บทที่1 โรค และสาเหตุของการเกิดโรคในสัตว์ ในการเลี้ยงสัตว์ ปัจจัยที่ท าให้การเลี้ยงสัตว์ประสบความส าเร็จสิ่งที่ส าคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านสาย พันธุ์ที่ดี โรงเรือนที่ดี อาหารที่ดี การจัดการที่ดีและการป้องกันโรคที่ดีโดยเฉพาะโรคสัตว์เป็นปัญหาที่ ท าให้เกิดผลกระทบต่อการเลี้ยงและการผลิตสัตว์ซึ่งมีผลกระทบต่อการผลิตโดยการเพิ่มต้นทุนการผลิต ในด้านการรักษาและการป้องกัน โดยสัตว์เลี้ยงจะมีสุขภาพที่ดี มีร่างกายที่แข็งแรง สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ผู้เลี้ยงต้องการและปลอดจากโรคสัตว์ได้นั้นหลักส าคัญคือ การจัดการทางด้านสุขาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นการจัดการที่มีผลกระทบกับตัวสัตว์ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมี ความรู้ความเข้าใจในด้านสุขภาพและโรคสัตว์ การจัดการด้านสุขภาพ การดูแลรักษา การป้องกันโรค ตลอดจนการสุขาภิบาลในทุกๆด้าน 1. ความหมาย และประเภทของโรคสัตว์ 1.1 ความหมายของโรคสัตว์ โรคสัตว์หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ทางกายวิภาคและทางสรีระของร่างกายสัตว์ ไปจากสภาพ ปกติ เป็นผลท าให้ การท างานของร่างกายไม่เป็นปกติ สัตว์แสดงความผิดปกติออกมาให้เห็นได้เรียกว่า อาการ (Clinical sign) และส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสัตว์ 1.2 ประเภทของโรคสัตว์ ประเภทของโรคสัตว์ ขึ้นอยู่กับลักษณะการแบ่งโดย มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบ่งตามสาเหตุที่ แท้จริงและแบ่งตามการติดต่อของโรค แบ่งตามสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) โรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรคหรือโรคติดเชื้อ (Infectious disease) 2) โรคที่มีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เรียกว่าโรคไม่ติดเชื้อ (Non-infectious disease) แบ่งตามการติดต่อของโรค มี2ประเภท ได้แก่ (1) โรคติดต่อ (Contagious disease) คือ โรคที่เป็นแล้วสามารถติดต่อจากสัตว์ป่วยทั้ง ทางตรง และทางอ้อม ไปยังสัตว์ตัวอื่นได้บางครั้งอาจเรียกว่าโรคระบาด โดยความหมาย ของโรคระบาด หมายถึง โรคติดต่อที่มีการติดต่อจากสัตว์ป่วยไปยังสัตว์ตัวอื่นได้อย่าง รวดเร็ว โรคติดต่อทุกโรคมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือเป็นโรคติดเชื้อ แต่โรคติดเชื้อไม่ จ าเป็นต้องเป็นโรคติดต่อ ตัวอย่างเช่น โรคบาดทะยักเป็นโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากการติดเชื้อ คลอสตริเดียม เตตาไน (Clostridium tetani) ซึ่งไม่ใช่โรคติดต่อ
โรคติดต่อสามารถแบ่งตามความรุนแรงของการติดต่อ หรือการระบาดของโรคได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้ (1.1) โรคแพนเดมิก (Pandemic disease) คือโรคที่มีการระบาดไปทั่วโลก (1.2) โรคอิพิซูติก (Epizootic disease) คือโรคที่มีการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พื้นที่การระบาดของโรคกว้าง หลายจังหวัด ทั่วประเทศ หรือ หลายประเทศ สัตว์ตายจ านวนมาก (1.3) โรคเอนซูติก (Enzootic disease) คือโรคที่มีการระบาดในพื้นที่แคบๆ ในระดับหมู่บ้าน ต าบล หรือ อ าเภอ ไม่รุนแรง แต่เป็นอย่างต่อเนื่อง และโรคอาจพัฒนาเป็นโรคอิพิซูติกได้ (1.4) โรคเอนดิมิก (Endemic disease) คือโรคที่มีการระบาดเฉพาะถิ่นหรือประจ าถิ่นและเกิดขึ้นเป็นประจ าในพื้นที่นั้นๆ (1.5) โรคสปอราดิก (Sporadic disease) คือโรคที่มีการระบาดเป็นครั้งคราว เป็นรายตัว อาจเป็น หนึ่ง หรือสองตัว ในพื้นที่นั้นๆ (2) โรคไม่ติดต่อ คือโรคที่เมื่อสัตว์เป็นแล้ว ไม่สามารถติดต่อไปยังสัตว์ตัวอื่นได้ เช่นโรคที่เกิด จากความผิดปกติทางพันธุกรรมโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร โรคที่เกิดจากการได้รับ สารพิษ หรือโรคติดเชื้อบางชนิดที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคบาดทะยัก เป็นต้น 2. อาการ และลักษณะความผิดปกติของสัตว์ป่วย อาการ (Symptom) คือ การแสดงออกของโรค ในตัวสัตว์ โรคต่างชนิดกันอาจมีอาการ เหมือนกัน เช่น เป็นไข้ เบื่ออาหาร (โรคเกือบทุกโรค สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร หรือเป็นไข้) แต่ อาการก็มีความส าคัญที่จะบ่งชี้ถึงสาเหตุ หรือต าแหน่งที่เกิดผิดปกติ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค 2.1 ความรุนแรงของการแสดงออกของอาการ การแสดงอาการของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนั้น มีความแตกต่างกัน แม้ว่าบางครั้งสัตว์จะเป็นโรคที่มี สาเหตุจากสิ่งเดียวกันก็ตาม แต่สัตว์อาจแสดงอาการป่วยรุนแรงต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ด้วยกัน เช่น ความต้านทานโรคของสัตว์ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ปริมาณ และความรุนแรงของเชื้อที่ สัตว์ได้รับเข้าไป โดยทั่วไปจะวัดระดับความรุนแรงของโรคจากลักษณะอาการที่แสดงได้ 4 ระดับ คือ 1) อาการเฉียบพลันรุนแรง (Per acute) คือ อาการของโรคที่เกิดอย่างกะทันหัน ตายทันที โดยไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น กระบือที่อาจตายภายใน 24-48 ชั่วโมง จากการป่วยด้วยโรคเฮโมราจิกเซพติกซีเมีย (Hemorrhagic septicemia) หรือโรคคอ บวม เป็นต้น 2) อาการเฉียบพลัน (Acute) คือ อาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและรวดเร็ว สัตว์แสดง อาการให้เห็นก่อนตายหลายวัน เช่นโรคนิวคาสเซิล โรคอหิวาต์สุกร เป็นต้น
3) อาการกึ่งเฉียบพลัน (Sub acute) คือ อาการที่สัตว์ป่วยเป็นโรคอย่างช้า ๆ ไม่รุนแรงนัก ระยะเวลาการเป็นโรคอาจนานเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์ อัตราการตายจะไม่สูง เช่นโรคปอดอักเสบ จากเชื้อไมโคพาสมา (Mycoplasma) ในสุกร โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) ใน โค กระบือ เป็นต้น 4) อาการเรื้อรัง (Chronic) คือ อาการที่สัตว์แสดงอาการป่วยเรื้อรัง ไม่แสดงอาการมากนัก แสดงอาการนาน อัตราการตายต่ า ระยะเวลาการเป็นโรคมักจะกินเวลานาน เช่นโรควัณโรค (Tuberculosis) ในโค โรคพยาธิไส้เดือน เป็นต้น 2.2 ประเภทของอาการ อาการ แบ่งตามผู้ที่รับรู้ถึงการแสดงออกของอาการ ได้เป็น 3 ชนิด คือ 1) อาการที่สัตว์ป่วยรู้สึกได้เรียก ซับเจคทีพ ซิมตอม (Subjective symptom) เช่น แน่นท้อง ปวดหัว โดยในทางสัตวแพทย์อาการชนิดนี้ สัตวแพทย์จะไม่ทราบเพราะสัตว์ไม่สามารถอธิบาย ความรู้สึกได้ แต่อาจจะคาดเดาจากพฤติกรรมที่สัตว์แสดงออก เช่น ถ้าสัตว์ปวดท้อง สัตว์จะเตะท้อง เป็นต้น 2) อาการที่เจ้าของสัตว์สังเกตเห็น เรียกว่า ออบเจคทีพ ซิมตอม (Objective symptom) เช่น กินอาหารน้อยลง ซึม ไม่ถ่ายปัสสาวะ 3) อาการต่างๆ ที่สัตวแพทย์ ตรวจพบ เรียกว่า อาการทางคลินิก (Clinical sign) เช่น เป็นไข้ เยื่อเมือกซีด หัวใจเต้นเร็ว 2.3 ลักษณะอาการผิดปกติของสัตว์ป่วย ลักษณะอาการที่แสดถึงความผิดปกติของสัตว์ป่วยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) อาการที่แสดงถึงความผิดปกติของสัตว์ป่วยที่เจ้าของสัตว์สังเกตเห็น (Objective symptom) ได้ แยกตามระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1.1) อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารได้แก่ เบื่ออาหาร กิน อาหารมากกว่าปกติ กินสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร น้ าลายออกมาก อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกเป็นต้น 1.2) อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ได้แก่ การหายใจขัดการ หายใจที่ท้อง การหายใจที่หน้าอก การหายใจมีเสียงดัง การไอ มีน้ ามูก 1.3) อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย ได้แก่ ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่าย ปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะมาก ปัสสาวะไม่ออก ถ่ายปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะไหลออกไม่หยุด ปัสสาวะขุ่นเป็นหนอง ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม 1.4) อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ ชักกระตุก อัมพาต ทั้งตัว หรือครึ่งตัว ขาแข็ง เดินวน ตกใจง่าย
1.5) อาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบปกคลุมร่างกาย ได้แก่ ผิวหนังหยาบ กร้าน ผิวหนังเป็นผื่นแดง ผิวหนังมีจุดเลือดออก ผิวหนังเป็นแผล มีหนอง ขนร่วง 2) ลักษณะอาการผิดปกติที่เจ้าของสัตว์ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรือ อาการทาง คลินิก (Clinical sign) ที่ต้องใช้เครื่องมือตรวจ ได้แก่ ค่าบ่งชี้ทางสรีรวิทยาต่างๆของสัตว์ ที่ส าคัญ คือ อัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจร อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการหายใจ อาการที่ผิดปกติเช่น หัว ใจเต้นเร็วและแรง หรือหัวใจเต้นช้าและเบา หายใจเร็วและตื่น หายใจช้า อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ หรือต่ ากว่าปกติ ค่าบ่งชี้ทางสรีรวิทยาต่างๆของสัตว์ 3.การติดโรค และการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ การติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อตัวเชื้อโรค ได้ผ่านเข้าไปในร่างกาย โดยผ่านกระบวนการต่อต้านของ ร่างกายเข้ามาได้ และ อาศัยอยู่ในอวัยวะ หรือ เนื้อเยื่อของสัตว์นั้น 3.1 ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสัตว์ 1) ทางรก โดยติดโรคขณะที่อยู่ในครรภ์หรือ แทรกซึมเข้าเปลือกไข่ 2) ทางระบบทางเดินหายใจโดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อม 3) ทางระบบย่อยอาหารโดยการกินเชื้อโรคที่ติดมากับน้ า อาหาร หรือดิน 4) ทางระบบปกคลุมร่างกาย หรือผิวหนังเช่น บาดแผล หรือโดนกัดจากพาหะน าโรค 5) เยื่อเมือกต่าง ๆ โดยการสัมผัส เช่น ช่องปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก ตา 3.2 แหล่งที่มาของการติดเชื้อโรคมีหลายทางดังต่อไปนี้ 1) จากตัวสัตว์ป่วยได้แก่การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วยเป็นโรค 2) จากสิ่งแวดล้อมได้แก่การสัมผัสกับวัตถุ สิ่งของ อาหาร น้ า อากาศที่มีเชื้อโรค 3) จากสัตว์หรือพาหะน าโรค ได้แก่การ สัมผัสกับพาหะ เช่น เห็บ แมลงดูดเลือด หรือ สัตว์ชนิดเดียวกันที่ไม่เป็นโรค แต่อมโรคไว้หรือ สัตว์ต่างชนิดกันที่มีเชื้อโรคพาหนะขนสัตว์ หรือรถขน อาหารที่เข้ามาในฟาร์ม และน าเอาเชื้อโรคติดมาด้วย 4) จากคน เช่น การฉีดยา การใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาด การเข้าฟาร์มโดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ เป็นต้น 5) ติดจากเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างสัตว์ มีเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิดที่มีอาศัยอยู่ในตัว สัตว์แต่ไม่ได้ก่อโรคเป็นเชื่อจุลินทรีย์เฉพาะถิ่น (Normal flora) แต่เมื่อสัตว์เกิดภาวะเครียด หรือ ร่างกายอ่อนแอ เชื้อจุลินทรีย์นี้ก็จะก่อโรคได้ 4. สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดโรค แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุ คือสาเหตุโน้มน า (Predisposing cause) และสาเหตุที่แท้จริงสาเหตุแท้จริงยังแบ่งออก เป็น สาเหตุจากการติดเชื้อโรค หรือสาเหตุที่ไม่ใช่การติด เชื้อโรค 4.1 สาเหตุโน้มน า (Predisposing cause) คือ สิ่งที่มีอิทธิพลชักน าให้สัตว์ป่วยหรือเป็นโรค ได้ง่าย ซึ่งไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ท าให้เกิดโรค แต่มีผลท าให้สัตว์มีร่างกายอ่อนแอ ขาดความต้านทานโรค เป็นช่องทางท าให้เกิดโรคได้ง่ายแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ 1) สาเหตุโน้มน าที่เกิดจากตัวสัตว์เองได้แก่ 1.1) ชนิดของสัตว์ โรคบางโรคสามารถเกิดกับสัตว์ได้ทุกชนิด เช่น โรค บาดทะยัก (Tetanus) ในขณะที่โรคบางโรคเกิดกับสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น โรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease) หวัดหน้าบวม (Infectious coryza) เกิดในสัตว์ปีกเท่านั้น โรคหัดสุนัข (Canine distemper) เกิดเฉพาะในสุนัข โรคไข้เห็บ (Babesiosis) เกิดเฉพาะในโคเท่านั้นโรคติดเชื้อชนิดเดียวกัน เกิดกับสัตว์ต่างชนิดกัน ความรุนแรงของโรคก็ต่างกัน เช่นโรคเต้านมอักเสบ (Mastitis) เกิดขึ้นได้ง่าย ใน โคนม มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น เป็นต้น 1.2) พันธุ์ สัตว์ชนิดเดียวกัน แต่พันธุ์ต่างกันความต้านทานโรคก็แตกต่างกัน เช่น โคพันธุ์อินเดีย มีความทนทานต่อโรคไข้เห็บ มากกว่าโคพันธุ์ยุโรป 1.3) อายุสัตว์อายุมากจะมีความทนทานต่อโรคได้ดีกว่าสัตว์อายุน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เช่น ลูกโค หรือลูกสุกร ที่ต้องได้รับภูมิคุ้มกันหลังเกิดโดย การกินนมน้ าเหลือง ช่วงแรกเกิดที่ยังไม่ได้นมน้ าเหลืองก็จะไวต่อการติดโรคได้ 1.4) เพศ สัตว์เพศเมียมีความอ่อนแอกว่าสัตว์เพศผู้และมีโอกาสเกิดโรคได้ ง่ายกว่า เช่น โรคบางโรคเกิดขึ้นเฉพาะในสัตว์เพศเมีย เช่น โรคคีโตซีส (Ketosis) โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ (Metritis) สัตว์เพศเมียยังไวต่อสารพิษจากเชื้อราในกลุ่ม อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) และสารฆ่าแมลงในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) มากกว่าสัตว์เพศผู้ด้วย 1.5) สีของผิวหนัง สัตว์ที่มีสีเข้มทนต่อแสงแดดมากกว่าสัตว์ที่มีสีขา เช่น โคสี ขาวแพ้ต่อแสงแดดได้ง่ายกว่า 2) สาเหตุโน้มน าที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและการจัดการสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมเช่น ภูมิอากาศ สาเหตุจากการจัดการเช่นอาหาร น้ าโรงเรือน การขนย้ายสัตว์ การป้องกันโรค เป็นต้น 2.1) สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศเช่น ปริมาณอากาศ อากาศร้อน หนาว ความชื้นในอากาศสูง หรือต่ าเกินไป ปริมาณอากาศ หรือ ปริมาณของออกซิเจน เช่น ในบริเวณที่สูงจะมีอากาศน้อย ท าให้ สัตว์ขาดออกซิเจนได้ โดยทั่วไป ในอากาศมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ และ
ถ้าในอากาศมีออกซิเจนต่ ากว่า 11 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ การเลี้ยงสัตว์แออัดมากๆ และ การถ่ายเทอากาศไม่ดี อาจท าให้สัตว์ขาดออกซิเจนได้ อุณหภูมิของอากาศ ภาวะที่อุณหภูมิในอากาศสูง หรืออากาศร้อนจะมี ผลกระทบต่อตัวสัตว์ คือ ท าให้เกิดความเครียดจากความร้อน กินอาหารน้อยลง ภูมิคุ้มกันโรคต่ าลง มี โอกาสเกิดโรคได้ง่าย ในกรณีอากาศหนาวจัดมากๆ จะมีผลท าให้สัตว์สูญเสียความร้อนออกนอก ร่างกาย ร่างกายเกิดเมทาโบลิซึม (Metabolism) สูงขึ้น เพื่อสร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย ความ ต้านทานโรคลดลง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศอย่างกะทันหัน สัตว์อาจเกิดโรคใน ระบบทางเดินหายใจได้ เพาะร่างกายปรับตัวไม่ทัน ความชื้นในอากาศ ความชื้นในอากาศจะแปรตามอุณหภูมิ กล่าวคือ อุณหภูมิในอากาศสูงความชื้นในอากาศก็สูงขึ้นด้วย ความชื้นในอากาศสูงมีผลกระทบในการระบาย ความร้อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในรูปของเหงื่อ หรือการระบายความร้อนในรูปไอน้ าทางปากของสัตว์ ปีกง่ายต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ แสงแดดที่จ้ามากมีผลท าลาย ผิวหนังสัตว์ เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้ 2.2) สาเหตุจากการจัดการ โรงเรือน ลักษณะโรงเรือนที่มีการระบายอากาศไม่ดี หรือ การก าจัดมูล สิ่งสกปรกไม่ดี ท าให้สัตว์เกิดโรคได้ง่าย เช่น โรงเรือนสุกรขังคอก ที่แออัด แต่การระบายอากาศไม่ดี ท า ให้เกิดปัญหาอากาศเป็นพิษจากแอมโมเนียที่เกิดจากการย่อยสลายสิ่งขับถ่ายในโรงเรือน ท าให้เซลล์ที่ ผลิตเมือกที่ท าหน้าที่ดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูกลดลง ซึ่งเป็นการลดภูมิคุ้มกันแบบไม่ จ าเพาะท าให้สัตว์เกิดโรคได้ อาหาร อาหารที่มีการปลอมปนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ เช่น เชื้อรา สารพิษ ตะปู สามารถท าให้สัตว์เกิดโรคได้ หรืออาหารที่ผสมไม่ได้สัดส่วน หรือ เลี้ยงสัตว์ที่ให้อาหาร ไม่ได้ตามความต้องการโภชนะของสัตว์ ก็น ามาซึ่งโรคขาดสารอาหาร หรือสมดุลของอาหาร น้ าทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ ามีผลต่อสุขภาพของสัตว์ น้ าที่สกปรก มี เชื้อโรค สารพิษต่าง ๆ โลหะปลอมปน ก็จะส่งผลให้สัตว์เกิดโรคได้ โดยทั่วไปความต้องการน้ าในสัตว์ ขึ้นกับอาหารที่กิน ลักษณะอากาศ อายุ พันธุ์สัตว์ในการให้น้ าสัตว์ จึงให้ดื่มกินตลอดเวลาโคนมต้องการ น้ าประมาณ 40-60 ลิตร ต่อวัน สุกรต้องการน้ าประมาณ 8-10 ลิตร สัตว์ปีกต้องการน้ าประมาณ 0.15- 0.20ลิตรต่อวัน ระบบการจัดการอื่น ๆ เช่น ระบบเข้าหมดออกหมด(All-in-all-out) ขนาด พื้นที่ต่อตัวสัตว์ ที่เหมาะสม การควบคุมพาหะน าโรคที่ดี ไม่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ บ่อยครั้ง มีการท าลายซากสัตว์ตายอย่างถูกวิธี ก็ท าให้สัตว์มีโอกาสติดโรคได้น้อยลง การขนย้ายสัตว์ในระยะทางไกลๆ อาจโดยท าให้สัตว์เครียด และเกิดการติดเชื้อ ใน ระบบทางเดินหายใจได้
การฉีดวัคซีนในสภาพที่ร่างกายสัตว์อ่อนแอ อาจท าให้เกิดโรคได้โดยเฉพาะ วัคซีนเชื้อเป็น 4.2 สาเหตุที่แท้จริง แบ่งออกได้เป็น 2สาเหตุคือ สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ สารพิษ สภาพภูมิอากาศ ขาดสารอาหาร อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บและสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) ริกเก็ตเซีย (Ricketsia) ไวรัส (Virus) โปรโตซัว (Protozoa) เชื้อรา (Fungi) ปาราสิต (Parasite) และพยาธิ 1) สาเหตุจากการติดเชื้อโรค เชื้อโรค คือเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถ ก่ออันตรายกับสัตว์ และท าให้สัตว์เกิดโรคได้ โรคติดเชื้อส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ริกเก็ตเซีย ไวรัสโปรโตซัวเชื้อรา ปา ราสิต และพยาธิโดยเชื้อเหล่านี้มีขนาดที่แตกต่างกัน เรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่คือ ไวรัส ริก เก็ตเซีย แบคทีเรีย โปรโตซัว เชื้อรา และปาราสิต ตามล าดับ 1.1) แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และเป็นเซลล์สิ่งมีชีวิตที่ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Prokaryote) มีขนาดตั้งแต่ 0.5-40 ไมครอน มีรูปร่างหลายแบบ(ภาพที่ 1.1) ได้แก่ รูปร่างกลม เรียกว่า คอกคัส (Coccus) รูปร่างเป็นแท่ง เรียกว่า บาซิลลัส (Bacillus) หรือ รอด (Rod) รูป ร่ างเป็ น แบ บ เก ลี ย วห ล ว มๆ เรีย ก ว่ า สไป ริลลั ม (Spirillum) เป็นแบบเกลียวแน่นเรียกว่า สไปโรคีต (Spirochetes) บางชนิดเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้หลายแบบแล้วแต่สภาวะแวดล้อม เรียกว่า พลีมอร์ฟิค (Pleomorphic) ภาพที่ 1.1ลักษณะรูปร่างของแบคทีเรียแบบต่างๆ ที่มา: กลม แท่ง เกลียวหลวม เกลียวแน่น
ชนิดของแบคทีเรียแบ่งตามลักษณะโครงสร้างของผนังเซลล์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ โดย 3 กลุ่มแรกเป็นแบคทีเรียก่อโรค อีกกลุ่มที่เหลือไม่ก่อโรค ได้แก่ 1) แบ คทีเรียแก รมบ วก มีโค รงสร้างของผนังเซลล์ ที่เรียก ว่า เพปทิโดไกลแคน (Peptidoglycan) หนา 2) แบคทีเรียแกรมลบ มีผนังเซลล์สองชั้น คือ ผนังเซลล์ด้านนอก เรียก outer cell membrane และผนังเซลล์ชั้นในเป็นชั้นของเพปทิโดไกลแคนซึ่งบางกว่าของแบคทีเรียแกรมบวก (ภาพ ที่ 1.2) 3) แบคทีเรียกลุ่มไมโครพลาสมา ไม่มีผนังเซลล์ มีรูปร่างไม่แน่นอน 4) แบคทีเรียไม่ก่อโรค เรียก อาร์เชีย (Archaebacteria) ถ้าแบ่งชนิดแบคทีเรียตามความต้องการออกซิเจนในการด ารงชีวิต สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ แอโรบิค แบคทีเรีย (Aerobic bacteria) คือ แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนเท่าที่มีในบรรยากาศเพื่อ การด ารงชีวิต เช่น เชื้อสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus spp.) บาซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) เป็นต้นแอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic bacteria) คือ แบคทีเรียที่ไม่ต้องการ ออกซิเจนในการด ารงชีวิต เช่นคลอสตริเดียม (Clostridium spp.) เป็นต้นและแฟคัลทาทีพ แบคทีเรีย (Facultative bacteria) คือแบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนในการด ารงชีวิตน้อยกว่า แอโรบิค แบคทีเรีย เช่น แอคติโนมัยเซส โบวิส (Actinomyces bovis) เป็นต้น วิธีการที่แบคทีเรียท าอันตรายต่อร่างกายสัตว์มี 2 วิธี คือ 1) แบคทีเรียเข้าไปในร่างกายและขยายจ านวนเจริญเติบโต และท าอันตรายต่อเนื้อเยื่อโดยตรง ซึ่งการท าอันตรายต่อเนื้อเยื่อของแบคทีเรียนั้นแตกต่างกันไปตามชนิดของแบคทีเรีย 2) สร้างสารพิษเข้ากระแสเลือด และท าลายเนื้อเยื่อ สารพิษอาจเป็น เอนโดท็อกซิน (Endotoxin) หรือ เอ็กโซท็อกซิน (Exotoxin) การฆ่า หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สามารถท าได้ 2 วิธี คือ วิธีทางกายภาพ (Physical method) ได้แก่ ใช้ความร้อน ความดัน การแช่แข็ง การท าแห้ง และการกรอง และวิธีการ ท างเค มี(Chemical method) เช่ น ย าฆ่ าเชื้ อ(Disinfectant) ต่ างๆ ห รื อ ย าต้ าน จุ ลิ น ท รี ย์ (Antimicrobial)
(ก) (ข) ภาพที่ 1.2เปรียบเทียบโครงสร้างของผนังเซลล์ของ(ก) แบคทีเรียแกรมบวก (Gram-positive bacterium) มีชั้นเปปติโดกลัยแคน(Peptidoglycan) หนา และไม่มีชั้น เอ้าเตอร์เมมเบรน (Outer membrane) เมื่อเป รียบเทียบกับ(ข)แบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacterium) ที่มา: Garland Science, 2008. 1.2)ริกเกตเซีย (Ricketsia) จัดเป็นแบคทีเรีย แกรมลบ ที่เจริญอยู่ในเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต มีขนาดทั่วไปมักไม่เกิน 0.5 ไมครอน โดยทั่วไปเจริญในเซลล์ของแมลง แต่มี 2 กลุ่มที่ก่อ โรคในสัตว์ คือ ริกเก็ตเซียที่เจริญในเซลล์บุผนังของหลอดเลือดฝอย และเซลล์เม็ดเลือดของสัตว์ การ แพร่ระบาดของเชื้อริกเกตเซียเกิดจากแมลงเป็นพาหะน าโรค โดยเฉพาะเห็บ การก่อโรคโดยเชื้อจะเข้า ไปเพิ่มจ านวนภายในเซลล์เป้าหมาย ได้แก่ เซลล์บุผนังภายในของหลอดเลือดฝอย ท าให้เซลล์แตก และ เลือดออก หรือเส้นเลือดอุดตัน ถ้าเชื้อเข้าท าลายเซลล์เม็ดเลือดแดงจะท าให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดเลือด จางเช่นโรคอะนาพลาสมา (Anaplasmosis) ในโค 1.3) ไวรัส (Virus) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุด คือ ขนาดเพียง 10-300 นาโนเมตร ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งมีก าลังขยายได้กว่าสามหมื่นเท่า ไวรัสมีลักษณะไม่เป็น เซลล์ที่สมบูรณ์เนื่องจาก ประกอบด้วยโครงสร้างที่เรียบง่าย (ภาพที่ 1.3) คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid; DNA) หรือกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid; RNA) อย่างใด อย่าง หนึ่ง ที่ห่อหุ้มด้วย สารโปรตีนที่เรียกว่าแคปซิด (Capsid) บางชนิดอาจมีโครงสร้างโปรตีนหุ้มรอบด้าน นอกเรียกว่า เอนเวโลป (Envelope)
ภาพที่ 1.3โครงสร้างพื้นฐานของไวรัส ประกอบด้วย กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) เป็นดีเอ็นเอหรือ อาร์เอนเอ, แคปซิด (Capsid) และหรือ เอนเวโลป (Envelope) ที่มา: Quinn et al. (2002) ไวรัสมีรูปร่าง 3 แบบ (ภาพที่ 1.4) คือ ทรงเหลี่ยมหรือทรงลูกบาศก์ ทรงแท่ง หรือทรงสูง และรูปร่างเชิงซ้อน หรือรูปร่างไม่แน่นอนแบบเชิงซ้อน อาจมีรูปร่างทั้งสองแบบปนกัน หรือ มีรูปร่างแปลกๆ เช่น คล้ายลูกปืน หรือแผ่นอิฐไวรัสไม่สามารถเจริญเพิ่มจ านวนอย่างอิสระได้เนื่องจาก โครงสร้างเซลล์ไม่สมบูรณ์ ไม่มีเอนไซม์ไม่มีไรโบโซม ไม่มีไซโตพลาสซึม การเพิ่มจ านวนจึงต้องอาศัย เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆเมื่ออยู่ภายนอกตัวเซลล์สิ่งมีชีวิต จะไม่สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจ านวน ภาพที่ 1.4ภาพแสดงรูปร่างของไวรัส 3 แบบ คือ แบบแท่ง เช่น ไวรัส TMV แบบลูกบากศ์เช่น adenovirus และ แบบเชิงซ้อน เช่น Influenza virus ที่มา: Quinn et al. (2002)
ชนิดของไวรัสแบ่งตามชนิดของกรดนิวคลีอิก ที่เป็นโครงสร้างของไวรัสนั้นๆ ได้ 2กลุ่มใหญ่คือ ไวรัสชนิดที่มีกรดนิวคลิอิกเป็น กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid; DNA) หรือเรียกว่า ดีเอ็นเอไวรัส (DNA virus) และไวรัสชนิดที่มีกรดนิวคลิอิกเป็น กรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid; RNA) หรือเรียกว่าอาร์เอ็นเอไวรัส (RNA virus) โดยในแต่ละกลุ่มมี 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่มีเอนเวโลป (Enveloped) และไม่มีเอนเวโลป (Non-enveloped) (ภาพที่ 1.5) การก่อโรคในสัตว์ของไวรัสคือไวรัสก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ 3 แบบ ได้แก่ 1) การท าลายเซลล์โดยตรงได้แก่ ยับยั้งการสร้างโปรตีน การสร้างดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอของเซลล์ ท าลายเซลล์ท าให้เซลล์แตก 2) ท าให้เกิดการติดเชื้อยืดเยื้อ ไวรัสจะไม่ท าลายเซลล์ เซลล์ที่ติดเชื้อยังคงท า หน้าที่ได้เหมือนเดิม ไวรัสยังคงอยู่ในร่างกาย แต่การแสดงอาการป่วย จะเกิดขึ้นเมื่อสัตว์มีความเครียด ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายอ่อนแอ การติดเชื้อแบบนี้ท าให้สัตว์ป่วยแบบเรื้อรัง 3) ไวรัสท าให้เซลล์แบ่งตัวเพิ่มจ านวนอย่างมาก เกิดเป็นเนื้องอก การก าจัดหรือท าลายไวรัสโดยทั่วไป ไวรัสจะไวต่อการถูกท าลายด้วยสารเคมี และหรือโดยทางกายภาพมากกว่าแบคทีเรีย และเชื้อราการก าจัดไวรัส ท าได้ 2 วิธี คือ 1) วิธีทางฟิสิกส์ ได้แก่ความร้อนโดยทั่วไปการใช้ความร้อน 50 - 60 องศา เซลเซียสเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงจะฆ่าไวรัสส่วนใหญ่ได้ยกเว้นเชื้อที่ทนเป็นพิเศษเช่น ไวรัสไรโน (Rhinovirus) ไวรัสเอ็นเทอโร (Enterovirus) ไวรัสตับอักเสบบีเป็นต้นการต้มในน้ าเดือดนาน 20 - 30 นาทีจะสามารถฆ่าไวรัสได้ทั้งหมดแต่ถ้าต้องการฆ่าเชื้อทุกชนิดให้หมดอย่างสมบูรณ์รวมทั้งสปอร์ของ แบคทีเรียต้องใช้วิธีนึ่งด้วยไอน้ าที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้วอุณหภูมิ121 องศาเซลเซียสจะฆ่าเชื้อ ได้หมดใน 15 นาทีส่วนวิธีพาสเจอร์ไรซ์(Pasteurization) นั้นมักใช้ฆ่าเชื้อในอาหารเช่นนมซึ่งสามารถ ฆ่าเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารรวมทั้งเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ที่อุณหภูมิ4 องศาเซลเซียสเชื้อ ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้นานหลายวันและที่อุณหภูมิ-70 องศาเซลเซียส อยู่ได้นานเป็นปี 2) สารเคมีกลไกการท าลายเชื้อไวรัสคือละลายไขมันในเอนเวโลป หรือท าให้ โปรตีนและกรดนิวคลิอิกของไวรัสเสียสภาพไปสารเคมีที่นิยมใช้กันแพร่หลายได้แก่สารละลายไขมันเช่น อีเธอร์คลอโรฟอร์ม และสารซักฟอกต่างๆ สามารถท าลาย เอนเวโลปของไวรัสได้คลอรีนเข้มข้น ฟอร์มาลินและโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจาง สามารถท าลายไวรัสได้ไวรัสจะทนต่อยาฆ่าเชื้อพวก ไอโอโด ฟอร์ และพวกควอเตอร์นารีแอมโมเนียมคอมปาวด์ แต่ก็สามารถท าลายไวรัสได้บางชนิดเท่านั้น
ภาพที่ 1.5ไวรัสแบ่งออกเป็น2 กลุ่มใหญ่คือดีเอ็นเอไวรัสอาร์เอ็นเอไวรัส โดยในแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น กลุ่มที่มีเอนเวโลป (Enveloped) และไม่มีเอนเวโลป (Non-enveloped) ที่มา: Quinn et al. (2002) 1.4)โปรโตซัว (Protozoa) โปรโตซัวมีประมาณ 64,000 ชนิดพบทั้งในดิน และน้ า ส่วนใหญ่อาศัยอยู่อย่างอิสระ (Free living) โปรโตซัวที่เป็นอันตรายก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในคน
และสัตว์ พบประมาณ 1,000 ชนิด โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคารีโอติก (Eukaryotic cell) คือ มี นิวเคลียสแยกออกมาจากไซโตพลาสซึมอย่างชัดเจน โดยเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane) มี ออร์แกนเนล (Organelles) ต่างๆ อยู่ภายในไซโตพลาสซึม มีขนาดตั้งแต่ 10–50 ไมโครเมตร จนถึง ขนาด 1 มิลลิเมตรเคลื่อนไหวหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างเซลล์และอวัยวะพิเศษ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบ อาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศบางชนิดมีลักษณะคล้ายพืช เช่น มีคลอโรฟิลล์เป็นต้นตัวอย่างของโปร โตซัวที่ก่อโรคในสัตว์ ได้แก่ เฮพาโทซูน (Hepatozoon) ทริปพาโนโซม (Trypanosome) บาบีเซีย (Babesia) เป็นต้นโปรโตซัวแบ่งออกเป็น4 กลุ่ม โดยอาศัยโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์ดังนี้ 1)โปรโตซัวที่มีแฟลกเจลลัมหรือแส้(Flagellum) ส าหรับใช้ในการเคลื่อนที่ เช่นทริปาโนโซมา (Trypanosoma spp)เป็นปรสิตในเลือดสัตว์และคน 2) โปรโตซัวที่เคลื่อนที่โดยการไหลเวียนของไซโตพลาสซึมภายในเซลล์ไซโตพลาสซึมยื่นออกไปเป็นเท้า เทียม เช่นเอนทาโมอีบา ฮีสโตไลติกา (Entamoeba histolytica) ท าให้เกิดโรคบิดล าไส้อักเสบและ ท้องร่วงในคน 3) โปรโตซัวชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ชีเลีย (cilia) ซึ่งคล้ายขนสั้นมีอยู่ตลอดชีวิตของสัตว์ส่วนใหญ่อยู่เป็น อิสระมีทั้งในน้ าจืดและน้ าเค็มโปรโตซัวที่เคลื่อนที่โดยซีเลียหรือแฟลกเจลลัม ได้แก่ โปรโตซัวที่อยู่ใน ล าไส้กบและคางคกอาจพบได้บ้างในพวกปลาและสัตว์เลื้อยคลาน 4) โปรโตซัวที่ไม่มีโครงสร้างส าหรับใช้ในการเคลื่อนที่เพราะด ารงชีวิตเป็นแบบปรสิตทั้งหมดและเป็น ปัญหาส าคัญในสัตว์เศรษฐกิจ การติดต่อของโรคเกิดจากแมลงดูดเลือดเป็นพาหะ ทั้งนี้เนื่องจากการ เคลื่อนที่ของโปรโตซัวจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยทางเลือดเช่น เชื้อ บาบีเซีย (Babesia) ในโค การก่อโรคในสัตว์ของโปรโตซัวได้แก่แย่งอาหาร เช่น แย่งใช้กลูโคสในกระแส เลือดของสัตว์เช่น เชื้อทริปปาโนโซมา ในม้า และโคการเข้าท าลายเนื้อเยื่อหรือเซลล์ร่างกายสัตว์ โดยตรง เช่น เชื้อโรคบิดจะท าลายเนื้อเยื่อบุผนังล าไส้ หรือ เชื้อบาบีเซีย ท าให้เม็ดเลือดแดงของโค แตก ในเส้นเลือด 1.5) เชื้อราเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตมีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่ได้แยกส่วนออกเป็น ราก ใบ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สามารถสร้างสปอร์ได้ เชื้อรามีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ เป็นเซลล์ชนิดนิวเคลียสมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Eukaryote) มี นิวเคลียสอย่างน้อยหนึ่งนิวเคลียส มีรูปร่าง สองแบบตามการเจริญของเชื้อราคือ ทรงกรม หรือวงรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกันตั้งแต่ 3-5 ไมโครเมตร ระยะการเจริญของเชื้อราระยะนี้เรียกว่า ยีสต์ (Yeast form) ส่วนรูปร่างแบบเป็นสายยาวเป็นเส้นใย เรียกว่าไฮฟี (Hyphae) ไฮฟีมีรูปร่างทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 ไมโครเมตร เรียกระยะการเจริญของเชื้อรา ระยะนี้ว่า ราสาย (Mold form) (ภาพที่ 1.6)
ภาพที่ 1.6เชื้อรามีรูปร่าง 2 แบบ คือ ยีสต์ (yeast form) และราสาย (mold form) ที่มา: Quinn et al. (2002) เชื้อราแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ด ารงชีพด้วยสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่ ตายแล้ว เรียกว่า ซาโพรไฟท์(Saprophyte) อีกกลุ่มหนึ่งอาศัยบนสิ่งมีชีวิตอื่นเรียกว่า พาราไซท์ (Parasite) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ (Pathogenic fungi) เชื้อราที่ก่อโรคในสัตว์ที่ ส าคัญแบ่งเป็น5 พวก คือ 1.ซุปเปอร์ฟิเชี่ยว ไมโคเซส (Superficial mycoses) หรือคิวทาเนียส มัยโค เซส (Cutaneous mycoses) เป็นเชื้อราที่ก่อโรคบนผิวหนัง เช่น เล็บ ผิวหนัง ขน หรือ ผม เชื้อรากลุ่ม นี้ เช่นไมโครสปอรัม (Microsporum spp.) ทริโคไฟตอน (Trichophyton spp.) เป็นต้น 2.ซับคิวทาเนียส มัยโคเซส (Subcutaneous mycoses) เป็นเชื้อราที่ก่อโรค บริเวณใต้ผิวหนัง เช่น Sporothrix schenckii เป็นต้น 3.ซิสเทมิก ไมโคเซส (Systemic mycoses) เป็นเชื้อราที่ก่อโรคกับระบบ ต่างๆของร่างกาย เช่น กระดูก ปอด เชื้อราเหล่านี้ได้แก่ Histoplasma capsulataเป็นต้น 4.ออปพอร์ทูนิสติก ซิสเทมิก ไมโคเซส (Opportunistic systemic mycoses) ได้แก่เชื้อราฉวยโอกาส ที่พบได้ทั่วไปในบรรยากาศ และสามารถก่อโรคได้เมื่อร่างกายเกิด ความผิดปกติทางสรีรวิทยา เชื้อรากลุ่มนี้ได้แก่แคนดิดา อัลบิแคน (Candida albican) และคริปโต คอคคัส นีโอฟอร์มานส์(Cryptococcus neoformans) เป็นต้น 5.แบคทีเรียล อินเฟคชั่น ซิมิลาร์ ซิสเทมิก ไมโคเซส (Bacterial infection similar to systemic mycoses) ได้แก่ เชื้อรา ที่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายแบคทีเรีย เช่นแอคติโนมัย เซส (Actinomyces spp.)และนอร์คาเดีย (Norcadia spp.)เป็นต้น
เชื้อราสามารถก่อโรคในคนและสัตว์ได้ 3 วิธี ดังนี้ 1.เชื้อราไปเจริญในร่างกายสัตว์และคน ท าให้เกิดโรค 2.สปอร์ของเชื้อราท าให้เกิดการแพ้ โดยการหายใจเอาละอองสปอร์ของ เชื้อรา 3.เชื้อราสร้างสารพิษ (Mycotoxin) แล้วคนหรือสัตว์กินสารพิษเข้าไป สารพิษจากเชื้อราเช่น อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) การก าจัดเชื้อราสามารถท าได้ 2 ทาง คือ ทางกายภาพ คือ ความร้อน อุณหภูมิที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ คือ 60-63 C นาน 30 นาที รังสีเอ็กซ์หรือแสงอัลตราไวโอเล็ตสามารถ ยับยั้ง หรือท าให้เชื้อราผิดปกติ หรือ ตายได้สารเคมี สารฆ่าเชื้อรา หรือเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ สามารถก าจัด เชื้อราได้ 1.6) ปาราสิตหรือพยาธิ(Parasites) เป็นสัตว์ชั้นต่ าหลายเซลล์ อาศัยยู่ใน หรือบนร่างกายคนและสัตว์ พบได้ในล าไส้ เลือด ไต ตับปอด หัวใจ กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่นๆ แล้วแต่ ชนิดของปรสิต ด ารงชีพอยู่ได้โดยแย่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่หรือ โฮสต์ (Host) และท าให้เกิด อันตรายต่อโฮสต์ปาราสิตแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามต าแหน่งก่อโรคในสัตว์ ดังนี้ 1.ปาราสิตภายใน (Endoparasites) ได้แก่ พยาธิต่างๆ เช่นพยาธิตัว กลม พยาธิตัวแบนหรือตัวตืด พยาธิใบไม้ เป็นต้น 1.1พยาธิตัวแบน (Cestode หรือ tapeworm) มีลักษณะตัวแบน เป็นปล้อง (ภาพที่ 1.7) มีอวัยวะสืบพันธุ์ 2เพศในตัวเดียวกัน ช่วงชีวิตการเจริญเติบโต ในระยะตัวอ่อน เจริญเติบโตในตัวกึ่งกลาง (Intermediate host) ซึ่งอาจเป็นสัตว์เลือดอุ่น หรือเลือดเย็นก็ได้ พยาธิตัว แบนไมค่อยก่อปัญหาในสัตว์เศรษฐกิจมากนัก เช่น พยาธิตัวตืดในล าไส้เล็กของสัตว์เคี้ยวเอื้อง กลุ่ม โมนิ เซีย (Monezia) มักอยู่ชั่วคราวเท่านั้น
ภาพที่ 1.7ลักษณะโครงสร้างของพยาธิตัวตืด ประกอบด้วยa) หัว (Scolex), b) คอ (Neck) และ c) ล าตัว (Strobila) ล าตัวแบ่งออกเป็นส่วนปล้องเยาว์วัย (Immature) ปล้องที่เจริญวัย (Mature) และปล้องที่สุก (Gravid) โดยปล้องที่สุกภายในมีไข่ และจะหลุดออกมากับ อุจจาระ ที่มา: http://tapewormmartin.weebly.com/structure.html 1.2พยาธิใบไม้(Trematode หรือ fluke) มีลักษณะแบนแต่ไม่ เป็นปล้อง (ภาพที่ 1.8) มีอวัยวะสืบพันธุ์ 2 เพศในตัวเดียวกัน ระยะตัวอ่อนของพยาธิเจริญเติบโตใน หอย ส่วนตัวแก่พยาธิเจริญเติบโตในถุงน้ าดี หรือ กระเพาะหมักของสัตว์เคี้ยวเอื้อง แล้วแต่ชนิดของ พยาธิ ถ้าเป็นพยาธิใบไม้ในตับ (Liver fluke) ตัวแก่พยาธิก็จะเจริญเติบโตในถุงน้ าดีถ้าเป็นพยาธิใบไม้ ในกระเพาะหมัก ตัวแก่พยาธิก็จะเจริญเติบโตในกระเพาะหมัก พยาธิใบไม้ในตับ เช่น ฟาสซิโอลา เฮปา ติกา (Fasciola hepatica) เป็นพยาธิใบไม้ในตับโค ก่อความเสียหายอย่างมากในการเลี้ยงสัตว์ท าให้ สัตว์เจริญเติบโตช้า และตับโดนท าลาย ภาพที่ 1.8รูปร่างของพยาธิฟาสซิโอลา เฮปปาติกา (Fasciola hepatica) เป็นพยาธิใบไม้ในตับแกะ และโค
ที่มา: Roberts et al. (2006) ภาพที่ 1.9โครงสร้างของพยาธิตัวกลมเพศผู้ (male) และเพศเมีย (female) ที่มา: Roberts et al. (2006) -พยาธิตัวกลม (Nematode หรือ round worm) เป็นพยาธิตัวกลมยาวมีเพศผู้ และ เพศเมีย แยกกัน(ภาพที่ 1.9) พบพยาธิในกระเพาะอาหาร ล าไส้ และปอดของสัตว์เลี้ยงและ สัตว์ป่า ตัวอ่อนของพยาธิจะเดินทางอยู่ในเนื้อเยื่อของโฮสต์ พอโตเต็มวัยจะไปอยู่ในล าไส้หรือ ป อ ด เช่ น ก ลุ่ม พ ย าธิไส้เดื อน (Ascaroides) แ ล ะพ ย าธิใน ก ลุ่ม สต รองจัยลอ ย ส์ (Strongyloides) เช่นพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิเม็ดตุ่ม และพยาธิในปอด 2.ปาราสิตภายนอก (Extoparasites) ได้แก่พวกแมลงดูดเลือด ชนิดต่างๆ เช่น เห็บ เหา ยุง ริ้นไร เป็นต้นการก่ออันตรายของปาราสิตต่อโฮสต์อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อต่อไปนี้ 1.เบียดบังสารอาหารของโฮสต์ เช่นดูดเลือด น้ าเหลือง และ ของเหลวต่างๆในร่างกายเช่น ปาราสิตภายนอกต่าง ๆ ได้แก่ เห็บ ยุง เหลือบ ไร หรือปาราสิตภายใน ได้แก่ พยาธิปากขอ พยาธิเม็ดตุ่ม เป็นต้น 2. ท าลายเซลล์เนื้อเยื่อจากตัวพยาธิโดย ตรง หรือพยาธิ หลั่งสารต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ ท าลายเนื้อเยื่อตับ หรืออุดตันท่อน้ าดี พยาธิไส้เดือนอุดตันล าไส้
3.เป็นตัวพาหะน าโรค เช่น เห็บ หรือแมลงดูดเลือดเป็น พาหะน าโรคไข้เห็บ และ โรคอนาพลาสมา ที่เกิดจากเชื้อ ริกเก็ตเซีย 4.เกิดความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน 2) สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้แก่ สารพิษที่ท าให้เกิดโรคในสัตว์อากาศร้อน และเย็นเกินไปท าให้สัตว์ตายได้ การขาดสารอาหารและอุบัติเหตุต่างๆ 2.1)สารพิษ หมายถึงสารซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมี หรือทางกายภาพในปริมาณ หนึ่งหรือความเข้มข้นจ านวนหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดการเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตโดยท าให้การท างานของอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อต้องเสียไปหรือถูกขัดขวาง สารพิษที่ส าคัญและก่อโรคในสัตว์มีหลายชนิด ที่ส าคัญ แบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สารเคมีหรือสารพิษที่ได้จากการสังเคราะห์เช่น สารฆ่าแมลง สารก าจัด วัชพืช ปุ๋ยเคมี โลหะหนัก สารพิษจากสิ่งมีชีวิต ได้แก่สารพิษจาก จุลินทรีย์ เช่น จากเชื้อรา สารพิษจาก แบคทีเรียสารพิษจากพืช เช่น ใบและหัวมันส าปะหลังสด มีกรดไฮโดรไซยานิก(Hydrocyanic acid)สาร ไนเตรตและไนไตรท์(Nitrate and Nitrite) ส่วนในใบกระถินสด มีสารพิษมิโมซิน (Mimosine) ซึ่งท า ให้เกิดพิษกับสัตว์ที่กินเข้าไปได้สารพิษจากสัตว์ เช่น แมลง งูตะคาบ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสารพิษที่ ส าคัญและมักพบความเป็นพิษได้บ่อยครั้ง ได้แก่ สารฆ่าแมลง สารก าจัดวัชพืช สารพิษจากจุลินทรีย์ 1.สารพิษจากสารฆ่าแมลง สารฆ่าแมลงที่ส าคัญได้แก่ สารพวกออร์ กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต (Carbamate) สัตว์ที่ได้สารฆ่าแมลงชนิดนี้จะมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ท าให้มีอาการที่ส าคัญ 3 อย่างคือ ชักกระตุก อาเจียนน้ าลายไหล และท้องเสีย ถ้าได้รับปริมาณมากอาจ ตายได้ยาต้านพิษคืออะโทรปีน ซัลเฟต (Atropine sulphate) 2.สารก าจัดวัชพืช ส่วนมากมีความเป็นพิษน้อยต่อสัตว์เนื่องจาก มี การพัฒนาเพื่อก าจัดวัชพืชเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าสัตว์ได้รับในปริมาณที่มาก เช่น หลังจากพ่นสาร ก าจัดวัชพืช แล้วปล่อยสัตว์ลงกินวัชพืชทันทีเป็นต้น ก็อาจเป็นพิษได้ สารก าจัดวัชพืชที่ส าคัญคือ สาร กลุ่มกรดคลอโรฟินอกซีไทรอาซีนส์ ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย และเป็นพิษในสัตว์เมื่อได้รับในปริมาณที่ มาก อาการเป็นพิษคือ เบื่ออาหาร น้ าหนักลด หง่อยซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะส่วนขาหลัง สารประกอบไดไนโตร (DNOC) เป็นกลุ่มสารก าจัดวัชพืชที่เป็นพิษรุนแรงที่สุด เนื่องจากสารพิษสามารถ ผ่านทางผิวหนัง และเข้าปอดได้ สัตว์ได้รับจะแสดงอาการ ไข้ หายใจล าบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ชัก ตาย และซากแข็งเร็วกว่าปกติ ไม่มียาต้านพิษ การให้น้ าตาลกลูโคส และไวตามิน เอ (Vitamin A) อาจ ช่วยได้บ้าง 3.สารพิษในพืช ที่ส าคัญ คือ กรดไฮโดรไซยานิก (HCN) พบได้ในมัน ส าปะหลัง พืชตะกูลถั่ว อาการเป็นพิษคือ ตื่นตกใจง่าย หายใจเร็ว และตามด้วยหายใจล าบาก หัวใจเต้น เร็ว น้ าลาย น้ าตาไหล อาจปัสสาวะ และอุจจาระไหลด้วย ในสุกรอาจมีอาเจียน กล้ามเนื้อสั่น และเกร็ง ตายในที่สุด อาการทั้งหมดเกิดขึ้นภายใน 30-45 นาที และถ้าภายใน 2 ชั่วโมงสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนมาก จะกลับสู่ปกติ
4.สารพิษจากเชื้อรา เป็นสารเมทาบอไลท์ (Metabolites) ที่ผลิตขึ้น จากเชื้อราในกลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus spp.) กลุ่มเพนนิซิลเลียม (Penicillium spp.) และ กลุ่มฟิวเซเรี่ยม (Fusarium spp.) ระหว่างการเจริญเติบโตเพิ่มจ านวน สารพิษที่ส าคัญเช่น สารพิษกลุ่ม อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) กลุ่มโอคราทอกซิน (Ochatoxin) กลุ่มไตรโคธีซีน (Thichothecene) และ กลุ่มเออก็อต(Ergot) สารพิษเหล่านี้มีผลต่อตับ ไตการหมุนเวียนของเลือด ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน ความรุนแรงของอาการที่พบมีทั้งแบบเฉียบพลันและ เรื้อรัง 5.สารพิษจากแบคทีเรีย จ าแนกได้ 2 ชนิด คือ สารพิษที่แบคทีเรีย สร้างขึ้นมา และ ปล่อยสารพิษนั้นออกนอกเซลล์ของแบคทีเรียขณะมีชีวิต เพื่อท าลายเนื้อเยื่อสัตว์ เรียก สารพิษชนิดเหล่านี้ว่า เอกโซท็อกซิน (Exotoxin) และสารพิษที่เป็นส่วนประกอบในเซลล์แบคทีเรีย เมื่อ เซลล์แบคทีเรียตาย จึงค่อยปล่อยสารพิษออกมาท าอันตรายเนื้อเยื่อต่างๆ เรียกสารพิษนี้ว่า เอนโดท็อก ซิน (Endotoxin) พิษจากเอกโซท็อกซิน จะแสดงอาการที่เฉพาะเช่น เอกโซทอกซิน จากเชื้อบาททะยัก จะท าให้เกิดอาการชัก ส่วนพิษจากเอนโดทอกซิน จะท าให้เกิดอาการทั่วๆ ไปคือ เป็นไข้ 2.2) อากาศ 1.อาการร้อนจัด นอกจากเป็นสาเหตุโน้มน าให้เกิดโรคแล้ว ยังเป็น สาเหตุท าอันตรายต่อสัตว์โดยตรงอีกด้วย เช่น สัตว์ที่ถูกขังไว้ในที่ที่อากาศร้อนมากๆ นานๆ ท าให้สัตว์ ช็อกตายได้ 2.กรณีอากาศเย็นจัดก็มีผลท าอันตรายต่อสัตว์ได้โดยตรงเช่นกัน กล่าวคือท าให้สัตว์สูญเสียความร้อนออกนอกร่างกายมากกว่าปกติ เกิดอาการเหน็บชาตามร่างกาย อวัยวะบริเวณหู หาง และเท้าซีด เนื่องจากไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง หรือการไหลเวียนของเลือดช้ากว่า ปกติ และอาจเกิดเนื้อตายที่หู และหางได้ ถ้าปล่อยให้สัตว์ อยู่บริเวณอากาศหนาวจัดเป็นเวลานานๆ สัตว์จะมีอาการปวดศีรษะเดินโซเซ เป็นลมและอัมพาตตายในที่สุด 2.3) การขาดสารอาหารท าให้สัตว์ป่วยได้ เช่น การขาดแร่ธาตุแคลเซียมในโค นมหลังคลอด สัตว์จะแสดงอาการชัก นอนตะแคง อาจตายได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา 2.4) อุบัติเหตุเช่น การบังคับสัตว์ไม่ถูกวิธีท าให้สัตว์ดิ้นมาก และกระแทก หรือเชือกรัดคอขาดอากาศหายใจ เป็นต้น
สรุป โรคสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรคติดเชื้อ กับ โรคไม่ติดเชื้อ โดยกลุ่มของโรคติดเชื้อยัง แบ่งเป็นโรคระบาดซึ่งแบ่งตามรูปแบบของการระบาด ได้แก่ การระบาดแบบทั่วโลก (pandemic) การ ระบาดแบบรุนแรงและรวดเร็ว (epizootic) การระบาดแบบไม่รุนแรง ในพื้นที่แคบๆ (enzootic) การ ระบาดแบบเฉพาะที่หรือประจ าถิ่น (endemic) และการระบาดแบบประปราย (sporadic) ซึ่งโรค ดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครออกานิสซึ่ม (microorganism) ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา โปรโตซัว ริกเกตเซีย รวมไปถึงพยาธิภายนอกและภายในด้วย ในส่วนของโรคไม่ ติดเชื้อก็เป็นกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ได้โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กแต่ มักจะมีสาเหตุมาจาก อายุ พันธุกรรม อาหาร สภาพแวดล้อมรวมถึงอุบัติเหตุ
เอกสารอ้างอิง จิตติมา กันตนามัลลกุล. 2546.โรคและสาเหตุของโรคสัตว์. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาศาสตร์ สุ ข ภ า พ สั ต ว์ (พิ ม พ์ ค รั้ง ที่ 2). ส า ข า วิ ช า ส่ ง เส ริ ม ก า ร เก ษ ต ร แ ล ะ ส ห ก ร ณ์ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 193-243. เชื้อ ว่องส่งสาร. 2533. ประมวลวิชาการสัตวแพทย์.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อ านวยการพิมพ์. 398 หน้า. ณรงค์ กิจพาณิชย์. 2542. สุขศาสตร์สัตว์.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.332 หน้า. ธนาดล จิตรจักร.2547. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาโรคและการสุขาภิบาลสัตว์ทั่วไป. สกลนคร: สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร. 185 หน้า. พรชุลีย์ นิลวิเศษ. 2546. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาศาสตร์สุขภ าพสัตว์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 1-38. สุรพล ชลด ารงค์กุล. 2530. โรคสัตว์เศ รษ ฐกิจ. พิมพ์ค รั้งที่3.สงขลา:ภ าควิชาสัตวศาสต ร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 231 หน้า. อารินี ชัชวาลชลธีระ. 2545.วิทยาไวรัสทางสัตวแพทย์. ขอนแก่น: ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตว แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 207 หน้า. อารินี ชัชวาลชลธีระ. 2546. เชื้อราวิทยาทางสัตวแพทย์. ขอนแก่น: ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะสัตว แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.102 หน้า Foley, J. E., E. L. Biberstein and D. C. Hirsh. 2004. Rickettsiae: Rickettsia, Coxiella, and Orientia. In: Veterinary Microbiology 2nd Ed. (ed. D. C. Hirsh, N. J. Maclachlan, R. L. Walker). Blackwell Publishing Asia, Victoria, Australia. 250-252. Quinn, P.J., B. K. Markey, M.E. Carter, W. J. Donnelly and F.C. Leonard. 2002. Veterinary Microbiology and Microbial Disease. Cornwall: Blackwell Science. 536 p. Reece, W. O. 2005. Functional Anatomy and Physiology of Domestic Animals.Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkinds.513 p. Roberts, L.S., G. D Schmidt and J. Janovy. 2006. Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts' foundations of parasitology. New York: McGraw-Hill. 702 p. Susan E. A. (Ed). 2000. "The Merck Veterinary Manual" A Handbook of Diagnosis and Therapy for the veterinarian 8th edition Merck & Co., Inc. NJ. USA.
- 1 - ANIMAL SCIENCE 8822-B CAUSES, SYMPTOMS, PREVENTION, AND TREATMENT OF VARIOUS ANIMAL DISEASES INTRODUCTION It is impossible to accurately estimate all the losses caused by livestock diseases, but the United States Department of Agriculture estimates that losses caused by mortality, reduced productivity, lower fertility, condemned products, and restricted access to potential markets exceed 17.5 billion dollars annually in the United States. Those losses represent almost 17% of the production costs associated with the livestock industry. Livestock production is an integral part of the way-of-life for the people of the world. Many farmers and ranchers depend upon livestock production for their livelihoods. Consumers expect adequate supplies of meat at economical prices. With livestock mismanagement and spread of diseases*, we are all affected. CAUSES OF DISEASES Disease causes body functions to disfunction or function improperly. Three principal reasons most often cited for the spread of diseases are poor sanitation, improper management, and introduction of new animals into a herd. One or more of the following defects cause diseases. Nutritional defects - An imbalance of required food nutrients in the ration is the cause of nutritional defects. Animals receiving inadequate amounts of vitamins, minerals, fats, carbohydrates, and protein cannot produce efficiently. Therefore, their levels of resistance to disease are lowered. Physiological defects - These defects cause an improper functioning of glands, organs, or body systems. The relationship between the diet and the proper functioning of body parts is directly related. For example, the thyroid gland regulates the rate of body metabolism and depends upon an adequate supply of iodine to function properly. An improperly functioning thyroid gland may increase the nutritive requirements of animals to the point that very few nutrients are available for growth or production. * Underlined words are defined in the Glossary of Terms.
- 2 - Morphological defects (physical defects) - An accident or negligence is responsible for physical defects. Cuts, scrapes, scratches, bruises, and broken bones are examples of morphological defects. Any one of these can temporarily or permanently reduce the efficiency of an animal. Good management practices help eliminate defects of this nature. Pathogenic defects - Certain organisms produce toxins or poisons that upset the normal metabolic activity of the animal. Viruses and bacteria are the most common disease-causing pathogens. They are microscopic in size and capable of multiplying rapidly under ideal environmental conditions. Other pathogens are fungi and protozoans. A discussion of each type follows. Viral diseases are the most difficult to control because viruses closely resemble the chemical compounds that make up a cell. Another problem in controlling viruses is that the chemicals capable of killing or controlling them also kill or destroy the host cell. Preventive vaccinations are the most successful method of controlling viral diseases. Bacteria are microscopic in size, produce powerful toxins, and multiply rapidly. Many bacteria are capable of forming spores, resistant forms of bacterial cells able to withstand severe environmental conditions. These spores are difficult to control and may lie dormant for years before being provided with the opportunity to cause disease. Antibiotics are used successfully to control bacteria. Fungal diseases are caused by fungi, which are small organisms. Many disease-producing fungi live in the soil. It is often difficult to determine the cause of fungal diseases, because bacteria cause a secondary infection and are often erroneously identified as fungi. Protozoa are one celled and the simplest form of animal life. Some protozoa cannot move themselves and must be transported by other means. Some move by making whip-like lashes or vibrating projections. A number of different kinds of protozoa prey upon animals and cause disease. EIGHT GOOD MANAGEMENT PRACTICES ¾ Animals to be added to a herd should be isolated 3 to 4 weeks before they are placed with the herd. This includes both new animals and those removed from the herd and exposed to other animals. ¾ A sound immunization program should be followed. ¾ Clean, healthful surroundings should be provided. ¾ Rations must be nutritionally adequate. ¾ Visitors and new animals should not be allowed in the livestock area. ¾ Diseases should be accurately and quickly diagnosed. ¾ A competent veterinarian should be consulted when a health problem arises. ¾ Livestock should be handled properly. Examples of how to handle animals include the following: o Canvas slappers, rather than clubs and whips, should be used. o Protruding nails and broken boards should be eliminated. o Machinery and equipment should be removed from the lot. o Horned cattle should be dehorned. o Barns and trucks should be bedded properly. o Animals should be loaded slowly and carefully. o Partitions should be used to separate different classes of livestock. o Livestock should be protected from inclement weather.
- 3 - CHARACTERISTICS OF COMMON DISEASES Disease Cause Symptoms Prevention & Control NUTRITIONAL DEFECTS Anemia All farm animals are susceptible. Iron deficiency prevents the formation of hemoglobin, a red ironcontaining pigment in the red blood cells responsible for carrying oxygen to the cells. Characterized by general weakness and a lack of vigor. A balanced ration usually prevents the occurrence of anemia. Bloat Typically occurs when animals are grazing on highly productive pastures during the wetter part of late spring & summer. Swollen abdomen on the left side, labored breathing, profuse salivation, groaning, lack of appetite, & stiffness. Maintain pastures composed of 50% or more grass. Colic Improper feeding. Pain, sweating, & constipation, kicking, & groaning. Careful feeding. Enterotoxemia Bacteria & overeating. Constipation is an early symptom & sometimes followed by diarrhea. Bacterin or antitoxin vaccine should be used at the beginning of the feeding period. Founder Overeating of grain, or lush, highly improved pasture grasses. Affected animals experience pain and may have fever as high as 106 degrees F. Good management & feeding practices prevent the disease. VIRAL DISEASES Cholera Caused by a filterable virus. Loss of appetite, high fever, reddish-purplish patchwork of coloration on the affected stomach, breathing difficulty& a wobbly gait. A preventive vaccine is available. No effective treatment. Producers should use good management. Equine Encephalomyelitis Viruses classified as group A & B are transmitted by bloodsucking insects, such as the mosquito. Fever, impaired vision, irregular gait, muscle spasms, a pendulous lower lip, walking aimlessly. Control of carrier, use of a vaccine. Hemorrhagic Septicemia Caused by a bacterium that seems to multiply rapidly when animals are subject to stress conditions. Fever, difficultly breathing, a cough, & discharge from the eyes & nose. Vaccination several days prior to shipping or other periods of stress. Newcastle Poultry disease - caused by a virus that is spread by contaminated equipment or mechanical means. Chicks make circular movements, walk backwards, fall, twist their necks so that their heads are lying on their backs, cough, sneeze, and develop high fever & diarrhea. Several types of Newcastle vaccines are available, antibiotics are used in treating early stages of the disease. Warts A virus causes warts. Protruding growths on the skin. No known preventive measures. Most effective means is with a vaccine.
- 4 - CHARACTERISTICS OF COMMON DISEASES (continued) BACTERIAL DISEASES Pneumonia Bacteria, fungi, dust, or other foreign matter. The bacterium, pasturella multiocida, is often responsible for the disease. A general dullness, failing appetite, fever & difficulty breathing. Proper housing, ventilation, sanitation, and antibiotics. Tetanus A spore-forming anaerobe bacterium is the cause. The spores may be found in the soil & feces of animals. Difficulty swallowing, stiff muscles, & muscle spasms. Immunizing animals with a tetanus toxoid. Atrophic Rhinitis Two different bacterium, Bordetella bronchiospetica & Pasturella, cause atrophic rhinitis. Affects the nose, making it crooked and wrinkled. Sneezing, nose bleeds, and a tear-stained face occur. Sanitation and a good health program are important for prevention. Vaccines are available. Anthrax A spore-forming bacterium causes the disease. Fever, swelling in the lower body region, a bloody discharge, staggering, trembling, difficult breathing, & convulsive movements. An annual vaccination. Manure & contaminated materials should be burned & area disinfected. Insects should be controlled. Blackleg (Cattle-Sheep) A spore-forming bacterium that remains in an area permanently. The germ has an incubation period of one to five days & is taken into the body from contaminated soil & water. Lameness, followed by depression & fever.. The muscles in the hip, shoulder, chest, back, & neck swell. A preventative vaccine. Brucellosis Caused by bacteria. Brucella abortus is the bacterium. The abortion of the immature fetus is the only sign in some animals. Vaccinating calves with Br. abortus prevent cattle from contacting the disease. Infected cattle must be slaughtered. Distemper (Horses) – Contagious. Exposure to cold, wet weather, fatigue, and an infection of the respiratory tract aid in spreading the disease. Increased respiratory rate, depression, loss of appetite & discharge of pus from the nose are visible symptoms. Infected animals have fever & swollen lymph glands, located under the jaw Animals with disease should be isolated, provided with rest, protected from the weather, and treated with antibiotics. Erysipelas A resistant bacterium capable of living several months in barnyard litter. Three forms: acute, subacute, & diamond skin form. Acute: constipation, diarrhea, & reddish patches on the skin. Subacute: usually localized in an organ such as heart, bladder, or joints. Sloughing off of the skin is common. An anti-swine erysipelas serum is available. Leptospirosis Caused by a bacterium found in the blood, urine & milk of infected animals. Causes abortion & sterility. Symptoms are blood-tinged milk & urine. Susceptible animals should be vaccinated. Tuberculosis Three types of tubercle bacilli causing the disease are human, bovine, & avian. The human type rarely produces TB in lower animals, but the bovine type is capable of producing the disease in most warm-blooded vertebrates. The avian type produces the disease in birds & swine. Lungs are affected. However, other organs may be affected. Some animals show no symptoms; others appear unthrifty & have a cough. Maintaining a sanitary environment & comfortable quarters help prevent the disease.
- 5 - CHARACTERISTICS OF COMMON DISEASES (continued) Pullorum Poultry disease caused by a bacterium that is capable of living for months in a dormant state in damp, sheltered places. The germs infect the ovary & are transmitted to the chicks through the eggs. Infected chicks huddle together with their eyes closed, wings drooped, feathers ruffled, & have foamy droppings. Blood test is required for positive identification of the disease. Disposal of infected hens aids in preventing the disease. Chicks should be purchased from a certified pullorum-free hatchery. FUNGAL DISEASES Foot Rot A fungus common to filth is responsible for foot rot. Animals are most apt to contact foot rot when forced to live in wet, muddy, unsanitary lots for long periods of time. Skin near the hoof-line is red, swollen, & often has small lesions. Maintaining clean, welldrained lots is an easy method of preventing foot rot. Calf Diphtheria Lives in soil, litter, & unclean stables& enters the body through small scratches or wounds. Difficulty breathing, eating, and drinking. Patches of yellowish, dead tissue appear on the edges of the tongue, gums, & throat. Often, a nasal discharge occurs. The diseased tissue is removed to expose healthy tissue, which is treated by swabbing it with tincture of iodine. PROTOZOAN DISEASE Coccidiosis A protozoan of which several species is responsible. Occurs in two forms: cecae and intestinal. Cecae is the acute form that develops rapidly & causes high mortality rate, bloody droppings, & sudden death. Intestinal coccidiosis is chronic in nature, and its symptoms are loss of appetite, weakness, pale comb, & low production. Few deaths occur from the latter form. Because the disease is transmitted in feces, maintaining sanitary conditions & feeding a coccidiostat prevent the disease. DISEASE PREVENTION Prevention is the key to controlling animal diseases. Sanitation is the key to prevention of diseases. Most disease-causing agents enter the body through some type of body opening, such as the nose, eyes, mouth, or wound incision. Pathogens may be spread by direct contact, or indirectly by the wind, water, feed, or other animals. After entering the host, a pathogen must overcome the natural resistance of the body to produce the disease. The following management practices are possibly the best methods of controlling diseases. ¾ Provide an environment that prevents or restricts the growth of pathogens (sanitation). ¾ Provide a balanced diet. ¾ Provide protection from accidental injury.
- 6 - The practices include the following standards for the animals’ living quarters. ¾ Sufficient space for all animals. Crowded conditions tend to promote the incidence of disease. ¾ Fresh air and temperature control through ventilation. ¾ Good drainage. Floors and pens must be kept dry and clean. Bedding must be kept fresh, and manure should be disposed of often. ¾ Systematic pasture rotation system. This is a practical method of disease and parasite control. It breaks the life cycle of pathogens by removing the host. The ultraviolet rays of sunlight kill pathogens when the pasture does not have livestock in it to reinfest it. ¾ Use of disinfectants. Chemicals that restrict the growth of pathogens should be used regularly. Soap and boiling water are two inexpensive disinfectants available to livestock producers. GOVERNMENT REGULATIONS Governmental regulations controlling the transportation and sale of diseased animals are strict and complex. It is important that the livestock producer recognize available assistance through the local veterinarian. The services of the local veterinarian should be used in establishing a disease prevention program and as a source of information on governmental regulations affecting the producer. SUMMARY Proper management practices are the keys to profitable livestock enterprises. Many variables cause diseases, but consulting local veterinarians and learning about the diseases reduce the incidence of the diseases. If mismanagement and livestock diseases are allowed to spread, everyone loses. SELECTED WEB SITES FOR INFORMATION RELATED TO ANIMAL DISEASES http://www.aphis.usda.gov/vs/nvsl/ http://www.ianr.unl.edu/pubs/animaldisease/ http://www.ohsu.edu/cliniweb/C22/C22.html http://www.usaha.org/links.html http://www.usaha.org/NAHEMS/ http://www.usaha.org/reports/reports.html http://www.vetmed.iastate.edu/academics/international/pages/resources.html Acknowledgements Kristy Corley, Graduate Technician, Department of Agricultural Education, Texas A&M University, revised this topic. Larry Ermis, Curriculum Specialist, Instructional Materials Service, Texas A&M University, reviewed this topic. Vickie Marriott, Office Software Associate, Instructional Materials Service, Texas A&M University, prepared the layout and design for this topic. Christine Stetter, Artist, Instructional Materials Service, Texas A&M University, prepared the illustrations for this topic. REFERENCES Agricultural Research Service – U.S.D.A. “Animal Health.” [Online]. Available: http://www.nps.ars.usda.gov/programs/programs.htm?npnumber=103&docid=288. [2002, July]. Baker, James K. and William Greer. Animal Health - A Layperson’s Guide to Disease Control. PrenticeHall, Incorporated: Upper Saddle River, NJ. March 2002.
- 7 - GLOSSARY OF TERMS Antibiotic – A chemical substance produced from microorganisms and used to kill other microorganisms. Diseases – Impairments that affect the performance of vital life functions. Metabolism – The phenomena of chemically changing feedstuffs into complex tissue elements and complex substances into simple compounds. Morphological defects – Physical defects caused by accident or negligence. Nutritional defects – Defects caused by an imbalance of nutrients in a ration. Pathogenic defects – Defects caused by pathogenic organisms such as bacteria and viruses. Physiological defects – Defects caused by improper functioning of body parts such as glands and organs. Slapper – An item used while working cattle or other livestock to ensure that no damage occurs to the animal’s hide. Viruses – Ultra-microscopic particles reproduced in a cell that causes a reaction in the cell. SELECTED STUDENT ACTIVITIES SHORT ANSWER/LISTING: Answer the following questions or statements in the space provided or on additional paper. 1. List three principal reasons most often cited for the spread of livestock diseases. a. _________________________________________________________________________ b. _________________________________________________________________________ c. _________________________________________________________________________ 2. List eight good management practices that should be followed by livestock producers. a. _________________________________________________________________________ b. _________________________________________________________________________ c. _________________________________________________________________________ d. _________________________________________________________________________ e. _________________________________________________________________________ f. _________________________________________________________________________ g. _________________________________________________________________________ h. _________________________________________________________________________ 3. List four types of pathogenic organisms. a. _________________________________________________________________________ b. _________________________________________________________________________ c. _________________________________________________________________________ d. _________________________________________________________________________ 4. What are the four defects that cause diseases? a. _________________________________________________________________________ b. _________________________________________________________________________ c. _________________________________________________________________________ d. _________________________________________________________________________ 5. Provide an example of a protozoan disease. ____________________________________________________________________________
- 8 - 6. How do most disease-causing organisms enter the body? ____________________________________________________________________________ ____________________________________________________________________________ 7. List five examples of how to properly handle animals. a. _________________________________________________________________________ b. _________________________________________________________________________ c. _________________________________________________________________________ d. _________________________________________________________________________ e. _________________________________________________________________________ 8. Annual losses from livestock diseases in the United States exceed $______________________. 9. A(n) ________________ or ________________ is the cause of morphological (physical) defects. 10. Nutritional defects can be prevented by observing good management practices and by feeding a ____________________. 11. To produce efficiently, animals must receive adequate amounts of _____________________, _________________, _________________, __________________, and __________________. 12. Living organisms capable of producing diseases are called ____________________. 13. Physiological defects cause an improper functioning of ______________________________, ________________________, or ____________________. 14. Hemorrhagic septicemia can be prevented by ____________________ animals several days prior to shipment or other periods of stress. 15. Equine encephalomyelitis is transmitted by ____________________ insects. 16. Blackleg is taken into the body from contaminated ________________ and ________________. 17. Protozoa are one-celled and the simplest form of __________________ __________________. 18. ____________________ is the key to controlling animal diseases. 19. After entering the host, a pathogen must overcome the ____________________________ _______________________ of the body to produce the disease. ADVANCED ACTIVITIES 1. Select an animal disease of your choice. Research and write a report on that disease and present your findings orally to the class. 2. Research available resources on all diseases affecting a specific livestock species in your area. Then, develop a complete “prevention plan” and provide details of how to give and when to give vaccines and antibiotics. List other methods of preventing and controlling the diseases. ALL RIGHTS RESERVED Reproduction prohibited without written permission. Instructional Materials Service Texas A&M University 2588 TAMUS College Station, Texas 77843-2588 http://www-ims.tamu.edu 2002