The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียนโรงเรียนดงมันพิทยาคม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by khunjib87, 2022-06-02 04:19:42

คู่มือนักเรียน

คู่มือนักเรียนโรงเรียนดงมันพิทยาคม

คำนำ

เอกสารคู่มือนักเรียน ครูและผู้ปกครองของโรงเรียนดงมันพิทยาคม จัดทำขึ้น
โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติ
และระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียนที่ครู นักเรียนและผู้ปกครองควรทราบ เพื่อนักเรียน
จะสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

โรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและนักเรียน
ทุกคนในการปฏิบัติตามแนวทาง ระเบียบและข้อปฏิบัติของโรงเรียน

โรงเรียนดงมันพิทยาคม

โรงเรียนดงมันพิทยาคม

สารบัญ หน้า
1

1
4
ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนดงมันพิทยาคม 5
ประวัติโรงเรียนดงมันพิทยาคม 6
ตราสัญลักษณ์ ปรัชญา คำขวัญ สี และอักษรย่อของโรงเรียน 7
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์โรงเรียนดงมันพิทยาคม
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน 8
11
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรของโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 12
จำนวนครู
จำนวนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว 13
จำนวนนักเรียน 14
ทำเนียบครูและบุคลากร 15
ครูประจำชั้น
21
งานทะเบียน 22
หนังสือที่ออกโดยงานทะเบียน
ข้อตกลงและขั้นตอนในการใช้บริการงานทะเบียน

การประเมินผลการเรียน
วิธีการประเมินผลการเรียน
เงื่อนไขการมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การตัดสินผลการเรียน
การจบการศึกษา
การแก้ 0 ,ร, มส

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม
การตัดคะแนน
การแต่งกาย

โรงเรียนดงมันพิทยาคม

1

ประวัติโรงเรียนดงมันพิทยาคม

โรงเรียนดงมันพิทยาคม โรงเรียนดงมันพิทยาคม ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดงมัน หมู่ที่ 14 ตำบลสะอาด

DONDMANPITTAYAKOM SCHOLL อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ


ในการที่จะขยายการมัธยมศึกษาออกสู่ชนบท กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศ


จัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2521

โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ โดยมีด้านกว้าง 6 เส้น ด้านยาว 7


เส้น เดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และทางราชการได้อนุญาตให้ใช้เป็นที่ก่อตั้ง


โรงเรียนได้โดยถูกต้อง ก่อนโรงเรียนเปิดทำการสอน ทางราชการได้แต่งตั้งให้

นายพิณ ศรีอาจ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนน้ำพองศึกษา (ตำแหน่งในขณะนั้น)

มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่เป็นการชั่วคราว ต่อมากรมสามัญศึกษาได้แต่ง


ตั้ง นายวิจิตร ชำกรม อาจารย์ 1 โรงเรียนพล มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่


โรงเรียนได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยใช้ศาลา


การเปรียญวัดศรีชมชื่น เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวปีงบประมาณ 2522 ได้รับ


จัดสรรเงินงบประมาณหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้ คือ อาคารเรียนชั่วคราว


ขนาด

4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู จำนวน 1 หลัง และห้องส้วม 1 หลัง


จำนวน 7 ที่ และเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2522 ได้ย้ายสถานที่เรียนจาก


ศาลาการเปรียญวัดศรีชมชื่นมาเรียนที่อาคารเรียนชั่วคราว ในบริเวณโรงเรียน


ปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2555 ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3 เมื่อ วันที่ 1


สิงหาคม พ.ศ.2555 ปีการศึกษา 2564 มีคำสั่งให้ นายมานพ โคตรโสภา

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนดงมันพิทยาคม จนถึงปัจจุบัน

2

แผนผังที่ตั้งและอาณาเขตโรงเรียน

โรงเรียนดงมันพิทยาคม

DONDMANPITTAYAKOM SCHOLL

ทิศเหนือ ติดต่อกับ หนองผือ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ที่ดินเอกชน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลำห้วย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนไปป่าสงวนโนนชาติ

อาคารเรียนและอาคารประกอบอื่น ๆ จำนวน1 หลัง
1. อาคารเรียน 216 ค. จำนวน 1/2 หลัง
2. อาคารเรียนวิทยาศาสตร์ (ซีเอส 208) จำนวน 1หลัง
3. โรงฝึกงาน (คหกรรม) จำนวน 1 หลัง
4. โรงฝึกงาน (อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม) จำนวน2 หลัง
5. ห้องส้วมนักเรียน จำนวน 6หลัง
6. บ้านพักครู จำนวน 2ชุด (ชำรุด)
7. ถังเก็บน้ำฝน (ฝ.33)

3

แผนผังอาคารเรียนและอาคารประกอบ

โรงเรียนดงมันพิทยาคม


DONDMANPITTAYAKOM SCHOLL


























1.อาคารเรียน 216 ค

2.อาคารวิทยาศาสตร์

7. ห้องน้ำ 13. ห้องน้ำนักเรียนหญิง(ชำรุด)
8. สนามฟุตบอล 14. ห้องน้ำนักเรียนชาย
3.อาคารคหกรรม 9. สนามคอนกรีตหน้าเสาธง 15. บ้านพักรับรอง
4.อาคารเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม 10. สนามบาสเกตบอล 16. สระน้ำเกษตรกรรม
5.อาคารชั่วคราว (5/1-2) 11. สนามวอลเลย์บอล 17. ห้องประชาสัมพันธ์
6.บ้านพักครู (6/1-6) 12. ถังสูงน้ำประปา 18. ศาลเจ้าปู่ดอนหอ

4

ตราสัญลักษณ์ ปรัชญา คำขวัญ สี และอักษรย่อของโรงเรียน

กนกลายไทย ความหมายของตราโรงเรียน
วงกลมรอบนอก หมายถึง ความอ่อนน้อมกับบุคคลทั่วไป และผู้อาวุโส
วงกลมรอบใน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
คบเพลิง หมายถึง ขอบเขต ระเบียบ ประเพณี และความมีวินัย
ฟันเฟือง หมายถึง แสงสว่างที่กระจายไปรอบด้าน แสดงถึงความรุ่งโรจน์แห่งปัญญา
หมายถึง พลังความสามัคคีในหมู่คณะ

ปรัชญาของโรงเรียน
ปญญาย ปริสชญติ
“บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา”



คำขวัญของโรงเรียน
“มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ สู้งาน”



สีประจำโรงเรียน

เขียว ขาว
เขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพูนความรู้
ขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์สะอาด ทั้งกายและใจ



อักษรย่อ
ด.ม.พ. (ภาษาไทย)
D.M.P. (ภาษาอังกฤษ)




อัตลักษณ์ของโรงเรียน

จิตอาสา

5

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์โรงเรียนดงมันพิทยาคม

วิสัยทัศน์


โรงเรียนดงมันพิทยาคมจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง ปกติสุขบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาตามศักยภาพ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
3. ส่งเสริมพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ
4. พัฒนาอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในโรงเรียนและชุมชน
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและบูรณาการจัดการศึกษาตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์
1.ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
2.ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมของคนไทย 12 ประการ
3.ผู้บริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษามีทักษะด้านภาษาและการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการ
สอน มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้มีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สำหรับใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริการแก่ชุมชน
5.ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
3.การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
5. การพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

7

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรของโรงเรียน ปีการศึกษา2565

8

ทำเนียบครูและบุคลากรโรงเรียนดงมันพิทยาคม



นายมานพ โคตรโสภา
ผู้อำนวยการโรงเรียนดงมันพิทยาคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นางเอมอร คิดหมาย นางสาวกมลรัตน์ อ้วนเพ็ง นางสาวแคทชรียา บงแก้ว นางสาวอรพรรณ อาจใจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

นางสาววิมลรัตน์ ศิริกุล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

นางจริญญา บุญเสริม นางสาวจิราพร พวงประดิษฐ์

9

ทำเนียบครูและบุคลากรโรงเรียนดงมันพิทยาคม



กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

นางสาธิฏา เห็มชะนาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

นายอนันต์ ไชยเดช
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

นางจงงจิต บุญยี่ นายจิระศักดิ์ แก้วปัญญา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

นายอลงกรณ์ ศรศิลป์

10

ทำเนียบครูและบุคลากรโรงเรียนดงมันพิทยาคม



กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา

นายบุญมา วงษา นางสาวมยุรี เชื้อชัย
งานธุรการ

นางสาวสุพัฒตรา แก้วมาตย์
พนักงานบริการ ภารโรง

นายนิรุตติ์ เปรมไธสงค์

11

ครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2565

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1




1. นายอนันต์ ไชยเดช ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

2. นางสาธิฏา เห็มชะนาม ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
1. นางเอมอร คิดหมาย ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
2. นายจิระศักดิ์ แก้วปัญญา ครู พนักงานราชการ

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
1. นางจงจิต บุญยี่ ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
2. นางจริญญา บุญเสริม ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
1. นางสาวมยุรี เชื้อชัย ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
2. นางสาวสุพัฒตรา แก้วมาตย์ ครู ธุรการ

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
1. นางสาวจิราพร พวงประดิษฐ์ ครู วิทยฐานะชำนาญการ
2. นางสาวอรพรรณ อาจใจ ครู พนักงานราชการ

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
1. นางสาวกมลรัตน์ อ้วนเพ็ง ครู ค.ศ.1
2. นางสาวแคทชรียา บงแก้ว ครู ค.ศ.1

ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
1. นางสาววิมลรัตน์ ศิริกุล ครู ค.ศ.1
2. นายอลงกรณ์ ศรศิลป์ ครู ผู้ช่วย

12

งานทะเบียน



1. งานทะเบียนบริการจัดทำหนังสือสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวก
ับนักเรียน ดังนี้

1.1 ใบรับรองการเป็นนักเรียน
1.2 ใบรับรองผลการศึกษากรณีที่ยังไม่จบการศึกษา (ปพ.7)
1.3 ใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) (นักเรียนจะได้รับเมื่อจบการศึกษา)
1.4 บัตรประจำตัวนักเรียน
1.5 เอกสารการย้ายโรงเรียน
1.6 เอกสารอื่น ๆ
2. ข้อตกลงในการบริการ
2.1 ติดต่อเจ้าหน้าที่เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันราชการ
2.2 การขอหลักฐานใหม่ที่ทางราชการออกให้ต้องแจ้งความ พร้อมนำเอกสารที่แจ้งความมายื่นขอเอกสาร

พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการขอหนังสือสำคัญต่าง ๆ ฉบับละ 20 บาท
2.3 ติดต่องานทะเบียนที่ห้องวิชาการ โรงเรียนดงมันพิทยาคม
3. ขั้นตอนการขอเอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
3.1 ขอแบบฟอร์มใบคำร้องต่าง ๆ ที่งานทะเบียน กรอกข้อมูลให้ชัดเจน และส่งแบบฟอร์มล่วงหน้าก่อน

ขอรับเอกสาร 3 วัน นับจากวันที่ส่งแบบฟอร์ม
3.2 ในกรณีที่กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มต่าง ๆ ไม่ครบถ้วนชัดเจน หรือไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งเพื่อ

ทราบและจะเริ่มนับเวลาดำเนินการจากวันที่ส่งแบบฟอร์มใหม่
3.3 ถ้าผู้มาติดต่อเป็นนักเรียนที่ยังไม่จบการศึกษาต้องแต่งเครื่องแบบชุดนักเรียนเมื่อมาติดต่อ
3.4 เมื่อผู้ขอเอกสารดำเนินการตามข้อ 1 – 3 แล้ว นำคำร้องขอเอกสารต่าง ๆ ส่งพร้อมหลักฐานตามทีระบุ

ในใบคำร้อง

13

การประเมินผลการเรียน



วิธีการประเมินผลการเรียน มีรูปแบบดังนี้


หมายเหตุ
1. ครูผู้สอนสามารถเก็บคะแนนหรือประเมินผลได้ตามแผนการสอนของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องสอบกลาง
ภาคหรือปลายภาค
2. ผลการเรียนรู้ใดจะเก็บคะแนนให้แจ้งผู้เรียนทราบล่วงหน้า
3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และอ่านคิดวิเคราะห์ ให้ประเมินตลอดภาคเรียน เน้นการประเมินการ
แสดงออกเป็นประจำด้วยความชื่นชม ไม่ใช่การสอบวัดด้วยข้อสอบ หรือจำนวนครั้งที่แสดงออดแต่เป็น
ระดับคุณภาพของการแสดงออก
4.วัดผลปลายภาคเรียน นักเรียนที่มีเวลาในแต่ละรายวิชาต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิ์
เข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน

14

เงื่อนไขการมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน

นักเรียนจะต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการ
ประเมินผลปลายภาคเรียน

นักเรียนที่มีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ถึง 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด จะไม่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผลปลาย

ภาคเรียน และจะได้ผลการเรียน คือ อักษร “มส”

ขั้นตอนการตรวจสอบเวลาเรียน
1. นักเรียนหยุดเรียนยังไม่ถึง 10% ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้ตักเตือนด้วยวาจา
2. นักเรียนหยุดเรียนถึง 10% ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและให้นักเรียนลงชื่อรับทราบ
3. นักเรียนหยุดเรียนถึง 15 % ของเวลาเรียนทั้งหมด ฝ่ายวิชาการจะเชิญผู้ปกครองและนักเรียนมาลงชื่อรับ
ทราบเวลาเรียน และแจ้งให้ทราบว่านักเรียนจะหยุดเรียนได้อีกอย่างมากกี่คาบ
4. นักเรียนหยุดเรียนเกิน 20% ของเวลาเรียนทั้งหมด ฝ่ายวิชาการจะทำรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีสิทธิ์ เข้ารับการ
ประเมินผลปลายภาคเรียนเพื่อเสนอผู้ อำนวยการประกาศรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผล
ปลายภาคเรียน และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ

จำนวนคาบการหยุดเรียนของนักเรียนต่อภาคเรียน

15

เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
๑ก. ากราตรัดตัสดินสินผลผกลากราเรรีเยรีนยในนระดับมัธยมศึกษามีการตัดสินในหล

ายลักษณะคือ การผ่านรายวิชา กำหนดเป็นภาคเรียน การเลื่อนชั้นปี

กำหนดเป็นปีการศึกษาและการจบระดับชั้นเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักเกณฑ์การวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินผล การเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีดังนี้

ระดับมัธยมศึกษา
(๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
ในรายวิชานั้น ๆ
(๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
(๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
(๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๑.๑ การให้ระดับผลการเรียน
ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชา ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับ การประเมินการอ่าน

คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมิน เป็น ดีเยี่ยม ดีและผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และ
ให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นผ่านและไม่ผ่าน
๑.๒ การรายงานผลการเรียน

การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ของผู้เรียน ซึ่งสถาน
ศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็น ระยะ ๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้งการ
รายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพ การปฏิบัติของผู้เรียนที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
๒. เกณฑ์การจบการศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับประถม
ศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในส่วนของ โรงเรียนดงมันพิทยาคม เป็นโรงเรียนในระดับ
มัธยมศึกษาจึงขอกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๒.๑ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

(๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชา
เพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด

(๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖หน่วยกิต และรายวิชา
เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๑ หน่วยกิต

(๓) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด
(๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ สถานศึกษากำหนด
(๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ สถานศึกษากำหนด

16

๒.๒ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๓๙
หน่วยกิต รายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๓๙ หน่วยกิต
และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยว่า ๓๘ หน่วยกิต
(๓) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถาน
ศึกษากำหนด
(๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ สถานศึกษา
กำหนด
(๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ สถานศึกษา
กำหนดสำหรับการจบการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทางการศึกษา
สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตาม
อัธยาศัยให้คณะกรรมการของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

๒.๓ ผลการเรียนที่มีเงื่อนไข
ผลการเรียนที่มีเงื่อนไข ได้แก่ ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผลปลายภาคในรายวิชาและรอการตัดสิน มีตัว


อักษรระบุเงื่อนไขแสดงผลการเรียน ประกอบด้วย
๑. ตัวอักษรแสดงผลการเรียนแต่ละรายวิชาใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้

“มส” หมายถึงผู้เรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนในรายวิชานั้นและไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการ

วัดผลปลายภาคเรียน
“ร” หมายถึง รอการตัดสินและยังตัดสินไม่ได้ โดยผู้เรียนไม่มีข้อมูลผลการเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน เช่น
- ไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียน ปลายภาคเรียน
- ไม่ได้ส่งงานที่มอบหมายให้ทำซึ่งงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียนหรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ประเมินผลการ

เรียนไม่ได้

๒. ตัวอักษรแสดงผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
“ผ” หมายถึง ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
“มผ” หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

17

๒.๔ การเปลี่ยนผลการเรียน “๐”

สถานศึกษาจัดให้มีการสอบซ่อมเสริมในตัวชี้วัดที่ผู้เรียนสอบไม่ผ่านก่อน แล้วจึงสอบแก้ตัวให้ และให้สอบ

แก้ตัวได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น

ถ้าผู้เรียนไม่ดำเนินการสอบแก้ตัวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ที่จะพิจารณา

ขยายเวลาออกไปอีกไม่เกิน ๑ ภาคเรียน

ถ้าสอบแก้ตัว ๒ ครั้งแล้วยังได้รับผลการเรียน “๐” อีก สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการเกี่ยว

กับการแก้ผลการเรียนของผู้เรียนโดยปฏิบัติ ดังนี้

- ให้เรียนซ้ำรายวิชาถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน
- ให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยอยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ใน

กรณีเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ จะมีหมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนวิชาใด
๒.๕ การเปลี่ยนผลการเรียน “ร”
การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” มี ๒ กรณี
๑. ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” เพราะเหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบ หรือส่งผลงานที่ติดค้างอยู่

เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือแก้ปัญหาเสร็จสิ้นแล้วให้ได้ระดับผลการเรียนตามปกติ ตั้งแต่ ๐-๔
๒. ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้า

สอบหรือส่งผลงานที่ติดค้างอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือแก้ปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “๑”
การแก้ไขผลการเรียน “ร” ทั้งนี้ให้ดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุให้เสร็จสิ้นภายในปี การศึกษานั้น ถ้าผู้เรียนไม่

มาดำเนินการแก้ “ร” ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้เรียนซ้ำรายวิชา ยกเว้นมี เหตุสุดวิสัยจะอยู่ในดุลยพินิจของสถาน

ศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ “ร” ออกไปอีกไม่เกิน ๑ ภาคเรียน แต่เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้
- ให้เรียนซ้ำรายวิชาถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน
- ให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ใน

กรณีเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ มีหมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนวิชาใด

18

๒.๖ การเปลี่ยนผลการเรียน “มส”
การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” มี ๒ กรณี ดังนี้
๑. กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” เพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๖๐ ของ


เวลาเรียนทั้งหมด สถานศึกษาจัดให้เรียนเพิ่มเติมโดยใช้ชั่วโมงสอนซ่อมเสริม หรือเวลาว่าง หรือวันหยุด หรือมอบหมาย

งานให้ทำ จนมีเวลาเรียนครบตามที่กำหนดไว้สำหรับรายวิชานั้นแล้วจึงให้ สอบเป็นกรณีพิเศษ

ผลการสอบแก้“มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “๑”
การแก้“มส”กรณีนี้ให้กระทำให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้น ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้ “มส” ตามระยะ

เวลาที่กำหนดไว้ให้เรียนซ้ำรายวิชา ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ “มส”

ออกไปอีกไม่เกิน ๑ ภาคเรียนแต่เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้
- ให้เรียนซ้ำรายวิชาถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน
- ให้เรียนซ้ำหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา
๒. กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” และมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด สถาน

ศึกษาจัดให้มีการเรียนซ้ำในรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่สำหรับรายวิชาเพิ่มเติม

เท่านั้น
ในกรณีเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนวิชาใด
ในกรณีภาคเรียนที่ ๒ หากผู้เรียนยังมีผลการเรียน “๐” “ร” “มส” ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาค

เรียนปีการศึกษาถัดไป สถานศึกษาอาจเปิดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนเพื่อแก้ไขผลการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งนี้ทาง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดควรเป็นผู้พิจารณาประสานให้มีการดำเนินการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนเพื่อ

แก้ไขผลการเรียนของผู้เรียน
๒.๗ การเปลี่ยนผลการเรียน “มผ”
ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “มผ” สถานศึกษาจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมจนครบตาม เวลาที่

กำหนด หรือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ต้องปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียน จาก “มผ” เป็น “ผ”

ทั้งนี้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลย พินิจของสถานศึกษา
๒.๘ การเลื่อนชั้น
ผู้เรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกภาคเรียนและได้รับการเลื่อนชั้นเมื่อสิ้นปีการศึกษาโดย มีคุณสมบัติ

ตามเกณฑ์ ดังนี้
๑. รายวิชาพื้นฐาน ได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านทุกรายวิชา
๒. รายวิชาเพิ่มเติม ได้รับผลการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
๓. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิด

วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๔. ระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นควรไม่ต่ำกว่า ๑.๐๐ ทั้งนี้รายวิชาใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

สถานศึกษาสามารถซ่อมเสริมผู้เรียนให้ได้รับการแก้ไขในภาคเรียนถัดไป

19

๒.๙ การเรียนซ้ำ
สถานศึกษาจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน ๒ กรณี ดังนี้
กรณีที่ ๑ เรียนซ้ำรายวิชา หากผู้เรียนได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว ๒ ครั้งแล้วไม่ผ่าน เกณฑ์การ


ประเมินให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดให้เรียนซ้ำในช่วงใดช่วงหนึ่งที่ทางสถานศึกษา

เห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน ภาคฤดูร้อน เป็นต้น

กรณีที่ ๒ เรียนซ้ำชั้น มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า ๑.๐๐ และมีแนวโน้มว่าจะเป็น ปัญหาต่อการ

เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
๒. ผู้เรียนมีผลการเรียน ๐ , ร , มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ หาก

เกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือทั้ง ๒ ลักษณะ สถานศึกษาสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผล

อันสมควรก็ให้ซ้ำชั้น โดยยกเลิกผลการเรียนเดิมและให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน หากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำชั้น จะอยู่

ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไขผลการเรียน

20

ระดับผลการเรียนแบ่งเป็น 8 ระดับ คือ “4” “3.5” “3” “2.5” “2” “1.5” “1” และ “0” ระดับผลการ

เรียน “1” หมายถึง ผลการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ สำหรับเกณฑ์ที่ถือ ให้ปฏิบัติที่นี้ หมายถึงร้อยละ 50 ของ

คะแนนระหว่างภาคเรียน ส่วนช่วงระดับคะแนนอื่น ๆ นั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้สอนแต่ละรายวิชา

2. การเปลี่ยนระดับผล “มส” แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “ มส ” เพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อย

ละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติม หรือมอบหมายให้ทำ จนมีเวลาเรียนครบตามที่

กำหนดไว้สำหรับรายวิชานั้น แล้วจึงสอบให้เป็นกรณีพิเศษ ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลกรเรียนไม่เกิน “ 1 ”
2.2 กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” และมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียน ทั้งหมด ผู้เรียน

จะต้องเรียนซ้ำในรายวิชานั้น
3. การเปลี่ยนผลการประเมิน “มผ” เป็น “ผ” ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบ



เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียน
ผู้เรียนต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00
เกณฑ์การจบหลักสูตร
1. ผู้เรียนต้องผ่านทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน คือได้รับการตัดสินผลการเรียน เป็น “1” “1.5” “2”

“2.5” “3” “3.5” และ “4”
2. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ
1 - ผ่านการประเมิน
2 - ดี
3 - ดีเยี่ยม
3. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับ
1 - ผ่านการประเมิน
2 - ดี
3 - ดีเยี่ยม
4. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีชั่วโมงกิจกรรมครบ 480 ชั่วโมง และมีผล การ

ประเมินเป็น
ผ - ผ่าน

21

ระดับผลการเรียนแบ่งเป็น 8 ระดับ คือ “4” “3.5” “3” “2.5” “2” “1.5” “1” และ “0” ระดับผลการ

เรียน “1” หมายถึง ผลการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ สำหรับเกณฑ์ที่ถือ ให้ปฏิบัติที่นี้ หมายถึงร้อยละ 50 ของ

คะแนนระหว่างภาคเรียน ส่วนช่วงระดับคะแนนอื่น ๆ นั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้สอนแต่ละรายวิชา

2. การเปลี่ยนระดับผล “มส” แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “ มส ” เพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อย

ละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติม หรือมอบหมายให้ทำ จนมีเวลาเรียนครบตามที่

กำหนดไว้สำหรับรายวิชานั้น แล้วจึงสอบให้เป็นกรณีพิเศษ ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลกรเรียนไม่เกิน “ 1 ”
2.2 กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” และมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียน ทั้งหมด ผู้เรียน

จะต้องเรียนซ้ำในรายวิชานั้น
3. การเปลี่ยนผลการประเมิน “มผ” เป็น “ผ” ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบ



เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียน
ผู้เรียนต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00
เกณฑ์การจบหลักสูตร
1. ผู้เรียนต้องผ่านทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน คือได้รับการตัดสินผลการเรียน เป็น “1” “1.5” “2”

“2.5” “3” “3.5” และ “4”
2. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ
1 - ผ่านการประเมิน
2 - ดี
3 - ดีเยี่ยม
3. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับ
1 - ผ่านการประเมิน
2 - ดี
3 - ดีเยี่ยม
4. ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีชั่วโมงกิจกรรมครบ 480 ชั่วโมง และมีผล การ

ประเมินเป็น
ผ - ผ่าน

22

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม



ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม
ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๔

เพื่อให้การควบคุมความประพฤติของนักเรียนอยู่ในระเบียบวินัย และมีคุณธรรม จริยธรรมในทางที่ดียิ่งขึ้น

ทางโรงเรียนเห็นควรจัดทำระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนให้เหมาะสม ตามสภาพและ

ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

อาศัยอำนาจตามประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ.

๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม” ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติและ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียน

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนดงมันพิทยาคม
“ผู้อำนวยการ” หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนดงมันพิทยาคม
“ครู” หมายถึง ครูทั้งที่เป็นข้าราชการประจำและครูอัตราจ้างชั่วคราวในปัจจุบัน
“ครูที่ปรึกษา” หมายถึง ครูที่สถานศึกษาแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ให้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการดูแล และ

ให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในด้านต่าง ๆ
“นักเรียน” หมายถึง นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนดงมันพิทยาคม
“ผู้ปกครอง” หมายถึง ผู้ที่ได้ลงชื่อเป็นผู้ปกครองนักเรียนในเอกสารมอบตัวนักเรียนที่ให้ไว้กับทาง

โรงเรียน
“งานกิจการนักเรียน”หมายถึง คืองานส่งเสริม พัฒนา ควบคุม และแก้ไข ความ ประพฤติของนักเรียนให้

อยู่ในระเบียบวินัย ก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน เพื่อสนับสนุน กิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุ

เป้าหมายของหลักสูตร
“การกระทำผิด” หมายถึง การที่นักเรียนประพฤติหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน หรือของ กระ

ศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
“การลงโทษ” หมายถึง การลงโทษนักเรียนที่กระทำผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน

23

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม (ต่อ)

“ความผิดร้ายแรง” หมายถึง

(๑) กลั่นแกล้งหรือทำร้ายครู

(๒) จำหน่ายสารเสพติดในโรงเรียน

(๓) ผิดประเวณีหรือชู้สาวอย่างรุนแรง

(๔) ก่อเหตุหรือร่วมก่อเหตุการณ์รุนแรงหรือถึงแก่ชีวิตหรือความพิการ

(๕) ขาดเรียนติดต่อกันเกิน ๑๕ วันโดยไม่มีเหตุผล

(๖) ขัดคำสั่งหรือระเบียบโรงเรียน หรือความผิดอื่นๆ ที่ร้ายแรงคล้ายคลึงกัน

“ทำกิจกรรม”หมายถึง การให้นักเรียนที่กระทำผิด ทำกิจกรรม หรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อ


ตนเอง สถานศึกษาหรือสังคม ในลักษณะของงานที่เป็นสาธารณประโยชน์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรืองานที่ ส่งเสริม


คุณธรรม จริยธรรม

“คณะกรรมการกลุ่มกิจการนักเรียน”หมายถึง คณะกรรมการที่มีหน้าที่พิจารณาลงความเห็นการ กระทำ


ผิด ประกอบด้วยหัวหน้าบริหารงานกิจการนักเรียน ครูที่ปรึกษา

ข้อ ๔ โทษที่จะลงโทษนักเรียนที่กระทาความผิด มี ๔ สถานดังนี้

(๑) ว่ากล่าวตักเตือน

(๒) ทำทัณฑ์บน

(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ

(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อ ๕ ลักษณะความผิดที่ต้องตัดคะแนนความประพฤติกำหนดไว้เป็นหมวดดังนี้




หมวดที่ ๑

การเรียน

๑.๑ ขาดเรียนโดยไม่แจ้งเหตุผล ๕ คะแนน

๑.๒ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัด ๕ คะแนน

๑.๓ หนีเรียน ๕ คะแนน

๑.๔ หนีโฮมรูม ๕ คะแนน

๑.๕ ออกนอกบริเวณโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๕ คะแนน

๑.๖ ทุจริตในการสอบ ๑๐ คะแนน

๑.๗ ปลอมแปลงเอกสาร ลายมือชื่อของครูและผู้ปกครอง ๑๐ คะแนน

๑.๘ หนีโรงเรียน ๑๐ คะแนน

๑.๙ ไม่มาหรือหลีกเลี่ยงการนำเอกสาร หลักฐานทางราชการ

หรือข่าวสารทางโรงเรียนให้ผู้ปกครอง ๕ คะแนน

24

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม (ต่อ) ๕ คะแนน
๕ คะแนน

๕ คะแนน
๕ คะแนน
หมวดที่ ๒ ๕ คะแนน
การแต่งกาย ๑๐ คะแนน
๒.๑ เสื้อไม่ปัก ด.ม.พ. / ชื่อ – สกุล / หรือผิดแบบ ๕ คะแนน
๒.๒ ใส่เสื้อผู้อื่นมาโรงเรียน ๑๐ คะแนน
๒.๓ ใส่เสื้อกันหนาวโดยไม่สวมเสื้อนักเรียนข้างใน ๕ คะแนน
๒.๔ ใส่เครื่องประดับมาโรงเรียน ๕ คะแนน
๒.๕ เอาชายเสื้อออกนอกกางเกง/กระโปรง (ชุดนักเรียน) ๕ คะแนน
๒.๖ ทรงผมไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
๒.๗ ไว้หนวดเครา/แต่งหน้า/ทาปาก/เขียนคิ้ว ๑๐ คะแนน
๒.๘ ย้อม ดัด เปลี่ยนสีหรือซอยผม ๑๐ คะแนน
๒.๙ ไม่แต่งเครื่องแบบ ลส./น.น../ลส.วิสามัญ/น.ศท. ๑๐ คะแนน
๒.๑๐ กระโปรง / กางเกง ผิดระเบียบ ๑๐ คะแนน
๒.๑๑ เล็บยาว / ถุงเท้า ผิดระเบียบ ๑๐ คะแนน
๑๕ คะแนน
หมวดที่ ๓ ๒๐ คะแนน
ความประพฤติ ๒๕ คะแนน
๓.๑ พูดวาจาไม่สุภาพ หยาบคาย ๑๐ คะแนน
๓.๒ ไม่สำรวมกริยามารยาททั้งในและนอกโรงเรียน ๑๐ คะแนน
๓.๓ โกหก/ให้การเท็จ/ไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ๕ คะแนน
๓.๔ ประพฤติตนทำให้เสื่อมเสียภาพพจน์ของโรงเรียน ๒๐ คะแนน
๓.๕ ทะเลาะวิวาทแต่ไม่ใช้กำลังทำร้ายกัน ๒๐ คะแนน
๓.๖ ทะเลาะวิวาทและใช้กำลังทำร้ายกัน
๓.๗ ร่วมวงทะเลาะวิวาทระหว่างโรงเรียน
๓.๘ นำคนนอกมาทะเลาะวิวาทกับนักเรียนในโรงเรียน
๓.๙ มีส่วนร่วมในการกระทำผิด
๓.๑๐ สูบบุหรี่/มีบุหรี่ไว้ในครอบครอง
๓.๑๑ ใช้สื่อลามก
๓.๑๒ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
๓.๑๓ เล่นการพนัน/นำอุปกรณ์การเล่นมาโรงเรียน

25

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม (ต่อ) ๒๐ คะแนน
ความหปมรวะดพท
ีฤ่ ต๓ิ(ต่อ) ๒๐ คะแนน
๒๐ คะแนน
๓.๑๔ ข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์ผู้อื่น ๖๐ คะแนน
๓.๑๕ มีพฤติกรรมใช้ยาเสพติด ๒๐ คะแนน
๓.๑๖ เสพยาเสพติด หรือมีไว้ ๒๐ คะแนน
๓.๑๗ จำหน่ายหรือค้ายาเสพติดให้กับนักเรียนในโรงเรียน ๑๐ คะแนน
๓.๑๘ ลักขโมยของผู้อื่น ๑๕ คะแนน
๓.๑๙ ทำลายทรัพย์สินของราชการ
๓.๒๐ กลั่นแกล้งเพื่อนโดยเจตนา ๒๐ คะแนน
๓.๒๑ ประพฤติตัวไปในทางชู้สาว
๓.๒๒ แสดงอากัปกริยา/วาจา/แสดงอาการกระด้างกระเดื่อง/ขาดการอ่อน ๒๐ คะแนน
น้อมถ่อมตน/ขาดความเคารพต่อครูและบุคลากรของโรงเรียน ๕ คะแนน
๓.๒๓ ใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสียหาย ๑๐ คะแนน
กับบุคคลอื่นหรือองค์กร ๕ คะแนน
๓.๒๔ ใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต
๓.๒๕ ขี่มอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน๊อค ๕ คะแนน
๓.๒๖ ไม่จอดรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ ที่โรงเรียนได้จัดไว้ให้ ๕ คะแนน
๑๐ คะแนน
หมวดที่ ๔ ๕ คะแนน
๕ คะแนน
อาคารสถานที่
๔.๑ ไม่ทำเวร/ไม่ทำเขตรับผิดชอบ ๕ส ๕ คะแนน
๔.๒ นำอาหาร/เครื่องดื่มขึ้นไปบนอาคารเรียน ๕ คะแนน
๔.๓ สั่ง/นำอาหารจากภายนอกเข้ามาในโรงเรียน ๑๐ คะแนน
๔.๔ เล่นฟุตบอลในห้องเรียน/บนอาคารเรียน ๒๐ คะแนน
๔.๕ ฝ่าฝืนระเบียบการใช้อาคารสถานที่ หรือระเบียบการใช้โรงอาหาร ๒๐ คะแนน
๕ คะแนน
หมวดที่ ๕

การตรงต่อเวลา มีวินัยและอื่นๆ
๕.๑ มาสาย (๐๘.๐๐ น.)
๕.๒ กรณีขาดเรียน/ไม่มาโรงเรียนเลยโดยไม่มีการลา
๕.๓ ฉีกหรือตัดหนังสือ/สิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
๕.๔ พกพาอาวุธหรือสิ่งของคล้ายอาวุธ มาโรงเรียน
๕.๕ นำประทัด/ดอกไม้ไฟ มาเล่นในโรงเรียน
๕.๖ ฝ่าฝืนระเบียบอื่นๆ หรือมาตรการของโรงเรียนอื่นที่ไม่ได้ระบุใน ระเบียบนี้

26

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม (ต่อ)

ข้อ ๖ ลักษณะที่ได้คะแนนพฤติกรรม


หมวดที่ ๑
การเรียน

๑.๑ สืบค้น หาข้อมูลในห้องสมุด +๒ คะแนน
๑.๒ เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น +๕ คะแนน
๑.๓ ได้รับรางวัลระดับโรงเรียน +๑๐ คะแนน
๑.๔ ได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษา +๑๕ คะแนน
๑.๕ ได้รับรางวัลระดับภาค +๒๐ คะแนน
๑.๖ ได้รับรางวัลระดับประเทศ +๒๕ คะแนน
๑.๗ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ +๓๐ คะแนน
๑.๘ ส่งจดหมายขอลาป่วย/ลาหยุดต่างๆ +๔ คะแนน
๑.๙ ผลงานดีเด่นด้านกีฬา +๕ คะแนน
๑.๑๐ อธิบายให้ความรู้แก่ผู้อื่น +๑๐ คะแนน

หมวดที่ ๒ +๕ คะแนน
+๑๐ คะแนน
การแต่งกาย
๒.๑ แต่งกายเป็นแบบอย่างที่ดีได้รับการยกย่อง +๕ คะแนน
๒.๒ บริจาคเครื่องแต่งกายให้รุ่นน้องหรือผู้อื่น +๒ คะแนน
+๕ คะแนน
หมวดที่ ๓ +๒ คะแนน
+๕๐ คะแนน
ความประพฤติ +๕ คะแนน
๓.๑ บำเพ็ญประโยชน์๑ ชั่วโมง (จิตอาสา)
๓.๒ มีจิตอาสาช่วยเหลืองาน
๓.๓ เก็บของได้แล้วส่งคืน
๓.๔ เข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า
๓.๕ เข้าค่ายพัฒนาวินัยและแก้ไขพฤติกรรม
๓.๖ ปรับคะแนนเบื้องต้น หรือปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาของนักเรียน

27

ระเบียบโรงเรียนดงมันพิทยาคม (ต่อ)
อาหคมาวรด
สทีถ่ า๔นที่

๔.๑ บำเพ็ญประโยชน์๕ ชั่วโมง (กรณีคะแนนติดลบ ๖๐ คะแนน) +๒๐ คะแนน

๔.๒ ร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ +๕ คะแนน

๔.๓ ทำความสะอาดเขตพื้นที่ ๕ส +๒ คะแนน

๔.๔ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม +๒ คะแนน

๔.๕ ทำความสะอาดอาคารสถานที่ +๕ คะแนน

ข้อ ๗ ผลของการตัดคะแนนความประพฤติ

๑. นักเรียนที่ตัดหักคะแนน รวมถึง ๕๐ คะแนน ให้หัวหน้างานกิจการนักเรียน ครูที่ปรึกษาดำเนินการ


แจ้ง ผู้ปกครองนักเรียนมาปรับคะแนนตามกิจกรรมที่กำหนดหรือปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาของตนเอง เพื่อได้


คะแนนคืน

๒. นักเรียนที่ตัดหักคะแนน รวมถึง ๗๐ คะแนน ให้หัวหน้างานกิจการนักเรียนครูที่ปรึกษาดำเนิน

การเชิญ ผู้ปกครองมาพบ เพื่อให้นักเรียนปรับพฤติกรรมโดยการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ตามที่โรงเรียนกำหนด

๓. นักเรียนที่ตัดหักคะแนน รวมถึง ๑๐๐ คะแนน ให้หัวหน้างานกิจการนักเรียนครูที่ปรึกษาดำเนินการ


บันทึก เสนอคณะกรรมการบริหารงานกิจการนักเรียน เพื่อเสนอผู้อำนวยการโรงเรียน

๔.๑ โรงเรียนไม่ออกใบรับรองความประพฤติ

๔.๒ ย้ายสถานศึกษาใหม่ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

ข้อ ๘ โรงเรียนกำหนดให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้คะแนนคืนในแต่ละด้านดังนี้

ด้านที่ ๑ ทำความสะอาดอาคารสถานที่ จำนวน ๕ ชั่วโมง (ได้คืน ๕ คะแนน)

ด้านที่ ๒ บริการผู้อื่น สังคม จำนวน ๕ ชั่วโมง (ได้คืน ๕ คะแนน)

ด้านที่ ๓ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน ๑๐ ชั่วโมง (ได้คืน ๑๐ คะแนน)

ด้านที่ ๔ วิชาการ จำนวน ๑๕ ชั่วโมง (ได้คืน ๑๕ คะแนน)

ข้อ ๙ ลักษณะความผิดอื่นนอกจากที่ระบุในระเบียบนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฝ่าย กิจการ


นักเรียน พิจารณาความผิดและลงโทษตามเห็นสมควรเป็นที่สุด

ข้อ ๑o ให้งานกิจการนักเรียนรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มี อำนาจตีความและวินิจฉัย


ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ลงชื่อ
( นายมานพ โคตรโสภา )

ผู้อำนวยการโรงเรียนดงมันพิทยาคม

การแต่งกายนักเรียนโรงเรียนดงมันพิทยาคม



การแต่งกายมัธยมศึกษาตอนต้น การแต่งกายลูกเสือ-เนตรนารี

การแต่งกายมัธยมศึกษาตอนปลาย การแต่งกายเครื่องแบบ รด.


Click to View FlipBook Version