The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พินิจวรรณคดีมรดก 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by กิติศักดิ์ ส., 2020-03-31 03:17:00

พินิจวรรณคดีมรดก 1

พินิจวรรณคดีมรดก 1

หนังสอื เรยี นรายวชิ าเพิ่มเตมิ พินิจวรรณคดมี รดก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เรียบเรียงเพ่ือให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้นักเรียนได้ศึกษาวรรณคดีมรดก หลักการพินิจวรรณคดีมรดก
สู่การวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีมรดก รวมถึงตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีในฐานะท่ีเป็นมรดกทาง
วัฒนธรรม และมเี จตคติทดี่ ตี อ่ วรรณคดไี ทย

เนื้อหาในหนงั สือเรียนเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการพินิจวรรณคดีเบ้ืองต้น ท่ีสามารถนามาเป็นแนวทาง
ในการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีได้ วรรณคดีมรดกท่ีกาหนดไว้ท้ังหมด ๔ เรื่อง ได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ ๑
โคลงทวาทศมาส ลิลิตพระลอ และรามเกียรต์ิ ตอน ทรพีฆ่าพ่อ ซ่ึงเป็นวรรณคดีมรดกที่ให้คุณค่า ควรค่าแก่
การรักษา สบื ทอด และเหมาะสมต่อการพนิ ิจวรรณคดีสาหรับผู้เรยี น

หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม พินิจวรรณคดีมรดก ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๖ เล่มน้ี
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนที่จะนาไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและ
บรรลุตามเป้าหมายของหลกั สตู ร

คณะผ้จู ดั ทำ
มนี ำคม ๒๕๖๒

ความหมายของวรรณคดี ๑
ความหมายของวรรณคดีมรดก ๑๔
ความหมายของการพนิ ิจ ๑๖
หลักการพนิ จิ วรรณคดี ๑๖
ความหมายของการวิจารณ์วรรณคดี ๒๕
หลกั การวจิ ารณ์วรรณคดี ๒๖

๒๗

๑. อภิปรำยหลักกำรวิเครำะหแ์ ละวจิ ำรณ์วรรณคดไี ด้

หนว่ ยท่ี ๑ เรอื่ ง พินิจคุณคำ่ วรรณคดี | ๑

พนิ จิ คุณค่ำวรรณคดี

ควำมหมำยของวรรณคดี

วรรณคดี เป็นคาท่ีบัญญัติขึ้นเพ่ือใช้แทนคา Literature ในภาษาอังกฤษ ปรากฏครั้งแรกในพระราช
กฤษฎีกา จัดต้ังเป็นวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
มงกฎุ เกล้าเจา้ อยูห่ ัว

วรรณคดี ประกอบข้ึนจากคา วรรณ ซ่ึงเป็นคามาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า หนังสือ ส่วน คาว่า คดี
เปน็ คาเดียวกบั คติ ซึ่งเป็นคาบาลแี ละสันสกฤต แปลว่า เรอ่ื ง ตามรูปศัพท์ วรรณคดี แปลว่า เรื่องที่แต่ง
เป็นหนังสอื แตห่ มายเฉพาะหนังสือท่ีแตง่ ดี

พจนำนกุ รมฉบบั รำชบณั ฑติ ยสถำน พ.ศ.๒๕๕๔ ให้ความหมายของวรรณคดีว่า วรรณกรรมท่ีได้รับยกย่องว่า
แต่งดมี ีคณุ ค่าเชงิ วรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพธิ ี ๑๒ เดือน มทั นะพาธา สามกก๊ เสภาขุนชา้ งขนุ แผน
คำว่ำ “วรรณคดี” นี้ มีผู้ให้คานิยามไว้หลายทา่ น ทั้งในความหมายทกี่ วา้ งและแคบ พระเจ้า-
วรวงศเ์ ธอ กรมหมื่นนราธิปพงษป์ ระพันธ์ ไดท้ รงใหค้ าจากดั ความไว้อย่างสั้น ๆ กะทัดรัดแต่กินความหมายมาก
ว่า “วรรณคดีคอื สิง่ สุนทร”

พระรำชกฤษฎกี ำรจัดตัง้ วรรณคดีสโมสร กล่าวว่า
๑. เป็นหนงั สือดี กลา่ วคือ เป็นเร่อื งที่สมควรซ่ึงสาธารณชนจะอา่ นไดโ้ ดยไม่เสียประโยชน์ คือ ไม่เป็น

เรื่องทุภาษิต หรือเป็นเร่ืองท่ีชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร ซ่ึงจะชวนให้คิด วุ่นวายทาง
การเมือง อันเกดิ เปน็ เร่อื งราคาญแก่รฐั บาลของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั

๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วธิ เี รยี บเรยี งอยา่ งใด ๆ ก็ตามแตต่ อ้ งใหเ้ ปน็ ภาษาไทยอนั ดี ถูกตอ้ งตามเย่ียงที่
ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันก็ได้ ไม่ใช้ภาษาซ่ึงเลียนภาษาต่างประเทศหรือใช้วิธีผูกประโยคประธานตาม
ภาษาตา่ งประเทศ เช่น ใช้วา่ ไปจบั รถไฟ แทน ขึ้นรถไฟ และ มาสาย แทน มาชา้ หรือ มาล่า เปน็ ต้น

พระยำอนุมำนรำชธน (เสถียรโกเศศ) ให้ความหมายว่า วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่ง
ถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฏเป็นรูปหนังสือและมีถ้อยคาเหมาะเจาะ เพราะพร้ิงเร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิด
ความรู้สึก
พระวรเวทยพ์ สิ ิฐ มคี วามเห็นว่า วรรณคดี คอื หนงั สือทม่ี ลี ักษณะเรยี บเรียงถ้อยคาเกล้ียงเกลา เพราะพร้ิง
มีรสปลุกมโนคติ (imagination) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามอารมณ์ของ
ผู้ประพันธ์
วทิ ย์ ศวิ ะศริยำนนท์ กลา่ ววา่ บทประพันธ์ท่ีเป็นวรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่ง ให้ความ
เพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด (imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากน้ีบทประพันธ์ท่ี
เปน็ วรรณคดีจะต้องมรี ูปศลิ ปะ (form)

Robert Harris Willmott กล่าวว่า วรรณคดี คือ ความไม่ตายแห่งคาพูด เก็บรักษาไว้ในรูปของการ
จารึก มีความงามเป็นเครื่องประดบั และเป็นสิ่งทก่ี อ่ ให้เกิดความเบิกบานอยา่ งที่สดุ

หน่วยที่ ๑ เรื่อง พินิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๒

Double Days Encyclopedia Vol.Vll กล่าวว่า วรรณคดีคือการแสดงออกซึ่งความคิดที่ดีท่ีสุด
และเขียนไว้อย่างดีท่ีสุด เป็นสิ่งซึ่งก่อให้เกิดความนึกฝัน หรือจินตนาการอันต่างไปจากหนังสือที่เป็นจดหมาย
เหตุ ข้อเทจ็ จริง และหนงั สือประเภทใหค้ วามรคู้ วามคิดท้ังหลาย

วรรณกรรม

คาว่า วรรณกรรม มีปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม
พ.ศ.๒๔๗๔ คาน้แี ปลมาจากคา Literature เช่นเดียวกับคาว่า วรรณคดี วรรณกรรม มีความหมายท่ีใช้กัน
เปน็ ท่ีเข้าใจทั่วไป ๒ นยั คอื

๑. ความหมายใกล้เคียงกับวรรณคดีในความหมายอย่างกว้าง คือ หมายถึงส่ิงที่เขียนข้ึน ประพันธ์ขึ้น
ทัง้ หมด ไม่วา่ จะเป็นรูปแบบใด เพอื่ ความม่งุ หมายใด ไม่เน้นการแสดงออกว่ามคี ุณคา่ ทางอารมณ์หรอื ไม่

๒. หมายถึงสิ่งที่เขียน ประพันธ์ขึ้นเร่ืองหนึ่ง ๆ ด้วยภาษาใดภาษาหน่ึงในสมัยหนึ่ง หรือในบ้านเมือง
แห่งหน่งึ ๆ เปน็ รายเรอื่ งไป เชน่ ใชว้ า่ วรรณกรรมสุนทรภู่ วรรณกรรมร่วมสมัย วรรณกรรมรัสเซีย วรรณกรรม
สมัยรัตนโกสินทร์ คาว่าวรรณกรรมมีความหมายเปน็ กลาง ๆ ไม่ประเมนิ คณุ ค่า จงึ ไม่เหมือนกับคาว่าวรรณคดี
ในความหมายอย่างแคบ

วรรณกรรมที่แต่งดี ได้รับความยกย่องจากคนท่ัวไปจึงเรียกว่า วรรณคดี คุณสมบัติท่ีทาให้วรรณกรรม
และวรรณคดีตา่ งกันคอื วรรณศลิ ป์ หรือ ศิลปะแหง่ การเรยี บเรียง

องค์ประกอบของวรรณศิลป์

วรรณศิลป์เป็นคุณสมบัติท่ีทาให้วรรณกรรมและวรรณคดีเป็นศิลปะของการเรียบเรียงซึ่ง

ประกอบดว้ ยความรสู้ ึกสะเทอื นใจและจนิ ตนาการ และสรา้ งขนึ้ เปน็ รูปมีเรอื่ งราวเป็นรายละเอียด เช่นว่า เราได้

ทราบเรอื่ งราวของเด็กท่ียากจนน่าสงสาร เราเกิดความสะเทือนใจจึงได้เขียนเร่ืองเกี่ยวกับเด็กคนน้ันข้ึนเป็นนว

นิยาย หากเขียนดีไดร้ บั ความยกยอ่ งในระยะเวลานั้น หรือในอีก ๕๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีข้างหน้าก็ยังยกย่องกันอยู่

ก็จะเรียกว่าเป็นวรรณคดีได้ วรรณคดีจึงเกิดขึ้นด้วยลักษณะหลายประการประกอบกัน รวมกันเป็นคุณสมบัติ

สาคัญท่ีว่า “วรรณศิลป์” องคป์ ระกอบของวรรณศิลป์ มีดงั น้ี

๑. อำรมณส์ ะเทือนใจ ๔. สไตล์ (ท่วงทำนองแต่ง)

๒. ควำมรูส้ กึ นึกคดิ จินตนำกำร ๕. เทคนิค (กลวิธี)

๓. กำรแสดงออก ๖. องคป์ ระกอบ

หน่วยท่ี ๑ เรื่อง พินจิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๓

ประเภทของวรรณคดี

๑. วรรณคดมี ขุ ปำฐะ คอื วรรณคดแี บบทีเ่ ล่ากนั ปากตอ่ ปาก ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลง
พน้ื บ้าน นิทานชาวบา้ น บทร้องเลน่ เป็นต้น

๒. วรรณดรี ำชสำนกั หรือวรรณคดีลำยลักษณ์อักษร เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิต
ตะเลงพ่าย เปน็ ต้น

วรรณคดีไทยโดยถือลกั ษณะกำรแต่งเปน็ สำคัญ
๑. ประเภทรอ้ ยแกว้ คือวรรณกรรมทไี่ ม่มีลักษณะบงั คับในการแต่งตามแบบแผนที่บัญญัติไว้ อันได้แก่

การกาหนดจานวนคา กาหนดสมั ผสั กาหนดเสียงเอกโท กาหนดเสียงหนักเบา หรือเรยี กวา่ การกาหนดคณะ
๒. ประเภทร้อยกรอง คือ วรรณกรรมประเภทท่ีมีลักษณะบังคับในการแต่งหรือมีการกาหนดคณะ

เชน่ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย เปน็ ต้น

กำรแบ่งตำมควำมมุ่งหมำย แยกได้ ๒ ประเภท

สำรคดี คือ หนังสอื ทีม่ ุ่งใหค้ วามรูแ้ กผ่ อู้ า่ นเป็นสาคัญ แตใ่ นขณะเดยี วกนั กใ็ ช้กลวิธีการเขียนให้เกิดความบันเทิง
เป็นผลพลอยไดไ้ ปดว้ ย
บนั เทงิ คดี คือ หนังสือทม่ี ุง่ ใหค้ วามสนุกเพลิดเพลินแกผ่ ู้อา่ นมากกว่าความรู้แต่อย่างไรกด็ ี บันเทงิ คดีย่อมมีเน้ือหาที่
เปน็ สาระสาคัญแทรกอยดู่ ว้ ยในรปู ของคติชวี ิตและเกรด็ ความรู้
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กาหนดประเภท
ของวรรณคดแี ละพจิ ารณาหนงั สอื ที่เป็นยอดของวรรณคดีแตล่ ะประเภทไว้ ดงั นี้

๑. กวีนพิ นธ์ คอื เรือ่ งทีแ่ ตง่ เปน็ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน รา่ ย
๒. ละครไทย คือ เรื่องท่แี ตง่ เป็นกลอนแปด มกี าหนดหนา้ พาทย์
๓. นทิ าน คอื เร่อื งราวอันผูกขนึ้ และแตง่ เป็นร้อยแกว้
๔. ละครพดู คอื เรื่องราวที่เขยี นเพอื่ ใชแ้ สดงบนเวที
๕. อธิบาย (essay หรือ pamphlet) คือ การแสดงด้วยศิลปวิทยา หรือกิจการอย่างใดอย่างหน่ึง
แต่ไม่ใช้ตาราหรือแบบเรยี น หรือความเรยี งเรอื่ งโบราณ มพี งศาวดาร เป็นตน้

แหล่งกำรเรยี นรู้

สำรคดี บันเทงิ คดี

หน่วยที่ ๑ เร่ือง พินจิ คุณค่ำวรรณคดี | ๔

ววิ ฒั นำกำรของวรรณคดไี ทย

กำรแบ่งยุคของวรรณคดี
วรรณคดีไทยเรมิ่ มขี นึ้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีมิได้

เกิดขึ้นทุกรัชกาลเพราะฉะน้ันสมัยของวรรณคดีไทยอาจเรียกตามพระนามของพระมหากษัตริย์ท่ีมีวรรณคดี
เกดิ ขนึ้ กไ็ ด้ แตใ่ นทนี่ ้ีจะแบ่งโดยอิงตามลาดบั เวลาตามประวตั ศิ าสตร์ของชาติไทยเป็นหลักโดยถือเอาเมืองหลวง
เปน็ จุดศนู ย์กลางการแบ่งสมัย ได้ดงั ตอ่ ไปน้ี
๑. สมยั สโุ ขทยั
๒. สมยั กรงุ ศรอี ยุธยำ
๓. สมัยธนบรุ ี
๔. สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์

สมยั สุโขทยั

วรรณคดีสมัยสุโขทัย เริ่มต้ังแต่รัชกาลของพ่อขุนรามคาแหงมหาราชที่มีการประดิ ษฐ์
ลายสือไทยข้ึน ใน พ.ศ. ๑๘๒๖ จนถึงรัชกาลของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ สุโขทัยตกอยู่ใต้อานาจ
กรุงศรอี ยุธยา ในพ.ศ. ๑๙๒๑ มกี วแี ละวรรณคดีทสี่ าคัญ

ยคุ สมยั วรรณคดี
พ่อขนุ รำมคำแหงมหำรำช ศลิ าจารกึ พ่อขนุ รามคาแหง
สุภาษติ พระร่วง
พระยำลิไท
ไตรภูมพิ ระร่วง
นางนพมาศ หรือตารบั ท้าวศรีจฬุ าลกั ษณ์

สมัยกรุงศรีอยุธยำ

ความเจรญิ รุ่งเรอื งของไทยไดเ้ ลื่อนจากกรุงสโุ ขทัยมาเปน็ ความเจริญของกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๓ จนถึง
เสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ รวมเวลาทั้งส้ิน ๔๑๗ ปี มีกษัตริย์ปกครอง ๕ ราชวงศ์ รวม ๓๓
พระองค์ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของประเทศต่าง ๆ วรรณคดีมีความเจริญเป็นพัก
ๆ และพระมหากษัตริย์มีความสนพระทัยในวรรณคดีในสมยั น้ีแบ่งเป็นยุคย่อยได้อีก ๓ สมยั คือ

๒.๑ สมัยกรุงศรีอยุธยำตอนต้น ต้ังแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (บรมไตรโลกนาถ) พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ เป็นระยะเวลา ๑๗๙ ปี จากนั้นวรรณคดี
ว่างเว้นไป ๙๐ ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกตสิ ขุ มีสงครามกบั พม่า กวีและวรรณคดสี าคัญในยุคน้ี

หนว่ ยที่ ๑ เรอ่ื ง พนิ จิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๕

ยุคสมัย วรรณคดี

สมเดจ็ พระรำมำธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) - ลลิ ิตโองการแช่งน้า
สมเดจ็ พระรำมำธิบดีที่ ๒ (บรมไตรโลกนำถ) - มหาชาตคิ าหลวง
- ลลิ ติ ยวนพ่าย
- ลิลติ พระลอ

๒.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยำตอนกลำง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช (ยคุ ทองของวรรณคดี) พ.ศ. ๒๑๕๓ – ๒๒๓๑ เป็นเวลา ๗๘ ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้น
ไปอกี ๔๔ ปี กวีและวรรณคดีสาคัญในสมยั น้ี

ยคุ สมัย วรรณคดี
พระเจำ้ ทรงธรรม
สมเดจ็ พระนำรำยณม์ หำรำช - กาพยม์ หาชาติ

พระมหำรำชครู - โคลงพาลีสอนน้อง
พระโหรำธบิ ดี - โคลงทศรถสอนพระราม
- โคลงราชสวสั ด์ิ
ศรปี รำชญ์ - สมทุ รโฆษคาฉนั ทต์ อนกลาง
พระศรีมโหสถ - บทพระราชนิพนธโ์ คลงโตต้ อบกบั กวอี ืน่ ๆ
- เสือโคคาฉันท์
ขนุ เทพกวี - สมุทรโฆษคาฉนั ท์ตอนตน้

- จนิ ดามณี
- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ-
อักษรนิติ

- อนิรุทธคาฉันท์ โคลงเบ็ดเตล็ด

- กาพยห์ ่อโคลง
- โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเดจ็ พระนารายณ์-
มหาราช
- โคลงอกั ษรสามหมู่
- โคลงนริ าศนครสวรรค์
- คาฉันทด์ ุษฎีสังเวยกล่อมชา้ ง

หนว่ ยที่ ๑ เรื่อง พินิจคุณค่ำวรรณคดี | ๖

๒. ๓ ส มั ยก รุ งศ รี อ ยุธ ย ำต อ น ป ล ำ ย ส มัย ส มเ ด็ จพ ร ะ เจ้ า อยู่ หั ว บ ร ม โ ก ศ จ น ถึง เ สี ย

กรุงศรอี ยธุ ยา พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๑๐ เปน็ เวลา ๓๕ ปี กวีและวรรณคดสี าคญั ในสมยั นี้

ยุคสมัย วรรณคดี

สมเด็จพระเจำ้ อยหู่ วั บรมโกศ - โคลงชะลอพุทธไสยาสน์

เจ้ำฟ้ำอภัย - โคลงนริ าศเจา้ ฟา้ อภัย

เจ้ำฟำ้ ธรรมธิเบศรไชยเชษฐส์ รุ ยิ วงศ์ - นันโทปนนั ทสูตรคาหลวง

- พระมาลยั คาหลวง

- กาพยเ์ หเ่ รอื

- กาพยห์ อ่ โคลงประพาสธารทองแดง

- กาพย์ห่อโคลงนริ าศ

- เพลงยาวเจ้าฟา้ ธรรมธิเบศร

เจ้ำฟ้ำกุณฑล - บทละครเร่อื งดาหลัง

เจ้ำฟ้ำมงกฎุ - บทละครเรอ่ื งอเิ หนา

พระมหำนำควัดท่ำทรำย - ปณุ โณวาทคาฉนั ท์

- โคลงนิราศพระบาท

หลวงศรีปรีชำ - กลบทสริ วิ ิบุลกิติ

- บทละครนอก

สมยั กรุงธนบุรี

วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕ ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

จะทรงเป็นกษัตริย์นักรบ แต่ก็ทรงสนพระทัยศิลปะและวัฒนธรรม ทรงอุปถัมภ์กวี และวรรณคดี

นอกจากน้ี ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเร่ืองรามเกียรติ์ ๔ ตอน โดยใช้เวลาเพียง ๒ เดือน

เท่านั้น วรรณกรรมในสมัยธนบุรีหลายเร่ืองได้สืบต่อมาจากสมัยอยุธยาและส่งต่อมายังสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้ง

วรรณกรรมประเภทนิทานนิยาย วรรณกรรมยอพระเกียรติ วรรณกรรมคาสอน และวรรณกรรมการแสดงกวี

และวรรณคดีสาคญั ในสมัยน้ี

ยคุ สมัย วรรณคดี

สมเดจ็ พระเจ้ำตำกสินมหำรำช บทละครเร่อื งรำมเกยี รติ์ ๔ ตอน คอื

- ตอนพระมงกฎุ ประลองศร

- ตอนหนุมานเก้ียวนางวานริน

- ตอนทา้ วมาลีวราชวา่ ความ

- ตอนทศกัณฐ์ตัง้ พิธที รายกรด พระลักษมณ์ตอ้ งหอก

กบลิ พทั จนถึงตอนผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ

พระภิกษอุ ินท์และพระยำรำชสุภำวดี - กฤษณาสอนนอ้ งคาฉนั ท์

นำยสวนมหำดเลก็ - โคลงยอพระเกียรตสิ มเด็จพระเจา้ ตากสนิ มหาราช

หลวงสรวิชิต (เจ้ำพระยำพระคลัง (หน) - อเิ หนาคาฉนั ท์

- ลลิ ติ เพชรมงกฎุ

พระยำมหำนภุ ำพ - นิราศเมอื งกวางตุ้ง

- เพลงยาว

หน่วยท่ี ๑ เรอ่ื ง พินิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๗

สมัยกรงุ รตั นโกสนิ ทร์

วรรณคดีสมัยกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์เป็นราชอาณาจักรท่ีสี่ในยุคประวัติศาสตร์
ของไทย เริม่ ต้งั แต่การยา้ ยเมอื งหลวงจากฝัง่ กรงุ ธนบุรี มายังกรงุ เทพมหานคร ซง่ึ ต้ังอยทู่ างตะวันออกของแม่น้า
เจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จข้ึนครองราชสมบัติ
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ การแบ่งยุคสมัยของวรรณคดีแบ่งออกเป็น ๓ ยุคสมยั คือ

๔.๑ สมัยกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ตอนต้น เริม่ ต้ังแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ใน พ.ศ. ๒๓๒๕
จนกระทั่งปลายรัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลัย ใน พ.ศ. ๒๓๖๗ กวแี ละวรรณคดีสาคัญในสมัย
นี้

ยุคสมยั วรรณคดี
พระบำทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟำ้ จฬุ ำโลมหำรำช
- เพลงยาวรบพมา่ ทท่ี ่าดินแดง
สมเดจ็ กรมพระรำชวังบวรมหำสรุ สิงหนำท - บทละครเรอ่ื งอุณรุท
- บทละครเร่ืองรามเกยี รติ์
เจำ้ พระยำพระคลงั (หน) - บทละครเรอื่ งดาหลงั
- บทละครเรือ่ งอิเหนา
พระเทพโมลี (กลนิ่ ) - กฎหมายตราสามดวง
พระธรรมปรีชำ(แก้ว)
สมเดจ็ กรมพระรำชวังบวรสถำนพมิ ขุ - นริ าศเสดจ็ ไปรบพมา่ ทน่ี ครศรีธรรมราช
เจ้ำพระยำพิพิธชัย - เพลงยาวถวายพยากรณ์เมื่อเพลงิ ไหม้พระท่นี ่งั
พระวิเชยี รปรชี ำ อมรินทราภิเษกมหาปราสาท
- เพลงยาวนริ าศเสดจ็ ไปตเี มอื งพม่า
- ราชาธิราช
- สามก๊ก
- สมบัตอิ มรนิ ทร์คากลอน

- บทมโหรีเรือ่ งกากี
- ลลิ ติ พยุตราเพชรพวง
- ลลิ ิตศรวี ิชัยชาดก
- ร่ายยาวมหาเวสสนั ดรชาดกกัณฑ์กุมารและ
กัณฑ์มทั รี
- รา่ ยยาวมหาเวสสนั ดรชาดกกัณฑ์มหาพน
- มหาชาตคิ าหลวง กณั ฑ์ทานกัณฑ์
- นริ าศตลาดเกรียบ

- ไตรภมู ิโลกวนิ ิจฉยั กถา
- ชิดกก๊ ไซฮ่ัน

- พระราชพงศาวดารฉบบั พันจันทนุมาศ

- พงศาวดารเหนือ

หนว่ ยที่ ๑ เรื่อง พนิ จิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๘

ยคุ สมัย วรรณคดี

วรรณคดีสมัยพระบำทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้ำ - บทละครเรื่องอิเหนา

นภำลัย - บทละครเรื่องรามเกยี รติ์

- บทละครนอก ๕ เรอื่ ง คือ ไชยเชษฐ์ มณพี ิไชย

คาวี สังขท์ อง ไกรทอง

- กาพย์เหช่ มเครื่องคาวหวานและว่าดว้ ยงาน

นกั ขตั ฤกษ์

- บทพากยโ์ ขน ตอนนางลอย นาคบาศ

พรหมาสตร์ และเอราวณั

- เสภาเรอื่ งขุนชา้ งขนุ แผน ตอนพลายแกว้ เป็นชู้

กับนางพิม ขุนแผนขนึ้ เรือน

- ขนุ ช้าง ขุนแผนเข้าหอ้ งนางแกว้ กิริยา และ

ขนุ แผนพานางวันทองหนี

นำยนรินทรธ์ เิ บศร์ - โคลงนิราศนรนิ ทร์
พระยำตรงั คภูมบิ ำล
- โคลงนริ าศตามเสดจ็ ลาน้าน้อย
- โคลงนริ าศพระยาตรงั
- โคลงดั้นเฉลมิ พระเกยี รติพระบาทสมเด็จพระ
พทุ ธเลศิ หล้านภาลยั
- เพลงยาว
- โคลงกวีโบราณ

พระสุนทรโวหำร (ภู่) - นิราศ ๙ เร่ือง คอื เมืองแกลง พระบาท ภเู ขา
ทอง วดั เจ้าฟ้า อเิ หนา สุพรรณ ราพนั พลิ าป
พระประธม เมืองเพชร
- กลอนนยิ าย ๔ เรอื่ ง คือ โคบตุ ร สิงหไตรภพ
ลกั ษณวงศ์ พระอภยั มณี
- เสภา ๒ เร่ือง คือ ขนุ ช้างขนุ แผน ตอน กาเนดิ
พลายงาม พระราชพงศาวดาร
- กลอนสภุ าษิต ๓ เรอ่ื ง คือ สภุ าษติ สอนหญงิ
เพลงยาวถวายโอวาท สวสั ดิ รกั ษา
- กาพย์ ๑ เรือ่ ง คือ พระไชยสุรยิ า
- บทเห่ ๔ เรื่อง คือ กากี จบั ระบา พระอภัยมณี
โคบตุ ร
- บทละคร ๑ เร่ือง คือ อภัยนุราช

หน่วยท่ี ๑ เร่อื ง พนิ ิจคุณคำ่ วรรณคดี | ๙

๔.๒ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลำง เร่ิมในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ – พ.ศ. ๒๔๗๕

กวแี ละวรรณคดีสาคัญ

ยคุ สมัย วรรณคดี

พระบำทสมเดจ็ พระนั่งเกล้ำเจ้ำอยู่หวั - เสภาเรือ่ งขุนช้างขุนแผน ตอน ขนุ ช้างขอนาง

พิมและขุนช้างตามนางวันทอง

- โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธ

เลิศหล้านภาลัย

- บทละครเรอ่ื งสงั ขศ์ ลิ ปช์ ัย

- โคลงฤาษดี ัดตน (จารึกวัดพระเชตุพนฯ)

- เพลงยาวกลบท

- พระบรมราโชวาทและพระราชกระแสรับส่ัง

ตา่ งๆ

- พระราชปุจฉาและพระราชปรารภตา่ งๆ

- ประกาศหา้ มสูบฝิ่น

- นิทานแทรกในเร่ืองนางนพมาศ

สมเด็จพระมหำสมณเจำ้ กรมพระปรมำนุชิตชโิ นรส - ลลิ ติ ตะเลงพา่ ย

- สมทุ รโฆษคาฉนั ท์

- ร่ายยาวมหาเวสสนั ดรชาดก

- สรรพสทิ ธค์ิ าฉนั ท์

- กฤษณาสอนน้องคาฉันท์

- ลิลติ กระบวนพยุหยาตราเสดจ็ ทางชลมารคและ

สถลมารค

- โคลงดน้ั เร่อื งปฏสิ งั ขรณ์วัดพระเชตุพนฯ

- เพลงยาวเจ้าพระ

- กาพย์ขบั ไม้กลอ่ มชา้ งพัง

- พระปฐมสมโพธกิ ถา

- ตาราฉนั ทม์ าตราพฤติและวรรณพฤติ

- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระเจำ้ บรมวงศ์เธอกรมพระยำเดชำดศิ ร - โลกนติ คิ าโคลง

- โคลงนิราศเสดจ็ ไปทัพเวียงจนั ทร์

- ฉนั ท์ดษุ ฎีสังเวยต่างๆ

- โคลง (จารกึ วัดพระเชตุพนฯ)

พระเจำ้ บรมวงศเ์ ธอกรมหลวงวงศำธริ ำชสนทิ - นริ าศพระประธม

- โคลงจินดามณี

- นิราศสุพรรณ

- กลอนกลบทสิงโตเลน่ หาง

หน่วยที่ ๑ เร่ือง พินิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๑๐

ยคุ สมยั วรรณคดี
พระเจำ้ บรมวงศ์เธอ กรมหมน่ื ไกรสรวิชติ
พระมหำมนตรี(ทรัพย)์ - โคลงฤาษีดดั ตน
กรมพระรำชวังบวรมหำศักดพิ ลเสพย์ - โคลงกลบทกบเตน้ ไต่รยางค์
พระบำทสมเด็จพระจอมเกล้ำเจ้ำอยูห่ ัว - เพลงยาวกลบท

กรมพระรำชวงั บวรมหำศกั ดิพลเสพย์ - บทละครเรอื่ งระเดน่ ลันได
พระบำทสมเด็จพระจอมเกลำ้ เจำ้ อยหู่ ัว - เพลงยาววา่ กระทบพระยามหาเทพ
- โคลงฤาษีดัดตน
หม่อมเจ้ำอศิ รญำณ - บทละครนอกเรือ่ งพระลอนรลกั ษณ์
พระบำทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลำ้ เจ้ำอยหู่ วั - เพลงยาวกรมศักดิ์

- บทละครเรื่องรามเกยี รติ์ ตอนพระรามเดินดง
- มหาชาติ ๕ กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน
มหาพน สักกบรรพ และฉกษัตริย์
- ประกาศและพระบรมราชาธบิ าย

- บทจบั ระบาเรื่องรามสูรและเมขลานารายณป์ ราบนนทกุ
- บทพระราชนพิ นธเ์ บด็ เตลด็ เชน่ บทเบกิ โรง
ละครหลวง บทราดอกไมเ้ งนิ ทอง
- จารกึ วัดพระเชตุพน

- บทละครนอกเร่ืองพระลอนรลักษณ์
- เพลงยาวกรมศักดิ์

- บทละครเรอ่ื งรามเกยี รต์ิ ตอนพระรามเดินดง
- มหาชาติ ๕ กณั ฑ์ คือ วนปเวสน์ จลุ พน
มหาพน สกั กบรรพ และฉกษัตริย์
- ประกาศและพระบรมราชาธิบาย
- บทจบั ระบาเร่อื งรามสูรและเมขลา นารายณ์
ปราบนนทุก
- บทพระราชนิพนธเ์ บด็ เตลด็ เช่น บทเบิกโรง
ละครหลวง บทราดอกไมเ้ งนิ ทอง
- จารึกวัดพระเชตุพน

- อศิ รญาณภาษติ

- พระราชพิธสี บิ สองเดือน - ไกลบ้าน
- พระราชวจิ ารณ์
- บทละครเรอ่ื งเงาะป่า
- ลลิ ติ นทิ ราชาครติ
- บทละครเรื่องวงศเทวราช
-กวนี ิพนธ์เบ็ดเตล็ด เช่น กาพย์เห่เรือ
โคลงสภุ าษติ โคลงรามเกยี รติ์
- บันทกึ และจดหมายเหตุตา่ ง ๆ

หนว่ ยท่ี ๑ เรอ่ื ง พินจิ คุณคำ่ วรรณคดี | ๑๑

ยคุ สมยั วรรณคดี

พระยำศรสี นุ ทรโวหำร (นอ้ ย อำจำรยำงกูร) - แบบเรียนภาษาไทย ๖ เลม่

- พรรณพฤกษาและสัตวาภธิ าน

- คาฉันท์กล่อมช้าง

- คานมัสการคุณานคุ ุณ

พระเจ้ำบรมวงศ์เธอ - เฉลมิ พระเกียรตกิ ษัตริยค์ าฉันท์

กรมพระนรำธปิ ประพันธพ์ งศ์ - ลลิ ติ มหามงกุฎราชคุณานุสรณ์

- ลลิ ติ ตานานพระแท่นมนงั คศลิ า

- พระราชพงศาวดารพม่า

- บทละครเรือ่ งสาวเครอื ฟา้

- บทละครเรื่องพระลอ

- บทละครเรือ่ งไกรทอง

- บทละครพงศาวดารเรื่องพันท้ายนรสงิ ห์

พระบำทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้ำเจ้ำอยู่หัว - บทละครพูดตา่ งๆ หวั ใจนกั รบ มทั นะพาธา

พระรว่ ง วิวาหพระสมุทร โพงพาง เวนิสวาณิช

เห็นแก่ลกู ตามใจท่าน โรเมโอและจเู ลยี ต

- บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดาบรรพ์

- บทละครดกึ ดาบรรพ์

- บทละครร้อง เชน่ สาวิตรี ท้าวแสนปม

- บทละครรา เช่น ศกนุ ตลา

- บทโขน แก่ รามเกียรต์ิ

- บ่อเกดิ รามเกียรต์ิ

- เมืองไทยจงตน่ื เถิด

- ลัทธเิ อาอยา่ ง

- พระนลคาหลวง

สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ กรมพระยำดำรง - พงศาวดารเรือ่ งไทยรบพม่า

รำชำนภุ ำพ - นริ าศนครวัด

- เที่ยวเมอื งพม่า

- นทิ านโบราณคดี

- ความทรงจา

- สาส์นสมเด็จ

- เสด็จประพาสตน้

- ประวตั กิ วแี ละวรรณคดีวิจารณ์

- ฉันทท์ ลู เกล้าถวายรชั กาลที่ ๕

พระรำชวรวงศเ์ ธอ กรมหม่ืนพิทยำลงกรณ - จดหมายจางวางหรา่

- นทิ านเวตา

หนว่ ยท่ี ๑ เรอื่ ง พนิ จิ คุณค่ำวรรณคดี | ๑๒

ยคุ สมัย วรรณคดี

สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ เจ้ำฟ้ำกรมพระยำ - อุณรทุ ตอน สมอษุ า

นริศรำนุวัติวงศ์ - สังขท์ อง ตอน ถ่วงสงั ข์

- อิเหนา ตอนเผาเมือง

- บทเพลง เชน่ เพลงเขมรไทรโยค เพลง

สรรเสริญพระบารมี เพลงตบั ตา่ ง ๆ

- กาพยเ์ หเ่ รือ

เจ้ำพระยำธรรมศักดม์ิ นตรี - โคลงกลอนของครูเทพ

- บันเทิงคดีตา่ งๆ

- บทละครพูด

- แบบเรยี นธรรมจริยา

พระยำอปุ กติ ศิลปสำร - คาประพันธ์บางเรอื่ ง

- ชุมนุมนิพนธ์

- สงครามมหาภารตะคากลอน

พระยำศรสี นุ ทรโวหำร (ผัน) - อิลราชคาฉนั ท์

นำยชิต บุรทตั - สามคั คีเภทคาฉันท์

- กวนี ิพนธ์บางเร่อื ง

- พระเกยี รติงานพระเมรุทองท้องสนามหลวง

พระยำอนุมำนรำชธนและพระสำรประเสรฐิ - กามนิต วาสิฏฐี

- หิโตปเทศ

- ทศมนตรี

- สมญาภิธานรามเกยี รต์ิ

- ประมวลนทิ าน น.ม.ส.

- พระนลคาหลวง

- กนกนคร

- สามกรุง

๔.๓ สมัยรัตนโกสนิ ทร์ปัจจุบัน (หลังกำรเปลีย่ นแปลงกำรปกครอง)
เร่ิมต้ังแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครอง

แบบประชาธิปไตย ในพ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงปัจจุบันนับต้ังแต่รัชกาลที่ ๕ และ ๖ อิทธิพลของวรรณคดียุโรปได้แผ่
เข้ามาในประเทศไทย เป็นผล ให้วรรณคดีไทยเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเนื้อหา เมื่อสิ้นรัชกาลท่ี ๖ วรรณกรรม
ตามแบบฉบับด้ังเดิมขาดผู้อุปถัมภ์ค้าจุนอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยหลายอย่างเป็นมูลเหตุให้วรรณกรรม
ไทยมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วไปตามแนวตะวันตกอันเป็นลักษณะสาคัญของวรรณกรรมปัจจุบัน ล้าหน้า
วรรณกรรมแบบดั้งเดิมไปเป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้วรรณกรรมปัจจุบันจะรุดหน้าไปเพียงใด
ใช่วา่ วรรณกรรมแบบเดมิ จะเส่ือมความนิยมไปจนหมดสนิ้ ก็หาไม่เพียงลดประมาณลงไปเท่าน้นั

หน่วยที่ ๑ เรื่อง พินจิ คุณคำ่ วรรณคดี | ๑๓

หนงั สอื ที่เปน็ ยอดแหง่ วรรณคดีไทยกวีนพิ นธ์

หนงั สอื ประเภท

ลลิ ติ พระลอ เปน็ ยอดของ ลลิ ติ
สมุทรโฆษคาฉันท์ เปน็ ยอดของ คาฉนั ท์
เทศนม์ หาชาติ เปน็ ยอดของ กลอนกาพย์ (รา่ ยยาว)
เสภาเรอ่ื งขุนช้างขนุ แผน เปน็ ยอดของ กลอนสภุ าพ
บทละครเร่ืองอเิ หนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลท่ี ๒ เปน็ ยอดของ บทละครรา
บทละครพูดเร่ืองหวั ใจนกั รบ พระราชนพิ นธ์ในรัชกาลท่ี ๖ เปน็ ยอดของ บทละครละครพดู
สามก๊ก ของเจา้ พระยาพระคลงั (หน) เป็นยอดของ ความเรยี งนทิ าน
พระราชพิธสี ิบสองเดือน พระราชนิพนธใ์ นรชั กาลที่ ๕ เปน็ ยอดของ ความเรียงอธิบาย

หน่วยที่ ๑ เร่อื ง พนิ จิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๑๔

วรรณคดมี รดก
วรรณคดีมรดก เป็นคาท่ีกระทรวงศึกษาธิการกาหนดขึ้น เพื่อให้เป็นรายวิชา ท ๐๓๓ ตามหลักสูตร
ภาษาไทย พ.ศ.๒๕๒๔ หมายถึง “วรรณคดีท่ีได้รับการยกย่องกันมาหลายชั่วอายุคนในด้านวรรณศิลป์กับ
ในดา้ นทแ่ี สดงค่านิยมและความเชื่อในสมัยของบรรพบุรุษส่งเสริมให้เปรียบเทียบชีวิตมนุษย์ ในสมัยของบรรพ-
บุรุษกับชีวิตในปจั จุบนั ”

องค์ประกอบของวรรณคดมี รดก

๑. มเี น้ือหาและรปู แบบทเ่ี หมาะสม ไม่วา่ จะเป็นนทิ าน นิยาย บทละคร นวนยิ าย ฯลฯ
๒. มีศิลปะการใช้ภาษาอย่างประณตี
๓. แสดงความนึกคิดท่ีเฉียบแหลมของผู้แต่ง สอดแทรกประสบการณ์ชีวิต และให้ความรู้ในเร่ืองสามัญของคน

ท่ีได้รบั การศกึ ษา
๔. แสดงพฒั นาการทางอารมณข์ องผแู้ ตง่ อยา่ งสูง ทั้งดา้ นความรกั ความทุกข์ ความสุข ความผดิ หวัง ฯลฯ
๕. มีคุณคา่ ทางประวัตวิ รรณคดี แสดงให้เหน็ การแปรเปลีย่ นตามกาลสมยั ของการแตง่ วรรณกรรม
๖. มีคุณคา่ ทางประวตั ิภาษาแสดงใหเ้ หน็ การแปรเปลยี่ นตามกาลสมยั ของภาษาและการใช้ภาษา

หนังสือใดที่มีคุณสมบัติ ๖ ประการดังกล่าว จะได้รับยกย่องจากผู้ที่ศึกษา และสนใจ ในศิลปะทาง
วรรณคดีวา่ สมควรรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ

หน่วยที่ ๑ เรือ่ ง พนิ ิจคุณค่ำวรรณคดี | ๑๕

คุณคำ่ ของวรรณคดมี รดก

๑. คุณค่าทางศีลธรรม กวีสอดแทรกคติ คาสอน และศีลธรรม ไว้ในเนื้อเร่ืองบ้าง ถ้อยคาบรรยายบ้าง
ในถอ้ ยคาสนทนาบา้ ง ผ้อู า่ นรับคติ ขอ้ คิดทดี่ ีงามไปโดยไมร่ ตู้ ัว

๒. คุณค่าทางปญั ญา ผู้อ่านจะไดร้ บั ความรเู้ พ่มิ ข้นึ ได้ข้อคิด ขยายทศั นคตใิ หก้ ว้างขวางข้ึน
๓. คุณค่าทางอารมณ์ทาให้ผู้อ่านเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องความรู้สึกและอารมณ์
ต่าง ๆ ของตวั ละคร ท้ังความดีใจ ความเสียใจ ความโกรธ ความรัก ความกลัว เป็นต้น ทาให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์
คล้อยตามหรืออารมณส์ ะเทอื นใจไปดว้ ย
๔. คุณค่าทางวัฒนธรรมวรรณคดีทาหน้าที่สืบต่อวัฒนธรรมของชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
วรรณคดีจะสอดแทรกวฒั นธรรม ชีวติ ความเป็นมนษุ ย์ ประเพณตี ่าง ๆ ของสังคม
๕. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ถ้าอ่านประวัติศาสตร์ จะเบื่อหน่ายหลงลืม แต่ถ้าอ่านวรรณคดี เช่น ลิลิต
ตะเลงพ่าย จะจาเร่ืองยุทธห์ ัตถีไดด้ ีขน้ึ และเหน็ ความสาคัญของเหตกุ ารณก์ บั บ้านเมือง
๖. คุณคา่ ทางจินตนาการ ผู้มีจินตนาการมักเป็นผูม้ องเห็นการณ์ไกลทาสิง่ ใดดว้ ยความรอบคอบ
๗. คุณคา่ ทางทกั ษะเชิงวิจารณ์การอ่านมาก เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ชีวิต วรรณคดีเป็นส่ิงยั่วยุให้ผู้อ่าน
ใชค้ วามคิดตรึกตรอง ตดั สนิ ว่าส่งิ ใดดหี รอื ไมด่ ี เปน็ การฝกึ การใชว้ ิจารณญาณ กอ่ ใหเ้ กดิ ทกั ษะเชิงวจิ ารณ์
๘. คณุ ค่าในดา้ นวรรณศิลป์ คือคุณคา่ ในด้านการใช้ถ้อยคาท่ีไพเราะ มีการบรรยายการเปรียบเทยี บได้
ชดั เจน ทาใหผ้ ูอ้ ่านเกิดจินตภาพ มีถ้อยคาสานวนทใี่ ห้แง่คิด คตสิ อนใจ ผูอ้ ่านสามารถนาไปประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ติ ประจาวัน
๙. คุณค่าในด้านสภาพชีวิตสมัยบรรพบุรุษทาให้ผู้อ่านได้ทราบสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึก
คดิ ของผูค้ นและบ้านเมืองในสมัยนั้น และบางเร่ือง กวีได้นาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเป็นข้อมูลในการแต่ง
ซึง่ ผอู้ า่ นสามารถนามาเปรยี บเทียบกบั เหตุการณใ์ นชวี ิตประจาวันได้
๑๐. คุณค่าในด้านศลิ ปะอืน่ ๆ วรรณคดแี ต่ละเรอ่ื งยังให้ความรู้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านในด้านศิลปะ
ต่าง ๆ เชน่ สถาปัตยกรรม จิตรกรรม เพลง ละคร ภาพยนตร์ เป็นตน้

องค์ประกอบของวรรณศิลป์

วรรณศลิ ปเ์ ป็นคุณสมบัติท่ีทาใหว้ รรณกรรมและวรรณคดีเป็นศิลปะของการเรียบเรียงซึ่งประกอบด้วย

ความรู้สึกสะเทือนใจและจินตนาการ และสร้างขึ้นเป็นรูปมีเร่ืองราวเป็นรายละเอียด เช่นว่า เราได้ทราบ

เรื่องราวของเด็กที่ยากจนน่าสงสาร เราเกิดความสะเทือนใจจึงได้เขียนเร่ืองเกี่ยวกับเด็กคนน้ันข้ึนเป็นนวนิยาย

หากเขียนดีได้รับความยกย่องในระยะเวลาน้ัน หรือในอีก ๕๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีข้างหน้าก็ยังยกย่องกันอยู่

กจ็ ะเรยี กวา่ เปน็ วรรณคดีได้

วรรณคดีจึงเกิดข้ึนด้วยลักษณะหลายประการประกอบกัน รวมกันเป็นคุณสมบัติสาคัญท่ีว่า

“วรรณศิลป์” องคป์ ระกอบของวรรณศลิ ป์ ดงั นี้

๑. อำรมณ์สะเทอื นใจ ๔. สไตล์ (ทว่ งทำนองแตง่ )

๒. ควำมรสู้ ึกนกึ คดิ จนิ ตนำกำร ๕. เทคนิค (กลวิธี)

๓. กำรแสดงออก ๖. องค์ประกอบ

หน่วยท่ี ๑ เร่ือง พนิ จิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๑๖

หลักกำรพินิจวรรณคดแี ละวรรณกรรม

ควำมหมำย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติคาว่า “พินิจ” เทียบจากคาว่า

“Review” หมายถึง การมองซ้า ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ กล่าวว่า
“พนิ ิจ” หมายถึง พจิ ารณา ตรวจตรา

การพนิ ิจ คอื การพจิ ารณาตรวจตรา พร้อมทงั้ วเิ คราะห์แยกแยะและประเมินค่าได้ ทั้งนี้นอกจากจะได้
ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพ่ือนาไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อ่ืนได้ทราบด้วย
เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพ่ือแนะนาให้บุคคลท่ัวไปท่ีเป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบรายละเอียด
ท่ีเป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง ทางด้านใด
ผู้พินิจ มีความเห็นว่าอย่างไร คุณค่าในแต่ละด้านสามารถนาไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
ในชีวิตประจาวัน ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (๒๕๑๔ : ๕๘ – ๑๓๓) วรรณคดี ใช้ในความหมายว่า
วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มี วรรณกรรมศิลป์กล่าวคือมีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคา
ภาษาและเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทาง อารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่านสามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิง
ไดห้ นงั สอื ท่เี ปน็ วรรณคดีสามารถบ่งบอกลกั ษณะได้ ดังน้ี

๑. มีเนอ้ื หาดี มปี ระโยชน์และเปน็ สุภาษติ
๒. มีศิลปะการแตง่ ทีย่ อดเย่ียมทงั้ ดา้ นศิลปะการใช้คา การใชโ้ วหารและถกู ตอ้ งตามหลัก ไวยากรณ์
๓. ในหนงั สือทไี่ ดร้ บั ความนิยมและสบื ทอดกนั มายาวนานกวา่ ๑๐๐ ปี
กำรพินิจวรรณคดี หมายถึง การศึกษาวรรณคดีผ่านการตีความ การวิเคราะห์ วิจารณ์ พิจารณา
เน้ือหา แนวคิด และประเมินองค์ประกอบและวิธีการประพันธ์ เพ่ือให้เข้าใจคุณค่าของวรรณคดีซึ่งถือเป็น
แนวทางเบอ้ื งตน้ ของการวจิ ารณว์ รรณคดี

แนวทำงในกำรพินจิ วรรณคดี

การพินิจวรรณคดมี แี นวใหป้ ฏิบัติอย่างเพ่ือใหค้ รอบคลมุ งานเขียนทุกชนิด ซ่ึงผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจ
หนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งจะมีแนวในการพินิจที่จะต้องประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสม
กบั งานเขยี นนน้ั ๆ

หลักกำรพนิ จิ วรรณคดีมรดก

กำรพนิ ิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พร้อมท้ังวิเคราะหแ์ ยกแยะและประเมินค่าได้ ทั้งน้ีนอกจากจะได้
ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพ่ือนาไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย
เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อเป็นการแนะนาให้บุคคลทั่วไปท่ีเป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบ
รายละเอียดท่ีเป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเก่ียวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง
ทางใดบ้าง ผู้พินิจมีความเห็นว่าอย่างไรคุณค่าในแต่ละด้านสามารถนาไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
ในชวี ิตประจาวนั แนวทางในการพินิจวรรณคดีมรดก

หนว่ ยท่ี ๑ เร่ือง พนิ ิจคุณค่ำวรรณคดี | ๑๗

การพินิจวรรณคดีมรดกมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ เพ่ือให้ครอบคลุมงานเขียนทุกประเภท
ซ่ึงผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะอย่างไรซ่ึงจะมีแนวทางในการพินิจท่ีจะต้องประยุกต์
หรอื ปรบั ใชใ้ ห้เหมาะสมกบั งานเขียนน้ัน ๆ

หลักเกณฑใ์ นกำรพนิ จิ วรรณคดมี รดก มีดงั น้ี

๑. ควำมเปน็ มำหรือประวัติของวรรณคดีมรดกและผ้แู ต่ง เพอ่ื ให้วเิ คราะห์ในสว่ นอนื่ ๆ ไดด้ ีข้ึน

๒. ลกั ษณะคำประพันธ์
๓. เรอ่ื งยอ่
๔. เนอื้ เรอื่ งใหว้ ิเครำะหเ์ ร่ืองตำมหัวขอ้ ตำมลำดบั โดยบางหวั ข้ออาจจะมี
หรอื ไม่มี ก็ไดต้ ามความจาเปน็ เชน่ โครงเรอ่ื ง ตวั ละคร ฉาก วิธีการแตง่ ลกั ษณะ
การเดนิ เรอ่ื ง การใช้ถอ้ ยคาสานวนในเร่อื ง การแตง่ วิธกี ารคดิ ทส่ี รา้ งสรรค์ ทัศนะ
หรอื มมุ มองของผู้เขยี น เป็นตน้
๕. แนวคิด จุดมงุ่ หมาย เจตนาของผูเ้ ขียนที่ฝากไวใ้ นเร่อื งซง่ึ จะต้องวเิ คราะห์ออกมา
๖. คุณค่ำของวรรณคดีมรดก ซ่ึงโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ ๆ เพ่ือให้ครอบคลุมในทุก
ประเดน็ ซง่ึ ผู้พนิ จิ จะตอ้ งไปแยกแยะหวั ขอ้ ย่อยใหส้ อดคล้องกับลักษณะของวรรณคดที ี่พนิ จิ ตามความเหมาะสม

การอา่ นวรรณคดีมรดกต้องอ่านอย่างพนิ จิ จงึ จะเห็นคณุ คา่ ของหนงั สือ การอ่านอย่างพินิจหมายความวา่
กำรอ่ำนพินิจวรรณคดี คือ การอ่านวรรณคดีอย่างใช้ความคิด ไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะ
หาเหตุผลหาส่วนดี ส่วนบกพร่องของหนังสือ เพ่ือจะได้ประเมินค่าวรรณคดีเร่ืองนั้น ๆ อย่างถูกต้อง
และมเี หตุผล การอ่านวรรณคดตี อ้ งวิเคราะห์แล้วมีประโยชนต์ ่อชีวติ
หลักกำรพนิ ิจวรรณคดี
กำรพินิจวรรณคดี เป็นการแนะนาหนังสือในลักษณะของการวิเคราะห์วิจารณ์หนังสืออย่างง่าย ๆ
โดยบอกเร่ืองย่อ ๆ แนะนาข้อดีข้อบกพร่องของวรรณคดี บอกช่ือผู้แต่ง ประเภทของหนังสือ ลักษณะการแต่ง
เน้ือเรื่องโดยย่อ คุณสมบัติของหนังสือ ด้วยการวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหา ภาษา คุณค่า และข้อคิดต่าง ๆ
ประกอบกับทัศนะของผู้พินิจ โดยแบ่งหลักการพินิจออกเป็นดังน้ี โครงสร้างของวรรณคดี ความงดงาม
ของวรรณคดคี ุณค่าของวรรณคดี เปน็ ต้น
๑. โครงสรำ้ งของวรรณคดี

การที่จะพินิจวรรณคดีเรื่องใดนั้น จะต้องพิจารณาว่า เร่ืองนั้นแต่งด้วยคาประพันธ์ชนิดใด
โครงเรื่อง เน้ือเร่อื งเปน็ อย่างไร มแี นวคดิ หรือสาระสาคัญอย่างไร ตวั ละครมีรปู รา่ งอยา่ งไร ลักษณะนิสัยอย่างไร
ฉากมคี วามหมายเหมาะสมกับเร่อื งหรือไม่ และมวี ิธกี ารดาเนินเรือ่ งอย่างไร

๒. ควำมงดงำมทำงวรรณคดี
วรรณคดีเป็นงานท่ีสร้างข้ึนอย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคาเพื่อให้เกิดความไพเราะ

ในอรรถรส ซึง่ จะพจิ ารณาได้จากการใชค้ า มที ง้ั การเล่นคา เล่นอักษร พิจารณาได้จากการใช้สานวน โวหาร กวี
โวหาร ซึ่งจะดูจากการสร้างจินตนาภาพ ภาพพจน์ และพิจาณาจากการสร้างอารมณ์ในวรรณคดีสิ่งเหล่านั้น
เปน็ ความงดงามวรรณคดี ซ่ึงแบ่งเป็น โวหารภาพพจน์ วรรณศลิ ป์ และการสร้างอารมณ์ โดยมเี น้อื หา ดังนี้

หน่วยท่ี ๑ เรอ่ื ง พินจิ คณุ ค่ำวรรณคดี | ๑๘

โวหำรภำพพจน์ (Fique of speech) หมายถึง ถ้อยคาที่เรียบเรียงโดยไม่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
ผู้เขยี นมีเจตนาให้ผอู้ ่านเขา้ ใจ และเกิดความรสู้ ึกประทับใจมากกว่าการให้คาธรรมดา

๑. อุปมำ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างของสองอย่าง ซ่ึงอาจไม่ใช่ของชนิดเดียวกัน
หรือเร่อื งเดยี วกนั โดยใช้คาเปรียบเทียบประเภท เหมือน คล้าย ดุจ กล ประหนึ่ง พ่าง เพียง เฉก ราวกับ ฯลฯ
อปุ มาเมอ่ื เรียกใหเ้ ข้าใจวา่ คอื การเปรยี บเทยี บ

ตวั อย่ำง ราวกับเทพบุตรสดุ ปญั ญา
เห็นแลว้ ว่าประเสริฐเลิศมนษุ ย์ เพรศิ พริ้งย่งิ ยวดเป็นหนักหนา

งามแลว้ คะชะเจา้ อยา่ เฝา้ อวด (สงั ขท์ อง : รชั กำลที่ ๒)

๒. อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบส่ิงหนึ่งเป็นอีกสิ่งหน่ึง คาท่ีใช้เปรียบ ได้แก่ เป็น
คือ เทา่ กบั ฯลฯ

ตัวอยำ่ ง เป็นทรวง พีฤ่ ๅ
รอยโฉมนุชเปลี่ยนปนั้ เนตรดว้ ย

ฤๅแม่เป็นมณดี วง (สงั ข์ทอง : รชั กำลท่ี ๒)

๓. บุคลำธิษฐำน เป็นการกาหนดให้ส่ิงท่ีไม่ใช่มนุษย์ให้มีสภาวะเป็นมนุษย์ ทากิริยาอาการพูด คิด
มีสติปัญญาและอารมณ์ ความรู้สึก อย่างมนุษย์ (บุคคลวัต) คล้ายอุปลักษณ์จะต่างกันที่ว่าบุคคลวัตน้ันเทียบ
เป็นมนุษย์เท่านนั้

ตัวอย่ำง งานเลิศลายเคลือบน้อยใหญ่
เตาถ้วยโถโอชาม หวาดไหวระทดระทมระทวย

ปูนป่าชฏั ปา่ ช้าไทย (องั คำร กัลยำณพงศ์)

๔. อติพจน์ เป็นการกล่าวเกินจริง ด้วยเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มีน้าหนักย่ิงข้ึนให้ความรู้สึก
เพิ่มขึ้น

ตวั อย่ำง อวดองค์ อรเอย
เอยี งเทออกอา้ ง เลขแต้ม
จารกึ พอฤๅ
เมรุชบุ สมุทรดินลง อยรู่ ้อนฤๅเหน็
อากาศจกั จารผจง (นริ ำศนรนิ ทร์ : นำยนรินทรธ์ ิเบศร์)
โฉมแมห่ ยาดฟ้าแยม้

หนว่ ยท่ี ๑ เร่อื ง พนิ จิ คุณคำ่ วรรณคดี | ๑๙

๕. สัญลักษณ์ คือ การนาส่ิงมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ใช้แทน หรือเป็นตัวแทนสิ่งอ่ืนทาให้เกิดความเข้าใจ
ไดอ้ ยา่ งกวา้ งขวาง โดยไมต่ อ้ งอธิบาย

ตวั อย่ำง มาแปรเปน็ พลอยหงุ ไปเสียได้
เม่ือแรกเชื่อวา่ เน้อื ทบั ทบิ แท้ ดว้ ยมิได้ดหู งอนแตก่ อ่ นมา
(ขนุ ชำ้ งขุนแผน)
กาลวงหงส์ใหป้ ลงใจ

๖. ปฏภิ ำคพจน์ คือ การใช้ถอ้ ยคาหรอื วลที มี่ คี วามหมายขัดแย้งกันอย่างตรงข้าม เพ่ือให้มีความหมาย
ใหม่ เชน่ สงครามเยน็ ไฟเย็น ฆ่าเพราะรัก เป็นตน้

ตวั อย่ำง จง่ึ ชกั พรหมาสตรธ์ นูศร
มคี วามเมตตาการณุ นกั อัมพรมืดมนนอนธกาล
วายชนมส์ ้นิ ชพี สงั ขาร
ผาดแผลงด้วยกาลงั ฤทธริ อน
ศิลป์ชยั ตอ้ งกายกมุ พล (รำมเกยี รต์ิ)

๗. นำมนยั คือ การใชค้ าหรือวลี เอ่ยถงึ สิง่ หนงึ่ แต่ใหค้ วามหมายเป็นอยา่ งอืน่

ตวั อย่ำง

..................................... คร้นั สวรรคาลยั ไซร้

พระมหนิ ทร์ไดส้ มบัติ เสียเศวตฉัตรหงสา (เสียอิสรภาพ)

(ลิลติ ตะเลงพำ่ ย : สมเดจ็ พระมหำสมณเจ้ำ กรมพระปรมำนชุ ิตชโิ นรส)

วรรณศลิ ป์

วรรณศิลป์ คือ ถ้อยคาท่ีกวีเลือกใช้ ที่มีเสียงไพเราะ มีความหมายแจ่มแจ้งทาให้เกิดจินตนาการ
แก่ผู้อ่าน ซ่ึงเป็นการกล่าวอย่างตรงไปตรงมา โดยแบ่งออกเป็น การเล่นเสียง เสียงหนักเบาหรือเสียงส้ันยาว
การเลน่ คา และการเลยี นเสยี งธรรมชาติ เปน็ ตน้

๑. กำรเลน่ เสยี ง คือ การสรรหาคาให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพ่ือให้เกิดทานองเสียงท่ีไพเราะ
น่าฟัง และเพื่ออวดฝีมือของกวี แบ่งออกเป็น การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียง
วรรณยุกต์ เป็นตน้

๑.๑ กำรเล่นเสียงพยัญชนะ หมายถึง การใช้คาท่ีมีเสียงพยัญชนะเดียวกัน เช่น เพื่อน-พ้อง
แต่เดิมเรียก สัมผัสอักษร มาสัมผัสกันโดยทั่วไปไม่บังคับสัมผัสพยัญชนะแต่กวีนิยมใช้เสียงสัมผัสพยัญชนะ
เพอ่ื ให้มีความไพเราะ ปกติมกั จะเป็นเสยี งสัมผสั เชน่

“ปัญญาตรองตรลิ ้า ล้าหลาย”

มเี สยี งสัมผัสพยญั ชนะ คือ ตรอง-ตริ, ลำ้ -ลกึ -หลำย เปน็ ตน้

หนว่ ยที่ ๑ เร่อื ง พินิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๒๐

๑.๒ กำรเล่นเสียงสระ หมายถึง การใช้คาคล้องจองที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น มา-ลา
โดยอาจมีพยัญชนะต้นเสียงเดียวกันแต่เสียงวรรณยุกต์ต่างกันก็ได้ เช่น ล่า-ล้า ถ้ามีเสียงสะกดก็ต้องอยู่ใน
มาตราเดยี วกัน เชน่ มาก-ลาก เป็นตน้ เช่น

“จบิ จับเจาเจา่ เจ้า รังมา”

มเี สยี งสัมผสั สระ คือ เจำ-เจำ่ -เจ้ำ (เสียงสระเอา) เปน็ ต้น

๑.๓ กำรเล่นเสยี งวรรณยุกต์ คอื การใชค้ าทใ่ี สร่ ะดบั เสียง ๒ หรอื ๓ ระดับเปน็ ชุด ๆ ไป เช่น

“จอกจาบจ่ันจรรจา จา่ จา้ ”

มกี ารเลน่ เสยี งวรรณยุกต์ คอื จนั่ -จรร (เสยี งเอก-เสียงสามญั )

“จำ-จ่ำ-จ้ำ” (เสียงสามญั -เอก-โท)

การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ๓ ลักษณะน้ีทาได้ยาก แม้จะมุงเน้นเรื่องการใช้คาท่ีทาให้เกิดเสียง
ไพเราะเป็นสาคัญ แตก่ ต็ ้องคานึงถงึ ความหมายของบทประพันธ์ด้วย

๒. เสียงหนักเบำและเสียงสั้นยำว คือ การใช้เสียงหนักเบาและเสียงสั้นยาวสลับกันเป็นคู่ทาให้ผู้อ่าน
รูส้ ึกถึงความไพเราะและเกดิ จนิ ตนาภาพ

คำครุ คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ท่ีประกอบด้วย สระเสียงยาว สระเกิน และพยางค์
ท่ีมตี วั สะกด เช่น ตา, ดา, หัด, เรยี น เป็นตน้

คำลหุ คือ พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ท่ีประกอบด้วย สระสั้น และพยางค์ไม่มีตัวสะกด เช่น
พระ, จะ, มิ, ดุ เปน็ ตน้

๓. กำรเล่นคำ คือ การสรรคามาเรียงร้อยในบทประพันธ์ โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษ

และแปลกออกไปจากท่ใี ชค้ ู่กนั อยู่ โดยแบ่งออกเปน็ การเล่นคาพอ้ ง การเลน่ คาซา้ การเล่นคาเชิงถาม เป็นต้น

๓.๑ กำรเลน่ คำพ้อง คือ การนาคาพอ้ งมาใชค้ ่กู ันใหเ้ กิดความหมายทสี่ ัมพนั ธก์ ัน

เช่น

“เบญจวรรณจับวลั ย์มาลี เหมอื นวันเจา้ วอนพ่ีให้ตามกวาง”

มกี ารเล่นคาพอ้ งเสียง “วัน” ๓ คา วรรณ-วัลย์-วนั

หน่วยที่ ๑ เร่อื ง พนิ ิจคุณคำ่ วรรณคดี | ๒๑

๓.๒ กำรเล่นคำซ้ำ คือ การนาคาเดียวกันมาใช้ซ้า ๆ ในท่ีใกล้ ๆ กัน เพื่อย้าความหมาย
ของขอ้ ความให้หนกั แนน่ ขนึ้

เช่น

หวั ลิงหมากเรยี วไม้ ลางลิง

ลางลิงหูลงิ ลงิ หลอกชู้

ลิงไตก่ ะไดลิง ลิงหม่

ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง

(กำพยห์ ่อโคลงประพำสธำรทองแดง : เจ้ำฟำ้ ธรรมธเิ บศร)

มีการเล่นคาวา่ “ลงิ ”

๓.๓ กำรเล่นคำเชงิ ถำม คือ การเรียงถ้อยคาให้เป็นประโยคเชิงถาม แต่เจตนา ที่แท้จริงไม่ได้
ถาม เพราะไม่ตอ้ งการคาตอบ แต่ตอ้ งการเนน้ ให้ข้อความมีน้าหนักดงึ ดูดความสนใจ และใหผ้ ู้ฟังติดตาม

เชน่
“เม่ือลม้ กลง้ิ ใครหนอวง่ิ เขา้ มาช่วย แล้วปลอบดว้ ยนิทานกลอ่ มขวญั ให้”

ใครหนอ เปน็ คาถาม

๔. กำรเลียนเสียงธรรมชำติ คือ วิธีการสร้างคาอย่างหน่ึงของกวีได้ทาให้สามารถสื่อให้เกิดภาพ
และเกดิ ความร้สู ึก โดยการใชค้ าบง่ บอกหรือเลียนเสียงที่เกิดขึ้น ซ่ึงอาจจะเป็นเสียงร้องของ คน สัตว์ เสียงจาก
ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ หรือเสียงที่เกิดจากวัตถุ คาชนิดนี้จะบอกความหมายของธรรมชาติของสิ่ง ๆ
นัน้ ได้อย่างชดั เจน เพราะเป็นส่ิงที่เราไดย้ ินจนคนุ้ หอู ยู่แลว้

ตัวอย่ำง

กลองทองตคี รมุ่ คร้ึม เดิรเรยี ง

จ่าตะเตงิ เตงิ เสยี ง ครุม่ ครึ้ม

เสยี งป่รี ีเ่ ร่อื ยเพยี ง การเวก

แตรน้ แตรน่ แตรฝร่ังขึ้น หวูห่ วู้เสยี งสงั ข์

(กำพยห์ ่อโคลงประพำสธำรทองแดง : เจำ้ ฟ้ำธรรมำธิเบศร)

เป็นกำรเลยี นเสียงกลอง เสียงแตร และเสยี งสงั ข์

หน่วยท่ี ๑ เร่ือง พนิ จิ คุณค่ำวรรณคดี | ๒๒

กำรสรำ้ งอำรมณ์

ความงามด้านอารมณ์ เมื่ออ่านวรรณคดี จะเห็นว่ามีความรู้สึกอารมณ์ร่วมไปกันเร่ืองตอนน้ัน
ๆ เช่น สงสาร โกรธ ชิงชัง น้ันหมายถึงกวีได้มีการสร้างอารมณ์ให้เรามีความรู้สึกคล้อยตาม ซ่ึงเป็นความงาม
อย่างหนึ่งในวรรณคดี โดยกวีมีการสอดแทรกความคิดออกมาในรูปแบบของความรัก คว ามภาคภูมิใจ
ความเศร้าสลดใจ และมีการเลือกสรรคาประพันธ์ให้เหมาะสมกับเน้ือเร่ือง การท่ีกวีใช้ถ้อยคาให้เกิดอารมณ์
ทาใหเ้ ราได้รบั รสวรรณคดีตา่ ง ๆ ซ่งึ แบง่ ออกเปน็ สนุ ทรียลีลา และสนุ ทรยี รส ดังน้ี

สุนทรียะ คือ ความงาม ความซาบซ้ึงในคุณค่าของคาประพันธ์ อันเป็นเคร่ืองยังให้เกิดความสะเทือน
อารมณ์ ได้แก่ ความสุข ความเบิกบานใจ ความพอใจ และความอ่ิมเอมใจแก่ผู้อ่าน ในระดับนี้จะขอกล่าวเพียง
๒ ประการ คอื

๑. สุนทรยี ลลี ำ หรือกระบวนการพรรณนาที่เหมาะสม
๒. สุนทรยี รส หรอื อารมณส์ ะเทอื นใจทเ่ี หมาะสม

๑. สนุ ทรียลีลำ ได้แก่ ความงามในดา้ นการพรรณนาขอกวี มอี ยู่ ๔ กระบวน คอื

๑.๑ เสำวรจนี กระบวนการชม

๑.๒ นำรปี รำโมทย์ กระบวนการเลา้ โลม เกี้ยว

๑.๓ พโิ รธวำทงั กระบวนการตัดพ้อ

๑.๔ สลั ลำปังคพสิ ัย กระบวนกาครา่ ครวญ

๑.๑ เสำวรจนี คือ การเล่าชมความงามของตัวละครในเร่ือง ซ่ึงอาจเป็นตัวละคร ชมความเก่งกล้า
ของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวงั หรือความเจริญรงุ่ เรอื งของบ้านเมือง

เช่น พระสุรัสวดเี สน่หา
ถึงโฉมองค์อคั รลกั ษมี จะเอาเปรียบไมเ่ ทยี บกัน

ส้นิ ท้งั ไตรภพจบโลกา

๑.๒ นำรีปรำโมทย์ คือ การกล่าวข้อความแสดงความรัก ท้ังท่ีเป็นการพบกันในระยะแรก ๆ

และในการโอโ้ ลมปฏโิ ลมดว้ ย

เชน่

ถงึ มว้ ยดนิ สน้ิ ฟา้ มหาสมุทร ไม่ส้นิ สดุ ความรักสมัครสมาน

แมน้ เกดิ ในใต้ฟา้ สุธาธาร ขอพบพานพศิ วาสไมค่ ลาดคลา

แม้นเนอ้ื เยน็ เป็นหว้ งมหรรณพ พข่ี อพบศรีสวสั ดิเ์ ป็นมัจฉา

แม้นเปน็ บัวตัวพเ่ี ปน็ ภมุ รา เชยผกาโกสมุ ปทุมทอง

เจ้าเป็นถ้าอาไพขอใหพ้ ี่ เปน็ ราชสหี ล์ มสู่เปน็ คู่สอง

จะติดตามทรวงสงวนนวลละออง เป็นคคู่ รองพิศวาสทกุ ชาตไิ ป

หน่วยท่ี ๑ เรือ่ ง พินจิ คุณคำ่ วรรณคดี | ๒๓

๑.๓ พิโรธวำทัง คือ การกล่าวข้อความอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมากจึงเร่ิมตั้งแต่ไม่พอใจ
โกรธ ตดั พ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทยี บเปรยี บเปรย เสยี ดสี และดา่ วา่ อยา่ งรุนแรง

เชน่ ฤๅรอยโศกรู้รา้ งจางหาย
จะเจ็บจาไปถึงปรโลก อย่าหมายวา่ จะให้หัวใจฯ

จะเกิดกีฟ่ า้ มาตรมตาย

๑.๔ สลั ลำปังคพิสัย คือ การกลา่ วข้อความแสดงอารมณโ์ ศกเศรา้ อาลัยรกั

เช่น ไมโ่ ปรดเกศแกข่ ้าบทศรี
พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช ทลู พลางโศกีราพนั ฯ

กรรมเวรส่ิงใดด่ังน้ี

๒. สุนทรียรส คือ กระบวนการพรรณนาและอารมณ์ในการแต่งคาประพันธ์ ซ่ึงปรากฏอยู่ในคัมภีร์
สุโพธาลังการ มที งั้ หมด ๙ รส คือ

๑. สงิ คำรรส หรือ ศฤงคำรรส หมายถงึ รสรัก
๒. หัสรส หรอื หำสยรส หมายถงึ รสขบขัน
๓. กรุณำรส หมายถึง รสโศก
๔. รทุ ธรส หรือ เรำทรรส หมายถึง รสโกรธ
๕. วีรรส หมายถึง รสแหง่ ความกลา้ หาญ
๖. ภยำนกรส หมายถงึ รสแห่งความกลวั
๗. พภี ตั สรส หมายถึง รสแห่งความขยะแขยง

๘. อัทภตุ รส หมายถึง รสแหง่ ความพิศวงงงงวย
๙. ศำนตรส หมายถงึ รสแห่งความสงบ

๓. กำรพิจำรณำวรรณคดีมรดกดำ้ นสงั คม

สังคม คือ ชนชาติและชุมชนที่อยู่ร่วมกันภายใต้การปกครองในกรอบวัฒนธรรมเดียวกัน
วรรณคดีเป็นเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้ผู้อ่านสามารถดูเห็นชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมและจริยธรรมของคน
ในสังคมทีว่ รรณคดไี ด้สะท้อนภาพทาให้เขา้ ใจชวี ิต เห็นใจความทกุ ข์ยากของเพ่ือนมนุษยด์ ้วยกนั ชัดเจนขนึ้

ดังน้ัน การพิจารณาวรรณคดีด้านสังคมจะต้องมีเน้ือหา ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือ
จริยธรรมของสังคมให้มีส่วนกระตุ้นจิตใจของผู้อ่านให้เข้ามามีช่วยช่วยเหลือ ในการจรรโลงหรือพัฒนา
สงั คมไทยร่วมกนั โดยพิจารณาตามหัวขอ้ ดงั น้ี

๑. การแสดงออกถงึ ภมู ปิ ัญญาและวัฒนธรรมของชาติ
๒. สะทอ้ นภาพความเปน็ อยู่ ความเชื่อ ค่านิยมในสังคม
๓. ไดค้ วามรู้ ความบนั เทงิ เพลดิ เพลินอารมณไ์ ปพร้อมกัน
๔. เน้ือเรื่องและสาระให้แง่คิดท้ังคุณธรรมและจริยธรรมในด้านการจรรโลงสังคม
ยกระดับจิตใจเห็นแบบอย่างการกระทาของตัวละครทัง้ ข้อดีและข้อควรแกไ้ ข

หนว่ ยที่ ๑ เร่ือง พนิ ิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๒๔

๕. การนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิตได้
ความคดิ และประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน และนาไปใช้ในการดาเนินชีวิต นาไปเป็นแนวทางปฏิบัติหรือปัญหา
รอบ ๆ ตวั ได้

จากการพิจารณาตามหัวข้อข้างต้นนี้แล้ว การพิจารณาคุณค่าวรรณคดีด้านสังคม
ใหพ้ ิจารณาโดยแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะ ดังน้ี

๑. ดำ้ นนำมธรรม ได้แก่ ความชว่ั ความดี ค่านยิ ม จริยธรรมของคนในสังคม
๒. ด้ำนรปู ธรรม ได้แก่ สภาพความเป็นอยู่ วถิ ีชีวติ การแตง่ การและการกอ่ สร้างทางวัตถุ

หนว่ ยที่ ๑ เรือ่ ง พินจิ คณุ คำ่ วรรณคดี | ๒๕

กำรวจิ ำรณว์ รรณคดี

ควำมหมำยของคำว่ำกำรวิจำรณ์วรรณคดี และนิยำมกำรวจิ ำรณ์วรรณคดี

Earytopeedle Brianica (เล่ม ๖ หน้า ๗๘๐) ให้ความหมายว่า “การอภิปราย เร่ืองศิลปะอย่าง
มีเหตุผล และอย่างมีระบบ การอภิปรายนั้นเป็นการอธิบาย หรือประเมิน ค่าทั้งในทางเทคนิคและท่ีเกี่ยวกับ
ศิลปะช้นิ น้ันโดยตรง"

ศำสตรำจำรย์คุณรัญจวน อินทรกำแหง กล่าวว่า การวิจารณ์ คือ การพิจารณาเพ่ือดูว่ามีข้อเด่น
อะไรบ้าง ข้อบกพร่องอะไรบ้าง แล้วนามาบอกให้ผู้อ่านได้ทราบข้อดีข้อเสียน้ัน อาจบอกเป็นคาพูด หรือ
คาเขียนก็ได้

เสถียรโกเศศ (พระยำอนุมำนรำชธน,ศำสตรำจำรย์) กล่าวว่าการวิจารณ์ คือ “หลักความเห็น
พจิ ารณาว่า สงิ่ ใดเปน็ ศิลปกรรมดีหรือเลวอยา่ งไร ทา่ นเรยี กวา่ วิจารณ์”

กำรวิจำรณ์วรรณคดี คือ การอธบิ ายลกั ษณะของวรรณคดที ่นี ามาวิจารณ์ในแง่มุมต่างๆ อย่างละเอียด
และตัดสนิ ใจประเมนิ ค่าวรรณคดเี รื่องน้ันโดยปราศจากอคติ
ขั้นตอนการวจิ ารณ์วรรณคดี มดี ังน้ี

๑. วิเครำะห์ หมายถึง การแยกองค์ประกอบตา่ ง ๆ ของวรรณคดี มาพจิ ารณาอยา่ งละเอยี ด
๒. วนิ ิจสำร หมายถึง การตีความสาระสาคญั และขอ้ คิดของเรอ่ื ง
๓. วิจำรณ์ หมายถึง การอธิบายเนื้อหาองค์ประกอบของวรรณคดีและกลวิธีการแต่งท่ีได้วิเคราะห์
และวนิ จิ สารแล้ว
๔. วิพำกษ์ หมายถึง การแสดงความรู้สึกอย่างมีเหตุผลว่าชอบหรือไม่ชอบวรรณคดีเรื่องนี้
เพราะอะไร วรรณคดีน้ีดหี รือไมอ่ ยา่ งไร

คุณสมบตั ิของนักวิจำรณว์ รรณคดี

๑. เปน็ ผมู้ ีนิสัยรักการอา่ น และมีประสบการณ์การอ่านหนังสอื อย่างหลากหลาย
๒. เป็นผูม้ คี วามสามารถในภาษาเขยี นและภาษาพดู
๓. มีความเท่ยี งตรง ปราศจากอคติในการวจิ ารณ์
๔. มีความรใู้ นศาสตร์การวิจารณ์แบบต่างๆ เชน่ การวิจารณ์แนวสนุ ทรยี ศาสตร์ การวิจารณ์แนวจิตวิทยา
การวจิ ารณแ์ นวสงั คมวิทยา การวิจารณแ์ นวประวัติศาสตร์ การวจิ ารณ์แนวภาษาศาสตร์ เปน็ ตน้

จรรยำบรรณของนักวจิ ำรณว์ รรณคดี

๑. มคี วามเคารพผลงานของนกั เขียน
๒. มคี วามเทีย่ งธรรม
๓. มีความนอบนอ้ มถอ่ มตน

หนว่ ยที่ ๑ เร่ือง พินจิ คณุ ค่ำวรรณคดี | ๒๖

กำรเขียนบทวิจำรณ์วรรณคดี

บทวิจารณ์วรรณคดีต้องใช้ศิลปะในการเขียน เสนอความคิดเห็นอย่างเที่ยงตรงให้ข้อเสนอแนะ
แกผ่ ้เู ขียน และใหค้ วามรักกบั ผอู้ า่ น นอกจากน้คี วรวิจารณแ์ ละใชภ้ าษาในเชิงสรา้ งสรรค์

หลกั กำรวิจำรณว์ รรณคดี

การวจิ ารณว์ รรณคดี
กำรวจิ ำรณว์ รรณคดรี ้อยกรอง ควรพจิ ารณาองค์ประกอบต่อไปนี้
๑. รูปแบบคำประพันธ์ หมายถึง มีลักษณะร่วมของงานประพันธ์ โดยท่ีกวีจะเลือกใช้ให้

เหมาะสมกับเน้อื หาได้ดงั นี้
๒. เน้อื หำ คอื สาระสาคญั เป็นส่วนประกอบของแก่นเร่อื ง พิจารณาจากดงั น้ี
๒.๑ แกน่ เรื่องหรอื แนวคิด คอื สาระความคดิ เห็นหรือความตั้งใจของกวีที่
ต้องการจะส่อื มายงั ผู้อ่าน
๒.๒ โครงเร่อื ง คอื การลาดบั เหตกุ ารณ์ทผ่ี ูแ้ ตง่ วางจุดม่งุ หมายไว้

๒.๓ ตัวละคร คือ ผมู้ ีบทบาทในเน้ือเร่ือง มีการแสดงออกดา้ นอารมณ์ และด้านศีลธรรม
๒.๔ ฉาก กวีจะใช้ฉากที่เป็นบ้านเมือง สภาพความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้ง
ธรรมชาตติ า่ งๆ มาสร้างเปน็ เหตุการณใ์ นเร่อื ง

๓. กลวิธีกำรแต่ง กวีจะใช้กลวิธีการแต่งต่างๆ เพื่อทาให้วรรณคดีนั้นๆมีคุณค่า น่าสนใจหรือ
ชวนให้ผ้อู ่านอยากตดิ ตามอ่าน เกดิ ความประทับใจ

กำรวจิ ำรณ์วรรณคดี

ต้องพิจารณาสานวนโวหารถ้อยคาท่ีผู้เขียนใช้เพื่อถ่ายทอดเร่ืองราวว่ามีความถูกต้องชัดเจน
สื่อความคิดให้เห็นเด่นชัดหรือไม่ ภาษาที่ใช้แนบเนียน สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมตัวละครได้ดี
เพียงใด

พนิ ิจคณุ ค่ำวรรณคดี | ๒๗

บรรณำนุกรม

กุหลาบ มลั ลิกะมาส. ความรูท้ ว่ั ไปเก่ยี วกับวรรณคดีไทย. พมิ พค์ รั้งที่ ๑๔. กรงุ เทพฯ :
มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๔๗.

กุหลาบ มลั ลิกะมาส. วรรณคดวี จิ ารณ.์ พมิ พค์ ร้ังท่ี ๑๔. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลยั รามคาแหง,
๒๕๕๒.

ขจร สขุ พานิช. ประวตั ศิ าสตรไ์ ทย พ.ศ.๑๖๐๐-๒๓๑๐. กรงุ เทพฯ : ศกิ ษติ สยาม, ๒๕๒๑.
ธนติ อยู่โพธ์ิ. เจา้ ฟา้ ธรรมธเิ บศร.์ พระประวตั แิ ละพระนพิ นธ์ร้อยกรอง. กรงุ เทพฯ : ศิลปาบรรณา

คาร, ๒๕๑๓.
รัญจวน อินทรกาแหง. การเลือกหนงั สือและโสตนทัศนวัสดุ. กรงเทพฯ : มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง,

๒๕๑๕.
ราชบัณฑติ ยสถาน. พจนานกุ รมศพั ท์วรรณกรรม : ภาพพจนโ์ วหารและกลการประพันธ.์ กรงุ เทพฯ

: ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๓๙.
รืน่ ฤทัย สัจจพนั ธ.์ สุนทรียรสแหง่ วรรณคด.ี กรงุ เทพฯ : ณ เพชร, ๒๕๔๙.
ลา ลูแบร์. ราชอาณาจกั รสยาม.แปลโดยสันต์ ท.โกมลบตุ ร.พระนคร : กา้ วหนา้ , ๒๕๑๐.
วทิ ย์ ศิวศริ ยิ านนท.์ วรรณคดีและวรรณคดีวจิ ารณ์. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่ง

ประเทศไทย, ๒๕๑๔.
วภิ า กงกะนันทน์. วรรณคดีศกึ ษา. กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นาพานชิ , ๒๕๒๒.
สง่า วงค์ไชย. ภูมิปัญญำทำงภำษำกับกำรสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๕๕. (เอกสารอัด
สาเนา).
สมศกั ด์ิ อัมพรวิสทิ ธ์โิ สภา และธญั ลักษณ์ จยุ้ เรอื ง. ฉนั ทลักษณ์ ม. ๑-๒-๓. กรุงเทพฯ : ภมู ิบณั ฑติ , ๒๕๕๗.
สนั ต์ สุวทันพรกูลและคณะ. วรรณคดสี มยั รตั นโกสนิ ทร์. กรงุ เทพฯ : พัฒนาวิชาการ, ๒๕๕๓.
ศิลปากร, กรม. วรรณกรรมสมยั กรุงศรอี ยุธยา เลม่ ๒. กรงุ เทพฯ : สานักวรรณกรรมและ

ประวัตศิ าสตร์, ๒๕๔๕.
ศลิ ปากร, กรม. ศลิ าจารกึ สโุ ขทยั หลกั ท่ี ๑. พิมพ์ครง้ั ท่ี ๑๕. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลยั

รามคาแหง, ๒๕๔๗.
สิทธา พนิ ิจภูวดล. วรรณกรรมสโุ ขทยั . กรงุ เทพฯ : โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั รามคาแหง, ๒๕๑๕.
เสถยี ร โกเศศ (พระยาอนมุ านราชธน). การศกึ ษาวรรณคดตี ามแนววรรณศลิ ป์. กรงุ เทพฯ :

โรงพมิ พ์ร่งุ พัฒนา, ๒๕๑๕.


Click to View FlipBook Version