The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิชาการ-รุ่งทิวา-013

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 6211120013, 2022-07-12 10:45:41

บทความวิชาการ-รุ่งทิวา-013

บทความวิชาการ-รุ่งทิวา-013

1

1

การจดั การเรยี นรู้แบบบูรณาการ

Developing an integrated learning management plan.

นางสาวรุ่งทิวา เบญจาธิกุล
Miss Roongtiwa Benjatikul

หลักสตู รนาฏศิลป์ คณะครศุ าสตร์
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครศรธี รรมราช อาเภอเมือง จังหวดั นครศรธี รรมราช 80280

Program in Bachelor of Education (Dramatic Arts).
Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Muang, Nakhon Si Thammarat 80280. Thailand

*Corresponding Author, E-mail: [email protected]

บทคัดยอ่
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับ
นักศึกษา เพ่ือตรวจสอบความพึงพอใจของการสัมมนาเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาหรับนาใช้เป็น
แนวทางพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติกิจกรรมการจัดสัมมนาทางวิชาการในลาดับต่อไปโดยการสัมมนาทาง
วิชาการในครง้ั นี้ จะบรรยายเร่ืองของการจัดการเรียนรู้แบบบรู ณาการ ซึ่งประกอบไปด้วย ความหมายของการ
จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ลักษณะและรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจุดมุ่งหมายของการ
จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ันตอนของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณค่าและประโยชน์ท่ีได้จากการ
จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และการประเมินผลจากการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จากการจัดกิจกรรม
สัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมท้ังหมด 32 คน ใช้แบบประเมินความพึงพอใจเรื่องการจัดการเรียนรู้
แบบบรู ณาการเป็นเคร่ืองมือเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวเิ คราะห์ข้อมูลจากค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบ่ียงเบน
มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าผู้ทาแบบประเมินความพึงพอใจทั้งหมด 32 คนส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ83.3
เพศหญิงและเพศชายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18-23 ปี ร้อยละ100.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาสาขานาฏศิลป์
จากรายงานผลแบบประเมนิ ความพึงพอใจ สรปุ ไดว้ า่ ประเด็นทีอ่ ยู่ในระดบั มากท่ีสดุ มี 1 ประเดน็ คือ วทิ ยากร
มีความเหมาะสมกับหวั ขอ้ ที่บรรยาย ความรู้ ความเข้าใจเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบรู ณาการหลังเข้าร่วมการ
สัมมนา การสัมมนาออนไลน์มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่บรรยาย และการทราบข่าวจากแผ่นโปสเตอร์
ประชาสัมพันธ์ มีค่า x=4.65 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือประเด็น เนื้อหาสาระในการ
สัมมนา ความสะดวกในเรอ่ื งของการลงทะเบยี น ความเหมาะสมของหวั ขอ้ สัมมนากับระยะเวลาในการสัมมนา
และเนื้อหาการสัมมนามีประโยชน์ในการนาไปปรับใช้ในชีวิตประจาวัน มีค่า x=4.62 และประเด็นท่ีมีความพึง
พอใจน้อยที่สุดคือ การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ มีค่า x=4.59 และความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ
เรียนรู้แบบบรู ณาการกอ่ นเขา้ ร่วมการสมั มนา การเพ่ิมชอ่ งทางการประชาสัมพันธ์ มคี า่ x=4.43 ตามลาดบั

คาสาคัญ: การจดั การ การเรียนรู้ บรู ณาการ

2

บทนา
โลกแหง่ การเรียนรใู้ นปัจจบุ ันมีสิ่งต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนในชวี ิตประจาวันนั้นจะเป็นสิ่งท่ีเกี่ยวเน่ืองสัมพนั ธก์ ัน

กับศาสตร์ในสาขาต่างๆ ผสมผสานกันทาให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดย่ี วๆมา ไม่สามารถนาความรู้มาใชใ้ นการ
แก้ปญั หาได้ ดังนน้ั การจดั การเรียนรแู้ บบบูรณาการจะชว่ ยให้สามารถนาความรู้ ทักษะจากหลายๆ ศาสตร์มา
แก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจึงทาให้เกิดความสัมพันธ์เชอ่ื มโยงความคิดรวบยอด
ของศาสตร์ตา่ งๆ เข้าด้วยกัน ทาให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of learning) ของศาสตร์ต่างๆ เข้า
ดว้ ยกัน ทาให้ผู้เรยี นมองเหน็ ประโยชน์ของส่ิงท่เี รยี นและนาไปใช้ไดจ้ ริง

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ การจัดกิจกรรมเพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือตอบปัญหาที่
สงสัยด้วยการผสมผสานสาระกระบวนการวิธีสอน เทคนิคที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยการสอดแทรกสาระ
ความรู้อื่นๆและคุณธรรมจริยธรรมอย่างเหมาะสม เกิดความสมบูรณ์อย่างสมดุลเสมือนเป็นชีวิตของผู้เรียน
รวมถงึ การเช่อื มโยงรวมทงั้ สอดแทรกเน้อื หาทักษะกระบวนการ ทกั ษะปฏบิ ตั ขิ องสาระการเรียนรู้ตา่ ง ๆ กับหัว
เร่ืองที่ต้องการสอนอย่างเหมาะสม หรืออย่างสมดุล หรืออย่างสมบูรณ์ การเชื่อมโยงดังกล่าวทาให้ผู้เรียนได้
พฒั นาปัญญาด้านต่าง ๆ หรือกล่าวว่าเป็นพัฒนาของปัญญา (Multiple Intelligences) พิมพันธ์ เดชะคุปต์
และพเยาว์ ยนิ ดีสุข (2551: 12-15)

การจดั การเรียนรแู้ บบบูรณาการมีความสาคัญอย่างย่ิงสาหรับผู้เรียน เพราะการเรียนรู้แบบบรู ณาการ
เป็นการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นการเรียนรู้ท่ีเช่ือมโยงเน้ือหาสาระหลายศาสตร์เข้า
ด้วยกันอย่างมีความหมายและสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชวี ิตจริง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเช่ือมโยง
ความรู้กับประสบการณ์ในการท่ีจะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงผ่านกระบวนการการเรียนรู้แบบลงมือทา

ด้วยเหตุนี้ผู้จัดการสมาในครั้งนี้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมีความสาคัญอย่างยิ่ง เพราะ
เป็นการเชื่อมโยงความรู้ความคิดรวบยอดหรือทักษะเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมท้ังทางดา้ น
พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซ่ึงสอดคล้องตามแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติพ.ศ. 2542 มาตรา 23 ท่ีเน้นความสาคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตาม
ความเหมาะสมซ่งึ เป็นไปตามสภาพจริงของของสงั คม

บทความน้ีนาเสนอเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ ศึกษาการจัดการ
เรียนรู้แบบบูรณาการกับนักศึกษา เพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของการสัมมนาเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการสาหรับนาใช้เป็นแนวทางพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติกิจกรรมการจัดสัมมนาทางวิชาการในลาดับ
ต่อไป คาดการณ์เป็นเบื้องต้นว่าจะได้สาระความเข้าใจในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาหรับการ
เรียนการสอน และเพือ่ เป็นประโยชนต์ ่อตนเองและครูผสู้ อนจึงได้เรียบเรยี งบทความในคร้ังนีข้ ึ้น

3

ความรเู้ ร่ืองการจดั การเรยี นรูแ้ บบบูรณาการ
ความรเู้ รอ่ื งการจดั การเรียนรู้แบบบรู ณาการทีจ่ ะนาเสนอน้เี ปน็ สาระสาคัญเพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับ

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการท่ีถูกต้อง ผู้ศึกษาจึงได้รวบรวมองค์ความรู้เร่ือง ความหมายของการจัดการ
เรียนรู้แบบบูรณาการ ลักษณะและรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จุดมุ่งหมายของการจัดการ
เรียนรู้แบบบูรณาการ ข้ันตอนของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการจัดการ
เรียนร้แู บบบูรณาการ และการประเมินผลจากการจัดการเรยี นรู้แบบบูรณาการ ดงั น้ี

ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบรู ณาการ
เร่ืองความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหรือวิธีการสอนแบบบูรณาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิ
และนกั วิชาการศึกษาได้ใหค้ วามหมายไวม้ ากมาย ดังตอ่ ไปน้ี
พมิ พันธ์ เดชะคปุ ต์ และพเยาว์ ยินดสี ุข (2551: 12-15) ไดใ้ ห้ความหมาย การบูรณาการการเรียนการ
สอน หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือตอบปัญหาที่สงสัยด้วยการผสมผสานสาระ
กระบวนการวธิ ีสอน เทคนิคท่ีเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติดว้ ยการสอดแทรกสาระความรู้อ่ืนๆและคุณธรรมจริยธรรม
อย่างเหมาะสม เกิดความสมบูรณ์อย่างสมดุลเสมือนเป็นชีวิตของผู้เรียนสาหรับการจักการเรียนรู้แบบบูรณา
การ คือการเชื่อมโยงรวมท้ังสอดแทรกเนื้อหาทักษะกระบวนการ ทักษะปฏิบัติของสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับ
หวั เร่อื งทต่ี ้องการสอนอย่างเหมาะสม หรืออย่างสมดลุ หรืออย่างสมบูรณ์ การเช่ือมโยงดังกล่าวทาให้ผู้เรียนได้
พัฒนาปัญญาด้านต่าง ๆ หรือกลา่ วว่าเป็นพัฒนาของปญั ญา (Multiple Intelligences)
สงัด อุทรานนท์ (2532:221) ได้ให้ความหมายของ หลักสูตรบูรณาการว่าเป็นหลักสูตรท่ีมีการ
ผสมผสานกนั ระหว่างเนอ้ื หาวชิ ามากทสี่ ุด ไม่ปรากฏเดน่ ชัดวา่ วิชาใดวิชาหน่ึงเป็นหลักสาคัญของหลักสูตร การ
จัดหลักสูตรแบบบูรณาการ เป็นการหนีจากการเน้นเน้ือหาวิชาเป็นอย่างมาก การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ
อาจทาไดโ้ ดยลักษณะหนง่ึ หรือหลายลกั ษณะรวมกัน
สุมานิน รุ่งเรื่องธรรม (2552:32) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง การจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพ่ือการเรียนรู้ที่มีความหมาย ให้เข้าใจความเป็นไป ท่ีสาคัญของสังคม
เพ่อื ดัดแปลงพฤติกรรมของผเู้ รยี นใหเ้ ขา้ กับสภาพชีวิตจนได้ยิง่ กวา่ เพมิ่
ดังน้ันการเรียนการสอนแบบบูรณาการหรือการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึงการจัดการ
เรียนการสอนที่เช่ือมโยงผสมผสานศาสตร์ต่างๆ ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดแบบองค์รวม ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง
ให้แก่ผู้เรียน เน้นความสนใจ ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนท่ี
สอดคล้องกับจุดประสงค์และชีวิตประจาวัน ทาให้เกิดความสมบูรณ์ท้ังด้านความรู้ ทักษะ และคุณธรรม
จริยธรรม
ลกั ษณะและรูปแบบของการจดั การเรยี นรแู้ บบบูรณาการ
นักวิชาการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะสาคัญและรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณา
การไว้ดงั ตอ่ ไปน้ี
สริ ิพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2546: 25-31) กล่าววา่ การบูรณาการมีหลายลักษณะ หลายแนวคิด ข้ึนอยู่กับ
ครูแตล่ ะคนและความเหมาะสม ซ่งึ แบง่ ลักษณะออกได้ดังน้ี

4

1.การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในลักษณะการหลอมรวมกันโดย
ตง้ั เปน็ หน่วยหรอื หวั เรื่องเนอ้ื หาทน่ี ามารวมก็ตอ้ งมีความสมั พันธ์กนั และคล้ายคลงึ กัน

2.การบูรณาการเชงิ วิธกี าร เป็นการผสมวิธีการสอนแบบตา่ งๆ โดยการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนท่ี
ใช้วธิ สี อนหลายๆวิธี ใช้ส่อื การสอนแบบประสม ใช้เทคนิคทหี่ ลากหลายเพือ่ ใหน้ ักเรียนมีโอกาสได้เรยี นรแู้ ละฝกึ
ปฏิบัติอย่างสัมพันธ์กันมากที่สุด โดยอาจใช้เทคนิคการสนทนา การอภิปราย การใช้คาถาม การบรรยาย การ
ค้นควา้ ทางานกลุ่ม การไปศึกษานอกหอ้ งเรียน การนาเสนอขอ้ มลู เปน็ ตน้

3.การบรู ณาการความรกู้ ับกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนพฒั นาวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
โดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีข้ันตอนอยู่ในใจแต่สามารถยืดหยุ่นได้ซ่ึงอาจใช้กระบวนการ เช่น กระบวนการ
แสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปญั หา กระบวนการสรา้ งความคิดรวบยอด เป็นตน้

4.การบูรณาการความรู้ ความคิดกับคุณธรรม ใช้การสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่ง
เกิดการซึมซับเป็นธรรมชาติ เช่นการสอนเรื่องสิทธิหน้าที่และเสรีภาพ เพื่อให้นักเรียนจะได้เป็นผู้ท่ีมีความรู้คู่
คณุ ธรรม

5.การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติเป็นการเชื่อมโยงความรู้ไปกับการปฏิบัติซ่ึงจะทาให้ความรู้น้ัน
ติดตัวไปยาวนานไม่ลืมง่าย

6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน ความรู้ท่ีครูจัดให้นักเรียน ไม่ควรแปลก
แยกกบั ชีวิตจรงิ เพราะจะทาให้นักเรียนไม่เห็นคุณค่า ไม่มีความหมาย และไม่เกิดประโยชน์ ดงั น้ันส่ิงท่ีครูสอน
ควรเชื่อมโยงกบั ชวี ิตของนกั เรยี น เพอ่ื นาไปปรับปรุงพฒั นาคณุ ภาพชีวติ

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2540: 7) ไดแ้ บง่ ลักษณะการสอนแบบ บรู ณาการมี 2
แบบคือ การบูรณาการภายในวชิ าและการบูรณาการระหว่างวิชา การบรู ณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายใน
วิชาเดยี วกัน สว่ นการบรู ณาการระหวา่ งวชิ า เป็นการเชื่อมโยงหรอื รวมสาสตรต์ า่ ง ๆตงั้ แต่สองวิชาข้ึนไปภายใต้
หัวเร่ือง (Therme) เดียวกัน เป็นการเรียนรู้โดย ใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชา
ต่างๆมากกว่า 1 วิชาข้ึนไปเพื่อการ แก้ปญั หาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง การเช่ือมโยง
ความรู้หรือระหว่าง วิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาข้ึนไป เพ่ือการแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ ใน
เร่ืองใด เรื่องหน่ึง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซ้ึง
ไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากข้ึน การสอนแบบบูรณาการท้ังสองแบบมีหลักการ
เช่นเดียวกันกล่าวคือ มีการกาหนดหัวเร่ืองเช่อื มโยงความคิดรวบยอดต่างๆ มีการวางแผนการจัดกิจกรรมและ
โครงการตา่ ง ๆ ท่ผี ูเ้ รยี นจะตอ้ งศึกษา ลงมือปฏบิ ตั ิ และได้นาไปจัดการสอนแบบบรู ณาการ 4 รปู แบบคอื

1.การสอนแบบบรู ณาการการสอดแทรก (Infusion Instruction) การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนวชิ าหน่ึง
สอดแทรกเนอื้ หาวิชาอืน่ ๆ เขา้ ไปในการสอนของตนเป็นการวางแผนการสอน และเป็นการสอนโดยครูคนเดียว

2.การสอนบูรณาการแบบขนาน (Parallel Instruction) การสอนตามรูปแบบน้ี ครูตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป
สอนตา่ งวชิ ากัน ตา่ งคนต่างสอนแตต่ ้องวางแผนการสอนร่วมกัน โดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหา
เดียวกัน (Theme/ConceptProblem) ระบสุ ่ิงท่ีร่วมกันและตัดสินใจร่วมกันว่าจะสอนหัวเร่ือง ความคิดรวบ

5

ยอด/ปญั หานน้ั ๆ อยา่ งไรในวชิ าของแตล่ ะคน งานหรือการบา้ นทม่ี อบหมายใหน้ กั เรียนทาจะแตกตา่ งกันไปแต่
ละวชิ า แต่ท้ังหมดจะตอ้ งมหี ัวเรอื่ ง/ความคดิ รวบยอด/ปญั หารว่ มกนั

3.การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary Instruction) การสอนตามรูปแบบนี้
คล้ายๆกับการสอนบูรณาการแบบขนาน กล่าวคือครูต้ังแต่ 2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน มุ่งสอนหัวเรื่อง
ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนส่วนใหญ่ แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงาน
(Project) ร่วมกัน ซ่ึงจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ครูทุกคนจะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อท่ีจะ
ระบุว่าจะสอนหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้น ๆ อย่างไรและวางแผนร่วมกัน (หรือกาหนดงานที่จะ
มอบหมายให้นักเรียนร่วมกันท่า) และกาหนด ว่าจะแบ่งโครงงานน้ันออกเป็นโครงงานย่อย ๆ ให้นักเรียน
ปฏบิ ัติแต่ละรายวชิ าอย่างไร

4.การสอนบูรณาการขา้ มวิชาหรือเปน็ คณะ (Transdisciplinary Instruction) การสอนตามรูปแบบน้ี
ครูที่สอนวิชาต่างๆ จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีมร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือและกาหนดหัวเรื่อง
ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกนั แล้วร่วมกนั ดาเนนิ การสอนนกั เรียนกลุม่ เดียวกนั

จดุ มงุ่ หมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
มนี กั วิชาการศึกษาหลายทา่ นได้กลา่ วถึงจุดมุง่ หมายของการจัดการเรยี นรู้แบบบูรณา การดงั น้ี
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2546: 16-17) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการบูรณาการ หลักสูตรและการ
สอนแบบบรู ณาการดังนี้
1.เพือ่ ให้นักเรียนเกิดความตระหนักว่าการเรียนรู้ทุกสิ่งมีความสัมพนั ธ์ซ่ึงกันและกัน ในชีวิตคนเราทุก
สิ่งทุกอย่างจะเก่ียวข้องกันอยู่เสมอ หลักสูตรบูรณาการจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตของนักเรียนมากกว่าและ
นกั เรยี นจะเกดิ แรงจงู ใจในการเรยี นมากกวา่ หลักสตู รแบบเดมิ
2.เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้ท่ีสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ซ่ึงในการแก้ปัญหานักเรียน จะต้องอาศัย
ความรจู้ ากหลายสาขาวิชาในเวลาเดียวกัน
3.เพ่ือใหน้ กั เรียนได้มีสว่ นร่วมในการเรียนรโู้ ดยตรงอยา่ งมีจดุ หมายและมคี วามหมาย นกั เรยี นมสี ว่ น
ร่วมในการตัดสินใจ การแสดงความคิดเหน็ ในการจดั การเรียนการสอนและชว่ ย สร้างความเขา้ ใจใหน้ ักเรียน
อย่างลึกซงึ้
4.เพอ่ื สนองความสนใจของนกั เรียนแต่ละคน โดยการเรยี นรู้โดยตามเอกตั ภาพออกแบบกิจกรรมให้
นกั เรยี นไดเ้ รยี นรูต้ ามทต่ี อ้ งการจะรู้ บรรยากาศในชน้ั เรยี นจะไมเ่ ครยี ด สามารถกระตนุ้ ใหน้ กั เรยี นเรยี นอยา่ ง
สนุกสนานและบรรลุผลในการเรยี นให้มากข้นึ
5.มีการถา่ ยโอนและคน้ ควา้ ความสมั พันธร์ ะหว่างเนือ้ หา ความคดิ ทกั ษะและเจตคติ ช่วยให้ผเู้ รยี น
เข้าใจความคดิ รวบยอดทเ่ี รียนไดอ้ ยา่ งลกึ ซ้ึงเปน็ ระบบ และถา่ ยโอนความเข้าใจจากเรอ่ื งหน่ึงไปสู่อกี เรือ่ งหน่งึ
ไดด้ ี
6.สง่ เสริมการเรียนรูท้ ี่จะทางานรว่ มกนั ให้นกั เรียนรู้สึกปลอดภยั มีความพงึ พอใจ มีความรู้สึกเป็น
สว่ นหน่งึ ของหมูค่ ณะและยอมรบั ผอู้ ่ืน เตม็ ใจทจ่ี ะทางานรว่ มกับกลมุ่ และเปน็ สมาชิกที่ดีของกลุ่ม

6

7.ช่วยพัฒนาค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม มาตรฐานการทางาน วินัยในตนเอง ส่งเสริมความสามารถ
ในการทางาน และการควบคมุ อารมณ์ของผูเ้ รยี น

8.ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการแสดงออกทางศิลปะดนตรีไปพร้อม ๆกับทางด้าน
ความรเู้ นอื้ หาสาระ อกี ทั้งให้ผเู้ รียนมโี อกาสได้ร่วมกิจกรรมในสังคม

ธารง บัวศรี (2536: 180-182 ) กล่าวถึง การกาหนดจุดมุ่งหมายของการสอนแบบบูรณาการนั้น ควร
คานงึ ถึงลกั ษณะสาคญั ดงั ต่อไปนี้

1.เป็นการบรู ณาการระหวา่ งความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปจั จุบันมีปริมาณความรู้มากขึ้น
เปน็ ทวีคูณ รวมทัง้ มคี วามสลบั ซบั ซอ้ นขน้ึ เปน็ ลาดับการเรยี นการสอนดว้ ยวิธเี ดมิ เชน่ การบอกเล่า การบรรยาย
การท่องจา อาจจะไม่เพียงพอท่ีจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรเป็นผู้สารวจความสนใจ
ของตนเองว่าความรู้ท่ีหลากหลายนั้นอะไร คือส่ิงท่ีตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนเองจะแสวงหาความรู้เพ่ือ
ตอบสนองความสนใจเหล่านไ้ี ด้ อย่างไร เพยี งใด และด้วยกระบวนการอะไร

2.เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และการพัฒนาการทางจิตใจน่ันคือ การให้
ความสาคัญแก่จิตพิสัย เจตคติ ค่านิยม ความสนใจในและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย
ไม่ใช่เน้นแตเ่ พยี งองค์ความรู้หรอื พทุ ธิพิสยั แตเ่ พียงอยา่ งเดยี ว

3.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทาความสัมพันธ์ของการบูรณาการ ระหว่างความรู้
และการกระทาในข้อน้ยี งั มนี ยั แห่งความสาคัญ และความสัมพนั ธ์ดังได้กล่าวไว้ แล้วในข้อที่สองเพียงแตเ่ ปล่ียน
จติ พิสยั เป็นทักษะพิสยั เท่านนั้

4.การบูรณาการระหว่างสิ่งท่ีเรียนในโรงเรียนกับส่ิงท่ีเป็นอยู่ในชีวิตประจาวันของผู้เรียน คือการ
ตระหนักถึงความสาคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียน เม่ือได้ผ่านกระบวนการการ เรียนการสอนตามหลักสูตร
แล้ว ส่ิงที่เรียนท่ีสอนในห้องเรยี นจะต้องมคี วามหมายและมคี ณุ ค่าต่อชีวิตผู้เรียนอยา่ งแท้จรงิ

5.เป็นการเรียนรู้ระหว่างวิชาต่าง ๆ เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ และการกระทาท่ีเหมาะสมกับ
ความตอ้ งการและความมั่นใจของผู้เรียนอย่างจริงจัง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดารงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน
การบูรณาการความรู้ของวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพ่ือตอบสนองความต้องการและเพ่ือตอบปัญหาท่ีผู้เรียน
สนใจ จึงเปน็ ขั้นตอนสาคัญท่ีควรจะกระทาในข้นั ตอนของการบรู ณาการหลักสูตรการเรยี นการสอน

Lardizabal and others. (1970: 142) ได้กล่าวถึงจุดมุง่ หมายใน การสอนแบบบรู ณาการไว้ดงั นี้
1.เพ่ือพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัย มีความพึงพอใจ มีความรู้สึกเป็นส่วนหน่ึงของหมู่คณะ
และยอมรับผอู้ ื่น
2.ส่งเสรมิ การเรยี นรทู้ ีจ่ ะทางานรว่ มกันระหว่างครูกับนกั เรียน
3.ช่วยพัฒนาค่านยิ มบรรยากาศในชนั้ เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนไดพ้ ัฒนาจริยธรรม มาตรฐานการทางาน
มาตรฐานของกลุ่ม ความซาบซ้งึ ในการทางานและความซือ่ สัตย์
4.ช่วยพัฒนาวินัยในตนเอง โดยส่งเสริมความสามารถในการทางานและการควบคุมอารมณ์ของ
นกั เรยี น

7

5.สง่ เสรมิ ความคิดสรา้ งสรรค์ พฒั นาความสามารถทางด้านการแสดงออกดา้ นศิลปะ ดนตรี การละคร
ฯลฯ เชน่ เดียวกันกบั ทางด้านสังคม วทิ ยาศาสตร์ และวรรณคดี

6.เพ่อื นักเรียนมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมในสังคม เต็มใจที่จะทางานร่วมกับกลุ่มและเป็นสมาชิกท่ีดีของ
กล่มุ

7.ชว่ ยวัดผลการเรียนรู้โดยการนาวิธกี ารตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนทั้งรายบุคคล
และกลุ่ม

จากท่นี ักวชิ าการศกึ ษาหลายทา่ นไดก้ ล่าวถงึ จดุ มงุ่ หมายของการจดั การเรยี นรู้แบบบรู ณาการ สามารถ
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบรู ณาการ เพ่ือพฒั นาและส่งเสริม ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะใน
การคิด การแก้ปัญหาต่าง ๆ จากการฝึกปฏิบัติประสบการณ์ตรงตามกระบวนการท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามท่ีตนเองต้องการ มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ได้ฝึกทักษะตามความสามารถ
รวมท้ังพัฒนาทักษะในหลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านการยอมรับตนเอง การควบคุมอารมณ์ วินัยในตนเอง การ
ทางานกลุม่ คา่ นยิ ม คุณธรรม จรยิ ธรรม

ขน้ั ตอนของการจดั การเรียนรแู้ บบบูรณาการ
มนี กั วิชาการศึกษาหลายท่านไดก้ ล่าวถงึ ข้นั ตอนการจดั การเรียนรู้แบบบรู ณาการ ดังต่อไปนี้
อจั ฉรา ชีวพันธ์ (2538: 27-31) ไดเ้ สนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหรือข้ันตอนไว้
ดงั นี้
1.วเิ คราะห์เนอ้ื หา ในการสอนแต่ละครง้ั ผูส้ อนจะตอ้ งวเิ คราะห์เน้ือหาให้ถ่องแท้ เพื่อจัดหาแนวทางใน
การจดั ทาสอ่ื กิจกรรมใหเ้ หมาะสม ตลอดจนนกึ ดูว่าเน้อื หาใดสามารถบรู ณาการกบั กลุ่มประสบการณ์ใดได้บ้าง
และจะใชว้ ธิ ีการใด
2.เลือกลีลาให้เหมาะสม การเลือกหาวิธกี ารในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บูรณาการไดอ้ ย่าง
เหมาะสมจะช่วยให้การดาเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น และประสมผสานกันระหว่างกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ
ดังนน้ั ผ้สู อนควรพจิ ารณาให้ได้ว่าเนอื้ หาควรใชก้ จิ กรรมใด
3.จัดให้กลมกลืน หลังจากผู้สอนสามารถเลือกหากิจกรรมและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความ
สมบูรณ์ได้แล้ว ผู้สอนควรคานึงถึงความกลมกลืนของเนื้อหาและกิจกรรมว่าเหมาะสมสอดคล้องเพียงใด ใช้
เวลามากนอ้ ยแคไ่ หน เหมาะกบั กาลเทศะหรอื ไม่
4.สร้างความนิยมชื่นชมในกิจกรรมการเรียนการสอนซ่ึงจะบรรลุเป้าหมายท่ีต้ังไว้ ข้ึนอยู่กับ
องค์ประกอบอย่างหนงึ่ คือความประทับใจและเจตคติของผู้เรยี น ดงั น้นั การท่ผี ูส้ อนสามารถจัดกิจกรรมให้สร้าง
ความนิยมชื่นชอบให้ผู้เรียน จึงนับว่าสาคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจอย่างท่อง
แท้ ตลอดจนเห็นคุณค่าของสิง่ ท่ีเรียน
5.จดจาได้อย่างดี การเรียนการสอนท่ีมีกฎเกณฑ์ท่ีช่วยให้ผู้เรียนจดจาได้ดีขึ้น มีผลดี กับผู้เรียนอย่าง
ย่ิง ถา้ ผ้สู อนได้มีความพยายามใหผ้ ู้เรยี นไดม้ ีการจดจาอย่างมเี หตผุ ล มหี ลกั เกณฑ์ไมจ่ า้ แบบนกแกว้ นกขุนทอง
สามารถนาความรคู้ วามเข้าใจไปใชใ้ นชีวิตประจาวันได้อย่างดีด้วย ไม่อยู่ในลักษณะที่ “ความรู้ท่วมหัว
เอาตัวไมร่ อด”

8

อรทัย มลู คา และคนอนื่ ๆ (2542) ได้กาหนดข้ันตอนการสอนให้ผู้เรียนเกิดบูรณาการที่มีชอ่ื วา่ สตอริ
ไลน์ เมททอด (Story Line Method) ไว้ดงั ต่อไปนี้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ Story Line Method
1.สังเคราะห์และวิเคราะห์เน้ือหาของรายวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์แล้วก้าหนดองค์รวมแห่งองค์
ความรูท้ ี่พงึ ประสงคไ์ ว้ให้ชัดเจนในรปู ของหัวเร่ือง
2.เขียนแผนการสอนโดยใช้เส้นทางการเดินเร่ือง (Topic Line) เป็นกรอบในการเขียน โดยมีหัวเร่ือง
เป็นตัวกาหนดเนอ้ื หา
3.จัดกิจกรรมตามหัวเร่ืองท่ีกาหนดและจัดเรียงเป็นตอน ๆ (Episode) ด้วยการใช้คาถามหลักเป็น
ตัวกาหนดกิจกรรมการเรียนรู้
4. เส้นทางเดินเรื่องท่ีใชเ้ ป็นกรอบดาเนินการโดยวิธี Story Line Method ประกอบด้วย ขั้นตอน
สาคัญ 4 องค์ ก็คือ ฉาก ตวั ละคร วิถีชีวิตและเหตุการณ์ ซึ่งเหตกุ ารณ์แต่ละองค์จะประกอบดว้ ยประเดน็ หลัก
บางประเด็นท่ียกข้ึนมาพจิ ารณาเป็นพเิ ศษ โดยการต้ังคาถามแล้วให้นักเรียนไปค้นคว้าหาคาตอบ คาถามน้ีจะ
โยงไปยังคาตอบท่ีสมั พันธก์ ับเนอ้ื หาวชิ าตา่ งๆ
จากข้ันตอนในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการบูรณาการ ทั้งหมดท่ีกล่าวมาพอสรุปเป็นขั้นตอนได้ 4
ข้นั ตอน ดงั น้ี
1.ข้ันนา ครูเป็นผู้สร้างประเด็นหรือนานักเรียนเข้าสู่ปัญหา โดยนานักเรียนเข้าสู่สถานการณ์จริงที่
เกีย่ วข้องกับชีวติ ประจาวันของตวั นกั เรยี นเอง
2.ขั้นปฏิบัติ นักเรียนนาผลจากการได้รับประสบการณ์จริงที่ได้จากข้ันนามาวิเคราะห์เพ่ือหาแนว
ทางแก้ไขปัญหา หรือพฒั นางานโดยกระบวนการกลมุ่ แล้วบรู ณาการเน้ือหาวชิ าอ่นื ๆ ท่เี กย่ี วข้องกนั ไวด้ ้วยกัน
3.ข้ันสรุป นักเรียนแตล่ ะกลุ่มนาผลการวเิ คราะห์มาแก้ไขปญั หาหรือการพัฒนานั้นไปสู่การปฏิบตั ิจริง
ตามข้ันตอนการแก้ไข หรือพัฒนาจนเปน็ ที่ยอมรับของกลมุ่ โดยมีผูส้ อนเปน็ ผู้แนะแนวทาง
4.ขั้นประเมินผล ทุกกลุ่มนาเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชิ้นงานท่ีได้รับการแก้ไขหรือ
ปรับปรุงแล้วต่อทุกกลุ่มร่วมกัน ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางท่ีถูกต้องและเชื่อมโยง การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา
งานแตล่ ะกลุ่มใหเ้ กดิ การบูรณาการระหวา่ งกัน
คุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการจดั การเรยี นรแู้ บบบรู ณาการ
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 51-52) ได้กล่าวถงึ ประโยชน์ของการบรู ณาการดังต่อไปนี้
1.เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสามารถจดจาความรู้ที่เรียนไปได้นาน (Retention) ซ่ึงจะ
เร่ิมตน้ ดว้ ยการทบทวนความรเู้ ต็มและประสบการณ์เดมิ ของผูเ้ รยี น
2.ผเู้ รยี นมีส่วนร่วมในการเรียน (Participate) ทัง้ ทางด้านร่างกาย จติ ใจ สติปญั ญา และสังคมเป็นการ
พัฒนาในทุกด้าน
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตนและเป็นประสบการณ์ในชีวิตจริง
ของผูเ้ รยี น
4.ผเู้ รยี นได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ซา้ กันหลายครัง้ โดยไม่ร้สู กึ เบ่อื หน่าย

9

5.ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา
คิดริเรม่ิ สร้างสรรค์

6.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทางานกลุ่มตั้งแต่สองคนข้ึนไป จนถึงเพื่อนท้ังชั้นเรียนตามท่ีกาหนดใน
กจิ กรรมเพอ่ื พัฒนาทกั ษะมนุษย์สมั พันธ์

7.ผู้เรียนสร้างเรื่องตามจินตนาการท่ีกาหนดเป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
การเมอื ง วถิ ชี ีวิตผสมผสานกันไป

8.ผเู้ รียนได้เรียนรู้จากสง่ิ ใกลต้ วั ไปยงั สิ่งไกลตวั เรยี นเก่ยี วกบั ตัวเรา บา้ น ชุมชน ประเทศไทย ประเทศ
เพ่ือนบา้ นและโลกตามระดับความซับซ้อนของเน้ือหาและสตปิ ญั ญาของผูเ้ รียน

9.ผเู้ รยี นได้เรียนรอู้ ยา่ งมีความสุข สนุกสนาน เหน็ คุณค่าของงานทที่ าและงานทจ่ี ะนาไปเสนอต่อเพอ่ื น
ชุมชน ทาให้เกดิ ความตระหนกั เหน็ ความสาคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

สิริพัชร์ เจษฎาวโิ รจน์ (2546: 22-23) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการบรู ณาการหลักสูตรและการเรียน
การสอนดงั นี้

1.ทาให้ผูเ้ รยี นเขา้ ใจเน้อื หาในลกั ษณะองค์รวม มองเห็นความสาคัญระหว่างเน้ือหาวิชา ทาให้นักเรียน
ระลึกถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้นักเรียนมีความรู้ท้ังลึกและกว้าง ทาให้เป็นผู้ที่มีทัศนะกว้างไกล ลด
ความซับซอ้ นของเนื้อหาแต่ละวิชา และทาให้มีเวลาเรียนมากขน้ึ

2.ทาใหผ้ ้เู รยี นไดเ้ รียนรูจ้ ากประสบการณจ์ ริง โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอัน
พึงประสงค์และมีเจตคติท่ีดี เป็นการเพ่ิมศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการการเรียนรู้
ตลอดชีวิตและสามารถนาความรูท้ ี่ไดไ้ ปใช้ในชีวิตจริงอยา่ งเหมาะสมและมปี ระสิทธภิ าพ

3.ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบที่เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ ส่งเสริมกระบวนการคิด
การจัดการ การเผชิญหน้าสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปั ญหาและการ
ประยกุ ตใ์ ช้ทักษะต่าง ๆ

4.ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย รู้จักเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยคานึงถึงความ
คิดเห็นและผลประโยชนข์ องสว่ นรวมเป็นหลัก

5.ชว่ ยแก้ปัญหาดา้ นขาดครูสอนในแตล่ ะรายวชิ า
6.ชว่ ยทาให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพและปัญหาสังคมได้ดีกว่า สามารถพิจารณาปัญหาและที่มาของปัญหา
อย่างกวา้ ง ๆ ใช้ความรูอ้ ยา่ งหลากหลายสัมพนั ธก์ ัน ส่งเสรมิ ใหเ้ กดิ ทกั ษะและความสามารถในการแก้ปัญหาทั้ง
ผูเ้ รยี นและผสู้ อน รวมทั้งส่งเสรมิ การค้นควา้ วจิ ยั
7.ชว่ ยทาให้การสอนและการศึกษามีคุณค่ามากขึ้น สามารถช่วยเน้นการพัฒนาทักษะที่จาเป็นให้เกิด
การคิดทรี่ วบยอดที่กระจ่างข้นึ ถกู ต้องและสามารถปลกู ฝังคา่ นยิ มทพ่ี ึงประสงค์ ไดอ้ กี ด้วย
8.สง่ เสรมิ ให้นกั เรยี นมีความพึงพอใจ การยอมรบั ผอู้ ่นื การรสู้ ึกเป็นส่วนหน่ึงของหมู่ คณะและเกิดการ
เรียนร้จู ากการกระทารว่ มกัน
9.ผู้เรยี นไดเ้ รยี นรู้อยา่ งมีความสขุ สนุกสนาน เห็นคณุ ค่าของงานทท่ี าและงานที่จะไปนา่ เสนอต่อเพื่อน
ชมุ ชน ทาให้เกดิ ความตระหนกั เหน็ ความสาคญั ของการเรียนรดู้ ว้ ยตนเอง

10

ธีรชัย ปุรณโชติ (2540: 82) ได้ให้เหตผุ ลท่ีสนับสนุนคุณค่าและประโยชน์ของการสอนแบบบรู ณาการ
วา่

1.จะช่วยให้ผู้เรียนนน้ั ได้เข้าใจถึงความสัมพนั ธ์ระหว่างวชิ าตา่ ง ๆความสัมพนั ธ์ระหว่างวชิ ากับชวี ติ จริง
2.จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่าง ๆทาให้เกิดการเรียนรู้ท่ีมี
ความหมาย
3.ช่วยให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงสิ่งท่ีเรียนกับชีวิตจริงและชีวิตนอกห้องเรียนกับส่ิงที่
เรยี น
จากคุณค่าและประโยชน์จากการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งหมด สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการนั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนท่ีสมดุลกับการใช้ชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง เป็นการ
เรียนการสอนที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มากไปด้วย เทคโนโลยีต่าง ๆท่ีจาเป็นต่อการดารงชีวิต
ของมนุษย์ และเป็นการทาให้เหน็ คณุ คา่ ในการที่จะจดั การเรยี นการสอนเพ่อื ความสมดลุ อย่างแท้จรงิ
การประเมนิ ผลจากการจัดการเรียนรู้แบบบรู ณาการ
วิเศษ ชินวงศ์ (2544: 27-28) การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการน้ันสอดคล้องกับ การจัด
กระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏริ ูปท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ กล่าวคือนักเรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติ
จริงตามความสนใจและความถนัดของตนเองอย่างมีความสุข เรียนรู้จากกลุ่มและเพ่ือน เรียนรู้อย่างเป็นองค์
รวม (บรู ณาการเข้าดว้ ยกนั ) และเรยี นรตู้ าม กระบวนการเรียนรูข้ องตนเอง
การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับสภาพจริง คือการประเมิน
ความสามารถเร่ิมตั้งแต่การประเมินการคิดวางแผน กระบวนการทางาน คุณธรรม จริยธรรมระหว่างการ
ทางาน ความตั้งใจ จนมีผลงานท่ีสาเรจ็ เป็นชิน้ งานตามเป้าหมาย
นอกจากน้ี ควรมีการประเมินแบบอิงการปฏิบัติ (Performance - Based) และการประเมินแบบอิง
การสังเกต (Observation - Based) ซ่ึงช่วยให้ครูและนักเรียนสามารถบรู ณาการการเรียนการสอนกับการ
ประเมินผลเข้าด้วยกัน เพ่ือปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมให้ สมบรู ณ์ย่ิงขึ้น และการสอนกับการประเมิน
จะไม่แยกจากกัน ท้ังครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการ สอนและการประเมินจึงทาให้การจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการสมั พันธ์กบั ชีวติ จรงิ มากท่ีสดุ
ดังน้ันสรุปได้ว่า วิธีการประเมินจะต้องมีความหลากหลายต่อเน่ือง โดยอาจจะมีการประเมิน
ตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้วิธีการสังเกต ตรวจสอบรายงาน บันทึกการปฏิบัติงาน การให้ความ
รว่ มมอื ภายในกลุ่ม การประเมนิ ช้ินงานหรือบางครงั้ อาจมีมกี ารประเมนิ ความรู้ควบคกู่ ันไปด้วย

11

รายงานผลความพึงพอใจการจัดสมั มนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
รายงานผลความพึงพอใจการจัดสัมมนาการการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้รายงานนาเสนอ3ประเด็น

ตามแบบสอบถาม คือ ตอนท่ี1 สถานภาพของผู้ตอบ ประกอบด้วย เพศ อายุ และอาชีพ ตอนท่ี 2 ประเด็น
คาถามวัดความพึงพอใจต่อการจัดสัมมนาโครงการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และตอนที่ 3
ข้อเสนอแนะ ดงั น้ี
ตารางท1่ี แสดงจานวนและรอ้ ยละของกลุ่มตวั อย่างจาแนกตามเพศ

Gender (เพศ)
เพศ จานวน รอ้ ยละ
ชาย 6 18.8
หญงิ 26 81.3
รวม 32 100.0

จากตารางท่ี1 เป็นข้อมูลแสดงจานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามเพศ พบว่ามีผู้ตอบ

แบบสอบถามทั้งหมด 32 คน คิดเปน็ ร้อยละ 100.0 ส่วนใหญ่เปน็ เพศหญิง จานวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ

81.3 รองลงมา คือเพศชายจานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ18.8ตามลาดับ ซ่ึงทั้งเพศหญิงและชายเป็นนักศึกษา

สาขานาฏศิลป์

ตารางท2ี่ แสดงจานวนและร้อยละของกล่มุ ตัวอย่างจาแนกตามอายุ

Age (อายุ)

อายุ จานวน ร้อยละ

Valid 19-23 ปี 32 100.0

จากตารางท่ี2 เป็นข้อมูลแสดงจานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจาแนกตามอายุ พบว่ามีผู้ตอบ

แบบสอบถามท้ังหมด 32 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 100.0 ส่วนใหญ่ อายุ 18-23 ปี

ตารางที่ 3 แสดงจานวนและรอ้ ยละของกลมุ่ ตัวอยา่ งจาแนกตามอาชีพ

Occupation (อาชีพ)

อาชีพ จานวน ร้อยละ

Valid 1.00 32 100.0

จากตารางท่ี 3 เป็นข้อมลู แสดงจานวนและรอ้ ยละของกล่มุ ตัวอย่างจาแนกตามอาชพี พบว่ามีผตู้ อบ
แบบสอบถามทงั้ หมด 32 คน คดิ เป็นร้อยละ 100.0 สว่ นใหญ่เปน็ นกั ศกึ ษา

จากผลของตวั เลขตามตรางท่ี1,2และ3 ผรู้ ายงานเหน็ วา่ มีความสอดคล้องกับจานวนผู้รับการอบรม ซึ่ง
เป็นนักศึกษา รวมทั้งหมด 32 จากท่ีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จานวน 26 คน คิดเปน็ ร้อยละ 81.3 รองลงมา คือ
เพศชาย จานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ตามลาดับ จากผลดังกล่าวเห็นว่ามีความสอดคล้องกับ
ปรากฏการณข์ องผู้เข้ารับการอบรมเพราะเปน็ นักศึกษาสาขานาฏศลิ ปท์ ้งั 2 ชน้ั ปี ซ่ึงมผี หู้ ญงิ มากกว่าผู้ชายจริง

12

ตอนท่ี 2 ประเด็นคาถามการประเมนิ และระดับความพงึ พอใจการเขา้ ร่วมสมั มนาการจดั การเรียนรู้

แบบบูรณาการ

ตารางที่ 4 ค่าเฉล่ยี และสว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐานของความพงึ พอใจการเข้าร่วมสมั มนาการจัดการ

เรยี นรแู้ บบบรู ณาการ

ประเดน็ คาถามการประเมินความพงึ พอใจ S.D. x ระดบั ความ
พึงพอใจ

1. เน้ือหาสาระในการสัมมนามีความสาคัญต่ออาชีพผู้เข้าร่วม .49 4.62 มากทส่ี ุด
การสมั มนามากนอ้ ยเพียงใด

2. วิทยากรมีความเหมาะสมกับหัวข้อท่ีบรรยายมากน้อย .48 4.65 มากที่สดุ
เพียงใด

3. ก่อนเข้าร่วมการสัมมนาผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเร่ือง .84 4.43 มากที่สดุ
การเรยี นรแู้ บบบรู ณาการมากน้อยเพยี งใด

4. หลังเข้าร่วมการสัมมนาผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเร่ือง .48 4.65 มากที่สุด
การเรยี นร้แู บบบรู ณาการมากนอ้ ยเพียงใด

5. การสัมมนาออนไลน์มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่บรรยาย .48 4.65 มากที่สุด
มากน้อยเพียงใด

6. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทราบข่าวจากแผ่นโปสเตอร์ .48 4.65 มากทส่ี ุด
ประชาสัมพนั ธม์ ากน้อยเพยี งใด

7. ท่านมีความสะดวกในเร่ืองของการลงทะเบียนกับการ .49 4.62 มากที่สดุ
สมั มนาครัง้ นมี้ ากนอ้ ยเพยี งใด

8. ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ในการสัมมนามากน้อย .55 4.59 มากทส่ี ุด
เพียงใด

9. หัวข้อสัมมนากับระยะเวลาในการสัมมนามีความเหมาะสม .49 4.62 มากที่สดุ
มากน้อยเพียงใด

10. เน้ือหาการสัมมนาในคร้ังนี้มีประโยชน์ในการนาไปปรับใช้ .49 4.62 มากที่สดุ
ในชวี ิตประจาวันมากน้อยเพยี งใด

ภาพรวม =(4.65+4.62
+4.43+...)/10

จากตารางที่ 4 สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจได้วา่ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพงึ พอใจในดา้ น
เน้ือหาสาระในการสัมมนามีความสาคัญต่ออาชพี ผู้เข้าร่วมการสัมมนาอยู่ในระดบั ความพึงพอใจมากที่สุดมาก
ที่สดุ โดยมคี ะแนนเฉลยี่ 4.62 อยใู่ นระดับความพึงพอใจมากท่ีสุดมากท่ีสุด วทิ ยากรมีความเหมาะสมกับหัวข้อ
ที่บรรยาย อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.65 ก่อนเข้าร่วมการสัมมนาผู้เข้าร่วมมี

13

ความรู้ ความเข้าใจเร่ืองการเรียนรู้แบบบูรณาการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.43
หลังเขา้ ร่วมการสมั มนาผูเ้ ขา้ รว่ มมคี วามรู้ ความเขา้ ใจเรอ่ื งการเรียนรูแ้ บบบูรณาการ อยูใ่ นระดบั ความพึงพอใจ
มากท่ีสุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.65 การสัมมนาออนไลน์มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่บรรยายอยู่ในระดับความ
พึงพอใจมากท่สี ุด โดยมคี ะแนนเฉลีย่ 4.43 ผู้เขา้ รว่ มการสัมมนาทราบข่าวจากแผ่นโปสเตอร์ประชาสัมพนั ธอ์ ยู่
ในระดับความพงึ พอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.65 ผู้เข้าร่วมการสัมมนามีความสะดวกในเรื่องของการ
ลงทะเบียนอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4. 62 ควรมีการเพ่ิมช่องทางการ
ประชาสัมพันธ์ในการสัมมนาอยู่ในระดับความพึงพอใจมากท่ีสุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.59 หัวข้อสัมมนากับ
ระยะเวลาในการสัมมนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากท่ีสุด โดยมีคะแนนเฉล่ีย 4.62 และ
เน้ือหาการสัมมนาในคร้ังน้ีมีประโยชน์ในการนาไปปรับใช้ในชีวิตประจาวันอยู่ในระดบั ความพึงพอใจมากท่ีสุด
โดยมคี ะแนนเฉล่ีย 4.62 ตามลาดับ

ตอนท่ี 3 ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะจากแบบประเมินความพึงพอใจประเด็นที่ 3 ดีมาก อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก เป็น
กิจกรรมท่ีสนกุ และได้ความรู้ เป็นการอบรมท่ีสนกุ และควรให้มกี ารอมบรมเเบบนอี้ ีก

บทสรปุ
การจัดโครงการสัมมนาวิชาการ เร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ

จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับนักศึกษาและเพื่อตรวจสอบความพึงพอใจ ของการสัมมนาเร่ืองการ จัดการ
เรียนรู้แบบบรู ณาการสาหรับนาใช้เป็นแนวทางพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัตกิ ิจกรรมการจัดสัมมนาทางวิชาการ
ในลาดับต่อไป ดาเนินการจัดสัมมนาเม่ือวันที่ 16 กันยายน 2564 ต้งั แตเ่ วลา 16.30 น.-18.30 น. โดยมี
วิทยากรคืออาจารย์ญาดา จุลเสวก ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลยั ราชภฏั นครศรธี รรมราช ผลจากการจดั กจิ กรรมผรู้ ายงานจะสรุปเป็น2ประเดน็ คือ

ประเด็นท่ี1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ การผสมผสานกระบวนความรู้หรือศาสตร์องค์
ความรู้ของรายวิชาตั้งแต่ 2แขนงข้ึนไปนามาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหัวข้อหรือเนื้อหาสาระ
สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เก่ียวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพ่ือให้ผู้เรียนเกิดความรู้แบบองค์รวมมี
ความหลากหลาย ซ่ึงเปา้ หมายในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อต้องการให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ท่ี
ได้มาเชื่อมโยงเข้ากับชีวิตจริงและเพ่ือขจัดความซ้าซ้อนของเนื้อหาต่างๆเป็นการลดภาระของผู้เรียนและลด
ภาระของผู้สอน รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ในการเรียนการสอนที่สาคัญๆสามารถแยกออกได้เป็น
2ประเด็นใหญ่ๆก็คือ การบูรณาการภายในกลุ่มวิชาหรือว่าสาขาวิชาเดียวกันและการบูรณาการระหว่าง
รายวิชา เช่นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้น แนวทางการจัดการเรียนรู้
แบบูรณาการนจ้ี ะสะทอ้ นให้เห็นการเชอ่ื มโยงผลการเรยี นร้ขู องผู้เรียนในภาพรวมของการจดั การเรียนรไู้ ดอ้ ย่าง
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากข้ึน โดยสนองตอบเป้าหมายที่สาคัญคือ เพื่อเป็นการลดภาะระงานของ
นักเรียนและเพ่ือลดภาระงานของครูและเพ่ือให้นักเรียนสามารถนาเอาความรู้จากสาขาวิชาต่างๆมาเช่ือมโยง

14

เข้ากับชีวิตจริงและทาให้นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตได้ ทาให้นักเรียนเกิดการสร้างสรรค์การทางานมี
กระบวนการทางานและมสี ว่ นรว่ มในประสบการณ์ชวี ิตจริง

ประเด็นที่2 สรุปและรายงานผลจากแบบประเมินความพึงพอใจ พบว่าผู้เข้าร่วมท้ังหมด32คนส่วน
ใหญ่เป็น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 83.3 ซ่ึงอยู่ในช่วงอายุ 19-23 ปี ร้อยละ 100 ประเด็น
ดงั กลา่ วมคี วามสอดคลอ้ งกบั ปรากฏการณ์ของผู้เข้ารับการอบรมเพราะเป็นนักศึกษาสาขานาฏศิลป์ทั้ง 3 ชนั้ ปี
ซึ่งมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจริง ผลการวัดความพึงพอใจ จากข้อคาถาม 10 ข้อ ประกอบด้วย 1.เนื้อหาสาระใน
การสัมมนา 2.วิทยากรมีความเหมาะสมกับหัวข้อที่บรรยาย 3.ความรู้ ความเข้าใจเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการก่อนเข้าร่วมการสัมมนา 4.ความรู้ ความเข้าใจเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หลังเข้าร่วม
การสัมมนา 5.การสัมมนาออนไลน์มีความเหมาะสมกับหัวข้อที่บรรยาย 6.การทราบข่าวจากแผ่นโปสเตอร์
ประชาสัมพันธ์ 7. ความสะดวกในเร่ืองของการลงทะเบียน 8.การเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ 9.ความ
เหมาะสมของหัวข้อสัมมนากับระยะเวลาในการสัมมนา 10. เน้ือหาการสัมมนามีประโยชน์ในการนาไปปรับใช้
ในชีวิตประจาวัน ผลการวัดความพุงพอใจพบว่า ประเด็นท่ีอยู่ในระดับมากท่ีสุดมี 1 ประเด็น คือ วิทยากรมี
ความเหมาะสมกับหัวข้อท่ีบรรยาย ความรู้ ความเข้าใจเร่ืองการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลังเข้าร่วมการ
สัมมนา การสัมมนาออนไลน์มีความเหมาะสมกับหัวข้อท่ีบรรยาย และการทราบข่าวจากแผ่นโปสเตอร์
ประชาสัมพันธ์ มีค่า x=4.65 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือประเด็น เน้ือหาสาระในการ
สัมมนา ความสะดวกในเรือ่ งของการลงทะเบียน ความเหมาะสมของหัวข้อสมั มนากับระยะเวลาในการสัมมนา
และเนื้อหาการสัมมนามีประโยชน์ในการนาไปปรับใชใ้ นชวี ิตประจาวัน มีค่า x=4.62 และประเดน็ ท่ีมีความพงึ
พอใจน้อยที่สุดคือ การเพ่ิมช่องทางการประชาสัมพันธ์ มีค่า x=4.59 และความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ
เรียนรู้แบบบูรณาการกอ่ นเขา้ ร่วมการสัมมนา การเพิ่มช่องทางการประชาสมั พันธ์ มคี า่ x=4.43

References
ธรี ชยั ปุรณโชติ. (2540). “การสอนแบบบูรณาการ ทัศนะการเรียนของผู้เช่ียวชาญ”. คู่มือ ฝึกอบรมเพื่อ

พัฒนาการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการวิชาการคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์.หน้า 82-83.
กรงุ เทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ธารง บัวศรี. (2532). ทฤษฎหี ลกั สตู รการออกแบบและพฒั นา. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ครุ สุ ภา ลาดพรา้ ว.
ไ พ โ ร จ น์ เ นี ย ม น า ค .( 2 5 5 4 ) .ก า ร จั ด สั ม ม น า .เ ข้ า ถึ ง เ ม่ื อ 2564,กั น ย า ย น : 28จ า ก
https://coggle.it/diagram/YJvaZUneslllISPC
พมิ พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดสี ุข. (2551). ทักษะ 5C เพ่ือการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ
การสอนแบบบรู ณาการ. กรุงเทพฯ. โรงพมิ พจ์ ฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทกุ ข.์ (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : แอลพี เพรส.
วเิ ศษ ชนิ วงศ์. (2544). “การจดั การเรยี นการสอนแบบบูรณาการ”. วารสารวชิ าการ. 4(5) : 22-29.

15

สริ พิ ัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546).การจัดการเรยี นการสอนแบบบูรณาการ.กรงุ เทพฯ : บุค๊ พอยท.์
สมุ านนิ รุง่ เรืองธรรม. (2522).กลวธิ ีการสอน. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์รุง่ เรอื งธรรม.
สานักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540:7). แผนงานหลักที่ 4 การผลิตและพัฒนา กาลังคน ด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์ในแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติ ฉบับท่ี 4
(พ.ศ.2540-2544).
สงดั อุทรานันท์. (2529). การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการ
บรหิ ารการศกึ ษา. จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
อัจฉรา สารัตนะ. (2542).การศึกษาแบบบูรณาการ (Integration Education). วารสารส่งเสริม
ประสทิ ธภิ าพการสอน. 8(3), 36-37
อัจฉรา ชวี พันธ์. (2538). “สอนอย่างไรใหบ้ รู ณาการ”. การศึกษา กทม. 19(2): 27-31.
อรทัย มูลคา และคณะ. (2542). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็น
ศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งท่ี 3. กรุงเทพฯ : ทีพี พร้ินท์จากัด.Lardizabal, Amparo S. and other.
(1970:142). Methods and Principles of Teaching. Quezon City:Alemar-Phoenix.
ผเู้ ขยี น
นางสาวร่งุ ทวิ า เบญจาธิกลุ
นกั ศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์
สาขาวชิ านาฏศลิ ป์
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครศรีธรรมราช
เลขที่ 1 หมทู่ ่ี 4 ตาบลท่างิ้ว อาเภอเมอื ง
จงั หวดั นครศรีธรรมราช 80280
E-mail: [email protected]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรวัฒน์ ช่างสาน
อาจารยผ์ ูส้ อนรายวิชาการสัมมนาทางวชิ าการนาฏศิลป์
มหาวิทยาลัยราชภฏั นครศรธี รรมราช
เลขท่ี 1 หมทู่ ี่ 4 ตาบลท่างว้ิ อาเภอเมือง
จังหวัดนครศรธี รรมราช 80280
E-mail:

16

17


Click to View FlipBook Version