บทที่ 6
เทคนิคการสอนวิธีการจดั การเรยี นรู้
ทกั ษะการอ่าน
การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษา และเป็นเครื่องมือในการ
แสวงหาความรู้ การสร้างความคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้มีทักษะ
ทางปญั ญาสามารถเรียนรู้ส่ิงต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว กวา้ งขวางยงิ่ ขึน้ ในการเรยี นวชิ าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรียน
ในห้องหรือนอกห้องเรียน ล้วนแล้วแต่ใช้การอ่านเป็นสื่อในการเรียนรู้ทั้งสิ้น กระทรวงศึกษาธิการได้เห็น
ความสำคัญดังกล่าวจึงไดจ้ ัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาทักษะการอ่านในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะ
การศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดสาระการอ่านในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้มีตัวชี้วัดในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านได้สอดคล้อง
กบั ช่วงวยั ตา่ ง ๆ
1.1 ความสำคญั ของการจัดการเรียนรู้ทักษะการอา่ น
การอ่านเป็นทกั ษะท่ีมีความสาคญั ต่อการศึกษา และการดารงชีวติ นักการศึกษาได้
กล่าวถงึ ความสาคญั ของการอา่ น ดงั น้ี
ดวงใจ ไทยอุบุญ (2554: 47) กล่าวถงึ ความสาคญั ของการอ่านจะทาใหเ้ กดิ ปัญญา เกดิ
ความคดิ สรา้ งสรรค์ ผอู้ ่านไม่เฉพาะแต่จะไดค้ วามรู้ ไดร้ จู้ กั ใชส้ านวนโวหารและวธิ กี ารเขยี นเท่านัน้
หากแต่ยงั ได้แง่คดิ จากหนังสอื เหล่านัน้ หรอื ได้รูถ้ งึ ความคดิ ทแ่ี ตกต่าง สามารถประเมนิ ค่าเร่อื งท่ี
อา่ นและสามารถนาประโยชน์ทไ่ี ดร้ บั จากการอ่านไปประยุกตใ์ ชใ้ นชวี ติ ประจาวนั และนาไปใชใ้ นงาน
เขยี นของตนได้
จริ วฒั น์ เพชรรตั น์ และอมั พร ทองใบ (2556: 206) กล่าวว่า “การอ่านจะทาใหผ้ ู้อ่าน
ไดร้ บั ความรคู้ วามคดิ ทไ่ี ดจ้ ากการอา่ นไปใชป้ ระโยชน์ในการพฒั นาคุณภาพชวี ติ มคี วามคดิ รอบคอบ
กอ่ นตดั สนิ ใจ และเป็นผมู้ เี หตุผล”
Long (2012: 10-11) ได้กล่าวถงึ ความสาคญั ของการอ่านกบั การเรยี นในทุกรายวชิ าว่า
“การอ่านช่วยทาใหผ้ เู้ รยี นเขา้ ใจสง่ิ ท่ีเรยี นไดล้ กึ ซ้งึ เป็นกระบวนการในการวเิ คราะหป์ ัญหา และคน้
ขอ้ มลู มาตดั สนิ ใจอยา่ งมเี หตุผล ผสู้ อนสามารถประเมนิ ผลผเู้ รยี นจากกจิ กรรมการอ่านได”้
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 1
Flemming (2000: 281) กล่าวว่า “การอ่านมสี ่วนช่วยให้ผู้เรยี นมที กั ษะการวเิ คราะห์
การตดั สนิ ใจ การหาเหตุผลในการสนับสนุนขอ้ โต้แยง้ และการคดิ อย่างมวี จิ ารณญาณ ซ่งึ เป็นการ
พฒั นาความรทู้ างวชิ าการใหก้ บั ผอู้ า่ น”
สรุปได้ว่า การอ่านมคี วามสาคญั 2 ประการ ไดแ้ ก่ ความสาคญั ต่อการพฒั นาตวั ผู้อ่าน
และการเรยี นรู้ ดงั น้ี
1. ความสาคญั ต่อการพฒั นาตวั ผู้อ่าน การอ่านเป็นทกั ษะทช่ี ่วยใหผ้ ู้อ่านมคี วามรู้ความ
เขา้ ใจในสง่ิ ทอ่ี ่านอย่างละเอยี ด คน้ พบขอ้ เทจ็ จรงิ เขา้ ใจความคดิ ของผเู้ ขยี น นอกจากน้ียงั มที กั ษะ
กระบวนการคิดและทกั ษะภาษา ได้รบั ความรู้ความคิดไปใช้ประโยชน์ในการพฒั นาตนเอง มี
ความคดิ รอบคอบก่อนตดั สนิ ใจ สามารถแก้ปัญหาด้วยการอ่านได้และช่วยพฒั นาบุคลกิ ภาพของ
ผอู้ า่ น ชว่ ยเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพในการเรยี นและการทางานมากขน้ึ
2. ความสาคญั ตอ่ การเรยี นรู้ การอา่ นเป็นองคป์ ระกอบสาคญั ของการจดั การศกึ ษาในทุก
ระดบั การศกึ ษา โดยเป็นทกั ษะสาคญั ทผ่ี เู้ รยี นใชอ้ ่านคน้ ควา้ หาความรรู้ ่วมกบั กจิ กรรมการเรยี นการ
สอน นอกจากน้กี ารอ่านยงั เป็นสว่ นหน่ึงในการประเมนิ ผลการเรยี นรู้ ความสามารถของผเู้ รยี นในแต่
ละรายวชิ าอกี ดว้ ย
1.2 ประเภทของการอ่าน
1.2.1 การอา่ นจับใจความ
การอ่านจับใจความ เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนานิสัยรักการอ่านและเป็นการ
แสวงหาความรู้ในการอ่าน เพื่อแสดงว่าผู้อ่านนั้นเข้าใจและทราบถึงเนื้อหาที่ได้อ่านซึ่งถือได้ว่าเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่อ่านเองและพัฒนาศักยภาพของผู้อ่านให้ดียิ่งขึ้น ดังที่มีนักวิชาการได้กล่าวเกี่ยวกับ
ความหมายของการอ่านจบั ใจความไว้ ดังน้ี
กระทรวงศึกษาธิการ (2552: 45) กล่าวถึงการอ่านจับใจความ คือ เป็นการอ่านเพื่อค้นหา
ประเด็นสำคัญของเรื่อง อันประกอบด้วย ประโยคสำคัญของย่อหน้าต่าง ๆ ซึ่งผู้อ่านนำมาเรียบเรียงให้มี
ความกระชบั โดยใช้ภาษาท่ีเปน็ คำพูดของตนเอง แตง่ ยังคงไวด้ ้วยประโยคสำคญั ต่าง ๆ การอ่านจบั ใจความ
อย่างสมำ่ เสมอจะช่วยให้สมองพัฒนาการคิดอย่างสม่ำเสมอเชน่ เดยี วกัน
ปราโมทย์ ชูเดช และคณะ (2557: 129) กล่าวถึงการอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งเน้น
สาระสำคัญของเรื่อง นับเป็นทักษะที่สำคัญมากที่จะช่วยให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจเรื่องที่อ่านอย่างตรง
ประเด็น แม้คนเราอ่านย่อหน้าเดียวกัน แต่อาจที่จะจับใจความออกมาแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ประสบการณ์ วยั และวฒุ ิภาวะของผูอ้ า่ นแตล่ ะคน ซงึ่ การฝกึ ฝนอย่างสม่ำเสมอเปน็ สง่ิ สำคัญ จงึ จะสามารถ
อา่ นจบั ใจความได้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ
การออกแบบการเรียนรู้กลุม่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 2
วันเพญ็ คุณวริ ยิ ะทวี (2558: 46) กล่าวถึงการอา่ นจบั ใจความสำคัญ คอื กระบวนการอ่านเพ่ือทำ
ความเข้าใจความหมายของข้อความหรือเนื้อเรื่อง ซึ่งสามารถตั้งคำถาม ตอบคำถามและลำดับเหตุการณ์
ไดถ้ กู ตอ้ ง
สรุปได้ว่า การอ่านจับใจความสำคัญ คือการอ่านเพื่อหาประเด็นสำคัญของเรื่อง ว่าผู้เขียน
ตอ้ งการส่ืออะไร หรือแนวคดิ ใดแกผ่ อู้ า่ น ซ่ึงเม่อื อา่ นแลว้ ต้องสามารถถ่ายถอดเปน็ ภาษาของตนเองได้ แต่ง
ยังคงประโยคสำคัญต่าง ๆ ของเรื่องได้ เพราะการอ่านจับใจความนั้นแม้จะอ่านย่อหน้าเดียวกันแต่อาจท่ี
จะจับใจความแตกต่างกัน ดังนั้น การอ่านจับใจความต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดการอ่านท่ี
รวดเร็วและจบั ใจความได้อย่างครบถว้ นสมบรู ณ์
องคป์ ระกอบความสามารถในการอ่านจบั ใจความ
การอ่านจับใจความให้ได้ผลที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยทักษะและองค์ประกอบ
ความสามารถในการอา่ นจับใจความ ผูเ้ รียนจึงจะมีผลสัมฤทธ์ิทด่ี ีข้ึน มนี ักวิชาการได้กล่าวถึงองค์ประกอบ
ความสามารถการอา่ นจับใจความ ดังนี้
สนิท สัตโยภาส (2546: 104) ได้กล่าวถึงความสามารถในการอ่านจับใจความสรุปได้ว่า
ความสามารถในการอ่านจับใจความ คือ การที่ผู้อ่านพยายามเข้าใจถึงสาระสำคัญของข้อความที่อ่านใน
แง่มุมต่าง ๆ เช่น สรุปเรื่องอย่างกระชับได้ บอกใจความหลักโดยมีรายละเอียดขยายได้ ลาดับเรื่องราวได้
บอกความสัมพันธ์ของสิง่ ต่าง ๆ ในเรื่องได้ เปรียบเทียบได้ บอกเหตุผลได้ แยกแยะได้ คาดการณ์ได้ บอก
ความตงั้ ใจของผู้เขียนได้ และสามารถตัง้ ชือ่ เร่ืองให้บทอา่ นได้
ศวิ าพร วัฒนรัตนแ์ ละคณะ (2552: 61) ได้กล่าวถึงความสามารถในการอ่านจับใจความสรุปได้ว่า
ความสามารถในการอ่านจับใจความ คือ การเก็บใจความสำคัญหรือแนวคิดสำคัญของเร่ืองที่อ่านได้อย่าง
ถกู ต้อง ครบถ้วน โดยสามารถนามาเขียนเรียบเรียงเป็นข้อความใหมด่ ้วยภาษาทีส่ ั้น กะทัดรดั เพ่ือให้เข้าใจ
งา่ ย แต่ยงั คงความหมายตามเดิมอยู่
นงเยาว์ ทองเกิด (2558: 47) ได้กล่าวถึงความสามารถในการอ่านจับใจความสรุปได้ว่า
ความสามารถในการอ่านจับใจความ คือ การอา่ นเพ่ือใหเ้ ขา้ ใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านนัน้ กล่าวถึงอะไร
เก่ยี วกบั ใคร เกดิ ขน้ึ ทไี่ หน เมื่อไหร่ และเกิดข้นึ อยา่ งไร
จากองค์ประกอบความสามารถในการอ่านจับใจความข้างต้นสรุปได้ว่า องค์ประกอบ
ความสามารถในการอา่ นจบั ใจความน้นั ต้องประกอบไปด้วย
ความสามารถด้านการระบุรายละเอียด หมายถึง การที่ผู้อ่านบอกได้ว่าภายในเนือ้ เรือ่ งมีใคร ทำอะไร ที่
ไหน เมอื่ ไหร่ อย่างไรบ้าง โดยมีรายละเอียดรองในการสนบั สนุนขอ้ มลู ใหเ้ ข้าใจชัดเจน
ความสามารถในการลำดับเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง หมายถึง ผู้อ่านต้องสามารถระบุเหตุการณ์สำคัญ
เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหลังได้อย่างเป็นเอกภาพรวมถึงบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ของ
เรือ่ งได้
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 3
ความสามารถด้านการสรุป หมายถงึ ผู้อา่ นสามารถสรปุ สาระสำคัญหรือแนวคดิ สำคญั ของเร่ืองที่อ่านได้
อยา่ งถูกต้องกระชบั เหมาะสม โดยมาเขียนเรยี บเรียงเป็นข้อความใหม่ได้ดว้ ยภาษาของตนเอง
1.2.2 การอา่ นเชิงวเิ คราะห์
นกั วชิ าการดา้ นการอา่ นไดใ้ หน้ ยิ าม ความหมายของการอ่านเชงิ วเิ คราะห์ ดงั น้ี
จติ ต์นิภา ศรไี สย์ (2549: 40) กล่าวว่าการอ่านเชงิ วเิ คราะหม์ คี วามจาเป็นสาหรบั
คนทุกระดบั โดยใชก้ ารไตร่ตรอง พจิ ารณาแยกแยะขอ้ ความออกได้เป็นขอ้ เทจ็ จรงิ และขอ้ คดิ เหน็
ของผเู้ ขยี น
คณะกรรมการวชิ าภาษาไทยเพ่อื การส่อื สาร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ (2555:
138) กล่าวถึง ความหมายของการอ่านเพ่อื การวเิ คราะห์ว่า เป็นการอ่านเพ่อื แยกแยะเน้ือหาท่ี
ผเู้ ขยี นสอ่ื มาว่าขอ้ ความใดเป็นขอ้ เทจ็ จรงิ ขอ้ คดิ เหน็ หรอื ความรสู้ กึ ของผเู้ ขยี น
จริ วฒั น์ เพชรรตั น์ และอมั พร ทองใบ (2556: 205) ไดใ้ หค้ วามหมายของการอ่าน
วเิ คราะห์สรุปได้ว่า การอ่านเชงิ วเิ คราะห์เป็นการอ่านงานเขียนในเชงิ แยกหาองค์ประกอบให้ได้
รายละเอยี ดต่าง ๆ ในการวเิ คราะหผ์ อู้ ่านจะตอ้ งอาศยั ความรู้ ประสบการณ์ตลอดจนวจิ ารณญาณ
มาพจิ ารณา ไตร่ตรองและแยกแยะขอ้ มูลอย่างมเี หตุผล เพ่อื สรุปความเขา้ ใจและความคดิ เก่ยี วกบั
งานเขยี นนัน้ ๆ ได้ ซ่งึ จะส่งผลใหเ้ ป็นคนมเี หตุผล มคี วามรอบรู้ สามารถนาประโยชน์จากการอ่าน
ไปใชด้ าเนนิ ชวี ติ
Potter (2005: 52-63) กล่าวไว้ว่าการอ่านเชิงวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์หา
ขอ้ เทจ็ จรงิ หรอื แนวคดิ ทต่ี อ้ งการจากขอ้ มูล โดยแบ่งขอ้ มลู ทงั้ หมดออกเป็นสว่ น ๆ และพจิ ารณาหา
ความสมั พนั ธแ์ ละความสอดคลอ้ งของขอ้ มลู ทอ่ี า่ น
Long (2012: 10-11) ได้อธบิ ายความหมายของการอ่านเชิงวเิ คราะห์สรุปได้ว่า
การอ่านเชงิ วเิ คราะหเ์ ป็นทกั ษะการอ่านทท่ี าความเขา้ ใจโดยการตคี วามสานวนภาษา คาศพั ท์ แลว้
วิเคราะห์ข้อเท็จจริง โดยการแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับส่ิงท่ีอ่านอย่างมีเหตุผล ซ่ึงได้จาก
การเปรยี บเทยี บจากแหล่งขอ้ มลู ทม่ี คี วามน่าเช่อื ถอื
กล่าวโดยสรุป การอ่านเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านเร่อื งอย่างละเอียดเพ่อื
คน้ หาจุดมุ่งหมายในการเขยี น ผู้อ่านต้องใชค้ วามคดิ แยกแยะและอธบิ ายองคป์ ระกอบภายในเร่อื ง
เพ่อื หาแนวคดิ ความหมาย ความสาคญั และความสมั พนั ธ์ของเน้ือหา และสรุปแนวคดิ และคุณค่า
จากเร่อื งทอ่ี า่ น
นอกจากน้ีคาว่า การวเิ คราะหก์ บั การอ่านเชงิ วเิ คราะหจ์ งึ มคี วามสมั พนั ธก์ นั และมี
ประโยชน์ต่อการพฒั นาการอ่าน เน่ืองจากการวเิ คราะหเ์ ป็นพน้ื ฐานของการคดิ ในมติ อิ น่ื ๆ และช่วย
พฒั นาให้ผู้อ่านเป็นคนช่างสงั เกตและมีเหตุผลในการสรุปข้อมูล ส่วนการอ่านเชิงวเิ คราะห์ช่วย
พฒั นาให้ผู้อ่านมเี หตุผลในการแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเร่อื งท่ีอ่าน ทาให้ค้นพบข้อเท็จจริง
ข้อสรุป และความคิดของผู้เขียนอย่างถูกต้อง การวิเคราะห์และการอ่านเชิงวิเคราะห์จึงมี
การออกแบบการเรยี นรู้กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 4
ค ว า ม สั ม พั น ธ์ กั น ผู้ ท่ี มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ
ในการวเิ คราะหก์ จ็ ะมคี วามสามารถในการอา่ นเชงิ วเิ คราะหด์ ว้ ย (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ, 2545: 530;
ชยพร กระต่ายทอง, 2552: 52; Poul and Elder, 2006: 3)
องคป์ ระกอบความสามารถในการอา่ นเชงิ วเิ คราะห์
ความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะห์ คอื ผอู้ ่านสามารถปฏบิ ตั ไิ ด้หลงั จากทอ่ี ่าน
แลว้ โดยนกั วชิ าการไดส้ รปุ ความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะห์ ดงั น้ี
The University of Melbourne (2010: 5) ได้อธิบายว่า ความสามารถในการอ่าน
เชงิ วเิ คราะห์เป็นการอ่านท่ที บทวนสง่ิ ท่อี ่านอย่างละเอยี ด สามารถตคี วาม หาความหมายของคา
สาคญั ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง
จริ วฒั น์ เพชรรตั น์ และอมั พร ทองใบ (2556: 207) ไดก้ ล่าวถงึ ความสามารถใน
การอ่านเชงิ วเิ คราะหส์ รุปไดว้ ่า เป็นความสามารถในการระบุ รูปแบบ เน้ือหา และแนวคดิ ของเร่อื ง
โดยสามารถตคี วามคาศพั ท์ และสานวนภาษา สามารถแยกแยะเน้ือความว่าตอนใดเป็ นขอ้ เทจ็ จรงิ
และเป็นขอ้ คดิ เห็นหรอื ความรู้สกึ ของผูเ้ ขยี น บอกสาระสาคญั ท่ผี ูเ้ ขยี นนาเสนอได้ สอดคล้องกบั
เกรยี งศกั ดิ ์ เจรญิ วงศ์ศกั ดิ ์ (2553: 3) กล่าวถึงความสามารถในการอ่านเชิงวเิ คราะห์ว่า “ผู้อ่าน
สามารถจาแนกแยกแยะได้ว่า รูปแบบของงานประพนั ธ์ทอ่ี ่านนัน้ เป็นอย่างไร เช่น เป็นนิทาน บท
ละคร นวนยิ าย เรอ่ื งสนั้ บทรอ้ ยกรอง บทความ ฯลฯ สามารถพจิ ารณาเน้อื หาประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง
โดยแยกเน้ือเร่อื งออกเป็นสว่ น ๆ ใหเ้ หน็ ว่าใคร ทาอะไร ทไ่ี หน เม่อื ไร อย่างไร สามารถวเิ คราะห์
ทรรศนะของผแู้ ต่งเพอ่ื ทราบจุดมุ่งหมายทอ่ี ย่เู บอ้ื งหลงั ผ่านทางภาษาและถอ้ ยคาทใ่ี ชเ้ ป็นต้น”
สริ วิ รรณ นันทจนั ทลู และ ธนั วพร เสรชี ยั กุล (2555: 138) กล่าวถงึ ความสามารถ
ในการอ่านเชงิ วเิ คราะห์ ประกอบด้วย 1) ผูอ้ ่านสามารถพจิ ารณาขอ้ เทจ็ จรงิ ของเน้ือหาในส่วนท่ี
นาเสนอว่าเป็นความจรงิ ตามขอ้ พสิ ูจน์ทางวชิ าการ มแี หล่งอา้ งองิ 2) ความสามารถในการพจิ ารณา
ขอ้ คดิ เหน็ คอื ความสามารถในการพจิ ารณาเน้อื หาสว่ นทเ่ี ป็นการแสดงความคดิ เหน็ สว่ นบคุ คลของ
ผู้เขยี น สงั เกตได้จากคาหรอื ว่า เช่น น่าจะ ควรจะ เช่อื ว่า เป็นต้น และ 3) ความสามารถในการ
พจิ ารณาความรสู้ กึ คอื การพจิ ารณาเน้อื หาในสว่ นทแ่ี สดงถงึ อารมณ์ความรู้สกึ ของผเู้ ขยี นทส่ี อ่ื มายงั
ผอู้ ่าน
ฐะปะนยี ์ นาครทรรพ (2545: 530) กลา่ วถงึ ความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะห์
ว่าผอู้ ่านต้องมคี วามสามารถดงั น้ี 1) สามารถวเิ คราะหง์ านเขยี น คอื การพจิ ารณารูปแบบ แนวคดิ
เน้ือเร่อื ง กลวธิ ใี นการดาเนินเร่อื ง และสานวนภาษา 2) ความสามารถในการวนิ ิจหรอื ตคี วาม คอื
การระบุเน้ือความใดเป็นขอ้ เทจ็ จรงิ และขอ้ คดิ เหน็ ทผ่ี ูเ้ ขยี นสอดแทรก พจิ ารณาเจตนาของผู้เขยี น
ใหแ้ งค่ ดิ และสาระสาคญั อะไร 3) สามารถเสนอความคดิ แทรกและความคดิ เสรมิ อย่างสมเหตสุ มผล
สมบัติ จาปาเงิน และสาเนียง มณีกาญจน์ (2548 : 101-103) กล่าวถึง
ความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะหม์ ี 2 ลักษณะ คอื 1) ผู้อ่านสามารถวเิ คราะหส์ ารได้ และผอู้ ่าน
สามารถวินิจสารได้ 2) ผู้อ่านสามารถวิเคราะห์คา ประโยค ทรรศนะของผู้แต่ง และรสของ
วรรณกรรมได้
การออกแบบการเรยี นรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 5
ทศั นีย์ เศรษฐพงษ์ (2560) กล่าวว่า ความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะห์ ผอู้ ่าน
ต้อง 1) วเิ คราะห์ส่วนประกอบของงานเขียน โดยวเิ คราะห์รูปแบบงานเขยี น วเิ คราะห์เน้ือเร่อื ง
วิเคราะห์กลวิธีการนาเสนอและวิเคราะห์สานวนภาษา 2) มีความสามารถในการตีความ ระบุ
เน้ือความ ระบุความหมายของคา และบอกจุดมุ่งหมายของผเู้ ขยี น 3) มคี วามสามารถในการแสดง
ความคดิ เหน็ โดยอธบิ ายการนาแนวความคดิ จากบทอ่านไปใช้
มติ ดิ งั กล่าวมองความสามารถในการอ่านเชงิ วเิ คราะหม์ ลี กั ษณะเป็นความสามารถ
ในการวเิ คราะหส์ าร ดงั น้ี 1) ความสามารถในการวเิ คราะหง์ านเขยี น ดา้ นรูปแบบและโครงสรา้ งงาน
เขยี น แนวคดิ กลวธิ ีการเขยี น และสานวนภาษา 2) ความสามารถในการวินิจส ารหรอื ตีความ
3) ความสามารถในการวเิ คราะห์เหตุและผลและการเช่อื มโยงหาความสมั พนั ธ์ในแต่ละข้อความ
4) ความสามารถในการแสดงความคดิ อย่างสมเหตสุ มผล
1.2.3 การอ่านอยา่ งมวี จิ ารณญาณ
การอา่ นหนังสอื เป็นสงิ่ ทจ่ี าเป็นอย่างยง่ิ ทงั้ ในชวี ติ ประจาวนั และในการศกึ ษาหาความรู้
การท่ผี ู้อ่านจะสามารถอ่านหนังสอื ใหเ้ ขา้ ใจและมผี ลสมั ฤทธใิ์ นการอ่านจนถงึ ขนั้ ประเมนิ ค่าและนา
ความรู้นัน้ ไปใช้ให้เกดิ ประโยชน์ได้นัน้ ผู้อ่านต้องผ่านกลวธิ กี ารอ่านขนั้ พ้นื ฐานมาก่อน ซ่ึงได้แก่
การอ่านเพ่อื จบั ใจความสาคญั การอ่านตคี วาม การอ่านวเิ คราะห์ การอ่านเพ่อื สงั เคราะห์และการ
อ่านประเมนิ คา่ กลวธิ กี ารอ่านทงั้ หมดน้ีจะนามาสกู่ ารอา่ นระดบั สงู หรอื การอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณ
การอ่านอย่างมวี จิ าณญาณ สายใจ ทองเนียม (2560: 93) ได้กล่าวไวว้ ่า เป็นการอ่าน
โดยสอดแทรกการวพิ ากษ์วจิ ารณ์ของผอู้ ่านไปดว้ ย โดยผอู้ ่านจะต้องมคี วามรพู้ ้นื ฐานมากและต้อง
อาศัยเทคนิคการอ่านทุกวิธีอย่างมีประสิทธิภาพจึงเกิดการสรุปความคิดรวบยอดและสามารถ
วพิ ากษ์วจิ ารณ์อย่างมเี หตุผลไดโ้ ดยการการอ่านอย่างมวี จิ าณญาณ ทงั้ น้ี กุลวดี พุทธมงคล (2560:
102) ไดอ้ ธบิ ายไวว้ ่า การอ่านอย่างมวี จิ าณญาณเป็นกระบวนการอ่านขนั้ สูง ทต่ี ้องอาศยั ความคดิ
เหตุผล เพอ่ื พจิ ารณาวนิ ิจฉัยตดั สนิ ในสงิ่ ใดสงิ่ ทอ่ี ่าน พจิ ารณาไตร่ตรองอย่างรอบครอบ โดยอาศยั
ความรแู้ ละประสบการณ์ของผอู้ ่าน อาจใชเ้ กณฑก์ ารอ่านหรอื ประสบการณ์ เป็นเคร่อื งเปรยี บเทยี บ
เมอ่ื เราสามารถใชก้ ารอา่ นย่างมวี จิ าณญาณ รจู้ กั ไตร่ตรองดว้ ยสตปิ ัญญามเี หตุผล กจ็ ะทาใหค้ ุณภาพ
ชวี ติ พฒั นาข้นึ อกี ทงั้ เอมอร เนียมน้อย (2556: 11-12) ให้ความหมายของการอ่านอย่างมวี จิ าณ
ญาณ สรุปไดว้ า่ การอา่ นอย่างมวี จิ าณญาณ หมายถงึ การอา่ นทผ่ี อู้ า่ น ใชค้ วามคดิ พจิ ารณาสง่ิ ทอ่ี ่าน
อย่างรอบคอบ ถ่ีถ้วน มีเหตุผล เพ่อื วเิ คราะห์หาคาตอบ สรุปสาระสาคญั ทงั้ เข้าใจความหมาย
โดยนยั ของถอ้ ยคา อารมณ์ จุดประสงคข์ องผูเ้ ขยี น สามารถแยกแยะขอ้ เทจ็ จรงิ ขอ้ คดิ เหน็ ได้ และ
ประเมนิ คุณค่าของสง่ิ ทอ่ี ่านไดอ้ ย่างถูกต้องเทย่ี งธรรม ซ่งึ สอดคลอ้ งกบั จริ วฒั น์ เพชร
รตั น์ และ อมั พร ทองใบ (2556: 200) ซ่ึงให้ความหมายของการอ่านอย่าง มวี จิ ารณญาณไว้ว่า
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 6
ผอู้ า่ นตอ้ งรจู้ กั ใคร่ครวญ พจิ ารณาเรอ่ื งทอ่ี ่านอย่างละเอยี ดลกึ ซง้ึ ในดา้ นต่าง ๆ เป็นการอา่ นทต่ี อ้ ง
อาศยั ความสามารถในการคดิ หาเหตุผลมาประกอบ อาจกล่าวไดว้ ่า เป็นการอ่านอย่างระมดั ระวงั
ตรวจตราหาเหตผุ ล ทน่ี อกจากจะใหเ้ กดิ ความรแู้ ลว้ ยงั เกดิ ปัญญาในทส่ี ดุ ดว้ ย
ดังนั้นการอ่านอย่างมีวิจาณญาณ จึงหมายถึง การท่ีผู้อ่านจะต้องมีความรู้
พ้นื ฐานมาก โดยต้องอาศยั เทคนิคการอ่าน ตงั้ แต่การอ่านเพ่อื จบั ใจความสาคญั การอ่านตีความ
การอ่านวเิ คราะห์ การอ่านเพ่อื สงั เคราะห์ และการอ่านประเมนิ ค่า เพ่อื สรุปความคดิ รวบยอด และ
สามารถวพิ ากษ์วจิ ารณ์อย่างมเี หตุ โดยพจิ ารณาไตร่ตรองอย่างรอบครอบ ถ่ถี ้วน มเี หตุผล เพ่อื
วเิ คราะหห์ าคาตอบ สรุปสาระสาคญั เขา้ ใจความหมายโดยนัยของถ้อยคา อารมณ์ จุดประสงคข์ อง
ผูเ้ ขยี น สามารถแยกแยะขอ้ เทจ็ จรงิ ขอ้ คดิ เหน็ ได้ และประเมนิ คุณค่าของสง่ิ ทอ่ี ่านไดอ้ ย่างถูกต้อง
เทย่ี งธรรม
องคป์ ระกอบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
องค์ประกอบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือ การท่ีผู้อ่าน
ตอ้ งมคี วามสามารถในการอา่ นวจิ ารณญาณหลายประการตามทน่ี กั วชิ าการกล่าวไว้ ซง่ึ องคป์ ระกอบ
หลายๆองค์ประกอบมารวมกนั จึงเป็นความสามารถในการอย่างมวี จิ ารณญาณ แต่หากบกพร่อง
เพียงข้อใด ข้อหน่ึง หมายความว่า ผู้อ่านยังไม่มีความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
นกั วชิ าการหลายท่านไดก้ ลา่ วถงึ ความสามารถในการอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณไว้ ดงั น้ี
จริ วฒั น์ เพชรรตั น์ และ อมั พร ทองใบ. (2556: 222)ได้สรุปแนวทางการอ่านอย่างมี
วจิ ารณญาณ สรปุ ไดด้ งั น้ี
1. พจิ ารณาความถูกต้องของภาษาทอ่ี ่าน เช่น ดา้ นความหมาย การวางตาแหน่งคา
การเว้นวรรคตอน เข้าใจความหมายของคาศัพท์ หรอื ความหมายซ่อนเร้นท่ีผู้เขียนไม่ได้บอก
โดยตรง
2. จบั ประเดน็ ความคดิ สาคญั ของผเู้ ขยี น ผอู้ ่านต้องจบั ใจความสาคญั ของแตล่ ะย่อหน้า
และของเร่อื ง รวมทงั้ สว่ นทเ่ี ป็นรายละเอยี ด เพอ่ื สรปุ ประเดน็ ความคดิ สาคญั ของเรอ่ื ง
3. เขา้ ใจจุดมุ่งหมายในการเขยี น ผู้อ่านต้องสามาถพจิ ารณาว่าผู้เขยี นเขยี นเพ่อื อะไร
เพอ่ื เสนอความรู้ เพ่อื โฆษณาชวนเช่อื เพอ่ื สนับสนุนหรอื โต้แย้งความคดิ เหน็ ของผู้อ่นื โดยการจบั
ความรสู้ กึ ทผ่ี เู้ ขยี นตอ้ งการแสดงออก
4. พจิ ารณาความสมั พนั ธข์ องส่วนต่าง ๆ ผอู้ ่านตอ้ งมคี วามรเู้ กย่ี วกบั รปู แบบ ของงาน
เขยี นประเภทต่าง ๆ สามารถแยกแยะองคป์ ระกอบของงานเขยี นนัน้ ๆ เพ่อื พจิ ารณาส่วนประกอบ
แต่ละสว่ น
การออกแบบการเรยี นรู้กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 7
5. พจิ ารณา แยกแยะขอ้ เท้จจรงิ และความคดิ เห็น ผู้อ่านต้องพจิ ารณาเร่อื งท่อี ่านว่า
ขอ้ ความใดเป็นความจรงิ ขอ้ ความใดเป็นความคดิ เหน็ ของผเู้ ขยี น อกี ทงั้ ประเมนิ ค่าความน่าเช่อื ถอื
ของความคดิ เหน็ ดว้ ยการพจิ ารณาความเป็นเหตเุ ป็นผล
6. ขยายความหรือคาดการณ์ล่วงหน้า ผู้อ่านต้องเพิ่มรายละเอียดของเร่ืองท่ีอ่าน
โดยอาศยั เหตุผลและความเหมาะสมของขอ้ มูล การคาดคะเนเร่อื งราวและเหตุการณ์ทเ่ี กดิ ตามมา
หรอื คาดคะเนความรสู้ กึ นึกคดิ ของบคุ คลในเรอ่ื ง
7. ประเมินคุณค่าของส่ิงท่ีอ่าน ว่าผลจากการอ่านจะทาให้เกิดความรู้ความคิด
มากเพยี งใด ผู้อ่านต้องตดั สนิ หรอื ตีค่าสง่ิ ท่อี ่านอย่างมเี หตุผล โดยใช้ความรู้ ประสบการณ์ และ
ขอ้ มูลต่าง ๆ มาสนับสนุน หลงั จากประเมนิ คุณคา่ แลว้ ผอู้ ่านยงั สามารถนาสงิ่ ทม่ี คี ุณคา่ ไปใชใ้ นการ
ดาเนินชวี ติ อยา่ งเหมาะสม
เอมอร เนียมน้อย (2551: 16) กล่าวถึงทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ซง่ึ จะปรากฏออกมาในพฤตกิ รรมตอ่ ไปน้ี
1. จาแนกประเภทของงานเขยี นได้
2. สามารถแยกแยะสว่ นทเ่ี ป็นขอ้ เทจ็ จรงิ หรอื ขอ้ คดิ เหน็
3. สามารถอธบิ ายความหมายของคาศพั ท์ สานวน อปุ มา
4. ตดั สนิ ไดว้ ่าสงิ่ ใดถูก สงิ่ ใดผดิ
5. บอกจดุ ประสงคข์ องผเู้ ขยี นได้
6. จบั แนวคดิ หลกั ได้
7. จบั น้าเสยี ง หรอื ความรสู้ กึ ของผเู้ ขยี นได้
8. บอกโครงเร่อื ง หรอื สรุปเรอ่ื งได้
9. ประเมนิ คณุ คา่ ของเร่อื งทอ่ี า่ นได้
จากขอ้ มูลข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า หลกั และทกั ษะในการอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณ
ผู้อ่านต้องมคี วามสามารถสูงในการวเิ คราะห์เหตุผลของผู้เขยี นท่เี สนอผ่านตวั หนังสอื เพ่อื นามา
วเิ คราะห์สงั เคราะห์ และประเมนิ ตดั สนิ เร่อื งทอ่ี ่านไดอ้ ย่างถูกต้อง ทงั้ น้ีจากขอ้ มูลขา้ งต้นสามารถ
สรุปองคป์ ระกอบความสามารถทางดา้ นการอ่านอย่างมวี จิ ารณญาณได้ดงั น้ี
1. ความสามารถด้านการสรุปประเดน็ สาคญั คอื ผูอ้ ่านสามารถสรุปความคดิ รวบ
ยอด หรอื สาระสาคญั ของเร่อื ง จดั ลาดบั ความสาคญั ของข้อมูล อีกทงั้ สามารถระบุคาท่ีมี
ความหมายโดยนยั ของถอ้ ยคา วลี ประโยคและสานวนไดถ้ กู ตอ้ ง
การออกแบบการเรยี นรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 8
2. ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์จากบทอ่าน คอื ผอู้ า่ นสามารถบอกโครงเร่อื ง
บอกอารมณ์ความรสู้ กึ น้าเสยี ง และจุดประสงคข์ องผเู้ ขยี นจากเน้ือเร่อื งทอ่ี ่านได้ อกี ทงั้ ยงั สามารถ
พจิ ารณา ไตร่ตรอง โดยแยกแยะขอ้ เทจ็ จรงิ ขอ้ คดิ เหน็ ขอ้ สนบั สนุน หรอื ขอ้ โตแ้ ยง้ ได้
3. ความสามารถด้านการประเมินค่าจากบทอ่าน คอื ผอู้ า่ นสามารถวพิ ากษ์ วจิ ารณ์
แสดงความคิดเหน็ อย่างมเี หตุผลจากเร่อื งท่อี ่าน คาดการณ์เร่อื งราวล่วงหน้า พจิ ารณาหาความ
เป็นไปได้ของเร่อื งท่อี ่านว่าน่าเช่อื ถือหรอื มคี ุณค่าเพยี งใด โดยอาศยั เหตุผลและความเหมาะสม
ของขอ้ มลู สามารถตดั สนิ หรอื ประเมนิ คุณค่า บอกขอ้ ดขี อ้ ดอ้ ยหรอื ประโยชน์จากเน้ือเร่อื งทอ่ี ่านได้
อย่างเทย่ี งตรง
1.2.4 การอ่านออกเสยี ง
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของการออกเสียงให้เหมือน
การออกเสียงปกติที่เราพูดออกเสียงกันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงสารที่ส่งมากับอักษรนั้นให้
เทยี่ งตรง โดยคำนงึ ถึงหลกั สำคัญดังน้ี
๑. ออกเสียงชดั เจน ถกู ต้องตามอกั ขรวธิ ี มีลาลาจังหวะ
๒. มีการเว้นวรรค ลงจังหวะการออกเสียงให้เหมาะสม
๓. อา่ นด้วยนำ้ เสยี งแจม่ ใส นา่ ฟงั ไม่ดังหรอื ค่อยเกินไป
๔. เปลง่ เสียงให้สอดคล้องกับเนอื้ หาและอารมณ์
๕. ประเมินผลการอ่านออกเสยี งของตนเป็นระยะ ๆ
๖. บันทึกเสียงอ่านของตนไว้ตรวจสอบความถูกต้องหรือข้อบกพร่องเพื่อแก้ไขในโอกาส
ตอ่ ไป
๗. ทดลองอา่ นใหผ้ อู้ นื่ ฟังและใหแ้ สดงความคิดเห็นเชงิ วิจารณก์ ารอ่าน
๘. อ่านออกเสยี งอยสู่ มำ่ เสมอ
การอ่านออกเสียงต้องมีศิลปะการอ่าน ทั้งเพื่อความไพเราะและความถูกต้อง ทั้งการอ่านออก
เสยี งปกตแิ ละการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ หากผอู้ า่ นรู้วธิ ีการเปล่งเสียงจะทำให้ผู้ฟังจะได้อรรถและรส
ไปพร้อมกนั ซึง่ จะได้กลา่ วถึงการอ่านออกเสยี งท้งั ออกเสยี งปกติและออกเสียงใหม้ ีทำนองเสนาะดังน้ี
การอ่านออกเสียงปกติ การอา่ นออกเสียงท้งั รอ้ ยแกว้ และรอ้ ยกรองต้องคำนึงถึงสงิ่ ต่าง ๆ ตอ่ ไปนี้
๑. ความถูกต้อง หมายถึง การอ่านถูกต้องตามอักขรวิธีของภาษาไทยและอ่านถูกต้องความ
นิยม โดยอาศัยหลกั การอา่ นจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เปน็ แนวทาง เชน่
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 9
ประวตั ิศาสตร์ อ่านวา่ ประ – หวดั – ติ – สาด
กรรมาธกิ าร อา่ นวา่ กำ – มา – ทิ – กาน
โฆษณา อ่านวา่ โคด – สะ – นา
กรณี อ่านวา่ กะ – ระ – นี เปน็ ตน้
๒. ความชัดเจน หมายถึง การอ่านออกเสียงสระ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ให้ถูกต้องตาม
หลกั การอา่ นและออกเสยี ง ตวั ร ล ตลอดจนตัวควบกลำ้ ได้ชดั เจนถกู ตอ้ ง
ตวั อย่าง คำทีใ่ ช้ ร ล เปน็ พยัญชนะตน้
รดน้ำ รถยนต์ รสชาติ รวดเร็ว รวบรัด ร่วงโรย ราชการ ราชภัฏ ราชมงคล ราชสมบัติ
ราชสีมา รายงาน รายการ รายรับ ลวดหนาม ล่วงเลย ล่วงล้ำ เลิศลอย ลอยล่อง ล่องเรือ ลาดเลา ลินิน
ลิขติ ลกุ ลาม ลุกรล้ี กุ รน ลอดช่อง รำเคญ็
คำที่มพี ยญั ชนะตน้ เปน็ ตัวควบกลำ้
กระจก กระจาย กลางแปลง กลางคัน กลาดเกลื่อน เกลื่อนกล่น ขวักไขว่ ขวนขวาย
เควง้ ควา้ ง ขลกุ ขลัก ขรุขระ ขวางคลอง
วาสนา บุญสม (๒๕๔๑: ๒๒) ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของการอ่านออกเสียงให้
ถกู ต้อง ดังน้ี
๑. การอา่ นตัวอักษรควบกลำ้ แทค้ วรออกเสยี งใหช้ ัดเจน เช่น กราม ความกลา้
๒. การอ่านตัวอักษรควบกล้ำไม้แท้โดยไม่ออกเสียงพยัญชนะที่ควบ เช่น สร้าง เศร้า
ฯลฯ หรือคำควบกลำ้ “ทร” ให้ออกเสยี งเปน็ “ซ” เชน่ ทรง พทุ รา ฯลฯ
๓. การอ่านคำพ้องรูป เช่น เพลา อ่านว่า เพ + ลา ที่แปลว่า กาลเวลา หรือ เพลา ท่ี
แปลว่า แกนสำหรบั สอดในดมใหร้ ถหมนุ หรอื แปลอกี ความหมายหนึ่งว่า เบาลง เปน็ ตน้
๔. การอา่ นตวั ฤ ใหอ้ อกเสยี งไดท้ ัง้ รึ รอื และ เรอ ตวั อย่างเช่น
ฤดู อา่ นว่า รึ – ดู
ฤกษ์ อ่านวา่ เริก
๕. การอ่านตามตวั อกั ษรนำ ตัวอยา่ งเช่น
ตลาด อา่ นว่า ตะ – หลาด
ถนน อา่ นวา่ ถะ – หนน
๖. การอา่ นตวั “ฑ” ให้ออกเสยี งไดท้ ้งั “ท” และ “ด” ตวั อยา่ งเชน่
มณโฑ อ่านว่า มน – โท
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 10
มณฑป อา่ นว่า มน – ดบ
๗. การอา่ นคำสมาส ควรออกเสยี งให้ถูกต้อง ตัวอยา่ งเชน่
ธนบัตร อา่ นวา่ ทะ – นะ – บัด
วรรณคดี อา่ นว่า วัน – นะ – คะ – ดี
๘. การอ่านคำแผลง ควรออกเสยี งให้ถูกต้อง ตัวอยา่ งเช่น
กำราบ อา่ นว่า กำ – หราบ
จำแนก อา่ นว่า จำ – แนก
๙. การอา่ นคำอักษรย่อ จะตอ้ งอ่านให้เต็มคำ และถกู ต้อง ตวั อยา่ งเชน่
พ.ศ. อ่านวา่ พุทธศกั ราช
ศ. อ่านวา่ ศาสตราจารย์
๑๐. การอา่ นตามความนิยม ซงึ่ เปน็ การที่ไม่ถูกตอ้ งตามหลักเกณฑ์ ตัวอยา่ งเช่น
ดลิ ก อา่ นว่า ดิ – หลก
ฉศก อ่านว่า ฉอ – สก – หรอื ฉอ้ – สก
๑๑. การอ่านเคร่ืองหมายต่าง ๆ ตวั อยา่ งเชน่
! อ่านวา่ อัศเจรยี ์
? อ่านวา่ ปรัศนีย์
การอ่านบทร้อยกรอง
บทร้อยกรองหรือบทกวีนน้ั มีลักษณะการอา่ นท้ังการอ่านปกติ ซึ่งมหี ลกั การอ่านคล้ายคลึงกับการ
อ่านรอ้ ยแก้วแตม่ กี ลวธิ ีพิเศษในการแบง่ ชว่ งของการออกเสียงตามลักษณะคำประพันธแ์ ต่ละชนิด เช่น การ
อ่านกลอนสุภาพ ซึ่งมีบังคับจำนวนคำวรรคละ ๕ คำ จะแบ่งช่วงการอ่านแต่ละวรรคเป็น ๓ ๒ ๓ กับการ
อ่านทำนองเสนาะซึ่งต้องอาศัยศิลปะในการออกเสียงเป็นพิเศษ ซึ่งมีรายละเอียดควรเรียนรู้และฝึกหัด
เพ่ือให้เกดิ ทกั ษะและความไพเราะต่อไป
วาสนา บุญสม (๒๕๔๑: ๒๔) ได้กล่าวถึงการอ่านออกเสียงประเภทร้อยกรองว่า เป็นการอ่าน
ออกเสียงอีกแบบหนึ่ง โดยสามารถอ่านได้ ๒ แบบคือ อ่านออกเสียงปรกติเช่นเดียวกับการอ่านร้อยแก้ว
และอ่านออกเสียงทำนองเสนาะตามชนิดของบทร้อยกรองนั้น ๆ แต่แตกต่างไปจากการอ่านอื่น ๆ ตรงท่ี
การอา่ นออกเสียงประเภทรอ้ ยกรองต้องมีเสียงสูง ๆ ตำ่ ๆ มจี ังหวะ วรรคตอน มีการเออื้ น เสยี งไพเราะ มี
จังหวะของคล่ืนเสยี งเปน็ กงั วานใหซ้ าบซงึ้ เพอ่ื คล้อยตามทำนองเสียงน้ัน
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 11
อนึ่ง การอ่านบทร้อยกรองเป็นทำนองร้อยแก้ว เช่น การอ่านกลอนสุภาพ โคลงสี่สุภาพ อินทร
วิเชียรฉันท์ กาพย์ยานี ๑๑ ฯลฯ มักปรากฏในบทความ คำปราศรัย หรือสุนทรพจน์ จะต้องอ่านให้ครบ
องคป์ ระกอบ ๓ ประการ ดงั น้ี
๑. อา่ นใหถ้ กู ต้องตามอักขรวิธีภาษาไทย และเข้าใจความหมายของคำ หรือข้อความต่าง
ๆ ทอ่ี ่าน เปน็ อยา่ งดี
๒. อ่านใหช้ ัดในการออกเสยี งพยญั ชนะ สระ วรรณยกุ ต์
๓. อ่านให้ถูกต้องตามท่วงทำนองและจงั หวะของบทร้อยกรองแต่ละชนดิ ไม่เร็ว หรือช้า
เกินไป
การอ่านออกเสียงประเภทร้อยกรอง เป็นการอ่านรับรสไพเราะของบทประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมี
ความเสนาะหูเพิม่ เขา้ มามากกวา่ การอา่ นออกเสยี งประเภทรอ้ ยแก้ว ดงั นั้นการฝึกฝนให้อ่านไดไ้ พเราะและ
ถูกต้อง จักช่วยให้ผู้อ่านและผู้ฝังได้รับรสไพเราะของบทร้อยกรองอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดีแม้ว่าการฝึกฝน
เกี่ยวกับการอ่านทำนองเสนาะนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากก็ตาม เพราะต้องขึ้นกับน้ำเสียงของแต่ละ
บุคคลดว้ ย แต่เมื่อมีความชำนาญแล้วนับได้ว่ามีทรพั ย์อยู่กบั ตัวจำนวนมหาศาลทเี ดยี ว
จากการศึกษาประเภทของการอ่านออกเสียงที่นักวิชาการได้กล่าวไปข้างต้น กล่าวโดยสรุปได้วา่
การอ่านออกเสียงน้ันแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ การอ่านออกเสียงรอ้ ยแก้ว และการอ่านออกเสียงร้อย
กรอง ซึ่งมีกฎเกณฑ์ในการอ่านตามรูปแบบคำประพันธ์แต่ละชนิด สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่ออ่านออก
เสียงท้ัง ๒ ประเภท มีดงั น้ี การอา่ นออกเสยี งรอ้ ยแก้วจะต้องออกเสียงอยา่ งเป็นธรรมชาติเชน่ เดียวกับการ
พูดในชีวิตประจำวัน แต่ต้องมีศิลปะการอ่านด้วย เพื่อความไพเราะ ความชัดเจนและความถูกต้องตาม
อักขรวิธีของภาษาไทย ยึดหลักแนวทางตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทั้งการอ่านคำ
ควบกล้ำ คำพ้องรปู การอา่ นอักษรนำ การอา่ นคำสมาส การอ่านคำแผลง การอา่ นอักษรย่อ และการอ่าน
เครื่องหมายต่าง ๆ ส่วนการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง ต้องคำนึงถึงจังหวะ ความถูกต้องตามฉันทลักษณ์
การแบ่งวรรคตอนในการอ่านและความไพเราะของน้ำเสียง ทั้งนี้การอ่านออกเสียงยังต้องอาศัยการฝกึ ฝน
การเตรียมความพร้อม และการทำความเข้าใจกับบทอ่านแต่ละประเภท การแบ่งจังหวะในการอ่าน เพ่ือ
ความเหมาะสม ความไพเราะ และยงั จะทำใหผ้ ฟู้ งั เขา้ ใจเร่อื งราวทผี่ ู้เขียนต้องการส่อื สารไดม้ ากขน้ึ
องคป์ ระกอบความสามารถของการอ่านออกเสียง
อรรณพ อุบลแย้ม (๒๕๔๒: ๒๓๐ – ๒๓๑) กล่าวถึงหลักทั่วไปในการอ่านออกเสียงว่า การอ่าน
ออกเสยี งมีหลักอยหู่ ลายประการ มผี กู้ ำหนดไวค้ ลา้ ยกันบ้าง ต่างกันบา้ ง ทสี่ ำคญั มี
การออกแบบการเรยี นรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย 12
๑) ศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง คำทุกคำ ข้อความทุกตอน และสาระสำคัญ
ทงั้ หมดของเร่อื ง ผูอ้ า่ นต้องเขา้ ใจ และเตรยี มตวั อ่านใหผ้ ้ฟู งั ได้เขา้ ใจชดั เจน
๒) รู้วิธีแบ่งประโยคเป็นตอนสั้น ๆ เพื่อให้ผู้ฟังจับใจความได้ง่ายขึ้น และผู้อ่านเองก็จะได้มี
โอกาสหยุดพักหายใจเปน็ ระยะ ๆ และชว่ ยใหอ้ ่านไดช้ ดั ถ้อยชัดคำ
๓) นกึ ถงึ หนา้ ท่ีของตน คอื การอ่านใหผ้ ู้อื่นฟัง ต้องคิดถงึ ผู้ฟงั ส่วนใหญ่เป็นสำคัญ ขณะท่ีอ่าน
ควรสังเกตสีหน้าของผู้ฟังด้วยว่าเข้าใจหรือยัง หรือว่ายังทำหน้าฉงนอยู่ จะได้ถือโอกาสปรับปรุงการอ่าน
เช่น เพิม่ หรือลดความเร็วในการอา่ นหรอื ปรบั เสียงใหด้ งั ขึ้นหรอื ค่อยลง เปน็ ต้น
๔) วางท่าทางให้สง่าผึ่งผาย ไม่ยืนหรือนั่งซอมซ่อ ไม่เงยหน้าจนมองดูแหงน ไม่ก้มหน้าจน
มองดูงมุ้ และไมป่ ะหมา่
๕) ถือหนังสือหรอื เอกสารท่จี ะอ่านไวร้ ะดับหน้าอกโดยประมาณ ไมค่ วรให้สงู หรอื ต่ำไปกวา่ น้ัน
อาจจะทำใหผ้ ู้อา่ นต้องเงยหนา้ หรือก้มหน้ามากเดนิ ไป
๖) การลนั่ เสยี งควรใหด้ ังพอเหมาะแก่จำนวนผู้ฟัง ตอนที่ควรเนน้ เสียง ทำเสียงดุ ทำเสียงแผ่ว
เบา เสยี งออ่ นโยน เสยี งเศร้า เสยี งธรรมชาติ หรอื เสียงวตั ถกุ ็ควรทำเสยี งใหเ้ ปน็ ไปในทำนองน้ัน
๗) กำหนดจังหวะต่าง ๆ ในการออกเสียงให้เหมาะสม เช่น การหยุดเสียง การทอดเสียง หรือ
การชะงักเสยี งไวเ้ พ่อื ผอ่ นหายใจ
๘) ไมอ่ ่านชา้ เกินไป หรอื เรว็ เกนิ ไป โดยพยายามศกึ ษาผู้ฟงั และให้ผฟู้ งั สว่ นใหญ่เข้าใจ
๙) ออกเสยี งได้ชดั เจนและถูกตอ้ ง ชัดถอ้ ยชัดคำ ตามเสยี งพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
กองเทพ เคลอื บพณิชกลุ (๒๕๔๒: ๙๖) กลา่ วถงึ ขอ้ ปฏบิ ตั สิ ำหรับผูอ้ ่านออกเสยี งตามปกติว่า
๑. ควรทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอ่านก่อนที่จะอ่านจริง จึงจะสามารถสอดใส่อารมณ์ หรือ
เน้นเสียงให้สัมพนั ธ์กบั เร่ือง
๒. ออกเสียงชดั เจน ดงั พอประมาณ มีลีลาและจังหวะในการอา่ นให้เหมาะสม
๓. แบง่ วรรคตอนให้ถกู ตอ้ ง อาจทำได้โดยการขดี เสน้ ค่นั ข้อความท่จี ะแบง่ ไวก้ ่อนล่วงหน้า เพ่ือ
จะอ่านออกเสียงตกวรรคได้เหมาะสม เพือ่ ปอ้ งกันการแบ่งวรรคตอนผดิ
๔. การเปล่งเสียงแต่ละคำขณะอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีของไทย หรือภาษาอื่นที่ไทย
นำมาใช้ โดยหมั่นฝึกการอ่านคำให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เช่น คำ
ว่า ยมบาล จะต้องอ่านว่า ยม – มะ – บาน ไม่ควรอ่านผดิ เป็น ม – พะ – บาน เป็นตน้
จากการศึกษาหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการอ่านออกเสียงที่นักวิชาการได้อธิบายไว้ข้างต้น ทำ
ใหท้ ราบไดว้ ่า องค์ประกอบความสามารถในการอ่านตีความ จะประกอบดว้ ย
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 13
๕.๑ ด้านความถูกต้องในการอ่านออกเสียง หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเสียง การ
สะกดคำในภาษาไทยถูกต้องตามรูปพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ และถูกต้องตามอักขรวิธีตามแนวทาง
ของพจนานุกรมราชบัณฑิตยาสถาน เช่น คำควบกล้ำ อักษรย่อ และเครื่องหมายต่าง ๆ มีลีลาจังหวะใน
การอ่าน จัดแบง่ วรรคตอนไดอ้ ย่างถูกตอ้ งและเหมาะสมตามความหมายของเนื้อเรอ่ื ง รวมถงึ การอา่ นไม่ลด
คำ เตมิ คำ ซำ้ คำ หรอื ขา้ มคำ จนทำใหส้ ารผดิ ไปจากเดิม
๕.๒ ดา้ นบคุ ลิกภาพ หมายถงึ การมลี ักษณะท่าทางในการอ่านท่ีดี การวางท่าทาง การจบั หนังสือ
ที่ถูกต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้อ่านมองเห็นอย่างชัดเจน ฝึกการทรงตัว ใช้สีหน้าและแววตาให้
เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ
๕.๓ ด้านการรับสารและการส่งสาร หมายถึง การจับใจความสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านก่อนที่
จะไปอ่านให้ผู้อื่นฟัง เพื่อที่จะเลือกใช้น้ำเสียงให้เหมาะกับเรื่องที่อ่าน เช่น การอ่านนิทาน จะต้องเปลี่ยน
เสียงไปตามละครหรือบทบาทที่ได้รับจึงจะเหมาะสมแก่การถ่ายทอดเรื่องราวตามเรื่องที่อ่าน ทำให้ผู้ฟัง
เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ผู้อ่านจะต้องสามารถถ่ายทอดเรื่องที่อ่านให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้อย่าง
ชดั เจนเป็นไปตามความตอ้ งการของผ้เู ขยี น
1.3 การจดั การเรยี นรูพ้ ฒั นาทักษะการอา่ น
การพัฒนาทักษะการอ่านสามารถใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ในบทนี้ขอนำเสนอ
วิธกี ารสอนที่สะดวกและมีประสทิ ธิภาพ เหมาะกบั บทอ่านประเภทต่าง ๆ
5W1H
5W1H คือ ความสามารถในการตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนตอบ โดยใช้การสังเกต ความคิดเห็น
เหตุผล ท่ีใช้ความสามารถมากกว่าความจำและใหม้ ีปฏสิ มั พันธร์ ะหวา่ งกนั และกนั
นันท์นภัส นิยมทรัพย์ (2560: 124) ได้ให้ความหมายของ 5W1H คือ การที่ผู้สอนใช้คำถาม
แทรกในระหว่างขนั้ ตอนการสอน เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ เช่น ดงึ ความสนใจ ทบทวนประสบการณ์
เดิม ตรวจสอบความเข้าใจ วัดความรู้ความเข้าใจ ตรวจสอบพฤติกรรม ความสนใจในการเรียน เป็นต้น
หรือเป็นการให้ผู้เรียนตั้งคำถามสำหรับถามเพื่อนหรือถามผู้สอนก็ได้ เพื่อเป็นการฝึกฝนการสือ่ สารให้ตรง
ประเด็น ให้รู้จักคิดสงสัย เพื่อขยายความคิด อีกทั้ง เป็นการประเมินผู้เรียนได้จากคำถามของผูเ้ รียน โดย
พิจารณาว่าคำถามนั้น เป็นการถามในสิ่งเดิม สิ่งปัจจุบันหรือสิ่งที่ควรรู้ในอนาคต เพื่อครูจะได้แก้ไข เติม
เตม็ ความรู้หรอื ต่อยอดความรู้ของผู้เรยี นไดต้ ามความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียน โดยมีทิศทางการ
การออกแบบการเรียนรู้กลุม่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 14
ถาม คือ ครูถามนักเรียนทั้งชั้นหรือถามรายบุคล นักเรียนถามเพื่อนรายบุคคลหรือถามเพื่อนทั้งชั้นเรียน
หรือถามครู
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ 5W1H
ยทุ ธ ไกยวรรณ์ (2550: 119) ได้กลา่ วถึงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ 5W1H ไวด้ ังน้ี 1) ตั้ง
คำถามสั้น ๆ และตรงจุด 2) หลีกเลี่ยงการใช้คำถามคลุมเครือ 3) ถ้าต้องการคำตอบที่ดี ประโยคคำถาม
ตอ้ งกระจ่าง 4) ไม่ควรถามคำถามท่ีจะใหผ้ เู้ รยี นตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ 5) หลกี เล่ียงการใช้คำถามสองแง่สอง
งา่ ม 6) ควรใช้คำถามเป็นชว่ ง ๆ ของการเรียน 7) ไมค่ วรตง้ั คำถามให้ผเู้ รียนตอบพร้อม ๆ กัน 8) คำถามที่
เกี่ยวกับสูตร ทฤษฎี ควรให้เวลาในการตอบและควรระบุผู้ตอบด้วย 9) ไม่ทำโทษผู้เรียนที่ตอบคำถาม
ผิดพลาดหรือดุด่าผู้เรียนต่อหน้ากลุ่ม 10) ให้พิจารณาความสามารถและความสำเร็จของผู้เรียน โดยตั้ง
คำถามทย่ี ากข้นึ ตามลำดับของเนือ้ หาทถ่ี ่ายทอด
ดวงกมล สินเพ็ง (2551: 267) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ 5W1H ไว้ดังนี้ 1)
ครูสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้จักกระตือรือร้นที่จะเรียน 2) ครูควรเตรียมคำถามไว้หลายประเภท 3)
คำถามควรชดั เจน 4) ควรถามผู้เรยี นก่อน แลว้ จึงเรยี กชือ่ ผู้เรียนให้ตอบ 5) เมอื่ ถามคำถามแล้ว ครูควร
ใหเ้ วลาผเู้ รียนได้คิดหาคำตอบ 6) ควรกระจายการเรียกผู้เรียนให้ตอบคำถามให้ท่ัวถึง ให้มากที่สุด 7) ครู
ควรใช้น้ำเสียงเร้าใจในการถาม 8) ถ้าผู้เรียนตอบคำถามผิดหรือไม่ตรงประเด็นครูควรอธิบายให้ผู้เรียน
เข้าใจ 9) คำตอบของผู้เรียนที่ไม่ตรงกับคำตอบของครู ครูต้องคิดพิจารณาด้วย 10) ควรให้กำลังใจแก่
ผเู้ รยี นทต่ี อบคำถามไมไ่ ด้
Think-pair share
เทคนิคการจัดการเรียนร้แู บบเพือ่ นคคู่ ิด
การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด จัดเป็นวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างหนึ่งที่ให้นักเรียน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งมีลักษณะสำคัญ
ตามท่ีนักการศกึ ษาหลายท่านไดก้ ล่าวถงึ ไว้อย่างคล้ายคลงึ กนั โดยจะนำเสนอดังต่อไปน้ี
พมิ พนั ธ์ เดชะคปุ ต์ (2550: 12) กล่าวถึงลกั ษณะของการจดั การเรยี นรูแ้ บบเพ่ือนคคู่ ิด ไว้ว่า เป็น
เทคนิคแบบคิดเดย่ี ว คิดคู่ และรว่ มกันคิด โดยเร่มิ จากปัญหาหรอื โจทย์คำถาม โดยสมาชกิ แต่ละคนคิดหา
คำตอบด้วยตนเองก่อน แล้วนำคำตอบไปอภิปรายกับเพื่อนเป็นคู่ จากนั้นจึงนำคำตอบของตนหรือของ
เพือ่ นทีเ่ ปน็ คู่ไปเล่าให้เพอ่ื นท้งั ช้นั ฟงั
มนต์ชัย เทียนทอง (2551: 99) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบ Think pair share ถูกพัฒนาขึ้น โดย
Frank Lyman แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยดำเนินกิจกรรมใน
ลักษณะแบ่งผู้อบรมเป็นคู่ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) Think เป็นการท้าทายให้ผู้อบรม ได้คิดและ
ไตร่ตรองจากคำถามปลายเปิดหรือการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม 2) Pair เป็นการจัดให้ ผู้อบรมจับคู่กันเปน็ คู่
ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเหน็ ซึ่งกันและกันในประเดน็ ปัญหาที่กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันค้นหาขอ้ สรปุ หรอื
การออกแบบการเรยี นรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 15
ตอบคำถามที่ต้องการ และ 3) Share เป็นการสลายจากการจับกลุ่มกันเป็นคู่ ๆ แล้วสรุปผลการค้นหา
คำตอบร่วมกนั เพ่ือแลกเปล่ยี นความรู้ สรุปและอภิปรายผลการค้นพบ
วิภาดา งานสม (2555: 12) กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ เพื่อน
คู่คิด ซึ่งประกอบดว้ ย 3 ขน้ั ตอน ได้แก่ 1) Think หมายถึง การทา้ ทายให้ผู้เรียนได้คิดและไตร่ตรองจาก
คำถามแบบปลายเปิด หรือการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน 2) Pair หมายถึง การจัดผู้เรียนออกเป็น
กลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันค้นหา
ขอ้ สรุปหรอื ตอบคำถามทีต่ ้องการ และ 3) Share หมายถงึ การสลายจากกลุ่มย่อยเข้าสู่ชน้ั เรยี นปกติ เพ่ือ
แลกเปล่ยี นความรสู้ รปุ และอภิปรายผลการค้นพบ
การจัดการเรยี นการสอนโดยใชเ้ ทคนคิ การจดั การเรยี นรู้แบบเพอื่ นคู่คิด
การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ 3 ข้นั ตอนคอื
ขั้นที่ 1Think เป็นขั้นตอนที่มีการกระทำร่วมกันทั้งชั้นเรียนโดยผู้สอนอธิบายพร้อมสาธิต
วิธีการใช้งานแต่ละเรื่องและแจกใบงานให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนคิดและวิเคราะห์ขั้นตอน
การทำงาน เพื่อใหไ้ ด้มาซง่ึ คำตอบที่ต้องการ
ขั้นท่ี 2 Pair เปน็ ข้นั ตอนที่ผ้สู อนจับคูใ่ ห้ผเู้ รยี นตามเง่ือนไขทผ่ี ูส้ อนกำหนด เช่น จบั คผู่ เู้ รียน ท่ี
มีผลการเรียนดคี ู่กับผู้ทีม่ ผี ลการเรียนออ่ นกวา่ เพอ่ื ใหผ้ ู้เรยี นไดแ้ ลกเปลี่ยนความคิดเหน็ ร่วมกัน
ขั้นที่ 3 Share เป็นขั้นสุดท้ายที่ผู้สอน จะสุ่มผู้เรียนมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเพื่อสรุปผล
การเรียนรู้
Graphic organizer
พมิ พนั ธ์ เดชะคปุ ต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2551: 67) กล่าวว่า ผังกราฟกิ คอื แบบของการส่ือสาร
เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีความเข้าใจ กระชับ กะทัดรัด ชัดเจน ผัง
กราฟิกได้มาจากการนำข้อมูลดิบ หรือความร้จู ากแหล่งต่าง ๆ มาทำการจัดกระทำข้อมลู ในการจัดกระทำ
ขอ้ มลู ต้องใช้ทกั ษะการคิด เช่น การสงั เกต การเปรียบเทียบ การแยกแยะ การจัดประเภท การเรียงลำดับ
การใช้ตัวเลข เช่น ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และการสรุป เป็นต้น จากนั้นจึงมีการเลือกแบบผังกราฟิกเพื่อ
นำเสนอข้อมลู ที่จัดกระทำแลว้ ตามเปา้ หมายหรอื วตั ถปุ ระสงค์ทีผ่ ู้นำเสนอต้องการ
ทิศนา แขมมณี (2560: 388) ได้ให้ความหมายของคำว่า ผังกราฟิก ไว้ว่า ผังกราฟิก เป็นแผนผัง
ทางความคิด ซึ่งประกอบไปด้วยความคิดหรือข้อมูลสำคัญๆ ที่ใช้เชื่อมโยงกันอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้
เห็นโครงสร้างของความรู้เนื้อหาสาระนั้น ๆ การใช้ผังกราฟิกเป็นเทคนิคที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการ
เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ จำนวนมากเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นได้งา่ ยขึ้นและจดจำได้
นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้อหาสาระหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนประมวลมานั้นอยู่ในลักษณะกระจัด
กระจาย ผังกราฟิกจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนจัดข้อมูลนั้นให้เป็นระบบระเบียบ อยู่ในรูปแบบท่ี
อธิบายใหเ้ ขา้ และจดจำไดง้ า่ ย นอกจากใช้ในการประมวลความรู้ หรือจดั ความรู้ดงั กลา่ วแลว้ ในหลายกรณี
การออกแบบการเรยี นรู้กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 16
ที่ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มหรือสร้างความคิดขึ้น ผังกราฟิกเป็นเครื่องมือการคิดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการ
สร้างความคิดซึ่งมีลกั ษณะเป็นนามธรรมอยู่ในสมอง จำเป็นต้องมกี ารแสดงออกมาใหเ้ ห็นเป็นรปู ธรรม ผัง
กราฟิกเป็นรปู ของการแสดงออกของความคิดที่สามารถมองเหน็ และอธิบายไดอ้ ย่างเป็นระบบชัดเจนและ
อย่างประหยดั เวลา
จากความหมายของผังกราฟิกที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ข้างต้น สามารถสรุปได้
ว่า ผังกราฟิก หมายถึง ผังความคิดที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถจัดกระทำความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัด
กระจายได้อย่างเป็นระบบระเบียบ นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกทั้งจะเกิดความจำที่
แม่นยำในเนื้อหาของบทเรยี น สามารถนำเสนอความคดิ ออกมาได้อยา่ งเปน็ ลำดบั ข้นั ตอน ซึง่ ผงั กราฟิกน้ัน
จัดเปน็ เครือ่ งมือท่ชี ่วยในเรอ่ื งของการจัดระบบความคิดไดเ้ ป็นอย่างดีมปี ระสทิ ธิภาพและประหยัดเวลา
การใช้ผังกราฟิกในการจดั การเรยี นการสอน
การจัดการเรียนการสอนในการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์หากนำการใช้เทคนิคผงั กราฟิกเขา้
มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ดว้ ยนั้นจะช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะความคิดที่เป็นระบบ ไม่วกวนและสามารถ
นำเสนอความคิดออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพของการเขียนเรียงความเชิง
สร้างสรรค์ใหม้ ากขึ้น โดยมีนักวิชาการไดก้ ล่าวถงึ ข้ันตอนการใช้ผังกราฟิกในการจดั การเรยี นการสอน ดงั น้ี
ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ (2560 : 11-12) กล่าวว่า 1) ครูเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของ
เน้ือหาสาระแกผ่ ู้เรียน
2) ผู้เรียนทำความเข้าใจ เนื้อหาสาระและนำเสนอ เนื้อหาใส่ลงในผังกราฟิกตาม ความเข้าใจ
ของตนเอง
3) ครูซกั ถาม เพ่อื แก้ไขความเข้าใจท่คี ลาดเคลือ่ นของผู้เรยี น หรอื ขยายความเพิ่มเติม
4) ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติมโดยนำประเด็นสำคัญเนื้อหาแล้วให้ผู้เรียนใช้ผังกราฟิกเป็น
กรอบในการคิด อภิปรายกบั ผเู้ รยี นคนอนื่
5) ผ้สู อนให้ข้อมูลป้อนกลบั แก่ผู้เรียน
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ Joyce et al. (1992) Joyce et al. (1992) นำ
รปู แบบการเรียนการสอนของ cleark มาปรบั ใช้โดยเพิ่มเติมขั้นตอนเป็น 8 ขน้ั ดังนี้
1) ผูส้ อนช้ีแจงจุดมุ่งหมายของบทเรยี น
2) ผู้สอนนำเสนอผังกราฟิกทเี่ หมาะสมกับลกั ษณะของเน้ือหา
3) ผ้สู อนกระต้นุ ให้ผู้เรยี นระลึกถงึ ความรเู้ ดิมเพอ่ื เตรียมสร้างความสมั พันธ์กบั ความรใู้ หม่
4) ผู้สอนเสนอเนอื้ หาสาระทต่ี อ้ งการใหผ้ ู้เรยี นไดเ้ รียนรู้
5) ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิกและให้ผเู้ รียนนำเน้ือหาสาระใส่ลงใน ผัง
กราฟกิ ตามความเขา้ ใจของตน
6) ผู้สอนให้ความรเู้ ชิงกระบวนการโดยที่จะเหตผุ ลในการใช้ผงั กราฟิก และวธิ ใี ชผ้ ังกราฟกิ
7) ผูส้ อนและผเู้ รยี นอภิปรายผลการใชผ้ ังกราฟิกกับเนอื้ หา
การออกแบบการเรียนรู้กลมุ่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย 17
8) ผ้สู อนซักถาม ปรบั ความเข้าใจได้ขยายความจนผู้เรียนเกดิ ความเขา้ ใจกระจ่างชดั
Reading log
นวัตกรรมการเขียนบันทึกการอ่าน (reading log) เป็นวิธีการจดบันทึกความรู้ที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
เมื่อนักเรียนอ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วนำมาบันทึกเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจจากบทอ่านของ
นักเรียนแต่ละคน การจดบันทึกการอ่านมีหลายรูปแบบครูสามารถตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านแล้วให้
นักเรียนเขียนอธิบายแสดงความเข้าใจสิ่งที่อ่านอย่างแท้จริง นอกจากนี้การเขียนบันทึกความรู้ที่นำมาใช้
ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนยังเป็นการเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้และประสบการณ์ส่วนตัว การเขียนบันทึก
ความรู้เปน็ การฝกึ ใหน้ กั เรียนไดบ้ นั ทกึ ความก้าวหนา้ และความเข้าใจของตนเองไดท้ ันที รวบรวมและสร้าง
ความคดิ สนบั สนุนให้นักเรียนเข้าใจเน้ือหาวิชา ซงึ่ ช่วยเพมิ่ ความเข้าใจในการเรียนรขู้ องนักเรียน อีกทั้งใช้
เปน็ สื่อในการสนทนาระหว่างครูกับนักเรยี น สามารถชว่ ยให้ครูเข้าใจถึงปัญหาและเจตคตขิ อง นักเรียนต่อ
วิชาที่เรียน (Kerka, Mayer, Hillman & Roberta, 1996: 428) ซึ่งสอดคล้องกบั Baker (2002: 11) ซ่ึงได้
เสนอแนวคิดสามารถสรุปไดว้ ่า การเขยี นบนั ทึกการอ่านและจดข้อมลู ทนี่ ักเรียนได้ทำความเข้าใจเน้ือหาเป็น
การมอบหมายงานโดยครู ซง่ึ นกั เรียนในช้ันเรยี นสามารถรว่ มกนั อภิปรายในหัวข้อท่ีกำหนดขนึ้
Context clue
กลวิธีการเดาความหมายคำศพั ท์จากบริบทเป็นกลวิธีในการเรยี นการสอนคำศัพท์ท่ีเหมาะสำหรับ
ใช้เพอ่ื ใหผ้ เู้ รียนไดพ้ ฒั นาความสามารถในดา้ นคำศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ
สลินดา โพธิ์พยัคฆ์ (2556: 25) ได้กล่าวถึงกลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท คือ
ความสามารถในการระบุความหมายของคำศัพท์โดยใช้กลวิธีวิเคราะห์ข้อความแวดล้อมคำศัพท์ที่ไม่รู้
ความหมาย โดยอาศัยตัวชี้แนะในบริบทเป็นส่วนช่วยในการสื่อความหมาย ตัวชี้แนะในบริบท
อาจเปน็ คำ วลี ประโยค ขอ้ ความหรอื เคร่อื งหมายวรรคตอนท่แี วดล้อมคำศัพท์ท่ีไมร่ ู้ความหมาย
ธัญญรัตน์ ปาณะกุล (2557: 41) ให้ความหมายของกลวธิ กี ารเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทว่า
เปน็ คำบอกใบห้ รือข้อความชแี้ นะที่ผูเ้ ขียนใส่มาเพ่อื ช่วยใหผ้ ู้อ่านสามารถนยิ ามความหมายของคำศัพท์ยาก
คำศัพทใ์ หมท่ ีไ่ ม่เคยเห็นมาก่อน ช่วยใหผ้ ู้อ่านถอดความขอ้ ความที่ยากแก่การเขา้ ใจ
Zorfass and Gray (2014) ใหค้ วามหมายของกลวิธกี ารเดาความหมายคำศพั ท์จากบริบทแปลได้
วา่ เปน็ วธิ ีท่ีนกั เรยี นสามารถดูความหมายของคำศัพท์ยากจากคำท่ีปรากฏอยบู่ ริเวณข้างหน้าหรือข้างหลัง
ของคำนั้น อกี ท้งั บริบทโดยรอบจะช่วยให้นักเรยี นทราบความหมาย ตลอดจนทราบโครงสร้างของคำที่เป็น
ศัพทใ์ หมไ่ ด้อกี ด้วย
Innaci and Sam ( 2017) ใ ห ้ ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ก ล ว ิ ธ ี ก า ร เ ด า ค ว า ม ห ม า ย ค ำ ศ ั พ ท์
จากบริบทแปลได้ว่า เป็นวิธีที่ผู้เขียนตั้งใจที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคำศัพท์ยาก ๆ หรือคำที่ผู้อ่าน
ไม่คุน้ เคย สงิ่ ท่สี ำคญั ท่ีสดุ คอื ผอู้ า่ นจะเขา้ ใจทัง้ ความหมายของคำและบริบทของการใช้คำศัพท์นัน้ ๆ
การออกแบบการเรยี นรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 18
สรุปได้ว่ากลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท หมายถึงวิธีที่ผู้อ่านใช้เพื่อหาความหมาย
ของคำศัพท์ โดยผู้อ่านจะต้องสังเกตจากคำบอกใบ้หรือข้อความชี้แนะที่ผู้เขียนใส่มาใน
เนื้อเรื่อง ตลอดจนความสัมพันธ์ของคำกับข้อความที่แวดล้อมจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถทราบความหมาย
ของคำศพั ทน์ ั้นได้
การจัดการเรยี นร้ดู ว้ ยกลวิธีการเดาความหมายคำศพั ท์จากบริบท
การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทให้มีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอน
จะต้องมีลำดับข้ันตอนที่ถูกต้องและเหมาะสม มีนักวิชาการไดก้ ลา่ วถึงการจดั การเรียนรู้ด้วยกลวิธกี ารเดา
ความหมายคำศพั ท์จากบริบท ดงั นี้
ณัฏฐพล คุปต์ธนโรจน์ (2554: 44) กล่าวถึงการสอนกลวิธีเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท มี
ข้ันตอนสรปุ ไดด้ ังตอ่ ไปนี้
ข้ันก่อนนำเสนอเนอื้ หา มขี นั้ ตอนคอื
1) เลือกคำศัพทท์ ี่ไม่คุ้นเคย โดยเน้นคำศัพท์ท่ีมคี วามหมายสำคญั เพ่ือให้เข้าใจบริบทหรือบทอ่าน
นน้ั ๆ
2) ผสู้ อนสรา้ งประโยคอย่างน้อย 1 ประโยคท่ีมตี วั ชแี้ นะบรบิ ทอยู่หรืออาจสร้างประโยคพร้อมตัว
ชี้แนะเองได้
3) ผู้สอนนำเสนอคำศัพท์โดยไม่ให้บริบทก่อน จากนั้นให้นักเรียนเดาความหมายของคำพร้อม
บอกเหตุผลของการใหค้ วามหมาย
4) ผู้สอนนำเสนอคำศัพท์พร้อมบริบทท่ีเตรียมไว้ จากนั้นให้นักเรียนเดาความหมายของคำพร้อม
บอกเหตุผลของการให้ความหมาย ผู้สอนควรเน้นย้ำว่าการเดาความหมายคำศัพท์ที่ปราศจากบริบทอาจ
ทำให้ความหมายผิดพลาดได้
5) ให้นักเรียนตรวจสอบความหมายคำศัพท์จากพจนานุกรม พร้อมทั้ง เปรียบเทียบผลจากการ
เดาความหมายของคำศพั ท์ทมี่ แี ละไมม่ ีบรบิ ท
ขั้นนำเสนอเนื้อหาและขั้นฝึกฝน มีขั้นตอนคือ 1) ดูบริบทก่อนหน้าและหลังคำศัพท์ที่ไม่รู้
ความหมาย 2) เช่อื มโยงกับส่ิงทร่ี ู้และสิ่งที่ผ้เู ขยี นต้องการส่อื สาร 3) เดาความหมาย 4) ทบทวนความหมาย
ทไี่ ด้คาดเดาและตรวจสอบความหมาย
มาลินี เลิศไธสง (2555: 38) กล่าวถึงการสอนกลวิธีเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท
มีขั้นตอนสรุปได้ดังต่อไปน้ี 1) คัดเลือกคำศัพท์จากเรื่องสั้นที่สามารถเดาคำศัพท์จากบริบทได้
2) เชิญชวนนักเรียนเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทโดยใช้ความรู้ 3) ให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่อง
การออกแบบการเรยี นรู้กลุม่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย 19
ขณะที่อ่านให้หาคำศัพท์และฝึกเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท ตลอดจนสอบถามนักเรียนว่าสามารถ
เดาความหมายคำศัพท์จากบริบทได้อย่างไร 4) หลังจากนักเรียนคุ้นเคยกับความหมายแล้ว
ใหน้ ักเรียนนำคำเหลา่ น้นั แตง่ ประโยค 5) ใหน้ กั เรยี นแลกเปลยี่ นประโยคทหี่ าความหมาย
6 thinking hats
เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบคิดค้นขึ้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เป็นวิธีคิดที่แยกความคิด
โดยผ่านกระบวนการใช้หมวกหกสี ได้แก่ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียวและสีฟ้า De Bono (2000:
20) กลา่ ววา่ หมวกความคิดหกใบประกอบดว้ ยหกสี แตล่ ะสีมหี นา้ ทีแ่ ตกต่างกัน โดยผ้สู วมหมวกต้องแสดง
ความคิดตามสีที่ตนเองสวมอยู่ เริ่มจากหมวกใบสีฟ้าจากนั้นเป็นสอี ื่น ๆ ตามลำดับขั้นและจบดว้ ยหมวกสี
ฟา้ เปน็ ข้อสรุป
การจดั การเรียนการสอนแบบหมวกหกใบ
เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบสามารถใช้ไดต้ ัง้ แต่ในห้องเรยี นจนไปถึงบริษัทขนาดใหญ่
โดยเทคนิคนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อนแต่ทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ หมวกหกใบ
สามารถช่วยใหค้ นเสนอความคดิ อย่างอิสระตามสีท่ีตนไดร้ ับและเมื่อการแสดงความคดิ เหน็ เสร็จสิ้นลง ทุก
คนย่อมเห็นในสิง่ ท่ีเหมือนกันนัน่ คอื ความคิดของแตล่ ะคนในแตล่ ะด้าน ทำให้เกิดความคิดอยา่ งรอบคอบ
และรอบด้าน อีกทั้งยังประหยัดเวลาในการหาทางออกเรื่องใดเรื่องหนึ่งลงไปได้มาก มีนักวิชาการ
อธบิ ายการจัดการเรียนการสอนแบบหมวกหกใบ ดงั น้ี
De bono (2000: 16) กลา่ วว่า หมวกหกใบประกอบไปดว้ ยหกสี ได้แก่
สขี าว หมายถงึ ความเปน็ กลาง
สีแดง หมายถึง อารมณ์
สีดำ หมายถึง ความระมดั ระวัง
สเี หลือง หมายถงึ ความคิดทางบวก
สเี ขยี ว หมายถงึ ความคิดสร้างสรรค์
สีฟา้ หมายถึง การควบคมุ
โดยการใช้หมวกแบ่งเปน็ 2 แบบ ไดแ้ ก่
1. การใช้แบบเดี่ยว คือ การเลือกใช้หมวกเพียงหนึ่งใบเพื่อตอบสนองกับความ
ตอ้ งการขณะนั้น เชน่ ใช้หมวกสีเขียวเพื่อหาแนวทางใหม่ ๆ
2. การใช้แบบเปน็ ลำดบั คอื การใช้หมวกโดยเรยี งเป็นลำดับแบง่ ได้ 2 แบบ
2.1 การใช้แบบเป็นลำดับต่อเนื่อง โดยให้คนแรกเลือกหมวกสีใดก็ได้
จากนน้ั ส่งหมวกต่อไปตามลำดับเพื่อใหส้ มาชกิ เลือก
การออกแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 20
2.2 การใช้แบบกำหนดล่วงหน้า อาจเริ่มที่สีฟ้าก่อนจากนั้นปฏิบัติ
ตามลำดับของหมวกที่ตนได้จากนั้นจบด้วยหมวกสีฟ้าเพื่อสรุป โดยผู้ที่ใช้หมวกต้องรู้หน้าที่ของสีหมวกที่
ตนใช้ด้วย
เดอ โบโน เสนอข้ันตอนไวด้ ังน้ี
ขั้นนำ แสดงกระบวนการทจี่ ะสอน
ขั้นอธบิ าย ให้ตวั อย่างและอธิบายการใช้หมวกแต่ละใบ
ขนั้ สาธติ แสดงการใชห้ มวกแตล่ ะใบ
ขน้ั ปฏิบตั ิ ใชก้ ระบวนการฝกึ ฝนในหมวกแต่ละใบ
ขั้นหารายละเอยี ดเพิม่ เติม สังเกตการณ์ทำงานของกระบวนการ
ข้นั สรุป สรปุ กระบวนการทงั้ หมด
บทสรุป
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา และการวางแผนจัดการเรียนการสอนในการศึกษาระดับขั้นพืน้ ฐานให้เป็นมาตรฐานเดียวกนั
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ระบุไว้ในหลักสูตร
ซ่งึ หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 มีหลกั การสำคัญ คอื การกำหนดสมรรถนะ
สำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นของผู้เรียนไว้เปน็
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งสาระการเรยี นรู้ท่ีจัดให้แก่ผูเ้ รียนประกอบด้วย
องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระ
การเรยี นรู้ ไดแ้ ก่ 1. ภาษาไทย 2. คณติ ศาสตร์ 3. วทิ ยาศาสตร์ 4. สังคมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม
5. สุขศกึ ษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8. ภาษาตา่ งประเทศ ดังนน้ั ผู้ที่นำ
หลกั สูตรแกนกลางไปปฏิบัติใช้ เชน่ ในการพัฒนาหลกั สูตรกลุ่มสาระการเรียนรูภ้ าษาไทย ของ
สถานศึกษา ผู้พัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาวิสัยทัศน์หลักการ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แล้ววิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย 21
แกนกลางเพื่อนำมากำหนดคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ตลอดปี รวมทั้งเวลาที่ใช้เรียนรู้แต่ละ
หน่วย แล้วนำหน่วยการเรียนรู้มาจัดทำแผนการจดั การเรียนรู้เพื่อกำหนดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญา
และจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เป็นหวั ใจสำคญั ของหลกั สูตรต่อไป
รายการอา้ งอิง
กมลมนัสชท์ บณั ฑิตยานนท.์ (2555). พระราชบัญญัตกิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ พทุ ธศกั ราช 2542:
หลกั สูตรการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2544 และหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551. เอกสารประกอบการเรยี นการสอนวิชาหลักสูตรและการสอน.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั : เอกสารอัดสำเนา.
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน, สำนักงาน. (2545). พระราชบญั ญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2545. กรงุ เทพมหานคร: พรกิ หวานกราฟฟคิ จำกัด.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2545). หลักสูตรการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2544. กรงุ เทพมหานคร:
องค์การรับสง่ สินคา้ และพัสดุภณั ฑ.์
ศกึ ษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551.
กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพช์ มุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย.
เสรี ลาชโรจน.์ (2542). วิเคราะหแ์ นวคิดในการจดั การศกึ ษาข้นั พ้นื ฐานตามพระราชบญั ญตั ิ
การศึกษา พุทธศักราช 2542. เอกสารประกอบการนำอภิปรายนิสิตบัณฑติ ศึกษา
ภาควชิ ามธั ยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. เอกสารอดั สำเนา.
จำปำเงิน, ส. and สาเนียง มณีกาญจน์ (2548). กลเมด็ กำรอำ่ นให้เก่ง. กรุงเทพมหานคร, สถาพรบุค๊ ส.์
การออกแบบการเรียนรู้กล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 22