1
ก คำนำ ปีงบประมาณ ๒๕๖5 (๑ ตุลาคม ๒๕๖4 – ๓๐ กันยายน ๒๕๖5) ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุคิริน ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ให้ สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงาน กศน. เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการอย่างสูงสุด สรุปผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน ปีงบประมาณ 256๖ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุคิริน ได้ดำเนินการเพื่อให้นักศึกษามี ความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สรุปผลการดำเนินการฉบับนี้ได้รับความร่วมมือจากบุคลากร กศน.อำเภอสุคิริน ทุกฝ่ายงาน ขอขอบคุณผู้บริหาร ครู ที่ได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันจะเป็นประโยชน์ ในการพัฒนากระบวนการทำงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุคิริน
ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ค ❖ บทที่ ๑ บทนำ 1 ❖ บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๕ ❖ บทที่ ๓ ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑๓ ❖ บทที่ ๔ ผลการศึกษา ๑๕ ❖ บทที่ ๕ บทสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ๒๐ ❖ ภาคผนวก ❖ รูปกิจกรรม ๒๑ ❖ โครงการ ๒๒ ❖ คำสั่ง ๓๐ ❖ ใบเซ็นชื่อ ๓๓ ❖ แบบประเมินความพึงพอใจ ๓๗
ค บทสรุปสำหรับผู้บริหาร กระบวนการลูกเสือ เป็นกระบวนการที่ให้เยาวชนฝึกอบรม ให้การศึกษาและพัฒนาเยาวชนให้ เป็นพลเมืองดีโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ หลักการ และวิธีการ ของ กระบวนการลูกเสือที่ได้กำหนดไว้ และเพื่อเป็นการสนองนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ด้านความ มั่นคง พัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ พร้อมทั้งน้อมนําและเผยแพร่ศาสตร์ พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงแนวทางพระราชดําริต่าง ๆ จากสภาพข้อเท็จจริง พบว่า นักศึกษา กศน.อำเภอสุคิรินยังขาดทักษะในกระบวนการเรียนรู้ ลูกเสือ ในเรื่องจิตอาสาฯ คุณธรรม จริยธรรม และยังไม่ผ่านกิจกรรมลูกเสือ และการแสดงออกในแนวทางที่ เหมาะสม และสร้างความเข้าใจในการมีส่วนร่วมของสังคม ชุมชน กศน.อำเภอสุคิรินตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำโครงการ ลูกเสือ กศน.ชายแดนใต้นี้ ขึ้นมา เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือ สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้โดยผลการดำเนินงานโครงการ สรุปได้ดังนี้ - ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมาย เป็นเพศชาย จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐0 เป็นเพศ หญิง จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐0 ตามลำดับ - กำลังเรียนอยู่ประจำกลุ่ม กศน.ตำบลมาโมง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลภูเขา ทอง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลสุคิรินจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลเกียร์ จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ร่มไทร จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด - มีอายุระหว่าง 15 - 2๕ ปี จำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐ และอายุ 26 – 35 ปี จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด - ระดับการศึกษา ม.ต้น จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕๐ รองลงมา ม.ปลาย จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕๐ - ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวมเท่ากับ 4.๕๙ แสดงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้เข้าร่วมโครงการ สรุปได้ดังนี้ 1. สิ่งดีๆ/ความประทับใจดีๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม กศน.ได้แก่ 1.1 กิจกรรมค่ายลูกเสือ ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ ได้ ความรู้และสนุกสนาน 2. ปัญหา อุปสรรค์ และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงการจัดกิจกรรม กศน.ได้แก่ 2.1 ไม่สามารถจัดค่ายแบบค้างคืนได้ เนื่องจากอุปสรรคด้านสถานที่ 2.2 ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมน้อยเกินไป ควรจัดหลักสูตรแบบเข้มข้น จุดเด่นของโครงการ/กิจกรรมในครั้งนี้ - โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เห็นได้ชัดว่านักศึกษาได้ มีความสนใจ และตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ ที่สำคัญสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ง จุดที่ควรพัฒนาของแผนงาน /โครงการ - ควรเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้วิชาลูกเสือได้มาก ยิ่งขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการใช้ชีวิตได้จริง - จัดหลักสูตรค่ายแบบเต็มรูปแบบ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงๆ
บทที่ 1 บทนำ ๑. ความเป็นมาและความสำคัญ กระบวนการลูกเสือ เป็นกระบวนการที่ให้เยาวชนฝึกอบรม ให้การศึกษาและพัฒนาเยาวชนให้ เป็นพลเมืองดีโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งนี้ เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ หลักการ และวิธีการ ของ กระบวนการลูกเสือที่ได้กำหนดไว้ และเพื่อเป็นการสนองนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ด้านความ มั่นคง พัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ พร้อมทั้งน้อมนําและเผยแพร่ศาสตร์ พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงแนวทางพระราชดําริต่าง ๆ จากสภาพข้อเท็จจริง พบว่า นักศึกษา กศน.อำเภอสุคิรินยังขาดทักษะในกระบวนการเรียนรู้ ลูกเสือ ในเรื่องจิตอาสาฯ คุณธรรม จริยธรรม และยังไม่ผ่านกิจกรรมลูกเสือ และการแสดงออกในแนวทางที่ เหมาะสม และสร้างความเข้าใจในการมีส่วนร่วมของสังคม ชุมชน กศน.อำเภอสุคิรินตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำโครงการ ลูกเสือ กศน.ชายแดนใต้นี้ ขึ้นมา เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือ สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ 2. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการลูกเสือ ๒.๒ เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือ ๒.๓ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3. เป้าหมาย ๓.๑ เชิงปริมาณ นักศึกษา กศน.อำเภอสุคิริน ๕ ตำบล จำนวน ๔๐ คน ๓.๒ เชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๖. วิธีการดำเนินการ กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย คน พื้นที่ ดำเนินการ ระยะเวลา กิจกรรม หลัก 1. สำรวจ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทราบจำนวน กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ ๑๖ คน กศน.ตำบลทุก ตำบล ๒๘ พฤศจิกายน 2565 1. สำรวจ กลุ่มเป้าห มาย
6 กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เป้าหมาย คน พื้นที่ ดำเนินการ ระยะเวลา กิจกรรม หลัก 2. ประชุม/ วางแผนการ ดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อมการ ดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ แล คณะทำงานที่ เกี่ยวข้อง จำนวน21 คน กศน.อำเภอสุ คิริน ๓๐ พฤศจิกายน 2565 - 3. เขียน โครงการเพื่อ ขออนุมัติ เพื่อขออนุมัติงบประมาณใน การดำเนินโครงการ ผู้รับผิดชอบ โครงการ 1 คน กศน.อำเภอสุ คิริน ๓๐ พฤศจิกายน 2565 - 4. แต่งตั้ง คณะทำงาน ดำเนินงาน ฝ่ายต่างๆ เพื่อแต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานฝ่ายต่างๆ และ มอบหมายหน้าที่ความ รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ แล คณะทำงานที่ เกี่ยวข้อง 21 คน กศน.อำเภอสุ คิริน 1 พฤศจิกายน 2565 - 5. ดำเนินงาน ตามโครงการ ค่ายลูกเสือ วิสามัญ กศน. อำเภอสุคิริน ๑ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ กระบวนการลูกเสือ ๒ เพื่อให้นักศึกษาเกิด ทักษะในกระบวนการลูกเสือ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถนำความรู้ที่ได้ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ นักศึกษา กศน. ๔๐ คน ค่ายลูกเสือ ชั่วคราว กศน. อำเภอสุคิริน ๑๕-๑๖ ธันวาคม 2565 ๒๓,๘๐0 บาท 6. นิเทศ/ ติดตามผล เพื่อติดตามและให้ คำปรึกษาในการดำเนิน กิจกรรม ผู้บริหาร/ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ 3 คน กศน.อำเภอสุ คิริน ๑๕-๑๖ ธันวาคม 2565 -
7 ๗. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน แผนงาน : ยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาพทางการศึกษา โครงกาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัด การศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบ เงินอุดหนุน ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รหัสงบประมาณ ๒๐๐๐๒4๓๐๐๑๖๐๐๔๑๐๐๑๕๔ เป็นเงิน ๒๓,๘๐๐.- (สองหมื่นสามพันแปดร้อยบาทถ้วน) ตามรายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน ๔๐ คน x ๗0 บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๕,๖00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๔๐ คน x 2๕ บาท x ๔ มื้อ เป็นเงิน ๔,๐๐0 บาท - ค่าตอบแทนคณะวิทยากร ๖00 บาท x ๑๒ ชั่วโมง เป็นเงิน ๗,200 บาท - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน ๖,๐00 บาท รวมทั้งสิ้น ๒๓,๘๐๐ บาท ตัวอักษร สองหมื่นสามพันแปดร้อยบาทถ้วน ๘. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ กิจกรรมหลัก ไตรมาส ๑ (ต.ค.๖๔ – ธ.ค. ๖๔) ไตรมาส ๒ (ม.ค.๖๕ – มี.ค. ๖๕) ไตรมาส ๓ (เม.ย.๖๕ – มิ.ย. ๖๕) ไตรมาส ๔ (ก.ค.๖๕ – ก.ย. ๖๕) 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย - - - - 2. ประชุม/วางแผนการดำเนินงาน - - - - 3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ - - - - 4. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานฝ่าย ต่างๆ - - - - 5. ดำเนินงานตามโครงการเข้าค่าย ลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน ๒๓,๘๐๐ - - - 6. นิเทศ/ติดตามผล - - - - ๙. ผู้รับผิดชอบโครงการ - นายมูฮามัดสกรี ลาบูอาปี ตำแหน่ง ครู คศ.1 โทร 08๘-๓๙๐๔๔๓๔ ๑๐. เครือข่าย 10.1 ผู้นำชุมชน 10.2 โรงเรียนสุคิรินวิทยา ๑๐.๓ โรงเรียนนิคมพัฒนา ๒ ๑๐.๔ โรงเรียนร่วมใจ
8 ๑๑. โครงการที่เกี่ยวข้อง ๑๑.๑ โครงการพัฒนาผู้เรียน คุณธรรม จริยธรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ๑๑.๒ โครงการพัฒนาผู้เรียน ฝึกอบรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ๑๒. ผลลัพธ์ - กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ๑๓. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 13.1 ตัวชี้วัดผลผลิต กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 ผ่านการอบรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 13.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ร้อยละ ๙๐ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำ ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๑๔. การติดตามและประเมินผลโครงการ 14.1. การสังเกต 14.2. ใบความรู้/ใบงาน 14.3. แบบประเมินความพึงพอใจ
9 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับลูกเสือ การกำเนิดกิจการลูกเสือ-เนตรนารี พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ลูกเสือ” หมายถึงเด็กและเยาวชนทั้ง ชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษาส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า “เนตรนารี” การลูกเสือ หมายถึง กิจการที่นำเอาวัตถุประสงค์หลักการ และวิธีการของขบวนการลูกเสือมาใช้เพื่อ การพัฒนาเด็กและเยาวชน การลูกเสือเป็นกระบวนการสำคัญยิ่งของการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เพราะเป็นกิจกรรม พัฒนาเยาวชนให้มีคุณธรรมสูง ส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีและมีความเป็นผู้นำในการพัฒนาเยาวชนนั้น พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายของวัตถุประสงค์คณะลูกเสือแห่งชาติไว้ในมาตรา 8 ความว่า “คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้ เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ และหลักการ สำคัญของการลูกเสือ ดังนี้ 1.1 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ คณะลูกเสือแห่งชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกายสติปัญญา จิตใจ และ ศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสามัคคีและมีความ เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้ 1) ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง 2) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 3) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ 4) ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนให้ทำกิจการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 5) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมนูญขององค์การแห่งโลก ว่าด้วยขบวนการลูกเสือที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของ ขบวนการลูกเสือไว้ดังต่อไปนี้ “จุดมุ่งประสงค์ของขบวนการลูกเสือ คือ การสนับสนุนการพัฒนาอย่างเต็มที่ซึ่งศักยภาพทางกาย สติปัญญา สังคม จิตใจและศีลธรรม ให้แก่เยาวชนเป็นรายบุคคล เพื่อให้การพัฒนาสัมพันธภาพภายในชุมชน และสังคมเขาเป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชนในท้องถิ่น ในชาติและในชุมชน ระหว่างนานาชาติ” ขบวนการลูกเสือทั่วโลก เป็นขบวนการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคคล ทุกเพศทุกวัย และทุกฐานะ ให้ ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน กล่าวคือ การพัฒนาทางกาย เพื่อให้มีร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง เพียบพร้อมด้วยสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ โดยการส่งเสริมการใช้ชีวิตกลางแจ้ง การพัฒนาทางสติปัญญา เพื่อให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด พึ่งตนเองได้โดยการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย การกระทำร่วมกัน
10 การพัฒนาทางจิตใจ เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต โดยยึดคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็น หลักประจำใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาทางสังคม เพื่อให้มีจิตสาธารณะ คิดดีทำดีและมีความเป็นพลเมืองดีสามารถปรับตัวให้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น 1.2 หลักการสำคัญของการลูกเสือ เบเดน โพเอลล์ได้กำหนดหลักการสำคัญของการลูกเสือไว้8 ประการ ดังนี้ 1) ลูกเสือเป็นผู้มีศาสนา 2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง 3) ลูกเสือมีความเชื่อมั่นในมิตรภาพและความเป็นภราดรของโลก 4) ลูกเสือเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น 5) ลูกเสือเป็นผู้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ 6) ลูกเสือเป็นผู้อาสาสมัคร 7) ลูกเสือย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง 8) มีกำหนดการพิเศษสำหรับการฝึกอบรมเด็กชาย และคนหนุ่มเพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีความ รับผิดชอบ โดยอาศัยวิธีการระบบหมู่ ระบบกลุ่ม มีการทดสอบเป็นขั้นๆ ตามระดับของ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ และใช้กิจกรรมกลางแจ้ง เบเดน โพเอลล์ได้เขียนสาส์นฉบับสุดท้ายถึงลูกเสือ มีข้อความสำคัญดังนี้ 1) จงทำตนเองให้มีอนามัยและแข็งแรงในขณะที่ยังเป็นเด็ก 2) จงพอใจในสิ่งที่เธอมีอยู่และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด 3) จงมองเรื่องราวต่าง ๆ ในแง่ดีแทนที่จะมองในแง่ร้าย 4) ทางอันแท้จริงที่จะหาความสุข คือโดยการให้ความสุขแก่ผู้อื่น 5) จงพยายามปล่อยอะไรไว้ในโลกนี้ให้ดีกว่าที่เธอได้พบ และ 6) จงยึดมั่นในคำปฏิญาณของลูกเสือของเธอไว้เสมอ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เด็กผู้ชายเป็นผู้ที่สมควรได้รับการ ฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจ เปรียบเหมือนไม้ที่ยังอ่อน จะดัดให้เป็นรูปอย่างไรก็เป็นไปได้โดยง่ายและงดงาม ถ้า รอไว้จนแก่เสียแล้วเมื่อจะดัดก็ต้องเข้าไฟ และมักจะหักได้เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ ผู้ชายไทยทุกคนควรประพฤติ ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน หลักการของลูกเสืออยู่ที่การปฏิบัติตามคำ ปฏิญาณและกฎของลูกเสือโดยคำปฏิญาณและกฎของ ลูกเสือสำรอง มีดังนี้ คำปฏิญาณกล่าวว่า ข้าสัญญาว่า ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน กฎของลูกเสือสำรอง ข้อ 1 ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่ ข้อ 2 ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง ส่วนคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ และ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีดังนี้ คำปฏิญาณกล่าวว่า ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์
11 ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือ มี10 ข้อ ดังนี้ ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ วินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย การประกอบกิจกรรมทุกอย่างหรือการฝึกอบรมทุกประเภทที่ทำกับคนหมู่มากถ้าขาดวินัยเสียแล้วก็ เท่ากับเป็นการล้มเหลวทุกสิ่งทุกอย่างโดยสิ้นเชิง ลูกเสือที่มีระเบียบวินัยเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ย่อมที่จะเป็นพลเมืองดีในอนาคต ลูกเสือที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีสามารถเป็นผู้นำได้เพราะว่าเป็นคนที่ รักษาสัตย์ประพฤติตนตามกฎกติกาเป็นคนมีน้ำใจเมตตาอารีเสียสละ สิ่งเหล่านี้ย่อมติดตัวไปเป็นนิสัยเกิดขึ้น ในตัวเองตลอดเวลาวินัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในกองลูกเสือ คนที่มีคุณภาพควรได้รับการฝึกฝนให้มีระเบียบวินัย ทำให้รู้จักการทำตนเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือทำตนในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาเป็น แบบอย่างที่ดีได้ซึ่งจะนำประโยชน์มาให้ตน ทั้งในด้านส่วนตัวและหน้าที่การงาน วินัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ สร้างและส่งเสริม เยาวชนจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพตั้งแต่ยังอยู่ในเยาว์วัยเมื่อเติบใหญ่จะเป็นกำลังสำคัญ ช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป 1.1 ความหมายของวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย วินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำตามระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบ แผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบายไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน วินัยและความ เป็นระเบียบเรียบร้อยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลความชั่วทั้งหลาย สามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดวินัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่ง มากเรื่องไม่มีความสงบสุข การงานที่ทำก็จะเสียผล วินัย มี 2 ประการ ก. วินัยภายนอก ซึ่งเกิดจากการให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำในการฝึกอบรมต้องเข้มงวดตาม ลักษณะ หรือกิจการแต่ละประเภท เพื่อที่จะให้ปฏิบัติจนเกิดลักษณะนิสัยวินัยภายนอกไม่ยั่งยืนอยู่ได้นาน หาก ว่าผู้ที่ไม่พอใจก็อาจละเลย หรือวางเฉย เมื่อไม่มีการกำหนดไว้หรือไม่มีใครรู้เห็น ข. วินัยภายใน เป็นที่พึงประสงค์เพราะเป็นวินัยที่จะปฏิบัติด้วยความเต็มใจเพราะเห็นคุณค่าการ ฝึกอบรมจึงต้องเน้นหนักในการสร้างวินัยภายในด้วยการกวดขันการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง วินัยภายในเป็นสิ่งที่ต้องการให้มีอยู่ในทุกตัวตน
12 1.2 ความสำคัญของวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสำคัญของวินัยในตนเองมีอย่างน้อย 2 ประการ ประการที่หนึ่ง เหตุผลเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัวแต่ละบุคคล ในเรื่องการแสวงหาความรู้เนื่องจาก ปัจจุบันมีอยู่มากมาย ไม่อาจบรรจุไว้ในหลักสูตรได้หมดแต่ละคนจึงควรแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง นอกเหนือจากที่ปรากฏในหลักสูตรของสถานศึกษา ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องฝึกให้มีการควบคุมตนเอง มีความ เฉลียวฉลาด และมีความเป็นอิสระ เพื่อจะได้แสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้มากที่สุด ประการที่สอง ชุมชนจะเจริญและมีความมั่นคงยั่งยืนต่อไปได้จะต้องอาศัยพลเมืองแต่ละคนทำความดี และเสียสละให้แก่ชุมชน ไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง พฤติกรรมของผู้มีวินัยในตนเอง มีดังนี้ 1) มีความเชื่ออำนาจภายในตนเอง 2) มีความเป็นผู้นำ 3) มีความรับผิดชอบ 4) ตรงต่อเวลา 5) เคารพต่อระเบียบกฎเกณฑ์ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น 6) มีความซื่อสัตย์สุจริต 7) รู้จักหน้าที่และกระทำตามหน้าที่เป็นอย่างดี 8) รู้จักเสียสละ 9) มีความอดทน 10) มีความตั้งใจเพียรพยายาม 11) ยอมรับผลการกระทำของตน ผลกระทบจากการขาดวินัยและขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย การที่บุคคลขาดวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตนเองมีผลทำให้ขาดวินัยความเป็นระเบียบ เรียบร้อยทางสังคมไปด้วยวินัยในตนเองเป็นพื้นฐานของการควบคุมตัวเองให้มีวินัยทางสังคมการมีวินัยใน ตนเองจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อเป็นพื้นฐานของการควบคุมตนเองซึ่งจะนำไปสู่การสร้างวินัยทาง สังคม การมีวินัยจึงถือเป็นพื้นฐานในการดำเนินกิจกรรมในสังคมและการรวมกันอยู่ของกลุ่มการปลูกฝังวินัยจะ ทำให้บุคคลยอมรับกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดและวินัยยังเป็นวัฒนธรรมทางสังคมซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ พฤติกรรมที่สังคมยอมรับทำให้พัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถควบคุมตนเองได้มีมโนธรรมที่ดีและมี ความมั่นคงทางอารมณ์ด้วยเหตุนี้การปลูกฝังความมีวินัยในตนเองให้แก่คนในชาติเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง แก่บ้านเมืองนั้นควรเริ่มต้นที่เยาวชนโดยให้ประพฤติและฝึกฝนจนเป็นนิสัยเพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัยใน อนาคต วินัยที่ดีเกิดจากความรักความเลื่อมใสศรัทธา เด็ก ๆ ย่อมเชื่อฟังและเคารพเลื่อมใสผู้ที่ฉลาดกว่าตน มี อายุมากกว่าตน รูปร่างใหญ่กว่าตน ผู้กำกับลูกเสือจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้างสมวินัยให้เกิดขึ้นในตัว เด็ก ผู้กำกับลูกเสือจึงต้องวางตัวให้ดีที่สุด มีบุคลิกภาพที่น่านับถือ ยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจากชัดถ้อยชัดคำ เด็กก็จะ เกิดความสนใจ รักใคร่นับถือนิยมชมชอบและเลื่อมใสศรัทธา เด็กก็จะให้ความร่วมมือในอันที่จะปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งผลที่สุด การปฏิบัติตามคำสั่งหรือปฏิบัติตัวให้อยู่ในระเบียบวินัยของลูกเสือก็จะดูเป็นของ ง่ายและผู้กำกับลูกเสือก็ควรจะกวดขันในเรื่องวินัย และการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งด้วยความรวดเร็วและ เคร่งครัดแม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ก็ไม่ควรปล่อยเลยไป กองลูกเสือใดมีระเบียบวินัยที่ดีแล้ว กองลูกเสือนั้นก็จะมีความสุข ประสบผลสำเร็จในกิจการต่าง ๆ ได้ โดยง่ายสิ่งที่จะช่วยทำให้ลูกเสือได้มีระเบียบวินัยที่ดีได้แก่
13 1. การใช้คำสั่งให้ปฏิบัติอย่างง่าย ๆ เป็นคำสั่งตรง ๆ มีจุดหมายที่แน่นอน ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่เกิดจาก การข่มขู่ 2. พิธีการต่าง ๆ เพราะในพิธีการต่าง ๆ ทำให้ลูกเสืออยู่ในอาการสำรวม 3. การตรวจในการเปิดประชุมกองและปิดประชุมกอง หรือการตรวจการอยู่ค่ายพักแรมในตอนเช้า เป็นการช่วยให้ลูกเสือได้รักษามาตรฐานและระเบียบวินัยของกองลูกเสือให้มีระดับดีขึ้น 4. เครื่องแบบมีความหมายสำหรับชื่อเสียงของขบวนการกองลูกเสือบุคคลภายนอกเขาจะมองและ ตัดสินเราด้วยสิ่งที่เขาเห็นเท่านั้น ผู้แต่งเครื่องแบบจะต้องสำรวมกิริยาวาจาไม่กระทำการใดที่จะทำให้เสื่อมเสีย 5. การอยู่ค่ายพักแรมต้องทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 6. การเดินทางไกล ได้รับความเหน็ดเหนื่อย ต้องอดทน เห็นใจซึ่งกันและกัน 7. ระเบียบแถว เป็นวิธีการฝึกที่จะต้องให้ปฏิบัติตามคำบอกคำสั่ง 8. สิ่งแวดล้อมที่มองเห็นเป็นแบบอย่างที่จะกระทำตาม 9. ตัวอย่างที่ดีของผู้กำกับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่ลูกเสือจะเกิดศรัทธายึดถือเป็นแบบอย่าง อ้างอิง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (๒๕๖๑) เอกสารประกอบเรียน ชุดวิชาลูกเสือ กศน. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.
14 บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน ประจำปีงบประมาณ 256๖ จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยได้ดำเนินการตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ซึ่งมีขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมการ (P) 1.1 สำรวจสภาพ ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 1.2 ประชุมวางแผนการดำเนินการฝึกอบรม 1.3 เขียนโครงการ 1.4 แต่งตั้งคณะทำงาน ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ (D) 2.1 ดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน 2.๒ นิเทศติดตามการดำเนินงาน ขั้นที่ 3 รายงานผล / ประเมินผล (C) 3.1 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 3.2 จัดทำรายงานการนิเทศโครงการ 3.3 ประเมินความพึงพอใจ ขั้นที่ 4 สรุปผลและปรับปรุงผลการดำเนินงาน (A) นำผลการดำเนินงาน ผลการนิเทศและแบบสรุปความพึงพอใจ มาวิเคราะห์จัดทำเป็น ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการจัดโครงการในครั้งต่อไป ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมการ ขั้นที่ 3 รายงานผล / ประเมินผล ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ ขั้นที่ 4 สรุปผลและปรับปรุงผลการ ดำเนินงาน
15 ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ (Key Performance Indicator : KPI) ตัวชี้วัดความสำเร็จ สอดคล้องกับ มาตรฐาน กศน.ที่ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ผลผลิต (outputs) กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐ ผ่านการร่วมกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ 1 การสังเกต/ลง ชื่อเข้าร่วม กิจกรรม แบบสังเกต/แบบลง ลายมือชื่อผู้เข้าร่วม กิจกรรม ผลลัพธ์ (outcomes) ร้อยละ ๙๐ นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกิด ทักษะในกระบวนการลูกเสือและ สามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน 1 ฝึกปฏิบัติจริง -แบบฝึกปฏิบัติ สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับแบบประเมินความพึงพอใจในโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือ วิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน ปีงบประมาณ 256๖ ได้แบ่งระดับคุณภาพในการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ตาม แบบของ ลิเคิร์ต (Likert’s five point rating scale) ดังนี้ น้ำหนักคะแนน 5 หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด น้ำหนักคะแนน 4 หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก น้ำหนักคะแนน 3 หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง น้ำหนักคะแนน 2 หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับน้อย น้ำหนักคะแนน 1 หมายถึง มีความเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในส่วนของการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจ และระดับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการถือว่าเป็น ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรมได้กำหนดการวิเคราะห์ตาม แนวคิดของ เบสท์ (อ้างถึงใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 303) ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย 1.00 – 1.49 น้อยที่สุด 1.50 – 2.49 น้อย 2.50 – 3.49 ปานกลาง 3.50 – 4.49 มาก 4.50 – 5.00 มากที่สุด
16 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน เรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ของ กลุ่มเป้าหมาย กศน.อำเภอสุคิริน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน ๔๐ คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่าย ลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน ผลการดำเนินงานในแต่ละส่วนจะนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางแจกแจง เป็นค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละจากข้อมูลที่ได้เป็นสำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดของผลการดำเนินงาน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจในครั้งนี้ เป็นนักศึกษา กศน.อำเภอสุคิริน ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนา ผู้เรียน เรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยใช้ค่าร้อยละดังปรากฏในตาราง ดังนี้ ตารางที่ 4.๑ จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามเพศ ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ ๑. เพศ ๑.๑ ชาย ๑.๒ หญิง ๒๐ ๒๐ ๕๐.๐๐ ๕๐.๐๐ รวม ๘๐ 100 จากตารางที่ ๔.๑ กลุ่มเป้าหมายเป็นเพศชาย จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ และเป็นเพศ หญิง จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ตารางที่ ๔.๒ จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามประจำกลุ่ม ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ 2. กำลังเรียนอยู่ประจำกลุ่ม 2.๑ กศน.ตำบลมาโมง 2.๒ กศน.ตำบลภูเขาทอง ๒.๓ กศน.ตำบลสุคิริน 2.4 กศน.ตำบลเกียร์ 2.5 กศน.ร่มไทร ๘ ๘ ๘ ๘ ๘ 20 20 20 20 20 รวม ๔0 100 จากตารางที่ ๔.๒ ประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ที่กำลังเรียนอยู่ประจำกลุ่ม กศน.ตำบลมาโมง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ 20 กศน.ตำบลภูเขาทอง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒0 กศน.ตำบล สุคิริน จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒0 กศน.ตำบลเกียร์จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ 20 กศน.ตำบลร่มไทร จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
17 ตารางที่ ๔.3 จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามช่วงอายุ ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ 3. อายุ 3.๑ อายุ 15 - 25 ปี 3.๒ อายุ 26 - 3๕ ปี 3.๓ อายุ 36 - 45 ปี 3.4 อายุตั้งแต่ ๔๖ ปีขึ้นไป ๓๐ ๑๐ - - ๗๕.๐๐ ๒๕.๐๐ - - รวม ๔๐ 100 จากตารางที่ ๔.3 ประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีอายุระหว่าง 15 - 2๕ ปี จำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐ และอายุ 26 – 35 ปี จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๐๐ ของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด ตารางที่ ๔.4 จำนวนและร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจำแนกตามระดับการศึกษา ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน ร้อยละ 4. ระดับการศึกษา 4.๑ ประถม 4.๒ ม.ต้น 4.๓ ม.ปลาย 4.4 ปริญญาตรี ขึ้นไป - ๒๕ ๑๕ - - ๖๒.๕๐ ๓๗.๕๐ - รวม ๔๐ 100 จากตารางที่ ๔.4 ประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีการศึกษาในระดับ ม.ต้น จำนวน ๒๕ คน คิด เป็นร้อยละ ๖๒.๕๐ และระดับ ม.ปลาย จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕๐
18 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน เรียนรู้ วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ตารางที่ ๔.5 จำนวนร้อยละ และค่าเฉลี่ยจำแนกตามปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของโครงการพัฒนาผู้เรียน เรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีดังนี้ รายการ ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด มาก แปลผล ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุ คิริน 4.๕๙ มากที่สุด ๑.การประชาสัมพันธ์ของโครงการ ๒๒ (๕๕) ๑๘ (๔๕) ๐ (0) 0 (0) 0 (0) 4.๕๕ มากที่สุด ๒.ความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้ของครู/วิทยากร ๒๗ (๖๗.๕๐) ๑๓ (๓๒.๕๐) ๐ (๐) ๐ (0) ๐ (๐) 4.๖๘ มากที่สุด ๓.ความเหมาะสมของสถานที่จัด กิจกรรม ๒๑ (๕๒.๕๐) ๑๙ (๔๗.๕๐) ๐ (๐) 0 (0) 0 (0) 4.๖๘ มากที่สุด ๔.ความเหมาะสมของสื่ออุปกรณ์ใน การโครงการ ๒๗ (๖๗.๕๐) ๑๓ (๓๒.๕๐) ๐ (0) ๐ (๐) 0 (0) 4.๖๘ มากที่สุด ๕.ความเหมาะสมของรูปแบบเทคนิค มีหลากหลาย โดยเน้นผู้เข้าร่วม กิจกรรมเป็นสำคัญ ๒๒ (๕๕) ๑๘ (๔๕) ๐ (๐) 0 (0) 0 (0) 4.๕๕ มากที่สุด ๖.ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ จัดกิจกรรมโครงการ ๒๕ (๖๒.๕๐) ๑๕ (๓๗.๕๐) ๐ (๐) 0 (0) 0 (0) 4.๖๓ มากที่สุด ๗.ความพึงพอใจต่อการวัดผล ประเมินผล ๒๒ (๖๕) ๑๘ (๓๕) ๐ (0) 0 (0) 0 (0) 4.๕๕ มากที่สุด 8.ความรู้และทักษะที่ได้รับจาก โครงการ ๒๑ (๕๒.๕๐) ๑๙ (๔๗.๕๐) ๐ (๐) 0 (0) 0 (0) 4.๕๓ มากที่สุด ๙.ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/ กิจกรรม ๒๒ (๕๕) ๑๘ (๔๕) ๐ (๐) 0 (0) 0 (0) 4.๕๕ มากที่สุด ๑๐.ความพึงพอใจในภาพรวมของ กิจกรรม ๒๑ (๕๒.๕๐) ๑๙ (๔๗.๕๐) ๐ (0) 0 (0) 0 (0) 4.๕๓ มากที่สุด จากตาราง ๔.5 ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน สรุปได้ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อภาพรวม ในโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน พบว่า ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด 4.๕๙ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าวและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นอื่นๆ ได้จำแนกการอธิบายตามข้อคำถามดังนี้
19 ประเด็นคำถามที่ ๑ การประชาสัมพันธ์ของโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการ ประชาสัมพันธ์ของโครงการ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๕ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ อยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 2 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครู/วิทยากร พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมี ความพึงพอใจกับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครู/วิทยากร โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๖๘ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 3 ความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ในความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๖๘ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมี ความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 4 ความเหมาะสมของสื่ออุปกรณ์ในการโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความ พึงพอใจในความเหมาะสมของสื่ออุปกรณ์ในการโครงการ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๖๘ แสดงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 5 ความเหมาะสมของรูปแบบเทคนิค มีหลากหลาย โดยเน้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็น สำคัญ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในความเหมาะสมของรูปแบบเทคนิค มีหลากหลาย โดยเน้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสำคัญ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๕ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ อยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 6 ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้จัดกิจกรรมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้จัดกิจกรรมโครงการ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๖๓ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ 7 ความพึงพอใจต่อการวัดผลประเมินผล พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ในความพึงพอใจต่อการวัดผลประเมินผล โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๕ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมี ความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ ๘ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ในความความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๓ แสดงว่าผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ ๙ ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/กิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึง พอใจในประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/กิจกรรม โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๕ แสดงว่าผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ประเด็นคำถามที่ ๑๐ ความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ในความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรม โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4.๕๓ แสดงว่าผู้เข้าร่วมโครงการมี ความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด จากตารางสามารถสรุปความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน. อำเภอสุคิริน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ จากมากไปหาน้อย พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด
20 บทที่ ๕ บทสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ จากโครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน มีวัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมาย มี ความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในกระบวนการลูกเสือและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า - ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมาย เป็นเพศชาย จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ เป็นเพศหญิง จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐0 ตามลำดับ - กำลังเรียนอยู่ประจำกลุ่ม กศน.ตำบลมาโมง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลภูเขาทอง จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลสุคิรินจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ตำบลเกียร์ จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ กศน.ร่มไทร จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด - มีอายุระหว่าง 15 - 2๕ ปี จำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕๐ และอายุ 26 – 35 ปี จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕๐ ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด - ระดับการศึกษา ม.ต้น จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐ รองลงมา ม.ปลาย จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕๐ - ค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวมเท่ากับ 4.๕๙ แสดงว่าผู้เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจอยู่ระดับ มากที่สุด ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมการอบรม ๑.เพิ่มระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากกว่าเดิม ๒.เพิ่มหลักสูตรอื่นๆ เช่น หลักสูตรชีวิตชาวค่าย
21 ภาคผนวก
22 ภาพกิจกรรม โครงการพัฒนาผู้เรียน ค่ายลูกเสือวิสามัญ กศน.อำเภอสุคิริน วันที่ ๑๕-๑๖ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสุคิริน พิธีเปิดโครงการ เรียนรู้ กิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักสูตร
23 กิจกรรมเปิด-ปิด ประชุมกอง ผลงานลูกเสือ
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โครงการพัฒนาผู้เรียน คุณธรรมนำใจ วัยใส ใส่ใจครอบครัวอบอุ่น ********************************************* คำอธิบาย แบบประเมินฉบับนี้มีทั้งหมด 2 ตอน ขอให้ผู้ตอบแบบประเมินตอบให้ครบทั้ง 2 ตอน เพื่อให้การดำเนินโครงการ/กิจกรรมเป็นไป ตามวัตถุประสงค์และเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง หน้าข้อความ 1. เพศ หญิง ชาย 2. กำลังศึกษาอยู่ประจำกลุ่ม กศน.ตำบลมาโมง กศน.ตำบลภูเขาทอง กศน.ตำบลสุคิริน กศน.ตำบลเกียร์ กศน.ตำบลร่มไทร 3. อายุ 15 - 25 ปี 26 - 35 ปี 36 - 45 ปี 46 ปีขึ้นไป 4. การศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ปริญญาตรี ขึ้นไป ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องที่ตรงกับความพึงพอใจของท่านเพียงระดับเดียว ที่ รายการ ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ๑ การประชาสัมพันธ์ของโครงการ ๒ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครู/วิทยากร ๓ ความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรม ๔ ความเหมาะสมของสื่ออุปกรณ์ในการโครงการ ๕ ความเหมาะสมของรูปแบบเทคนิค มีหลากหลาย โดยเน้นผู้เข้าร่วม กิจกรรมเป็นสำคัญ ๖ ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้จัดกิจกรรมโครงการ ๗ ความพึงพอใจต่อการวัดผลประเมินผล ๘ ความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการ ๙ ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/กิจกรรม ๑๐ ความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรม ข้อเสนอแนะอื่นๆ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
39