เทคนิค
การ
นำเสนอ
ให้โดนใจ
ความสำคัญของการนำเสนอ
การนำเสนอมีคุณค่าเป็นพิเศษ ทำให้ความคิดความเห็นของ
ผู้นำเสนอ ได้มีการถ่ายทอดไปยังผู้รับการนำเสนอ หากผู้เสนอ
มีเทคนิคการนำเสนอที่ดี ก็จะทำให้น่าสนใจ น่าพิจารณา และ
ประสพผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ในทางตรงกันข้ามหากการนำเสนอ
ขาดเทคนิคที่ดี ก็จะให้ความคิด ความเห็น และรายงานตลอดจนข้อเสนอ
ต่าง ๆ ไม่น่าสนใจ ไม่ได้รับการพิจารณา การเตรียมการ และ
การใช้เวลาการนำเสนออย่างมากมายก็จะไม่เป็นผลทำให้เกิดการสูญเปล่า
การนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้รับการนำเสนอมีความพึงพอใจ
ให้ความเคารพในความคิดของผู้นำเสนอ มีความชื่นชม ให้เกียรติยอมรับ
การนำเสนอก็จะได้รับผลสำเร็จ
รูปแบบของการนำเสนอ
ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
โดยทั่วไปจะมีการใช้อยู่ 2 รูปแบบ
แบบสรุปความ แบบเรียงความ
คือ การนำเสนอ คือ การนำเสนอ
เนื้อหาทั้งที่เป็น ด้วยการพรรณนา
ถึงเนื้อหาละเอียด
ข้อเท็จจริง
ความคิดเห็น
และข้อพิจารณา
เป็นข้อ ๆ
คุณสมบัติของผู้นำเสนอ
ในการนำเสนอด้วยวาจา
คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัว
ของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็น
ส่วนสำคัญของความสำเร็จ
ในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของ
ผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้มน้าว
ชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้
วางใจ เชื่อถือ การยอมรับได้มาก
เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
มีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้ม
มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ
มีน้ำเสียงชัดเจน
มีภาพลักษณ์ที่ดี
มีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีไหวพริบปฏิภาณในการตอบคำถามที่ดี
ทักษะของผู้นำเสนอ
ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มี
ทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการ
เป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัย
สำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ
โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะ
ทักษะในการคิด (conceptual skill)
ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และสร้างความ
ชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหา
สาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิด
พิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิด
เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ
ระยะเวลา และโอกาส
ทักษะในการฟัง (Iistening skill)
ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟังและสั่งสม
ปัญญาเป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง
ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอ
เพื่อนำมากลั่นกรองเรียบเรียงเป็นเนื้อหา
ในการนำเสนอ
ทักษะในการพูด (Speaking skill)
ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่าเนื่อง
โน้มน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย
อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ
นำเสนอ
ทักษะการอ่าน (Reading skill)
ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิ
ชำนาญ ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล สามารถ
ประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียง
พอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
ทักษะในการเขียน (Writing skill)
ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน
เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด
ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์
และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบ
โดยใช้ตัวอักษรการนำเสนอด้วยการเขียนจึง
ต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้
คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ
และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม
ทักษะในการถ่ายทอด (Delivery skill)
ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
ให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์
ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับ
วัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ
การเตรียมการนำเสนอ
1. โครงสร้างการพูด
2. เครื่องมือ อุปกรณ์
3. เอกสารประกอบ
4. ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
5. สร้างอารมณ์ขัน
จิตวิทยาในการนำเสนอ
จิตวิทยาในการนำเสนอ
การนำเสนอประสพความสำเร็จ ต่อเมื่อผู้รับการนำเสนอเกิดการ
ยอมรับ และ พึงพอใจ จึงต้องใช้จิตวิทยาอันเป็นวิชาที่เกี่ยวข้อง กับ พฤติกรรม
หรือการกระทำของมนุษย์ มาช่วยใน การสื่อสารทำความเข้าใจ และป้องกันการขัด
ขวาง ลำพังการนำเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูล และสารสนเทศ ต่อผู้รับการนำเสนอยัง
ไม่เพียงพอ เพราะผู้รับการนำเสนอเป็นมนุษย์ปุถุชน มีความรู้สึก และ อารมณ์ จึง
ต้องนำเสนอให้สนองตอบต่ออารมณ์ ของผู้รับการเสนอด้วย
การวิเคราะห์การนำเสนอ
เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ผู้รับการนำเสนอเพื่อให้รู้ถึงความคิด ความรู้สึก
อารมณ์ ทัศนคติ ค่านิยม และ รสนิยม ตลอดจนความคาดหวัง ของผู้รับการนำเสนอ
เป็นการทำความรู้จัก อันจะช่วยให้สามารถสนองความต้องการ หากผู้รับการนำเสนอ เป็น
บุคคลเดียว หรือคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ ก็สามารถวิเคราะห์ ลักษณะของผู้รับการนำเสนอได้
สะดวก แต่ถ้าผู้รับการนำเสนอจำนวนมากเป็นกลุ่มใหญ่นับสิบนับร้อยคนขึ้นไป การวิเคราะห์
ผู้รับการนำเสนอย่อมกระทำได้ยากขึ้น ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ลักษณะของส่วนใหญ่โดยรวม
การตระเตรียมการนำเสนอ
หลังจากการกำหนดจุดมุ่งหมายการนำเสนออย่างชัดเจน และวิเคราะห์ผู้รับการนำ
เสนอแล้ว จะต้องเลือกรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะสม มีการรวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลเท็จจริง
หลักฐาน สถิติ เพื่อนำมาสนับสนุนการนำเสนอ ด้วยการนำมาเขียนคำกล่าวนำและเนื้อเรื่อง ตลอดจนคำ
สรุป ในการนี้จะต้องจัดเตรียมการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ ตามความเหมาะสม
การสร้างความพึงพอใจต่อผู้รับการนำเสนอ
ด้ า น ผู้ นำ เ ส น อ
การนำเสนอจะได้รับความสนใจและเกิดความตั้งใจ
จะรับการนำเสนอ ข้อพิจารณาเบื้องต้น คือ
การได้รู้ว่าผู้นำเสนอเป็นใครน่าเชื่อถือศรัทธาหรือ
ไม่มีบุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพฤติกรรมของ
ผู้นำเสนอเป็นอย่างไรสามารถยอมรับได้ เพียงใด
ยิ่งเป็นการนำเสนอด้วยการพูดซึ่งเป็นการสื่อสาร
ซึ่งหน้าบุคลิกภาพของผู้นำเสนอยิ่งมีความสำคัญ
ด้ า น วิ ธีก า ร นำ เ ส น อ
การนำเสนอจะได้รับความพึงพอใจ เมื่อผู้นำเสนอใช้วิธี
การนำเสนอเหมาะสมแก่ผู้รับ
การนำเสนอ วิธีการนำเสนอต้องสะดวกในการรับรู้และ
ทำความเข้าใจได้ง่าย ผู้นำเสนอจะต้องรู้จักเลือกใช้
โสตทัศนอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอให้น่าสนใจติดตาม
เนื้อหาในการนำเสนอ รู้จักเลือกใช้ด้วยคำและภาษาใน
การนำเสนอให้เหมาะสมกับผู้รับการนำเสนอ ถ้าเป็นการ
นำเสนอด้วยการพูด จะต้องใช้เสียงที่เป็นธรรมชาติชวน
ฟังดังพอที่จะได้ยินกันทั่วถึง แต่ไม่ดังจนเกินไป
@reallygreatsite
ด้ า น เ นื้ อ ห า
การนำเสนอสาระของเนื้อหาจ
ะต้องเรียบเรียงข่าวสารให้
เป็นลำดับ ด้วยการแปลงข้อมูลที่รวบรวมไว้นำมาวิเคราะห์
เสนอข้อพิจารณา เปรียบเทียบทางเลือก พร้อมด้วยเหตุผล
สนับสนุน ลำดับทางเลือกให้พิจารณา และจัดทำข้อสรุป
และข้อเสนอ ด้วยความเห็นอันประกอบไปด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง
ชัดเจนพร้อมด้วยขั้นตอนปฏิบัติในการใช้ทางเลือกแต่ละทาง
อย่างเป็นรูปธรรม การนำเสนอเนื้อหาหากเป็นด้วยคำในการ
พูดนำเสนอ หรือตัวหนังสือในการเขียน นำเสนอทั้งหมดจะ
สร้างความเบื่อหน่ายจำเจ จะต้องเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นข้อมูล
ให้เป็นตาราง แผนภูมิ กราฟ ซึ่งจะดูได้สะดวก และรวดเร็ว
หากมีตัวอย่างหรือต้องการเน้นความสำคัญก็อาจจะแยกออก
เป็นสัดส่วน ให้เห็นเด่นชัดด้วยการล้อมกรอบ
ป ร ะ เ ภ ท ต่ า ง ๆ ข อ ง ก า ร นำ เ ส น อ
การนำเสนออาจจำแนกประเภทตามลักษณะของเนื้อหา
หรือตามกลุ่มเป้าหมายผู้รับการนำ
เสนอหรือตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ โดยคำนึงถึง
ผลที่จะได้รับจากการนำเสนอโดยทั่วไปจะจำแนกตาม
วัตถุประสงค์ดังนี้
1. การนำเสนอเพื่อเสนอข้อคิดเห็น
2. กานำเสนอเพื่อรายงานผล
3. การนำเสนอเพื่อโน้มน้าวใจ
4. การนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
@reallygreatsite
จัดทำโดย
นางสาวจันจิรา ยิ้มชมชิด
ปวส.1 การจัดการสำนักงาน
QR E-Book
QR Canva