบนของหัวเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายร่ม จะมีสีน้ าตาล เข้มจนถึงด าบริเวณก้านตอนบนใกล้ตัวร่ม มีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาวคล้ายวงแหวนแผ่อยู่รอบก้าน เห็ดขี้ควายพบได้ทั้งใน สภาพที่เป็นเห็ดสดและเห็ดตากแห้ง ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดชนิดนี้เข้าไปร่างกายจะได้รับสารพิษ เช่นไซโลลีน และไซโลไซลีน ซึ่งเป็นสารพิษที่มีฤทธิ์ในการหลอนประสาท ท าลายระบบประสาทอย่างรุนแรง ผู้เสพติดจะมีอาการมึนเมา จนอาจถึงขั้น เสียชีวิต อาการผู้เสพติดเห็ดขี้ควาย ผู้ที่เสพหรือบริโภคเห็ดพิษจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ตามเนื้อตัว แน่นหน้าอก ตาพร่า อึดอัดรู้สึกไม่ สบาย คลื่นไส้อาเจียน อาการดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของการเสพ และสภาพร่างกายของผู้เสพเป็น ส าคัญ ในกรณีที่เสพหรือบริโภคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก หรือร่างกายมีภูมิต้านทานน้อยฤทธิ์ของสารพิษอาจท าให้ถึงแก่ ชีวิตได้ และบางรายก็อาจจะมีอาการมึนเมา เคลิ้ม ประสาทหลอน ตาพร่า ความคิดสับสน มีอาการแปรปรวนทางจิต อารมณ์ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพ้ออาจบ้าคลั่งได้ เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกมีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.๒๕๑๘) มีชื่อเรียก ทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น เบนซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้ใช้หรือเสพนิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง ฯลฯ ผงแอมเฟตามีน ๑ กรัม ละลายได้ในน้ า ๙ ซี.ซี.(มิลลิลิตร) และละลายได้ในแอลกอฮอล์ ๕๐๐ ซี. ซี.(มิลลิลิตร) แต่จะไม่ละลายในอีเทอร์ ผงแอมเฟตามีน (ยาม้า) เมื่อน ามาผลิต-อัดเป็นเม็ดยาแล้วจะมีลักษณะเม็ดยา เช่น เม็ด กลมแบน รูปเหลี่ยม รูปหัวใจ หรืออาจเป็นแคปซูล มีสีต่างกัน เช่นสีขาว สีน้ าตาล สีเหลือง แต่ที่พบส่วนมากจะเป็นสีขาว เม็ด กลมแบน มีสัญลักษณ์บนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า, LONDON, 99, รูปดาว อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีน (ยาม้า) ฤทธิ์ของแอมเฟตามีน (ยาม้า) จะส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้ง ทางร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้ คือ อาการทางกาย ผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) ประมาณ ๒๐ - ๓๐ กรัมต่อวัน จะมีอาการ เบื่ออาหาร พูดมาก ตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง ไม่รู้สึกง่วง เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ท างานได้นานเกินกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป เป็นผงละเอียดสีขาว เมื่อน ามาผลิตเป็นเม็ดยาจะมีหลายลักษณะ เช่น เป็นเม็ดกลมแบน ชนิดน้ าบรรจุ หลอด และชนิดแคปซูล มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่นเดียวกับแอมเฟตามีน (ยาม้า) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งจากเดิม อีเฟดรีน จัดเป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ๓ แต่เนื่องจาก ได้มีการน าอีเฟดรีนมาใช้ในทางที่ผิด มีการน ามาเสพแทนแอมเฟตา มีน (ยาม้า) ก่อให้เกิดปัญหาต่อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมาย จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และจัดให้อีเฟดรีนทั้งชนิดน้ าและทุกต ารับยาที่มีส่วนผสมของอีเฟดรีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและ ประสาทประเภท ๒ อาการของผู้เสพติดอีเฟดรีน ผู้เสพยาอีเฟดรีน จะมีอาการคล้ายคลึงเช่นเดียวกับผู้เสพแอมเฟตามีน (ยาม้า) กล่าวคือ ฤทธิ์ของอีเฟดรีน จะกระตุ้นระบบประสาท ท าให้ผู้เสพสามารถท างานได้นานมีอาการตื่นเต้นง่าย ใจสั่น ไม่รู้สึกง่วงนอน เหงื่อ ออกมาก ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หากเสพติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็นโรคจิต บางรายที่เสพยาเข้า สู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการประสาทหลอน เป็นโรคจิต บางรายที่เสพยาเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการใจสั่น มือเท้า เกร็งและชา ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจล าบาก อีเฟดรีน (EPHEDINE) หรือ ยาอี (Extacy)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ลักษณะทั่วไป กัญชาเป็นพืชล้มลุกจ าพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น THAISTICKS,MARY - JANE หรือที่นิยม เรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า เนื้อ (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) ลักษณะใบ กัญชา จะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันส าปะหลัง ส่วนที่น ามาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการน ามา ตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบ ๆ น ามามวนบุหรี่สูบ หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บางรายใช้เคี้ยว หรือเจือ ปนกับอาหารรับประทาน ในกรณีที่เสพติดด้วยวิธีการสูบ กลิ่นกัญชาจะเหมือนกับเชือกหรือหญ้าแห้งไหม้ไฟ กัญชาจะออกฤทธิ์หลาย อย่างผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่ กระตุ้น กด และหลอนประสาททั้งนี้เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ท าลายสุขภาพร่างกายและก่อให้เกิดอาการติดยา อาการของผู้เสพติดกัญชา ผู้ที่เสพกัญชาในระยะแรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาทท าให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่างพูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อนเนื่องจากกัญชา ออกฤทธิ์กดประสาทผู้ เสพจะมีอาการง่วงนอน ซึม หายใจถี่เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการ หูแว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางราย คลื่นไส้อาเจียนความจ าเสื่อมความคิดสับสนเพ้อคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้มีอาการทางจิต นอกจากนี้สารพิษในกัญชายัง ท าลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ท าให้ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดิน หายใจ โรคมะเร็งปอดท าให้สมรรถภาพทางเพศลดลงเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม กัญชา (CANNABIS)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง รู้หรือไม่ 9 มิถุนายน 2565 ตอนเช้าและกัญชงถูกถอดถอนออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พ.ศ 2563 ฉบับลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรค 2 แห่ง ป.ยาเสพติด และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 โดยให้มีผลเมื่อพ้น 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ให้เฉพาะตัวสารสกัดกัญชาและกัญชง พืชสกุล (Cannabis) ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม ป.ยาเสพติดเท่านั้น จากประกาศฉบับดังกล่าวจึงส่งผลให้กัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติดอีกต่อไปและกัญชาไม่ใช่พืชหรือทรัพย์ ที่มีไว้เป็นความผิดตามกฎหมายอีกต่อไปยกเว้นตัวสารสกัดจากกัญชา กัญชา (CANNABIS)


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง การป้องกันยาเสพติด หมายถึง การให้การศึกษา ข่าวสาร ความรู้ และข้อมูลในเรื่องคุณภาพ ชีวิตยาและยาเสพติด ตลอดจน การป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชน ให้รอดพ้นจากยาเสพติดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ประชาชนไม่ใช้ยาเสพติด ถึงแม้จะประสบปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่มีส่วนผลักดันให้ใช้ยาเสพติดควบคู่กันไปด้วย การป้องกัน ตัวเองและคนรอบข้างให้พ้นจาก วังวน ของยาเสพติด เปรียบเสมือนก้าวแรกที่ส าคัญที่จะ ท าให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับมัน หากเรา ไม่คิด จะป้องกัน มัวแต่จะแก้ไข ปัญหายาเสพติดก็ไม่มีวันหมดไปได้ เพราะกันไว้ดีกว่าแก้เราสามารถป้องกันตัวเองจากยาเสพติดได้ ไม่ยาก อย่าคิดว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไกลตัว ใช่ว่ายาเสพติด จะมีแค่ยาบ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งของแบบนั้นเรา เองยังไม่รู้ว่าจะเจอได้ ยังไง เพราะยาเสพติดมี หลายประเภท ของบางอย่างเราอาจคาดไม่ถึงว่า มันก็ท าให้เราติดได้ แม้ไม่ใช่ยาเสพติดโดยตรง ก็ตาม เมื่อได้ชื่อว่าเสพติดแล้ว ก็่ยอมยากที่จะเลิก มันการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถเริ่มได้ จากตัวเรา ครอบครัว และคนรอบ ข้าง เป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง 1. มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ท าให้จ านวนนักเรียน นักศึกษา ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง 2. ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมนักเรียนแกนน า ครูแกนน า กิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (สถานศึกษาปลอดบุหรี่) 3. กิจกรรม/ชมรม TO BE NUMBER ONE การประกวดดนตรี แข่งขันกีฬา เปิดเวทีให้แสดงออก การจัดนิทรรศการความรู้ 4. การบริหารจัดการด้านสวัสดิศึกษา เช่น การขจัดมุมอับลับตา มีแหล่งเรียนรู้ด้านยาเสพติด 5. มีการประสานความร่วมมือการด าเนินงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง


ห้องสมุดประชาชนอ าเภอหนองมะโมง ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล ขอขอบคุณข้อมูล : เว็บไซต์ : บริษัท ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จ ากัด (P.M.C.) https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=27 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) https://new.camri.go.th/infographic/81


Click to View FlipBook Version