ระเบียบวาระการประชุม คณะกรรมการการระบายน้ำ ครั้งที่ 16/2566 วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม 8 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง _______________________ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 14/2566 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 และครั้งที่ 15/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง 3.1 ปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการดำเนินโครงการก่อสร้างของบริษัทผู้รับจ้าง (ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์) 3.2 ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ _______________________
รายงานการประชุม คณะกรรมการการระบายน้ำ ครั้งที่ 14/2566 วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม 8 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ผู้มาประชุม 1. นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ประธานกรรมการ 2. นายพีรพล กนกวลัย รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง 3. นายฉัตรชัย หมอดี กรรมการ 4. นายณรงศักดิ์ ม่วงศิริ กรรมการ 5. นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล กรรมการ 6. นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย กรรมการ 7. นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล กรรมการ 8. นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล กรรมการ 9. นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา กรรมการ 10. นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ เลขานุการ 11. นายชัยวุฒิ แจ้งจรัส ผู้ช่วยเลขานุการ 12. นางสาวจุฑามาศ พลสูงเนิน ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1. นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย รองประธานกรรมการ คนที่สอง (ลา) 2. นายกิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ กรรมการ (ลา) 3. นายสุชัย พงษ์เพียรชอบ กรรมการ (ลา) ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายเจษฎา จันทรประภา รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ 2. นายปริญญา จันทคุปต์ ผู้อำนวยการส่วนวิชาการจัดการคุณภาพน้ำ 3. นายวิศิษฎ์ วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ 1 4. นายเพิ่มพล ศรีนวล หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ส่วนระบบควบคุมน้ำพระนคร 5. นายบุญยืน คุณเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานบำรุงรักษา ท่อระบายน้ำ 1
๒ 6. นางศราวดี ธรรมธารากาศ หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักการระบายน้ำ 7. นายศุภณัฏฐ์ สงวนนวลรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ 1 8. นายสมพร แดนสามสวน รักษาการผู้อำนวยการกองเครื่องจักรกล 9. นายสัญญา ภู่เจนจบ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมท่อระบายน้ำ 10. นางปาจรีย์ องค์โชติยกุล หัวหน้ากลุ่มงานระบบโทรมาตร 11. นายนิพนธ์ ศรีเรือง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบคลอง 1 12. นายธีรศักดิ์ รัตนสุรางค์ วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักการระบายน้ำ 13. นายวีระ เมธา วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักการระบายน้ำ 14. นายธงชัย ป้องโส วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สำนักการระบายน้ำ เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เมื่อกรรมการมาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานกล่าวเปิดประชุมและดำเนินการ ประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 13/2566 โดยไม่มีการแก้ไข ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา - ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ ประธาน เชิญ สำนักการระบายน้ำรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานตาม งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ
๓ นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ สำนักการระบายน้ำ รายละเอียดงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ รายการ (ใหม่) ผลผลิตพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม จำนวน 12 รายการ เป็นเงิน 514,120,000 .- บาท ดังนี้ 1. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วม บริเวณคลองขุดวัดช่องลมจากสถานีสูบน้ำ คลองขุดวัดช่องลมถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนพระรามที่ 3 ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลาก ได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 2.00ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 500 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 270 วัน งบประมาณ 125,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบและรายการ 2. งานปรับปรุงแก้มลิงบึงสีกัน พื้นที่เขตหลักสี่ ประโยชน์ที่ได้รับ ปรับปรุงแก้มลิงบึงสีกัน พื้นที่เขตหลักสี่ให้สามารถกักเก็บน้ำได้ 100,000 ลบ.ม. โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 1.63 ตร.กม. จำนวนครัวเรือนประมาณ 800 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 270 วัน งบประมาณ 99,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบและรายการ 3. งานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณคอนโดริเวอร์ไซด์ ถนนพระรามที่ 3 ซอย 24 ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลาก ได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 2.00 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 300 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 270 วัน งบประมาณ 75,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ
๔ 4. งานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองสวนแดน ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลาก ได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.30 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 350 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 240 วัน งบประมาณ 64,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง 5. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย ช่วงวัดสุวรรณาราม ถึงสะพานจรัญสนิทวงศ์ ประโยชน์ที่ได้รับ งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย ช่วงวัดสุวรรณาราม ถึงสะพานอรุณอมรินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกัน น้ำท่วมอย่างถาวร และลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติน้ำท่วม ระยะเวลาดำเนินการ 200 วัน งบประมาณ 25,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง 6. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองพระโขนง ช่วงจากสถานีสูบน้ำ พระโขนงถึงถนนทางรถไฟสายเก่า ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลาก ได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.10 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 300 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 240 วัน งบประมาณ 25,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ
๕ 7. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองโอ่งอ่าง ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลากได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.30 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 250 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน งบประมาณ 24,800,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบ รายการก่อสร้าง 8. งานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณบ้านอนันตกูล ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลากได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.10 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 150 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน งบประมาณ 21,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง 9. งานขุดลอกแก้มลิงบึงมักกะสัน ประโยชน์ที่ได้รับ ขุดลอกแก้มลิงบึงมักกะสันให้มีความสามารถในการระบายน้ำ กักเก็บน้ำ และ บริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนได้สูงขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา น้ำท่วมจากถนนศรีอยุธยา และถนนราชปรารภ โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ถนนศรีอยุธยา ระยะเวลาดำเนินการ 200 วัน งบประมาณ 21,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง นายพีรพล กนกวลัย บริเวณบึงมักกะสันมีบ้านรุกล้ำจำนวนมาก จะมีปัญหาต่อการขุดลอกหรือไม่ หรือต้องเว้นช่วงที่มีบ้านรุกล้ำ นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ กรณีนี้ต้องแจ้งสำนักงานเขตให้ดำเนินการกับบ้านรุกล้ำ โดยบึงนี้เป็นที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทยด้วย
๖ ประธาน สอบถามว่า ได้หารือปัญหาการรุกล้ำกับสำนักงานเขตแล้ว ใช่หรือไม่ นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ หารือกับสำนักงานเขตและการรถไฟฯ แล้ว ซึ่งมีการประชุมติดตามงานตลอด ทุกเดือนกับการรถไฟฯ นายพีรพล กนกวลัย สอบถามว่า ถ้าบ้านรุกล้ำไม่ยินยอมย้ายออกจะเป็นปัญหาต่อการขุดลอกแก้มลิง บึงมักกะสัน หรือไม่ นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการทำงาน ซึ่งต้องใช้เวลาในการรื้อย้ายบ้านด้วย โดยถ้าจะให้ปริมาตรการเก็บกักน้ำของแก้มลิงได้ตามที่กำหนดไว้ น้ำก็จะท่วมถึงบ้านที่รุกล้ำอยู่ ในบึงมักกะสันด้วย นายพีรพล กนกวลัย สอบถามว่า ปริมาณดินที่ขุดลอกขึ้นมาจะนำไปไว้ที่ใด อย่างไร นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ เนื่องจากบึงมักกะสันเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ จึงเป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ในการตัดสินใจ 10. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณซอยสามเสน 5 จากชุมชนหลังวัดสามพระยาถึงอาคารจุลดิศริเวอร์ ประโยชน์ที่ได้รับ ปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวประมาณ 110 เมตร ระยะเวลาดำเนินการ 200 วัน งบประมาณ 20,820,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง ประธาน เปรียบเทียบปริมาณงานระหว่างรายการที่ 8 กับรายการที่ 10 แตกต่างกัน แต่ใช้งบประมาณใกล้เคียงกัน เป็นงานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำ เพราะสาเหตุใด นายศุภณัฏฐ์สงวนนวลรักษ์ รายการที่ 8 เป็นงานก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเป็น การสร้างเขื่อนใหม่ส่วนในรายการที่ 10 เป็นงานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมที่มีเขื่อนเดิมอยู่แล้ว ราคาของรายการที่ 8 จึงสูง เพราะเป็นการสร้างใหม่ นายพีรพล กนกวลัย สอบถามว่า กรณีการประมาณราคาเพื่อของบประมาณ ถ้างบประมาณไม่ เพียงพอจะทำอย่างไร
๗ นายเจษฎา จันทรประภา การทำราคาหรือประเมินราคาเพื่อของบประมาณจะมีค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงงาน และค่า Factor F ซึ่งการประเมินราคาเพื่อของบประมาณจะทำให้ใกล้เคียงที่สุด และเผื่ออุปสรรคในการทำงานด้วย แล้วจึงของบประมาณ ซึ่งในหลักการก็จะมีความใกล้เคียง ประมาณ 95 % หลังจากนั้นก็จะมีการตั้งคณะกรรมการราคากลาง เพื่อคิดราคาจริง ซึ่งโดย ส่วนใหญ่ราคากลางจะต่ำกว่างบประมาณที่ขอไว้ 11. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ บริเวณวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลากได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.05ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 100 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 9,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ และจัดทำราคากลาง 12. งานปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงเลื่อยจักร แสงทอง ซอยเจริญกรุง 80 ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลากได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.03ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 100 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 180 วัน งบประมาณ 4,500,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ โครงการต่อเนื่อง (ใหม่) ผลผลิตพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม จำนวน 4 รายการ เป็นเงิน 26,000,000 .- บาท ดังนี้ 1. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง เขตบางขุนเทียน วัตถุประสงค์ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นปัญหาระดับโลก โดยกรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพ ภูมิอากาศนี้ ส่งผลให้ค่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและคลื่นมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันพื้นที่
๘ ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนของกรุงเทพมหานครถูกกระแสน้ำทะเลกัดเซาะจนถอยร่นเข้ามาในแผน ดินประมาณ 800 - 1,000 เมตร และมีแนวโน้มที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวโดยใช้ไม้ไผ่ปักเป็น แนวและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ไม่สามารถต้านทาน ความ รุนแรงของกระแสน้ำได้ ทำให้แนวป้องกันชั่วคราวได้รับความเสียหาย ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ควรดำเนินการก่อสร้างแนวคันหินถาวร ตลอดแนวชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน และ ก่อสร้างศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลเพื่อติดตามเฝ้าระวังและให้ความรู้เกี่ยวกับการ ป้องกันชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน (ปีงบประมาณ 2567 - 2569) วงเงินค่าก่อสร้าง 1,718,000,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 70% 1,202,600,000 บาท งบประมาณของกรุงเทพมหานคร 30 % 515,400,000 บาท งบประมาณปี พ.ศ. 2567 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 8,000,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 240,800,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ นายณรงศักดิ์ม่วงศิริ สอบถามว่า โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาก่อนการของบประมาณ ใช่หรือไม่ นายเจษฎา จันทรประภา มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาวิเคราะห์ทั้งด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านกายภาพของชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน มีการทำแบบจำลองการกัดเซาะชายฝั่งทะเลขึ้นมา 2. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำคลองรางอ้อรางแก้ว ช่วงจาก ถนนพหลโยธินถึงถนนรามอินทรา ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน (ปีงบประมาณ 2567 - 2568) วงเงินค่าก่อสร้าง 248,000,000 บาท งบประมาณของกรุงเทพมหานคร 100 % งบประมาณปี พ.ศ. 2567 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 8,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ 3. โครงการจ้างควบคุมงานก่อสร้างโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ กัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง เขตบางขุนเทียน
๙ วัตถุประสงค์ เพื่อจ้างผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ควบคุมงานก่อสร้าง โครงการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนกรุงเทพมหานครและศูนย์ สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง ให้เป็นไป ตามแบบ รายการ สัญญา และติดตามตรวจสอบและแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ หากเกิดขึ้นหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ระยะเวลาดำเนินการ 1,440 วัน (ปีงบประมาณ 2567 - 2571) วงเงินค่าก่อสร้าง 47,500,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 70% 33,250,000 บาท งบประมาณของกรุงเทพมหานคร 30 % 14,250,000 บาท งบประมาณปี พ.ศ. 2567 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 5,000,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 8,330,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ 4. โครงการจ้างที่ปรึกษาสำรวจจัดทำแผนหลักและออกแบบระบบป้องกัน น้ำท่วมและระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ ประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อเป็นแผนหลักในการวางระบบระบายน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร โดยจะเป็นแผนแม่บทในการแก้ปัญหาน้ำท่วมและ น้ำแล้งในพื้นที่อย่างถาวรต่อไป ระยะเวลาดำเนินการ 360 วัน (ปีงบประมาณ 2567 - 2568) วงเงินค่าก่อสร้าง 40,000,000 บาท งบประมาณของกรุงเทพมหานคร 100 % งบประมาณปี พ.ศ. 2567 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 5,000,000 บาท สถานะโครงการ รายการใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบรายการ โครงการต่อเนื่อง (เก่า) จำนวน 12 รายการ เป็นเงิน 1,207,217,300 .- บาท ดังนี้ 1. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองบางบัว ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตบางเขน และเขตจตุจักร โดยมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 109 ตาราง กิโลเมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 200,000 ครัวเรือน และสามารถระบายน้ำหลาก จากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานครได้เพิ่มขึ้น 5,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
๑๐ ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี - เอ็นดับเบิลยูอาร์ หรือ ITD-NWR JOINT VENTURE เริ่มต้นสัญญา 9 กันยายน 2564 สิ้นสุดสัญญา 13 สิงหาคม 2569 ระยะเวลาก่อสร้าง 1,800 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 8,233,300,000 บาท (สัดส่วน: รัฐบาล 70% และ กทม. 30%) สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 9.75 % ตามแผนงาน 46.24 % ช้ากว่าแผน 36.49 % งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานครจำนวน 738,000,000.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 1,037,395,800.-บาท ปัญหาและอุปสรรค - มีบ้านรุกล้ำบริเวณก่อสร้างอาคารรับน้ำ จำนวน 3 แห่ง (1. อาคารรับน้ำคลองบางบัว 2.อาคารรับน้ำคลองวัดหลักสี่ 3. อาคารรับน้ำคลองบางเขน) ชาวบ้านไม่ยินยอมเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงและไม่ยอมรื้อย้าย 2. โครงการจ้างควบคุมการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ คลองเปรมประชากร จากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประโยชน์ที่จะได้รับ ควบคุมการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นไปตามแบบ รายการ สัญญา และถูกต้องตามหลัก วิชาการ งบประมาณ 200,000,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 2,520 วัน ดำเนินการโดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง- แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท วิศวกรรมธรณี และฐานราก จำกัด เริ่มต้นสัญญา วันที่ 8 มีนาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 30 มกราคม 2572 วงเงินค่าก่อสร้าง 198,930,000 บาท งบกทม. 30% เงินอุดหนุน 70% สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 24.85 % ตามแผนงาน 27.74 % ช้ากว่าแผน 2.89 % งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานครจำนวน 9,450,000.-บาท
๑๑ เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 16,909,000.-บาท ปัญหาและอุปสรรค - งานก่อสร้างติดปัญหาอุปสรรคบ้านรุกล้ำ 3. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด วัตถุประสงค์ เพื่อบริหารจัดการน้ำหลากจากพื้นที่ด้านบนให้ไหลผ่านเข้าพื้นที่ กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกได้ปริมาณ 75 ลบ.ม./วินาที และช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง เนื่องจากน้ำฝนในพื้นที่เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขมและเขตบางแค โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60 ตร.กม. ระยะเวลาดำเนินการ 1,080 วัน ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา วันที่ 8 ธ.ค. 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 21 พ.ย. 2567 วงเงินค่าก่อสร้าง 2,219,200,000.00 บาท (งบ กทม. 50% งบรัฐบาล 50%) สถานะโครงการ - ผลงาน 15 % แผนงาน 22.12 % ช้ากว่าแผน 7.12 % คาดว่าจะ แล้วเสร็จเดือนเมษายน 2568 ปัญหาและอุปสรรค - มีแนวเสา-สายไฟฟ้า และแนวท่อประปากีดขวางงานก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. บริเวณก่อสร้างประตูระบายน้ำ - แนวเขตคลองสาธารณะบริเวณก่อสร้างประตูระบายน้ำบางแห่งไม่ชัดเจนและ ไม่สามารถยืนยันแนวเขตสาธารณะได้ เกรงว่าเมื่อก่อสร้างประตูระบายน้ำจะรุกล้ำเข้าไปในเขต ที่ดินของเอกชน - งานก่อสร้างปล่องอุโมงค์หมายเลข 3 ไม่สามรถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ไม่ เพียงพอสำหรับจัดทำระบบระบายน้ำชั่วคราวในขณะก่อสร้าง แนวทางการแก้ไข - ประสานหน่วยงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบและดำเนินการรื้อ ย้าย - ประสานสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครให้รังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ สาธารณะ ขณะนี้สำนักงานที่ดินฯ ได้ดำเนินการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้วบางส่วน - ปรับลดปริมาณงานก่อสร้างปล่องอุโมงค์หมายเลข 3 โดยพิจารณาผลกระทบ ด้านวิศวกรรมแล้ว ปรากฏว่าไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการระบายน้ำของอุโมงค์
๑๒ ปี 2567 ตั้งงบประมาณ เงินงบประมาณ กทม. 114,586,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 221,920,000 บาท นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ สอบถามว่า โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนเมษายน 2568 เป็นการ ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ครั้งแรก หรือเกิดปัญหาอุปสรรคแล้วจึงขยับเวลาออกมา นายศุภณัฏฐ์สงวนนวลรักษ์ โครงการนี้เดิมกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2567 แต่เนื่องจากมี อุปสรรคในการรังวัดที่ดินเพื่อการก่อสร้างประตูระบายน้ำ 32 แห่ง จึงต้องมีการขยับเวลาออกมา 4. โครงการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ คลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด วัตถุประสงค์ เพื่อจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ควบคุมการ ก่อสร้างโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา บริเวณคอขวด ให้เป็นไปตามแบบ รายการ สัญญา และติดตามตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ หากเกิดขึ้นหลังจากงานก่อสร้าง แล้วเสร็จ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เพื่อทำ หน้าที่ตรวจสอบควบคุมการก่อสร้างและกำกับดูแลจัดการบริหารโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบาย น้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด ระยะเวลาดำเนินการ 1,080 วัน ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วยบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด เริ่มต้นสัญญา วันที่ 8 ธ.ค. 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 11 พ.ย. 2569 วงเงินค่าจ้าง 46,893,000.00 บาท (งบ กทม. 50% งบรัฐบาล 50%) สถานะโครงการ - ผลงาน 64.54% แผนงาน 62.54% ช้า/เร็วกว่าแผน 0.00% ปัญหาและอุปสรรค - ไม่ได้รับงบประมาณปี 2566 (เงินอุดหนุน) ทำให้ไม่มีงบเบิกจ่ายให้ผู้รับจ้าง และต้องเสียเวลารอคอยการจัดสรรงบประมาณ แนวทางการแก้ไข - ขอจัดสรรงบประมาณ กทม. เพื่อเบิกจ่ายทดแทนงบอุดหนุนรัฐบาลก่อน
๑๓ ปี 2567 ตั้งงบประมาณ เงินงบประมาณ กทม. 2,700,000 บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 4,220,300 บาท 5. โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำ คลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว ถึงบริเวณซอยลาดพร้าว 130 วัตถุประสงค์ เพื่อขยายความยาวอุโมงค์ออกไปตามแนวคลองแสนแสบถึงซอยลาดพร้าว 130เพื่อ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่บางส่วนของเขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตบึงกุ่ม และ เขตคันนายาว ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ระยะเวลาดำเนินการ 1,020 วัน ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า เอสจี- พีซีอี เริ่มต้นสัญญา 26 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 10 กันยายน 2567 วงเงินค่าก่อสร้าง 1,698,789,888.00 บาท (งบ กทม. 50% งบรัฐบาล 50%) งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 169,488,000.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 179,871,900.-บาท สถานะโครงการ - ความก้าวหน้า ผลงาน 4.251% แผนงาน 72.617% ช้ากว่าแผนงาน 68.366% ปัญหาและอุปสรรค - ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอาคารรับน้ำซอยลาดพร้าว 130 และอาคารรับน้ำคลองจั่น (แจ้งเร่งรัดงานแล้ว 10 ครั้ง) อยู่ระหว่างแจ้งเร่งรัดงานครั้งที่ 11 - ประชุมติดตามงานครั้งที่ 27/2566 วันที่ 25 ต.ค. 66 ประธาน สอบถามว่า โครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเหตุใดจึงมีเปอร์เซ็นต์ การอุดหนุนที่แตกต่างกัน นายเจษฎา จันทรประภา เมื่อกรุงเทพมหานครมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็ต้องมีการหารือกับสำนัก งบประมาณ (สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี) สำนักฯ ก็จะพิจารณารายรับ – รายจ่ายและภาระหนี้ ของกรุงเทพมหานคร หลังจากนี้ก็จะมีการเจรจาต่อรอง เพราะรัฐบาลก็ไม่ต้องการจ่าย
๑๔ งบประมาณจำนวนมาก ก็จะพิจารณาในหลักเกณฑ์ว่ารัฐบาลจะได้ประโยชน์ร่วมด้วยหรือไม่ มีความจำเป็นเพียงใด ซึ่งโครงการที่อุดหนุนให้50% ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการขนาดเล็ก แต่โครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร รัฐบาลช่วย 70% ซึ่งจะพิจารณาข้อมูลรายรับ – รายจ่ายและภาระหนี้ของกรุงเทพมหานครด้วยแต่บางโครงการ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลอาจช่วยถึง 90 หรือ 100 % นายพีรพล กนกวลัย โครงการนี้ช้ากว่าแผนงาน 68.366% จะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 10 กันยายน 2567 เห็นว่าอย่างไรโครงการก็คงไม่เสร็จทันตามสัญญา ดำเนินการในลักษณะกิจการร่วมค้า ใช่หรือไม่ นายวิศิษฎ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ เป็นการร่วมกันระหว่างห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์และบริษัท พระราม 2 การโยธา จำกัด นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล โครงการนี้เริ่มต้นสัญญาตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ทำผลงานได้เพียง 4.251% ในระยะเวลาเกือบ 2 ปีจึงเห็นว่าควรไปเริ่มต้นใหม่กับผู้รับจ้างรายใหม่ดีหรือไม่ เนื่องจากเพิ่งจะเริ่มโครงการไปได้น้อยมาก ไม่ควรให้ทำโครงการนี้ต่อไป นายเจษฎา จันทรประภา การยกเลิกสัญญากับผู้รับจ้างก่อนที่จะหมดสัญญา เมื่อมีการฟ้องร้องขึ้นศาล ผู้รับจ้างก็จะอ้างเหตุผลว่ายังเหลือเวลาอีก 1 ปี สามารถระดมคนงานมาทำให้เสร็จทันเวลาได้ ซึ่งสำนักการระบายน้ำก็มีความกังวลใจ แต่ก็ต้องยอมรับผลการประกวดราคาที่มาจากหลักเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งสำนักฯ ก็มีการ เร่งรัดติดตามงานมาโดยตลอด นายเนติภูมิมิ่งรุจิราลัย จากการประชุมที่ผ่านมาของคณะกรรมการฯ ทราบว่าห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์มีปัญหาเรื่องการเงินอีกทั้งยังมีปัญหากับบริษัทร่วมค้าของเขาเองด้วย ตั้งแต่ โครงการเดิมและโครงการนี้ซึ่งใน TOR ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าห้ามบริษัทที่ทำโครงการล่าช้าและ เคยเสียค่าปรับเข้าร่วมการประกวดราคา นายสุรจิตต์พงษ์สิงห์วิทยา คณะกรรมการฯ ควรเชิญบริษัทผู้รับจ้างรายนี้มาหารือว่าเกิดปัญหาอุปสรรคใด จึงทำให้โครงการนี้มีความล่าช้ามาก นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล ตั้งข้อสังเกตว่า การประเมินหรือการพิจารณาให้คะแนนบริษัทผู้รับจ้างในการ ประมูลงาน ควรประเมินจากคุณภาพหรือผลงานที่ผ่านมามากกว่าที่จะพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ ราคาเป็นหลักเพียงอย่างเดียว
๑๕ นายเจษฎา จันทรประภา เนื่องจากตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างฯ ทำได้เพียงการกำหนดผลงาน ที่เคยทำมาแล้ว ซึ่งจะกำหนดสูงมากก็ไม่ได้จะกลายเป็นการปิดกั้นหรือกีดกัน แต่บริษัทที่ไม่เคย ทำงานในลักษณะที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเข้าประกวดราคาได้ ประธาน ในการประชุมครั้งต่อไปของคณะกรรมการฯ ให้เชิญผู้บริหารห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อทราบเหตุผลความล่าช้าในการดำเนินโครงการ นายพีรพล กนกวลัย ขอให้สำนักการระบายน้ำรวบรวมปัญหาอุปสรรคจากการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำให้ โครงการเกิดความล่าช้าจากหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างฯ เพื่อให้สภาฯ นำประเด็นปัญหานี้ไปหารือกับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร แล้วนำไปสู่การหารือแนวทางการแก้ไข ปัญหากับกรมบัญชีกลางต่อไป ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง 6. โครงการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ คลองแสนแสบ จากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวถึงบริเวณซอยลาดพร้าว 130 วัตถุประสงค์ โครงการก่อสร้างดังกล่าว เป็นงานเทคนิคเฉพาะด้านที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ จึง จำเป็นต้องจัดจ้าง บริษัทที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ให้เป็นไปตามแบบ รายการ สัญญา และถูกต้องตามหลักวิชาการ ระยะเวลาดำเนินการ 1,740 วัน ดำเนินการโดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด เริ่มต้นสัญญา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 31 สิงหาคม 2569 วงเงินค่าก่อสร้าง 46,830,000 บาท (งบ กทม. 50% งบรัฐบาล 50%) งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,501,000.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 15,000,000.-บาท 7. โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจรคลองแสนแสบ ตอนคลองบางชัน (ครั้งที่ 2) ประโยชน์ที่จะได้รับ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางชันและบริเวณใกล้เคียงและ แก้ไขปัญหาการจราจรการขนส่งทางน้ำให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพ ในการระบายน้ำในคลองแสนแสบให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่มาจากด้านทิศเหนือในช่วงฤดูน้ำหลาก
๑๖ ดำเนินการโดย บริษัท เรืองฤทัย จำกัด เริ่มต้นสัญญา วันที่ 15 มีนาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 5 กันยายน 2566 ระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 283,700,000 บาท (งบ กทม. 100%) สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 44.00 % ตามแผนงาน 96.30 % ช้ากว่าแผน 52.30 % คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม 2567 งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 100,000,000.-บาท ปัญหาและอุปสรรค - ที่ผ่านมาติดปัญหาอุปสรรคบ้านรุกล้ำ แนวสาธารณูปโภคและแนวสายไฟฟ้า นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ เนื่องจากโครงการนี้ติดปัญหาอุปสรรคบ้านรุกล้ำ แนวสาธารณูปโภคและ แนวสายไฟฟ้า เหตุใดสำนักการระบายน้ำจึงไม่สำรวจพื้นที่และแก้ไขปัญหาอุปสรรคไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาที่จะทำให้โครงการเกิดความล่าช้า ควรมีการสำรวจและแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า ก่อนการดำเนินโครงการ นายเจษฎา จันทรประภา เนื่องจากไม่สามารถเผื่อเวลาได้เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรค เพราะต้องคิดเวลาตาม กระบวนการขั้นตอนในการก่อสร้างจริง และไม่สามารถสรุปได้ว่าบ้านรุกล้ำหรือแนวสาธารณูปโภค จะออกไปได้เมื่อใด เช่น เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงที่ผู้รับจ้างไม่สามารถย้ายเองได้ นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ ตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนการดำเนินงานในโครงการก่อสร้างต่างๆ ควรมีการสำรวจ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และทำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหา ความล่าช้าของโครงการนั้น นายพีรพล กนกวลัย ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ทำให้โครงการล่าช้าเป็นปัญหาจากคนคือ บ้านรุกล้ำ ซึ่งจะต้องมีการฟ้องร้อง ไม่สามารถกำหนดเวลาได้และใช้เวลานานมากในการแก้ไขปัญหานี้ 8. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำคลองหลุมไผ่ - คลองโคกคราม (ครั้งที่ 2) ประโยชน์ที่จะได้รับ หากงานก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนริมคลอง หลุมไผ่ – คลองโคกคราม ในพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตบางเขน และเพิ่มประสิทธิภาพการ ระบายน้ำในคลองหลุมไผ่ –คลองโคกครามให้สามารถรับปริมาณน้ำจากการสูบน้ำในพื้นที่บึงกุ่มเหนือ สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คิดเป็นพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ดำเนินการโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงนิยม
๑๗ เริ่มต้นสัญญา วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 190,900,000.00 บาท (งบ กทม. 100%) สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 36.50 % ตามแผนงาน 100.00% ช้ากว่าแผน 63.50 % คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2567 งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 57,450,000.-บาท ปัญหาและอุปสรรค - มีบ้านรุกล้ำ จำนวน 3 จุด ระยะทางรวม ประมาณ 150 เมตร และปัญหาอุปสรรคแนวเสาไฟฟ้า แนวทางการแก้ไข -ประสานการไฟฟ้าเขตลาดพร้าวและการไฟฟ้าเขตบางเขนรื้อย้ายแนวเสาไฟฟ้า -ประสานการประปาเขตลาดพร้าวและการประปาเขตบางเขนรื้อย้ายแนว ท่อประปา -ประสานสำนักงานเขตลาดพร้าวรื้อย้ายบ้านรุกล้ำแนวก่อสร้าง 9. โครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ 6 จากคลองสามเสน ลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเริ่มดำเนินการรื้อย้ายท่อระบายน้ำและปรับทิศทางการระบายน้ำให้ลงสู่ ระบบระบายน้ำถนนพระราม 6 และคลองสามเสน จะสามารถรองรับปริมาณน้ำจากคลองสามเสน และระบบท่อระบายน้ำในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง ที่จะเกิดขึ้น ลดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการโดย ห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์ เริ่มต้นสัญญา 31 มีนาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา 19 มีนาคม 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 968,000,000.00 บาท (สัดส่วน: รัฐบาล 70% และ กทม. 30%) สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 12.03 % ตามแผนงาน 78.34 % ช้ากว่าแผน 66.31 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ เดือนสิงหาคม 2568
๑๘ งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 117,000,000.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 440,720,000.-บาท ปัญหาและอุปสรรค - รอหนังสืออนุญาตจากกรมธนารักษ์ เจาะท่อขนส่งน้ำลอดผ่านพื้นที่เช่า ริมคลองบางซื่อ (อยู่ระหว่างติดตาม) - รอใบอนุญาตเข้าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ได้รับใบอนุญาตแล้ว) - รอการประปานครหลวงอนุมัติแผนการรื้อย้ายเขื่อนคลองประปา บริเวณก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองสามเสน (ได้รับอนุมัติแล้ว) - บริเวณก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองสามเสน ติดอุปสรรคท่อทิ้งตะกอนของ การประปานครหลวง (รอการรื้อย้าย) แนวทางการแก้ไข - มีหนังสือประสานหน่วยงานสาธารณูปโภคและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ (ดำเนินการแล้ว) 10. โครงการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างโครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำ ใต้ถนนพระรามที่ 6 จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ ประโยชน์ที่จะได้รับ ควบคุมการดำเนินการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนนพระรามที่ 6 จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ ให้เป็นไปตามแบบ รายการ สัญญา และถูกต้องตาม หลักวิชาการ ดำเนินการโดย กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด เริ่มต้นสัญญา 31 มีนาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา 19 มีนาคม 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 19,170,000.00 บาท (สัดส่วน: รัฐบาล 90 % และ กทม. 10 %) สถานะโครงการ ผลงานที่ทำได้ 34.50 % ตามแผนงาน 55.00 % ช้า/เร็วกว่าแผน 20.50 % งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 479,300.-บาท เงินอุดหนุนรัฐบาล จำนวน 11,363,900.-บาท
๑๙ ปัญหาและอุปสรรค งานก่อสร้างติดปัญหาอุปสรรค 11. โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำคูนายกิมสาย 2 ช่วงถนนสรณคมณ์ ถึงซอยสรงประภา 30 ประโยชน์ที่จะได้รับ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมฝั่งตะวันตกของคลองเปรมประชากร เพิ่มประสิทธิภาพการ ระบายน้ำใน พื้นที่เขตดอนเมือง ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้ไม่น้อยกว่า 100 มม./ชม พื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 7 ตารางกิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 193,000,000 บาท (งบ กทม. 100%) สถานะโครงการ - อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง และการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 งบประมาณของกรุงเทพมหานคร จำนวน 80,150,000.-บาท 12. โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. หน้าสถานีสูบน้ำพระโขนงถึงจุดที่กำหนดให้ บริเวณถนนสุขุมวิท ประโยชน์ที่ได้รับ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเหนือ หลากได้อย่างถาวรและยั่งยืน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 0.5 ตร.กม. จำนวนครัวเรือน ประมาณ 200 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินการ 870 วัน ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 กันยายน 2566 สิ้นสุดสัญญา 4 กันยายน 2568 วงเงินงบประมาณ 450,000,000.- บาท (งบ กทม. 100%) วงเงินค่าก่อสร้าง 446,900,000.- บาท งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 100,000,000.-บาท สถานะโครงการ ความก้าวหน้า ผลงาน 0.40% แผนงาน 0.72% ช้ากว่าแผน 0.32% - อยู่ระหว่างการเตรียมงานก่อสร้าง, ประชุมติดตามงานครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566
๒๐ มติที่ประชุม คณะกรรมการฯ รับทราบการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำโดยหน่วยงานที่เหลือของ สำนักการระบายน้ำให้มานำเสนอในการประชุมครั้งต่อไปของคณะกรรมการฯ พร้อมเชิญ ผู้บริหารของห้างหุ้นส่วน จำกัด สามประสิทธิ์เพื่อหารือปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการ ดำเนินโครงการก่อสร้าง คณะกรรมการฯ มีข้อสังเกต ดังนี้ 1. การดำเนินการโครงการต่างๆ ต้องมีหนังสือยินยอมให้ดำเนินการ จากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ก่อน 2. การประเมินหรือการพิจารณาให้คะแนนบริษัทผู้รับจ้างในการประมูลงาน ควรประเมินจากคุณภาพหรือผลงานที่ผ่านมามากกว่าที่จะพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาเป็นหลัก เพียงอย่างเดียว 3. ก่อนการดำเนินงานในโครงการก่อสร้างต่างๆ ควรมีการสำรวจปัญหา อุปสรรคต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และทำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นไว้ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาความ ล่าช้าของโครงการนั้น ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ - การตั้งคณะอนุกรรมการการระบายน้ำ ชุดที่ 11 แทนคณะเดิม และการตั้งอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการการระบายน้ำ ชุดที่ 6 ชุดที่ 8 และชุดที่ 9 แทนในตำแหน่งที่ว่าง มติที่ประชุม เห็นชอบ การตั้งคณะอนุกรรมการการระบายน้ำ ชุดที่ 11 แทนคณะเดิม รับผิดชอบพื้นที่เขตพื้นที่เขตวัฒนา ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย และบางรัก คณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย 1. นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ประธานอนุกรรมการ 2. นายสุเมธ อมรศรีวรากุล รองประธานอนุกรรมการ 3. นายโดมม์ บำรุงศรี อนุกรรมการ 4. นายปณิธาน เลาะวิธี อนุกรรมการ 5. นายศิวนาถ อัศวจินดา อนุกรรมการ 6. นายพงศ์ธร จำเนียรโสด อนุกรรมการ 7. นางสาวสาวิตรี ชมภูศรี อนุกรรมการ 8. นางเรียม ศรีสมัย อนุกรรมการ 9. นายธีระพงษ์ ศรีแก้ว อนุกรรมการ 10. นายศราวุธ สุมาลี อนุกรรมการ 11. นายเอกรัฐ อิทธิไกวัล อนุกรรมการ
๒๑ 12. นายณัฏฐ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อนุกรรมการ 13. นางสาวอรกัญญา ล่าลี อนุกรรมการและเลขานุการ 14. นายพงศธร จันทร์สว่าง อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 15. นางสาวศิริประภัทร์ มินทมอน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เห็นชอบ การตั้งอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการการ ระบายน้ำ ชุดที่ 6 แทนในตำแหน่งที่ว่าง คือ นายพงศธร จันทร์สว่าง ปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ แทนนางสาวสุนิสา พงศ์ผาสุก ที่ขอลาออกจากคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบ การตั้งอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการการ ระบายน้ำ ชุดที่ 8 แทนในตำแหน่งที่ว่าง คือ นางสาวศิริประภัสร์มินทมอน ปฏิบัติหน้าที่ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการแทนนางสาวสุนิสา พงศ์ผาสุก ที่ขอลาออกจากคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบ การตั้งอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการการ ระบายน้ำ ชุดที่ 9 แทนในตำแหน่งที่ว่าง คือ นางสาวรัตติญา ศรีเพ็ญ ปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ แทนนางสาวสุนิสา พงศ์ผาสุก ที่ขอลาออกจากคณะอนุกรรมการฯ เลิกประชุมเวลา 12.00 น. ผู้จดรายงานการประชุม (นายชัยวุฒิ แจ้งจรัส) ผู้ช่วยเลขานุการ
รายงานการประชุม คณะกรรมการการระบายน้ำ ครั้งที่ 15/2566 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม 8 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ผู้มาประชุม 1. นายสัณห์สิทธิ์ เนาถาวร ประธานกรรมการ 2. นายพีรพล กนกวลัย รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง 3. นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย รองประธานกรรมการ คนที่สอง 4. นายฉัตรชัย หมอดี กรรมการ 5. นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล กรรมการ 6. นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย กรรมการ 7. นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล กรรมการ 8. นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล กรรมการ 9. นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา กรรมการ 10. นางสาวอังคณา หงษ์คณานุเคราะห์ เลขานุการ 11. นายชัยวุฒิ แจ้งจรัส ผู้ช่วยเลขานุการ 12. นางสาวจุฑามาศ พลสุงเนิน ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1. นายกิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ กรรมการ (ลา) 2. นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ กรรมการ (ลา) 3. นายสุชัย พงษ์เพียรชอบ กรรมการ (ลา) ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ 2. นายวิศิษฏ์ วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมระบบระบายน้ำ 3. นายปธาน บรรจงปรุ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการ ตะกอน สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ 4. นายสุพจน์ อุปริมาตร วิศวกรโครงการฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ 5. นายเพิ่มพล ศรีนวล หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมส่วนระบบ ควบคุมน้ำพระนคร 6. นายธีรยุทธ คุณมาก หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมระบบ ระบายน้ำ 2 7. นายกฤชภัทร ยินหิรัญ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบบำบัด น้ำเสีย สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
- 2 - 8. นายวีระ เมษา วิศวกรโยธาชำนาญการ 9. นายสัญญา ภู่เจนจบ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรมท่อระบายน้ำ 10. นายสมพร แดนสามสวน รักษาการผู้อำนวยการกองเครื่องจักรกล 11. นางสาววันดี แซ่โล้ว นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ 12. นายนิพนธ์ ศรีเรือง หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบคลอง 1 13. นางปาจรีย์ องค์โชติยะกุล หัวหน้ากลุ่มงานระบบโทรมาตร กองสารสนเทศระบายน้ำ 14. นางสาวศิริประภัสร์ มินทมอน นักจัดการงานทั่วไป เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. เมื่อกรรมการมาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานกล่าวเปิดประชุมและ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง - ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักการระบายน้ำ ประธานกรรมการ ขอเชิญ ผู้แทนกองระบบคลอง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน ตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นายนิพนธ์ ศรีเรือง ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา พ.ศ. 2567 ของกองระบบคลอง ระบบคลอง 1 สรุปความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร ช่วงที่ 4 จากถนนแจ้งวัฒนะ ถึงถนนเทศบาลสงเคราะห์ ผู้รับจ้าง บริษัท พี.วาย.เอส.คอนสตรั๊คชั่น จำกัด เริ่มต้นสัญญา 4 ธันวาคม 2563 สิ้นสุดสัญญา 5 มิถุนายน 2566 (ระยะเวลา 914 วัน) วงเงินค่าก่อสร้าง 1,234,398,522.00 บาท พื้นที่ก่อสร้างเขื่อน - ความยาวเขื่อนที่ต้องการก่อสร้าง 10,700 เมตร - ส่งมอบแล้ว 3,970 เมตร คิดเป็น 37.10 เปอร์เซ็นต์ - แล้วเสร็จ 3,550 เมตร - พื้นที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 420 เมตร - มีชุดที่อยู่ระหว่างทำงาน จำนวน 3 ชุด การส่งมอบพื้นที่เพิ่มเติม อยู่ระหว่างรื้อย้ายบ้านรุกล้ำที่ชุมชนมิตรประชา คาดว่าจะได้พื้นที่อีก 300 เมตร ภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 ผลงานความก้าวหน้า 28.20 เปอร์เซ็นต์
- 3 - นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ คำว่า “ผลงานความก้าวหน้า 28.20 เปอร์เซ็นต์” หมายความว่าผลการ เลขานุการ ดำเนินงานเป็นไปตามแผนหรือล่าช้ากว่าแผน นายนิพนธ์ ศรีเรือง ความยาวเขื่อนที่ต้องการก่อสร้าง 10,700 เมตร แล้วเสร็จ 3,550 เมตร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา โครงการนี้ล่าช้ากว่าแผน ปัญหาอุปสรรคเนื่องจากโครงการนี้มีบ้านรุกล้ำลำคลองตลอดสาย ระบบคลอง 1 ประมาณ 1,700 หลังคาเรือน ปัจจุบันรื้อย้ายไปแล้วประมาณ 500 กว่าหลังคาเรือน ซึ่งประชาชนที่รื้อย้ายแล้วเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ เมื่อโครงการฯ เกิดความล่าช้า สำนักการระบายน้ำมีวิธีดำเนินการอย่างไร เลขานุการ นายนิพนธ์ ศรีเรือง การรื้อย้ายบ้านรุกล้ำจะต้องดำเนินการร่วมกับโครงการบ้านมั่นคงเป็นหลัก หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา เพราะในการช่วยเหลือเยียวยา รัฐบาลสนับสนุนมาทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ระบบคลอง 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในขั้นตอนของการรื้อย้ายจะ เริ่มจากการเจรจาทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และขอความร่วมมือในการ รวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์จากนั้นจะขอเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์เมื่อออกแบบบ้าน แล้วเสร็จ ก็จะต้องส่งให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อกรมธนารักษ์เห็นชอบ ก็จะขออนุญาตก่อสร้างที่สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานเขตพื้นที่อนุญาตจึงจะเริ่มรื้อถอนได้ ในส่วนที่รัฐบาลช่วยเหลือจะเป็นค่าเช่า 10 เดือนๆ ละ 3,000 บาท ในระหว่าง 10 เดือน ก็จะต้องก่อสร้างทั้งเขื่อนและบ้านมั่นคงไปพร้อมกัน หากเกิดปัญหาจากสภาพพื้นที่หรือ ปัญหาอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 10 เดือน พอช. จะต้องรับผิดชอบ โดยเพิ่มค่าเช่า เพราะไม่สามารถส่งมอบพื้นที่หรือไม่สามารถสร้างบ้านมั่นคงได้แต่ที่ผ่านมา สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 10 เดือน นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ ตามเอกสารไม่ได้มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความล่าช้า และปัญหา เลขานุการ อุปสรรคที่ทำให้เกิดความล่าช้า รวมทั้งกำหนดวันแล้วเสร็จ หลังจากที่มีการแก้ไขปัญหา อุปสรรคแล้ว นายนิพนธ์ ศรีเรือง สัญญาช่วงที่ 4 กำหนดแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ปัจจุบัน หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา อยู่ระหว่างพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาสัญญา ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากติดบ้านรุกล้ำ ไม่ใช่ ระบบคลอง 1 ความผิดชอบของผู้รับจ้าง แต่เป็นความผิดชอบของกรุงเทพมหานครที่ไม่สามารถส่งมอบ พื้นที่ได้โครงการนี้ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาสัญญา 300 วัน สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2567 โครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากรได้นำบทเรียนจากโครงการ ก่อสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าวมาปรับใช้ปัญหาหลักคือเรื่องการส่งมอบพื้นที่ เมื่อส่งมอบ พื้นที่ได้การก่อสร้างก็จะรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองลาดพร้าว ประธานกรรมการ โครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ช่วง ซึ่งมีบางช่วงที่ทำเสร็จแล้ว สำนักการระบายน้ำมีวิธีป้องกันไม่ให้กระเสน้ำกัดเซาะ ช่วงที่ทำเสร็จแล้วอย่างไร
- 4 - นายนิพนธ์ศรีเรือง ที่ผ่านมาเมื่อมีฝนตกหนักประมาณครึ่งชั่วโมง น้ำในคลองเปรมประชากร หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา ก็จะสูงขึ้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร และหากฝนตกหนักหนึ่งชั่วโมงน้ำก็จะท่วม ระบบคลอง 1 บ้านริมคลองประมาณครึ่งหัวเข่า พื้นที่นี้ไม่ได้เป็นพื้นที่พร่องน้ำ ปัจจุบันมีช่วงที่ทำเสร็จแล้ว คือช่วงวัดดอนเมืองลงมาทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนด้านเหนือจากรอยต่อจังหวัด ปทุมธานีลงมาประมาณ 600 เมตร และหลังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ประมาณ 400 เมตร ในภาพรวมยังทำได้ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์แต่จากการลงพื้นที่จะเห็นว่าคุณภาพน้ำและ การระบายน้ำดีขึ้น หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องขยะจากข้อมูลสถิติการเก็บขยะในคลองเปรมประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2559 ปริมาณการเก็บขยะประมาณ 15 ตันต่อวัน วันนี้ปริมาณขยะลดลงเหลือ 3 ตันต่อวัน สรุปความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร ช่วงที่ 3 จากถนนสรงประภา ถึงถนนแจ้งวัฒนะ ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปแมนต์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ สัญญา กรบ.สนน. 9/2565 เริ่มต้นสัญญา วันที่ 5 มีนาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา 22 กุมภาพันธ์ 2567 ระยะเวลา 720 วัน วงเงินค่าก่อสร้าง 1,063,439,000.00 บาท พื้นที่ก่อสร้างเขื่อน - ความยาวเขื่อนที่ต้องก่อสร้าง 10,000 เมตร - ส่งมอบพื้นที่แล้ว 2,650 เมตร จากทั้งหมด 10,000 เมตร - ส่งมอบพื้นที่ได้ คิดเป็น 26.50 เปอร์เซ็นต์ - ก่อสร้างเขื่อนแล้ว ความยาวประมาณ 1,650 เมตร - ปัจจุบันมีชุดที่กำลังทำงานก่อสร้าง จำนวน 2 ชุด - อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด - และมีแผนเข้าทำงานอีก 1 ชุด ในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2566 หมายเหตุ ชุมชนเปรมประชาพัฒนา พื้นที่เขตหลักสี่ ความยาวประมาณ 350 เมตร ปัจจุบันติดปัญหาอุปสรรคการขนย้ายเครื่องจักรและเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจาก ติดบ้านรุกล้ำทั้งสองฝั่งคลอง (ชุมชนทำนบร่วมใจ) รวมทั้งคลองมีสภาพแคบและตื้นเขิน ทั้งนี้ ชุมชนทำนบร่วมใจ อยู่ระหว่างการขอเช่าที่กับกรมธนารักษ์และ มีแผนรื้อย้ายในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งหากมีการรื้อย้ายจะทำให้สามารถเข้าทำงาน ที่ชุมชนเปรมประชาพัฒนาบริเวณดังกล่าวได้ รวมถึงสามารถส่งมอบพื้นที่เพิ่มเติมที่ชุมชน ทำนบร่วมใจได้ด้วย ผลงานความก้าวหน้า 13.55 เปอร์เซ็นต์ สรุปความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร ช่วงที่ 2 จากสุดเขตกรุงเทพมหานครถึงคลองบ้านใหม่ และจากหมู่บ้านแกรนด์คาแนล ถึงถนนสรงประภา เขตดอนเมือง ผู้รับจ้าง : บริษัท กรุงไทยสถาปัตย์ จำกัดเริ่มต้นสัญญา วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 สิ้นสุดสัญญา วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 (ระยะเวลา 540 วัน) วงเงินค่าก่อสร้าง 569,700,000.00 บาท การส่งมอบพื้นที่เพิ่มเติม อยู่ระหว่างการเจรจาสร้างความเข้าใจ ผลงานความก้าวหน้า 10.20 เปอร์เซ็นต์
- 5 - โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (ดาดท้องคลอง) คลองวัดทองเพลง จากบริเวณถนนเจริญนครถึงบริเวณวัดทองเพลง ปริมาณงาน - ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (ดาดท้องคลอง) ตามแบบเลขที่ AB.120004-01 ชนิดที่ 1 ความยาวประมาณ 500 เมตร - ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (ดาดท้องคลอง) ตามแบบเลขที่ AB.120004-01 ชนิดที่ 2 ความยาวประมาณ 1,200 เมตร - ก่อสร้างกำแพงกันดิน steel sheet pile ความยาวประมาณ 100 เมตร - ก่อสร้างพื้นดาดใต้สะพาน ค.ส.ล. จำนวน 1 แห่ง - ติดตั้งราวเหล็กกันตก ตามแบบเลขที่ R.15/1 ความยาวประมาณ 1,700 เมตร - ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน ตามแบบเลขที่ S.3 จำนวน 36 แห่ง - งานรื้อถอนคานทับหลังเขื่อนเดิม ค.ส.ล. ความยาวประมาณ 1,700 เมตร - งานก่อสร้างสะพานคนเดินข้าม ตามแบบเลขที่ D. 2009 จำนวน 4 แห่ง - งานติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง (เหมาจ่ายตามราคาประเมินของการไฟฟ้านครหลวง) ระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน (ปี 2566-2567) งบประมาณ 98,100,000.- บาท ก่อหนี้ 84,100,000 บาท ผู้รับจ้าง บจ.สุรีรัตน์คอนสตรัคชั่น กรบ.สนน.2/2566 ลว.18 เม.ย. 66 สิ้นสุด 12 ก.พ. 67 ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา แผนงาน 93 เปอร์เซ็นต์ผลงาน 35 เปอร์เซ็นต์บ้านรุกล้ำมี 3 หลังได้ดำเนินการรื้อย้ายทั้ง 3 หลังแล้ว ปัญหาอุปสรรค ติดแนวสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และแนวท่อประปา นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สำนักการระบายน้ำใช้วิธีการเจรจาหรือดำเนินการตามกฎหมายกับบ้านรุกล้ำ กรรมการ ที่ไม่ยินยอมรื้อย้าย นายนิพนธ์ ศรีเรือง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเจรจา ดำเนินการตามกฎหมายกับบ้านรุกล้ำน้อยมาก หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา ยกตัวอย่าง โครงการก่อสร้างเขื่อนคลองบ้านหลาย เขตพระโขนง มีบ้านรุกล้ำ 19 หลัง ระบบคลอง 1 เจราจารื้อย้ายได้ 17 หลัง ดำเนินการตามกฎหมาย 2 หลัง รายแรกเป็นบ้านของทนายความ มีที่ดินติดคลอง 12 ไร่ รุกล้ำเข้ามาในคลองเพียงบางส่วน ประมาณ 3 เมตร ไม่ได้กั้นรั้ว มีการทำลายหมุดที่ดิน เจ้าของที่ดินฟ้องร้องทุกศาล แต่กรุงเทพมหานครก็ชนะทุกศาล เนื่องจากมีรูปถ่ายสภาพเดิมของคลองอยู่ แต่เจ้าของที่ดินก็ยังไม่ยินยอมรื้อย้าย ยังเดินหน้า อุทธรณ์ต่อ อีกหนึ่งรายเป็นบ้านของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ส่วน 17 หลังที่ยินยอมรื้อย้าย กรุงเทพมหานครช่วยสนับสนุนในเรื่องการขนย้าย มีบางส่วนที่ขอให้ช่วยในเรื่องที่อยู่อาศัย ก็จะประสานการเคหะแห่งชาติซึ่งการเคหะฯ มีโครงการฯ ที่จังหวัดปทุมธานี และจะช่วย ดูแลเรื่องอาชีพ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเจรจา เพราะถ้าดำเนินการตามกฎหมายจะใช้ระยะ เวลานาน และภาครัฐก็ชนะอยู่แล้ว เพราะก่อนที่จะทำโครงการฯ ได้ทำการตรวจสอบ แนวเขตที่ดินร่วมกับกรมที่ดินและสำนักการโยธา
- 6 - โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบ้านใหม่ จากคลองเปรมประชากร ถึงบริเวณซอยเทิดราชัน 17 เขตดอนเมือง ปริมาณงาน ก. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ความยาวประมาณ 4,640 เมตร ข. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน ตามแบบเลขที่ S.4 จำนวน 94 แห่ง ค. ติดตั้งราวกันตก ตามแบบเลขที่ R.15/1 ความยาวประมาณ 4,640 เมตร ง. ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้าม จำนวน 3 แห่ง งบประมาณ 345,000,000.- บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 660 วัน (ปี 2567-2569) ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างกำหนดราคากลาง 15 พ.ย. 2566 – ปัจจุบัน โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบางตลาด จากบริเวณคลองประชา ถึงสถานีสูบน้ำคลองบางตลาด เขตหลักสี่ ปริมาณงาน ก. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบางตลาด ความยาวคลอง ประมาณ 1,720 เมตร ข. ปรับปรุงเขื่อน ค.ส.ล.เดิม เป็นดาดท้องคลอง ความยาวคลอง ประมาณ 800 เมตร ค. จัดหาสถานีโทรมาตรวัดระดับน้ำ ง. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน ตามแบบเลขที่ S.4 จำนวน 102 แห่ง จ. ติดตั้งผนังกั้นน้ำ พร้อมราวเหล็กกันตก ความยาว ประมาณ 5,040 เมตร ฉ. ปรับปรุงประตูระบายน้ำเดิม จำนวน 1 แห่ง งบประมาณ ทั้งโครงการ 280,000,000.- บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 420 วัน (ปี 2567-2568) ผลการดำเนินงาน เห็นชอบ TOR 7 พ.ย. 2566 อยู่ระหว่างกำหนดราคากลาง 7 พ.ย. 2566 – ปัจจุบัน โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองหัวหมาก จากคลองพระโขนง ถึงคลองลาว เขตสวนหลวง ปริมาณงาน ก. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองหัวหมาก ความยาวคลอง ประมาณ 2,050 เมตร ข. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน จำนวน 84 แห่ง ค. ติดตั้งราวเหล็ก กันตก ความยาวประมาณ 4,100 เมตร ง. จัดหาสถานีโทรมาตรวัดระดับน้ำ จำนวน 1 แห่ง จ. ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้าม จำนวน 6 แห่ง งบประมาณทั้งโครงการ 265,000,000.- บ าท ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน (ปี 2567-2568) ผลการ ดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 17 ต.ค. 2566 – ปัจจุบัน โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. และสถานีสูบน้ำคลองมหาศรจากบริเวณ คลองบางไผ่ถึงบริเวณคลองภาษีเจริญ เขตหนองแขม ปริมาณงาน ก.ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (สมอยึดด้านหลัง) ความยาวประมาณ 11,780 เมตร ข.ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. พร้อมดาดท้องคลอง ความยาวประมาณ 1,020 เมตร ค.ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้ามคลอง จำนวน 20 แห่ง ง.ติดตั้งราวเหล็กกันตก ริมเขื่อน ความยาวประมาณ 12,800 เมตร จ.ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน จำนวน 256 แห่ง ฉ.ก่อสร้างสถานีสูบน้ำขนาดอัตราการสูบ 12 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง ช.ก่อสร้าง ดาดท้องคลอง ค.ส.ล. ใต้สะพาน จำนวน 10 แห่ง ระยะเวลาดำเนินการ 1,200 วัน งบประมาณ 689,890,000.- บาท งบประมาณประจำปี ปี พ.ศ. 2567 จำนวน 40,000,000.- บาท ดำเนินการโดย ผู้รับจ้าง : บจ. กรุงไทย สถาปัตย์สัญญาเลขที่ กรบ.สนน. 2/2563 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 และบันทึกต่อท้ายสัญญา(ครั้งที่ 1) ลว.วันที่ 2 พ.ค. 2566 เริ่มต้น สัญญา 16 พ.ย. 2562 สิ้นสุดสัญญา 4 ส.ค. 2566 (อยู่ระหว่างแก้ไขรูปแบบ เนื่องจาก ติดปัญหาอุปสรรค) ผลการดำเนินงาน แผนงาน 100 เปอร์เซ็นต์ผลงาน 91 เปอร์เซ็นต์
- 7 - โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองสองต้นนุ่น จากบริเวณลำราง คลองสองต้นนุ่น ถึงคลองลำบึงขวาง เขตมีนบุรี ปริมาณงาน ก. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ความยาวประมาณ 2,000 เมตร ข. ติดตั้งราวเหล็กกันตก ความยาวประมาณ 2,000 เมตร ค. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน จำนวน 40 แห่ง ง. ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้าม จำนวน 4 แห่ง งบประมาณ ทั้งโครงการ 159,000,000.- บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างรายงานขอเห็นชอบดำเนินการด้วยวิธี e-bidding โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบำบึงขวาง จากบริเวณถนน ร่มเกล้า ถึงคลองสามประเวศ เขตมีนบุรี ปริมาณงาน ก. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ความยาวประมาณ 1,300 เมตร ข. ติดตั้งราวเหล็กกันตก ความยาวประมาณ 1,300 เมตร ค. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน จำนวน 28 แห่ง ง. ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้าม จำนวน 3 แห่ง งบประมาณ ทั้งโครงการ 99,500,000.- บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 360 วัน ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 17 ต.ค. 2566 – ปัจจุบัน โครงการก่อสร้างเขื่อนและปรับปรุงเขื่อน ค.ส.ล. คลองแสนแสบจาก บริเวณทางด่วนเฉลิมมหานคร ถึงบริเวณประตูระบายน้ำคลองตัน เขตห้วยขวาง, วัฒนา, ราชเทวี รายละเอียดโครงการ 1. ก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ตามแบบเลขที่ RB.151605-B ความยาวประมาณ 500 เมตร 2. ก่อสร้างสะพานทางเดิน ค.ส.ล. ตรงบริเวณเขื่อนค้ำหน้า ตามแบบเลขที่ WC.2010 ความยาวประมาณ 510 เมตร 3. ปรับปรุงขยายสะพานทางเดินเสาเดี่ยว ตามแบบเลขที่ IWC.2010 ความยาวประมาณ 1250 เมตร 4. สร้างสะพานทางเดินเหล็กใต้สะพาน ตามแบบเลขที่ SW.2500 ความยาว ประมาณ 60 เมตร 5. ปรับปรุงขยายเขื่อน ตามแบบเลขที่ IRB.2400 ความยาวประมาณ 1,955 เมตร 6. ก่อสร้างเขื่อนเข็มพืดเหล็ก ตามแบบเลขที่ SP.12002 ความยาวประมาณ 160 เมตร 7. ก่อสร้างสะพานเหล็กคนเดินข้ามคลอง ตามแบบเลขที่ SB.3/2 จำนวน 7 แห่ง 8. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน ตามแบบเลขที่ S.3 จำนวน 74 แห่ง 9. งานติดตั้ง ไฟฟ้าส่องสว่าง จำนวน 450 ต้น 10. ปรับปรุงขยายสะพานทางเดิน ตามแบบเลขที่ IWC.2400 ความยาวประมาณ 600 เมตร 11. ปรับปรุงบันไดขึ้น-ลง จำนวน 3 แห่ง 12. ขุดลอกคลอง ความยาว 9,500 เมตร ระยะเวลาดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2567 – พ.ศ. 2569 ระยะเวลาก่อสร้าง 720 วัน (24 เดือน) งบประมาณโครงการ 204,600,000.00- บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 16 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน งานปรับปรุงขยายเขื่อน ค.ส.ล. คลองแสนแสบ จากบริเวณถนน พระรามที่ 6 ถึงบริเวณสะพานเฉลิมหล้า 56 ความยาว 1,100 เมตร เขตราชเทวี รายละเอียดโครงการ 1. ปรับปรุงขยายเขื่อน ความยาวประมาณ 1,100 เมตร 2. ติดตั้งบันไดเหล็กหน้าเขื่อน จำนวน 22 แห่ง 3. งานซ่อมแซมแผงกันดิน ประมาณ 75 ช่อง 4. ก่อสร้างหลังคาทางเดินหลังเขื่อน ความ ยาวประมาณ 1,100 เมตร ระยะเวลาดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 270 วัน (9 เดือน) งบประมาณ โครงการ 24,430,000.00- บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างกำหนดราคากลาง 20 พ.ย. 2566 - ปัจจุบัน
- 8 - งานขุดลอกคลองพระโขนง จากทางพิเศษฉลองรัช ถึงคลองหนองบอน เขตวัฒนา, เขตสวนหลวง ปริมาณงาน ความกว้างประมาณ 20 – 40 เมตร ความยาวประมาณ 7,700 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิม ถึงระดับขุดลอกเฉลี่ย 1.00 เมตร ปริมาณดิน ประมาณ 55,580 ลบ.ม. ค่าระดับขุดลอก -4.50 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2555) ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ.2567 จำนวนเงิน 16,291,000.- บาท ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างรายงานขอเห็นชอบดำเนินการด้วยวิธี e-bidding ขุดลอกคลองสามเสน จากสถานีสูบน้ำคลองสามเสน ถึงสถานีสูบน้ำ บึงมักกะสัน เขตดุสิต, ราชเทวี, พญาไท, ดินแดง ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 5 - 30 เมตร ยาวประมาณ 6,200 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.74 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 53,000 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.50,-3.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2556) ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 15,563,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างรายงานขอเห็นชอบดำเนินการด้วยวิธี e-bidding ตอกเสาเข็มไม้กันดินพัง โครงการสวนป่าชุ่มน้ำบางกอก เขตบึงกุ่ม ปริมาณงาน งานตอกเสาเข็มไม้กันดินพัง ความยาวประมาณ 2,697 เมตร ค่าวัสดุ เสาเข็มไม้สน จำนวน 16,482 ต้น ค่าแรง จำนวน 16,482 ต้น งานถมดิน หลังแนวตอกเสาเข็มไม้กันดินพัง ค่าขุดลอกด้วยเรือขุด 5,400 ลบ.ม. ระยะเวลา ดำเนินการ 120 วัน งบประมาณปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 15,206,000.- บาท ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างรายงานขอเห็นชอบดำเนินการด้วยวิธี e-bidding ประธานกรรมการ สำนักการระบายน้ำใช้หลักการใดในการพิจารณาดำเนินการตอกเสาเข็มไม้ หรือได้รับการร้องเรียนจากประชาชน นายนิพนธ์ ศรีเรือง โครงการนี้เป็นโครงการที่ท่านผู้ว่าฯ มอบท่านรองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ดูแล หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา เพื่อพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นที่พักผ่อนในพื้นที่เขตบึงกุ่ม ระบบคลอง 1 ลอกดินเลนใต้สะพานท่อลอดถนนพหลโยธิน ถนนรามอินทรา ถนนนวมินทร์ บริเวณคลองรางอ้อรางแก้ว ลำรางข้างโรงท่อซีซีเอ็ม คลองกระเฉด คลองลำไผ่ คลองตาเร่ง คลองลำชะล่า จุดที่ 1 และจุดท ี่ 2 เขตบางเขน, บึงก่มุ , คันนายาว ปริมาณงาน ความกว้างประมาณ 3 – 20 เมตร - ความยาวประมาณ 35 – 70 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิม ถึงระดับขุดลอกเฉลี่ย 0.75 เมตร ระดับ ขุดลอก – 2.00 เมตร รทก. ปริมาณดินที่ขุดลอก 2,250 ลบ.ม. ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 8,500,000.- บาท ผลการดำเนินการ อยู่ระหว่างประกาศร่างรับฟังคำวิจารณ์ 22 – 27 พ.ย. 2566 ขุดลอกคลองเฉลิมชัยพัฒนา จากคลองสนามชัยถึงคลองหัวกระบือ เขตบางขุนเทียน
- 9 - ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 30 - 50 เมตร ยาวประมาณ 2,150 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.70 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 28,000 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.50 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2558) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 8,419,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 6 ต.ค. 2566 – ปัจจุบัน ขุดลอกคลองรอบกรุง (คลองบางลำพู) จากสถานีสูบน้ำบางลำพู ถึงคลองมหานาค เขตพระนคร ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 20 - 22 เมตร ยาวประมาณ 1,520 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.75 เมตร - ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 21,270 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.50 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2557) ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 7,829,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างประกาศร่างรับฟังคำวิจารณ์ 22 – 27 พ.ย. 2566 ขุดลองลอกคลองสาทร จากสถานีสูบน้ำคลองสาทรถึงถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 9 - 10 เมตร ยาวประมาณ 3,300 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.70 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 20,790 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2560) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 7,658,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่าง ประกาศร่างรับฟังคำวิจารณ์ 22 – 27 พ.ย. 2566 ขุดลอกคลองหัวกระบือ จากคลองเฉลิมชัยพัฒนาถึงคลองบางนา เขตบางขุนเทียน ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 5 - 35 เมตร ยาวประมาณ 2,134 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.70 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 17,750 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2555) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปีพ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 7,548,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 6 ต.ค. 2566 – ปัจจุบัน นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ มีรอบระยะเวลาในการขุดลอกคลองหรือไม่ เพราะจากข้อมูลบางคลอง เลขานุการ ขุดลอกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และบางคลองก็ขุดลอกเมื่อปี พ.ศ. 2560 หรือเป็นนโยบาย ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายนิพนธ์ ศรีเรือง คลองในกรุงเทพมหานครมีจำนวน 1,990 คลอง และมีคลองที่สำนักการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนา ระบายน้ำดูแล จำนวน 233 คลอง การขุดลอกคลองส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับงบประมาณ ระบบคลอง 1 อย่างไรก็ตามจะต้องสำรวจอีกครั้งว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องขุดลอกหรือไม่ เพราะบางคลอง
- 10 - ที่น้ำไหลด้วยความเร็ว การตกตะกอนดินก็จะน้อยกว่า โดยเฉลี่ยระยะการขุดลอกประมาณ 5 ปีถ้าดินตะกอนเกิน 50 เซนติเมตร จะอยู่ในแผนการขุดลอก และจะนำมาจัดลำดับ ความสำคัญอีกครั้ง เพราะจำกัดด้วยเรื่องของงบประมาณ ขุดลอกคลองบางระแนะ จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย เขตจอมทอง, ภาษีเจริญ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 4 - 12 เมตร ยาวประมาณ 3,797 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.80 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 23,290 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2558) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 7,037,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่าง กำหนดราคากลาง 20 พ.ย. 2566 – ปัจจุบัน ขุดลอกคลองบางหว้า จากคลองด่านถึงคลองบางจาก เขตจอมทอง, ภาษีเจริญ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 5 - 10 เมตร ยาวประมาณ 3,172 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 1.00 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 21,905 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -1.50 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2555) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 6,625,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 3 พ.ย. 2566 – ปัจจุบัน ขุดลอกคลองบางประทุน จากคลองสนามชัยถึงคลองบางระแนะ เขตจอมทอง, ภาษีเจริญ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 5 - 15 เมตร ยาวประมาณ 3,623 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.70 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 20,145 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2560) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 6,092,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่าง กำหนดราคากลาง 20 พ.ย. 2566 – ปัจจุบัน ขุดลอกคลองทับยาว จากคลองลัดทับยาว ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 15-20 เมตร ยาวประมาณ 6,200 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิม ถึงระดับขุดลอกคลอง (ความลึกเฉลี่ย 0.50 เมตร) ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 37,200 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอกคูน้ำ -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2555) ระยะเวลาดำเนินการ 60 วัน งบประมาณประจำปีพ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 4,280,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างจัดทำ TOR 6 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน ขุดลอกคลองแยกคลองบางซ่อน จากคลองส้มป่อยพระราม 6 ถึงคลองบางซ่อน เขตบางซื่อ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 6 - 25 เมตร ยาวประมาณ 731 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 1.68 เมตร
- 11 - ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 6,350 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2558) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 2,239,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 27 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2566 ยื่นข้อเสนอ 7 ธ.ค. 66 ขุดลอกคลองวัดไทร จากสถานีสูบน้ำคลองวัดไทรถึงคลองขวาง 3 เขตบางคอแหลม ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 4 - 7 เมตร ยาวประมาณ 1,090 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.60 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 4,578 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2558) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 1,614,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 22 - 29 พ.ย. 2566 ยื่นข้อเสนอ 30 พ.ย. 2566 ขุดลอกคลองบางซ่อน จากสถานีสูบน้ำคลองบางซ่อน ถึงคลองแยก คลองบางซ่อน เขตบางซื่อ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 6 - 17 เมตร ยาวประมาณ 998 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.45 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 3,130 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2560) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 1,100,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่าง รายงานขออนุมัติจ้าง บจก. สามพราน เครนเซอร์วิส วงเงิน 970,000.- บาท ขุดลอกคลองขวางบางโพ จากคลองบางซ่อน ถึงคลองบางโพขวาง เขตบางซื่อ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 3 - 8 เมตร ยาวประมาณ 462 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 1.28 เมตร ปริมาณ ดินที่ขุดลอก ประมาณ 2,160 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2553) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 760,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 27 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2566 ยื่นข้อเสนอ 7 ธ.ค. 2566 ขุดลอกคลองกระดาษ จากคลองแยกคลองบางซ่อน ถึงสุดระยะที่ กำหนด เขตบางซื่อ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 1 - 5 เมตร ยาวประมาณ 869 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 1.25 เมตร ปริมาณ ดินที่ขุดลอก ประมาณ 1,875 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2558) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 660,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 24 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2566 ยื่นข้อเสนอ 6 ธ.ค. 2566 ขุดลอกคลองวัดไผ่เงิน จากคลองขวาง 3 ถึงซอยจันทน์ 43 เขตบางคอแหลม ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 4 - 6 เมตร ยาวประมาณ 725 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาณ ดินที่ขุดลอก ประมาณ 1,650 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.)
- 12 - (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2557) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 581,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 24 พ.ย. – 4 ธ.ค. 2566 ยื่นข้อเสนอ 6 ธ.ค. 2566 ขุดลอกคลองบางโพขวาง จากคลองสถานีสูบน้ำคลองบางโพขวาง ถึงคลองขวางบางโพ เขตบางซื่อ ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 2 - 5 เมตร ยาวประมาณ 970 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 0.75 เมตร ปริมาณ ดินที่ขุดลอก ประมาณ 910 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอก ครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ.2553) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณประจำปีพ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 320,000 บาท ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างรายงานขอเห็นชอบ ดำเนินการวิธีเฉพาะเจาะจง ขุดลอกคลองขวาง 3 จากถนนแฉล้มนิมิตถึงคลองมะนาวเขตบางคอแหลม ปริมาณงาน ขุดลอกคลองกว้างประมาณ 2 - 6 เมตร ยาวประมาณ 1,668 เมตร ลึกจากระดับท้องคลองเดิมถึงระดับขุดลอกคลอง ความลึกเฉลี่ย 1.00 เมตร ปริมาณดินที่ขุดลอก ประมาณ 4,946 ลูกบาศก์เมตร ค่าระดับขุดลอก -2.00 เมตร (ร.ท.ก.) (ขุดลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ : พ.ศ. 2559) ระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวนเงิน 1,744,000 บาท ผลการดำเนินงาน ประกาศเชิญชวน 27 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2566 ยื่นข้อเสนอ 7 ธ.ค. 2566 มติที่ประชุม รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกองระบบคลอง โดยพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในเรื่อง ของบ้านรุกล้ำบริเวณโครงการก่อสร้าง และแนวเสา สายไฟฟ้า รวมทั้งแนวท่อประปา กีดขวางงานก่อสร้าง ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา - ปัญหาอุปสรรคจากความล่าช้าในการดำเนินโครงการก่อสร้างของ บริษัทผู้รับจ้าง (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์) ประธานกรรมการ สัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ได้เชิญสำนักการระบายน้ำเข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ จากข้อมูลที่สำนักงานพัฒนาระบบ ระบายน้ำรายงานพบว่าโครงการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ดำเนินงานล่าช้า หลายโครงการ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้เชิญห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์เข้าร่วม ประชุมวันนี้เพื่อชี้แจงปัญหาอุปสรรคที่ทำให้โครงการฯ เกิดความล่าช้า นายพีรพล กนกวลัย โครงการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ดำเนินการไม่ได้ล่าช้าเฉพาะ รองประธานกรรมการ โครงการของสำนักการระบายน้ำ ยังรวมไปถึงโครงการของสำนักการโยธา สาเหตุที่ทำให้ คนที่หนึ่ง โครงการล่าช้าเกิดจากบุคลากรไม่เพียงพอ เนื่องจากรับงานจำนวนมากใช่หรือไม่
- 13 - นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์รับงานราชการทั่วประเทศมากกว่า 10 ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม หน่วยงาน โครงการของสำนักการระบายน้ำจะมีโครงการก่อสร้างท่อขนส่งน้ำใต้ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พระรามที่ 6 จากคลองสามเสนลงสู่อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ สามประสิทธิ์ ระบายน้ำคลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว ถึงบริเวณ ซอยลาดพร้าว 130 สาเหตุที่ล่าช้าเกิดจากจะต้องเช่าพื้นที่เอกชนเพื่อที่จะใช้เป็นทางเข้า พื้นที่ก่อสร้างบริเวณคลองจั่น และในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา พบปัญหาในเรื่องของการ กีดขวางทางน้ำ จึงทำให้การก่อสร้าง Shaft บริเวณคลองจั่นล่าช้า ซึ่งได้สั่งผลิตหัวเจาะ อุโมงค์2 หัวเจาะ ยี่ห้อ TERRATEC จากต่างประเทศแล้ว โดยตัวเนื้องานจุดที่ล่าช้าที่สุด จะเป็นการก่อสร้าง Shaft และการเช่าพื้นที่เพื่อขนย้ายเครื่องจักรเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดงาน และได้เริ่มก่อสร้าง Shaft ตัวหลักทั้ง 2 ตัวแล้ว นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย ปัญหาที่สำนักการระบายน้ำได้แจ้งคณะกรรมการฯ คือ ผู้รับจ้างขาดบุคลากร กรรมการ ประจำโครงการ ซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลที่บริษัทผู้รับจ้างชี้แจง ขอทราบสาเหตุที่ทำให้เกิด ความล่าช้า เนื่องจากโครงการนี้ล่าช้ากว่าแผนงานถึง 68 เปอร์เซ็นต์ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ปัญหาแรก คือ เรื่องของบุคลากร เนื่องจากโครงการนี้ดำเนินการร่วมกับ ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม กิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีซึ่งจะใช้บุคลากรร่วมกัน โดย หจก. สามประสิทธิ์ จะดำเนินการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ในเรื่องของการเชื่อมหัวเจาะ การผลิต segment ต่างๆ ปัจจุบันได้ให้บุคลากรส่วนนี้มา สามประสิทธิ์ ทำงานที่โครงการก่อสร้าง และได้เตรียมบุคลากร หลังจากที่ก่อสร้าง Shaft โครงการของ การประปานครหลวงแล้วเสร็จ มาทำที่โครงการนี้ ประธานกรรมการ ขอทราบสัดส่วนการถือครองหุ้นของกิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีและอำนาจ เบ็ดเสร็จ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่ทั้งสองฝ่าย โดยจะแบ่งส่วนในการทำงานเท่าๆ กัน ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม แต่ในการดำเนินงานตามที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก หจก. สามประสิทธิ์จะทำในส่วนที่มี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประสบการณ์เช่น หัวเจาะ การผลิต segment การซื้อเครื่องจักรที่จากต่างประเทศ เพราะ สามประสิทธิ์ ต้องติดต่อเป็นประจำอยู่แล้ว และโครงการนี้ไม่ได้ใช้หัวเจาะอันเดียวกับที่ใช้ในงานของ การประปาฯ ประธานกรรมการ หมายความว่ากิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีรับเฉพาะงานของสำนักการระบายน้ำ โครงการนี้โครงการเดียว จดทะเบียนเพื่อรับงานนี้เท่านั้นใช่หรือไม่ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล โครงการนี้ดำเนินงานร่วมกัน ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ประธานกรรมการ เพื่อให้คณะกรรมการฯ มองเห็นภาพ หจก. สามประสิทธิ์ ได้เตรียม Gantt chart มาแสดงให้คณะกรรมการฯ ได้ดูหรือไม่
- 14 - นายพีรพล เพ็ชรตระกูล วันนี้ไม่ได้เตรียมไฟล์ข้อมูลมา ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ นายพีรพล กนกวลัย ข้อมูลจากเอกสารของสำนักการระบายน้ำพบว่าโครงการนี้มีผลงานเพียง รองประธานกรรมการ 4.51 เปอร์เซ็นต์ ล่าช้ากว่าแผนงาน 68.366 เปอร์เซ็นต์ซึ่งล่าช้ากว่าแผนงานมากและ คนที่หนึ่ง เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 169,678,988 บาท ซึ่งจำนวนเงิน มากกว่าปริมาณงานมาก และพบความผิดปกติคือปี 2566 แทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย โครงการนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-2566 ผ่านมา 3 ปี แล้ว ทำได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เนื้องานที่ทำในงานขุดเจาะอุโมงค์จะมีค่าเครื่องจักร ค่าตัวอุโมงค์ค่าขุดเจาะ ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ค่า Shaft ซึ่งกรุงเทพมหานครให้งบประมาณเพียง Shaft ละ 10 กว่าล้านบาท ที่ผ่านมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่เอกชน ทำ platform เปิดพื้นที่ Shaft ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้เบิกเงิน สามประสิทธิ์ เพราะกระบวนการในการเบิกเงินจะต้องทำให้แล้วเสร็จครบถ้วนจนถึงผลทดสอบ LAB จึงจะ สามารถเบิกเงินได้ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ประธานกรรมการ ขอทราบรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้า ตามข้อ 3 นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เป็นการเบิกค่าจ้างล่วงหน้า เพื่อใช้ในการซื้อหัวเจาะอุโมงค์ซึ่งราคา ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม หัวเจาะอุโมงค์ประมาณ 400 - 500 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ตามที่ หจก. สามประสิทธิ์ชี้แจงว่าลงทุนซื้อหัวเจาะอุโมงค์ราคาประมาณ กรรมการ 400 - 500 ล้านบาท ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมาชี้แจงคณะกรรมการฯ เพราะคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้สิ่งที่จะต้องชี้แจงคือผลงานตั้งแต่ปี2564 – ปัจจุบัน ลงทุนไป 400 – 500 ล้านบาท แต่ผลงานทำได้เพียง 4 เปอร์เซ็นต์วันนี้ข้อมูลที่เตรียมมา ยังไม่ครบถ้วน และสิ่งที่ตอบเป็นนามธรรม ขอเสนอที่ประชุมว่าควรให้หจก. สามประสิทธิ์กลับไปเตรียมข้อมูลมาชี้แจง คณะกรรมการฯ อีกครั้ง นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เมื่อสักครู่เรียนที่ประชุมว่าในการเบิกเงินค่าจ้างจะมีขั้นตอนในการเตรียม ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม เอกสาร ผลทดสอบ ซึ่งทั้งหมดทำไปแล้ว และจะต้องนำเอกสารผลทดสอบต่างๆ จาก LAB ห้างหุ้นส่วนจำกัด ของสถาบันกลางมาประกอบการเบิกเงินค่าจ้างในแต่ละขั้นตอน เนื้องานตามเอกสาร สามประสิทธิ์ เป็นไปตามที่เบิกเงินค่าจ้าง ไม่ใช่เนื้องานที่ทำได้จริง นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ หมายความว่าเนื้องานที่ทำได้จริงกับเนื้องานที่ส่งรายงานเพื่อเบิกค่าจ้าง เลขานุการ เป็นคนละเนื้องานใช่หรือไม่
- 15 - นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ผลงาน 4 เปอร์เซ็นต์คือเนื้องานที่เบิกเงินค่าจ้าง ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ ขอเอกสาร Gantt Chart หรือ Project Timeline เพื่อให้คณะกรรมการฯ เลขานุการ มั่นใจว่าจะสามารถเร่งรัดและทำให้ความก้าวหน้าของงานเป็นไปตามแผนงาน เพราะปัจจุบัน ล่าช้ากว่าแผนถึง 68 เปอร์เซ็นต์ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล เนื้องานอาจจะทำได้ไม่ถึง 68 เปอฺร์เซ็นต์เพราะ 4 - 5 เปอร์เซ็นต์คือ ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม เงินที่เบิกค่าจ้างล่วงหน้า แต่เนื้องานที่ทำแล้วจะเป็นกระบวนการผลิต การเตรียมเครื่องจักร ห้างหุ้นส่วนจำกัด และการเตรียมการ สามประสิทธิ์ นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ เข้าใจและเห็นด้วยกับท่านสุรจิตต์ฯ ว่าควรจะต้องให้ หจก. สามประสิทธิ์ เลขานุการ กลับไปเตรียมข้อมูล เพื่อให้คณะกรรมการฯ มั่นใจว่าผู้รับจ้างจะสามารถเร่งรัดให้ผลงาน เป็นไปตาม Project Timeline นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ขอทบทวนคำพูดของผู้มาชี้แจงว่าเงินค่าจ้างที่เบิกล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์ กรรมการ ประมาณ 170,000,000 บาท คือ ผลงานที่ทำได้4.25 เปอร์เซ็นต์ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ทำงานไปเยอะกว่านั้น เงินค่าจ้างล่วงหน้าจะใช้ในการเตรียมการ และใช้เงิน ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม 400-500 ล้านบาท ในการซื้อหัวเจาะ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ปัญหาคือ ผลงาน 4 เปอร์เซ็นต์กับการเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 169 ล้านบาท กรรมการ สอดคล้องกันใช่หรือไม่ นายพีรพล เพ็ชรตระกูล ผลงาน 4 เปอฺร์เซ็นต์น้อยกว่าเนื้องานที่ทำได้จริง ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย เมื่อสักครู่ หจก. สามประสิทธิ์ ให้ข้อมูลว่าดูแลในเรื่องของหัวเจาะ กรรมการ แล้วกิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีดำเนินการในส่วนใด เพื่อจะได้ทราบปัญหาว่า หจก. สามประสิทธิ์ หรือกิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีขาดบุคลากร และเพื่อให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้ง มีวิธีบริหารจัดการในเรื่องของบุคลากรอย่างไร
- 16 - นายพีรพล เพ็ชรตระกูล กิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีถือหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์หจก. สามประสิทธิ์ ถือหุ้น ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม 70 เปอร์เซ็นต์ตามที่ยื่นเสนอประมูลงาน การจัดโครงสร้างภายใน กิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอี ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะเป็นผู้จัดโครงสร้างหลักของบุคลากร ส่วน หจก. สามประสิทธิ์ จะเน้นในเรื่องของการจัดซื้อ สามประสิทธิ์ สนับสนุนทางด้านเทคนิค ในเรื่องของหัวเจาะอุโมงค์และการผลิต segment นายพีรพล กนกวลัย เมื่อสักครู่ หจก. สามประสิทธิ์ ชี้แจงว่างานที่ทำได้เกินกว่า 4 เปอร์เซ็นต์แล้ว รองประธานกรรมการ เพราะเหตุใดสำนักการระบายน้ำจึงไม่รายงานว่าส่วนที่ทำไปแล้วมีอะไรบ้าง และเหตุใดเนื้องาน คนที่หนึ่ง ทำได้เพียง 4.251 เปอร์เซ็นต์แต่บริษัทผู้รับจ้างชี้แจงว่าทำได้มากกว่า 4.251 เปอร์เซ็นต์ นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ เปอร์เซ็นต์ที่ลงในรายงานเป็นเปอร์เซ็นต์งานที่ทำได้ ยกตัวอย่าง การทำ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม Shaft หนึ่งตัว จะต้องทำให้ได้100 เปอร์เซ็นต์จึงจะรับมอบงาน ณ ปัจจุบันบริษัทผู้รับจ้าง ระบบระบายน้ำ ทำได้ 60 เปอร์เซ็นต์จึงไม่สามารถส่งมอบงานได้ทำให้เปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าผลงาน เท่าเดิม นายพีรพล กนกวลัย งานที่บริษัทผู้รับจ้างทำเกิน 4 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่ได้รับมอบมีอะไรบ้าง รองประธานกรรมการ สำนักการระบายน้ำจะต้องชี้แจง และขอทราบเหตุผลที่ไม่รับมอบงาน คนที่หนึ่ง นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ โครงการนี้ผู้รับจ้างเบิกเงินล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 169 ล้านบาท หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม สำนักการระบายน้ำได้ให้ผู้รับจ้างชี้แจงว่า 169 ล้านบาท ทำอะไรบ้าง มีเอกสารที่ผู้รับจ้าง ระบบระบายน้ำ ส่งให้สำนักการระบายน้ำ แต่วันนี้ไม่ได้เตรียมข้อมูลมา ยกตัวอย่าง เช่น 1. ใบมัดจำการผลิต หัวเจาะ 2 หัว ราคาประมาณ 300 ล้านบาท ต้องจ่าย 20 เปอร์เซ็นต์ของค่าผลิตหัวเจาะก่อน และในการทำงานที่คลองลาดพร้าว 130 จะต้องไล่รื้อที่พักของคนงานระบายน้ำ เพราะพื้นที่ โครงการฯ จะก่อสร้าง Shaft อาคารรับน้ำทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ 1. อาคารรับน้ำเข้าอุโมงค์ บริเวณปากซอยลาดพร้าว 130 2. อาคารรับน้ำเข้าอุโมงค์บริเวณคลองจั่น 3. อาคารรับน้ำ บริเวณเข้าอุโมงค์ บริเวณคลองเจ้าบุญสิงห์4. ปล่องอุโมงค์เพื่อต่อเชื่อมกับอุโมงค์ระบายน้ำ คลองแสนแสบเดิม นายพีรพล กนกวลัย ต้องซื้อหัวเจาะใหม่ทุกครั้งหรือไม่ รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ จะต้องสั่งซื้อใหม่ทุกครั้ง หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย ขอเอกสารข้อกำหนดขอบเขตงาน (TOR) โครงการนี้ รองประธานกรรมการ คนที่สอง
- 17 - นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ วันนี้ไม่ได้เตรียมข้อมูล TOR มา หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา รู้สึกเห็นใจผู้รับจ้าง เพราะวันนี้สำนักการระบายน้ำไม่ได้เตรียมข้อมูลมา กรรมการ ชี้แจง ขอทราบข้อมูลรายละเอียดการเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 170 ล้านบาท และข้อมูล รายละเอียดผลงานที่ผู้รับจ้างทำได้จริง นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ สำนักการระบายน้ำจะส่งข้อมูลให้ผู้ช่วยเลขานุการภายในวันศุกร์นี้ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ ประธานกรรมการ วันนี้ผู้รับจ้างไม่มีข้อมูลเป็นเอกสารมาให้คณะกรรมการฯ พิจารณา การประชุมครั้งต่อไป ขอให้ผู้รับจ้างเตรียมข้อมูลในสิ่งที่คณะกรรมการฯ ได้ขอให้เตรียม เพิ่มเติมสำหรับประกอบการพิจารณา นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย ขอเอกสารดังนี้ กรรมการ 1. ข้อกำหนดขอบเขตงาน (TOR) ของโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ คลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวถึงบริเวณซอย ลาดพร้าว 30 และทุกโครงการที่ หจก. สามประสิทธิ์ ดำเนินการ 2. แผนงานที่จะเร่งรัดโครงการนี้ให้แล้วเสร็จตามกำหนด (วันที่ 10 กันยายน 2567) 3. ผังบุคลากรทั้งหมดของบริษัทผู้รับจ้าง (กิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอี) และ แผนการเพิ่มบุคลากรทำงานในพื้นที่ นางสาวอังคณา หงส์คณานุเคราะห์ ขอให้ผู้รับจ้างนำ Gantt Chart หรือ Project Timeline มาแสดงให้ เลขานุการ คณะกรรมการฯ เห็นว่าแผนงานเป็นอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไร แผนงานที่จะเร่งรัดให้ โครงการนี้แล้วเสร็จตามกำหนด ผังบุคลากรทั้งหมดของกิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอีและ แผนงานที่ หจก. สามประสิทธิ์ จะสนับสนุนบุคลากรในการทำงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่างานจะแล้วเร็จตามกำหนด ตามเอกสารข้อมูลของสำนักการระบายน้ำแสดงให้เห็นว่าผู้รับจ้างเบิกเงิน ค่าจ้างล่วงหน้าไปแล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 169,878,988 บาท แต่ในตารางด้านขวา จะมีช่อง คำว่า “เบิกจ่าย “แสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้หจก. สามประสิทธิ์แล้วใช่หรือไม่ นอกจากได้ค่าจ้างล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์แล้วยังได้เงิน 148,506,400 บาท บวกกับ 84,939,494 บาท ใช่หรือไม่ นายพีรพล กนกวลัย นอกจากเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์แล้ว ในปีงบประมาณ รองประธานกรรมการ พ.ศ. 2564 ยังได้รับงบประมาณกรุงเทพมหานคร จำนวน 9,506,400 บาท และเงิน คนที่หนึ่ง อุดหนุนรัฐบาล จำนวน 9,506,400 บาท
- 18 - นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ งบประมาณปี พ.ศ. 2564 ทั้งงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงิน หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม อุดหนุนรัฐบาลยังไม่ได้เบิกจ่าย ระบบระบายน้ำ นายพีรพล กนกวลัย การรับงานลักษณะนี้จะต้องซื้อหัวเจาะใหม่ทุกครั้ง ไม่สามารถนำไปใช้ รองประธานกรรมการ กับโครงการอื่นใช่หรือไม่ คนที่หนึ่ง นายพีรพล เพ็ชรตระกูล แม้กระทั่งโครงการรถไฟฟ้าฯ ที่เจาะอุโมงค์sizing เดียวกัน ความเสี่ยง ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ในการเสียของเครื่องจักรที่ใช้ในการเจาะอุโมงค์ต้องเป็นศูนย์ เพราะอยู่ใต้ดินไม่สามารถกู้คืนได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนั้นเครื่องจักรที่ใช้ในการเจาะอุโมงค์ทั้งหมด จะต้องเป็นของใหม่ยกเว้นในบางจุดที่มี สามประสิทธิ์ ระยะสั้น เพราะค่าลงทุนหัวเจาะอุโมงค์จะสูงมาก งานอุโมงค์จึงต้องใช้หัวเจาะใหม่ทุกรอบ เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะขายซากคืนให้บริษัทผู้ผลิต นายพีรพล กนกวลัย คณะกรรมการฯ ต้องการทราบสาเหตุที่ทำให้โครงการล่าช้า เพื่อช่วย รองประธานกรรมการ หาแนวทางแก้ไข ไม่ใช่เฉพาะโครงการที่ หจก. สามประสิทธิ์รับดำเนินการเท่านั้น คนที่หนึ่ง โครงการของกรุงเทพมหานครมีอีกหลายโครงการที่มีความล่าช้า นายพีรพล เพ็ชรตระกูล การที่จะเข้าพื้นที่ทำงาน จะต้องเคลียร์จุดที่จะเข้างานก่อน ยกตัวอย่าง ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม โครงการนี้จะต้องไปหาพื้นที่เอกชนเพื่อเช่าเป็นจุดเข้า-ออก ในการขนย้ายวัสดุและเครื่องจักร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขนาดใหญ่เข้าไปในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อไม่ให้กระทบกับท่าเรือของประชาชน สามประสิทธิ์ นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและ หจก. สามประสิทธิ์ จะได้ไม่ต้องมา กรรมการ ชี้แจงกับคณะกรรมการฯ หลายครั้ง การประชุมครั้งต่อไป หจก. สามประสิทธิ์และ สำนักการระบายน้ำจะเตรียมข้อมูลใดบ้าง นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ เบื้องต้นสำนักการระบายน้ำจะเตรียมข้อมูล TOR รายละเอียดการใช้ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้รับจ้าง ผังบุคลากร ณ ปัจจุบันที่ผู้รับจ้าง ระบบระบายน้ำ และแผนงานของผู้รับจ้าง นายประพฤทธ์ หาญกิจจะกุล ขอให้สำนักการระบายน้ำส่งข้อมูลมาให้คณะกรรมการฯ ก่อนวันประชุม กรรมการ นายวิศิษฏ์วัฒนาเอี๊ยบพันธ์ จะส่งข้อมูลให้คณะกรรมการฯ ภายในวันศุกร์นี้ หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม ระบบระบายน้ำ
- 19 - นายพีรพล กนกวลัย ขอให้สำนักการระบายน้ำส่งข้อมูลให้คณะกรรมการฯ ทั้ง 3 โครงการ รองประธานกรรมการ ที่ หจก. สามประสิทธิ์ดำเนินการ คนที่หนึ่ง นายเนติภูมิ มิ่งรุจิราลัย ขอทราบข้อมูลงานที่ทำไปแล้วแต่ยังไม่ได้ตรวจรับ และแผนการ กรรมการ ดำเนินงานในภาพรวมทั้งหมด นายพีรพล เพ็ชรตระกูล หจก. สามประสิทธิ์ จะเตรียมแผนบุคลากร และแผนการทำงานมา ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม นำเสนอที่ประชุมในครั้งต่อไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ประธานกรรมการ ขอให้หจก. สามประสิทธิ์เตรียมข้อมูลงานที่ทำแล้วเสร็จ แต่ยังเบิกจ่าย ไม่ได้เพื่อที่คณะกรรมการฯ จะได้รับทราบปัญหาอุปสรรคที่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า ขอให้สำนักการระบายน้ำและ หจก. สามประสิทธิ์ กลับไปเตรียมข้อมูล ตามที่คณะกรรมการฯ ขอเพิ่มเติม ส่วนกำหนดวัน เวลาประชุมจะให้ผู้ช่วยเลขานุการประสาน แจ้งให้ทราบอีกครั้ง มติที่ประชุม คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าสำนักการระบายน้ำและห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์จะต้องส่งเอกสารเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาในประเด็นความล่าช้าในการ ดำเนินโครงการก่อสร้างของบริษัทผู้รับจ้าง ดังนี้1. รายละเอียด TOR ของโครงการก่อสร้าง อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวถึง บริเวณซอยลาดพร้าว 130 2. รายละเอียดการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 169,878,988.80 บาท 3. แผนงานที่จะเร่งรัดโครงการนี้ให้แล้วเสร็จ ตามกำหนด (วันที่ 10 กันยายน 2567) 4. ผังบุคลากรทั้งหมดของบริษัทผู้รับจ้าง (กิจการร่วมค้า เอสจี-พีซีอี) ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ นายพีรพล กนกวลัย ขอเอกสารโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย สำหรับคณะกรรมการฯ จำนวน รองประธานกรรมการ 3 ชุด คนที่หนึ่ง นายฉัตรชัย หมอดี พื้นที่โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเขตบางนา กรรมการ ใช่หรือไม่และได้ข้อสรุปหรือยังว่าจะก่อสร้างบนพื้นดินหรือใต้ดิน นายปกอบ บรรจงปรุ การออกแบบโครงการบำบัดน้ำเสียของสำนักการระบายน้ำจะเป็นโครงการ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการ ก่อสร้างใต้ดิน ส่วนพื้นที่ด้านบนจะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และจัดการตะกอน สำนักงานจัดการ คุณภาพน้ำ
- 20 - นายฉัตรชัย หมอดี ควรพัฒนาพื้นที่บริเวณนั้นให้เป็นศูนย์กีฬาให้กับประชาชนพื้นที่เขตบางนา กรรมการ เพราะพื้นที่เขตบางนามีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก และไม่มีสวนสาธารณะเลย ตาม Master Plan เดิม บริเวณนั้นจะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ เพราะโรงบำบัดน้ำเสียหลายแห่งสร้างมลพิษทางอากาศ ให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลิ่น เสียง ขอฝากสำนักการระบายน้ำว่า ควรก่อสร้างใต้ดิน เพราะบริเวณนั้นมีเนื้อที่มากพอที่จะใช้สอยให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่จะ ทำเป็นโรงบำบัดน้ำเสีย นายพีรพล กนกวลัย ขอทราบรายละเอียดโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย เช่น เรื่องสถานที่ตั้ง รองประธานกรรมการ การร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นต้น คนที่หนึ่ง นายปกอบ บรรจงปรุ เริ่มต้นโครงการได้รับสนับสนุนจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เดิมยังไม่มี หัวหน้ากลุ่มงานโครงการ ที่ดิน เวิลด์แบงก์ให้เงินมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย และสืบเนื่อง และจัดการตะกอน จากรัฐบาลในสมัยท่านอานันท์ ปันยารชุน ปี พ.ศ. 2535 ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นโรงบำบัดน้ำเสีย สำนักงานจัดการ ของบริษัทเอกชน คุณภาพน้ำ นายพีรพล กนกวลัย เสนอว่าควรเชิญผู้บริหารฯ เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบรายละเอียดข้อมูล รองประธานกรรมการ โครงการฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ คนที่หนึ่ง ที่ประชุม รับทราบ เลิกประชุมเวลา 11.30 น. (นางสาวจุฑามาศ พลสูงเนิน) ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้จดรายงานการประชุม