The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กรมส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunkrupeem, 2019-11-28 03:29:32

กรมส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

กรมส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

การส่งเสรมิ

วิถีประชาธปิ ไตย

ผา่ นกจิ กรรมค่าย

สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน

พ.ศ. 2554

การส่งเสรมิ วถิ ปี ระชาธปิ ไตย
ผา่ นกิจกรรมค่าย

สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน

พ.ศ. 2554



คำนำ





การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีแนวคิดหลักสำคัญ คือ หลักสิทธิเสรีภาพ หลักความ
เสมอภาค หลักนิติธรรม หลักการใช้เหตุผล และหลักการยอมรับเสียงข้างมากที่ต้องเคารพสิทธิของ
เสียงข้างน้อย ประเทศไทยมีระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมขุ คนไทยจึงต้องเขา้ ใจเรอ่ื งสิทธเิ สรีภาพใหถ้ ่องแท้ จงึ จะสามารถดำรงตนเป็นพลเมอื งดี
ในระบอบประชาธิปไตยได้ ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ก็ได้
กำหนดให้นักเรียนทุกคนมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความ
เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเปน็ พระประมขุ จงึ มคี วามจำเปน็ ทจ่ี ะตอ้ งสรา้ งความตระหนกั ความรู้ ความเขา้ ใจ เรอ่ื งประชาธปิ ไตย

ให้แก่นกั เรยี นและสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตตามวิถีชีวิตประชาธปิ ไตย

ค่ายเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หนึ่งที่จัดข้ึนในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน

เพื่อพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริม

การเรียนรู้ที่มีบรรยากาศ กิจกรรม กระบวนการ สถานที่ และสถานการณ์ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียน

ได้เรียนรู้ตลอดเวลา และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซ่ึงกระบวนการเหล่าน้ี ส่งเสริมให้ผู้เรียน

เกดิ การเรียนรไู้ ดอ้ ย่างสงู สุดทง้ั เชงิ ปรมิ าณและคณุ ภาพ เหน็ คณุ คา่ ของการเป็นทมี พฒั นาบุคลกิ ภาพ
พัฒนาคุณลักษณะทางสังคม เสริมสร้างทักษะการส่ือสาร รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นและ

เห็นคุณค่าของตนเอง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะท่ีสามารถนำมาใช้ในการประพฤติปฏิบัติตน

ทงั้ ในครอบครัว ในโรงเรยี น ในชุมชนตามวิถีประชาธิปไตย

เอกสารการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย เป็นเอกสารท่ีนำเสนอแนวทางใน

การจดั กจิ กรรมการเรยี นรเู้ กยี่ วกบั ประชาธปิ ไตย โดยใชก้ จิ กรรมคา่ ยเปน็ หลกั ซงึ่ ประกอบดว้ ยหลกั การ
แนวคดิ และกจิ กรรมทส่ี ง่ เสรมิ การเรยี นรแู้ ละการดำเนนิ ชวี ติ ตามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย ทคี่ รสู ามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมได้ท้ังการเรียนการสอนในห้องเรียนและกิจกรรมค่ายที่เก่ียวข้องกับ
ประชาธิปไตยตามบริบทของโรงเรียน เอกสารเล่มน้ีได้รับความร่วมมือในการจัดทำจากคณะทำงาน
วิทยากรค่ายสร้างสรรค์ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และนักวิชาการอิสระ จึงขอขอบคุณไว้

ณ โอกาสน
้ี




(นายชินภัทร ภมู ิรตั น)

เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน



สารบัญ
เรือ่ ง หนา้

คำนำ 1
สารบัญ 4
ส่วนที่ 1 บทนำ 6
ส่วนท่ี 2 การสง่ เสริมวิถีชีวิตประชาธปิ ไตย
แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรียนร้ปู ระชาธปิ ไตย 7

หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 กับการสง่ เสริม 11
ประชาธิปไตย 15
20
ค่ายเพ่อื การเรยี นรู้ 20
21
กจิ กรรมค่ายกบั มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตัวชี้วัดตามหลักสูตร 22
สว่ นท่ี 3 การสง่ เสรมิ วถิ ีชวี ิตประชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย 23
26
3.1 กจิ กรรมนำสู่ประชาธปิ ไตย 28
กจิ กรรมสนกุ กบั เกมหรรษา (แลน่ เรอื ไททานิค) 30
32
กจิ กรรมศลิ ปะสวยสดใส 58
63
กจิ กรรมประชาธปิ ไตยบนต้นไม้ 65
67
กจิ กรรมกา้ วไกลกบั ICT ล้ำหน้า 69
70
กิจกรรมคนเกง่ การสื่อสาร

กิจกรรมสร้างสมั พันธผ์ ่านนทิ าน
3.2 กจิ กรรมบทบาทสมมุติ “เวทีประชาคม” (กรณสี วนส้ม)
3.3 กจิ กรรมถนนประชาธปิ ไตย

กิจกรรมเรยี นรูป้ ระชาธิปไตยจากการตีกอล์ฟ

กจิ กรรมทอยทาย

กจิ กรรมพลเมอื งดตี ามวถิ ีประชาธิปไตย

กิจกรรมปจุ ฉาวิสจั ฉนาประชาธปิ ไตย

กจิ กรรมดดี ไข่

สารบญั (ตอ่ )

เร่ือง หนา้

กิจกรรมกอบกูป้ ระชาธปิ ไตย 71
กิจกรรมรอ้ ยดวงใจสู่วิถีประชาธปิ ไตย 72
กิจกรรมบนหนทางวถิ ีประชาธิปไตย 73
กจิ กรรมปรศิ นาประชาธปิ ไตย 74
กิจกรรมสันตบิ ิงโก 75
กจิ กรรมประชาธปิ ไตยสื่อสาร (สอยดาว) 77
กิจกรรมบอลน้อยรอ้ ยใจ 78
กิจกรรม The Star ประชาธปิ ไตย 79
กจิ กรรมรำวงประชาธิปไตย 80
กิจกรรมมหาวิทยาลยั ประชาธิปไตย 81
กิจกรรมศิลปประชาธิปไตย รวมใจสมานฉันท์ 82
กิจกรรมประชาธปิ ไตยกับไข่ไดโนเสาร์ 83
กจิ กรรมเป้าหมายประชาธปิ ไตย...คุณจะเลือกใคร 84
กจิ กรรมประภาคารประชาธปิ ไตย 85
กิจกรรมต้นไมป้ ระชาธิปไตย 86
กิจกรรม Shop ประชาธปิ ไตย 87
กจิ กรรมลลี าประชาธิปไตย 88
กจิ กรรมห่วงหาประชาธิปไตย 89
90
3.4 กจิ กรรมสันติศกึ ษา 92
กจิ กรรมแจกันดอกไม้ 2 แบบ 94
กิจกรรมรกั ขา้ มคลอง 97
กจิ กรรมเด็กบนทางรถไฟ 100
102
3.5 ตวั อยา่ งตารางอบรมปฏบิ ตั กิ ารการจดั กจิ กรรมประชาธปิ ไตยสำหรบั นกั เรยี น 103
บรรณานุกรม
คณะผูจ้ ัดทำ

 
ส่วนท่ี 1 บทนำ




ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเปน็ ประมขุ ยดึ หลกั การสำคญั 5 ประการ คอื หลกั สทิ ธเิ สรภี าพ หลกั ความเสมอภาค หลกั นติ ธิ รรม
หลักการใช้เหตุผล และหลักการยอมรับเสียงข้างมากท่ีต้องเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย วิถ

การดำเนินชีวิตประชาธิปไตยของประชาชนในสังคม ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข็มแข็งของ
ระบอบประชาธิปไตย ซ่ึงรปู แบบของวถิ ปี ระชาธปิ ไตยนั้นข้ึนอยู่กบั การบ่มเพาะวธิ คี ิดและวถิ ีชวี ิตของ
คนในสังคมท่ีถ่ายทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการหล่อหลอมทางสังคม
ได้แก่ ครอบครัว ครู กลุ่มเพ่ือน และส่ือมวลชน จนกลายเป็นวิถีประชาธิปไตย การดำเนินชีวิตของ
บุคคลในสังคม โดยยึดหลักประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกัน  รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
เคารพในกติกาที่ร่วมกันสร้าง มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม พลเมืองที่มี
คุณลักษณะท่ีสำคัญ คือ เป็นผู้ท่ียึดม่ันในหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตาม
กฏหมาย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีการช่วยเหลือเกื้อกูล ซ่ึงจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและ
ประเทศชาตใิ ห้เปน็ สงั คมและประเทศประชาธปิ ไตยอยา่ งแท้จริงตามหลกั การประชาธปิ ไตย

การศึกษามีส่วนสำคัญในการพัฒนาให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย และหลักสูตรแกนกลาง
การศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551 มงุ่ พฒั นาผู้เรยี นทุกคนใหม้ ีความสมบรู ณ์ทง้ั ทางดา้ นร่างกาย
ความรู้ คณุ ธรรม มีจติ สำนกึ ในความเป็นพลเมอื งไทยและพลเมอื งโลก ยดึ มน่ั ในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีความรู้และทักษะพ้ืนฐานและเจตคติที่
จำเป็นต่อการศึกษา การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

บนพ้ืนฐานความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งตามมุมมอง
ของหลายๆ คนยังเห็นว่า การจัดการเรียนรู้เก่ียวกับประชาธิปไตยในระบบการศึกษาของไทยยังมี
จุดอ่อนเพราะยังยึดติดกับเนื้อหาสาระตามท่ีหลักสูตรกำหนดมากกว่าการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมท
่ี
เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยควรมี
การปลูกฝังต้ังแต่เด็ก โรงเรียนเป็นสถานที่จัดการเรียนรู้จึงมีหน้าท่ีโดยตรงในการส่งเสริมและจัดการ
เรียนรู้ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย โรงเรียนจึงควรปลูกฝังด้วยการให

ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติในชีวิตจริง พร้อมทั้งนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ใน
โรงเรียนเพ่ือพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าท่ี
และมีวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข อันเป็นการเตรียม
ความพรอ้ มให้ผู้เรยี นเปน็ ผู้ใหญ่ท่ีดีในอนาคตและเป็นพืน้ ฐานสำคญั ในการนำไปใช้ในสงั คมและชุมชน

2
ในหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 มเี นอ้ื หาเกยี่ วกบั ประชาธปิ ไตย

ปรากฏไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ซงึ่ กลุ่มสาระการเรียนรูน้ ชี้ ว่ ยให้

ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันใน

สังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนา
เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ เกิดความเข้าใจในตนเองและผู้อ่ืน มีความ

อดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนิน

ชวี ติ เปน็ พลเมอื งดขี องประเทศชาติ และสงั คมโลก เนอื้ หาในกลมุ่ สาระการเรยี นรสู้ งั คมศกึ ษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ท่ีมีความเช่ือมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกัน

อย่างหลากหลาย เพ่ือช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความ
รบั ผดิ ชอบ มคี วามรู้ ทกั ษะ คณุ ธรรม และคา่ นยิ มทเ่ี หมาะสม โดยไดก้ ำหนดสาระตา่ งๆ ไว้ 5 สาระ (สำนกั งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551) คือ สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม สาระหน้าท่ี
พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต สาระเศรษฐศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์ และสาระ

ภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต มีเน้ือหาเกี่ยวกับระบบ
การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย

ทรงเปน็ ประมุข ลักษณะและความสำคัญ การเปน็ พลเมอื งดี ความแตกต่างและความหลากหลายทาง
วัฒนธรรม คา่ นยิ ม ความเช่อื ปลูกฝงั คา่ นิยมด้านประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ
สทิ ธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชวี ติ อย่ใู นสังคมไทยและสังคมโลก

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตย สำนักคณะกรรมการการเลือกต้ัง และ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (2551) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้สอนมี
บทบาทหน้าที่ในการเอ้ืออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
เนน้ ผเู้ รยี นเปน็ สำคญั เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจ มพี ฤตกิ รรมหรอื วถิ ชี วี ติ ประชาธปิ ไตย มเี จตคติ
ค่านิยม และศรัทธาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขน้ัน
จำเป็นต้องใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมท่ีเหมาะสมกับวัยวุฒิของผู้เรียนในรูปแบบท่ี
หลากหลาย

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่เน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของ

การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยน้ัน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะท่ีจะนำไปสู่การมีทัศนคติ
ค่านิยม เจตคติที่ดีต่อวิถีประชาธิปไตย โดยผู้สอนให้โอกาสและเวลากับผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมกับ
กิจกรรม และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยท่ีเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
ประชาธิปไตยและเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยน้ัน ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน
พฤติกรรมประชาธิปไตยในสังคมอย่างจริงจัง ได้เแก่ การทำงานเป็นกลุ่ม มีส่วนร่วมในกิจกรรม
ประชาธิปไตย เข้ารว่ มกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สว่ นรวม


การส่งเสรมิ วถิ ีประชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและ
ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียนจึงได้จัดทำ “เอกสารการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่าน
กิจกรรมค่าย” เป็นเอกสารท่ีนำเสนอแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
ผา่ นกจิ กรรมคา่ ยเรยี นรู้ ซง่ึ เอกสารนไ้ี ดเ้ รยี บเรยี งและถอดบทเรยี นมาจากการจดั กจิ กรรมประชาธปิ ไตย

ท่ีสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจัดกิจกรรมภายใต้โครงการอบรมปฏิบัติการการจัดกิจกรรม
ประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่ายเรียนรู้ ผู้เข้าอบรมเป็นครูจากโรงเรียนแกนนำประชาธิปไตย โดยใช้
กิจกรรมค่ายเป็นหลัก ซ่ึงประกอบด้วย หลักการ แนวคิด และกิจกรรมท่ีส่งเสริมการเรียนรู้และ

การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยท่ีครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมได้ท้ังการเรียน
การสอนในห้องเรยี นและกจิ กรรมค่ายทเี่ กย่ี วขอ้ งกับประชาธปิ ไตยได้ ตามบริบทของโรงเรยี นได














































การส่งเสริมวิถปี ระชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

สว่ นที่ 2 การส่งเสรมิ วถิ ีชีวิตประชาธิปไตย





กรมส่งเสริมการปกครองสว่ นท้องถ่ิน (2551) ได้กลา่ วถงึ วถิ ีชีวิตประชาธิปไตยวา่ หมายถึง แนวทาง
การดำรงชวี ติ ประจำวนั และการดำรงตนในสงั คมของประชาชนในประเทศทป่ี กครองโดยระบอบประชาธปิ ไตย
การดำเนินวิถชี วี ติ ประชาธปิ ไตยนั้น จะตอ้ งยึดถอื หลักการ ดังนี

1. การรูจ้ กั ใช้เหตผุ ล การตดั สนิ ใจจะทำอะไรนั้นตอ้ งยดึ หลักเหตผุ ลมากกวา่ ท่จี ะใช้ ความรสู้ กึ หรือ
อารมณส์ ว่ นตัว จงึ จะสามารถอยรู่ ว่ มกันไดอ้ ยา่ งสงบสขุ เกิดความเรียบร้อยและเจริญก้าวหนา้

2. ใช้หลักความสมัครใจ ระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่อาศัยความสมัครใจร่วมกัน
ของคนส่วนใหญ่มากกว่าท่ีจะใช้การบังคับ ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็เช่นกัน การท่ีจะให้ใครปฏิบัติ
อย่างไรน้ัน ควรช้ีถึงเหตุผลความจำเป็นให้เข้าใจและสมัครใจที่จะทำมากกว่าท่ีจะบังคับ ซ่ึงการยึดหลัก

ความสมคั รใจจะมีประโยชน์ คือ เปน็ การยอมรับในความมเี หตุผลและมสี ิทธิทจี่ ะเลอื กกระทำหรอื ไมท่ ำอะไร
ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ การสนับสนุนต่างๆ อย่างเต็มใจและได้ผลที่ดีกว่าการบังคับ ขจัดข้อขัดแย้ง
การตอ่ ตา้ นต่างๆ ให้หมดไปได้

3. มนี ำ้ ใจนกั กฬี า การรแู้ พ้ รชู้ นะ รอู้ ภยั ซง่ึ เปน็ หลกั การทส่ี ำคญั ในการดำเนนิ วถิ ชี วี ติ ประชาธปิ ไตย
การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ จะต้องกระทำตามความเห็นของคนส่วนใหญ่ ซึ่งก็หมายความว่า ในเรื่องที่มีผู้ที่มี
ความเห็นแตกต่างกันแล้วย่อมมีฝ่ายหน่ึงที่สมหวังและอีกฝ่ายหน่ึงที่ผิดหวัง ฝ่ายที่สมหวังหรือฝ่ายข้างมาก
น้ันก็ต้องไม่เยาะเย้ยถากถางอีกฝ่ายหน่ึง แต่จะต้องให้ความเห็นใจ และพร้อมที่จะรับฟังปัญหาของอีกฝ่าย
เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ไขในโอกาสต่อไป ในขณะเดียวกันฝ่ายที่ไม่สมหวัง ก็ต้องยอมรับในความเห็นของ

คนสว่ นใหญแ่ ละพรอ้ มทีจ่ ะให้ความสนบั สนนุ รว่ มมอื

4. ปฏิบัติตามกฏหมาย ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถือว่ากฏหมาย ท่ีบังคับใช้อยู่
เป็นกฏหมายท่ีคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ เพราะหากคนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบกับกฏหมายใดๆ ก็สามารถท่ี
จะผลักดันให้มีการแก้ไขกฏหมายน้ันๆ โดยอาศัยกลไกทางการเมืองการปกครองต่างๆ ได้ ดังนั้น ทุกคนจึง
ต้องปฏบิ ตั ิตามกฏหมายเพอื่ ความสงบเรยี บร้อยของบา้ นเมอื ง

5. ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งแสดงออกโดยปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน ให้ความสำคัญ
ต่อทุกคน ในการที่จะรับฟังความเห็นความต้องการของเขา ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีความเป็นกลางใน

การตดั สนิ ปญั หาต่าง ๆ โดยไม่นำความสัมพนั ธส์ ว่ นตวั มาใช้ในการพจิ ารณาปัญหาของส่วนรวม



ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (http://www.dailynews.co.th) กล่าวว่า ...หัวใจสำคัญ คือ อบรม
สั่งสอนความเป็นประชาธิปไตยด้วยการฝึกฝน ให้ผู้เรียนรู้จักเคารพผู้อ่ืน เคารพกติกา และ

เร่ิมต้นท่ีตัวเอง เพราะการศึกษาเพ่ือสร้างความเป็นพลเมืองหรือประชาธิปไตยน้ัน ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของ
ความรู้ แต่ตอ้ งเป็นเรื่องของการปฏิบตั ิดว้ ย จงึ ต้องเป็นเรอ่ื งทต่ี ้องฝกึ ฝนให้คนมองคนเสมอภาคกนั ใช้กติกา
และเคารพกติกาแก้ปัญหา ฝึกให้อดทนต่อสิ่งที่แตกต่างไปจากเรา ให้ทุกคนปกครองกันเองและอยู่ร่วมกัน

5
สังคมไทยขาดการเคารพผู้อื่นและเคารพกติกา เราไม่เคยฝึกคนไทยเรื่องน้ี จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง
แตกแยก และสุดท้ายตัดสินปัญหาโดยใช้กำลัง ดังน้ัน วิชาหน้าท่ีพลเมืองต้องนำกลับมาสอนกันใหม่
และต้องขยายจัดการเน้ือหาให้มากกว่าตำราทฤษฎี เพราะที่ผ่านมาเราสอนแค่สิทธิ หน้าที่ตาม
ประชาธิปไตย มีการเรียกร้อง แต่เราไม่ได้พูดถึงการมีความรับผิดชอบเลย ต้องเป็น

กระบวนการสอนแบบปฏิบตั ิ ตัง้ แตใ่ นหอ้ งเรยี น ตัง้ แต่เดก็ อนุบาลจนถึงระดบั ผู้ใหญ่ รวมถึงในระบบ
การศึกษานอกโรงเรียนด้วย ในขณะท่ีสมพงษ์ จิตระดับ (http://www.dailynews.co.th) เห็นว่า
การหลอ่ หลอมประชาธิปไตยในระบบการศกึ ษานน้ั ครูต้องทำให้เดก็ มโี อกาสอภิปราย โต้ตอบ แสดง
ความคิดเห็นอย่างอิสระ ซ่ึงเป็นวิถีทางประชาธิปไตย โดยครูจะต้องคอยควบคุมไม่ให้เด็กแสดง

ความคดิ เหน็ ไปเรอ่ื ยเปอื่ ย ไรท้ ศิ ทาง ตอ้ งทำใหเ้ ดก็ รจู้ กั คดิ มากกวา่ เพยี งการคดิ ตามครเู ทา่ นนั้ การสอนใน
ระดับอนุบาลและประถมศึกษาครูควรสอนประชาธิปไตยที่มุ่งเน้นกระบวนการปฏิบัติให้มาก ไม่เน้น
เนื้อหา ให้เด็กได้เรียนรู้จากส่ือต่างๆ เช่น เด็กอนุบาลควรได้เรียนรู้เร่ืองของความรับผิดชอบ จาก

การเล่านิทาน การเล่น การแสดงบทบาทสมมุติเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และ ซึมซับ เนื่องจากความเป็น
ประชาธิปไตยในสังคมห้องเรียนของเด็กไทยมักจะติดอยู่ใน เรื่องแค่การเลือกหัวหน้าห้องหรือ

กรรมการโรงเรียน มีการเรียนรู้ประชาธิปไตยแค่เน้ือหาในตำรา ซ่ึงเป็นการเรียนรู้ประชาธิปไตย

ภายใตค้ ำสงั่ ของครูประจำช้นั ซ่งึ ขดั แย้งกับความเป็นระบบประชาธปิ ไตยในโลกความจริง

การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย มีแนวทางการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ โดย
การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครอง
สว่ นทอ้ งถ่ิน ดังนี้ (กรมสง่ เสรมิ การปกครองสว่ นท้องถ่นิ . 2551)


1. การส่งเสริมประชาธิปไตยในครอบครัว โดยสมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่ปรองดอง
กันเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ในฐานะท่ีเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และเป็นผู้รับผิดชอบต่อครอบครัว พ่อแม่
ยอมรับฟังความเห็น ความต้องการของลูก ตัดสินปัญหาต่างๆ โดยใช้เหตุผลมากกว่าที่จะใช้อารมณ์
ปรึกษาหารือกันในเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้นั้น พ่อแม่ลูกรู้จักหน้าท่ีของตนเอง และปฏิบัติ
หนา้ ทขี่ องตนด้วยความรบั ผดิ ชอบ เต็มใจ


2. การส่งเสรมิ ประชาธิปไตยในโรงเรียน โดยสอนให้นกั เรยี นร้จู ักการทำงานเป็นกลุม่ กระต้นุ
และเปิดโอกาสให้นักเรียนกล้าท่ีจะแสดงความคิดเห็นในเร่ืองต่าง ๆ ฝึกหัดให้นักเรียนยอมรับฟัง
ความเห็นและเหตุผลของผู้อ่ืน พยายามโน้มน้าวใจให้นักเรียนเข้าใจถึงเหตุผลในกฏระเบียบต่าง ๆ
มากกว่าท่ีจะใช้อำนาจบังคับแต่เพียงอย่างเดียว พยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีเปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้แสดงออก และมีความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกหัดให้นักเรียนยอมรับในข้อตกลง

ร่วมกนั ของกลมุ่ และปฏิบตั ติ ามหนา้ ท่ีทีไ่ ดร้ ับมอบหมาย


การส่งเสริมวถิ ปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย

6
3. การส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน โดยร่วมในการประชุมหรือกิจกรรมของชุมชน

อย่างเตม็ ใจ รบั ฟังความคิดเหน็ ของทุกคน และไมถ่ ือโทษโกรธเคืองกันแมจ้ ะมคี วามเห็นขดั แย้งกนั ตัดสินใจโดย
ใชเ้ หตผุ ลมากกวา่ อารมณ์ มีการปรึกษาหารอื กนั ในขณะทำงาน รว่ มกนั แกไ้ ขปัญหาข้อบกพรอ่ งตา่ งๆ
มากกว่าที่จะคอยซ้ำเติม เคารพกฏระเบียบของชุมชนและกฏหมาย ติดตามข่าวสารและแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ตัดสินปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็นอย่าง
กวา้ งขวาง ไมค่ วรรบี รอ้ นใหม้ ีการลงมติ 




แนวทางการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ประชาธิปไตย




สำนกั คณะกรรมการการเลือกตง้ั และสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน (2551)
ไดเ้ สนอแนะการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน ดงั น ้ี

บทบาทของผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนท่ีมีบทบาทหน้าท่ีในการเอ้ืออำนวย

ให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องมีทัศนคติ และ
พฤตกิ รรมเปน็ ประชาธิปไตย ได้แก่ เคารพในความคดิ เหน็ ของผู้เรยี นทกุ คน ยอมรบั ในความแตกตา่ ง
ที่หลากหลายของผู้เรียน ท้ังด้านร่างกาย บุคลิกภาพสติปัญญาและอารมณ์ รู้จักประสานประโยชน์
โดยถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นท่ีต้ัง ใช้เหตุผลและปัญญาในการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง

รวมท้ังควรได้สังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กท่ีจำเป็นต้องแก้ไขหรือพัฒนาคุณลักษณะ

ประชาธิปไตยในขณะที่ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้หรือในการดำเนินชีวิต ทั้งใน/นอกห้องเรียนและใน
โรงเรียนด้วย เพ่ือเสริมสร้างพัฒนาการประชาธิปไตยให้ผู้เรียนหรือนำมาใช้ ปรับปรุงแก้ไขกิจกรรม
การเรียนรูใ้ หม้ ีประสทิ ธภิ าพเพม่ิ ขึน้

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนม

ความรูค้ วามเข้าใจ มีพฤติกรรมหรอื วถิ ีชีวติ ประชาธิปไตย มเี จตคติ คา่ นยิ ม และศรทั ธาการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขน้ัน จำเป็นต้องใช้วิธีการจัดกิจกรรม

การเรยี นรแู้ บบมสี ว่ นรว่ มทเ่ี หมาะสมกบั วยั วฒุ ขิ องผเู้ รยี นในรปู แบบทหี่ ลากหลาย ไดแ้ ก่ การเลน่ เกมและ
การสังเกตการเล่นตามกฎกติกา การฟังนิทานและร่วมแสดงความคิดเห็น แสดงบทบาทสมมติและ
รว่ มอภิปราย วาดภาพ เล่าเรอ่ื งจากภาพ เขยี นบรรยายโดยเสรี สร้างแผนผงั ความคิด จดั นิทรรศการ
ประกวดผลงาน สำรวจสภาพปัจจุบนั ของห้องเรยี น โรงเรยี น ตลาด ชมุ ชน ท้องถ่ินและประเทศ

การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การศึกษาแหล่งเรียนรู้ การทำโครงงาน การศึกษาเอกสารและ
ตอบประเดน็ คำถาม การวิพากษ์ การวจิ ารณข์ ่าวสารข้อมูล และการฝกึ ปฏิบตั ิ ฝกึ การวเิ คราะหจ์ าก
สถานการณ์ตา่ งๆ


การส่งเสรมิ วิถปี ระชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

7

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
และทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียนในทุกระดับช้ันได้เข้าใจระบบการเมือง

การปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดม่ัน ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซ่ึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วิเคราะห์ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาหรือ

แนวคิดของศาสนาท่ีตนนับถือตามที่กำหนด โดยเฉพาะในสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และ

การดำเนินชีวิตในสังคมนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองด ี

มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ
สังคมโลกอย่างสันติสุข ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน
เห็นคุณค่าใน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดีตามวิถี
ประชาธปิ ไตย




หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551

กบั การส่งเสริมประชาธิปไตย


 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้เป็น
มนุษย์ท่ีมีความสมดุลท้ังด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น
พลโลก ยดึ ม่นั ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุขมคี วามรู้
และทักษะพื้นฐาน รวมท้ัง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอด
ชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
เต็มตามศักยภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ และได้กำหนดเป็นจุดหมายเพ่ือให้เกิดกับผู้เรียน

เมอ่ื จบการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน ดงั น้ี


1. มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม และคา่ นยิ มทพ่ี งึ ประสงค์ เหน็ คณุ คา่ ของตนเอง มวี นิ ยั และปฏบิ ตั ติ น
ตามหลกั ธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนบั ถือ ยดึ หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง


2. มคี วามรคู้ วามสามารถในการสอื่ สาร การคดิ การแกป้ ญั หา การใชเ้ ทคโนโลยแี ละมที กั ษะชวี ติ

3. มสี ขุ ภาพกายและสุขภาพจิตท่ดี ี มสี ขุ นสิ ยั และรักการออกกำลังกาย

4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดม่ันในวิถีชีวิตและ

การปกครองตามระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5. มจี ติ สำนกึ ในการอนรุ กั ษว์ ฒั นธรรมและภมู ปิ ญั ญาไทย การอนรุ กั ษแ์ ละพฒั นาสง่ิ แวดลอ้ ม

มีจติ สาธารณะที่มงุ่ ทำประโยชน์และสร้างสง่ิ ทด่ี ีงามในสงั คม และอยู่รว่ มกันในสังคมอย่างมีความสุข

ในหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 มเี นอ้ื หาเกย่ี วกบั ประชาธปิ ไตย

การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

8
ปรากฏไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดกรอบ
โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมไว้ในชั้นประถมศึกษา
จำนวน 80 ช่ัวโมงต่อปี มัธยมศึกษาตอนต้น 120 ช่ังโมงต่อปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย

240 ชัว่ โมง และเพม่ิ ในสว่ นของวชิ าประวัติศาสตรอ์ ีก 40 ชัว่ โมง การเรียนรู้ในกลมุ่ สาระการเรียนรู้
สังคมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรมชว่ ยให้ผู้เรียนมคี วามรู้ ความเขา้ ใจ การดำรงชีวติ ของมนษุ ยท์ ง้ั ใน
ฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากร
ท่ีมีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนาเปล่ียนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ

เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกล้ัน ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม
สามารถนำความรไู้ ปปรบั ใช้ในการดำเนินชวี ิต เปน็ พลเมอื งดขี องประเทศชาติ และสงั คมโลก เนอ้ื หา
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ท่ีมี

ความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพ่ือช่วยให้สามารถปรับตนเองกับ
บริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยม

ที่เหมาะสม โดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ 5 สาระ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,
2551) คอื สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม สาระหนา้ ท่พี ลเมอื ง วัฒนธรรม และการดำเนินชวี ติ
สาระเศรษฐศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะในสาระหน้าท่ีพลเมือง
วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต มีเน้ือหาเกื่ยวกับระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสำคัญ

การเปน็ พลเมอื งดี ความแตกตา่ งและความหลากหลายทางวฒั นธรรม คา่ นยิ ม ความเชอื่ ปลกู ฝงั คา่ นยิ ม
ดา้ นประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่างใน
สังคมไทยและสังคมโลก

สาระที่เกี่ยวกับเร่ืองประชาธิปไตยที่นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 คือ

สาระที่ 1 ศาสนา ศลี ธรรม จรยิ ธรรม


มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเขา้ ใจประวตั ิ ความสำคญั ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาท่ีตนนับถือและศาสนาอ่ืน มีศรัทธาท่ีถูกต้อง ยึดม่ัน และปฏิบัติตามหลักธรรม

เพ่ืออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปรากฏในตัวชี้วัดชั้นปี มัธยมศึกษาปีท่ี 4-6 คือ วิเคราะห์ลักษณะ
ประชาธิปไตยในพระพทุ ธศาสนาหรอื แนวคิดของศาสนาทต่ี นนับถือตามทกี่ ำหนด 






การส่งเสริมวถิ ีประชาธปิ ไตยผ่านกิจกรรมค่าย

9
สาระท่ี 2 หน้าท่ีพลเมือง วฒั นธรรม และการดำเนินชวี ิตในสงั คม


มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏบิ ัติตนตามหนา้ ท่ขี องการเปน็ พลเมอื งดี มคี ่านิยมที่ดงี าม
และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลก

อยา่ งสันติสขุ ปรากฏในตัวชวี้ ดั


ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะ
สมาชิกท่ีดขี องชุมชน

ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2 เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ
เสรภี าพ หน้าทใ่ี นฐานะพลเมืองดี ตามวิถปี ระชาธิปไตย

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดม่ัน ศรัทธา

และธำรงรักษาไว้ซ่ึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ท์ รงเป็นประมขุ

ช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและทำกิจกรรมในครอบครัว
และโรงเรยี นตามกระบวนการประชาธิปไตย

ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 3 ระบบุ ทบาทและหนา้ ทข่ี องสมาชกิ ชมุ ชนในการมสี ว่ นรว่ ม
กิจกรรมตา่ ง ๆ ตามกระบวนการประชาธปิ ไตย

ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 อธิบายอำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบ
ประชาธิปไตย อธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง และ
อธิบายความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข

ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2 เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ
เสรภี าพ หนา้ ทใี่ นฐานะพลเมอื งดี ตามวถิ ปี ระชาธิปไตย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบระบอบ การปกครองของไทยกับ
ประเทศอน่ื ๆ ทม่ี กี ารปกครองระบอบประชาธปิ ไตย และวเิ คราะหป์ ระเดน็ ปญั หา

ท่ีเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยและเสนอแนวทาง
แกไ้ ข

ชั้นมธั ยมศึกษาปที ี่ 4-6 วิเคราะห์ความสำคญั และความจำเป็นท่ตี อ้ งธำรงรกั ษาไว้
ซ่ึงการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษตั ริยท์ รงเป็นประมขุ

มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก
ความภมู ิใจและธำรงความเป็นไทย ปรากฏในตัวชว้ี ดั ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 วิเคราะหบ์ ทบาทของไทย
ในสมยั ประชาธปิ ไตย








การส่งเสริมวิถปี ระชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมคา่ ย

10
คุณภาพของผเู้ รยี นตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 กำหนด
คุณภาพของผู้เรยี นเมอื่ จบการศึกษาแตล่ ะระดับชั้น ดงั น ้ี


ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 คือ ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบข้อตกลง คำแนะนำ และ

ข้ันตอนต่างๆ และให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยความเต็มใจจนงานประสบความ
สำเร็จ และปฏิบัติตามสิทธขิ องตนเองและเคารพสิทธขิ องผอู้ น่ื ในการเล่นเป็นกลุม่

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คอื มคี วามรูเ้ รือ่ งภูมิปัญญาไทย ความภูมใิ จในความเป็นไทย
ประวัติศาสตร์ของชาติไทยยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปฏิบัติตามกฎ กติกา สิทธิ และหน้าที

ของตนเอง จนงานสำเร็จลุลว่ ง

ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปฏิบัติตามกฎ กติกา หน้าที่ความรับผิดชอบ เคารพสิทธิ

ของตนเองและผู้อื่น ให้ความร่วมมือในการแข่งขันกีฬาและการทำงานเป็นทีม

อย่างเป็นระบบ ด้วยความมุ่งมั่นและมีน้ำใจนักกีฬา จนประสบความสำเร็จตาม
เป้าหมายดว้ ยความชื่นชม และสนุกสนาน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แสดงความรับผิดชอบ ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม

กฎ กติกา สทิ ธิ หลกั ความปลอดภัยในการเขา้ รว่ มกิจกรรมทางกาย และเล่นกีฬาจน
ประสบความสำเรจ็ ตามเปา้ หมายของตนเองและทมี ใชก้ ระบวนการทางประชาสงั คม
สร้างเสรมิ ใหช้ มุ ชนเขม้ แข็งปลอดภัย และมวี ถิ ีชวี ติ ทีด่ ี

อีกทั้งในปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ได้กำหนดจุดเน้นใน

การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อขับเคลือนหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ไว้ดังน้ ี

1) ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น 5 กลุ่มสาระวชิ าหลกั เพิม่ ขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 4 2) นกั เรียน ชน้ั ประถม
ศึกษาปีท่ี 3 ทุกคนอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น 3) นักเรียนทุกคนมีความสำนึกใน ความรักชาติ

4) เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และ ด้านเทคโนโลยี

เพื่อพัฒนาสคู่ วามเป็นหน่งึ ในสองของภูมิภาคเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ 5) สรา้ งทางเลือกในการเรยี นรู้
ท่ีเน้นให้ประชากรวัยเรียน ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน
ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ 6) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการขยายผลสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ 7) นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ
เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 8) นักเรียน ครู และ
สถานศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 9) สถานศึกษาทุกแห่งผ่าน

การรับรองมาตรฐานการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายในท่ีเข้มแข็งและผ่านการรับรองจาก
การประเมินคณุ ภาพ การศึกษาภายนอก 10) สำนักงานเขตพื้นทกี่ ารศกึ ษาผ่าน การประเมินคุณภาพ
ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา นอกจากน้ียังมีจุดเน้นด้านคุณลักษณะ

ท่ีกำหนดไวใ้ นหลกั สตู รท่ีมีความเก่ยี วข้องสมั พันธก์ ับการเสรมิ สรา้ งวถิ ีประชาธิปไตย


การสง่ เสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

11
ทุกระดับชั้น ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง

ความมุ่งมน่ั ในการทำงาน รกั ความเปน็ ไทย และมจี ิตสาธารณะ จะเหน็ ได้ว่าสำนกั งานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพ้ืนฐานได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เน้น

ให้ทุกคนมีสำนึกในความรักชาติ มีความเป็นประชาธิปไตยตามระบอบการปกครองของประเทศแบบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุข




คา่ ยเพ่อื การเรยี นรู




ค่ายเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หน่ึงท่ีจัดขึ้นในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน

เพื่อพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนรวมถึงป้องกันและแก้ปัญหาของผู้เรียน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ี
ต้องการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง ส่งเสริมการเรียนรู้

ที่มีบรรยากาศ กิจกรรม กระบวนการ สถานที่ และสถานการณ์ท่ีสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ตลอดเวลา ทั้งที่เป็นการเรียนรู้ในระดับบุคคล (Individual) การเรียนรู้จากเพ่ือน (Peer learning)
การเรยี นรู้ในกลมุ่ (Cooperative Leaning) การเรียนรู้จากการสงั เกตและการเลียนแบบจากตวั แบบ
(Observational Learning and Modeling) และเปน็ การเรยี นรจู้ ากประสบการณจ์ รงิ (Experiential
Learning) ซ่ึงกระบวนการเหล่าน้ี ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสูงสุดทั้งเชิงปริมาณและ
คณุ ภาพ เห็นคุณค่าของการเป็นทีม พฒั นาบคุ ลกิ ภาพ พัฒนาคุณลักษณะทางสงั คม เสริมสรา้ งทักษะ
การสือ่ สาร รวมถึงการสรา้ งความเช่ือมน่ั และเห็นคุณคา่ ของตนเอง ความรู้ ทักษะ และคุณลกั ษณะ

ค่ายมีจุดประสงค์ท่ีสำคัญในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสมาชิกค่ายให้เต็ม
ศักยภาพของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด การสร้างบรรยากาศภายในค่ายหรือกล่ินอาย ของความรู้สึกที่
เด็กจะได้รับในระหว่างการเข้าค่ายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการ บรรยากาศค่ายมี
สว่ นส่งเสริมให้เกิดการเรียนรทู้ ่ีสอดคล้องกบั theme ค่าย ความสัมพนั ธ์อนั ดี ระหวา่ งเพื่อนรว่ มคา่ ย
ซ่ึงส่งผลโดยตรงต่อความประทับใจโดยรวมต่อกิจกรรมท้ังหลายในค่าย(สำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา, 2552) นอกจากน้ีการจัดค่ายมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวค่ายแต่ละคนได้ร่วมกิจกรรม

ด้วยความสนุกในสภาพแวดล้อมธรรมชาติท่ีปลอดภัยและการดูแลท่ีถูกต้อง กระตุ้น ส่งเสริมให้เกิด
ความรู้และทักษะกิจกรรมต่างๆ ภายในค่ายซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้น

การสร้างสุขนิสัยประจำวัน ทักษะในการป้องกันภัย ช่วยให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยและเป็นส่วนหนึ่ง

กับธรรมชาติ เพิ่มพูนทักษะพื้นฐานของการอยู่ค่าย เข้าใจและยอมรับบุคคลอื่นท่ีแตกต่างกันไป

ในเร่ืองเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และพัฒนาบุคคลโดยการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มประชาธิปไตย
ท้ังน้ีโดยเน้น การยอมรับบุคคลอ่ืน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีประสิทธิภาพ
เขา้ ใจและรับผดิ ชอบตอ่ สว่ นรวมดีขึ้น


การสง่ เสริมวิถปี ระชาธิปไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

12
ความหมายของค่าย คำวา่ “คา่ ย” ไดม้ นี ักคิดให้นิยามเกี่ยวกับค่ายไวม้ ากมาย ดงั น้ี

ค่าย (Camp) หมายถึง การท่กี ลุ่มบคุ คลไปใช้ชีวิตรว่ มกนั ในบรเิ วณแหง่ ใดแหง่ หนงึ่ อาจเป็น
ท่ีโล่งแจ้งหรือนอกเมืองหรือที่เหมาะสมอ่ืนๆ ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหน่ึง หรือ
เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ภายใต้คำนำแนะนำของผู้ค่ายที่ได้รับการฝึกมาแล้ว จาก Encyclopedia
Wikipedia ใหค้ วามหมายของ “ค่าย” วา่ คอื กจิ กรรมนันทนาการนอกสถานที่ ผ้ทู ี่เขา้ รว่ มกจิ กรรม
เรียกว่า ชาวค่าย (Camper) ซ่ึงออกจากพ้ืนที่เมืองเพ่ือไปพบกับธรรมชาติ โดยใช้เวลา 1 คืน หรือ
หลายๆ คืน ปกติจะอย่ใู นสถานทตี่ ง้ั แคมป์ หรอื เต็นท์กไ็ ด้ การออกค่ายมักจะไปตามอุทยานแหง่ ชาติ
หรือพ้ืนที่ธรรมชาติ เต็นท์ Britannica Concise Encyclopedia ให้ความหมายว่า หมายถึง

กิจกรรมเพื่อนนั ทนาการ เปน็ การใชช้ วี ติ กลางแจง้ และคา้ งแรมในปา่ โดยอาศยั เตน็ ท์ รถพว่ ง หรอื รถบา้ น
และบางครงั้ มีเพียงถุงนอนเท่านั้น จากความดังกล่าว ค่ายเป็นเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หนึ่งท่ีจัดขึ้น

ในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพ่ือพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงป้องกันและ

แก้ปัญหาของนักเรียน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการ
ปฏบิ ตั จิ รงิ และเรยี นรอู้ ยา่ งตอ่ เนื่อง

องคป์ ระกอบของคา่ ยโดยทัว่ ไปประกอบด้วยกิจกรรมใน 5 ลักษณะ (ศูนยส์ ่งเสริมการศึกษา
ตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2542) ได้แก่ การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นคณะหรือเป็นกลุ่ม

การนันทนาการ การศึกษา การใช้ชีวิตกลางแจ้งหรือท่ีเหมาะสมอ่ืนๆ การปรับพฤติกรรมทางสังคม
และการบรหิ ารงานคา่ ย และหลกั การในการบรหิ ารคา่ ย ในการจดั คา่ ยจะตอ้ งเรม่ิ จากการตง้ั เปา้ หมาย

ผู้จัดกิจกรรมจะต้องพยายามทุกวิถีทางให้เป้าหมายของค่ายสัมฤทธ์ิผล ด้วยการให้กลุ่มและสมาชิก
ของค่ายมีการพัฒนาข้ึน ผู้จัดจะต้องมีบทบาทในการเสริมสร้างความสามารถของสมาชิกทุกคนใน
ค่าย ให้แต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ในงานของตนเอง เจ้าหน้าที่ต้องเตรียม
อุปกรณท์ ุกอย่างใหพ้ ร้อม รวมทง้ั จดั เตรยี มสถานท่แี ละส่ิงอำนวยความสะดวก พรอ้ มรบั ผดิ ชอบแก้ไข
ปัญหา ขจัดข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในการบริหารงานค่ายต้องใช้เทคนิคการบริหารท่ีทันสมัย

ทันเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และผู้จัดจะต้องพยายามพัฒนาวิถีชีวิตตามระบอบ
ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในค่ายด้วย เพราะความเข้าใจและการมีประชาธิปไตยจะไม่สามารถทำได้
เพียงโดยการบอกกลา่ ว แต่จะต้องไดฝ้ กึ หดั ฝกึ ฝน ในบรรยากาศทีเ่ ป็นประชาธิปไตยดว้ ย

การจัดทำหลักสูตรค่าย ต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดค่ายเพื่อกำหนด ทิศทาง

ของคา่ ยซงึ่ จะนำไปสกู่ ารกำหนดผลการเรยี นรู้ กรอบเนอื้ หาหลกั กระบวนการเรยี นรู้ และรายละเอยี ด
กิจกรรมท่ีเหมาะสมกบั เนอื้ หา มีการกำหนดผลการเรยี นรู้ ในการกำหนดผลการเรียนรูค้ วรกำหนดให้
ครอบคลุม 3 องค์ประกอบ คือ








การสง่ เสริมวิถีประชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย

13
ด้านความคดิ รวบยอด ทีต่ อ้ งการใหเ้ ด็กได้เรยี นรู้หรอื สามารถสรุปไดจ้ ากการเขา้ คา่ ย
อาจจะเป็นความรู้ท่ีต่อยอดจากความรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือความรู้เสริม
ทักษะอืน่ ๆ

ด้านคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ท่ีต้องการให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนา ได้แก ่

ความอดทน ความรบั ผดิ ชอบ ความม่ันใจ และความสามารถในการมปี ฏิสมั พันธก์ ับ
ผอู้ ่ืน เชน่ การยอมรบั ผู้อื่น การรบั ฟังความคดิ เหน็ เป็นต้น

ด้านทักษะกระบวนการ ที่ต้องการให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วม
กิจกรรมท่ีเกิดในค่าย เช่น การส่ือสาร การคิดวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ การวางแผน

การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำ ผู้ตาม การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และ
ทักษะชีวิต เป็นต้น ทั้งน้ีผู้นำกิจกรรมจะมีบทบาทกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสนใจเรียนรู้
หรอื มีส่วนร่วมในกิจกรรม

การกำหนดระยะเวลาการจัดค่ายต้องสอดคล้องกับเน้ือหา วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมาย
สอดคล้องกับการเรียนรู้และพัฒนาการของสมาชิกค่าย การสร้างบรรยากาศภายในค่ายจึงม ี

ความจำเป็นให้รสู้ กึ ถงึ ความอบอุน่ ปลอดภยั มีความเป็นประชาธปิ ไตย และการรว่ มมือกัน หลกี เลี่ยง
การแข่งขันหรือเอาชนะ และที่สำคัญจะต้องมีความแตกต่างจากสภาพห้องเรียนปกติที่เด็กเคยชิน
เด็กควรรู้สึกสบายๆ มีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้ ค่ายที่ดี คือ เด็กแต่ละคนและเด็กทุกคนได้
เรียนรูเ้ ตมิ เต็มความสามารถและศกั ยภาพของตนเอง

กิจกรรมในระหว่างค่าย ควรเป็นกิจกรรมนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ
ค่ายกจิ กรรมสรา้ งสรรค์ สะอาด สนุก สอดแทรกสาระ และสนั้ กิจกรรมที่จัดข้นึ ในค่ายมีท้งั กจิ กรรม
เชิงวิชาการ และกิจกรรมนันทนาการ วัตถุประสงค์ในการเลือกใช้กิจกรรมค่ายสามารถแบ่งออกเป็น
4 กล่มุ (สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา, 2552) ได้แก่

กิจกรรมเพ่ือกลุ่มสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมช่วยส่งเสริมบรรยากาศในค่าย ให้มี

ความสนุกสนาน เร้าความสนใจ กระตุ้นให้สมาชิกแสดงความสามารถ ส่งเสริม

ความสมั พันธอ์ ันดรี ะหว่างสมาชกิ คา่ ยกบั ทีมงาน และก่อให้เกิดความประทบั ใจ

กิจกรรมเพ่ือการเรียนรู้เนื้อหาหลัก การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้เนื้อหา
หลักผ่านกระบวนการที่สร้างสรรค์ ซ่ึงมีหลากหลายรูปแบบ กิจกรรมควรมี

ความหลากหลาย เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้์ของสมาชิกค่ายที่แตกต่างกัน

เพื่อให้บรรลวุ ัตถุประสงคข์ องคา่ ยนัน้ ๆ

กิจกรรมเสริมคุณลักษณะ กิจกรรมท่ีเสริมสร้างพัฒนาทักษะ คุณลักษณะ และ
พฤติกรรมที่ดีด้านต่างๆ สอดแทรกในระหว่างการใช้ชีวิตในค่าย หรือในกิจกรรม
หลัก ได้แก่ ทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การทำงานเป็นทีม ทักษะชีวิต คุณธรรม

การแกป้ ญั หา ความคดิ สรา้ งสรรค์ การพบปะสงั สรรค์ และอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื อยา่ งเปน็ สขุ เปน็ ตน้

การส่งเสริมวถิ ีประชาธปิ ไตยผ่านกจิ กรรมคา่ ย

14
กิจกรรมสรุป สะท้อนการเรียนรู้ และประเมินผล การสรปุ กิจกรรม สามารถทำได้
หลายวธิ ี เชน่ การอภิปราย การวาดรูป สรุปกจิ กรรมร่วมกัน บทสรุปตอ้ งสะทอ้ น
ตวั กจิ กรรม และใหเ้ ด็กสามารถนำมาประยกุ ต์ ปรบั ใชใ้ นชวี ติ ประจำได้



การจดั คา่ ยสำหรับเดก็ ควรมีข้อมลู ที่ชดั เจนเพ่ือตอบคำถามตอ่ ไปนี้

1. จัดเพือ่ ใคร หมายถงึ กล่มุ เปา้ หมายท่จี ะได้รับประโยชน์จากการจัดค่ายสำหรับเดก็
มใี ครบา้ ง

2. จดั อะไร หมายถงึ กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเดก็ ทีจ่ ะจดั ให้กบั สมาชิกของค่ายเพอ่ื
ใหบ้ รรลตุ ามวตั ถปุ ระสงคข์ องค่าย มีอะไรบ้าง โดยการศกึ ษาจากกจิ กรรมที่มผี เู้ คยจดั เอาไว้ หรอื สรา้ ง
กิจกรรมขน้ึ มาใหม่

3. จัดทำไม หมายถึง เหตุผลของการจัดค่ายสำหรับเด็กเพ่ือต้องการให้เกิดผลอะไร

กับสมาชกิ ของค่าย โดยการกำหนดวตั ถุประสงคท์ ช่ี ัดเจน

4. จัดเมื่อไร หมายถึง วัน เวลา ในการจัดค่ายสำหรับเด็กจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า
เปน็ ช่วงเวลาใด กี่วันของช่วงปดิ ภาคเรียน ทงั้ น้จี ะต้องไม่เปน็ ปัญหาของสมาชิกคา่ ย

5. จัดที่ไหน หมายถึง การกำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรม อาจจะเป็นสถานท ่ี

ในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน ซ่ึงควรเลือกสถานท่ีที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม มีการวางแผน

การเดินทาง การสำรวจสถานท่ี การสำรวจเสน้ ทาง เปน็ ต้น

6. จัดอย่างไร หมายถึง ผู้รับผิดชอบการจัดค่าย จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สติปัญญา
สำหรับเด็กจะต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรมว่าจะจัดในรูปแบบใด ใช้งบประมาณเท่าไร

จัดสถานทอ่ี ย่างไร

ด้วยเหตุนี้ การเข้าค่ายเป็นการเรียนรู้จากเพ่ือนและสมาชิกในค่ายหากการจัดค่ายด้วย
กระบวนการของค่ายแล้ว ค่ายจะช่วยสอนให้คนมีความสามารถในการคิด ตัดสินใจ และมีความ
เข้าใจในสังคมมากขึ้น การเข้าค่ายเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่ึงที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้เรียน

เรียนรอู้ ยา่ งตอ่ เน่ืองโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำงานรว่ มกบั ผอู้ ื่น เรียนร้กู ารเป็นผนู้ ำ ในขณะ
เดยี วกนั กส็ ามารถเปน็ ทมี ทด่ี ี ทกั ษะการคดิ การทำงานเปน็ ทมี ทกั ษะชวี ติ เครอื ขา่ ยเพอ่ื น การดำรงชวี ติ
เป็นหมู่คณะ ความเข้าใจตนเอง รู้จักท่ีจะให้อภัยกัน มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบสังคม ความรู้ใหม่
ทกั ษะใหม่ การรว่ มกจิ กรรมตา่ งๆ ใหร้ จู้ กั ชว่ ยตนเอง และชว่ ยผอู้ นื่ คา่ ยเปน็ เสมอื นหอ้ งเรยี นทฝี่ กึ ใหค้ น
เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ เพื่อท่ีจะก้าวไปสู่สังคมได้อย่างมั่นใจ ค่ายจึงช่วยสร้างคนได้เพราะการท่ีได้ไปใช้
ชีวติ ในชว่ งเวลาหนึ่งในสงั คมทีม่ ชี วี ติ เรียบงา่ ย ได้เรียนรู้วถิ ชี ีวิตและการอยูร่ ่วมเป็นหมูค่ ณะ มชี ีวติ ท่มี ี
ความสนุกสนาน ได้เรียนรู้น้ำใจของคนชาวค่าย สร้างคนให้มีน้ำใจ รู้จักการให้เพ่ือนมนุษย์ด้วยกัน
สอนให้เป็นคนอย่างสมบูรณ์ซ่ึงไม่อาจเรียนได้จากตำรา และการเรียนรู้เป็นส่ิงจำเป็นท่ีต้องจัดให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และการจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดี


การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย

15

เม่ือสิ่งท่ีเรียนมีความหมายต่อเขาเอง การเรียนรู้ที่ดีต้องตรงกับความสนใจและความจำเป็น

ของผเู้ รยี น สิง่ ที่จะเรยี นรตู้ อ้ งมีความท้าทาย และสามารถบรรลไุ ด้ จะเหน็ ได้ว่าค่ายเปน็ ประสบการณ์

การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ชาวค่ายได้ท้ังความรู้ ความสุข ความรัก ความทรงจำ เพ่ือน เครือข่าย

และทส่ี ำคญั คือ ประสบการณ์ชีวิตกิจกรรมคา่ ยใหอ้ ะไรมากว่าที่คดิ




กิจกรรมค่ายกบั มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตัวชว้ี ัดตามหลักสตู ร


การสร้างเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย ที่นำเสนอกิจกรรมในเอกสารนี้
ประกอบด้วยกิจกรรมหลกั คือ ฐานการเรียนรู้ ถนนประชาธปิ ไตย บทบาทสมมุติ และกจิ กรรมสนั ติ
ศกึ ษา สอดคล้องกบั มาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตวั ช้ีวดั ของกลุ่มสาระการเรียนรสู้ ังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ดงั น
ี้
สาระที่ 2 หน้าท่พี ลเมือง วฒั นธรรมและการดำเนินชวี ติ ในสงั คม


มาตรฐาน ส2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าท่ีของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม
และธำรงรกั ษาประเพณแี ละวฒั นธรรมไทย ดำรงชวี ติ อยรู่ ว่ มกนั ในสงั คมไทยและสงั คมโลกอยา่ งสนั ตสิ ขุ




กจิ กรรม

ระดับชน้ั ตวั ชีว้ ดั ฐาน ถนน บทบาท สันติ
การ ประชา สมมุติ ศกึ ษา
เรยี นรู้ ธปิ ไตย

ป. 1 1. บอกประโยชนแ์ ละปฏบิ ตั ติ น เปน็ สมาชกิ ทด่ี ขี องครอบครวั   
และโรงเรยี น

2. ยกตวั อยา่ งความสามารถและความดีของตนเอง ผ้อู นื่ 
และบอกผลจากการกระทำนนั้

ป. 2 1. ปฏบิ ัตติ ามข้อตกลง กตกิ า กฎ ระเบยี บและหนา้ ทีท่ ่ตี อ้ ง   
ปฏิบัตใิ นชวี ิตประจำวนั

2. ปฏบิ ัติตามมารยาทไทย 

3. แสดงพฤติกรรมในการยอมรบั ความคิด ความเชอ่ื และ 
การปฏบิ ตั ขิ องบคุ คลอน่ื ทีแ่ ตกตา่ งกันโดยปราศจากอคติ

4. เคารพในสิทธเิ์ สรีภาพของตนเองและผู้อื่น   

ป. 3 1. สรปุ ประโยชนแ์ ละปฏิบตั ติ นตามประเพณแี ละวฒั นธรรม 
ในครอบครัวและทอ้ งถน่ิ

2. บอกพฤติกรรมการดำเนนิ ชีวิตของตนเองและผูอ้ ่นื ที่อยู่ใน 
กระแสวัฒนธรรมทหี่ ลากหลาย

การสง่ เสรมิ วถิ ีประชาธิปไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

16


กิจกรรม

ระดับชั้น

ตัวช้ีวดั ฐาน ถนน บทบาท สันติ

การ ประชา สมมตุ ิ ศึกษา

ป. 3 (ตอ่ ) เรียนรู้ ธปิ ไตย



3. อธบิ ายความสำคญั ของวนั หยดุ ราชการทส่ี ำคญั

ป. 4

4. ยกตัวอย่างบคุ คลซง่ึ มผี ลงานทเ่ี ป็นประโยชนแ์ กช่ ุมชน

และทอ้ งถ่นิ ของตน



1. ปฏบิ ัตติ นเป็นพลเมืองดตี ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตยในฐานะ 

สมาชิกท่ดี ีของชุมชน

ป. 5

2. ปฏบิ ัตติ นในการเป็นผ้นู ำและผตู้ ามทดี่ ี  



3. วิเคราะห์สทิ ธิพนื้ ฐานท่เี ดก็ ทกุ คนพงึ ได้รบั ตามกฏหมาย 



4. อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลมุ่ คนในท้องถนิ่ 



ป. 6 5. เสนอวธิ ีการท่ีจะอย่รู ว่ มกนั อย่างสนั ติสขุ ในชีวติ ประจำวนั 



1. ยกตัวอยา่ งและปฏบิ ตั ิตนตามสถานภาพ บทบาท สทิ ธิ 

เสรีภาพและหน้าทีใ่ นฐานะพลเมืองดี



2. เสนอวธิ กี ารปกปอ้ งคมุ้ ครองตนเองหรอื ผอู้ น่ื จากการละเมดิ 

สทิ ธเิ ดก็


3. เหน็ คุณค่าวฒั นธรรมไทยทีม่ ผี ลต่อการดำเนนิ ชวี ิตใน 
ม. 1 สงั คมไทย


4. มีสว่ นร่วมในการอนรุ ักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาทอ้ งถ่นิ  

ของชุมชน


1. ปฏิบตั ติ นตามกฏหมายท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั ชีวิตประจำวันของ 
ครอบครัวและชุมชน

2. วิเคราะหก์ ารเปลย่ี นแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและ  
ธำรงรกั ษาวฒั นธรรมอันดงี าม

3. แสดงออกถงึ มารยาทไทยไดเ้ หมาะสมถูกกาลเทศะ 

4. อธบิ ายคุณคา่ ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกนั ระหว่างกลุม่ คน  
ในสังคมไทย

5. ตดิ ตามขอ้ มูลขา่ วสาร เหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ ในชวี ิตประจำวนั   
เลือกรบั แลใชข้ อ้ มลู ขา่ วสารในการเรยี นรู้ไดเ้ หมาะสม

1. ปฏิบัติตามกฏหมายในการคุม้ ครองสิทธิของบุคคล 

2. ระบคุ วามสามารถของตนในการทำประโยชนต์ ่อสงั คม 
และประเทศชาติ

การสง่ เสริมวถิ ปี ระชาธิปไตยผ่านกิจกรรมคา่ ย

17

ระดบั ชัน้

กจิ กรรม



ม. 1 ตัวช้ีวัด ฐาน ถนน บทบาท สนั ติ

การ ประชา สมมตุ ิ ศกึ ษา

เรยี นรู้ ธปิ ไตย

ม. 2

3. อภปิ รายเกย่ี วกบั คณุ คา่ ทางวฒั นธรรมทเ่ี ปน็ ปจั จยั ใน 

การสรา้ งความสมั พนั ธท์ ด่ี หี รอื อาจนำไปสคู่ วามเขา้ ใจผดิ ตอ่ กนั



4. แสดงออกถงึ การเคารพในสทิ ธเิ สรภี าพของตนเองและผอู้ น่ื   



1. อธบิ ายและปฏิบัติตนตามกฏหมายท่ีเกี่ยวข้องกบั ตนเอง

ครอบครวั ชมุ ชนและประเทศ

ม. 3

2. เหน็ คุณค่าในการปฏิบัตติ นตามสถานภาพ บทบาท สทิ ธิ 

เสรภี าพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดีตามวิถปี ระชาธิปไตย



3. วิเคราะหบ์ ทบาท ความสำคญั และความสมั พนั ธข์ อง 

สถาบนั ทางสงั คม



4. อธิบายความคลา้ ยคลงึ และความแตกต่างของวัฒนธรรม

ไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภมู ภิ าคเอเชยี เพ่อื นำไปสู่

ม. 4-6 ความเขา้ ใจอันดีระหว่างกนั



1. อธบิ ายความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่าง

คดีอาญาและคดีแพ่ง



2. มีส่วนร่วมในการปกป้องคมุ้ ครองผอู้ นื่ ตามหลักสิทธิ 

มนุษยชน


3. อนรุ กั ษว์ ฒั นธรรมไทยและเลอื กรับวฒั นธรรมสากล 
ท่เี หมาะสม

4. วิเคราะห์ปัจจยั ที่ก่อใหเ้ กิดปัญหา ความขดั แยง้ ในประเทศ 
และเสนอแนวคิดในการลดความขดั แยง้

5. เสนอแนวคิดในการดำรงชวี ติ อย่างมคี วามสขุ ในประเทศ 
และสงั คมโลก

1. วิเคราะห์และปฏบิ ตั ติ นตามกฏหมายที่เกีย่ วขอ้ งกบั ตนเอง 
ครอบครัว ชมุ ชน ประเทศชาตแิ ละสังคมโลก

2. วเิ คราะหค์ วามสำคญั ของโครงสรา้ งทางสงั คม การขดั เกลา 
ทางสังคมและการเปลยี่ นแปลงทางสงั คม

3. ปฏบิ ัติตนและมีส่วนสนับสนนุ ให้ผู้อ่นื ประพฤติปฏบิ ัติเพ่อื  
เป็นพลเมืองดขี องประเทศชาตแิ ละสังคมโลก

4. ประเมินสถานการณส์ ทิ ธิมนุษยชนในประเทศไทยและ
เสนอแนวทางพัฒนา

5. วเิ คราะห์ความจำเป็นท่จี ะต้องมกี ารปรบั ปรงุ เปลีย่ นแปลง 
และอนุรักษว์ ฒั นธรรมไทยและเลอื กรบั วัฒนธรรมสากล

การสง่ เสริมวถิ ปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

18

มาตรฐาน ส2.2 ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่นศรัทธาและ
ธำรงไว้ซง่ึ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมขุ




กจิ กรรม



ระดับชนั้ ตัวชีว้ ัด ฐาน ถนน บทบาท สนั ติ
การ ประชา สมมตุ ิ ศกึ ษา

เรยี นรู้ ธปิ ไตย


1. บอกโครงสร้าง บทบาทและหนา้ ที่ของสมาชกิ ในครอบครัว  

ป. 1 และโรงเรยี น

2. ระบบุ ทบาทและหนา้ ทข่ี องสมาชกิ ในครอบครวั และโรงเรยี น    

3. มสี ว่ นรว่ มในการตัดสนิ ใจและทำกิจกรรมในครอบครัว   
และโรงเรียนตามกระบวนประชาธิปไตย


ป. 2 1. อธบิ ายความสัมพันธข์ องตนเองและสมาชิกในครอบครวั   

ในฐานะเปน็ ส่วนหนึ่งของชมุ ชน



ป. 3 2. ระบผุ มู้ บี ทบาทอำนาจในการตดั สนิ ใจในโรงเรยี นและชมุ ชน   



1. ระบบุ ทบาท หนา้ ทข่ี องสมาชกิ ของชมุ ชนในการมสี ว่ นรว่ ม    

ในกิจกรรมต่างๆตามกระบวนการประชาธปิ ไตย



2. วเิ คราะห์ความแตกต่างของกระบวนการการตดั สนิ ใจใน

ป. 4 ชน้ั เรยี น โรงเรียนและชุมชนโดยวธิ ีการออกเสียงโดยตรง    

และการเลอื กตัวแทนออกเสยี ง



3. ยกตวั อยา่ งการเปลย่ี นแปลงในชน้ั เรยี น โรงเรยี นและชมุ ชน   

ทีเ่ ป็นผลจากการตัดสินใจของบคุ คลและกลุ่ม

ป. 5

1. อธิบายอำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบ   

ประชาธิปไตย



2. อธบิ ายบทบาท หนา้ ทข่ี องพลเมอื งในกระบวนการเลอื กตง้ั   

3. มสี ว่ นร่วมในการตดั สนิ ใจและทำกจิ กรรมในครอบครัว 
และโรงเรียนตามกระบวนการประชาธิปไตย

1. อธิบายโครงสรา้ ง อำนาจหนา้ ท่แี ละความสำคัญของ  
การปกครองส่วนท้องถนิ่

2.ระบบุ ทบาทหนา้ ทแ่ี ละวธิ กี ารเขา้ ดำรงตำแหนง่ ของผบู้ รหิ าร 
ท้องถิน่

3. วิเคราะห์ประโยชน์ทชี่ มุ ชนจะไดร้ บั จากองคก์ รปกครอง 
ส่วนทอ้ งถ่นิ


ป. 6 1. เปรยี บเทยี บบทบาท หนา้ ท่ขี ององค์กรปกครอง  
สว่ นทอ้ งถน่ิ และรัฐบาล

การสง่ เสรมิ วถิ ปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมค่าย

19

กจิ กรรม

ระดบั ช้ัน ตัวชี้วดั ฐาน ถนน บทบาท สนั ติ
ป. 6 การ ประชา สมมตุ ิ ศกึ ษา
ม. 1 เรยี นรู้ ธปิ ไตย

ม. 2 2. มสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมตา่ งๆทส่ี ง่ เสรมิ ประชาธปิ ไตยใน  
ม. 3 ทอ้ งถน่ิ และประเทศ

ม. 4-6 3. อภปิ รายบทบาท ความสำคญั ในการใชส้ ทิ ธอ์ิ อกเสยี ง 
เลอื กตง้ั ตามระบอบประชาธปิ ไตย

1. อธิบายหลักการ เจตนารมณ์ โครงสร้างและสาระสำคญั  
ของรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทยฉบบั ปจั จบุ นั โดยสงั เขป

2. วเิ คราะหบ์ ทบาทการถว่ งดลุ อำนาจอธปิ ไตยในรฐั ธรรมนญู  
แหง่ ราชอาณาจักรไทยฉบบั ปจั จุบนั

3. ปฏบิ ตั ติ นตามบทบญั ญตั ขิ องรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั ร    
ไทยฉบับปจั จุบนั ทเี่ กี่ยวขอ้ งกบั ตนเอง

1. อธิบายกระบวนการในการตรากฏหมาย 

2. วเิ คราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางการเมือง การปกครองที่มี   
ผลกระทบต่อสังคมไทยสมยั ปจั จุบนั

1. อธิบายระบอบการปกครองแบบต่างๆทีใ่ ช้ในยุคปัจจุบัน  

2. วิเคราะห์ เปรียบเทียบระบอบการปกครองของไทยกบั 
ประเทศอน่ื ๆท่ีมีการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย

3. วเิ คราะหร์ ฐั ธรรมนญู ฉบบั ปจั จบุ นั ในมาตราตา่ ง ๆ ทเี กย่ี วขอ้ ง 
กบั การเลอื กตง้ั การมสี ว่ นรว่ มและการตรวจสอบการใชอ้ ำนาจรฐั

4. วิเคราะหป์ ระเดน็ ปญั หาทเี่ ป็นอุปสรรคตอ่ การพฒั นา 
ประชาธิปไตยของประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ไข

1. วเิ คราะหป์ ญั หาการเมอื งทส่ี ำคญั ในประเทศจากแหลง่ ขอ้ มลู  
ตา่ งๆพร้อมทงั้ เสนอแนวทางแกไ้ ข

2. เสนอแนวทาง ทางการเมือง การปกครองที่นำไปส่คู วาม  
เขา้ ใจและการประสานประโยชน์ร่วมกนั ระหวา่ งประเทศ

3. วเิ คราะห์ความสำคญั และความจำเปน็ ที่ต้องธำรงไวซ้ ึง่  
การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษตั ริย์ 
ทรงเปน็ ประมุข
4.เสนอแนวทางและมสี ว่ นรว่ มในการตรวจสอบการใชอ้ ำนาจรฐั

5. วเิ คราะห์ความจำเป็นท่ีต้องมกี ารปรับปรุงเปลย่ี นแปลง 
และอนรุ กั ษ์วฒั นธรรมไทยและเลือกรบั วัฒนธรรมสากล

การส่งเสริมวิถปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

สว่ นท่ี 3 การสง่ เสรมิ วถิ ชี วี ติ ประชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย




กิจกรรมค่ายเอ้ือต่อการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากการเรียนการสอนในห้อง
เรียน กล่าวคือ เป็นการเปล่ียนแหล่งของความรู้ เปลี่ยนวิธีการรับรู้ เปล่ียนสถานท่ีเรียนรู้ เปล่ียนบริบท

การเรียนรู้ จากการเรียนรู้จากตำราเรียนและครู สู่การเรียนรู้จากผู้รู้อ่ืนๆ และจากสถานการณ์จริง

ตลอดเวลาของการเข้าค่ายเป็นช่วงเวลาที่ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
การสร้างประสบการณ์ใหม่ การใช้ประสบการณ์เชิงบวกในการเรียนรู้ ทำให้เกิดความประทับใจ

และมีแรงบนั ดาลใจ นอกจากน้กี ิจกรรมค่ายยงั ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรผู้ ่านการปฏบิ ัตจิ รงิ ได้รบั ประสบการณต์ รง
ได้อยูร่ ว่ มกันเป็นหม่คู ณะอย่างมคี วามสขุ รู้จกั การปฏิบตั ิตนใหถ้ กู ต้องตามภาระหน้าที่และวถิ ีประชาธิปไตย

 


กจิ กรรมนำสูป่ ระชาธิปไตย




แนวคิด


การเรียนรู้ประชาธิปไตยผ่านกิจกรรม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หนึ่งท่ีจัดข้ึนในรูปแบบของกิจกรรม
การเรียนรู้นอกห้องเรียน เพ่ือพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนวิถีประชาธิปไตยให้กับผู้เรียนเป็นการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างจากการเรียน

การสอนในห้องเรียน กล่าวคือ เป็นการเปลี่ยนแหล่งของความรู้ เปล่ียนวิธีการรับรู้ เปล่ียนสถานท่ีเรียนรู้
เปล่ียนบริบทการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากตำราเรียนและครู สู่การเรียนรู้จากผู้รู้อ่ืนๆและจากสถานการณ์จริง
การเรียนรูป้ ระชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรม เป็นชว่ งเวลาทีผ่ ้เู รยี นจะได้รบั ประสบการณ์ตรง และไดร้ บั ประสบการณ์ใหม่
เกยี่ วกบั วถิ ปี ระชาธิปไตย ทำใหผ้ ู้เรียนเกิดความประทับใจและมเี จตคตทิ ดี่ ตี อ่ วิถีประชาธิปไตย


วัตถปุ ระสงค


1. เพ่ือปลกู ฝังวิถีประชาธิปไตยใหแ้ ก่นักเรยี น

2. เพอื่ ใหน้ กั เรยี นรจู้ กั คดิ วางแผน รบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของคนอนื่ และรว่ มมอื ในการปฏบิ ตั งิ าน

3. เพ่อื ใหน้ กั เรยี นเกดิ ความรกั ความสามัคคีและทำงานร่วมกันอย่างมีความสขุ

21

กิจกรรมสนกุ กับเกมหรรษา (แลน่ เรือไททานิค)




วตั ถุประสงค

เพ่ือให้นักเรียนได้แสดงออกถึงการใช้ปัญญาธรรมและสามัคคีธรรมในการแก้ไขปัญหาโดย
การใช้สตปิ ญั ญาและความสามคั คพี ร้อมเพรียงในการทำงาน

วสั ดุอุปกรณ์


1. กระสอบปา่ น กลุ่มละ 1 ใบ

2. ปูนขาวสำหรบั ทำเครื่องหมาย

3. นาฬกิ าจับเวลาสำหรบั ผดู้ ำเนินกจิ กรรม

4. สายวัดความยาวเปน็ เมตรและเซนตเิ มตร

เวลาการจัดกิจกรรม 30 นาที

ขัน้ ตอนการจดั กจิ กรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเปน็ กลมุ่ ๆ ละประมาณ 8-10 คน โดยใชเ้ กม เชน่ เกมนับเลข

2. อธบิ ายวธิ ีการเล่น กตกิ า เงอ่ื นไข ดังน
ี้

2.1 ให้นักเรียนในกลุ่มเลือกเป็นกับตันเรือ 1 คน แม่ย่านางเรือ 1 คน นายท้ายเรือ 1 คน
และคนสำหรับขับเคลอ่ื นเรอื 2 คน นอกน้นั เป็นผโู้ ดยสาร


2.2 ให้แต่ละกลมุ่ วางแผนการเล่นและซักซอ้ มวธิ ีการเลน่ ในเวลา 8 นาที

3. เมือ่ พรอ้ มแล้วให้ทกุ คนยืนบนเรอื สมมตุ ิ (กระสอบป่าน)

4. แม่ย่านางเรือยืนด้านหน้า ถัดมาเป็นกัปตันเรือ ผู้โดยสารและนายท้ายเรือยืนสุดท้าย ส่วน

ผู้ที่จะขับเคล่ือนเรือ 2 คน ให้เตรียมจับชายกระสอบป่านอยู่ส่วนหน้า พร้อมที่จะดึงกระสอบไปข้าง
หน้า เม่ือทุกกลุ่มพร้อมและได้ยินสัญญาณให้เริ่มกิจกรรมให้เรือส่ัง “เดินเรือ” ทุกคนบนเรือจะต้อง
กระโดดไปข้างหน้าพร้อมกับคนขับเคล่ือนเรือดึงกระสอบไปข้างหน้า ถ้าผู้ใดกระโดดแล้วออกนอก
กระสอบ หมายถงึ หลน่ จากเรือ ใหย้ นื อยนู่ อกเรอื ทำกิจกรรมไปเรือ่ ยๆ จนครบเวลา 6 นาที

5. ให้คะแนนจากการทำกจิ กรรมโดย


5.1 วดั ความยาว 1 เมตร ให้ 10 คะแนน

5.2 ถา้ มีคนตกจากเรอื 1 คน ให้หักคะแนนออก 1 คะแนน

6. ผ้นู ำกจิ กรรมนำอภปิ รายสรุป/สะทอ้ นคิด

คำถามสะท้อนคดิ

1. ถามความรสู้ ึกของแต่ละทมี

2. เกมนช้ี ใ้ี ห้เหน็ ถึงคณุ ธรรมในวถิ ปี ระชาธิปไตยข้อใด

3. ให้บอกปจั จัยทท่ี ีมประสบความสำเรจ็ หรือสาเหตุทที่ ำใหท้ มี แพ้ เพราะอะไร


การสง่ เสริมวถิ ปี ระชาธิปไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

22

ขอ้ เสนอแนะ

1. อาจใหม้ ีการแขง่ ขันหลายๆรอบ

2. ใหค้ ำนงึ ถึงความปลอดภยั ในระหว่างปฏบิ ตั ิกิจกรรม

3. ควรคำนงึ ถงึ ความเหมาะสมกบั วยั ของผู้เล่น





กิจกรรมศลิ ปะสวยสดใส




วัตถุประสงค์


1. เพ่ือให้นักเรียนสรา้ งสรรคผ์ ลงานทางศลิ ปะทเ่ี นน้ การรณรงค์ประชาธปิ ไตยตามความถนดั

2. เพอื่ ใหน้ ักเรยี นรู้ประยกุ ตใ์ ชว้ สั ดุ สง่ิ ของตา่ งๆ ในชมุ ชน มาสร้างชน้ิ งานศิลปะ

วัสดอุ ปุ กรณ

1. ถุงผ้า หรอื เสอ้ื หรอื หมวก คนละ 1 ชิ้น

2. สโี ปสเตอร์หรอื สีเขยี นผ้า สเี หลือง สีแดง สนี ้ำเงนิ สขี าว อยา่ งละ 1 ขวด

3. ฟองน้ำขนาดเล็ก กลุ่มละ 2 ช้ิน

4. เศษวัสดุ ช้ินสว่ นของพืช เศษกระดาษสี ตา่ ง ๆ

เวลาการจดั กิจกรรม 30 นาที

ขั้นตอนการจัดกจิ กรรม

1. ชี้แจงเงือ่ นไข วธิ กี ารเลน่ ดังนี


1.1 ให้นกั เรยี นทกุ คนแต่งแตม้ ศลิ ปะลงบนถุงผ้าหรือ เสอ้ื หรอื หมวก ด้วยภาพหรอื อักษรท่ี
แจกให้โดยกำหนดเน้อื หาท่เี กีย่ วขอ้ งกบั การรณรงคป์ ระชาธิปไตยตามความถนดั


1.2 ตง้ั ช่อื ภาพและเขยี นชื่อตนเองลงบนถุงผา้

2. นักเรยี นทกุ คนลงมอื ปฏิบัติกิจกรรม

3. นักเรียนนำเสนอและแสดงผลงานพรอ้ มทัง้ อธบิ ายความหมาย

4. ผู้นำกจิ กรรมนำอภปิ รายและสรุปกิจกรรมโดยการสะทอ้ นคิด

คำถามสะทอ้ นคิด

1. กิจกรรมนน้ี ำไปใช้ในการรณรงค์ประชาธิปไตยได้อยา่ งไร

2. กิจกรรมนใ้ี ห้ข้อคิดแก่ทา่ นอะไรบ้าง

ขอ้ เสนอแนะ

อาจใชว้ ัสดอุ นื่ ๆ ในการสรา้ งสรรค์ผลงาน เช่น ผา้ พันคอ ผ้าเชด็ หน้า กระดาษ ฯลฯ









การส่งเสริมวถิ ีประชาธิปไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

23

กจิ กรรมประชาธปิ ไตยบนตน้ ไม




วัตถปุ ระสงค์

เพ่ือให้นักเรียนบอกบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างประชาธิปไตยใน
ครอบครัวและสถาบันการศกึ ษาได้

วัสดอุ ุปกรณ์


1. กระดาษบรู๊ฟ 2 แผน เขียนเปน็ ภาพโครงรา่ งของต้นไม

2. กระดาษสีท่ตี ดั เป็นรูปใบไมเ้ ทา่ กับจำนวนนกั เรยี น จำนวน 4 ส ี


(สีเขียว สีฟา้ สเี หลอื ง สีชมพู)

3. กาวนำ้ หรอื กาวลาเทก็ ซ

4. กรรไกร สำหรบั ตัดกระดาษ ( 2 คน ต่อ 1 อนั )

เวลาการจัดกิจกรรม 30 นาที

ข้ันตอนการจัดกจิ กรรม

1. แบง่ นักเรียนออกเปน็ 2 กลุม่ จำนวนเทา่ ๆ กัน

2. ผ้นู ำกจิ กรรมชี้แจงกจิ กรรม ดังน
้ี

2.1 ผนู้ ำกจิ กรรมชแ้ี จงวา่ ตน้ ไมต้ น้ ที่ 1 ชอ่ื “ตน้ ไมค้ รอบครวั ” ใหน้ กั เรยี นกลมุ่ ท่ี 1 แตล่ ะคน
คดิ วา่ “เราจะเสรมิ สรา้ งประชาธปิ ไตยในครอบครวั ของเราอยา่ งไร” แลว้ ใหเ้ ขยี นคำตอบทน่ี กั เรยี น
คิดวา่ สำคญั ทสี่ ดุ บนใบไม้จำลองทว่ี ทิ ยากรแจกให้ เม่อื เขยี นเสรจ็ แล้วใหเ้ จ้าตัวอา่ นดงั ๆ แลว้ นำใบไม้
ไปติดดว้ ยตนเองทภี่ าพต้นไม้ครอบครัวให้สวยงาม


2.2 ผนู้ ำกจิ กรรมชแี้ จงวา่ ตน้ ไมต้ น้ ท่ี 2 ชอื่ “ตน้ ไมส้ ถาบนั การศกึ ษา” ใหน้ กั เรยี นแตล่ ะคน

ในกล่มุ ที่ 2 คดิ ว่า “เราจะเสรมิ สร้างประชาธปิ ไตยในโรงเรยี นของเราไดอ้ ยา่ งไร” แล้วใหเ้ ขียนคำตอบ
ทสี่ มาชกิ แตล่ ะคนคดิ วา่ สำคญั ทสี่ ดุ 1 คำตอบ บนใบไมจ้ ำลองทผ่ี นู้ ำกจิ กรรมแจกให้ เมอื่ เขยี นเสรจ็ แลว้
อา่ นดังๆ แล้วนำใบไมไ้ ปตดิ ด้วยตนเองท่ีภาพต้นไมส้ ถาบันการศึกษาใหส้ วยงาม


2.3 ให้ท้งั 2 กลุ่มตกลงกนั ว่าจะเลือกตน้ ไม้ต้นใดใน 2 ต้น

3. ผู้นำกิจกรรมแจกใบไม้จำลอง ปากกา และกระดาษกาวที่ตัดเป็นชิ้นให้แต่ละกลุ่ม (ใบไม้
1 ใบ ตอ่ ผเู้ ข้าอบรม 1 คน) แล้วใหท้ กุ คนเขียนสิ่งทไี่ ด้เรียนรู้

4. เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้ทุกคนอ่านส่ิงท่ีตนเองเขียนดังๆ เพื่อให้นักเรียนในกลุ่มฟังจากนั้น

ใหร้ วมกลมุ่ สิง่ ทเี่ ขียนเหมือนกันหรอื คล้ายกนั ไวด้ ว้ ยกัน

5. ให้นักเรียนท้ัง 2 กลุ่มวาดภาพโครงร่างต้นไม้ (ต้นไม้ไม่มีใบ มีเฉพาะกิ่ง) ที่กลุ่มเลือกไว้
แลว้ ลงบนกระดาษบรฟู๊ ที่แจกให้ จากนน้ั ใหน้ ำใบไม้ทีเ่ ขียนขอ้ ความที่เหมอื นกนั ไปตดิ ไวท้ ่กี งิ่ เดยี วกนั




การสง่ เสริมวถิ ปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมค่าย

24
6. ให้นักเรียนทง้ั 2 กล่มุ แลกเปลี่ยนเรียนร้กู นั โดยแลกภาพตน้ ไม้กนั อา่ นขอ้ ความบนต้นไม

7. ตัวแทนนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนำผลงานไปติดไว้ที่หน้าห้องโดยให้ห่างกัน 3 เมตร แล้วให้
ตวั แทนกลมุ่ นำเสนอผลงานทีละกลุ่ม

8. ผูน้ ำกจิ กรรมใช้คำถามนำสรุป : ต้นไม้ต้นไหนมคี วามสำคัญมากกว่ากนั ?

จากน้ันผนู้ ำกจิ กรรมสรปุ เชอื่ มโยงใหเ้ ห็นวา่ ครอบครัวและโรงเรยี นก็เปรยี บเสมอื นต้นไมข้ อง
เราทัง้ 2 ตน้ น้ี ถา้ เราบำรุงดูแลอย่างดีตน้ ไมก้ จ็ ะเจรญิ งอกงามให้ดอกให้ผลเปน็ ประโยชนต์ ่อคนทัว่ ไป
เช่นเดียวกัน ถ้ารวมพลังช่วยสร้างสรรค์ประชาธิปไตยทั้งในครอบครัวและในโรงเรียนครอบครัวเราก็
จะอบอุ่น โรงเรยี นของเรากจ็ ะน่าอยู่ จากนน้ั ใหน้ ักเรียนทุกคนเขียนสงิ่ ที่ไดเ้ รียนรู้

คำถามสะท้อนคิด

1. คำถามท่ี 1 “ เราจะเสรมิ สร้างประชาธิปไตยในครอบครวั ของเราอย่างไร”

2. คำถามท่ี 2 “เราจะเสริมสรา้ งประชาธปิ ไตยในโรงเรยี นของเราอย่างไร”

ขอ้ เสนอแนะ

ประเด็นท่ีให้กล่มุ เขียนอาจจะเปลยี่ นไปตามความเหมาะสม








1ค65423









......ำชวเนรจเขเข่วาดัรแ้ีำยีดมียาใกจนบภอแนลงชไลยาแุม่ มใือ่พก่าสคห้แปงเโดวปตน้คไรงารล่ลรกัะคม”งะ่ียชเวครรกนาลาดิีย่าคลมเงงนเรมใ่มุหตคียนดขทน็้นิดนใำอี่จเเบไรเหหมงัดนภู้ไตม็น้มไินาจวนือข้ยกำ้สเนอตในอาีเนกงิดขรงวทกนัตกบียน่าลำาวนนน1กุ่มมกใหำับข่งิตเไบใรวไไ้ันปนน้วือมลงตรป้ท้าาพวส(อรีม่ มนร3ีฟน1ะมุ อ้ไเตา้วในกดมตดก้่อา่งิ็นจวมลไ้นทำาตปุมุม่น
ีด“ไอ่นหเกวมด้ี
นน1เงิ่ ยีค้รไ่ึงวามก1
รกจ้ตลอแันะามุ่ ผบเ
มคสน่ จควรำาิมทรนมสแี่ัววคจรน
ดิ ้ากกเงใหลหปน็มุ่
้ร)คะ
วชาามธคิปดิ ไเตหย็นใทนี่จคัดรไอวบ้
ครัวของ














การส่งเสรมิ วถิ ีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมคา่ ย

25

ใบงานต้นไมโ้ รงเรียน




คำชี้แจง ใหผ้ รู้ ่วมกจิ กรรมดำเนนิ การตามขน้ั ตอนตอ่ ไปน
ี้
1. เขียนแสดงความคิดเห็นของท่าน ในประเด็น “ เราจะเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนของ

เราอย่างไร” ลงในใบไม้ สีเหลือง หรอื สชี มพู จำนวน 1 แผน่ ทแ่ี จกให้

2. ร่วมแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ภายในกลมุ่ เวลา 3 นาที

3. จดั กลมุ่ ความคิดเห็นเหมือนกนั นำไปรวมไวก้ ลมุ่ เดยี วกัน

4. วาดภาพโครงรา่ งต้นไม้ จำนวน 1 ต้น พร้อมวาดกง่ิ ไม้ตามจำนวนกลุ่มความคดิ เหน็ ทจ่ี ดั ไว

5. นำใบไมแ้ ต่ละกลมุ่ ที่จัดไว้ ติดบนกิ่งไม้ ( 1 กง่ิ ต่อ 1 กลุ่มความคิดเหน็ )

6. เขียนช่ือประชาคมของตนเองกำกบั ไวท้ ม่ี มุ ใดมุมหนึ่ง














แบบบันทึกสิ่งที่ไดเ้ รียนรู้ ผ่านกิจกรรมประชาธิปไตยบนต้นไม




..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................




การส่งเสรมิ วถิ ีประชาธปิ ไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

26

กจิ กรรมก้าวไกลกบั ICT ลำ้ หน้า






วัตถปุ ระสงค์

เพือ่ สง่ เสริมใหน้ ักเรยี นไดเ้ รยี นร้ปู ระชาธิปไตยผ่านเทคโนโลยสี ารสนเทศ

วัสดอุ ุปกรณ

คลปิ “ขอโทษประเทศไทย” (ท่เี ผยแพร่ใน Internet )

เวลาการจดั กจิ กรรม 30 นาท

ข้ันตอนการจดั กจิ กรรม


1. แบง่ นักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละเทา่ ๆกัน

2. ช้ีแจง วธิ กี ารปฏบิ ตั ิกจิ กรรม ดังน
้ี

2.1 ใหท้ ุกกลุ่มดคู ลิป “ขอโทษประเทศไทย”

2.2 เขียนแสดงความเหน็ เกย่ี วกบั คลิปลงในแบบบันทึก

2.3 แต่ละกล่มุ ออกแบบการนำคลิปไปใชส้ ำหรับจัดกจิ กรรมประชาธิปไตย

3. ผู้ดำเนินกิจกรรมฉายคลิป “ขอโทษประเทศไทย” ให้นกั เรียนดแู ละเขยี นแสดงความเห็น
ลงในแบบบนั ทึก

4. สรุปกจิ กรรมโดยใชค้ ำถามสะท้อนคดิ

คำถามสะท้อนคิด

1. หลงั จากดคู ลิป “ขอโทษประเทศไทย” ทา่ นมคี วามคิดเห็นอยา่ งไร

2. ท่านสามารถนำคลปิ “ขอโทษประเทศไทย” ไปใชจ้ ัดกจิ กรรมเกี่ยวกบั ประชาธิปไตยได้
อยา่ งไร

ข้อเสนอแนะ

ควรเลือกคลปิ ให้เหมาะสมกบั วัยและระดบั ช้นั


















การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

27




แบบบนั ทกึ








1. หลงั จากดคู ลิป “ขอโทษประเทศไทย” ทา่ นมคี วามคดิ เหน็ อยา่ งไร

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

2. ทา่ นสามารถนำคลิป “ขอโทษประเทศไทย” ไปใช้จดั กิจกรรมเก่ยี วกับประชาธปิ ไตยไดอ้ ยา่ งไร

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................




























การสง่ เสรมิ วถิ ปี ระชาธิปไตยผ่านกิจกรรมคา่ ย

28

กิจกรรมคนเกง่ การสือ่ สาร




วตั ถปุ ระสงค์

เพื่อใหน้ กั เรยี นได้เรยี นรวู้ ถิ ีประชาธปิ ไตยจากขา่ วและเหตุการณ์ในสงั คม

วสั ดอุ ปุ กรณ


1. หนังสอื พมิ พ

2. ปากกา

เวลาการจดั กจิ กรรม 30 นาที

ขัน้ ตอนการจดั กิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกล่มุ ๆ ละเท่าๆ กนั โดยใช้เกมเป่ายงิ ฉุบ

2. ชี้แจงกจิ กรรม ดังน้ี


2.1 ทกุ กลมุ่ จะไดร้ ับหนังสอื พมิ พ์กลุ่มละ 2 ฉบบั

2.2 ให้ทกุ กลุ่มค้นหาขา่ วจากหนงั สอื พมิ พ์ รว่ มกันวเิ คราะห์เนอ้ื ขา่ วทีส่ อื่ หรอื เชือ่ มโยงได้

กบั วิถปี ระชาธปิ ไตย

2.3 สรุปข่าวลงในแบบบนั ทกึ

2.4 ทุกกล่มุ นำเสนอผลงาน

3. สรปุ กจิ กรรมโดยใช้คำถามสะท้อนคดิ

คำถามสะทอ้ นคิด

1. จากขา่ วและเหตุการณ์ทีก่ ลมุ่ ไดน้ ำเสนอเกย่ี วข้องกบั ประชาธปิ ไตยอยา่ งไรบ้าง

2. ทา่ นสามารถนำขา่ วและเหตกุ ารณไ์ ปใชเ้ ปน็ สอ่ื ในการจดั การเรยี นรเู้ พอ่ื สง่ เสรมิ ประชาธปิ ไตย
ได้อยา่ งไร

3. ขอ้ พงึ ระวงั การนำขา่ วไปใช้ในการจดั การเรยี นรูป้ ระชาธิปไตยมอี ะไรบา้ ง

ขอ้ เสนอแนะ

ควรเป็นขา่ วทีส่ ร้างสรรค์ มีความเหมาะสมกบั สถานการณ์
















การสง่ เสรมิ วิถปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย

29



ใบงาน สรุปประเดน็ ศกึ ษา








หวั ขอ้ ข่าว

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

เนอ้ื ข่าว

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

สรุปประเดน็ แนวคดิ การเรยี นรู้ประชาธิปไตยจากขา่ วและเหตกุ ารณ

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................






















การสง่ เสริมวิถปี ระชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมค่าย

30

กิจกรรมสร้างสัมพนั ธ์ผา่ นนทิ าน




วัตถปุ ระสงค์


1. เพื่อให้นักเรียนสามารถส่ือสารและถ่ายทอดการใช้วิถีชีวิตประชาธิปไตยผ่านเร่ืองราว

สถานการณ์


2. สง่ เสริมการมีประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกัน

วัสดุอุปกรณ


1. กระดาษ A4

2. กระดาษปรฟู๊

3. ปากกาเคมี

4. คำบงั คับสำหรับใช้ขึน้ ต้นและลงท้ายในการแตง่ นิทาน

เวลาการจัดกจิ กรรม 30 นาท

ขนั้ ตอนการจดั กิจกรรม

1. แบ่งนกั เรียนเปน็ กลมุ่ ๆละ 8-10 (ใชเ้ กมแบง่ กลุ่ม)

2. ผู้ดำเนินกิจกรรมชแ้ี จงกติกาดังน้


2.1 นักเรียนจะตอ้ งแต่งนิทานจากคำหรอื ประโยคท่กี ำหนดให้และจะต้องจบดว้ ยคำหรือ

ประโยคบงั คบั แต่งประโยคไดค้ รัง้ ละ 1 คน


2.2 คนสุดทา้ ยจะต้องจับฉลากคำบังคับเพอ่ื เขยี นเปน็ ตอนจบของเรือ่ ง

3. ผู้ดำเนนิ กิจกรรมใหส้ ญั ญาณเริ่มกิจกรรม นักเรียนคนท่ี 1 วงิ่ ไปแตง่ ประโยคต่อจากคำท่ี
กำหนดใหเ้ สรจ็ แล้งวิง่ กลบั มาแตะมอื ผูเ้ ล่นคนต่อไป ปฏบิ ตั เิ ช่นน้จี นถึงคนสดุ ทา้ ยจับฉลากคำบงั คับ
นำไปเขียนเปน็ ตอนจบของเรอื่ ง

4. แตล่ ะกลุ่มนำเสนอผลงาน

5. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกจิ กรรมโดยใชค้ ำถามสะท้อนคิด

คำถามสะทอ้ นคิด

1. จากนิทานท่ีกลุ่มนำเสนอเชื่อมโยงกบั ประชาธิปไตยด้านใดบ้าง

2. นกั เรยี นผดู้ ำเนนิ กจิ กรรมคดิ วา่ กจิ กรรมสรา้ งสมั พนั ธด์ ว้ ยนทิ านสง่ เสรมิ ความเปน็ ประชาธปิ ไตย
ได้หรอื ไมอ่ ยา่ งไร

3. ข้อพงึ ระวงั ในการจัดกจิ กรรมคืออะไร

ข้อเสนอแนะ

ใชค้ ำบงั คับทเ่ี หมาะสม สอดคล้องกับเน้อื หา ระดับชนั้ ของนักเรียน




การสง่ เสรมิ วถิ ีประชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

31



ใบงาน







เรื่อง.....................................................



(ประโยคบังคับ)

กาลครงั้ หนึง่

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

(ประโยคบงั คับจบ)

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................




















การสง่ เสริมวถิ ีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

32

กิจกรรมบทบาทสมมตุ ิ

เวทปี ระชาคม (กรณีสวนสม้ )





วตั ถุประสงค์


1. เพ่ือให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น

การเคารพกติกา ให้เกียรติตนเอง ให้เกียรติผู้อ่ืน สะท้อนคิดเชิงบวก ก่อให้เกิดความสำนึกท่ีด ี

ไดแ้ ก่ มีจิตอาสา รู้จกั หน้าที่ ความรบั ผิดชอบ


2. เพื่อให้เกิดแนวคิดที่ดีในการปลูกฝัง เสริมสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคง ผ่านกิจกรรม

การเรียนรู้และการสนับสนุนส่งเสริมจากทกุ ภาคสว่ น


3. เพอ่ื ใหน้ กั เรยี นไดเ้ รยี นรแู้ ละยอมรบั ความคดิ เหน็ ของผอู้ น่ื จากการฝกึ ปฏบิ ตั จิ รงิ (ตามบทบาท
สมมุต)ิ


4. เพือ่ ใหน้ ักเรียนเกดิ ความเข้าใจในหลกั ประชาธปิ ไตย ยอมรับในกฎ กตกิ า และเคารพใน
สิทธซิ ่งึ กันและกนั


วสั ดอุ ุปกรณ


1. ใบงานสถานการณ์จำลอง กรณีสวนสม้

2. กระดาษปร๊ฟู

3. ปากกาเคม

4. ป้ายกำหนดบทบาทสมมติทไ่ี ด้รับสำหรบั ตดิ ทห่ี น้าอกเส้อื  


ขน้ั ตอนการดำเนินกจิ กรรม


1. ผูน้ ำกิจกรรมอธบิ ายวธิ กี ารปฏบิ ตั ิกจิ กรรม ซงึ่ จะแบ่งนกั เรียนออกเปน็ 4 หอ้ ง และแตล่ ะ
ห้องประกอบด้วยนักเรียนที่จะแสดงตามบทบาทสมมติท่ีได้รับ โดยให้เลือกลงทะเบียนเพ่ือแสดงตาม
บทบาทสมมติ ตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ (จำนวนคนในแต่ละบทบาท ข้ึนอยู่กับจำนวนผู้เข้าร่วม
กจิ กรรม) ตามความสมัครใจ ดังน้ี




1.1 เจา้ ของสวนสม้ คนไทย 5 คน 1.2 เจ้าของสวนสม้ คนสิงคโปร์ 4 คน
1.3 ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน 1.4 ครู 2 คน
1.5 นักเรียน 3 คน 1.6 ศึกษานิเทศก์ 2 คน
1.7 ชาวบ้าน 10 คน 1.8 แพทย์ 2 คน
1.9 นกั วิชาการสิง่ แวดลอ้ ม 2 คน 1.10 นายก อบต. 1 คน
1.11 สมาชกิ อบต. 2 คน 1.12 รา้ นค้า

การสง่ เสรมิ วถิ ปี ระชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

33


1.13 เกษตรตำบล 2 คน 1.14 อาจารย์ม.ราชภฎั 3 คน

1.16 ชาว พมา่ 1 คน

1.15 ชาวเวยี ดนาม 1 คน 1.18 ชาวกมั พูชา 1 คน

1.17 ชาวลาว 1 คน 1.20 ปลดั อำเภอ 1 คน

1.19 นายอำเภอ 1 คน 1.22 ผู้สังเกตการณ์ 2 คน

1.21 สื่อมวลชน 2 คน

2. แจกสถานการณจ์ ำลอง กรณสี วนส้ม ใหน้ ักเรียนศกึ ษาและพิจารณาตามบทบาทสมมตทิ ่ี
ตนเองได้รับ โดยให้พี่เล้ียงช่วยย้ำความสำคัญของการทำตามบทบาท เพื่อให้การเรียนรู้ได้ผลและ
รกั ษาเวลา

3. ผู้นำกจิ กรรมแบ่งนักเรยี นเปน็ กลุ่มย่อยตามบทบาทท่ีได้รับมอบหมาย ดังนี ้




กลมุ่ A เจา้ ของสวนส้มคนไทย กลมุ่ H เกษตรตำบล

กลมุ่ B เจา้ ของสวนส้มคนสงิ คโปร์ กลมุ่ I อาจารย์ม.ราชภฎั


กลุม่ C ผ้บู ริหารโรงเรยี น ครู นักเรียน กลุ่ม J ชาวตา่ งชาติ เวียดนามพม่า

ศึกษานิเทศก ์ ลาว กมั พชู า


กลมุ่ D ชาวบา้ น กล่มุ K นายอำเภอ ปลัดอำเภอ


กลุ่ม E แพทย์ นกั วิชาการสิ่งแวดล้อม กลุ่ม L สื่อมวลชน

กลุม่ F นายก อบต. สมาชกิ อบต.

กลุ่ม M ผ้สู งั เกตการณ์


กลุ่ม G รา้ นค้า

4. ผู้นำกิจกรรมในกลุ่มย่อยชี้แจงกับนักเรียนแต่ละกลุ่มว่าบทบาทท่ีกำหนดให้ในใบงานเป็น
เพียงแนวทาง ขอให้แต่ละคนท่ีได้รับบทบาทสมมติได้คิดคำพูด วิธีการแสดงออกท่ีเหมาะสม เช่น
นายอำเภอจะต้องมีคุณลักษณะผู้นำท่ีเป็นประชาธิปไตย อาจารย์จะเน้นความเป็นวิชาการ ให้มี

การทดลอง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่พูดมากในรอบแรก และระหว่างพักการประชุมให้ไป
สืบคน้ ข้อมลู ขอ้ เทจ็ จรงิ เพิ่มเติมจากชาวบ้าน ฯลฯ

5. นักเรียนเข้ากลุ่มใหญ่เพ่ือร่วมกิจกรรมตามห้องท่ีกำหนด เพื่อประชุมประชาคม ครั้งที่ 1

(ระดมสมองค้นหาปญั หา และระบุปัญหา) ตามลำดับข้นั ตอน ดังน
้ี
ขั้นตอนท่ี 1 นักเรยี นเลอื กประธาน และเลขานุการ ทำหน้าทดี่ ำเนนิ การประชมุ ประชาคม

ข้ันตอนท่ี 2 ผู้เก่ียวข้องทุกกลุ่มเข้ามาร่วมพูดคุยหาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
โดยผู้ท่ีได้รับการคัดเลือกเป็นประธานจะทำหน้าท่ีเป็นผู้ดำเนินกระบวนการประชุมประชาคมและครู
พ่ีเล้ียงคอยช่วยเหลือให้กระบวนการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และประสานงานให้แก่

คูข่ ัดแย้งทกุ ฝา่ ยไดร้ ว่ มกันค้นหาทางออกจนได้ขอ้ ตกลงที่ทุกฝา่ ยเหน็ ชอบร่วมกันยอมรบั


การสง่ เสรมิ วิถปี ระชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมค่าย

34
ขั้นตอนที่ 3 การระดมสมองเพอ่ื ค้นหาปญั หา ให้ผเู้ ข้ารว่ มกิจกรรม ระดมสมองหาปัญหา
ทเี่ ก่ียวขอ้ งใหไ้ ดม้ ากทสี่ ดุ และเลอื กปัญหามา 16 ปัญหา (อะไรเป็นส่งิ ที่สำคัญท่ีสุด เราอยากรอู้ ะไร
เรารู้สกึ กังวลเก่ยี วกบั เรอ่ื งอะไร เราอยากทำอะไร) การระบุปัญหาทอ่ี าจจะเกิดข้นึ วา่ อะไรคือปัญหา
และส่ิงท่ ีอาจจะเกดิ ข้นึ ในอนาคต


สำรวจและคิดถึงสถานการณ์นน้ั ก่อนทจี่ ะระบปุ ญั หา

เขยี นเป็นประโยคท่ีชดั เจนสมบรู ณ

ปญั หามีความหลากหลาย

แสดงความสมั พนั ธช์ ัดเจนกับเรอื่ งสวนส้มหรือไม่

หวั ขอ้ ชว่ ยคิดปญั หา/ประเดน็ สนับสนุนการคิดปัญหา

การเงิน ธรุ กจิ การขนสง่ ความสมั พันธท์ างสงั คม สง่ิ แวดล้อม การศึกษา เทคโนโลยี
การเมอื งการปกครอง จริยธรรม สขุ ภาพกาย สุขภาพจติ ความต้องการพนื้ ฐาน กฎหมาย

ความยตุ ธิ รรม การสอ่ื สาร ฯลฯ

ข้นั ตอนที่ 4 การค้นหาและการสรปุ ปญั หาหลกั

เราเลือกปญั หาทน่ี า่ จะเป็นปญั หาหลกั ๆ ของเร่ือง (1-2 ปัญหา)

เรามีแนวทางในการแกไ้ ขปัญหาไดอ้ ย่างไร

จดุ มงุ่ หมายทเ่ี ราจะทำเพอ่ื อะไร

คำถามนำ

เพราะรู้ว่า............เราจะทำอยา่ งไร...............ดังนัน้ .....................

6. เม่ือเสรจ็ แลว้ ให้แตล่ ะทีม( A B C D ฯลฯ) กลบั ไปประชมุ กลุ่มยอ่ ยเพ่ือพูดคุยกันเพอ่ื
วางแผนเขา้ ร่วมประชุมประชาคมรอบท่ี 2 สิง่ ทจ่ี ะต้องเตรยี มเขา้ ร่วมประชมุ รอบท่ีสองคือ ให้แตล่ ะ
ทมี นำเสนอวธิ ีการแกป้ ัญหา

7. ผูเ้ ขา้ ร่วมกิจกรรมเขา้ กลุม่ ใหญ่ เพอื่ ประชุมประชาคม คร้งั ท่ี 2

การระดมสมองเพื่อคิดหาวธิ กี ารแก้ปญั หา ดำเนินการตามขน้ั ตอน ดงั น
้ี
1) ให้ผเู้ ขา้ ร่วมประชุมช่วยกนั ระดมสมองเพอื่ หาวิธกี ารแกป้ ญั หาทเี่ ปน็ ไปไดม้ ากท่ีสุด
และเลือกเลือกวธิ ที ่เี กี่ยวขอ้ งและสำคัญมากทส่ี ุดมา 16 วิธ ี

2) เขยี นรายละเอียดวา่ ใครจะเปน็ ผ้แู ก้ปญั หา จะทำอะไร จะทำอย่างไร แก้ปัญหาได้
อย่างไร ที่ไหน เวลาใด

การเลือกเกณฑเ์ พ่ือใช้ในการประเมนิ วิธกี ารแกป้ ัญหา

1) การเลอื กแนวทางการแกป้ ญั หาทนี่ ่าสนใจ เปน็ ไปได ้

2) สรา้ งเกณฑ์ทแ่ี สดงศักยภาพและความสำคัญในวิธีการแกป้ ญั หานนั้ ๆ

3) เลอื กเกณฑท์ มี่ ีความเป็นเหตุเป็นผลและสำคญั มากในการประเมนิ แนวคิดในการแก้
ปญั หานัน้

4) แต่ละเกณฑค์ วรมีจุดเนน้ ท่แี ตกตา่ งกัน


การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

35

วธิ กี าร แนวคดิ สำคัญ เกณฑ์ รวม
แกป้ ัญหา 12345

8. นกั เรียนเข้ากลมุ่ ใหญเ่ พือ่ ประชุมประชาคม ครั้งท่ี 3 การพฒั นาแผนปฏิบัตกิ ารในการแก้
ปัญหาที่ดีทีส่ ุด โดยผู้นำกจิ กรรมใชค้ ำถามดงั นี้


1) แนวคดิ การแกป้ ัญหาทเ่ี หมาะสมทีส่ ุด และมคี วามเปน็ ไปได้

2) ทำอย่างไรการแก้ปัญหาน้ันจึงจะมีประสิทธิภาพ (ใครควรเข้ามาเก่ียวข้อง กิจกรรมที่
ต้องทำนัน้ มกี ำหนดระยะเวลาอย่างไร ทไี่ หน วธิ กี ารแก้ไขปญั หาความยงุ่ ยาก ทรัพยากรทตี่ ้องใช้)

3) ทำไมมันจงึ แกป้ ัญหาหลกั ได้

4) จะช่วยแกไ้ ขเหตกุ ารณท์ ี่จะเกิดข้ึนในอนาคตได้อยา่ งไร

9. การนำเสนอ/สรุป/สะท้อน เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมประชุมประชาคมเรียบร้อยแล้ว

ใหก้ ลบั เขา้ กลุม่ ใหญ่เพือ่ นำเสนอผลการทำประชมุ ประชาคม

1) แตล่ ะกลุ่มนำเสนอผลการทำประชาคม ดว้ ยวธิ กี ารที่เตรยี มกันมาเปน็ รายกลมุ่ ทกุ กลมุ่
เช่น นำเสนอโดยใช้ PowerPoint โปสเตอร์ Mind mapping

2) ผู้ท่ีรับบทบาทสื่อมวลชนท้องถิ่นในแต่ละกลุ่มทุกกลุ่มทำหน้าที่รายงานข่าวการทำ
กิจกรรมของแตล่ ะกลุม่ อยา่ งละเอียด

3) ผนู้ ำกจิ กรรมนำการสนทนากลมุ่ เพอ่ื สะท้อนวา่ ไดเ้ รยี นรอู้ ะไรจากกิจกรรมนี้บา้ ง

4) ผู้นำกิจกรรมให้ความรูเ้ พิ่มเติมเกย่ี วกบั การทำกจิ กรรมบทบาทสมมติ




การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผา่ นกิจกรรมค่าย

36



A





เรอ่ื ง สวนส้ม..กับคนอาเซียน


พ้ืนท่ีส่วนใหญ่ของตำบลถ่ินอุดม เป็นพื้นท่ีราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ

หลายสวนเป็นแหลง่ ผลิตส้มสง่ ตลาดต่างประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซยี น สวนสม้ ทกุ แปลงจะมคี นู ้ำ
ภายในหลอ่ เลย้ี งตน้ ส้มโดยรอบ และสร้างคนั ดนิ ขนาดใหญใ่ ห้สงู เพ่ือปอ้ งกนั น้ำท่วม ในฤดนู ำ้ หลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที งั้ คนในทอ้ งถนิ่ รวมทง้ั สวนสม้ ทมี่ เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพ่ิมผลผลิตส้มให้มากขึ้นและเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มท้ังปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมท้งั สารเคมีกำจดั ศัตรูพชื และสตั ว์ เฉลยี่ เดอื นละ 2-3 ครงั้ จนละอองและกลน่ิ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากน้ี ในสวนส้มยังม

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานทั้งในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนท้ังเพราะคา่ แรงถกู กวา่

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท่ี

หนีเรยี น เขา้ ไปหลบในสวนส้ม สบู บหุ รี่ ดื่มเหล้าและขโมยส้มกิน ซ่งึ มที ้งั นักเรียนไทย และลกู หลาน
ของคนงานชาตอิ น่ื ๆ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผู้เก่ียวข้องจึงเขา้ ร่วมประชุมประชาคมเพ่ือแก้ไขปญั หา

ทา่ นรบั บทบาทเป็นเจ้าของสวนส้ม (คนไทย)


ท่านต้องการทำสวนส้มต่อไป เพราะสร้างรายได้ดี แต่ก็เป็นเพียงเจ้าของสวนขนาดเล็ก
หรือกลางเทา่ น้นั


มีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตท่ีดี แม้ว่าจะไม่อยากใช้มากเพราะ
ทำให้มีต้นทุนสูงก็ตาม รวมท้ังไม่แน่ใจว่าหากเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพแทนสารเคมีแล้วจะได้ผลผลิต
ค้มุ คา่ กบั การลงทนุ หรอื ไม


มีปัญหาเร่อื งเด็กนกั เรยี นหนเี รยี นเข้าไปในสวนส้ม

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย


การส่งเสริมวถิ ีประชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมคา่ ย

37




B


เร่อื ง สวนสม้ ..กับคนอาเซียน


พ้ืนที่ส่วนใหญ่ของตำบลถ่ินอุดม เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ่

หลายสวนเป็นแหลง่ ผลติ สม้ สง่ ตลาดตา่ งประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซียน สวนสม้ ทุกแปลงจะมีคูนำ้
ภายในหล่อเลย้ี งตน้ สม้ โดยรอบ และสรา้ งคนั ดนิ ขนาดใหญ่ใหส้ งู เพอ่ื ปอ้ งกนั นำ้ ท่วม ในฤดนู ำ้ หลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที ง้ั คนในทอ้ งถน่ิ รวมทงั้ สวนสม้ ทม่ี เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ท่ีจะเพิ่มผลผลิตส้มให้มากขึ้น และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มท้ังปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมท้ังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เฉล่ียเดือนละ 2-3 ครั้งจนละอองและกล่ิน

ของสารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนท่ีอยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ในสวนส้มยังม

การจา้ งแรงงานเวยี ดนาม พมา่ ลาว กมั พชู ามาทำงานทงั้ ในฐานะผจู้ ดั การสวนสม้ และแรงงานในการทำ
สวนทง้ั เพราะคา่ แรงถูกกว่า

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท่ี

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหร่ี ดื่มเหล้าและขโมยส้มกิน ซึ่งมีท้ังนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาติอ่นื ๆ

สถานการณ์ทเี่ กิดข้ึนเริม่ มคี วามเดือดร้อนรนุ แรงจึงต้องการให้มกี ารแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผู้เกยี่ วขอ้ งจึงเขา้ รว่ มประชุมประชาคมเพอ่ื แก้ไขปญั หา


ท่านรบั บทบาทเปน็ เจ้าของสวนส้ม “คนสงิ คโปร”์


รักเมอื งไทย ชอบเมอื งไทย อยากอยู่เมอื งไทยต่อไป

จำเป็นต้องใชส้ ารเคมี เพือ่ ให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก

การจา้ งแรงงานตา่ งชาติ เพราะควบคุมได้ง่าย

เคยบรจิ าคเงนิ สำหรบั สถานอี นามยั ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ โรงเรยี นเพอื่ การกอ่ สรา้ งอาคาร

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย

 












การสง่ เสรมิ วถิ ปี ระชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมคา่ ย

38




C





เรอื่ ง สวนสม้ ..กับคนอาเซยี น


พื้นท่ีส่วนใหญ่ของตำบลถิ่นอุดม เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ

หลายสวนเปน็ แหลง่ ผลติ ส้มส่งตลาดตา่ งประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซียน สวนส้มทกุ แปลงจะมคี ูน้ำ
ภายในหลอ่ เลย้ี งต้นส้มโดยรอบ และสร้างคนั ดนิ ขนาดใหญใ่ หส้ ูงเพอื่ ปอ้ งกันน้ำท่วม ในฤดูนำ้ หลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที งั้ คนในทอ้ งถนิ่ รวมทง้ั สวนสม้ ทมี่ เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพิ่มผลผลิตส้มให้มากขึ้น และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มท้ังปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมทง้ั สารเคมีกำจดั ศัตรพู ชื และสัตว์ เฉลย่ี เดือนละ 2-3 ครัง้ จนละอองและกลน่ิ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนท่ีอยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ในสวนส้มยังม

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานทั้งในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนทั้งเพราะค่าแรงถูกกวา่

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท่ี

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหรี่ ด่ืมเหล้าและขโมยส้มกิน ซ่ึงมีทั้งนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาตอิ ื่นๆ

สถานการณ์ที่เกิดข้ึนเริ่มมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผู้เกี่ยวขอ้ งจงึ เขา้ รว่ มประชุมประชาคมเพือ่ แก้ไขปัญหา


ท่านรบั บทบาทเปน็ “ผู้บรหิ ารโรงเรียน”


ตอ้ งการจัดการศกึ ษาท่ีมคี ุณภาพ ใหแ้ กน่ ักเรียนท้งั คนไทยและลูกหลานคนงานตา่ งชาต

กังวลว่าจะมีผลเสียต่อส่ิงแวดล้อมและสุขภาพในระยะยาวจึงต้องการให้มีการแก้ไข

ด้วยการพดู คุยกับเจ้าของสวนส้มเพ่ือช่วยกันหยดุ ยงั้ ปญั หาท่เี กิดขึน้

นำเสนอถึงความรุนแรงของปัญหาที่ไดร้ ับวา่ มากนอ้ ยเพียงใด

ในฐานะผู้ได้รบั ความเดอื ดร้อน อยากให้ปัญหาไดร้ บั การแกไ้ ขอยา่ งไร

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย
และเป็นตวั อย่างท่ีดีสำหรับนักเรียนดว้ ย










การสง่ เสรมิ วิถีประชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

39




C





เรือ่ ง สวนสม้ ..กบั คนอาเซยี น


พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลถิ่นอุดม เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มท่ีอุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ่

หลายสวนเป็นแหลง่ ผลติ ส้มสง่ ตลาดตา่ งประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซียน สวนส้มทกุ แปลงจะมคี ูนำ้
ภายในหลอ่ เลย้ี งต้นส้มโดยรอบ และสรา้ งคันดินขนาดใหญ่ให้สงู เพ่อื ป้องกันนำ้ ท่วม ในฤดนู ้ำหลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที ง้ั คนในทอ้ งถนิ่ รวมทงั้ สวนสม้ ทม่ี เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพ่ิมผลผลิตส้มให้มากข้ึน และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มทั้งปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนดิ รวมท้ังสารเคมกี ำจดั ศัตรูพืชและสตั ว์ เฉล่ยี เดอื นละ 2-3 คร้งั จนละอองและกล่นิ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนท่ีอยู่ใกล้เคียง นอกจากน้ี ในสวนส้มยังม

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานท้ังในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนทั้งเพราะคา่ แรงถูกกวา่

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท ่ี

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าและขโมยส้มกิน ซ่ึงมีทั้งนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาตอิ ่ืนๆ

สถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนเร่ิมมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผเู้ กีย่ วขอ้ งจึงเขา้ ร่วมประชุมประชาคมเพอ่ื แก้ไขปญั หา


ทา่ นรบั บทบาทเปน็ “ครู”


กลน่ิ เหมน็ ในช่วงเวลาที่มกี ารเรียนการสอน

กังวลว่าจะมีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว จึงต้องการให้มีการแก้ไขด้วยการพูดคุยกับ
เจ้าของสวนสม้ เพอ่ื ช่วยกนั หยดุ ย้ังปัญหาท่ีเกดิ ขึน้

นำเสนอถงึ ความรนุ แรงของปญั หาที่ไดร้ ับวา่ มากน้อยเพียงใด

ในฐานะผไู้ ดร้ บั ความเดอื ดรอ้ น อยากให้ปญั หาไดร้ ับการแกไ้ ขอยา่ งไร

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย
และเปน็ ตัวอยา่ งทด่ี ีสำหรบั นกั เรียนด้วย










การสง่ เสรมิ วิถีประชาธปิ ไตยผา่ นกิจกรรมคา่ ย

40




C





เร่ือง สวนสม้ ..กับคนอาเซียน


พ้ืนที่ส่วนใหญ่ของตำบลถ่ินอุดม เป็นพื้นที่ราบลุ่มท่ีอุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ่

หลายสวนเปน็ แหลง่ ผลิตสม้ ส่งตลาดต่างประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน สวนสม้ ทกุ แปลงจะมีคูน้ำ
ภายในหล่อเล้ียงต้นสม้ โดยรอบ และสรา้ งคันดินขนาดใหญ่ใหส้ ูงเพือ่ ปอ้ งกนั นำ้ ท่วม ในฤดูนำ้ หลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที งั้ คนในทอ้ งถนิ่ รวมทงั้ สวนสม้ ทม่ี เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพิ่มผลผลิตส้มให้มากข้ึน และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มทั้งปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมทง้ั สารเคมีกำจัดศัตรูพชื และสตั ว์ เฉลย่ี เดือนละ 2-3 ครั้งจนละอองและกล่นิ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ในสวนส้มยังมี

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานท้ังในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนทงั้ เพราะคา่ แรงถูกกว่า

เจ้าของสวนส้มที่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท ี่

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหร่ี ดื่มเหล้าและขโมยส้มกิน ซึ่งมีท้ังนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาตอิ นื่ ๆ

สถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนเริ่มมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผู้เกี่ยวขอ้ งจึงเขา้ รว่ มประชมุ ประชาคมเพ่อื แก้ไขปญั หา


ท่านรบั บทบาทเปน็ “นกั เรียน”


นำเสนอถึงความรุนแรงของปญั หาที่ไดร้ ับวา่ มากนอ้ ยเพยี งใด

ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ละอองสารเคมีฟุ้งกระจาย และกล่ินเหม็นรบกวน

ความเป็นอยู่ และสมาธิในการเรียนการสอนอย่างรุนแรงในระดับที่ครูและนักเรียนไม่สามารถทนนั่ง
อยใู่ นท่ีโล่งไม่ปิดประตูหน้าต่างไดเ้ พราะหากนงั่ อย่จู ะรู้สึกเหม็นกลิ่นสารเคมี

ในชว่ งท่มี กี ารฉีดพ่นโดยใชเ้ ครื่องพ่น เสียงดงั รบกวน

ในฐานะผไู้ ดร้ บั ความเดอื ดร้อน อยากให้ปญั หาได้รบั การแก้ไขอยา่ งไร

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย

มีจติ อาสาพรอ้ มท่จี ะใหค้ วามรว่ มมอื ในการแกไ้ ขปัญหา

 






การส่งเสริมวถิ ีประชาธิปไตยผ่านกจิ กรรมคา่ ย

41



C





เรือ่ ง สวนส้ม..กบั คนอาเซียน


พ้ืนท่ีส่วนใหญ่ของตำบลถิ่นอุดม เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มท่ีอุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ

หลายสวนเปน็ แหลง่ ผลติ สม้ สง่ ตลาดต่างประเทศในกลมุ่ ประชาคมอาเซยี น สวนส้มทกุ แปลงจะมีคนู ำ้
ภายในหล่อเล้ียงต้นสม้ โดยรอบ และสร้างคนั ดนิ ขนาดใหญ่ให้สงู เพ่อื ปอ้ งกันนำ้ ทว่ ม ในฤดนู ้ำหลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที ง้ั คนในทอ้ งถน่ิ รวมทง้ั สวนสม้ ทม่ี เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ท่ีจะเพิ่มผลผลิตส้มให้มากขึ้น และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มทั้งปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนดิ รวมท้ังสารเคมกี ำจดั ศัตรพู ืชและสตั ว์ เฉล่ยี เดอื นละ 2-3 ครั้งจนละอองและกลน่ิ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากน้ี ในสวนส้มยังมี

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานทั้งในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนท้ังเพราะค่าแรงถูกกวา่

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนที่

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหรี่ ด่ืมเหล้าและขโมยส้มกิน ซ่ึงมีท้ังนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาติอนื่ ๆ

สถานการณ์ที่เกิดข้ึนเร่ิมมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผเู้ กย่ี วข้องจึงเข้ารว่ มประชมุ ประชาคมเพือ่ แก้ไขปญั หา


ท่านเป็น “ศกึ ษานิเทศก”์


ห่วงใยเด็กนักเรียน และตระหนักถึงสิทธิเด็กรวมถึงความสำคัญของเด็กทุกคนไม่ว่าจะ
เปน็ เด็กไทย หรือเดก็ ต่างชาติ


มองปัญหาทุกมติ ิ ท้ังด้านสุขภาพ ส่ิงแวดลอ้ ม สงั คม ฯลฯ

มองวธิ ีการแกไ้ ขปัญหาอย่างบูรณาการ

ต้องการใหส้ วนสม้ มสี ว่ นรว่ มในการสอดสอ่ งดูแลเดก็ ทโ่ี ดดเรียนดว้ ย

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย


การสง่ เสรมิ วิถปี ระชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย

42




D


เรือ่ ง สวนส้ม..กบั คนอาเซียน


พ้ืนที่ส่วนใหญ่ของตำบลถ่ินอุดม เป็นพ้ืนที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ่

หลายสวนเป็นแหลง่ ผลติ ส้มสง่ ตลาดตา่ งประเทศในกลุม่ ประชาคมอาเซียน สวนสม้ ทกุ แปลงจะมคี นู ้ำ
ภายในหล่อเลย้ี งต้นสม้ โดยรอบ และสรา้ งคนั ดนิ ขนาดใหญ่ให้สงู เพ่อื ปอ้ งกันน้ำทว่ ม ในฤดนู ้ำหลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที งั้ คนในทอ้ งถนิ่ รวมทง้ั สวนสม้ ทม่ี เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพ่ิมผลผลิตส้มให้มากข้ึน และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มท้ังปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมทัง้ สารเคมกี ำจัดศตั รูพชื และสตั ว์ เฉลย่ี เดอื นละ 2-3 ครง้ั จนละอองและกลิน่ ของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนท่ีอยู่ใกล้เคียง นอกจากน้ี ในสวนส้มยังม

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานท้ังในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนทงั้ เพราะคา่ แรงถูกกว่า

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนที่

หนีเรียนเข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าและขโมยส้มกิน ซ่ึงมีทั้งนักเรียนไทย และลูกหลาน
ของคนงานชาติอ่นื ๆ

สถานการณ์ที่เกิดข้ึนเร่ิมมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผเู้ ก่ยี วข้องจงึ เขา้ ร่วมประชุมประชาคมเพ่ือแก้ไขปัญหา


ทา่ นรับบทบาทเปน็ “ชาวบ้านที่ไดร้ บั ความเดือดรอ้ น”


นำเสนอถึงความรุนแรงของปัญหาที่ได้รับว่ามากน้อยเพียงใด เช่น กลิ่นยาฆ่าแมลง
ทำให้ปวดศรี ษะวิงเวยี น


วิตกกังวลว่าจะกลิ่นยาฆ่าแมลงเหล่าน้ีจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพอนามัยท้ังของคนและ
สตั วเ์ ลยี้ งในระยะยาว เพราะละอองยาตกลงไปในอาหาร แหลง่ น้ำ


เคยแจ้งความเดือดร้อนนี้ไปยังเจ้าของสวนส้มและร้องเรียนไปยัง อบต. ถ่ินอุดมแล้ว

แตก่ ย็ งั ไม่มกี ารดำเนนิ การแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด


ถ้าโรงเรียนมนี กั เรียนลาว พมา่ กัมพูชามากๆ ก็จะให้ลกู ออกจากโรงเรียนไปเรยี นที่อนื่

ต้องการให้มีผ้รู ับผิดชอบเวลาเจบ็ ไข้ไดป้ ่วย

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย


การสง่ เสรมิ วถิ ีประชาธิปไตยผา่ นกจิ กรรมค่าย

43




E


เรื่อง สวนส้ม..กับคนอาเซียน


พื้นท่ีส่วนใหญ่ของตำบลถิ่นอุดม เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มีสวนส้มขนาดใหญ่

หลายสวนเปน็ แหล่งผลิตส้มส่งตลาดตา่ งประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซยี น สวนส้มทุกแปลงจะมีคูนำ้
ภายในหล่อเล้ียงตน้ สม้ โดยรอบ และสรา้ งคันดนิ ขนาดใหญใ่ หส้ งู เพ่ือปอ้ งกันนำ้ ทว่ ม ในฤดนู ำ้ หลาก

เจา้ ของสวนสม้ มที งั้ คนในทอ้ งถนิ่ รวมทงั้ สวนสม้ ทมี่ เี จา้ ของเปน็ ชาวจนี สงิ คโปร์ มคี วามตอ้ งการ

ที่จะเพิ่มผลผลิตส้มให้มากข้ึน และเร่งผลผลิตส้มให้ได้ผลผลิตปีละ 2-3 รุ่น ทำให้เจ้าของสวนส้ม

ใช้สารเคมีบำรุงรักษา และกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ฉีดพ่นในสวนส้มทั้งปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สารบำรุงดิน
หลากหลายชนิดรวมทงั้ สารเคมกี ำจดั ศตั รูพืชและสตั ว์ เฉล่ยี เดือนละ 2-3 ครงั้ จนละอองและกล่ินของ
สารเคมีฟุ้งกระจายเข้าสู่บริเวณชุมชนและโรงเรียนท่ีอยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ในสวนส้มยังมี

การจ้างแรงงานเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชามาทำงานทั้งในฐานะผู้จัดการสวนส้ม และแรงงาน

ในการทำสวนทัง้ เพราะคา่ แรงถกู กว่า

เจ้าของสวนส้มท่ีอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณโรงเรียน ได้เคยมีกรณีแจ้งตำรวจจับนักเรียนท ่ี

โดดเรียน เข้าไปหลบในสวนส้ม สูบบหุ ร่ี ดื่มเหล้าและขโมยสม้ กนิ ซ่ึงมที ้งั นักเรียนไทย และลกู หลาน
ของคนงานชาติอน่ื ๆ

สถานการณ์ที่เกิดข้ึนเริ่มมีความเดือดร้อนรุนแรงจึงต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน

ผ้เู กีย่ วขอ้ งจึงเข้ารว่ มประชมุ ประชาคมเพื่อแก้ไขปญั หา


ทา่ นรับบทบาทเป็น “นกั วิชาการสงิ่ แวดล้อม”


ท่านหว่ งใยเร่อื งสิ่งแวดลอ้ ม การปนเปื้อนมลพิษทั้งทางอากาศ แหล่งนำ้ กินน้ำใช้

มองปญั หาทุกมิติ ท้ังดา้ นสุขภาพ ส่งิ แวดล้อม สงั คม ฯลฯ

มองวิธีการแกไ้ ขปญั หาอย่างบูรณาการ ดว้ ยความรว่ มมือของทกุ ฝ่าย

โปรดคดิ หาวธิ กี ารและแสดงความคดิ เหน็ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาอยา่ งสนั ตติ ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย

 














การส่งเสรมิ วิถปี ระชาธปิ ไตยผ่านกจิ กรรมค่าย


Click to View FlipBook Version