The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบ SAP
สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by lilo.chitanuwan, 2020-07-12 22:11:21

ระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน

ระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบ SAP
สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

1

2

ระบบการออกแบบและพฒั นาการเรียนการสอนเพ่ือสร้างเสรมิ พฤตกิ รรมการให้บรกิ าร
สุขภาพ

ดว้ ยหัวใจความเปน็ มนุษย์ตามกรอบ SAP
สำหรบั นักศกึ ษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์

สถาบนั พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

ระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการ
สุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสห
เวชศาสตร์ สถาบนั พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 รายละเอียดของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริม
พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะ
สาธารณสุขศาสตรแ์ ละสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

ตอนที่ 2 วิธีการและเงื่อนไขสำหรับการใช้ระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพ่ือ
สร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับ
นกั ศกึ ษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

โดยแต่ละตอนมรี ายละเอียดดงั นี้

ตอนที่ 1 รายละเอียดของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม
การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุข
ศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย

1.1 หลักการของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการ
ใหบ้ ริการสขุ ภาพด้วยหวั ใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรบั นกั ศึกษาคณะสาธารณสขุ ศาสตร์
และสหเวชศาสตร์ สถาบนั พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

1.2 วัตถุประสงค์ของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม
การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุข
ศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

1.3 องค์ประกอบและขั้นตอนของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสรมิ
พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะ
สาธารณสขุ ศาสตรแ์ ละสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

3

1.1 หลักการของระบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการ
ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะสาธารณสุข
ศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบนั พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ระบบการออกแบบและพฒั นาการเรียนการสอนฯน้ีใช้หลักการทส่ี ำคัญ 3 หลักการ ได้แก่ หลกั การ
ออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน หลักการของพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความ
เป็นมนุษย์ และหลักการของเอสเอพี (SAP) หรือ Service Mind: S; Analytical Thinking: A และ
Participation: P

1.1.1 หลักการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน ( Instructional Design and
Development: IDD) เป็นการนำศาสตร์การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนมาใช้ในการสร้าง
ระบบน้ี

การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่เป็นระบบสำหรับผู้ออกแบบ
การเรียนการสอน ที่ช่วยทำให้ได้หลักสูตร หน่วยการเรียน บทเรียน หรือแผนการเรียนการสอน/แผน
จัดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพเพราะออกแบบและพัฒนาอย่างมีขั้นตอน และคำนึงถึงองค์ประกอบ
ของการเรียนการสอนทเี่ ปน็ เงอ่ื นไขของความสำเรจ็ ในการเรียนของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์
และสหเวชศาสตร์
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

ครูผู้สอนจำเป็นต้องใช้หลักการของการออกแบบและพัฒนาการเรยี นการสอนเม่ือเกิดปัญหาการ
เรียนการสอนและต้องการแก้ปญั หานั้น ๆ ด้วยการออกแบบวิชาใหม่ท้ังหมดหรือบางส่วน หรืออาจใช้
เมื่อต้องทำหลักสูตรใหม่ ปรับหลักสูตร หรือเมื่อต้องการปรับปรุงรายวิชาต่าง ๆ ผลของการใช้ระบบ
การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนฯ จะช่วยให้ครูสามารถออกแบบรายวิชาของตนเองในทุก
องค์ประกอบของการเรียนการสอนที่รับประกันได้ว่าถ้าทำตามระบบฯน้ีแล้วจะช่วยพัฒนาผู้เรียนตาม
วตั ถุประสงค์ของรายวชิ าและผลลพั ธก์ ารเรียนรูท้ ีก่ ำหนดไว้

หลักการสำคญั ของระบบการออกแบบและพฒั นาการเรยี นการสอนในคร้ังนี้ ประกอบดว้ ย 1) การ
ออกแบบและพัฒนาการเรยี นการสอนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เปา้ หมายครอบคลมุ เพื่อแก้ปัญหาการ
เรียนการสอนในรายวิชาที่ไม่สามารถสร้างพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ให้กับนักศึกษา หรือแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนที่มีพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็น
มนุษย์ตามกรอบเอสเอพีต่ำกว่ามาตรฐานของสถาบัน 2) การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนฯ
ต้องทำให้ได้ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ได้จริง ในบริบทหรือสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนของสถาบันพระ
บรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และ 3) การออกแบบและพฒั นาการเรยี นการสอนฯ สามารถทำได้
โดยผู้สอนเพยี งคนเดยี ว หรอื ผูส้ อนหลายคนช่วยกันก็ได้

4

ขั้นตอนหลักที่ใช้ในการสร้างระบบฯนี้ ใช้ ADDIE Model ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลกั
ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ Analysis 2) การออกแบบ Design 3) การพัฒนา Development 4) การ
นำไปใช้ Implementation และ 5) การประเมนิ Evaluation

1.1.2 หลักการของพฤติกรรมการใหบ้ รกิ ารสุขภาพด้วยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์
พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของสถาบันพระบรมราชชนก

กระทรวงสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะจิตบริการ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะ
การมสี ่วนร่วมของผู้รบั บรกิ าร ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังน้ี

1. ด้านทักษะจิตบรกิ าร
1) กระตือรือร้นในการใหบ้ รกิ าร
2) ให้บริการดว้ ยสีหนา้ ยิ้มแยม้ แจม่ ใส
3) ควบคมุ อารมณ์และแสดงออกตอ่ ผรู้ ับบรกิ ารและผู้เก่ยี วข้องอยา่ งเหมาะสม
4) แสดงกริ ิยา ทา่ ทาง สภุ าพ อ่อนนอ้ ม ออ่ นโยน ในการให้บรกิ าร
5) พดู คยุ ทกั ทาย ซักถามดว้ ยทา่ ทีหว่ งใย
6) รับฟงั ผรู้ ับบริการดว้ ยความตง้ั ใจ
7) ตอบคำถามผู้รบั ริการดว้ ยความเต็มใจ
8) ใหบ้ ริการ หรือกระทำกิจกรรมตา่ ง ๆ โดยไม่หวงั สงิ่ ตอบแทน
9) เสยี สละ อทุ ิศตนในการใหบ้ ริการหรือกระทำกิจกรรมเพ่ือประโยชนส์ ่วนรวม
10) อาสาช่วยเหลอื งานโดยไมต่ อ้ งรอ้ งขอ
11) ดูแล ชว่ ยเหลอื ผู้รบั บริการ ดว้ ยความใส่ใจ เต็มใจ และเขา้ ใจตามเงือ่ นไขเฉพาะของบคุ คล
12) ยอมรบั ความคดิ พฤติกรรม และความเปน็ ตัวตนของผูร้ บั บริการ ไมเ่ อาความคิด
ของตนเองไปตดั สิน
13) ให้บริการตามปญั หาและความต้องการของผรู้ บั บริการ ท่ีสอดคลอ้ งกับบริบท

และสภาพจริงของผรู้ ับบริการ
14) ปฏบิ ตั งิ านโดยยดึ ประโยชน์ของผ้รู บั บรกิ ารและหน่วยงานเป็นหลัก
15) ใช้ทรพั ยากรอย่างคมุ้ คา่ ในการให้บรกิ าร
16) ใหบ้ ริการอยา่ งเท่าเทียม ไมเ่ ลือกปฏิบัติ

2. ดา้ นทกั ษะการคิดวิเคราะห์
1) ตั้งคำถามกับผู้รับบริการตรงประเด็น เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ ปัญหาของ
ผรู้ ับบริการ
2) รวบรวมข้อมูลท่เี ป็นจรงิ และสอดคล้องกบั บริบทของผู้รับบริการ
3) รวบรวมขอ้ มูลผรู้ ับบรกิ ารทกุ มิติ ครบถ้วน สมบูรณ์
4) รวบรวมข้อมูลของผู้รบั บริการ จากแหลง่ ข้อมูลทห่ี ลากหลาย
5) เลือกสรรข้อมูลท่ีน่าเช่ือถอื
6) แยกแยะขอ้ มลู ปญั หา ความต้องการ ของผู้รบั บริการและผู้ที่เก่ยี วข้อง

5

7) จัดกลมุ่ ข้อมูล ปญั หา ความตอ้ งการ ของผรู้ ับบรกิ ารและผูท้ เ่ี กีย่ วขอ้ งบนฐานขอ้ มูล
ทเ่ี ป็นจริง

8) เชื่อมโยงความสัมพันธข์ องข้อมลู ในมิตติ ่าง ๆ อยา่ งเป็นเหตเุ ป็นผล และถกู ตอ้ ง
บนฐานข้อมลู ท่ีเปน็ จริง

9) ทบทวน และตรวจสอบขอ้ มลู ทไี่ ด้ อย่างรอบคอบ มเี หตผุ ล และถูกต้อง
10) อ้างอิงขอ้ มลู จากแหลง่ ข้อมูลที่เช่ือถือได้
11) ระบุปญั หา และความต้องการท่ีแท้จริงของผ้รู บั บริการทีส่ อดคล้องกับบริบท

ตามสภาพจรงิ
12) เสนอทางเลอื กในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย และสรา้ งสรรค์

โดยเชอ่ื มโยงความรู้ทางวชิ าการ และสอดคลอ้ งกบั บรบิ ทตามสภาพจริง
13) วางแผนแกป้ ญั หาตามลำดับความสำคญั ของปัญหา
14) โดยยดึ หลักวิชาการ และสอดคล้องกับบริบทตามสภาพจริง
15) รู้และยอมรับจุดดี/จุดด้อยของตนเองตามความเป็นจริง และพัฒนาตนเองอย่าง
ตอ่ เน่อื ง
16) เปิดใจรบั ฟัง และยอมรับความคิดเหน็ ที่แตกตา่ ง
17) คิดเชิงบวกบนพ้นื ฐานของความเป็นจริง
18) เรียนรูแ้ ละเท่าทนั การเปลี่ยนแปลง เพ่อื พัฒนางานใหม้ ีประสิทธภิ าพ

3. ดา้ นทักษะการมสี ่วนร่วมของผู้รบั บรกิ าร
1) ใหข้ ้อมลู ทางดา้ นสขุ ภาพ และสทิ ธิทเ่ี ก่ียวข้องแกผ่ รู้ บั บริการ
2) เปดิ โอกาสให้ผู้รบั บริการให้ข้อมลู ความต้องการ และแสดงความคิดเหน็ อยา่ งอิสระ
3) เปิดโอกาส/กระตุ้น ให้ผู้รับบริการซักถามข้อสงสัย ข้อกังวล ข้อมูลต่าง ๆ จน
เกิดความเข้าใจ
4) ใหเ้ วลารับฟังความคิดเห็นหรือขอ้ มลู ขอผูร้ บั บริการ
5) สรปุ ปญั หา และความต้องการร่วมกับผรู้ ับบรกิ าร
6) ร่วมกับผู้รบั บรกิ าร กำหนดเป้าหมาย และหาแนวทางการปฏบิ ัติ เพ่อื ให้
เกดิ ประโยชนส์ งู สดุ
7) เปิดโอกาสใหผ้ ูร้ บั บรกิ ารตัดสนิ ใจเลอื กแนวทางการแก้ปญั หา ท่เี หมาะสมกบั บรบิ ท
และความตอ้ งการ
8) อ ำ น ว ย ค ว า มส ะ ด วก ใ ห้ผ ู้ รั บ บ ริ กา ร ส า มา ร ถป ฏ ิบ ั ติ ตา ม แน วท า งท ี ่เลือก
เพื่อใหบ้ รรลเุ ป้าหมาย
9) ร่วมกับผรู้ ับบรกิ าร ประเมนิ ศักยภาพของผูร้ ับบรกิ ารในการพึง่ ตนเองดา้ นสุขภาพ
10) สนับสนุน สง่ เสริม และพัฒนาศักยภาพของผู้รบั บริการให้สามารถพ่งึ ตนเอง
ด้านสุขภาพได้อยา่ งต่อเนอื่ ง และย่งั ยนื

6

1.1.3 หลักการตามกรอบเอสเอพี (SAP) ประกอบดว้ ยคุณลกั ษณะ 3 ประการ ได้แก่
การบริการ (Service Mind: S) หมายถึง การเอาใจใส่ในความทุกข์ และความต้องการ

ของผู้รับบรกิ ารและผทู้ ่ีเกย่ี วข้อง รบั ฟงั อยา่ งต้งั ใจ มีใจรักในงานและเห็นคณุ คา่ ของตนเอง รับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ อำนวยความสะดวก ติดตามการบริการ ตอบสนองการให้บริการอย่างว่องไว พร้อมที่จะ
ใหบ้ ริการดว้ ยท่าทีทเี่ ปน็ มติ ร ด้วยความรัก ความเมตตา รูจ้ กั การควบคมุ อารมณ์ สร้างความประทับใจ
เสียสละ อุทิศตน ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน วางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ คำนึงถึง
ความเป็นเหตุเป็นผล ยอมรับบุคคลบนพื้นฐานของความเข้าใจผู้อื่นตามความเป็นจริง เปิดใจรับส่ิง
ใหม่ๆ

การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking: A) หมายถึง การรวบรวม จำแนก ไตร่ตรอง
ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ ตามสภาพความเป็นจริง ในการวิเคราะห์ปัญหา
และสังเคราะห์สิ่งใหม่ อย่างมีวิจารณญาณ โดยเชื่อมโยงความรู้เข้าสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหาของ
ผูร้ ับบรกิ ารอยา่ งสร้างสรรคจ์ ากสง่ิ ท่ีเรียนรู้ สอดคล้องกับความต้องการที่แทจ้ ริงของผู้รบั บริการ ตาม
บริบทสภาพการดำรงชีวติ

การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ (Participation: P) หมายถึง การให้บริการสุขภาพ โดยให้
ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในการรับรู้ปัญหาและความต้องการของตนเอง รวมท้ัง
ตัดสินใจแก้ปัญหาสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ สะท้อน
คิด ให้ความสำคัญในระหว่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ พิทักษ์สิทธิและรักษาความลับผู้รับบริการ
เข้าใจความเช่อื และค่านิยมซงึ่ กนั และกนั

จากคุณลักษณะทั้ง 3 ประการ ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนการสอนใหส้ ามารถสร้าง หรือ
สร้างเสริมคณุ ลกั ษณะทง้ั 3 ประการ ขน้ึ กับลกั ษณะของรายวชิ าท่ีผูส้ อนรับผิดชอบ

1.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม
การให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศึกษาคณะ
สาธารณสขุ ศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

2.1 เพ่ือเป็นเครื่องมอื ในการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนตามกรอบเอสเอพี เพอ่ื
สร้างเสริม พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ให้กับนักศึกษาฯ รูปแบบนี้จะ
ช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับวิชาของตนเองโดยการเดินตามขั้นตอนที่
กำหนดไว้ในรปู แบบฯ

2.2 เพื่อยกระดับคุณภาพของรายวิชาต่าง ๆ และเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาทุกรายวิชาให้
สามารถสรา้ งเสริมพฤตกิ รรมการให้บรกิ ารสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนษุ ย์ให้กบั นักศึกษา

2.3 เพอ่ื สร้างความเปน็ นกั ออกแบบและพฒั นาการเรียนการสอนใหก้ บั ผูส้ อนทใี่ ชร้ ปู แบบฯ
นี้ หลังจากท่ีผู้สอนท่ีใช้รูปแบบนีแ้ ล้ว ครัง้ ต่อไปผูส้ อนจะสามารถออกแบบและพัฒนารายวิชาตา่ ง ๆ ได้
ดว้ ยตนเองอย่างเปน็ ระบบ

7

1.3 องคป์ ระกอบและข้นั ตอนของรูปแบบการออกแบบและพฒั นาการเรยี นการสอนเพื่อสร้างเสริม
พฤติกรรมการใหบ้ ริการสุขภาพดว้ ยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนักศกึ ษาคณะ
สาธารณสุขศาสตรแ์ ละสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

แผนภาพที่ 1 แสดงองคป์ ระกอบและขั้นตอนของระบบการออกแบบ
และพัฒนาการเรียนการสอนเพ่ือสรา้ งเสรมิ พฤติกรรมการใหบ้ รกิ ารสุขภาพด้วยหัวใจความเปน็ มนุษย์

ตามกรอบเอสเอพี สำหรับนกั ศกึ ษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสขุ

จากแผนภาพที่ 1 แสดงให้เห็นองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบฯ ที่ประกอบด้วยส่วน
ขององค์ประกอบ 7 องค์ประกอบทีอ่ ยู่ในพ้ืนท่ีด้านในหัวใจ องค์ประกอบเหล่านีเ้ ป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องจดั
ให้มีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่วนของขั้นตอน 5 ขั้นตอน ที่อยู่ในพื้นท่ีวงรอบด้านนอกสุด
เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบรายวิชาของตนเองด้วยตนเองให้เป็นวิชาท่ีสร้างเสริม
พฤตกิ รรมการให้บริการสขุ ภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษยต์ ามกรอบเอสเอพี

8

1.3.1 องค์ประกอบของรูปแบบการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้าง
เสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามกรอบเอสเอพี ประกอบด้วย 7
องคป์ ระกอบ ดงั น้ี

1. เนื้อหาวิชาทางสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สำหรับพัฒนาพฤติกรรมการ
ให้บรกิ ารสขุ ภาพดว้ ยหวั ใจความเปน็ มนษุ ย์

2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความ
เป็นมนุษย์

3. กลยุทธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมสำหรับสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการ
สุขภาพด้วยหวั ใจความเปน็ มนษุ ย์

4. บทบาทของผูส้ อนและบทบาทของนกั ศกึ ษาสาขาสาธารณสขุ ศาสตร์และสหเวชศาสตร์
เพอื่ สรา้ งเสรมิ พฤตกิ รรมการให้บริการสขุ ภาพดว้ ยหัวใจความเป็นมนษุ ย์

5. สื่อการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการ
สขุ ภาพด้วยหัวใจความเปน็ มนษุ ย์

6. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัว
ใจความเปน็ มนษุ ย์

7. เครื่องมือทีใ่ ช้ในการประเมนิ พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนษุ ย์

รายละเอียดของแตล่ ะองค์ประกอบ มดี งั น้ี

1. เนื้อหาวิชาทางสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สำหรับสร้างเสริมพฤติกรรม
การให้บรกิ ารสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การศึกษาทางสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เน้นการบริการสุขภาพ
โดยนำหลักการเชิงวิทยาศาสตร์และเชงิ พฤติกรรมท่ีมรี ะเบียบแบบแผน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และองค์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และประสบการณ์มาใช้ในการวางแผน ออกแบบ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การให้บริการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้รับบริการ ฉะนั้นเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการสร้าง
เสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพในรายวิชาสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์นั้น ต้องมี
ลักษณะเนือ้ หาวชิ าดงั นี้

เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ เกี่ยวกับศาสตร์
การแพทย์แผนไทย เวชระเบยี น สาธารณสขุ ชมุ ชน ทันตสาธารณสขุ ฉุกเฉินการแพทย์ โสตทัศนศึกษา
ทางการแพทย์ และเทคนคิ เภสัชกรรม เป็นรายวชิ าที่มเี นอ้ื หาสง่ เสรมิ การดแู ลแบบองคร์ วม ครอบคลมุ
4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการ การดูแล และวิธีการ
ให้บริการผู้ป่วยหรือการให้บริการผู้อื่น เช่น การดูแลหรือการสื่อสารกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ การ
บันทึกข้อมูลผู้ป่วย ในคลินิกและในชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีการจัดการเรียนการสอน
ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ หรือการฝึกในสถานการณ์จริงที่ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ผู้อื่น เพื่อให้บริการ
ตรงตามปัญหาและความตอ้ งการของผู้รับบริการ การรักษาสิทธิและความลับของผู้ป่วย เป็นรายวิชา
ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดเพื่อให้เข้าใจชีวิตในสภาพความเป็นจริงของความดี ความงดงาม

9

ความสมดุลของชีวิตมนุษย์ สามารถแก้ปัญหาและเผชิญปัญหาได้โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ และ
การมสี ว่ นรว่ มของผู้รับบรกิ ารและทมี งาม

2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็น
มนุษย์ ในรายวิชาต้องมีการระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนให้เห็นว่ามีการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริการ
ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยผู้สอนต้องเขียนเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยพิจารณาว่าวิชาที่
ตอ้ งสอนนน้ั ต้องรบั ผดิ ชอบสร้างเสริมพฤติกรรมอะไรและระดับใด

2.1 วตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้เชงิ พฤตกิ รรมเพอ่ื สร้างเสริมพฤติกรรมด้านจติ บรกิ าร (S=Service
Mind) พฤตกิ รรมด้านจติ บรกิ าร มี 5 ระดับ ดงั น้ี

ระดับท่ี 1 ให้บรกิ ารที่เปน็ มิตรสุภาพ ด้วยความเต็มใจ และใหข้ ้อมูลขา่ วสารท่ถี กู ตอ้ ง
รวมถึงการประสานงานในส่วนทร่ี บั ผดิ ชอบ

ระดับที่ 2 แกป้ ัญหาหรอื หาแนวทางแก้ปญั หา ทเ่ี กิดข้ึนกบั ผรู้ ับบรกิ ารอยา่ งรวดเรว็
ไมบ่ ่ายเบ่ียง ไมแ่ กต้ ัว ไมป่ ัดภาระ

ระดับที่ 3 ให้ข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่
ผ้รู บั บริการ แมว้ ่าผู้รบั บริการจะไมไ่ ด้สอบถาม หรอื ไมท่ ราบมากอ่ น

ระดับที่ 4 ใหค้ ำแนะนำท่เี ป็นประโยชน์ แก่ผู้รับบรกิ ารเพ่ือตอบสนองความจำเปน็ หรือ
ความต้องการทแี่ ทจ้ รงิ แกผ่ ้รู ับบริการ

ระดับที่ 5 คำนงึ ถึงผลประโยชน์ของผู้รบั บริการ ในระยะยาวและพรอ้ มท่ีจะเปล่ียนวิธี หรือ
ขัน้ ตอนให้บริการเพ่อื ประโยชนส์ ูงสดุ ของผู้รบั บรกิ าร

2.2 วัตถุประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมด้านการคิดวิเคราะห์
(A=Analytical Thinking) พฤติกรรมดา้ นจิตบรกิ าร มี 5 ระดับ ดังน้ี

ระดบั ท่ี 1 สามารถวิเคราะห์และแตกประเด็นปัญหาสขุ ภาพในงานทร่ี ับผดิ ชอบ
ระดบั ที่ 2 สามารถอธิบายความสัมพนั ธข์ ั้นพืน้ ฐาน ของปญั หาสขุ ภาพหรืองานบรกิ าร

โดยสามารถระบเุ หตุและผล ขอ้ ดขี อ้ เสยี ในประเดน็ ต่าง ๆ และวางแผนงาน
ตามลำดบั ความสำคัญ
ระดับท่ี 3 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ท่ีซับซอ้ น ของปัญหาสขุ ภาพหรอื งานบริการ
และสามารถเช่ือมโยงปัจจัยทีซ่ ับซอ้ นของสถานการณ์ โดยวางแผนขัน้ ตอน
การดำเนินงานท่มี ีผเู้ กี่ยวขอ้ งหลายฝ่ายไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ
ระดบั ท่ี 4 สามารถวเิ คราะหว์ างแผน และคาดการณ์ปญั หาสุขภาพ หรอื งานบรกิ ารพรอ้ ม
วางแนวทางการป้องกันปญั หาลว่ งหน้าในงานท่ซี บั ซอ้ น
ระดบั ที่ 5 ใช้เทคนิคและรูปแบบต่าง ๆ ในการกำหนดแผนงานการทำงาน และหาทาง
เลือกสำหรับป้องกนั หรอื แกไ้ ขปัญหาที่เกดิ ขึน้ ได้

10

2.3 วัตถุประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมด้านการมีส่วนร่วมของ
ผู้รบั บรกิ าร (P=Participation) พฤติกรรมดา้ นการมสี ว่ นรว่ มของผู้รับบริการมี 5 ระดับ ดังน้ี

ระดบั ที่ 1 ใหก้ ารสนบั สนนุ การตดั สินใจของทมี และทำงานส่วนทต่ี นได้รับ
มอบหมายสำเร็จ

ระดบั ที่ 2 ให้ขอ้ มลู ทเี่ ป็นประโยชน์ และใหค้ วามร่วมมอื กับทมี ด้วยดี
ระดบั ที่ 3 รบั ฟังความคิดเหน็ รว่ มตัดสินใจ และร่วมวางแผนในการทำงานของผู้รับบรกิ าร
ระดบั ที่ 4 ใหค้ วามร่วมมือรว่ มใจกบั ทมี จนงานประสบความสำเร็จตามแผน
ระดบั ที่ 5 นำทีมให้เกิดความสามัคคี ทำให้งานบรรลุตามเปา้ หมาย

3. กลยุทธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการด้วย
หวั ใจ ความเปน็ มนษุ ย์

การจัดการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะการให้บริการสุขภาพ
ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ควรกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมให้หลากหลายเหมาะสม
กับระดับหลักสูตร เนื้อหารายวิชา ชั้นปี และนักศึกษา กลยุทธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมท่ี
เหมาะสม ได้แก่ บทบาทสมมติ (Role play) การสะท้อนคิด (Reflective practice) การเป็นต้นแบบ
ที่ดี (Role model) สถานการณ์จริง (Real situation) สถานการณ์จำลอง (Simulation situation)
กรณีศึกษา (Case study) การสาธิตและการสาธิตย้อนกลับ ( Demonstration and return
demonstration) การถอดบทเรียน (Lesson learned) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge
sharing) การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-assisted learning strategies) การมอบหมายงาน
ในชั้นเรียน (Assignment) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based) การระดมสมอง (Brain
storming) รายละเอียดสงั เขปของแต่ละกลยทุ ธ์และกิจกรรม มดี งั น้ี

1. บทบาทสมมุติ (Role play) การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการที่ใช้การแสดงบทบาท
หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน โดยผู้สอนอาจเป็นผู้กำหนด
สถานการณ์ หรือผู้เรยี นเปน็ ผู้กำหนดได้ โดยคัดเลือกปัญหาท่ีเข้าใจยาก หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึน้
ท่ีเกย่ี วกบั พฤตกิ รรมการบริการดา้ นสาธารณสุข ผเู้ รียนเป็นผู้แสดงบทบาทตามทีผ่ ู้เรยี นคิด การแสดง
บทบาทอาจจะกระทำได้ทั้งความรู้ ความคิด และพฤติกรรม หลังการแสดงผู้เรียนคนอื่น ๆ ควรมีการ
อภิปรายรวมกัน วธิ ีน้ีจะสรา้ งความเข้าใจและความรู้สกึ แกผ่ เู้ รยี นเป็นอยา่ งดี

2. การสอนสะท้อนคิด (Reflective practice) คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งการ
ปฏบิ ตั กิ ารสะท้อนคดิ จะตอ้ งประกอบด้วยการปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองและเปน็ ระบบ บนพ้ืนฐานของความ
เชื่อ ความรู้ในสถานการณ์นั้น ซึ่งประสบการณ์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ได้ ต้อง
อาศัยการสะท้อนคิดจากประสบการณ์นั้นเป็นสำคัญ ซึ่งการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่อง ทำอย่างสม่ำเสมอบนพื้นฐานการนำเอาทฤษฎีและการปฏิบัติมาใช้ในการสะท้อนคิด จน
นำไปสกู่ ารเขา้ ใจอยา่ งถอ่ งแท้ วงจรของการสะท้อนคิด การเรยี นการสอนท่จี ะส่งเสรมิ ใหม้ ีการสะท้อน
คิดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเขียนบันทึก (Journal Writing) การสนทนา (Dialogue) การ
วิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Analysis) การอ่านงานเขียนอย่างพินิจพิเคราะห์ (Reading With
Reflection) การเขียนบัตรคำ (Talking Cards/ Index Cards) การเขยี นแผนผังความคิด (Reflection
Mapping) การวิเคราะห์กระบวนการตัดสินใจ (Decision-Making Analysis) การสนทนาโต๊ะกลม

11

(Reflection Roundtables) กระบวนการกลุ่มแบบหมวกหกใบ (Six Hats) นอกจากนี้ยังมีอีก
หลากหลายวิธี ซึ่งบางวิธีใช้สำหรับการสะท้อนคิดในตัวบุคคล หรือการส่องสะท้อนตนเอง (Self-
Reflection/Individual Reflection) บางวิธีใช้สำหรับทำเป็นคู่ (Reflection with Partners) หรือทำ
เปน็ กลุ่มเลก็ (Reflection in Small Groups and Teams)

3. ตัวแบบ (Role model) ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้ให้บริการด้วยหัว
ใจความเปน็ มนุษย์ โดยการแสดงออกทง้ั ในสถาการณ์จำลองในห้องเรียน และสถานการณ์จริง ผู้เรียน
จะเรยี นรู้โดยการสงั เกตพฤติกรรมของผสู้ อน จนสู่พฤตกิ รรมตนเองและนำไปใช้สู่ผรู้ บั บรกิ ารได้

4. กรณีศึกษา (Case study) วธิ ีสอนโดยใชก้ รณีตัวอยา่ ง คอื กระบวนการท่ีผูส้ อนใชใ้ นการ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความ
เป็นจริงและตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้
เปน็ ขอ้ มูลในการอภิปราย เพอื่ ใหผ้ ู้เรยี นเกดิ การเรยี นรู้ตาวัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยใชก้ รณตี วั อย่าง เป็น
วิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการท่ี
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น การ
สอนวิธีนี้ผูส้ อนจะต้องเตรียมกรณตี ัวอย่างทีใ่ กลเ้ คียงกับความจริงมากที่สุด โดยแบ่งกลุ่มผู้เรยี นเปน็
กลุ่มย่อยประมาณ 4-5 คน และในการสอนจะต้องให้เวลากับผู้เรียนเพื่อศึกษากรณีตัวอย่างให้
เหมาะสม ให้เวลามากพอสมควร ผู้เรียนได้เกิดความคดิ ที่กว้างขวางมากขึน้ คิดแกป้ ัญหา คิดวิเคราะห์
สง่ เสริมการมีสว่ นร่วมระหว่างผ้เู รียนด้วยกนั

5. การระดมความคิด (Brainstorming) เป็นวิธีการสอนที่ใช้การอภิปรายโดยทันที ไม่มี
การกระตุ้น ผู้สอนเป็นผู้กำหนดประเด็นหลัก และผู้เรียนหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่
กำหนดในระยะเวลาสั้นโดยระหว่างนั้นจะไม่มีการตัดสินว่าคำตอบหรือเลือกใดถูกหรือผิด ดีหรือไม่
อย่างไร โดยมกี ารแบ่งผู้เรียนเป็นกลุม่ มีการเลอื กประธาน หรอื เลขาเพ่ือช่วยในการอภิปรายและบนั ทึก
ผล สมาชกิ ในกลุ่มชว่ ยคิดหาคำตอบหรอื ทางเลอื กสำหรบั ปญั หาทกี่ ำหนดในเวลาท่ีกำหนดและคัดเลอื ก
คำตอบหรอื แนวทางที่เป็นไปได้ใหเ้ หมาะสมท่สี ดุ และนำเสนอผลงานอภปิ รายรว่ มกัน

6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใด
เรอ่ื งหนึง่ รว่ มกัน มารวมตัวกันและแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ ดว้ ยความสมคั รใจ เพ่อื รว่ มสรา้ งความเขา้ ใจหรือ
พฒั นาแนวปฏิบัติในเรอ่ื งนัน้ ๆ ผสู้ อนกำหนดประเดน็ และผเู้ รียนเปน็ ผู้จดั การความรูประกอบดวยกระ
บวนการหลักๆ ได้แก การคนหาความรู การสรา้ ง และแสวงหาความรู้ นำมาจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
โดยการประมวลกลั่นกรองความรู้ ผู้เรียนวิเคราะห์ พิจารณาเข้าถึงความรู้ และนำมาแบ่งปัน
แลกเปล่ยี นความรู้กบั กลมุ่ อ่นื ๆ

7. การลงมือปฏิบัติจริง (Practice) วิธีการสอนที่ใหป้ ระสบการณต์ รงกับผู้เรียน โดยการ
ให้ลงมือปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริงหรือเป็นการปฏิบัติ เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสาน
ระหว่างทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ลักษณะสำคัญการลงมือปฏิบัติดำเนินการภายหลังการสาธิต หรือการ
บรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ ผู้สอนบันทึกผล
การปฏบิ ัตงิ านของผเู้ รยี น หรอื ช่วยกันสรปุ กิจกรรมหลงั การปฏิบัติ

12

8. สถานการณจ์ ำลอง (Simulation situation)) เป็นการจัดการสอนทีจ่ ำลองสถานการณ์
จริงมาไว้ในชั้นเรียน โดยพยายามให้เหมือนจริงมากที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่ง
ผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ โดยในสถานการณ์ผู้เรียนต้องเผชิญกับปัญหา
จะตอ้ งมีการตดั สินใจ ใช้ไหวพริบ

9. การถอดบทเรียน (Lesson Learned) กระบวนการสกัดความรู้ ประสบการณ์ เป็น
กระบวนการคิดเชิงระบบ ในการค้นหาคำตอบและแนวทางการปรับปรุง จากผู้มีส่วนเกีย่ วข้องโดยการ
แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ แล้วนำมาเขียนรายงานเกิดเป็นองค์ความรู้ ผลของ
การถอดบทเรียนเกิดจากการสรปุ ข้อคิดเห็น หรือข้อเท็จจริงที่เกดิ ข้ึนจากกระบวนการกลุ่ม การมีส่วน
รว่ มของผเู้ ก่ียวข้อง โดยผู้สอนหรือผูเ้ รียนอาจเปน็ ผู้กำหนดประเดน็ การถอดบทเรยี น เชน่ ถอดบทเรียน
จากประสบการณ์จริง ถอดบทเรียนจากเรื่องเล่า ถอดบทเรียนจากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรืออื่น ๆ
ผู้เรยี นทำหนา้ ทีเ่ ป็นผ้ถู อดความรู้ และสามารถเล่าเรอื่ งทีต่ นเองได้ทำอยา่ งเต็มที่

10. การสาธิต และสาธิตย้อนกลับ (Demonstration and Return Demonstration
Method Demonstration) เป็นการสอนที่ผู้สอนจะเป็นผู้แสดงให้ดู (Method Demonstration) และ
ผู้เรียนกระทำด้วยตนเองหลังจากดูผู้สอน (Return Demonstration) ผสู้ อนสาธิตเรอ่ื งราวตา่ ง ๆ ของ
บทเรียน มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปปฏิบัติ โดยมีการอธิบายตามลำดับและควรเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในระหว่างการสาธิตอาจจะเป็นการถาม กระตุ้น ภายหลังผู้สอนสาธิตให้ผู้เรียนเปน็ ผู้
สาธิตปฏิบัติย้อนกลับ ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมขึ้น ภายหลังควรมีการสรุปโดยผู้เรียนอภิปราย
แลกเปลี่ยนกนั แลว้ นำเสนอในรูปแบบการเขียน การพดู นำเสนอ ในรูปแบบวิดิโอ

11. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer-assisted learning strategies) เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งท่ี
ผู้เรียนได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกนั เพื่อนช่วยเพื่อนในลกั ษณะเก่งชว่ ยอ่อน การให้คำปรึกษาแบบเพื่อนช่วย
เพื่อน เป็นวิธีที่ผู้เรียนสนใจมากและค้นพบความรู้ความสามารถของตนเองให้ผู้เรียนมองเห็น
ภาพลักษณ์แห่งตน ตัวตนในอุดมคติ และการเห็นคุณค่าตนเอง ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสรมิ
พัฒนาทักษะความสามารถของผู้เรียนใหเ้ ต็มศักยภาพโดยการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีความสุข การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุข ทั้ง
กายและใจ โดยผู้สอนมีกำหนดการจบั คู่หรือแบ่งเป็นกลุ่มยอ่ ยเป็นการแลกเปล่ียนความรู้ประสบการณ์
มุมมองความคิดตา่ ง ๆ ร่วมกนั เพอ่ื ช่วยกันพฒั นาความรู้เดิมทีม่ ีอยใู่ ห้มกี ารพัฒนาอย่างต่อเน่อื ง

12. โครงงานเปน็ ฐาน (Project-Base) คอื การจดั การเรยี นการสอนที่จดั ประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี
ประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลอง ปฏิบัติ ได้
กระทำด้วยตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผูน้ ำ ผู้ตาม ตลอดจนได้พัฒนาความคิดขั้น
สูง และการประเมินตนเอง โดยมีการกำหนดรูปแบบผลงาน เช่น ประเภทสำรวจ ประเภททดลอง
ประเภทสงิ่ ประดษิ ฐ์ ประเภททฤษฎี ตามความสนใจของผู้เรียน และมีการนำเสนอผลงาน

13

4. บทบาทของผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนสาขาวิขาสาธารณสุขศาสตร์และสหเวช
ศาสตร์เพือ่ สร้างเสรมิ พฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนษุ ย์

ผูส้ อนเปน็ บคุ คลสำคญั มากในกระบวนการสร้างเสริมพฤตกิ รรมการบรกิ ารด้วยหัวใจความ
เป็นมนุษย์ ผู้สอนต้องมีทั้งคุณลักษณะและบทบาทท่ีสามารถสร้างเสริมพฤติกรรมให้กับนักศึกษาได้
ด ั ง นี้

คุณลักษณะของผู้สอน ได้แก่ ผู้สอนที่มีคุณลักษณะเหมาะสมในการสอนให้ผู้เรียนเกิด
พฤติกรรมการใหบ้ รกิ ารสขุ ภาพด้วยหัวใจความเปน็ มนษุ ย์ ดังนี้

1) เปน็ ตน้ แบบทีด่ ีในการแสดงออกใหผ้ ู้เรียนเห็นและรบั รูไ้ ดใ้ นขณะทีค่ รูปฏบิ ตั ิ
ต่อผรู้ ับบรกิ ารหรือบุคคลอ่ืน

2) มีความเขา้ ใจเป็นอย่างดเี กีย่ วกบั เร่อื งหลกั การและพฤติกรรมการใหบ้ รกิ ารสขุ ภาพ
ดว้ ยหวั ใจความเปน็ มนุษย์ สามารถอธบิ ายหรือยกตวั อย่างประกอบไดใ้ นรายวชิ าหรอื
บทเรยี นท่ีสอน

3) สามารถจดั สถานการณ์ หรอื เตรยี มสอ่ื ต่าง ๆ ใหเ้ หมาะสมกับบทเรยี นท่สี ะทอ้ นใหเ้ ห็น
หรอื เก่ียวขอ้ งกับพฤตกิ รรมการใหบ้ ริการสุขภาพดว้ ยหัวใจความเป็นมนษุ ย์

4) สามารถจดั สภาพแวดลอ้ มในห้องเรยี นหรือสถานศึกษาให้เหมาะสมกับการสง่ เสรมิ
พฤติกรรมการให้บรกิ ารสขุ ภาพดว้ ยหวั ใจความเปน็ มนษุ ย์

5) สามารถแสดงพฤตกิ รรมการใหบ้ รกิ ารสุขภาพด้วยหวั ใจความเปน็ มนุษยก์ ับผู้เรยี นด้วย

บทบาทของผสู้ อน ได้แก่

1. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนการสอนดว้ ยความใส่ใจ เพราะพฤติกรรมการบริการด้วย
หัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการสร้างเสริมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) ที่นำไปสู่ทักษะและ
พฤตกิ รรมที่พึงประสงค์ของผรู้ บั บริการ

2. ผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เอื้อต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการ
บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ ทางจิตภาพ และทาง
สังคม โดยการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอน จัดเตรยี มสอื่ การเรยี นการสอน หรือทรัพยากรการเรียนรู้
ใหเ้ พยี งพอ

3. ผู้สอนต้องแนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับการค้นหาและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจาก
แหลง่ ข้อมูลท่ีน่าเช่ือถอื และเปิดโอกาสใหผ้ เู้ รยี นได้ศกึ ษาคน้ ควา้ ดว้ ยตนเองอยา่ งตอ่ เนอ่ื งอยเู่ สมอ

4. ผู้สอนต้องวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้า โดยให้มีกิจกรรมที่แปลกใหม่
หลากหลาย ผู้สอนควรวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าโดยให้มีกิจกรรมที่แปลกใหม่
หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาคิดหาเหตุผลคิดยืดหยุ่นคิดแปลกใหม่คิดจินตนาการ
เนน้ ใหผ้ ูเ้ รียนมสี ว่ นร่วมในกิจกรรมมากท่ีสุดและส่งเสริมให้ผู้เรยี นมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มีใจ
เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นพยายามคิดสะท้อนกลับเชื่อมั่นในตนเองและกล้าตัดสินใจด้วย
ตนเอง

14

5. ผู้สอนตอ้ งเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
6. ผสู้ อนควรประยกุ ตใ์ ชเ้ ครือ่ งมอื เวบ็ เพ่ือทำกิจกรรมบนเว็บในรายวิชาสาธารณสุข

ศาสตรแ์ ละสหเวชศาสตร์
7. ผู้สอนต้องกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนให้เพียงพอ ต่อการคิดไตร่ตรอง
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดและเกิดประสบการณ์รวมทัง้ เกิดความภาคภูมิใจ ในพฤติกรรมทีเ่ ปลี่ยนแปลง
ไปของตนเองดว้ ย
8. ผู้สอนต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความคิดและตั้งคำถาม ที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดโดย
ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อความคิดแปลกๆ ของผู้เรียนด้วยใจเป็นกลางตลอดจนตอบคำถามอย่างมี
ชีวติ ชวี าหรอื ชแี้ นะใหผ้ ู้เรียนหาคำตอบจากแหลง่ ตา่ ง ๆ ดว้ ยตนเอง
9. ผู้สอนต้องส่งเสริมให้ใช้จนิ ตนาการของตนเองโดยยกยอ่ งเมือ่ ใช้จินตนาการที่ก่อใหเ้ กิด
การสะท้อนคิดและมีคณุ คา่
10. ผ้สู อนตอ้ งยอมรบั คุณคา่ และความสามารถของผูเ้ รยี นอยา่ งไม่มเี ง่อื นไข
11. ผู้สอนไม่ควรสนับสนุนหรือให้รางวัล เฉพาะพฤติกรรมที่แสดงออกที่เป็นที่ยอมรับ
ควรให้โอกาสกับผู้ที่มีแนวทางใหม่ แปลกใหม่ มีโอกาสได้รบั รางวลั และคำชมบา้ ง หรือไมค่ วรให้รางวลั
เพื่อเปน็ การปลกู ฝังในการให้บริการท่ีดี ไมค่ วรหวงั ผลตอบแทน
12. ผ้สู อนไม่ควรกำหนดแบบเพอื่ ใหท้ กุ คนมีความคิดและบุคลิกภาพเดยี วกัน

อย่างไรก็ตามในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมบริการด้วยหัว
ใจความเป็นมนุษย์ ผสู้ อนต้องออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ และรปู แบบการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มตาม
ศักยภาพ

ขอจำแนกใหเ้ หน็ บทบาทของผูส้ อนและบทบาทของผู้เรยี นแต่ละด้านของ SAP ดังน้ี
บทบาทของผู้สอนและบทบาทของผเู้ รียนด้านจิตบริการ (S=Service Mind)

1. บทบาทของผู้สอนตามกลยุทธ์การเรียนการสอนตามหลักการบริการสุขภาพ
ดว้ ยหวั ใจความเปน็ มนุษย์

1.1 ด้านทกั ษะจติ บริการ
1) ขน้ั ปฐมนิเทศ
1. ผู้สอนช้ีแจงรายละเอียด
- จุดประสงค์ของการเรียนรู้แนะนำรายละเอียดเกีย่ วกับขั้นตอน วิธีการเรียนการ

สอนและการประเมนิ ผล
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ตลอดจนการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน
2) ขน้ั นำเข้าส่บู ทเรยี น

- เป็นขั้นที่ผู้สอนสามารถเลือกกิจกรรมในการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเริ่มเรียนเป็นการเชื่อมโยง
ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งทักษะความรเู้ ดมิ เช่อื มโยงสู่บทเรยี นใหม่ โดยเลอื กมีวธิ ีการใดวธิ ีการหนึง่ ดังน้ี

15

- เลา่ เร่อื งที่เกีย่ วข้องกับการใหบ้ รกิ ารด้วยความเตม็ ใจ
- ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับการให้บริการดว้ ยความเต็มใจ เช่น ข่าว คลิป
วดิ ิโอ โฆษณา เปน็ ตน้ เพ่อื ใหผ้ เู้ รียนมีมุมมองทกี่ ว้างขึ้น
- การยกประเด็นสถานการณ์และถามตอบเพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
เปน็ การสร้างบรรยากาศการเรียน และกระตุ้นผ้เู รียน
- ผู้สอนให้นักศึกษาร่วมกันรองเพลงเทิดพระบิดา เพลงที่เกี่ยวกับความเสียสละ
ของผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข ร่วมกันแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราได้จากบทเพลง เพื่อสร้าง
จดุ ม่งุ หมายในการใหบ้ รกิ ารรว่ มกนั
- ผู้สอนผู้สอนให้นักศึกษาเล่าประสบการณ์ที่ตนเองประทับ ในการไปใช้บริการ
สุขภาพทโี่ รงพยาบาล และให้เพอื่ นๆชั้นเรียนร่วมแสดงความคิดเหน็

3) ขั้นสอน เป็นขั้นให้ความรู้ เป็นขั้นให้ข้อมูลเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ โดยเลือกมี
วธิ ีการใดวิธกี ารหนง่ึ หรอื ใชห้ ลายวิธกี ารรว่ มกัน

- ผู้สอนบรรยาย ความร้เู นือ้ หาจากกรณีศึกษาหรอื ตวั อย่าง
- ผู้สอนแนะนำเกย่ี วกบั การคน้ หาและรวบรวมขอ้ มลู จากแหลง่ สารสนเทศ
- ผู้สอนแนะนำกระบวนการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลดีและผลเสียของการ
ให้บริการท่ีแตกตา่ งกันในระบบบริการสุขภาพ
- ผสู้ อนกำหนดสถานการณ์ ผู้เรยี นสบื ค้นเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง
4) ขั้นจัดกิจกรรมการเรยี นการสอน เป็นขั้นให้ผู้เรยี นแสดงพฤติกรรมที่เปล่ียนไป
ตามจุดประสงค์ที่คาดหวังโดยผู้สอนนำเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ตามความเหมาะสมของรูปแบบกล
ยุทธ์ มาใช้เพื่อพัฒนาทักษะจิตบริการ (Service Mind: S) โดยเลือกมีวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้
หลายวธิ กี ารรว่ มกัน (ดูองคป์ ระกอบ กลยุทธแ์ ละกจิ กรรม)
5) ขั้นสรุปเป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกทางความคิด พฤติกรรม การทบทวน
ความรูท้ ี่ได้รับ โดยเลือกมวี ิธีการใดวธิ ีการหนงึ่ ดังนี้
- ผ้สู อนให้ผูเ้ รยี นสรปุ ความรทู้ ี่ได้โดยการพดู นำเสนอในห้องเรียน
- ผสู้ อนให้ผู้เรียนสรปุ ความรทู้ ไ่ี ด้โดยการเขียนเรยี งความ
- ผู้สอนให้ผูเ้ รียนสรปุ ความรู้ทไี่ ด้โดยการเขียนแผนผังความคิด (Mind Mapping)
- ผู้สอนให้ผ้เู รยี นสรปุ ความรทู้ ่ีไดโ้ ดยการถา่ ยภาพจำลองสถานการณ์

สะทอ้ นความคิด
- ผสู้ อนใหผ้ ู้เรยี นสรุปความรู้ทไ่ี ดโ้ ดยการถ่ายคลปิ วิดิโอสถานการณ์

สะท้อนความคดิ
6) ข้นั ประเมินเปน็ ขั้นทใ่ี ห้ผูส้ อนรู้วา่ ผูเ้ รยี นเกดิ ผลการเรยี นรูต้ ามทีค่ าดหวังหรอื ไม่

- ประเมนิ พฤตกิ รรม โดยผสู้ อนประเมินผเู้ รียน ผ้เู รยี นประเมนิ ตนเอง
และผ้เู รยี นประเมินเพื่อน

- ประเมินความพงึ พอใจ โดยผรู้ ับบรกิ าร/ผู้เกยี่ วข้อง

16

บทบาทของผเู้ รยี น

1. ผู้เรยี นทำความเขา้ ใจเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้
2. ผเู้ รียนแลกเปล่ียนความรู้และประสบการณก์ บั เพ่ือนๆ
3. ผูเ้ รียนร่วมกิจกรรมการเรยี นรู้ที่ไดร้ บั มอบหมาย
4. ผู้เรยี นสรปุ ประเดน็ ความรทู้ ่ีไดห้ ลงั จากการเรยี นรู้
5. ผเู้ รยี นนำเสนอความร้ปู ระสบการณ์ท่ีตนเองไดร้ ับ

บทบาทของ ผสู้ อนและบทบาทของผเู้ รียนด้านการคิดวเิ คราะห์ (A=Analytical Thinking) ดังน้ี
บทบาทของผู้สอน
1. ผู้สอนช้ีแจงรายละเอยี ด
- จุดประสงค์ของการเรียนรู้แนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการเรียนการสอน

และการประเมนิ ผล
- สร้างความสมั พันธท์ ดี่ ีกับผเู้ รยี น ตลอดจนการให้คำปรึกษาเก่ยี วกบั การเรียน

2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรยี น เป็นขั้นที่ผู้สอนสามารถเลือกกจิ กรรมในการเตรียมตัวผู้เรียนกอ่ น
เริ่มเรียนเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความรู้เดิมเชื่อมโยงสู่บทเรียนใหม่ โดยเลือกมี
วธิ กี ารใดวธิ กี ารหนง่ึ ดงั นี้

- เล่าปัญหาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพ โดยเล่าจากประสบการณ์ของผู้สอนที่พบ
ปัญหาด้วยตนเอง

- ยกตวั อยา่ งบคุ คลสำคญั ท่เี กย่ี วกบั การให้บริการด้วยความเต็มใจ เชน่ ขา่ ว คลปิ วิดิโอ
โฆษณา เปน็ ตน้ เพอ่ื ใหผ้ ูเ้ รียนมมี ุมมองท่กี ว้างข้ึน

- การใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด (5W:1H) โดยพยายามให้ผู้เรียนเป็นผู้ตั้งคำถาม
และคน้ หาคำตอบด้วยตนเอง

- ผู้สอนให้นักศึกษาร่วมกันร้องเพลงเทิดพระบิดา เพลงที่เกี่ยวกับความเสียสละของ
ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข ร่วมกันแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราได้จากบทเพลง เพื่อสร้างจุดมุ่งหมายใน
การใหบ้ รกิ ารรว่ มกัน

- ผู้สอนผู้สอนให้นกั ศกึ ษาเล่าประสบการณท์ ี่ตนเองประทับ ในการไปใช้บริการสุขภาพ
ทโ่ี รงพยาบาล และใหเ้ พื่อนๆชน้ั เรียนรว่ มแสดงความคดิ เหน็

3. ขั้นสอนเป็นขั้นให้ความรู้ เป็นขั้นให้ข้อมูลเนื้อหา ความรู้ต่าง ๆ โดยเลือกมีวิธีการใด
วิธีการหนึง่ ดงั นี้

- ผสู้ อนบรรยาย ความรู้เนอื้ หาจากกรณีศกึ ษาหรือตัวอยา่ ง
- ผู้สอนแนะนำเกย่ี วกับการคน้ หาและรวบรวมขอ้ มูลจากแหลง่ สารสนเทศ
- ผู้สอนแนะนำกระบวนการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลดีและผลเสียของการให้บริการที่
แตกต่างกนั ในระบบบริการสุขภาพ
- ผ้สู อนกำหนดสถานการณ์ ผู้เรียนสืบค้นเรียนรดู้ ว้ ยตนเอง
4. ขั้นกิจกรรมเปน็ ขั้นให้ผู้เรยี นแสดงพฤติกรรมที่เปล่ียนไปตามจดุ ประสงค์ที่คาดหวงั โดย
ผู้สอนนำเทคนคิ การจัดการเรยี นรู้ ตามความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธิ์ มาใช้เพื่อพัฒนาการคิดเชิง

17

วิเคราะห์ (A=Analytical Thinking) โดยเลือกมีวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีการร่วมกัน
(ดูองคป์ ระกอบ กลยุทธ์และกจิ กรรม)

5. ขั้นสรุปเป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกทางความคิด พฤติกรรม การทบทวนความรู้ที่ได้รบั
โดยเลอื กมวี ธิ กี ารใดวิธกี ารหน่งึ ดังน้ี

- ผู้สอนใหผ้ ู้เรียนสรุปความรทู้ ีไ่ ด้โดยการพดู นำเสนอในหอ้ งเรยี น
- ผ้สู อนใหผ้ ูเ้ รยี นสรุปความรทู้ ี่ไดโ้ ดยการเขยี นเรียงความ
- ผู้สอนใหผ้ ู้เรียนสรปุ ความรทู้ ไ่ี ด้โดยการเขียนแผนผังความคดิ (Mind Mapping)
- ผู้สอนใหผ้ เู้ รยี นสรุปความรู้ที่ได้โดยการถ่ายภาพจำลองสถานการณส์ ะท้อนความคดิ
- ผู้สอนใหผ้ ้เู รียนสรปุ ความรทู้ ่ีได้โดยการถ่ายคลิปวดิ โิ อสถานการณ์สะท้อนความคดิ
6. ขั้นประเมนิ เปน็ ข้นั ท่ใี หผ้ ้สู อนรวู้ ่าผ้เู รียนเกดิ ผลการเรยี นรู้ตามทคี่ าดหวังหรอื ไม่
- ประเมนิ พฤติกรรม โดยผู้สอนประเมินผเู้ รยี น ผู้เรียนประเมนิ ตนเอง

ผู้เรยี นประเมนิ เพอ่ื น
- ประเมินความพึงพอใจ โดยผูร้ บั บริการ/ผู้เกี่ยวขอ้ ง

บทบาทของผเู้ รยี น

1. ผูเ้ รยี นทำความเข้าใจเตรยี มความพรอ้ มในการเรยี นรู้
2. ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่พบและสืบค้นวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยใช้หลักการ
(5w:1H) Who What Where When Why และ How
3. ผู้เรียนบอกขอบขา่ ยของปัญหาท่ีคน้ พบจากกรณีศกึ ษาหรือประสบการณ์ทไ่ี ดร้ ับ
4. ผเู้ รยี นเขียนเชอ่ื มโยงความสมั พันธ์ระหว่างปัญหากบั ข้อมลู เพ่ือการวางแผนในการแก้ไข
ทางด้านบรกิ ารสุขภาพ
5. ผ้เู รียนนำเสนอประสบการณ์ท่ีตนเองไดร้ บั

บทบาทของ ผู้สอนและบทบาทของผเู้ รยี นดา้ นการมสี ว่ นร่วมของผบู้ รกิ าร (P=Participation) มีดังน้ี
1. ผสู้ อนชี้แจงรายละเอยี ด
- จดุ ประสงคข์ องการเรียนรู้แนะนำรายละเอียดเก่ียวกับขนั้ ตอน วิธกี ารเรยี นการสอนและ

การประเมินผล
- สรา้ งความสัมพนั ธ์ทีด่ กี บั ผเู้ รยี น ตลอดจนการให้คำปรึกษาเก่ียวกับการเรยี น
2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนสามารถเลือกกิจกรรมในการเตรียมตัวผู้เรียนกอ่ น

เริ่มเรียนเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความรู้เดิมเชื่อมโยงสู่บทเรียนใหม่ โดยเลือกมี
วิธกี ารใดวธิ ีการหนึง่ ดังนี้

- เล่าเร่อื งท่เี กี่ยวข้องกับการใหบ้ ริการด้วยความเตม็ ใจ
- ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับการให้บริการด้วยความเต็มใจ เช่น ข่าว คลิปวิดิโอ
โฆษณา เป็นต้น เพอื่ ให้ผู้เรียนมีมมุ มองทกี่ ว้างขึ้น

18

- การยกประเด็นสถานการณ์และถามตอบเพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นการ
สร้างบรรยากาศการเรยี น และกระต้นุ ผู้เรียน

- ผู้สอนให้นักศึกษาร่วมกันรองเพลงเทิดพระบิดา เพลงที่เกี่ยวกับความเสียสละของ
ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข ร่วมกันแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราได้จากบทเพลง เพื่อสร้างจุดมุ่งหมายใน
การใหบ้ รกิ ารรว่ มกนั

- ผู้สอนผู้สอนให้นักศึกษาเล่าประสบการณ์ที่ตนเองประทับ ในการไปใช้บริการสุขภาพที่
โรงพยาบาล และให้เพอ่ื นๆช้ันเรยี นรว่ มแสดงความคดิ เหน็

3. ขั้นสอนเป็นขั้นให้ความรู้ เป็นขั้นให้ข้อมูลเนื้อหา ความรู้ต่าง ๆ โดยเลือกมีวิธีการใด
วิธกี ารหน่ึง ดังนี้

- ผู้สอนบรรยาย ความรูเ้ นื้อหาจากกรณศี ึกษาหรือตัวอยา่ ง
- ผู้สอนแนะนำเกี่ยวกบั การคน้ หาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศ
- ผู้สอนแนะนำกระบวนการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลดีและผลเสียของการให้บริการที่
แตกต่างกนั ในระบบบรกิ ารสุขภาพ
- ผสู้ อนกำหนดสถานการณ์ ผเู้ รียนสบื ค้นเรียนร้ดู ว้ ยตนเอง
4. ขั้นกจิ กรรม เป็นข้ันให้ผู้เรียนแสดงพฤตกิ รรมท่ีเปลย่ี นไปตามจดุ ประสงค์ที่คาดหวังโดย
ผู้สอนนำเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ตามความเหมาะสมของรูปแบบกลยุทธิ์ มาใช้เพื่อพัฒนา S: จิต
บริการ (S=Service Mind) โดยเลือกมีวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีการร่วมกัน หรือใช้หลาย
วธิ กี ารร่วมกัน (ดูองคป์ ระกอบ กลยุทธ์และกจิ กรรม)
5. ขั้นสรุปเป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกทางความคิด พฤติกรรม การทบทวนความรู้ที่ได้รับ
โดยเลอื กมีวธิ กี ารใดวธิ ีการหนึ่ง ดงั น้ี
- ผู้สอนใหผ้ ู้เรียนสรุปความรู้ทีไ่ ดโ้ ดยการพูดนำเสนอในห้องเรียน
- ผสู้ อนใหผ้ ู้เรยี นสรปุ ความรู้ทีไ่ ดโ้ ดยการเขียนเรียงความ
- ผูส้ อนให้ผู้เรียนสรุปความร้ทู ี่ไดโ้ ดยการเขยี นแผนผงั ความคดิ (Mind Mapping)
- ผู้สอนให้ผเู้ รยี นสรปุ ความรู้ที่ได้โดยการถ่ายภาพจำลองสถานการณส์ ะท้อนความคิด
- ผสู้ อนใหผ้ ู้เรียนสรปุ ความร้ทู ไ่ี ดโ้ ดยการถ่ายคลปิ วิดโิ อสถานการณ์สะท้อนความคิด
6. ขนั้ ประเมินเปน็ ขั้นทใ่ี หผ้ ู้สอนรู้วา่ ผู้เรียนเกดิ ผลการเรียนรตู้ ามทค่ี าดหวังหรอื ไม่
- ประเมินพฤติกรรม โดยผู้สอนประเมินผู้เรียน ผู้เรียนประเมินตนเอง

ผู้เรยี นประเมนิ เพอื่ น
- ประเมนิ ความพึงพอใจ โดยผรู้ ับบริการ/ผูเ้ ก่ยี วขอ้ ง
บทบาทของผู้เรยี น
1.ผเู้ รยี นทำความเขา้ ใจเตรียมความพรอ้ มในการเรยี นรู้
2.ผ้เู รยี นแลกเปลี่ยนความร้แู ละประสบการณก์ บั เพอ่ื นๆ
3.ผเู้ รียนรว่ มกิจกรรมการเรยี นรู้ที่ได้รับมอบหมาย
4.ผเู้ รยี นสรุปประเด็นความรูท้ ่ไี ด้หลังจากการเรยี นรู้
5.ผเู้ รยี นนำเสนอความรปู้ ระสบการณ์ทตี่ นเองได้รับ

19

5. สื่อการเรยี นการสอน และทรัพยากรการเรียรู้ เพอ่ื สร้างเสริมพฤติกรรมการบริการ
ดว้ ยหัวใจความเปน็ มนษุ ย์

สื่อการเรียนการสอน และทรัพยากรการเรียนรู้ที่สร้างเสริมพฤติกรรมการบริการด้วยหัว
ใจความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ระดับปริญญา
บัณฑติ ในชั้นเรียน ได้แก่

1. ส่อื การเรยี นการสอนในห้องเรยี นไดแ้ ก่
1) เอกสารหนงั สือและตำราประกอบการเรยี นที่สง่ เสรมิ การศกึ ษาดว้ ยตนเอง
2) สไลดป์ ระกอบการบรรยาย
3) ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวเน้นการนำเสนอแนวคิดของการบริการด้วยหัวใจความเป็น
มนุษย์
4) แบบฝึกหดั เนน้ การถามตอบเกี่ยวกบั สถานการณป์ ญั หานน้ั และฝกึ ปฏิบัติ

2. ส่ือการเรียนการสอน ประเภทเคร่ืองมอื จัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์
ไดแ้ ก่

1) กระดานแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ pallet
2) สไลด์ประกอบการบรรยายบนเว็บ
3) หอ้ งส่อื สารออนไลน์ Zoom google classroom
4) ห้องสนทนา Facebook 5.แหล่งคน้ หาขอ้ มูลวิดิโอ YouTube เชน่ ข่าว สถานการณ์
3. แหล่งข้อมลู เพอื่ ค้นหาและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่
1) แหลง่ ขอ้ มลู ทางอินเทอรเ์ นต็
2) ฐานขอ้ มูลทางสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
3) หอ้ งสมุดสถาบนั การศกึ ษา
4) บุคคลและผรู้ ใู้ นศาสตร์น้ัน
5) อนิ เทอร์เนต็ ซง่ึ มีขอ้ มลู มากที่สดุ และทนั สมัยทีส่ ุด
6) บุคคลและผรู้ ใู้ นศาสตร์นัน้ เชน่ ผู้เช่ยี วชาญในระดบั ชมุ ชนและนานาชาติ
7) การสัมภาษณ์บุคคลที่เก่ียวขอ้ งกบั วงการสาขาน้นั เพ่อื รับทราบประสบการณจ์ ริง
8) หน่วยงานภาคราชการสถาบันวิจัยองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องทางสาธารณสุข

ศาสตรแ์ ละสหเวชศาสตร์ท้งั ในประเทศและต่างประเทศ
9) เอกสารจากหนว่ ยงานทเี่ ก่ียวข้องกบั เน้อื หาวิชาน้นั
10) ขอ้ มลู ไดจ้ ากการชมนิทรรศการงานประชมุ วิชาการการสมั มนาท่ีเก่ยี วขอ้ ง
11) การศึกษาดูงานนอกสถานที่สถานประกอบการบริษัทหน่วยงานภายนอกจะทำให้

ผู้เรียนได้เรียนรู้และมองเห็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมที่บริการด้วยหัว
ใจความเป็นมนุษย์ไดเ้ ปน็ อย่างดี
การพิจารณาข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการ
บรกิ ารดว้ ยหัวใจความเปน็ มนษุ ย์ ตอ้ งพิจารณา ดงั นี้ 1. ความถูกต้องของข้อมูล 2. การกลน่ั กรองเน้ือ
เรื่องหรือบทความที่ศึกษา 3. แหล่งที่มาและระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลสารสนเทศ 4. ความ
น่าเชื่อถือของข้อมูลสารสนเทศและตรวจสอบได้ 5. นำข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลมาเปรียบเทียบ
และยืนยนั กนั 6. รวบรวมเนอ้ื หาท่เี กยี่ วข้องกับบทเรยี นเพ่ือสะดวกตอ่ การสืบค้น 7. ลักษณะของข้อมูล

20

สารสนเทศควรเปน็ ขอ้ มูลที่ทันสมัยเพราะสามารถชว่ ยสร้างเสรมิ พฤติกรรมการบริการดว้ ยหวั ใจความ
เป็นมนุษย์ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่มีข้อมูลทันสมัยมากกว่าข้อมูลใน
วารสารตำราหรือฐานข้อมูลต่าง ๆ 8. ไม่ควรจำกัดเฉพาะข้อมูลทางสาธารณสุขศาสตร์และสหเวช
ศาสตร์เพียงอย่างเดยี วในการแก้ปัญหาอาจดดั แปลง และ 9. ควรค้นหาขอ้ มลู ในสาขาอนื่ ๆ ดว้ ย

การใช้เครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ เป็นการนำ
แหล่งข้อมูล ภาพ เสียง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกมาเป็นเครื่องมือ และใช้แหล่งเรียนรู้
หลากหลายบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือสื่อกลาง หรือช่องทางในการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา การใช้สื่อออนไลน์ในการจัดกิจกรรม ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้และเนื้อหารายวิชาว่าจะนำเครื่องมือใดมาประยุกต์ใช้ในแต่ละหน่วยการเรียน (Unit) หัวข้อ
(Topic) และเน้นการใช้เครื่องมือเว็บในกิจกรรมที่กระตุ้นความคิด การแสดงความคิดเห็น เช่น
กิจกรรมที่เปดิ โอกาสใหผ้ ้เู รยี นได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเหน็ และการสะท้อนคดิ ได้ดีทีส่ ดุ

การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์สร้างเสริม
พฤตกิ รรมการบริการด้วยหัวใจความเปน็ มนษุ ย์ ตอ้ งคำนึงถึงองคป์ ระกอบในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน ดังนี้

1. การร่วมมือ (Collaboration) เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยตามประเด็น
หัวข้อที่ ผู้เรียนสนใจ มีการกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้อง
ร่วมมือกัน ในการเรียนรู้หรือทำกิจกรรมโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ เช่น Group (กลุ่ม
ร่วมมือกันเรยี นรู้ ตามหัวข้อท่ีผูเ้ รียนสนใจ) และ Member (การเป็นสมาชกิ ในกลุ่ม)

2. การสื่อสาร (Communication) เป็นการใช้ช่องทางของสื่อสังคมออนไลน์ในการ
ติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยน สอบถาม ติดตาม แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ใน
สถานทีแ่ ละเวลาที่ แตกต่างกนั เครื่องมือส่ือสารควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพการ
ใช้งานของผู้เรียนและ สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม เช่น Facebook จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-
mail) กระดานสนทนา (Web Board) การพูดคยุ (Chat)

3. บริบททางสังคม ( Social Context) เป็นองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
ความสัมพันธ์ ช่องทาง สถานที่ เวลา และสถานการณ์หรือเรื่องราวที่กำหนดให้ผู้เรียนเข้าไปร่วมทำ
กิจกรรมการเรยี นรู้ โดยใช้พ้นื ทีข่ องสือ่ สงั คมออนไลนท์ ม่ี ีระบบการจดั การเรยี นรู้ท่พี ัฒนาขน้ึ โดยสมาชิก
ทกุ คนในหอ้ งตอ้ งเขา้ รว่ มกล่มุ จงึ จะสามารถท ากิจกรรมได้ และมีการเชอ่ื มโยงเพ่อื การส่ือสารกับกลุ่ม
ในเฟสบคุ๊ (Facebook)

4. เทคโนโลยี (Technologies) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้หรือสิ่งอำนวยความ
สะดวก โดยอาศัยเทคโนโลยเี ครอื ขา่ ยในรปู แบบของส่ือสงั คมออนไลน์ เปน็ ส่ือกลางในการติดต่อสื่อสาร
เพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ การสื่อสารในลักษณะของการโต้ตอบ เช่น Facebook , Blog ,
YouTube , E-mail (Discussion , Web Board , Chat , Comment , Reply) แบบทดสอบออนไลน์
รวมถงึ การ เชอื่ มโยงไปยงั แหล่งทรพั ยากรสารสนเทศ อน่ื ๆ

5. การแบ่งปัน (Sharing) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการ
จัดการความรู้ ขอ้ มลู แหลง่ ขอ้ มลู ภาพ เสียง เนอื้ หาผ่านสอ่ื สังคมออนไลนเ์ พ่อื แบ่งปนั ใหก้ บั สมาชิกใน
กลุ่มโครงงานและใน เครือข่าย เช่น การแบ่งปันโดยใช้ Google Drive , Google Docs , Google
Forms , Google Sheets , Google Presentation อ่นื ๆ

21

6. ความสัมพันธ์ (Connections) โดยการให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนรว่ มในการทำกจิ กรรม
ทั้งใน ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มทุกคนอย่าง
สม่ำเสมอ โดยกิจกรรมจะมุ่งเน้นการนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงการ
ตั้งประเด็น การศึกษา คำถาม วัตถุประสงค์และหัวข้อนั้นๆ เช่น Group (กลุ่มตามหัวข้อโครงงานของ
ผ้เู รยี นแต่ละกลุ่ม และกลุ่มแต่ละห้องเรยี น)

7. การใช้เครื่องมือร่วมกันสร้างเนื้อหา (Content co-creation Tools) โดยการที่สมาชิก
ในกลุ่ม นอกกลุ่มและในเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co-Creation) และน าเสนอข้อมูล
เนื้อหา (Content) แสดงความคิดเห็นด้วยการโพสต์คอมเม้นต์ โต้ตอบกันได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการ
แลกเปลี่ยน เรียนรู้ โดยผู้เรียนจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ เช่น การแบ่งปัน (Sharing) การแสดงความ
คิดเห็น (Comment) การโต้ตอบ (Reply) การนำเสนอ (YouTube) การทำแผนที่ความคิด (Mind
Map)

6. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ท่ีสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัว
ใจความเปน็ มนุษย์

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และ
พฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการจัด
สภาพแวดล้อมการเรยี นรู้ทเ่ี ออ้ื ต่อการพฒั นาสรา้ งเสริมพฤตกิ รรมการใหบ้ ริการสุขภาพด้วยหัวใจความ
เป็นมนุษย์ แบง่ เปน็ 3 ประเภท

1. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ทาง
กาย โดยการเรียนรู้ท่ีสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การจัด
สภาพแวดลอ้ มท่ดี จี ะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเน้ือหาภาคทฤษฎีไดด้ ีและสามารถเชอื่ มโยงความรู้ในห้องเรียน
มาประยุกตใ์ ช้ในเกดิ ประโยชน์ต่อการเรียนรแู้ ละลงมอื ปฏิบัติในภาคทดลองหรือภาคสนามได้

ลักษณะของสภาพแวดล้อมการเรยี นรทู้ างกายภาพที่ควรคำนึงถึง มีดังนี้ สถานที่เรียน
ห้องเรียน และสถานท่ฝี ึกปฏิบัติ เช่นขนาดห้อง จำนวนท่นี ่ัง ลักษณะ โต๊ะ เกา้ อี้

การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพที่ส่งเสริมการสร้างเสริมพฤติกรรมการ
ใหบ้ ริการสุขภาพด้วยหวั ใจความเป็นมนุษย์ มีดงั นี้

1.1 ควรจัดห้องเรียนภาคทฤษฎีที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล กลุ่ม
ใหญ่และกลุ่มย่อย ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ต่าง ๆที่ช่วยสร้างเสริมพฤติกรรมการ
ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยห้องเรียนควรมีขนาดใหญ่พอที่จะแบ่งนักศึกษา
ออกเป็นกลุ่มๆในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งโต๊ะ เก้าอี้ควรสามารถเคลื่อนยา้ ยได้อยา่ งอิสระเพื่อใหเ้ กดิ ความ
คล่องตัวในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ การสะท้อนคิด
ต้องมีการแบง่ เปน็ กลุ่มยอ่ ย หรอื จบั คู่ เปน็ ตน้

1.2 ควรจัดห้องเรยี นและสิ่งสนบั สนุนในการเรียนการสอนภาคทดลองทีเ่ น้นการลงมอื
ปฏิบัติจริง และสามารถสะท้อนให้เห็นสภาพการให้บริการจริงในสถานพยาบาล เพื่อสนับสนุนให้เกิด
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทในการบริการสุขภาพ เพื่อช่วยสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการ
สุขภาพดว้ ยหวั ใจความเปน็ มนษุ ย์

22

1.3 ควรเว้นช่องว่าง ทางเดินให้ผู้สอนสามารถสังเกตพฤติกรรมและให้คำปรึกษาแก่
ผเู้ รียนไดอ้ ย่างสะดวก

1.4 ควรจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้ที่สนับสนุนให้เกิด
ความรู้ความเข้าใจบริบทในการบริการสุขภาพ และสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัว
ใจความเป็นมนุษย์

1.5 ควรจัดวัสดุและอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการฝึกทดลองเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์
ในการใหบ้ ริการสขุ ภาพดว้ ยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์

1.6 ควรจดั ให้มจี ุดบริการแหล่งขอ้ มูลทง้ั ออฟไลน์และออนไลน์ เชน่ จดุ บรกิ ารเครือขา่ ย
อินเตอรเ์ นต็ หรือ WIFI เพอื่ การศกึ ษาคน้ ควา้ ขอ้ มลู สารสนเทศ

2. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางจิตภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้เรียนเกิด
ความรูส้ ึกทางบวกหรอื ทางลบ หรือเปน็ สง่ิ ทม่ี ากระทบความรสู้ กึ นึกคิดของผู้เรียน โดยในการให้บริการ
สุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางจิตภาพให้เหมาะสมมี
ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดี ช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในการเข้าใจตนเอง
เข้าใจผู้อื่น เข้าใจชีวิต เกิดความเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งผลให้เกิดการตั้งจิต
มุ่งมัน่ ทจี่ ะใหก้ ารดูแลช่วยเหลอื ผู้รับบริการด้วยความเตม็ ใจและต้องการทำส่ิงดีๆ ให้กับเพื่อนมนุษย์ซ่ึง
นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการเรียนรู้ท่ีสร้างเสริมพฤติกรรมการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความ
เปน็ มนุษย์

ลักษณะของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางจิตภาพที่ควรคำนึงถึง มีดังน้ี บรรยากาศ
การเรยี นรู้และการมสี ่วนร่วมในการเรยี นรู้

การจดั สภาพแวดล้อมการเรยี นรูท้ างจิตภาพที่เอ้ือตอ่ การเรียนร้ทู ่ีสร้างเสริมพฤติกรรม
การให้บริการสขุ ภาพดว้ ยหัวใจความเป็นมนุษย์ มดี ังน้ี

2.1 ควรจัดบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความผ่อนคลาย ปลอดภัย เป็นกัลยาณมติ ร ทำให้
ผู้เรียนมีความสขุ ไม่เครียด และเกิดความไว้วางใจซ่ึงกันและกัน โดยบูรณาการการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรยี นเปน็ สำคัญ เพอ่ื ให้เกดิ ความพร้อมที่จะรับฟงั เข้าอกเข้าใจ และมีจิตเมตตาต่อผู้อ่ืน อันจะนำมาสู่
การปรับทัศนคติท่ดี แี ละปลกู ฝงั ความมจี ิตสำนึกในการบริการด้วยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์

2.2 ควรจัดบรรยากาศให้เสมือนว่าผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสภาพจริง เพื่อให้เกิดเรียนรู้
พฤตกิ รรมของมนษุ ย์ทีห่ ลากหลาย และพฤติกรรมการแกไ้ ขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพ่อื สรา้ งเสรมิ
ประสบการณ์และหล่อหลอมให้เกิดพฤตกิ รรมการใหบ้ รกิ ารสุขภาพดว้ ยหัวใจความเปน็ มนุษย์

2.3 ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสะท้อนคิด เพื่อค้นพบพลังภายในที่จะสร้างให้เกิดคุณคา่
ให้กับตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดความเข้าใจสัจธรรมของชีวิต ให้ความหมายต่อสภาวะของชีวิตทั้งยาม
เจบ็ ป่วยและมีสุขภาพดี เพอ่ื สร้างเสรมิ ใหม้ ีจติ บรกิ ารด้วยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์

2.4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ช่วยสร้างจิตสำนึก ให้เกิดกระบวนการคิดหรือลงมือทำ
กิจกรรมที่ให้การช่วยเหลือและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมไปถึงการหล่อหลอมให้เกิดคุณธรรม
จริยธรรม เช่น การสร้างศรัทธาในการทำความดีโดยการเล่าประสบการณ์ทำความดี ช่วยเหลือเพื่อน
มนุษยข์ องตนเอง หรอื การฟงั บรรยายธรรมะเพอ่ื พฒั นาจติ กอ่ นการเรยี น เป็นต้น

23

3. สภาพแวดลอ้ มการเรียนรทู้ างสังคมภาพ เปน็ สภาพแวดลอ้ มท่สี ง่ ผลให้เกิดจติ บริการ
ด้วยหัวใจความเป็นมนษุ ย์ ผา่ นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การประพฤติปฏิบัติต่อกนั

ลักษณะของสภาพแวดล้อมการเรียนรทู้ างสงั คมภาพ ท่คี วรคำนงึ ถงึ มีดังน้ี
1) การมปี ฏิสมั พนั ธ์ระหว่างผ้สู อนกบั ผูเ้ รยี น ระหว่างผู้เรียนกบั ผูเ้ รียนดว้ ยกัน
2) การมีมนษุ ยสมั พนั ธ์ทด่ี รี ะหว่างผสู้ อนกับผ้เู รยี น ระหว่างผู้เรียนกับผ้เู รยี นดว้ ยกัน
3) การยอมรับความคดิ เหน็ ทแี่ ตกตา่ ง เข้าอกเข้าใจซึง่ กันและกนั ระหว่างผสู้ อนกับ

ผู้เรียน ระหวา่ งผูเ้ รยี นกับผเู้ รยี นดว้ ยกัน

การจัดสภาพแวดล้อมการเรยี นรู้ทางสงั คมภาพทเ่ี ออื้ ตอ่ การเรียนร้ทู ี่สรา้ งเสรมิ พฤตกิ รรมการ
ให้บริการสขุ ภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มดี ังนี้

3.1 จดั สภาพแวดลอ้ มการเรียนรู้ทางสังคมภาพ และกิจกรรมการเรยี นการสอนท่ีส่งเสริม
ให้เกิดปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหวา่ งผู้สอนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรยี นกบั ผูเ้ รียนด้วยกันอยา่ งตอ่ เนื่อง โดย
มีการแบ่งกลุ่มย่อยที่มีความหลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่มี
บคุ ลกิ ลกั ษณะ และพื้นฐานความคิดทแี่ ตกตา่ งกันไป

3.2 ส่งเสริมเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกบั
ผู้เรียนด้วยกัน เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ บนพื้นฐานของการใช้สุนทรียสนทนา เพื่อ
เปิดมุมมองให้ผู้เรียนได้เข้าใจผู้อื่น เข้าใจบริบทที่แตกต่าง และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน เคารพใน
คณุ คา่ และศักดศ์ิ รคี วามเปน็ มนุษย์ อาจมีการเสรมิ กจิ กรรมละลายพฤติกรรมก่อนเขา้ กลุ่มย่อยเพ่ือเพ่ิม
ปฏสิ มั พันธเ์ ชงิ บวกระหวา่ งสมาชกิ ในกลุม่

3.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับ
ผู้รับบริการจริง เช่น การซักประวัติในคลินิกสาธิต หรือผู้รับบริการในชุมชนในการเรียนรู้โดยใช้ชุมชน
เป็นฐาน เพ่ือสร้างเสรมิ ทกั ษะ ประสบการณ์ และปรบั เปลย่ี นกระบวนทัศน์เพือ่ การเรียนรู้และเติบโต สู่
การบรกิ ารดว้ ยหวั ใจความเป็นมนษุ ย์ของนักศึกษา

7. เครอ่ื งมอื ทใี่ ช้ในการประเมนิ ทักษะพฤติกรรมการบรกิ ารด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การประเมินทักษะพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาคณะ
สาธารณสุขศาสตรแ์ ละสหศาสตร์ ใน 3 มติ ิ ดังนี้

1) จิตบริการ (S=Service Mind) เป็นการประเมินการเอาใจใส่ในความทุกข์ และความ
ต้องการของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง รับฟังอย่างตั้งใจ มีใจรักในงานและเห็นคุณค่าของตนเอง
รับผิดชอบต่อหน้าที่ อำนวยความสะดวก ติดตามการบริการ ตอบสนองการให้บริการอย่างว่องไว
พรอ้ มทีจ่ ะให้บรกิ ารด้วยท่าทีที่เป็นมติ ร ดว้ ยความรกั ความเมตตา รู้จกั การควบคุมอารมณ์ สรา้ งความ
ประทับใจ เสียสละ อุทิศตน ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน วางใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ
คำนึงถึงความเปน็ เหตุเป็นผล ยอมรับบุคคลบนพื้นฐานของความเข้าใจผูอ้ ื่นตามความเป็นจริง เปิดใจ
รับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมของผู้เรียน ดังต่อไปนี้ ระดับที่ 1 ให้บริการที่เป็นมิตร สุภาพด้วย
ความเต็มใจ และให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวมถึงการประสานงานในส่วนที่รับผิดชอบ ระดับที่ 2

24

แก้ปัญหาหรือหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว ไม่บ่ายเบี่ยง ไม่แก้ตัว ไม่ปัด
ภาระ ระดับที่ 3 ให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับงานที่กำลังให้บริการอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่
ผู้รับบริการ แม้ว่าผู้รับบริการจะไม่ได้สอบถามหรือไม่ทราบมาก่อน ระดับท่ี 4 ให้คำแนะนำที่เป็น
ประโยชน์แก่ผู้รับบริการ เพื่อตอบสนองความจำเป็นหรือความต้องการที่แท้จริงแก่ผู้รับบริการ และ
ระดับที่ 5 คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้รับบริการในระยะยาว และพร้อมที่จะเปลี่ยนวิธีหรือขั้นตอน
ให้บรกิ าร เพอ่ื ประโยชนส์ ูงสดุ ของผูร้ บั บรกิ าร

2) การคดิ เชงิ วเิ คราะห์ (A=Analytical Thinking) เป็นการประเมินการรวบรวม จำแนก
ไตร่ตรองข้อมลู จากแหล่งขอ้ มูลทห่ี ลากหลาย และน่าเช่อื ถือ ตามสภาพความเป็นจรงิ ในการวิเคราะห์
ปัญหาและสงั เคราะหส์ ิ่งใหม่ อยา่ งมีวจิ ารณญาณ โดยเชอ่ื มโยงความรเู้ ข้าสู่การตัดสินใจ การแกป้ ัญหา
ของผู้รับบรกิ ารอย่างสร้างสรรค์จากสิง่ ทีเ่ รียนรู้ สอดคล้องกับความตอ้ งการที่แทจ้ ริงของผู้รบั บริการ
ตามบริบทสภาพการดำรงชีวิต ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมของผู้เรียน ดังต่อไปนี้ ระดับที่ 1 สามารถ
วิเคราะห์และแตกประเด็นปัญหาสุขภาพในงานที่รับผิดชอบ ระดับที่ 2 สามารถอธิบายความสัมพันธ์
ขั้นพื้นฐานของปัญหาสขุ ภาพหรืองานบริการ โดยสามารถระบุเหตุและผล ข้อดี ข้อสียในประเด็นตา่ งๆ
และวางแผนงานตามลำดับความสำคัญ ระดบั ที่ 3 สามารถอธบิ ายความสมั พันธ์ที่ซับซ้อนของปัญหา
สุขภาพหรืองานบริการ และสามารถเชอื่ มโยงปจั จยั ทีซ่ บั ซ้อนของสถานการณ์ โดยวางแผนขนั้ ตอนการ
ดำเนินงานท่ีมีผเู้ ก่ยี วข้องหลายฝา่ ยไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ระดบั ที่ 4 สามารถวิเคราะห์ วางแผน และ
คาดการณ์ปัญหาสุขภาพหรืองานบริการ พร้อมวางแนวทางการป้องกันปัญหาล่วงหน้าในงานที่
ซับซ้อน และระดับที่ 5 ใช้เทคนิคและรูปแบบต่างๆ ในการกำหนดแผนงาน การทำงาน และหาทาง
เลือกสำหรบั ป้องกนั หรือแก้ไขปญั หาทเี่ กิดขึ้นได้

3) การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ (P=Participation) เป็นการประเมินการให้บริการ
สุขภาพ โดยให้ผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในการรับรู้ปัญหาและความตอ้ งการของตนเอง
รวมทั้งตัดสินใจแก้ปัญหาสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้
สะท้อนคิด ให้ความสำคัญในระหว่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ พิทักษ์สิทธิและรักษาความลับ
ผู้รับบริการ เข้าใจความเชื่อและค่านิยมซึ่งกัน และกัน ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมของผู้เรียน ดังต่อไปน้ี
ระดับที่ 1 ให้การสนับสนนุ การตัดสินใจของทีม และทำงานส่วนทต่ี นไดร้ ับมอบหมายสำเร็จ ระดับที่ 2
ให้ขอ้ มูลที่เป็นประโยชน์ และให้ความร่วมมอื กับทีมด้วยดี ระดับที่ 3 รบั ฟงั ความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ
และรว่ มวางแผนในการทำงานของผ้รู ับบริการ ระดับที่ 4 ใหค้ วามรว่ มมอื รว่ มใจกบั ทมี จนงานประสบ
ความสำเร็จตามแผน และระดับที่ 5 นำทีมใหเ้ กิดความสามคั คี ทำใหง้ านบรรลตุ ามเป้าหมาย

เคร่อื งมอื ท่ีใช้ในการประเมนิ การบริการดว้ ยหัวใจความเป็นมนษุ ย์ ประกอบดว้ ย

1. แบบประเมนิ พฤติกรรมการบรกิ ารด้วยหัวใจความเปน็ มนุษย์ มีลกั ษณะเป็นมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดบั มีเกณฑ์การใหค้ ะแนน ดงั นี้

1 หมายถงึ แสดงพฤติกรรมน้ันนอ้ ยทส่ี ุด (1 ใน 5 ครง้ั ของการดแู ลผรู้ บั บริการหรือไม่
เคยแสดงพฤติกรรมนนั้ เลย)

2 หมายถึง แสดงพฤตกิ รรมน้นั น้อย (2 ใน 5 คร้งั ของการดแู ลผ้รู ับบริการ)
3 หมายถงึ แสดงพฤตกิ รรมนนั้ ปานกลาง (3 ใน 5 ครั้งของการดแู ลผู้รบั บริการ)

25

4 หมายถงึ แสดงพฤติกรรมนนั้ มาก (4 ใน 5 ครงั้ ของการดแู ลผู้รับบริการ)
5 หมายถึง แสดงพฤตกิ รรมน้ันมากทสี่ ุด (ทุกคร้ังของการดูแลผรู้ บั บรกิ าร)

มีการแปลผลค่าคะแนน ดังน้ี

คะแนนเฉล่ีย 1.00 - 1.50 หมายถงึ มพี ฤติกรรมอยใู่ นระดับตำ่ มาก
คะแนนเฉล่ีย 1.51 - 2.50 หมายถงึ มีพฤติกรรมอยูใ่ นระดับต่ำ
คะแนนเฉล่ยี 2.51 - 3.50 หมายถงึ มพี ฤตกิ รรมอยใู่ นระดับปานกลาง
คะแนนเฉล่ีย 3.51 - 4.50 หมายถงึ มพี ฤติกรรมอย่ใู นระดับดี
คะแนนเฉลี่ย 4.51 - 5.00 หมายถงึ มีพฤติกรรมอยูใ่ นระดับดมี าก

วธิ กี ารประเมิน จะประเมินโดย 1. ผสู้ อนประเมินผู้เรยี น 2. ผเู้ รียนประเมินตนเอง และ
3. ผู้เรยี นประเมนิ เพอื่ น


Click to View FlipBook Version