The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Bmon Wacharakun, 2024-06-18 23:42:58

ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

ชีวิชีตวิเรามีแมีค่สี่พั สี่ นพัสัปสัดาห์ FOUR THOUSAND WEEKS TIME MANAGEMENT FOR MORTALS O L I V E R B U R K E M A N 3 6 6 / 2 0 2 4 L I F E & V A L U E ผู้เขียน วาดฝัน คุณคุาวงศ์ ผู้แปล นัฐณิชณิวัชวัรกุลกุ ผู้จัดทำ


เมื่อพูดถึงการจัดการเวลา สิ่งที่มักคิดก็คือ อยากมีเวลามาก ๆ ทำ ทุก อย่างให็เสร็จไว ๆ เพื่อที่จะได้ประสบความสำ เร็จอะไรสักอย่าง มีความฝันอันหวานชื่น ว่า เราจะได้ใช้ชีวิตสบาย ๆ สักที จนหลงลืมตัวเอง จริง ๆ แล้ว สิ่งที่มีคุณค่ากับเราจริง ๆ สิ่ง ที่เราไม่ได้ทำ เพื่อแค่หวังผลในวันข้างหน้า แต่สิ่งที่ทำ แล้วมีความหมายตอนนี้เลย ทุกวันนี้เรา “ ใช้เวลา ” กับอย่างอื่นมากเกินไป จนหลงลืมการ “ ใช้ชีวิต” หรือ ป่าว เพรามีมุมมองที่มีเวลาต้องใช้ให้คุ้มค่าจนลืมตัวเอง มีเครื่องมือที่คุณเอาไปใช้ได้ ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้จัดการบริหารทั่วๆไป แต่เป็น เครื่องมือที่ทำ ให้สร้างชีวิตอันจำ กัดของคุณให้มีความหมาย เพราะเวลา 4000 สัปดาห์ ไม่ ได้ยาวนานชั่วนิรันดร์ รู้จักการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เพราะชีวิตเราจะดำ เนินไปเรื่อยๆ ชีวิตคือ “ เวลา ” ในตัวมันเอง คำ นำ


สา ร บัญ ในระยะยาวทุกทุคนก็ตายอยู่ดียู่ ดี จุดสิ้นสิ้สุดสุของนิรันรัดร์กร์าล ความเป็นจริงริอันเย็นย็เฉียบราวน้ำ แข็งข็ 01 03 05 ชีวิชีตวิที่ยอมรับรัการมีขีมีดขีจำ กัด ชีวิชีตวิบนสายพาน 02 มัวมัแต่ทำ สิ่งสิ่ที่ไม่จำม่จำเป็น 04 06 FOUR THOUSAND WEEKS TIME MANAGEMENT FOR MORTALS


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ชีวิชีตวิบนสายพาน แน่นอนว่าในแง่หนึ่ง ทุกวันนี้ไม่ต้องมีใครมาบอกเราว่าพวกเรามีเวลาไม่พอ เราทุกคนหมกมุ่นกับอีเมลที่ล้นอินบ็อกซ์ รายการสิ่งที่ต้องทำ ยาวเหยียด และยังโดนหลอกหลอนด้วยความรู้สึกผิดว่าเราควรทำ สิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จได้มากกว่านี้ หรือทำ ได้หลากหลายกว่านี้ หรือทั้งสองอย่าง(เราจะรู้แน่ชัดได้อย่างไรว่าผู้คนรู้สึกว่าตนเองกำ ลังยุ่งมาก ก็เหมือนกับ การรู้ได้อย่างไรว่าใครคนหนึ่งกินมังสวิรัติหรือเปล่านั่นละ คือไม่ต้องห่วงเดี๋ยวเขาก็บอกคุณเอง) ผลการสำ รวจแสดงให้ เห็นชัดว่าทุกวันนี้พวกเรารู้สึกกดดันเพราะมีเวลาไม่พอยิ่งกว่ายุคสมัยไหน แต่ในปี 2013 งานวิจัย จากทีมนักวิชาการ ชาวดัตช์ ชูประเด็นความเป็นไปได้อันน่าขันว่าผลสำ รวจเหล่านี้อาจแสดงระดับการระบาดของความยุ่งต่ำ ไป เพราะคนที่ ยุ่งมาก ๆ จะรู้สึกยุ่งเกินกว่าจะมาร่วมตอบแบบสอบถาม ไม่นานมานี้เมื่อวิถีการทำ งานฟรีแลนซ์ (Gig Economy) เริ่ม เติบโตขึ้น ความยุ่งได้ถูกเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ภายใต้คำ ว่า “ความรีบเร่ง” หรือการทำ งานอย่างไม่หยุดไม่หย่อน แต่ ไม่ใช่ทำ ไปเพราะเป็นภาระที่ต้องจำ ทนแต่เป็นทางเลือกในการใช้ชีวิตที่แสนเบิกบานใจ ควรค่าแก่การเอาไปอวดลงโซ เชียลมีเดีย ทว่าในความเป็นจริง มันก็คือปัญหาเดิมที่ถูกผลักดันไปจนถึงขีดสุด หรือแรงกดดันที่จะต้องยัดสิ่งที่ต้องทำ มากขึ้นเรื่อย เข้าไปในปริมาณเวลาที่ไม่ยอมเพิ่มขึ้นเลยในแต่ละวัน แล้วก็ยังมีปัญหาโลกแตกตลอดกาล เช่น จะแต่งงานกับใครจะมีลูกดีไหม จะทำ งาน ประเภทไหนดี ถ้าเรามีชีวิตอยู่ได้เป็นพัน ๆ ปีปัญหา เหล่านั้น คงทำ ให้ทุกข์ระทม น้อยลงมาก เพราะเราจะมีเวลาเพียงพอหลายทศวรรษทดลองการดำ รงอยู่รูปแบบ ต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเวลาจะครบสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากไม่ เอ่ยถึงปรากฏการณ์น่าหวั่นใจที่คนอายุเกิน 30 ปีคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือเวลาดูจะ ผ่านไปเร็วขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น จากคำ บอกเล่าของคนในช่วงอายุ 70 ถึง 80 ปี เวลาผ่านไปเร็วด้วยความเร่งที่สม่ำ เสมอจนถึงขั้นที่รู้สึกว่าแต่ละเดือนผ่านไปอย่าง รวดเร็วราวกับเป็นนาที คงยากที่จะจินตนาการถึงสถานการณ์ที่โหดร้ายไปกว่านี้ เวลา 4,000 สัปดาห์ของเราไม่ใช่แค่จะหมดไปเรื่อย ๆเท่านั้น แต่ยิ่งเราเหลือเวลา น้อยลงเท่าไร ดูเหมือนเราจะยิ่งเสียมันไปเร็วขึ้นเท่านั้นและถ้าหากความสัมพันธ์ของ เรากับเวลาอันจำ กัดนั้นเป็นอะไรที่ยากเย็นอยู่แล้ว เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมา นี้ก็พาให้เรื่องมาถึงจุดวิกฤติ ในปี 2020 ระหว่างการล็อกดาวน์ในช่วงการระบาด ของไวรัสโคโรนา เราถูกสั่งให้หยุดกิจวัตรประจำ วันตามธรรมดาของเราไว้ชั่วคราว หลายคนบอกว่า รู้สึกเหมือนเวลาได้พังทลายลงอย่างสิ้นเชิง ทำ ให้เกิดความรู้สึก สับสนราวกับว่าแต่ละวันของพวกเขาผ่านไปอย่างรวดเร็วแต่ขณะเดียวกันก็ลากยาว อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เวลาแบ่งแยกเรายิ่งกว่าที่เคยเป็นมา สำ หรับคนที่มีทั้งงานและลูก เล็กอยู่ที่บ้าน เวลาไม่เคยเพียงพอ สำ หรับคนที่ถูกลดเวลางานหรือตกงาน เวลาก็มี มากเงินไปผู้คนพบว่าตนเองทำ งานไม่เป็นเวลา หลุดออกจากวัฏจักรของกลางวัน 1


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ชีวิชีตวิบนสายพาน อนาคตไม่ควรทำ ให้เรารู้สึกแบบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ในปี 1930ในสุนทรพจน์หัวข้อ “ความเป็นไปได้ทาง เศรษฐศาสตร์สำ หรับชนรุ่นหลานของเรา” (Economic Possibilities for Our Grandchildren)นักเศรษฐ ศาสตร์จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ได้ทำ นายไว้อย่างโด่งดังว่าภายในร้อยปีนี้ ด้วยมูลค่าของทรัพย์สินที่เติบโตขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จะไม่มีใครต้องทำ งานมากกว่าสิบห้าชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกต่อไป ความ ท้าทายจะอยู่ที่การหาอะไรทำ เพื่อเติมเต็มเวลาที่ว่างขึ้นโดยไม่เป็นบ้าไปเสียก่อน “เป็นครั้งแรกตั้งแต่มนุษย์ถูก สร้างขึ้น” เคนส์กล่าวกับผู้ชมของเขา “มนุษย์จะได้เผชิญหน้ากับปัญหาที่แท้จริงของเขาปัญหาถาวรของเขา ว่าจะ ใช้อิสรภาพอย่างไรจากปัญหาเศรษฐกิจที่รอ การแก้ไขอย่างเร่งด่วน” แต่เคนส์คาดผิด มันกลายเป็นว่าเมื่อผู้คน ทำ เงิน ได้มากเท่าที่จำ เป็น เขาก็จะหาสิ่งที่จำ เป็นใหม่ ๆ และไลฟ์สไตล์ที่ต้องตะกายไปให้ถึง ยากที่พวกเขาจะรู้สึก ทัดเทียมกับไอดอลที่ตนชื่นชมเพราะเมื่อไรที่เขาเฉียดไปใกล้จุดเดียวกันนั้น พวกเขาจะสถาปนาไอดอลคนใหม่ ที่ดีกว่าเป็นเป้าหมายต่อไปที่ต้องไปให้ถึง ผลลัพธ์ก็คือพวกเขาจะทำ งานหนักขึ้น หนักขึ้น และไม่นานความยุ่งก็ กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย เพราะในประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมด เหตุผล เดียวของการเป็นคนรวยคือเพื่อที่เราจะ ไม่ ต้องทำ งานหนัก ยิ่งไปกว่านั้นความยุ่งของพวกคนมีอันจะกินยังเป็น เหมือนกับโรคติดต่อ เพราะหนึ่งในวิธีหาเงินเพิ่มที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดสำ หรับพวกชนชั้นสูง คือการตัดค่าใช้ จ่ายและปรับปรุงประสิทธิภาพในบริษัทและอุตสาหกรรมของพวกเขา นั่นหมายถึงความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นสำ หรับ คนระดับล่าง ที่จำ เป็นต้องทำ งานหนักขึ้นเพียงเพื่อจะหาเช้ากินค่ำ รูปแบบการแพ้ภัยตัวเองทำ นองนี้ยังใช้ได้กับความพยายามของเราที่อยากทำ งานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เมื่อ ไม่กี่ปีก่อนตอนผมจมอยู่ในกองอีเมล ผมประสบความสำ เร็จในการใช้ระบบที่เรียกกันว่าอินบ็อกซ์เป็นศูนย์ (Inbox Zero) แต่ไม่นานนักผมกลับพบว่าเมื่อคุณสามารถตอบอีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด ๆ สิ่งเดียวที่ เกิดขึ้นก็คือคุณได้อีเมลมากขึ้นกว่าเดิม และรู้สึกยุ่งกว่าเดิม (ก็เพราะอีเมลพวกนั้นนั่นละ) ผมจึงซื้อหนังสือ Getting Things Done โดยเดวิด อัลเลนกูรูด้านการบริหารจัดการเวลา ผมถูกล่อด้วยคำ สัญญาของเขาที่ ว่า“เป็นไปได้ที่คนซึ่งมีงานกองท่วมหัว จะใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยสมองที่ปลอดโปร่ง” และ “สิ่งที่นัก ต่อสู้ป้องกันตัวเรียกว่า ‘จิตดั่งน้ำ ใส’ แต่ผมไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่อัลเลนพยายามจะสื่อในระดับลึก คือมันมี อะไรให้ต้องทำ มากเกินไปเสมอ ผมกลับตั้งหน้าตั้งตาพยายามทำ งานจำ นวนมากเกินรับไหวให้เสร็จ ที่จริงผม ไล่ทำ งานตามลิสต์จนเสร็จได้เก่งขึ้นนะ แต่แล้วก็พบว่างานจำ นวนมากกว่าเดิมผุดขึ้นมาราวกับมีเวทมนตร์ (แต่ ที่จริงมันไม่ใช่เวทมนตร์อะไรหรอก เป็นแค่จิตวิทยาง่าย ๆ บวกกับทุนนิยม แต่เรื่องนั้นเราว่ากันทีหลัง) 2


ตอนนี้เราได้มาถึงหัวใจหลักของเรื่อง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่อยู่ลึกลงไปและยากที่จะเอ่ยออกมาเป็นคำ พูด ความรู้สึกนั้นคือ ถึงเราจะทำ สิ่งเหล่านี้ทุกอย่าง แต่กระทั่งคนที่ค่อนข้างมีฐานะในหมู่พวกเราก็ยังแทบไม่เคยได้ทำ สิ่งที่ควรทำ จริง ๆ เลย เรารู้สึกว่าการใช้เวลาทำ สิ่งที่สำ คัญกว่าและเติมเต็มชีวิตมากกว่านั้นมีอยู่ แม้เราจะไม่อาจบอกได้ว่ามันคืออะไรบ้าง เสียทีเดียว แต่เรากลับใช้แต่ละวันไปกับการทำ สิ่งอื่นอยู่เป็นประจำ การโหยหาสิ่งที่มีความหมายมากกว่ามีหลากหลาย รูปแบบ มันอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่นในความต้องการที่จะอุทิศตัวคุณเองให้กับการทำ เรื่องที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ในการตระหนักรับรู้ ได้เองว่านาทีนี้ของประวัติศาสตร์ซึ่งเต็มไปด้วยวิกฤติและความทุกข์ยากต่าง ๆ อาจเรียกร้องให้คุณทำ อะไรมากกว่าการ ได้เงินมาแล้วก็จ่ายไป นอกจากนี้มันยังอยู่ในความหงุดหงิด10 ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ท้อแท้ที่ต้องทำ งานทั้งวันเพื่อจะ ได้ซื้อเศษเสี้ยวของเวลาเพื่อทำ สิ่งที่ตนรัก และอยู่ในความรู้สึกโหยหาการใช้เวลาอันน้อยนิดบนโลกใบนี้กับลูก ๆ หรือ ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่การเดินทางไปทำ งาน ชาร์ลส์ ไอเซนสไตน์ นักสิ่งแวดล้อมและนักเขียน ด้านจิตวิญญาณจดจำ ได้ว่าครั้งแรกที่สัมผัสได้ถึง “ความไม่ถูกต้อง” ระดับพื้นฐานในการใช้เวลาของเรา คือสมัยที่เขา ยังเป็นเด็กที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความสะดวกสบายด้านวัตถุในอเมริกาช่วงทศวรรษ 1970 ความรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องนี้ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิมเมื่อเราพยายามจะมีผลิตภาพมากขึ้น ดูเหมือนว่ามันส่งผลให้เรายิ่งผลัก เรื่องที่สำ คัญจริง ๆออกไปไกลจนสุดขอบฟ้า แต่ละวันของเราหมดไปกับการพยายาม“ตะลุยทำ ” ภารกิจต่าง ๆ เพื่อ “ให้มันเสร็จ ๆ ไป” และผลก็คือเราใช้ชีวิตจดจ่ออยู่กับอนาคต รอเวลาที่เราจะได้ทำ สิ่งที่สำ คัญจริง ๆ เสียที และระหว่างนั้นก็กังวลไปด้วยว่าเราไม่ดีพอ ดีไม่ถึงมาตรฐาน หรือเราขาดแรงกระตุ้นหรือความอดทนที่จำ เป็นสำ หรับ การไล่ให้ทันกับความเร็วของชีวิตในโลกปัจจุบัน “จิตวิญญาณของยุคสมัยนี้คือความรีบเร่ง อันไร้สุข” นักเขียนบทความ มาริลิน โรบินสัน เขียนไว้ เธอสังเกตว่าพวกเราหลายคนใช้ชีวิตไปกับการ “ตระเตรียมตัวเองและลูกหลานให้เป็น หนทางไปสู่จุดสิ้นสุดที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้และไม่ใช่ของเราเอง” การดิ้นรน ที่จะอยู่เหนือทุกสิ่งอาจเป็นประโยชน์สำ หรับ ใคร บางคน การทำ งานหนัก F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S มัวมัแต่ทำ สิ่งสิ่ไม่จำ ม่ จำเป็น ป็ ผมรู้ว่าชีวิตควรจะสดใสเบิกบานกว่านี้ จริงแท้กว่านี้มีความ หมายกว่านี้ และโลกควรจะงดงามกว่านี้ เราไม่ควรจะต้อง เกลียดวันจันทร์และมีชีวิตเพื่อรอคอยวันหยุดสุดสัปดาห์และวัน หยุดนักขัตฤกษ์ เราไม่ควรต้องยกมือขออนุญาตไปฉี่ เราไม่ควร ถูกขังอยู่แต่ในอาคารในวันที่อากาศดี วันแล้ววันเล่า 3


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S มัวมัแต่ทำ สิ่งสิ่ไม่จำ ม่ จำเป็น ป็ หลายชั่วโมงและเอารายได้ที่เพิ่มขึ้นมาซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคมากขึ้นเปลี่ยนเราให้เป็นฟันเฟืองที่ดีขึ้นในเครื่องจักร เศรษฐกิจ แต่ผลของมันไม่ใช่ความสบายใจ และไม่ได้นำ ไปสู่การใช้เวลาที่มีจำ กัดของเราไปกับคนหรือสิ่งที่เราใส่ใจ อย่างแท้จริงมากกว่าเดิมหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสืออีกเล่มเกี่ยวกับการใช้เวลาให้ดีที่สุดแต่ผมเขียนขึ้นด้วยความเชื่อที่ ว่าการบริหารจัดการเวลาแบบที่เรารู้จักกันนั้นล้มเหลวอย่างน่าอนาถ และเราต้องเลิกแสร้งทำ เป็นว่ามันได้ผลช่วงเวลา อันแปลกประหลาดในประวัติศาสตร์ซึ่งเวลาดูสับสนไม่อยู่กับร่องกับรอยนี้ แท้จริงแล้วอาจกำ ลังมอบโอกาสอันดีที่ทำ ให้ เราได้พิจารณาความสัมพันธ์ของเรากับมันใหม่อีกครั้ง นักคิดที่อาวุโสกว่าเราเคยเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้มาก่อน และเมื่อนำ ภูมิปัญญาของพวกเขามาประยุกต์ใช้กับปัจจุบัน ความจริงบางอย่างก็ปรากฏให้เห็น ชัดเจนขึ้น ผลิตภาพคือ กับดัก การมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีแต่จะทำ ให้คุณรู้สึกเร่งรีบ และการพยายามเคลียร์กองงานก็ทำ ให้มีงานใหม่มาเพิ่ม เร็วขึ้นอีก ไม่มีใครในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่สามารถพิชิต “ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต” ไม่ว่ามันคืออะไร ก็ตาม และที่แน่ ๆคุณจะไม่มีทางพิชิตมันได้ด้วยการทำ ตามคำ แนะนำ อย่าง “หกอย่างที่คนประสบความสำ เร็จทำ ก่อน 7.00 น.” วันที่คุณสามารถควบคุมทุกอย่างได้นั้นจะไม่มีวันมาถึง วันที่คุณสามารถควบคุมอีเมลที่ไหลหลากเข้ามาไม่ หยุด วันที่รายการสิ่งที่ต้องทำ ของคุณไม่ยาวขึ้นอีกต่อไปวันที่คุณสามารถจัดการภาระในที่ทำ งานและที่บ้านได้ทั้งหมด วันที่ไม่มีใครโกรธคุณเมื่อคุณพลาดเดดไลน์หรือทำ ผิดพลาด และวันที่คุณกลายเป็นคนที่มีประสิทธิภาพเต็มตัวจน สามารถหันไปทำ สิ่งที่ทำ ให้ชีวิตมีความหมายอย่างแท้จริงได้ในที่สุด มาเริ่มต้นด้วยการยอมรับความพ่ายแพ้กันเถอะ ว่าทั้งหมดนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นได้ คุณรู้ไหม นั่นเป็นข่าวที่ ดีเยี่ยม เชียวล่ะ 4


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ชีวิชีตวิที่ยอมรับรัมีขีมีดขีจำ กัด 5 แท้จริงแล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่เวลาอันจำ กัดของเรา ปัญหาที่แท้จริงหรือที่ผมหวังว่าจะโน้มน้าวคุณให้เชื่อได้ คือการที่เรา รู้สึกถูกกดดันให้ใช้ชีวิตโดยยึดชุด ความคิด ที่น่าลำ บากใจเกี่ยวกับการใช้เวลาที่มีอย่างจำ กัดของเรา ซึ่งเป็นชุดความ คิดที่ได้รับสืบทอดต่อ ๆ มาโดยไม่ได้ตั้งใจและแทบจะรับรองได้เลยว่ามันจะทำ ให้ทุกอย่างแย่ลง เพื่อดูว่าเรามาถึงจุดนี้ ได้อย่างไร และเราจะมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเวลาได้อย่างไรบ้างเราต้องทวนเข็มนาฬิกา แล้วย้อนกลับไปสมัยก่อนที่ จะมีนาฬิกาเมื่อพิจารณาโดยรวม ๆ แล้ว คุณควรจะดีใจที่คุณไม่ได้เกิดเป็นคนชนชั้นชาวนาในยุคกลางตอนต้นของ อังกฤษ อย่างแรกคือคุณน่าจะมีโอกาสน้อยลงมากที่จะรอดชีวิตจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถึงคุณรอดไปได้ ชีวิตที่รอคอยคุณอยู่ ข้างหน้าอาจเป็นชีวิตที่ถูกกำ หนดให้เป็นทาส คุณอาจต้องใช้เวลาทุกวันทำ งานหลังขดหลังแข็งอยู่บนผืนนาที่ขุนนาง เจ้าของที่ดินอนุญาตให้คุณอาศัยอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลผลิตหรือรายได้ที่คุณสร้างได้ในสัดส่วนที่น่าปวดใจ โบสถ์ก็ คงจะเรียกเงินเรี่ยไรอย่างสม่ำ เสมอเช่นกัน และคุณก็คงกลัวการตกนรกชั่วกัปชั่วกัลป์เกินกว่าจะขัดขืนตอนกลางคืนคุณ ก็จะกลับเข้าไปพักผ่อนที่กระท่อมขนาดหนึ่งห้องร่วมกับครอบครัวทั้งหมดของคุณ (ผู้ไม่ค่อยได้อาบน้ำ แปรงฟันเช่นเดียว กับคุณ) และฝูงหมูและไก่ของคุณที่คุณต้องเอาเข้ามาอยู่ข้างในด้วยตอนกลางคืนเพราะพวกหมีและหมาป่ายังตระเวนทั่วป่าคอย จับสัตว์ที่ถูกทิ้งเอาไว้ข้างนอกหลังพระอาทิตย์ตกดินมากินกันตามใจชอบ โรคภัยคงจะเป็นมิตรแท้ข้างคุณเสมอ โรคที่ รู้จักกันดีมีตั้งแต่โรคหัดและไข้หวัดใหญ่ไปจนถึงกาฬโรคและโรคไฟลามทุ่ง หรืออาหารเป็นพิษรูปแบบหนึ่งที่เกิดจาก เมล็ดพืชขึ้นรา ซึ่งทำ ให้ผู้ที่เป็นมีอาการเพ้อคลั่งและรู้สึกเหมือนผิวหนังกำ ลังไหม้ หรือรู้สึกเหมือนถูกกัดโดยฟันที่มอง ไม่เห็นเวลาก่อนที่จะมีตารางเวลาแต่ปัญหาประเภทเดียวที่แทบจะไม่มีทางเกิดกับคุณเลยคือปัญหาเรื่องเวลาแม้กระทั่ง ในวันที่เหนื่อยที่สุด คุณก็คงไม่รู้สึกว่ามี “อะไรต้องทำ มากเกินไป”หรือต้องเร่งรีบ หรือรู้สึกว่าชีวิตเคลื่อนที่เร็วเกินไป เรื่องความไม่สมดุลในเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ในวันที่เงียบเหงาหน่อย คุณก็ จะไม่รู้สึกเบื่อ และถึงแม้ว่าความตายนั้นปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ เพราะชีวิตคนยุคนั้นอายุสั้นกว่าในปัจจุบันมากเราก็คง ไม่รู้สึกมากมายนักว่าเวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำ กัด คุณอาจจะไม่รู้สึกถึงแรงกดดันที่จะต้องหาวิธี “ประหยัด” เวลา หรือ รู้สึกผิดที่จะใช้มันอย่างฟุ่มเฟือย ถ้าคุณหยุดพักจากการนวดข้าวในช่วงบ่ายเพื่อไปดูไก่ชนที่ลานหมู่บ้าน คุณจะไม่รู้สึก เหมือนตนเองกำ ลังละเลยหน้าที่ “ในเวลางาน”ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นแค่เพราะสิ่งต่าง ๆ ดำ เนินไปอย่างเชื่องช้าในสมัยนั้น หรือเพราะชาวนาในยุคกลางใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ กว่าเรา หรือยอมจำ นนต่อชะตากรรมของตนมากกว่า เท่าที่เราพอ บอกได้ นั่นเป็นเพราะพวกเขาไม่ได้รับรู้เวลาในฐานะสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือไม่ได้มองว่ามันเป็น อะไรสักอย่างเลยต่าง หากถ้าฟังแบบนี้แล้วสับสนก็เป็นเพราะแนวคิดด้านเวลาในยุคสมัยใหม่


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ชีวิชีตวิที่ยอมรับรัมีขีมีดขีจำ กัด ของเรานั้นหยั่งรากลึกอยู่ในตัวเราจนเราลืมไปแล้วว่ามันเป็นวิธี คิดแบบหนึ่งพวกเราก็เหมือนในสำ นวนที่กล่าวว่า ปลาไม่รู้ว่าน้ำ คืออะไร เพราะว่าปลามีน้ำ อยู่รอบตัว ลองถอยออกมา แล้วจะ เห็นว่ามุมมองของเรานั้นออกจะพิลึกชอบกล เราจินตนาการว่า เวลาเป็นบางสิ่งที่แยกออกจากตัวเราและโลกรอบ ๆ ตัวเรา มอง ว่ามันเป็น “โลกแห่งลำ ดับขั้นตอนที่อยู่ได้ด้วยตนเองและ สามารถชั่งวัดได้ทางคณิตศาสตร์” ตามคำ พูดของลูอิส มัมฟ อร์ด นักวิจารณ์ด้านวัฒนธรรมชาวอเมริกัน การจะเข้าใจว่าเขา หมายถึงอะไร ให้ลองนึกถึงคำ ถามที่เกี่ยวข้องกับเวลาดูสิ คุณ วางแผนที่จะใช้เวลาช่วงบ่ายของวันพรุ่งนี้อย่างไร หรือปีที่แล้วมี อะไรที่คุณทำ สำ เร็จไปบ้าง ในตอนแรกคุณอาจจะนึกไม่ออก เท่าไร แต่คุณคงนึกถึงภาพปฏิทินไม้หลา ตลับเมตร ตัวเลขบน หน้าปัดนาฬิกา หรือไทม์ไลน์แบบนามธรรมที่เป็นภาพเลือนราง จากนั้นคุณก็จะเริ่มวัดและตัดสินชีวิตจริงของคุณโดยเทียบกับ เครื่องวัดในจินตนาการเหล่านี้ โดยไล่เรียงกิจกรรมของคุณไป ตามไทม์ไลน์ที่อยู่ในหัว เอ็ดเวิร์ด ฮอลล์ กำ ลังชี้ถึงประเด็น เดียวกันนี้ด้วยภาพของเวลาที่เป็นเสมือนสายพานซึ่งเคลื่อนผ่าน เราไปเรื่อย ๆเวลาทุกชั่วโมง ทุกสัปดาห์ และทุกปีเปรียบเหมือน กับภาชนะใบหนึ่งที่เคลื่อนไปบนสายพาน ซึ่งเราต้องเติมของ เข้าไปเมื่อมันผ่านมาถ้าอยากรู้สึกว่าใช้เวลาได้คุ้มค่า เมื่อมี กิจกรรมมากเกินกว่าจะยัดลงไปในภาชนะนั้นได้อย่างสบาย ๆ เราก็รู้สึกยุ่งจนไม่มีความสุข แต่พอมีกิจกรรมน้อยไปเราก็รู้สึก เบื่อ ถ้าเราปรับจังหวะให้สอดคล้องไปกับภาชนะที่เคลื่อนผ่าน มาได้ เราก็จะยินดีกับตัวเองที่ “ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม” และรู้สึกว่ามีเหตุผลอันสมควรที่เราดำ รงอยู่บนโลกใบนี้ แต่ถ้า เราปล่อยให้ภาชนะหลายใบผ่านไปโดยไม่ใส่อะไรเลย เราก็จะ รู้สึกเหมือนทิ้งมันไปเปล่า ๆถ้าเราใช้ภาชนะที่แปะป้ายว่า “เวลา งาน” เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ นายจ้างของเราอาจจะรู้สึกเคือง (ก็เขาเป็นคนจ่ายค่าภาชนะพวกนั้น มันเลยเป็นของเขา!) 6


ชาวนาในยุคกลางไม่จำ เป็นต้องมีแนวคิดที่แปลกประหลาดแบบนั้น16 ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ตั้งแต่แรก คนงานจะ ตื่นตอนดวงอาทิตย์ขึ้นและเข้านอนเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน ระยะเวลาในแต่ละวันของพวกเขาแปรผันตามฤดูกาล ไม่ จำ เป็นต้องมีการนึกถึงเวลาในลักษณะที่เป็นนามธรรมและเป็นเอกเทศจากชีวิตคุณรีดนมวัวตอนที่ต้องรีด และเก็บ เกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวใครก็ตามที่พยายามจะยัดเอาสิ่งที่ต้องทำ นอกเหนือจากนั้นเข้ามา เช่นรีดนมวัว สำ หรับทั้งเดือนในวันเดียวให้มันจบ ๆ ไป หรือพยายามให้หน้าเก็บเกี่ยวมาถึงเร็วขึ้น คงจะถูกหาว่าสติไม่ดีแน่นอน นอกจากนี้ยังไม่มีแรงกดดันชวนวิตกที่จะต้อง “ทำ ทุกอย่างให้เสร็จ”เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความรู้สึกว่าต้องเร่งรีบไปสู่เวลา ของการทำ งานให้เสร็จสมบูรณ์ที่คนเราสมมุติกันขึ้นมา นักประวัติศาสตร์เรียกแนวทางการใช้ชีวิตแบบนี้ว่า “การเน้นที่ ภารกิจ” (task orientation) เพราะจังหวะของชีวิตนั้นจะปรากฏขึ้นมาโดยธรรมชาติจากตัวงานเอง ไม่ใช่การเรียง ลำ ดับงานต่าง ๆ ไปตามไทม์ไลน์ที่จับต้องไม่ได้ตามวิถีทางที่เราชินเป็นนิสัยในปัจจุบัน (มันชวนให้นึกภาพชีวิตในยุค กลางว่าเป็นชีวิตที่ดำ เนินไปอย่างเชื่องช้า แต่จะถูกต้องกว่าถ้าบอกว่ามโนทัศน์ของชีวิตที่“เคลื่อนไปช้า ๆ” เป็นสิ่งที่คน ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมาย ช้าเมื่อเทียบกับอะไรล่ะ) ในสมัยนั้นยังไม่มีนาฬิกา เมื่อคุณต้องอธิบายว่าบางอย่างต้อง ใช้เวลาทำ นานเท่าไร ทางเลือกเดียวที่คุณมีคือการเปรียบเทียบกับกิจกรรมอื่นที่เป็นรูปธรรม คนในยุคกลางอาจบอกว่า งานงานหนึ่งยาวเท่า“ระยะเวลามิเซอร์แรเร” หรือยาวเท่ากับการสวดบทเพลงสดุดีที่ 50ที่รู้จักกันในนาม Miserere จากคัมภีร์ไบเบิล หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“ระยะเวลาปัสสาวะ” ซึ่งคงไม่ต้องมีการอธิบายเพิ่มเติมการใช้ชีวิตแบบนี้ ทำ ให้เราสามารถคิดตามได้ว่าประสบการณ์ที่ได้คงรู้สึกลื่นไหลและเป็นอิสระ อบอวลไปด้วยสิ่งซึ่งถ้าเรียกว่าเวทมนตร์ ก็คงจะไม่เกินจริง เมื่อไม่ได้นึกถึงสิ่งที่ตนขาดแคลนอย่างแท้จริงในการดำ รงอยู่ ชาวไร่ชาวนาของเราสมัยนั้นคงสัมผัส ถึงมิติที่สว่างไสวและน่าทึ่ง 17Oliver Burkemanในโลกรอบตัว เมื่อไม่เดือดเนื้อร้อนใจกับแนวคิดที่ว่าเวลา “กำ ลัง หมดลงไปเรื่อย ๆ” พวกเขาอาจตระหนักรับรู้อย่างคมชัดยิ่งขึ้นถึงความชัดแจ้งสดใสของสิ่งต่าง ๆ รู้สึกได้ถึงความไร้กาล เวลา ที่ริชาร์ด โรห์ นักเขียนและบาทหลวงฟรานซิสกันร่วมสมัย เรียกว่า “การใช้ชีวิตในห้วงเวลาลึก” (Deep Time) ยามรุ่งสาง นักเดินทางในยุคกลางอาจสัมผัสได้ถึงการกระซิบกระซาบกันของเหล่าวิญญาณในป่า คลอไปกับเสียงของ บรรดาหมีและหมาป่า เมื่อไถดินในทุ่ง เขาอาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นเพียงหนึ่งเสี้ยวเล็ก ๆ ในประวัติศาสตร์อันกว้างใหญ่ ไพศาล ที่ซึ่งบรรพบุรุษของเขาในอดีตอันห่างไกลยังคงดูมีชีวิตชีวาราวกับลูก ๆ ของเขาเอง เราสามารถยืนยันทั้งหมดนี้ ได้อย่างมั่นใจ เพราะทุกวันนี้เรายังได้พบเจอเกาะแก่งแห่งห้วงเวลาลึกอยู่บ้างเป็นบางครั้ง ตามคำ พูดของนักเขียน แกรี่ เอเบอร์ลีมันคือห้วงเวลาที่เราหลุด “เข้าไปในดินแดนที่มีทุกสิ่งอย่างเพียงพอ ที่ที่เราไม่ต้องพยายามเติมเต็มความว่าง เปล่าในตัวเองหรือโลกใบนี้” ขอบเขตซึ่งแบ่งแยกตัวเราจากความเป็นจริงที่เหลือเริ่มเลือนราง และเวลาหยุด นิ่ง“แน่นอน นาฬิกาย่อมไม่หยุดเดิน” เอเบอร์ลีกล่าว “เพียงแต่เราไม่ได้ยินเสียงมันเดิน”สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบางคนใน ระหว่างสวดมนต์ นั่งสมาธิ หรืออยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ที่งดงาม ผมเชื่อว่าลูกชายวัยเตาะแตะของผมอยู่ในสภาพนั้น ตลอดช่วงวัยแบเบาะ เขาเพิ่งจะเริ่มละทิ้งมันไปช่วงนี้ (จนกว่าเราจะให้พวกเขารู้จักตารางเวลา เด็กทารกคือที่สุดของสิ่ง มีชีวิตที่ดำ เนินชีวิตโดย “เน้นภารกิจ” ถ้าพิจารณาถึงการอดนอนร่วมด้วย สิ่งนี้อาจอธิบายได้ว่าทำ ไมการใช้เวลากับ เด็กแรกเกิดช่วงเดือนแรก ๆ จึงให้ความรู้สึกเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง คือคุณถูกลากออกจากเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาแล้ว ดำ ดิ่งไปในห้วงเวลาลึก ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม ) F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ชีวิชีตวิที่ยอมรับรัมีขีมีดขีจำ กัด 7


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S จุดสิ้นสิ้สุด สุ ของนิรันินรัดร์กร์าล แต่มีข้อเสียใหญ่ข้อหนึ่งเมื่อเราคิดถึงเวลาแบบนามธรรมน้อยไป คือมันจำ กัดสิ่งที่คุณสามารถทำ ได้อย่างสาหัสสากรรจ์ คุณสามารถเป็นเกษตรกรรายย่อยที่จัดตารางเวลาตามฤดูกาล แต่คุณก็ไม่อาจเป็นอะไรมากไปกว่าเกษตรกรรายย่อย ทันทีที่คุณอยากจะประสานกิจกรรมบางอย่างที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่าสองสามคน คุณจำ เป็นต้องมีวิธีการวัดเวลาที่น่าเชื่อ ถือและเห็นพ้องกันทุกฝ่าย นี่คือเหตุผลที่เชื่อกันว่าเป็นจุดกำ เนิดของการประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาจักรกล นักบวชในยุค กลางที่ต้องเริ่มสวดภาวนาขณะที่ยังมืดอยู่และต้องการหาวิธีที่ทำ ให้แน่ใจได้ว่านักบวชทั้งอารามตื่นในเวลาหนึ่งพร้อม กัน (วิธีการที่ใช้ก่อนหน้านี้อย่างหนึ่งคือการมอบหมายให้พระรูปหนึ่งเฝ้ามองการเคลื่อนไหวของดวงดาวทั้งคืนซึ่งวิธีนี้ ใช้ได้ก็ต่อเมื่อท้องฟ้าปลอดโปร่งไร้เมฆ และพระที่อยู่กะกลางคืนไม่เผลอหลับ) เมื่อทำ ให้เวลามีมาตรฐานและชัดเจน ในลักษณะนี้ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้คนจะมองว่าเวลาเป็นสิ่งนามธรรมที่ดำ รงอยู่เป็น 19 Oliver Burkemanเอกเทศ แยกจากกิจกรรมที่เราอาจจะทำ อยู่ “เวลา” คือสิ่งที่หมดไปเมื่อเข็มสั้นเข็มยาวหมุนไป ตามหน้าปัดนาฬิกา ปกติแล้วถือกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลไอน้ำ แต่ มัมฟอร์ดได้ชี้ให้เห็นในงานเขียนชิ้นเอกของเขาในปี 1934 ชื่อTechnics and Civilization ว่ามันก็คงเกิดขึ้นไม่ได้หาก ไม่มีนาฬิกาเมื่อถึงปลายทศวรรษ 1700 ชาวนาจากชนบทหลั่งไหลเข้ามาในเมืองอังกฤษ ได้งานในโรงสีและโรงงาน ซึ่งแต่ละแห่งล้วนต้องมีการประสานงานร่วมกันของคนหลายร้อยคนที่ทำ งานตามชั่วโมงที่กำ หนดบ่อยครั้งเป็นกะต่อกะ เพื่อให้เครื่องจักรทำ งานได้ตลอดเวลา 8


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S จุดสิ้นสิ้สุด สุ ของนิรันินรัดร์กร์าล เมื่อมองเวลาในลักษณะนามธรรม จึงเป็นธรรมดาที่เราจะเริ่ม ปฏิบัติต่อมันในฐานะ ทรัพยากร หรือสิ่งที่เอาไว้ซื้อขาย และใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่นเดียวกับถ่านหิน เหล็ก หรือวัตถุดิบอื่น ๆก่อนหน้านี้ผู้ใช้แรงงานได้รับค่าจ้างที่นับ คร่าว ๆ ตาม “วันทำ งาน” หรือชิ้นงานที่ทำ โดยรับค่าจ้างตามแต่กำ หนดต่อฟางหนึ่งมัด หรือหมูที่ชำ แหละแล้วหนึ่งตัว แต่ไม่นานนักการจ่ายค่าแรงรายชั่วโมงก็ค่อย ๆแพร่หลายมากขึ้น และเจ้าของโรงงานที่ใช้ชั่วโมงการทำ งานของคนงาน อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเค้นงานจากลูกจ้างแต่ละคนให้ได้มากที่สุดก็ได้กำ ไรมากกว่านายจ้างที่ไม่ได้ทำ แบบนั้น ที่ จริงแล้วเจ้าของโรงงานขี้หงุดหงิดบางแห่งเริ่มรู้สึกว่าคนงานที่ไม่ได้มุ่งมั่นกับการทำ งานมากพอมีความผิดราวกับขโมย ของ “ผมมีคนงานมากมายก่ายกองที่ขี้โกงอย่างร้ายกาจ” แอมโบรส โครว์ลีย์ นายทุนโรงงานเหล็กในเดอแรม ประเทศ อังกฤษ เขียนโวยวายไว้ในบันทึกช่วงทศวรรษ 1790 เขาประกาศมาตรการใหม่ในการหักค่าจ้างเมื่อมีการใช้เวลาเพื่อ “สูบบุหรี่ ร้องเพลงอ่านข่าว โต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง อะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของผม[หรือ] การเถลไถลอื่นใด ก็ตาม” ในมุมมองของโครว์ลีย์ ลูกจ้างที่ขาดความกระตือรือร้นของเขาคือหัวขโมยที่ลักเอาภาชนะบนสายพานแห่งเวลา ไปใช้ คุณไม่จำ เป็นต้องเชื่อตามสิ่งที่มัมฟอร์ดพยายามจะบอกโดยอ้อมเป็นบางครั้งว่า การคิดค้นนาฬิกานั้นเป็นต้นเหตุเดียว ของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเวลาในทุกวันนี้ (และแน่นอนว่าผมไม่สนับสนุนให้เรากลับไปมีวิถีชีวิตแบบชาวนาในยุคกลาง) แต่เส้นแบ่งได้ถูกข้ามมาแล้ว ก่อนหน้านี้เวลาเป็นเพียงสื่อกลางที่ทำ ให้ชีวิตดำ เนินไปหรือเป็นองค์ประกอบของชีวิตแต่ หลังจากนั้น เมื่อ “เวลา” กับ “ชีวิต” เป็นสิ่งที่แยกกันในความคิดของคนส่วนใหญ่ เวลากลายเป็น บางอย่าง ที่คุณ ใช้ และการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของความยากลำ บากทุกรูปแบบที่เรา มีต่อเวลาในยุคปัจจุบัน ทันทีที่เวลากลายเป็นทรัพยากรเพื่อการใช้สอยคุณจะเริ่มรู้สึกได้ถึงแรงกดดันที่จะใช้มันอย่าง เหมาะสม ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยภายนอกหรือจากตัวคุณเอง และคุณจะเอาแต่โทษตนเองเมื่อรู้สึกว่าใช้มันอย่างสิ้น เปลือง เมื่อคุณเผชิญกับข้อเรียกร้องด้านเวลาหลายอย่างมันง่ายที่จะเหมาเอาว่าคำ ตอบเดียวก็คือการใช้เวลาให้ ดีกว่า เดิมโดยทำ ให้ตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เคี่ยวเข็ญตัวเองให้หนักขึ้นหรือทำ งานให้นานขึ้น ราวกับว่าคุณเป็น เครื่องจักรในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แทนที่จะตั้งคำ ถามว่าข้อเรียกร้องเหล่านั้นสมเหตุสมผล หรือไม่ มันล่อลวงให้เราพยายามทำ หลายอย่างในคราวเดียว หรือใช้เวลาเท่าเดิมในการทำ หลายสิ่งไปพร้อม ๆ กัน ฟรี ดริช นีตซ์เชอนักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “คนเราคิดโดยถือนาฬิกาไว้ในมือ” เขา บ่นไว้ในบทความปี 1887 ว่า “แม้ในขณะรับประทานอาหารกลางวันคนก็ยังอ่านข่าวล่าสุดเรื่องตลาดหุ้นไปด้วย”มัน เริ่มกลายเป็นสัญชาตญาณที่จะคิดภาพชีวิตของคุณเองตามแบบอนาคตที่คุณจินตนาการไว้ ทำ ให้สงสัยและ กระวนกระวายว่ามันจะออกมาอย่างที่คุณอยากให้มันเป็นหรือไม่ ในไม่ช้าสำ นึกเกี่ยวกับคุณค่าของ ตนเองก็เกี่ยวพันกับวิธีการใช้เวลาของคุณโดยสมบูรณ์ มันไม่ใช่แค่น้ำ ที่คุณกำ ลังแหวกว่ายอยู่อีกแล้ว แต่มันกลายเป็น สิ่งที่คุณรู้สึกว่าต้องควบคุมหรืออยู่เหนือมันถ้าอยากหลีกเลี่ยงความรู้สึกผิด ตื่นตระหนก 9


หรือท่วมท้นจนรับไม่ไหว ชื่อของหนังสือที่ถูกส่งมายังโต๊ะทำ งานของผมเมื่อวันก่อนสรุปเรื่องนี้ได้ดี : ควบคุมเวลาของ คุณได้ ก็ควบคุมชีวิตของคุณได้ (Master Your Time, Master Your Life)ปัญหาเบื้องต้นก็คือ ทัศนคติที่มีต่อเวลาเช่น นี้เป็นเหมือนเกมที่บังคับให้เรารู้สึกราวกับว่าไม่มีทางทำ ได้ดีพอ แทนที่จะแค่ดำ เนินชีวิตของเราให้มันเป็นไปตามเวลา หรือแทนจะมองเวลา เป็น แค่เพียงเวลากลับกลายเป็นเรื่องยากที่เราจะไม่ให้คุณค่าของแต่ละห้วงเวลาโดยยึดจาก ประโยชน์ที่มันมีต่อเป้าหมายสักอย่างในอนาคต หรือเพื่อโอเอซิสแห่งความผ่อนคลายในอนาคตที่คุณหวังจะไปให้ถึง เมื่องานนั้น“พ้นทาง” ไปแล้ว หากเรามองโดยผิวเผิน วิธีนี้ดูจะเป็นการดำ เนินชีวิตที่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะในสภาพ แวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทำ ให้รู้สึกราวกับว่าคุณต้องใช้เวลาอย่างรอบคอบที่สุดอยู่ตลอดเวลาถ้า อยากอยู่รอด (และมันสะท้อนถึงแนวคิดที่พวกเราหลายคนถูกเลี้ยงดูมา คือต้องให้ความสำ คัญกับผลประโยชน์ใน อนาคตก่อนความรื่นรมย์ในปัจจุบันขณะ) แต่ในที่สุดแล้วมันก็ย้อนเข้าตัวมันดึงทึ้งเราออกจากปัจจุบันขณะ นำ เราไปสู่ ชีวิตที่ดำ เนินไปโดยมุ่งเน้นแต่อนาคต ทำ ให้เราคอยกังวลว่าเรื่องต่าง ๆ จะออกมาเรียบร้อยหรือไม่และทำ ทุกอย่างโดย หวังให้เกิดผลในภายภาคหน้า จนความรู้สึกสงบในจิตใจไม่มีวันเกิดขึ้นได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะสัมผัสกับ “ห้วงเวลา ลึก”หรือความรู้สึกถึงภาวะไร้กาลเวลา เพราะความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราลืมมาตรวัดที่เป็นนามธรรมและดำ ดิ่ง กลับไปสู่ความเป็นจริงอันแจ่มชัดในขณะที่แนวคิดยุคใหม่นี้เริ่มเข้ามามีอิทธิพล มัมฟอร์ดบันทึกไว้ว่า“นิรันดร์กาลค่อย ๆ เลือนหายไปจากการเป็นมาตรวัดและจุดมุ่งเน้นในการกระทำ ของมนุษย์” มันถูกแทนที่ด้วยความเป็นเผด็จการของ นาฬิกาตารางเวลา และการแจ้งเตือนของปฏิทินกูเกิล รวมถึงสิ่งที่มาริลินโรบินสัน เรียกว่า “ความเร่งรีบที่ไร้สุข” และ ความรู้สึกว่าคุณควรต้องทำ ให้อะไรให้มากขึ้นอยู่ตลอดเวลา F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S จุดสิ้นสิ้สุด สุ ของนิรันินรัดร์กร์าล 1 0


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ความเป็น ป็ จริงริอันเย็น ย็ เฉียบราวน้ำ แข็ง ข็ ในทางปฏิบัติ ทัศนคติแบบเปิดใจยอมรับข้อจำ กัดของเราที่มีต่อเวลาหมายความว่าคุณจะจัดการชีวิตในแต่ละวันด้วย ความเข้าใจว่าคุณจะไม่ มีเวลาเพียงพอสำ หรับทุกสิ่งที่คุณอยากทำ หรือสิ่งที่คนอื่นอยากให้คุณทำ แน่นอน เพราะฉะนั้น อย่างน้อยที่สุด คุณก็สามารถหยุดโบยตีตัวเองที่ทำ ล้มเหลว ในเมื่อการตัดสินเรื่องยาก ๆ คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สิ่ง สำ คัญก็คือเรียนรู้ที่จะเลือกอย่างมีสติ เลือกว่าจะมุ่งความสนใจไปที่อะไร และสิ่งไหนที่ควรมองข้าม มากกว่าจะปล่อย ให้มันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือหลอกตัวเองว่าถ้าคุณขยันทุ่มเทมากพอ หรือมีเทคนิคการบริหารจัดการที่นำ มาใช้ใน เวลาที่ถูกต้อง คุณอาจไม่จำ เป็นต้องเลือกอะไรเลย นอกจากนี้ยังหมายถึงการยับยั้งชั่งใจไม่ให้ “เปิดทางเลือกไว้ ก่อน”(ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างความรู้สึกว่าตนควบคุมทุกอย่างได้) แทนการจงใจเลือกที่จะผูกมัด ในเรื่องสำ คัญ น่าหวาดหวั่นและไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งคุณไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้เลยว่ามันจะออกมาดีไหม แต่ การทำ เช่นนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าในท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดความรู้สึกเติมเต็มได้มากกว่า และยังหมายถึงการยืนหยัด อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสของ FOMO (fear of missing out) หรือ“การกลัวที่จะพลาดอะไรไป” เพราะคุณ ตระหนักได้ว่าการพลาดอะไรสักอย่าง (หรือที่จริงแล้วก็เกือบทุกอย่าง) อย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งที่จริง แล้วมันไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะการ“พลาดอะไรไป” ทำ ให้ทางเลือกต่าง ๆ ของเรามีความหมายมากขึ้น ทุกการตัดสินใจที่จะใช้เวลาส่วนหนึ่งกับอะไรก็ตามเท่ากับการสละทางเลือกอื่น ๆ และการเลือกที่จะเสียสละด้วยความ เต็มใจก็คือการมีจุดยืนว่าจะไม่กั๊กสิ่งต่าง ๆ เอาไว้ แล้วเลือกให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งสำ คัญที่สุดสำ หรับคุณ ผมควรจะ อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีทัศนคติเหล่านี้อย่างสมบูรณ์แบบ ผมเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อตัวผมเองพอ ๆ กับ ที่เขียนเพื่อผู้อื่น โดยมีศรัทธาในถ้อยคำ ของ ริชาร์ด บาค นักเขียน ผู้กล่าวไว้ว่า “คุณสอนสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้มากที่สุด ได้ดีที่สุด” 1 1


การเผชิญหน้ากับขีดจำ กัดยังเผยให้เห็นสัจธรรมว่าบางครั้งอิสรภาพก็ไม่ได้อยู่ที่การมีอำ นาจเหนือตารางเวลาของคุณ แต่ เป็นการยอมให้ตัวคุณเองถูกจำ กัดด้วยจังหวะของชุมชน ซึ่งหมายถึงการเข้าร่วมสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ที่คุณ ไม่ ได้เป็นคน ตัดสินใจว่าคุณจะทำ อะไรหรือจะทำ เมื่อใด สิ่งนี้จะนำ ไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าผลิตภาพที่มีความหมายมักไม่ได้มาจาก การเร่งรีบทำ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องให้เวลากับมันตามที่จำ เป็นและยอมรับสิ่งที่ในภาษาเยอรมันเรียกว่า ไอเกนไซต์ (Eigenzeit)หรือเวลาที่จำ เป็นตามธรรมชาติสำ หรับแต่ละกระบวนการ บางทีในระดับที่สุดโต่ง การมองเห็นและยอมรับว่าเรา มีอำ นาจจำ กัดในการควบคุมเวลาอาจกระตุ้นให้เราตั้งคำ ถามว่า แท้จริงแล้วเวลาคือสิ่งที่เราใช้ จริงหรือ อีกแนวคิดหนึ่งคือ ให้เวลาใช้คุณ แนวคิดที่ไม่เป็นที่นิยมแต่ทรงพลัง นี่คือวิธีมองว่าชีวิตไม่ใช่โอกาสให้คุณดำ เนินแผนการสู่ความสำ เร็จที่ตระ เตรียมไว้ล่วงหน้า แต่เป็นการตอบสนองความจำ เป็นต่าง ๆ ในสถานที่และห้วงเวลาของคุณเองในประวัติศาสตร์ขอพูดให้ ชัดเจนว่าผมไม่ได้กำ ลังจะบอกว่าปัญหาที่เรามีกับเวลานั้นเป็นเพียงเรื่องสมมุติในหัว หรือการแค่เปลี่ยนมุมมองจะทำ ให้ ปัญหาทุกอย่างหมดไป แรงกดดันด้านเวลาโดยส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลภายนอกตัวเรา เช่น จากเศรษฐกิจที่โหดเหี้ยม การ สูญเสียโครงข่ายรองรับทางสังคมและเครือข่ายครอบครัวที่เคยช่วยแบ่งเบาภาระด้านการงานและการดูแลลูก และจากความ คาดหวังทางเพศให้ผู้หญิงต้องเป็นเลิศในหน้าที่การงานไปพร้อม ๆ กับรับผิดชอบภาระส่วนใหญ่ในบ้าน ไม่มีสิ่งไหนแก้ไขได้ ด้วยหนังสือแนวพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว ตามที่นักหนังสือพิมพ์ แอนน์ เฮเลน ปีเตอร์เซน เขียนไว้ในบทความที่ถูกส่งต่อ อย่างแพร่หลายเรื่องการหมดไฟของคนยุคมิลเลนเนียล คุณไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้น “ด้วยการพักร้อน ด้วยหนังสือ ระบายสีของผู้ใหญ่ 30 ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์หรือ ‘การอบขนมแก้เครียด’ หรือเทคนิคโพโมโดโร หรือข้าวโอ๊ตค้างคืนบ้า บออะไรนั่น”แต่ประเด็นของผมในที่นี้ก็คือ ไม่ว่าสถานการณ์ที่คุณ เผชิญอยู่จะเลวร้ายกว่าหรือได้เปรียบกว่าคนอื่น สิ่งที่ช่วย ได้คือเผชิญหน้ากับความจริงของมันอย่างเต็มที่ ตราบใดที่คุณยังตอบสนองต่อสิ่งที่เรียกร้องเวลาจากคุณซึ่งมากเกินกว่าที่คุณ จะทำ ได้จริง โดยโน้มน้าวให้ตัวเองเชื่อว่าสักวันหนึ่งคุณจะหาวิธีทำ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นจริงขึ้นมาก็เท่ากับว่าคุณกำ ลังให้ ความร่วมมือทางอ้อมกับการเรียกร้องเหล่านั้นในทางตรงกันข้าม เมื่อคุณเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ามัน คือ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้คุณจะ ได้รับพลังใหม่ในการต่อต้านมัน และหันไปมุ่งมั่นกับการสร้างชีวิตที่มีความหมายมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำ ได้ ไม่ว่าจะอยู่ใน สถานการณ์แบบใดก็ตาม F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ความเป็น ป็ จริงริอันเย็น ย็ เฉียบราวน้ำ แข็ง ข็ 1 2


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ความเป็น ป็ จริงริอันเย็น ย็ เฉียบราวน้ำ แข็ง ข็ ความคิดที่ว่าความรู้สึกเต็มอิ่มนั้นอาจเกิดจากการเปิดใจรับแทนที่จะปฏิเสธข้อจำ กัดของความไม่จีรังของเรา คงไม่ ทำ ให้เหล่านักปรัชญาในยุคกรีกและโรมันโบราณประหลาดใจ พวกเขาเข้าใจดีว่าความไร้ขีดจำ กัดมีไว้สำ หรับบรรดา เทพเจ้าเท่านั้น เป้าหมายสูงส่งที่สุดของมนุษย์ไม่ใช่การเป็นเหมือนเทพเจ้า แต่คือการเป็นมนุษย์ให้ถึงที่สุดต่างหาก ไม่ ว่าในกรณีไหน ความเป็นจริงก็เป็นแบบนี้ และการเผชิญหน้ากับมันอาจกระตุ้นให้คุณมีพลังได้อย่างน่าประหลาด ย้อน กลับไปในช่วงทศวรรษ 1950 นักเขียนชาวอังกฤษที่อารมณ์ฉุนเฉียวอย่างเปิดเผยชาร์ลส์ การ์ฟิลด์ ลอตต์ ดู คานน์ ได้ เขียนหนังสือขนาดสั้นที่ชื่อว่าTeach Yourself to Live ซึ่งเขาแนะนำ การใช้ชีวิตแบบเปิดใจรับการมีข้อจำ กัด และเขา ตอบกลับคนที่กล่าวหาว่าคำ แนะนำ ของเขานั้นชวนหดหู่ได้อย่างเจ็บแสบทีเดียว “น่าหดหู่งั้นหรือ ไม่เลยสักนิด มันไม่ได้ น่าหดหู่ไปกว่าการอาบน้ำ เย็นเฉียบหรอก…คุณจะไม่สับสนงงงวยไปกับภาพมายาที่ลวงหลอกและทำ ให้คุณเข้าใจผิด เกี่ยวกับชีวิตตัวเองเหมือนคนส่วนใหญ่” นี่คือจิตวิญญาณอันยอดเยี่ยมสำ หรับเผชิญกับความท้าทายในเรื่องการใช้เวลา ให้ดี ไม่มีเราคนไหนจะสามารถล้มล้างสังคมที่อุทิศตนเพื่อผลิตภาพ 31Oliver Burkeman อันไร้ขีดจำ กัด สิ่งล่อใจ และความเร็วได้โดยลำ พัง แต่ ณ ที่นี้และตอนนี้ คุณสามารถหยุดเชื่อเรื่องเพ้อเจ้อว่าสิ่งเหล่านั้นจะนำ ความพึงพอใจมา ให้คุณได้ คุณสามารถเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริง คุณสามารถเปิดฝักบัว เตรียมใจที่จะสัมผัสกับน้ำ เย็นยะเยือกที่จะเติม พลังให้แก่คุณ และก้าวเข้าไปหามัน


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ในระยะยาวทุก ทุ คนก็ตายอยู่ดี ยู่ อายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์นั้นสั้นอย่างไร้เหตุผล น่าหวาดหวั่น และน่าสมเพช วิธีหนึ่งที่จะทำ ให้เห็นภาพได้ชัดเจนก็คือ มนุษย์ยุคใหม่คนแรก ๆ ปรากฏตัวบนพื้นที่ราบในแถบแอฟริกาเมื่อประมาณอย่างน้อย 200,000 ปีที่แล้ว และนัก วิทยาศาสตร์ประมาณการว่าสิ่งมีชีวิตจะอยู่ต่อไปอีก 1,500 ล้านปีหรือมากกว่านี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จนกว่า ความร้อนของดวงอาทิตย์จะแผดเผา ลงทัณฑ์จนสิ่งมีชีวิตสิ่งสุดท้ายถึงแก่ความตาย แต่ตัวคุณล่ะ สมมุติว่าคุณอยู่ได้ จนถึงอายุแปดสิบคุณจะมีเวลาในชีวิตทั้งหมดประมาณ 4,000 สัปดาห์ แน่นอนว่าคุณอาจโชคดีกว่านั้น คืออยู่ไปจนถึง อายุเก้าสิบปีและมีเวลาเกือบ 4,700 สัปดาห์ หรือคุณอาจจะโชคดีมาก ๆ แบบฌานน์กาลมองต์ หญิงชาวฝรั่งเศสที่เชื่อ กันว่ามีอายุถึง 122 ปีตอนที่เธอเสียชีวิตไปในปี 1997 ทำ ให้เธอกลายเป็นบุคคลที่มีอายุยืนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา กาลมองต์กล่าวว่า เธอจำ ได้ว่าเคยพบกับวินเซนต์ แวนโก๊ะจำ ได้แค่คร่าว ๆ ว่าเขามีกลิ่นเหล้าหึ่ง เธอมีชีวิตอยู่จนได้ เห็นความสำ เร็จของการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อแกะดอลลี่ถือกำ เนิดในปี 1996นักชีววิทยาทั้งหลายคาดว่า การมีอายุขัยที่ยืนยาวอย่างน่าอัศจรรย์แบบกาลมองต์อาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในเร็ววันนี้ แต่ถึงอย่างนั้น เธอก็ยังมีชีวิตเพียงราว ๆ 6,400 สัปดาห์การกล่าวถึงเรื่องนี้โดยใช้ถ้อยคำ ที่น่าตกใจทำ ให้เข้าใจได้ง่ายว่าทำ ไมนัก ปรัชญาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณจนถึงปัจจุบันจึงมองเรื่องเวลาอันแสนสั้นของชีวิตเป็นปัญหาหลักในการดำ รงอยู่ของมนุษย์ เราได้รับความสามารถทางปัญญาให้วางแผนการที่ทะเยอทะยานได้โดยแทบไม่มีขีดจำ กัด แต่ไม่มีเวลาเพื่อที่จะลงมือ ทำ มัน “พื้นที่ซึ่งเราได้รับมานี้ช่างผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วและว่องไว จนเกือบทุกคนพบว่าชีวิตมาสุดปลายทางตอนที่ ตนเองเพิ่งพร้อมจะเริ่มใช้ชีวิต” เซเนก้า นักปราชญ์ชาวโรมัน คร่ำ ครวญไว้ในจดหมายที่ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ On the Shortness of Life ตอนที่ผมคำ นวณตัวเลข 4,000 สัปดาห์ออกมา เป็นครั้งแรก ผมรู้สึกนั่งไม่ติด แต่เมื่อรู้สึกดี ขึ้นผมก็ไปขอให้เพื่อน ๆ ลองเดาหรือคิดโดยไม่ต้องคำ นวณในหัวว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะมีชีวิตอยู่ประมาณกี่สัปดาห์ เพื่อนคนหนึ่งบอกตัวเลขหกหลัก ผมรู้สึกลำ บากใจที่ต้องบอกเธอว่า ตัวเลขหกหลัก“310,000” ที่ฟังดูเหมือนไม่ มากมายนี้เป็นระยะเวลาโดยประมาณของ อารยธรรมมนุษย์ทั้งหมด ตั้งแต่ยุคของชาวซูเมเรียนแห่งอารยธรรมเมโสโป เตเมีย ไม่ว่าเราจะชั่งตวงวัดเวลาแบบใด ก็เป็นอย่างที่นักปรัชญาร่วมสมัย โทมัส ไนเจลได้เขียนไว้ว่า “เราทุกคนจะ ตาย ไม่นาทีใดก็นาทีหนึ่ง”


F O U R T H O U S A N D W E E K S T I M E M A N A G E M E N T F O R M O R T A L S ในระยะยาวทุก ทุ คนก็ตายอยู่ดี ยู่ และด้วยเหตุนี้เอง การจัดการเวลา ตามความหมายโดยกว้าง ๆควรจะเป็นเรื่องหลักที่ทุกคนให้ความสนใจ อาจกล่าวได้ ว่า การจัดการกับเวลาก็คือชีวิตนั่นเอง แต่ศาสตร์สมัยใหม่ที่เรียกกันว่า “การบริหารเวลา” และญาติของมันที่ดูจะเจ๋ง กว่าอย่าง “ผลิตภาพ” คือกิจการที่มีความคิดคับแคบจนน่าหดหู่ เพราะเน้นไปที่การตะลุยภารกิจการงานให้ได้มาก ที่สุด หรือคิดค้นกิจวัตรยามเช้าที่สมบูรณ์แบบ หรือเตรียมอาหารเย็นสำ หรับทั้งสัปดาห์ไว้ตั้งแต่วันอาทิตย์ แน่นอนว่า เรื่องพวกนี้ก็มีความสำ คัญในระดับหนึ่ง แต่มันไม่ได้สำ คัญที่สุด โลกนี้อัดแน่นไปด้วยความมหัศจรรย์ แต่มีกูรูด้านผลิต ภาพเพียงไม่กี่คนที่ได้ใคร่ครวญจนมองเห็นว่า 3 Oliver Burkemanเป้าหมายสูงสุดของการ ทำ ทุกสิ่งอย่างรีบร้อนบ้า คลั่งก็เพื่อให้เราได้สัมผัสความน่าอัศจรรย์เหล่านั้นมากขึ้น ดูเหมือนโลกกำ ลังอยู่ในรถเข็นที่มุ่งหน้าสู่นรก ชีวิตพลเมือง ของเราผิดเพี้ยนไปหมดแล้ว โรคระบาดทำ ให้สังคมเป็นอัมพาต และโลกก็ยิ่งร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ขอให้โชคดีกับการหาระบบ บริหารเวลาที่จะช่วยให้เกิดพื้นที่ในการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมี ประสิทธิภาพกับเพื่อนร่วมโลก กับสภาวการณ์ปัจจุบัน หรือ กับชะตากรรมของสิ่งแวดล้อมของเราในขณะนี้ อย่างน้อยคุณคงคิดว่าน่าจะมีหนังสือเกี่ยวกับผลิตภาพสักหยิบมือที่ให้ ความสำ คัญกับข้อเท็จจริงอันโจ่งแจ้งเกี่ยวกับเวลาอันแสนสั้นของชีวิต แทนที่จะแสร้งทำ เป็นว่าเราสามารถเพิกเฉยกับ หัวข้อนี้ได้ แต่คุณคิดผิดดังนั้นหนังสือเล่มนี้คือความพยายามที่จะปรับสมดุล เพื่อให้เห็นว่ามันจะเป็นไปไม่ได้เชียวหรือที่ เราจะค้นพบหรือรื้อฟื้นแนวคิดบางอย่างเกี่ยวกับเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งก็คือ ระยะเวลาอันแสนสั้นจนน่าโมโหและความเป็นไปได้ต่าง ๆ อันพร่างพราว ในช่วงเวลาสี่พันสัปดาห์ของเรานั่นเอง


บ ร รณา นุ ก ร ม FOUR THOUSAND WEEKS TIME MANAGEMENT FOR MORTALS Oliver burkeman. ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์. กรุงเทพฯ:อมรินทร์ How to, 2565.


BMON ข้ อ มู ล ผู้ จั ด ทำ นางสาว นัฐณิช วัชรกุล เลขที่ 21 ชั้น ม. 4/2


Click to View FlipBook Version