The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา ณัฐสนันท์ บัวโฉม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kasetbangsai, 2022-05-06 23:32:17

การฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา ณัฐสนันท์ บัวโฉม

การฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา ณัฐสนันท์ บัวโฉม

ใบงาน สรปุ ผลการฝกึ ประสบการณใ์ นสถานศกึ ษาตน้ แบบ

วทิ ยากรพี่เลี้ยง........................................ผอ.สุภทั รา สัจจา...........................................................................
ชื่อ-สกลุ ……………….....นางณัฐสนนั ท์ บัวโฉม .......... กลมุ่ ท.ี่ ................5.................เลขท…ี่ …………3………

ขอ้ มูลพ้ืนฐานสถานศึกษา
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหารแจ่มใส สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 โดย ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา และคุณหญิงแจ่มใส
ศิลปอาชา แจ้งความประสงค์บริจาคที่ดิน จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา ให้กับกรมอาชีวศึกษาเพื่อใช้เป็น
สถานที่ตั้งโรงเรียนสารพัดช่างในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรีจะได้มีโอกาสเรียนวิชาชีพ
ใหม้ คี วามรู้ และทกั ษะสงู เพียงพอท่จี ะนำไปประกอบอาชพี เป็นการเพมิ่ ศักยภาพของชวี ติ และสงั คมทีเ่ ป็นอยู่ให้
ดีขึ้น กรมอาชีวศึกษาได้ดำเนินการเสนอกระทรวงศึกษาธิการขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่างบรรหาร -
แจม่ ใส จงั หวดั สุพรรณบรุ ี ตัง้ อยู่เลขที่ 166/1 ถนนมาลยั แมน ตำบลร้ัวใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
รหัสไปรษณีย์ 72000 โทรศัพท์ 0-3551-1880 โทรสาร 035-523890 เว็บไซต์ www.bunharnpoly.ac.th
อเี มล : [email protected] ซ่งึ ปจั จบุ ัน นายไพบูลย์ คำภาพักตร์ เป็นผู้อำนวยการ

วเิ คราะห์บรบิ ทสถานศึกษา
จุดเด่น
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส เป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นในจังหวัด

สุพรรณบุรี มกี ารจดั การเรยี นการสอนหลกั สูตรระยะส้นั ท่หี ลากหลาย มีระบบดแู ลช่วยเหลอื นักเรียนนักศึกษา
และแนะแนวผู้เรียนให้สำเร็จการศกึ ษาตามหลกั สูตรท่ีกำหนดที่มีประสิทธิภาพ มคี วามรคู้ วามสามารถ มีทกั ษะ
วิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่ดีงาม เป็นที่พึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน ภาครัฐ
ภาคเอกชน ชุมชน สังคม และ ได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ของสอศ. และการแข่งขันทักษะฝีมือ
แรงงานแหง่ ชาติ ของกรมพัฒนาฝมี อื แรงงานได้รับรางวลั สถานศกึ ษามีการระดมทรัพยากรเพอ่ื การพัฒนาการ
เรียนการสอน ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ทางการศึกษา และทรัพยากรอื่นจากหน่วยงาน
ภาครฐั และเอกชน ได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

จุดควรพัฒนา
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส มีบุคลากรสายการสอนไม่เพียงพอ เนื่องจากครูสายการสอน

ย้ายไปสถานศึกษาอื่น และไม่มีครูผู้สอนมาทดแทนในสาขาที่ย้าย ประกอบกับนักเรียนในระบบมีน้อยตาม
นโยบายของสำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้ปรับบทบาทในกลุ่มผเู้ รียนในระบบปกติ ผลงานที่เป็น
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยของนักเรียนนักศึกษาที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ในระดับภาค และ
ระดับชาตมิ ีนอ้ ย

1. ประเดน็ การศกึ ษา สถานศกึ ษาต้นแบบ
ประเด็นท่ี 1 กลุ ยุทธ์ในการขบั เคล่อื น Future Skill ของสถานศกึ ษา วทิ ยาลัยสารพัดชา่ งบรรหาร-

แจ่มใส พร้อมทั้งความร่วมมือของคณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ขับเคลื่อน Future Skill
ของสถานศึกษาในทกุ สาขาวิชาทเี่ ปดิ การเรยี นการสอน ดังนี้

1) จัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (ประชาชน ผู้พิการ ที่ต้องการมีอาชีพหลักใหม่ ๆ หรืออาชีพ
เสริม รวมท้ังจัดทำหลักสูตรวิชาชพี พรีเมยี ม

2) ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝมี ือแรงงาน (กรมพัฒนาฝมี ือแรงงาน กระทรวงแรงงาน) ศนู ย์เทียบโอนหน่วยกิต
และจัดการศึกษานอกระบบใหก้ ับประชาชน ทัง้ หลักสูตร ปวช. และ ปวส.นอกระบบ

3) จดั การศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. ปกตติ ่อไปได้เพอื่ รองรับปรมิ าณผู้เรียน
4) ปรบั เปลยี่ นบรบิ ทตามความถนัดทางสาขาวิชาเป็นหลัก
ปีการศกึ ษา 2564 วทิ ยาลยั สารพดั ช่างบรรหาร-แจม่ ใส ได้ขับเคลือ่ น Future Skill ของสถานศึกษา
ได้บรรจุโครงการเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศเพิ่มเติมอีกหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ
โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ โครงการพัฒนาศักยภาพครูและ
นกั เรียนให้มสี มรรถนะทางภาษาและดิจทิ ัล โครงการพฒั นาสมรรถนะอาชพี ในอนาคตเพ่ือรองรับกลุ่มผู้สำเร็จ
การศึกษาและยงั ไมม่ ีงานทำ Re-Skill ,Up-Skill ,New-Skill โครงการขบั เคลื่อนสูค่ วามเปน็ เลิศทางอาชีวศึกษา
(Excellent Center) และพัฒนารายวิชาหลักสูตรระยะสั้น รายวิชา“พลังงานโซล่าเซลล์” โดยบริการ
ประชาชนทั่วไป ซึ่งดำเนินการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง และ
โรงเรียนบ้านทา่ เสด็จ จงั หวดั สุพรรณบุรี ซ่งึ ใช้ Internet off Think ควบคุมการเปิด-ปิด ควบคมุ อปุ กรณไ์ ฟฟ้า
โดยนำมอเตอร์และแผงโซล่าเซลล์ไปตั้งสูบน้ำในพื้นที่สวนไร่นาของเกษตรกร เป็นต้น โดยจัดการศึกษาเพื่อ
ผลิตและพัฒนากำลังคนโดยจัดอาชีวศึกษาครอบคลุมทุกพืน้ ที่ สาขาอาชีพ การขยายกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริม
การจดั หลกั สตู รอาชวี ะท้องถนิ่ และสนับสนุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส มุ่งผลติ และพัฒนากำลังคนในสาขาที่
เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน สาขาที่เป็นนโยบายรัฐบาล และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ โดยการจดั อาชวี ศึกษาเฉพาะทาง อาทิ การสรา้ งเกษตรรนุ่ ใหม่ ครวั ไทยสคู่ รัวโลก พลังงานทดแทน
ฯลฯ ขยายกลมุ่ เป้าหมายอาชวี ะในโรงเรียนการศึกษาขัน้ พนื้ ฐาน และอาชวี ะเพอื่ คนพิการ อาชีวะวัยแรงงาน
อาชีวะสูงวัย อาชีวะเพื่อสตรี อบรมระยะส้ัน/ตลาดนัดอาชีพ ศูนย์ซ่อมสร้างเพือ่ ชุมชน เทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์ เพื่อต่อยอดและพัฒนาทักษะทั้ง Upgrade Skills และ Re Skills ร่วมจัดอาชีวศึกษาในสถานพินิจ
เรือนจำ ฯลฯ สนบั สนุนใหห้ น่วยงาน/องคก์ ร ร่วมจดั อาชวี ศึกษา ซึ่งไดแ้ ก่ สถานประกอบการ และภาคเอกชน
จากสาขาอาชีพต่าง ๆ และอาชีวะเทียบโอนประสบการณ์ เพิ่มช่องทางการเรียนอาชีวศึกษาด้วยอาชีวะทางไกล
และเครอื ขา่ ยวทิ ยเุ พ่ือการศกึ ษาและพัฒนาอาชพี (R-radio network)

ประเด็นที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งของระบบความร่วมมือกับสถานประกอบการ ในการพัฒนา
วิทยาลัยสารพดั ช่างบรรหาร-แจ่มใส สู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง นักเรยี น นกั ศกึ ษา มีทักษะแห่งอนาคต กา้ วทนั
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีทักษะสมรรถนะวิชาชพี
มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในสาขาวิชาสู่การปฏิบัติจริง สามารถประยุกต์ใช้ ในการ
ประกอบอาชพี ได้ ซ่ึงวทิ ยาลยั สารพดั ช่างบรรหาร-แจ่มใส มีการสรา้ งภาคีเครอื ข่ายทำความร่วมมอื กับโรงเรียน
และสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง โดยวิทยาลัยสารพัดช่าง
บรรหาร-แจ่มใสได้ทำความร่วมมือกับโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับผู้พิการที่บกพร่อมทางสติปัญญา ออทิสติก
(การเรียนรู้ช้า ภาวะทางอารมณ์ และสมาธิ) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียน
ซึ่งวทิ ยาลยั สารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส ได้ทำขอ้ ตกลงกับหนว่ ยงานภาครัฐ และเอกชนเพ่อื สร้างความสัมพันธ์
และความรว่ มมอื กบั สถานประกอบการ อีกทง้ั มีการจดั การเรยี นการสอนดว้ ยเคร่ืองมอื ที่ทนั สมัย สอดคล้องกับ
เทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเน้นให้ผู้เรียนมี ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ภายใต้
ปรัชญา “ทักษะดี คุณธรรมเด่น เน้นวิชาการ” มุ่งเน้นขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง และ
ได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดของผู้เรียนและความร่วมมือของสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการ
พัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ
ทั้งด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม ยกระดับกำลังคนผู้สำเร็จการศึกษาให้มี
สมรรถนะสูงขึ้น ทง้ั ในระดบั ประกาศนยี บตั รวิชาชีพ ระดับประกาศนยี บตั รวชิ าชีพชน้ั สูง และระดบั ปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ในการเตรียมความพร้อม

ของผู้เรียนเข้าฝึกอาชีพ บุคลากรของสถานศึกษา ครูฝึกของสถานประกอบการ ร่วมกับสถานประกอบการ
หน่วยงานภาครัฐ เอกชน โดยมีโครงการต่างๆ ในแผนปฏิบัตกิ ารประจำปี ดังน้ี

1) โครงการความรว่ มมือกับสถานประกอบการเพอ่ื เพ่ิมเสรมิ สรา้ ง ขีดความสามารถในการแขง่ ขัน
2) โครงการขยายและยกระดับการจดั การอาชีวศกึ ษาระบบทวภิ าคแี บบองคร์ วมโดยใชพ้ ้ืนทีเ่ ปน็ ฐาน
3) โครงการทดสอบฝีมือแรงงานรว่ มกับสำนักงานฝมี อื แรงงานและสถาบนั คณุ วฒุ ิวชิ าชีพ
4) โครงการสร้างห้องเรียนอาชีพในสำนักงานเขตพืน้ ที่ประถมศึกษา (สพฐ.) และสำนักงานเขตพืน้ ท่ี
มัธยมศึกษา (สพม.)

ประเดน็ ที่ 3. ระบบการบริหารจดั การสคู่ ณุ ภาพ
ระบบบริหารจัดการคุณภาพของวิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส ให้สามารถผลิตกำลังคนที่มี

คุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน และมีทักษะสมรรถนะวิชาชีพ โดยการพัฒนาหลักสูตรให้

สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและชุมชน กรอบการพัฒนาสมรรถนะอาชีพ พัฒนาครูให้ปรับวิธีเรียน

เปลี่ยนวิธีสอน ปฏิรูปวิธีสอบ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ที่ทันสมัย พัฒนาแหล่งเรียนรู้บนฐานนวัตกรรม

เทคโนโลยี มีการทดสอบ มาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องก่อนจบการศึกษา ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษาที่จบ

การศกึ ษามคี ณุ ภาพตามทตี่ ลาดแรงงานตอ้ งการ และมุง่ พฒั นาใน 3 มติ ิ 9 จดุ ม่งุ หมาย ประกอบดว้ ย

มติ ทิ ่ี 1 การพัฒนาคน ประกอบดว้ ย 3 จดุ มงุ่ หมาย
1.1 ผ้เู รยี นมสี มรรถนะสงู
1.2 วิทยาลยั แห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
1.3 ครแู ละบคุ ลากรมีสมรรถนะสูง

มิตทิ ่ี 2 โอกาสและความเสมอภาคทางการศกึ ษา ประกอบดว้ ย 2 จุดมงุ่ หมาย
2.1 สถานศกึ ษาของคนทกุ ชว่ งวยั
2.2 ความปลอดภยั ของผเู้ รยี น

มิตทิ ่ี 3 ปัจจยั ผลักดนั และพลกิ โฉม ประกอบด้วย 4 จุดมุง่ หมาย
3.1 วทิ ยาลัยคณุ ธรรม
3.2 วทิ ยาลัยสมรรถนะสูง
3.3 สง่ิ แวดล้อมดี
3.4 พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่

ประเดน็ ที่ 4 การขบั เคลอื่ นระบบงานวิชาการ

๓.๔ การขบั เคล่ือนระบบงานวชิ าการ
วิทยาลัยสารพัดชา่ งบรรหารแจม่ ใสได้จัดทำรูปแบบการส่งเสรมิ และพัฒนาคุณลกั ษณะของผู้สำเร็จ

การศกึ ษาท่ีพงึ ประสงค์ และการสรา้ งสังคมแหง่ การเรียนรู้ สคู่ วามเป็นเลิศของวทิ ยาลัย โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์ คอื
1. เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนา คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึง

ประสงค์ และการสรา้ งสงั คมแห่งการเรียนรู้ สูค่ วามเปน็ เลศิ
2. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาทีพ่ งึ ประสงค์ และการสร้างสังคมแหง่

การเรียนรู้ และนำส่กู ารใช้ประโยชน์ในชุมชน
กรอบแนวคิดวิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส ได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล

นโยบายของสำนักงานคณะกรรมกรการอาชีวศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา นโยบายการจัดการ
เรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ สมรรถะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระมาเปน็ แนวใน

การกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา
อาชวี ศึกษาที่พึงประสงค์ และการสรา้ งสงั คมแห่งการเรยี นรู้ สคู่ วามเป็นเลศิ ดังน้ี

1. ด้านการบรกิ ารจัดการ (Input) นำนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาด้านการ
บริหารจัดการอาชีวศึกษาในมิตขิ องกรพัฒนาคุณภาพ "ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน ปฏิรูปการสอบ ให้ทัน
กับยุคสมัยอย่างมีคุณภาพ" ทั้งในส่วนของผู้เรียนและผู้สอน ร่วมกับนโยบายรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 มาเป็น
มาตรฐาน เพอื่ เป็นแนวทางในการบริหารจดั การและขับเคล่ือนงานวิชาการของวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสว่ นของการพฒั นาครูผู้สอนทางด้านทกั ษะอาชีพ

2. ด้านกระบวนการ (Process) จดั รปู แบบการเรียนการสอนของนกั เรียน นกั ศกึ ษาทเี่ รียนรายวิชา
ทางวิชาชีพในสาขาแต่ละสาขา ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ส่งเสริม
ผ้เู รยี นใหม้ ีสมรรถนะผู้ประกอบการ ซึง่ ครูผ้สู อนจดั การเรยี นการสอนตามแผนการจดั การเรยี นรู้และมีเอกสาร
ใบงานที่เกิดประโยชน์ใด้โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ งานวิจัยและนวัดกรรมสิ่งประดิษฐ์ ท่ี
ได้รับการยอมรับผ่านการประเมินผลงานจากผู้ประเมินผลงาน ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ
ผทู้ รงคณุ วุฒิ สถานประกอบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผ้ปู กครอง ซ่ึงเป็นภาคีเครือขา่ ย ของสถานศึกษา

3. ผลงาน/การเผยแพร่ (Output) สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนโดยการประกวดและเผยแพร่
พัฒนาหรือต่อยอดในระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ ร่วมกับองค์กรภายนอก มีการ
ส่งเสริมให้เผยแพร่ผลงานในเวทีระดับต่าง ๆ นอกจากการสนับสนุนให้ผู้เรียนและผู้สอนพัฒนาและเผยแพร่
ผลงาน ยงั มีการสง่ เสริมให้นักเรยี น นักศึกษา มีสว่ นรว่ มในโครงการศูนยซ์ ่อมสร้างเพ่ือชุมชน (Fix-it Center)
ศูนย์บ่มเพา: ผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ซึ่งมีการประกวดพัฒนาแผนธุรกิจ, เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียน
มคี วามสามารถรอบด้าน และนำความรูไ้ ปต่อยอดพฒั นาได้

4. การนำไปใช้ประโยซน์ (Outcome) ผลการส่งเสริมส่งผลให้ ผู้เรียนตรงตามคุณลักษณะของ
ผู้สำเร็จการศึกษาอาชวี ศึกษาที่พึงประสงค์ และมีผลงานในด้านการสรา้ งสังคมแห่งการเรียนรู้ ผลการแข่งขนั
ทักษะ ผลงานสิ่งประดิษฐ์และงานวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรทางการ
ศึกษา และนักศึกษาได้นำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา
ในชมุ ชน สถานประกอบการ

5. ผลการดำเนินการตามรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนา คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา
อาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่ความเป็นเลิศ วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส
นำผลจากการนำรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์
และการสร้างสงั คมแห่งการเรยี นรู้ สูค่ วามเป็นเลศิ มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน การบรหิ ารจัดการ

ข้อมลู พน้ื ฐานสถานศกึ ษา

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วิทยาลยั อาชีวศึกษานครปฐม กอ่ ต้ังขนึ้ เมื่อวันที่ 1 ธนั วาคม 2477 ชอ่ื “โรงเรียนวิสามญั การช่าง” โดยใช้สถานที่
เรียนร่วมกบั โรงเรยี นสตรีฝึกหัดครนู ครปฐม มีนางไปล สาริกบตุ ร ครใู หญ่โรงเรียนสตรีนครปฐม ซ่ึงปัจจุบัน
มีการจัดการศกึ ษาระดบั ประกาศนียบัตรวชิ าชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนยี บตั รวชิ าชีพชน้ั สงู (ปวส.) และระดับ
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัติ (ทล.บ.) โดยมีวัตถปุ ระสงค์ เพือ่ ผลติ และ พัฒนากำลังคนที่สำคัญใน
สาขาวชิ าชีพสนองต่อความต้องการของภาคอตุ สาหกรรม และองค์กรอนื่ ๆ ท่ีมีความต้องการ ตัง้ อยู่เลขที่ 90
ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม นครปฐม 73000 โทรศัพท์: 034 252 790 โทรสาร
034-256806 เวบ็ ไซต์ www.nc.ac.th ซ่งึ ปัจจุบนั นายวุฒิชัย รักชาติ เป็นผู้อำนวยการ

วเิ คราะหบ์ ริบทสถานศกึ ษา มีจุดเดน่ ดังน้ี
1. จัดการศึกษาโดยผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานสอดคล้องกับนโยบาย

รฐั บาล ยุทธศาสตร์ชาติ ในการพฒั นาประเทศไทย 4.0 ที่ขบั เคล่ือนด้วยนวัตกรรม และรองรับความต้องการ
ในอนาคต และพัฒนาประเทศรองรับการแข่งขันในศตวรรษที่ 21 ในการขับเคลื่อนการดำเนินการในการ
พัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทางภายใต้
“โครงการส่งเสริมสถานศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง” โดยวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมได้เป็น
สถานศึกษาเฉพาะทางด้านอาหารและโภชนาการ (Excellent College of Food and Nutrition) โดยได้รับ
งบประมาณโครงการส่งเสริมสถานศึกษอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง ประจำปีการศึกษา 2563
เพื่อดำเนินงาน 2 โครงการ คือ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารร่วมสมัยในแบบ New Normal
(Contemporary food workshop project In New Normal) และ 2) โครงการชุดสื่อการสอนออนไลน์
(Multimedia Online Project)

2. ครูและบุคลากรมีความสามารถ มีประสบการณ์ มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่สอน
มคี ณุ ธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ

3. มีความพรอ้ มทางดา้ นอาคารและสถานที่ เทคโนโลยที ีท่ นั สมยั และสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์
4. สถานศกึ ษาอยู่ใกล้แหลง่ ชมุ ชน มที ่ีตัง้ ในการคมนาคมสะดวก
5. มีศูนย์ในการทดสอบ เช่น ศูนย์สอบ R-Training , ศูนย์สอบ V-net ,ศูนย์สอบอาชีวศึกษา, ศูนย์ทดสอบ
ภาษาองั กฤษ และหน่วยงานราชการขอใหส้ ถานท่ใี นการสอบเข้ารับราชการ
6. มีศูนย์การเรียนรู้ True Touch แหง่ แรกของสำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา
7. มีการใช้โปรแกรม Student Care ในการบรหิ ารงานในกจิ กรรมตา่ ง ๆ ในสถานศกึ ษา
9. ไดร้ บั การสนับสนุนการจดั การศกึ ษาจากชุมชน ภาครฐั และภาคเอกชน

1. กลยุทธในการขบั เคล่อื น Future Skill ของสถานศึกษา
วทิ ยาลยั อาชีวศึกษานครปฐม ไดม้ ีพันธกิจ เพ่ือให้บรรลุซึง่ วิสัยทศั น์ทก่ี ำหนดไว้ ดงั นี้
1. ยกระดับการจดั การศึกษาดา้ นวิชาชีพใหม้ ีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
2. สรา้ งภาคเี ครอื ข่ายความร่วมมอื ให้มีส่วนรว่ มในการจดั การอาชีวศกึ ษา
3. สรา้ งนวตั กรรม วิจยั เพื่อพฒั นาคณุ ภาพชีวิต สังคมและสิง่ แวดลอ้ ม
4. นอ้ มนาํ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผเู้ รียนและบุคลากร ของสถานศกึ ษา
5. พัฒนาระบบบรหิ ารจดั การและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามหลักธรรมาภบิ าล
6. ส่งเสรมิ และพฒั นาศูนยบ์ ่มเพาะผปู้ ระกอบการอาชีวศึกษาเพอ่ื สรา้ งธุรกจิ และเป็นแหลง่ เรียนรู้
เป้าประสงค์ ดังนี้
1. ผเู้ รียนอาชวี ศึกษา มีความรู้ ความสามารถ ทักษะทางด้านอาชีพและคณุ ลักษณะที่พึงประสงค์
2. สง่ เสรมิ และพฒั นาเครอื ข่ายความรว่ มมือกบั ชุมชน สถานประกอบการทงั้ ภาครฐั และเอกชน
3. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต

สังคม ชมุ ชน สง่ิ แวดลอ้ ม และตอ่ ยอดเชิงพาณชิ ย์
4. สืบสาน รักษา ต่อยอดและน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนา

ผ้เู รยี นและบุคลากรของสถานศกึ ษา
5. ส่งเสริมระบบบริหารจัดการสถานศึกษา ระบบการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายใตก้ าร บริหารแบบมี

สว่ นรว่ ม ตามหลักธรรมาภบิ าล
6. สง่ เสริมและสนับสนนุ ผปู้ ระกอบการอาชวี ศกึ ษาทมี่ ีศกั ยภาพและความพร้อมในการเปน็ ผปู้ ระกอบการ

ให้ได้รับการพฒั นาอยา่ งตอ่ เน่ือง เพ่อื ใหส้ ามารถเปน็ ผู้ประกอบการไดอ้ ย่างเขม้ แขง็ และยัง่ ยนื

ยุทธศาสตรท์ ่ีใช้ในการขบั เคล่ือนสถานศึกษา คือ
1. ผลติ และพัฒนากาํ ลงั คนให้มคี ณุ ภาพและไดม้ าตรฐานสากล
2. สร้างภาคเี ครอื ขา่ ยความรว่ มมอื กับสถานศึกษา สถานประกอบการ ชมุ ชนทัง้ ภาครฐั และเอกชน
3. สง่ เสรมิ สนับสนนุ การสรา้ งงานวจิ ัยและพัฒนานวัตกรรม สง่ิ ประดิษฐ์ และต่อ ยอดเชงิ พาณิชย์
4. พัฒนาผเู้ รยี นและบคุ ลากรให้มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และน้อมนําแนวคิด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงสกู่ ารปฏบิ ตั ิในการดำเนินชวี ิต
5. พฒั นาระบบการบริหารจัดการและการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
6. ส่งเสริมและพฒั นาศูนย์บม่ เพาะผปู้ ระกอบการอาชวี ศึกษา
กลยทุ ธิใ์ นแตล่ ะพนั ธกิจ ทด่ี ำเนนิ การขับเคล่ือน ดงั น้ี
1. ยกระดบั ศกั ยภาพครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษาดา้ นวิชาชีพ ดา้ นภาษา และเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล
2. กำหนดการจัดการเรียนการสอน Up-skill, Re-Skill, New –skill ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และ
เปา้ หมาย
3. พฒั นาศักยภาพผ้เู รียนดา้ นภาษาและสมรรถนะหลกั ในการทำงาน (Digital Literacy)
4. พฒั นาหลักสตู รฐานสมรรถนะและบูรณาการปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
5. พฒั นาแผนการฝกึ อาชพี ร่วมกบั ภาคีเครือขา่ ย เน้นการฝกึ ปฏิบตั ิอยา่ งเต็มรูปแบบนำไปส่กู ารจา้ งงาน
6. สง่ เสรมิ การประเมนิ สมรรถนะบคุ คลตามมาตรฐาน
7. เพิม่ การจัดการอาชวี ศึกษาระบบทวภิ าคแี ละการฝกึ ประสบการณ์วิชาชีพ และพฒั นาความร่วมมือและ
เครือขา่ ยทางวิชาการดา้ นอาชีวศึกษา ทง้ั ใน และต่างประเทศ
8. สง่ เสริมการวิจัย และพฒั นาเพือ่ สร้างองคค์ วามรู้ นวตั กรรม โครงงานทส่ี ามารถ ตอ่ ยอดและเพิ่มมูลค่า
ทางเศรษฐกิจ
9. พฒั นาการเรยี นการสอนดว้ ยการวจิ ยั เปน็ ฐาน และสะเตม็ ศกึ ษา
9. ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ
ผปู้ กครอง ชมุ ชน และสถานศึกษาอนื่
10. สง่ เสริมกระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรยี นรู้ท่เี กี่ยวขอ้ งกบั การ สร้างเสรมิ คณุ ภาพชีวิต
ที่เปน็ มติ รกับสิ่งแวดลอ้ ม
11. พัฒนาคุณธรรม จรยิ ธรรมและค่านิยมท่ีพึงประสงคเ์ น้นดเี กง่ และมสี ุข

๒. การสรา้ งความเขม้ แข็งของระบบความร่วมมือกบั สถานประกอบการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ระดบั ประกาศนยี บัตรวิชาชพี ชั้นสงู (ปวส.) และระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบตั ิ (ทล.บ.) โดยมี
วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาวิชาชีพสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ
วิทยาลยั ฯ จึงมกี ารทำความร่วมมอื ในการจัดการเรยี นการสอนรปู แบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการมีการ
พัฒนาหลักสตู รอย่างเป็นระบบร่วมกับสถานประกอบการ ทำให้สถานศึกษามหี ลักสูตรการฝึกอาชีพท่ีผูเ้ รยี น
มีสมรรถนะอาชีพสอดคล้องกับความตอ้ งการของสถานประกอบการและสอดคล้องกับความเปล่ียนแปลงของ
เทคโนโลยที ่ีทนั สมยั วิทยาลยั ฯ ไดร้ บั จดั สรรครุภณั ฑจ์ ากสำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาเพื่อสามารถ
เป็นสือ่ ในการการจัดการเรียนการสอนได้อยา่ งทันสมัย อกี ทงั้ ยงั มกี ารติดตาม การประเมนิ ผลการจัดการเรียน
การสอนร่วมกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นเครื่องมือการันตีคุณภาพการจัดการศึกษาและเป็นการสร้างความ
เข้มแข็งของระบบการสรา้ งความรว่ มมอื กับสถานประกอบการไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

การสร้างความเช่อื มน่ั ให้แก่ผู้ทม่ี ีส่วนเกยี่ วขอ้ ง
1. การบริหารเชงิ รกุ ตามยทุ ธศาสตรแ์ ละนโยบาย
2. การให้บริการสังคมด้านวชิ าชพี อยา่ งมีคุณภาพ

3. การจัดการเรียนร้ตู ลอดชวี ิตใหผ้ ู้เรยี นเปน็ คนดี มีความรู้
4. การพฒั นาองค์กรใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ
5. การเปน็ ห้นุ สว่ นกับองคก์ รภายนอก ความโดดเดน่ ของสถานศึกษา
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม มีความโดดเด่นทางด้านวิชาชีพ โดยมีกระบวนการ จัดการเรียนการ
สอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพด้านวิชาชีพ และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ผู้เรียนสามารถอยู่
ร่วมกับสังคมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังปลูกฝังให้นักเรยี น นักศึกษามีจิต สาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์เพ่ือ
ชุมชนและสังคมสืบไป
สถานศกึ ษามคี รูทมี่ คี ณุ วฒุ กิ ารศกึ ษาและจำนวนตามเกณฑท์ ่กี ำหนด ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในการ
จัดการเรียนการสอนที่เนน้ ผเู้ รียนเป็นสำคัญ และบริหารจดั การทรพั ยากรของสถานศกึ ษาอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
สถานศึกษา ประกอบดว้ ยประเดน็ ดงั นี้
1. ดา้ นหลกั สตู รอาชีวศึกษา สถานศึกษาใช้หลกั สูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ผเู้ รยี น ชมุ ชน สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิม หรอื กำหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่ม
วิชาเพิ่มเติมให้ทนั ตอ่ การเปลยี่ นแปลงของเทคโนโลยแี ละความต้องการของตลาดแรงงาน โดยรว่ มมือกับสถาน
ประกอบการหรอื หนว่ ยงานท่ีเกยี่ วขอ้ ง
2. ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจำนวนตาม
เกณฑท์ ่ีกำหนด ไดร้ ับการพฒั นาอยา่ งเป็นระบบตอ่ เนื่อง เพือ่ เป็นผู้พร้อมทง้ั ด้านคณุ ธรรม จริยธรรมและความ
เข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตอบสนองความต้องการของ
ผเู้ รียนทง้ั วยั เรียนและวัยทำงาน ตามหลกั สตู ร มาตรฐานคุณวฒุ อิ าชวี ศกึ ษาแต่ละระดับการศกึ ษา ตามระเบียบ
หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน
กำกบั ดแู ลให้ครูจัดการเรียนการสอนรายวิชาใหถ้ ูกตอ้ ง ครบถว้ น สมบรู ณ์
3. ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภมู ิทศั น์อาคารสถานท่ี
ห้องเรียนห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และ
งบประมาณของสถานศกึ ษาท่ีมอี ยู่อยา่ งเต็มศักยภาพและมปี ระสทิ ธิภาพ
4. ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ สถานศึกษามีการนำในด้านการบริหารจดั การสถานศึกษา ตาม
นโยบายสำคัญทหี่ นว่ ยงานตน้ สังกัดหรอื หนว่ ยงานท่กี ำกับดูแลสถานศึกษามอบหมาย โดยร่วมมอื ของผู้บริหาร
ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน รวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน สถาน
ประกอบการและหน่วยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งท้งั ภาครัฐและภาคเอกชน

3. ระบบการบรหิ ารจัดการส่คู ณุ ภาพ
การจัดการอาชีวศึกษาเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพ เพื่อผลิต พัฒนากำลังคนในระดับฝีมือ

(ปวช.) ระดับเทคนิค (ปวส.) การฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะอาชีพระยะสั้น ที่มี
ความสมั พันธ์สอดคล้องกับปรัชญาการอาชวี ศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒอิ าชวี ศึกษาแหง่ ชาติ และมาตรฐาน
การอาชีวศกึ ษาในแตร่ ะดบั การจดั การอาชีวศกึ ษาให้บรรลุผลตามวิสยั ทัศนท์ ่กี ำหนดไว้ ดังน้ี

๑. การจัดการเรียนการสอนทีส่ อดคล้องกบั ความต้องการของสถานประกอบการ
๒. ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการผลิตโดยพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพสอดคล้องกับความต้องการ
ของสถานประกอบการและการประกอบอาชพี อิสระใหม้ คี ณุ ภาพได้มาตรฐานในระดับสากล
3. เพมิ่ ประสทิ ธิภาพการบริหารจัดการอาชวี ศกึ ษาตามหลกั ธรรมาภิบาลโดยเครือขา่ ยความร่วมมือ
4. พัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เทคโนโลยีโดยการสร้างองค์ความรู้เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา
และพฒั นาวชิ าชีพ
5. พัฒนาครูและบคุ ลากรอาชวี ศึกษาให้มคี ุณภาพดว้ ยวิธีทหี่ ลากหลาย

เป้าหมายคณุ ภาพของผู้สำเรจ็
1. ดา้ นคุณลกั ษณะที่พึงประสงคไ์ ด้แก่ คณุ ธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ พฤตกิ รรม ลักษณะนิสัย
และทกั ษะทางปญั ญา
2. ด้านสมรรถนะและสมรรถนะทั่วไป ได้แก่ ความรู้และทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ การพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ การประยุกตใ์ ช้ตัวเลข การจดั การและการพัฒนางาน
3. ด้านสมรรถนะวิชาชพี ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาชพี สู่
การปฏบิ ัติจริง รวมท้ังประยุกตส์ อู่ าชพี

๔. การขับเคล่ือนระบบงานวชิ าการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม วางแผนการขับเคลื่อนงานวิชาการตามบริบาทของสถานศึกษา มีการ

พัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการชั้นนำ โดยการปฏิบัติขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่
แผนพัฒนาการอาชีวศึกษาทม่ี ีความชัดเจน ครบถว้ น และครอบคลุมการมีสว่ นร่วมในกระบวนการพัฒนาตาม
แผนพัฒนาการอาชีวศกึ ษาของผเู้ กย่ี วข้องทุกภาคสว่ น ต้ังแต่ระดบั นโยบายระดบั ปฏบิ ัติผมู้ ีสว่ นไดส้ ว่ นเสีย และ
สาธารณชน การเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของ
แผนพฒั นาการอาชีวศึกษาและการนำแผนพฒั นาการศึกษาสูก่ ารปฏบิ ตั ิที่ชัดเจน

แนวทางการขบั เคลือ่ น
1. การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมเข้าร่วมในการ
ผลักดันแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา การสร้างความเข้าใจกับหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายในการจัดการ
อาชีวศกึ ษาเก่ยี วกับวิสัยทศั น์ และเปา้ หมายของแผนพัฒนาการอาชีวศกึ ษา
2. การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนการพัฒนาอาชีวศึกษา กับแผนปฏิบัติราชการประจำปี
งบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณของ
สถานศึกษาในสังกดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. การปรบั ปรงุ กฎ ระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ให้เอือ้ ตอ่ แผนพัฒนาการอาชวี ศึกษา
4. การสร้างช่องทางให้ภาคีเครือข่ายในการจัดการอาชีวศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่าง
กวา้ งขวาง ท้ังระดับนโยบาย และระดับปฏิบตั กิ าร
การติดตามประเมนิ ผล
แนวคดิ และหลักการประเมนิ ผลแผนพัฒนาการอาชวี ศกึ ษา เป็นการตดิ ตามประเมินผลทเ่ี ปดิ โอกาสให้
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการอาชีวศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน ทั้งการประเมินกระบวนการ
จัดการผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบโดยสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ประเมินการดำเนินงานของสถานศึกษาเองควบคู่ไปกับการประเมินของหน่วยงานภายในสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชวี ศึกษา มกี ารกำหนดหลกั เกณฑ์การติดตามและประเมินผลตวั ชว้ี ัดที่ชัดเจนมีมาตรฐาน
และถูกต้องตามหลกั วิชาการ
บูรณาการความรแู้ ละประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝกึ ประสบการณ์ในสถานศึกษาตน้ แบบ
จากการเข้ารับการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาต้นแบบทั้ง 2 แห่ง ได้รับความรู้และประสบการณ์
ไดเ้ รยี นรกู้ ารบรหิ ารงานจากประสบการณ์จริงของผู้อำนวยการ และรองผอู้ ำนวยการหรอื ผูแ้ ทนฝา่ ยทั้ง ๔ ฝ่าย
ประกอบด้วย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา และ
ฝ่ายบริหารทรัพยากร ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานของหัวหน้าแผนก หัวหน้างานต่าง ๆ ซึ่งการ
ฝึกประสบการณ์ครั้งนี้ได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิธี ข้อคิด ข้อเสนอแนะในการ
บรหิ ารงานจากผู้อำนวยการและรองผูอ้ ำนวยการของสถานศกึ ษาตน้ แบบ ตลอดจนได้รับการฝึกปฏิบัตงิ านจริง

ในหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษามีคุณลักษณะรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่พึงประสงค์ ภาวะผู้นำทาง
วชิ าการและวชิ าชพี และการบรหิ ารจัดการในสถานศึกษาอาชวี ศกึ ษา ดงั นี้

๑. คุณลกั ษณะรองผอู้ ำนวยการสถานศกึ ษาทพี่ ึงประสงค์
คณุ ลกั ษณะทีพ่ ึงประสงค์นัน้ เกิดจากหลายปัจจัยแต่ปัจจัยหลักต้องเกิดจากผู้บริหารเอง รองผู้อำนวยการ
ท่มี คี ณุ ลกั ษณะรองผู้อำนวยการสถานศกึ ษาทพี่ ึงจะตอ้ งมีคุณลักษณะของรองผู้อำนวยการที่พึงประสงค์หลาย
ประการ ดังนี้
1.1 รองผู้อำนวยการสถานศึกษาต้องมีบุคลิกภาพที่ดี เพื่อให้เกิดความมัน่ ใจและความเชื่อม่ันต่อตัว
ผู้บริหาร คุณลักษณะรองผู้อำนวยการที่พึงประสงค์ในด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย ๑) เป็นผู้ที่มีสุขภาพ
รา่ งกายสมบรู ณ์ แข็งแรง หมัน่ ออกกำลงั กายและหมั่นดูแลสุขภาพกายอยู่เสมอ เพื่อพร้อมปฏิบัติงานในหน้าที่
ได้อยา่ งเต็มกำลัง ๒) เปน็ ผทู้ ี่มสี ขุ ภาพจติ ดี ไมเ่ ครยี ดกบั งานจนมีผลกระทบต่อการประสานงานระหว่างตนเอง
กบั ผบู้ ังคับบัญชาและผใู้ ต้บงั คบั บญั ชา มีวฒุ ิภาวะทางอารมณ์สูง เพือ่ การควบคุมอารมณ์ให้สามารถทำงานได้
ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ๓) เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี ทั้งการแต่งกาย และกิริยามารยาท
ในการวางตวั การพดู จา ในด้านการแตง่ กายตอ้ งแต่งกายใหถ้ ูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ เปน็ แบบอย่างให้แก่
ผู้ใต้บังคับบัญชา สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง
พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเฉพาะตัวของผู้บริหารที่ดูโดดเด่นตา่ งจากผู้อ่ืนในองค์กร เรียกอีกอย่างหนึง่ วา่
บคุ ลิกภาพ ซงึ่ มี ๒ ส่วนคือ บุคลกิ ภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน
1.2 มคี ุณธรรม จริยธรรมสูง ปฏิบตั ติ นให้อยใู่ นกรอบของกฎหมาย ระเบยี บ และแบบแผนของสังคม
ไมก่ ระทำการใดๆ ไปในทางทีเ่ สื่อมทั้งต่อตนเอง องค์กร และผ้รู ว่ มงาน เป็นแบบอยา่ งท่ีดีให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
ถือปฏิบัตติ ามด้วยความเช่อื ม่นั
1.3 ต้องไมม่ ีความเปน็ อตั ตาสงู ประสานความรว่ มมือระหว่างรองผูอ้ ำนวยการสถานศึกษาฝ่ายต่างๆ
ทตี่ ้องทำงานเช่อื มโยงกัน โดยคำนึงประโยชนข์ องสถานศกึ ษาเป็นสำคัญ ในการทำงานต้องให้เกียรติซึ่งกันและ
กนั ทุกฝ่าย และทุกระดับ ให้กำลังใจซง่ึ กนั และกนั
๑.๔ ตอ้ งมที ักษะในการส่ือสาร ปัจจบุ นั พฒั นาการด้านการส่ือสารและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นไป
อย่างรวดเร็ว รองผู้อำนวยการต้องศึกษา และพัฒนาตนเองให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ นอกจากนกี้ ารสือ่ สารด้วยการพดู กม็ ีความสำคญั มากเช่นกนั
๑.๕ มีศักยภาพในการประสานงานกบั ทุกคน ทุกฝ่ายได้ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็นและ
ตอ้ งยอมรับในมตขิ องท่ปี ระชมุ หรอื สว่ นรวม ใหท้ กุ คนรู้สกึ วา่ ตนเองสำคัญต่อองคก์ ร
๑.๖ รูจ้ ักเรยี นร้พู ฤตกิ รรมของบคุ ลากรในองค์กร เข้าถึงคนทกุ คนทกุ กลุม่ อยา่ งเป็นมิตร ใหเ้ กียรติ ยก
ย่อง ชมเชย และใหร้ างวัลสำหรบั คนทส่ี รา้ งสรรค์ผลงานเปน็ ที่ประจกั ษ์
๑.๗ วางแผนการทำงานอยา่ งเป็นระบบมีมาตรฐาน วางแผนการทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม
ทางความคดิ มาใช้ในการวิเคราะหป์ ญั หา เพือ่ ทราบถงึ ตน้ เหตุของปัญหาอย่างแท้จรงิ เพอ่ื ให้สามารถแก้ปัญหา
ได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ
๑.๘ รองผู้อำนวยการต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้ร่วมงานต้องมคี วามเชื่อมั่น จึงต้องเป็นคนกล้าคดิ
กล้าทำ กล้าตดั สินใจ บนพน้ื ฐานของความถูกต้องตามกรอบของระเบียบ
๑.๙ ต้องระลึกไว้เสมอวา่ งานทุกงานมีความสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องสร้างความเท่าเทียมในด้าน
ของขวัญและกำลงั ใจในการทำงานต่อคนในองค์กร เพื่อให้ทุกคนรู้สึกอุ่นใจที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ส่งผลให้
สามารถขบั เคลือ่ นภารกจิ ตา่ งๆ ใหบ้ รรลตุ ามเป้าหมายทีก่ ำหนด
สรุปได้ว่าคุณลักษณะอันพงึ ประสงคข์ องผูบ้ ริหารสถานศึกษาเป็นส่ิงท่ีผู้บริหารจะใช้ภาวะผู้นำในการ
บริหารงานให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีปัจจัยหลายประการมาเกี่ยวข้อง มีลักษณะและคุณสมบัติที่ดีถึง
พร้อมซึง่ ภูมริ แู้ ละภูมธิ รรม สามารถใช้บทบาทหน้าทีข่ องผู้นำทางการศกึ ษา กระต้นุ เตอื นในการสร้างขวัญและ

กำลังใจ ประสานงานกับบุคลากรภายในองค์กรและชุมชนเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยอาศัย
เทคนคิ ท่เี ปน็ ศิลปะเข้ามาผสมผสานกบั ความรูท้ างวิชาการอยา่ งกลมกลืนและมีประสทิ ธภิ าพ

๒. ภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ
๒.๑ สามารถนำและส่งเสริมครู บุคลากรทางการศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนให้งานวิชาการก้าวสู่
เป้าหมาย การพัฒนาคณุ ภาพครแู ละบุคลากรจึงส่งผลต่อการพฒั นาผู้เรยี น
๒.๒ สนับสนนุ ครผู สู้ อนใหใ้ ช้นวัตกรรมท่ีมีการสง่ เสรมิ การเรียนรู้ เพ่ือใหส้ อดคลอ้ งกบั การศึกษาในยุค
Thailand ๔.๐ ทผ่ี ู้เรียนสามารถสรา้ งนวัตกรรมได้
๒.๓ สนับสนุนให้มีการจัดห้องเรียนหรอื ห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการทีส่ ่งเสริมการแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเองของนกั เรยี นให้มากขึ้น เชน่ คอมพิวเตอร์ อนิ เตอร์เนต็ หรือสอ่ื การเรยี นรู้ท่ีครูผลติ ข้ึน
๒.๔ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่นมีโครงการส่งเสริม
สนับสนุนการทำวจิ ัย นวตั กรรมและสิง่ ประดิษฐ์ ให้กับคณะครู อาจารย์ ในสถานศึกษา
๒.๕ สามารถบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ท่ีเนน้ ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวสิ ยั ทัศน์ในการ
พฒั นาหลกั สูตรใหส้ อดคล้องกับความตอ้ งการ ของสถานประกอบการ
2.6 มกี ารนำกระบวนการวิจยั มาใชใ้ นการพัฒนาการจัดทำแผนการเรยี นรู้ จัดทำส่อื การเรียนการสอน
ให้กบั ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยา่ งต่อเนอื่ ง

การบริหารจัดการสถานศกึ ษาด้านวชิ าการเป็นภารกิจหลักที่สําคัญที่สุดที่จะสามารถสรา้ งผลผลติ
คือ ผเู้ รียนให้มีคุณภาพไดม้ าตรฐาน ผูบ้ ริหารสถานศึกษาจะสามารถบริหารจัดการศกึ ษาให้บรรลุวัตถุประสงค์
ตามเป้าหมายที่กาํ หนดไว้ได้จึงควรมคี ุณลักษณะอนั พึงประสงค์โดยรวม คือ มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ในการ
นําหลักและวธิ ีการใหม่ ๆ มากําหนดนโยบายในการจัดการศึกษา สามารถจัดทําและใช้หลักสูตรให้เหมาะสม
กับผู้เรียนและท้องถ่ิน เสนอและนําเทคนิควิธกี ารสอนแบบใหม่ ๆ มาใช้ในการจดั การเรยี นการสอน มีการนํา
ผลงานวิจัยมาพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผล และประเมินผล
เป็นอย่างดี เสนอและนํานวัตกรรมและเทคโนโลยเี พือ่ การศกึ ษามาผลิตและพัฒนาส่ือการเรียนการสอน และ
สามารถนําภูมิปัญญาท้องถนิ่ และระดมทรัพยากรจากชุมชนมาใช้ในการจดั การศึกษา

๓. การบรหิ ารและการจัดการในสถานศึกษาอาชีวศกึ ษา
การบริหารจัดการเป็นการนำเทคนิควิธีการต่าง ๆ มาดำเนินการอย่างเป็นระบบให้บรรลุวัตถุประสงค์

จำเป็นต้องนำความรู้ การบริหารแบบมีส่วนร่วมมาวางแผนบริหารสถานศึกษา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ในการพฒั นาแลเพ่ิมประสิทธภิ าพการปฏิบัตงิ านได้ชัดเจน จากการทไี่ ด้รบั การฝกึ ประสบการณ์ในสถานศึกษา
ต้นแบบวิทยาลัยสารพัดช่างบรรหารแจ่มใส สามารถสรุปแนวคิดเกี่ยวกับ การบริหารและการจัดการ
ในสถานศกึ ษา ดงั น้ี

๑) การบรหิ ารงานท่มี ขี อ้ จำกดั ในด้านบุคลากรและงบประมาณซึง่ ตอ้ งช้แี จง สรา้ ง ความเข้าใจกบั
บุคลากรในองคก์ ร ใช้ความอดทน และการทำงานอย่างมีส่วนรว่ ม

๒) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงาน เปรียบเสมือนคนในครอบครัว กำหนดบทบาท
หน้าท่อี ย่างชัดเจน มกี ารกระจายอำนาจ มอบงาน ประสานงาน ตดิ ตาม และรายงานผล เพอ่ื ชว่ ยแก้ไขปัญหา
และตอ้ งรายงานผลการปฏบิ ตั งิ านอย่างเปน็ ระบบ

๓) จดั ให้มีการผสานความร่วมมือ ทำบันทึกข้อตกลง กบั หนว่ ยงานภายนอกทัง้ ภาครฐั และเอกชน
ในการร่วมจัดการศึกษาด้านวิชาชีพในทุกภาคส่วน เน้นการระดมความคิด ทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา
ร่วมกันมากขน้ึ

๔) สร้างความสัมพันธ์ที่ดี กับผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานของรัฐภายในจังหวัดเพ่ือ
สรา้ งมาตรการในการลดปญั หานกั เรยี น นักศึกษาออกกลางคัน ต้องสร้างเครอื ข่ายในการดแู ลผ้เู รียน

ภาคผนวก
ภาพกิจกรรมระหว่างการฝึกประสบการณ์

ภาพบรเิ วณสถานศกึ ษา
วทิ ยาลยั สารพัดชา่ งบรรหาร-แจ่มใส จงั หวดั สุพรรณบรุ ี

รบั การนิเทศการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา จากผอู้ ำนวยการสภุ ทั รา สัจจา ผอู้ ำนวยการพีเ่ ล้ยี ง
ศึกษาดงู าน วทิ ยาลยั สารพัดชา่ งบรรหาร-แจ่มใส จังหวดั สุพรรณบุรี

ศกึ ษาดูงาน วทิ ยาลยั สารพัดชา่ งบรรหาร-แจ่มใส จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี

ศกึ ษาดูงาน วทิ ยาลยั สารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส จงั หวดั สพุ รรณบรุ ี

ภาพบรเิ วณสถานศึกษา
วทิ ยาลยั อาชีวศกึ ษานครปฐม จังหวัดนครปฐม

ศกึ ษาดูงาน ฝา่ ยพัฒนากจิ การนกั เรยี น นกั ศกึ ษา วทิ ยาลยั อาชวี ศกึ ษานครปฐม

ศกึ ษาดงู าน ศนู ยค์ วามเปน็ เลิศทางการอาชวี ศกึ ษา วทิ ยาลัยอาชวี ศกึ ษานครปฐม

ศกึ ษาดูงาน ฝา่ ยแผนงานและความร่วมมอื วทิ ยาลยั อาชวี ศกึ ษานครปฐม

ศกึ ษาดงู าน ฝ่ายวชิ าการ วิทยาลยั อาชวี ศกึ ษานครปฐม

ศกึ ษาดูงาน ฝา่ ยบรหิ ารทรพั ยากร วทิ ยาลยั อาชีวศกึ ษานครปฐม


Click to View FlipBook Version