The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นิทรรศการทางการเกษตร หอยขมอบแห้ง อกท.ชาติ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kasetbangsai, 2021-02-08 00:48:02

นิทรรศการทางการเกษตร หอยขมอบแห้ง อกท.ชาติ

นิทรรศการทางการเกษตร หอยขมอบแห้ง อกท.ชาติ

นิทรรศการทางการเกษตร

เร่อื ง POND SNAIL : PREMIUM

ครัวไทยสูค่ รวั โลก หนว่ ยบางไทร

การประชมุ วชิ าการองคก์ ารเกษตรกรในอนาคตแหง่ ประเทศไทยในพระราชปู ถมั ภ์
สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี

ระดบั ชาติ ครั้งที่ 41 ระหวา่ งวนั ท่ี 15 - 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2563
ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยสี รุ าษฎร์ธานี

หนว่ ยบางไทร

คำนำ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สถานศึกษาตามรอยพระยุคลบาทเป็น
สถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนและ
ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามบริบทของสถานศึกษาตามรอยพระ
ยุคลบาท เพ่ือส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรโดยใช้เศรษฐกิจฐานความรู้
เป็นหลักอย่างต่อเนื่อง เน้นการเรียนรู้ด้วยงานการปฏิบัติจริงตามแนวทางขององค์การเกษตรกรใน
อนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่ง
สอดคล้องกับพระราชบญั ญตั กิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542

หอยขมอบแห้ง หรือที่เรียกว่า Pond Snail : premium ; ครัวไทยสู่ครัวโลก เป็นการ
นาเอาองค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ของผู้เรียน ครู และเกษตรกร มาพัฒนาต่อยอด
การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ถือเป็นส่ิงสาคัญในยุคปัจจุบัน และถือเป็นหัวใจท่ีสาคัญในการจัดการ
เรยี นรู้เพอื่ พฒั นาผูเ้ รยี นตามปณธิ านของสถานศึกษาตามรอยพระยุคลบาท และท่ีสาคัญเป็นการสร้าง
มูลค่าของสินค้าให้สูงข้ึนอีกด้วย นับเป็นภูมิปัญญา และความสาเร็จของวิทยาลัยเกษตรและ
เทคโนโลยีศนู ย์ศลิ ปาชพี บางไทร โดยเฉพาะนักเรยี น นกั ศกึ ษาท่ดี าเนนิ กิจกรรมร่วมกันมาตลอด และ
ทุกคนเลง็ เหน็ ความสาคัญ เพ่ือสบื สานภูมปิ ัญญาและกอ่ เศรษฐกจิ ฐานความรู้ของชมุ ชนตอ่ ไป

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ได้สนใจและให้ความสาคัญในการสร้าง
อาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรโดยทั่วไป จึงได้มีการนาเอาองค์ความรู้ และการ
ส่งเสริมอาชีพมาประยุกต์ใช้ให้นักเรียน นักศึกษาได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการผลิต และรูปแบบ
“การผลติ หอยขมอบแห้ง” มาประยกุ ต์ใช้ จนสามารถเผยแพร่ อบรมให้แก่เกษตรกรผู้สนใจได้เรียนรู้
นาเทคนิควิธีการ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพของตนเอง ทั้งนี้วิทยาลัยฯ จึงเห็นสมควร
นาเสนอ เป็นนิทรรศการในการประชุมวิชาการขององค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ใน
พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับภาค ภาคกลาง ครั้งท่ี 41
ระหว่างวันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี โดยหวังว่า
นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกร ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปจะได้รับความรู้และประสบการณ์นาไปเป็น
แนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนารูปแบบของการประกอบอาชีพและสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าท่ี
หลากหลายทาให้มีรายได้เพ่ิมขึ้น ส่งผลให้พ่ึงตนเองโดยใช้เศรษฐกิจฐานความรู้อย่างเป็นรูปธรรม
ต่อไป

หนว่ ยบางไทร
16 กมุ ภาพันธ์ 2563

สารบญั

สารบัญภาพ หนา้
1 จุดเรมิ่ ตน้ ของการพัฒนาหอยขมอบแห้ง
2 มารู้จักสัตว์นา้ เศรษฐกิจตัวใหม่ของไทย 2
3 รปู รา่ งลักษณะภายในของหอยขม 3
4 ระบบทางเดนิ อาหารและการกินอาหาร 4
5 อาหารของหอยขม 5
6 อวยั วะในการหายใจ 5
7 การสืบพันธ์ุและการเจริญเตบิ โต 6
8 แหล่งทอ่ี ยู่อาศัยและการแพร่กระจาย 6
9 การใช้ประโยชนข์ องหอยขมทางด้านอาหารของคนไทยโบราณ (ครัวไทย) 6
10 ความสาคญั ของกระบวนการผลติ และพฒั นาหอยขมอบแห้ง (ครัวโลก) 7
11 ความหมายของการอบแห้ง 10
12 อตั ราความชน้ื 15
13 ความสามารถในการดูดซบั ความช้ืนของวสั ดุชน้ื กับกลไกการเคลอ่ื นที่ 17
14 ประเภทของเคร่ืองอบกบั การเลอื กใชง้ าน 18
15 ข้นั ตอนการผลติ หอยขมอบแหง้ ระดบั พรีเมย่ี ม 19
16 คุณคา่ ทางโภชนาการของหอยขมอบแห้ง 21
17 หอยขมสตั วน์ า้ เศรษฐกิจตัวใหมส่ ร้างอาชพี แกช่ ุมชน : เศรษฐกิจฐานความรู้ส่ชู ุมชน 24
25
บรรณานุกรม 27
ผจู้ ัดทานิทรรศการ Pond Snail : premium ; ครัวไทยส่คู รัวโลก 29
ภาคผนวก : งานวจิ ยั ของผเู้ รยี น 30

สารบัญภาพ

หน้า

ภาพที่ 1 ลกั ษณะภายในของหอยขมขดตามเปลอื กห้มุ ตวั 5

ภาพที่ 2 ลักษณะของหอยขมรวบรวมจากธรรมชาติ 7

ภาพที่ 3 แกงคัว่ หอยขมใบชะพลู 8

ภาพท่ี 4 แกงคัว่ หอยขมใบชะพลูแบบแกะเปลือกกบั ไม่แกะเปลอื ก 8

ภาพที่ 5 การนาเสนอผลงานโครงงานวทิ ยาศาสตรใ์ นระดับภาคกลาง เรือ่ ง การ

เปรยี บเทยี บอุณหภูมิท่ีมผี ลต่อคุณภาพและการคืนตวั ของผลิตภณั ฑ์หอยขม

อบแห้ง 9

ภาพท่ี 6 การพฒั นาเศรษฐกจิ ฐานความรู้สู่ชมุ ชน (รูปแบบแอพลเิ คช่ัน) 10

ภาพที่ 7 หอยขมอบแหง้ ทางเลือกทางด้านอาหารปลอดภยั ของผบู้ รโิ ภค 11

ภาพท่ี 8 การเปล่ียนแปลงของผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง 12

ภาพท่ี 9 หอยขมสดหลังจากแกะเปลือกแล้ว 13

ภาพที่ 10 ลกั ษณะของเน้ือสัมผสั ของหอยขมเมื่อดงึ น้าออก 14

ภาพที่ 11 การอบหอยขมด้วยต้อู บลมร้อนเพ่ือดึงน้าออกมา 16

ภาพที่ 12 ผลติ ภณั ฑห์ อยขมอบแห้งสาเร็จ 16

ภาพที่ 13 แสดงการเปล่ียนแปลงของอัตราความชน้ื กบั อุณหภูมขิ องวตั ถุดิบ 17

ภาพท่ี 14 ลักษณะความชนื้ ของวตั ถดุ ิบ (หอยขม) 20

ภาพท่ี 15 ตอู้ บแก๊สที่เหมาะสาหรบั การใช้งานในการอบหอยขมอบแห้ง 20

ภาพที่ 16 อุปกรณ์ทีใ่ ช้ในการผลติ หอยขมพรีเมย่ี ม 21

ภาพท่ี 17 กระบวนการผลติ หอยขมระดับพรีเมย่ี ม 22

ภาพที่ 18 ขั้นตอนการผลิตหอยขมอบแห้งระดบั พรเี ม่ียม 23

ภาพที่ 19 คณุ ลักษณะของหอยขมอบแห้ง 24

ภาพท่ี 20 การประยุกต์ใชส้ ัตวน์ ้าเศรษฐกจิ ตวั ใหม่ (หอยขม) ส่กู ระบวนการเรยี นรู้ 25

ภาพท่ี 21 การเผยแพร่องค์ความรเู้ พือ่ สรา้ งเศรษฐกิจฐานความรูส้ ชู่ ุมชน : เป้าหมายครัว 26

ไทยสู่ครัวโลก

Pond Snail : Premium
ครัวไทยส่คู รัวโลก

อกท.หน่วยบางไทร
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยศี ูนยศ์ ลิ ปาชีพบางไทร

เส้นทางหอยขมอบแห้ง : ครวั ไทยส่คู รวั โลก

นยิ ามของหอยขม
หอยขม มีช่ือภาษาองั กฤษว่า Pond snail (จดั เป็นสตั วน์ ้าเศรษฐกจิ ตัวใหม่ของไทยที่กา้ ลัง

มาแรงอีกชนดิ หนึ่ง)
Premium : ผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง ระดับ Premium หมายความว่า กระบวนการ

เลียง และการผลิตที่ได้มาตรฐานทังคุณภาพ และราคา ปัจจุบันความต้องการปริมาณหอยขมเพิ่ม
สูงขึน โดยเฉพาะหอยขมท่ีผ่านกระบวนการอบแห้ง เพราะเก็บไว้ได้นาน มีคุณภาพมาตรฐานเป็น
สนิ คา้ สง่ ออกที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ

ปัจจุบันการพัฒนาด้านการเกษตรสู่อาหารปลอดภัยเพ่ือมุ่งให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของ
โลก” น้ัน จ้าเป็นต้องเร่งให้มีการเพิ่มผลผลิต เพ่ือยกระดับสัตว์น้าเศรษฐกิจตัวใหม่ ๆ ให้มากขึน
เน่ืองจากประชากรของประเทศเพิ่มมากขึน ปริมาณความต้องการอาหารจึงเพ่ิมมากขึนเป็นเงาตามตัว
ในบรรดาสัตว์น้าทุกชนิดนัน หอยขม (Vivipara sp.) ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจ และก้าลังได้รับความ
นิยมในหมู่เกษตรกร และผู้ท่ีสนใจทั่วไป แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการเลียงที่หลากหลาย เน่ืองจากยังขาด
องค์ความรู้ และรูปแบบการเลียงที่เป็นระบบ และปลอดภัยต่อการน้ามาบริโภค เนื่องจากปัจจุบัน
ผลิตผลของหอยขมส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว กอปรกับในธรรมชาติมีปริมาณสารพิษ

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครวั โลก 2

ตกค้างอยู่มาก เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีป้องกันก้าจัดศัตรูพืช ถึงแม้จะได้ผลผลิตปริมาณ
มากและมีคุณภาพดีในระยะแรก แต่จะก่อให้เกิดปัญหาดินและคุณภาพน้าเสื่อมโทรม นอกจากนียังมี
การตกค้างของสารพิษในระยะยาว และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้า ได้แก่ กุ้ง ปลา ปู และ
หอย โดยเฉพาะสัตวน์ า้ จา้ พวกหอย ที่สา้ คัญ คือ หอยขม เป็นส่ิงมีชีวิตท่ีเคลื่อนท่ีช้า จึงมีโอกาสได้รับ
สารพิษมาก ดังนันจึงจ้าเป็นต้องให้ความส้าคัญกับรูปแบบการเลียงเชิงการเกษตรอินทรีย์ เกษตร
ธรรมชาติ และเกษตรปลอดสารพิษ เพ่ือความเป็นอยู่ท่ีพอเพียงและยั่งยืนในอนาคต โดยสอดคล้องกับ
“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซ่ึงเป็นปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 ทรงมี
พระราชด้ารัสชีแนวทางการด้าเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย “การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงหอยขมเชิง
เกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกรอย่างยั่งยืน” จึงเป็นอีกแนวทางหน่ึงที่สามารถพัฒนาด้านการเกษตรแบบ
ธรรมชาติ หรือเกษตรอินทรีย์ เน่ืองจาก หอยขมสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว กินอาหารโดยการดูด
ซึม ชอบอยู่ในที่ที่มีสารอินทรีย์สูง ๆ ท่ีส้าคัญปัจจุบันยังไม่มีการเลียงหอยขมเป็นการค้า ผลผลิตส่วน
ใหญ่ได้จากธรรมชาตแิ ละผลพลอยได้จากการเลยี งปลาเท่านัน หอยขมเป็นสัตว์ท่ีเลียงง่าย มีความอดทน
ตอ่ สภาพแวดลอ้ ม สามารถขยายพันธ์ุและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนีหอยขมยังมีคุณค่าทาง
อาหาร ซ่ึงประกอบด้วย โปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 4 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2 เปอร์เซ็นต์
และความชืน 78 เปอร์เซ็นต์ ดังนันในอนาคตหอยขมน่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ อีกชนิดหน่ึงท่ี
สามารถน้ามาเลียงในระบบฟาร์มแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหน่ึงที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกร
มีรายได้เพิ่มขึนด้วยวิธีการง่าย ๆ และลงทุนต่้า โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใน
การศึกษาครังนีได้หาแนวทางในการเลียงหอยขมโดยการใช้วิธีการลงหลักปัก การเลียงในกระชัง การ
เลียงโดยใช้กระเป๋าแขวน ซ่ึงนับเป็นอีกทางเลือกหน่ึงในการเพ่ิมผลผลิตหอยขมให้เป็นสัตว์น้าเศรษฐกิจ
ตัวใหม่

ดังนัน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เล็งเห็นความส้าคัญของ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง เพ่ือมุ่งให้เป็นสินค้าคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนา
ทางด้านอาหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ หรือที่ เรียกว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก”
เน่ืองจากเป็นอาชีพท่ีมีต้นทุนการผลิตต่้า และให้ผลตอบแทนสูง ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเก็บรักษาไว้ได้นาน
นา้ ไปสสู่ นิ คา้ คณุ ภาพระดับ Premium ของประเทศไทยต่อไป

1. จุดเร่ิมตน้ ของการพัฒนาหอยขมอบแห้ง

กระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้สู่ชุมชน เป็นส่ิงท่ีส้าคัญในโลกเศรษฐกิจ
ยุคปัจจุบัน การเชื่อมโยงองค์ความรู้จากการพัฒนา ศึกษา ค้นคว้า วิจัยของครูและนักเรียน ใน
สถานศึกษา โดยเฉพาะการจัดทา้ โครงงานวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน เรื่อง การเปรียบเทียบอุณหภูมิท่ี
มีผลต่อคุณภาพและการคืนตัวของผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง และผลงานการวิจัยของครู เร่ือง

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครวั โลก 3

ความชุกชุมและการแพร่กระจายของทรัพยากรหอยขม และแนวทางการพัฒนารูปแบบการ
เพาะเล้ียงภายใต้เขตลุ่มน้าในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่การพัฒนาอาชีพ
ของเกษตรกร ชุมชน ตลอดจนแนวทางความร่วมมือในการเชื่อมโยงและพัฒนาองค์ความรู้สู่เศรษฐกิจ
ฐานความรู้ มุ่งสู่การพัฒนาอาชีพของสถานศึกษาและชุมชน จนสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
อย่างย่ังยืน จงึ เปน็ เหตผุ ลส้าคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง “Pond snail : premium”
ครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่้า และให้ผลตอบแทนสูง น้าไปสู่สินค้าคุณภาพระดับ
Premium

ผู้จัดท้านิทรรศการทางการเกษตร มีความประสงค์ท่ีจะน้าเสนอองค์ความรู้ จากการส่ังสม
ประสบการณ์ในการเพาะเลียงหอยขมมาเป็นเวลาสักระยะหนึ่งแล้ว จนเป็นท่ีรู้จักในแวดวงวิชาการ
ต่าง ๆ จนได้แนวคิด ผ่านการศึกษา ค้นคว้า ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง จากการท้า
วิจยั ของครู และนกั เรียนจนเป็นทยี่ อมรบั

วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีศนู ยศ์ ิลปาชพี บางไทร ขอน้าเสนอนิทรรศการทางการเกษตร
เร่ือง “Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก”

2. มาร้จู กั สตั วน์ ้าเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทย

2.1 ชีววิทยาบางประการของหอยขม
หอยขม พบในแหล่งน้าจืดแทบทุกแห่งของประเทศไทย โดยทั่วไปมีช่ือเรียกว่า หอยขม แต่

อาจมีช่ืออื่นอีกเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น หอยจุ๊บ หอยดูด ค้าว่าหอยจุ๊บหรือหอยดูดคงจะได้มาจาก
วิธีการรับประทานหอยขม หอยขมมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Pond snails ; Marsh ; River snails
โชติ (2509) กล่าวว่า หอยขมในเมืองไทยมีสกุลเดียวคือ Vivipara มี 6 ชนิด แต่รายงานไว้เพียง 3
ชนิด คือVivipara bengalensis (Lamarck) ; Vivipara doliaris (Gould) Vivipara martensi
(Frauenfeld) ทังนหี อยขมสามารถจ้าแนกตามลักษณะอนุกรมวิธานของ Brandt (1974) ไดด้ ังนี

Phylum Mollusca
Class Gastropoda
Subclass Streptoneura
Order Mesogastropoda
Superfamily Viviparacea
Family Viviparidae
Genus Vivipara
Species Vivipara sp.

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครวั โลก 4

2.2 รปู รา่ งลักษณะภายนอก
หอยขมเป็นหอยฝาเดียว เปลือกเป็นรูปกรวยและขดเป็นเกลียวเวียนขวาเรียวขึนไปหายอด

แหลม วงยอดสุดมีขนาดเล็กเรียกว่า Apex ซ่ึงเป็นวงท่ีเกิดก่อนวงอื่น วงถัดมาอีก 2 วง เรียกว่า
Spire วงล่างสุดมีขนาดใหญ่เรียกว่า body whorl แต่ละวงมีร่องกันไว้ ส่วนของ body whorl มี
ขนาดใหญ่ให้ส่วนเท้าและส่วนหัวยื่นออกมา ช่องเปิดนีเรียกว่า aperture ขอบนอกของช่องเปิดเรียก
outer lip ขอบในเรียกว่า inner lip แกนกลางของเปลือกมีลักษณะเป็นท่อกลวงบิดโค้งเป็นเกลียว
เรียกว่า columella มีช่องเปิดออกภายนอกข้าง ๆ aperture เรียกว่า umbellicus ฝาปิดเปลือกเป็น
แผ่นแบน มีสีน้าตาลเข้มเป็นรูปวงรีอยู่ตรงกลาง รอบนอกเป็นสีน้าตาลจาง ๆ ลักษณะเป็นวงแสดงการ
เจริญเติบโตด้านในของฝาปิดเปลือกเป็นท่ียึดเกาะของกล้ามเนือเท้า เปลือกมีสีเขียวปนน้าตาล หรือ
อาจจะเข้มจนเกือบด้า ซ่ึงขึนอยู่กับสภาพแวดล้อม ได้แก่ สีน้า พืนท้องน้า เป็นต้น บนหัวมีหนวด 1
คู่ ตา 1 คู่ มีปากอยู่ตรงกลางระหว่างหนวดและมี siphon เป็นท่อพ่นน้าโผล่ออกมาจากช่องเปลือก
โดยปกติถ้าหอยขมไม่เคล่ือนที่หาอาหารก็จะเกาะอยู่น่ิงตามวัสดุท่ีอยู่ในน้า เช่น เสาสะพาน ต้นไม้
ตน้ หญ้า ก้อนหิน ฯลฯ ถา้ เกดิ อาการตกใจจะปดิ ฝาเปลือกและตกสกู่ ้นพืนท้องน้า

2.3 โครงสรา้ งของเปลือก
จากรายงานของ วนั ทนา (2528) เปลือกหอยขมแบ่งได้เป็น 3 ชัน คือ
1.3.1 Periostracum เป็นผิวชันนอกสุดของเปลือก บางมาก สร้างจากอินทรียสาร

พวก conchiolin ซงึ่ เป็นโปรตีนชนดิ หนง่ึ
1.3.2 Prismatic layer เป็นชันกลางของเปลือกมีความหนาและแข็ง ประกอบด้วย

หินปูน (CaCo3) เป็นส่วนใหญ่
1.3.3 Nacreous layer เป็นชันในสุดของเปลือก บางมาก ประกอบด้วยชันบาง ๆ

ของสารประกอบ aragonite หรือ calcite ซ่ึงเป็นรูปผลึกของหินปูนกับอินทรียสารจ้าพวกโปรตีนมี
ลกั ษณะเปน็ สมี ุกมันวาว

3. รปู รา่ งลักษณะภายในของหอยขม

หอยขม มีล้าตวั แบง่ ออกเปน็ 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
3.1 สว่ นหัว มีหนวด 1 คู่ สามารถยืดหดได้เมื่อเวลาตกใจหนวดจะหดสัน มีตา 1 คู่อยู่
บนก้านตาซึ่งติดกับหนวด ปากอยู่ปลาย proboscis รูปร่างคล้ายกับท่อกลวงหรืองวงอยู่ตรงกลาง
ระหวา่ งหนวด
3.2 ส่วนเท้า มีฝาปิดเปลอื ก เมอื่ ปิดฝาปิดเปลือกออก กล้ามเนือเท้าจะเป็นแผ่นแบนกว้าง
ใช้เกาะติดได้แน่น กล้ามเนือเท้าจะท้างานไล่จากส่วนหน้าไปยังส่วนท้ายติดต่อกัน ท้าให้เคลื่อนท่ีได้ใน
ลักษณะแบบตวั หนอน เวลาเคลอื่ นทจี่ ะย่ืนส่วนหวั เท้า และ siphon ออกมาจากเปลือก

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก 5

3.3 ส่วนก้อนอวัยวะภายใน ขดเป็นเกลียวตามรูปของเปลือกหุ้มตัว (ภาพที่ 1)
ประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ล้าไส้ ต่อมน้าลาย หวั ใจ เหงอื ก เป็นตน้

ภาพที่ 1 ลกั ษณะภายในของหอยขมขดตามเปลือกหุ้มตวั

4. ระบบทางเดนิ อาหารและการกินอาหาร

ทางเดินอาหารของหอยขมเร่ิมจากปาก ภายในปากมี radula ซึ่งมีลักษณะแข็งใช้ส้าหรับ
ขูดแทะอาหารท่ีตดิ อยกู่ ับวสั ดุ เช่น ตะไคร่นา้ อนิ ทรียสารท่ีเน่าเป่ือย ส่วนอาหารบางชนิดที่ล่องลอยอยู่
ในน้าจะถูกดูดเข้าไปในช่องปากได้ ภายในช่องปากมีท่อจากต่อมน้าลายมาเปิดเข้าต่อจากช่องปากเป็น
หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลา้ ไส้ ซง่ึ ลา้ ไสจ้ ะขดวกกลับมาเปดิ ออกทร่ี ูก้น

หอยขม เคล่ือนท่ีออกหาอาหารไปอย่างช้า ๆ โดยยึดหนวดใช้สัมผัสไปเรื่อย ๆ เม่ือพบสิ่ง
ผิดปกติหรือตกใจก็จะหดตัวเข้าไปอยู่ในเปลือก จากการสังเกตการกินอาหารของหอยขมที่เลียงไว้ในตู้
กระจกซ่งึ มตี ะไคร่น้าขึนอยู่ตามผนังตู้จะเห็นหอยขมใช้ radula ขูดแทะตะไคร่น้าหลุดออกเป็นทางตลอด
ตามการเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันก็จะเห็นการขับถ่ายของเสียหล่นออกมาจากช่องเปลือก บ่อย ๆ เมื่อ
ทดลองใส่ร้าลงไปในนา้ พบว่าหอยขมสามารถ ดูดชินส่วนของร้าเข้าไปในปากได้ นอกจากนี หอยขมยังเป็น
สัตว์น้าจืดท่ีมีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย โปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 4 เปอร์เซ็นต์
ไขมนั 2 เปอร์เซน็ ต์ และความชนื 78 เปอรเ์ ซ็นต์ (กองโภชนาการ, 2507)

5. อาหารของหอยขม

อาหารของหอยขม ไดแ้ ก่ พวกตะไคร่น้า พืชน้า และสัตว์เล็ก ๆ ในน้า ใบไม้ ใบหญ้าที่
เนา่ เป่ือย อนิ ทรยี สารที่เน่าเป่อื ย เปน็ ตน้ (มงคล และคณะ, 2550)

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสูค่ รวั โลก 6

6. อวัยวะในการหายใจ

หอยขมหายใจด้วยเหงือก มีเหงือก 1 อัน อยู่ในช่อง mantle cavity น้าจะไหล
ผ่านเข้าไปในช่อง mantle cavity ท้าให้เกิดการแลกเปล่ียนก๊าซระหว่างน้ากับเส้นเลือดบริเวณ
เหงอื ก

7. การสืบพันธุแ์ ละการเจรญิ เติบโต

จินดา (2509) กล่าวว่า หอยขม มีทังสองเพศในตัวเดียวกัน และผสมพันธุ์ภายในตัวเองได้
จากการศึกษาของ เนาวรัตน์ (2516) รายงานว่าหอยขมมีทังสองเพศในตัวเดียวกัน ศักด์ิชัย และธานี
(2529) พบว่า มีลูกหอยขมอยู่ในตัวหอยขมขนาดเต็มวัยประมาณ 88 – 89 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลที่
ศึกษาและประสบการณ์จึงสามารถแน่ใจได้ว่าหอยขมมีทัง 2 เพศ ในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์
ภายในตัวเองได้ และบางครังอาจมีการผสมพันธุ์แบบข้ามตัวก็ได้ โดยหอยขม 2 ตัวมาประกบกัน เพ่ือ
การผสมพันธ์ุ หอยขมออกลูกเป็นตัว ในตัวหอยขมขนาดโตเต็มวัยจะเห็น uterine brood pouch ชัดเจน
อยูต่ ิดกบั ทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นถุงผนังบางใส มองเห็นภายในชัดเจน uterine brood pouch ที่ยัง
ไม่มีไข่หรือตัวอ่อน ภายในมีลักษณะเป็นวุ้นข้นใส ๆ แต่โดยส่วนใหญ่ที่พบ uterine brood pouch มีทัง
ไข่และตัวอ่อนอยู่ภายใน ไข่หอยขมมีลักษณะกลมใสคล้ายวุ้น ไข่อ่อนจะอยู่ด้านใน ไข่ที่มีการพัฒนาเป็น
ตัวอ่อนมากขึนก็จะอยู่ถัดมาเร่ือย ๆ ส่วนลูกหอยที่มีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยและเคลื่อนไหวได้แล้วจะอยู่
ใกล้ ๆ ช่องเปิดของ uterine brood pouch ลูกหอยขมท่ีออกมาจากตัวแม่ใหม่ ๆ มีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอย
ขมจะใช้หนวดเข่ียวุ้นออกเพ่ือให้ลูกหลุดจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคล่ือนไหวได้ทันที่เมื่อออกจากตัวแม่
ระยะที่มีลูกหอยขมชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม ลูกหอยขมอายุ 1 วัน น้าหนัก 0.03
กรัม หอยขมให้ลูกได้เม่ือมีอายุประมาณ 60 วัน ซึ่งมีน้าหนัก 3.58 กรัม ความกว้าง 2.05
เซนตเิ มตร ความยาว 3.05 เซนตเิ มตร

8. แหล่งที่อย่อู าศัยและการแพร่กระจาย

หอยขมอาศยั อยใู่ นน้าจดื ตามแหล่งน้าธรรมชาติโดยท่ัวไป เช่น สระ คู บ่อ คลอง หนอง
บึง และในนาข้าว ระดับน้าตังแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร (ไมตรี และจารุวรรณ, 2528) พืนเป็น
ดนิ ทรายหรือโคลนตม ชอบอยู่ในท่ีร่มเย็นหรือมีเงาบังซ่ึงกระแสน้าน่ิงหรือไหลไม่แรงนัก เกาะอยู่ตามเสา
ตอไม้ พรรณไม้น้า ก้อนหิน หรือจมอยู่ในโคลน มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หอยขมมีการแพร่กระจายอยู่
ทุกภูมภิ าคของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ไดแ้ ก่ ลาว กัมพชู า เวยี ดนาม และพม่า

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยส่คู รวั โลก 7

ภาพท่ี 2 ลกั ษณะของหอยขมรวบรวมจากธรรมชาติ

9. การใชป้ ระโยชน์ของหอยขมทางดา้ นอาหารของคนไทยโบราณ (ครัวไทย)

หอยขม หรือภาษาในบางท้องถ่นิ เรียกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายใน
ตลาดทว่ั ไป เปน็ หอยฝาเดียวที่พบเฉพาะในแหล่งน้าจืดเท่านัน นิยมน้ามาท้าอาหาร เช่น แกงคั่วหอย
ขม แกงอ่อมหอยขม และอ่ืน ๆ อีกมากมาย โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านใน
ท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลียงปลา ซ่ึงเป็นผลพลอยได้ส้าหรับเจ้าของบ่อเลียงปลา แต่ใน
ปัจจุบันมีการท้าฟาร์มเพ่ือการเพาะเลียงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะหอยขมเป็นสัตว์ท่ีมีความอดทน
ตอ่ สภาพแวดล้อม เลียงง่าย เจรญิ เตบิ โตเร็ว และขยายพันธ์เุ ร็ว

9.1 ความเปน็ มาทางด้านอาหาร
อาหารไทยโบราณประเภทแกงพืนบ้านท่ีน้าหอยขม หรือ หอยจุ๊บ ท่ีอยู่ในแหล่งน้าตาม

ธรรมชาติมาแกงกับใบชะพลูที่หาได้ง่ายเช่นกัน แกงใส่กะทิท่ีได้รสชาติหวานมัน รสเผ็ดร้อนเข้มข้น
และกล่ินหอมจากสมุนไพรสดในเครื่องพริกแกงคั่ว ท้าให้เกิดความลงตัวในแกงพืนบ้านจานนีอย่างน่า
ประหลาดใจ

9.2 คณุ คา่ ทางโภชนาการ
หอยขมในต้าราแพทยแ์ ผนไทยระบไุ วว้ ่าทงั เปลือกและเนือหอยมีสรรพคุณช่วยแก้กระษัย

ต่าง ๆ เช่น แก้ปวดเมื่อย บ้ารุงก้าลัง บ้ารุงถุงน้าดี และโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคน่ิว และเมื่อ
น้าไปแกงกับใบชะพลูซ่ึงมีสารออกซาเลตท่ีสามารถท้าให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอย่างโรคน่ิวได้ถ้า
รับประทานมาก นับเปน็ ภมู ปิ ญั ญาของบรรพบรุ ษุ ท่ีนา้ สว่ นผสมทัง 2 อย่างนีมาปรุงเพ่ือแก้กันจึงท้าให้
จานนีสมดุลกินได้อยา่ งไมม่ ปี ญั หา ดงั บทกลอนทกี่ ล่าวไวว้ ่า

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสูค่ รัวโลก 8

หอยขมแกงควั่ ข้อย เคยกนิ
รสอร่อยคนุ้ ลนิ หลา้ ยหลาย
ช้าพลชู ะอมกลิ่น หอมกร่นุ
ขา้ วสวยรอ้ นแถมทา้ ย มือนีอม่ิ นาน

บทประพนั ธ์ชวนน้องเข้าครวั : แกงควั่ หอยขม, แก้ว กรุงเก่า (2546)
ที่มา : www.thaipoem.com

ภาพที่ 3 แกงคว่ั หอยขมใบชะพลู

ภาพที่ 4 แกงคว่ั หอยขมใบชะพลูแบบแกะเปลือกกับไม่แกะเปลอื ก

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก 9

ลักษณะดังกล่าว คือ ความมีเสน่ห์ของอาหารไทยโบราณ ท่ีขึนช่ืออย่างแกงคั่วหอยขมใบ
ชะพลู แกงเหล่านีมักจะหายไปตามกาลเวลา เน่ืองจากทรัพยากรลดจ้านวนลงจึงมีผลต่อปริมาณของ
หอยขมในธรรมชาติอยา่ งเห็นได้ชดั

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จึงมีแนวทางในการสร้างองค์ความรู้
เพ่ือพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในการสร้างอาชีพให้เกิดขึนโดยอาศัยองค์ความรู้ของผู้เรียน ผ่านการศึกษา
ค้นคว้าโดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เร่ือง การเปรียบเทียบอุณหภูมิที่มีผลต่อคุณภาพ
และการคืนตัวของผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้ง (ภาพท่ี 5) โดยสถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการ
ขบั เคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชน หรือภาษาวชิ าการท่ีเรียกว่า “เศรษฐกิจฐานความรู้” หอยขม จึง
กลายเป็นสตั วน์ ้าเศรษฐกจิ ตัวใหม่ที่ไดร้ ับความนิยม จากการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเน่ืองส่งผลให้
เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ในชุมชนในรูปแบบแอปพลิเคชั่น (ภาพที่ 6) เป็นอีกช่องทางหน่ึง
ในการสร้างอาชีพแก่ชุมชน และสามารถพัฒนาจากครัวไทยสู่ครัวโลก จนประสพความส้าเร็จอย่าง
มากภายในระยะเวลา 5 ปที ผ่ี า่ นมา

ภาพที่ 5 การนา้ เสนอผลงานโครงงานวทิ ยาศาสตรใ์ นระดบั ภาคกลาง เร่อื ง
การเปรยี บเทียบอุณหภูมทิ มี่ ผี ลตอ่ คุณภาพและการคืนตัวของผลติ ภณั ฑ์
หอยขมอบแห้ง

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครวั โลก 10

ภาพท่ี 6 การพฒั นาเศรษฐกิจฐานความรู้สูช่ มุ ชน (รูปแบบแอปพลิเคช่ัน)

10. ความสา้ คัญของกระบวนการผลติ และพัฒนาหอยขมอบแห้ง (ครวั โลก)

อาหารประเภทอบแห้ง (dehydration) คือ การท้าแห้ง หรือกระบวนการดึงน้าออก
อาจจะเรยี กว่า drying การทา้ แห้งเปน็ วิธกี ารถนอมอาหารอย่างหน่ึง (food preservation) ที่นิยมใช้
มานาน โดยลดความชืน (moisture content) ของอาหารด้วยการระเหยน้า ด้วยการอบแห้ง
(dehydration) การทอด (frying) หรอื การระเหดิ นา้ ส่วนใหญ่ในอาหารออก

1. วตั ถปุ ระสงค์ของการท้าหอยขมอบแหง้
หวั ใจสา้ คัญ คอื การยดื อายุการเก็บรักษาหอยขมอบแห้ง การท้าหอยขมอบแห้งเป็นการ

ลดปรมิ าณนา้ ในหอยขม เพ่ือยับยงั การเจริญเตบิ โตของจุลินทรีย์ทกุ ชนดิ เช่น รา (mold) ยีสต์(yeast)
แบคทีเรีย (bacteria) ท่ีเป็นสาเหตุให้หอยขมอบแห้งเสื่อมเสีย (microbial spoilage) ยับยัง
การท้างานของเอ็นไซม์ (enzyme) หรือชะลอปฏิกิริยาต่าง ๆ ทังทางเคมีและทางชีวเคมีซึ่งมีน้าเป็น

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครัวโลก 11

ส่วนร่วมและเป็นสาเหตุให้หอยขมอบแห้งเสื่อมเสีย (food spoilage) ท้าให้อาหารปลอดภัย การลด
ปริมาณน้าในอาหารโดยการท้าแห้ง ท้าให้อาหารมีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี (water activity) น้อยกว่า
0.6 ซึ่งเป็นระดับท่ีปลอดภัยจากจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) รวมทังยับยังการสร้างสารพิษของเชือ
รา (mycotoxin) เช่น Aflatoxin เพื่อท้าให้อาหารมีน้าหนักเบา ลดปริมาตร ท้าให้สะดวกต่อ
การขนส่ง การบริโภค หรือการน้าไปเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปต่อเนื่องด้วยวิธีอ่ืน ๆ การสร้าง
ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หอยขมอบแห้งจึงนับเป็นทางเลือกทางด้านอาหารปลอดภัยของ
ผบู้ ริโภคมากขนึ (ภาพท่ี 7)

ภาพท่ี 7 หอยขมอบแหง้ ทางเลอื กทางด้านอาหารปลอดภัยของผบู้ ริโภค

2. อาหารแหง้
อาหารท่ีน้ามาท้าแห้งมีหลากหลาย วัตถุดิบเร่ิมต้นที่น้ามาท้าแห้งอาจมีสถานะเป็นของเหลว

ของกึ่งแข็งหรือของแข็ง ให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายท่ีมีสถานะเป็นของแข็ง ซึ่งอาจเป็นชิน เป็นแผ่น หรือเป็น
ผง ท่ีมีลักษณะและคุณภาพแตกต่างกัน ขึนอยู่กับกระบวนท้าแห้งที่เลือกใช้ ตัวอย่างอาหารแห้งท่ีพบ
ท่ัวไป ได้แก่ ผักผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง นมผง ชา กาแฟ โกโก้ น้าตาล เนือสัตว์ สัตว์น้า อาหารทะเล เห็ด
กว๋ ยเต๋ยี ว พาสต้า สมุนไพร เคร่ืองเทศ วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) เป็นต้น เน่ืองจากกระบวนการ
อบแห้งอาหารเก่ียวข้องกับทังการถ่ายเทมวลและการถ่ายเทความร้อน มวลท่ีถ่ายเทระหว่างการท้าแห้ง
อาหารส่วนใหญ่คือน้าที่มีอยู่ในอาหาร ระหว่างการอบแห้ง อาหารจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึน
มากมาย ทังท่ีต้องการและท่ีไม่ต้องการ การท้าแห้งอาหารที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องค้านึงถึงคุณภาพของ
อาหารท่ีได้หลังจากการท้าแห้ง เช่น การน้ามาคืนตัว (rehydration) ด้วยการดูดน้ากลับเข้าไปใหม่ คุณค่า
ทางโภชนาการ สี กลิ่นรส รสชาติ เนือสัมผัส รูปทรง ทังยังต้องค้านึงถึงการประหยัดพลังงาน มีการน้า
พลงั งานกลบั มาใชใ้ ห้เกิดประโยชนส์ ูงสุดอีกด้วย

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสูค่ รวั โลก 12

การ วตั ถุประสงต์ อาหารแห้ง
เปล่ียนแปลง การท้าแห้ง
ระหว่างการ การเสอื่ มเสยี
การท้าหอยขม ของ
ทา้ แห้ง อบแหง้
อาหารแห้ง
เครื่องทา้ แห้ง

การเก็บรักษา คุณภาพและ
อาหารแห้ง มาตรฐานของ
อาหารแห้ง

ภาพท่ี 8 การเปลีย่ นแปลงของผลิตภณั ฑอ์ าหารอบแหง้
ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0277/dehydration

การอบแห้ง ( Drying ) การอบแห้ง คือการให้พลังงานความร้อนแก่วัสดุอบแห้ง เพื่อ
ระเหยน้า ในวัสดุ หรือลดปริมาณความชืน ในท่ีนีจะกล่าวถึงการอบแห้งผลิตภัณฑ์อาหารเท่านัน
ซึ่งผลิตภัณฑ์ อาหารส่วนมากจะไม่ใช่วัสดุที่สามารถท้าให้แห้งจนความชืนมีค่าเป็นศูนย์ได้ เช่น ทราย
หรือ ผา้ แต่เปน็ วัสดทุ ไ่ี ม่สามารถทา้ ให้แห้งจนความชืนมีค่าเป็นศูนย์ แต่จะมีความชืนจ้านวนหน่ึงแฝง
อยู่ เช่น ผกั ผลไม้ และ เนือสตั วต์ า่ ง ๆ

ความชืนในวัสดุความชืนในผลิตภัณฑ์อาหารและ เมล็ดพืชมีทังความชืนที่เกาะติดที่ผิวของ
วัสดุ ( Unbound moisture) ซ่ึงสามารถไล่ความชืน นีออกไปได้หมดโดยการให้ความร้อน ความชืน
อาจเกาะติดอยูภ่ ายในผนังด้านในท่อเล็ก ๆ ( Capillaries ) ที่อยู่ภายในเนือวัสดุ (Bound moisture)
โดยไม่สามารถไลค่ วามชืนภายในเนือวัสดุนีไดห้ มด ปริมาณความชนื ในวสั ดุสามารถแสดงได้ 2 แบบ

2.1 ปริมาณความชืนมาตรฐานเปียก ( Wet basis ) คือ อัตราส่วนน้าหนักของน้าในวัสดุต่อ
นา้ หนักวัสดุชนื ซ่ึงเมอ่ื คูณดว้ ย 100 จะมีค่าเป็นเปอร์เซน็ ต์การแสดงความชืนแบบนีนยิ มในทางการคา้
ดงั นี

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยส่คู รวั โลก 13

ภาพท่ี 9 หอยขมสดหลังจากแกะเปลือกแล้ว

( ) ( − )  100

เม่ือ Mw = เปอร์เซน็ ต์ความชืนมาตรฐานเปยี ก

W = น้าหนกั เร่ิมตน้ ของวัสดชุ นื , kg

d = นา้ หนักของวสั ดแุ หง้ , kg

2.2 ปริมาณความชืนมาตรฐานแห้ง ( Dry basis ) คือ อัตราส่วนน้าหนักของน้าในวัสดุต่อ
น้าหนัก วสั ดุแหง้ สามารถหาค่าเปน็ เปอร์เซน็ ต์ได้ ดังนี

( ) ( − )  100

เมอ่ื = เปอร์เซน็ ตค์ วามชืนมาตรฐานแห้ง

W = น้าหนักเรม่ิ ตน้ ของวสั ดชุ นื , kg

d = น้าหนกั ของวัสดแุ ห้ง, kg

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสคู่ รวั โลก 14

ภาพท่ี 10 ลกั ษณะของเนอื สมั ผสั ของหอยขมเมื่อดึงน้าออก
การแสดงความชืนแบบนีส่วนใหญ่ใช้ทางด้านงานวิจัย เพราะสามารถค้านวณค่าต่าง ๆ
ที่ เก่ียวข้องในขบวนการอบแห้งได้ง่ายขึน เน่ืองจากน้าหนักของวัสดุคงท่ี ปรากฏการณ์การอบแห้ง
(Drying phenomena ) วัสดุจากส่ิงมีชีวิตส่วนใหญ่มีโครงสร้าง ภายในเป็นลักษณะรูพรุน เม่ือท้า
การอบแห้งวัสดุเหล่านีท่ีสภาวะอากาศคงท่ีจะได้อัตราการอบแห้งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอัตราการ
อบแห้งคงที่ (AC) (Constant rate period) และ ช่วงอัตราการอบแห้งลดลง (Falling rate period)
(CD) ดงั แสดงในภาพท่ี 11

ภาพที่ 11 การลดความชืนของวัสดุจากส่งิ มชี ีวิตในช่วงอัตราการอบแห้งคงท่แี ละลดลง

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครัวโลก 15

จากภาพท่ี 2 จุด C คือจุดความชืนวิกฤต (Critical Moisture Content) เป็นจุดท่ีเร่ิมมี
การเปล่ยี นแปลงช่วงอัตราการอบแห้งคงท่ีเป็นลดลง ซ่ึงจุดความชืนวิกฤตนีจะขึนอยู่กับชนิดของวัสดุ
และ สภาวะในการอบแห้ง ช่วง AC เป็นช่วงท่ีมีอัตราการอบแห้งคงท่ี ระยะนีปริมาณความชืนในวัสดุ
จะมีค่า สูงกว่าจุดความชืนวิกฤต ท่ีผิวนอกของวัสดุ จะอยู่ในสภาพอ่ิมตัวน้าเคล่ือนที่จากภายในวัสดุ
มายังผิวเร็ว พอ ๆ กับการระเหยของน้าจากผิว การกระจายความชืนที่ผิวของวัสดุมีค่าสม่้าเสมอ
ความชืนจะถูกพา ออกไปโดยอากาศ การถ่ายเทความร้อนและมวลจะเกิดขึนเฉพาะท่ีผิวของวัสดุ
เทา่ นัน วัสดมุ คี า่ ความชืน ตา้่ เช่น พวกเมล็ดพชื จะมีระยะนีสันมากหรอื ไมม่ ีเลย

จุด E คอื จุดทีป่ รมิ าณความชนื สมดุลของวัสดุ ความชืนของวัสดมุ คี ่าคงท่ีทงั นเี น่อื งจากความ
ดันไอน้าจากวัสดุมีค่าเท่ากับความดันไอน้าในบรรยากาศที่รอยวัสดุนัน โดยท่ีค่าความชืนนีจะขึนอยู่
กบั ชนดิ ของวัสดุ อุณหภูมิ และความชนื สมั พัทธ์ของอากาศ ช่วง CD เป็นช่วงที่อัตราการอบแห้งลดลง
ระยะนีปรมิ าณความชนื ในวัสดจุ ะมคี า่ ต้า่ กว่าปริมาณความชนื วกิ ฤตน้าภายในท่อเล็ก ๆ ในเนือวัสดุจะ
เคลื่อนทม่ี ายงั ผิวของวัสดใุ นลักษณะของเหลวหรือไอน้าได้ช้ามากและช้ากว่าการระเหยของน้าจากผิว
(เอกชยั และคณะ, 2561)

การอบแห้งและเคร่ืองอบแห้งมีความส้าคัญในการลดความชืนของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นใน
อุตสาหกรรมอาหาร เคร่ืองดื่มชนิดผง ยา อุตสาหกรรมสีย้อม อุตสาหกรรมไม้ เป็นต้น การรู้จักชนิด
ของเคร่ืองอบแห้ง และการเลือกใช้ชนิดของเครื่องอบแห้งให้ตรงกับคุณสมบัติจ้าเพาะของวัตถุดิบ
และผลติ ภณั ฑส์ ดุ ท้ายเปน็ เรอ่ื งจา้ เปน็ ขนาดของเครื่องอบและเวลาท่ีใช้ในการอบ จะส่งผลต่อปริมาณ
ไฟฟ้า หรอื ปรมิ าณไอน้าทจี่ ้าเปน็ ต้องใช้ในกระบวนการ เม่ือโรงงานน้ามาตรการอนุรักษ์พลังงานมาใช้
ผู้ปฏิบัติงานจึงจ้าเป็นต้องรู้พืนฐานของการอบแห้งและตู้อบแห้งเสียก่อน จึงจะสามารถน้ามาตรการ
อนรุ ักษ์พลงั งานมาใช้ใหไ้ ด้ประโยชน์สูงสุด (นพรัตน์, 2554)

11. ความหมายของการอบแห้ง

การอบแห้ง (Drying) คือ การเอาน้าออกจากวัสดุที่ต้องการท้าให้ปริมาณน้าในวัสดุนัน
ลดลง (ความชืนลดลง) โดยส่วนใหญ่วัสดุนันจะอยู่ในสถานะของแข็ง น้าที่ระเหยออกจากวัสดุนัน
อาจจะไม่ต้องระเหยที่จุดเดือดแต่ใช้อากาศพัดผ่านวัสดุนันเพื่อดึงน้าออกมา (ภาพท่ี 11) วัสดุจะแห้ง
ได้มาก-น้อยจะขึนอยู่กับธรรมชาติของมันด้วย ในการอบ เมื่อท้าให้ของเหลวในวัตถุดิบระเหยเป็นไอ
จะได้ผลิตภัณฑ์ของแข็งท่ีมีสัดส่วนของของเหลวต้่าลง ซ่ึงนอกจากจะมีกรณีท่ีวัตถุดิบมีสภาพเป็น
ของแข็งท่เี ปียกชนื แล้ว ยังมกี รณีทีอ่ บของเหลวขน้ (slurry) หรือของเหลวใสเพ่ือให้ได้ผลิตภัณฑ์ผงอีก
ด้วย (นพรัตน์, 2554)

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครัวโลก 16

ภาพท่ี 11 การอบหอยขมดว้ ยตู้อบลมรอ้ นเพื่อดึงนา้ ออกมา
เครอื่ งอบโดยมากมักจะเป็นส่วนสดุ ทา้ ยของกระบวนการผลิต โดยผลติ ภณั ฑท์ ี่อบแลว้ จะ
กลายเป็นผลิตภัณฑ์ส้าเร็จทันที (ภาพท่ี 12) ดังนัน การอบไม่สม้่าเสมอ เช่น ไม่แห้งหรือแห้งเกินไป
และรูปร่างของผลิตภัณฑ์ เช่น วัตถุดิบเป็นก้อน รวมทังปริมาณผลที่ได้ (yield) จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้
ความสนใจ นอกจากนีความร้อนแฝงของการระเหยของของเหลวจะมีค่าสูง การอบจึงสินเปลือง
พลังงานมาก การจดั การพลังงานความร้อนจงึ เป็นปัญหาท่สี า้ คัญ

ภาพท่ี 12 ผลติ ภณั ฑ์หอยขมอบแห้งสา้ เรจ็

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสูค่ รวั โลก 17

12. อัตราความชืน้

การแสดงปริมาณน้าท่ีมีอยู่ในวัตถุดิบ จะสามารถแสดงได้ด้วยปริมาณน้าต่อปริมาณมวล
รวมเปียก (ค่า wet base) หรือปริมาณน้าต่อปริมาณวัตถุดิบแห้ง (ค่า dry base) ในขณะท่ีอบมวล
รวมจะเปล่ียนแปลงไปด้วย เมื่อค้านวณความชืนแบบ wet basis จะท้าให้ค่าความชืนเปลี่ยนแปลง
อย่างไม่สม่้าเสมอ ดังนันในการค้านวณทางอุตสาหกรรม จะใช้ค่าความชืน ที่ค้านวณแบบ dry basis
ซ่ึงมวลแห้งเป็นฐานในการค้านวณ เน่ืองจากมวลแห้งนีมีค่าคงท่ีตลอดการอบ จึงมีความสะดวก
มากกว่า ถ้าให้ความชืนท่ี wet basis เท่ากับ ωw และให้ความชืนท่ี dry basis เท่ากับ ωd แล้ว
ค่าทังสองจะมคี วามสัมพันธก์ ัน ดังตอ่ ไปนี

เมื่อน้าวตั ถุดบิ ทจี่ ะอบซ่ึงเปียกชืนอยา่ งเพียงพอถึงผิวหน้ามาแขวนไว้ในกระแสลมร้อน แล้ว
ตดิ ตามตรวจวัดอัตราความชนื กับอุณหภมู ิของวตั ถุดบิ นัน โดยทว่ั ไปจะได้ผลลัพธด์ งั ภาพที่ 13

ซ่งึ กลไกการอบสามารถแบ่งไดเ้ ปน็ 3 ระยะทม่ี ลี กั ษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ (I) ชว่ งอนุ่
วัตถดุ บิ (II) ช่วงอบดว้ ยอัตราเร็วคงท่ี (III) ช่วงอบดว้ ยอตั ราเร็วลดลง

ภาพที่ 13 แสดงการเปลย่ี นแปลงของอตั ราความชืนกับอุณหภูมิของวัตถุดิบ

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครวั โลก 18

(I) ชว่ งอ่นุ วัตถุดบิ
ช่วง I เป็นชว่ งทอ่ี ณุ หภมู ขิ องวตั ถุดิบจะคอ่ ย ๆ เพิ่มขึนจากอณุ หภมู ิตงั ต้น (อณุ หภูมหิ ้องจนถึง
อุณหภูมิสมดุลที่ขึนอยู่กับเงื่อนไขการอบ เรียกว่า ช่วงอุ่นวัตถุดิบ ในกรณีท่ีวัตถุดิบได้รับความร้อน
ด้วยการพาความร้อนโดยลมร้อน อุณหภูมสิ มดุลนจี ะมคี ่าเท่ากับอณุ หภูมกิ ระเปาะแห้งของลมร้อนนัน
(II) ช่วงอบดว้ ยอัตราเร็วคงที่
ในชว่ ง II วตั ถุดบิ จะมอี ณุ หภมู คิ งท่ี ปรมิ าณความรอ้ นทังหมดที่ได้รบั จะถกู ใช้ไปในการระเหย
ความชืนเทา่ นนั ชันของการระเหยจะเกิดที่ผวิ หนา้ ของวัตถุดิบโดยอัตราเร็วในการอบจะมีค่าคงท่ี ช่วง
นีเรียกว่า ช่วงอบด้วยอัตราเร็วคงท่ี ซ่ึงจะด้าเนินไปตราบเท่าท่ีมีความชืนอิสระให้ระเหยอยู่ที่ผิวหน้า
ของวตั ถุดิบ โดยอัตราความชนื ของวตั ถุดบิ จะลดลงดว้ ยอตั ราเร็วคงท่ี
(III) ช่วงอบด้วยอตั ราเรว็ ลดลง
เมื่ออบไปเร่ือย ๆ จนปริมาณความชืนที่ผิวหน้าวัตถุดิบแห้งลง และความชืนภายในเนือ
วัตถุดิบเร่มิ ลดลง ความชืนอสิ ระภายในตัววตั ถดุ ิบจะซึมขึนมาทดแทน ใหท้ นั กบั อัตราเร็วในการระเหย
ที่ผิวหน้า จึงเริม่ เข้าสู่ช่วงที่ III ได้แก่ ช่วงอบด้วยอัตราเร็วลดลง ชันของการระเหยจะค่อย ๆ เล่ือนลง
ลึกเข้าไปในเนือวัตถุดิบ อุณหภูมิของวัตถุดิบจะเริ่มเข้าใกล้อุณหภูมิของลมร้อนจากบริเวณพืนผิว
ในการอบความร้อนจะต้องเข้าไปถึงภายในเนือวัตถุดิบ นอกจากนีความร้อนส่วนหน่ึงยังต้องใช้ไปใน
การให้ความร้อนตวั วตั ถุดิบเองอกี ดว้ ย อตั ราเร็วในการอบจงึ ค่อย ๆ ลดลงตามเวลาท่ผี า่ นไป

13. ความสามารถในการดูดซับความช้ืนของวสั ดชุ น้ื กบั กลไกการเคล่อื นท่ี

สภาพของความชืนท่ีมีอยู่ภายในวัตถุดิบชืนเป็นปัจจัยที่ส้าคัญท่ีสุดที่มีอิทธิพลต่อกลไกการ
เคลื่อนท่ีของความชืน ในวัตถุดิบเปียกนอกจากจะมีความชืนในรูปน้าอิสระแล้ว ยังมีน้า adsorption
water ที่เกาะติดกับพืนผิวของแข็ง ความชืน bonding water และไอน้าในช่องว่างอีกด้วย สภาพ
ความชนื ในวัตถุดบิ มีคุณลักษณะดงั นี

13.1 วัสดุ non-hydrophilic หมายถึง กรณีที่พืนผิวที่เป็นองค์ประกอบของของแข็งไม่
สามารถดูดความชืน หรือดูดความชืนได้น้อยมาก จนปริมาณความชืนสูงสุด (ปริมาณน้า) มีค่าน้อย
มากเมือ่ เทยี บกับมวลสมั บูรณข์ องของแขง็ นา้ ทเ่ี กาะอยบู่ นผิวของวสั ดุเหลา่ นจี ะมีลักษณะดังนี ถ้าวัสดุ
นนั มีลักษณะของแขง็ ตนั ผิวมนั : น้าจะอยใู่ นสภาพน้าเกาะผวิ หนา้ ทที่ า้ ให้พืนผิวอนภุ าคเปียก

ของแข็งผิวหยาบ : ภายในของแข็งท่ีมีรูพรุน เช่น อิฐ จะเสมือนมีหลอด capillary ขนาด
ตา่ ง ๆ เป็นจ้านวนมาก ด้วยแรง capillary suction force ที่เกิดจากแรงตึงผิวของน้า จะดึงดูดน้าไว้
ในสภาพ capillary water เม่ือการอบด้าเนินไป น้า capillary water นีจะเคลื่อนที่ไปในสถานะ
ของเหลว เหลือแต่น้า suspended water ในช่องว่าง น้าที่เหลือนีไม่สามารถเคล่ือนที่ไปในสถานะ

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครวั โลก 19

ของเหลวได้ โดยทว่ั ไปจะระเหยเปน็ ไอไปในช่วงการอบด้วยอัตราเร็วลดลง ณ ต้าแหน่งเดิม แล้วไอน้า
จะแพรไ่ ปในรเู ล็ก ๆ ออกไปท่ีพนื ผิว

ของแข็งผิวละเอียด : กรณีที่มีอนุภาคคอลลอยด์ท่ีมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 μm
แขวนลอยอยู่ในน้า ระหว่างอนุภาคจะมีแรงผลักทางไฟฟ้าซึ่งเกิดจากประจุขัวเดียวกันบนพืนผิว
อนุภาค ซ่ึงจะท้าพยายามให้อนุภาคอยู่ห่างจากกันและดูดน้าเข้ามา แรงดึงดูดนีเรียกว่า osmotic
suction force

13.2 วสั ดุ hydrophilic
หมายถึงวัสดุที่พืนผิวของแข็งท่ีเป็นองค์ประกอบของวัสดุมีสมบัติดูดความชืน หรือวัสดุทีตัว
ของแข็งเองมีสมบัติ adsorption กบั น้า โดยน้าที่เกาะอยู่บนผวิ ของวัสดุเหลา่ นีจะมลี ักษณะ ดังนี
ของแข็งมีรูพรุน : น้าท่ีมีอยู่ในช่องว่างในวัสดุในช่วงความชืนสูงจะเป็นน้าอิสระ ซ่ึงมีพฤติกรรม
เหมือนกบั กรณขี องวสั ดุ non-hydrophilic เมื่ออัตราความชืนลดลง น้าอิสระนีจะหายไปก่อน หลังจากนัน
จะเกิดการเคล่ือนที่และระเหยของน้า bonding water (น้า adsorption water และ absorption water)
ความดันไอของน้านนั จะขึนอยู่กับทังอุณหภมู แิ ละอัตราความชนื
วัสดุท่ีมีลักษณะเป็น cytoplasm : กรณีท่ีเซลล์หนึ่ง ๆ อ่ิมตัวอยู่ด้วยน้าอย่างเพียงพอ ทัง
cytoplasm และช่องว่างภายในเซลล์จะอ่ิมตัวไปด้วยน้า เมื่ออัตราความชืนลดลง น้าในช่องว่างภายใน
เซลล์จะหายไปก่อน หลงั จากนันนา้ ใน cytoplasm ซ่ึงจะเรมิ่ หายไป และ cytoplasm จะเกดิ การหดตวั
13.3 วสั ดเุ นือเดยี ว (homogeneous)

โมเลกลุ นา้ ในวัสดเุ นือเดียว เชน่ สารละลายไฮโพลิเมอร์ สบู่ ฯลฯ โดยทั่วไปจะละลาย
หรือเกิด affinity กับองคป์ ระกอบของแข็ง ขณะทน่ี ้ามีความเขม้ ข้นสูง จะมคี วามดันไอเกือบเท่ากับน้า
อสิ ระ แตเ่ มอื่ นา้ มีความเข้มข้นลดลง ความดันไอจะลดลงอยา่ งรวดเร็ว และปริมาตรของวัตถุดิบจะหด
ตัวจนมีคา่ เท่ากับปริมาตรเมื่อไม่มนี า้

14. ประเภทของเครอ่ื งอบกับการเลือกใช้งาน

ขนั ตอนการเลอื กตอู้ บ
ลักษณะของวัตถุดิบที่จะน้ามาอบจะมีความหลากหลาย ในการเลือกตู้อบจะยึดตาม
ลักษณะความชืนของวัตถุดิบเป็นหลัก (ภาพที่ 14) หลังจากนันจึงพิจารณาถึงปริมาณการผลิต
รูปแบบของกระบวนการ (ต่อเน่ืองหรือ batch) รวมทังคุณลักษณะของกระบวนการและคุณลักษณะ
ของตู้อบ เพื่อก้าหนดเงื่อนไขการเดินเคร่ือง พิจารณาขนาดก้าลังการผลิตของตู้อบ เลือกอุปกรณ์
ประกอบต่าง ๆ รวมทังเคร่ืองป้อน-ถ่ายวัตถุดิบออกจากตู้อบ แล้วค้านวณค่าเคร่ืองจักรและค่าใช้จ่าย
ในการเดินเคร่ือง เม่ือออกแบบพืนฐานได้เป็นรูปธรรมแล้ว ยังต้องท้าการทดสอบอบภายใต้เง่ือนไขที่
ใกล้เคียงท่ีสุดกับเง่ือนไขการอบที่คาดการเอาไว้อีกด้วย ในการทดสอบจะท้าการตรวจสอบ

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสคู่ รวั โลก 20

คุณลักษณะการอบ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมของวัตถุดิบภายในเครื่องอบ ฯลฯ ผลจากการ
ทดสอบ อาจท้าให้ต้องย้อนกลับไปพิจารณาเลือกชนิดของตู้อบใหม่เลยก็ได้ ในการอบหอยขมตู้อบ
แก๊สมีความเหมาะส้าหรับการใช้งานในการอบหอยขมอบแห้ง (ภาพท่ี 16) ผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์
ทังคุณภาพและเนือสัมผัส ซ่ึงการทดสอบถือเป็นสิ่งที่ส้าคัญมากโดยเฉพาะอย่างย่ิงกรณีท่ีไม่สามารถ
คาดการณ์เกี่ยวกับคณุ ลกั ษณะของวตั ถุดิบได้

ภาพท่ี 14 ลกั ษณะความชนื ของวัตถุดบิ (หอยขม)

ภาพท่ี 15 ตอู้ บแกส๊ ทเ่ี หมาะสา้ หรับการใช้งานในการอบหอยขมอบแห้ง

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก 21

ขนั้ ตอนการผลติ หอยขมอบแหง้ ระดบั พรเี ม่ยี ม

การผลิตหอยขมอบแหง้ ระดบั พรีเม่ียม ตอ้ งค้านึงถึงคณุ ภาพของวัตถุดิบ ขันตอนการผลิตที่ได้
มาตรฐาน มคี วามสม่้าเสมอ และสามารถเก็บรักษาได้อย่างยาวนาน ตลอดจนเป็นท่ีต้องการของตลาด
และยงั เป็นกลไกสา้ คญั ในการสง่ เสริมทางดา้ นการตลาดสินค้าสัตวน์ ้า

อุปกรณ์ท่ีใชใ้ นการผลิต

ภาพที่ 16 อุปกรณ์ที่ใชใ้ นการผลิตหอยขมพรเี ม่ียม

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก 22

การผลิตหอยขมอบแห้งระดับพรเี มย่ี ม

ภาพที่ 17 กระบวนการผลิตหอยขมระดับพรเี มย่ี ม

ขน้ั ตอนการผลิตหอยขมอบแห้งระดบั พรีเม่ยี ม
1. นา้ หอยขมจากการเลยี งระบบปดิ หรือหอยขมในธรรมชาติท่ีมีการควบคุมระบบน้ามาใช้ใน

ระบบของการผลติ
2. นา้ หอยขมมาล้างด้วยเครื่องลา้ งหอยขมท่ไี ด้มาตรฐาน เป็นระยะเวลา 15 นาที
3. น้าหอยขมไปต้มในน้าอณุ หภมู ิ 85 – 100 องศาเซลเซยี ส เป็นเวลา 10 นาที
4. นา้ หอยขมลงแชใ่ นน้าเยน็ (น็อกนา้ เย็น) เพอ่ื ควบคมุ คุณภาพของเนือหอยขมใหค้ งรูป
5. น้าหอยขมมาแกะเอาเฉพาะสว่ นเนือหอยขม แช่ในน้าเพอ่ื ป้องกันแมลง

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครวั โลก 23

6. นา้ หอยขมมาล้างดว้ ยน้าสม้ สายชู เพือ่ ล้างเมือกออก และรกั ษาคณุ ภาพของเนือสมั ผัส
7. วางหอยขมใหเ้ สด็จนา้ เสียกอ่ น ก่อนท้าการอบ เพื่อปอ้ งกันกระบวนการดึงน้ามากเกนิ ไป
เป็นการรกั ษาผลติ ภัณฑใ์ หย้ าวนานขนึ ป้องกนั การเกิดเชอื รา
8. นา้ เนอื หอยขมใสใ่ นถาดอบ ๆ ละ 2 กิโลกรมั เพื่อเตรียมการอบ โดยอบท่ีอุณหภมู ิ 55 –
65 องศาเซลเซียส เปน็ ระยะเวลา 6 – 8 ช่วั โมง โดยใชต้ ้อู บแก๊ส
9. น้าหอยขมออกจากตู้อบ น้ามาหอยขมมาตรวจสอบคุณภาพ นา้ หนกั ปรมิ าณเศษผงของ
เนอื หอยขม
10. ทิงไว้ให้เย็น เพื่อรอการบรรจุชนิดผลิตภัณฑ์สุญญากาศ ผนึกซอง ติดฉลากของ
บรรจุภัณฑ์พรอ้ มจา้ หนา่ ย

ภาพท่ี 18 ขนั ตอนการผลติ หอยขมอบแหง้ ระดบั พรเี มย่ี ม

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รัวโลก 24

15. คณุ คา่ ทางโภชนาการของหอยขมอบแห้ง
หอยขมอบแหง้ จัดเปน็ สัตว์น้าอีกชนิดหน่ึงที่ให้คุณค่าทางโภชนาการมีเจลาตินที่มีคุณค่าทาง

โภชนาการ และประโยชน์โดยเฉพาะอย่างย่ิงมีแคลอร่ีต้่า มีโปรตีนที่สามารถย่อยง่าย อุดมไปด้วย
กรดไขมันไม่อ่ิมตัว มีความหลากหลายของธาตุ และเกลือแร่ หอยขมอบแห้งจัดเป็นตัวแทนของ
วิตามินบี (B1, B2, B6 และ B12) การรักษาระบบประสาท ส่งผลต่อสุขภาพท่ีดี เนื่องจากแคลเซียมที่
มีอยู่ในหอยขม โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ทองแดง ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และสังกะสี แคลเซียมซ่ึงอุดม
ไปด้วยเนือสามารถดดู ซมึ อย่างสมบูรณ์ มีการเผาผลาญอาหารไดด้ ี การฟอกเลอื ดของโคเลสเตอรอล

ในต้าราแพทย์แผนไทยใช้เข้าต้าราทงั เนอื เปลอื ก และใช้ทงั ตวั สรรพคุณแก้กระษัยปวดเม่ือย
ตามร่างกาย กระษัยท้องมาน กระษัยลินกระบือ อัมพาต แก้ธาตุดินพิการ บ้ารุงกระดูก รักษาอาการ
ปวดกระดูก ขับเมือกมันในล้าไส้ บ้ารุงถุงน้าดี บ้ารุงล้าไส้ แก้ต้อต่าง ๆ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ร้อนใน
กระหายน้า ขับนิ่ว ขับน่ิวในถุงน้าดี น่ิวในกระเพาะปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ปวดศีรษะ ใจสั่น
ตาลาย ชาตามมือตามเท้า รักษาอาการอยู่ไฟไม่ได้ เล็บขบ บ้ารุงก้าลัง แก้โรคกระเพาะอาหาร
แก้กามโรค แก้บิด แก้ปวดมวนท้องหรือถ่ายเป็นมูกเลือด ไฟลามทุ่ง เริม งูสวัด แก้ขีทูดกุดถัง กลาก
เกลอื น แกต้ านซาง แกพ้ ยาธิอกหัก หายใจหอบหดื หายใจเร็ว เจบ็ หน้าอก แกต้ าแดง ตาต้อ ใช้เป็นยา
ถา่ ยของไก่ แก้ชา้ ใน เปน็ ต้น

ภาพท่ี 19 คุณลกั ษณะของหอยขมอบแหง้

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสคู่ รวั โลก 25

หอยขมสตั ว์น้าเศรษฐกิจตวั ใหมส่ ร้างอาชีพแกช่ มุ ชน
เศรษฐกิจฐานความร้สู ชู่ มุ ชน

ภาพที่ 20 การประยุกต์ใช้สตั วน์ า้ เศรษฐกจิ ตวั ใหม่ (หอยขม) ส่กู ระบวนการเรียนรู้

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยส่คู รัวโลก 26

ภาพท่ี 21 การเผยแพร่องค์ความรเู้ พื่อสร้างเศรษฐกจิ ฐานความรูส้ ่ชู ุมชน : เป้าหมายครวั
ไทยสู่ครัวโลก

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสูค่ รัวโลก 27

บรรณานุกรม

กรมพฒั นาพลงั งานทดแทนและอนุรกั ษ์พลงั งาน กระทรวงพลังงาน. (2004). ตอนที่ 4 บทท่ี 4
การอนรุ กั ษ์พลงั งานในระบบอ่นื ๆ. ใน ตา้ ราฝึกอบรมผ้รู บั ผดิ ชอบดา้ นพลังงานอาวโุ ส
(ผอส.) ด้านความรอ้ น (pp. 4-33 - 4-51).

กองโภชนาการ. 2507. คุณค่าทางอาหารของหอยขม. น. 30 ใน คุณค่าของอาหารไทย. กรม
อนามยั , กรงุ เทพฯ

จนิ ดา เทียมเมธ. 2509. หอยที่ใช้เปน็ อาหารในกรงุ เทพฯ. คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ. 30 น.

โชติ สวุ ตั ถิ. 2509. หอยเมืองไทย. มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. 99 น.

เนาวรตั น์ ศุขะพนั ธ.์ 2516. การศึกษาทางชีววทิ ยาบางประการของหอยขม.ปัญหาพิเศษปรญิ ญาตรี,
คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นพรัตน์ อมัติรตั น์. 2554. การศึกษาและเปรยี บเทยี บประสิทธิภาพเคร่อื งอบแห้งแบบป๊ัมความร้อน
ระหว่างสารท้าความเยน็ R-22 กบั COLD-22. วทิ ยานพิ นธป์ ริญญามหาบัณฑติ สาขา
วิศวกรรมเครอ่ื งกล บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธญั บุรี.

ไมตรี ดวงสวสั ด์ิ และจารวุ รรณ สมศริ ิ. 2528. คณุ สมบัติของนา้ และวธิ วี ิเคราะห์สา้ หรบั การวจิ ยั
ทางการประมง. ฝา่ ยวิจยั ส่งิ แวดล้อมทางน้า, สถาบนั ประมงน้าจืดแห่งชาติ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. 115 น.

มงคล คมปราด และคณะ. 2550. ผลการใชว้ สั ดุเกาะชนิดต่าง ๆ ตอ่ การเจริญเติบโตและจา้ นวนตัว
ออ่ นในชว่ งข้างขนึ ขา้ งแรมของหอยขม. โครงงานวทิ ยาศาสตร์ อาชวี ศึกษาจงั หวดั สุโขทัย,
สุโขทยั .

วันทนา อยูส่ ุข. 2528. หอยทะเล. ภาควิชาวทิ ยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ ฯ. 139 น.

สุพรพศิ ณ พิบูลย.์ 2558. กระบวนการอบแห้งปลากุเลาด้วยเครอ่ื งอบแหง้ พลงั งานไฟฟา้ โดยใช้
การควบคุมอณุ หภูมิแบบพีไอด.ี วารสารมหาวิทยาลยั นราธวิ าสราชนครินทร์ ปีท่ี 7 ฉบบั ท่ี 2
พฤษภาคม – สงิ หาคม 2558 : หนา้ 1-11.

นิทรรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครวั ไทยสู่ครัวโลก 28

ศักด์ชิ ยั ชโู ชติ และธานี พูนดี. 2529. การศกึ ษาการเลยี งหอยขมในกระชัง. วารสารการประมง
39 (6) : น. 623 -627

เอกชยั รตั นบรรลือ และคณะ. 2561. เครื่องอบแห้งเปลือกแหว้ ดว้ ยเทคนคิ สนามไฟฟ้าร่วมกบั ป๊ัม
ความร้อน. รายงานการวจิ ยั ฉบบั สมบรู ณ.์ สถาบนั วจิ ัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภมู ิ, สุพรรณบรุ ี. 96 น.

อนวุ ัตร แจง้ ชดั และคณะ. 2550. การพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกหวานแผน่ . การประชุมวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครังท่ี 45, 30 มกราคม – 2 กุมภาพนั ธ์ 2550 : หนา้ 697 –
704.

Brandt, Rolf A.M. 1974. The Non-Marine Aquatic Mollusca of Thailand. Frankfurt
am Main, 425 p.

นทิ รรศการทางการเกษตร Pond snail : premium ครัวไทยสู่ครวั โลก 29

คณะผจู้ ดั ท้า
นทิ รรศการทางการเกษตร เร่อื ง Pond Snail : Premium ; ครวั ไทยสู่ครัวโลก

สมาชกิ
1.นางสาวประภัสสร โนนมี
2.นายศภุ ฤกษ์ รัตนคา้
3.นายวารนิ พาช่นื
4.นายสทุ ธวิ ฒั น์ ค้ามลู
5.นายไพรัตน์ ขวัญพนาลี
6.นางสาวชนัญญา เพ็ชรคีรีรฐั
7.นายธนะยทุ ธ สิงหท์ อง
8.นางสาวกลั ยารตั น์ ขวัญพนาลี
9. นายไชยนันทน์ ขนั ทรโิ ย
10.นางสาวเพชรรตั น์ อนิ แถลง

ครูที่ปรึกษา
1.นายปยิ ะพชั ร์ สถติ ปรชี าโรจน์
2.นางพนดิ า แจง้ สวา่ ง
3.นายสถาพร ศรสี วัสด์ิ

นทิ รรศการทางการเกษตร

เรื่อง POND SNAIL : PREMIUM

ครัวไทยสคู่ รวั โลก หน่วยบางไทร

การประชมุ วชิ าการองคก์ ารเกษตรกรในอนาคตแหง่ ประเทศไทยในพระราชูปถมั ภ์
สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี

ระดับชาติ คร้ังที่ 41 ระหวา่ งวันที่ 15 - 20 กมุ ภาพันธ์ 2563
ณ วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี

หนว่ ยบางไทร


Click to View FlipBook Version