The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

pdf_20220714_155852_0000

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mareenachr28, 2022-07-14 05:07:18

pdf_20220714_155852_0000

การจัดการความรู้

Knowledge
Management: KM

หรือที่เรียกย่อๆว่า KM คือ การนำความรู้ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

มใหา้เเกจิดอกคันวหาหัมวลรัู้กใใหสจมำ่ขคหัรญอือขงนอวฉังัตกนการเรรปจัม็ดนทีก่เขากิรดอคขึว้งนาไจมาอรูก้ ดคกือาอรกเลอราะตคบัวววานลมกรูะา้ทีร่คไจัมด่รเกหแามืรอลคนวะกาันนมัสักมพันธ์
ระหว่างคน การอาศัยความรู้โดยมีบุคคลสำคัญใแนหสลดากงหเลหายล่บาทนบี้าเทท่หาลนาั้กนหลาย

รูปแบบที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุด แต่ต้องมีการทำงาน
ร่วมกัน เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)

การจัดการความรู้เพื่อการบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ

1. การบรรลุเป้าหมายของงาน
2. การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาคน
3. การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาองค์กร

ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

1.การบ่งชี้ความรู้
(Knowledge Identification)

เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบัน
มีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

2.การสร้างและแสวงหาความรู้
(Knowledge Creadtion and Acquisition)

เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายในและ
ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ไม่ใช้แล้วออกไป

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
(Knowledge Organization)

เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท
เพื่อให้สืบค้นเรียกคืน และใช้งานได้ง่าย

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้
(Knowledge Codification and Refinement)

เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษา
เดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

5.การเข้าถึงความรู้
(Knowledge Access)

เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย
และสะดวกเช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
บอร์ดประชาสัมพันธ์ (Web Board)

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

6.การเรียนรู้
(Learning)

เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากการ
สร้างองค์ความรู้การนำความรู้ไปใช้เกิดการเรียนรู้และ
ประสบการณ์ใหม่และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอน 7 ประการที่ควรดำเนินการ

7.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
(Knowledge Sharing)

สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้
ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) หรือเป็นความรู้ชัดแจ้ง
(Explicit Knowledge)

ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge)

เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือ
สัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ
เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์
อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิด
เชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงถูกเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge)

เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้
โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งถูกเรียกว่า เป็นความรู้
แบบรูปธรรม

วิธีจัดการความรู้

เมื่อพิจารณาจากข้อกำหนดต่าง ๆ (multiple requirement)
ตามเกณฑ์ EdPEx พบว่ามีประเด็นพิจารณาต่อไปนี้

การรวบรวมและถ่ายทอด การผสมผสานและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
ความรู้ของบุคลากร จากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

การรวบรวมความรู้และถ่ายทอดความรู้ การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์
ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ใน
ระหว่างหน่วยงานกับผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น
การสร้างนวัตกรรมและ ผู้ส่งมอบคู่ความร่วมมือ
ในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ชุมชนแห่งการเรียนรู้
Community
of Practice




ชุมชนนักปฏิบัติ หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้

ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ ความสนใจในเรื่องเดียวกัน

มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ร่วมกัน

ประเภทของ COP

Helping Communities
เพื่อแก้ไขปัญหาประจำวันและแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก

Best Practice Communities
เน้นการพัฒนา ตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

Knowledge-Stewarding Communities
เพื่อจัดระเบียบ ยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ

Innovation Communities
เพื่อพัฒนาแนวคิด โดยเน้นการข้ามขอบเขต
เพื่อผสมผสานสมาชิกที่มุมมองต่างกัน

เครื่องมือต่าง ๆ
ในการจัดการความรู้

ในองค์กร

ระบบฐานข้อมูล
(Knowledge Bases)

เป็นการรวบรวมข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้
ในการทำงานขององค์กรให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรที่
ต้องใช้ข้อมูลความรู้นั้น สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง
สะดวกรวดเร็ว การรวบรวมจัดเก็บฐานข้อมูล ความรู้ความ
สามารถทำได้ 2 วิธีคือ จัดเก็บในรูปแบบเอกสาร และจัด
เก็บในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เก็บวิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ
(best practice)

เป็นการจัดเก็บความรู้หรือข้อมูลขององค์กร ในรูป
แบบง่ายๆเพื่อความสะดวกในการค้นหา และนำไปใช้ เช่น
คู่มือการจัดฝึกอบรม คู่มือการตรวจประเมิน 5 ส. คู่มือการ
จัดการความรู้

ใช้การเล่าเรื่อง
(Story Telling)

เป็นการใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเป็นวิธีการเผยแพร่โดย
ต้องสร้างความสมดุลระหว่างความน่าสนใจ และเนื้อหาที่
ต้องการสื่อ เช่น การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในประเด็นเกี่ยว
กับความสำเร็จหรือล้มเหลว มาปลูกเป็นเรื่องราว มัก
เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และกระตุ้นให้เกิด
การแลกเปลี่ยนข้อมูล

การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน
(AAR : After Action Reviews)

เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการ
ทำงาน โดยให้สมาชิกแต่ละคนได้พูดสะท้อนความคิดเห็น
หรือความรู้สึกที่มีต่อการทำงานที่ผ่านมาว่า มีจุดเด่น จุด
ด้อย และข้อควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าจะมีการทำงาน
นี้อีกครั้ง จะทำให้สมาชิกในทีมได้เรียนรู้ความสำเร็จความ
ผิดพลาด และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ระบบพี่เลี้ยง
(Mentoring System)

เป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัว จากผู้ที่มี
ความรู้และประสบการณ์มากกว่าไปยังบุคลากรรุ่นใหม่
หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งระบบพี่
เลี้ยงเป็นวิธีการหนึ่งในการสอนงานและคำแนะนำอย่าง
ใกล้ชิด ซึ่งจะสร้างความคุ้นเคยความสัมพันธ์และความ
เข้าใจ

การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน
(Closs - Fungtional Team)

เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อมาทำงานร่วมกันในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการทำงานในแต่ละเรื่อง
ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ด้านมาแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ และการทำงานร่วมกันจึงจะประสบผล
สำเร็จ

การประชุมระดมสมอง
(Workshop/Brainstorming)

เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
วัตถุประสงค์ เพื่อปรึกษาหารือกำหนดแนวทางแก้ไข
ปัญหาหรือการตัดสินใจดำเนินการปฏิบัติงานที่ผ่าน
ประสบการณ์และมุมมองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

บทสรุป

จะเห็นได้ว่า Knowledge Management หรือ
การจัดการความรู้ คือ สิ่งที่องค์กรมองข้ามไปไม่ได้เลย
และควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ เพราะสิ่งที่มีค่ามากที่สุดไม่ใช่
เม็ดเงิน แต่คือองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลหรือพนักงาน
ขององค์กร ซึ่งไม่เพียงจะเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรแล้ว
แต่ยังเพิ่มความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอีกด้วย

จบการนำเสนอ

แหล่งข้อมูล

https://quality.sc.mahidol.ac.th/plan_and_policy/km/

https://www.google.com/imgres?imgurl

กลุ่ม Hangover
กลุ่มที่ 4 การจัดการความรู้
Knowledge Management : KM




นางสาวณิชารีย์ วงศ์วิเชียร เลขที่ 9
นางสาวปัญจรัตน์ อำพันธ์พงศ์ เลขที่ 17

นางสาวมารีน่า เจริญฤทธิ์ เลขที่ 24


Click to View FlipBook Version