The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

KM แนวทางการจัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Orawan Thipdecha, 2024-04-29 05:44:06

KM แนวทางการจัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

KM แนวทางการจัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

98 สำ นักนังานสหกรณ์จังจัหวัดวัร้อร้ยเอ็ดอ็ตำ บลในเมือมืง อำ เภอเมือมืงร้อร้ยเอ็ดอ็จังจัหวัดวัร้อร้ยเอ็ดอ็ 45000 0 4351 1036 https://roiet.web.cpd.go.th/


ก คำนำ การจัดการความรู้(Knowledge Management) ประจำปีพ.ศ. 2567 เรื่อง แนวทางการ จัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการแก้ไขข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้ข้อสังเกตดังกล่าว กลายเป็นข้อบกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยเนื้อหาได้ผ่าน กระบวนการจัดการความรู้จากบุคลากรในหน่วยงานเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ อย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประจำปีพ.ศ. 2567 เรื่อง แนวทางการจัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในการจัดการแก้ไขข้อสังเกตอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลต่อไป กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด มีนาคม 2567


ข สารบัญ หน้า 1. ความหมาย 1 2. ประเภทของข้อสังเกต 1 2.1 ข้อสังเกตต่อรายการในงบการเงิน 1 2.2 ข้อสังเกตอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน 1 3. ที่มาของรายงานข้อสังเกต 2 4. แนวทางการจัดการข้อสังเกต 3 4.1 คณะทำงานพิจารณาข้อสังเกต 3 4.2 การจำแนกข้อสังเกต 4 4.3 แนวทางการดำเนินการใช้อำนาจของรองนายทะเบียนสหกรณ์ 4 4.4 บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์/ผู้ตรวจการสหกรณ์ 4 หรือคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ 5. ประเด็นข้อสังเกตสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ตรวจพบบ่อย 4 6. ตัวอย่างข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 5 พร้อมแนวทางการแก้ไข 6.1 ข้อสังเกตต่อรายการในงบการเงิน 6 6.2 ข้อสังเกตอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน 12


1 การจัดการความรู้(Knowledge Management) เรื่อง แนวทางการจัดการข้อสังเกตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ด้วยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้มีรายงานข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีให้ รองนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดำเนินการแก้ไข รวมทั้งแจ้งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ พิจารณาติดตามการใช้อำนาจหน้าที่ตาพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้มีหนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่กษ 1115/2665 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการจัดการข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการ ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป และตามที่ นายทะเบียนสหกรณ์อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ ได้มีคำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 1/2562 สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เรื่องแต่งตั้งรองนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งสหกรณ์จังหวัด เป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์และคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 2/2562 สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง มอบอำนาจให้รองนายทะเบียนสหกรณ์ปฏิบัติการแทน นายทะเบียนสหกรณ์ข้อ 2 (4) มอบหมายให้ สหกรณ์จังหวัดในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เฉพาะสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ดังนั้น สหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์จึงปฏิบัติการแทน นายทะเบียนสหกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งดังกล่าวในการพิจารณาใช้อำนาจสั่งการและ ออกคำแนะนำ ตามหนังสือที่กษ 1115/4 ลงวันที่ 27 มกราคม 2565 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้อำนาจ ตาม มาตรา 16 (1) เพื่อดำเนินการจัดการข้อสังเกตที่ตรวจพบของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ซึ่งอยู่ใน ความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด 1. ความหมาย “ข้อสังเกตที่ตรวจพบ” หมายความว่า ข้อสังเกตที่ผู้สอบบัญชี ซึ่งได้เข้าไปปฏิบัติงานตรวจสอบ บัญชีระหว่างปี ตรวจแนะนำการเงินการบัญชี กำกับมาตรฐานการบัญชีสหกรณ์ วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชีประจำปี ตลอดจนกิจกรรมอื่นใดที่ทำให้ทราบข้อมูลข้อสังเกตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเมื่อตรวจพบข้อสังเกตจะต้องรายงานข้อสังเกตดังกล่าวต่อหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นที่ เพื่อพิจารณาแจ้งข้อสังเกตให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ทราบและแก้ไขให้ถูกต้องและรายงานให้รองนายทะเบียนสหกรณ์ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป 2. ประเภทของข้อสังเกต แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ 2.1 ข้อสังเกตต่อรายการในงบการเงิน คือ ข้อสังเกตที่ตรวจพบนั้นๆ สามารถระบุได้ว่าเป็นองค์ประกอบ ของรายการบัญชีใดในงบดุล (ทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน) เช่น ข้อสังเกตทางการบัญชี เกิดจากสหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติ สหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อาทิ - จัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด - จัดทำบัญชีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง - บันทึกบัญชีไม่เรียบร้อย ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินสด ไม่บันทึกรายการ ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ


2 - เอกสารประกอบการลงบัญชีไม่สมบูรณ์ไม่ครบถ้วน - ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำคำสั่งระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดและตามมาตรฐานการบัญชี - ไม่จัดทำงบแสดงฐานะการเงิน หรือจัดทำงบฯ ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อสังเกตทางการเงิน เกิดจากสหกรณ์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์อาทิ - การรับเงิน/จ่ายเงิน ไม่มีเอกสารหลักฐานใบสำคัญหรือไม่มีใบเสร็จรับเงิน - เก็บรักษาเงินสดเกินกว่าที่ระเบียบกำหนดเป็นประจำ - ไม่จัดทำงบทดลอง งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (กรณีเงินฝากในบัญชีสหกรณ์และหลักฐาน ของธนาคารไม่ตรงกัน) รวมทั้งไม่สรุปเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 2.2 ข้อสังเกตอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน คือ ข้อสังเกตที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นองค์ประกอบของ รายการบัญชีใดในงบดุล ซึ่งอาจเป็นข้อสังเกตที่เกิดจากการที่สหกรณ์ไม่มีระบบการควบคุมภายใน หรือมีระบบ การควบคุมภายในที่ไม่เหมาะสม หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสหกรณ์ หรือกฎหมายอื่น เช่น การไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และการทุจริต การดำเนินการนอกกรอบวัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์ รวมทั้งพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์และสมาชิก หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์เป็นมูลค่าสูงและกระทบเป็นวงกว้าง เช่น การจ่ายเงินกู้ แก่สมาชิกเกินวงเงินที่กำหนด, สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจรับส่งพัสดุ, สหกรณ์รับฝากเงินบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการดำเนินการนอกกรอบฯ, ไม่มีการตรวจสอบ ทบทวนสัญญาการจ้างเจ้าหน้าที่และหลักประกันการ ทำงานให้สอดคล้องกับตำแหน่ง ลักษณะการทำงานที่ทำปัจจุบัน, เจ้าหน้าที่รับฝากเงินจากสมาชิกไม่นำเข้า บัญชีสหกรณ์เป็นเหตุให้เงินสดขาดบัญชี, สอบทานหนี้สมาชิกสหกรณ์พบว่ามีลูกหนี้ปฏิเสธหนี้เป็นต้น 3. ที่มาของรายงานข้อสังเกต ข้อสังเกตที่ตรวจพบเกิดจากผู้สอบบัญชีได้เข้าไปตรวจสอบบัญชีระหว่างปีตรวจแนะนำการเงิน การบัญชีกับมาตรฐานการบัญชีสหกรณ์วางระบบบัญชีตรวจสอบบัญชีประจำปีและกิจกรรมอื่นใดที่ทำให้ ทราบข้อมูลที่ผู้สอบบัญชีควรตั้งเป็นข้อสังเกตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ดังนั้น เมื่อพบข้อสังเกต ผู้สอบบัญชีจึงรายงานต่อหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองข้อสังเกตที่ตรวจพบ หากเห็นว่าเป็นข้อสังเกตที่ควรแจ้งให้สหกรณ์ทราบเพื่อให้ดำเนินการแก้ไข สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงดำเนินการ 3.1 แจ้งข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ ประธานกรรมการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 3.2 รายงานเป็นลายลักษณ์อักษรต่อรองนายทะเบียนสหกรณ์ (สหกรณ์จังหวัด) ในพื้นที่ หรือนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด ทั้งนี้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจะได้รับรายงานจาก สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ดังนี้ (1) ข้อสังเกตปรากฏอยู่ในรายงานผลการตรวจสอบบัญชี(ระหว่างปี/ประจำปี) ข้อ 1 ข้อสังเกตที่ ตรวจพบจากการตรวจสอบเกี่ยวกับจุดอ่อนของการควบคุมภายในซึ่งแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ได้แก่ด้านการบริหาร ทั่วไป และด้านการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้หากเป็นข้อสังเกตที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อาจมีหนังสือถึงรองนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อแจ้งข้อสังเกต ที่ตรวจพบจาก การสอบบัญชีโดยเฉพาะด้วย (2) หนังสือสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แจ้งข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีโดยมี สาระสำคัญเกี่ยวกับการแจ้งข้อสังเกตของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้รองนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อทราบ และ


3 นำไปประกอบการพิจารณาสั่งการ/ออกคำแนะนำตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป 4. แนวทางการจัดการข้อสังเกต กลุ่มตรวจการสหกรณ์สำนักนายทะเบียนและกฎหมาย มีบันทึกข้อความ ที่ กษ 1115/1488 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง แนวทางการจัดการข้อสังเกตที่ตรวจพบจาก การสอบบัญชี ได้ส่งแนวทางการจำแนกประเด็นข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีและคู่มือระบบฐานข้อมูลการจัดการ ข้อสังเกตที่ตรวจพบ เพื่อให้การพิจารณาออกคำสั่งการในการกำกับดูแลสหกรณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง และ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสหกรณ์และสมาชิก 4.1 คณะทำงานพิจารณาข้อสังเกต คณะทำงานพิจารณาข้อสังเกต ที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด โดยแต่งตั้งจากผู้อำนวยการกลุ่มงานในจังหวัดเป็นประธาน ข้าราชการที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการ ตรวจการสหกรณ์ จำนวน ๒ คน เป็นคณะทำงาน ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจการสหกรณ์ เป็นเลขานุการ และนิติกร เป็นผู้ช่วยเลขานุการ พิจารณาจำแนกข้อสังเกตตามที่ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบัญชีและ การสอบบัญชี/หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดรายงาน ซึ่งสามารถแบ่งข้อสังเกต ออกเป็น ๓ กรณี คือ กรณีที่ ๑ ร้ายแรง ออกคำสั่งตามรายงานการสอบบัญชีเพื่อสั่งการตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๒(๑) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี กรณีที่ ๒ ไม่ร้ายแรง ออกคำแนะนำตามรายงานการสอบบัญชี กรณีที่ ๓ ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน สั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยรายงานการจำแนกข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีต่อรองนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาสั่งการ 4.2 การจำแนกข้อสังเกต 4.2.1 กรณีที่ 1 ร้ายแรง ออกคำสั่งตามรายงานการสอบบัญชีจำแนกดังนี้ 4.2.1.1 การกระทำโดยทุจริต เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นความผิดทางอาญาไม่ว่าจะเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อส่วนตัว 4.2.1.2 เกิดความเสียหายที่มูลค่าสูงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและ ฐานะการเงิน หรือทำให้สหกรณ์ขาดสภาพคล่อง หรือกระทบต่อความเชื่อมั่นและศรัทธาของสมาชิก หากสหกรณ์ไม่ดำเนินการแก้ไข ยับยั้ง หรือหยุดดำเนินการจะทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย 4.2.1.3 การกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนคำสั่งหรือคำแนะนำและระเบียบปฏิบัติของนายทะเบียนสหกรณ์ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์อันอาจทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก 4.2.2 กรณีที่ 2 ไม่ร้ายแรง ออกคำแนะนำตามรายงานการสอบบัญชี เป็นการดำเนินการของสหกรณ์ที่ไม่เกิดความเสียหายและไม่ส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินงานและฐานะการเงินหรือทำให้สหกรณ์ขาดสภาพคล่องหรือกระทบต่อความเชื่อมั่นและศรัทธา ของสมาชิก 4.2.3 กรณีที่ 3 ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน เป็นกรณีรายงานข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือสมบูรณ์ เพียงพอต่อการนำมาเสนอให้นายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาใช้อำนาจออกคำแนะนำหรือสั่งการ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น ในกรณีนี้นายทะเบียนสหกรณ์ จึงต้องสั่งการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ดำเนินการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณาใช้อำนาจ สั่งการ หรือออกคำแนะนำแก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ต่อไป


4 4.3 แนวทางการพิจารณาดำเนินการใช้อำนาจของรองนายทะเบียนสหกรณ์ 4.3.1 กรณีร้ายแรง รองนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาใช้อำนาจตามความในมาตรา 20 และหรือ 22 (1) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีเช่น 4.3.1.1 ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการ ระยะเวลาที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 4.3.1.2 สหกรณ์ต้องรายงานผลการแก้ไขข้อบกพร่องให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบ 4.3.1.3 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ต้องเข้าไปแนะนำและติดตามการแก้ไขตามคำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์พร้อมรายงานให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.3.2 กรณีไม่ร้ายแรง รองนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาออกหนังสือแนะนำให้คณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์แก้ไขตามข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบ พร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือแนะนำสหกรณ์ แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี/หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบ และ แจ้งให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปแนะนำและติดตามผลการแก้ไขตามหนังสือแนะนำ และรายงาน ความคืบหน้าการแก้ไขข้อสังเกตให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบเป็นประจำทุกเดือน จนกว่าการแก้ไขนั้นจะแล้วเสร็จ 4.3.3 กรณีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน สั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม 4.3.3.1 นายทะเบียนสหกรณ์ สั่งการให้ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในสำนักงานสหกรณ์ 4.3.3.2 ผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในสำนักงานของสหกรณ์ ในระหว่างเวลาทำงานของสหกรณ์ให้ครบถ้วนทุกประเด็นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการ (ภายใน 5 วันทำการ) 4.3.3.3 ผู้ตรวจการสหกรณ์รายงานผลการตรวจสอบพร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เสนอนายทะเบียนสหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ และรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ในระบบตรวจการสหกรณ์ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ภายใน 3 วันทำการ) 4.3.3.4 กลุ่มตรวจการสหกรณ์เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาใช้อำนาจ 4.3.3.5 รองนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาออกคำสั่ง/คำแนะนำ ตามรายงานของผู้ตรวจการสหกรณ์ โดยใช้อำนาจตามมาตรา ๒๐ และ/หรือมาตรา ๒๒(๑) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการ ระยะเวลาที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด พร้อมทั้งให้สหกรณ์รายงานผลการแก้ไขข้อบกพร่องให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบ จนกว่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ รวมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปแนะนำและติดตามการแก้ไข ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ และส่งสำเนาคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน การบัญชีและการสอบบัญชี/หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ รวมทั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ด้วย 4.4 บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์/ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ 4.4.1 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ติดตามการแก้ไขตามคำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์และ จัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ 4.4.2 ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ติดตามการแก้ไขตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ และจัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ (ภายใน 3 วันทำการ หลังครบกำหนดตามคำสั่ง) 5. ประเด็นข้อสังเกตของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ตรวจพบบ่อย 5.1 เก็บรักษาเงินเกินระเบียบกำหนด 5.2 เงินสดขาดบัญชี 5.3 จ่ายเงินกู้ไม่เรียกเก็บค่าหุ้นตามข้อบังคับ


5 5.4 จ่ายเงินกู้เกินระเบียบ 5.5 จ่ายเงินกู้แก่สมาชิก จัดทำสัญญาเงินกู้ ค้ำประกัน และเอกสารหลักฐานประกอบไม่เรียบร้อยไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ 5.6 ไม่มีการตรวจสอบภาระการค้ำประกันเงินกู้ของสมาชิก ทำให้สมาชิกคนหนึ่งค้ำประกันเงินกู้หลายคน ในเวลาเดียวกัน และเกินกว่าระเบียบกำหนด 5.7 ไม่จัดทำทะเบียนหุ้น/ทะเบียนสมาชิก/ทะเบียนย่อยลูกหนี้ต่างๆ 5.8 ลูกหนี้เงินกู้/ลูกหนี้การค้า ค้างนาน 5.9 ลูกหนี้ปฏิเสธหนี้ 5.10 จำหน่ายสินค้าเป็นเงินเชื่อแก่สมาชิก ไม่จัดทำสัญญาพร้อมจัดหาหลักประกัน ไม่เป็นไปตามระเบียบ ว่าด้วยการจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 5.11 แบ่งแยกหน้าที่ด้านการเงิน/การบัญชีไม่เหมาะสม ไม่มีการควบคุมภายในที่ดี 5.12 อนุมัติให้สมาชิกลาออก โดยที่สมาชิกยังมีภาระหนี้และค้ำประกันอยู่ต่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 6. ตัวอย่างข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และแนวทางการแก้ไข 6.1 ข้อสังเกตที่ปรากฏต่อรายการในงบการเงิน ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ 1 . เ ง ิ น ส ด / เ ง ิ น ฝ า ก ธ น า ค า ร / เ ง ิ น ฝ า ก สหกรณ์อื่น 1.1 เงินสดขาดบัญชี 1.1.1 ไม่มีเงินสดให้ ตรวจนับ/มีให้ตรวจนับ ไม่ครบถ้วน 1.1.2 มีการยักยอกไป ใช้ส่วนตัว 1.1.3 จ่ายเงินโดยไม่มี หลักฐานการจ่าย 1.1.4 ถอนเงินฝากจาก ธนาคารแต่ไม่บันทึก บัญชี 1.1.5 บันทึกบัญชีฝาก ธนาคารแต่ไม่มีการนำ ฝากธนาคาร 1.2 เก็บรักษาเงินสด เกินกว ่า ที่ร ะเบียบ กำหนดโดยไม่มีเหตุอัน ควร 1.3 ผู้มีอำนาจฝาก-ถอน เงินของสหกรณ์ เซ็นใบ ถ อ น เ ง ิ น ฝ า ก ไ ว ้ ใ ห้ เ จ ้ า ห น ้ า ท ี ่ ส ห ก ร ณ์ ล่วงหน้า 1. ให้มีการตรวจนับเงิน สดโดยให้ผู้เก็บรักษาเงิน สดลงลายมือชื่อรับรอง ยอดเงินสดที่ตรวจนับได้ ว่ามีส่วนขาด/เกินจาก บัญชีเท่าใด และทุกครั้ง ให้มีพยานรับรอง 2. ให้มีการแบ่งแยก ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีออกจากกัน ไม่ ควรให้เจ้าหน้าที่คนใด คนหนึ่งทำทั้งการเงิน และบัญชี /ผู้จัดการ ต้อง มีการตรวจสอบและ ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์อยู่ เสมอ /คณะกรรมการ ด ำ เ น ิ น ก า ร ต ้ อ ง ตรวจสอบและควบคุม การปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ อื่นๆของสหกรณ์อยู่ เ ส ม อ / ผ ุ ้ ต ร ว จ ส อ บ ก ิ จ ก า ร ต ้ อ ง ม ี ก า ร ด้านเงินสด - ผู้รับผิดชอบชดใช้เงิน ค ื น ส ห ก ร ณ ์ ค ร บ ทั้ ง จำนวน - ดำเนินคดีตามกฎหมาย จนกว่าจะได้รับชำระคืน ครบทั้งจำนวน


6 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ ต ร ว จ ส อ บ ก า ร ดำเนินงานทั้งปวงของ สหกรณ์ และรายงานผล การตรวจสอบเป็นลาย ล ั ก ษ ณ ์ อ ั ก ษ ร ป ร ะ จ ำ เ ด ื อ น แ ล ะ ประจำปี หากพบความ ผิดปกติ หรือเหตุการณ์ที่ อาจก่อให้เกิดความ เสียหาย หรือการไม่ ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งผล ก า ร ต ร ว จ ส อ บ ต่ อ ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ดำเนินการทันที และส่ง ส ำ เ น า ร า ย ง า น ใ ห้ สำนักงานตรวจบัญชี สหกรณ์ และสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดให้ทราบ โดยเร็ว 3.ให้มีการสับเปลี่ยน หน้าที่หรือมีการสั่งพัก งานชั่วคราวแก่ผู้ที่ เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิด ข้อบกพร่องที่ส่อไป ในทางทุจริต ในระหว่าง การตรวจสอบ 4. จัดให้มีการตรวจสอบ เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำ ธุรกรรมที่เห็นว่าน่าจะ เกี่ยวข้องกับการเกิด ข้อสังเกต/ข้อบกพร่อง ที่ ส่อไปในทางทุจริตและ ให้มีการสืบสวนสอบทาน นิติกรรมและธุรกรรม ต่าง ๆ ที่สมาชิกและ


7 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ บุคคลภายนอกได้กระทำ กับสหกรณ์อย่างละเอียด 5. เมื่อตรวจพบให้สอบ ความผิดปกติ ให้บันทึก ถ้อยคำของสมาชิกหรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องไว้เป็น ห ล ั ก ฐ า น ใ น ก ร ณ ี ที่ หลักฐานไม่ตรงกัน 6.ดำเนินการสอบหา ข้อเท็จจริงและพิจารณา ดำเนินการกับผู้ที่ทำให้ สหกรณ์ได้รับความ เสียหายให้ชดใช้ความ เสียหายคืนแก่สหกรณ์ 7.พิจารณาดำเนินการ ตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายทั้งทางแพ่ง และอาญาภายในอายุ ความ 2.ลูกหนี้เงินกู้ 2.1 ลูกหนี้เงินกู้ปฏิเสธ หนี้ 2.2 ลูกหนี้เงินกู้ไม่มี ตัวตน 2.3 ปลอมแปลงสัญญา เงินกู้, เอกสารจ่าย เงินกู้, เอกสารรับชำระ หนี้เงินกู้ 2.4 การให้เงินกู้ไม่ เป็นไปตามระเบียบ กำหนด/เกินวงเงิน/งวด ชำระ 2.5 มีการแปลงหนี้ของ ลูกหนี้เงินกู้โดยมี เจตนาหลีกเลี่ยงไม่ กระทำการตามกฎหมาย 2.6 หลักประกันการให้ เงินกู้ไม่เหมาะสม 1.ให้มีการสอบทานหนี้ หุ้น เงินปันผลและเงิน เฉลี่ยคืนกับสมาชิก 2.สุ่มตรวจการให้บริการ ของสหกรณ์เมื่อมี การออกพบปะสมาชิก 3 .ก ำ ห น ด ใ ห ้ ม ี ก า ร ควบคุมการใช้ ใบเสร็จรับเงินให้รัดกุม 4.กำหนดให้มีการจัดทำ และควบคุมทะเบียน คำขอกู้ /การค้ำประกัน ของสมาชิกและ สัญญากู้เงินให้รัดกุม 5.ใ ห ้ ม ี ก า ร ค ว บ คุ ม ตรวจสอบการให้เงินกู้ ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ด้านลูกหนี้ปฏิเสธหนี้ - ผู้รับผิดชอบชดใช้เงิน ค ื น ส ห ก ร ณ ์ ค ร บ ทั้ ง จำนวน -ดำเนินคดีตามกฎหมาย จนกว่าจะได้รับชำระคืน ครบทั้งจำนวน


8 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ 2.7 การค้ำประกันเงินกู้ ด้วยบุคคลไม่เป็นไปตาม ระเบียบกำหนด 2.8 กำหนดระเบียบ เงินกู้ไม่เหมาะสม 2.9 การไม่จดจำนอง หลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้เป็นไปตามกฎหมาย 6.ให้มีการตรวจสอบ ความถูกต้องของ ขั้นตอนการดำเนินการ ทั้งหมด ทั้งเอกสาร และสอบถามบุคคลที่ เกี่ยวข้อง หากพบการ ทุจริตเกี่ยวกับลูกหนี้ ให้ ดำเนินการรวบรวม หลักฐานจนสามารถชี้ชัด ได ้ ว ่ าใ ค ร ท ำ อ ะ ไ ร เมื่อไหร่ อย่างไร เป็นเงิน จำนวนเท่าใด 7.ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานย้อนหลังกับ สำนักงานตรวจบัญชี สหกรณ์ ว่าลูกหนี้ที่ ปฏิเสธหนี้รายนั้นๆในปี ก่อนๆเคยมีการยืนยัน ยอดหนี้หรือไม่ อย่างไร รวมถึงตรวจสอบการลง ลายมือชื่อในสัญญาเงินกู้ /ใบรับเงินกู้ เคยมีการ ชำระหนี้หรือไม่ อย่างไร และบันทึกถ้อยคำผู้ค้ำ ประกัน พยาน ที่ระบุไว้ ในสัญญาเงินกู้ (มีบาง กรณีสมาชิกเป็นหนี้จริง แต่ปฏิเสธไว้ก่อน /บาง กรณีรับจ้างกู้ โดยอาศัย ความเป็นสมาชิกกู้เงิน สหกรณ์ให้บุคคลอื่น โดย ได้รับค่าจ้างหรือส่วน แ บ ่ ง / บ า ง กร ณีด ้ว ย ความเห็นใจไว้ใจในความ สนิทหรือเครือญาติใช้ชื่อ กู้ให้ โดยมีข้อตกลงกันให้ ผ ู ้ ท ี ่ ต น ก ู ้ ใ ห ้ เ ป็ น


9 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ ผู้รับผิดชอบชำระหนี้ โดยที่ตนไม่ได้รับเงินเลย) 8.ดำเนินการสอบหา ข้อเท็จจริงและ พิจารณาดำเนินการกับผู้ ที่ทำให้สหกรณ์ ได้รับความเสียหาย เพื่อให้มีการชดใช้ ค ่ า เ ส ี ย ห า ย ค ื น แ ก่ สหกรณ์ 9.พิจารณาดำเนินกา รตาม ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย ทั้งทางแพ่งและ อาญาภายในอายุความ 3. ลูกหนี้อื่น 3.1 ลูกหนี้ค้างนาน 3.2 ลูกหนี้การค้า 3.3 ล ู ก ห น ี ้ ต า ม ค ำ พิพากษา 1.คว ร มีการจำแนก ประเภทลูกหนี้ อายุหนี้ อายุความหรือระยะเวลา ท ี ่ ต ้ อ ง บ ั ง ค ั บ ห รื อ ดำเนินการตามกฎหมาย และวางแผนติดตาม เร่งรัด และดำเนินการ ตามกฎหมายภายในอายุ ความ - ลูกหนี้เงินกู้ที่กำหนด ชำระทั้งจำนวนในคราว เดียว อายุความในการใช้ ส ิ ท ธ ิ เ ร ี ย ก ร ้ อ ง ต า ม ก ฎ ห ม า ย 1 0 ปี (ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 193/30) - ลูกหนี้เงินกู้ที่กำหนด ชำระเป็นงวดๆ อายุ ความในการใช้สิทธิ เรียกร้องตามกฎหมาย 5 ปี(ประมวลกฎหมาย ด้านลูกหนี้ - ผู้รับผิดชอบชดใช้เงิน ค ื น ส ห ก ร ณ ์ ค ร บ ทั้ ง จำนวน -ดำเนินคดีตามกฎหมาย จนกว่าจะได้รับชำระคืน ครบทั้งจำนวน


10 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33) - ลูกหนี้การค้า อายุ ความในการใช้สิทธิ เรียกร้องตามกฎหมาย 2 ปี(กรณีลูกหนี้ซื้อไปใช้ เอง) หรือ 5 ปี (กรณี ลูกหนี้ซื้อไปเพื่อกิจการ ของตน คือ ซื้อไปขาย ต ่ อ ) ต า ม ป ร ะ ม ว ล ก ฎ ห ม า ย แ พ ่ ง แ ล ะ พ า ณ ิ ช ย ์ ม า ต ร า 1 9 3 / 3 3 ( 5 ) แ ล ะ 193/34 - ลูกหนี้ตามคำพิพากษา /สัญญาประนีประนอม ยอมความ หากผิดนัด ชำระหนี้ ไม่ปฏิบัติตาม คำพิพากษา สหกรณ์ต้อง ดำเนินการบังคับคดี ภ า ย ใ น 1 0 ป ี ( ว ิ ธี พ ิ จ า ร ณ า ค ว า ม แ พ่ ง มาตรา 274) 2.กรณีลูกหนี้ค้างนาน จนพ้นระยะเวลาใช้สิทธิ เรียกร้องตามกฎหมาย สหกรณ์ควรเรียกให้ ลูกหนี้มาทำหนังสือรับ สภาพหนี้ หรือรับสภาพ ความรับผิดไว้พร้อม จัดหาหลักประกันให้คุ้ม ก ั บ ห น ี ้ แ ล ะ ค ว ร กำหนดการชำระให้แล้ว เสร็จโดยเร็ว เพราะสิทธิ เรียกร้องที่เกิดจากการที่ ลูกหนี้รับสภาพความรับ ผิดมีอายุความ 2 ปี นับ แต่วันที่ได้รับสภาพความ


11 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ รับผิด (ตามประมวล ก ฎ ห ม า ย แ พ ่ ง แ ล ะ พ า ณ ิ ช ย ์ ม า ต ร า 193/35) 4. เงินรับฝาก 4.1 รับเงินฝากจาก บุคคลที่ไม่ใช่สมาชิก 1. ประกาศ แจ้งเป็น หนังสือให้เจ้าของบัญชีที่ มิใช่สมาชิกของสหกรณ์ (บุคคลภายนอก) มาปิด บัญชีเงินฝาก และจะ คำนวณดอกเบี้ยเงินรับ ฝากให้ถึงก่อนวันที่แจ้ง หนึ่งวัน ทั้งนี้ จะไม่ให้ ดอกเบี้ยอีกไม่ว่าผู้ฝาก จะมาปิดบัญชีหรือถอน คืนเมื่อใดและให้ตั้งเป็น เงินรอจ่ายคืน 2. กรณีเป็นชื่อบัญชีบุตร สมาชิกแนะนำให้ เปลี่ยนชื่อบัญชีเป็นชื่อ บิดามารดาของเด็ก ซ ึ ่ ง เ ป ็ น ส ม า ชิกของ สหกรณ์ 3. กรณี เป็นวัด กองทุน หมู่บ้าน ให้บุคคลที่ เ ป ็ น ส ม า ช ิ กซ ึ ่ง เป็น กรรมการวัด กองทุน หมู่บ้านเป็นเจ้าของบัญชี เงินฝากแทน 4. กรณีที่เป็นบุคคล โดย เมื่อตรวจสอบแล้ว มีคุณสมบัติเป็นสมาชิก ตามที่กำหนดไว้ใน ข ้ อ บ ั ง ค ั บ ส ห ก ร ณ์ สหกรณ์สามารถแนะนำ ให้สมัครเป็นสมาชิกหรือ สมาชิกสมทบได้


12 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ 5. กรณีไม่สามารถติดต่อ ได้ แนะนำให้สหกรณ์ ออกประกาศเพื่อให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องรับทราบการ ดำเนินการเกี่ยวกับ บัญชีเงินฝากต่าง ๆ ของ สหกรณ์ โดยปิด ป ร ะ ก า ศ ต า ม บ อ ร์ ด ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ เงินฝาก ที่ไม่ สามารถติดต่อเจ้าของ บัญชีหรือทายาท หรือผู้ ที่เกี่ยว ข้องได ้เ ป็ น เวลานานแล้วก็ตาม ไม่ สามารถนำเข้าเป็นทุน สำรองได้สหกรณ์ต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมายการฝากทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6.2 ข้อสังเกตอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์/ ระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ 1.จ่ายคืนค่าหุ้นใน ขณะที่สหกรณ์มีผลการ ด ำ เนินงา นขา ด ทุ น สะสม - สหกรณ์ไม่ได้มีการ คำนวณมูลค่าเงินค่าหุ้น ก่อนจ่ายคืนค่าหุ้น ว่า สามารถจ่ายคืนได้หรือไม่ อย่างไร - สหกรณ์ทราบว่ามีผล การดำเนินงานขาดทุน สะสม แต่ต้องการรักษา ภาพลักษณ์ของสหกรณ์ เพ ื่อให้สมา ชิกหรือ บุคคลภายนอกเชื่อมั่นใน ด้วยได้มีระเบียบนาย ทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วย หลักเกณฑ์การจ่ายคืนค่า หุ้นกรณีสหกรณ์ที่มีผล การดำเนินงานขาดทุน สะสม หรือสหกรณ์มี แนวโน้มขาดทุนสะสม พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผล บังคับใช้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 และ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มี หนังสือ ที่ กษ 1115/ว 5 ล ง ว ั น ท ี ่ 1 4 กุมภาพันธ์ 2567 แจ้ง เวียนซักซ้อมแนวทาง กรณีสหกรณ์จ่ายคืนค่า หุ้นให้สมาชิกในขณะที่มี ผ ล ก า ร ด ำ เ น ิ น ง า น ขาดทุนสะสม โดยฝ่าฝืน ข้อบังคับและระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ - เรียกคืนค่าหุ้นจาก สมาชิกคืนทั้งจำนวน - ห า ก ส ห ก ร ณ ์ ไ ม่ สามารถเรียกคืนจาก สมาชิกที่ลาออกได้ ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ด ำ เ น ิ น ก า ร ส ห กร ณ์ จะต้องร่วมกันชดใช้ ค่าเสียหายอันเกิดขึ้นกับ


13 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ การบริหารกิจการของ ส ห ก ก ร ณ ์ โ ด ย ไ ม่ ตระหนักในการปฏิบัติ ต า ม ข ้ อ บ ั ง ค ั บ ข อ ง สหกรณ์ ปฏิบัติตามระเบียบ ดังกล่าวให้จังหวัดทราบ แล้วนั้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ ควรเข้า แนะนำสหกรณ์ให้ปฏิบัติ ต า ม ร ะ เ บ ี ย บ น า ย ทะเบียนสหกรณ์ดังกล่าว กล่าวคือ หากสหกรณ์มี ผ ล ก า ร ด ำ เ น ิ น ง า น ขาดทุนติดต่อกันในรอบ สองปีบัญชีย้อนหลัง และ ปรากฏรายการผลการ ดำเนินงานขาดทุนสุทธิ จ น ท ำ ใ ห ้ ท ุ น ส ำ ร อ ง คงเหลือน้อยกว่าร้อยละ สิบของทุนสำรองจากปี ก่อนในงบการเงินที่ได้ ตรวจสอบและแสดง ความเห็นไว้แล้ว หรือ สหกรณ์ที่ปรากฏว่าใน ระหว่างปีมีความเสียหาย จา กกา ร ด ำ เนิน ง า น เกี่ยวกับการเงินการ บัญชีหรือกิจการ หรือ ฐานะการเงิน หรืออื่นๆ เกินกว่าทุนสำรองของ สหกรณ์ ให้สหกรณ์ ชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้น แก่สมาชิกที่ขาดสมาชิก ภาพในระหว่างปี จนกว่า จะปิดบัญชีประจำปี และ ง บ ก า ร เ ง ิ น น ั ้ น ไ ด้ ตรวจสอบและแสดง ความเห็นไว้แล้ว - หา กสหกร ณ์มีการ ชะลอการจ่ายคืนค่าหุ้น ในระหว่างปีบัญชี ต่อมา เมื่อสิ้นปีทางบัญชี พบว่า สหกรณ์ตามมาตรา 76 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ที่ กำหนดให้ผู้แทนของ นิติบุคคลต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน กรณี ทำให้เกิดความเสียหาย แก่บุคคลอื่น - ด ำ เ น ิ น ก า ร ต า ม กฎหมายกับผู้ที่ทำให้ สหกรณ์เสียหายภายใน อายุความ จนกว่าจะ ได้รับชดใช้คืนครบมูลค่า ความเสียหาย


14 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ 1) สหกรณ์มีผลการ ดำเนินงานประจำปีโดยมี ก ำ ไ ร ส ุ ท ธ ิ ส ห ก ร ณ์ สามารถจ่ายคืนค่าหุ้น ตามมูลค่าที่กำหนดใน ข้อบังคับได้ 2) สหกรณ์มีผลการ ดำเนินงานประจำปี ขาดทุนสุทธิจนทำให้เกิน ทุนสำรอง และปรากฎ รายการขาดทุนสะสม ให้ สหกรณ์คำนวณมูลค่าต่อ ห ุ ้ น ต า ม ข ้ อ 6 ข อ ง ระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ฯ และให้จ่ายคืน ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นทั้งสิ้นที่ ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ณ วันสิ้นปีทางบัญชีของปี ก่อน 3) สหกรณ์มีผลการ ดำเนินงานประจำปี ขาดทุนสุทธิ แต่ยังคงมี ท ุ น ส ำ ร อ ง เ ห ล ื อ อ ยู่ มากกว่าร้อยละ 10 ของ ปีก่อน ให้จ่ายคืนค่าหุ้น ตามมูลค่าที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับของสหกรณ์ กรณีสหกรณ์มีผลการ ดำเนินงานขาดทุนสะสม 1.สหกรณ์ที่มีผลการ ดำเนินงานขาดทุนสะสม ในปีบัญชีล่าสุด และงบ การเงินนั้นได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมใหญ่แล้ว ก่อนวันที่ 4 มกราคม 2567 (งบการเงินในปี บัญชีล่าสุดใช้วิธีการ


15 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ คำนวณมูลค่าต่อหุ้น ตามเดิม)ให้ถือปฏิบัติ ต า ม ข ้ อ บ ั ง ค ั บ ข อ ง สหกรณ์และมติของที่ ประชุมใหญ่ ต่อมาใน ระหว่างปีบัญชีปัจจุบัน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ฯ 2. สหกรณ์ที่มีผลการ ดำเนินงานขาดทุนสะสม ในปีบัญชีล่าสุด แต่งบ การเงินนั้นยังมิได้รับ อนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ โดยก่อนที่สหกรณ์จะ ป ร ะ ช ุ ม ใ ห ญ ่ เ พื่ อ พ ิ จ า ร ณ า อ น ุ ม ั ต ิ ง บ การเงิน ให้ขอปรับปรุง งบการเงินโดยคำนวณ มูลค่าต่อหุ้นตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ฯ และให้ถือปฏิบัติตาม ระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ฯ ต่อไป อนึ่ง สหกรณ์ที่จ่ายคืนค่า หุ้นให้แก่สมาชิกก่อน วันที่ 4 มกราคม 2567 ให้ถือว่าสิ้นสุดแล้ว และ ไม่ต้องคำนวณมูลค่าต่อ หุ้นให้แก่สมาชิกกลุ่ม ดังกล่าวใหม่ 3. สหกรณ์ที่มีแนวโน้ม ขาดทุนสะสมในปีบัญชี ล่าสุด และงบการเงินนั้น ได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ใหญ่แล้ว ก่อนวันที่ 4 มกราคม 2567 (งบ การเงินในปีบัญชีล่าสุด ใช้วิธีการคำนวณมูลค่า


16 ข้อสังเกตที่ตรวจพบ สาเหตุที่ทำให้เกิด การป้องกันและแก้ไข ก า ร แ ก ้ ไ ข แ ล ้ ว เ ส ร็ จ สมบูรณ์ ต่อหุ้นตามเดิม) ให้ถือ ปฏิบัติตามข้อบังคับของ สหกรณ์และมติของที่ ประชุมใหญ่ ต่อมาใน ระหว่างปีบัญชีปัจจุบัน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ฯ 4.สหกรณ์ที่มีแนวโน้ม ขาดทุนสะสมในปีบัญชี ล่าสุด แต่งบการเงินนั้น ยังมิได้รับอนุมัติจากที่ ประชุมใหญ่ โดยก่อนที่ สหกรณ์จะประชุมใหญ่ เพื่อพิจารณาอนุมัติงบ การเงิน ให้ขอปรับปรุง งบการเงินโดยคำนวณ มูลค่าต่อหุ้นตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ฯ และให้ถือปฏิบัติตาม ระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ฯต่อไป อนึ่ง สหกรณ์ที่จ่ายคืนค่าหุ้น ให้แก่สมาชิกก่อนวันที่ 4 มกราคม 2567 ให้ถือ ว่าสิ้นสุดแล้ว และไม่ต้อง คำนวณมูลค่าต่อหุ้น ให้แก่สมาชิกกลุ่มนั้นใหม่


17


Click to View FlipBook Version