บันทึกข้อความ ส่วนราชการ โรงเรียนบ้านปาหนัน ที่…………../2566 วันที่7 กันยายน 2566 เรื่อง รายงานผลการดําเนินโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริประจําปีงบประมาณ 2566 ด้วยข้าพเจ้านายอัสอารีมะเซ็ง ผู้รับผิดชอบโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริประจําปีงบประมาณ2566ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนงานฝ่ายบริหารงานทั่วไป โดยสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนองกลยุทธ์สพฐ. ด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน สนองกลยุทธ์เขตพื้นที่ด้านที่1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและมีสมรรถนะ สู่ศตวรรษที่11 สนองกลยุทธ์โรงเรียน ด้านกลยุทธ์ที่๑ สืบสานงานโครงการพระราชดําริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านข้อที่1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อที่6 มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานเพื่อนําไปสู่การประกอบอาชีพโดยยึดคุณธรรมนําความรู้เห็นความสําคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการนี้ข้าพเจ้าขอรายงานผลการดําเนินโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริประจําปีงบประมาณ 2566 ดังเอกสารที่แนบมาด้วยนี้จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ลงชื่อ…………………………….…… ( นายอัสอารีมะเซ็ง ) ตําแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านปาหนัน ความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร……………………………………………………..……………………………………………… ……………………………………………………..……………………………………………… ลงชื่อ……………….……………… ( นายอนันต์ดือลามะ ) ตําแหน่ง รองผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านปาหนันความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร……………………………………………………..……………………………………………… ……………………………………………………..……………………………………………… ลงชื่อ…………………………… ( นางรอสีดาห์ดาโอ๊ะ ) ตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านปาหนัน
รายงานผลการดําเนินการโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริ๑. หลักการและเหตุผล เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9) ทรงมีพระราชดํารัสแนะแนวทางการดําเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ําแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีเป้าหมายมุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยยึดหลักการ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุมกันในตัวที่ดีภายใต้เงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม ที่ต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดําเนินการทุกขั้นตอน ตลอดจนเสริมสร้างจิตใจของคนทั้งชาติทุกระดับชั้นให้มีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบพอเพียง และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โรงเรียนบ้านปาหนัน มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานเพื่อนําไปสู่การประกอบอาชีพโดยยึดคุณธรรมนําความรู้เห็นความสําคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9)มาบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน จึงได้จัดทําโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ขึ้น ๒. วัตถุประสงค์1. เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้ผู้เรียนนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนํามาใช้ในชีวิตประจําวันได้2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๓. เป้าหมาย ๓.๑เชิงปริมาณ 3.1.1ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนําไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจําวันได้ร้อยละ 92 ๓.๑.2 ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพร้อยละ 92 ๓.๒ เชิงคุณภาพ นักเรียน คณะครูบุคลากรในโรงเรียน มีความรู้เข้าใจ หลักการเศรษฐกิจพอเพียง นําไปประยุกต์ใช้ในการดํารงชีวิตประจําวันได้และมีเจตคติที่ดีในระดับที่น่าพึงพอใจ
4.ขั้นตอนการดําเนินการและระยะเวลาดําเนินการ กิจกรรม/ขั้นตอนการดําเนินงาน ระยะเวลาดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบ๑. การเตรียม/วางแผน (P) ๑.๑ ร่างกําหนดการจัดกิจกรรมตามโครงการ ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินโครงการ 1.3 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ๑.4 ประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการ วางแผนกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน ในปี๒๕๖๓ ๑.5 สํารวจวัสดุอุปกรณ์สําหรับดําเนินกิจกรรม โครงการ ต.ค ๖5 - ก.ย.๖6 นายอัสอารีมะเซ็ง ๒. การดําเนินงานตามแผน(D) ๒.๑ จัดทําปฏิทินปฏิบัติงานกิจกรรมตาม ๒.๒ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สําหรับดําเนินกิจกรรม ๒.๓ จัดทําหนังสือคําสั่งราชการ เพื่อมอบหมาย หน้าที่ในการจัดกิจกรรมโครงการ ๒.๔ ดําเนินกิจกรรม - กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน - กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน - กิจกรรมปาหนันเบเกอรี่- กิจกรรมสร้างอาชีพด้วยสมุนไพร ต.ค ๖5 - ก.ย.๖6 นายอัสอารีมะเซ็ง กิจกรรม/ขั้นตอนการดําเนินงาน ระยะเวลาดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบ๓. การติดตาม/ตรวจสอบ (C) ๓.๑ นิเทศ/ติดตาม ๓.๒ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ/ตรวจสอบความ พึงพอใจ ต.ค ๖5 - ก.ย.๖6 นายอัสอารีมะเซ็ง ๔. การประเมิน/รายงานผล(A) ๔.๑ ประเมินผล และสรุปผลโครงการ ๔.๒ รายงานผลการดําเนินงาน ต.ค ๖5 - ก.ย.๖6 นายอัสอารีมะเซ็ง ๕. สถานที่ดําเนินโครงการ โรงเรียนบ้านปาหนัน ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส สพป.นราธิวาส เขต ๑
๖. งบประมาณดําเนินการ 6.๑ ใช้งบประมาณจาก กลยุทธ์ที่1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานและมีสมรรถนะ สู่ศตวรรษที่11โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม : สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบเงินอุดหนุน ของโรงเรียนบ้านปาหนัน จํานวน 4437,000 บาท 6.๒ รายละเอียดการใช้งบประมาณ กิจกรรม งบประมาณตอบแทน (บาท) ใช้สอย (บาท) วัสดุ(บาท) รวม(บาท)กิจกรรมที่๑ กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยนําผลผลิตที่ได้มาจําหน่ายให้โรงอาหาร - เพาะเห็ด - เลี้ยงปลาดุก - เลี้ยงไก่เนื้อ - ปลูกผักปลอดสารพิษ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าก้อนเห็ด - ค่าลูกปลาดุก - เมล็ดพันธุ์ผัก - ค่าอุปกรณ์การเกษตร รวมเป็นเงิน 1,437 บาท 1,4371,437กิจกรรม งบประมาณตอบแทน (บาท) ใช้สอย (บาท) วัสดุ(บาท) รวม(บาท)กิจกรรมที่๒ กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน โดยใช้นักเรียนฝากออมทรัพย์กับครูประจําชั้นในทุกๆวัน - ออมทรัพย์นักเรียน กิจกรรมที่3 กิจกรรมปาหนันเบเกอรี่โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ - ทําขนมปัง มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ - แป้งขนมปัง - เนย
- เกลือ - น้ําตาล - แป้งสาลีรวมเป็นเงิน 2,000 บาท กิจกรรมที่4 กิจกรรมสร้างอาชีพด้วยสมุนไพร โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ - ลูกประคบสมุนไพร - พิมเสนสมุนไพร มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ - สมุนไพร - มีด - เขียง - ผ้าดิบ - ตาชั่ง - กรรไกร - เชือก/ด้ายสีขาว รวมเป็นเงิน 1,000 บาท 2,0001,0002,0001,000รวม - - 4,4374,437หมายเหตุขอถัวจ่ายทุกรายการ ๗. การประเมินผล ตัวชี้วัดความสําเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนําไป ประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ร้อยละ70 2. ผู้เรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐานและ เจตคติที่ดีต่ออาชีพร้อยละ 70 - การสังเกตผู้เรียนในการทํา กิจกรรม - การสัมภาษณ์ผู้เรียน ครูและ บุคลากร - รายงานสรุปผลโครงการ - แบบประเมินคุณภาพ ตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์การประเมิน คุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน- แบบสอบถาม ๘. ผลการดาํเนินโครงการ จากการจัดโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริผลการประเมินงานเป็นที่น่าพอใจ และประสบผลสําเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะนําเสนอในรูปของตารางและแผนภูมิตามลําดับ ดังนี้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนําไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีและสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินครั้งนี้ได้ส่งแบบประเมินกิจกรรมถึงกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้บริหารคณะครูในโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 150 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ( x ) และร้อยละ ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้ระดับ 4.50 – 5.00 หมายถึง มากที่สุด ระดับ 3.50 – 4.49 หมายถึง มาก ระดับ 2.50 – 3.49 หมายถึง ปานกลาง ระดับ 1.50 – 2.49 หมายถึง น้อย ระดับ 1.50 – 1.49 หมายถึง น้อยที่สุด และหาค่าร้อยละซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้ระดับดีมาก คือ 91 – 100 ระดับดีคือ 71 – 90 ระดับปานกลาง คือ 51 – 70 ระดับน้อย คือ 31 – 50 ระดับน้อยที่สุด คือ 0 – 30 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางที่1 ตารางแสดงความถี่ร้อยละจากการประเมิน โครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริที่รายการประเมิน คะแนน ร้อยละดีมาก ที่สุด ดี ปานกลาง พอใช้ ปรับปรุง 5 4 3 2 11.ลักษณะกิจกรรม 550 140 15 0 04.7094.002.วิธีการดําเนินงาน 600 100 15 0 04.7195.003.รูปแบบการดําเนินงาน 600 120 0 0 04.8096.004.การเตรียมความพร้อมของการจัดกิจกรรม 505 180 9 2 04.6492.805.ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม 555 116 0 20 04.6192.136.สถานที่ที่จัด 550 36 18 0 04.6993.877.เวลาของการจัดกิจกรรม 550 80 30 10 54.5090.008.กิจกรรมลักษณะนี้ควรจัดอีกในปีต่อไป 450 80 60 20 04.4082.009.การมีส่วนร่วมของบุคลากร 475 128 30 12 74.3586.9310.การมีส่วนร่วมของกรรมการสถานศึกษา 600 84 9 6 34.6893.60รวม 5485 1164 186 70 154.6192.27
จากตารางสามารถแปรผลได้ดังนี้ผลการประเมินความพึงพอใจในการดําเนินโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริใน ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดีมีค่า X เท่ากับ 4.61 คิดเป็นร้อยละ 92.27 เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นย่อยรายข้อพบว่า1. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นค่าเฉลี่ยได้4.70 คิดเป็นร้อยละ 94.00 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก2. ผู้ที่มีความคิดเห็นวิธีการดําเนินกิจกรรม ค่าเฉลี่ยได้4.71 คิดเป็นร้อยละ 95.00 อยู่ในเกณฑ์ดี3. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่ารูปแบบในการดําเนินการ ค่าเฉลี่ยได้4.80 คิดเป็นร้อยละ 96.00 อยู่ในเกณฑ์ดี4. ผู้ที่มีความคิดเห็นการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรร ค่าเฉลี่ยได้4.64 คิดเป็นร้อยละ 92.80 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก5. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ค่าเฉลี่ยได้4.61 คิดเป็นร้อยละ 92.13อยู่ในเกณฑ์ดีมาก6. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าสถานที่ที่จัดกิจกรรมเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.69 คิดเป็นร้อยละ 93.87 อยู่ในเกณฑ์ดี7. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าเวลาของการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ย 4.50 คิดเป็นร้อยละ 90.00 อยู่ในเกณฑ์ดี8. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่ากิจกรรมลักษณะนี้ควรจัดอีกในปีต่อไป ค่าเฉลี่ย 4.40 คิดเป็นร้อยละ 88.00 อยู่ในเกณฑ์ดี9. ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าการมีส่วนร่วมของบุคลากร ค่าเฉลี่ย 4.35 คิดเป็นร้อยละ 86.93 อยู่ในเกณฑ์ดี10.ผู้ที่มีความคิดเห็นว่าการมีส่วนร่วมของกรรมการสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย 4.68 คิดเป็นร้อยละ 93.60อยู่ในเกณฑ์ดีมากปัจจัยที่เอื้อต่อความสําเร็จ ปัจจัยภายนอก 1. คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองให้ความเห็นชอบและให้ความร่วมมือในการ ดําเนินกิจกรรม 2. ชุมชนเห็นความสําคัญของกิจกรรม สนับสนุนและให้ความร่วมมือแก่โรงเรียน ปัจจัยภายใน 1. ความมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร ให้ความสําคัญในการกระตุ้น กํากับติดตาม และสนับสนุนให้ครูได้แสดงพลังและศักยภาพอย่างเต็มที่ตลอดจนการส่งเสริมในเรื่องขวัญและกําลังใจอย่างสม่ําเสมอ 2. . โรงเรียนมีระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการทํางาน 3. นักเรียนให้ความร่วมมือ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีบทเรียนที่ได้รับ จากการที่โรงเรียนได้จัดโครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริทําให้ตระหนักว่าผู้เรียนสามารถนําความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจําวันได้มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเอง สังคม และมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความคิดความอ่านที่กล้าหาญขึ้น และสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประมวลภาพ โครงการสืบสานงานโครงการพระราชดําริประจําปีการศึกษา 2566