The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โวหารการเขียน ม.3

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by TEACHER MILK, 2022-08-24 05:27:59

โวหารการเขียน ม.3

โวหารการเขียน ม.3

โวหาร

การเขียน

วชิ าภาษาไทย ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ ๓

การเขยี น

การสือ่ สารเรือ่ งราว ความต้องการ
ความคดิ เห็น หรือความรู้สกึ ไปสู่ผู้อ่าน
เพื่อใหเ้ กิดความรู้ ความเขา้ ใจ ตามที่
ผู้เขยี นต้องการ

โวหารการเขยี น

สานวนและลลี าในการเขียน

บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร

เลา่ เรือ่ งราว บอกเล่า เล่ารายละเอียด แทรก
เหตกุ ารณไ์ ปตามลาดบั อารมณ์ความรูส้ กึ ใหเ้ หน็ ภาพ

เทศนาโวหาร

สอนใจให้คิด

สาธกโวหาร อุปมาโวหาร

ยกตัวอยา่ งเพื่ออธิบาย เปรียบเทียบให้เขา้ ใจ
ให้แจม่ แจ้ง ความหมาย

บรรยายโวหาร โวหารทใี่ ชใ้ นการเล่าเรอื่ ง บอกเล่า หรอื อธบิ ายเรอื่ งตา่ ง ๆ

ใชถ้ ้อยคาธรรมดา ใช้ภาษางา่ ย ๆ ตรงไปตรงมา เหน็ แบบไหนก็เขยี นแบบนนั้

ตัวอย่าง

วนั นเี้ ป็นวนั คล้ายวันเกิดของคุณยาย แมข่ องฉนั ตนื่ แตเ่ ช้า
เพื่อหงุ ข้าวและทากบั ข้าวเตรียมไวใ้ หค้ ณุ ยายใสบ่ าตรในตอนเช้า
สว่ นฉนั กับคุณยายกาลงั นงั่ พับดอกบัวรออยหู่ นา้ บ้าน คณุ ยาย
บอกวา่ การพับดอกบวั เป็นงานละเอียดอ่อน ตอ้ งอาศยั สมาธิ
และใจทหี่ ยดุ นิง่ ผอ่ งใส ประณตี จึงนับเป็นการฝึกสมาธิ และ
ฝึกใจใหผ้ อ่ งใสไปในตัว

หลักการเขยี นบรรยายโวหาร

1. เรอื่ งทีเ่ ขียนต้องเป็นเรอื่ งจรงิ ผ้เู ขยี นควรมีความร้เู กีย่ วกบั เรอื่ งทีจ่ ะเขยี น
เป็นอยา่ งดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้ากไ็ ด้

2. เลอื กเขียนเฉพาะสาระสาคัญ ไมเ่ น้นรายละเอยี ด แตเ่ ขยี นตรงไปตรงมา
ไมอ่ อ้ มค้อม กระชับ ชดั เจน

3. ใชภ้ าษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัด อาจใช้อปุ มาโวหารและสาธก
โวหารเขา้ ช่วยได้บ้าง แตต่ ้องไมม่ าก จนส่วนทเี่ ป็นสาระสาคญั กลายเป็นส่วน
ดอ้ ยไป

4. เรยี บเรียงความคดิ ใหต้ อ่ เนือ่ ง และสมั พันธ์กัน

พรรณนาโวหาร โวหารทีใ่ ช้ในการเขยี นเรอื่ งราวอยา่ งละเอยี ด เพื่อให้

ผอู้ า่ นเหน็ ภาพทีช่ ดั เจนยิง่ ขึน้ เข้าใจอารมณแ์ ละความรสู้ กึ ใชภ้ าษาทไี่ พเราะ

ตัวอยา่ ง

ทะเลหมอกในยามเช้าเรยี งรายกันเหมือนกับท้องทะเลไม่มีผิด
แสงหมอกอุ่น ๆ กระจายเต็มทั่วบริเวณ ความงดงามยามรุ่งอรุณ
ที่คอยต้อนรับให้เราเดินทางสู่วันใหม่ด้วยความอบอุ่นใจ อากาศ
หนาวพร้อมทงั้ ความเย็นทมี่ าสมั ผสั รา่ งกาย เสียงนกรอ้ งเจื้อยแจ้ว
ดังมากับสายลมอ่อน ๆ บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขท่ามกลาง
ธรรมชาตทิ ีแ่ สนสวยงาม ในยามเช้าทแี่ สนจะสดใส

หลักการเขียนพรรณนาโวหาร

1) ตอ้ งใช้คาดี หมายถึง การเลอื กสรรถอ้ ยคา เพื่อใหส้ อื่ ความหมาย สอื่ ภาพ
สอื่ อารมณเ์ หมาะสมกบั เนอื้ เรือ่ งทีต่ อ้ งการบรรยาย ควรเลือกคา ทีใ่ ห้
ความหมายชดั เจน ทงั้ อาจตอ้ งเลอื กให้เสยี งคาสัมผสั กนั เพื่อเกดิ เสียงเสนาะ
อย่างสัมผสั สระ สัมผสั อักษร ในงานร้อยกรอง

2) ต้องได้ใจความ แม้จะพรรณนายดื ยาว แตใ่ จความต้องมุ่งให้เกิดภาพ
และอารมณ์ความร้สู กึ สอดคลอ้ งกบั เนอื้ หาทกี่ าลังพรรณนา

3) อาจต้องใชอ้ ุปมาโวหาร คอื การเปรียบเทยี บเพื่อให้ได้ภาพชดั เจน และมักใช้
ศิลปะการใชค้ าทเี่ รยี กว่า ภาพพจนป์ ระเภทตา่ ง ๆ ทงั้ นีเ้ ป็นวธิ กี ารทีจ่ ะทาให้
พรรณนาโวหารเดน่ ทงั้ การใช้คา และการใชภ้ าพทีแ่ จม่ แจง้ อ่านแลว้ เกิด
จินตนาการและความร้สู ึกคลอ้ ยตาม

หลกั การเขยี นพรรณนาโวหาร (ต่อ)

4) ในบางกรณีอาจต้องใชส้ าธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอยา่ ง
เพื่อให้เกิดความแจม่ แจง้ โดยยกตวั อยา่ งสงิ่ ทีล่ ะมา้ ยคลา้ ยคลงึ กัน
เพื่อใหเ้ กิดภาพ และอารมณเ์ ด่นชดั พรรณนาโวหารมักใช้กบั การชม
ความงามอนื่ ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสรญิ บุคคล หรอื ใช้พรรณนา
อารมณ์ ความรสู้ กึ เช่น รัก เกลยี ด โกธร แค้น เศรา้ สลด เป็นต้น

ประเภทของเรอื่ งทีใ่ ชว้ ิธกี ารเขยี นพรรณนา

1. การพรรณนาบคุ คล ผเู้ ขียนควรสงั เกตรูปร่างหนา้ ตา
เพื่อค้นหาบคุ ลกิ ลักษณะเฉพาะของบคุ คลมาเป็นขอ้ มลู
ในการพรรณนา

2. การพรรณนาสถานที่ ผูเ้ ขียนควรสงั เกตลกั ษณะของ
สถานที่ ตาแหนง่ ทตี่ งั้ เหตุการณท์ ที่ าใหป้ ระทบั ใจ
เพื่อนามาเป็นขอ้ มลู ในการพรรณนา

ประเภทของเรอื่ งทีใ่ ชว้ ธิ กี ารเขยี นพรรณนา

3. การพรรณนาธรรมชาติ ผู้เขียนควรสงั เกตทวิ ทศั น์
บรรยากาศ สงิ่ มชี วี ิตและไมม่ ชี วี ติ โดยรอบ เพื่อนามาเป็น
ขอ้ มลู ในการเขยี น

4. การพรรณนาเหตกุ ารณ์ ผเู้ ขยี นควรสงั เกตลกั ษณะ
เดน่ ของเหตกุ ารณ์

เทศนาโวหาร โวหารทมี่ จี ุดม่งุ หมายในการเขียนเพื่อแนะนา สัง่ สอน

หรอื มุง่ ให้ผู้อ่านปฏิบตั ิตาม

ตัวอยา่ ง

“ความสาเรจ็ ” ไมไ่ ด้เกดิ ขึน้ งา่ ย ๆ และไมไ่ ดเ้ กดิ ขนึ้ กบั ทกุ คน
แคค่ วามคดิ อย่างเดียว ไมไ่ ดท้ าใหเ้ ราประสบความสาเร็จ หากเราไม่เริม่
ลงมือทา หากไม่อยากล้มเหลว ผิดหวัง ก็ต้องลองเปลี่ยนแปลง
ตัวเองดูสักครั้ง “คาดหวังให้น้อย ลงมือทาให้มาก” ในทุก “ความ
พยายาม” อาจจะไม่ประสบความสาเร็จ แต่ทุกความสาเร็จ ต้องใช้
“ความพยายาม”

โดย สโรชา สพุ ันธ์

หลักการเขียนเทศนาโวหาร

1) การเขยี นเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทตา่ ง ๆ มาประกอบ กล่าวคอื ทงั้ ใช้
บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหารดว้ ย เพื่อให้
ใจความชัดเจนแจม่ แจ้ง จนเกดิ ความรูส้ ึกนกึ คิดคล้อยตาม

2) หากเป็นการแสดงความคิดเหน็ ควรอธบิ ายทัง้ ดา้ นทเี่ ป็นประโยชน์และโทษ
หรือแสดงเหตุและผล

3) ผู้เขยี นต้อง มคี วามรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ งทีเ่ ขยี นเป็นอยา่ งดี สามารถอธบิ ายอย่าง
ชัดเจน อกี ทงั้ ควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลกึ ซงึ้ ตอ้ งรูจ้ กั ใชเ้ หตผุ ล
และหลกั ฐานสนบั สนุนความคดิ เหน็ ทีต่ นเสนอดว้ ย

สาธกโวหาร โวหารทมี่ ีการยกตวั อยา่ ง นาเรือ่ งราวอนื่ เข้ามาประกอบ

ใหช้ ัดเจนขึน้ หรือสนบั สนุนความคดิ เหน็ ใหน้ ่าเชอื่ ถือมากยิง่ ขึน้ ใช้เขียนเสริม
บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร

ตัวอยา่ ง

คนเราจะไปดูถูกคนอืน่ เพียงเพราะเขาอ่อนแอกว่าหรือมีฐานะ
ด้อยกว่าไม่ได้ นิทานอีสปเรื่องราชสีห์กับหนูก็บอกอยู่แล้วว่า
แม้ราชสีห์จะมีอานาจและทรงพลังเพียงใด แต่วันหนึ่งเมื่อเกิด
ปัญหาก็ต้องให้หนูตัวเล็ก ๆ มาช่วย ดังนั้น เราจึงควรปฏิบัติดี
ต่อผู้อื่น มีน้าใจไมตรีต่อกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็น
ใครก็ตาม

โดย กานต์ธดิ า แกว้ กาม

หลกั การเขียนสาธกโวหาร

1) การเขียนสาธกโวหารจะเขียนควบคกู่ ับเทศนาโวหาร หรือบรรยายโวหาร
โดยการยกตัวอย่างประกอบ

2) ตัวอย่างทีย่ กมาประกอบตอ้ งสอดคล้องสัมพันธก์ ับเนอื้ ความในเทศนาโวหาร
หรอื บรรยายโวหาร

3) ตอ้ งยกตัวอย่างชัดเจนใชถ้ ้อยคาง่าย และควรสรุปหลงั จากยกตวั อย่าง
ประกอบแลว้ ให้เหน็ ความสาพันธ์ของเทศนาโวหารกับสาธกโวหารหรือบรรยาย
โวหารกบั สาธกโวหาร

อปุ มาโวหาร โวหารทมี่ ีการเปรยี บเทียบให้ผอู้ า่ นเข้าใจมากยงิ่ ขึน้

เป็นโวหารเสรมิ ทีใ่ ชเ้ สรมิ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร

ตวั อย่าง

เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ฉันเรียนที่โรงเรียนมัธยมแห่ง
หนึ่ง วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะ
อาคารเรียนถูกรื้อทิ้งไปราวกับว่าทีต่ รงนี้ไม่เคยมีอาคาร
เรยี นมาก่อน

โดย กานตธ์ ดิ า แกว้ กาม

หลกั การเขยี นอปุ มาโวหาร

1) เปรียบเทียบของสิง่ หนึง่ เหมือนสิง่ หนงึ่ ใชค้ าวา่ เหมือน ราว ดจุ ดัง เพียง
เสมอื น ประดุจ ฯลฯ เป็นตัวเชอื่ มขอ้ ความ เชน่
- เธอสวยราวกบั นางฟา้
- เขาดใี จเหมือนถูกรางวัล
- แม่รกั ลูกดังดวงใจ

2) เปรยี บเทียบโดยโยงความคิดผู้อา่ นไปสู่สิง่ หนึง่ เช่น ชีวิตเหมือนนวนยิ าย

อยา่ ลืมทบทวน
บทเรียนดว้ ยนะคะ


Click to View FlipBook Version