ทฤษฎีจิตวิทยาการเข้าใจ
พฤติกรรมมนุษย์
คนโดยทั่วๆไป อาจดูมีปฏิกิริยาตอบสนองธรรมชาติเหมือนๆกัน
แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งจริงๆ จะเห็นว่าคนแต่ละคนมีความแตก
ต่างกันไม่มากก็น้อย
ศ า ส ต ร์ ท า ง จิ ต วิท ย า ว่ า ด้ ว ย
ก า ร ศึ ก ษ า พ ฤ ติ ก ร ร ม ม นุ ษ ย์
คำว่า “ จิตวิทยา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Psychology
ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ Psyche กับ Logos
คําว่าPsyche หมายถึง วิญญาณ (soul) กับคําว่า Logos หมายถึง
การศึกษา(study)เมื่อนำคำทั้งสองคำมารวมกันจึงได้เป็นคำศัพท์ว่า
Psychology มีความหมายถึงวิชาที่ ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณเป็นเพียง
การให้ความหมายของยุคสมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษา
ทางจิตวิทยาและปรัชญาต่างๆ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง นักจิตวิทยายุคใหม่
ซึ่งนับตั้งแต่ภายหลังปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา การศึกษาทางด้าน
จิตวิทยาเริ่มเป็น วิทยาศาสตร์มากขึ้น สามารถพิสูจน์ได้ และเป็นกระบวนการ
อย่างต่อเนื่อง จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เริ่มมุ่งเน้นไปในการศึกษาพฤติกรรมของ
มนุษย์มากขึ้น โดยความหมายของจิตวิทยา
กู๊ด ( Good : 1959 ) ให้ความหมายว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการ
ปรับตัวของอินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ฮิลการ์ด (Hilgard : 1959 ) ให้ความหมายว่า จิตวิทยา หมายถึงศาสตร์ที่
ศึกษาถึงพฤติกรรมของ มนุษย์และสัตว์
นอร์มอล แอล มัลล์ (Normal L.Munn : 1969 ) ให้ความหมายว่า จิตวิทยา
เป็นวิทยาศาสตร์ที่ ศึกษาถึงพฤติกรรม
(Psychology is the science of behavior)
*พฤติกรรมในที่นี้ หมายถึงกิจกรรมหรือการ กระทาต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต*
ซึ่งอาจจะรู้ได้โดยการสังเกต หรือโดยการใช้เครื่องมือช่วย
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ทาง
พฤติก
รรม
1 . ศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) การศึกษาค้นคว้าหาความจริงโดยมุ่ง
ศึกษา เรื่องราวตามธรรมชาติที่เป็นอยู่ ผลศึกษาของศาสตร์บริสุทธิ์ปรากฎใน
รูปของกฎเกณฑ์ หรือหลักการที่ตายตัวไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก และวิธีการ
ใช้ในการศึกษามักจะแน่นอนและรัดกุม ถ้าเปรียบเทียบกับ ศาสตร์แขนงอื่นๆ
2. พฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science) ในความหมายของคําว่า
“พฤติกรรมศาสตร์ ” นั้นเป็น การศึกษาพฤติกรรมมมนุษย์โดยวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ ว่ามนุษย์นั้นมีพฤติกรรมอะไรบ้าง และทําไมจึงมี พฤติกรรมเช่นนี้
เป็นการศึกษาทราบว่าทําไมคนเราจึงมีการกระทําบางอย่างที่คล้ายๆ กันและไม่
เหมือนกัน นอกจากนี้ยังพยายามคาดการณ์หรือทํานายถึงความต้องการ
มนุษย์และพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นโดย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยนช์สูงสุด
ในการศึกษาศาสตร์แห่งพฤติกรรมนี้ ต้องอาศัยศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาศึกษาให้เห็นชัด ได้แก่ ศาสตร์ทางด้านจิตวิทยา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์
ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือพฤติกรรมที่เราต้องศึกษา จิตวิทยาเป็นศาสตร์
หนึ่งของการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งทฤษฎีทางด้านจิตวิทยามา
ประยุกต์เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการทําความเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง ผู้อื่น
และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนําไปสู่กระบวนการในการพัฒนาตนเอง แก้ไข พัฒนา
และปรับปรุงตนเองเพื่อการเป็นส่วน หนึ่งของสังคมและดำเนินชีวิตได้อย่างมี
ความสุข
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ความหมายของพฤติกรรม
พฤติกรรม (Behaviors) หมายถึง การกระทําต่างๆ ของมนุษย์ทั้งทางด้าน
จิตใจซึ่งไม่สามารถสังเกต ได้ และด้านการแสดงออกซึ่งสามารถสังเกตได้
ซึ่งการกระท าทั้งสองชนิดเกิดจากการควบคุมหรือสั่งการของ ระบบประสาท
ส่วนกลางคือ สมองและไขสันหลัง
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
⩥ 1 .พฤติกรรมภายนอกหรือการแสดงออกของมนุษย์
(Overt Behaviors) หมายถึง การกระทํา หรือการแสดงออกด้านกิริยา
ท่าทางต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเดิน การพูด การเล่น การแสดงสีหน้าและ
กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งบุคคลสามารถใช้เป็นสื่อหรือสัญญาณในการสื่อสารให้ผู้อื่น
รับรู้และเข้าใจได
1.1 พฤติกรรมภายนอกที่ผู้อื่นสามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสโดยตรง
เรียกว่า พฤติกรรมโมลาร์ (Molar Behavior) เช่น การเดิน การนั่ง การพูด
1.2 พฤติกรรมภายนอกที่ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสโดยตรง
แต่สามารถสังเกต ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า พฤติกรรม
โมเลกุล (Molecular Behavior) เช่น การเต้นของ หัวใจ การย่อยอาหาร
ของกระเพาะ การตรวจคลื่นสมอง การตรวจหาปริมาณน้ าตาลในเลือด
2. พฤติกรรมภายในหรือจิตใจของมนุษย์ (Invert Behaviors) หมายถึง
ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และคําศัพท์อื่นๆ ทางด้านจิตวิทยา เช่น
การรับรู้ เจตคติ อารมณ์ ความจํา หรือประสบการณ์ เป็น ต้น พฤติกรรม
ภายในมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือ
เครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง พฤติกรรมภายในซึ่งเกิดจากการ
สั่งการของสมอง
1. สมองส่วนที่เรียกว่า คอร์เทก (Cortex) จะทําหน้าที่ควบคุม
การเรียนรู้ การให้เหตุผล และ การมีวิจารณญาณ
2.สมองส่วนที่เรียกว่าระบบลิมปิค(Limbic System)
ประกอบด้วยต่อมไฮโปทา-ลามัส(Hypothalamus)
ฮิปโปแคมปัส(Hippocampus) และอมิกดาลา
(Amygdala)จะทําหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมทางด้านจิตวิทยา
เช่น แรงจูงใจ อารมณ์ ความจำ และความต้องการทางเพศ
ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมภายในกับ
พฤติกรรมภายนอก
นักจิตวิทยาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์โดยมีความเชื่อ
ว่า พฤติกรรมภายในเป็นตัวกําหนดพฤติกรรมภายนอก
◊ เมื่อบุคคลมีความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งเร้าใดในทางบวก
ก็จะแสดงออกหรือแสดงกิริยาท่าทางโต้ตอบต่อสิ่งเร้านั้นในทางบวก
ในทํานองเดียวกันเมื่อบุคคลมีความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งเร้าใดในทางลบ
ก็จะแสดงกิริยาท่าทางโต้ตอบต่อสิ่งเร้านั้นในทางลบด้วยเช่นกัน
เช่น คนที่คิดดีจะมีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี คนที่คิดชั่ว
จะมีการประพฤติปฏิบัติในทางชั่วหรือคนที่สบายใจมักจะยิ้มแย้ม
แจ่มใส ส่วนคนที่ทุกข์ใจมักจะ เฉื่อยชาหรือซึมเศร้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการที่บุคคลแสดงออกเกี่ยวกับพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่งหลายๆครั้งหรือถูกกดดันห้อมล้อมด้วยพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่งหลายๆครั้งการกระทำดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบ
ให้ผู้นั้นมีความรู้สึกทางบวกหรือทางลบต่อพฤติกรรมดังกล่าวได้
เช่น
ความใกล้ชิด สนิทสนมของหนุ่มสาว มีผลให้ ทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึก
ทางบวกต่อกันและเปลี่ยนความสัมพันธ์จากการเป็นเพื่อนไปเป็น
คู่รักได้หรือการประสบความสาเร็จอย่างต่อเนื่องทําให้บุคคลเกิด
ความเชื่อมั่นในตนเอง(ความรู้สึกทางบวก)ในทางตรงกันข้ามการ
ประสบความผิดหวังอย่างต่อเนื่องทาให้บุคคลขาดความเชื่อมั่นใน
ตนเอง
(ความรู้สึก ทางลบ)
ความสัมพันธ์มี3 ลักษณะ ดังนี้
1. พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก
พฤติกรรมปกติของมนุษย์มักจะเกิดจากการที่
บุคคลมีความรู้สึก ความคิดหรือความต้องการ
ขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงแสดงออกเป็นพฤติกรรม ภายนอก
โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความรู้สึกนึกคิดหรือความ
ต้องการดังกล่าว ดังคำสอนใน พระพุทธศาสนาที่ว่า
บุคคลมีจิตเป็นนายและมีกายเป็นบ่าว เช่น ความหิวทําให้บุคคล
หาอาหารมารับประทาน หรือบุคคลไม่ต้องการเสื่อมเสียชื่อเสียง
จึงประพฤติปฏิบัติตนตามกติกาสังคม นอกจากนั้นพฤติกรรม
ภายใน กําหนดพฤติกรรมภายนอก ยังสอดคล้องกับค่านิยม
ของสังคมไทย คือ คนที่คิดและไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว
จึงลงมือทา จะได้รับการยกย่องว่า เป็นคนที่มีเหตุผลหรือคนที่มี
จิตสานึกดี ส่วนคนที่ลงมือกระทำก่อนแล้วจึง คิดหาเหตุผล
มาสนับสนุนการกระทำของตนว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง จะถูกสังคม
ประทับตราว่า เป็นคน ไม่ซื่อสัตย์หรือขาดจิตสานึกที่ดี เป็นต้น
แนวความคิดว่า พฤติกรรมภายในกําหนดพฤติกรรมภายนอก
มักจะเป็นพื้นฐานความคิดของ นักพัฒนาที่มุ่งเน้นแก้ปัญหา
สังคม โดยมีความเชื่อว่า การพัฒนาความคิดและจิตสานึกของ
บุคคลให้สูงขึ้น (พัฒนาคนให้เป็นคนดี)
จะส่งผลให้สังคมได้รับการแก้ไขและพัฒนาไปในทางบวก
พฤติกรรมภายใน พฤติกรรมภายนอก
ความรู้สึก ความคิดทางบวก การประพฤติปฏิบัติทางบวก
ความรู้สึก ความคิดทางลบ การประพฤติปฏิบัติทางลบ
2. พฤติกรรมภายนอกเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายใน
มักจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เช่น หลังจากบุคคล
ประสบอุบัติเหตุแล้ว จึงเกิดความกลัวและคิดหาวิธีป้ องกัน
อุบัติเหตุดังกล่าว หรือ หลังจาก บุคคลกระทาความผิด
แล้ว จึงสานึกได้ว่าไม่ควรกระทา ตลอดจนเมื่อบุคคล
กระทาหรือถูกกดดันให้กระทาสิ่งใด สิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
ก็จะทาให้เขาเกิดความเคยชินและเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด
จากไม่ยอมรับไปเป็นยอมรับ และเต็มใจปฏิบัติพฤติกรรม
ที่ถูกกดดันนั้น เช่น เมื่อบุคคลบริหารร่างกายอย่างต่อ
เนื่อง ก็จะทาให้เกิดความ เคยชินและมีจิตศรัทธาที่จะ
บริหารร่างกายต่อไปจนติดเป็นนิสัย ในทานองเช่นเดียว
กับในสมัยก่อนที่สังคมจะ ยกย่องคนที่มีความประพฤติดี
และมีจิตใจโอบอ้อมอารี ซึ่งมีผลกดดันให้บุคคลในสมัยนั้น
มุ่งมั่นประพฤติตนเป็น คนดี เพื่อให้เขาได้รับการยอมรับ
หรือการยกย่องจากสังคม เรียกว่า สภาพสังคมกดดันให้
บุคคลมีความคิด ในทางที่ดีและประพฤติปฏิบัติตนเป็นคน
ดี ในทางตรงข้าม ในสังคมปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนไป
ยกย่องคนร่ารวย และมีตาแหน่งทางสังคมสูงมากกว่าคน
ดีมีคุณธรรม จึงมีผลกดดันให้บุคคลในยุคปัจจุบันกระทำ
สิ่งต่างๆ เพื่อ แสวงหาความ
รํ่ารวยและตำแหน่งสูงทางสังคมที่สูงขึ้น เรียกว่า
สภาพสังคมกดดันให้บุคคลมีค่านิยมด้านวัตถุ
มากกว่าด้านจิตใจ เป็นต้น
3. พฤติกรรมของมนุษย์เป็นกระบวนการต่อเนื่อง
การแสดงพฤติกรรมชนิดใดชนิดหนึ่งของมนุษย์ มักจะเกิดจากการสลับกัน
อย่างต่อเนื่องของ พฤติกรรมภายในกาหนดพฤติกรรมภายนอก และ
พฤติกรรมภายนอกกาหนดพฤติกรรมภายใน เช่น พฤติกรรม ไปเยี่ยม
เพื่อนอย่างสม่าเสมอ เป็นกระบวนการต่อเนื่องระหว่างพฤติกรรมภายใน
และพฤติกรรมภายนอก สลับกันหลายขั้นตอน เช่น การไปเยี่ยมเพื่อน
เราสามารถวิเคราะห์และจาแนกพฤติกรรมไปเยี่ยมเพื่อนออกเป็น 3 ขั้น
ตอนที่มี ความต่อเนื่องกัน หรือเรียกว่า การศึกษาพฤติกรรมแบบแยกส่วน
ซึ่งในแต่ละขั้นตอน สามารถวิเคราะห์เหตุ และผลได้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความคิดถึงเป็นสาเหตุให้เดินทางไปเยี่ยมเพื่อน
ขั้นที่ 2 การพูดคุยอย่างสนิทสนม หรือความสนิทสนมเป็นเหตุให้เกิดความ
ผูกพัน (คิดถึงกันมากขึ้น) ขั้นที่ 3 ความผูกพันเป็นเหตุให้เกิดการ
เยี่ยมเยียนอย่างสม่าเสมอ จากการวิเคราะห์เหตุผลในแต่ละขั้นตอน
(พฤติกรรมที่ซับซ้อน) สรุปได้ว่า พฤติกรรมไปเยี่ยมเพื่อน
อย่างสม่าเสมอในครั้งนี้ มีสาเหตุที่สาคัญ 3 ประการ 1) ความคิดถึง 2)
ความสนิทสนม และ 3) ความผูกพัน เมื่อเราทราบสาเหตุของพฤติกรรม
แล้ว เราก็สามารถควบคุมไม่ให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้ เช่น ไม่ต้องการ
ให้ มีการเยี่ยมเยียนกันต่อไป เราก็ต้องทาให้ความคิดถึง ความสนิทสนม
และความผูกพันของทั้งสองฝ่ายลด น้ อยลงหรือหมดไป ในทานองเดียวกัน
เราก็สามารถเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ เช่น ถ้า ต้องการ
ให้มีการเยี่ยมเยียนกันและกัน เราก็ต้องทาให้ทั้งสองฝ่ายคิดถึงกัน
มีความสนิทสนมและความผูกพันซึ่ง กันและกัน
theory of hum
an behavior
(ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์)
ทฤษฎีการระดมสร้างขวัญของคนในชาติ
( National Morale) คนเรามีความต้องการทางกาย และใจ
ถ้าคนมีขวัญดีพอ ผลของการทํางานจะสูง ตามไปด้วย แด่ถ้า
ขวัญไม่ดีผลงานก็ต่างไปด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากว่าขวัญเป็น
สถานการณ์ทาง จิตใจที่แสดงออกในรูปพฤติกรรมด่าง ๆ
นั่นเอง การจะสร้างขวัญให้ดี ต้องพยายามสร้าง ทัศนคติที่ดี
ต่อผู้ร่วมงาน เช่น การไม่เอารัดเอาเปรียบ การให้ข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับงาน การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เป็นต้น และ
เมื่อใดก็ตามถ้าคนทํางานมีขวัญดีจะ เกิดสํานึกใน
ความรับผิดชอบ อันจะเกิดผลดีแก่หน่วยงานทั้งในส่วนที่เป็น
ขวัญส่วนบุคคล และขวัญของกลุ่ม ดังนั้น จะเป็นไป
ได้ว่าขวัญของคนเราโดยเฉพาะคนมีขวัญที่ดีย่อมเป็นปัจจัย
หนึ่งที่จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ทฤษฎีสร้างความรู้สึกชาตินิย
ม ( Nationalism)
ปัจจัยประการหนึ่งที่นําสู่การมีส่วนร่วมคือ การสร้างความรู้สึก
ชาตินิยมให้เกิดขึ้นหมายถึงความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองที่จะอุทิศหรือ
เน้นค่านิยมเรื่อง ผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ มีความพอใจในชาติ
ของตัวเอง พอใจเกียรติภูมิ จงรักภักดีผูกพันต่อ ท้องถิ่น
ทฤษฎีการใช้วิธีและระ
บบทางการบริหาร
( Administration
and Method)
การใช้ระบบบริหาร ในการระด
มความร่วมมือเป็นวิธีหนึ่งที่ง่าย
เพราะใช้กฎหมาย ระเบียบ แบบแผน เป็นเครื่องมือในการ ดําเนิน
การ แต่อย่างใดก็ตามผลของ ความร่วมมือยังไม่มีระบบใดดีที่ชุดใน
เรื่องการใช้บริหาร เพราะ ธรรมชาติของคน ถ้าทํางานตามความ
สมัครใจอย่างตั้งใจไม่มีใครบังคับก็จะทํางานด้วยความรัก แต่ถ้าไม่
ควบคุมเลยก็ไม่เป็นไปตามนโยบายและความจ าเป็นของรัฐ เพราะ
การใช้ระบบบริหาร เป็นการให้ปฏิบัติ ตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้า
หมายเพิ่มความคาดหวังผล ประโยชน์
ทฤษฎีการสร้างผู้นํา ( Leadership)
การสร้างผู้นําจะช่วยจูงใจให้ประชาชนทํางานควยความเต็มใจ
เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกันทั้งนี้เพราะผู้นํา
เป็นปัจจัยสําคัญของการร่วมกลุ่มคนจูงใจไป ยังเป้าประสงค์
โดยทั่วไปแล้วผู้นำอาจจะมีทั้งผู้นําที่ดีเรียกว่า ผู้นําปฎิฐาน
(Positive leader) ผู้นำพลวัตคือเคลื่อนไหวทํางานอยู่เสมอ
(Dynamic leader) และผู้นําไม่มีกิจ ไม่มีผลงานสร้างสรรค์ ที่
เรียกว่า ผู้นํานิเสธ (Negative leader) ผลของการให้ทฤษฎี
การสร้างผู้นํา จึงทําให้เกิดการระดมความร่วมมือปฏิบัติงาน
อย่างมีขวัญกําลังใจ งานมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และร่วมรับผิดชอบ ตังนั้น การสร้างผู้นําที่ดียอมจะนําไปสู่การ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆด้วยดีนั่นเอง
ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviors)
: Theory X & Theory Y เป็นแนวความคิดของ
Douglas McGregorด้านพฤติกรรมองค์การแล้ว
เห็นว่าคนมี 2 ประเภท ตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y
และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท
ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน โดยทฤษฎี X เชื่อว่า
1. มนุษย์ไม่ชอบการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงาน
2. มนุษย์ชอบถูกสั่งการ และการลงโทษ
เพื่อให้ใช้ความพยายามมากพอ
3. มนุษย์มีความทะเยอทะยานน้อย
4. มนุษย์ประเภทเกียจคร้าน ควรใช้มาตรการบังคับ
ใช้กฎเกณฑ์คอยกำกับ ควบคุมใกล้ชิด
และมีการลงโทษเป็นหลักทฤษฎี Y เชื่อว่า
1. มนุษย์ทำงานเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ
2. มนุษย์ชอบการทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย
3. มนุษย์มีความมุ่งมั่น ขยันทำงาน
4. มนุษย์ประเภทขยันควรกำหนดหน้าที่ที่เหมาะสม
ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s
Classical Connectionism) ธอร์นไดค์(ค.ศ.1814-1949)
เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการ
ตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบบุคคลจะมีการลองผิดลอง
ถูก(trial and error)ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูป
แบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อ
เกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่
เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้น
เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(
Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(Classical conditioning)
ของพาฟลอฟ พาฟลอฟ(Pavlov)ได้ทำการทดลองให้สุนัข
นํ้าลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จัก
เชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมนํ้าลายไหล
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson) วัตสัน(Watson)
ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว
ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็จะกลัวและร้องไห้
เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดูโดย
แม่จะกอดเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆหายกลัวหนูขาว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง(Contiguous Conditioning)
ของกัทธรีกัทธรีได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา
มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก
มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู
แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบ
เพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์(Operant Conditioning)
ของสกินเนอร์(Skinner)สกินเนอร์(Skinner)
ได้ทำการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กล่อง ภายในมีคานบังคับให้อาหาร
ตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่
เมื่อชนคานจะมีอาหารตกมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่า
หนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ(Classical conditioning)
ของพาฟลอฟ พาฟลอฟ(Pavlov)
ได้ทำการทดลองให้สุนัขนํ้าลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การเรียนรู้ของสุนัข
เกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมนํ้าลายไหล
ทฤษฎีแรงจูงใจ แรงจูงใจ (Motivation)
คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์อันเกิดจาก
ความต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ
ความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผล
สําเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตาม
ธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้ แรงจูงใจเกิดจาก
สิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้นๆเองภายใน
ได้แก่ ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไร บางอย่าง จึงเป็น
พลังชักจูง หรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบกิจกรรม
เพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือ ต้องการนั้น ส่วนภายนอก
ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า และมาเสริมสร้างความ
ปรารถนาในการ ประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์
ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก
แต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสอง
อยางพร้อมกันได้อาจกล่าวได้ว่าแรงจูงใจทําให้เกิด
พฤติกรรมซึ่งเกิดจากความ ต้องการของมนุษย์
ซึ่งความต้องการเป็ นสิ่งเร้าภายในที่สําคัญกบการเกิด
พฤติกรรม นอกจากนี้ยัง มีสิ่งเร้าอื่นๆ เช่น
การยอมรับของสังคม สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร
การบังคับขู่เข็ญ การให้ รางวัลหรือกำลังใจ
หรือการท้าให้เกิดความพอใจ ล้วนเป็นเหตุ
จูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้
แรงจูงใจแบ่งออกได้เป็นทฤษฎีใหญ่ๆ คือ
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎีนี้ให้ความสําคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past
Experience) ว่ามีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมากดัง
นั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นว่าได้รับ
อิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ ในอดีตเป็นส่วน
มากโดยประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวก
ที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้องการแสดงพฤติกรรมในทิศทาง
นั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของสิ่งเร้า
ภายนอก(Extrinsic Motivation)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
สร้างเอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จาก
บุคคลที่ตนเองชื่นชมหรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็น
แรงจูงใจที่สำคัญในการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
3.ทฤษฎีพุทธินิยม(Cognitive View of Motivation) ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการ
กระทําพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กบการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวโดย
อาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสําคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลายๆทางใน
การแสดง พฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล
(Disequilibrium) ขึ้นเมื่อเกิด สภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้องอาศัยขบวนการดูดซึม
(Assimilation) และการปรับ (Assimilation) ความแตกต่างของ
ประสบการณ์ได้รับใหม่ให้เข้ากบประสบการณ์เดิมของตนซึ่ง
การจะทําได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สําคัญ
ทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูงใจภายใน(intrinsic Motivation)
ทฤษฎีความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกล่าวว่า ความพึง
พอใจ (gratification) ตามความหมายของพจนานุกรม
ทางด้านพฤติกรรม ได้ให้ความจํากัดความไว้ว่า หมายถึง
ความรู้สึกที่ดีมีความสุข เมื่อคนเราได้รับผลสําเร็จ
ตามความมุ่งหมาย (goals) ความต้องการ (need) หรือ
แรงจูงใจ (motivation) โดยสรุปแล้วความพึงพอใจ
หมายถึง ความพอใจ ชอบใจ และมีความสุข ที่ความ
ต้องการหรือเป้าหมาย ที่ตั้งใจไว้บรรลุผลหรือสมหวังนั้น
เอง ซึ่งสามารถวัดได้จากแบบสอบถามวัดระดับความพึง
พอใจ
ผู้จัดทำ
ปาณิสรา ยงยุคันธร เลขที่3 ม.1/1
มณีนิล รอดไสว เลขที่7 ม.1/1
ปลายฟ้า ตรีสุขเกษม เลขที่12 ม.1/1
ณธิดา แก้วศรียงค์ เลขที่ 27 ม.1/1
จบ.
ขอบคุณสําหรับการอ่าน