The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

32) WI-MIH-32 การทดสอบ Urine Hemosiderin test

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kati zaelai, 2024-02-24 04:08:24

32) WI-MIH-32 การทดสอบ Urine Hemosiderin test

32) WI-MIH-32 การทดสอบ Urine Hemosiderin test

วิธีปฏิบัติงานที่ WI-MIH-32 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ชื่อ –สกุล ตำแหน่ง ลายเซ็น ว-ด-ป จัดทำโดย น.ส. ช่อผกา ศิริพันธุ์ นักเทคนิคการแพทย์ 2 ตุลาคม 2566 ทบทวนโดย นางคติ แซ่ไหล ผู้จัดการคุณภาพ 2 ตุลาคม 2566 อนุมัติโดย น.ส. จันทนี นิติการุญ หัวหน้ากลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ 2 ตุลาคม 2566 เอกสาร ( X ) ควบคุม ( ) ไม่ควบคุม


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 2/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 บันทึกรายการแก้ไข แก้ไขครั้งที่ รายการแก้ไข วันที่แก้ไข 00 เริ่มใช้เอกสาร 2 ตุลาคม 2566


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 3/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 การทดสอบ Urine Hemosiderin test 1.0 วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการตรวจหาเหล็กในปัสสาวะ 2.0 ขอบข่าย ผู้ป่วยที่ซีดเรื้อรัง มีปัสสาวะสีเข้มเป็นสีโคคาโคลา Paroxysmal nocturnal hemoglobinuria 3.0 บทนิยามและคำย่อ 3.1 IVH = Intravascular hemolysis ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงแตกในเส้นเลือด 4.0 เอกสารอ้างอิง 4.1 วนิดา (อัศวะมหาศักดา) อิฐรัตน์.โลหิตวิทยาทันยุค (modern Hematology) กรุงเทพมหานคร: เรือน แก้วการพิมพ์; 2545: หน้า 480. 4.2 ศิริพร คุปตเมธี: บทที่ 12 การนับจำนวน reticulocyte:สุนารีองค์เจริญใจ (ผู้รวบรวม ).เทคนิคพื้นฐาน ทางโลหิตวิทยา (Basic Hematological Techniques ) : ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะ เทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546:89-95. 4.3 ยิ่งยง ชินธรรมมิตร์และธีระ ฤชุตระกูล. แนวทางการวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง: CME Articles.คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Retrieved from http://www.simahidol.ac.th/education/Sirirajcme/p3.hml 4.4 Retrieved from http://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/Document/a14/Urine%20Hemosiderin.htm 5.0 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 5.1 SD-MIH-28 คู่มือการเตรียมน้ำยาทางห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา 5.2 SD-LAB-01 คู่มือการใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ 6.0 หลักการ ย้อมหาเหล็กใน urine hemosiderin ด้วยน้ำยา 2% Potassium Ferrocyanide และ 2% HCl ในอัตราส่วนที่เท่ากัน แล้วนำไปปั่นเพื่อเอาตะกอนมาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 4/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 7.0 เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ 7.1 หลอดแก้วก้นแหลม 7.2 น้ำยา 2% Potassium ferrocyanide 7.3 น้ำยา 2% HCl 7.4 สไลด์แก้ว 1x3 นิ้ว 7.5 Cover slip 22 ป 22 mm. 7.6 กล้องจุลทรรศน์ 8.0 ขั้นตอนการดำเนินงาน 8.1 นำปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ ใส่ในหลอดทดลองประมาณ 10-15 มล. นำไปปั่น 1,000 รอบต่อนาที นาน 10 นาที 8.2 เทน้ำส่วนบนทิ้ง เหลือน้ำติดก้นหลอดเล็กน้อย เขย่าให้ตะกอนกระจาย 8.3 เติม 2% Potassium ferrocyanide 5 มล.และ น้ำยา 2% HCl 5 มล. ลงในตะกอน ผสมให้เข้ากันตั้ง ทิ้งไว้ 10 นาที ที่อุณหภูมิห้อง 8.4 นำไปปั่นประมาณ 1,000 รอบต่อนาที นาน 10 นาที เทน้ำส่วนบนทิ้ง เหลือติดก้นหลอดเล็กน้อย เขย่า ให้ตะกอนกระจาย หยด 1- 2 หยดบนสไลด์แก้ว ปิดด้วย cover slip 8.6 ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 100x 9.0 การอ่านผลและรายงานผล 9.1 การรายงานผล Positive : มีตะกอนสีน้ำเงินอมเขียวใน cytoplasm ของ tubular epithelial cell Negative : ไม่พบตะกอนสีน้ำเงินอมเขียวใน cytoplasm ของ tubular epithelial cell 9.2 ค่าปกติ Negative 9.3 การแปลผล ถ้าปัสสาวะมี hemosiderin จะเห็นแกรนูลเป็นเม็ดสีน้ำเงินหรือสีเขียวอยู่ภายในเซลล์หลอด ไตฝอย ที่ลอกหลุดออกมา หรือบางครั้งอาจพบแกรนูลกระจายอยู่ทั่วสไลด์ ภาวะที่ตรวจพบ hemosiderin ในปัสสาวะเรียกว่า hemosiderinuria เกิดจากเม็ดเลือดแดงของ ผู้ป่วย PNH มีการแตกเรื้อรังในหลอดเลือด ( chronic intravascular hemolysis ) แล้ว Hb อิสระที่อยู่ในพลาสมาถูกขับออกมาในปัสสาวะ โดยในขณะที่ Hb ถูกกรองที่ไตนั้น ส่วนหนึ่งของเหล็กใน Hb จะถูกดูดซึมกลับเข้าไป จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเซลล์ของหลอดไต


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 5/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 และถูกแปรสภาพเป็น hemosiderin สะสมอยู่ภายในเซลล์ของหลอดไต เมื่อมีปริมาณมากจึง ลอกหลุดออกมาในปัสสาวะ และสามารถตรวจพบได้โดยอาศัยการย้อมด้วยปฏิกิริยาทางเคมี 10.0 การควบคุมคุณภาพ 10.1 น้ำยาที่ใช้ในการทดสอบควรเตรียมใหม่ทุกเดือน 10.2 Normal control ควรใช้ปัสสาวะคนปกติทำการทดสอบไปด้วยในแต่ละครั้ง 11.0 การบันทึกผล 11.1 บันทึกลงในระบบสารสนเทศ LIS (Laboratory Information System) และระบบ HIS 2000 (Hospital Information System) ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า 11.2 กรณีระบบคอมพ์ขัดข้องให้บันทึกผลลงใน F-MIH-18 แบบบันทึกผลการตรวจพิเศษ 12.0 รายละเอียดอื่นๆ 12.1 ถ้ามีเม็ดเลือดแดงแตกมากๆ จะทำให้อ่านผลได้ยาก 13.0 ภาคผนวก 13.1 ภาคผนวก 1 F-MIH-18 แบบบันทึกผลการตรวจพิเศษ (Special Test) 13.2 ภาคผนวก 2 การเตรียมน้ำยา


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 6/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 ภาคผนวก 1 F-MIH-18 แบบบันทึกผลการตรวจพิเศษ Date No Name Ward Ct SpLE Rea Ct Heinz Sp Rea Ct SpHam Rea t CHemosiderin p S a e R a e R Othersผู้วิเคราะห์


กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า วิธีปฏิบัติงานที่ : WI – MIH –32 หน้า 7/7 แก้ไขครั้งที่ 00 เรื่อง การทดสอบ Urine Hemosiderin test วันที่ประกาศใช้2 ตุลาคม 2566 ภาคผนวก 2 การเตรียมน้ำยา 1. น้ำยา 2% Potassium ferrocyanide ละลาย K4Fe(CN)6.3H2O 20 กรัม ในน้ำกลั่นจนครบ 1,000 มิลลิลิตร เก็บน้ำยาไว้ในขวดสีชาที่อุณหภูมิห้อง 2. 2% HCl เจือจางกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น ( 37 %) 20 มิลลิลิตร ในน้ำกลั่นจนครบ 1,000 มิลลิลิตร


Click to View FlipBook Version