The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชน
ตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by patsakorn, 2023-11-13 22:29:35

โครงการ

โครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชน
ตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรี

Keywords: โครงการ

โครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชน ตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรี โดย นายภาสกร สุขสวัสดิ์ รหัส 64203190015 ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดลพบุรี กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2566


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในอดีตการสาวไหมทอผ้าและการสร้างลายบนหมี่สืบทอดวิธีการทำและกระบวนการการทอผ้าจากรุ่นสู่รุ่น เดิมเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนที่แพร่อิทธิพลกรรมวิธีการทำเครื่องนุ่งห่มจากเส้นรังไหมมาสู่ชาวไทยพวน จาก บันทึกหลักฐานและการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่และปราชญ์ชาวบ้าน ที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพ มาจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ซึ่งนอกเหนือจากทอไว้ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ยังมีการทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรม ประเพณีต่างๆ ตามความเชื่อทางศาสนาและสังคมในชุมชนของ ตนเอง จะพบว่าเกือบทุกหลังคาเรือนในอำเภอบ้านหมี่ จะมีกี่ หรือหูก อุปกรณ์สำหรับใช้ทอผ้า เป็นเพราะภูมิ ปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในปัจจุบันชุมชนตำบลบ้านทรายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เมื่อว่างจากการทำงานผู้ชายส่วน จะหาปลาไปขายพอเหลือจากการขายนำปลาประกอบอาหารหรือนำมาทำปลาส้มฟักเก็บไว้เป็นการถนอมอาหาร อย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ส่วนผู้หญิงทำงานบ้านปลูกผักเกือบทุกครัวเรือนจะถูกสอนจากพ่อแม่ให้ปลูกม่อนเลี้ยง หนอนไหมทอผ้าใช้เอง เมื่อทำเป็นจำนวนมากเหลือจากการทำเครื่องนุ่งห่ม จึงนำปลาส้มฟักและผ้าทอไปจำหนาย ยังตัวเมือง เมื่อเป็นที่ต้องการจำนวนมากชุมชนตำบลบ้านทรายหันมาทอผ้ามัดหมี่ที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยพวน บ้านหมี่เป็นอาชีพหลักจนกลายเป็นธุรกิจชุมชนสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงยุคที่มีเทคโนโลยี เข้าถึงง่ายการติดต่อสื่อสารเป็นหนึ่งในปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์แต่ธุรกิจการทอผ้าไม่ถูกนำ มา พัฒนา ต่อ ยอดให้ทันต่อยุคสมัยทำให้ธุรกิจชุมชนตำบลบ้านทรายลดน้อยถอยลงเหลือไม่กี่หลังคาเรือนทำให้อัตลักษณ์ชุมชน ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จากสภาพปัญหาในปัจจุบันทำให้จังหวัดลพบุรีมีการส่งผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่ม ธุรกิจชุมชนตำบลบ้านทรายในเรื่องของรูปแบบลายผ้า เทคนิคการย้อม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีควา ม น่าสนใจเข้ากับยุคสมัยและเป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้หลากหลายกลุ่มมากขึ้นทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักใน เรื่องของการทอผ้าลำดับต้นๆของผลิตภัณฑ์สินค้าตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรี แต่การช่วยเลือของจังหวัดยังขาด บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโซเซียลมีเดียและการ วางแผนทางการตลาดที่พัฒนาก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การสั่งงานเทคโนโลยีผ่านโครงข่ายไร้สาย การผลิตสื่อดังกล่าวมีความไวและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทำให้ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญดังกล่าว จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำโครงการได้ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่ชุมชนตำบลบ้าน ทราย จังหวัดลพบุรีให้มีความนิยมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในยุคปัจจุบันมากขึ้นโดยผู้จัดทำโครงการได้ออกแบบ หนังสือรวบรวมรายการรูปแบบลวดลายผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย ออกแบบโปสเตอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์


2 ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชน ตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรีให้มีความ ทันสมัยและเป็นรูปแบบสากลมากขึ้น 1.2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1. เพื่อศึกษาปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์ของผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย 1.2.2. เพื่อศึกษาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่ใช้ออกแบบ 1.2.3. เพื่อเผยแพร่โครงการสู่ชุมชนตำบลบ้านทราย 1.3. สมมุติฐานของโครงการ 1.3.1. การจัดทำโครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชน ตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรีครั้งนี้มีสมมุติฐานคือ ออกแบบหนังสือรวบรวมรายการรูปแบบลวดลายผ้าทอมัดหมี่ ตำบลบ้านทราย ออกแบบโปสเตอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ จำนวน 1 ชิ้น เพื่อยกระดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความทันสมัยและเป็นรูปแบบสากลมากขึ้น 1.4. ขอบเขตของโครงการ 1.4.1. เนื้อหาการออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ รูปแบบและวิธีการยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้าน พวนชุมชนตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรี 1.4.2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.4.2.1. ด้านประชากรทั่วไป เพศชายหญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 18 ขึ้นไป ที่ทำแบบประเมิน ความพึงพอใจของโครงการ 1.4.2.2. ด้านกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาศิลปกรรม เพศชายหญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 16-20 ปี ที่ทำแบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสังเกตุและ แบบความพึงพอใจในการออกแบบ 1.4.3. ตัวแปรที่ศึกษา 1.4.3.1. ตัวแปรต้น การยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่ชุมชนตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรี 1.4.3.2. ตัวแปรตาม การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 1.4.4. ระยะเวลาในการทำโครงการ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566 สิ้นสุดโครงการวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2566 1.4.5. ขอบเขตสิ่งที่จัดทำ 1.4.5.1 ออกแบบหนังสือรวบรวมรายการรูปแบบลวดลายผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย(Catalog) และให้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจ 1.4.5.2 ออกแบบโปสเตอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่จำนวน 1 แผ่น


3 1.5. นิยามศัพท์เฉพาะ การออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย โดยถ่ายทอดผลงานผ่าน กระบวนการทางศิลปะ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทรายหรือบอกกล่าวให้ทราบของ เรื่องราวข่าวสารผ้าทอตำบลบ้านทราย ผ่านกระบวนการและเทคโนโลยีการพิมพ์หมึก สี หรือสารสังเคราะห์ที่ทำ ให้เกิดรูป อักษร หรือข้อความบนวัสดุต่างๆ การยกระดับ หมายถึง การทำให้ธุรกิจชุมชนตำบลบ้านทรายมีระดับหรือมาตรฐานสูงขึ้น ผ้าทอมัดหมี่ หมายถึง เป็นชื่อเรียกกรรมวิธีการสร้างลวดลายบนผืนผ้าแบบหนึ่งที่ชาวไทยพวนถ่ายทอดกัน มารุ่นสู่รุ่น มัดหมี่เกิดจากการมัดเส้นด้ายหรือเรียกว่าหมี่ เส้นใยที่ได้จากตัวไหมนำมาผ่านกระบวนการปั่นทำให้เกิด เส้นไหมเมื่อนำมารวมกันเยอะๆจะเรียกว่าเส้นหมี่ที่จะนำไปใช้ในการทอผืนผ้าโดยใช้เชือกปอมัดเส้นหมี่ให้เป็น เปลาะๆ ตามลวดลายที่กำหนดไว้ให้แน่นแล้วนำไปย้อมสีจากนั้นนำไปเข้ากี่และทอออกมาเป็นผืนผ้า 1.6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ได้ศึกษาปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์ของผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย 1.6.2. ได้ศึกษาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ 1.6.3. ได้เผยแพร่โครงการสู่ชุมชนตำบลบ้านทราย


4 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาโครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่ชุมชนตำ บลบ้าน หินปัก จังหวัดลพบุรีผู้วิจัยได้ศึกษาการออกแบบและปัญหาหรือเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 การออกแบบ 2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบ 2.1.2 หลักการเกี่ยวกับออกแบบ 2.1.3 ทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบ 2.1.4 องค์ประกอบการออกแบบ 2.2. องค์ประกอบศิลป์หมายถึง 2.2.1. ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ 2.2.2. หลักขององค์ประกอบศิลป์ 2.3 สื่อสิ่งพิมพ์ 2.3.1. ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ 2.3.2. บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ 2.3.3. ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ 2.4 รูปแบบและวิธีการยกระดับธุรกิจ 2.5. ผ้ามัดหมี่ตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรี 2.6. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 การออกแบบ การออกแบบ คืออะไร ซึ่งความหมายของคำว่า "ออกแบบ" นั้นถูกให้คำนิยาม หรือคำจำกัดความ ไว้ หลายรูปแบบมากมาย ตามความเข้าใจ การตีความหมาย และการสื่อสารออกมาด้วยตัวอักษรของแต่ละคน ตัวอย่างความหมายของการออกแบบ เช่น การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการ นั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์ และการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น การจะทำโต๊ะขึ้นมาซักหนึ่งตัว เราจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอน โดยต้องเริ่มต้นจาก การเลือกวัสดุที่จะใช้ในการทำโต๊ะนั้น ว่าจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม ในการยึดต่อระหว่างจุดต่างๆนั้นควรใช้ กาว ตะปู สกรู หรือใช้ข้อต่อแบบใด รู้ถึงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ความแข็งแรงและการรองรับน้ำหนักของโต๊ะ สามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม เป็นต้น


5 การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม และดูมีความแปลก ใหม่ขึ้น เช่น โต๊ะที่เราทำขึ้นมาใช้ เมื่อใช้ไปนานๆก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง หรือสี เราก็จัดการปรับปรุงให้เป็น รูปแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิม ทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมี หลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้ สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ เป็นศิลปะของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้าง ค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์ด้วย การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการ ดำรงชีวิตให้อยู่รอด และสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไข ปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้ ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความ พอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนด อย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้ มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อ ความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้น บางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้ วิรุฬ ตั้งเจริญ ได้พูดถึงหลักการออกแบบไว้อย่างมากมายที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ที่มีความแตกต่างกันออกไป แต่บทความนี้เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับ “นิยามความหมายของการออกแบบ” ที่อาจสร้างไอเดีย ความคิด สร้างสรรค์ ให้การออกแบบของท่านนั้นไม่มีสิ้นสุด สำหรับการออกแบบนั้น มีผู้นิยามความหมายของการออกแบบไว้หลายแนวทาง ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างมา ดังนี้ การออกแบบคือ กระบวนการสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งของมนุษย์ โดยมีทัศนธาตุและลักษณะของทัศนธาตุ เป็นองค์ประกอบ ใช้ในทฤษฎีต่างๆ เป็นแนวทางและใช้วัสดุนานาชนิดเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ โดยนัก ออกแบบจะต้องมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานขั้นตอนตลอดกระบวนการสร้างสรรค์ โดย มาโนช กงกะนันทน์.


6 การออกแบบคือ การวางแผนสร้างรูปแบบ โดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบ ให้สัมพันธ์กับ ประโยชน์ใช้สอย วัสดุและการผลิตสิ่งของที่ต้องการแบบนั้น โดย วิรุฬ ตั้งเจริญ โดย นวลน้อย บุญวงษ์ ได้สรุปขอบเขตของการออกแบบเป็น 2 แนวทาง ไว้ดังนี้ เป็นคำกริยา หมายถึง กระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดเป็นผลผลิต เป็นคำนาม หมายถึง ผลงานหรือผลิตผลที่เกิดขึ้นจากทั้ง 2 กระบวนการคือ (1.กระบวนการออกแบบซึ่ง ยังอยู่ในรูปของแนวความคิด แบบร่างตลอดจนต้นแบบ) (2.กระบวนการผลิตซึ่งอยู่ในรูปของผลผลิตที่เป็นวัตถุ สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ การออกแบบคือ กระบวนการทำงานของมนุษย์ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ซึ่งทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง หรือเกิดสิ่งใหม่อาจเป็นรูปแบบสองมิติหรือสามมิติ โดยกระบวนการทำงานนั้นมีการวางแผนในรูป ของแนวคิด และปฏิบัติการตามขั้นตอนที่ได้วางแผนนั้นออกมาเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อสนองต่อความต้องการของ ตนเอง และคนในสังคม สำหรับงานออกแบบนั้น เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับ วัตถุ ดังนั้นงานออกแบบจึงไม่อาจทำได้เพียงเพื่อความต้องการส่วนตน แต่จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสภาพแวดล้อมด้วย และสภาพแวดล้อมในที่นี้คือ สภาพวัตถุ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงานออกแบบกว้างๆ ได้ 3 ประเภทไว้ดังนี้ โดยวิ รุฬ ตั้งเจริญ. งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม เน้นผลงานทางด้านอารมณ์สะเทือนใจความรู้สึกสัมผัสในความงามแลคุณค่า ทัศนคติ ได้แก่ งานออกแบบทางทัศนศิลป์ ผู้สร้างงานประเภทนี้มักเรียกกันว่า "ศิลปิน" จะไม่เรียกนักออกแบบโดย มนูญ ไชยสมบูรณ์ งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร สำหรับงานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร จะเป็นงานที่เน้นการสื่อสารด้วยภาษาและภาพที่เป็นสากล สามารถรับรู้ ร่วมกันอาจเป็นงานพิมพ์หรือไม่ก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในทางความรู้ ความเข้าใจการชี้ชวนหรือ เรียกร้อง ได้แก่ งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานออกแบบโฆษณา งานออกแบบพาณิชยศิลป์ งานออกแบบสัญลักษ์และ เครื่องหมาย เป็นต้น งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย


7 สำหรับงานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย จะเป็นงานออกแบบที่เน้นประโยชน์ใช้สอยหรือประโยชน์ทางกายเป็น หลัก และมีคุณค่าทางความงามเป็นตัวผลักดันให้งานออกแบบน่าสนใจ น่าใช้สอย ได้แก่ งานหัตถกรรมเป็นงานที่ ทำด้วยมือ มีคุณค่าด้านความงาม แต่ก็มีประโยชน์ใช้สอย อย่างไรก็ตามงานออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นเครื่องไฟฟ้า และเครื่องจักรกลประกอบไว้ด้วย ตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้งานออกแบบต้องเกี่ยวข้องกับกลไกที่สลับซับซ้อน เป็นต้น สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามการออกแบบคือ เป็นกระบวนการของมนุษย์ ที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลง พัฒนาหรือออกแบบใหม่ มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานขั้นตอนตลอดกระบวนการสร้างสรรค์ 2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบ Design Thinking คืออะไร การคิดเชิงออกแบบ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้นำเสนอทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง ‘ปัญหาของผู้ใช้’ (users’ needs) คือสิ่งที่ ระบบ Design Thinking ต้องการค้นหาและแก้ใข โดยขั้นตอนการ ค้นหาส่วนมากก็คือการ ‘ถามคำถาม’ เกี่ยวกับ ผู้ใช้งาน ปัญหาของผู้ใช้ และวิธีการแก้ปัญหาปัจจุบัน สิ่งที่ทำให้คนนิยมใช้ Design Thinking ในการแก้ปัญหาก็ เพราะว่าระบบการคิดแบบ Design Thinking สนับสนุน ให้เราคิดนอกกรอบ เพื่อหา ‘วิธีแก้’ ปัญหาที่คนส่วนมาก คิดว่าทำไม่ได้ หรือเข้าใจว่า ‘สิ่งที่มีอยู่ปัจจุบันดีอยู่แล้ว’ ตัวอย่างการใช้งาน Design Thinking ที่คนพูดถึงเยอะ ที่สุดก็คือบริษัท ‘ให้เช่าที่พัก’ อย่าง AirBnB ในช่วงที่ AirBnB เปิดใหม่และกำลังย่ำแย่ มียอดขายแค่อาทิตย์ละหก พันบาท สิ่งที่เจ้าของบรษัทของ AirBnB ทำก็คือ ‘ออกไปคุยกับลูกค้า’ ให้ลูกค้าลองเล่นเว็บ AirBnB ให้ตัวเองดู หลังจากนั้นเจ้าของ AirBnB ก็ค้นพบปัญหาหลักที่ ทำให้ลูกค้าไม่เช่าห้องกับ AirBnB ‘ภาพไม่สวย’ ฟังดูอาจจะ ตลก แต่สำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่มีแค่วิศวะคอมอย่าง AirBnB เมื่อก่อน การออกไปคุยกับลูกค้า และ การค้นพบ ว่า ‘ต้องออกไปถ่ายภาพที่พักเอง’ ถือเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยทำกัน [‘ดูข้อมูลการใช้งานจากโค้ดหลังบ้านก็ ได้’ หรือ ‘ถ่ายรูปเองทำไม ไม่เห็น scalable เลย’] ใครจะไปคิดว่าการทำเรื่องง่ายๆ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทเท่าตัว.. แล้วรายได้ก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จน กลายเป็นบริษัทหลายพันล้านดอลล่าทุกวันนี้ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกปัญหาที่จะแก้ได้ ด้วยกล้องถ่ายรูปใหม่ ในหัวข้อ ถัดไปเรามาดูขั้นตอนทั้ง 5 ของ Design Thinking กัน หลักการ Design Thinking Process 5 ขั้นตอน กระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบทำง่ายๆ การสร้างนวัตกรรมเป็นสิ่งที่คนคิดว่า ‘ทำยาก’ และ ‘ไม่เป็นระบบ’ ในส่วนนี้เรามาดูกันว่า Design Thinking Process เป็นการพลิกวิธีคิดการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ และการสร้างนวัตกรรมได้อย่างไรบ้าง 2.1.1.1 Empathize เข้าใจ ขั้นตอนแรกของ Design Thinking ก็คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งา น Empathy (การเข้าอกเข้าใจ) คือการเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการ ผ่านการนำปัญหาของผู้ใช้งานมาเป็นจุดเริ่มต้น ขั้นตอนนี้เริ่มจากการสังเกตและการถามผู้ใช้งาน โดยเฉพาะคำว่า ‘ทำไม’ ซ้ำหลายๆรอบ คำถามหลักที่เราต้อง


8 ตอบก็คือ ‘ผู้ใช้คือใคร’ และ ‘ผู้ใช้ต้องการอะไร’ ข้อดีของ Empathize ก็คือการหาคำตอบจากศูนย์ โดยไม่ใช้ สมมติฐานหรืออคติส่วนตัว 2.1.1.2 Define นิยาม Define ก็คือการสรุปข้อมูลจากขั้นตอนที่แล้วเพื่ออธิบาย ‘ปัญหาของผู้ใช้’ ออกมา ให้ชัดเจนที่สุด การสรุป ปัญหาของผู้ใช้ที่ดีต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ‘ใคร’ ‘อะไร’ ‘ทำไม’ และบางครั้งก็ ‘เมื่อไร’ และ ‘ที่ไหน’ ด้วย เช่น ‘ลูกค้าอยากหาวิธีให้อาหารแมวเวลาที่ตัวเองไม่อยู่บ้าน’ หรือ ‘ลูกค้าเป็นแม่ลูกอ่อนที่ต้อง ออกไปซื้อของเข้า บ้านคนเดียว’ 2.1.1.3 Ideate สร้างสรรค์ Ideate เป็นขั้นตอนที่คนส่วนมากจำได้ดีที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนมีสีสันเยอะ มากครับ รูปที่เราเห็นประจำก็คือไวท์ บอร์ดที่มีโพสอิทหลายๆสีแปะไว้นั่นเอง ในขั้นตอนนี้ หากเรามีคนซัก 4-5 คนต่อหนึ่งกลุ่มก็ถือว่ากำลังดีเลย เพราะเราจะทำการ ‘ระดมสมอง’ ออกไอเดีย หาความคิดใหม่ๆ มาแก้ปัญหาที่ เราตั้งไว้ในข้อที่แล้ว ยิ่งเราสามารถออกไอเดียได้เยอะ สามารถ ‘คิดนอกกรอบ’ ได้ก็ยิ่งดีหลังจากนั้นเราก็ต้อง เลือกว่าไอเดียไหน ‘น่าทดลอง’ โดยอาจจะเลือกจากไอเดียที่น่าจะได้ผลที่สุด หรือ ทำได้จริง มากที่สุดก็ได้ เรา สามารถนำสองถึงสามไอเดียมารวมกันเป็นคำตอบเดียวกันก็ได้ 2.1.1.4 Prototype จำลอง ขั้นตอนนี้ก็คือสร้าง Prototype หรือแบบจำลอง เพื่อนำไอเดียที่ดีที่สุดจาก ข้อที่แล้วมา แล้วถามตัวเองว่า ‘สามารถช่วยตอบโจทย์ของผู้ใช้’ ได้ดีแค่ไหน (ก่อนที่จะนำไปทดลองในข้อต่อไป) ในช่วงแรก เราไม่ควรลงทุนหรือลงเวลามากในการสร้างแบบจำลอง เพราะสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากกว่าคือ การเรียนรู้เพื่อมาปรับปรุงเพิ่มเติมในอนาคต แบบจำลองที่ดีต้อง ‘สามารถแทนไอเดียที่คุณอยากจะนำเสนอได้’ และ ‘ทำให้คุณรู้ได้ว่าส่วนไหนของไอเดียที่ผู้ใช้ ชอบ หรือ ไม่ชอบ’ 2.1.1.5 Test ทดสอบ ข้อสำคัญของการทดสอบคือ การเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว คำว่าทดสอบอาจจะฟังดู เหมือนขั้นตอนสั้นๆ แต่ใน ความเป็นจริง เราต้องมีการ ‘ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไข’ ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้ คำตอบที่ดีที่สุด คำตอบที่คุณควร ได้ก็คือ ‘อะไรที่ผู้ใช้ชอบ’ และ ‘อะไรที่เราต้องปรับปรุง’ หากในขั้นตอนนี่เราคิด ว่า ‘ไอเดียไม่สามารถไปต่อได้’ เราก็ต้องกลับไปดูไอเดียในขั้นตอนสาม (Ideate) ใหม่อีก รอบ Design Thinking และ นวัตกรรม [Design Thinking for Innovation] ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ อย่างแบงค์หรือบริษัทน้ำมันก็เริ่มให้ ความสนใจใน Design Thinking มากขึ้น สาเหตุก็เพราะว่า Design Thinking เป็นขั้นตอนที่มีระบบและมีควา ม เรียบง่าย เหมาะสำหรับการสร้าง Innovation หรือ นวัตกรรมในองค์กรขนาดใหญ่นั่นเอง สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Design Thinking 1 เวลาที่ทำขั้นตอน Ideate ส่วนระดมสมอง สิ่งที่สำคัญคือ ความหลากหลายของความคิด หาก เราสามารถหา คนจากหลายระดับผู้บริหาร หรือหลายตำแหน่งหน้าที่การงาน เราก็จะสามารถสร้า งไอเดียที่ หลากหลายและ แตกต่างได้เยอะมากกว่า 2 อีกหนึ่งประเด็นของ Design Thinking ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ‘คน ดำเนินงาน’ ครับ ในกรณีที่คนส่วนมากไม่เคย ทำ Design Thinking มาก่อน เราควรจะมีคนกลางหนึ่งคนไว้ ดำเนินงานเพื่อผลักดันให้แต่ละคนสามารถออกความ คิดเห็นหรือมองในมุมมองคนอื่นที่ตัวเองอาจจะไม่ได้คิดมา ก่อน แล้วก็เป็นพิธีกรรายการ Design Thinking ก็ได้3 อีกจุดที่สำคัญในการทำ Design Thinking ก็คือ


9 ‘ความเร็ว’ เช่นเราควรจำกัดเวลาให้คนออกไอเดีย ให้คน ระดมสมอง เพื่อบังคับให้คน ‘ไม่กรองความคิด’ ตัวเอง ออกไปก่อนที่จะแบ่งปันกันคนอื่น และขั้นตอนการทำ แบบจำลองและการทดสอบก็ควรจะทำให้เร็วเพื่อให้เรา สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้เร็วที่สุดเช่นกัน 4 ‘เด็ก’ เป็นคนที่เหมาะสำหรับการจับมาเข้าร่วม Design Thinking มาก เพราะเป็นคนที่มี empathy กับ ความคิดสร้างสรรค์เยอะ และไม่ถูกจำกัดด้วยคำว่า ‘เป็นไปไม่ได้’ และ ‘ไม่น่าจะทำได้’ 5 หลายองค์กรนำ Design Thinking มาใช้พัฒนาการจัดการการดำเนินงานและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์เพราะ สองส่วนนี้มีปัจจัยมนุษย์เยอะ ทำให้เหมาะกับการระด มสมอง สร้างไอเดียใหม่ (Operations Management & Human Resource Development) สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบคือการคิดเชิงออกแบบ โดยการทำความเข้าใจ ปัญหาของผู้ใช้และนำเสนอทางแก้ไขปัญหาที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์จำลองและทดสอบ 2.1.2 หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ wynnsoftstudio.comได้อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบไว้ว่า หลักการของการออกแบบถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ สำคัญ เพราะถ้าจะออกแบบหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ออกมาสวยและเป็นที่น่าพอใจ จำเป็นที่จะต้องรู้หลักการ วิธีการ เพื่อความง่ายในการออกแบบ และผลงานออกมาดีโดยไม่จำเป็นที่จะต้องลองผิดลองถูกหลายครั้ง ถ้าหาก ผสมผสานกับประสบการณ์ที่มีด้วยผลงานก็ยิ่งออกมาดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามงานศิลปะนั้นไม่มีถูกมีผิดซึ่งอยู่ที่มุมมอง ของแต่ละบุคคล หลักการออกแบบมีอยู่ 9 อย่าง ดังนี้ 2.1.2.1 การซ้ำ ( Repetition) 2.1.2.2 เอกภพ ( unity) 2.1.2.3 จังหวะ (rhythm) 2.1.2.4 การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis) 2.1.2.5 ความลึก / ระยะ ( Perspective) 2.1.2.6 ความขัดแย้ง (Contrast) 2.1.2.7 ความกลมกลืน ( Harmony ) 2.1.2.8 เส้นแย้ง ( opposition) 2.1.2.9 ความสมดุล ( balance) (1) การซ้ำ ( Repetition ) ในส่วนของการปรากฏตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นเป็น การรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยู่ฝ่ายเดียวเข้าด้วยกัน เช่น การซ้ำของน้ำหนักเทา การซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกัน การซ้ำ ของน้ำหนักตำ และการซ้ำของเส้นตั้ง


10 ซึ่งการซ้ำนั้นสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เช่น ลวดลายผ้า และกราฟิกบนบรรจุ ภัณฑ์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญของการซ้ำก็คือ ส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำ เพื่อใช้ เป็นข้อมูล ในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกัน (2) ความเป็นหน่วย / เอกภพ ( Unity) เรากำลังจะบอกว่า ในการออกแบบนั้น ผู้ที่ออกแบบ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงาน นั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักการนี้เช่นเดียวกัน การสร้างเอกภพในทางปฏิบัติมี 2 แบบ Dynamic unity เป็นการเน้นไปทางอ่อนไหวการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่รูปในลักษณะ gradation or harmony or contrast อย่างใดอย่างหนึ่งให้แสดงออกมาจากงานชิ้นนั้นด้วยจะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น การจัด องค์ประกอบที่ดีนั้นควรให้ส่วนประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกกระจาย การรวมตัวกันจะทำให้เกิด หน่วย หรือเอกภพ จะได้ส่วนประธานเป็นจุดสนใจิและมีส่วนประกอบต่างๆิให้น่าสนใจ Static unity การจัดกลุ่มของ from และ shape ที่แข็ง เช่น รูปทรงเรขาคณิต จะให้ผลทรงพลัง เด็ดขาด แข็งแรง และ แน่นอน (3) จังหวะ (Rhythm) ซึ่งในส่วนของจังหวะมักจะเกิดจากการต่อเนื่องหรือซ้ำกัน ดังนั้น จังหวะที่ ดีทำให้ภาพดูสนุก เปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบ แบ่งจังหวะ เป็น 4 แบบนั้นก็คือ จังหวะจากเล็กไปใหญ่ หรือจากใหญ่ไปเล็ก เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกันแต่มีขนาดต่างกัน โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่ หรือ จากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ จังหวะสลับกันแบบไม่คงที่ เป็นการนำองค์ประกอบของรูปที่ต่างกันมาสลับกันอย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรุ้สึกสนุกสนาน จังหวะสลับกันไปแบบคงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง เป็นชุด เป็นช่วง ให้ความรู้สึกเป็นระบบ สม่ำเสมอ ความแน่นอน จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆ กัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน ทำ ให้ดูมีระเบียบ ( order ) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น (4) การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis) ส่วนสำคัญในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำ คัญ หรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ หลักและวิธีในการใช้การเน้น เช่น เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา, เน้นด้วยขนาด, เน้นด้วยการใช้สี, เน้นด้วยการจัด กลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น, เน้นด้วยการประดับ, เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast เป็นต้น


11 (5)ความลึกระยะ ( Perspective) ความลึกนั้นจะทำให้ภาพดูสมจริง เช่น ภาพวัตถุใดอยู่ใกลัจะ ใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูง กว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา (6)ความขัดแย้ง (Contrast) ความขัดแย้ง (Contrast) ซึ่งหมายถึง ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ของ องค์ประกอบศิลป์ ทำให้ขาดความกลมกลืน ในเรื่องรูปทรง สี ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ขนาดลักษณะผิวที่ แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็นความกลมกลืน จึงจะทำให้งานออกแบบ มีคุณค่า ลักษณะของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งของรูปร่าง ความขัดแย้งของขนาดต่างๆ เป็นต้น (7)ความกลมกลืน ( Harmony ) ในส่วนของความกลมกลืนนั้น การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียง กันหรือคล้ายๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบดังต่อไปนี้ กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า และ โลโก้ กลมกลืนในองค์ประกอบได้แก่ กลมกลืนด้วยน้ำหนัก กลมกลืนด้วยรูปทรง – รูปร่าง กลมกลืนด้วยวัสดุ – พื้นผิว กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทนสีที่ใกล้กัน กลมกลืนด้วยขนาด – สัดส่วน กลมกลืนด้วยเส้น – ทิศทาง (8) เส้นแย้ง ( opposition) ในส่วนของ เส้นแย้ง ( opposition) เป็นการจัดองค์ประกอบโดย การนำเอาเส้นในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งฉากมาประกอบกันให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการ มีลักษณะของภาพและ เส้นแย้งในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา อยู่มากมาย นับได้ว่าเป็นรากฐานของการจัดองค์ประกอบ ดังนั้น การจัดองค์ประกอบเพื่อให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ทำให้ชวนมองนั่นเอง (9) ความสมดุล ( balance) ความสมดุล ( balance) ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance ) ด้านซ้ายและขวาจะ ไม่เหมือนกัน เมื่อมองดู แล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนัก และขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนและ ด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ค่าความเข้ม – จางของสีเป็นต้น สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำ ให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตร


12 beeacrylic.comได้อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบไว้ว่า เป็นสิ่งแรก และเป็นพื้นฐานที่สำ คัญใน การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะ เราจะเป็นต้องมีหลักการในการออกแบบผลงานของเรา ให้มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว มีจุดเด่นที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ (1) ความเป็นหน่วย / เอกภพ ( Unity) ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมี ความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้น ๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักการนี้ เช่นกัน รวมถึงการลงสีอะครีลิคอีกด้วย การสร้างเอกภพในทางปฎิบัติมี 2 แบบคือ Static unity การจัดกลุ่มของ from และ shape ที่แข็ง เช่น รูปทรงเรขาคณิต จะให้ผลทรงพลังเด็ดขาด แข็งแรก และ แน่นอน Dynamic unity เป็นการเน้นไปทางอ่อนไหวการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่รูปในลักษณะ gradation or harmony or contrastอย่างใดอย่างหนึ่งให้แสดงออกมาจากงานชิ้นนั้นด้วยจะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น การจัด องค์ประกอบที่ดีนั้นควรให้ส่วนประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกกระจาย การรวมตัวกันจะทำให้เกิด หน่วย หรือเอกภพ จะได้ส่วนประธานเป็นจุดสนใจ และมีส่วนประกอบต่างๆ ให้น่าสนใจ (2) ความสมดุล ( Balance ) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็นสมดุล แบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance)ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนัก แน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance )ด้านซ้ายและขวาจะ ไม่เหมือนกัน แต่มองดู แล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนัก และขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วย ความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม – จางของสีอะครีลิค เป็นต้น (3) การเน้นให้เกิดจุดเด่น (Emphasis ) ในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ หลักและวิธีในการใช้การเน้น เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast เน้นด้วยการประดับ เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น เน้นด้วยการใช้สีอะครีลิค เน้นด้วยขนาด เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา


13 ภาพที่ 1.1 หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ ที่มา https://shorturl.asia/ZU9Pg . ออนไลน์ (4) เส้นแย้ง ( Opposition) เป็นการจัดองค์ประกอบโดยการนำเอาเส้นในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งฉากมาประกอบกันให้เป็น เนื้อหาที่ต้องการ มีลักษณะของภาพแบบเส้นแย้งในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา อยู่มากมาย นับว่าเป็นรากฐานของการ จัดองค์ประกอบการจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุก ตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง (5) ความกลมกลืน ( Harmony ) การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆ แล้วอย่าลืมการจัดสีอะครีลิคกันมาจัดภาพทำให้เกิดความ นุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบดังนี้ A. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน B. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า และ โลโก C. กลมกลืนในองค์ประกอบได้แก่ กลมกลืนด้วยเส้น – ทิศทาง กลมกลืนด้วยรูปทรง – รูปร่าง กลมกลืนด้วยวัสดุ – พื้นผิว กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทนสีที่ใกล้กัน กลมกลืนด้วยขนาด – สัดส่วน กลมกลืนด้วยน้ำหนัก (6) จังหวะ (Rhythm) จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องกันหรือซ้ำซ้อนกัน จังหวะที่ดีทำให้ภาพดูสนุก เปรียบได้กับเสียงเพลงอัน ไพเราะในด้านการออกแบบ ในแบบสีอะครีลิคแบ่งจังหวะ เป็น 4 แบบคือ


14 จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆกัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน ทำ ให้ดูมีระเบียบ ( order ) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น จังหวะสลับกันไปแบบคงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง เป็นชุด เป็นช่วง ให้ความรู้สึกเป็นระบบ สม่ำเสมอ ความแน่นอน จังหวะสลับกันไปแบบไม่คงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกัน อย่างอิสระ ทั้ง ขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรุ้สึกสนุกสนาน จังหวะจากเล็กไปใหญ่ หรือจากใหญ่ไปเล็ก เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกันแต่มีขนาดต่างกัน โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่ หรือ จากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ ภาพที่ 1.2 หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ ที่มา https://shorturl.asia/rVlZo . ออนไลน์ (7) ความลึก / ระยะ ( Perspective ) ให้ภาพดูสมจริง คือ ภาพวัตถุใดอยู่ใกลัจะใหญ่ ถ้าอยุ่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ตต่ำกว่าระดับ สายตา (8) ความขัดแย้ง ( contrast ) ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ขององค์ประกอบศืลป์ ทำให้ ขาดความกลมกลืน ในเรื่องรูปทรง สี ขนาดลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี จะต้องลดความขัดแย้ง ดังกล่าว ให้เป็นความกลมกลืน จึงจะทำให้งานออกแบบมีคุณค่า ลักษณะของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งของ รูปร่าง ความขัดแย้งของขนาดต่างๆ เป็นต้น (9) การซ้ำ ( Repetition )


15 คือการปรากฎตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปเป็นการรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยูฝ่ายเดียวเข้า ด้วยกัน เช่น การซ้ำของน้ำหนักตำ การซ้ำของเส้นตั้ง การซ้ำของน้ำหนักเทา การซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกัน เป็น ต้น การซ้ำสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เช่น กราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ลวดลาย ผ้า เป็นต้น สิ่งสำคัญของการซ้ำ คือ ส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำ เพื่อใช้เป็น ข้อมูล ในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งการซ้ำสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 รูปแบบ การเรียงลำดับ ( Translation in step ) การสลับซ้าย – ขวา (Reflection about line ) การหมุนรอบจุด (Rotation about a point ) การสลับซ้าย – ขวา และหมุนรอบจุด (Reflection and rotation) การสลับซ้ายขวา และเรียงลำดับ ( Reflection and translation ) การหมุนรอบจุด และเรียงลำดับ (Rotation and translation) การเรียงลำดับสลับจังหวะ (Reflection and alternate translation ) การผสมระหว่างเรียงลำดับ สลับจังหวะและหมุนรอบจุด ( Reflection, rotation and translation ) สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามหลักการเกี่ยวกับการออกแบบคือหลักการที่ใช้เพื่อที่จะรู้หลักการวิธีการ เพื่อ ความง่ายในการออกแบบทำให้ผลงานออกมาดีและถูกต้องตามหลักการ 2.1.3 องค์ประกอบการออกแบบ เนื่องจากการออกแบบมีอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งใช้หลายส่วนและหลายวิธีมาประกอบกัน หรือการ ออกแบบนั้นมาจากจินตนาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างผลงานให้ออกมาสวยงามและสื่อถึงสิ่งต่างๆ ที่เรา ต้องการให้ผู้คนที่ได้สัมผัสนั้นรับรู้ แต่ก่อนที่จะออกแบบชิ้นงาน เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “10 องค์ประกอบ พื้นฐานของการออกแบบ” กันก่อนครับเพื่อง่ายต่อการออกแบบชิ้นงานที่ต้องการ 2.1.3.1 ใช้เส้นในการออกแบบ (Lines) เป็นการใช้เส้นแบ่งพื้นที่และสร้างส่วนประกอบต่างๆ ขึ้นมา เพราะว่าเส้นแต่ละชนิดสามารถบ่งบอกถึง งานและอารมณ์ที่แตกต่างกันได้ 2.1.3.2 สี Colour ในส่วนนี้ เป็นสีที่กำหนด Mood And Tone ซึ่งจะสร้างความแตกต่างให้กับงานของเรา โดยจะอยู่ใน รูปแบบของ ผิว รูปทรง และเส้น ตัวหนังสือ และพื้นหนังต่างๆ นั่นเองครับ 2.1.3.3 รูปร่างต่างๆ Shape


16 โครงสร้างหรือรูปร่าง เป็นสิ่งที่สามารถช่วยให้สร้างความน่าสนใจให้กับชิ้นงานได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ หรือจะนำมาช่วยในการเน้นส่วนประกอบในการออกแบบ โดยรูปทรงและแบบจะมีความแตกต่างกันออกไป 2.1.3.4 พื้นที่ในชิ้นงาน Space เราสามารถใช้พื้นที่สร้างรูปทรงที่แปลกตาขึ้นมาได้ ซึ่งมักจะถูกนำไปใช้ในชิ้นงาน Logo หรือ งาน ออกแบบ ที่ต้องการจะแฝงความหมายเอาไว้นั่นเองครับ 2.1.3.5 พื้นผิว Texture พื้นผิวนั้นมีความแตกต่างกันออกไปแต่พื้นผิวสามารถสร้างลักษณะสามมิติให้กับงานได้ ซึ่งส่วนนี้จะ สร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาเสมือนจริงครับ 2.1.3.6 ตัวอักษร Typography อยากจะบอกว่าหลักการออกแบบนั้น โดยการเลือกสไตล์เป็นของตัวเองก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็น สิ่งที่บ่งบอกถึงอารมณ์ในชิ้นงานนั้นออกมานั่นเอง 2.1.3.7 ขนาดต่างๆ Scale / Size ในส่วนนี้เป็นการเล่นกับขนาดหรือรูปทรง หรือแม้แต่ตัวอักษรก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับชิ้นงานของ เรานั่นเองครับ 2.1.3.8 องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรอง Dominance and Emphasis เป็นการสร้างองค์ประกอบหลักที่เป็นจุดเด่นของงาน และสร้างองค์ประกอบรอง เพื่อที่จะส่งเสริมให้งาน ของเราดูมี Contrast และที่สำคัญสามารถช่วยให้องค์ประกอบหลักของเราดูเด่นขึ้นมา 2.1.3.9 สมดุล Balance การสร้างสมดุลให้กับงานถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ให้ลองสังเกตและมองไปรอบๆ ตัวของชิ้นงานคุณให้ดีๆ ถ้า รู้สึกว่าเอียงหรือดึงดูดสายตาไปทางส่วนมุมไหนมากจนเกินไป นั่นแสดงว่าสมดุลของงานคุณไม่ดี ให้ลองแก้ไขหรือ วางองค์ประกอบอะไรสักอย่างเข้าไปอีกด้าน 2.1.3.10 ต้องสอดคล้องกัน Harmony ในส่วนนี้องค์ประกอบรายละเอียดของงาน ก็ควรที่จะมีความสอดคล้องกัน ไปด้วยกันได้ และไม่ขัดกัน ซึ่ง จะทำให้งานออกแบบของเรานั้นสมบูรณ์ที่สุด สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามองค์ประกอบการออกแบบคือองค์ประกอบต่างๆในงานออกแบบเพื่อส่งเสริม ให้งานดูสวยงามและสมบรูณ์มากที่สุด 2.2.องค์ประกอบศิลป์ การจัดองค์ประกอบศิลป์ หรือ Composition คือ การนำ จุด เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก เข้ม – อ่อน พื้นที่ว่าง และพื้นผิว มาจัดวางรวมกันอย่างสมดุลตามหลักการจัดองค์ประกอบ เพื่อนำเสนอให้งาน ออกแบบสามารถสื่อสารให้กับผู้ชมได้ดีที่สุด รวมทั้งเป็นการนำเสนอคุณค่าของงานให้มากขึ้น โดยหลักการการจัด


17 องค์ประกอบเหล่านี้สามารถใช้ได้กับงานออกแบบทุกประเภท ทั้งงานออกแบบทั่วไป ภาพประกอบ การ์ตูน แอนิ เมชั่น โมชั่นกราฟิก งานภาพถ่าย และอื่น ๆ 2.2.1 เอกภาพ (Unity) เอกภาพ คือ ความเป็นหนึ่งเดียวของการจัดองค์ประกอบ เป็นการจัดวางเพื่อสื่อสารให้เนื้อหาประสานกัน และเป็นไปในทางเดียวกัน โดยสามารถนำเสนอเอกภาพออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ เอกภาพของการแสดงออก เอกภาพของการแสดงออก คือ การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อนำเสนอและสื่อสารออกมาในสิ่งที่ต้องการ โดยมุ่งไปในเป้าหมายเดียวอย่างแน่วแน่ โดยการใช้ องค์ประกอบให้มีความหมายที่ล้อไปทางเดียวกัน เอกภาพของรูปทรง เอกภาพของรูปทรง คือ การจัดองค์ประกอบโดยนำเสนอแนวคิดออกมา ผ่านการจัด วางอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น จุด เส้น สี แสง – เงา รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักเข้ม – อ่อน พื้นที่ว่าง หรือพื้นผิวก็ ตาม โดยสามารถจัดวางได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ การจัดวางแบบขัดแย้ง เป็นการจัดองค์ประกอบให้ขัดแย้งกันด้วยรูปร่าง ขนาด ทิศทางและที่ว่าง การจัดวางแบบประสาน เป็นการจัดองค์ประกอบให้กลมกลืนแม้ว่าจะมีรูปร่าง ขนาดและทิศทางที่ แตกต่างกัน นิยมใช้มากโดยการใช้สีในการประสานองค์ประกอบ หรือการทำซ้ำ 2.2.2 ความสมดุล (Balance) ความสมดุล คือ น้ำหนักที่เท่ากันของงาน โดยจะไม่เอนเอียงไปทางซ้ายหรือขวา การจัดองค์ประกอบของ ตัวงานจะมีความเท่ากันทั้ง 2 ด้าน โดยความสมดุลสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ ความสมดุลแบบสมมาตร ความสมดุลแบบสมมาตร คือ ความสมดุลที่เกิดจากน้ำหนักที่เท่ากันทั้ง 2 ด้านซ้าย – ขวาของงาน โดยทั้ง 2 ด้านจะเหมือนกัน โดยแกนของน้ำหนักจะอยู่กึ่งกลางของภาพ สามารถพบได้ ง่ายตามงานสถาปัตยกรรม เช่น วัด พระราชวัง เป็นต้น ซึ่งความสมดุลแบบสมมาตรจะให้ความรู้สึกมั่นคง แต่ก็ แน่นิ่งและบางครั้งก็ดูน่าเกรงขาม ความสมดุลแบบอสมมาตร ความสมดุลแบบอสมมาตร คือ ความสมดุลที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นความสมดุลที่ ทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน แต่จะรู้สึกเท่ากันได้ด้วยความรู้สึก แกนของงานจะเปลี่ยนไปตามภาพนั้น ๆ โดยสามารถใช้สี ระยะห่าง และตำแหน่งมาสร้างงานแบบนี้ได้ 2.2.3 จังหวะ (Rhythm) จังหวะ คือ ช่วงความห่างและความสัมพันธ์ของการจัดองค์ประกอบ ที่นำมาวางให้ต่อเนื่องกัน มีความ สม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอ ขนาดเล็กไปใหญ่ จากสีอ่อนไปสีแก่ จากพื้นผิวเรียบไปพื้นผิวหยาบ มีรูปทรงที่ เหมือนกันและไม่เหมือนกันแต่ถูกจัดวางให้ต่อเนื่องกัน เป็นการทำซ้ำที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและความสวยงา ม สามารถใช้องค์ประกอบได้หลาย ไม่ว่าจะเป็น สี เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิวรวมถึงระยะห่างด้วยครับ 2.2.4 สัดส่วน (Proportion)


18 สัดส่วน คือ ความสัมพันธ์ของการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้ สัมพันธ์กันไม่ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นจะมีรูปร่าง รูปทรง สีและอื่น ๆ เป็นอย่างไรก็ตาม สัดส่วนสามารถแยกออก ได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ สัดส่วนตามมาตราฐาน สัดส่วนตามมาตราฐานคือสัดส่วนที่เมื่อแสดงออกมาแล้วเหมาะสม หรือสวยที่สุด ในรูปแบบของสิ่งนั้นครับ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พืช อาคาร หรืออะไรก็ตาม ในงานออกแบบที่เห็นได้ทั่วไป สัดส่วน มาตรฐานนั้นได้มาจาก Golden Ratio สัดส่วนทองคำที่ทำให้ทุกสิ่งสัมพันธ์กันได้และออกมาสวยที่สุด เป็นต้น สัดส่วนตามความรู้สึก สัดส่วนตามความรู้สึกไม่มีอะไรตายตัว แต่มักเป็นการออกแบบตามวิถี หรือ เอกลักษณ์ของคนบางกลุ่มในบางจังหวะของยุคสมัย โดยจะเน้นการสื่อถึงข้อความ สารที่ต้องการส่งออกไป อารมณ์ ความรู้สึกที่โดดเด่นออกมา สามารถพบได้ตามศิลปะประจำถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะของแอฟริกัน หรือ ศิลปะของกรีก – โรมัน 2.2.5 การเน้น (Emphasis) การเน้น คือ การทำให้องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งโดดเด่นออกมาท่ามกลางการจัดองค์ประกอบอื่น ๆ มากมาย เพื่อเป็นจุดรวมสายตา (Focal Point) ที่ใช้สื่อสาร สารสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยสามารถทำให้จุดนี้เด่น ขึ้นได้ด้วยขนาด สี หรือ พื้นผิว เพื่อให้เกิดเรื่องราวการนำเสนอนั้น ๆ 2.2.6 เส้น (Line) เส้น คือ จุดที่ถูกนำมาต่อ ๆ กันเป็นจำนวนมากจนเกิดความยาวกลายเป็นเส้น ทำหน้าที่ เป็นกรอบของ รูปร่างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยม วงกลม หลายเหลี่ยมและอื่น ๆ ทั้งยังสามารถใช้เส้นในการสื่อความหมายในการ ใช้งานแบบต่าง ๆ ได้ด้วย ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยเส้นจะมี 2 แบบหลัก ๆ ดังนี้ เส้นตรง เส้นตรง ให้ความรู้สึกที่มั่นคง สามารถนำมาทำเป็นเส้นแนวตั้ง เส้นแนวดิ่ง เส้นซิกแซก เส้นปะ โดยที่เส้นแต่ละแบบจะมีความหมายและจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกันแล้วแต่การจัดองค์ประกอบของงานนั้น เส้นโค้ง เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าเส้นตรง สามารถทำได้ทั้งเส้นโค้งเดียว หรือทำเป็นรูปร่างอย่าง เส้นโค้งก้นหอย รวมถึงสามารถทำเป็นเส้นโค้งจากการเขียนด้วยมือ ก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับ เส้นตรง 2.2.7 สี (Color) สี คือ สิ่งที่ใช้สื่อสารที่เห็นได้ง่ายที่สุด สีสามารถสื่ออารมณ์ได้หลายแบบและหลายมิติ สีสามารถแบ่งได้ เป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็น สามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่การใช้สีที่แตกต่างวรรณะกันทำให้ สื่อสารออกมาได้ง่ายและเห็นชัดที่สุด นอกจากนั้นสียังเป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบการจัดองค์ประกอบให้ประสานหรือ แปลกแยกได้เช่นกัน 2.2.8 วัสดุ (Material)


19 วัสดุ คือ พื้นผิวของตัวงานเป็นการจัดองค์ประกอบร่วมที่ใช้สื่อสารอารมณ์ของสิ่งที่จะนำเสนอ สามารถ สื่อสารถึงยุคสมัย สถานที่ หรือสถานการณ์ที่ตัวงานชิ้นนั้น ๆ ต้องการนำเสนอออกมา เป็นการสื่อสารทางอ้อมและ ทางตรง การใช้พื้นผิวเข้ามาช่วยทำให้งานโดดเด่นหรือกลมกลืนได้ด้วย มักพบได้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองาน ประติมากรรมเป็นส่วนมาก 2.2.9 ทิศทาง (Direction) ทิศทาง คือ ส่วนที่ใช้กำหนดเป้าหมายของการจัดองค์ประกอบ เป็นส่วนเสริมที่ทำให้จุดเด่นของงานดู น่าสนใจมากขึ้นไปอีก เสริมให้ผู้เสพงานมองที่จุดรวมสายตาให้มากขึ้นและสนใจสิ่งรอบข้างให้น้อยลง ให้สื่อสาร สารที่ต้องการนำเสนอได้ดีขึ้น 2.2.10 พื้นที่ว่าง (Space) พื้นที่ว่าง คือ พื้นที่การเว้นว่างระหว่างองค์ประกอบกับองค์ประกอบด้วยกันเอง เป็นการใช้พื้นที่ว่างใน การสื่อสารสารบางอย่าง การใช้พื้นที่ว่างมักใช้กับงานบางแบบ เช่น Minimalism ที่จะสื่อสารด้วยพื้นที่ว่าง มากกว่าการวางองค์ประกอบให้เต็มพื้นที่ของงาน รวมถึงพื้นที่ว่างยังทำให้การจัดองค์ประกอบมีระยะห่างทำ ให้ งานเกิดความสัมพันธ์ด้วยตัวงานเอง ทั้งหมดนี้การจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดวางในงานออกแบบ หรืองาน ประเภทอื่น เพื่อนำเสนอผลงานออกมาและสื่อสารไปได้อย่างตรงจุด เป็นการเพิ่มคุณค่าของงานด้วยเชิงศิลป์ อารมณ์ และความสวยงามให้มากขึ้น โดยอาศัยหลักการดังกล่าวเข้ามาช่วย แต่การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และประสบการณ์ ยิ่งฝึกใช้บ่อยก็จะเชี่ยวชาญ แต่ในบางลักษณะงานใช้เพียงข้อเดียวก็สามารถสื่อสารได้แล้ว ขึ้นอยู่กับความต้องการและความถนัดของแต่ละคน สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามองค์ประกอบศิลป์ คือ องค์ประที่ใช้ในการสร้างงานช่วยให้งานดูโดดเด่นและ เพิ่มมูลค่าให้กับผลงาน 2.3.สื่อสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาดภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกันสื่อ หมายถึง ผู้หรือ สิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกันพิมพ์ หมายถึง ถ่ายแบบ ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้น ให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงหมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆด้วยวิธีการต่างๆอันเกิดเป็นชิ้นงานที่ มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับ สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามสื่อสิ่งพิมพ์คือ วัตถุต่างๆที่นำไปใช้ในการพิมพ์เพื่อโฆษณา เชิญชวนหรือ ประชาสัมพันธุให้กับผู้คนทั่วไป 2.3.1.ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์


20 สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตาม ความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศ ในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภา พ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ สามารถตอบสนองควา ม ต้องการเหล่านั้นได้ สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่งซึ่ง มีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการ สนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4 ปี ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของ โลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศ ไทย ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2536 – 2537 (Tact Award) มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697 ชิ้น ทั้งนี้ เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ สรุปกลุ่มผู้จัดทำโครงการได้นิยามความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์คือเป็นเครื่องมือสื่อสารของสังคม ซึ่งช่วยให้ประโยชน์ ด้านทางการศึกษา ทำหน้าที่เป็นสื่อบันทึกภาพสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ความเชื่อถือ ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ ใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารทั้งในภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐบาล 2.3.2.บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อ สิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม สรุปกลุ่มผู้จัดทำโครงการได้นิยามบทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์คือเป็นเป็นเครื่องมือสื่อที่สามารถให้ทั้งควา มรู้ ข่าวสารต่างๆให้แก่สังคม 2.3.3.ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียนเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการใน ศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจ ความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้ อย่างถูกต้อง หนังสือบันเทิงคดีเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ ความ คิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน


21 วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่ โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่ แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มี กำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ สิ่งพิมพ์โฆษณา โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อ ง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการ นำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ ภาพที่ 1.3 หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ ที่มา https://shorturl.asia/fIGUJ . ออนไลน์ สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็น สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์ หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง


22 สิ่งพิมพ์มีค่า เป็น สื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติ, บัตรเครดิต, เช็คธนาคาร, ตั๋วแลกเงิน, หนังสือเดินทาง, โฉนด เป็นต้นสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เป็น สื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตร, บัตรอวยพร, ปฏิทิน,บัตร เชิญ,ใบส่งใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่แบ่งตามลักษณะและ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ 2.4 รูปแบบและวิธีการยกระดับธุรกิจ 2.4.1 ปรับปรุงตัวเองให้มีภาพลักษณ์ที่ดูดี การปรับตัวเองให้มีภาพลักษณ์ที่ดูดี ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่าง แรกเพราะมันคือหน้าตาของบริษัท สิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงเราคือ เว็บไซต์ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของ ผู้บริโภคว่าจะไปต่อหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตรงนี้ ถ้าหากหน้าเว็บไซต์ดูดีและเร็ว จะทำให้ผู้บริโภคเกิดควา มน่าสนใจ รู้สึกไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และควรเก็บทุกรายละเอียดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ถ้าคนสังเกตเห็นจะทำให้ เข้าใจว่าเราให้ความใส่ใจในทุกอย่าง เช่น การใช้ G Suite ในการอัพเกรด Gmail ให้สามารถใช้ชื่อของบริษัทได้ เช่น [email protected] หรือ การทำหน้า Landing page ให้เว็บเป็นที่น่าสนใจและยังช่วยเพิ่ม Quality Score ในการค้นหาอีกด้วย 2.4.2 รู้จักผู้บริโภคให้มากขึ้น ขั้นตอนนี้จะเป็นการเจาะลึกข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของคุณอย่างแท้จริง โดยการดูว่าหน้าไหนในเว็บไซต์ของคุณ ถูกเข้ามากที่สุด และเข้ามาทำอะไรบ้าง เข้ามาแล้วออกไปหรือมีการเข้า มาแล้วมีการดูอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปรับปรุงหน้าเว็บให้เอื้ออำนวยต่อวัตถุประสงค์ของกลุ่มเป้าหมายเรา และ ลดโอกาสในการตีกลับ อย่างเช่น เข้ามาจากบทความใน Facebook แล้วมีการดูบทความอื่นต่อแสดงว่า ข้อมูลที่ เรามีนั้นได้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ นอกจากนี้ควรเพิ่มช่องทางอื่น เช่น Line และ Twitter เพื่อเพิ่มโอกาสการมองเห็นและการเข้าถึงผู้บริโภคให้เขามีจุด Touch point ในแบรนด์เราได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น 2.4.3 ทำให้แบรนด์ดูน่าสนใจ Rebrand การสร้างภาพใหม่ ไม่ใช่การเปลี่ยนโลโก้และสีของแบรนด์คุณ แต่ เป็นการทำให้แบรนด์คุณมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น บางครั้งความได้เปรียบทางธุรกิจก็เกิดจา กการทำ ให้ รูปลักษณ์และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกของแบรนด์ว่ามีชีวิตชีวา จะกลายเป็นสิ่งทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ และ ถ้าหากมีการประชาสัมพันธ์อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย คนก็จะสังเกตเห็น ถึงการเปลี่ยนแปลงและทำให้คิดว่าก็ต้องมี อะไรใหม่ๆ มาแน่นอน ช่วยกระตุ้นต่อมความอยากรู้อยากเห็นในมนุษย์เรา เช่น Starbucks ที่มีการปรับเปลี่ยนรูป จนเหลือแค่รูปโดยที่ไม่ต้องมีข้อความ แค่เห็นโลโก้ทุกคนก็รู้จักว่าคือแบรนด์อะไร และไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ อะไรออกมาขอแค่มีโลโก้ของ Starbucks อยู่ก็กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนหวนหา 2.4.4 หาเครื่องมือช่วยในการผลิต การที่คุณมีเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะฟรีหรือไม่ฟรี ในการทำงานเกี่ยวกับ ออนไลน์ ถ้าสามารถดึงศักยภาพของเครื่องมือ ออกมาช่วยเหลือในการทำงานได้มาก ก็จะทำให้แบรนด์ของคุณก้าว ได้อย่างถูกจุดและมั่นคงมากขึ้น เพราะในแต่ละเครื่องมือนั้นจะมีข้อมูล Insight ที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม ช่องทาง


23 ช่วงเวลาการใช้งานของผู้บริโภค และเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น การทำงานบน Cloud จะช่วยทำให้ประหยัดเวลาและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับไฟล์งาน อาจะใช้โซลูชั่นของ G Suite เพื่อเปลี่ยนวิถีการทำงาน ใหม่ ทำงานร่วมกันได้อย่าง Real Time โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องลงโปรแกรม Office ก็สามารถใช้ Google Docs, Sheet, Slides แทนได้และหมดปัญหาการเปิดข้ามแพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเปิดจาก Windows หรือ mac OS ก็ใช้ได้เหมือนกัน และยังสามารถใช้ได้จากทุกที่ทุกเวลา สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามรูปแบบและวิธีการยกระดับธุรกิจคือ รูปแบบและกระบวนการต่างๆที่ช่วยใน การยกระดับธรุกิจ 2.5 ผ้ามัดหมี่ตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรี ผ้าทอมัดหมี่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และอารยธรรมของคนใน ท้องถิ่นตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษชาวไทยพวน ที่ อพยพจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งรกรากในประเทศไทย ที่นำเอาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดกันมา ชาวบ้าน ยังใช้ผ้าทอมัดหมี่สำหรับการนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ซึ่งการทอผ้ามัดหมี่แสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของ ชาวไทยพวนบ้านหมี่ ลวดลายและสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้าน วัฒนธรรมการแต่งกาย และคตินิยม จึงเป็นเสมือนกระจกเงา ที่สะท้อนให้เห็น วัฒนธรรม รสนิยม และความเป็นตัวแทนของท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นตน ผ้าทอมัดหมี่ เป็นการมัดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสี เพื่อให้เกิดสีสันและลวดลายตา มที่คน ทอเป็นผู้กำหนดไว้ คำว่า “ผ้ามัดหมี่” เป็นชื่อที่เรียกกรรมวิธีการทอผ้าอย่างหนึ่ง ที่นำเอาเส้นด้ายมา มัดเป็น เปลาะๆ ตามลายแล้วนำไปย้อมสีให้เกิดสีสัน และลวดลายตามที่ต้องการเรียกวิธีการมัดย้อม ซึ่งความงดงามและ ความเป็นเอกลักษณ์ของผ้ามัดหมี่ คือ รอยสีที่ค่อย ๆ ซึมในเนื้อผ้าที่ติดกับลวดลาย ทำให้ได้ลวดลายที่แปลกตา เพิ่มความงดงามและความมีเสน่ห์ให้แก่ผ้ามัดหมี่ ในสมัยก่อนจะทอกันในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากฤดูทำนา ผ้าที่นำมา ทอจะเป็นผ้าซิ่นลายมัดหมี่ ผ้าขาวม้า และเครื่องนุ่งห่ม เพื่อใช้ในครัวเรือน จากการสั่งสมประสบการณ์ที่ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าจากบรรพบุรุษและเรียนรู้ จากรุ่นสู่รุ่นนั้น อีกทั้งได้เล็งเห็นถึงคุณค่าในความงามของผ้าที่ทอและต้องการอนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาของชาวไทย พวน จึงได้มีการรวมกลุ่ม ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มสตรีอาสาบ้านพวน” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 เพื่อเป็นการสร้าง งาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน/หมู่บ้าน โดยแรกเริ่มมีสมาชิกก่อตั้ง จำนวน 30 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 75 คน สมาชิกถือหุ้นๆ ละ 100 บาท ซึ่งในแต่ละปีจะมีการปันผลทุกวันที่ 27 มีนาคมของทุกปี การบริหารจัดการกลุ่ม มีนางวนิดา รักพรม เป็นประธาน ซึ่งกลุ่มสตรีอาสาบ้านพวนได้ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 82 หมู่ที่ 10 ตำบลหินปัก อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันกลุ่มฯ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับมาตรฐานต่างๆ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์


24 ลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอมัดหมี่ของกลุ่มสตรีอาสาบ้านพวน เป็นการแสดงภูมิปัญญาเดิมของบรรพบุรุษ กล่าวคือ ใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ด้วยการทอด้วยมือ อันเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยพวน ผ้าทอ มัดหมี่ของกลุ่มสตรีอาสาบ้านพวนจะมีโดดเด่นโดยเน้นลวดลายโบราณ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ลายตะวันลับฟ้า ลายบัวศรี ลายเหลื่อมสลับลาย ซึ่งเป็นลายโบราณที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ อีกทั้งยังเน้นโทนสีที่มีความคลาสสิก และสีธรรมชาติ อีกทั้งมีลักษณะเด่น ดังต่อไปนี้ เนื้อผ้ามีความคงทน สีสันสวยงาม สีไม่ตก สวมใส่สบาย ลวดลายและการทอมีความประณีต เรียบสม่ำเสมอทั่วทั้งผืน การดูแลรักษาง่ายและสะดวกในการใช้ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ เป็นฝีมือที่ต้องอาศัยความประณีต ความอดทน ความพยายาม ความอุตสาหะ ซึ่ง เห็นได้จากความงดงามของลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาการทางความรู้ และ ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่ายิ่ง ความงาม ความซับซ้อน ของลวดลาย จึงทำให้ผ้าทอมัดหมี่มีคุณค่างดงาม และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง นับเป็นคุณค่าของ ความงดงามที่ยังคงหลงเหลือที่คนในชุมชนตำบลหินปักได้ร่วมมือกันอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริม ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านให้ยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับชุมชน ทำให้คนในชุมชน สมาชิกในกลุ่ม เกิด ความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบ มีความเห็นอกเห็นใจ กัน เกิดความไว้วางใจ รวมถึงทำให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่าย เชื่อมโยงงานซึ่งกันและกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมกันรับผลประโยชน์ มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักใคร่ สามัคคี และมีความสมานฉันท์ของคนในชุมชน รวมทั้งมีความอุตสาหะในการประกอบอาชีพ ยอมรับฟังควา ม คิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของคนไทยพวน อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้ให้กับสมาชิก และกลุ่มได้มี รายได้เพิ่มขึ้นจากการทอผ้ามัดหมี่ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเกิดการแลกเปลี่ยน หมุนเวียนทาง เศรษฐกิจ สรุปผู้จัดทำโครงการได้นิยามผ้ามัดหมี่ตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรีคือ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอด กันมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้มีการนำมาพัฒนาต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นในยุคปัจจุบัน


25 2.6.เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ได้วิจัยเรื่อง การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารการตลาดผ้าทอน้ำแร่ จังหวัดลำปาง วิจัยเรื่อง นี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องผ้าทอน้าแร่ ของกลุ่มน้ามอญแจ้ซ้อนจังหวัดลาปางและ2)เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ้าทอน้าแร่ของกลุ่มน้า มอญแจ้ซ้อนจังหวัดลาปางซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและวิธีการสนทนา กลุ่มประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรวมจานวนทั้งสิ้น 54คน ผลการวิจัยตอนที่ 1การเล่าเรื่องพบว่าการเล่าเรื่องที่ดีนั้นเป็นหัวใจสาคัญของการที่จะทาให้ผ้าทอน้าแร่ ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและยังเป็นการสร้างจุดเด่นกลบจุดด้อยของผ้าฝ้ายนั้นได้เป็นอย่างดีโดยสามารถแบ่ง ออกเป็น2ประการคือ1)การเล่าเรื่องจากกระบวนการผลิตได้แก่การใช้น้าแร่เป็นสารช่วยย้อมสีและการใช้สีย้อมผ้า จากธรรมชาติทั้งใบเหวครั่งและผลคาแสดและ2)การเล่าเรื่องจากเทคนิคของการทาลายผ้าและประวัติความเป็นมา ของลายผ้าทอน้าแร่โดยมีการพัฒนาลายผ้าทอคือลายไกจนได้ลายผ้าใหม่ที่เรียกว่าลายน้ามอญซึ่งกลายมา เป็น เอกลักษณ์ของชุมชนต่อไปและตอนที่2การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการนั้นพบว่ากลุ่มน้ามอญแจ้ซ้อนก็มี การใช้เครื่องการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการทั้ง5อย่างซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบถุงใส่สินค้าและในปัจจุบันจะให้น้าหนักการโฆษณาผ่านทางสื่อออนไลน์มากกว่า 2)การขายโดยใช้ พนักงานโดยหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้ขายสินค้าเองซึ่งก็เป็นผู้ที่มีความรู้และมีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็น อย่างดี3)การส่งเสริมการขายการจัดโปรโมชั่นอาจไม่มีผลมากนักเนื่องจากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่นั้นจะเป็นกลุ่ม เฉพาะที่สนใจซื้อมาใส่ 4)การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของภาครัฐให้มาก ขึ้นโดยเฉพาะละครแนวย้อนยุคมีการสวมใส่ชุดผ้าฝ้ายจะเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สร้างกระแสได้ดีและรวดเร็วและ 5) การตลาดทางตรงมีการใช้เว็บไซต์ nammorndesign.com Facebook และ Instagram เป็นช่องทางหลักใน การโฆษณาและประชาสัมพันธ์รวมทั้งการขายสินค้าต่างๆและมีการใช้การจัดกิจกรรมหรือการออกบูธแสดงสินค้า อีกด้วย วิรัตน์ ทรงทวีสิน และ ทักษ์ อุดมรัตน์ ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มอาชีพผ้า ทอมือจังหวัดเลย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการควา มรู้ของกลุ่ม อาชีพผ้าทอมือจังหวัดเลย 2) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้3) ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ วิธีด าเนินการ วิจัยในด้าน การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านผ้าทอมือจ านวน 11คน การร่างรูปแบบการจัดการความรู้ จากข้อมูลในตอนแรกบูรณาการกับกรอบแนวคิดทฤษฎีการจัดการ ความรู้ของ Marquardt 6 ขั้นตอน และแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ของ Nonaka and Takeuchi จนวน 4 ขั้นตอน ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ โดยการสัมมนาอิง ผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (̅) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า สภาพและปัญหาการจัดการความรู้สรุปเป็น 8 ด้าน คือ 1) การจัดทำ


26 ฐานข้อมูลความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การสร้างความรู้ 4) การจัดเก็บความรู้ 5) การวิเคราะห์และสกัด ความรู้6) การถ่ายโอนและเผยแพร่ 7) ประยุกต์และท าความรู้ให้ถูกต้อง 8) ปัจจัยแวดล้อม(ภายในและภายนอก) รูปแบบการจัดการความรู้ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 28 กิจกรรมผลการประเมินรูปแบบการจัดการควา มรู้ พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ มีความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมาก


27 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ในการศึกษาโครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน ชุมชนตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรีผู้จัดทำโครงการได้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์ของผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน ตำบลหินปัก เพื่อออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนผ่านการประชา สัมพันธ์ และเพื่อเผยแพร่โครงการสู่ชุมชนโดยมีรูปแบบวิธีดำเนินโครงการ ดังนี้ 3.1 ประชากรที่ศึกษา 3.2 ตัวแปรที่ศึกษา 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.. ประชากรที่ศึกษา 3.1.1 ด้านประชากรทั่วไป เพศชายและหญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 18-40 ปี ที่ทำแบบประเมินความ พึงพอใจของโครงการ 3.1.2 ด้านกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาศิลปกรรมเพศและชายหญิง จำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 16-20 ปี ที่ทำแบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสังเกตุและแบบควา มพึง พอใจในการออกแบบ 3.2. ตัวแปรที่ศึกษา 3.2.1. ตัวแปรต้นการยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวนชุมชนตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรี 3.2.1.1 ขอมูลพื้นฐาน ไดแก เพศ อายุสถานภาพผูตอบ 3.2.1.2 ลักษณะการขาย ช่วงอายุของผู้ซื้อ จุดประสงค์ในการใช้บริการและวิธีการสั่งซื้อ 3.2.1.3 ปญหาและอุปสรรคในการใชสื่อสิ่งพิมพ์ ไดแก่ ปญหาสื่อสิ่งพิมพ์ไม่กระจายหลากหลาย ตามช่วงอายุ 3.2.2 ตัวแปรตาม ความพึงพอใจในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน ชุมชนตำบลหิน ปัก จังหวัดลพบุรี 3.2.2.1 ความพึงพอใจในดานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน ชุมชนตำบล หินปัก จังหวัดลพบุรี 3.2.3 ระยะเวลาในการทำโครงการ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566 สิ้นสุดโครงการวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2566


28 3.2.4 ขอบเขตสิ่งที่จัดทำ คือ ออกแบบหนังสือรวบรวมรายการรูปแบบลวดลายผ้าทอมัดหมี่บ้า นพวน ตำบลหินปัก(Catalog) ออกแบบโปสเตอร์โฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน 3.2.5 ขอบเขตด้านเนื้อหาของสื่อสิ่งพิมพ์ธุรกิจชุมชนตำบลหินปัก จังหวัดลพบุรี 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้จัดทำโครงการใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้โดยมีขั้นตอนการสร้า ง เครื่องมือดังนี้ 3.3.1 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่ใช้บริกา รเพื่อ นำมาเป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือในโครงการ 3.3.2 สร้างแบบสัมภาษณ์ เรื่องการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ รูปแบบการจัดวางของ สื่อสิ่งพิมพ์ โครงการดัดแปลงแบบสัมภาษณ์มาจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษาโดยเสนอผ่านการตรวจสอบ มาแล้วว่าถูกต้องและครอบคลุมด้านเนื้อหา 3.3.3 สร้างแบบสอบถาม เรื่องที่ 1 ความพึงพอใจในรูปแบบการจัดวางของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยดัดแปลงมา จากเครื่องมือในการสัมภาษณ์เพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่สุดโดยเสนอผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ว่าถูกต้องและครอบคลุมด้านเนื้อหาและทำการประมวลผลการวิเคราะห์หาความ เชื่อมั่น(reliability) ของ แบบสอบถาม 3.3.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการทำโครงการโดยการหาคาความเชื่อมั่น ( reliability)ของ แบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้ 3.3.4.1 การใช้แบบประเมิน IOC และการกำหนดคะแนน ความคิดเห็นเป็นดังนี้ คะแนน +1 สำหรับข้อสอบ ข้อที่มีความสอดคล้อง คะแนน 0 สำหรับข้อสอบ ข้อที่ไม่แน่ใจว่ามีความสอดคล้อง คะแนน -1 สำหรับข้อสอบ ข้อที่ไม่มีความสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับผลที่คาดหวังจากการ ประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน โดยใช้สูตร IOC ผลปรากฏว่าจำนวนข้อสอบที่สร้างขึ้นทั้งหมด มีค่า IOC อยู่ ระหว่าง 0.80 -1.00 เมื่อเทียบระดับเกณฑ์คุณภาพอยู่ในระดับใช้ได้ทุกข้อถือว่าเป็นข้อสอบที่มีความเหมาะสม 3.3.5 นำแบบทดสอบที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ไปทดลอง (Try out) สอบนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาศิลปกรรมเพศชายหญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 16-20 ปี 3.3.6 ตรวจสอบความสมบูรณของแบบสอบถามที่ตอบแลวบันทึกขอมูลลงในรูปแบบคอมพิวเตอร 3.3.7 เพื่อนำผลมาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งหมด โดยวิธี คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson) ใช้สูตร KR - 20 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ


29 3.3.8 จัดพิมพ์แบบทดสอบที่ผ่านการตรวจคุณภาพแล้ว เป็นแบบทดสอบฉบับจริง เพื่อจะนำไปใช้กับ ประชาการหญิงชาย 20 คน อายุเฉลี่ย 18-40 ปี 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำโครงการเป็นผู้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและการทดลองครั้งนี้ได้ดำเนินการในปี การศึกษา 2566 ตามขั้นตอน ดังนี้ 3.4.1 ดำเนินการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามกับประชาการหญิงชาย ทั่วไป จำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 18-40 ปี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อไป 3.5. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้จัดทำโครงการได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.5.1. วิเคราะห์หาข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยได้ดำเนินการ ดังนี้ 3.5.1.1 การหาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ 3.5.2. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกคณิตศา สตร์เรื่อง เศษส่วน โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.5.3. การแปลผลข้อมูล 1. เกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูล ของแบบประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้เกณฑ์ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.21 - 5.00 หมายถึง มีความถูกต้อง เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.41 - 4.20 หมายถึง มีความถูกต้อง เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.61 - 3.40 หมายถึง มีความถูกต้อง เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.81 - 2.60 หมายถึง มีความถูกต้อง เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.80 หมายถึง มีความถูกต้อง เหมาะสมอยู่ในระดับน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้เลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน 1.1. ร้อยละ (Percentage) จากสูตร ร้อยละ = x 100 1.2. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S ) . จากสูตร 2 2 = − N X N X S i i


30 N R IOC = − − = 2 1 1 s pq k k rtt ( 1) ( ) ( ) 2 2 2 − − = n n n X X s เมื่อ Xi แทนข้อมูลแต่ละตัว N แทนจำนวนของข้อมูล 1.3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาค่าความตรง เชิงเนื้อหา (IOC) จากสูตรต่อไปนี้ (นพพร ธนะชัยขันธ์. 2550 : 13) เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง R แทน ผลรวมของคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนให้ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 1.4. สถิติที่ใช้ในการหาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ สูตรของ Kuder-Richardson สูตรที่ 20 หรือ KR - 20 (นพพร ธนะชัยขันธ์. 2550 : 16) ดังนี้ เมื่อ tt r แทน ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ k แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ p แทน สัดส่วนของผู้ตอบถูกในแต่ละข้อ q แทน สัดส่วนของผู้ตอบผิดในแต่ละข้อ 2 s แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวมของผู้เข้าสอบแต่ละคน


31 บทที่ 4 วิธีการการดำเนินงานโครงการ ในการศึกษาโครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่ชุมชนตำบลบ้านทราย จังหวัดลพบุรีครั้งนี้ ผู้จัดทำโครงการได้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาสื่อสิ่งพิมพ์ของผ้าทอมัดหมี่ตำบลบ้านทราย เพื่อออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่ใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ้าทอมัดหมี่บ้านพวน ผ่านการ ประชาสัมพันธ์และเพื่อเผยแพร่โครงการสู่ชุมชนโดยมีวิธีการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ในลักษณะ ตารางประกอบคำบรรยายดังนี้ 4.1 ผลการศึกษาประชากรที่ศึกษาในโครงการ 4.2 ผลการศึกษาตัวแปรที่ศึกษาในโครงการ 4.3 ผลการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.4.1 การหาข้อมูลเบื้องต้น 4.4.2 การเข้าเสนอโครงการและเข้าพบที่ปรึกษาโครงการ 4.4.3 การประชุมวางแผนงานโครงการและพบผู้เชี่ยวชาญ 4.4.4 ขั้นตอนการดำเนินการจัดทำโครงการ 4.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 4.5.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 4.5.2. ผลการทดสอบและการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ บ้านพวนผ้า มัดหมี่ 4.5.3 ผลการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจในการ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ บ้านพวนผ้ามัดหมี่ โดยเรียงลําดับตามความถูกต้อง


32 4.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.4.1 การหาข้อมูลเบื้องต้น ภาพที่ 1.4 กลุ่มสตรีอาสา บ้านพวน ต.หินปัก อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ที่มา : นายภาสกร สุขสวัสดิ์(2566) 4.4.2 การเข้าเสนอโครงการและเข้าพบที่ปรึกษาโครงการ ภาพที่ 1.5 การเข้าเสนอโครงการและเข้าพบที่ปรึกษาโครงการ ที่มา : นายภาสกร สุขสวัสดิ์(2566)


33 4.4.3 การประชุมวางแผนงานโครงการและพบผู้เชี่ยวชาญ ภาพที่ 1.6 การประชุมวางแผนงานโครงการและพบผู้เชี่ยวชาญ ที่มา : นายภาสกร สุขสวัสดิ์(2566) 4.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ภาพที่ 1.7 แบบเลือกหน้าปกหนังสือรวบรวมลวดลายผ้า(Catalog) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


34 ภาที่ 1.8 ภาพที่ หน้าปกหนังสือรวบรวมลวดลายผ้า(Catalog) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.9 แบบเลือกรูปแบบเนื้อหาด้านในหนังสือรวบรวมลวดลายผ้า(Catalog) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.10 รูปแบบเนื้อหาด้านในหนังสือรวบรวมลวดลายผ้า(Catalog) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


35 ภาพที่ 1.11 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม(หน้าปก) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.12 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม(หน้าปก) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


36 ภาพที่ 1.13 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม(หน้าปก) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.14 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม(หน้าปก) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


37 ภาพที่ 1.14 ผลการสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบหน้าปก แบบที่ 1 ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.15 ผลการสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบหน้าปก แบบที่ 2 ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


38 ภาพที่ 1.16 ผลการสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบหน้าปก แบบที่ 3 ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.17 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง(เนื้อหาด้านใน) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


39 ภาพที่ 1.18 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง(เนื้อหาด้านใน) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566) ภาพที่ 1.19 ผลการวิเคาระห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง(เนื้อหาด้านใน) ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


40 ภาพที่ 1.20 ผลการสอบถามความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างในการออกแบบเนื้อหาด้านใน ที่มา : นายภาพกร สุขสวัสดิ์(2566)


41 บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในการศึกษาโครงการการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่ชุมช นตำบลบ้านหินปัก จังหวัดลพบุรีครั้งนี้ ผู้จัดทำโครงการได้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อยกระดับธุรกิจผ้าทอมัดหมี่บ้าน พวนพวนชุมชนตบลหินปัก ผ่านการประชาสัมพันธ์และเพื่อเผยแพร่โครงการสู่ชุมชนโดยมีการสรุปผลโครงการเป็น ลำดับดังนี้ 5.1 การสรุปอภิปลายผลตามวัตถุประสงค์โดยการทำโครงการครั้งนี้เป็นกลุ่มการวิจัยเชิงทดลองมี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสื่อสิ่งพิมพืของผ้าทอมัดหมี่ 2) เพื่อศึกษาการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆที่ใช้ออกแบบ 3) เพื่อเผยแพร่โครงการสู่ชุมชนตำบลบ้านราย 5.2 ประชากร /กลุ่มตัวอย่าง 5.2.1 ด้านประชากรทั่วไป เพศชายหญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 18-40 ปี 2.2.2 ด้านกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาศิลปกรรม เพศชาย หญิงจำนวน 20 คน อายุเฉลี่ย 16-20 ปี 5.3 สรุปผลการวิจัย ผู้จัดทำได้ออกแบบหนังสือรวมรวมลวดลายผ้าและโปสเตอร์เพื่อยกระดับบ้านพวนผ้ามัดหมี่บ้าน พวน ชุมชนตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 5.4 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการการวิจัยครั้งนี้ ข้อบกพร่องคือ การออกแบบดูไม่ทันสมัยและดูเรียบเกินไป สามารถนำเอกลักษณ์ของผ้ามาออกแบบได้มากกว่านี้ สามารถเพิ่มลวดลายผ้าเพิ่มเติมได้


42 บรรณานุกรม https://thaiwinner.com/design-thinking/ https://www.wynnsoftstudio.com/design-principles https://shorturl.asia/ZU9Pg https://shorturl.asia/rVlZo https://www.wynnsoftstudio.com/10-basic-design-elements https://www.jalearnmedia.com/blog/composition/ https://shorturl.asia/fIGUJ https://shorturl.asia/Zmha6 https://souvenirbuu.wordpress.com/


43 ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version