The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

10 จุด ภายในวัดกองดิน สำหรับสแกน AR ผ่านแอป Artivive

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kamonwan.13502, 2021-10-02 09:57:43

10 จุด AR วัดกองดิน

10 จุด ภายในวัดกองดิน สำหรับสแกน AR ผ่านแอป Artivive

วัดกองดิน

หมู่ 2 ตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

โปรดติดตั้งแอป Artivive

: จุดที่ 1 :

วัดกองดินเป็นวัดลำดับสุดท้ายชาย
เขตจังหวัดระยอง ตั้งอยู่บนเส้นทางเดิน
ทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยใช้
สถานที่ดังกล่าว เพื่อตำดินปืนเตรียมไว้ใช้
ในการออกศึกสงคราม ก่อนไปตีเมือง
จันทบุรี สถานที่แห่งนี้จึงถูกเรียกว่า กอง
ดินปืน ภายหลังนิยมเรียกกันว่ากองดินมา
จนถึงปัจจุบันนี้

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 2 :



โพธิ์ 3 ต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงมีพระราชกุศโลบายกระตุ้นจิตสำนึกให้ทหารหาญเกิด
ความฮึกเหิมในการกอบกู้เอกราช จึงมีดำริให้แม่ทัพนายกอง
ทหารหาญนำโพธิ์มา 3 ต้น เพื่อสื่อใช้แทนชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ โดยให้แม่ทัพนายกอง และทหารหาญร่วม
กันปลูกต้นโพธิ์สามต้นเมื่อปีพศ 2310 ก่อนที่จะยกทัพออก
จากค่ายกองปืน เพื่อไปตีเมืองจัน
ปัจจุบันต้นโพธิ์ทั้ง 3 ต้นได้เจริญเติบโตขยายรัดรวม
เป็นต้นเดียวกัน มีขนาดลำต้นประมาณ 15 คนโอบ และทาง
กระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน
1 ใน 65 ต้นของประเทศ เมื่อปีพศ 2561




สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 3 :

ประวัติการสร้างพระราชานุสรณ์พลับพลา
ที่ประทับพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ณ ค่ายกองดินปืน ได้รับการสนับสนุนจากผู้บัญชาการ
ทหารสูงสุดกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารเรือ และส่วน
งานราชการทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อวันที่
28 ธันวาคมพ.ศ 2547 เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าสถานที่แห่ง
นี้เป็นจุดพักทัพลำดับที่ 26 ในเขตจังหวัดระยอง

วัตถุประสงค์ของการสร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ก็เพื่อ
มุ่งให้ประชาชนได้มีโอกาสมาสักการะและรำลึกถึงพระ
มหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 4 :

ลูกกระสุนปืนใหญ่โบราณมีอายุราว
250 ปี ปัจจุบันมีการขุดค้นพบในพื้นที่
แล้วทั้งหมด 15 ลูก และยังมีต้นสอยดาว
เป็น 1 ใน 3 วัตถุดิบสำคัญในการทำ
ดินปืน ปัจจุบันต้นสอยดาวจึงกลายเป็นไม้
อนุรักษ์ของค่ายกองดินปืนจนปัจจุบันนี้

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 5 :

จุดรวมพลคนรักพระเจ้าตาก คือ จุดเช็คอิน
บอกตำแหน่งสถานที่ และแสดงสัญลักษณ์ความสำคัญ
ของค่ายกองดินปืน ที่ตั้งอยู่ ณ จุดกึ่งกลาง 4 จังหวัด
ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
โดยวัดกองดินเป็นวันสุดท้ายของจังหวัดระยองที่มีเขต
ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และเป็นจุดศูนย์กลางของวัด
เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ แสดง
แผนที่เส้นทางเดินทัพ โดยมีจุดเริ่มต้นหมุดประวัติศาสตร์
ลำดับที่ 1 จากวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และวัดกองดิน เป็น
หมุดประวัติศาสตร์ลำดับที่ 26 สุดท้ายของจังหวัดระยอง
ก่อนยกทัพไปตีเมืองจัน

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 6 :

ศูนย์การเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น ดร.พระครูสุนทรเขมาภินันท์ เจ้าอาวาสวัดกองดิน
เป็นผู้ริเริ่มวางพื้นฐาน ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้อง
ถิ่นนี้ มาตั้งแต่พ.ศ 2545

ปัจจุบันทางวัดร่วมกับเทศบาลตำบลกองดิน และกลุ่ม
องค์กรต่างๆ ได้เข้ามาเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนสร้างเป็น
ศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อรวบรวมวัตถุสิ่งของ
โบราณต่างๆ ที่ได้ค้นพบ เช่น ลูกกระสุนปืนใหญ่ เงินพดด้วง
พระพุทธรูปโบราณ ถ้วย ชาม ไหโบราณ เสาโบสถ์ของวัด
คงคาจืด อีกทั้งมีการจำลองรอยเกวียนเส้นทางเดินทัพ และ
สาธิตการทำดินปืนไว้ในศูนย์เรียนรู้นี้ด้วย

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 7 :

เสาไม้อุโบสถของวัดคงคาจืด วัดกองดิน
แต่เดิมมีชื่อว่า วัดคงคาจืด ภายหลังเมื่อมีการ
ย้ายจากวัดเก่า มาสร้างในที่ดินผืนใหม่เนื่องจากวัด
คงคาจืดได้ทรุดโทรมยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้
เปลี่ยนชื่อเป็นวัดกองดิน

โดยมีตำนานความเชื่อในท้องถิ่นว่า เมื่อกองทัพของ
พระเจ้าตากสินมาพักทัพตำดินปืน ณ หมู่บ้านแห่งนี้
พระองค์ท่านได้ประทับอยู่ภายในอุโบสถของวัดคงคาจืด
ก่อนไปตีเมืองจันทบุรี ปัจจุบันทางวัดได้นำเสาอุโบสถ
ช่อฟ้าหางหงส์ ที่ยังเหลืออยู่มาเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลัก
ฐานทางประวัติศาสตร์ต่อไป

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 8 :

คนจีนโพ้นทะเลสมัยรัชกาลที่ 3
เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ 3 ชั้นมีฐานบัวรองรับ
เป็นงานศิลปะผสมระหว่างไทยคนจีน เพื่อเก็บบรรจุอัฐิ
กระดูกของเหล่าบรรพชนคนจีนที่ได้อพยพมาจากเมือง
ซัวเถา และบรรพชนคนไทยส่วนหนึ่งก็เข้ามาตั้งรกราก
อยู่อาศัยในพื้นที่ของหมู่บ้านกองดินต่อมาเมื่อเกิดเจ็บ
ป่วยล้มตายก็ได้สร้างเป็นสถูปเจดีย์ และนำเอากระดูก
มาบรรจุเก็บไว้เพื่อกราบไหว้

ปัจจุบันช่วงเทศกาลเช็งเม้ง ก็ยังมีลูกหลานบรรพ
ชนจีนแซ่สกุลต่างๆ นำอาหารหวานคาวมาเซ่นสรวง
กราบไหว้ แสดงความกตัญญูเป็นประจำทุกปี

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 9 :

พระพุทธภัทรปิยะปกาศิตมีขนาด
หน้าตัก 59 นิ้ว สร้างมาจากพระพุทธรูป
ซึ่งเคยเป็นพระชัยหลังช้างของสมเด็จ
พระเจ้าตากสิน ตามประวัติเล่าว่าสมเด็จ
พระเจ้าตากสินทรงประกอบพิธี สร้างพระพุทธ
รูปพระประธานไว้ โดยสร้างเมื่อปีพศ 2513
แต่ในภายหลังได้เพิ่มมงคลนามของพระพุทธ
รูปว่า ปิยะ

ปัจจุบันศรัทธาสาธุชนจึงนิยมเรียกพระพุทธ
ภัทรปิยะปกาศิตรูปนี้ว่า หลวงพ่อปิยปกาศิต

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

: จุดที่ 10 :

ตำนานพระชัยหลังช้าง มีประวัติเล่าไว้ว่า
สมเด็จพระเจ้าตากสิน มักจะนิยมอัญเชิญพระพุทธ
รูปที่เป็นปางมารวิชัยสถาน ไว้บนหลังช้างไปใน
สนามรบ โดยมีความเชื่อว่า พระพุทธรูปนี้จะนำชัย
มาให้แก่กองทัพ จึงเรียกกันว่า พระชัยหลังช้าง หรือ
อีกนามหนึ่งว่า พระพุทธะนำชัย โดยคณะราชกุล ณ
นครได้นำมาถวายวัดกองดินเมื่อปีพ.ศ 2546

ปัจจุบันทางวัดได้ประดิษฐานพระชัยหลังช้างองค์
จริงไว้ภายในพระอุระของพระประธานในอุโบสถ

สแกน AR ผ่านแอป Artivive

มาระยอง ต้องเที่ยวกองดิน
กองดิน ถิ่นดินปืน

แกลง ระยอง

สแกนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ : ตำบลกองดิน แกลง ระยอง,ออนไลน์
เรียบเรียง/ออกแบบ : ทีมงาน U2T ตำบลกองดิน
ใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในชุมชน


Click to View FlipBook Version