หลกั การแนวคดิ เก่ียวกับการเรยี นการสอนโดยใช้ MIAP ร่วมกับวิจยั เปน็ ฐาน (RBL)
เพอ่ื พัฒนาความสามารถในการแก้ปญั หาเชิงสรา้ งสรรค์ ของนักเรยี น รายวิชางานเคร่ืองลา่ งรถยนต์
การเรียนการสอนเป็นงานท่ีมีลักษณะสร้างสรรค์ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้
ท้ังความรู้ท่ีเก่ียวกับมนุษย์วัฒนธรรมและสังคมและการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการ
แก้ปญั หาเชิงสรา้ งสรรค์มี 3 ขน้ั ตอน ดงั นี้
1) การวเิ คราะหค์ วามต้องการจำเปน็ มี 2 กิจกรรมหลกั คือ
1.1) วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้ผู้เรียน วิเคราะห์ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21
เพื่อกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้ พร้อมทั้งตั้งคำถามสู่จุดหมายในการเรียนรู้การสร้างสรรค์โอกาส
(Constructing opportunities) มองหาโอกาสที่เป็นประโยชน์และเป็นผลดีกับเป้าหมาย โดยการพิจารณา
โอกาสท่เี ป็นไปไดแ้ ละท้าทาย และการระบุเป้าหมายท่สี รา้ งสรรค์
1.2) การวางแผนการเรยี นรู้ผเู้ รียนวางแผนการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง
1.2.1) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาตนเองจากการการสำรวจข้อมูล (Exploring data)
ศึกษาเอกสาร ตำรา หนังสือ คู่มือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือปฏิบัติ
กิจกรรมทชี่ ว่ ยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวศิ วกรรมร่วมกับวจิ ัยเปน็ ฐาน ในขน้ั ตอนการ
สืบค้นปัญหาหรือที่มาของเรื่องที่จะเรียนรู้ ค้นหาองค์ประกอบหลักของปัญหา โดยรวบรวมแหล่งของข้อมูล
จากหลาย ๆ แหล่ง และจากมุมมองที่แตกต่างกันเพื่อเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา จะทำให้สามารถเข้าใจ
ปัญหามากยง่ิ ขึ้น ซึง่ จะทำใหผ้ ู้แกป้ ัญหาไมไ่ ขว้เขวในการเข้าใจเก่ียวกับเป้าหมาย และสถานการณ์ทเี่ ป็นอยู่
1.2.2) จัดทำปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพ่ือการประเมินตนเองในการ
เรยี นรู้
2) การปฏบิ ตั กิ ารเพ่ือการเรยี นร้ขู องผู้เรียน มี 2 กจิ กรรมหลักคือ
2.1) พัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยการแสวงหา และใช้แหล่งการเรียนรู้
ทง้ั ในรูปแบบการเรียนรู้แบบรว่ มมือและการเรียนรูร้ ว่ มกันการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเรียนรูแ้ ละการตรวจสอบ
ความรู้ ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรม โดยมีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมหลากหลาย
และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของผู้เรียน เปิดการอภิปรายให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอย
ของความคิด การจินตนาการ การวางแผนและการบูรณาการความรู้ สร้างสรรค์ผลงาน และทักษะในระดับ
เทคนิคทส่ี อดคลอ้ งกบั สาขาวิชาชีพทศ่ี ึกษา เปดิ โอกาสให้ผูเ้ รยี นได้อภปิ รายกบั กลุ่มเพ่ือนภายใตบ้ รรยากาศการ
เรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อกำหนดโครงร่างของปัญหา (Framing problems) พิจารณาคิดค้นหา
ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด แล้วเลือกปัญหาที่สำคัญที่สุด เพื่อตัดสินว่าปัญหาใดคือปัญหาที่แท้จริงที่ต้องนำมา
แก้ไข เพ่อื ใช้ในการคน้ หาวิธีแก้ไขปญั หาต่อไป
2.2) การสรุปความรู้ และการวิพากษ์ความรู้ ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้อธิบายแนวคิด
โดยใช้ภาษาของตนเอง สอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของผู้เรียนฟังด้วยความเคารพ
กับการอธิบายของผู้เรียนท่ีใช้ความรู้เดมิ หรือประสบการณ์ท่ีมีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการอธิบายใน
ส่วนการวิพากษ์ความรู้ ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน
โดยผ่านประสบการณ์ใหม่ ๆ ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้นำความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ในชีวิตจริง
โดยผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับวิจัยเป็นฐานไปประยุกต์ใช้ในการ
ทำงานในอนาคต สร้างการยอมรับ (Building acceptance) การหาข้อสนับสนุนกับแนวทางการแก้ไขปัญหา
และวางแผนวิธีการที่จะดำเนินการ พร้อมทั้งประเมินผลลัพธ์และประสิทธิผลจากแนวทางการแก้ไขปัญหา
ข้อสนบั สนนุ การคดั เลอื กแนวทางการแก้ปัญหานั้นต้องพิจารณาจากบุคคล สถานที่ วสั ดุอปุ กรณ์ หรอื เวลาท่ีจะ
ชว่ ยสนับสนุนใหแ้ ผนการดำเนนิ งานบรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์
3) การตรวจสอบทบทวนความเข้าใจการเรียนรมู้ ี 1 กจิ กรรมหลกั คือ
3.1) การประเมินการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินความรู้ และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียน และประเมินการบรรลุจุดหมายการเรียน การวัดและประเมินผล เป็นการ
วดั และประเมินความรคู้ วามสามารถของผู้เรยี น แลว้ นำไปปรบั ปรุงภารกจิ (Appraising tasks) เป็นการสำรวจ
วธิ ีการทใ่ี ช้แก้ปญั หาวา่ มคี วามสอดคล้องกับเป้าหมายหลกั หรือไม่
การสร้างแบบจำลองการเรียนการสอน MIAP+RBL
ใช้กระบวนการวิจัยมาบูรณาการกับแบบจำลองการขับเคลื่อนผลการเรียนรู้ (Outcome Driven
Model) และการวัดผลประเมินผลตามหลักสูตร (Curriculum based Assessment) โดยมีสาระสำคัญของ
การพัฒนารปู แบบการเรียนการสอน โดยการจดั การเรยี นรใู้ ชร้ ปู แบบ MIAP การเรียนร้ขู องบคุ คลประกอบด้วย
4 ขั้นตอนสำคัญ คือ เริ่มจากการสนใจปัญหา (M: Motivation) ใคร่ที่จะแก้ปัญหานั้น ๆ ให้สำเร็จ ตามด้วย
การศึกษาหาข้อมูล (I: Information) ที่เพียงพอเหมาะสม เพื่อเป็นความรู้ ลงมือฝึกหัดแก้ปัญหา
(A: Application) โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ จะต้องทราบผลการฝึกหัด (P: Progress) ว่าการ
ฝึกหัดนั้นถูกหรือผิด อย่างไร (สุราษฎร์ พรมจันทร์, 2553: 11-14) ซึ่งแนวคิดนี้จะนำมาผสานรูบแบบวิจัย
เป็นฐาน ที่มาจากนิยามศัพท์ของการวิจัยท่ีว่า การวิจัยหมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วย
วิธีการทเี่ ชื่อถอื ได้ รูปแบบการวจิ ยั ปฏิบัตกิ ารในช้นั เรียน (Classroom Action Research) โดยดำเนินการตาม
หลักการและขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ (Kemmis and McTaggart, 1998) ซึ่งประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Act) ขั้นสังเกตผล (Observe) และขั้นการสะท้อน
ความคิด (Reflect) ซึ่งได้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิส มาเป็นสาระสำคัญ
ประกอบด้วยการทำความกระจ่างชัดในความรู้ การเลือกรับและทำความเข้าใจ สารสนเทศใหม่และการ
ตรวจสอบทบทวนและใชค้ วามรูใ้ หม่ สอดคลอ้ งกับแนวคิดการแก้ปัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ (Treffinger, Isaksen
and Dorval, 2000) ประกอบด้วย1) ความเข้าใจที่ท้าทาย (Understanding the Challenge) มุ่งค้นหา
จุดหมาย (goal) โอกาส (opportunity) ความทา้ ทาย (Challenge) ความกระจ่างชดั (clarifying) คิดแผนการ
(formulating) เพื่อกำหนดกรอบความคิดสำคัญในการปฏิบัติงาน 2) การสร้างมุมมองในการคิดแก้ปัญหา
(Generating Ideas) และ 3) การเตรียมทั้งวิธีการในการปฏิบัติงานและความสำเร็จในการปฏิบัติงาน
(Preparing for Action)
จากการศึกษาได้สังเคราะห์แนวคดิ ทฤษฎเี พ่ิมเติมและนำมาปรับแบบจำลองการเรยี นการสอน
เรยี กวา่ MIAP+RBL ดงั แสดงตามภาพ
MIAP RBL
- Motivation (Research Based Learning)
- Information
- Application - Plan
- Progress - Act
- Observe
- Reflect
รปู แบบการจดั การ
เรยี นการสอน
MIAP+RBL
5. สะทอ้ นคิด
- นำเสนอผลงานพร้อมประสบการณ์
ใหมท่ ไ่ี ด้รับ