The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อุบัติเหตุจากสารเคมี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by musicsiriya2549, 2022-07-12 11:17:27

อุบัติเหตุจากสารเคมี

อุบัติเหตุจากสารเคมี

อุบัติเหตุ
จากสารเคมี

นางสาวศิริญา เชิญทอง ชั้น ม.4/4 เลขที่ 38

อุบัติเหตุจาก
สารเคมี

1 ร่างกายสัมผัสสารเคมี
1. ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้ อนสารเคมีออก และซับสารเคมีออกจากร่างกายให้
มากที่สุด

2. กรณีเป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ เช่น กรดหรือเบส ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสาร
เคมีด้วยการเปิ ดน้ำไหลผ่านปริมาณมาก
3. กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ำ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสบู่
4. หากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใน
เอกสารความปลอดภัยของสารเคมี

สารเคมีเข้าตา 2

ตะแคงศีรษะโดยให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล้างตา
โดยการเปิ ดนำเบา ๆ ไหลผ่านดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านตาข้างที่
โดนสารเคมี พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำอย่างน้อย 10

นาที หรือจนกว่าแน่ใจว่าชะล้างสารออกหมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำ
เข้าตาอีกข้างหนึ่ง แล้วนำส่งแพทย์ทันที

3 สูดดมแก๊สพิษ

1. เมื่อมีแก๊สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณนั้นและไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที

2. หากมีผู้ที่สูดดมแก๊สพิษจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องรีบเคลื่อนย้ายออกจาก

บริเวณนั้นนที โดยที่ผู้ช่วยเหลือต้องสวมอุปกรณ์ ป้ องกันที่เหมาะสม เช่น หน้ากากป้ องกันแก๊สพิษ ผ้า

ปิ ดปาก

3. ปลดเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกขึ้น หากหมดสติให้จับนอนคว่ำและตะแคงหน้าไป

ด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้ องกันโคนลิ้นกีดขวางทางเดินหายใจ

4. สังเกตการเต้นของหัวใจและการหายใจ หากว่าหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจและผายปอด

โดยผู้ที่ผ่านการฝึก แต่ไม่ควรใช้วิธีเป่ าปาก แล้วนำส่งแพทย์ทันที ผิวหนังโดนความร้อน 4

แช่น้ำเย็นหรือปิ ดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนหายปวด
แสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้
และน้ำร้อนลวก หากเกิดบาดแผลใหญ่ให้นำส่ง
แพทย์

อุบัติเหตุจาก
สารเคมี

5 สารเคมีเข้าปาก

สารเคมีเข้าปากมักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ที่พบเห็นบ่อยมี 3
แบบ คือ การดูดสารเคมีเข้าพิเพตด้วยปาก ไม่ล้างมือเมื่อ
เปื้ อนสารเคมี และการแอบกินลูกอมหรือของขบเคี้ยวในห้อง
ปฏิบัติการ การป้ องกันไม่ให้สารเคมีเข้าปากทำได้ ง่ายๆ
คือ ใช้ลูกยางหรืออุปกรณ์ ดูดสารเคมีเข้าพิเพต ห้ามดูดด้วย
ปากโดยเด็ดขาด ล้างมือทุกครั้งเมื่อเปื้ อนสารเคมี จะช่วยลด
โอกาสการปนเปื้ อนของสารเคมีบนใบหน้า เนื่องจากเผลอ
เอามือป้ ายหน้า หรือการปนเปื้ อนของสารเคมีบนสิ่งของ
ต่างๆ ที่หยิบ หรือจับต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องล้างมือให้
สะอาดก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ และก่อนรับประทาน
อาหาร นอกจากนี้แล้วยัง มีข้อห้ามอื่นๆ ได้แก่ ห้ามนำเกลือ
น้ำตาล แอลกอฮอล์ ในห้องปฏิบัติการไปผสมหรือปรุง
อาหาร ห้ามใช้เครื่องแก้วใดๆ ใส่อาหารหรือเครื่องดื่ม ห้าม
แช่อาหารหรือเครื่องดื่มในตู้เย็นที่เก็บสารเคมีหรือตู้น้ำแข็ง
และห้ามรับประทานน้ำแข็งจาก ตู้น้ำแข็งในห้องปฏิบัติการ

ผิวหนังไหม้เกรียม 6

อุบัติเหตุเล็กๆที่เกิดขึ้นบ่อยมากคือ ผิวหนังไหม้เกรียม สาเหตุอาจ
เกิดจากสารเคมีหกรด ตามร่างกาย และการทำงานที่เกี่ยวกับ
ความร้อน เนื่องจากสารเคมีหลายประเภท เช่น กรดและเบส
เป็นต้น มีสมบัติกัดกร่อน ต่อผิวหนัง จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส
โดยตรง ถ้าหกเลอะบนพื้นโต๊ ะปฏิบัติการหรือที่ใดก็ตาม จะต้อง
ทำความสะอาดทันทีด้วย ความระมัดระวัง เพื่อป้ องกันไม่ให้เป็น
อันตรายต่อผู้อื่น ถ้าหกเลอะปริมาณมากต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ใน
ห้องปฏิบัติการมาจัดการ เมื่อสัมผัสกับสารเคมีแม้เพียงเล็กน้อย
ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที แต่ถ้าหกรดตัวเป็น
บริเวณกว้าง ให้ถอดเสื้อผ้า ที่เปื้ อนออก และเช็ดหรือซับสารเคมี
ออกจากตัวอย่างรวดเร็ว แล้วจึงชำระล้างโดยใช้ที่ล้างตัวฉุกเฉิน
นานอย่างน้อย 15 นาที ในกรณีที่ต้องทำงานกับความร้อน ต้องใช้
ถุงมือกันความร้อน หรืออุปกรณ์ สำหรับหยิบหรือจับของร้อน

อุบัติเหตุจาก
สารเคมี

7 การระเบิด

การระเบิดมักเกิดจากการต้มสารเคมีหรือทำปฏิกิริยาใดๆ
ในภาชนะที่เป็นระบบปิ ดมิดชิด ก่อนเริ่มกลั่น หรือเริ่มทำ
ปฏิกิริยาต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่ามีช่องทางระบายไอ
ออกจากระบบแล้ว อีกกรณีหนึ่งคือ การทำปฏิกิริยา
ระหว่างสารเคมีที่ห้ามผสมกัน ซึ่งมักเกิดขึ้นเพราะไม่รู้มา
ก่อน อันตรายของการระเบิดจะเนื่องมาจากเศษแก้วแตก
ทิ่มแทงและ สารเคมีกระเด็นถูกร่างกาย ซึ่งอาจทั้งร้อนและ
กัดกร่อนหรือเป็ นพิษ

ไฟไหม้ 8

ไฟไหม้เป็ นอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการเสมอ
เมื่อมีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ วิธีป้ องกันที่ดีที่สุดคือ
ไม่ใช้หรือไม่ปล่อยให้มีเปลวไฟในห้องปฏิบัติการ การ
ต้มตัวทำละลายอินทรีย์ต้องทำในอ่างน้ำร้อนเท่านั้น ห้าม
ทำให้ ร้อนบนฮ็อตเพลตโดยตรง และไม่ควรปล่อยตัวทำ
ละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่ายไว้ในบีกเกอร์โดยไม่มีฝาปิ ด
เพราะไอของตัวทำ-ละลายจะแผ่ปกคลุมไปตามโต๊ ะ
ปฏิบัติการ และเมื่อติดไฟแล้วจะลุกลามมาทบีกเกอร์ต้น
เหตุ ทำให้เกิดไฟไหม้รุนแรงได้

** หากสัมผัสสารเคมีปริมาณมาก หรือความเข้มข้นสูง ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งแพทย์ทันที **

THANK YOU


Click to View FlipBook Version