The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมเงินก่อนการเกษียณ” (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Moo PhuKhin, 2022-09-03 01:38:11

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมเงินก่อนการเกษียณ” (1)

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมเงินก่อนการเกษียณ” (1)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมเงิน
ก่อนการเกษียณ”

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การออมเงิน
ก่อนการเกษียณ”

โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับ

จะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2ด้านใหญ่ๆ คือ

ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและ

อีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้สำหรับใช้จ่ายใน

วันข้างหน้า

การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต

ประจำวันของบุคคลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง

ไม่ได้ แต่ถ้าสามารถจัดสรรค่าใช้จ่าย เชื่อว่าหลายคนได้วางแผนการใช้ชีวิตของ
อย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ก็จะ ตนเองไว้หลากหลายรูบแบบ ...

เป็นประโยชน์ที่จะมีเงินออมเก็บไว้ ถ้าบุคคลใดเป็นข้าราชการก็คงไม่น่า
สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้ กังวลเท่าใดเมื่อเกษียณอายุราชการ เพราะ
มากขึ้นการที่คนเราเก็บออมเงินก็
เพราะได้เปรียบเทียบแล้วว่าเงินที่เก็บ หลังจากการเกษียณอายุราชการยังคง
ออมไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้าจะให้ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่ยากลำบากนัก
ประโยชน์คุณค่าหรือความพอใจสูงสุด เนื่องจากมีเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ
แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ข้าราชการ (กบข.) ให้ตามสิทธิมาช่วยให้

ดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างไม่ลำบาก




แต่ "พนักงานมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน"

ไม่ได้เป็นข้าราชการที่จะมีสวัสดิการหลัง

การเกษียณเหมือนกับข้าราชการ ดังนั้น

ถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยไม่วางแผนการใช้

ชีวิตโดยเฉพาะด้านการเงิน เชื่อว่าอนาคต

หลังเกษียณอาจลำบากอย่างแน่นอน




“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” จึงถือว่าเป็นอีก

ช่องทางหนึ่งในการออมเงินไว้ใช้

หลังการเกษียณ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างไว้ใช้จ่ายตอนเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็น
สวัสดิการอย่างหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้างระหว่างการจ้างจนกว่าจะ
เกษียณอายุหรือลาออกแล้วแต่กรณี

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิดขึ้นมาจากเงินสะสมของลูกจ้างและ
เงินสมทบจากนายจ้าง ดังนี้ 1. เงินสะสม (ส่วนของสมาชิกหรือลูกจ้าง)

คือ เงินที่สมาชิกหรือลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ ซึ่งจะถูกหักจากเงินค่าจ้างหรือเงินเดือน
ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนโดยจะ
กำหนดให้ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15%
ของเงินค่าจ้างหรือเงินเดือน

2. เงินสมทบ (ส่วนของนายจ้าง) คือ เงินที่
นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็น
ประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือน ตาม
อัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนของแต่ละ
นายจ้าง ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของ
เงินค่าจ้างหรือเงินเดือน

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะอยู่ภายใต้
การบริหารจัดการของบริษัทจัดการที่จะนำเงินไป
ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆเพื่อหาผลตอบแทนสูงสุด
ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือตามนโยบาย
การลงทุน โดยกองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยก
ต่างหากจากนายจ้างและบริษัทจัดการโดยเด็ด
ขาด และจะต้องนำกองทุนไปจดทะเบียนกับ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สมาชิกหรือ
ลูกจ้างจึงมั่นใจได้ว่าแม้นายจ้างหรือบริษัทจัดการ
จะปิดกิจการลง เงินจำนวนนี้ก็ยังถือเป็นของ
สมาชิกหรือลูกจ้างทั้งหมดโดยไม่ผูกพันธ์กับภาระ
หนี้สินใดๆของบริษัทนายจ้าง

ส่วนประกอบของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย
เงินสะสม
ผลประโยชน์เงินสะสม
เงินสมทบ
ผลประโยชน์เงินสมทบ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการ
ออมเงินที่มีเงินทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างจ่ายสมทบเพื่อเป็นการ
ออมเงินไว้ใช้หลังการเกษียณ สำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิบูลสงครามได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเงินไว้ให้บุคลากร
ใช้หลังการเกษียณอายุราชการและอยู่ในรู ปแบบของการจัดตั้ง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตามที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดการประชุม
คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม ครั้งที่ 139 (5/2565) เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565
มีมติรับทราบและมอบให้มหาวิทยาลัยฯจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการ
จัดตั้งกองทุนตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตอบข้อหารือ
เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ดังนั้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม จึงได้จัดการประชุม “คณะทำงานศึกษาการจัด

ตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง” ให้แก่ บุคลากร โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบว่า

“สภามหาวิทยาลัย” มีอำนาจในการพิจารณา การออกข้อบังคับ หรือ
การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรใน
สถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ “ไม่ขัด หรือ แย้ง” กับกฎหมายหรือมติคณะ

รัฐมนตรีและมหาวิทยาลัยฯ จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ
“การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต่อไป”



นับว่าเป็นโอกาสและทางเลือกที่ดีสำหรับการออมเงินไว้ใช้
หลังการเกษียณอายุราชการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ

พิบูลสงครามต่อไปในอนาคต


Click to View FlipBook Version