The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ระเบียบวาระและรายงานการประชุม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chaiwut Jangjarust, 2024-01-16 22:47:35

ระเบียบวาระและรายงานการประชุม

ระเบียบวาระและรายงานการประชุม

ระเบียบวาระการประชุม คณะกรรมการการระบายน้ำ ครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 8 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง _______________________ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 16/2566 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง - ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา - โครงการของสำนักการระบายน้ำที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในแต่ละเขต ของกรุงเทพมหานคร ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ _______________________


รายงานการประชุม คณะกรรมการการระบายน้ำ ครั้งที่ 16/2566 วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม 8 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ผู้มาประชุม 1. นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ประธานกรรมการ 2. นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย รองประธานกรรมการ คนที่สอง 3. นายฉัตรชัย หมอดี กรรมการ 4. นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล กรรมการ 5. นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย กรรมการ 6. นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล กรรมการ 7. นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา กรรมการ 8. นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ เลขานุการ 9. นายชัยวุฒิ แจ้งจรัส ผู้ช่วยเลขานุการ 10. นางสาวจุฑามาศ พลสูงเนิน ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1. นายพีรพล กนกวลัย รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง (ลา) 2. นายกิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ กรรมการ (ลา) 3. นายณรงศักดิ์ ม่วงศิริ กรรมการ (ลา) 4. นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล กรรมการ (ลา) 5. นายสุชัย พงษ์เพียรชอบ กรรมการ (ลา) ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ 2. นายเจษฎา จันทรประภา รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ 3. นางสาวเกศรัชฎา กลั่นกรอง ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ 4. นายปวินท์สรรค์ กัลยาณพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานระบบควบคุมน้ำ 5. นายอาสา สุขขัง ผู้อำนวยการกองสารสนเทศระบายน้ำ 6. นายศุภมิตร ลายทอง ผู้อำนวยการกองระบบท่อระบายน้ำ 7. นายวิศิษฎ์ วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ 1 8. นางศราวดี ธรรมธารากาศ หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักการระบายน้ำ


- ๒ - 9. นายธีรยุทธ คุณมาก หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ 2 10. นายสัญญา ภู่เจนจบ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมท่อระบายน้ำ 11. นายเพิ่มพล ศรีนวล หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ส่วนระบบควบคุมน้ำพระนคร 12. นายสมพร แดนสามสวน รักษาการผู้อำนวยการกองเครื่องจักรกล 13. นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ผู้อำนวยการโครงการ ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ 14. นายสุพจน์ อุปริมาตร วิศวกรโครงการ ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ 15. นางสาวศิริประภัสร์ มินทมอน นักจัดการงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เริ่มประชุมเวลา 11.00 น. เมื่อกรรมการมาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานกล่าวเปิดประชุมและดำเนินการ ประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 14/2566 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 และครั้งที่ 15/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 14/2566 และครั้งที่ 15/2566 โดยไม่มีการแก้ไข ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง 3.1 ปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการดำเนินโครงการก่อสร้างของ บริษัทผู้รับจ้าง (ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์) นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ สืบเนื่องจากการประชุมในครั้งที่ผ่านมาปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการ ดำเนินโครงการก่อสร้างของบริษัทผู้รับจ้าง (ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์) คือ โครงการ ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว ถึงบริเวณซอยลาดพร้าว 130 โดยสิ่งที่เตรียมมานำเสนอในวันนี้คือ 1. รายละเอียด TOR ของโครงการฯ 2. รายละเอียดการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10% เป็นเงิน 169,878,988.80 บาท


- ๓ - 3. แผนงานที่จะเร่งรัดโครงการนี้ให้แล้วเสร็จตามกำหนด 4. ผังบุคลากรทั้งหมดของบริษัทผู้รับจ้าง (กิจการร่วมค้า เอสจี พีซีอี) ส่วนในรายละเอียดต่างๆ ขอให้ผู้แทนจากห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ขอชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมในรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10% โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายของหัวเจาะอุโมงค์ 2 หัว งบประมาณจำนวน 115,000,000 บาท โดยชำระเงินแล้ว ส่วนต่อมาคือ อุปกรณ์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ระบบ ventilation ระบบราง ซึ่งเหมือนกับหัวรถจักรที่ใช้ขนส่งในอุโมงค์ระบบประปา ระบบไฟฟ้าต่างๆ รวมมูลค่า 60 ถึง 70 ล้านบาท มีการติดตั้งเครื่องจักรต่างๆ บริเวณคลองจั่น บริเวณคลองเจ้าคุณสิงห์ ประธาน สอบถามว่า หัวเจาะอุโมงค์มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนทุกงานหรือโครงการ หรือไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ นายสุราษฎร์เจริญชัยสกุล ทุกงานหรือโครงการต้องจัดหาหัวเจาะอุโมงค์ใหม่ เนื่องจากใช้งานไปซักระยะหนึ่ง ก็จะหมดสภาพการใช้งาน ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งแต่ละหัวเจาะก็มีหลายมาตรฐานที่ จะเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละงาน โดยบริษัทผู้รับจ้างก็ต้องตัดสินใจซื้อเอง มีหลายราคา หลายมาตรฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของบริษัทผู้รับจ้างที่จะตัดสินใจเลือกซื้อและต้อง รับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ถ้าซื้อหัวเจาะอุโมงค์ที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งถ้าโครงการไม่เสร็จ ตามสัญญาบริษัทก็จะถูกปรับต่อไป นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เนื่องจากปัจจุบันหัวเจาะอุโมงค์จะต้องเป็นของใหม่ทุกโครงการและต้องมีการ รับประกันจากบริษัทผู้ผลิตตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งถ้าเป็นหัวเจาะเก่า บริษัทประกันภัยก็จะไม่ รับประกันโครงการด้วย โดยหัวเจาะอุโมงค์ที่ผลิตทุกหัวในประเทศและต่างประเทศจะเป็นการ ผลิตใหม่ทั้งหมด ขอชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมในรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10% โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายของหัวเจาะอุโมงค์ 2 หัว ส่วนต่อมาคือ อุปกรณ์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ระบบ ventilation ระบบรางซึ่งเหมือนกับหัวรถจักรที่ใช้ขนส่งในอุโมงค์ระบบประปา ระบบไฟฟ้าต่างๆ และอุปกรณ์สำนักงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือ ค่าออกแบบ เงินเดือนพนักงาน ค่าเครื่องจักร ค่าประกันภัย การเตรียมเหล็กรูปพรรณใช้ทำ Platform บริเวณคลองเจ้าคุณสิงห์รวมจำนวนเงินที่ใช้ไปแล้ว 494,504,668.86 บาท ซึ่งเป็นเงินลงทุน บางส่วนที่บริษัทต้องจ่ายไปก่อน โดยขณะนี้เบิกจ่ายไปเพียง 169,878,988.80 บาท ต่อมาเป็นแผนงานที่จะเร่งรัดโครงการนี้ให้แล้วเสร็จตามกำหนด โดยงานหลักคือ การเจาะตัวอุโมงค์ระบายน้ำหลักจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2567 ที่ความยาวประมาณ 3,800 เมตร โดยในโครงการนี้จะมีทั้งหมด 6 ช่อง Shaft โดยเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 ช่อง Shaft อีก 1 ช่อง Shaft กำลังเข้าสู่กระบวนการเตรียมพื้นที่และปรับปรุงแบบก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบระบายน้ำเดิมในคลอง หัวเจาะอุโมงค์ที่ใช้เป็นของประเทศ ออสเตรเลีย ซึ่งหัวที่ทำใหม่ 100 % โดยขณะนี้กำลังผลิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รายงานความ


- ๔ - คืบหน้าของการผลิตหัวเจาะให้ทราบโดยตลอด ซึ่งหัวเจาะจะส่งมาถึงประเทศไทยและรวมเวลา ประกอบคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม 2567 ก็พยายามติดตามเร่งรัดให้เร็วขึ้น ขณะนี้ก็จะเร่งการผลิตชื้นส่วนของตัวอุโมงค์ระบายน้ำไปด้วย โดยในภาพรวมกำหนดให้เสร็จ ภายในเดือนตุลาคม 2567 นายสุรจิตต์พงษ์สิงห์วิทยา สอบถามว่า ปัญหาอุปสรรคที่แท้จริงของโครงการคืออะไร นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ประเด็นแรกเกิดจากผู้รับจ้างที่ทำช่อง Shaft ให้เราทำได้ช้า ประเด็นที่สองคือ ปัญหาจากการเข้าพื้นที่ เนื่องจากช่อง Shaft ที่ 2 ใช้ทางเข้าจากบริเวณคลองจั่น เปลี่ยนบริเวณ ทางเข้าและไม่ให้ขวางทางระบายน้ำ จึงต้องทำ platform ยาว โดยต้องหาที่ดินของเอกชนเช่า ต่างหาก เพื่อลดปัญหาของผลกระทบและใช้พื้นที่เอกชนในการเข้าโครงการ แล้วปูplatform เหล็กบริเวณคลองจั่น นายสุรจิตต์พงษ์สิงห์วิทยา ในเอกสารของหน่วยงานระบุปัญหาอุปสรรคว่า ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ขณะนี้บริษัทหุ้นส่วนคือ บริษัท พระราม 2 การโยธา จำกัด ขาดสภาพคล่อง ทางกิจการร่วมค้า เอสจี พีซีอีจึงเข้ามาบริหารงานเองทั้งหมด นายเนติภูมิมิ่งรุจิราลัย สอบถามว่า ถ้าหัวเจาะอุโมงค์ได้มาเร็วกว่าเดือนพฤษภาคม 2567 โครงการจะ เสร็จเร็วขึ้น ใช่หรือไม่ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ก็จะสอดคล้องกับช่อง Shaft บริเวณซอยลาดพร้าว 130 คือ Shaft นี้ จะแล้วเสร็จภายในต้นปี พ.ศ. 2567 และชิ้นส่วนของตัวอุโมงค์ระบายน้ำก็จะมา ซึ่งหัวเจาะ ควรจะได้ประมาณเดือนมีนาคม ก็จะเร่งให้ได้ก่อนเดือนพฤษภาคม เพราะได้ชำระเงินไป ทั้งหมดแล้ว นายเนติภูมิมิ่งรุจิราลัย บริษัทที่ขาดสภาพคล่องคือ บริษัท พระราม 2 การโยธา จำกัด แต่ขณะนี้ ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์เข้ามาดำเนินการและบริหารจัดการเอง สามารถยืนยันว่าจะ ไม่เกิดปัญหาเรื่องสภาพคล่องและการบริหารงาน ใช่หรือไม่ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ขณะนี้โครงการยังไม่เคยเบิกเงินออกไปตั้งแต่งวดที่ 1 เพราะฉะนั้นคือการ ปรับโครงสร้างของโครงการ และจัดแผนการเงินใหม่ดังนั้น ยังมีแนวโน้มที่จะทำโครงการให้สู่ ความสำเร็จได้โดยขณะนี้ส่งงานงวดที่ 1 แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินงวดที่ 1 นายสุรจิตต์พงษ์สิงห์วิทยา เป็นห่วงว่าเดือนตุลาคม 2567 โครงการจะไม่แล้วเสร็จตามกำหนดหรือถ้า เร่งรัดงานมากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบกับเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ได้ จึงควร มีป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ครบถ้วน มีไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเพียงพอ เพื่อความปลอดภัยและ ประชาชนมีความมั่นใจในการทำงาน


- ๕ - นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ เอกสาร Gantt Chart ที่ทำมาไม่สามารถดูงานที่ผ่านมาได้ว่าโครงการเกิด ความล่าช้าอย่างไร หรือการเปรียบเทียบงานในปัจจุบัน นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เอกสารนี้เป็นแผนเร่งรัดงานที่นำมาเสนอว่างานจะแล้วเสร็จเมื่อไร และจะทำงานในส่วนใดต่อไปบ้าง โดยงานที่ผ่านมาล่าช้ากว่าแผนอยู่ประมาณ 70 % ประธาน สอบถามผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำว่า มีความกังวลใจกับโครงการนี้ หรือไม่และโครงการจะมีปัญหาใดในอนาคตหรือไม่ นายสุราษฎร์เจริญชัยสกุล งานในปัจจุบันล่าช้ากว่าแผนอยู่ประมาณ 70 % ส่วนเอกสารนี้เป็นแผนงาน ปัจจุบันในการเร่งรัดงาน โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมาห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ มีประสบการณ์ในการทำงานเรื่องของอุโมงค์ระบายน้ำ จึงมั่นใจว่างานจะเดินไปตามแผนงาน ที่กำหนดได้ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล รายงานข้อมูลบุคลากรของกิจการร่วมค้าว่าจะนำบุคลากรเข้ามาเร่งทำโครงนี้ เสริมเพิ่มเติม เพื่อที่จะเร่งการก่อสร้างช่อง Shaft บริเวณซอยลาดพร้าว 130 จึงใส่รายชื่อ วิศวกรตามเอกสารที่แจกให้กับคณะกรรมการฯ นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ จากการประชุมครั้งที่แล้ว คณะกรรมการฯ ต้องการทราบแผนกำลังคนว่า ขาดไปเท่าไร จึงทำให้โครงการล่าช้า ไม่ได้ต้องการดูแผนผังองค์กร นายพีรพล เพ็ชรตระกูล แผนกำลังคนขณะนี้ที่หน้างานเป็นชุดที่กำลังเตรียมงานเกี่ยวกับหัวเจาะอุโมงค์ และกำลังให้คนเข้ามาเสริมเพิ่มเติมในจุดต่างๆ เป็นการแยกกำลังคนออกเป็นชุด 1 Shaft จะใช้ คน 1 ชุด เติมคนเข้าไปใน Shaft ที่ทำงานได้ขอส่งเอกสารเพิ่มเติมเรื่องกำลังคนที่ทำงานใน โครงการนี้ให้ภายหลัง นายสุพจน์อุปริมาตร ขอนำเสนออีกหนึ่งโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์โครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ ๖ จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ ใต้คลองบางซื่อ รายละเอียดโครงการ งานก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองสามเสน และปล่องท่อขนส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.00 เมตร จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ - ฝายน้ำล้น เพื่อระบายน้ำจากคลองสามเสน ติดตั้งเครื่องเก็บขยะอัดโนมัติ ระบบระบายน้ำและอื่นๆ - งานระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องกลส่วนประกอบอื่นๆ งานก่อสร้างท่อขนส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.00 เมตร ท่อมีความยาว ตั้งแต่ อาคารรับน้ำคลองสามเสนถึงปล่องอุโมงค์รับน้ำเดิม บริเวณอาคารรับน้ำถนนกำแพงเพชร ความยาวประมาณ 3,000 เมตร


- ๖ - งานก่อสร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.20 เมตร จำนวน 3 แห่งประกอบด้วย - งานก่อสร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม ซอยเศรษฐศิริ - งานก่อสร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม พระรามทึ้ 6 ซอย 37 - งานก่อสร้างบ่อเชื่อมท่อระบายน้ำเดิม พระรามที่ 6 แยกประดิพัทธ์ งานก่อสร้างปล่องท่อขนส่งน้ำคลองบางซื่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.00 เมตร จำนวน 1 แห่ง งานก่อสร้างต่อเชื่อมท่อขนส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.00 เมตร เข้ากับ ปล่องอุโมงค์รับน้ำเดิมบริเวณอาคารรับน้ำกำแพงเพชร งบประมาณก่อสร้าง 968,000,000 บาท (เก้าร้อยหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) รายละเอียดสัญญา ผู้ว่าจ้าง กรุงเทพมหานคร หน่วยดำเนินการ สำนักการระบายน้ำ ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ สัญญาเลขที่ สพน.สนน. 20/2565 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 กลุ่มบริษัท บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษา บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด สัญญาเลขที่ สพน.สนน. 21/2565 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 วันที่เริ่มต้นสัญญา 31 มีนาคม 2565 วันที่สิ้นสุดสัญญา 19 มีนาคม 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน ระยะเวลาก่อสร้างผ่านไปแล้ว 622 วัน คงเหลือระยะเวลาก่อสร้าง 98 วัน งบประมาณการก่อสร้าง 968,000,000 บาท (เก้าร้อยหกสิบแปดล้านบาทถ้วน) (สัดส่วน : งบอุดหนุน 70% , งบ กทม. 30%) ความคืบหน้า สัปดาห์ที่ 89 ณ วันที่ 18 ธ.ค. 2566 ตามแผนงานสะสม 93.30 % ผลงานที่ทำได้สะสม 15.89 % ช้ากว่าแผนงาน 77.41 % ใช้เงินในโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 301,421,681 บาท ปัญหาและอุปสรรค 1. ปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้างปล่องอุโมงค์บางซื่อ - ขออนุญาตใช้พื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย วันที่ 8 มิถุนายน 2565 - ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ 14 ธันวาคม 2565 - รวมระยะเวลาไม่สามารถใช้พื้นที่ทำงาน 190 วัน 2. ปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองสามเสน - เขื่อน คสล. เดิม ทับซ้อนกับพื้นที่ก่อสร้างปล่องอุโมงค์


- ๗ - - ท่อสูบตะกอนทับซ้อนกับพื้นที่ก่อสร้างอาคารรับน้ำ - ขออนุญาตรื้อเขื่อน ค.ส.ล. ของการประปานครหลวง วันที่ 10 พ.ย. 2565 - ได้รับอนุญาตให้รื้อเขื่อน ค.ส.ล. วันที่ 11 ก.ย. 2566 - รวมระยะเวลาไม่สามารถใช้พื้นที่ก่อสร้าง 306 วัน 3. ปัญหาเรื่องพื้นที่ก่อสร้างท่อขนส่งน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.00 เมตร - งานท่อขนส่งน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.00 ม. ผ่านเข้าไปในชุมชน ริมคลอง (ท่ออยู่ใต้ดิน) บริเวณพื้นที่ของกรมธนารักษ์ อาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่บริเวณนั้นได้รับ ความเสียหาย แนวทางเเก้ไข ประสานกับทางกรมธนารักษ์ ในการประชุมหารือแนวการ ปฏิบัติร่วมกัน โดยให้ โครงการฯ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. นำส่งแบบ Alignment แสดงแนวก่อสร้างจริงขท่อนส่งน้ำให้ กรมธนารักษ์ เพื่อใช้ประกอบพิจารณาก่อน โดยในแบบก่อสร้างดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดที่แนวขุดเจาะ ท่อขนส่งน้ำ ผ่านเข้าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ตรงตำแหน่งใดบ้าง 2. ผู้รับจ้างทำหนังสือยินยอมรับผิดชอบค่าเสียหายต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นใน ระหว่างการก่อสร้างแก่อาคารบ้านเรือนที่คาดว่าจะได้ผลกระทบจากการขุดเจาะดังกล่าว เพื่อใช้ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา 3. ผู้รับจ้างนำส่งรายละเอียดและขั้นตอนการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำทั้งก่อน ก่อสร้าง และระหว่างการก่อสร้าง 4. ร่วมสำรวจตรวจสอบสภาพบ้านเรือนพร้อมบันทึกรายละเอียด พร้อมทั้ง ภาพถ่าย เพื่อเก็บเป็นหลักฐานก่อนดำเนินการก่อสร้าง 5. เจ้าหน้าที่สำรวจของกรมธนารักษ์ ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ร่วมกัน และจะนำ ข้อมูลทั้งหมด เสนอต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป และคาดว่าเมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนตามรายการ ข้างต้น กรมธนารักษ์จะมีหนังสือตอบอนุญาตมายังสำนักการระบายน้ำ 6. อยู่ระหว่างการรอหนังสือตอบอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้าง 4. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอก - ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำงานใกล้ชิดแนวท่อขนส่งน้ำมันตรงบริเวณ การก่อสร้างปล่องท่อขนส่งน้ำคลองบางซื่อ แนวทางการแก้ไข 1. ผู้รับจ้างต้องได้ดำเนินการจัดทำแบบโครงสร้างชั่วคราวเปรียบเทียบกับ แนวท่อขนส่งน้ำมัน เพื่อส่งให้บริษัท ท่อขนส่งน้ำมัน ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว 2. มีบันทึกรายงานการประชุมร่วมกันระหว่าง ผู้รับจ้าง บริษัทท่อขนส่งน้ำมัน และสำนักการระบายน้ำ 3. ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกันระหว่างผู้รับจ้าง บริษัทท่อขนส่งน้ำมัน และ สำนักการระบายน้ำเรียบร้อยแล้ว 4. รอเอกสารยืนยันและอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างได้โดยไม่ขัดข้อง จาก บริษัท ท่อขนส่งน้ำมัน


- ๘ - ประธาน สอบถามว่า เหตุใดโครงการนี้ต้องเข้าไปใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งๆ ที่ทราบว่าอาจจะไม่อนุญาต นายธีรยุทธ คุณมาก โครงการนี้อยู่ภายใต้แผนหลักของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงมีหลายหน่วยงานต้อง ดำเนินการรื้อย้ายปรับปรุงซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงาน ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับ ผลกระทบด้วย ก็ได้มีการตั้งคณะทำงานรื้อย้ายดำเนินการต่อไป โดยพื้นที่ก่อสร้างช่อง Shaft บางส่วนจะอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เดิมได้รับการอนุญาตแล้วก่อนการประกวด ราคา แต่ภายหลังไม่อนุญาตให้ก่อสร้างในจุดเดิม จึงต้องแก้ไขแบบแนวอุโมงค์ระบายน้ำต่างๆ ก็ต้องใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งทำให้โครงการเกิดความล่าช้า นายเนติภูมิมิ่งรุจิราลัย โครงการนี้ล่าช้าคิดเป็นเวลา 100 กว่าวัน จึงสงสัยว่าก่อนการดำเนินโครงการ ได้มีการสำรวจว่าจะมีจุดที่เป็นปัญหาก่อนหรือไม่ นายสุราษฎร์เจริญชัยสกุล โครงการนี้ดำเนินการอย่างเร่งรีบมาก เพื่อตอบสนองโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ไม่มีเวลาเพียงพอในการทำรายละเอียด ของแบบการก่อสร้าง ซึ่งเป็นกรณีของการดำเนินงานที่ไม่ปกติจึงเกิดปัญหาอุปสรรคทำให้ โครงการล่าช้าออกไป นายเนติภูมิมิ่งรุจิราลัย สอบถามว่า โครงการนี้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างไร นายเจษฎา จันทรประภา พื้นที่บริเวณถนนพระรามที่ 6 จากคลองสามเสนไปถึงคลองบางซื่อ เมื่อฝนตก จะเกิดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณหน้าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย บริเวณทางลงทางด่วน ซึ่งระบบ ระบายน้ำที่มีอยู่ปัจจุบันจะดึงได้ช้า จึงของบประมาณก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ ๖ จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณนี้ได้ อย่างยั่งยืน จึงของบประมาณก่อสร้างโครงการนี้ ซึ่งรัฐบาลก็พิจารณาให้เงินอุดหนุนอีก 70 % มติที่ประชุม คณะกรรมการฯ รับทราบการชี้แจงปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการ ดำเนินโครงการก่อสร้างของห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ คลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวถึงบริเวณซอยลาดพร้าว 130 และโครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ ๖ จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ 3.2 ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ ประธาน เชิญ สำนักการระบายน้ำนำเสนอความคืบหน้าในการดำเนินงานตาม งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในหน่วยงานที่ยังไม่ได้นำเสนอ


- ๙ - นางสาวเกศรัชฎา กลั่นกรอง สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ ค่าครุภัณฑ์ 5 รายการ เป็นเงิน 7,600,900 บาท ดังนี้ 1. รถจักรยานยนต์ ขนาด 110 ซีซี แบบเกียร์อัตโนมัติ 1 คัน ผลการดำเนินการ ผู้รับจ้างคือ บริษัท เวิลด์สปีด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด วงเงิน 49,969.- บาท - อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณ 2. รถนั่งส่วนกลาง ปริมาตรกระบอกสูบ 1,600 - 1,800 ซีซี หรือกำลัง เครื่องยนต์สูงสุด ไม่ต่ำกว่า 90 กิโลวัตต์ 1 คัน ผลการดำเนินการ ผู้รับจ้างคือ บริษัท โตโยต้า กรุงไทย จำกัด วงเงิน 964,000,000.- บาท - อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณ 3. เครื่องเติมอากาศในน้ำ ขนาดไม่น้อยกว่า 2.2 กิโลวัตต์ 20 เครื่อง ผลการดำเนินการ - อยู่ระหว่างจัดทำราคากลาง 4. รถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี หรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์ ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเบิลแค็บ 2 คัน ผลการดำเนินการ - ผู้รับจ้างคือ บริษัท โตโยต้า กรุงไทย จำกัด วงเงิน 1,646,000.- บาท - อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณ 5. รถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี หรือกำลังเครื่องยนต์สูงสุดไม่ต่ำกว่า 110 กิโลวัตต์ ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเบิลแค็บ พร้อมหลังคาไฟเบอร์กลาสหรือเหล็ก 1 คัน ผลการดำเนินการ - ผู้รับจ้างคือ บริษัท โตโยต้า กรุงไทย จำกัด วงเงิน 869,000.- บาท - อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณ ค่าครุภัณฑ์ (โครงการต่อเนื่องเก่า) 1 โครงการ เป็นเงิน 124,198,000 บาท 1. โครงการจัดหาทดแทนเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี ประโยชน์ที่ได้รับ โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรีสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการบำบัดน้ำเสีย ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน งบประมาณ 289,000000,000 บาท ผู้ขายกิจการร่วมค้า กัสโก้และ ส.นภา เริ่มสัญญา 11 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา 31 มกราคม 2567 ผลการดำเนินการ - ผู้ขายติดตั้งเครื่องจักรและส่งมอบแล้วจำนวน 411/44 รายการ คิดเป็น 77.93 % ตามแผนกำหนด 68.18 % ดำเนินการได้เร็วกว่าแผน 9.75 %


- ๑๐ - - อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 3 (ส่วนที่เหลือ) จำนวน 60,418,400.- บาท วันที่ 24 พ.ย. 66 โครงการตามแผนยุทธศาสตร์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (โครงการต่อเนื่องเก่า) จำนวน 9 โครงการ เป็นเงิน 691,519,400 บาท ดังต่อไปนี้ 1. โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม) พื้นที่เขตห้วยขวาง เข้าโรงควบคุมคุณภาพนาดินแดง ประโยชน์รวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตห้วยขวาง บำบัดได้ประมาณ 60,600 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 ตร.กม. ระยะเวลาดาเนินการ 1,080 วัน งบประมาณ 1,6001,600,000,000.- บาท (งบ กทม. 800,000,000 บาทเงินอุดหนุนรัฐบาล 800,000,000 บาท) ผลการดำเนินการ - ได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว ผู้รับจ้าง หจก.สามประสิทธ์ วงเงิน 1,484,000,000.- บาท - กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ ที่ กท 1904/4847 ลงวันที่ 6 ธ.ค. 2565 ขอเห็นชอบความเหมาะสมของราคา และสำนักงบประมาณมีหนังสือ ที่ นร 0704/13331 ลงวันที่ 3 ส.ค. 66 เห็นชอบความเหมาะสมของราคาแล้ว โดยให้ กทม. นำเสนอรัฐมนตรี เจ้าสังกัดเพื่อขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจากงบประมาณปี 2560 - 2562 เป็นงบประมาณปี 2560 - 2569 และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบ และเนื่องจากเป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขึ้นไป กทม. ต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรีทราบอีกครั้งก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพัน - คาดว่าจะลงนามสัญญา เดือน ม.ค. 2567 2. โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย เพิ่มเติม ริมคลองแสนแสบ ช่วงถนนวิทยุ - คลองตัน เข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ประโยชน์รวบรวมน้ำเสียตามแนวคลองแสนแสบช่วงวิทยุ– คลองตันมาบำบัด ได้ประมาณ 24,000 ลบ.ม./วัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ตร.กม. ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน งบประมาณ 542,000,000.- บาท (งบ กทม. 271,000,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 271,000,000 บาท) ผลการดำเนินการ - ผู้รับจ้างคือ ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ประกอบด้วยบริษัท รวมนที จำกัด และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด วงเงิน 541,900,000.- บาท - กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ ที่ กท 1902/4693 ลงวันที่ 14 ธ.ค.64 ขอเห็นชอบความเหมาะสมของราคา และสำนักงบประมาณมีหนังสือ ที่ นร 0704/12524 ลงวันที่ 17 ก.ค. 2566 เห็นชอบความเหมาะสม ของราคาแล้ว - อยู่ระหว่างขออนุมัติขยายระยะเวลาดาเนินการโครงการจาก มท. และ กทม.


- ๑๑ - - คาดว่าจะลงนามสัญญา เดือน ม.ค. 2567 3. โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรีและสวนสาธารณะ ผู้รับจ้าง บริษัท ช.การช่าง จากัด (มหาชน) วงเงินค่าจ้าง 2,404,000,000 บาท เริ่มต้นสัญญา 31 ตุลาคม 2566 สิ้นสุดสัญญา 12 มกราคม 2569 ประโยชน์ที่ได้รับ - เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตบางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และ บางส่วนของเขตตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 36.44 ตารางกิโลเมตร และสามารถ เดินระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ 2,522,300,000.- บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,170 วัน ผลการดำเนินการ - อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 4. โครงการจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโครงการก่อสร้างระบบ รวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดนาเสียธนบุรี สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี และสวนสาธารณะ ที่ปรึกษา บริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จากัด วงเงินค่าจ้าง 71,800,000.- บาท เริ่มต้นสัญญา 31 ตุลาคม 2566 สิ้นสุดสัญญา 11 กุมภาพันธ์ 2566 ประโยชน์ที่ได้รับ - เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตบางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และ บางส่วนของเขตตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 36.44 ตารางกิโลเมตร และสามารถ เดินระบบบำบัดนาเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ 75,670,000.- บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,200 วัน ผลการดำเนินการ - อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 5. โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดนาเสียธนบุรี สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่ส่วนเหนือ (เขตบางพลัด และบางส่วนของ เขตตลิ่งชันและเขตบางกอกน้อย) ดำเนินการโดย บจก. สี่แสงการโยธา (1979) เริ่มต้นสัญญา 3 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา 17 มกราคม 2568 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ส่วนเหนือ ได้แก่ เขตบางพลัด ตลิ่งชัน และ บางกอกน้อย เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี ณ ริมคลองวัดไชยทิศ และทำให้โครงการดังกล่าว สามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ


- ๑๒ - งบประมาณ 2,934,000,000.-บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,080 วัน ผลการดำเนินการความก้าวหน้างานก่อสร้าง 17.32 % ตามแผนงาน 52.86 % ล่าช้ากว่าแผนงาน - 35.54 % (ณ วันที่ 22 พ.ย. 2566) ปัญหาอุปสรรค - การขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดังนี้กรมเจ้าท่า, กรมศิลปากร, กรมธนารักษ์, กรมชลประทาน ซึ่งขณะนี้กำลังติดตามเรื่องอยู่ - การปรับแก้ไขพื้นที่ก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน 6. โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่ส่วนใต้ เขตบางกอกน้อยและเขตบางกอกใหญ่ ดำเนินการโดย บมจ. ซีโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เริ่มต้นสัญญา 1 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา 15 มกราคม 2568 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ส่วนใต้ ได้แก่ เขตบางกอกน้อยและเขตบางกอกใหญ่ เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี ณ ริมคลองวัดไชยทิศ และทำให้โครงการดังกล่าวสามารถเดิน ระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ 2,259,198,000.-บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,080 วัน ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา ผลงาน 18.00% ตามแผนงาน 64.68 % ล่าช้ากว่าแผน -46.68 % (ณ วันที่ 22 พ.ย. 2566) ปัญหาอุปสรรค - การขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดังนี้เจ้าท่า กฟน. สนย. รฟท. สนข. กรมศิลปากร กปน. รฟม. และ ทช. - การปรับแก้ไขพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน 7. โครงการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำเสียโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบิน ประโยชน์ สนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินตามนโยบายของรัฐบาล และแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เขตดุสิต ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน งบประมาณ 680,000,000.- บาท (งบ กทม. 204,000,000.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 476,000,000.-บาท) ผลการดำเนินการ - ได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว ผู้รับจ้าง บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 577,680,000.- บาท


- ๑๓ - - ได้รับความเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาจัดจ้างจาก มท. แล้ว ตามหนังสือ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0203.4/2912 ลว 31 ต.ค. 2566 - ได้รับความเห็นชอบความเหมาะสมของราคาจากสำนักงบประมาณแล้ว ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/17352 ลว 26 ก.ย. 2566 - อยู่ระหว่างขอขยายระยะเวลาก่อหนี้จาก มท. และ กทม. - คาดว่าจะลงนาม ม.ค. 2567 8. โครงการจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโครงการก่อสร้างระบบ รวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่ ส่วนเหนือ (เขตบางพลัด บางส่วนของเขตตลิ่งชันและเขตบางกอกน้อย) ดำเนินการโดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท แมคโคร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท เซ้าท์อีสต์ เอเชีย เทคโนโลยี จำกัด เริ่มต้นสัญญา 3 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา 16 กุมภาพันธ์ 2568 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ส่วนเหนือ ได้แก่ เขตบางพลัด ตลิ่งชัน และ บางกอกน้อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22.32 ตารางกิโลเมตร เข้าสู่ระบบบาบัดนาเสียธนบุรี ณ ริมคลองวัดไชยทิศ และทำให้โครงการดังกล่าวสามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่าง มีประสิทธิภาพ งบประมาณ 73,100,000.- บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,110 วัน ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา - ตรวจรับรายงานประจำเดือนฉบับที่ 19 แล้ว - เบิกเงินถึงงวดที่ 19 - คิดเป็นร้อยละ 39.5 9. โครงการจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานโครงการก่อสร้างระบบรวบรวม น้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียธนบุรี สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียพื้นที่ส่วนใต้ (เขตบางกอกน้อยและเขตบางกอกใหญ่) ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาบ.ไดนามิค เอ็นยิเนียริ่ง คอนซัลแตนทส์ จำกัด และ บ. เชนี่ เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เริ่มต้นสัญญา 1 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา 14 กุมภาพันธ์ 2568 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ส่วนใต้ ได้แก่ เขตบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14.12 ตารางกิโลเมตร เข้าสู่ระบบบาบัดนาเสียธนบุรี ณ ริมคลองวัดไชยทิศ และทำให้โครงการดังกล่าวสามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณ 59,000,000.-บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1,110 วัน ผลการดำเนินการ - ตรวจรับรายงานประจำเดือนฉบับที่ 19 แล้ว


- ๑๔ - - เบิกจ่ายเงินถึงงวดที่ 19 คิดเป็นร้อยละ 36.5 งบรายจ่ายอื่น รายจ่ายอื่น (โครงการต่อเนื่องเก่า) 5 โครงการ เป็นเงิน 763,184,000 บาท ดังต่อไปนี้ 1. โครงการจ้างเดินระบบ บำรุงรักษาและบริหารจัดการโรงควบคุมคุณภาพน้ำ หนองแขม - ทุ่งครุ ระยะที่ 4 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการของโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมและ ทุ่งครุ 86 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตจอมทอง ความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 222,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระยะเวลาดำเนินการ 1,827 วัน งบประมาณ 860,799,000 บาท (งบประมาณของกรุงเทพมหานคร) ผู้รับจ้าง บริษัท ยูทิลิตี บิสิเนส อัลลายแอนซ์ จากัด (มหาชน) เริ่มสัญญา วันที่ 1 ม.ค. 2563 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 31 ธ.ค. 2567 ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 2. โครงการจ้างเดินระบบ บำรุงรักษาและบริหารจัดการศูนย์การศึกษาและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อ ระยะที่ 2 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตบางซื่อ บางส่วนของเขตจตุจักร เขตดุสิต เขตพญาไท และเขตหลักสี่ ประมาณ 23.5 ตร.กม. ความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 127,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระยะเวลาดำเนินการ 1,826 วัน งบประมาณ 735,350,000 บาท ผู้รับจ้าง บริษัท โกลบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด เริ่มสัญญา วันที่ 1 ม.ค. 2563 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 30 ธ.ค. 2567 ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 3. โครงการจ้างเดินระบบ บำรุงรักษาและบริหารจัดการโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ช่องนนทรี ระยะที่ 4 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ 28.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ เขตยานนาวา สาทร บางรัก และบางคอแหลม ความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระยะเวลาดำเนินการ 1,827 วัน งบประมาณ 418,620,000.- บาท ผู้รับจ้าง บริษัท โกลบอล ยูทิลิตี เซอร์วิส จำกัด


- ๑๕ - เริ่มสัญญา วันที่ 1 ม.ค. 2563 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 31 ธ.ค. 2567 ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 4. โครงการจ้างเดินระบบ บำรุงรักษาและบริหารจัดการโรงควบคุมคุณภาพน้ ดินแดง ระยะที่ 4 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ 37 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขต ดินแดง เขตปทุมวัน และบางส่วนของพื้นที่เขตพญาไท เขตดุสิต เขตราชเทวี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ และเขตพระนคร ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน ก่อนปล่อยสู่คลองสามเสนและ บึงมักกะสันต่อไป ระยะเวลาดำเนินการ 1,826 วัน งบประมาณ 982,500,000.- บาท ผู้รับจ้าง บริษัท ยูทิลิตี บิสิเนส อัลลายแอนซ์ จากัด (มหาชน) เริ่มสัญญา วันที่ 24 มิ.ย. 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 23 มิ.ย. 2569 ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา 5. โครงการจ้างเดินระบบ บำรุงรักษาและบริหารจัดการโรงควบคุมคุณภาพน้ำ จตุจักร ระยะที่ 4 ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่บริการ 33.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ เขตจตุจักร และบางส่วนของพื้นที่เขตพญาไท ห้วยขวาง และเขตดินแดง ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ชุมชน ก่อนปล่อยสู่คลองบางซื่อต่อไป ระยะเวลาดำเนินการ 1,826 วัน งบประมาณ 674,800,000.- บาท ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า เจมและกัสโก้ เริ่มสัญญา วันที่ 24 มิ.ย. 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 23 มิ.ย. 2569 ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา ประธาน สอบถามว่า ในภาพรวมของโรงควบคุมคุณภาพน้ำควรมีทั้งหมดจำนวนกี่โรง ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันทำไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ของภาพรวมที่ต้องทำและต้องใช้ระยะเวลา เท่าใดจึงจะครอบคลุมทั้งหมด นายสุราษฎร์เจริญชัยสกุล ปัจจุบันโรงควบคุมคุณภาพน้ำทำไปแล้ว 45 เปอร์เซ็นต์โดยในปี พ.ศ. 2583 จึงจะก่อสร้างได้ครอบคลุมทั้งหมด ประธาน สอบถามว่า การก่อสร้างครอบคลุมทั้งหมดถึงปี พ.ศ. 2583 จะใช้งบประมาณ ประมาณเท่าใด


- ๑๖ - นายสุราษฎร์เจริญชัยสกุล ถึงปี พ.ศ. 2583 จะใช้ค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 70,000 ล้านบาท จากโรงควบคุมคุณภาพน้ำทั้งหมด 27 แห่ง และเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งหมดประมาณ 2,390 ล้านบาท/ปีซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ประธาน สอบถามว่า รัฐบาลให้เงินอุดหนุนด้วยหรือไม่ นางสาวเกศรัชฎา กลั่นกรอง รัฐบาลให้เงินอุดหนุนในบางโครงการ โดยจะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัด น้ำเสียโดยกรุงเทพมหานครจัดเก็บเอง โดยคาดว่าน่าจะได้ประมาณ 200 ล้านบาท/ปี นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล สอบถามว่า การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ที่มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษา จะดำเนินการจัดเก็บได้จริงตามประมาณการหรือไม่ เมื่อปรากฏค่าใช้จ่ายในบิลค่าน้ำการจ่ายจะ แยกจ่ายกับค่าน้ำประปาหรือไม่ และกรณีที่ไม่จ่ายค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจะทำอย่างไร นางสาวเกศรัชฎา กลั่นกรอง บิลค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจะมีการแยกกับบิลค่าน้ำประปา โดยแบ่ง ประเภทของแหล่งกำเนิดน้ำเสีย แบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1 บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ประเภทที่ 2 หน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ ศาสนสถาน สถานสาธารณกุศล โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โรงเรียนหรือสถานศึกษา อาคารชุด และ สถานประกอบการที่ใช้น้ำเฉลี่ย ≤ 2,000 ลบ.ม/เดือน ประเภทที่ 3 โรงแรม โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และ สถานประกอบการที่ใช้น้ำเฉลี่ย > 2,000 ลบ.ม/เดือน โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมยังไม่ได้จัดเก็บในประเภทที่ 1 โดยจะเริ่มจัดเก็บ ในประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ก่อน แต่ประเภทที่ 2 ก็ยังมีการยกเว้น เช่น วัด โรงเรียน สถานศึกษา และโรงพยาบาล ซึ่งจะเก็บในสถานประกอบการอาคารพาณิชย์ก่อน ถ้าไม่จ่ายก็จะ ระงับการให้บริการการบำบัดน้ำเสีย และอาจจะมีการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป นายฉัตรชัย หมอดี สอบถามว่า โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตย ได้ข้อสรุปหรือยังว่าจะก่อสร้างบนดิน หรือใต้ดิน นางสาวเกศรัชฎา กลั่นกรอง โรงควบคุมคุณภาพน้ำคลองเตยจะดำเนินการแบบให้เอกชนร่วมลงทุน ขณะนี้ศึกษาความเป็นไปได้เรียบร้อยแล้วและนำเรียนผู้ว่าฯ เพื่อทราบแล้ว หลังจากนั้นจะส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเป็นผู้พิจารณาว่าสามารถให้เอกชนร่วมทุน ได้หรือไม่ถ้าทำได้ก็จะส่งต่อให้ ครม. เห็นชอบในหลักการ เมื่อ ครม. เห็นชอบแล้วก็จะจัดทำ ร่างเอกสารสัญญา เพื่อเปิดประมูลโครงการต่อไป โดยต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. การให้เอกชน ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเด็นที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายคืนในแต่ละปี ซึ่งต้องเป็นข้อเสนอที่ดีที่สุด ซึ่งในการศึกษาความเป็นไปได้ได้ทำเสนอในรูปแบบใต้ดินไป


- ๑๗ - นายฉัตรชัย หมอดี เห็นด้วยกับรูปแบบนี้ เพราะมีความเป็นห่วงในเรื่องกลิ่น เรื่องสภาพแวดล้อม ในบริเวณนั้นและพื้นที่ด้านบนจะสร้างเป็นศูนย์กีฬา เป็นสวนสาธารณะ ของเขตบางนา จึงขอฝากสำนักการระบายน้ำพิจารณาเรื่องสภาพแวดล้อมด้วย มติที่ประชุม คณะกรรมการฯ รับทราบการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ - การตั้งคณะอนุกรรมการการระบายน้ำ ชุดที่ 9 แทนคณะเดิม มติที่ประชุม เห็นชอบ การตั้งคณะอนุกรรมการการระบายน้ำ ชุดที่ 9 แทนคณะเดิม รับผิดชอบพื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง วังทองหลาง และหลักสี่ โดยคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย 1. นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล ประธานอนุกรรมการ 2. นายลพชัย ธาราทิศ รองประธานอนุกรรมการ คนที่หนึ่ง 3. นายธีรพล คำทองสุข รองประธานอนุกรรมการ คนที่สอง 4. นายไพรัช ชัยชาญ อนุกรรมการ 5. นายบัณณทัต บุญแถว อนุกรรมการ 6. นายประเสริฐ อารีรัตน์ อนุกรรมการ 7. นางสาวปรียาภรณ์ พุทธชัย อนุกรรมการ 8. นายประทีป ชาวนา อนุกรรมการ 9. นายสมศักดิ์ เขื่อนข่ายแก้ว อนุกรรมการ 10. นายวันชัย สูบสร้อยสิน อนุกรรมการ 11. นายนรัชต์ชัย ธนะสุธีรัชต์ อนุกรรมการ 12. นางสาวอัจฉรา นิ่มยี่สุ่น อนุกรรมการ 13. นายบัณฑิต สันธินาค อนุกรรมการและเลขานุการ 14. นางสาวรัตติญา ศรีเพ็ญ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 15. นายนราธิป ทองเพิ่มพลอย อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เลิกประชุมเวลา 12.30 น. ผู้จดรายงานการประชุม (นายชัยวุฒิ แจ้งจรัส) ผู้ช่วยเลขานุการ


Click to View FlipBook Version