The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

2.แผนการจัดการเรียนรู้ที่-๒-เรื่องสั้น-กลุ่มทดลอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by porntippol1977, 2022-05-05 00:57:12

2.แผนการจัดการเรียนรู้ที่-๒-เรื่องสั้น-กลุ่มทดลอง

2.แผนการจัดการเรียนรู้ที่-๒-เรื่องสั้น-กลุ่มทดลอง

1

แผนการจดั การเรยี นรู้ (กลมุ่ ทดลอง)

กล่มุ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย ชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๓

ภาคเรยี นท่ี ๑ รหัสวชิ า ท ๒๓๑๐๑ ชื่อรายวชิ า ภาษาไทย

หน่วยการเรยี นรู้ที่ ๕ เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จาํ นวน ๑๖ ช่วั โมง

แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี ๒ เรอื่ ง บทอ่านเรอ่ื งสัน้ ในโลกทีท่ ุกคนอยากเป็นคนดี เวลา ๒ ชัว่ โมง

ผูส้ อน นางพรทิพย์ พลไชย โรงเรียนมธั ยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา”

๑. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพ่ือนําไปตัดสินใจ

แก้ปญั หาในการดาํ เนินชวี ติ และนิสัยรักการอา่ น

๒. ตวั ช้ีวดั
ท ๑.๑ ม.๓/๓ ระบุใจความสําคัญและรายละเอยี ดของขอ้ มูลทีส่ นบั สนุนจากเร่อื งทอ่ี า่ น
ท ๑.๑ ม.๓/๕ วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ

เพือ่ ให้ผอู้ า่ นเข้าใจไดด้ ีขึ้น
ท ๑.๑ ม.๓/๗ วจิ ารณค์ วามสมเหตุสมผล การลาํ ดับความ และความเปน็ ไปไดข้ องเรอื่ ง
ท ๑.๑ ม.๓/๘ วเิ คราะห์เพือ่ แสดงความคิดเห็นโตแ้ ย้งเก่ยี วกบั เร่ืองท่อี า่ น
ท ๑.๑ ม.๓/๙ ตคี วามและประเมินคณุ ค่าและแนวคิดทไ่ี ดจ้ ากงานเขยี นอย่างหลากหลาย

เพื่อนําไปใช้แกป้ ญั หาในชีวติ
ท ๑.๑ ม.๓/๑๐ มีมารยาทในการอา่ น

๓. สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
เรือ่ งสัน้ เปน็ วรรณกรรมรอ้ ยแกว้ ประเภทบนั เทิงคดีท่ีสอดแทรกข้อคิดและเนื้อเร่ืองท่ีเหมาะ

แกก่ ารศึกษา โดยสง่ เสรมิ ให้ผ้เู รียนสามารถคิดวิเคราะห์เนอื้ เรอ่ื งของเร่อื งสน้ั และฝกึ ฝนการอ่านได้
เรอ่ื งสน้ั เรอ่ื ง ในโลกทท่ี ุกคนอยากเป็นคนดี ซึง่ เปน็ หนง่ึ ในผลงานรวมเรอ่ื งสั้นสงิ โตนอกคอก

ของ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ที่สอดแทรกข้อคิดคติเตือนใจในเรื่องการวัดความดีของคนด้วยไพ่
เพียงหนึ่งใบ ทําให้เกิดข้อสงสัยในระบบดังกล่าว ซ่ึงมีการดําเนินเร่ืองสั้น เรื่อง ในโลกท่ีทุกคน
อยากเป็นคนดี น้ีมีความแฟนตาซีแปลกใหม่เหมาะท่ีจะทําให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการอ่านและ
สามารถนาํ เร่อื งสัน้ มาวิเคราะห์ขอ้ คดิ ได้

2

๔. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
ดา้ นความรู้
๑. บอกความหมายศพั ท์ สํานวนทอี่ าจพบในเร่ืองถูกตอ้ ง
๒. จัดลําดบั เหตกุ ารณข์ องเรื่องได้
๓. บอกลกั ษณะนสิ ยั ตัวละครในเรือ่ งสั้นที่อา่ นได้
๔. ตั้งคําถามและตอบคําถามเกีย่ วกับเรอ่ื งท่ีอ่านได้
๕. บอกขอ้ คดิ คติธรรม จากเร่อื งสั้นที่อ่านได้
๖. สรุปสาระสาํ คัญของเรื่องได้
๗. บอกประเมนิ ค่าเรื่องสน้ั ทอ่ี า่ นไดอ้ ยา่ งมีเหตุผล
ดา้ นทกั ษะกระบวนการ
๑. ปฏิบตั ติ ามลําดบั ขนั้ ตอนกระบวนการเรยี นรู้ไดถ้ ูกตอ้ ง
๒. เขยี นสรปุ ความรูแ้ ละนาํ ข้อคดิ จากการอา่ นเรื่องส้ัน ในโลกทีท่ กุ คนอยากเป็นคนดี

ประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตจรงิ ได้
๓. นาํ เสนอผลงานการอ่านเร่ืองสัน้ ในโลกทีท่ ุกคนอยากเปน็ คนดี ได้
๔. สามารถปฏิบตั งิ านกลุ่มได้

ด้านคณุ ลักษณะ/เจตคติ
ตระหนักในคณุ คา่ และมีเจตคติท่ีดีต่อการอา่ นอยา่ งมวี ิจารณญาณ

๕. สาระการเรียนรู้
๕.๑ ลกั ษณะของเรื่องส้ัน
๕.๒ องค์ประกอบของเร่ืองสัน้
๕.๓ ชนิดของเรอื่ งส้นั
๕.๔ เรอ่ื งสั้น เรอื่ ง ในโลกทท่ี กุ คนอยากเปน็ คนดี

๖.กระบวนการเรยี นรู้
กจิ กรรมช่ัวโมงที่ ๑
ขน้ั ท่ี ๑ ขั้นกาหนดเปา้ หมายและวางแผนการอ่านร่วมกัน (๑๐ นาที)
๑. ครูจัดบรรยากาศในช้ันเรียน พูดคุยกับนักเรียนเป็นกัลยาณมิตร ด้วยอารมณ์

แจม่ ใส
๒. ครแู จ้งจุดประสงค์การเรียนรู้รายละเอียดกระบวนการจัดการเรียนรู้และชี้แจง

วธิ ีวัดและประเมนิ ผล
๓. ครูทบทวนบทบาทและหน้าที่ของการเรียนรู้แบบร่วมมือกันในช้ันเรียน

เมอ่ื มอบหมายให้ทาํ งานร่วมกนั ตอ้ งปฏิบัติกิจกรรมดงั น้ี

3

๓.๑ สมาชิกในชุมชนต้องเขียนกฎเกณฑ์กติกาที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน
ในกระดาษและต้องอธิบายถึงคุณค่าประโยชน์ของกฎเกณฑ์กติกาดังกล่าวที่คาดหวังต่อสมาชิก
สมาชิกของกลมุ่ แสดงการยนื ยันในความรูส้ ึกนึกคิดของตนโดยใช้หัวแม่มอื ดงั น้ี

๓.๑.๑ ยกหัวแม่มือข้นึ หมายถึง ใช่ มคี วามสขุ กบั กฎกติกาน้ี
๓.๑.๒ หัวแม่มืออยู่ในตําแหน่งแนวราบหรือแนวนอน หมายถึง
ไมม่ ีความสุขทัง้ หมด คอื มคี วามสุขบ้าง แต่สามารถทําตามกฎเกณฑ์ กติกาน้ไี ด้
๓.๑.๓ หัวแม่มืออยู่ในตําแหน่งช้ีลง หมายถึง ไม่เห็นด้วย
กบั กฎเกณฑ์กติกา
๓.๒ สมาชิกในกลุ่มมีบทบาทแตกต่างกันประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่ม
ผนู้ ําการอธิบายคาํ ศพั ท์ ผ้นู าํ จบั ใจความสําคัญ และผูป้ ระสานงาน
๔. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันต้ังเปูาหมายในการเรียนรู้ในแบบบันทึกการตั้งเปูาหมายและ
ประเมินเปูาหมาย และตกลงกันเร่ืองบทบาทหน้าท่ีที่แต่ละคนจะต้องรับผิดชอบ แล้วบันทึก
ในแบบบันทึกการกําหนดบทบาทสมาชิกในกลุ่มการเรียนรู้ สมาชิกจะต้องวางแผนการอ่าน
ของตนเองโดยบันทกึ ในแบบบนั ทกึ การวางแผนการอา่ นดว้ ยตนเอง
ขนั้ ท่ี ๒ ข้ันสร้างประสบการณ์ในการเรยี นรู้ (๓๕ นาที)
๑) ครูนําตัวอย่างหนังสือ รวมเรื่องสั้นของ "จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท" นักเขียน
รางวัลยอดเย่ียม นายอินทร์อะวอร์ด ปี 2558 หลังจากนั้นแนะนําหนังสือรวมเร่ืองส้ัน
ในโลกทที่ กุ คนอยากเป็นคนดี
๒) ตัง้ คาํ ถามให้นกั เรียนตอบ
“นักเรียนคิดอย่างไรกับคาว่า “คนดี” แล้วคนแบบไหนท่ีนักเรียนจะเรียกว่า
เปน็ คนดีไดใ้ นทรรศนคติของนักเรียน”
(พิจารณาตามคําตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน
ตัวอยา่ งคนดคี อื คนท่ที ําประโยชนเ์ พ่ือคนอ่ืนโดยไม่หวงั ผลตอบแทน เป็นตน้ )
๓. ครูมอบเอกสารใบความรู้เร่ือง "เรื่องสั้น" ให้ผู้ประสานงานแต่ละกลุ่มมารับ
เพอ่ื แจกให้สมาชกิ
๔. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ เรื่อง "เรื่องสั้น" พร้อมท้ังพูดคุยและ
อธิบายถึงประเดน็ ต่างๆ ดังน้ี ลักษณะของเรื่องส้ัน องค์ประกอบของเรื่องสั้น และชนิดของเรื่องส้ัน
จากนั้นให้หัวหน้ากลุ่มทําหน้าท่ีขยายความรู้เพ่ิมเติม ถามคําถามสมาชิกภายในกลุ่มทีละประเด็น
ว่ามีความเข้าใจตรงกันหรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจตรงกัน ให้ร่วมกันศึกษาและอภิปรายกันใหม่จนกว่า
จะเขา้ ใจตรงกัน
๕. ครูให้นักเรียนทบทวนความหมาย หลักการอ่าน หลักปฏิบัติในการอ่าน
อยา่ งมีวจิ ารณญาณจากใบความรู้ เร่ือง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

4

๖. ครูมอบเอกสารประกอบด้วย เร่ืองสั้น เร่ือง ในโลกท่ีทุกคนอยากเป็นคนดี
แบบบันทึกการอ่านรายบุคคล และแบบบันทึกการอ่านของกลุ่มให้ผู้ประสานงานแต่ละกลุ่มมารับ
เพ่ือแจกให้สมาชิก หัวหน้ากลุ่มแจ้งให้สมาชิกสํารวจเน้ือหาเร่ืองสั้นอย่างคร่าวๆ จากชื่อเร่ือง
โดยให้เช่อื มโยงความรแู้ ละประสบการณเ์ ดมิ เกี่ยวกับเรื่องท่ีอ่าน แล้วเขียนลงในแบบบันทึกการอ่าน
รายบคุ คล

๗. จากนั้นสมาชิกนําข้อมูลที่บันทึกไว้มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ซึ่งกันและกัน โดยสมาชกิ แตล่ ะคนจะต้องประเมนิ ข้อมลู ที่ได้รับและตัดสินว่าข้อมูลของสมาชิกคนใด
มีเหตุผลมีนํ้าหนักน่าเช่ือถือเพื่อให้เป็นข้อสรุปของกลุ่มโดยมีหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้นําอภิปราย และ
มผี ้ปู ระสานงานเป็นผบู้ นั ทึกลงในแบบบันทึกการอา่ นของกลุ่ม

๘. การอภปิ รายให้สมาชกิ มีบทบาทหนา้ ทด่ี งั น้ี
๘.๑ ผู้นําอธิบายศัพท์รับหน้าท่ีชี้แนะการหาความหมายศัพท์ และ

เปน็ ผสู้ รปุ ความเห็นของกลมุ่ ใหผ้ ู้ประสานงานจดบนั ทึกลงในแบบบันทกึ การอา่ นของกลมุ่
๘.๒ ผู้นําจับใจความสําคัญรับหน้าที่ช้ีแนะให้หาคําตอบว่าประเด็นสําคัญ

ที่สุดท่ีกล่าวถึงในเร่ืองนี้คืออะไร และเป็นผู้นําอภิปรายและสรุปใจความสําคัญของกลุ่ม
ใหผ้ ปู้ ระสานงานบนั ทกึ ลงในแบบบนั ทกึ การอา่ นของกลุ่ม

๘.๓ หัวหน้ากลุ่มเป็นผู้นําการอภิปรายในประเด็นอ่ืนๆ จนครบ
ใ น แ บ บ บั น ทึ ก ก า ร อ่ า น ข อ ง ก ลุ่ ม โ ด ย ผู้ ป ร ะ ส า น ง า น เ ป็ น เ ขี ย น ข้ อ ส รุ ป ต า ม ค ว า ม เ ห็ น ก ลุ่ ม
ลงในแบบบนั ทกึ การอา่ นของกลมุ่

ขัน้ ที่ ๓ ขนั้ ตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (๑๕ นาที)

๑.ให้หัวหนา้ กลุ่มสอบถามเกยี่ วกบั เวลาท่ีสมาชกิ ใช้ในการอา่ นในประเด็นดังต่อไปนี้
สมาชิกคนใดใชเ้ วลาในการอา่ นตรงตามเวลาทีต่ นเองกําหนดไวบ้ า้ ง คนใดใช้เวลาในการอ่านมากกว่า
เวลาที่ตนเองกําหนดไวบ้ า้ ง คนใดใชเ้ วลาในการอ่านน้อยกวา่ เวลาท่ตี นเองกําหนดไวบ้ ้าง

๒. หลังจากนั้นผู้ประสานงานสรุปเวลาท่ีสมาชิกใช้ในการอ่าน เพ่ือช่วยให้สมาชิก
ได้ตระหนักวา่ ตนเองอ่านชา้ หรอื เร็ว

๓. หัวหน้ากลุ่มให้สมาชิกช่วยกันต้ังคําถามเกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่อง โดยให้
ตั้งคําถามตามลําดับข้ันของการการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง
แล้วสุ่มเรียกสมาชิกในกลุ่มตอบ ถ้าตอบไม่ได้สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องช่วยกันค้นหาคําตอบ
โดยการอา่ นซ้ําและช่วยกันสรปุ เรื่องจนทกุ คนเข้าใจตรงกนั
กจิ กรรมช่ัวโมงที่ ๒

ข้นั ที่ ๔ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ (๓๐ นาที)
๑. สมาชกิ ในกลุ่มอภิปรายรว่ มกันเพือ่ ทบทวนข้อมลู ที่เป็นขอ้ สรปุ ของกลมุ่
๒. ตัวแทนสมาชิกในกลุ่มนําเสนอผลการอภิปรายหน้าช้ันเรียน จากบันทึกไว้

ในแบบบันทึกการอา่ นของกลมุ่ และร่วมกันอภปิ รายแสดงความคิดเหน็
๓. ครูและสมาชิกของกลุ่มการเรียนรู้ฟังการนําเสนอผลการอภิปราย ครูเพิ่มเติม

ในส่วนท่ียงั ไม่สมบูรณ์ เพ่ือเปน็ แนวในการตอบคาํ ถาม แล้วให้แต่ละกลมุ่ ประเมินการนําเสนอผลงาน
ของแตล่ ะกล่มุ (ยกเว้นกลมุ่ ของตน) รว่ มกับครใู นแบบประเมินการนาํ เสนอผลงานทีก่ ําหนดให้

5

ขัน้ ท่ี ๕ ขน้ั ประเมนิ ผลการเรยี นรู้ (๑๐ นาที)
๑. ครมู อบแบบฝึกหัดเรือ่ ง ในโลกทีท่ ุกคนอยากเป็นคนดี ให้ผ้ปู ระสานงาน แต่ละ

กลุ่มไปแจกให้สมาชิก จํานวน ๑๐ ขอ้ ใชเ้ วลา ๕ นาที เมือ่ ครบกาํ หนดเวลา ให้หัวหน้ากลุ่มสอบถาม
สมาชิกว่าตนเองจะทาํ แบบฝกึ หดั ถูกกีข่ ้อจากนัน้ นาํ บัตรคาํ ตอบจากครมู าเฉลย

๒. สมาชกิ ในกลมุ่ ประเมินเปาู หมายของกล่มุ ท่ีบันทกึ ไว้ เพ่อื ดวู ่าผลการอา่ นบรรลุ
ตามเปูาหมายของการอา่ นที่ตั้งไวห้ รอื ไม่

๓. หวั หน้ากล่มุ ให้สมาชิกอภปิ รายในประเด็นต่อไปนี้
๓.๑ สมาชิกเลอื กใชว้ ิธกี ารอา่ นใดบ้าง
๓.๒ บอกขอ้ ดี ขอ้ บกพรอ่ ง ของวธิ ีการอา่ นท่ีสมาชิกเลอื กใช้
๓.๓ เพราะเหตุใด สมาชิกจึงคิดว่าตนเองประสบความสําเร็จ

ตามเปูาหมายท่ีต้ังไว้ หรอื ไมป่ ระสบความสําเรจ็ ตามเปูาหมายทต่ี ง้ั ไว้
๔. หวั หนา้ กลมุ่ แจกแบบประเมนิ พฤตกิ รรมการทาํ งานกลมุ่ ใหส้ มาชิกประเมิน
๕. ครูประเมินพฤติกรรมการทํางานกลุ่ม ประเมินผลงานและสะท้อน

ความกา้ วหนา้ ของนกั เรยี นเปน็ รายบคุ คล
ขน้ั ที่ ๖ ข้นั ทบทวน และบนั ทกึ การสร้างองคค์ วามร้ดู ว้ ยตนเอง (๒๐ นาที)
๑. ให้สมาชิกในกลุ่มทบทวนเนื้อหา โดยครูต้ังถามให้แต่ละกลุ่มร่วมกัน สรุปว่า

"หลังจากท่ีนักเรยี นอ่านแลว้ นักเรียนคดิ ถึงอะไร เพราะเหตุใดจงึ คิดเช่นนน้ั "
๒. ครูและนักเรียนสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่าน เร่ืองส้ันในโลกท่ีทุกคนอยากเป็น

คนดี โดยครูได้ยกอา้ งถงึ ข้อความต่อไปน้ี
“มนุษย์ในอดีตก็เป็นอย่างน้ีแหละ มนุษย์จริง ๆ เป็นแบบนี้ ช่างสงสัย กระหาย

ความรู้แต่น่าเสียดายท่ีพวกเราในปัจจุบันน้ีลืมทุกอย่างไปหมดแล้ว เรากาลังถูกหล่อหลอม
ให้กลายเปน็ อะไรบางอยา่ งที่ห่างไกลความเปน็ มนษุ ย์ แต่ง่ายตอ่ การควบคมุ และปกครอง”

“เรากาลงั กลายเปน็ อะไรหรือ” ผมถาม
เธอจอ้ งเข้ามาในตาของผม สดู ลมหายใจก่อนจะตอบเสยี งแผ่วเบา
“ส่งิ ทพี่ วกเราภาคภมู ใิ จกนั นกั หนา คนดี ยงั ไงล่ะ”
แสดงว่าผ้พู ดู ให้คติของการวดั ความดีของคน
๓. ครูให้นักเรียนแต่ละคนเขียนบันทึกการเรียนรู้เพื่อวัดความสามารถ
ในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยแสดงความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และความคิดเห็น
เก่ียวกับเน้ือเร่ืองตามประเด็นในแบบบันทึกการเรียนรู้เพื่อวัดความสามารถการสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง แล้วจบั ค่แู ลกเปล่ียนกันอ่านบันทึกการเรียนรูก้ ่อนนาํ มาสง่ ผ้สู อน
๔. ครอู า่ นบนั ทกึ การเรียนรู้เพื่อวดั ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
แล้วเลือกประเด็นท่ีนําสนใจในแบบบันทกึ การเรยี นรูข้ องนกั เรียนมานําเสนอในช้ันเรียน ในการเรียน
การสอนครง้ั ต่อไป
๗. ส่ือการเรียนร/ู้ แหลง่ การเรียนรู้
๗.๑ ตวั อยา่ งหนังสือ รวมเร่ืองสน้ั ของ "จดิ านันท์ เหลืองเพียรสมทุ " นักเขียนรางวลั
ยอดเย่ียม นายอนิ ทรอ์ ะวอร์ด ปี 2558
๗.๒ แบบบันทกึ การวางแผนการอา่ นด้วยตนเอง

6

๗.๓ ใบความรู้ เรือ่ ง “การอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณ”
๗.๔ ใบความรู้ เรือ่ ง เร่ืองส้นั
๗.๕ เร่ืองสน้ั เรอ่ื ง ในโลกทีท่ กุ คนอยากเป็นคนดี
๗.๖ แบบบันทกึ การเรียนรเู้ พื่อวัดความสามารถในการสรา้ งองคค์ วามรู้ด้วยตนเอง

๗.๗ แบบบนั ทกึ การอ่านรายบคุ คล
๗.๘ แบบบนั ทกึ การอ่านของกลุม่

๗.๙ แบบประเมินการนําเสนอผลงาน
๗.๑๐ แบบฝกึ หัด เรื่อง ในโลกที่ทกุ คนอยากเปน็ คนดี
๗.๑๑ แบบประเมินพฤตกิ รรมการทํางานกลุ่ม

๗.๑๒ แบบบันทกึ ความคดิ เห็นของนกั เรยี น

๘. การวัดและประเมินผล วธิ ีการวดั และประเมนิ ผล/ เครือ่ งมือวดั และประเมนิ ผล
รายการประเมนิ หลกั ฐานการเรียนรู้

ด้านความรู้ อภปิ ราย ซักถาม ตรวจผลงาน -ประเดน็ คาํ ถาม
-แบบบันทึกการอ่านรายบุคคล
ดา้ นทกั ษะกระบวนการ -แบบบนั ทึกการอ่านของกลมุ่
-แบบฝกึ หัด
ดา้ นคุณลักษณะ/เจตคติ
สมรรถนะสาคญั ของผู้เรียน สังเกตพฤตกิ รรมนกั เรียนตรวจ -แบบประเมินพฤติกรรมการ
สรปุ การประเมิน ผลงาน ทาํ งานกลมุ่
-แบบบนั ทึกการอ่านรายบุคคล
-แบบบรรทกุ การอา่ นรายกลมุ่

สังเกตพฤติกรรมนักเรยี น -แบบประเมินพฤติกรรมการ
ทาํ งานกล่มุ

สังเกตพฤติกรรมนกั เรยี น -แบบประเมนิ สมรรถนะสาํ คญั
ของผูเ้ รยี น

นักเรียนจะตอ้ งได้คะแนนรวมผ่านเกณฑอ์ ยา่ งน้อยไมต่ า่ํ กว่า
รอ้ ยละ ๘๐

7

๙. ความคิดเห็น (ผู้บรหิ าร/หรอื ผู้ที่ไดร้ ับมอบหมาย)

ไดท้ าํ การตรวจแผนการจดั การเรยี นรขู้ อง นางพรทพิ ย์ พลไชย แล้วมีความคิดเห็นดงั น้ี

๙.๑ เป็นแผนการจดั การเรียนรู้ท่ี

 ดมี าก  ดี

 พอใช้  ตอ้ งปรบั ปรงุ

๙.๒ การจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ได้นําเอากระบวนการเรียนรู้

 ทเ่ี นน้ ผ้เู รยี นเป็นสําคัญใช้ในการสอนไดอ้ ย่างเหมาะสม

 ทยี่ ังไม่เนน้ ผู้เรียนเป็นสําคญั ควรปรบั ปรงุ พัฒนาตอ่ ไป

๙.๓ เปน็ แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี

 นําไปใชส้ อนได้

 ควรปรับปรุงก่อนนําไปใช้

๙.๔ ข้อเสนอแนะอนื่ ๆ

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

ลงช่อื .......................................................
(นายธีระนนั พริ ณุ สุนทร)

รองผ้อู ํานวยการสถานศกึ ษา
............../............................./..............

8

แบบบนั ทกึ การวางแผนการอ่านด้วยตนเอง

ช่ือ-สกุล........................................................................................ชั้น........................เลขที่...................

คาช้ีแจง ใหน้ ักเรียนวางแผนการอ่าน ใหน้ กั เรยี นกาเคร่อื งหมาย / หรอื เครอื่ งหมาย X ลงในช่อง
ท่ีตรงกบั คําตอบของนกั เรยี น

๑.การวางแผนการอ่าน (บนั ทกึ การอ่าน)
ได้เปาู หมายการอ่าน
ไดค้ าดการณเ์ น้ือหาทจ่ี ะอ่านล่วงหน้า
ได้กาํ หนดเวลาท่ีจะอา่ น
ได้ม่งุ ความสนใจไปในเร่ืองทอ่ี ่าน

๒.การเลอื กกลวิธีการอา่ น (บนั ทึกระหว่างการอ่าน)
การเขยี นแผนผงั เน้อื เรอื่ งคือการรวบรวมแนวคดิ เป็นแผนผงั วา่ มีความสัมพนั ธก์ นั อย่างไร
อา่ นสาํ รวจ เพือ่ ค้นหาใจความสําคญั ต่าง ๆ
อา่ นช้า ๆ เปน็ การอ่านเพื่อทําความเข้าใจเนอ้ื เรื่อง
อ่านช้า ๆ เปน็ ครง้ั ทส่ี อง เพื่อทําความเขา้ ใจเนื้อเรื่องให้ชัดเจน
อา่ นทบทวน เป็นการอา่ นเนื้อหาเฉพาะเพ่อื จดจําเรอื่ งที่อา่ น
รวบรวมความคิด หรือหยุดอ่านเพ่ือทําความเขา้ ใจภาพรวม ย่อเร่ือง
ใชค้ วามรู้เดมิ มาช่วยในการทําความเขา้ ใจเร่ืองทีอ่ ่าน
ใช้จินตนาการ คือวาดภาพสถานที่ สิ่งของ หรอื เหตุการณ์ขึ้นในใจ
ตง้ั คาํ ถามทดสอบตนเอง คือต้งั คาํ ถามและตอบคาํ ถามในใจขณะท่อี ่าน
คาดคะเนว่าอะไรเกิดข้ึนตอ่ จากเร่อื งท่ีอา่ น
นกั เรยี นถามเพื่อนเม่อื ไมท่ ราบความหมายของคําศัพท์ใหม่
นกั เรียนถามครูท่ไี ม่เขา้ ใจเรื่องที่อา่ น

๓.ประเมนิ การอ่าน(บันทกึ หลังการอา่ น)
บรรลุเปูาหมายการอา่ นท่ตี ้งั ไว้ เพราะ

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

ไม่บรรลเุ ปาู หมายการอา่ น เพราะ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๔. ปัญหาและอปุ สรรค์ทเ่ี กิดขน้ึ ในการทํากิจกรรมการอา่ น
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

9

ใบความรู้ เรอ่ื ง การอ่านอย่างมวี ิจารณญาณ

หลักการพฒั นาการอ่านอยา่ งมวี จิ ารณญาณ
ภาษานับว่าเป็นเร่ืองหลักของการเรียนที่เก่ียวกับวรรณกรรมและศิลปะของการอ่าน

เพราะเปน็ เรอ่ื งเกีย่ วกับการประมวลแนวคิด จึงมีความจําเป็นท่ีต้องใช้ภาษาให้ได้ดีในการแสดงออก
การใช้ภาษา จึงไม่อาจแยกจากความคิดได้ หากไม่สามารถควบคุมความคิดได้ก็ไม่มีความสามารถ
ในการใช้ภาษาเช่นกนั

ภาษาเป็นตัวถ่ายทอดความคดิ บอ่ ยคร้งั ทคี่ นเราไม่อาจพูดอย่างท่ีต้องการสื่อความหมายได้
หรือไม่ก็ทําให้คนอื่นน้ันเข้าใจผิดความหมายไป การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจาร ณญาณ
จึงมีความจําเป็นต่อการใช้ภาษาเพ่ือการแสดงออกทางความคิด หรือทราบถึงความคิดจากภาษา
ของคนอ่ืนด้วย

การคิดอยา่ งมวี ิจารณญาณ (Critical Thinking)
การคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ หมายถงึ การคิดอย่างมีเหตุมีผล มีกระบวนการคิดตามข้ันตอน

ได้แก่ การทําความเข้าใจกับปัญหา การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุป
เพอ่ื ประเมนิ คา่ หรือ ตัดสนิ ใจพิจารณาความน่าเช่ือถือที่สมเหตุสมผลก่อนการตัดสินใจอย่างละเอียด
รอบคอบ ซงึ่ สามารถนาํ มาใช้เป็นหลักหรอื แนวทางการพิจารณาการรับสารด้วยการอ่าน ประเมินค่า
การสือ่ สารได้อนั จะเป็นประโยชน์ตอ่ การเลอื กรับสารท่ีมีความน่าเชื่อถือ และนําคณุ ค่าจากการตัดสิน
ไปใชไ้ ดอ้ ย่างเกิดผลดี

ด้วยเหตุนี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณนับว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งในสังคมสารสนเทศ
ทมี่ ากมาย ประการหน่ึงคือการรับสารด้วยการอ่าน การมีวิจารณญาณจึงเป็นกระบวนการที่จําเป็น
อย่างย่ิงในการคัดกรองและแยกแยะว่าส่ิงไหนดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ถูกหรือผิด ก่อนการสรุป
และตดั สนิ ใจเชอ่ื ถือ

การอ่านอย่างมวี ิจารณญาณ
การอ่านนับว่ามีความสําคัญ เพราะเป็นการทําความเข้าใจว่าผู้เขียนคิดอะไร อย่างไร

แต่การท่ีจะทําความเข้าใจดังกล่าวได้ถูกต้อง จําเป็นต้องมีวิธีการและแนวทางเพื่อนําไปสู่
การพจิ ารณาเร่อื งที่เราอ่านไดอ้ ยา่ งมีวจิ ารณญาณ มีหลกั การดังตอ่ ไปน้ี

๑. การอา่ นอย่างมีจดุ หมาย
ผู้อ่านจะต้องรู้จุดหมายและเปูาประสงค์ของตนเองก่อนว่า ต้องการอยากจะรู้เกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่านอย่างไร ซึ่งการรู้จุดมุ่งหมายในการอ่านจะเป็นตัวพิจารณาว่าเราจะอ่านสารนั้นอย่างไร
โดยจดุ มุง่ หมายของการอา่ นของเราแตกต่างกัน ทําใหต้ อ้ งใชท้ ักษะท่ตี ่างกันด้วย เช่น
• การอา่ นเพ่ือความบันเทงิ – คงไมต่ ้องใช้ทกั ษะอะไรนกั
• การอา่ นเพือ่ ใหร้ แู้ นวคดิ มมุ มอง เพ่อื ให้เกิดความเขา้ ใจ – ใช้ทกั ษะการอ่านอย่างพินจิ
• การอ่านแบบเรียนรู้วิชาการใหม่ๆ ใช้ทักษะการอ่านอย่างพินิจและทําความเข้าใจ
อย่างมรี ะบบ

10

๒. การอ่านอย่างหลกี เลย่ี งอคติ
ความชอบหรือความประทับใจของผู้อ่านจะทําให้เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาสาร

อย่างมีวิจารณญาณ เกิดความล้มเหลวอย่างไร เหตุผลนําไปสู่ความลําเอียงและไม่สามารถเข้าถึง
ขอ้ เท็จจริงได้

๓. การอา่ นอยา่ งไตรต่ รอง
การอ่านอย่างติดตามความคิดจากย่อหน้าหน่ึงไปยังอีกย่อหน้าหน่ึง และมีการแยกแยะ

ระหว่างความคิดของผู้เขียนและความคิดของผู้อ่าน รู้จักปรับการอ่านให้สอดรับกับเปูาประสงค์
จะสามารถมีวิจารณญาณในการอ่านและประเมินส่ิงท่ีอ่านเพื่อให้เกิดความชัดเจน กระจ่าง ถูกต้อง
แม่นยํา สอดคล้องกับข้อเท็จจริง มีตรรกะความสําคัญ และความเท่ียงธรรม รวมท้ังยังทําให้
เป็นการเปิดกวา้ งความคิดของผู้อ่านได้เรียนรจู้ ากส่งิ ทีอ่ า่ นอกี ดว้ ย

๔. การอ่านอย่างพนิ ิจ
เป็นการอ่านท่ีผู้อ่านเข้าใจถึงความหมายและความสําคัญของเน้ือหาน้ันจนสามารถ

อธบิ ายความไดโ้ ดยการเรียบเรยี งถ้อยคําของตนเองในการอธบิ ายอย่างครบถ้วนสาระ มกี ารวิเคราะห์
พิจารณาถึงเหตุผลประกอบกับการใช้คําถามเพื่อช่วยทําความเข้าใจในตนเองจนสามารถประเมิน
ตรรกะอย่างมีหลักเกณฑ์และมาตรฐานท่ีชัดเจน กระจ่าง ถูกต้อง แม่นยําสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
มีตรรกะ ความสาํ คัญ และความเทยี่ งธรรม หรอื ในบางครงั้ ผอู้ า่ นสามารถอ่านแล้วเข้าถึงอารมณ์และ
ความรูส้ ึกของผ้เู ขียนจนสามารถแสดงบทบาทนัน้ ๆ ออกมาได้

๕. การอา่ นเพ่ือการเรียนรู้
เป็นการอ่านเพ่ือให้เกิดการศึกษาและฝึกฝนทักษะให้กับตนเอง โดยการอ่านเพ่ือพัฒนา

ทักษะทางปัญญา ด้วยการอ่านงานเขียนท่ีมีความซับซ้อน ความคิดสําคัญท่ีซ่อนเร้นอยู่และ
นําความคดิ เหลา่ นน้ั มาพิจารณาเพอ่ื นําไปประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตจริง

๖. การอา่ นใหเ้ ข้าใจในความคดิ
เป็นการอ่านเพื่อให้เกิดการศึกษาและฝึกฝนทักษะให้กับตนเอง โดยการอ่านเพื่อพัฒนา

ทักษะทางปัญญา ด้วยการอ่านงานเขียนท่ีมีความซับซ้อน ความคิดสําคัญที่ซ่อนเร้นอยู่และ
นาํ ความคิดเหล่านน้ั มาพิจารณาเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ความเชื่อมโยงระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับการเรียนรู้ที่มีสมรรถนะ
เพียงอย่างเดียวซ่ึงเราใช้ในการเรียนก็คือ การคิดของมนุษย์ ถ้าหากว่าเราคิดได้ดี
ในขณะเรียนรู้ เราก็จะมีผลการเรียนดีมีความสามารถท่ีจะรู้ประโยชน์จากข้อมูลและ
ความรู้ท่ีเป็นข้อเทจ็ จริงไปสูก่ ารแก้ไขพัฒนาอย่างถูกตอ้ ง

11

ผอู้ ่านอย่างมีวจิ ารณญาณ (Critical Reader)
ผู้อ่านท่ีมีวิจารณญาณในการอ่านงานเขียนต่างๆ นับว่าเป็นการเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้

ประสบการณ์ของผูอ้ น่ื พิจารณามุมมองอื่น ความสัมพันธ์กับปัญหาเพื่อสร้างความเข้าใจและช่ืนชม
งานเขียนน้ัน เลือกที่จะอ่านงานเขียนนั้นเพราะตระหนักได้ว่ามีคุณค่า ด้วยการพิจารณา
อยา่ งมีวจิ ารณญาณ

ดังน้ัน ผู้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ จะไม่อ่านเพียงมองผ่านเพื่อเก็บรวบรวมเป็นความจํา
แต่จะมคี าํ ถามในการจัดการข้อมูล การตีความ การสังเคราะห์ การต้ังคําถามน้ันไม่มีแต่ตามเน้ือหา
ท่ีกล่าวไว้ แต่มองไปถึงส่ิงที่บ่งช้ีและสันนิษฐานหรือคาดคะเนไว้เพ่ือการตีความ เป็นการพิจารณา
ทางเลือกไว้ เพื่อทบทวนและกลั่นกรองอีกคร้ัง จะไม่มีการยอมรับหรือปฏิเสธโดยง่าย การยอมรับ
ก็ต่อเม่ือสิ่งน้ันมีเหตุผล ปฏิเสธกับสิ่งที่ไม่ได้มีการคิดอย่างรอบคอบ หรือบิดเบือน หรือผิดพลาด
จากเดิมหรือพยายามทําตามความเขา้ ใจสิ่งใหมใ่ ห้เข้ากับกรอบความคิดของตน

จากที่กล่าวมานี้ หากมีนักเรียนที่ต้องการจะปรับเปล่ียนการคิดของตน
นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แนวทางหน่ึงคือการให้คุณค่ากับเรื่องราวต่างๆ
ในชีวิตประจําวัน ไม่ละเลยเรื่องราวท่ีผ่านเข้ามาในความคิดและรู้จักพิจารณา
ความจําเป็นของข้อมูล สารสนเทศเหล่าน้ัน โดยพยายามค่อยๆ คิดแสวงหาเหตุผล
ในการเลือกยอมรับ หรือปฏิเสธ ผลท่ีเกิดจากการคิดอย่างถูกต้องจะเป็นความรู้และ
ทักษะท่ีดีให้กับนักเรียน หรือแม้ถ้าผิดพลาด ความล้มเหลวก็จะเป็นประสบการณ์
ให้เกิดการเรยี นรเู้ พ่อื ใหเ้ กดิ การคดิ ทล่ี ะเอียดรอบคอบขึ้นในครั้งตอ่ ไป

อ้างองิ
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (๒๕๕๕). การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สมรรถนะสาคัญของคนทุก
ศตวรรษ. เอกสารวชิ าการ,โรงเรยี นสาธิตจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ฝาุ ยประถม.
บรรจง อมรชีวัน. (๒๕๕๖). Critical Thinking การคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
กรงุ เทพมหานคร: ห้างหุ้นสว่ น จาํ กดั ภาพพมิ พ.์
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (๒๕๔๔). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร:
เดอะมาสเตอร์กร๊ปุ แมเนจเม้นจ์ จํากัด.

12

ตัวอย่างหนงั สอื รวมเร่อื งสนั้ ของ "จดิ านนั ท์ เหลืองเพียรสมทุ "
นกั เขยี นรางวัลยอดเยย่ี ม นายอินทรอ์ ะวอร์ด ปี 2558

13

ใบความรู้ เร่ือง “เร่อื งสนั้ ”

เร่ืองส้ัน เป็นงานเขียนร้อยแก้วที่สมมุติเร่ืองราวขี้นให้มีโครงเรื่องง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

แต่มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกันเพื่อนําไปสู่จุดสุดยอดอย่างหนึ่ง ลักษณะสําคัญของเร่ืองสั้น คือ

มีโครงเรอ่ื ง มจี ุดมุ่งหมายอยา่ งเดียวและมีผลอย่างเดียว ใช้ฉากน้อย และมีช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

ในเรอื่ งนอ้ ยตัวละครนอ้ ย (อาจไม่เกนิ ๕ ตัว) มีขนาดสั้น เขยี นประหยดั ถอ้ ยคํา

ความหมายเร่อื งสน้ั

เรื่องสั้น หมายถึง วรรณกรรมเร่ืองราวประเภทร้อยแก้วที่มีขนาดสั้น มุ่งความเพลิดเพลิน
แกผ่ อู้ ่านและมขี อ้ คิดอนั มีคณุ คา่ ชว่ ยยกระดับจิตใจผูอ้ า่ นให้สงู ข้ึน
ประเภทเร่อื งสั้น จาแนกออกได้ดงั นี้

๑.ชนดิ ผกู เร่อื ง คือเรื่องสน้ั ที่เค้าเรื่องซับซ้อนนา่ ฉงน และจบลงในลักษณะทผี่ ู้อา่ นคาดไมถ่ ึง
๒.ชนิดตัวละคร คอื ผู้เขียนจะเขยี นเรอื่ งตวั ละครเป็นใหญ่ ต้องการนําเสนอลักษณะอย่างใด
อย่างหนง่ึ ของตวั ละคร
๓.ชนิดฉาก คือจะบรรยายสถานที่ท่ีไหนท่ีหน่ึง ให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ เพ่ือเน้น
บรรยากาศของเรื่อง
๔.ชนิดแสดงแนวความคิด ผู้แต่งมีอุดมคติ มุ่งเสนอแนวความคิดท่ีสําคัญ หรือต้องการ
ชใ้ี หเ้ ห็นความจริงบางอยา่ ง ส่วนต่าง ๆ ของเรื่องท่สี ร้างข้นึ เพือ่ เปน็ แนวคดิ เด่นชัด
องค์ประกอบเร่ืองส้นั
๑.โครงเร่ือง เรื่องส้ันที่ดีจะต้องมีการผูกโครงเรื่องให้น่าสนใจหรือต่ืนเต้น โดยผูกเป็นปม
น่าฉงน แล้วก็อยากรู้ว่าเรื่องจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรข้ึน จนถึงจุดสุดยอดของเร่ืองที่เรียกว่า
ไคลแมกซ์เมอื่ ผา่ นจดุ สดุ ยอดแล้ว เรือ่ งกจ็ ะคลี่คลายและอาจจบแบบผอู้ ่านคาดไมถ่ ึงก็ได้
๒.ตวั ละคร อาจแบ่งออกตามความสําคัญของบทบาทได้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ตัวละคร
สําคญั และตวั ละครสําคัญรอง ผเู้ ขียนจะเขยี นนิสัยตัวละครด้วยวธิ ีต่าง ๆ ดงั นี้

๑) บรรยายรปู รา่ งลกั ษณะและความรู้สึกของตัวละคร
๒) ใหต้ วั ละครอนื่ ๆ คิดหรือสนทนาเก่ียวกับตัวละครนั้น ๆ
๓) บรรยายการกระทาํ ของตัวละคร
๔) แสดงบทสนทนาของตวั ละครนัน้ กับตัวละครอ่นื ๆ
๕) บรรยายความคดิ ของตัวละครน้นั ๆ
๓.บทเจรจา เป็นส่วนสําคัญอย่างหน่ึง เพราะว่าผู้แต่งจะเลือกสรรแกนเรื่องดีเด่นแค่ไหน
ถ้าบทสนทนายืดยาดไม่กระชบั กไ็ ม่ชว่ ยให้ดําเนนิ เรอื่ งไดอ้ ย่างเปน็ ธรรมชาติ
๔.ฉาก หมายถึง เวลาและสถานท่อี นั เหมาะสมกับเหตุการณ์ในเรื่อง ฉากจะเป็นส่วนสําคัญ
ทีท่ ําให้ผอู้ า่ นเข้าใจเนือ้ เรอ่ื งมากยง่ิ ขนึ้
๕.สาร หมายถึง การแสดงแนวคิดของนักเขียนท่ีมีต่อตัวละคร ท่ีผู้เขียนต้องการส่งให้
ผอู้ า่ นทราบ ซึง่ นักเขียนจะบอกตรง ๆ หรือจากบทสนทนา แต่ส่วนมากนักเขียนมักจะไม่บอก ผู้อ่าน
ต้องคน้ หา “สาร” ท่แี ฝงเอาเอง จะทาํ ให้ผ้อู ่านรู้สึกสนกุ ในการอ่าน

14

๖.จุดไคลแม็กซ์หรือจุดสุดยอด เป็นจุดคล่ีคลายของเร่ือง เมื่อเรื่องบรรยายคล่ีคลาย
มาตามลําดบั ขนั้ และจะมีช่วงหนงึ่ ท่ีเป็นเหตุการณ์สําคัญทส่ี ดุ ของเรอื่ ง
การวเิ คราะหเ์ ร่อื งสัน้

คือการพิจารณาองค์ประกอบท้ังหมดของเร่ือง ว่ามีความสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนกัน
มากนอ้ ยเพียงใด มีข้อดี ข้อบกพร่องอย่างไร

๑.แกน่ เรอ่ื ง เรอ่ื งสน้ั ท่ีดีควรมีแกน่ เรอ่ื งเพยี งแกน่ เดยี ว ต้องพิจารณาวา่ แก่นเรอ่ื งนัน้ สามารถ
เชื่อมโยงปมปัญหาและเน้ือเร่ืองท้ังหมดได้หรือไม่ ซึ่งหมายถึงผู้เขียนสามารถเสนอต่อผู้อ่านได้
อย่างชัดเจน

๒.โครงเร่ือง โครงเรื่องท่ีดีไม่จําเป็นต้องสลับซับซ้อน แต่ต้องมีกลวิธีการแต่งท่ีน่าสนใจ
ชวนติดตาม

๓.กลวิธีการแตง่
๑)การเปิดเร่ือง การเปิดเร่ืองทําได้หลายแบบ เช่น บรรยายลักษณะตัวละคร

บรรยายฉาก หรือนาํ ปัญหาฉงนมาใหผ้ ู้อ่าน
๒)การดาเนินการในเรื่อง ส่วนมากเป็นการสร้างปม ผูกปมความขัดแย้ง

สรา้ งอปุ สรรคต่าง ๆ
๓)การปิดเร่ือง เรื่องจบลงอย่างไร คือ จบแบบเศร้า จบแบบหวานชื่น จบตามท่ี

เป็นจรงิ ในชีวติ หรอื จบแบบพลิกความคาดหมาย ถ้าท้ังสามส่วนสัมพันธ์สอดคล้องกันดี ก็จัดว่าเป็น
เรื่องสนั้ ที่ดี

๔.ตัวละคร ดูว่าตัวละครในเร่ืองถูกกําหนดขึ้นตามสภาพความเป็นจริงของสังคมหรือไม่
หรือบทสนทนามคี วามสอดคล้องกบั ลกั ษณะตัวละครหรอื ไม่ โดยพิจารณาจากพ้ืนฐานของตวั ละคร

๕.บรรยากาศ บรรยากาศในเร่ืองช่วยสงเสรมิ สรา้ งอารมณ์สะเทือนใจใหแ้ ก่ผู้อ่านหรอื ไม่
๖.ฉาก ดูวา่ ผเู้ ขยี นสามารถบรรยายฉากในเรอื่ งได้ชัดเจน เหมาะสมแค่ไหน
๗.สานวนภาษา พิจารณาถึงความกะทัดรัดชัดเจนในการใช้ภาษา การใช้สํานวนโวหาร
การแทรกความเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมยได้อย่างเหมาะสม ประทับใจผู้อ่านเพียงใด สามารถใช้
ภาษาสรา้ งภาพพจน์ใหแ้ ก่ผ้อู า่ นหรอื ไม่ อยา่ งไร

เอกสารอ้างองิ

ยุพร แสงทักษิณ. การอ่านและพิจารณาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ : ไทยวฒั นาพาณชิ ย์, ๒๕๓๕

15

ตวั อย่างเร่อื งสนั้ “ในโลกท่ีทกุ คนอยากเปน็ คนด”ี

ชวี ติ ผมถูกไพใ่ บน้นั จับตามองอยู่ บางทีผมรู้สึกเหมือนมีดวงตาอยู่บนไพ่ใบนั้น มันกําลังมอง
ผมจากโต๊ะ บนทวี ี หรอื ขา้ ง ๆ หมอน หลายต่อหลายครั้งผมพยายามคลุมมันด้วยผ้า เอามันไปสอด
ไว้ในหนงั สือ ทําหลายส่ิงหลายอยา่ งเพื่อท่ีจะได้ไม่ต้องเห็นมันและมันจะได้ไม่ต้องเห็นผม แต่ผมรู้ว่า
มนั กย็ ังเห็นผมอยู่ดี และแม้ผมจะซ่อนมันอย่างลึกลับแค่ไหนในยามกลางคืน ทุก ๆ เช้าผมก็ต้องไป
ค้นมนั ออกมาด้วยหวั ใจอันสัน่ กลัว พลิกมันดูเพ่อื จะตรวจสอบว่ามันกลายเป็นสดี าํ หรอื ยัง

วันท่ีมนั กลายเป็นสกี าํ นนั่ แหละ ท่จี ะเปน็ วันตายของผม

มนษุ ย์ทุกคนบนโลกใบน้เี กิดมาพร้อมไพ่หนึ่งใบ ด้านหลังไพ่จะเป็นลายตารางสีขาวสลับดํา
ประทบั ตรารฐั บาลโลก สว่ นด้านหน้าของไพ่น้ัน...ในตอนแรกจะเป็นสีขาวมดจดไร้ลวดลายใด ๆ แต่
เมือ่ ใดก็ตามท่ีคนคนนั้นทําสิ่งที่สังคมตัดสินว่าผิด ไพ่จะกลายเป็นสีดํา และคนคนน้ันก็จะกลายเป็น
คนเลวของสังคมเมอื่ นนั้ บรรดาคนดีของสังคมท่ีครองครองไพ่สีขาวก็จะมีสิทธ์ิสังหารคนเลวได้โดยไม่
ผดิ กฎหมาย

ไมม่ ใี ครร้วู า่ ไพ่รูไ้ ดอ้ ย่างไรวา่ เราทําไมด่ ไี ปแล้ว แตม่ ันจะเปล่ียนสีในเช้าวันรุ่งข้ึนหลังบาปถูก
กระทําเสมอ บางคนไพ่เปลย่ี นสเี พราะไดฆ้ า่ คนตาย บางคนไพ่เปลีย่ นเพราะได้ขโมยของ ไพ่รู้เสมอว่า
เราทาํ อะไรลงไป มนั จับตามองเราอยู่ และมันไม่เคยละเว้น แม้ว่าบางครั้งเราจะขโมยของเพ่ือความ
อยู่รอด หรือฆา่ คนเพื่อปูองกันตวั ความดีเลวของไพไ่ ม่เคยมสี เี ทา มีเพียงสขี าวและดาํ เท่านั้น

เรามสี ทิ ธ์ิขอรอ้ งใหใ้ คร ๆ แสดงหน้าไพ่ให้ดูได้ตลอดเวลาหากนึกสนุกก็ลองบอกพนักงานที่
ขายตวั๋ รถไปใตด้ นิ สิว่า “เปิดไพ่ของคณุ ให้ผมหนอ่ ยสิ” หากมันเปน็ ไพ่ดํา คณุ จะรอ้ งเรียกคนดีรอบตัว
ให้เขาไปฆ่าเขาหรือเดินจากไปเฉย ๆ ก็ได้ แต่พวกเราคนดีไม่เคยปล่อยคนช่ัวลอยนวล เม่ือไพ่
กลายเป็นสีดํา หลายคนพยายามปฏิเสธการแสดงไพ่ ซ่อนมันไว้ในบ้าน นําไปฝังดิน หรือทําอะไร
เทอื กนั้น แต่น่ันจะทําให้คุณถูกตัดสินทันทีว่าเป็นคนเลว ดังนั้นเราจึงต้องพกไพ่ติดตัวไว้ตลอดเวลา
และรสู้ ึกปลอดภยั หนกั หนาท่มี ันยงั เปน็ สีขาว

ผมไม่รู้หรอกว่าคนอืน่ เป็นอยา่ งไร แตส่ าํ หรับผมแล้ว แมจ้ ะเปน็ คนดีท่ีฆ่าคนเลวมาแลว้ ถึงหก
คน แต่ผมกก็ ลัวอยา่ งท่ีสดุ วา่ ไพข่ องตัวเองจะเปลยี่ นเปน็ สดี าํ

ผมเริ่มมีความรู้สึกน้ีต้ังแต่วันที่ผมฆ่าหัวหน้างานของผม หนัวหน้าเป็นคนดีสัตย์ซื่อถือ
คุณธรรมมาตลอด วันท่ีไพ่ของเขาเปล่ียนเป็นสีดํา หัวหน้ายืนยันหนักหนาว่าเขาไม่ได้ทําอะไรผิด
อยู่ ๆ ไพ่มนั ก็กลายเปน็ สีดาํ ไปเอง เขายํ้าเตือนพวกเราถึงความดีท่ีเขาเคยกระทํามา แต่พวกเราก็รุม
ฆ่าเขาอยา่ งไร้ปราณี

16

เขาร้องขอชีวิตและยืนยันว่าไม่ได้ทําอะไรผิด “อย่าทําฉัน ฉันไม่ได้ทําอะไรเลย พวกแก
ไมเ่ คยสงสยั เลยหรือไงวา่ ไพม่ นั อาจจะผิดพลาดได้” เขาพยายามแก้ตัวอย่างน้ัน ทว่าคําแก้ตัวของเขา
ไมไ่ ด้ทําให้ใครสะดดุ พวกเรายงั คงกระทบื เขาตอ่ ไป เขาคงโกหกก็แหงอยแู่ ลว้ คนเลวล้วนแต่ทําอะไร
ก็ไดเ้ พือ่ ใหร้ อดพน้ จากความตาย ผมถีบท้องนอ้ ยของเขา หัวหน้ากระอกั ไอออกมาถี่ ๆ แตผ่ มไม่สนใจ
ไม่นึกแม้ตาน้อยว่านี่คือหัวหน้าผู้สอนงานและเลี้ยงข้าวเล้ียงนํ้าผมมานานปี เขาเป็นคนเลวแล้วนี้
เขาไม่มีคา่ อะไรใหส้ นใจแล้วน้ี

ก่อนเขาตาย ผมจ้องเขาไปในแววตาของเขา ในพรบิ ตานนั้ ไมร่ วู้ า่ เพราะอะไร อยู่ ๆ ผมก็เช่ือ
วา่ เขาพูดจรงิ ผมลา่ ถอยออกมาปล่อยให้คนอ่ืน ๆ รุมสังหารเขาด้วยมือและเท้าอย่างไม่อาจปริปาก
หา้ มอะไรได้ หลงั จากนน้ั ผมก็เร่ิมสงสยั วา่ เป็นไปไดห้ รอื ไม่ท่ีไพ่อาจเปลี่ยนสีโดยไม่มสี าเหตอุ ะไรเลย

สิ่งที่ทําให้ประเด็นนี้ย่ิงหน้าสนใจคือ หัวหน้าของผมเป็นอภิมหาคนดีน่ะสิ สิ่งท่ีไพ่ตัดสิน
ว่าผิดนั้นมีการจดทะเบียนไว้และตีพิมพ์เป็นเล่มแจกจ่ายโดยรัฐบาล หัวหน้างานของผมเป็นคน
ท่ีเคร่งครัดที่สุด เขาท่องกฎพวกน้ันได้ทุกข้อ เป็นแฟนคลับตัวยงของรัฐบาลโลกท่ีคอยบอกส่ิงท่ีผิด
ใหม่ ๆ เขารู้ดีว่าการกระไหนผดิ ไม่ผิด และไม่มที างกระทําผดิ อย่างแน่นอน ผมเชื่อว่าเขาไมเ่ คยสําเร็จ
ความใครเ่ กนิ จํานวนที่รัฐบาลกําหนดต่อวา่ ดว้ ยซาํ้ แม้นั่นจะไมท่ าํ ให้ไพเ่ ราเปล่ียนสีกต็ าม(รัฐบาลมีกฎ
อีกชัดวา่ ดว้ ยศลี ธรรมอนั ดีและข้อควรปฏิบตั ิทีห่ ากละเมดิ ก็ไมร่ ้ายแรงจนทาํ ให้ไพ่เปล่ียนสี มันเป็นกฎ
ว่าดว้ ยมารยาททางสงั คมต่าง ๆ จะว่าไปผมก็ไมไ่ ด้ถือกฎพวกนั้นอย่างเคร่งครัดนัก แต่เพิ่งมีประกาศ
ว่าหากใครละเมิดครบส่ีหมืน่ คร้ังไพ่จะเปลย่ี นสี สงสัยผมต้องระวงั ตัวมากยิ่งข้นึ ”

ผมเช่ือว่าหัวหน้างานของผมของผมไม่เคยละเมิดแม้แต่กฎชุดรองของไพ่ ไพ่ของเขาต้อง
เปลย่ี นสีเองโดยที่เขาไม่ได้ทําอะไรผดิ แน่ ๆ และพวกเรากฆ็ า่ เขาตายไปแลว้

ในกรณแี บบนเี้ ขานา่ จะรอ้ งเรียน...ผมคิด แต่กระแสความคิดของผมก็สะดุดผมไม่เคยได้ยิน
มาก่อนวา่ มีการรอ้ งเรยี นอะไรทํานองนี้ อันที่จริงคนที่มีไพ่ดําจะไปร้องเรียนกับใครได้ผู้คนไม่เชื่อใน
คาํ พดู ของพวกเขาหรอก คนเลวเหล่าน้ลี ว้ นแตโ่ กหกตลบตะแลงเพ่อื หวังเอาชวี ิตรอด อันที่จริงผมเอง
ก็คงถูกหาว่าแปลกท่ีนึกเชื่อคําพูดของหัวหน้างาน แต่แววตาของคนใกล้ตายของเขาบอกให้ผมรู้ว่า
เขาพดู ความจริง และอาจเป็นเพราะจิตใต้สาํ นกึ ของผมยังจดจาํ ได้วา่ เขาเป็นคนดเี พยี งใด

ถ้าหากหัวหน้าตายังไม่เป็นทําล่ะถ้าอยากจะทํางานผิดพลาดผมจะทําอะไรได้บ้าง
เพื่อกู้ศักด์ศิ รีของเขาคนื มาแม้วา่ ผมจะเปน็ คนฆ่าเขากต็ าม

ผมลองถามเรื่องน้ีกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง เพ่ือนคนนี้แหละท่ีเป็นคนถามหัวหน้า
ว่าไพ่ของหัวหน้าเป็นสีอะไรและเขาที่เป็นผู้นําในเหตุการณ์ฆ่าคร้ังน้ัน ในเวลานี้เขาได้เล่ือน
เป็นหัวหน้างานแลว้

17

หัวหน้างานคนใหม่เลิกคิ้วมองผมอย่างงุนงง พรางตอบว่า “ถามอะไรพิลึก ๆ น่าเขาผิด
แนน่ อนอยแู่ ล้ว ไพไ่ ม่มีทางผิดพลาด”

คําตอบของเขาทําให้ผมไม่ได้ถามอะไรอีก แต่ผมคิดจริงๆนะว่าไพ่อาจจะทํางานผิดพลาด
ก็ได้มันเป็นแค่เคร่ืองจักรเครื่องหนึ่ง แต่ในเมื่อพบเรียกร้องอะไรให้หัวหน้าไม่ได้ ผมก็ได้แต่ปลงไป
ยงั ไงซะเขาก็ตายไปแล้ว ปัญหาท่ีน่าสนใจตอนน้ีก็คือถ้าพลาดของผมทํางานผิดพลาดบ้างล่ะ ถ้าวัน
หนง่ึ มนั เกดิ เปล่ียนสโี ดยท่ผี มไม่ไดท้ ําอะไรผดิ ละ่ ถ้าเปน็ อย่างนั้นผมจะทําอยา่ งไรดี

ผมคิดสะระตะไปมาแล้วสรุปได้ว่า ถ้าไพ่ของผมมันรวนหรือเสียขึ้นมาแล้วล่ะ ผมก็คงทํา
อะไรไมไ่ ด้แน่ ๆ คงไดจ้ ะตายไปแบบน้นั ตอนนี้ผมกเ็ ลยตอ้ งมาน่ังใจหายอยทู่ กุ วัน ว่าไพ่ของผมมันจะ
เปลยี่ นสหี รอื ยัง

แล้วมีคนอีกเท่าไหร่ท่ีตายไปเพราะไพ่ทํางานผิดพลาดผมไม่มีทางรู้ได้เลยว่าพวกเขาทําผิด
จริงหรอื เปลา่ ผมเริ่มฉุกคิดข้ึนมาก่อนพวกเขาจะฆ่าใครสักคนพวกเราไม่เคยสอบสวนให้รู้ความก่อน
เลยมนุษยน์ า่ จะตดั สนิ ใจไดเ้ คร่อื งจกั รอยา่ งไพ่ แตท่ ําไมเราจงึ เชอื่ ไพ่เสมอ...

ผมเชื่อว่าผมไม่ใช่คนแรกหรอกที่เคยสงสัยเรื่องพวกนี้ วันอาทิตย์นั้นผมเดินทางไปยัง
หอ้ งสมุดประชาชนและสอบถามบรรณารักษ์สวมแว่นตากรอบดําว่าหนังสือเก่ียวกับไพ่หรือกฎของ
รัฐบาลอยู่ที่ชัน้ ไหน บรรณารกั ษ์ถอนหายใจพลางทําสายตาเหยยี ดผม “นายไม่เคยมาห้องสมุดใช่ไหม
คนอย่างคณุ เนยี่ นะช่างไมเ่ หมาะสมกับสงั คมคนดีเอาเสยี เลย ฉันขอดูไพข่ องคุณหน่อยสคิ ะ”

ผมโชว์ไพข่ องผมใหเ้ ธอดโู ชคดที ่มี นั ยงั เป็นสีขาวอยู่ ผมนึกสงสัยขึ้นว่าถ้าผมมีไพ่ดําเธอจะใช้
มือน้อย ๆ นนั้ ฆา่ ผมด้วยวธิ ีไหนหรอื

บรรณารักษ์สาวมองไพ่ของผมก่อนจะบอกอย่างเบื่อหน่ายว่า “หนังสือของรัฐบาลถูกจัด
แสดงอยู่ในชนั้ ตรงกลางห้องสมุดเลยค่ะ คณุ นา่ จะรู้นะคะมนั เปน็ หนงั สือที่สําคญั ท่ีสุด”

น่ันสิ ผมน่าจะรู้นะ ผมพึมพําคําขอโทษและขอบคุณไปพร้อม ๆ กับเดินจากมา ผมสอดไพ่
กลบั ลงไปในกระเปา๋ เงนิ เราทกุ คนต้องเรียนรทู้ ี่จะเกบ็ ไพ่ให้ดี เพราะถ้าคุณทาํ ให้หายอาจมีคนตีความ
ว่าคณุ แกล้งทําหายเพอื่ ซ่อนภยั ดาํ กไ็ ด้ การสูญเสยี กระดาษขนาดเลก็ กว่าฝาุ มอื หนึ่งอาจทําให้คุณตาย
ไดโ้ ดยไมร่ ู้

ตวั ผมเดนิ ไปยงั ชั้นหนังสอื ที่เธอบอก บรรณารกั ษ์หญิงสูงอายุคนหนึ่งกําลังปัดฝุนช้ันหนังสือ
อยู่ เม่ือเธอเหน็ ผมหยิบหนังสือ “กฎระเบยี บเพอื่ ความสงบเรียบร้อยในสังคมจัดพิมพ์โดยรัฐบาลโลก
และความรู้ท่ัวไปเกีย่ วกับไพ่” ขนึ้ มาจากฉันเธอกย็ ้มิ ให้ผมด้วยความเอ็นดู เธอคงเห็นผมเป็นพลเมือง
ตวั อยา่ งทส่ี นใจศึกษาเร่อื งสาํ คญั ท่ีรัฐบาลบอกเรา

18

ผมยิ้มตอบไปจาง ๆ มองซองพลาสติกที่เธอกลัดไว้บนหน้าอก แทนที่มันจะเป็นบัตร
พนกั งานมันกลบั เป็นซองใส่ไพ่สีขาว คงเป็นมาตรการของห้องสมุดเพ่ือจะแสดงว่าพนักงานของท่ีนี่
ทุกคนเป็นคนดีและหากใครเป็นคนท่ีไม่ดีเมื่อไหร่ จะได้ทราบโดยทันทีผมคับคล้ายคับคลาว่าเห็ น
กระดาษสีขาวแบบน้บี นปกเสือ้ ของพนักงานสาวคนเม่ือครู่เช่นกัน แต่เม่ือกี้กลับไม่ได้เฉลียวใจว่ามัน
เป็นไพ่ผมหอบหนังสือไปวางบนโต๊ะและเริ่มต้นอ่านหนังสือไปเรื่อย ๆ จนในท่ีสุดก็พบเหตุผล
ทเี่ ราควรเช่ือไพ่มากกว่าตวั เราเองซ่ึงหนังสอื อธิบายไว้ว่า

สาเหตุท่ีเราควรเชื่อถือการตัดสินจากไพ่มากกว่าเชื่อถือการตรวจสอบโดยมนุษย์
เพราะมนุษย์ไม่มีความเท่ียงตรงเหมือนกับไพ่ มนุษย์แต่ละคนอาจมีเกณฑ์ในการตัดสินเร่ืองดีช่ัว
ผิดถูกแตกต่างกัน ในเหตุการณ์หน่ึงบุคคลหน่ึงอาจตัดสินวัตถุว่าถูก ในขณะท่ีอีกบุคคลหนึ่ง
อาจตดั สนิ ว่าผิด ดงั นั้นหากเช่ือการตัดสินโดยมนุษย์จะทําให้ไม่สามารถใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
ได้ จึงจําต้องยอมรับการตัดสินจากไพ่ ซึ่งเป็นการตัดสินตามกฎข้อบังคับท่ีรัฐบาลตราข้ึนเพ่ือให้เกิด
มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ประชาชนเองกค็ วรศกึ ษากฎท่ีรัฐบาลตราข้ึนเพ่ือจะได้เข้าใจมาตรฐานที่ใช้
กันโดยท่ัวไปและละท้ิงมาตรฐานเดิมของตนเองไปเพราะมาตรฐานท่ีแตกต่างน้ันทําให้เกิด
ความไมส่ งบเรียบร้อยในสังคมได้

ผมอ่านข้อความน้ีแล้วคุณคิดอย่างหนักรู้สึกคล้ายบางส่ิงบางอย่างไม่ถูกต้องแต่กลับบอก
ไมไ่ ดว้ า่ อะไรกันแน่ที่ไมถ่ ูกต้อง ผมลองอา่ นมนั ออกเสยี งซา้ํ ไปซา้ํ มา กอ่ นจะครางออกมาอย่างงงๆ ว่า
มาตรฐานเดิมของคนคอื อะไรกันนะ ท่ีผมพูดออกมาแบบนั้นก็เพราะว่าผมไม่รู้เลยว่ามาตรฐานเดิมที่
รัฐบาลแนะนําให้ละท้ิงไปน้ันมันคืออะไร มาตรฐานผิดถูกชั่วดีของผมเป็นไปตามที่ได้รับการสอน
มาจากโรงเรียน และโรงเรียนก็สอนตามหนังสือของรัฐบาล ผมไม่เห็นจะมีอะไรที่มีมาก่อนให้
ต้องละทิง้ ไปเสียหนอ่ ย

ด้วยความงง ๆ ผมปิดหนงั สือลงพลันเหลอื บสายตาไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นฉบับปรับปรุง
ปีคริสตศักราช 2500 ซ่ึงมันก็นานมาแล้ว เน้ือหาบางส่วนในหนังสือเล่มน้ีอาจจะครํ่าครึ
จนคนรุ่นผมอ่านไม่เข้าใจก็เป็นได้ แต่ผมสังเกตว่าหน้ากระดาษของหนังสือยังดูใหม่ผมจึงพลิกดูปีท่ี
พิมพ์และพบว่าพิมพ์ในปคี รสิ ตศกั ราช 2528 เม่ือ 2-3 ปกี อ่ นนเ่ี อง

28 ปกี บั การพมิ พ์ซ้าํ เกือบ 190 คร้ังแต่รัฐบาลไม่ยอมปรับปรุงเน้ือหาในหนังสือเล่มน้ีเลย
แม้แต่น้อยผมคิดว่าพวกเขาออกจะทํางานห่วยไปหน่อย ทีหนังสือกฎระเบียบยังปรับปรุงใหม่
กนั เกือบจะทุกปจี นผมแทบไมเ่ หลืออะไรให้ทําได้อย่แู ลว้ เนีย่

ทําไมไม่มีใครทําอะไรกับไอ้หนังสือเล่มนี้เลย ผมสงสัยพลิกหนังสือไปมาอย่างหงุดหงิด
แต่อันท่ีจริงจะมีสักก่ีคนเชียวท่ีมานั่งตั้งหน้าต้ังตาอ่านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไพ่ คนหน่ึงที่ผมรู้จัก
ท่องกฎระเบียบของรัฐบาลกันทุกวันก็จริง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าไพ่เร่ิมต้นใช้ตั้งแต่ปีไหน

19

ทาํ ไมจึงควรใชห้ รอื แม้แตม่ ีการทํางานอย่างไ รเพราะฉะนั้นหนังสือเล่มน้ีมันถึงไม่สําคัญเท่าไหร่และ
ไม่ต้องเปลอื งงบประมาณปรับปรุงบอ่ ยก็ได้รัฐบาลคงคิดแบบนนั้ ละมัง้

แลว้ ไอ้ไพบ่ ้านี่มันมีการทํางานอย่างไรนะ ผมนกึ ขึ้นไดแ้ ละรีบเปิดหาดูตรงสารบญั แต่กลับพบ
แต่บทท่ีอธิบายวา่ หน่วยงานใดเป็นผผู้ ลิตและแจกจ่ายไพ่ให้โรงพยาบาลเพ่ือแจกต่อให้ทารกแรกเกิด
ไมเ่ ห็นมบี อกว่าไพ่นีผ้ ลติ อยา่ งไร ทาํ งานอยา่ งไร จับตาดูและตดั สนิ พวกเราได้อย่างไร

อยู่ ๆ ผมก็ร้สู กึ ขนลุกขนึ้ มา ไม่ใช่วา่ ผมไมเ่ คยสงสัยเร่ืองน้ีแต่ผมคิดว่ามันคงมีเขียนอยู่ท่ีไหน
สักแห่งน่ันแหละ คงเขียนอยู่ในคู่มือเล่มไหนสักแห่งที่รัฐบาลโลกพิมพ์แจกให้เรา แต่ผมขี้เกียจอ่าน
เลยไม่ไดส้ นใจ

วันน้ีผมเร่ิมสนใจแล้วผมลุกขึ้นจากโต๊ะไปกวาดเอาหนังสือเก่ียวกับไพ่ทุกเล่มที่มีบนชั้น
กลับมาเปิดอ่านอย่างบ้าคลั่ง หวังจะเจอซักบรรทัดที่บอกว่าเครื่องสมองกลประเภทใดหรือแม้แต่
เวทมนตรป์ ระเภทไหนท่ีถกู บรรจุอยใู่ นกระดาษบาง ๆ แผ่นน้ัน ผมอา่ นตง้ั แต่เช้ายันเที่ยงแต่กลับไม่มี
เลยแม้แต่คําเดียวที่พูดถึงเรื่องน้ีตอนน้ี ผมรู้สึกขนลุกจริง ๆ แล้ว ไม่มีใครนึกหรอกหรือว่าเร่ืองนี้
จะเป็นความลับ ทุกคนคิดว่ามันคงถูกเขียนไว้ที่ไหนสักท่ี แต่เราไม่เคยคิดคนรอบตัวผมไม่มีใครเลย
ท่ีสงสัยเกี่ยวกับเรื่องพวกน้ี ไพ่ตัดสินเราได้อย่างไร มันตัดสินถูกต้องหรือไม่มันรู้ได้อย่างไร ในยาม
ที่เราทําผิดพลาด เราไม่เคยใส่ใจทัง้ สิ้นเราคดิ แคว่ ่ากฎคืออะไรและปฏิบตั ิตามกฎนั้นไปวัน ๆ ไม่มีใคร
เลยถามว่าไพ่พวกนี้-มนั คือ-อะไร-กันแน่

คําถามพวกน้ีช่างน่าสงสัยอย่างท่ีสุดแต่ทําไมเราไม่เคยสงสัยกันเลยทําไมเราถึงยอมเช่ือ
อย่างสนิทใจมาตลอด หรอื เราจะสูญเสียความสามารถในการสงสัยไปแล้ว เช่นเดียวกับท่ีเราสูญเสีย
บางส่ิงบางอย่างที่เรียกว่ามาตรฐานคุณธรรมของตนเอง ซ่ึงดูเหมือนจะเป็นส่ิงท่ีบรรพบุรุษของเรา
มีแล้วมาตรฐานคุณธรรมของตนเองมันคืออะไรกันนะ “มาตรฐานของตนเอง มาตรฐานของตัวเอง
คอื อะไร

ทําไมเราไม่เคยนึกสงสัยเลยสักคร้ัง ไพ่ผลิตอย่างไรทําไมมันจับตาดูเราได้มันมีวันผิดพลาด
ไหม หวั หน้าทําผดิ จริงหรอื เปล่า” ผมพันคาํ ถามทัง้ หมดไปมาเสียงดังข้ึนเรื่อย ๆ อย่างควบคุมตัวเอง
ไม่ได้ไม่มีคําถามไหนท่ีมีคําตอบกระจ่างเลย ทุกอย่างเหมือนลอยอยู่เหนือหัวเหมือนหมอกสีเทา
กดหวั ผมอยู่ จนหัวผมรู้สกึ หนักอึง้

“โว้ย...อะไรวะ” ผมตะเบ็งเสียงออกมา ร้สู กึ สบั สนกวาดหนังสอื นบั สิบเล่มบนโต๊ะลงไปท่ีพ้ืน
ด้วยแขนข้างเดียว หนงั สือท้ังหมดหลน่ โครมคราม คนในห้องสมุดหันมามองผมด้วยสายตาตําหนิแต่
ผมไม่สนใจผมยกมือกุมหัวปากสั่น ๆ ยังคงพล่ามสิ่งที่คิดต่อไปยังไม่เบานัก “ทําไมไม่มีใครรู้เลยว่า
ผลิตยงั ไง ใครเป็นคนคดิ ทํามนั ขนึ้ มา นกั วทิ ยาศาสตร์หรือวะ หรือว่าหมอผี ทําไมไม่มีใครสงสัยเรื่อง

20

น้ี” ฉับพลันหนังสอื ทุกเลม่ ทห่ี ล่นเกลอื่ นกลาดอยูบ่ นพืน้ ก็ถกู นํามาวางบนโต๊ะอีกครั้ง ผมสะดุ้งเพราะ
ไมร่ ตู้ วั เลยวา่ บรรณารักษ์สาวคนน้ันมาอย่ขู า้ ง ๆ ผมและเก็บหนังสอื ใหผ้ มไดแ้ ต่เมือ่ ไหร่ “ในห้องสมุด
ห้ามสง่ เสยี งดงั นะคะ กรุณาเชิญออกไปขา้ งนอกด้วยค่ะ” เธอบอกแล้วบีบศอกผมด้วยมือที่บอบบาง
แตก่ ลับแขง็ แกรง่ มอื น้ันดงึ ผมให้ลูกออกจากเกา้ อแ้ี ละดันผมใหเ้ ดินไปขา้ งหน้า

โดยมีเธอเดินตามประกบข้าง เธอจับแขนผมไม่ปล่อยพาลากจูงไปจนถึงสวนด้านนอก
ห้องสมดุ เน้อื น่มุ นม่ิ ใตเ้ สือ้ สูทกับกระโปรงสน้ั แคบสีดําของเธอโฉบไปโฉบมาโดนตัวผมเป็นคร้ังคราว
แต่มนั ไม่ได้ทําให้ผมรู้สึกรญั จวนใจใด ๆ คําถามมากมายอื่นๆอยู่ในหัวของผมไม่มีเวลาสนใจเรื่องอ่ืน
ระหว่างเดินอยู่กับเธอ ผมครุ่นคิดว่าจะไปหาคําตอบจากท่ีไหนต่อไปดี ผมอ่านหนังสือของรัฐบาล
ทกุ เล่มแล้ว สว่ นหนังสือเกี่ยวกับไพแ่ ละกฎท่ถี กู พิมพ์โดยคนอืน่ นอกจากรัฐบาลน้ันผมไม่เคยเหน็

“พูดเรื่องแบบนั้นซะเสียงดังในที่สาธารณะ ไม่กลัวบ้างหรือไง” บรรณารักษ์สาวกระซิบ
ข้างหูผมเมื่อพวกเราออกมาจากอาคารแล้ว เธอยังคงยืนอยู่ข้างหลังผมใช้นิ้วเรียวยาวจับแขนผมไว้
แน่นเหมอื นคีมคีบ “เร่ืองอะไร” ผมถาม “นายสงสัยต่อไพ่” เธอบอกด้วยเสียงเบาหวิว

ผมสะดุ้งโหยงหันมามองเธอ แล้วตาหลังกรอบแว่นของเธอมองผมราวกับว่าเธอรู้อะไร
บางอย่าง “ไมเ่ คยมใี ครสงสยั มาก่อนเลย”ผมกระซบิ บอกเธอไมร่ ู้วา่ ทําไมถงึ ตอ้ งกระซิบ แต่ในเม่ือเธอ
กระซิบมาผมก็ต้องกระซบิ ตอบ “มสี ิ เธอกล่าวใครบางคนหรือคนท่ัวไปคนเดินถนนธรรมดานี่แหละ
พวกเขามีโอกาสจะอยู่ ๆ ก็สงสัยข้ึนมาเหมือนกับนาย ทําไม...นึกว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะอยู่คนเดียว
หรือไง พ่อคนไมเ่ คยเขา้ หอ้ งสมุด คนอ่ืนๆทฉ่ี ลาดกว่านัน้ นายเ ขาก็สงสัยกนั ท้ังน้นั แหละ”

เธอแดกดนั “แลว้ ทาํ ไมผมไมเ่ คยได้ยินใครบอกว่าสงสัยมาก่อนเลย” ดวงตาหลังกรอบแว่น
ของเธอจ้องมองผมอยา่ งดุ ๆ ขณะทเี่ อย่ เสยี งต่าํ ว่า “พวกเขาตายหมดแล้ว” ผมสะดุ้งโหยง ถามกลับ
“ทําไมล่ะ”

“เพราะไพด่ ํา” เธอยังเบาเทา่ เสยี งขนนกตก “ใครสงสัยไพ่จะเป็นสีดํา”

“แล้วคุณล่ะ” ผมถามจ้องกระดาษสีขาวบนหน้าอกของเธอ “คุณไม่สงสัยหรอ หรือว่าคุณ
เองก็...” เธอมองหนา้ ผมกอ่ นจะเลี้ยวซา้ ยแลขวาหรือว่าไม่มีใครอย่ใู กล้เราสองคน

สวนหน้าห้องสมดุ ยามบา่ ยวันอาทิตย์มนี กั ศึกษาหนมุ่ สาวมานัง่ คยุ กันและทบทวนตําราเรียน
อยู่ 2-3 กลุ่ม แต่พวกเขาอยู่ไกลเกินกว่าจะได้ยินเสียงบทสนทนาบรรณารักษ์สาวกรีดเล็บที่ตัด
อย่างดีของเธอ ไปทีซ่ องตรงหนา้ อก “ไผป่ ลอม” เธอตอบ “นายจะฆา่ ฉนั เสียกไ็ ด้ แต่ถ้านายปล่อยให้
ฉนั รอด ฉนั จะทาํ ไพป่ ลอมให้นาย”

21

“ทําไมผมต้องอยากไดป้ ลอมด้วยล่ะ” เธอมองหน้าผมเรากลับ เหมือนจะบอกว่าผมเป็นคน
หัวทบึ “นายสงสัยต่อไพ่ พรุ่งนี้ไพ่นายดําแน่” ผมยังไม่เชื่อนักว่าการสงสัยจะทําให้เปลี่ยนสีแต่ก็ต่อ
บทสนทนาไปว่า “ผมฆา่ คุณแล้วชิงให้ปลอมใบนี้เสยี ก็ได้”

ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่าทําไมตอนแรกผมถึงมองไม่ออก ว่าส่ิงท่ีกลัดอยู่ตรงหน้าอกของเธอนั้น
เป็นไพ่ มันเป็นกระดาษสีขาวเหมือนกันแต่คงมีบางอย่างท่ีแตกต่างออกไป และจิตใต้สํานึกของผม
ก็พอรับรู้ไดว้ า่ มันไมใ่ ชไ่ พ่ทผี่ มเห็นอยทู่ ุกวนั

“นายสงสัยแบบน้ันแล้วยังจะฆ่าฉันอยู่หรือ” เธอถามพร้อมกับสบตาผมตรง ๆ ผมคิดหา
คาํ ตอบในใจตัวเอง แลว้ ก็ตอ้ งสา่ ยหน้า

“ผมคงฆา่ ใครไมไ่ ด้อีกแล้ว” หญงิ สาวยิ้มบาง ๆ ราวกลับว่าน่ีคือสิง่ ทเ่ี ธอร้อู ยแู่ ลว้

“คุณรอู้ ะไรอีกบา้ งบอกผมหนอ่ ยไดไ้ หม” ผมเสียงแหบแห้งรู้สึกหวาดกลัวกลัวมาอย่างบอก
ไม่ถกู พรงุ่ นไี้ พ่ของผมจะเปล่ียนเป็นสีดําจริง ๆ หรือ ผมจะต้องพบกับความตายจริงหรือท้ังที่ผมแค่
สงสัย “เดยี๋ วสไิ มม่ กี ฎหา้ มสงสยั ในกฎของรฐั บาลไม่ใชเ่ หรอ” ผมทกั ท้วง

“ไมห่ รอกถา้ มกี ฎแบบนัน้ ทุกคนก็สงสัยสิ” ผมรู้สึกว่าริมฝีปากแห้งผาก นี่มันเร่ืองอะไรกัน
เธอย้ิมแล้วบอกวา่ เพือ่ ความปลอดภยั ฉนั จะบอกนายพรุ่งน้ีรอให้ไพ่นายดําก่อน รอเป็นพวกเดียวกัน
แล้วกอ่ นค่อยให้คําตอบ เธอมองตาผมพลางพดู ต่อว่า “บอกไว้ก่อนนะ ถ้าวนั นี้นายฆ่าฉนั นายจะต้อง
คา้ งคาใจไปตลอดกาล และตลอดกาลของนายน่ะ ไม่นานหรอก พรุ่งนี้ไพร่นายดําแน่ คนอย่างนาย
ถ้าไพ่ดําเมื่อไหรอ่ ยไู่ ด้ 3 วันกห็ รแู ล้ว”

“คุณได้ไพด่ ํามานานเท่าไหร่แล้ว” ผมถาม

“3 เดือนกบั อกี 3 อาทิตย์”

“คุณรอดมาไดย้ ังไงต้งั นาน”

“ทคี่ วรถามคอื นายอยู่มาไดย้ ังไงตงั้ นาน โดยไมส่ งสัยเลยตา่ งหาก” เธอตอบ

จากนั้นกผ็ ลักอกผมเบา ๆ “เอาละ่ วนั นี้กลบั ไปซะ แล้วพรุ่งนี้ค่อยมาใหม่”

เชา้ วนั ต่อมา ผมเปิดไพ่ทีค่ ว่าํ อย่บู นโต๊ะด้วยหวั ใจท่หี วาดหวน่ั แตล่ กึ ๆ ในใจของผมรู้อยู่แล้ว
วา่ ตัวเองจะเห็นอะไร และใช่ไพ่ของผมกลายเปน็ สดี าํ ...

ผมซ่อนไพด่ ําของผมอย่างมดิ ชิดท่ีก้นตู้เส้ือผ้า แล้วรีบแจ้นไปหาผู้หญิงคนน้ันท่ีห้องสมุดเธอ
พาผมไปท่ีหอ้ งซ่อมแซมหนงั สอื ซง่ึ อยู่หลังเคาน์เตอรย์ มื -คืน เธอเตรยี มไพข่ ่าวปลอมมาใหผ้ ม 1 ใบ

22

อยา่ งทีบ่ อกมันเหมือนจรงิ ทกุ ระเบยี บแต่จิตใตส้ ํานกึ ของผมดูออกวา่ มันไมจ่ รงิ พนันได้ว่าคน
อน่ื ก็ดอู อกเหมอื นกนั แต่พวกเขาจะจบั ไม่ได้หรอก พวกเขาจะเหมือนผมเม่ือวานตอนเห็นไพ่ของเธอ
คิดว่ามันแปลกแต่ไม่รู้ว่าแปลกตรงไหน จนกว่าจะได้รับการบอกว่ามันเป็นของเก๊ ซึ่งผมไม่มีวันพูด
แนน่ อนอยู่แลว้ ไพท่ ่ดี ูน่าตงดิ ใจใบน้ถี อื วา่ ใช้ได้ มนั คงจะช่วยให้ผมพอเอาตวั รอดได้บ้าง

“ขอบคุณ” ผมรับกระดาษแผน่ นน้ั มาเงยหนา้ สบตาเธอ “ทําไมถงึ ชว่ ยผมล่ะ”

“ฉนั อยากช่วยคนท่ีตื่นข้ึนด้วยความสงสัย ยังมีคนอีกมือหน่ึงท่ีเป็นเหมือนเรา พวกเราต่าง
ชว่ ยกันและกนั ให้อยรู่ อด แต่พวกเราค่อย ๆ ลดจํานวนลงเรื่อย ๆ พวกเราท่ีถูกฆ่ามีมากกว่าท่ีต่ืนขึ้น
ใหม่ บางคนตระหนกั ขึ้นมาได้ แตก่ ไ็ ด้ตายไปโดยยงั ไมไ่ ด้เจอคนอ่ืน ๆ ทรี่ ู้เหมือนกนั ” เธอบอกผมเบา
ๆ แม้วา่ ท่นี จี่ ะไม่มคี นเลย แต่พวกเราก็พดู กนั เบาย่ิงกว่าเสียงกระซิบ ด้วยความหวาดกลัวว่าจะมีใคร
ไดย้ ินเขา้

“ผมคงโชคดีท่ีเจอคุณที่ห้องสมุด” ผมเอ่ยยิ้มๆ แต่เธอกลับทําหน้าเบ่ือหน่ายผมอีกครั้ง
“ฉันมาทํางานที่นี่ เพราะคนแบบนายชอบเข้ามาหาข้อมูลในห้องสมุดน่ะสิ ฉันมาเฝูาจับตาท่ีน่ีไว้
ต่างหากเล่า ถ้าเจอคนทีด่ ูเหมอื นจะสงสัยฉันกจ็ ะเขา้ ไปคุยกบั เขา” ผมฟงั แล้วครุ่นคิด “ความจริงคุณ
จะเกบ็ ตวั เงยี บ ๆ ก็ได้นี่นา การทาํ แบบนีม้ ันเสย่ี งมาก”

“แต่ฉนั ก็รอดมาได้” หญิงสาวเอ่ยตอบใบหนา้ ของเธอมีเค้ารอยหยิ่งทะนง “ฉันรู้ว่ามันเสี่ยง
แต่ฉันรู้สึกว่าฉันต้องทํา ต้องช่วยใครสักคนที่ตระหนักรู้เหมือนกับตัวฉัน ฉันคิดว่ามันเป็น
ส่ิงทีถ่ กู ตอ้ ง”

“ถ้าไม่ทาํ ไพ่จะดาํ เหรอ” ผมเผลอถามโง่ ๆ ออกไป ทาํ ใหเ้ ธอถอนหายใจเฮอื กใหญ่

“นี่ไพข่ องนายดาํ แลว้ จรงิ ๆ หรือเน่ีย นายตระหนกั รู้อะไรสกั อยา่ งแลว้ จริง ๆ เหรอ ไพม่ นั ไม่
ดําไปกว่าน้ีอีกแล้วนะ” เธอจ้องเข้ามาในตาของผม “ฉันตัดสินถูกและผิดตามการตัดสินของตัวเอง
ไม่ใชข่ องไพ่”

“มาตรฐานคุณธรรมของคุณเองหรือ” ผมถาม “จะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้” เธอตอบ
พลางถอนหายใจเหมอื นโลง่ ใจทีผ่ มพอมีความฉลาดอยู่บ้าง

“ผมไมม่ ีสิง่ น้นั เลย”

“มีสิ ทกุ คนมี แต่ถกู ฝังกลบเอาไว้ รอวันทเี่ ราจะขุดขึ้นมา” เธอบอกแต่เหมือนผมทําหน้างง
เธอกอ็ ธบิ ายเพ่ิมเติมว่า “สังเกตไหมไพ่พวกน้ีไม่มีสีเทาเลย มีแต่ผิดกับถูก ขาวกับดํา แล้วตรงกลาง
ระหว่างน้ันล่ะ...พ้ืนที่ตรงกลางน้ันคือสิ่งท่ีไพ่ตัดสินไม่ได้ ไพ่จะผลักสีเทาให้เป็นสีดําเสมอ

23

มันเป็นการตัดสินที่ผิดพลาด บริเวณสีเทาเป็นพื้นที่ละเอียดอ่อน ควรให้มนุษย์เป็นผู้ตัดสินไม่ใช่ไพ่
การตัดสนิ ของมนุษยจ์ ะแตกต่างกนั ไปตามมาตรฐานแตล่ ะคน”

“แตม่ าตรฐานควรเปน็ อย่างเดยี วกันท่ัวโลกไม่ใช่เหรอ” ผมแสดงสีหนา้ ไม่เขา้ ใจ

เธอส่ายหน้าช้า ๆ ก่อนจะเอ่ยว่า “มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ตอนนี้มันโหดร้ายเกินไป
การใชม้ าตรฐานเดียวกันท้ังโลกโดยไม่ลดหย่อนผ่อนปรน ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทําให้เกิดความอยุติธรรม
ข้ึน ลองคิดตามตัวอย่างน้ีการฆ่าคนเป็นสิ่งผิด แล้วถ้าผู้ปุวยทรมานมาก ๆ จนไม่อาจทานทนได้
ความตายเป็นสงิ่ พึงปรารถนา มากกวา่ การมีชีวิตอยู่ หมอท่ีฆา่ คนคนน้ที าํ ความดหี รอื วา่ ทําบาป”

ผมขยับปากจะตอบแต่เริ่มสับสนจึงนิ่งงันไป เธอเงียบคล้ายรอให้ผมตอบ ผมจึงตอบ
แบบเล่ยี ง ๆ ไป “ไพ่ของหมอ...จะกลายเปน็ สดี ํา”

“นายคดิ ว่ามโี อกาสท่ีเขาจะไม่ผิดไหม” เธอถามเบา ๆ

“มี” ผมตอบเบากว่าเสียงเธออีกที ผมรู้ คําตอบท่ีผมเลือกอยู่นี้มันผิดหลักการของไพ่และ
รัฐบาลแน่นอน ผมจึงพูดเบาเพราะรู้สึกคล้ายกําลังทําผิดแต่ไพ่ไม่คิดอย่างน้ัน การฆ่าคน
ถกู ตีความหมายว่าผดิ เสมอ

“ฉนั ถึงบอกวา่ มันโหดรา้ ยเกนิ ไป”

“หมอจะไพด่ าํ ถ้าเขาฆ่าคนไข้ ท้ังทเี่ ขาช่วยคนไข้” ผมพึมพํา

“เปล่าหมอจะให้ดํา เพราะเขาคิดเรื่องควรฆ่าคนไข้ดีไหม แล้วเกิดสรุปได้ว่าไพ่
มที างผิดพลาด ไพ่ของเขาก็เลยกลายเป็นสีดํา”

หญงิ สาวเอ่ยชา้ ๆ เธอก้มหน้าลง เสียงของเธอสั่นพร่าแลว้ จู่ ๆ เธอกเ็ งยหน้ามองผม “คนรัก
ของฉันตายไป เพราะเร่ืองน้ี เขาคือหมอคนนั้นฉันก็เลยตระหนักรู้ด้วย” ผมเสียใจด้วยผมบอกเธอ
รู้สึกฝาดเฝ่ือนในคอเม่ือเธอเล่าเร่ืองของตัวเอง แล้วผมก็เลยตัดสินใจเล่าเร่ืองหัวหน้าให้เธอฟังบ้าง
“คณุ คดิ ว่าเขาแคโ่ กหก หรือเขาไมไ่ ด้ทําอะไรผดิ จริง ๆ “ผมถามเธอหลังเลา่ จบ

“ไมม่ ใี ครรู้หรอก เธอมองตาผมไม่มีใครถามเขาก่อนจะฆ่าเขาน่ีนา” คําพูดของเธอทําให้ผม
หน้าแดงซ่านด้วยความละอาย ทําไมก่อนหน้าน้ีผมถึงไม่เคยละอายมาก่อนนะ ผมฆ่าคนคนแล้วคน
เล่าเพยี งเพราะพวกเขาทาํ ผิดไม่สิเพียงเพราะไพ่บอกว่าพวกเขาผิด จะจริงเท็จแค่ไหนไม่อาจรู้ได้ผม
ฆ่าคนโดยไม่คดิ อะไร งา่ ยเหมอื นยกแก้วน้าํ ขึน้ ดื่ม จากนั้นก็มาภาคภูมิใจวา่ ตัวเองเปน็ คนดี

“แต่เท่าท่ีฉันรู้มาไพ่ไม่เคยทําผิดกฎเลย มันทํางานเที่ยงตรงเสมอ ท่ีผิดคือกฎและระบบนี้
ต่างหาก” เธอกลา่ วตบไหลผ่ มเบา ๆ “ทาํ ไมมนั ถึงไมเ่ คยผดิ พลาด มันทาํ มาจากอะไร” ผมถาม

24

“อันนกี้ ็ไมม่ ีใครรู้” เธอส่งยมิ้ เหนอ่ื ยลา้ ให้คลา้ ยจะขอโทษที่ไมม่ ีคําตอบให้

“แลว้ ทาํ ไมพวกเราถงึ ไมส่ งสัยเลย” ผมพ่นลมหายใจอย่างกังขา

“ทาํ ไมทกุ คนถึงเชอื่ ฟงั โดยไม่ต้ังคาํ ถามทําไมเราไมเ่ คยเอะใจอะไรเลย”

“พวกเราท่ีต่ืนรู้กําลังศึกษาเรื่องน้ีกันอยู่ พวกเราสรุปได้คร่าว ๆ ว่าระบบการศึกษาของ
รฐั บาลเปน็ ตวั หล่อหลอมคนไมใ่ หส้ งสัย พวกเราถูกสอนให้เชื่อตามท่ีถูกบอกเล่า เด็กๆในโรงเรียนไม่
เคยได้ตงั้ คําถาม ส่วนนกั เรียนทีช่ อบซกั ถามจะถูกลงโทษ เชื้อแหง่ ความสงสยั เลยตายจากเราไปต้ังแต่
เด็ก นอกจากนั้นคนที่เร่ิมสงสยั เองได้กจ็ ะโดนไพด่ ําทําใหพ้ วกเขาตายจากไป มนุษย์ต้องการตัวอย่าง
ในการรเิ ริม่ ทาํ สิง่ ตา่ ง ๆ เม่ือคนท่ีสงสัยล้วนแต่ตายไป เราจึงไม่อาจสงสัยเองได้เพราะเราไม่เคยเห็น
ใครสงสยั มาก่อน แต่น่นั ไม่ไดห้ มายความวา่ เราจะไม่มีวันสงสัยอะไรเลย พวกเราอาจคิดเองได้สักวัน
หน่ึง หลกั ฐานกค็ อื ฉนั กับนายท่ีนงั่ อยตู่ รงนี้”

“ทาํ ไมรัฐบาลถงึ ไมบ่ อกเรา ว่าหากสงสยั จะโดนไพ่ดาํ ” ผมยงั สงสยั ในเรือ่ งน้ี เมอื่ วานผมถาม
เธอแลว้ ครั้งหนึ่ง แต่รู้สึกคล้ายยังไม่ไดร้ ับความกระจา่ ง

“ถ้าหากฆ่าคนตายจะโดนไพ่ดํา กฎข้อน้ีมีอะไรแปลกไหมหรือว่ามันฟังดูถูกต้อง 100%
อย่แู ล้ว” เธอถามพลางมองหน้าผมผมนึกถึงเรื่องคนรักของเธอ สมองพยายามเลือกคําตอบท่ีคิดว่า
เหมาะสมความจริงกม็ ีบางอยา่ งผิดปกตแิ ตผ่ มไมเ่ คยคดิ มาก่อนผมตอบเสียงอ่อย “ดูเผิน ๆ มันก็ดูไม่
แปลก”

ใช่เธอหลับตาลง “ใช่ มองปราดแรก การฆ่าคนมันผิดแบบไม่ต้องต้ังคําถาม ความจริง
มันยังมีอีกหลายมิติที่เราจะถกเถียงกันได้ แต่ดูคร่าว ๆ มันควรจะถูกห้ามโดยไม่มีอะไรน่ากังขา
แต่การสงสัยนนั้ ต่างออกไปมันไม่ใช่สิ่งท่ีผิดคุณธรรม” เธอกล่าวต่อ “ถ้ารัฐห้ามให้คนสงสัย คนก็จะ
สงสัยว่าทําไมห้ามสงสยั แล้วเช้ือพนั ธแุ์ หง่ ความสงสัยท่ีอตุ ส่าหฝ์ งั กลบเอาไวไ้ ม่ใหง้ อกกจ็ ะเตบิ โตข้ึน”

ทันใดน้ัน ก็มีเสียงเคาะเบา ๆท่ีเคาน์เตอร์ไม้ บรรณารักษ์สาวสะดุ้ง เธอเดินออกจากห้อง
ซ่อมแซมหนังสือไปหน้าเคาน์เตอร์อย่างรวดเร็ว ผมมองตามไปหญิงสาวผอมซีดเซียวคนหนึ่งยืนอยู่
ตรงน้นั พร้อมทั้งหนังสอื กองใหญ่เก่ยี วกับระบบภาษีอากร

“คืนหนังสือค่ะ” ผู้ใช้บริการพูดน้ําเสียงตํ่าแต่ดูต่ืน ๆ บรรณารักษ์สาวดึงกองหนังสือมาไว้
ตรงหน้า เปดิ หนา้ สุดท้ายของเลม่ บนสุด ใช้เคร่ืองมือบนโต๊ะสแกนบาร์โค้ดที่ติดอยู่ตรงปกในหนังสือ
คอมพิวเตอร์ร้องดังปี๊บพร้อมบันทึกข้อมูลว่าหนังสือเล่มน้ัน ๆ ทุกคืนมาแล้ว ผมนึกสนใจวิธีการ
ทํางานของเธอจึงเดินออกจากห้องมายืนมองข้าง ๆ เมื่อเธอนําบาร์โค้ดไปจ่อไว้ใต้แท่นสแกน
ท่ีปล่อยลําแสงสีเขียวออกมา หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็จะปรากฏช่ือหนังสือเล่มนั้น หลักการของมั น

25

คงคล้าย ๆ กับเคร่ืองคิดเงินในร้านสะดวกซื้อเมื่อเธอเปิดหนังสือเล่มถัดไป เราสองคนก็ต้องชะงัก
เพราะส่ิงที่สอดอย่ใู นหน้าสุดท้ายของหนงั สือเล่มนนั้ ...คอื ไพส่ ีดาํ ใบหนึง่

บรรณารกั ษใ์ ช้ปลายนวิ้ คีบมันข้นึ มาตรวจสอบวา่ เป็นไพ่จริง ๆ หรือเปล่า แล้วเราก็ได้เห็นว่า
ด้านหลังของกระดาษมีตราของรฐั บาลโลกประทับอย่.ู ..มันคือไพ่ดํา เราสองคนเลยหน้ามองหญิงร่าง
ผอมคนน้ันใบหน้าท่ีซีดอยู่แล้วของเธอ ยิ่งซีดเข้าไปอีก แววตาของเธอวิตกอย่างย่ิงผมคิดว่าเธอคง
ซ่อนไพ่เอาไว้และลืมเอาออกบรรณารักษ์ลดไพ่ในมือลงเพื่อไม่ให้คนอื่นในห้องสมุด เห็นเธอกระซิบ
เสยี งแผว่ เบา “อย่าเพิ่งตกใจนะคะ”

“ฉนั ...ฉัน”หญงิ สาวร้องอยา่ งสับสน เธอดงึ หนังสอื ทั้งหมดคืนจากมอื บรรณารักษ์ และดึงไพ่
คืนด้วย เธอกําไพ่ไว้ในมือก่อนจะหอบหนังสือท้ังหมดด้วยความหวาดกลัวแล้วรีบวิ่งออกจากหน้า
เคานเ์ ตอร์ไป และดว้ ยความรีบร้อนกระวนกระวายนั้นเธอเผลอทําหนังสือท้ังกองและไพ่ใบนั้นหล่น
จากมือ ชายที่เดินสวนกันมาก้มลงจะเก็บให้เธอ แต่เมื่อหยิบไพ่ข้ึนมาแล้วพบว่ามันเป็นสีดํา สีหน้า
ของเขากเ็ ปลย่ี นไปทันที “ผหู้ ญงิ คนนม้ี ีไพด่ ํา” เขาตะโกนก้อง

“อย่าเสียงดงั ในห้องสมุด” บรรณารกั ษ์สาวกระซิบจากข้างตัวผม แน่นอนทุกคนรู้ดีเรื่องกฎ
ขอ้ นแี้ ตไ่ มม่ ใี ครปฏบิ ัตมิ ันในเวลานหี้ รอก หลายตอ่ หลายคนลุกขึน้ จากโต๊ะอา่ นหนงั สือมุ่งมาท่ีหญิงคน
นั้น แมแ้ ตห่ ญิงแกท่ า่ ทางใจดีทพี่ บเห็นเม่อื วานก็ถอื ไม้กวาดเดินตรงมาด้วย

ทกุ คนปร่ีเขา้ มาตบตแี ละขว้างปาผู้หญิงคนน้ันโดยหนังสือปกแข็ง เธอล้มลงกับพื้นพยายาม
ยกแขนขน้ึ กันใบหน้าและลําตัว ผู้ชายหลายคนยกเท้าถีบลงไปท่ีหน้าท้องของเธอ หญิงสาวร้องด้วย
ความเจบ็ ปวด

“ไมร่ ่วมดว้ ยหรอื ” บรรณารกั ษ์แก่หนั มามองเราสองคน แตค่ นข้างตวั ผมส่ายหน้าพลางตอบ
ไปว่า “พก่ี ็ร้นู ่ีคะวา่ ฉันไม่ชอบ”

“ฉันรู้ว่าเธอไมช่ อบฉนั ถามพ่อหนุ่มคนนั้นต่างหากเพื่อนใหม่ของเธอหรือจ๊ะนัทลี” หญิงแก่
พยักพเยิดมาทางผม มือท่ีถือไม้กวาดของเธอยกข้ึนเตรียมพร้อมอยู่แล้ว “เพื่อนของฉันเองค่ะเขา
สนใจเรอ่ื งความรทู้ วั่ ไปเกี่ยวกับไพ่มาก ๆ ฉันเลยชวนเขามานั่งคุยในนี้” บรรณารักษ์สาวบอกคําพูด
ของเธอทําให้หญงิ แกย่ ิ้มใหผ้ มอย่างเอน็ ดูอกี ครงั้ ...รอยยม้ิ เอ็นดูของคนทกี่ ําลังจะไปฆ่าคน

หญิงแกบ่ อกกับผมอย่างอ่อนโยนว่า “ไม่มาร่วมกันหรือพ่อหนุ่มนัทลีน่ะใจอ่อนเสมอแหละ
แต่เธอยงั หนุ่มยงั แน่นไมน่ า่ ข้ีขลาดนะ” ผมมองภาพน้ันนิ่งคิด ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมต้องออกไปร่วมใน
ฐานะพลเมืองดแี น่ ๆ แตต่ อนน้ลี ่ะ ไพ่ของผมกด็ ําไมต่ า่ งอะไรกบั ของเธอ ผมไม่ไดม้ ไี พ่ขาวอนั นา่ ภูมิใจ
แล้ว ผมจะออกไปฆ่าเธอไดอ้ กี หรือ

26

คาํ ตอบคอื ได้สิ ถา้ ผมอยากทําอะไรใหม้ นั เนยี นเขา้ ไวผ้ มก็ควรออกไปรว่ มวงไพบลู ย์ด้วยแตว่ ่า
...แตว่ ่าถา้ หากเธอไม่ได้ทําผิดอะไรเหมือนที่ผมไม่ได้ทําผิดล่ะ ถ้าหากเธอเพียงแค่สงสัยผมไม่อาจฆ่า
เธอได้ ผมเลยได้แต่ส่ายหัวตอบอย่างเศร้า ๆ บรรณารักษ์ชราจึงเดินจากพวกเราไปยังคนกลุ่มนั้น
เงอ้ื ไมก้ วาดขึน้ สูง...

ผมทนมองภาพผู้หญิงคนนั้นโดนซ้อมไม่ไหวแล้ว และถ้าเข้าไปขวางผมก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไร
ขึน้ กบั ผม ผมจงึ เดนิ หลบเข้าไปในห้องซ่อมหนังสือยกมืออุดหูเพ่ือไม่ให้ตัวเองได้ยินเสียงครวญคราง
และเสียงทบุ ตี แตม่ นั ชว่ ยอะไรไมไ่ ด้มากนกั ผมยงั คงได้ยนิ ...

“ทุกคนทีน่ ชี่ นิ แลว้ ละ่ กบั การทีฉ่ นั ไมฆ่ ่า การไม่ฆา่ ไม่ไดผ้ ิดกฎของรัฐบาล” บรรณารักษ์สาว
เดินเข้ามาเธอบีบไหล่ผมเบา ๆ “แต่ทุกคนเลือกฆ่าเสมอ นอ้ ยคนนักท่ีจะเลือกไม่ฆ่า”

“ทําไมละ่ ” ผมถามรู้สึกในหวั ใจหนักอึ้ง

“น่ันสิ...ทาํ ไม” เธอตอบผมมองหน้าเธอแววตาของเธอดูขมขน่ื

“เราออกไปหากาแฟดม่ื กันเถอะฉนั ไมอ่ ยากอยทู่ ่นี ่ี ฉันมักจะออกไปขา้ งนอกจนกว่าพนกั งาน
เก็บศพจะมาจัดการทุกอย่างเสร็จ” เธอชวนและพาผมออกไปทางประตูด้านหลังห้องซ่อมแซม
หนังสืออันเป็นทางเข้าออกของพนักงานในห้องสมุด เราสองคนเดินไปด้วยกันบนบาทวิถีมุ่งสู่
ร้านกาแฟซึ่งเธอบอกว่าดีที่สุดในแถบนี้ ระหว่างทางเธอชวนผมคุยคล้ายหวังจะให้บรรยากาศดีข้ึน
“ฉนั มกั จะปลอ่ ยคนที่ฉันพบว่ามีปูายดําเสมอ ไม่ว่าเขาจะทําผิดจริง หรือแค่สงสัย คนท่ีทําผิดจนไพ่
ดาํ แล้วมักจะเริม่ สงสัยได้ง่ายกว่าคนอื่น และหากเขาเป็นผู้สงสัยไม่ว่าเดิมเขาจะทําอะไรมา เขาก็จะ
กลายเป็นสหายของฉัน แต่น่าเสียดายท่ีคนเหล่านั้นมักจะว่ิงหนีไปทุกคร้ังที่ตรวจพบไพ่ดํา”เธอมอง
หน้าผมแล้วยิ้มจาง ๆ “ตอนท่ีถามนายวันก่อนว่าไพ่นายขาวหรือเปล่า ถ้าไพ่นายดําฉันก็จะปล่อย
นายไปนะ” ผมไม่สนใจการชวนคุยของเธอ ใจของผมยังคงเวียนวนอยู่กับภาพการรุมทําร้ายท่ีเห็น
เมื่อครู่จนอยากจะอ้วก ทั้งที่ความจริงผมเคยเห็นมันมานับไม่ถ้วนแถมเคยเข้าไปมีส่วนร่วมมาแล้ว
ด้วยซํา้

“เราออกไปหากาแฟด่ืมกัน ในขณะท่ีมีคนกําลังถูกฆ่า” ผมพูดรู้สึกขมคําพูดตัวเอง
จนตอ้ งถมนาํ้ ลายลงพนื้ “เราจะทําอะไรไดล้ ะ่ ออกมาเสยี กด็ ีกวา่ ทนมองอย่ตู รงนัน้ ”

“ทผี่ า่ นมาผมฆา่ มาตลอด”ผมพดู อยา่ งขนื ใจ

“นายไดฆ้ า่ มากค่ี นแลว้ ”

“หก” ผมตอบ รูส้ กึ อยา่ งขยะแขยงตัวเอง

27

“ฉนั สาม” เธอตบบ่าผมเบา ๆ

“ตอนนี้ผมไม่กล้าทําเพราะผมกลัววา่ เธออาจจะไม่ผดิ ” ผมเอ่ยเบา ๆ

“อกี อย่างอาจเป็นเพราะไพข่ องผมดาํ แลว้ การฆา่ เปน็ สิทธิ์อนั ชอบธรรมของคนดีเทา่ นน้ั ”

“สิทธ์ิอันชอบธรรมเหรอ”นัทลีเค้นเสียงออกมา “การฆ่าคนอ่ืนมันชอบธรรม ตรงไหน
ลองคิดดูสิ ถ้าคนหน่ึงฆ่าใครสักคนไพ่ของเขาต้องเปลี่ยนเป็นสีดําใช่ไหม” เธอถาม ผมพยักหน้า
เธอจงึ พูดตอ่ “แลว้ ทําไมเวลาคนดฆี า่ คนเลวไพ่พวกเขาถึงไมเ่ ปลี่ยนเปน็ สดี ําล่ะ”

“กเ็ พราะคนดฆี า่ คนเลวได้” ผมตอบรู้สึกว่าข้อโต้เถียงของตนเองนั้นอ่อนข้อเต็มทน แต่ผม
ก็ไม่อาจคิดคําตอบอ่ืนได้ ผมเชื่อมันมาตลอดชีวิตจนกระท่ังเม่ือวานนี้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทาํ ให้ผมรสู้ ึกเหนื่อยลา้ สับสนและโรยแรง

“และถ้ามีจนกําลงั จะฆ่าเรา แล้วเราฆา่ เพ่อื ปูองกันตวั ไพข่ องเราจะเปล่ยี นสีไหม” นัทลียังคง
ตัง้ คําถามไล่ต้อนผมตอ่ ไป “เปลยี่ นสิ” ผมบอก “ตามรปู การแลว้ มันควรเปล่ียน”

“แล้วถา้ จนคนนัน้ มีไพ่ดาํ ไพ่ของเราจะไมเ่ ปล่ียนสใี ชไ่ หม ในเมือ่ คนดีฆา่ คนเลวได้”

ผมชะงกั ไมเ่ คยคดิ ถงึ เรือ่ งนมี้ าก่อน “มันอาจจะเปน็ แบบน้ัน มันเหมือนกับฆ่าคนไพ่ดําทั่ว ๆ
ไป”

“ไพ่ใหค้ วามถกู ต้องกับกรณีฆ่าคนไพ่ดํา มากกว่ากรณีฆ่าเพื่อปูองกันตัว...ลองคิดตัวอย่างน้ี
ถ้าเราฆา่ คนแบบฆาตกรโรคจิตเราทาํ ผดิ ใช่ไหม แล้วถ้าคนที่เราฆ่าเพ่ือความสะใจน้ันเป็นคนท่ีมีไพ่ดํา
การฆ่าอย่างโหดเหยี้ มทสี่ ุดก็จะกลายเป็นสง่ิ ทถี่ ูกต้องอยา่ งน้ันเหรอ ไม่ใช่แค่กรณีพวกน้ีหรอกลองคิด
ดี ๆ การทีเ่ ราฆ่าคนที่ไพด่ าํ เพราะกระทาํ ความผดิ มามันเป็นส่งิ ท่ีถูกต้องหรอื เปลา่ ”

เธอจ้องตาผม เอ่ยคาํ ถามซึง่ ผมไมเ่ คยสงสัยมาก่อน...

“คนดีมีสิทธิ์ฆ่าคนเลวอย่างนั้นเหรอ คนเลวในสายตาของไพ่คือพวกท่ีฆ่าคนเพราะ
ความสนุก ความโกรธหรือความพลั้งเผลอนั้น แล้วคนดีท่ีฆ่าคนไพ่ดําเพราะความสนุกล่ะ พวกเขา
นบั ว่าเป็นคนดีได้หรอื หากเรานับเขาเป็นคนดีไม่ได้ เขาก็ไม่ควรมสี ิทธ์ิฆา่ คนเลวพวกนนั้ ถ้าจะบอกว่า
มแี ตค่ นดีเทา่ นนั้ พม่ี สี ทิ ธ์ฆิ า่ คนเลวแล้วก็นะ”

ผมจนตอ่ คาํ พูด ไดแ้ ตป่ ล่อยให้หญิงสาวเอ่ยต่อไป เธอเอ่ยเสียงรัวเร็วราวกับต้องการถ่ายเท
ส่ิงท่ีอยู่ในหัวออกมาให้หมด “แล้วคนดีมีสิทธ์ิฆ่าคนเลวจริง ๆ หรือ คิดดูสิหากโลกใบนี้มีคนดีสุด
ประเสริฐสักคน แล้วก็มีคนเลวโสมมชนิดนรกยังไม่อยากรับอยู่อีกคน คนดีคนน้ันมีสิทธ์ิฆ่าคนเลว
คนนนั้ หรือ ทําไมคนเลวถึงต้องตายด้วยล่ะ แล้วการฆ่าเป็นส่ิงไม่ดีจริง ๆ หรือถ้ามันไม่ดีคนดีสมควร

28

ทาํ สิง่ ทีไ่ มด่ ีอย่างการฆา่ คนเลวไหม มนั จะไม่ทําใหค้ วามเปน็ คนดีของเขาดา่ งพร้อยหรอกหรือ หรือว่า
การฆ่าคนเลวนน้ั ดี การฆ่าคนดีนะเลว งั้นการฆ่าคนดีให้พ้นจากความทรมานล่ะ หรือการฆ่าคนเลว
เพอ่ื ความสนุกล่ะ แลว้ จะตัดสินมันยังไง”

คําพูดของเธออัดเข้ามาในหัวผมทําให้ผมส่วนเซเหมือนจะล้มลง เธอช่วยประคองผมไว้
อย่างออ่ นโยน ผมรู้วา่ ทุกอย่างท่ีเธอถามนั้นควรค่าแก่การตั้งคําถาม แต่ทว่าผมกลับไม่มีคําตอบใดๆ
สาํ หรับคําถามพวกน้ันเลยดู เหมือนว่าเธอกจ็ ะไมม่ ีด้วยเช่นกัน

“คุณหลอกผม” ผมพึมพาํ อย่างไรเร่ยี วแรง หนา้ ซีดราวกับคนกําลงั จะเป็นลม

“คุณบอกผมว่าถ้าผมฆ่าคุณเมื่อวาน ผมจะสงสัยไปตลอดกาล แต่วันนี้คุณกลับไม่ให้
ความกระจา่ งกับผมเลย คุณแค่ทาํ ใหผ้ มสงสัยมากข้นึ ไปอีก”

“เพราะฉนั ไมม่ คี าํ ตอบแน่นอนที่จะให้นายได้”เธอลูบหน้าผมอย่างแผ่วเบา “พวกเราทําได้
แคส่ งสัย และพยายามคิดหาคําตอบ”

“การติดอยใู่ นความสงสัยมันชา่ ง...นา่ สับสน” ผมเอย่ เสียงพรา่ “ไมเ่ หน็ จะดเี ลย”

“มนษุ ย์ในอดตี ก็เปน็ อย่างนแี้ หละ มนุษย์จรงิ ๆ เป็นแบบน้ี ชา่ งสงสัย กระหายความรู้แต่น่า
เสียดายที่พวกเราในปัจจุบันนี้ลืมทุกอย่างไปหมดแล้ว เรากําลังถูกหล่อหลอมให้กลายเป็นอะไร
บางอยา่ งทห่ี า่ งไกลความเปน็ มนุษย์ แต่งา่ ยต่อการควบคุมและปกครอง”

“เรากาํ ลงั กลายเป็นอะไรหรอื ” ผมถาม

เธอจอ้ งเข้ามาในตาของผม สูดลมหายใจก่อนจะตอบเสยี งแผว่ เบา

“สิ่งท่พี วกเราภาคภูมิใจกันนกั หนา คนดี ยังไงล่ะ”

อ้างอิง

จดิ านนั ท์ เหลืองเพียรสมทุ . สงิ โตนอกคอก. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๖.-กรุงเทพฯ: แพรวสาํ นักพิมพ์ อมรนิ ทร์
พรน้ิ ตงิ้ แอนด์ พบั ลิชช่ิง, 2561.

29

บนั ทกึ การอา่ นรายบคุ คล

ชื่อ-สกุล..............................................................................................ชน้ั ..................เลขท.ี่ ..................

ชื่อเร่ืองท่อี ่าน “ในโลกท่ที กุ คนอยากเป็นคนดี”

คาแนะนากอ่ นการอา่ นเรื่องที่กาหนด
ใหน้ ักเรยี นอา่ นแลว้ บันทึกข้อมลู ลงในแบบบันทึกการอา่ นรายบคุ คลข้นั ตอนการอ่าน

ขั้นตอนการอา่ น

๑.นักเรยี นมคี วามรู้พน้ื ฐานเกีย่ วกบั เร่ืองทอ่ี ่านมากนอ้ ยเพียงใด

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๒.นกั เรียนคิดว่าจะสามารถอา่ นเรอ่ื งสั้นนเ้ี พ่ืออะไร

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๓.นักเรียนคดิ วา่ เรือ่ งทีก่ าํ ลังอา่ นต่อไปน้ี เป็นเรอื่ งราวเก่ยี วกบั อะไร เพราะเหตุใดจงึ คดิ เชน่ นั้น

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

30

๔.นกั เรยี นคิดวา่ จะใชเ้ วลาในการอา่ นนานเท่าไร

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๕.ใหน้ กั เรยี นคดิ ว่าจะเกิดคําถามอะไรบ้างหลังจากทีน่ ักเรียนอ่านเรอื่ งสน้ั นีจ้ บ

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

ขน้ั ระหว่างอา่ น

๑.มีคําศพั ท์ สาํ นวน หรือข้อความใดบา้ งท่ีนักเรยี นยังไม่เขา้ ใจ

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๒.นกั เรยี นมีความคิดอย่างไร ในขณะท่ีกาํ ลงั เรื่องสนั้ นี้ เพราะเหตุใด

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

31

๓.แกน่ ของเรอ่ื งส้นั เรอื่ ง “ในโลกทีท่ กุ คนอยากเป็นคนดี”

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๔.ตัวละครในเร่ืองมีใครบ้าง

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๕.นักเรยี นคดิ ว่า ผเู้ ขยี นมีวตั ถปุ ระสงค์อะไรในงานเขยี นน้ี

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๖.ใจความสาํ คัญของเรอ่ื งนค้ี ืออะไร

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

32

แบบประเมนิ การการอา่ นรายบคุ คล

วนั ทป่ี ระเมิน.........................................................................................................................................
คาช้ีแจง ให้นักเรียนประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของตนเองและสมาชิกในกลุ่มตามสภาพจริง

เพื่อปรับปรุงพฒั นาการปฏบิ ัตกิ ิจกรรมตอนเองและกลมุ่

ชอ่ื -นามสกุล เนอื้ หาถกู ตอ้ ง การเขยี นความ เสร็จทันเวลา รวม
เหมาะสม สะอาด ความ
สวยงาม

เกณฑก์ ารให้คะแนน เกณฑก์ ารตัดสนิ ระดับคณุ ภาพ
ดี
ปฏบิ ตั มิ ากท่สี ุด ให้ ๔ คะแนน คะแนน
ปฏบิ ัติมาก ให้ ๓ คะแนน ๑๐-๑๒ ปานกลาง
ปฏบิ ัติปานกลาง ให้ ๒ คะแนน ๖-๙ พอใช้
ปฏบิ ตั ิน้อยทสี่ ดุ ให้ ๑ คะแนน ๓-๕ ปรับปรุง
๑-๒

33

เกณฑก์ ารประเมนิ การบนั ทกึ การอา่ นรายบคุ คล

ประเด็น ระดบั คุณภาพเกณฑ์การใหค้ ะแนน
การประเมนิ
๔ ๓๒ ๑
๑.เน้ือหา
ถกู ตอ้ ง ตอบคําถามได้ ตอบคาํ ถามได้ ตอบคําถามได้ ตอบคาํ ถามได้
เหมาะสม ตรงประเด็นถูกต้อง ตรงประเด็น
เหมาะสม ตรงประเดน็ ตรงประเด็น เป็นสว่ นน้อย
เหมาะสม
เปน็ ส่วนใหญ่ เปน็ บางส่วน เป็นสว่ นน้อย

เหมาะสม เหมาะสม เขียนไม่ถกู ต้อง
หลายคํา
เป็นสว่ นมาก เปน็ สว่ นน้อย ไม่ค่อยสะอาด
ตวั อกั ษรไม่สวยงาม
๒.การเขียน เขียนถูกตอ้ ง สะอาด เขียนถูกต้อง สะอาด เขียนไม่ถูกต้อง อา่ นยาก
ความสะอาด ตัวอกั ษรสวยงาม
ความสวยงาม อ่านง่าย ตัวอักษรไมส่ วยงาม บางคาํ ไม่ค่อยสะอาด สง่ ชา้ เกนิ ๑๐ นาที

อา่ นยาก ตวั อกั ษรไมส่ วยงาม

อา่ นยาก

๓.เสรจ็ ทันเวลา เสร็จทันเวลา และ สง่ ช้า ๓-๕ นาที สง่ ช้า ๖-๘ นาที
ส่งตามกําหนดเวลา

เกณฑ์การตัดสนิ ระดบั คุณภาพ
คะแนน ดี
๑๐-๑๒
๖-๙ ปานกลาง
๓-๕ พอใช้
๑-๒ ปรับปรุง

34

แบบบนั ทกึ การอ่านของกลมุ่

ช่อื กล่มุ .....................................................................................................
ชื่อเรือ่ งท่ีอ่าน..............................................................................................

คาแนะนากอ่ นการปฏบิ ัติกิจกรรมกลุ่ม
กําหนดบทบาทสมาชิกในกลุม่ แตล่ ะคนในกลมุ่ แล้วอภปิ รายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้
ข้อมูลท่ีสมาชิกแต่ละคนบันทึกไว้มาประกอบการอภิปราย และผู้ประสานงานบันทึกข้อสรุป
ในช่องวา่ งที่กําหนดไว้

๑.ข้อสรปุ เกี่ยวกบั คาํ ศพั ท์ สาํ นวน หรือขอ้ ความใดบา้ งทน่ี ักเรยี นไม่เขา้ ใจ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๒.ขอ้ สรปุ เกยี่ วกบั แก่นของเรอ่ื งคอื อะไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๓.นกั เรยี นคิดว่าผูเ้ ขยี นมจี ดุ ประสงค์อะไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

35

๔.ขอ้ สรปุ เกย่ี วกบั ขอ้ คิดทไ่ี ดจ้ ากเร่อื งมอี ะไรบ้าง
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๕.ข้อสรุปการนําความรทู้ ไี่ ด้จากการอ่านไปปรับประยุกต์ใชใ้ นเร่อื งใด จงึ จะเหมาะสมกับนกั เรียน
มากท่ีสุด
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

36

แบบประเมนิ การการอ่านของกล่มุ

วนั ทป่ี ระเมิน.........................................................................................................................................
คาชแ้ี จง ให้นกั เรยี นประเมินการปฏบิ ัตกิ จิ กรรมของสมาชิกในกลมุ่ ตามสภาพจริง เพื่อปรับปรงุ

พัฒนาการปฏิบัตกิ ิจกรรมของกลุ่ม

ชอ่ื -นามสกุล การรวบรวมและ การใช้ภาษาและ รวม
บันทึกข้อมลู คณุ ภาพของงาน

เกณฑก์ ารให้คะแนน เกณฑ์การตัดสิน

ปฏิบัติมากทีส่ ดุ ให้ ๔ คะแนน คะแนน ระดับคุณภาพ
ปฏิบตั ิมาก ให้ ๓ คะแนน ๗-๘ ดี
ปฏบิ ัตปิ านกลาง ให้ ๒ คะแนน ๕-๖
ปฏิบัตินอ้ ยท่สี ดุ ให้ ๑ คะแนน ๓-๔ ปานกลาง
๑-๒ พอใช้
ปรับปรงุ

37

เกณฑ์การประเมินการบันทึกการอ่านของกลุม่

ประเด็น ระดับคุณภาพเกณฑ์การให้คะแนน
การประเมนิ
๔ ๓๒ ๑
๑. การ รวบรวมและ
รวบรวม รวบรวมและ รวบรวมและ รวบรวมและ บนั ทึกข้อมลู สรปุ
และบนั ทกึ บันทกึ ข้อมูลได้ เปน็ ความเห็น
ข้อมูล บนั ทกึ ขอ้ มลู ได้ บนั ทกึ ขอ้ มลู สรปุ ของกลมุ่ ได้
ครบถ้วน ไมช่ ัดเจน
๒. การใช้ ทกุ ประเดน็ ทุกประเด็น เป็นความเหน็ ไมค่ รบทุกประเดน็
ภาษาและ สรุปความเห็น
คณุ ภาพ ของกลมุ่ ได้ชดั เจน สรุปเป็นความเหน็ ของกลุ่มได้ ใชภ้ าษาพดู
ของงาน มีเหตผุ ล สอื่ ความได้
ของกลุ่มได้ คอ่ นข้างชัดเจน ผดิ อกั ขระวธิ ี
ใช้ภาษาทางการ มากกวา่ ๔ คาํ
กะทดั รดั สือ่ ความ ค่อนข้างชัดเจน แตไ่ มค่ รบ ลายมอื อา่ นยาก
ได้ดี ถูกอกั ขรวิธี ไมเ่ ปน็ ระเบียบ
สะอาด อา่ นง่าย และมีเหตผุ ล ทุกประเดน็

เป็นระเบียบ ใชภ้ าษาทางการ ใชภ้ าษากงึ่ ทางการ

สอ่ื ความไดด้ ี สือ่ ความได้

ผิดอักขรวิธีไมเ่ กิน ผดิ อักขรวธิ ี

๒ คาํ อา่ นงา่ ย ไม่เกนิ ๔ คาํ

สะอาด คอ่ นข้างเป็น

เป็นระเบยี บ ระเบียบ

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนน ระดับคุณภาพ
ดี
๗-๘
ปานกลาง
๕-๖ พอใช้
ปรับปรุง
๓-๔

๑-๒

38

แบบประเมินการนาเสนอผลงาน

ประเดน็ ระดบั คณุ ภาพเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน
การประเมนิ
๔ ๓๒ ๑
๑.ความ
ถกู ต้องของ เนือ้ หาครบถว้ น เน้อื หาครบถ้วน เน้อื หาครบถว้ น เนือ้ หาไมค่ รบถ้วน
เน้ือหา ทุกประเด็น สรปุ ทกุ ประเด็น
เป็นความเหน็ ทกุ ประเดน็ ทุกประเดน็
ของกลมุ่ ได้ชัดเจน สรปุ เปน็ ความเหน็
สรปุ เป็นความเห็น สรุปเป็นความเหน็ ของกลมุ่ ได้ แต่ไม่
สมเหตุผล ละเอียด ไมช่ ัดเจน
ของกลมุ่ ได้ ของกลมุ่ ได้ แต่ไม่
ครอบคลมุ
ถูกต้องละเอยี ด ละเอียด ไมช่ ัดเจน เพียงส่วนน้อย

ชดั เจนครอบคลุม ครอบคลมุ

เปน็ สว่ นใหญ่ เป็นบางสว่ น

๒.ความ มวี ธิ ีการนําเสนอ มวี ิธกี ารนาํ เสนอ มีวธิ กี ารนาํ เสนอ มีวธิ กี ารนาํ เสนอ
เหมาะสม
ของการ ท่ีเหมาะสม ทเ่ี หมาะสม ท่เี หมาะสม ทเี่ หมาะสม
นาเสนอ
อธิบายคุณค่าและ อธบิ ายคณุ คา่ และ อธิบายคุณค่าและ อธิบายคุณคา่ และ
๓. การใช้
นา้ เสยี ง ข้อคดิ ของเร่ืองได้ ข้อคิดของเร่ืองได้ ขอ้ คิดของเร่ืองได้ ขอ้ คิดของเรื่องได้

๔. ตรงตาม ถูกตอ้ งละเอียด ถกู ต้องชัดเจน ถูกตอ้ ง แตไ่ ม่ ถูกตอ้ งแต่ไม่
เวลาท่ี
กาหนด ชัดเจน พร้อมยกตวั อยา่ ง ละเอียดไม่ชดั เจน ละเอยี ด ไมช่ ดั เจน

พรอ้ มยกตวั อยา่ ง ประกอบได้ถกู ตอ้ ง ยกตัวอยา่ ง ยกตัวอย่าง

ประกอบไดถ้ ูกตอ้ ง เข้าใจงา่ ย ประกอบไดถ้ กู ตอ้ ง ประกอบได้ถูกตอ้ ง

เข้าใจงา่ ยทุกข้อ เป็นสว่ นใหญ่ เขา้ ใจงา่ ย เข้าใจงา่ ย

เปน็ บางส่วน เพยี งส่วนน้อย

ใชน้ ํา้ เสยี ง ใช้นํ้าเสยี ง ใชน้ ้ําเสียง ใช้นํ้าเสยี ง

ไดส้ อดคลอ้ งและ ไดส้ อดคล้องและ ได้สอดคล้องและ ได้สอดคลอ้ งและ

สัมพันธ์กับเร่อื ง สมั พันธก์ ับเรอื่ ง สมั พันธ์กันเร่อื ง สมั พนั ธ์กบั เรอื่ ง

เปน็ ส่วนใหญ่ เปน็ บางสว่ น สว่ นนอ้ ย

นาํ เสนอ นาํ เสนอ นําเสนอค่อนข้าง นาํ เสนอ

ตรงตาม ลา่ ช้าเลก็ น้อย ล่าชา้ ไม่ตรงเวลา

กําหนดเวลา

เกณฑก์ ารตัดสิน ระดบั คุณภาพ
คะแนน ดี
๑๓-๑๖
๙-๑๒ ปานกลาง
๕-๘ พอใช้
๑-๔ ปรับปรุง

39

แบบบนั ทกึ การเรยี นรเู้ พอ่ื วดั ความสามารถในการสร้างองคค์ วามรดู้ ว้ ยตนเอง

คาช้แี จง ให้นกั เรียนบนั ทกึ การเรยี นรู้จากการเรียนในหวั ข้อท่นี ักเรยี นไดเ้ รียนรโู้ ดยมีแนวทางหรอื
ประเด็นในการเขยี นบันทึกการเรียนรู้

๑.ให้นกั เรยี นเขียนสรุปเนอ้ื หาสาระสาํ คญั ท่ไี ด้เรียนรตู้ ามประเดน็ ต่อไปนี้
๑.๑ หัวเรื่องท่ไี ดเ้ รียนรคู้ ือเร่ืองอะไร.......................................................................................
๑.๒ สรุปสาระสาํ คญั ของเรอ่ื ง โดยเขียนเปน็ แผนภาพความคิด

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

40

๒.นักเรียนได้ใช้ประเด็นใดบ้างจากการเรียนรู้ในหัวข้อท่ีผ่านมา เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการเรียน
ในครง้ั นี้
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๓. นักเรียนบอกประโยชน์ที่ได้จากการเรียน โดยเขียนอธิบายจะนําไปปรับประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจําวนั อยา่ งไร พรอ้ มให้เหตผุ ลประกอบหรือยกตวั อย่างประกอบ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

41

เกณฑ์การประเมนิ แบบบนั ทกึ การเรยี นรู้

เพอ่ื วดั ความสามารถในการสรา้ งองค์ความรดู้ ้วยตนเอง

รายการ ดีมาก (4) คุณภาพของผลงาน
ดี (3) พอใช้ (2) ตอ้ งปรับปรุง (1)

1.การสรปุ สรุปสาระสาํ คัญ สรุปสาระสาํ คัญ สรปุ สาระสาํ คัญ สรุปสาระสาํ คัญ

สาระสาคญั ของเร่อื งครบตาม ของเรือ่ งครบตาม ของเรื่องครบตาม ของเร่ืองไมต่ รงตาม

ของเรอื่ ง ประเดน็ ใน ประเด็นใน ประเด็นใน ประเด็น

จุดประสงค์ จดุ ประสงค์ จดุ ประสงค์ ตามจดุ ประสงค์

การเรียนรู้ การเรยี นรู้แตข่ าด การเรยี นรู้ การเรยี นรู้

มรี ายละเอยี ด รายละเอียด มีรายละเอยี ด มขี าดรายละเอียด

ครบถว้ น เป็นบางส่วน แต่ไมค่ รบถว้ น

2.การสร้าง บอกความสัมพันธ์ บอกความสมั พนั ธ์ บอกความสมั พันธ์ บอกความสัมพนั ธ์

ความรดู้ ว้ ย ของสงิ่ ท่ีพบเห็นกับ ของสง่ิ ท่พี บเหน็ กบั ของส่งิ ท่พี บเหน็ กบั ของสง่ิ ทพ่ี บเหน็ กบั

ตนเองดว้ ย ความเขา้ ใจเดิมที่มี ความเข้าใจเดิมทมี่ ี ความเข้าใจเดมิ ท่มี ี ความเข้าใจเดมิ ท่ีมี

การเรียนรจู้ าก มากอ่ น กับความรู้ มาก่อน กบั ความรู้ มาก่อน กับความรู้ มากอ่ น กับความรู้

ความสมั พนั ธ์ ทไี่ ด้เรยี นในคร้ัง ทไี่ ด้เรียนในครั้ง ทไ่ี ดเ้ รียนในครัง้ ทไ่ี ดเ้ รยี นในคร้ัง

ของสงิ่ ทพ่ี บเห็น ใหมแ่ ละอธิบาย ใหม่แต่ขาด ใหมไ่ ดบ้ างส่วนแต่ ใหมย่ ังไมส่ ัมพนั ธ์

กับความเขา้ ใจ รายละเอียด รายละเอยี ด ขาดรายละเอียด กันขาดรายละเอยี ด

เดิมทม่ี มี ากอ่ น ประกอบ ประกอบการ ประกอบการ ประกอบการ

กบั ความรทู้ ่ไี ด้ การอธบิ าย อธบิ าย อธบิ าย อธบิ าย

เรยี นในครง้ั ใหม่

3.การนาความรู้ อธิบายได้ชัดเจนว่า อธบิ ายได้ชัดเจนวา่ อธบิ ายไดช้ ัดเจนว่า อธิบายยงั ไม่ชดั เจน

ที่ได้ไประยกุ ต์ใช้ สามารถนาํ ความรู้ สามารถนําความรู้ สามารถนําความรู้ วา่ สามารถนาํ

ในวิชาอื่นๆ ทไี่ ดจ้ ากการเรยี น ที่ได้จากการเรียน ท่ไี ดจ้ ากการเรยี น ความรทู้ ่ีไดจ้ ากการ

และใน ไปประยุกตใ์ ช้ใน ไปประยกุ ต์ใช้ใน ไปประยกุ ต์ใช้ใน เรยี นไปประยกุ ต์ใช้

ชวี ิตประจาวนั วิชาอ่ืนๆ และใน วิชาอืน่ ๆ และใน วิชาอืน่ ๆ และใน ในวชิ าอนื่ ๆ และใน

ชีวิตประจําวันได้ ชีวิตประจําวนั ได้ ชีวิตประจําวันได้ ชวี ติ ประจําวันได้

โดยมีรายละเอียด โดยมรี ายละเอียด ขาดรายละเอียด ขาดรายละเอียด

และตัวอยา่ ง และตวั อยา่ ง และตวั อยา่ ง และตัวอย่าง

ประกอบมากกวา่ ประกอบ 1 ประกอบ ประกอบ

1 สถานการณ์ สถานการณ์

เกณฑก์ ารใหค้ ะแนน คะแนน เกณฑก์ ารตดั สิน
๑๐-๑๒
ปฏิบัติมากท่ีสุด ให้ ๔ คะแนน ๗-๙ ระดับคณุ ภาพ
ปฏิบัตมิ าก ให้ ๓ คะแนน ๔-๖ ดมี าก
ปฏิบตั ิปานกลาง ให้ ๒ คะแนน ๑-๓ ดี
ปฏิบตั นิ อ้ ยท่สี ดุ ให้ ๑ คะแนน พอใช้
ปรบั ปรุง

42

แบบบนั ทกึ ความคดิ เหน็ ในการเรียนรู้ของนกั เรียน

วชิ าภาษาไทย เรอื่ ง....................................................................................
วัน..........................เดือน......................................................พ.ศ...............
ผบู้ นั ทกึ .....................................................................................................

คาชี้แจง ใหน้ ักเรียนบันทกึ ส่ิงทนี่ กั เรยี นไดร้ บั จากการเรยี นรจู้ ากการอา่ นอยา่ งมีวิจารณญาณ
ในหวั ข้อตอ่ ไปน้ี

๑. ชอบเนื้อหาทไ่ี ดเ้ รยี นในวันนหี้ รอื ไม่ เพราะเหตุใด
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๒. กจิ กรรมอะไรบ้างทีช่ อบที่สุดเพราะอะไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

๓. กระบวนการจดั การเรยี นรขู้ องครูเป็นอยา่ งไร
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
๔. ตอ้ งการให้ครูช่วยเหลอื ในเร่อื งใด/และอยากบอกอะไรให้ครูได้รบั รบู้ ้าง
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

43

แบบประเมินพฤตกิ รรมการทางานกลมุ่

(บนั ทึกทกุ ครัง้ ภายหลังเสรจ็ ส้ินการทากจิ กรรมการอา่ น)

คาช้ีแจง
โปรดประเมินการมีส่วนร่วมในการทํางาน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทํางานกลุ่ม

โดยทาํ เครื่องหมาย √ ลงในช่องท่ตี รงกับการปฏิบตั ิ หรือตรงกับความคิดเหน็ ของผูป้ ระเมนิ ดังนี้

สังเกตเห็นว่ามีการปฏิบตั มิ ากที่สุด ให้ ๕ คะแนน
สงั เกตเห็นว่ามกี ารปฏิบัตมิ าก ให้ ๔ คะแนน
สังเกตเห็นว่ามีการปฏิบัตปิ านกลาง ให้ ๓ คะแนน
สังเกตเหน็ วา่ มกี ารปฏบิ ัติน้อย ให้ ๒ คะแนน
สงั เกตเห็นวา่ มกี ารปฏิบตั ิน้อยท่สี ุด ให้ ๑ คะแนน

ช่ือ............................................นามสกุล....................................เลขที่.........ช่อื กลุ่ม.............................

ผ้ปู ระเมนิ ตัวเอง สมาชิกในกลมุ่ ครู รวม สรุป
คะแนนประเมนิ
๑๒๓๔๕๑๒๓๔๕๑๒๓๔๕
รายการพฤติกรรม

ดา้ นกระบวนการทางานภายในกลุ่ม
๑. ปฏบิ ตั ิตามกฎกตกิ าของกลมุ่
๒. มีส่วนร่วมในการตัง้ เปูาหมายของกลมุ่

๓. ซักถามเมือ่ มขี อ้ สงสัยหรือเพ่ือใหเ้ ขา้ ใจ
ตรงกัน

๔. รบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของสมาชิกคนอื่น
๕. ให้ขอ้ มลู และข้อเสนอแนะทเ่ี ปน็
ประโยชนต์ ่อกลุ่ม
๖. ชว่ ยเหลอื เมือ่ สมาชกิ เสนอข้อคดิ เหน็ ที่
ผิดพลาดหรือไมส่ มบรู ณ์

๗. ใฝเุ รียนรู้ มงุ่ ม่นั ในการทํางาน

๘. มีการจดบนั ทึกความรู้อยา่ งเป็นระบบ
๙. มคี วามคิดรอบคอบในการพิจารณา
ข้อมูล

๑๐. มีบรรยากาศการทํางานภายในกลุ่ม
ทีด่ ี

ดา้ นการรบั ผดิ ชอบงานกล่มุ
๑๑. มสี ่วนร่วมในการประเมินเปาู หมาย
การอา่ น

๑๒. มกี ารควบคุมและตรวจสอบการอา่ น

44

ผปู้ ระเมนิ ตวั เอง สมาชิกในกลมุ่ ครู รวม สรุป

คะแนนประเมนิ ๑๒๓๔๕๑๒๓๔๕๑๒๓๔๕

รายการพฤติกรรม

๑๓. ทํางานกลมุ่ ตามที่ไดร้ ับมอบหมาย

อยา่ งเต็มความสามารถ และเสร็จตามเวลา

ทก่ี ําหนด

๑๔. มีความกระตอื รอื ร้นในการทํางาน

๑๕. มสี มาธิในการอา่ น ต้ังใจทํางาน

๑๖. ซกั ถามเพือ่ นในส่งิ ท่ีไมเ่ ขา้ ใจอยา่ งมี

เหตุผล

ด้านประโยชนท์ ไ่ี ดจ้ ากการทางานกลุ่ม

๑๗ เรียนรแู้ ละแลกเปลย่ี นการใช้กลวธิ กี าร

อา่ น

๑๘. สามารถอา่ นบทอา่ นไดอ้ ยา่ งเข้าใจ

มากขึ้น

๑๙. กล้าที่จะแสดงความคดิ เห็นมากขึ้น

๒๐. เรยี นรู้วธิ กี ารทาํ งานรว่ มกบั ผ้อู นื่

เกณฑ์การใหค้ ะแนน เกณฑ์การตัดสิน

สงั เกตเห็นว่ามกี ารปฏิบตั ิมากที่สดุ ให้ ๕ คะแนน คะแนน ระดบั คุณภาพ
สงั เกตเหน็ วา่ มกี ารปฏบิ ัตมิ าก ให้ ๔ คะแนน
สังเกตเหน็ วา่ มีการปฏิบัติปานกลาง ให้ ๓ คะแนน ๒๔๐-๓๐๐ ดมี าก
สังเกตเห็นวา่ มีการปฏิบัตนิ ้อย ให้ ๒ คะแนน ๒๑๐-๒๓๙ ดี
สังเกตเห็นวา่ มีการปฏิบตั ิน้อยท่ีสุด ให้ ๑ คะแนน ๑๘๐-๒๐๙
๑๕๐-๑๗๙ ปานกลาง
ตา่ํ กวา่ ๑๕๐ พอใช้
ปรบั ปรงุ

45

แบบฝกึ หดั
เร่ืองสน้ั “ในโลกทที่ กุ คนอยากเปน็ คนดี”

ชอื่ -สกลุ .................................................................................ชนั้ .............................เลขท่.ี ..................

คาชแี้ จง จงเลือกคาํ ตอบทีถ่ ูกตอ้ งทสี่ ุดเพียงคําตอบเดยี ว

๑.สาระสาคญั ทสี่ ดุ ของเรอื่ งส้นั คือขอ้ ใด

ก.มีจดุ มุ่งหมายเพียงประการเดยี ว ข.ตวั ละครมีจาํ นวนจํากัดเท่าท่ีจาํ เป็น

ค.ฉากสาํ คัญไมส่ บั สนหรอื เปลย่ี นไปเปล่ยี นมา ง.เค้าเรอ่ื งผูกไว้เพียงปมเดยี ว

๒. “ในโลกที่ทุกคนอยากเปน็ คนดี” เปน็ เรอ่ื งสน้ั ชนิดใด

ก.ชนดิ ผกู เร่ือง ข.ชนิดตวั ละคร

ค.ชนิดฉาก ง.ชนดิ แสดงแนวความคดิ

๓. ระบบ “ไพ”่ ในเรื่อง “ในโลกทที่ ุกคนอยากเปน็ คนดี” นกั เรยี นคิดวา่ ผเู้ ขียนต้องการส่อื ถงึ สง่ิ ใด
ก.การทาํ งานของรัฐบาล

ข.กฎหมาย ศีลธรรม และจารีตประเพณี
ค.อปุ กรณท์ ่ีมีความสามารถแยกแยะคนดี-ชั่วไดถ้ ูกตอ้ งเสมอ
ง.อปุ กรณอ์ ยา่ งหนึง่ ที่ใช้ในการเล่นการพนัน

๔.ความในขอ้ ใดในเรอื่ ง “ในโลกท่ที ุกคนอยากเป็นคนดี” ทส่ี ะทอ้ นให้เหน็ ถึงภาวะกดดันของตวั
ละครในเรอื่ งไดด้ ที ส่ี ุด

ก. “โว้ย อะไรกันวะ ทําไมไมม่ ีใครรู้เลยวา่ ไพน่ ีผ้ ลิตอย่างไร ใครเป็นคนคดิ ทํามนั ขนึ้ มา
นกั วิทยาศาสตรห์ รือหมอผี ทําไมไมม่ ีใครสงสยั ในเรอ่ื งนี้ น่ีมนั เรื่องอะไรกัน”

ข. “เด๋ียวสิ ไมม่ ีกฎหา้ มสงสยั ในกฎของรฐั บาลไมใ่ ช่เหรอ ”
ค. “ถา้ มีกฎแบบน้นั คนกพ็ ากันสงสยั สิ”
ง. “การไมฆ่ า่ ไมถ่ ือวา่ ผิดกฎรัฐบาลโลก แต่ทุกคนกลับเลอื กฆ่าเสมอ “

๕.ขอ้ ใดมิใช่องค์ประกอบของเรอ่ื งสั้นในแงข่ อง “ฉาก”
ก “สวนห้องสมุดยามบา่ ยวันอาทติ ย์มีนักศึกษาน่ังคุยกันอยู่สองสามกลุ่มแต่พวกเขาอยู่ไกล

เกนิ กวา่ จะได้ยนิ บทสนทนา”
ข.“ไพใ่ บน้ันมันกําลังจ้องมองผมจากบนโต๊ะ บนทีวี หรือข้าง ๆ หมอน หลายต่อหลายคร้ัง

ผมพยายามคลมุ มันด้วยผ้า สอดไว้ในหนงั สอื แตผ่ มรู้ว่ามนั ยังเหน็ ผมอยูด่ ี”
ค. “เธอใช้เคร่ืองมือสแกนบาร์โค้ดสแกนปกในของหนังสือ คอมพิวเตอร์ร้องดังปี๊บพร้อม

กับบันทึกข้อมูลผา่ นลาํ แสงสีเขยี ว หน้าจอคอมพวิ เตอร์ก็ปรากฏขอ้ มูลข้นึ ”

ง. “ผมสอบถามบรรณารักษ์สวมแว่นกรอบดําว่าหนังสือเก่ียวกับไพ่หรือกฎของรัฐบาล
อยู่ที่ชน้ั ไหน”

46

“กอ่ นเขาตาย ผมจอ้ งเขาไปในแววตาของเขา ในพรบิ ตานั้นไมร่ ู้ว่าเพราะอะไร อยู่ ๆ
ผมกเ็ ชื่อว่าเขาพูดจรงิ ผมลา่ ถอยออกมาปล่อยใหค้ นอื่น ๆ รมุ สงั หารเขาดว้ ยมอื และเท้าอย่าง

ไม่อาจปรปิ ากหา้ มอะไรได้ หลงั จากนัน้ ผมก็เรมิ่ สงสยั วา่ เปน็ ไปไดห้ รือไม่ทไ่ี พ่อาจเปลีย่ นสีโดย
ไม่มสี าเหตอุ ะไรเลย”

๖.เมอ่ื พิจารณาจากขอ้ ความข้างตน้ นักเรียนคดิ ว่าชายคนน้มี คี วามรู้สึกเชน่ ใด

ก.เบ่อื หนา่ ย ข.ราํ คาญ

ค.สงสัย ใคร่รู้ ง.เปน็ หว่ ง

“บางคนตระหนกั ไดแ้ ตก่ ็ตายไปโดยยังไมไ่ ด้เจอคนอนื่ ๆ ท่ีรเู้ หมือนกนั เลย”เธอบอก
ผมเบา ๆ แม้ว่าทีน่ ีจ่ ะไมม่ ีคนอยู่เลย แตพ่ วกเรากพ็ ดู กันเบาย่ิงกวา่ เสียงกระซิบด้วยความกลวั
ว่าจะมใี ครไดย้ ินเข้า

๗.น้าเสียงจากบทสนทนาข้างต้นแฝงดว้ ยความรสู้ ึกใด

ก.ต่ืนเต้น ข.เอน็ ดู

ค.หวาดกลัว ง.เศรา้ หมอง

จงอ่านขอ้ ความตอ่ ไปนี้แลว้ ตอบคําถามข้อ ๘-๙

“การติดอยใู่ นความนา่ สงสยั มนั ช่างสบั สน...ไม่เห็นจะดเี ลย”
“มนษุ ย์ในอดีตก็เปน็ อย่างนแ้ี หละ มนษุ ย์จริง ๆ เปน็ แบบนี้ ชา่ งสงสยั กระหาย

ความรู้ แตน่ ่าเสยี ดายทพี่ วกเราในปัจจุบนั นีล้ มื ทกุ อยา่ งไปหมดแลว้ เรากาลังถกู หล่อหลอม
ใหก้ ลายเป็นอะไรบางอย่างที่หา่ งไกลความเป็นมนษุ ย์ แตง่ ่ายตอ่ การควบคมุ และปกครอง”

๘.บทสนทนานใ้ี กลเ้ คยี งกบั คากล่าวใดมากทส่ี ดุ
ก.อยูก่ บั สง่ิ ท่ถี ูกต้องดีกว่าทําส่งิ ท่ผี ิด
ข.คบคนพาล พาลพาไปหาผดิ
ค.ทําดไี ด้ดี ทําช่ัวไดช้ ัว่
ง.ความใคร่รูเ้ ป็นประตูสูค่ วามเปลีย่ นแปลง

๙.จากข้อความขา้ งต้น ให้ข้อคดิ ในการดาเนินชีวิตของนกั เรยี นอย่างไรบ้าง
ก.ใช้ชีวติ อย่างรอบครอบและรูค้ ณุ ค่า
ข.อปุ สรรคคือพลงั ท่ีชว่ ยให้เราก้าวเดินต่อไป
ค.คนทที่ ําตวั ไม่ดี จะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
ง.เราสามารถสร้างความเปล่ียนแปลงใหเ้ กดิ ข้ึนได้ด้วยการสงสัย ตงั้ คําถาม และลงมอื ทาํ

47

๑๐.จากเรอ่ื ง “ในโลกท่ที ุกคนอยากเปน็ คนดี” มงุ่ เสนอแนวคิดและชใ้ี หเ้ ห็นถงึ ประเดน็ ใด
ก.เสนอให้เห็นถึงการท่ีในสังคมมองทุกอย่างเพียงด้านเดียวขาดการใช้วิจารณญาณ

อย่างถถ่ี ว้ น สง่ ผลอย่างไรต่อวถิ ชี ีวิตของคนในสงั คม
ข.แสดงให้เห็นถึงความสาํ คัญทค่ี นในสงั คมต้องชว่ ยเหลอื ซงึ่ กันและกนั
ค.แสดงให้เห็นว่าหากคนในสังคมเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดก็จะนํามาซึ่งสังคม

อันผาสุก
ง.แสดงให้เหน็ ถึงคุณค่าของการมชี ีวติ อยู่

48

เฉลยแบบฝกึ หดั

เรื่องสน้ั “ในโลกทที่ กุ คนอยากเปน็ คนดี”

ขอ้ เฉลย
๑ก
๒ง
๓ข
๔ก
๕ง
๖ค
๗ค
๘ง
๙ง
๑๐ ก


Click to View FlipBook Version