The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by naruemonsomjai47, 2023-02-16 23:53:19

โครงงานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย

โครงงานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย

คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย นฤมล สมใจ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชา การโรงแรม ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565


คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย นฤมล สมใจ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชา การโรงแรม ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565


ใบรับรองโครงงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เรื่อง คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย โดย นางสาวนฤมล สมใจ รหัส 65307010021 ได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ……………….....…..………................................ ................................……………………………. (นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล) (นางจันทิมา สัตยาภรณ์) หัวหน้าแผนกวิชา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วันที่……เดือน…………….พ.ศ…… วันที่………เดือน………..…..พ.ศ……… .................................................................. ครูประจำวิชาโครงงาน (นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล)


ข กิตติกรรมประกาศ จากการศึกษาทำโครงงานเรื่อง คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ทางผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึง ปัญหาของผู้มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม จึงเกิดแนวคิดการสร้างคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย เพื่อให้ผู้เข้ามาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วนตนแอง และเกิดตวามมสะดวกและรวดเร็วของการใช้งานระบบ Smart TV. การดำเนินโครงงานครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตุประสงค์ที่คาดไว้ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล คุณครูที่ปรึกษาประจำรายวิชาโครงงาน รหัสวิชา 30701-8501 ขอขอบคุณคณะผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่และคณะครูในแผนก วิชาการโรงแรม ที่สละเวลามาให้คำแนะนำและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการจัดทำ โครงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนะนำให้ผู้ศึกษาได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถวิเคราะห์วางแผนรวมทั้ง แผนงานต่างๆ ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและสรุปข้อมูลได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นประโยชน์ อย่างมากให้กับผู้จัดทำโครงงานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้ศึกษาขอขอบคุณผู้ตอบแบบประเมินทุกท่าน ไว้ในที่นี่ ที่กรุณาสละเวลาเอื้อเฟื้อข้อมูลและ ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการจัดการผู้จัดทำโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ฉบับนี้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี นฤมล สมใจ


ค ชื่อ : นางสาวนฤมล สมใจ ชื่อโครงงาน : คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย สาขาวิชา : การโรงแรม ประเภทวิชา : อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หัวหน้าแผนกวิชา : นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล อาจารย์ประจำวิชา : นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกูล ปีการศึกษา : 2565 บทคัดย่อ การศึกษาโครงงาน เรื่องคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อให้ผู้มาใช้ บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำการใช้งาน Smart TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้อย่างถูกต้อง วิธีการดำเนินการคือการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพของกลุ่มตัวอย่างและการศึกษาจากทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เชิงเอกสารและข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพให้ครอบคลุมขอบเขตของโครงงาน แล้วนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ระยะเวลาในการศึกษาโครงงาน 1 ภาคเรียน โดยประมาณ เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ ใช้เครื่องมือแบบประเมินประสิทธิภาพประเมินความพึงพอใจ หลังการใช้งานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ในการศึกษาค้นคว้า พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั่วไปของผู้ใช้งาน จากการวิเคราะห์มีผู้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน ทั้งสิ้น 100 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 61 คน คิดเป็นร้อยละ 61.00 ช่วงอายุ 15-25 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 49 ระดับการศึกษาเป็นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจำนวน 44 คน คิดเป็น ร้อยละ 44.00 มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษาจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 43.00 และผลการวิเคราะห์ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จากการวิเคราะห์พบว่าเกณฑ์การ ประเมินในภาพรวมด้านการออกแบบเล่มคู่มือทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ (̅=4.40) เกณฑ์การประเมินในภาพรวมด้านเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ (̅=4.38) และเกณฑ์การประเมินในภาพรวมด้านการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ (̅=4.36)


สารบัญ เรื่อง หน้า ใบรับรองโครงงาน ก กิตติกรรมประกาศ ข บทคัดย่อ ค สารบัญตาราง ง สารบัญภาพ จ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1 1.3 ขอบเขตของโครงงาน 1 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 เอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความหมายและความสำคัญของคู่มือการใช้งาน 3 2.2 สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมแต่ละระดับ 5 2.3 ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Smart TV. และรีโมทคอนโทรล 9 2.4 งานศึกษา / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 15 บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา 3.1 กลุ่มตัวอย่าง 19 3.2 เครื่องมือในการดำเนินศึกษา 19 3.3 ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน 21 3.4 การรวบรวมข้อมูล 21 3.5 การวิเคราะห์และสรุปผล 21 บทที่ 4 ผลการศึกษา 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการใช้งาน 24 ของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย


สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล 30 5.2 อภิปรายผล 31 5.3 ข้อเสนอแนะ 32 บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบเสนอโครงร่างโครงงาน ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคผนวก ค ภาพประกอบ ภาคผนวก ง แบบสอบถาม ภาคผนวก จ แบบรายงานผลการนำไปใช้ประโยชน์ ประวัติผู้จัดทำ


ง สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศของกลุ่มตัวอย่าง 24 ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคคลด้านช่วงอายุ 25 ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา 25 ตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอาชีพ 26 ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้านการออกแบบ 26 รูปเล่มของคู่มือ ตารางที่ 6 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหาในคู่มือ 27 การใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ตารางที่ 7 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้านการนำไปใช้ 28 ประโยชน์


จ สารบัญรูปภาพ เรื่อง หน้า ภาพที่ 1 ห้องพักโรงแรมระดับ 1 ดาว 5 ภาพที่ 2 ห้องพักโรงแรมระดับ 2 ดาว 6 ภาพที่ 3 ห้องพักโรงแรมระดับ 3 ดาว 6 ภาพที่ 4 ห้องพัก Standard โรงแรม 4 ดาว 7 ภาพที่ 5 ห้องพัก Deluxe โรงแรม 4 ดาว 7 ภาพที่ 6 ห้องพักโรงแรม 5 ดาว 8 ภาพที่ 7 ห้องประชุมของโรงแรม 5 ดาว 8 ภาพที่ 8 ภาพสระว่ายน้ำที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนรวมของโรงแรม 9 ภาพที่ 9 ห้องฟิตเนสที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม 9 ภาพที่ 10 ภาพ Smart TV. 11 ภาพที่ 11 ปุ่มสั่งงานด้วยเสียงบนรีโมทคอนโทรล 13 ภาพที่ 12 ปุ่ม Netflix บนรีโมทคอนโทรล 13 ภาพที่ 13 ปุ่มดูหนัง True ID บนรีโมทคอนโทรล 14 ภาพที่ 14 ปุ่มเช็ครายการทีวีและช่องทีวี 14 ภาพที่ 15 ภาพรีโมทคอนโทรล 15


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แผนกวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มีบริการห้องพักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เหมือนโรงแรมทั่วไปและมี Smart TV. ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแต่บางครั้งกลับเป็นปัญหาของผู้ที่มา ใช้บริการโดย Smart TV. เป็นโทรทัศน์ที่ควบคุมการทำงานผ่านทางรีโมทคอนโทรลและใช้งานค่อนข้าง ยาก ผู้ที่มาใช้บริการห้องพักมักจะพบปัญหาในการใช้ Smart TV. เพราะมีขั้นตอนในการเปิดใช้งานที่ ซับซ้อน บางครั้งก็จะมีปัญหาในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือการไม่แสดงผลบนหน้าจอ ทำให้ผู้ที่มาใช้ บริการห้องพักบางท่านไม่สามารถเปิดใช้งาน Smart TV. จนเกิดความไม่พอใจในบริการภาพรวม สาเหตุที่ทำให้ผู้มาใช้บริการห้องพักมีปัญหาในการเปิดใช้งาน Smart TV. คือinterphase ในการ ใช้งาน Smart TV นั้นเนื่องจากมีการควบคุมและใช้งานค่อนข้างยากที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมผ่านทางรีโมท คอนโทรลซึ่งในการที่จะเปลี่ยนไปยังเมนูต่างๆ จะต้องกดปุ่มในการควบคุมตำแหน่งเคอร์เซอร์หลายครั้ง มากกว่าที่จะเข้าถึงเมนูที่ต้องการและการเปิดวีดีโอบาง Application อาจจะใช้เวลาโหลดนานกว่าปกติ อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัยผู้ใช้บริการบางรายไม่เคยมีประสบการณ์การใช้งานมาก่อน ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะออกแบบคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย โดยมีรายละเอียด การใช้รีโมทคอลโทรล ฟังก์ชั่นในการเปิดใช้งาน Smart TV. การเลือกเมนู ที่จะมีทั้ง Netflix YouTube และช่องทีวีทั่วไป จนถึงการแก้ปัญหาระบบการทำงานของ Smart TV. ที่ให้ใช้เวลานานในการรอ ผู้จัดทำ จึงได้จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. เพื่อแก้ปัญหาการที่ผู้มาใช้บริการห้องพักไม่สามารถเปิดใช้งาน ได้ด้วยตนเองและสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ผู้มาใช้บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำการใช้งาน TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้อย่างถูกต้อง 1.3 ขอบเขตโครงงาน 1.3.1 เชิงปริมาณ คู่มือการใช้งาน Smart TV. ห้องพักละ 1 ชุด ทั้งหมด 10 ชุด


2 1.3.2 เชิงคุณภาพ คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย มีรูปแบบที่สวยงาม ตัวอักษรชัดเจนอ่านง่าย มีรูปภาพประกอบและนำไปใช้ได้จริง 1.3.3 ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2565 ถึง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 สถานที่ดำเนินงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 167 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.4.1 ผู้มาใช้บริการห้องพักมีความพึงพอใจกับคู่มือการใช้งาน Smart TV. 1.5 นิยามศัพท์ คู่มือ คือ สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับรีโมทคอนโทรล เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับ การปฏิบัติหรือแนะนำวิธีการใช้งานรีโมทคอนโทรลในห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สิ่งอำนวยความสะดวกคือรีโมทคอนโทรลที่ใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักเพื่อใช้ในการ เปิดสื่อบันเทิงให้แก่ผู้เข้าพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่


3 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาเรื่อง คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ จากเอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 ความหมายและความสำคัญของคู่มือการใช้งาน 2.2 สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมแต่ละระดับ 2.3 ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Smart TV. และรีโมทคอนโทรล 2.4 งานศึกษา / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความหมายและความสำคัญของคู่มือการใช้งาน คู่มือการทำงาน (Manual) หมายถึง “เอกสารขั้นตอนการทำงาน” เป็นเอกสารที่อธิบายว่าต้อง ทำอะไรตามลำดับขั้นตอนไหนอย่างชัดเจน จริงๆ แล้วคู่มือมีหลากหลายประเภท แต่โดยหลักที่ใช้กันคือ “คู่มือการปฏิบัติงาน” คู่มือการปฏิบัติงานจะระบุภาพรวมของงาน แนวคิดในการทำงาน ขั้นตอนการ ทำงาน ฯลฯ ไว้ เช่น “ข้อควรระวังในการดูแลสินค้าxx” หรือ “ลำดับขั้นตอนการควบคุมการทำงานเครื่อง xx” เป็นต้น เมื่อมีการระบุว่า “ใคร” “ทำอะไร” “ที่ไหน” “เมื่อไหร่” ฯลฯ ไว้ คนที่อ่านก็สามารถทำงาน ได้ง่าย ถ้าไม่มีคู่มือ ไม่ใช่แค่ทำงานช้าลง แต่คุณภาพการทำงานก็จะถดถอยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อผลประกอบการบริษัทโดยรวม สามารถพูดได้ว่าการเอาคู่มือเข้ามาใช้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสังคม ยุคปัจจุบันที่เนื้อหางานมีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่คู่มือการทำงานช่วยเสริมให้การทำงานคือ “ความชัดเจนและมาตรฐานของงาน” วิธีการและ ความรวดเร็วในการทำงานของแต่ละคนต่างกัน เพราะไม่มีใครที่เหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นระดับ ความสำเร็จเมื่อเที่ยบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้จึงแตกต่างกันด้วย แต่ในการทำงานเป็นองค์กรจำเป็นจะต้อง เดินหน้าไปพร้อมๆ กัน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ และการทำงานไม่ใช่สิ่งที่ทำคนเดียวเพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้ให้ชัดเจน ในคู่มือจึงต้องมีฟังก์ชั่นที่สามารถแชร์ข้อมูลและ ความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ


4 นอกจากนี้ อีกหนึ่งบทบาทสำคัญคือการทำให้งาน “เป็นมาตรฐาน” เดียวกัน เพื่อให้พนักงานทุกคน สามารถทำงานในระดับเดียวกันได้ การใส่กระบวนการทำงานที่เหมาะที่สุดลงไปในคู่มือจะผลักดันให้การ ทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ข้อดีของการใช้คู่มือการทำงานมีอะไรบ้าง สิ่งที่ทุกคนนึกถึงก็คงหนีไม่พ้น “การทำให้เป็น มาตรฐาน” การทำให้เป็นมาตรฐานไม่ได้มีประโยชน์ต่อตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อบริษัท เป็นอย่างมากด้วย 1 งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับบริษัทแล้วการทำให้งานมีประสิทธิภาพเป็นประเด็นใหญ่ประเด็นหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งวิธีที่ จะทำให้งานมีประสิทธิภาพนั้นมีหลากหลายวิธี และในบรรดาวิธีเหล่านั้นเราสามารถพูดได้เลยว่าการสร้าง คู่มือถือเป็นวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายและส่งผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม การแชร์วิธีคิดในการทำงานที่ถูกต้องและขั้นตอน การทำงานที่มีประสิทธิภาพนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานและเพิ่มคุณภาพงานได้ 2 คุณภาพงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน เมื่อเป็นบริษัทการทำงานจึงไม่ใช่ทำคนเดียวแต่เป็นการขับเคลื่อนไปด้วยกันทั้งองค์กร ด้วยเหตุนี้ สมาชิกในองค์กรจึงต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ร่วมมือสร้างผลงานไปด้วยกัน ถึงมีสักคนหนึ่งที่มี ความสามารถทำงานได้ดี แต่ถ้างานไปติดขัดที่ขั้นตอนอื่น ประสิทธิภาพการทำงานของทั้งทีมก็ยังคงแย่ เหมือนเดิม ตรงจุดนี้เองที่คู่มือเข้ามามีบทบาทสำคัญ การใช้คู่มือการทำงาน หรือ SOP จะช่วยเพิ่มความรู้ และทักษะที่จำเป็นให้กับสมาชิกทุกคนในองค์กร หากทำงานด้วยคุณภาพที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ได้ในทุก กระบวนการ สภาวะคอขวดก็จะหายไปและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นในที่สุดการจะทำให้ คุณภาพงานเป็นมาตรฐานเดียวกันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา แต่ถ้ามีคู่มือการทำงาน หรือ SOP ก็จะช่วยย่น ระยะเวลาไปได้ สำหรับองค์กรที่กำลังมองเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอยู่ ลองพิจารณานำคู่มือ การทำงาน หรือ SOP เข้ามาช่วยดูก็น่าจะดีไม่น้อย 3 ทุกคนสามารถแชร์Know-how ได้ อย่างที่ได้บอกไว้ในหัวข้อด้านบนว่าการทำงานไม่ได้ทำด้วยคนคนเดียว การเปลี่ยนแผนกหรือ เปลี่ยนงาน ที่ได้รับมอบหมายอย่างกระทันหันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นแต่ ไม่ได้มีการแชร์ Know-how ในการทำงานไว้ งานก็ไม่สามารถเดินหน้าอย่างราบรื่นได้ยิ่งคนที่รับผิดชอบ งานเดียวต่อเนื่องมานานก็จะมีวิธีการทำงานเฉพาะของตนเองที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงแต่ ความรู้เหล่านั้นคงเป็น Know-how ที่สั่งสมอยู่ในตัวคนคนนั้นเท่านั้น สมาชิกคนอื่นไม่สามารถล่วงรู้ได้ หรือที่เรียกว่า “ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)” การใช้คู่มือการทำงาน


5 หรือ SOP จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแชร์ Know-how ที่จะสร้างผลสำเร็จในการทำงานและส่งผลต่อ การเพิ่มประสิทธิภาพของงานในองค์กรโดยรวม 2.2 สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมแต่ละระดับ 1) สำหรับสิ่งอำนวยความสะอวดภายในโรงแรมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ก็คือสิ่งอำนวย ความสะดวกภายในห้องพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนรวมที่โรงแรมจัดสรรไว้ให้ ซึ่งในแต่ละโรงแรม ก็จะมีความแตกต่างออกไปตามมาตรฐาน (ระดับ 1 – ระดับ 5) ภายในห้องพักของทุกโรงแรมก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่แตกต่างกัน อาทิเช่น 1) โรงแรมระดับ 1 ดาว คือ โรงแรมที่มีขนาดเล็ก ห้องพักมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตารางเมตร พร้อมเตียงขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า โต๊ะเก้าอี้ สิ่งอำนวยความสะดวกและเฟอร์นิเจอร์เล็ก ๆ พอใช้ มีห้องน้ำ ห้องส้วมเพียงพอในลักษณะของการใช้ร่วมกัน มีบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้มาพัก เท่านั้น รูปภาพที่ 1 ห้องพักโรงแรมระดับ 1 ดาว ที่มา: https://images.trvl-media.com 2) โรงแรมระดับ 2 ดาว คือ โรงแรมที่มีการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ มีห้องพักขนาด ไม่เล็กกว่า 14 ตารางเมตร มีห้องน้ำในตัว มีโซ่คล้องประตู เตียงขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า โต๊ะเก้าอี้ โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้วขึ้นไป โทรศัพท์ติดต่อภายใน ห้องน้ำเป็นแบบชักโครก มีผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ภายใน โรงแรม มีอาหารครบครันขึ้น แต่ไม่บริการอาหารและเครื่องดื่มกับบุคคลภายนอก


6 รูปภาพที่ 2 ห้องพักโรงแรมระดับ 2 ดาว ที่มา: https://images.trvl-media.com 3) โรงแรมระดับ 3 ดาว คือ โรงแรมที่มีขนาดห้องพักไม่เล็กกว่า 18 ตารางเมตร ห้องพักมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง โทรทัศน์ 14 นิ้วพร้อมรีโมท ตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ มีอ่างอาบน้ำ ระบบน้ำร้อนเย็น สบู่โรงแรม หมวกอาบน้ำ ผ้าเช็ดตัว ภายในโรงแรมมีคอฟฟี่ช็อป ห้องประชุม ศูนย์ธุรกิจ ห้องน้ำสาธารณะ มีบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับบุคคลภายนอก รูปภาพที่ 3 ห้องพักโรงแรมระดับ 3 ดาว ที่มา: http://www.royalviewresort.com/pictures/studioroom.png 4) โรงแรมระดับ 4 ดาว คือ โรงแรมขนาดใหญ่ ตกแต่งดีเป็นพิเศษ มาตรฐานสูง ในด้านบริการและความสะดวกสบาย มีห้องพักระดับมาตรฐานกว้างกว่า 24 ตารางเมตร ห้องชุดมีบริการ ให้เลือก 2 แบบ ห้อง Standard ห้อง Deluxe เตียงขนาดไม่น้อยกว่า 3.5 ฟุต โทรทัศน์ขนาด 20 นิ้ว


7 ขึ้นไปมีตู้เย็นมินิบาร์ กระติกต้มน้ำร้อนไฟฟ้าพร้อมกาแฟ ถุงซักผ้า เสื้อคลุมอายน้ำ โทรศัพท์ภายในและ ต่างประเทศได้โดยตรง ภายในห้องน้ำมีอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วน โฟมอาบน้ำ แชมพูโรงแรม ผ้าเช็ดมือ ชุด Sewing Kit ไดร์เป่าผม ภายในโรงแรมมีห้องอาหาร ห้องฟิตเนส ห้องอบไอน้ำ ห้องนวด สระว่ายน้ำ ศูนย์ธุรกิจ ห้องประชุมใหญ่ และ ย่อยอีกไม่น้อยกว่า 2 ห้อง มีระบบตรวจเช็คและอุปกรณ์ ด้านความปลอดภัยครบถ้วน รูปภาพที่ 4 ห้องพัก Standard โรงแรม 4 ดาว ที่มา: https://www.novotelbkk.com รูปภาพที่ 5 ห้องพัก Deluxe โรงแรม 4 ดาว ที่มา: https://images.trvl-media.com 5) โรงแรมระดับ 5 ดาว คือ โรงแรมขนาดใหญ่ประเภทหรูหรา มีมาตรฐานสากล ระดับสูงในทุกด้านทั้งด้านห้องพัก ห้องอาหาร การบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีห้องพักขนาด 30 ตารางเมตร เตียงขนาดไม่น้อยกว่า 4 ฟุต โทรทัศน์ 20 นิ้วขั้นไป ตู้เย็น มินิบาร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ ห้องน้ำขนาดใหญ่ สุขภัณฑ์สะอาดสวยงาม พร้อมเครื่องชั่งน้ำหนัก อุปกรณ์ของใช้ในห้องน้ำ ครบถ้วน ภายในโรงแรมมีห้องฟิตเนส มีอุปกรณ์ออกกำลังกายไม้น้อยกว่า 7 ชนิด มีห้องอบไอน้ำ


8 อ่างจากุชชี่ ห้องนวด สระว่ายน้ำ ห้องประชุมใหญ่อุปกรณ์ครบถ้วน ห้องประชุมขนาดย่อยไม่ต่ำกว่า 4 ห้อง มีระบบความปลอดภัยที่ทันสมัย รูปภาพที่ 6 ห้องพักโรงแรม 5 ดาว ที่มา: https://nocnoc.com/ รูปภาพที่ 7 ห้องประชุมของโรงแรม 5 ดาว ที่มา: https://d2e5ushqwiltxm.cloudfront.net ในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนรวมที่โรงแรมจัดสรรก็จะมีอยู่ภายในพื้นที่ของโรงแรม เป็นโซนต่างๆ ไว้ให้บริการแก่ลูกค้าที่มาเข้าพัก จุดประสงค์ก็เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสบายกาย สบายใจ พักผ่อนตามอัธยาศัย โดยจะมีตั้งแต่ห้องอาหารซึ่งจะบริการอาหารไว้ให้ด้วย ห้องประชุมไว้ให้ลูกค้า ได้จัดประชุมและห้องจัดเลี้ยงมากกว่า 2 ห้อง ห้องออกกำลังกาย (จำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกายขึ้นอยู่ กับแต่ละโรงแรมจะจัดเตรียม) ห้องซาวหน้า/อบไอน้ำโดยจะแบ่งเป็นห้องผู้ชายและผู้หญิง สระว่ายน้ำ แบบกลางแจ้ง ซึ่งในบางโรงแรมจะมีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและดาดฟ้าก็จะมีเตียงให้นอนอาบแดดด้วย ร้านทำผม ร้านดอกไม้ ร้านกิฟท์ช็อปไว้ให้ซื้อของด้วย มีที่จอดรถในอาคารและกลางแจ้งรองรับลูกค้า


9 ที่มีรถยนต์จะได้ไม่ต้องจอดซ้อนคันกัน มี Wi-Fi ให้ด้วย (ทั้งในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง) ห้องบริการ ทางการแพทย์โดยจะมีแพทย์ตลอด 24 ชม. ห้องพี่เลี้ยงเด็ก ห้องสำหรับสัตว์เลี้ยง ห้องน้ำส่วนกลาง ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ รวมถึงห้องซักรีด/ซักแห้งที่มีเครื่องซัก-รีดผ้าขนาดใหญ่ให้บริการด้วย รูปภาพที่ 8 ภาพสระว่ายน้ำที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนรวมของโรงแรม ที่มา: https://www.dolce-valley-forge-hotel.com รูปภาพที่ 9 ห้องฟิตเนสที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม ที่มา: https://www.novotelbkk.com 2.3 ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน Smart TV. และรีโมทคอนโทรล 1) Smart TV คือการรวบรวมเทคโนโลยีสมัยใหม่มาไว้ในโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต และสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ ของตัวเองได้ ในปัจจุบัน Smart TV มีหลายยี่ห้อ


10 ให้เลือกซื้อตามจุดประสงค์การใช้งาน ราคาก็สามารถจับต้องได้ไม่ได้สูงเหมือนสมัยก่อน ยิ่งถ้ามีโปรโมชัน ผ่อนกับบัตรเครดิต ก็ยิ่งทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น การเลือกใช้สมาร์ททีวีเป็นอีกขั้น ของความสะดวกสบายที่พร้อมเปิดโลกความบันเทิงให้คุณได้พักผ่อนไปกับการชม Content ได้ตามต้องการ คุณสมบัติที่ Smart TV ต้องมี คือ Content ที่หลากหลาย สิ่งที่สำคัญที่สุดของสมาร์ททีวีคือ ความหลากหลายของ Content ที่จะนำเสนอ ความสามารถในการเข้าถึงการให้บริการของ Steaming ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Amazon, YouTube รวมถึง Content กีฬาและควรที่จะต้องสามารถรับ สัญญาณของเคเบิลทีวีได้ ประมวลผลการค้นหารวดเร็ว ไม่เพียงจำนวน Content ที่มีให้มากมาย แต่การเข้าถึง Content เหล่านั้นก็สมควรที่จะต้องมีความรวดเร็วเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน และต้องเป็นระบบที่ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายช่องทาง ตัวช่วยในการแนะนำ Content สมาร์ททีวีที่ดีนั้นสามารถช่วยแนะนำ Content ที่เหมาะสม ก่อนที่จะค้นหา ซึ่งนับว่าสะดวกมากๆ สำหรับผู้ใช้งานในปัจจุบัน ที่ค่อนข้างใช้เวลานานในการตัดสินใจ เลือกสิ่งที่จะดู โดยสมาร์ททีวีในปัจจุบันนั้นมีรูปแบบในการรับชมและค้นหา Content ที่ใช่โดยเฉพาะ พร้อมการแจ้งเตือนเมื่อมีอัพเดทใหม่ใน Content ที่ต้องการ การใช้งานที่สะดวก สมาร์ททีวีที่ดีควรจะต้องสะดวกสบายในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน ช่อง HDMI ได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องใช้การตั้งค่าใดๆ จากรีโมท มีการใช้งานของรีโมทที่ครบถ้วน สามารถสั่งการได้ในระยะไกล ระบบเสถียรทั้งการสั่งจากรีโมทหรือการสั่งด้วยเสียงก็สามารถทำได้อย่าง แม่นยำและการใช้คำสั่งเสียงก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ควรมีในสมาร์ททีวีเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ งาน ให้มากขึ้น การเชื่อมต่อที่ง่ายดาย ก่อนตัดสินใจซื้อควรศึกษาให้ครบถ้วนเกี่ยวกับอุปกรณ์ว่าสามารถ เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้หรือไม่ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ สามารถใช้ฟังก์ชั่น Screen Mirroring แสดงผลจากสมาร์ทโฟนขึ้นจอใหญ่ได้


11 รูปภาพที่ 10 ภาพ Smart TV. ที่มา: https://beebom.com/wp-content/uploads/2020/12/2-5.jpg ความแตกต่างระหว่าง Smart TV.กับแอนดรอยด์ทีวีคือSmart TV มีการใช้งานที่ง่ายเพียงแค่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีภาพและเสียงคมชัดการอัปเดตของระบบและแอปพลิเคชั่นที่ค่อนข้างจะเสถียรสูง พร้อมการปฏิบัติงานของระบบที่เหมือนกับแอปเปิล จึงไม่ต้องกังวลว่าไวรัสหรือสิ่งรบกวนต่างๆ จะเข้ามากวนใจ ถึงแอนดรอยด์ทีวีจะมีแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายมากกว่า แต่ความเสถียรก็ยังไม่สามารถ สู้กับสมาร์ททีวีได้ ด้วยระบบต่างๆ ที่สมาร์ททีวีออกแบบมาให้เข้าถึงทุกความต้องการของผู้ใช้งาน ได้หลากหลาย การดำเนินการเกี่ยวกับระบบต่างๆ แม้จะมีการคล้ายคลึงกันแต่ระบบ Smart TV ก็ยังคง ตอบโจทย์ในการใช้งานของคุณได้มากกว่า ลูกเล่นของทีวีไม่ว่าจะเป็นระบบทัชสกรีนหรือจดจำใบหน้า ก็มีความสะดวกสบายและเป็นความสามารถที่ทำให้สมาร์ททีวีแตกต่างจากแอนดรอยด์ทีวีอย่างชัดเจน 2) รีโมทคอนโทรล คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการควบคุมระยะไกลหรือclicker เป็นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำงานของอุปกรณ์อื่นจากระยะไกลมักจะไร้สาย ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ , การควบคุมระยะไกลสามารถใช้ในการทำงานของอุปกรณ์เช่นโทรทัศน์ , เครื่องเล่นดีวีดีหรือเครื่องใช้ ภายในบ้านอื่น ๆ รีโมทคอนโทรลช่วยให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลจากความสะดวกสำหรับการ ควบคุมโดยตรง ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อใช้ในระยะทางสั้นๆ นี่เป็นคุณสมบัติอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ เป็นหลัก ในบางกรณี รีโมทควบคุมอนุญาตให้บุคคลสั่งงานอุปกรณ์ที่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงได้เช่น เมื่อเปิดประตูโรงรถ ถูกกระตุ้นจากภายนอก การควบคุมระยะไกลโทรทัศน์ในช่วงต้น (1956-1977) ใช้อัลตราโซนิกเสียง รีโมตคอนโทรลในปัจจุบันมักเป็นอุปกรณ์อินฟราเรดสำหรับผู้บริโภคซึ่งส่งพัลส์รังสี


12 อินฟราเรดที่เข้ารหัสแบบดิจิทัล ควบคุมฟังก์ชันต่างๆ เช่น พลังงาน ระดับเสียง ช่อง การเล่น การเปลี่ยนแทร็ก ความร้อน ความเร็วพัดลม และคุณสมบัติอื่นๆ มากมาย รีโมตคอนโทรลสำหรับอุปกรณ์ เหล่านี้มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาไร้สายขนาดเล็กที่มีปุ่มต่างๆ พวกเขาจะใช้ในการปรับการตั้งค่าต่างๆ เช่น โทรทัศน์ช่องหมายเลขติดตามและปริมาณ รหัสการควบคุมระยะไกลและด้วยเหตุนี้อุปกรณ์ควบคุม ระยะไกลที่จำเป็น มักจะเฉพาะสำหรับสายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม มีรีโมทแบบสากลซึ่งเลียนแบบรีโมต คอนโทรลที่ทำขึ้นสำหรับอุปกรณ์แบรนด์หลักๆ ส่วนใหญ่ รีโมทคอนโทรลภายในบ้านเป็นกล่องที่มีปุ่มอยู่ด้านหน้า รีโมททำงานด้วยแบตเตอรี่ และส่งสัญญาณในรูปของรังสีอินฟราเรด (0.75 - 1.4 ไมครอน) บุคคลไม่รู้จักคลื่น แต่รับรู้โดยกลไก การรับการออกแบบมีไมโครเซอร์กิตที่ไม่ได้บรรจุหีบห่อหรือหีบห่อซึ่งอยู่บนแผ่นอิเล็กทริกและบรรจุด้วย พอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติกเรซิน มีส่วนประกอบพื้นฐานบนแผงควบคุมของรีโมทคอนโทรลสากล: -ปุ่มเปิดปิด, การเลือกอุปกรณ์; -การควบคุมระดับเสียงและการสลับช่อง การตั้งค่าวันที่และเวลา -ปุ่มตัวเลขสำหรับป้อนตัวเลข -ปุ่มการเขียนโปรแกรม -จอยสติ๊กสำหรับการนำทางผ่านเมนู -กุญแจซึ่งผู้ใช้เลือกเอง -LCD หรือหน้าจอสัมผัสแสดงข้อมูลปัจจุบัน วิธีการทำงานของรีโมทคอนโทรล คือ การแผ่รังสีขององค์ประกอบ LED ซึ่งกำหนดค่าเครื่องรับ และรีโมทคอนโทรล ค่าความถี่ที่มีแอมพลิจูดคงที่มักจะไม่เปลี่ยนแปลง - คือ 36, 38 หรือ 40 kHz (ปุ่ม, Canon, Pro Black) ไม่ค่อยได้ใช้การอ่าน 56 kHz (Sharp, Runva, Doorhan) ผลิตภัณฑ์ของ Bang & Olufsen ทำงานที่ 455 kHz ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่หายาก หากความถี่ของเครื่องรับและตัวส่ง ไม่ตรงกัน รีโมทคอนโทรลจะทำงาน แต่ความไวของรีโมทจะลดลง การระเบิดของพัลส์แบบมอดูเลต หลายครั้งสร้างการส่งสัญญาณแบบเข้ารหัส และเครื่องรับประกอบด้วยตัวส่ง วงจรกรอง และตัวตรวจจับ ความถี่ ก่อนหน้านี้มีเพียงคำสั่งพื้นฐานของอุปกรณ์ควบคุมเท่านั้นที่วางอยู่บนคอนโซลส่วนควบคุมส่วน


13 ใหญ่อยู่ในตัวเครื่องของเครื่องใช้ในครัวเรือน สถานการณ์เปลี่ยนไป เป็นไปได้ที่จะควบคุมการระบาย อากาศ, ประตู, ไฟ, อุปกรณ์สัญญาณไฟจราจรด้วยอุปกรณ์ระยะไกลเท่านั้น รายละเอียดฟังก์ชันการใช้งาน 'รีโมททรูไอดี 1.สั่งงานด้วยเสียงง่าย ๆ ผ่านรีโมท ฟังก์ชันนี้คือฟังก์ชันสั่งงานด้วยเสียง เพียงแค่กดปุ่ม ไมโครโฟนที่อยู่บนรีโมททรูไอดี จากนั้นก็ออกคำสั่งที่ต้องการ ให้พูดโดยที่รีโมทอยู่ใกล้ ๆ ปาก รูปภาพที่ 11 ปุ่มสั่งงานด้วยเสียงบนรีโมทคอนโทรล ที่มา: https://cms.dmpcdn.com 2.ปุ่มสั่งงาน Netflix สำหรับผู้คนที่ต้องการจะดูหนัง ซีรีส์ ลูกค้า Netflix ก็สามารถ รับชม Netflix ผ่านทางกล่อง TrueID TVได้ ที่สำคัญขั้นตอนการรับชมง่าย ๆ เพียงแค่กดปุ่มที่มีคำว่า Netflix ที่อยู่บนรีโมท จากนั้นก็ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบ เท่านี้ก็สามารถเลือกดูหนัง หรือซีรีส์ เรื่องที่ต้องการได้แล้ว รูปภาพที่ 12 ปุ่ม Netflix บนรีโมทคอนโทรล ที่มา: https://cms.dmpcdn.com


14 3. ดูหนังฟรีๆ ได้ที่ True ID หนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่มีบนกล่องทรูไอดีทีวีก็คือ แอพพลิเคชั่น True ID ที่มีหนัง การ์ตูนสำหรับเด็ก รวมถึงรายการดีๆ และกีฬาหลากหลายให้เลือกชม วิธีใช้คือกดปุ่มรีโมทที่มีคำว่า Movie จากนั้นกดรีโมทเพื่อเลือก โดยเลื่อนซ้ายขวาขึ้นและลง จนเจอรายการที่ถูกใจ กด ok ที่รีโมททรูไอดีอีกครั้ง รายการที่ต้องการรับชมก็จะแสดงขึ้น รูปภาพที่ 13 ปุ่มดูหนัง True ID บนรีโมทคอนโทรล ที่มา: https://cms.dmpcdn.com 4. เช็ครายการทีวีและช่องทีวีผู้ใช้งานอาจจะต้องการใช้งานในส่วนนี้ เมื่อต้องการ จะดูช่องอะไร ก็สามารถกดหมายเลขนั้น ๆ เพื่อรับชมได้เลย แต่ถ้าหากอยากรู้อะไรที่ละเอียดกว่านั้นเช่น แผนผังรายการ เวลาฉายรายการ หรือช่องไหนมีรายการอะไรน่าสนใจบ้าง ก็สามารถกดรีโมทเพื่อดูได้ เพียงแค่ กดที่ Live TV ช่องที่เราดูอยู่ก็จะถูกย่อขนาดให้เล็กลง จากนั้นหน้าจอก็จะแสดงข้อมูลช่อง ทั้งหมด พร้อมหมวดหมู่ให้เลือก ไม่ว่าจะ กีฬา ข่าว ดิจิตอลทีวี รายการเด็ก เป็นต้น รูปภาพที่ 14 ปุ่มเช็ครายการทีวีและช่องทีวี ที่มา: https://cms.dmpcdn.com


15 ประโยชน์ของรีโมทคอนโทรล คือ การเปลี่ยนไปใช้รีโมตคอนโทรลช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเดินไปรอบ ๆ บ้านเพื่อเปิดไฟ ตั้งค่าพารามิเตอร์ของปากน้ำในห้อง ในระบบ อัตโนมัติ บุคคลสามารถใช้รีโมตคอนโทรลเพื่อให้งานที่บ้านมีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องลุกจากเตียง การตอบสนองระยะไกลจะทำงานได้สำเร็จเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากตัวดำเนินการ เช่น เมื่อประสานงานกับ เครื่องบิน เครื่องบิน รถยนต์ บีคอน, ทวนสัญญาณ, สถานีวิทยุสื่อสารถูกควบคุมจากระยะไกลและ ไม่ต้องการบุคคลโดยตรง เกมเช่น Xbox ก่อนหน้านี้ใช้ระบบการสื่อสารแบบมีสาย แต่การแทนที่ด้วย รีโมทไร้สายทำให้ผู้เล่นมีทางเลือกมากขึ้น รูปภาพที่ 15 ภาพรีโมทคอนโทรล ที่มา: https://cf.shopee.co.th/file/4ca6033b0bd9967ee2d564eace6270ab 2.4 งานศึกษา / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าบทความ งานศึกษา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ความสิริกานต์ ทองพูน (2564) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจที่มีต่อสิ่งอำนวยสะดวก ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุ กรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิจัย ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกใน โรงแรมและที่พักของ ผู้มาใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้มาใช้บริการโรงแรมที่เป็น ผู้สูงอายุ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ


16 ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.2 มีอายุระหว่าง 60-64 ปีคิดเป็นร้อยละ 57.75 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 70.25 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 58.62 มีอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว คิด เป็นร้อยละ 41.5 รายได้ต่อเดือนมีรายได้ระหว่าง 15,000 - 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 59.5 เมื่อ วิเคราะห์ความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม พบว่าผู้มาใช้บริการที่เป็น ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในด้านต่างๆ ได้แก่ ความพึงพอใจต่อป้ายแสดงสิ่งอำนวยความ สะดวกอยู่ใน ระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการมีทางลาดและลิฟต์อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจที่มีต่อการมีบันได อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่จอดรถสำหรับ ผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อทางเข้าอาคาร ทางเดินระหว่างอาคารและทางเชื่อมระหว่าง อาคารสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการมีประตูสำหรับผู้สูงอายุอยู่ใน ระดับ มากที่สุด ความพึงพอใจที่มีต่อการมีห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจที่มีต่อการ มีจุดบริการอื่นๆสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกใน โรงแรม สำหรับผู้ใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุ โรงแรมควรมีการแสดงให้ผู้เข้าพักเห็นอย่างชัดเจนว่ามีการให้ ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจว่าจะได้รับความสะดวก และความปลอดภัย รวมถึงโรงแรมควรมีการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงาน เพิ่มทักษะให้มีความรู้ในเรื่อง ของการบริการด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือ ปรวีร์ คีรี (2562) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการ บริการของผู้ใช้บริการ โรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านราคาและด้านการรับรู้ที่ส่งผลต่อความ คาดหวังในคุณภาพการบริการของ ผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังในคุณภาพ การบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของ ผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขต สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาระดับความ คาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ ของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดในการ เก็บรวมรวมข้อมูล จากนักท่องเที่ยวใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบ สมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 20 - 39 ปี สถานภาพ โสด รายได้ต่อเดือน


17 15,001 – 30,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อน ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ ของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบ สมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านราคาและปัจจัยการรับรู้ ส่งผลต่อคาดหวังในคุณภาพการบริการ ของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ความคาดหวังในคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของ ผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์(2562) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การวิจัยเรื่อง “ความต้องการของ นักท่องเที่ยวในการเลือกที่พักหรือโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม” การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าพักโรงแรมทั้ง 4 แห่งในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมตักสิลา โรงแรมสยามธาราพาเลซ โรงแรมยัวร์เพลส และ โรงแรมบีแอนบีสตูดิโอรูม จำนวน ทั้งสิ้น 400 คน โดยผู้วิจัย ใช้แบบสอบถามและ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ความแปรปรวนทาง เดียว (One-way analysis of variance:Oneway ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่เป็นพนักงาน /ลูกจ้างบริษัท ถัดมาได้แก่ ค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว /ข้าราชการ /พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามลำดับ มีรายได้ 10,001-15,000 บาท ต่อเดือนและรายได้ในช่วง 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เข้าพักโรงแรม โรงแรมตักสิลา โรงแรมสยามธาราพาเลซ โรงแรมยัวร์เพลส และ โรงแรมบีแอนบีสตูดิโอรูม ตามลำดับ วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ของการใช้บริการโรงแรม คือ มาประชุม และพักผ่อน ติดต่อธุรกิจ ตามลำดับ จำนวนคืนที่เข้าพักโรงแรมส่วน ใหญ่ใช้เวลาในการพัก จำนวน 1 คืน และ 2 คืน 3 คืน มากกว่า 3 คืน ตามลำดับ 2. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ด้านพนักงานมีความรู้ความสามารถในการให้บริการ โรงแรมมีจำนวนห้องพักที่เหมาะสม มีการออกแบบ ตกแต่งโรงแรมได้อย่างสวยงาม มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ตามลำดับและความพึงพอใจ ในระดับปานกลาง คือ โรงแรมมีการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี3. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ ด้านราคาในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของราคาอาหารและเครื่องดื่ม ความเหมาะสมของราคาห้องพัก ตามลำดับ 4. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านช่องทางการจัดจำหน่าย


18 ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจด้าน การจองห้องพักโดยตรงกับทางโรงแรม การจองห้องพัก ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตามลำดับ 5. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านการส่งเสริมทางการตลาด ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจด้านการโฆษณาโรงแรมผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ ป้ายโฆษณา นิตยสาร แผ่นพับ ฯลฯ การประชาสัมพันธ์โรงแรมร่วมกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ตามลำดับ


19 บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา ในการดำเนินโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อให้ ผู้มาใช้บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำ การใช้งาน TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้จัดทำโครงงานได้ดำเนินการศึกษาดังนี้ 3.1 กลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินโครงงาน 3.3 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย คือลูกค้า ที่มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โดยได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน 3.2 เครื่องมือในโครงงาน 3.2.1 แบบประเมินประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้จัดทำโครงงานใช้แบบประเมินประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นต่าง ๆ โดยผู้จัดทำโครงงานได้แยกแบบประเมินประสิทธิภาพออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบประเมินประสิทธิภาพ โดยสอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ โดยที่ผู้ตอบได้เลือกตอบตามความเป็นจริง (Check-list) ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ของผู้คนจำนวน 100 คน ที่มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษา เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงงานได้ใช้มาตราวัดแบบ ผู้จัดทำโครงงาน


20 ได้ใช้มาตราวัดแบบ Rating scale 5 ระดับ ตามมาตราวัดแบบลิเคิร์ท (Likert’s Scale) อ้างจาก บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ (2553) ในการวัดระดับความพึงพอใจ ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลางหรือพอใช้ 2 หมายถึง น้อยหรือต่ำกว่ามาตรฐาน 1 หมายถึง น้อยที่สุดหรือต้องปรับปรุงแก้ไข เกณฑ์การประเมินแบบสอบถามความคิดเห็น มี 5 ระดับโดยผู้จัดทำโครงงานได้เลือกวิธีการ ของเร็นสิส เอ ลิเคิร์ท ดังนี้ (Likert, Rensis A. 2504) 4.50 – 5.00 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับมากที่สุด 3.50 – 4.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับมาก 2.50 – 3.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับน้อย 1.00 – 1.49 หมายถึง เห็นด้วยอยู่ระดับน้อยมาก ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบประเมินประสิทธิภาพ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับแบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย และความคิดเห็นของผู้ตอบแบบประเมินประสิทธิภาพ 2) ผู้จัดทำโครงงานได้จัดทำแบบประเมินประสิทธิภาพเกี่ยวกับคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 3) นำแบบประเมินประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ให้กับครู ประจำวิชา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามเนื้อหาและนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 4) นำแบบประเมินประสิทธิภาพของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย มาปรับปรุง แก้ไขแล้วเสนอต่อครูประจำวิชาอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาพร้อมพิจารณา ความถูกต้องชัดเจนของภาษาที่ใช้


21 3.3 การดำเนินโครงงาน 3.3.1 การวางแผน (P) 3.3.1.1 ศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู นักเรียนนักศึกษาและผู้มาใช้ บริการห้องพักของแผนกวิชาการโรงแรม 3.3.2 ขั้นตอนดำเนินงาน (D) 3.3.2.1 ศึกษาการใช้งานของ Smart TV. 3.3.2.2 จดบันทึกข้อมูลการใช้งาน 3.3.2.3 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. 3.3.3 ขั้นตอนการตรวจสอบ (C) 3.3.3.1 ทดลองเปิดใช้งาน Smart TV. ตามคู่มือที่จัดทำ 3.3.3.2 ประเมินความถูกต้องในการใช้งาน 3.3.3.3 นำไปใช้งานจริงกับผู้ที่มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมวิทยาลัย อาชีวศึกษาเชียงใหม่ 3.3.4 ขั้นตอนประเมินติดตามผล (A) 3.3.4.1 ประเมินประสิทธิภาพของคู่มือ Smart TV. อย่างง่าย 3.3.4.2 สรุปแบบประเมินประสิทธิภาพของคู่มือ Smart TV. อย่างง่าย 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำโครงงานได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการโครงงานครั้งนี้ อย่างเป็นขั้นตอนดังนี้ 3.4.1 ผู้จัดทำโครงงานทำการแจกแบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ไปยังผู้ที่มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน โดยวิธีการเลือกแบบการสุ่มแบบง่าย ให้ผู้ตอบแบบ ประเมินประสิทธิภาพตอบด้วยตนเอง 3.4.2 การเก็บรวบรวมแบบประเมินประสิทธิภาพ ผู้จัดทำโครงงานได้เก็บรวบรวมแบบประเมิน ประสิทธิภาพด้วยตนเอง จำนวน 100 ชุด 3.4.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบประเมินประสิทธิภาพ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ 3.5 การวิเคราะห์และสรุปผล ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม


22 ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์ของแบบประเมินประสิทธิภาพ และนำข้อมูลมาประมวลผลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับการคิดค่าร้อยละ ดังนี้ 3.5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลในการวิเคราะห์ ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) สูตรการหาค่าร้อยละ เมื่อ P แทน ร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องการแปลค่าให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด 3.5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 2 แบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ไปยังไปยังผู้ที่มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 คน ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สูตรการหาค่าเฉลี่ย เมื่อ x แทน ค่าเฉลี่ย ∑x แทน ผลรวมทั้งหมดของความถี่ คูณ คะแนน N แทน ผลรวมทั้งหมดของความถี่ซึ่งมีค่าเท่ากับจำนวนข้อมูลทั้งหมด


23 สูตรการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน N แทน จำนวนคู่ทั้งหมด X แทน คะแนนแต่ละตัวในกลุ่มข้อมูล ∑x แทน ผลรวมของความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่ 3.5.3 การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบ ประเมินประสิทธิภาพแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคู่มือการใช้ง่าย Smart TV. อย่างง่าย จากข้อเสนอแนะ ของผู้ตอบแบบประเมินประสิทธิภาพในการศึกษาโครงงานผู้จัดทำโครงงานได้ทำการศึกษาเชิงปริมาณ และสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพจากแบบสอบถามออนไลน์โดยด้วยวิธีการเปรียบเทียบข้อมูล โดย วิเคราะห์แบบแผนที่เหมือนหรือแตกต่าง กันกรณีเปรียบเทียบความต่าง 3 กลุ่ม เปรียบเทียบประเด็นดังนี้ 1) ผลลัพธ์เหมือนกัน สาเหตุเหมือนกัน 2) ผลลัพธ์เหมือนกัน สาเหตุต่างกัน 3) ผลลัพธ์ต่างกัน สาเหตุ เหมือนกัน และ 4) ผลลัพธ์ต่างกัน สาเหตุต่างกัน


24 บทที่ 4 ผลการศึกษา การจัดทำโครงงาน ครั้งนี้ เป็นการออกแบบคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย โดยมี รายละเอียดการใช้รีโมทคอลโทรล ฟังก์ชั่นในการเปิดใช้งาน Smart TV. การเลือกเมนู ที่จะมีทั้ง Netflix YouTube และช่องทีวีทั่วไป จนถึงการแก้ปัญหาระบบการทำงานของ Smart TV. ที่ให้ใช้เวลานานในการรอ ผู้จัดทำจึงได้จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. เพื่อแก้ปัญหาการที่ผู้มาใช้บริการห้องพักไม่สามารถ เปิดใช้งานได้ด้วยตนเองและสร้างความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น ผู้จัดทําขอนําเสนอ ข้อมูลที่ได้ จากการสํารวจกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้คู่มือ Smart TV. อย่างง่าย โดยทำการศึกษาจำนวน 100 คน นําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 4.1 การนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ผลวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ส่วนที่ 2 ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้งาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จำนวน 100 คน ส่วนที่ 3 ผลสรุปข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างนักเรียนนักศึกษาที่ได้ทดลองใช้คู่มือ การใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จากการศึกษาคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ช่วงอายุระดับการศึกษาและอาชีพโดยหาค่าร้อยละซึ่งผลวิเคราะห์ ปรากฏดังนี้ ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ ชาย 39 39.00 หญิง 61 61.00 รวม 100 100.00


25 จากตารางที่ 1 ตารางแสดงผลวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศผู้ศึกษา ได้สรุปผล การวิเคราะห์พบว่า ผู้ที่ได้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 61 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 39 ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านช่วงอายุ อายุ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ 15-25 ปี 49 49.00 26-35 ปี 20 20.00 36-45 ปี 30 30.00 46 ปีขึ้นไป 1 1.00 รวม 100 100.00 จากตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านช่วงอายุผู้ศึกษาได้สรุปผลการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ได้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 49 รองลงมาช่วงอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 30 ช่วงอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20 และช่วงอายุ 46 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 1 ตามลำดับ ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา ระดับการศึกษา อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ มัธยมศึกษา 15 15.00 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 30 30.00 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 44 44.00 สูงกว่าปริญญาตรี 11 11.00 รวม 100 100.00 จากตารางที่ 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา ได้สรุปผลการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่าผู้ได้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาเป็น ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 44.00 ต่อมาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30 ระดับ มัธยมศึกษา ร้อยละ 15.00 และระดับสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 11.00 ตามลำดับ


26 ตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอาชีพ อาชีพ อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ นักเรียน/นักศึกษา 43 43.00 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 26 26.00 ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย 16 16.00 รับจ้างทั่วไป 10 10.00 พนักงานบริษัท 5 5.00 รวม 100 100.00 จากตารางที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอาชีพ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ ข้อมูลพบว่าผู้ได้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 43.00 ต่อมามีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26 อาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 16.00 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10 และอาชีพพนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 5 ตามลำดับ ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้งานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จำนวน 100 คน การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย โดยการหาค่าเฉลี่ย (̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) จากแบบประเมินประสิทธิภาพของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลปรากฏดังนี้ ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบรูปเล่มของคู่มือ รายการประเมิน ผลการประเมิน ̅ S.D. ผลการ ประเมิน ขนาดเล่มของคู่มือเหมาะสมกะทัดรัด 4.48 0.63 มาก สีและการออกแบบปก ของคู่มือหน้าสนใจ 4.32 0.68 มาก รูปแบบตัวอักษรอ่านง่ายและสวยงาม 4.39 0.71 มาก รวม 4.40 0.67 มาก


27 จากตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลสรุปความพึงพอใจ โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างด้านการออกแบบรูปเล่มของคู่มืออยู่ในระดับมาก (̅=4.40) เมื่อสรุปผลออกมา เป็นรายข้อพบว่า ขนาดเล่มของคู่มือเหมาะสมกะทัดรัดอยู่ในระดับมาก (̅=4.48) รูปแบบตัวอักษร อ่านง่ายและสวยงามในระดับมาก (̅=4.39) และสีและการออกแบบปกของคู่มือหน้าสนใจอยู่ในระดับ มาก (̅=4.32) ตามลำดับ ตารางที่ 6ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหาในคู่มือ การใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย รายการประเมิน ผลการประเมิน ̅ S.D. ผลการ ประเมิน เนื้อหาของคู่มืออ่านแล้วเข้าใจง่าย 4.39 0.68 มาก เนื้อหาของคู่มือมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ 4.37 0.70 มาก เนื้อหาของคู่มือตรงต่อความต้องการ 4.37 0.68 มาก การจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ เข้าใจง่าย 4.42 0.64 มาก การจัดเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันดี 4.45 0.66 มาก เนื้อหาของคู่มือช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจในหลักการใช้งานของ รีโมทคอนโทรลกับ Smart TV. 4.29 0.73 มาก รวม 4.38 0.68 มาก จากตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลสรุปความพึงพอใจ โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหาในคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย อยู่ในระดับมาก (̅=4.38) เมื่อสรุปผลออกมาเป็นรายข้อพบว่า การจัดเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันดี อยู่ในระดับมาก (̅=4.45) รองลงมาคือ การจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ เข้าใจง่ายอยู่ในระดับมาก (̅=4.42) เนื้อหาของคู่มืออ่านแล้วเข้าใจง่ายอยู่ในระดับมาก (̅=4.39) เนื้อหาของคู่มือมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ อยู่ในระดับมาก (̅=4.37) เนื้อหาของคู่มือตรงต่อความต้องการ


28 อยู่ในระดับมาก (̅=4.37) และเนื้อหาของคู่มือช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจในหลักการใช้งานของรีโมท คอนโทรลกับ Smart TV.อยู่ในระดับมาก (̅=4.29) ตามลำดับ ตารางที่ 7 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการนำไปใช้ประโยชน์ รายการประเมิน ผลการประเมิน ̅ S.D. ผลการ ประเมิน สามารถนำคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง 4.39 0.71 มาก ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 4.45 0.59 มาก สามารถแก้ปัญหาการเริ่มต้นของระบบ Smart TV. ที่เริ่มระบบ ช้าได้อย่างเข้าใจ 4.25 0.74 มาก รวม 4.36 0.68 มาก จากตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผลสรุปความพึงพอใจ โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (̅=4.36) เมื่อสรุปผลออกมาเป็น รายข้อพบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายอยู่ในระดับมาก (̅=4.45) รองลงมาคือ สามารถนำคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงอยู่ในระดับมาก (̅=4.39) และ สามารถแก้ปัญหาการเริ่มต้นของระบบ Smart TV. ที่เริ่มระบบช้าได้อย่างเข้าใจอยู่ในระดับมาก (̅=4.25) ตามลำดับ ส่วนที่ 3 ผลสรุปข้อเสนอแนะ จากผลสรุปความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้จัดทำ โครงงานได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง ได้ 2 หัวข้อดังนี้ 1. ภาพรวมด้านบวกของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อเสนอแนะด้านบวกของคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ทั้งหมดได้ว่า สามารถนำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับผู้มาใช้บริการ ห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมส่วนใหญ่และการออกแบบสีสันของรูปเล่มมีความน่าสนใจ


29 2. ภาพรวมที่ควรปรับปรุงและพัฒนาต่อคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จากการรวบรวมและสรุปข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างของผู้มาใช้บริการห้องพักของอาคาร ปฏิบัติการโรงแรมกลุ่มตัวอย่างบางท่านอยากให้ปรับปรุงและพัฒนาผู้จัดทำโครงงานรวบรวมข้อเสนอแนะ ทั้งหมดได้ว่า ควรจัดเนื้อหาหรือข้อความในเนื้อเล่มให้พอดีเพราะการเข้าเล่มอาจจะมีบางส่วนที่ ทับตัวหนังสือไปบ้างและควรตรวจสอบรูปแบบหรือประโยคภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง


30 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ผู้มาใช้บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำการใช้งาน TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้ อย่างถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพักของอาคาร ปฏิบัติการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 100 คน คือ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากการใช้งานคู่มือการ ใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ผลของการศึกษามีดังนี้ 5.1 สรุปผล 5.2 อภิปรายผล 5.3 ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล จากการศึกษาโครงงาน คู่มือการใช้ Smart TV. อย่างง่าย ได้สรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้ 5.1.1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จากการ วิเคราะห์มีผู้ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ทดลองใช้คู่มือการ ใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จำนวนทั้งหมดทั้งสิ้น 100 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 61 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.00 ส่วนใหญ่มีอายุ 15-25 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 49 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา เป็นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00 และส่วนใหญ่มีอาชีพเป็น นักเรียน/นักศึกษาจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 43.00 5.1.2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย จากการ วิเคราะห์พบว่าเกณฑ์การประเมินในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยรวมด้านการออกแบบ เท่ากับ 4.40 ค่าเฉลี่ยรวมด้านเนื้อหาในคู่มือการใช้งาน Smart TV. เท่ากับ 4.38 และด้านการนำไปใช้ ประโยชน์เท่ากับ 4.36 สรุปได้ดังนี้ ด้านการออกแบบ 1) ขนาดเล่มของคู่มือเหมาะสมกะทัดรัด ค่าเฉลี่ย 4.48 2) สีและการออกแบบปกของคู่มือหน้าสนใจ ค่าเฉลี่ย 4.32 3) รูปแบบตัวอักษรอ่านง่ายและสวยงาม ค่าเฉลี่ย 4.39


31 ด้านเนื้อหาในคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 1) เนื้อหาของคู่มืออ่านแล้วเข้าใจง่าย ค่าเฉลี่ย 4.39 2) เนื้อหาของคู่มือมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ค่าเฉลี่ย 4.37 3) เนื้อหาของคู่มือตรงต่อความต้องการ ค่าเฉลี่ย 4.37 4) การจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ เข้าใจง่าย ค่าเฉลี่ย 4.42 5) การจัดเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันดีค่าเฉลี่ย 4.45 6) เนื้อหาของคู่มือช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจในหลักการใช้งานของ Smart TV. ค่าเฉลี่ย 4.29 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ 1) สามารถนำคู่มือไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ค่าเฉลี่ย 4.39 2) ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้งานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายค่าเฉลี่ย 4.45 3) สามารถแก้ปัญหาการเริ่มต้นของระบบ Smart TV. ที่เริ่มระบบช้าได้อย่างเข้าใจ ค่าเฉลี่ย4.25 5.2 อภิปรายผล จากการศึกษาโครงงานเรื่องคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ในครั้งนี้สำเร็จตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพราะมีการวางแผนการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีการใช้งานของ Smart TV. ศึกษาค้นคว้าวิธีการคู่มือและปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานโดยรวมสามารถสรุปได้เป็นรายการ ดังนี้ 5.2.1 เพื่อให้ผู้มาใช้บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง อภิปราย ผลได้ว่า ผู้มาใช้บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วย ตนเองเพราะว่ารูปแบบตัวอักษรอ่านง่ายตามแบบประเมินด้านการออกแบบ เนื้อหาในคู่มือมีลำดับ ขั้นตอนที่สอดคล้องกันทำให้อ่านเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเปิดใช้งาน Smart TV. ขั้นตอนในการเลือกช่องเมนูต่างๆและการแก้ปัญหาระบบล่าช้าได้โดยสอดคล้องกับความหมาย และความสำคัญของคู่มือการใช้งานที่ว่าเอกสารคู่มือต้องเป็นเอกสารที่อธิบายว่าต้องทำอะไร ตามลำดับขั้นตอนไหนอย่างชัดเจนและคู่มือช่วยเสริมให้การทำงานชัดเจนและมีความรวดเร็วมากขึ้น 5.2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำการใช้งาน TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้อย่าง ถูกต้อง อภิปรายผลได้ว่า ผู้จัดทำได้เลือกนักศึกษามาจำนวน 10 คน โดยใช้วิธ๊การเลือกแบบสุ่มให้มา ทดลองใช้คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายในห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมและให้นักศึกษาที่ ถูกเลือก มาทดลองเปิด Smart TV. โดยดูวิธีการเปิด Smart TV. ทางคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย แล้วสังเกตผล พบว่านักศึกษาจำนวน 8 คน สามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ตามคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย ได้ทุกขั้นตอน ส่วนอีก 2 คน สามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ตามคู่มือการใช้งาน


32 Smart TV. อย่างง่าย ได้บางขั้นตอน สรุปได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่สามารถศึกษาวิธีการเปิดใช้งาน Smart TV. ตามคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายได้และสามารถนำไปแนะนำให้กับผู้มาใช้บริการ ห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมโดยสอดคล้องกับความหมายและความสำคัญของคู่มือที่ว่า การทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถทำงานในระดับเดียวกันได้และมี ประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ 5.3 ข้อเสนอแนะ 5.3.1 ปัญหาที่พบเจอจากการศึกษาโครงงาน การศึกษาโครงานเรื่อง “คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย” ปัญหาที่เจอคือการ จัดเนื้อหาในรูปเล่มของคู่มือไม่พอดีกับการเข้าเล่ม ทำให้การเข้าเล่มทับตัวหนังสือหรือเนื้อหา บางส่วนไป 5.3.2 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาโครงงาน การศึกษาโครงานเรื่อง “คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย” พบว่าคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์กับอาคารปฏิบัติการโรงแรมเพราะจะช่วยให้ผู้มาใช้ บริการห้องพักของอาคารปฏิบัติการโรงแรมสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 5.3.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาโครงงานนี้ในครั้งต่อไป การศึกษาโครงานเรื่อง “คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย” ควรพัฒนาให้มีขั้นตอนการ ใช้งาน Smart TV. ที่หลากหลายขึ้น และพัฒนาการออกแบบรูปเล่มให้สวยงามและโดดเด่นมากขึ้น


บรรณานุกรม อ้างอิงจากเว็บไซต์ “คู่มือคืออะไร”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://ieprosoft.com/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565. “สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม ควรมีอะไรบ้าง”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://www.dolce-valley-forge-hotel.com/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565. “มาตรฐานโรงแรมแต่ละระดับ”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://habitatgroup.co.th/blog/id/50 สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 “Smart TV คืออะไร”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://www.ktc.co.th/article/lifestyle/smarttv/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรีโมทคอนโทรล”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://hmong.in.th/wiki/Remote-control/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 “รายละเอียดฟังก์ชันการใช้งาน รีโมททรูไอดี”.(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล. https://help.trueid.net/th-en/detail/N7XX636PNB97/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565. ธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์. (2562). (ระบบออนไลน์) “ความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเลือกที่พัก หรือโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม” แหล่งข้อมูล. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127616/Thatsanapak%20Thanaporn.pdf สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม 2565 ปรวีร์ คีรี. (2562). (ระบบออนไลน์) “ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ ของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขต สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร” แหล่งข้อมูล. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3927/1/porawee_khir.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2565


สิริกานต์ ทองพูน. (2564). (ระบบออนไลน์) “ความพึงพอใจที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกใน โรงแรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุกรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” แหล่งข้อมูล file:///C:/Users/User/Downloads/theeranan สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2565


ภาคผนวก


ภาคผนวก ก แบบเสนอโครงร่างโครงงาน


1. ชื่อโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 2. ผู้รับผิดชอบโครงงาน รหัสประจำตัวนักศึกษา 65307010021 นางสาวนฤมล สมใจ ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี ที่ 1 สาขาวิชาการโรงแรม 3. ที่มาและความสำคัญ แผนกวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ มีบริการห้องพักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เหมือนโรงแรมทั่วไปและมี Smart TV. ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแต่บางครั้งกลับเป็นปัญหาของผู้ที่มา ใช้บริการโดย Smart TV. เป็นโทรทัศน์ที่ควบคุมการทำงานผ่านทางรีโมทคอนโทรลและใช้งานค่อนข้าง ยาก ผู้ที่มาใช้บริการห้องพักมักจะพบปัญหาในการใช้ Smart TV. เพราะมีขั้นตอนในการเปิดใช้งานที่ ซับซ้อน บางครั้งก็จะมีปัญหาในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือการไม่แสดงผลบนหน้าจอ ทำให้ผู้ที่มาใช้ บริการห้องพักบางท่านไม่สามารถเปิดใช้งาน Smart TV. จนเกิดความไม่พอใจในบริการภาพรวม สาเหตุที่ทำให้ผู้มาใช้บริการห้องพักมีปัญหาในการเปิดใช้งาน Smart TV. คือ interphase ใน การใช้งาน Smart TV นั้นเนื่องจากมีการควบคุมและใช้งานค่อนข้างยากที่ขึ้นอยู่กับการควบคุมผ่านทาง รีโมทคอนโทรลซึ่งในการที่จะเปลี่ยนไปยังเมนูต่างๆ จะต้องกดปุ่มในการควบคุมตำแหน่งเคอร์เซอร์หลาย ครั้งมากกว่าที่จะเข้าถึงเมนูที่ต้องการและการเปิดวีดีโอบาง Application อาจจะใช้เวลาโหลดนานกว่า ปกติอีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัยผู้ใช้บริการบางรายไม่เคยมีประสบการณ์การใช้งานมาก่อน ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะออกแบบคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย โดยมีรายละเอียด การใช้รีโมทคอลโทรล ฟังก์ชั่นในการเปิดใช้งาน Smart TV. การเลือกเมนู ที่จะมีทั้ง Netflix YouTube และช่องทีวีทั่วไป จนถึงการแก้ปัญหาระบบการทำงานของ Smart TV. ที่ให้ใช้เวลานานในการรอ ผู้จัดทำ จึงได้จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. เพื่อแก้ปัญหาการที่ผู้มาใช้บริการห้องพักไม่สามารถเปิดใช้งานได้ ด้วยตนเองและสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น 4. วัตถุประสงค์ 4.1 เพื่อให้ผู้มาใช้บริการห้องพักสามารถเปิดใช้งาน Smart TV. ได้ด้วยตนเอง 4.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถแนะนำการใช้งาน TV. ให้กับผู้มาใช้บริการห้องพักได้อย่างถูกต้อง 5. เป้าหมาย 5.1 เชิงปริมาณ 5.1.1 คู่มือการใช้งาน Smart TV. ห้องพักละ 1 ชุด ทั้งหมด 15 ชุด 5.2 เชิงคุณภาพ


5.2.1 คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย มีรูปแบบที่สวยงาม ตัวอักษรชัดเจนอ่านง่าย มี รูปภาพประกอบและนำไปใช้ได้จริง 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 ผู้มาใช้บริการห้องพักมีความพึงพอใจกับคู่มือการใช้งาน Smart TV. 7. ขอบเขตของโครงงาน ศึกษา วางแผน ออกแบบทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 8. ขั้นตอนหรือวิธีดำเนินการ 8.1 การวางแผน (P) 8.1.1 ศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู นักเรียนนักศึกษาและผู้มาใช้ บริการห้องพักของแผนกวิชาการโรงแรม 8.1.2 คิดหัวข้อโครงงาน 8.1.3 เสนอหัวข้อโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 8.2 ขั้นตอนดำเนินงาน (D) 8.2.1 จัดทำโครงร่างโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 8.2.2 ศึกษาการใช้งานของ Smart TV. 8.2.3 จดบันทึกข้อมูลการใช้งาน 8.2.4 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. 8.3 ขั้นตอนการตรวจสอบ (C) 8.3.1 ทดลองเปิดใช้งาน Smart TV. ตามคู่มือที่จัดทำ 8.3.2 ประเมินความถูกต้องในการใช้งาน 8.3.3 นำไปใช้งานจริงในห้องพักของแผนกวิชาการโรงแรม 8.4 ขั้นตอนประเมินติดตามผล (A) 8.4.1 ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานคู่มือ Smart TV. 8.4.2 สรุปแบบบันทึกความพึงพอใจในการใช้คู่มือ Smart TV. 9. ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน เริ่มโครงงานวันที่ 20 ตุลาคม 2565 สิ้นสุดวันที่9 กุมภาพันธ์ 2565


สัปดาห์ที่ วัน/เดือน/ปี รายการปฏิบัติ 1 19 ตุลาคม 2565 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการเรียนวิชาโครงงาน 2 26 ตุลาคม 2565 สำรวจข้อมูล / วิเคราะห์ข้อมูลประกอบตัดสินใจเลือก โครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 3 2 พฤศจิกายน 2565 สำรวจข้อมูล / วิเคราะห์ข้อมูลประกอบตัดสินใจเลือก โครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 4 9 พฤศจิกายน 2565 ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. / เขียนโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. และขออนุมัติ โครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 5 16 พฤศจิกายน 2565 ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. / เขียนโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. และขออนุมัติ โครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. 6 23 พฤศจิกายน 2565 ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 7 30 พฤศจิกายน 2565 ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 8 7 ธันวาคม 2565 ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 9 14 ธันวาคม 2565 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 10 21 ธันวาคม 2565 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 11 28 ธันวาคม 2565 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 12 4 มกราคม 2566 จัดทำคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 13 11 มกราคม 2566 ทดลองใช้งานคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 14 18 มกราคม 2566 ปรับปรุงแก้ไขคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย 15 25 มกราคม 2566 ประเมินสรุปการปฏิบัติงานโครงการคู่มือการใช้งาน Smart TV. อย่างง่าย


10. งบประมาณค่าใช้จ่าย ขอรับการสนับสนุนจากครอบครัวจำนวน 1,000 บาท (โดยประมาณ) 11. การติดตามและประเมินผลโครงงาน 11.1 ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานคู่มือ Smart TV ลงชื่อ .............................................ผู้เสนอโครงงาน ลงชื่อ................................อ.ที่ปรึกษาโครงงาน ( นางสาวนฤมล สมใจ ) (นางสาวนัชพร สาครธำรงค์) ลงชื่อ .............................................ผู้เห็นชอบโครงงาน ลงชื่อ .................................ผู้เห็นชอบโครงงาน ( นางสาวนพรรณนพ ดวงแก้วกูล ) ( นายทินกร ติ๊บอินถา ) ครูประจำวิชา หัวหน้าแผนกวิชาการโรงแรม ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ ......................................................................................................................................................... ลงชื่อ........................................... ( นางจันทิมา สัตยาภรณ์ ) รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ สัปดาห์ที่ วัน/เดือน/ปี รายการปฏิบัติ 16 8 กุมภาพันธ์ 2566 นำเสนอและรายงานการดำเนินโครงงาน คู่มือการใช้งาน Smart TV./ เสนอแนวทางในการพัฒนาเป็นอาชีพ / ต่อยอดผลิตภัณฑ์ / แนวทางการพัฒนางาน


Click to View FlipBook Version