ประวัติเพลงเราสู้
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองจาก
คำร้องเป็นเพลงที่ 2 ต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝัน
อันสูงสุด”และคำร้องนี้ คือ พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่
สมาชิกสภานิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
ข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจซึ่งได้จัดแข่งขันฟุตบอล
การกุศล และเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมา
นายสมภพ จันทรประภา ได้ขอพระราชทานพระราชดำรัสนี้
มาประพันธ์เป็นกลอนถวาย และได้พระราชทานให้เป็นของ
ขวัญปีใหม่ แก่ทหาร อาสาสมัครและตำรวจชายแดนร์ทั่วไป
ตอนที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จใหม่ๆ ได้พระราชทานให้
ม.ล.อัศนี ปราโมช เรียบเรียงและโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรี อ.ส.วัน
ศุกร์ บรรเลงก่อน ภายหลังจากที่ วง อ.ส.วันศุกร์ได้เล่นเพลงนี้แล้ว
ได้ทรงนำกลับไปแก้ไขและเรียบเรียงขึ้นใหม่ก่อนจะพระราชทาน
ออกมาใหม่ เพลงรุ่นหลังๆ นี้มีพระราชประสงค์ให้นักดนตรีทุกคน
มีส่วนเข้ามาช่วยกันแสดงความคิดเห็นปรับปรุงแก้ไขทำนอง มี
พระราชดำรัสว่า การแต่งแบบนี้เรียกว่า “การแต่งแบบสหกรณ์”
เกร็ดการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ นายแมนรัตน์เล่า
ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเสมือน
นักประพันธ์เพลง หรือปราชญ์ของโลก คือทรง
แต่งสดๆ เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัย
ขึ้นมา เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” ทรงเขียน
เส้นโน้ตห้าเส้น บนซองจดหมายแล้วทรงพระราช
นิพนธ์ทำนองเพลงออกมาโดยฉับพลัน”
เพลง เราสู้
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย
ทำนอง พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
คำร้อง นายสมภพ จันทรประภา ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น
บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ จะสู้กันไม่หลบหนีหาย
ปกบ้านป้ องเมืองคุ้มเหย้า สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา ถึงเป็ นคนสุดท้ายก็ลองดู
หน้าที่เรารักษาสืบไป บ้านเมืองเราเราต้องรักษา
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า อยากทำลายเชิญมาเราสู้
จะได้มีพสุธาอาศัย เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู
เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว