Creative Book Pre – Pro A1 Production INTRODUCTION ที่มาของโปรเจคนี้มาจากการที่สมาชิกทุกคนในโปรดักชั่นร่วมโหวตกัน แล้ว สุดท้ายได้บทสรุปว่าจะทำหนังผีสักเรื่องและมีเพื่อนในโปรดักชั่นคนหนึ่งได้เสนอข่าว ซึ่ง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโจรปล้นทองที่โดนผีในร้านทองหลอกหลอน จนทำให้เขาต้องน มาคืนหลังจากผ่านไปนานถึง 5 ปี ทำให้พวกเรามีความสนใจในวัตถุผีสิงหรือผีที่มากับ สิ่งของ พวกเราจึงอยากจะนำเสนอวัตถุผีสิงในมุมมองของโปรดักชั่นเรา โดยผู้กำกับ ของเราได้มีความสนใจในด้าน Visual effect และอยากนำมาประยุกต์ใช้กับวัตถุผีสิง จึงได้ผสมผสานระหว่างหนังผีที่มีวัตถุผีสิงเป็นคีย์หลักผสมเข้ากับ Visual effect เพื่อ ให้หนังเรามีความเป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการที่ได้รู้จักผู้กำกับเขาเป็นคนที่มี ความสามารถในด้าน Visual effect และได้มีความทุ่มเทให้กับหนังเรื่องนี้เป็นอย่าง มาก เพราะอาจจะเป็นการทำหนังครั้งสุดท้ายกับเพื่อน หลังจากจบงานนี้บางคนอาจจะ ไปทำสายงานอื่นแยกย้ายกันไปเติบโตในเส้นทางของแต่ละคน งานนี้จึงเป็นการทำหนัง ครั้งสุดท้ายกับเพื่อน เพื่อสร้างความทรงจำ และประสบการณ์ที่หาไม่ได้อีกแล้ว โดยจุด ประสงค์ของหนังเรื่องนี้เพื่อเปิดประการณ์การผีหนังผีแบบจริงจังโดยให้เพื่อนๆได้ทำใน สิ่งที่อยากทดลองทำ และเปิดให้ทุกคนในโปรดักชั่นได้แสดงศักยภาพของตนเองได้ อย่างเต็มที่ พร้อมกับเป้าหมายของเราคือต้องการผลิตหนังไทยที่มีคุณภาพออกไปสู่ ชาวโลกได้รู้ซึ้ง ว่าหนังไทยก็เจ๋งได้และได้รับเลือกไปฉายในหอศิลป์ แนวทางหรือสไตล์ของหนังเรานั้นหนังจะออกแนวสไตล์สืบสวนและหาความลับที่นำไปสู่ การพบความจริงที่ดำมืด จะมีการเน้น Visual effect และอาร์ตโดยส่วนใหญ่ จึง ทำให้หนังของเราจะหนักไปที่งบประมาณมากเพราะต้องมีการเซทอัพหลายๆอย่างขึ้น มาใหม่ โดยขอบเขตที่เราได้วางแผนกันไว้ตั้งแต่เริ่มทำภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างที่จะ กว้างในตอนแรก แต่เมื่อได้ลงมือทำกลับเป็นไปอีกแบบ คือบทของโปรดักชั่นเราค่อน ข้างที่จะเป็นหนังผีที่ซับซ้อนและรายละเอียดย่อยเยอะมากกว่าที่คิด แต่ด้วยความที่บท ค่อนข้างที่จะเป็นไปได้และไปในทางที่ดี พวกเราจึงตัดสินใจเลือกบทนี้ในการนำมา พัฒนาต่อ เนื้อหาในบทสิ่งที่เราจะสื่อออกไปประเด็นค่อนข้างตรงกับสิ่งที่เราคิดกันไว้ใน ตอนแรก จึงถือว่าทิศทางของบทยังไม่ได้กว้างจนเลยขอบเขตไปมากขนาดนั้น เราจึง พัฒนาบทกันต่อจนเสร็จสมบูรณ์ ในส่วนของงบประมาณที่เราวางไว้ให้กับการทำภาพยนตร์ครั้งนี้ เมื่อเทียบกับ ขอบเขตของงานที่เราทำขึ้นมา ถือว่างบประมาณยังค่อนข้างจำกัด แต่ไม่ใช่ว่าไม่เหลือ เลย เราทำการวางงบประมาณควบคู่ไปกับการดูสเกลของงานและคุยกับทีมงานในทุก ฝ่าย จนเราได้บทสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับงบประมาณว่าเราสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ ได้เพียงพอและไม่บานปลายอย่างแน่นอน
Producer (ผู้อำนวยการสร้าง) ในส่วนการทำงานของ Producer นั้นเป็นอีกตำแหน่งที่มีความสำคัญในทุก ขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอน Pre Production ไปจนถึง Post Production เพราะฉะนั้นในทุกขั้นตอนการทำงานเราจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาและการ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมถึงการติดต่อและประสานงานกับในทุกๆฝ่ายภายในทีม นอกจากนี้ในส่วนของงบประมาณเราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของค่าใช้จ่าย ต่างๆที่จะเกิดขึ้นภายใน Production ของเรา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเงินไม่พอในช่วงที่ ออกกองจริง เพราะฉะนั้นการวางแผนต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราต้องมี หากเรามี การวางแผนตั้งแต่ในช่วง Pre Production เป็นอย่างดีอุปสรรคในการทำงานของทีม ก็จะลดน้อยลง เราเริ่มประชุมกันตั้งแต่เดือน พฤษภาคม จนถึง ธันวาคม เป็นเวลา 8 เดือนเต็มๆที่เรา คุยงานกันแบบหนักหน่วงเพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆก่อนออกกองจริง เพราะฉะนั้นใน การวางแผนการประชุมในแต่ละครั้งจึงเป็นอีกสิ่งที่สำคัญมาก เพราะทุกครั้งเราต้องรู้ว่า เราจะพูดถึงประเด็นอะไร เตรียมความพร้อมเรื่องไหนหรือตามงานในส่วนไหนภายใน ทีมบ้าง อุปสรรคและปัญหาที่พบเจอ ต้องบอกก่อนว่าปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่เราเจอปัญหากับสถานการณ์โรคระบาดที่ เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เราไม่เคยเจอกับเพื่อนๆในทีมเลยเป็นเวลา 8 เดือนเต็มๆ ความยากก็ คือในการสื่อสารมักจะมีข้อผิดพลาดอยู่บ่อยๆเนื่องจากสื่อสารไปในบางครั้งอาจจะ เข้าใจไม่ตรงกันและนอกจากนี้เราไม่เคยร่วมงานกันมาก่อนเลยและนี่เป็นงานแรกที่เรา เคยทำงานร่วมกัน เป็นธรรมดาที่เราจะเจอปัญหาต่างๆแต่เราก็ต้องพยายามทำความ เข้าใจและผ่านมาให้ได้ อีกหนึ่งอย่างที่เป็นความยากของ Producer คือในเรื่องของ การเตรียมการและวางแผนต่างๆ รวมไปถึงการตามงานจากทุกฝ่าย เพราะเราต้องรู้ในทุกขั้นตอนการทำงานของแต่ละฝ่ายและคอยประสานงานอยู่เสมอ แล้วยิ่งการที่เราไม่เคยเจอกันเลยมันยิ่งทำให้สื่อสารและตามกันลำบากในบางครั้ง Sponsor (สปอนเซอร์) จากการอ่านบทอย่างละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์ของเราแทบจะไม่มี พร็อพหรืออุปกรณ์ภายในเรื่องที่สามารถมองหาสปอนเซอร์มาหนุนได้เลย เราจึงเบี่ยง การขอสปอนเซอร์ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ไปเป็นการขอสปอนเซอร์ที่เป็นของกิน ของใช้ มาหนุนกองถ่ายเราแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังรู้สึกลำบากใจกับการขอสปอนเซอร์เป็น อย่างมาก เพราะว่าไม่มีอะไรยืนยันได้เลยว่าทางสปอนเซอร์จะมองเห็นประโยชน์จาก การสนับสนุนโปรดักชั่นเลย
แต่เรายังยืนยันที่จะขอสปอนเซอร์ที่เกี่ยวกับของกิน ของใช้ เพียงเพราะธีสิส เราไม่ได้ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด เราจึงลองพยายามที่ จะหาแบรนด์ที่สามารถนำสิ่งที่ได้มามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่อย่างไรก็ตามการ ขอสปอนเซอร์มากมายแค่ไหนก็ใช่ว่าจะได้การตอบรับกลับมาทุกที่ Production Manager (ผู้จัดการกองถ่าย) สำหรับหน้าที่ที่เราได้รับมาจากการทำภาพยนตร์ครั้งนี้ นั่นคือ Production Manager หรือ PM นั่นเอง ถึงจะเคยผ่านการทำหน้าที่นี้มาบ้างแล้ว แต่ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำที่ต้องละเอียดและ ยากกว่าทุกครั้ง ในหน้าที่นี้เราค่อนข้างที่จะมีบทบาทเกือบทุกกระบวนการของการท ภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการ Pre-Pro ไปจนถึง Production หน้าที่ หลักของการเป็น PM คือการอำนวยความสะดวก ความเรียบร้อยและราบรื่นให้กับกอง ถ่ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งสำหรับเราแล้วพอเป็นงาน Thesis แล้ว Scale งานมันค่อนข้าง ที่จะใหญ่ขึ้นมาก ความรับผิดชอบค่อนข้างสูง จึงทำให้เราต้องคอยประสานงานกับทุก ทีมเพื่อการสื่อสารที่ตรงกันให้มากที่สุดตั้งแต่ในช่วง Pre-Pro การที่ต้องลงไปอยู่ในทุกทีมนั้นเพราะว่า ทุกกระบวนการการทำงานมักจะมีปัญหาตาม มาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ เราเลยต้องคอยซัพพอร์ต แก้ปัญหาตรงนั้นร่วมกับทีมงานไปด้วย และต้องคอยเตือนในหลาย ๆ เรื่องกับทุกทีม เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างทางในการทำภาพยนตร์เรื่องนี้ และทุก กระบวนการการทำที่เราได้กล่าวมานั้นจะต้องทำควบคู่กับสิ่งสำคัญที่เรียกว่า ‘ตารางงาน’ สำหรับเราการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ ถ้าไม่มีตารางการ ทำงานก็เหมือนเราทำงานแบบไม่มีจุดจบของความสำเร็จ เรามีเวลาเตรียมพร้อม สำหรับงานนี้เพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งสิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงถึงคือระยะเวลาการ ทำงานที่แต่ละทีมต้องการ ทั้งวันที่แน่นอนและเวลาที่เพียงพอ แต่ปัญหาก็คือเรามีระยะ เวลาแทบจะไม่เพียงพอตามที่แต่ละฝ่ายต้องการ เราจึงต้องทำหน้าที่จัดวางตารางที่ เหมาะสมกับสเกลงานของเราแทน สำหรับเราการวางเดดไลน์ให้กับทุกทีมถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันจะเปรียบเสมือนการวางขอบเขตของวันเวลาไว้ให้แต่ละฝ่ายได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ในการวางเดดไลน์ให้ทีมนั้นก็ไม่ควรที่จะวางจนแน่นหรือบีบทีมมากเกินไป เพราะเรา ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปัญหาจะวิ่งเข้าหาแต่ละทีมตอนไหน เราเลยต้องวางตารางการ ทำงานให้มีความยืดหยุ่นอยู่เสมอในทุกขั้นตอนของการทำภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าทุกทีมจะสามารถส่งงานล่าช้าได้เสมอไป เราจึงต้องคอยเดินงานไปพร้อม กับตารางงานเสมอ
Screenwriter (เขียนบท) ที่มาและความสำคัญของบทสำหรับโปรเจคนี้ : จุดเริ่มต้น ช่วงแรกคือการอยากทำหนังที่เผยให้เห็นมุมมองการหลอกของผี ออกไปทาง คอมเมดี้ แต่จากที่ได้ลองทำบทนั้นก็ได้เจอปัญหามากมายหาจุดจบของหนังหรือ back story และความสมเหตุสมผลไม่ได้ ช่วงต่อมาได้แรงบันดาลใจจากการเขียนเรื่องสั้นแนว Rule of horror เรื่องราวของ การไม่ปฏิบัติตามกฏไปที่นำพาไปสู่ความน่าสยองขวัญ แต่จากปัญหาเรื่องข้อจำกัด ความเชื่อมโยงในเรื่องนั้นน้อยเกินไป จนเกิดการแก้ครั้งใหญ่ กลายมาเป็นบทปัจจุบันที่เป็นแนว Horror เรื่องราวของมิจฉาชีพที่ต้องการแก้แค้นคนที่ ฆ่าพ่อแม่ของตัวเองในอดีต แรงบันดาลใจมันมาจากข่าวปล้นชิงทองที่โดยวิญญาณใน ทองตามหลอกหลอนจนต้องเอามาคืน ในบทดราฟล่าสุดนั้น จึงมีแหวนเป็นกิมมิคของ เรื่อง แหวนที่เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบภายในเรื่อง รูปแบบและแนวทาง : -ประเภทในการสร้างบทนี้คือ Whydunit เป็นบทประเภทที่มีส่วนประกอบหลักสาม อย่าง คือ การสืบ , ความลับ , และจุดเปลี่ยนที่เป็นอันตรายต่อตัว protagonist ( ใน ที่นี้คือการได้รู้ความจริง ) ( A Whydunit is a detective story or a mystery. A character begins solving a problem that gets more dangerous the more they learn and the closer they come to uncovering the secret or whatever is hidden. The protagonist does not need to be a detective, but they will still perform the role of a detective in that they will collect and decipher clues and use their knowledge to solve the mystery. The dark turn is the point in the story where the hunt for truth becomes dangerous for the protagonist and the protagonist is no longer safe whether or not the truth is revealed. It is called a whydunit because the most interesting element of the story is motive rather than the identity of the perpetrator. The audience does not care about who did the crime as much as why they did it. ) Source : https://human.libretexts.org/Bookshelves/Theater_and_Film/ Book%3A_Playwriting_(Garcia)/01%3A_Chapters/ 1.07%3A_Types_of_Story
( ตัวอย่างภาพยนตร์ที่ใช้ทฤษฎี Whydunit ) การพัฒนาบท : ก่อนที่จะมาเป็น final draft ตัวละครเอกในเรื่องเคยเป็นตัวละครที่ไม่มีคาแรคเตอร์ที่ ชัดเจน รวมถึงข้อจำกัดของเวลา แต่ก็ได้หา back story ของตัวละครที่สมควรเอามา ใส่ และสามารถเป็นแรงใจในการขับเคลื่อนของตัวเนื้อเรื่องได้ ตั้งใจจะให้ตัวละคร หรือสถานการณ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกแบบ เดจาวู หรือเหตุการณ์ที่ คล้ายคลึงกันในอดีต การพบจุดจบหรือการกระทำที่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การที่ตัว ละครเอก อีฟ ต้องลงมือฆ่าเพื่อนสนิทตัวเองเพื่อไม่ให้ไปทำร้ายคนอื่นต่อ เหมือนกับตัว อมร ที่เคยฆ่าแม่ของอีฟในอดีต , ตัวอีฟที่เกลียดอมรที่มาขโมยแหวนแม่ไป แต่ตัวเอง ลับเป็นโจรเสียเอง การพบเจอเบาะแสของฆาตกรในสถานการณ์ที่ตัวละครหลักเองก็ทำผิดกฎหมาย การลงมือแก้แค้นในแบบที่ไม่ได้คิดถึงผลที่ตามมาและนำไปสู่เหตุการณ์ที่เลวร้าย ได้ลงพื้นที่ที่สถานที่ถ่ายจริงเพื่อการเขียนบทที่เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ศึกษาขอมูลเกี่ยวกับการทำโจรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสะเดาะกลอน ปลดตู้เซฟ หรือ การเตรียมการต่างๆ และทั้งหมดก็ได้พัฒนามาสู่การเป็น Final Draft
Directing ที่มาและความสำคัญของการกำกับและการกำกับการแสดง - ที่มาของโปรเจคนี้จุดเริ่มต้นเริ่มมาจากได้แรงดันลาลใจจากข่าวโจรปล้นทอง ตำรวจ ตามจับโจรคนนี้ไม่ได้ โดยตลอดเป็นระยะเวลา5ปีโดนผีหลอก โจรเลยออกมาสารภาพ ผิดเอง ต้องการเสนอรูปแบบในของโปรดักชั่นเราเอง เป็นหนังที่มีการเสนอในรูปแบบใหม่และ ผู้กำกับสนใจในเรื่อง CG computer graphics - การกำกับแสดง นักแสดงตีความและอ่านบทและเชื่อในตัวละครนั้น นักแสดงที่เข้ากับcharacter แล้ว ลองพูดคุยกันถึงการตีความตัวละคร ผู้กำกับมีการสื่อสารได้อธิบายได้ให้เข้าใจมากขึ้น ให้เข้ากับตัวละครที่ต้องการ รูปแบบและแนวทาง - horror , thriller , ลึกลับ , สืบหาความจริง -https://www.film-fish.com/whydunit-mysteries -https://www.rollingstone.com/movies/movie-lists/greatest-horror-movies-of-the-21stcentury-103994/
ขั้นตอนและวิธีการกำกับ - casting
- film rehearsal ที่ผ่านมาประชุมงานออนไลน์ มีแพลนถ้าสถานการ์ณโควิด-19 ดีขึ้น ก็อาจจะนัดรวมตัว กันเพื่อทำงานต่อไป - การตีความบท การวาง framing การแตก shot ในมุมมองของผู้กำกับ ในส่วนของ บทประเด็นสำคัญของหนังที่ต้องการจะสื่อคือความจริงที่เราเชื่อสนิทใจ มันเป็นความ จริงทั้งหมดหรือไม่ การได้รู้ความจริงบางอย่างทั้งหมดกับการได้รู้ความจริงบางอย่าง เพียงครึ่งเดียว แม้จะเป็นความจริงเหมือนกัน แต่การตีความความจริงนั้น ๆ จะแตกต่าง กันเหมือนเป็นคนละเรื่อง หนังเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นถึงข้อนั้น ว่าบางทีความจริงที่รู้ไม่ หมดก็ไม่ต่างจากความเท็จ การแตก Shot ในหนังเรื่องนี้ จะเน้นความต่อเนื่องของภาพ โดยใช้การวางแผนร่วมกับของ ฝ่าย กล้อง , ตัดต่อ , Visual effect โดยจัดวาง เฟรมที่จะ Cut ชนให้มีระยะเท่า ๆ กัน จากนั้นและใช้การตัดต่อที่ผสมCGในการท ทรานซิชั่นให้เนียนราวกับว่าไม่ได้มีการตัดต่อเพื่อนความต่อเนื่องและลื่นไหล ต่อมาก็ แตกช็อตปกติแต่จะใช้แอคชั่นของตัวละครต่าง ๆ ภายในเรื่องมามาCutชนกันโดนให้มี ความต่อเนื่องของการกระทำบางอย่างของตัวละคร วิธีนี้เราจะใช้ในซีนที่มีการปล้นที่ ต้องใช้การเคลื่อนไหวของตัวละครที่ค่อนข้างเยอะ
Art Director + Costume Art หลังจากที่อ่านบทเสร็จ ภาพในหัวคิดไว้เป็นหนังผีฝรั่ง การเซตฉากจึงอยากให้อยู่ กึ่งกลางระหว่างคลาสสิคผสมผสานกับแบบของไทยด้วย ซึ่งในเรื่องนี้จะมีการเซตฉาก 1location แต่มีหลายเซต คือ ห้องนอนป้าอมร, ห้องอีฟกับฟอย, บรรยากาศรอบๆ บ้าน, ห้องนอนของอีฟวัยเด็ก ในตอนแรกเราใช้โลเคชั่นเก่าในการพิชชิ่ง แต่ด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นกลางคันทำให้ต้องเปลี่ยนโลเคชั่น ความยากอยู่ที่โลเคชั่นเก่ากับ โลเคชั่นใหม่มีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ สิ่งที่คิดไว้ตอนแรกเลยต้องเปลี่ยนใหม่ ทั้งหมด เพราะต้องเซตฉากของโลเคชั่นใหม่ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง Mood tone Day : ทางทีมเรามีความคิดเห็นตรงกันว่าอยากใช้ Mood&Tone นี้เพราะว่าให้ อารมณ์เหมือนมีความตื่นเต้น น่าติดตาม Night : ให้ความรู้สึกตึงเครียด น่ากลัว ลึกลับ ชวนสงสัย เซตหน้าบ้าน : จากที่ได้ปรึกษากันในทีมก็มีความเห็นตรงกันว่า หน้าบ้านควรจะมีภาพ จำที่ดูอบอุ่น น่าเข้าหา มีต้นไม้และดอกไม้ล้อมรอบ ทำให้บ้านไม่จืดหรือน่ากลัวมากจน เกินไป แต่เมื่อเข้าไปในบ้านแล้วกลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง เซตในบ้าน : ภายในบ้านจะถูกตกแต่งด้วยกระจกเงาเป็นส่วนใหญ่ ให้คนดูรู้สึกอยากรู้ อยากเห็นมากขึ้น เกิดความสงสัยในตัวบ้านว่าทำไมถึงมีกระจกเยอะกว่าปกติ บรรยากาศที่ดูน่าขนลุก ซึ่งบ้านคนทั่วไปมักจะตกแต่งบ้านด้วยกรอบรูปแต่บ้านที่เราคิด กลับตกแต่งด้วยกระจกแทน เซตฉากขโมย : ภาพที่คิดไว้ของฉากนี้คือจะเป็นฉากที่ให้ตัวละครได้แสดงความ สามารถในการขโมยของ ซึ่งฉากนี้จะเกิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ดีไซน์ฉากขโมย ให้ดูไม่ตื่นตระหนก คล่องแคล่วว่องไว มีไหวพริบที่ดี เซตห้องเก็บของ : เป็นห้องที่ต้องเซตเยอะที่สุด เปลี่ยนจากห้องนอนเป็นห้องเก็บของ โดยการขนย้าย ปรับเปลี่ยนของบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกอย่างเช่น เตียงนอน และนำชั้น วางของเข้ามาตกแต่งเพิ่มเพื่อให้ห้องดูรก มีหยากไย่ เซตห้องให้ดูเก่าและมีความขลัง มีพร็อพตกแต่งทางไสยเวทย์ เช่น มีดอาคม ลูกแก้วทำนาย และนอกจากนี้ยังมี กระจกเงาที่เยอะกว่าทางเข้า มีหนังสือ เชิงเทียน และยังเป็นห้องที่ซ่อนหลักฐานอีกด้วย
เซตห้องอีฟ-ฟอย : เป็นห้องที่มีขนาดเล็ก โล่งๆ มีความทรุดโทรม ทางทีมมีความคิด เห็นว่าอยากได้ห้องที่ดูเป็นห้องเช่าให้เข้ากับฐานะตัวละครอีฟและฟอย ของตกแต่งจะไม่ ได้เยอะมากมีแค่ของใช้จำเป็น เช่น ที่นอน ตู้เสื้อผ้า และยังมีบอร์ดสืบสวนติดที่ผนังให้ เห็นถึงการติดตามเรื่องของแม่ที่เสียไป แต่เราได้มีการเตรียมแผน 2 เผื่อโลเคชั่นแรกที่ ถ่ายเซตห้องอาจจะไม่ได้เหมือนที่คิดไว้ *เซตห้องอีฟตอนเด็กจริงๆไม่ควรมีเพราะถ่ายเห็นน้อยมาก *เซตตลาดนัดไม่ควรจะมีเหมือนกันเพราะไม่สมกับความสามารถของตัวละคร Visual concept หลังจากได้บทมา เราก็ได้ปรึกษากันว่าจะให้หนังออกมาในรูปแบบ ไหน และได้เอาธีมหนังมาตีความให้เป็นรูปหนึ่งรูป โดยที่สามารถอธิบายเรื่องทั้งหมด ได้ในคอนเซ็ปต์เดียวกัน ก็คือธีม สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็น การออกแบบฉากห้องเราเริ่มจากออกแบบที่กระดาษและมาเพิ่มเติมใน Photoshop เอา ปัญหาของทีมอาร์ตในช่วง Pre-Production - เปลี่ยนบทหนังทั้งก่อนพิชชิ่งและหลังพิชชิ่ง และยังมีการปรับแก้ทีหลังอีก ที่เปลี่ยน เพราะว่าอาจารย์คอมเมนต์ถึงบทว่ามีความเป็นไปไม่ได้ในการถ่ายและไม่น่าสนใจ ซึ่ง ทำให้ฝ่ายอาร์ตทำงานได้ยากขึ้นเพราะต้องหาเรฟหรือรูปใหม่หมดเลย โลเคชั่น มีการเปลี่ยนโลเคชั่นใหม่ จึงทำให้ต้องเปลี่ยนเซตฉากทั้งหมด ต้องเริ่มท ใหม่จากศูนย์ จากตอนแรกโลเคชั่นใหม่เป็นสถานที่ที่ชอบและเข้ากับหนังมากๆไม่ต้อง จัดเยอะ แต่พอเปลี่ยนโลใหม่ก็ต้องทำงานหนักขึ้น เตรียมของเยอะขึ้นเพื่อให้เข้ากับเนื้อ เรื่อง Budget เชื่อมมาจากเรื่องของโลเคชั่นพอเปลี่ยนโลเคชั่นต้องใช้เงินเพิ่มขึ้น และทำให้ จัดการเรื่องเงินได้ไม่ลงตัว การทำงานช่วงโควิด เป็นปัญหาใหญ่คือการที่เราไม่ได้เจอกัน การพูดคุยกันน้อย ทำให้ เข้าใจกันได้ยากและยังรวมถึงเรื่องของเวลาที่ไม่ค่อยตรงกัน
ไอเดียของตัวละครผี มี inspiration จากหนังเรื่อง under the skin มีการปรับแก้ ลักษณะตัวผีให้เข้ากับเรื่อง Costume หลังจากที่ได้สรุปและอ่านบททำความเข้าใจคาแรคเตอร์ตัวละครได้น คาแรคเตอร์ตัวละครไปหาชุดเสื้อผ้าที่ เหมาะสมกับหนังที่ทำ ก็ได้มีการเปลี่ยนคอสตูม ไปหลายแบบมาก เพราะยังได้ได้แบบที่ทีมต้องการ จนมาคุยกัน ว่าคอสตูมที่เสนอไป มันดูธรรมดาไป ไม่ทำให้ตัวละครโดดเด่น จึงพยายามคิดกับคนในทีมจึงได้คอสตูมชุด ล่าสุดมาใช้ อีฟ หญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาดี จะเปิดตัวด้วยชุดเดรสที่ดูหรูหราเป็นชุดที่เปิดตัวการปล้นที่ ดูมืออาชีพ คล่องแคล่ว ว่องไว ในการปล้น และไม่มีใครจับสังเกตได้ ชุดช่างไฟเป็นที่ชุดที่อีฟและฟอยใช้ในการเข้าไปปล้นบ้านป้าอมร เป็นชุดที่อยากได้ให้ เป็นชุดช่างไฟของต่างประเทศ จะเป็นที่ชุดช่างไฟที่เป็นชุดหมี อีฟในชุดธรรมดาปกติจะเป็นชุดเรียบง่ายสบายๆ เป็นเสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้า ผ้าใบ หมวก และกระเป๋า เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป อีฟตอนเด็ก จะเป็นชุดกระโปรงเด็กผู้หญิงที่สดใสน่ารักตามวัย
ฟอย ชายหนุ่มเจ้าเสน่ห์จะถูกเปิดตัวด้วยเสื้อเชิร์ตสีขาว กางเกงแสล็คสีดำ รองเท้าคัทชู ที่ดู เท่มีสไตล์ และก็เป็นชุดที่ เปิดตัวการปล้นของฟอย ฟอยในชุดธรรมดาจะเป็นชุดมีสไตล์เป็นหนุ่มเซอร์ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ และ รองเท้า ผ้าใบ ป้าอมร ป้าอมรมีอาชีพเป็นหมอดู ชุดที่ป้าอมรใส่จะชุดออกสไตล์โบฮีเมียนเป็นชุดกระโปรงยาว ลงไปถึงข้อเท้า มี ลวดลาย เย็บปักที่ดูเยอะและรุงรัง ป้าอมรจะมีกำไลข้อมือ สร้อยข้อ มือ ที่ทำมาจากลูกปัด หินมงคล ใส่ติดตัว ตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้ดูมีความเป็นแม่ หมอมากขึ้น เมคอัพ ด้วยการที่ตัวละครหลักของเราไม่ต้องแต่งหน้าที่มันต่างไปจากเดิมมากนัก หรืออาจมี การแต่งที่แตกต่างคือ ป้าอมรที่อาจจะต้องเปลี่ยนเมคอัพและวิธีการแต่งหน้าที่จะทำให้ ดูน่ากลัวเพิ่มขึ้น ส่วนงานหนักที่จะต้องทำคือการทำเมคอัพผี เมคอัพเลือด และรอยแผล ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในหนัง เพราะเราไม่เคยทำมาก่อนจึงกังวลว่าจะทำออกมาได้ดีหรือ เปล่า
Director of Photography (ผู้กำกับภาพ) ที่มาเเละความสำคัญของหนังเรื่องนี้เป็นหนังสยองขัวก หรือ เเนว horror triller โดยที่ทีมกล้องต้องถ่าย เเละหามุมกล้องของหนังเรื่องนี้ให้คนดูรู้สึกลุ้นระทึกไป กับหนังเรื่องนี้ตลอดเวลา โดยที่กล้องจะใช้ลูกเล่นในการถ่ายมุมเเปลกเค้ามาช่วยเพื่อ ทำให้หนังดูน่าสนใจเเละคนดูจะสนุกตามไปด้วยกับมุมกล้องของเรา หรือ บางมุมที่คิด ไว้จะมีใช้มุมกล้องร่วมกับ cg โดยเหมือนถากนั้นจะถ่ายเหมือนคนวิ่งเข้าไปหากระ จกเเต่พอถึงกระจกคนก็ทะลุผ่านมาเลย ในเรื่องการวาง mood and tone ของหนังผมตั้งใจอยากจะให้ออกมาดู มืดมนให้เข้ากับหนังสยองขวัญ การดีไซต์มุมกล้อง เเละ การเคลื่อนกล้อง เรื่องนี้ ขึ้นกับ locationของเราเป็นส่วนใหญ่เพราะบางฉากเราต้องถ่ายในห้องเเคบๆจึงไม่สามา รถเเพนกล้องได้มากหรือดอลลี่ได้เลย เเต่นอกเหนือจากนี้น่าจะผ่านไปได้ด้วยดีเเละไม่มี ปัญหาอะไร ส่วนในการที่เราออกไปหาเเละเลือกดูlocation เราจะพยายาม เลือกlocation ที่ยื่ดหยุ่นเเละสามารถใช้ได้คุ้มค้าที่สุด ผู้ช่วยผู้กำกับภาพ (Assistant of Cinematographer) หน้าที่และทำงาน : หน้าที่ของเรานั้นคือการที่นำภาพจากความคิดมุมต่างๆใน Storyboard ที่ทีม กล้องของเราได้คิดกับผู้กำกับนั้นนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นงานภาพที่เกิดขึ้นจริงนั้น เรา ก็เตรียมตัวให้หลายๆอย่างมากๆ ทั้งการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการถ่ายทำ ด้วยโลเคชั่นของเรานั้นเป็น Indoor สักส่วนใหญ่เราจึงออกแบบมุมกล้องที่มีความเข้า กับ Moon and Tond กับหนังของเราที่มีการถ่ายทอดออกมาให้มีความสร้างสรรค์ และดูไม่สะดุดตาทำให้ภาพในหนังของเรามีความราบรื่น เราจึงเลือกให้ใช้กล้องและ เลนส์ที่มีความไม่ใหญ่เกินไป และ เลนส์ที่ระยะไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปให้เข้ากับ หนังของเรา และเราก็ทำการไปโลเคชั่นจริงเพื่อ Blockshot ให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับ ภาพและผู้กำกับนั้นต้องการ หน้าที่ของเราอาจจะเป็นหน่อยซัพพอร์ตให้ผู้กำกับภาพก็ จริงแต่หน้าที่ของเราก็ DP ไปในตัวเช่นเดียวกันที่จะช่วยให้ DP ทำงานได้ง่าย คอย ซัพพอร์ตในอุปกรณ์ เลนส์ หรือสิ่งต่างๆที่ DP ต้องการ และด้วยตำแหน่งเราจึงต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้ DP และตัว ผมเองให้ทำงานไหลลื่นไปและทำงานได้ง่าย เช่น สายSDI และ สายD-Tap แล็คซีน ตึงหนืด ไขควง และอุปกรณ์ต่างๆตามสถานการณ์หน้างานที่เราต้องเจอและแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าตามลำดับ และด้วยการที่เราทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้กำกับภาพนั้นเองเราจึงมีการพูดคุยและแชร์ มุมมองต่างๆที่สามารถทำให้งานของเราออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดกับผู้ กำกับภาพด้วยนั้นเอง เราจึงได้มุมมองและได้คิดมุมกล้องต่างๆที่มีความโดดเด่นและดู เรียบง่ายไปกับตัวหนังของเรานั้นเอง และเราก็รับฟังทั้งไอเดียของผู้กำกับภาพด้วย ว่า
เขามีมุมมองอย่างไรทำไมถึงเลือกช็อตแบบนี้ และเราก็ทำความเข้าใจและประยุกต์ไป ทำตามลำดับงานของเรานั้นเองจึงเกิดเป็นมุมกล้องและความท้าทายในการอยากเล่น มุมกล้องต่างๆให้มีความน่าสนใจและโดดเด่นนั้นเอง ความรู้สึก : จากการที่ได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพนั้นมันทำให้เรารู้สึกแปลกใจมากกับตำแหน่งนี้เพราะ ด้วยการที่เราไม่ใช่เอกนี้โดยตรงเราก็อาจจะมีความรู้อะไร ที่ไม่เข้าใจและไม่รู้อีกมากมาย ถึงเราอาจจะได้ทำ DP มาบ้างแต่ก็ยังมีความไม่รู้อีก เยอะมันถึงเป็นเรื่องที่ดีที่มีทีมที่ดีและเข้าใจกันแและกัน และเป็นโชคดีที่เรามีการคุยและ ได้แชร์มุมต่างๆกับผู้กำกับภาพที่เขาเรียนมาทางด้านนี้โดยตรงจึงทำให้เรารู้สึกว่าการ ทำงานแบบนี้เป็นเรื่องที่ดูสบายใจขึ้นและสามารถทำงานชิ้นนี้ออกมาให้เป็นหนังที่เรา พึ่งพอใจและภูมิใจไปกันทั้งโปรของเรา ซึ่งการทำงานที่มันยากแบบนี้มันก็ต้องผ่าน ความกดดันและปัญหามากมายเราจึงจะภูมิใจมากถ้างานชิ้นนี้ออกมาได้ดีและเป็นที่น่า พอใจทั้งทุกฝ่าย
Sound ในช่วง Pre Production พวกเราได้ตกลงกันว่าจะทำหนังแนว Horror เราได้ ก็ได้รับโจทย์ให้ไปออกแบบเสียงดนตรีประกอบและซาวด์ประกอบตัวอย่างหนังแนวนี้ ตอนแรกเราก็เริ่มจากการไปหา Ref จากหนังอื่นๆ ไปฟังซาวจากหลายๆที่ทั้งหนังและ เพลงที่มันชวนน่ากลัวและขนลุกทำให้เราเริ่มปิ๊งไอเดียและจิตนาการออก จากนั้นเรา เลือกใช้โปรแกรม Fl studio เพราะเราถนัด นั่งอ่านบทจากทีมเขียนบททำความเข้าใจ และพยายามถ่ายทอดจิตนาการจากบทสู่เสียงประกอบ เราเลือกใช้เสียงเปียโนแบบ Bell มันจะค่อนข้างให้ความรู้สึกหลอนๆเหมือนเสียงกล่องดนตรีของเล่นสมัยเด็ก เราก็ สร้างเมโลดี้ขึ้นมานั่งไล่โน้ตโดยใช้สเกล Minor เพื่อให้เสียงมันดูเศร้าด้วย ผสานกับ เสียง Ambiance ที่เราใช้ ATM MOTHERSHIP FG >> ในการออกแบบทำให้ลงตัว มากยิ่งขึ้น แล้วเราก็เริ่มออกแบบซาวอีกตัวหนึ่งจากซีนที่มันมีการล่าเราจึงออกแบบให้ซีนนี้จะให้ ความรู้สึกที่ต้อง ตื่นเต้น บีบคั้น อึดอัด ไล่ล่า เราใช้ เบสเป็นตัวนำในการนำก่อนใน การสร้างจังหวะเมโลดี้โน้ตตัวเดียวยาวไปจนถึงสุดท้าย ใช้แทนจังหวะเหมือนหัวใจ ตึก ตึก ตึก ในคีย์ต่ำ ต่อมาเราต้องการ Ambiance ที่ทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นเราเลือก นานมากจนมาเจอเจ้าตัว Space distortion พอเราเริ่มสร้างมันทำให้เราเห็นภาพมาก ยิ่งขึ้น เราเรียกว่ามันเป็นเสียง Gas ทำให้เรารู้สึกอึดอัด ต่อไปเราก็จะเป็นการเลือกใช้ ‘’ กลอง’’ เพื่อสร้างความตื่นเต้น การเร้าอารมณ์ และปรับ EQ และ Reverb เพื่อทำให้ มีมิติมากยิ่งขึ้น ส่งไปแล้วผลตอบรับทุกคนก็โอเค และมีการทำงานร่วมกับฝ่ายตัดต่อ ในการทำ Pilot ได้รับหน้าที่ให้ทำ Foley เสียงต่างๆในตัวอย่างหนังเช่น เสียงมีดแทง คน เสียงปิดหีบ เสียงประตู ต่างๆ สุดท้ายก็สำเร็จไปได้ด้วยดี
Editing (ตัดต่อ) หนังที่ใช้เป็น reference ในการตัด pilot หลักๆก็จะมีเรื่อง Kill bill vol.1 ที่ใช้เป็นฉากเปิดเทียบเป็นฉากที่อีฟเข้าใจผิดมาเห็นป้าอมร ฆ่าแม่ของตัวเอง ช่วงต่อมา ที่เป็นฉากอีฟเข้าไปในบ้านหาของก็จะใช้เรื่อง annabelle comes home และ Red sparrow ตัด สลับกันเพื่อให้เห็นภาพการไปค้นหาของได้ชัดเจนมากที่สุด ในส่วนของ ครึ่งหลังใช้เทคนิคการตัดแบบสลับไวๆเพื่อสื่ออารมณ์ตามเพลงที่ใช้ในการทำ pilot - ฉากย่อยตอนหลังก็จะมีเรื่อง Midsommar คือฉากที่มองไปในกระจกแล้วเห็นผี - Insidious 2 เป็นฉากที่เห็นผีทะลุกระจก Color Grading ส่วนการ color grading จะไม่ทำอะไรมาก เพราะว่าฟุตเทจที่นำมาคือมา จาก YouTube ที่เกรดสีเรียบร้อยแล้ว ถ้าดึงสีเพิ่มมากไปจะทำให้ภาพที่ออกมานั้นเละ เกินไป แต่โทนสีที่ใช้ในเรื่องนี้หลักๆจะเป็นสีเขียว ซึ่งสื่อถึงความป่วยและสีเหลืองสื่อถึง ความบ้าคลั่ง VISUAL EFFECT สำหรับที่มาของโปรเจคนี้เป็นหนังแนว Horror Thriller เรื่องราวเกี่ยวกับผี และออกแนวลึกลับสยองขวัญ ทำให้ต้องมีการใช้ visual effect ทำให้ภาพดูสมจริง เพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งอารมย์ความรู้สึกของผู้ชมขณะดูหนังโดยสไตล์ visual effect ที่ เสนอไปนั้นมีหลากหลายแบบอาทิเช่น การที่ผีออกมาจากกระจก แหวนกระเด็นเข้านิ้ว และตอนโดนสิง โดยเราก็ได้ศึกษาวิธีการทำกันมาอย่างละเอียดพอสมควร ได้พูดคุยกัน ถึงแนวทางที่จะทำให้รูปลักษณ์ผีน่ากลัวและเป็นเอกลักษณ์ โดยเราจะเน้นไปทางแนว ดาร์ก ๆ มีความไม่เละเทะของตัวผีมากจนเกินไป อีกทั้งยังต้องประสานงานกับทางฝ่าย กล้อง เพื่อที่จะได้ถ่ายทำอย่างถูกวิธีและส่งต่อไปทำ visual effect ได้ง่ายขึ้น ถือได้ว่า นี่เป็นงานที่ท้าทายความสามารถอีกงานเลย เราก็อยากจะทำให้งานออกมาดีและจะท เต็มที่จนสุดความสามารถของเราเช่นกัน โดยสมาชิกของทีม visual effect ในช่วง Pre-pro ก็ได้มีกันสองคนและ หนึ่งในนั้นก็มีผู้กำกับที่ได้เข้ามาร่วมทำงานด้วยเช่นกัน ทำให้การคุยงานในส่วนของรูป แบบที่อยากได้เห็นเป็นภาพเดียวกันง่ายขึ้น อีกทั้งเราเคยทำงานร่วมกันมาก่อนจึงไม่ติด ปัญหาอะไร เพราะเรามั่นใจในฝีมือทีมและเราทั้งคู่ก็ต่างไว้วางใจซึ่งกันและกัน ว่าจะ ทำงานออกมาได้ดีแน่ ๆ ทางโปรดักชั่นได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับ visual effect ของ หนังเรื่องนี้ในเรื่องของความสามารถในด้านการทำงานของของทีม visual effect ว่า จะสามารถทำได้อย่างที่วางแผนไว้หรือไม่ เราจึงได้ทดลองทำตัวอย่างให้เพื่อน ๆ ในโป รดักชั่นได้ตรวจสอบ เพื่อน ๆ ค่อนข้างที่จะชื่นชอบกับผลงานที่เราทำกันมา จึงไม่มี ปัญหาอะไรในส่วนของทีม visual effect
Catering (สวัสดิการ) หน้าที่ที่ช่วย support เพื่อนๆในกองเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องอาหาร จัดสรร เรื่องอาหารในช่วงแรกที่หาเรื่องอาหารก็จะมีปัญหาของเรื่องโลเคชั่นตอนแรก เราเลือก โลเคชั่นไว้ที่หนึ่ง แล้วทางร้านไม่สามารถออกกองหรือส่งอาหารให้ทางกองเราได้ เพราะตอนแรกโลของเราอยู่ต่างจัดหวัดเลย เลยได้หาใหม่มาเรื่อยๆ จนเพื่อนในกองได้ ปรึกษากับอาจารย์เรื่องบท อาจารย์เลยแนะนำให้เปลี่ยนโลมาอยู่ในกรุงเทพเพื่อความ สะดวกมากกว่า ตัวเราเองก็เลยต้องหาร้านอาหารใหม่ ซึ่งตอนแรกก็หาไม่ได้บางร้าน ราคาเกินงบของกองที่เราตั้งไว้ บางร้านอาหารไม่ค่อยคุ้มกับอาหารเลยมาคิดกันใหม่ว่า อาจจะทำอาหารกันเอง แต่เราทำหน้าที่นี้แต่ทำอาหารไม่เป็นอีก เลยได้มาหาร้านอาหาร ใหม่ที่สามารถจัดส่งให้กองได้ละจัดส่งตามเวลาที่เราต้องการได้