The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 1 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ The Development of academic achievement in the computational science subject with the Quizizz application for Mathayomsuksa 6 students ณัฐนันท์ จันบัวลา1 และปิยสุดา ตันเลิศ2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี1,2 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ ด้วยแอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาความพึง พอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเค ชัน Quizizz ในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 จำนวน 32 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชัน Quizizz รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ แอปพลิเคชัน Quizizz รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟ สงเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ความแปรปรวน,ค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC), ค่าความยากง่าย,ค่าอำนาจจำแนก, การหาค่าความเชื่อมั่น, การวิเคราะห์ หาค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz รายวิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน เทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz ในรายวิชาวิทยาการคำนวณสำหรับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุดคือด้านสื่อ มีค่าเฉลี่ย 4.77 รองลงมา คือ ด้าน เนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.60 ด้านปฏิสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ย 4.56 และ ด้านการประเมิน มีค่าเฉลี่ย 4.50 ตามลำดับ คำสำคัญ: แอปพลิเคชัน, ควิซซิส, วิทยาการคำนวณ ABSTRACT The objectives of this research were 1) to compare academic achievement between before and after studying the computational science course. with the Quizizz application for Mathayom 6 students. 2) To study student satisfaction with teaching using the Quizizz application in the computational science subject for Mathayom 6 at Thesaban School. 7 welfare trains the sample group used in the study consisted of 32 Mathayom 6 students at Thetsaban 7 Railway Songkhro School, Semester 1, Academic Year 2023, obtained by purposive selection. Tools used include: 1) Quizizz application for computational science course. For Mathayom 6 2) Academic achievement test on ethics, code of conduct, and information technology laws. For Mathayom 6 students 3) Questionnaire on student satisfaction with the
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 2 development of academic achievement using the Quizizz application in the Computational Science subject. For Mathayom 6 students at Thesaban 7 Railway Songkhro School. Statistics used in data analysis include percentage, mean, standard deviation, variance, index of concordance (IOC), difficulty value, discriminatory power, finding confidence values, and analyzing values. Effective index and t-test statistics (t-test) The research results found that 1) Learning achievement using the Quizizz application in the Computational Science subject. For Mathayom 6 students at Thesaban 7 Railway Songkhro School. After studying was significantly higher than before studying at the .05 level. 2) Student satisfaction with teaching using the Quizizz application in the computational science subject for Mathayom 6 at Thesaban School. 7 welfare trains Overall, the highest level was the media aspect with an average of 4.77, followed by the content aspect with an average of 4.60, the interaction aspect with an average of 4.56, and the evaluation aspect with an average of 4.50, respectively. Keyword: Applications, Quizizz, computer science บทนำ การศึกษาในประเทศไทยได้มีการพัฒนาและ ปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับปัจจุบัน เพื่อส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่ทํา ให้สามารถดํารงชีพอยู่ในสภาวะสังคมในปัจจุบันที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังเห็นได้จากการปรับปรุง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยมีการนํา สาระที่ 3 และ 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี มาเป็นสาระที่ 4 เทคโนโลยีของกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ ซึ่งมี 2 มาตรฐาน คือ ว 4.1 ที่เน้นการนํา เทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาในชีวิตประจําวันได้ อย่างเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และ สิ่งแวดล้อม และ ว 4.2 ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนมีแนวคิด เชิงคํานวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน อย่างเท่าทันต่อ การเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างเป็นระบบและมีจริยธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ปัจจุบันรูปแบบการสอนที่นิยมใช้มีอยู่หลากหลาย การเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับ หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เนื่องจากต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของตัวชี้วัด และมาตรฐานการศึกษาที่มีการปรับปรุงใหม่ ที่เน้นการใช้ เทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว) ในการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟ สงเคราะห์ ได้มีการนำหลักสูตรแกนกลางที่มีการปรับปรุงนี้ มาใช้ ซึ่งในรายวิชาวิทยาการคํานวณ ที่อยู่ในมาตรฐาน การศึกษา ว 4.2 ในระดับชั้นมัธยมปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 นั้นผลการเรียนของนักเรียนในส่วนทักษะ การแก้ปัญหามีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับน้อยเพราะนักเรียนไม่ สามารถนําหลักการแนวคิดของวิทยาการคํานวณมาใช้ในการ แก้ปัญหาได้และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอน จากข้อมูลที่กล่าวมา ผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจที่จะ ศึกษาในเรื่องการใช้สื่อการสอน Quizizz เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลของการวิจัยจะนำมาใช้ ประโยชน์ในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนให้ดี ยิ่งขึ้น 1. วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอป พลิเคชัน Quizizz ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 3 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับ กระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และ แก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุก ขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่าง หลากหลาย (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560 , 2560) 2.2 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) กฤษณา สิกขมาน (2555) ไดให ความหมาย อีเลิรนนิ่งวา เปนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนที่ ใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป นเครื่องมือ โดยเนนไปที่การใชระบบเครือขายอินเทอรเน็ต จึงทําใหผู เรียนสามารถเขาถึงและเรียนรูโดยไมจํากัดสถานที่และเวลา 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing) จักรพันธ ศรีคุม (2561) ไดใหความหมายของ e-Testing วา เป นการสอบอิเล็กทรอนิกสดวยเครื่อง คอมพิวเตอร ผูสอบตองมีความรูพื้นฐานทางคอมพิวเตอร โดยผูสอบสามารถเลือกวัน เวลาการสอบไดเอง สอบเสร็จ ทราบผลไดทันที และทําใหมีประสิทธิภาพทางการเรียนมี ประสิทธิภาพมากขึ้น 2.4 ระบบทดสอบออนไลน์จาก Quizizz ระบบทดสอบออนไลนจาก Quizizz เปนเว็บ ไซตหนึ่งที่ชวยในการสรางแบบทดสอบ ออนไลนไดฟรี โดย สามารถสรางแบบทดสอบและผูทดสอบทําการทดสอบผาน อุปกรณอิเล็กทรอนิกส มีทั้ง คอมพิวเตอร สมารทโฟน (SmartPhone) แ ล ็ บ ท ็ อ ป (Laptop) ห ร ื อ โ น ต บุค (Notebook) และ แทปเล็ต (Tablet) ที่เชื่อมตอระบบอิน เทอรเน็ต (Internet) ผูสอบสามารถทราบผลสอบไดทันที โดยผูสอนไดรับรายงาน (Repont) ผลการสอบและบันทึกลง เครื่องคอมพิวเตอร เหมาะกับการนํามา ประยุกตในการทํา การทดสอบกอนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลในการเรียนรูของผู เรียน หรือจัดการสอบ แบบเกมสเพื่อเพิ่มความสนุกสนานใน การเรียนได้ 2.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อรทัย จันใด (2553, หน้า 18) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถในการ ที่จะ พยายามเข้าถึงความรู้ หรือทักษะซึ่งเกิดจากการกระทำที่ ประสานกันต้องอาศัยความพยายามอย่างมากทั้ง องค์ประกอบทางด้านที่เกี่ยวข้องกับสติปัททา และ องค์ประกอบที่ใช้สถิติปัททาแสดงออกในรูปของความสำเร็จ ซึ่งสามารถสังเกตและวัดได้ด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาหรือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั่วไป ชนิดา ยอดสาลี และ กาทจนา บุทส่ง (2559, หน้า 13) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้หรือ ทักษะที่ต้องใช้ สติปัททาและสมรรถภาพทางสมองที่ได้รับมาจากการสั่งสอน แสดงออกมาในรูปความสำเร็จสามารถ วัดได้โดยการแสดง ออกมาทั้ง 3ด้าน คือพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย ด้านทักษะพิสัย และใช้แบบทดสอบความสามารถใน การเรียนรู้เกี่ยวกับ เนื้อหาวิชาที่เรียน สรุป ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิดจาก การกระทำของบุคคล เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดย เป็นผลจากการได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือจากการเรียน การสอนในชั้นเรียนสามารถประเมินหรือ วัดประมาณได้จากการทดสอบหรือการสังเกตพฤติกรรมที่ เปลี่ยนแปลงไป 2.6 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถาพร ส่องแสง (2554 : 52) ได้กล่าวว่า ความพึง พอใจเป็นทัศนคติอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็น นามธรรมไม่ สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ เป็นความรู้สึกส่วนตัวเมื่อ ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ ของตนในสิ่งที่ขาด หายไป และเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมในการแสดงออก ของ บุคคลที่มีต่อการเลือกที่จะปฏิบัติในกิจกรรมนั้นๆ สุพรรษา ทองเปลว (2554 : 27) ได้กล่าวว่า ความพึง พอใจในการปฏิบัติงาน หมายถึง ความรู้สึกในงานที่ทำด้วย ความเต็มใจหรือพอใจในทางบวกที่ส่งผลต่อทัศนคติที่ดีใน การทำงาน และได้รับ การตอบสนองทางอารมณ์ของบุคคลที่ แสดงออกเมื่อได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างซึ่งรางวัล หรือ ผลตอบแทน เหล่านั้นเป็นสาเหตุของความพึงพอใจในการ
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 4 ทำงาน มีความเสียสละ อุทิศตนมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานส่งผล ให้ งานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพ และ ความก้าวหน้าในองค์การ 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศุภกฤษฎิ์ ตั้งเสริมสิทธิ์ (2556) ได ออกแบบและพัฒนาระบบสอบออนไลนเคลื่อนที่จาก มทส. ใหสามารถรองรับรูปแบบขอสอบตามมาตรฐานของสถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแหงชาติ (สทศ.) โดยมีวัตถุประสงค๑) เพื่อศึกษาระบบสอบออนไลนเคลื่อนที่ (SUT-MOTS-TBMS) ๒) เพื่อศึกษา รูปแบบขอสอบตามมาตรฐานของ สทศ. ๓) เพื่อพัฒนาระบบสอบออนไลนใหรองรับรูปแบบขอสอบ ตาม มาตรฐานของ สทศ. กลุมตัวอยาง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาป ที่ ๖ ในการสอบ O-NET GAT และ PAT เครื่องมือที่ใช ไดแก รูปแบบขอสอบมาตรฐาน สทศ. ของการ สอบ เขาระดับอุดมศึกษา สําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาป ที่ ๔ ในการสอบ O-NET GAT และ PAT จํานวน ๔ รูปแบบ คือ รูปแบบขอสอบปรนัยหลายตัวเลือก ๑ คําตอบ รูปแบบขอสอบแบบเลือกคําตอบจากแตละหมวด ที่สัมพันธกัน รูปแบบขอสอบแบบระบายคําตอบเปนคา/ ตัวเลข และรูปแบบขอสอบบทความให อาน+ปรนัยแบบ กลุ มคําตอบ สัมพันธกัน หลายกลุม หลายตัวเลือก อุปกรณที่ใช ในการวิจัย คือ ๑.เครื่องคอมพิวเตอรสวนบุคคลสําหรับการ พัฒนาระบบสอบออนไลนเคลื่อนที่จาก มทส. ๒.เครื่อง คอมพิวเตอรสําหรับการทดสอบออนไลนเคลื่อนที่จาก มทส. ใหรองรับรูปแบบขอสอบของการเขาศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลการวิจัยพบวา ความสามารถของระบบสอบออนไลนที่ได พัฒนาทั้ง ๔ รูปแบบ ชวยอํานวยความสะดวกการตรวจสอบ ความถูกตองของระบบเพื่อรองรับรูปแบบการ สอบของ สทศ.ไดอยางมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนําไปใชในการจัด สอน วิธีดำเนินการวิจัย 1.ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) ด้วยแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) จำนวน 30 ข้อ กับกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลาในการทดสอบ 30 นาที 2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz แต่ละหัวย่อยตามแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งก่อนเรียนให้กลุ่ม ตัวอย่างทำแบบทดสอบย่อย ก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อ และ เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อย่อย ผู้ ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน 3. เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ครบทุกหัวข้อ ผู้ศึกษา ให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน ใช้เวลาในการ ทดสอบ 30 นาที การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน และหาค่าดัชนีประสิทธิผล 4. นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดย ใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบถามนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง และชี้แจงทำความเข้าใจ ขั้นตอนการตอบแบบสอบถามอย่างละเอียด โดยผู้ศึกษาให้ ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และเมื่อกลุ่มตัวอย่างส่ง แบบสอบถามคืน ผู้ศึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องและความ ครบถ้วนของการตอบ โดยหากพบว่าไม่ถูกต้องและครบถ้วน ผู้ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างตอบใหม่อีกครั้ง 5. รวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป 3. เครื่องมือการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง Quizizz เรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ เนื้อหาประกอบด้วย 1.1จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.2 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.3 ลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์และกฎหมาย ลิขสิทธิ์ 1.4 กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 5 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อเรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ มีลักษณะเป็นแบบประเมินแบบ ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 11 ข้อ 4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ปีการศึกษา 2566 จำนวน 73 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียน เทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ จำนวนนักเรียน 32 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 5. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลัง เรียนโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz กลุ่ม ทดลอง N x̅ S.D. df t Sig. (one tail) ทดสอบ ก่อนเรียน 32 22.69 1.13 31 3.77 .00 ทดสอบ หลังเรียน 32 23.56 1.06 จากตารางที่ 4.2 พบว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 22.69 และค่าเฉลี่ยนของคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 23.56 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้น ม ั ธ ย ม ศ ึ ก ษ า ป ี ท ี ่ 6 โ ร ง เ ร ี ย น เ ท ศ บ า ล 7 รถไฟสงเคราะห์ ปรากฏดังตารางที่ 4.2 ตารางที่ 4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแอป พลิเคชัน ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการ คำนวณ โดยใช้แอป พลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 คะแนน ระดับ ความพึง พอใจ x̅ S.D. ด้านเนื้อหา 1. ปริมาณของเนื้อหา มีความเหมาะสม 4.62 0.51 มากที่สุด 2. เนื้อหาเข้าใจง่าย 4.54 0.52 มากที่สุด 3. เนื้อหามีความ สอ ด คล้ อ ง ก ั น ทั้ ง บทเรียน 4.54 0.52 มากที่สุด 4. การจัดลำดับตาม ความยากง่ายมีความ เหมาะสม 4.69 0.48 มากที่สุด รวมด้านเนื้อหา 4.60 0.50 มากที่สุด
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 6 ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการ คำนวณ โดยใช้แอป พลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 คะแนน ระดับ ความพึง พอใจ x̅ S.D. ด้านสื่อ 5. สีตัวอักษรและ ขนาดตัวอักษร อ่าน ง่าย มีความเหมาะสม 4.92 0.28 มากที่สุด 6. รูปภาพประกอบ ตรงกับเนื้อหา 4.62 0.51 มากที่สุด รวมด้านสื่อ 4.77 0.43 มากที่สุด ด้านปฏิสัมพันธ์ 7. ปฏิสัมพันธ์ของ ก ิ จ ก ร ร ม ม ี ค ว า ม เหมาะสม 4.70 0.48 มากที่สุด 8. ปฏิสัมพันธ์ของ แอปพลิเคชันมีความ เหมาะสม 4.77 0.44 มากที่สุด 9. ก า ร เ ชื ่ อ ม โ ย ง บทเรียนไปยังส่วน ต่าง ๆ ถูกต้อง และ เหมาะสม 4.23 0.83 มาก รวมด้านปฏิสัมพันธ์ 4.56 0.64 มากที่สุด ด้านการประเมิน 10. ส ื ่ อ ม ี ค ว า ม เหมาะสม 4.46 0.52 มาก ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการ คำนวณ โดยใช้แอป พลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 คะแนน ระดับ ความพึง พอใจ x̅ S.D. 11. แบบทดสอบมี ความเหมาะสม 4.54 0.52 มากที่สุด รวมด้านประเมิน 4.50 0.51 มาก ค่าเฉลี่ยรวม 4.60 0.53 มากที่สุด จากตารางที่ 4.4 การศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์แบบวัดความพึง พอใจ มีทั้งหมด 4 ด้าน ด้านที่ 1 ด้านเนื้อหา มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และ S.D. เท่ากับ 0.50 อยู่ใน ระดับพึงพอใจมากที่สุด ด้านที่ 2 ด้านสื่อ มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และ S.D. เท่ากับ 0.43 อยู่ใน ระดับพึงพอใจมากที่สุด ด้านที่ 3 ด้านปฏิสัมพันธ์ มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และ S.D. เท่ากับ 0.64 อยู่ใน ระดับพึงพอใจมากที่สุด ด้านที่ 4 ด้านประเมิน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และ S.D. เท่ากับ 0.51 อยู่ใน ระดับพึงพอใจมาก จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าความพึง พอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้แอป
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 7 พลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.60 และ S.D เท่ากับ 0.53 อยู่ในระดับพึง พอใจมากที่สุด อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐาน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้ แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.60 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟ สงเคราะห์จึงมีประเด็นที่จะนำมาอภิปราย ดังนี้ 1. การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ โดยใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่ง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดย ใช้แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการสอน มีคะแนนเฉลี่ย 23.56 คิดเป็นร้อย ละ 78.54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ง เป็นไป ตามสมมติฐาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนิชาภา บุรี กาญจน์ (2556) ศึกษาผลการ จัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดย ใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านทีมีต่อความรับผิดชอบและ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ย ของ คะแนนความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุข ศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลองหลัง การทดลองสูงกว่าก่อน การทดลอง 2)ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสุขศึกษาของนักเรียนกลุ่ม ทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมและ ดวงพร อิมแสง จันทร์ (2554) ศึกษาการพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศและความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียน ชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงกับ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ความ คิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนยุคสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมาก เพราะการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ วิธีการเรียนการสอนจะเป็น รูปแบบที่เน้นการพัฒนาทักษะมากกว่าความรู้ เป็นรูปแบบ การเรียนหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการเรียน ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เน้นการส่งเสริมทักษะและการปฏิบัติ โดยมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเลือกใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมมา ประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของนักเรียนในยุค ใหม่ นอกจากนั้นยังช่วยสนับสนุนการกระตุ้นความคิดของ ผู้เรียน ถือเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่21 ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้อย่าง กว้างขวาง มีความเข้าใจใน ตนเอง ผู้อื่นและสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผลและน า ความรู้ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและ ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวัง 2. การหาความพึงพอใจของ นัก เรี ย น ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราห์ อำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Quizizz ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ พอใจมากที่สุด (X̅= 4.60,S.D.= 0.53) สำหรับผลการ ประเมินรายข้อ พบว่าข้อ 10) สื่อมีความเหมาะสม (X̅= 4.46, S.D.= 0.52) และข้อ 9) การเชื่อมโยงบทเรียนไปยัง ส่วนต่าง ๆ ถูกต้อง และเหมาะสม (X̅= 4.23,S.D.= 0.83) มี ผลการประเมินต่ำกว่าข้ออื่น ๆ คือมีผลการประเมินความพึง พอใจอยู่ในระดับพอใจมาก จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ผลการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 8 แอปพลิเคชัน Quizizz สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ผู้วิจัยสร้างขึ้นในครั้ง นี้ มีประสิทธิภาพสูง กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้Quizizz ในรายวิชาวิทยาการ คำนวณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากเรียน ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนำไปใช้ 1.1 ด้านอุปกรณ์ 1.1.1 ก ่ อ น น ำ Quizizz ไ ป ใ ช ้ ต ้ อ ง คำนึงถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยQuizizz ใน รายวิชาวิทยาการคำนวณ เช่น สมาร์ทโฟน หรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ครบตามจำนวนนักเรียนหรือไม่ เครื่อง คอมพิวเตอร์มีปัญหาหรือไม่ เช่น เมาส์พัง แป้นพิมพ์พัง สัญญาณอินเทอร์เน็ตมีปัญหาหรือไม่เป็นต้น 1.2 ด้านการจัดการเรียนรู้ 1.2.1 ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Quizizz ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครูผู้สอนต้องแจ้งกติกา กฎ ในการเล่น เกมการศึกษา ให้นักเรียนทราบก่อนเริ่มจัดกิจกรรม 1.2.2 ระหว่างที่นักเรียนกำลังร่วม กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้Quizizz ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครู ควรให้คำแนะนำและดูแลนักเรียน เพื่อให้ไม่ให้เกิดปัญหาใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะเพื่อทำการศึกษาครั้งต่อไป 2.1 ด้านเนื้อหา 2.1.1 เ น ื ้ อ ห า แ บ บ ท ด ส อ บ เ ร ื ่อง จริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องมีความเหมาะสม ตัวหนังสือหรือรูปภาพที่ชัดเจนชัดเจน ไม่เล็กหรือใหญ่ จนเกินไป 2.1.2 ควรพัฒนารูปแบบแบบทดสอบให้ มีเนื้อหาหลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนมีความสนใจและสนุกสนานมากขึ้น 2.2 ด้านการเผยแพร่ 2.2.1 ค วร ม ี ก า รน ำ เ สน อ แ บ ่งปัน แบบทดสอบ ผ่านสังคมใน Quizizz เพื่อที่จะร่วมแลกเปลี่ยน แบบทดสอบให้มีความหลากหลาย หรือแบ่งปันลิ้งก์เพื่อให้ บุคคลภายนอกสามารถใช้แบบทดสอบได้ เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. กฤษณา สิกขมาน, “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษ ธุรกิจโดยใชการสอนแบบ E-Learning”, คณะ ศิลปศาสตร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ๒๕๕๕, หนา ๑๑. เกษม แสงนนท, “บทความวิชาการเรื่อง ทําไมตอง e-testing”.คณะครุศาสตร: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. จักรพันธ ศรีคุม, “promote easi etesting ๒๐๑๘ การสอบ e-testing”, [ออนไลน], แหลงที่ มา: https://www.youtube.com/watch?v=KJUwv BGsGkc&feature. [๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑]. ชัชสันต จันทรเรืองฤทธิ ์, “ระบบประเมินความรู ผานเครือขาย (e-Testing) กรณีศึกษา คลังขอสอบ สนันสนุนการสอบใบประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม”, ศูนยบรรณสาร และสื่อการศึกษา: มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ, ๒๕๕๙, หนา ๑๑๓-๑๑๗. ชนิดา ยอดสาลี และ กาทจนา บุทส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ป ร ะ จ ว บ ค ี ร ี ข ั น ธ ์ เ ข ต 2. Veridian EJournal,Silpakorn University, 9(1), 1208- 1223. สืบ ค ้ น จ า ก https://he2 tcithaijo.org/index.php/VeridianEJournal/article/view/61676/50806
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 9 ถวิล ธาราโรจน์. (2536). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. บรรเจิด ศุภราพงศ์. (2556). ความพึงพอใจของ ผู้ปกครองนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต่อการ บริหารงานของโรงเรียนปากช่องพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. ผุสดี แสงหล่อ. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของ ผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียน สวนป่า อุปถัมภ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเ รียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ไพรศาล ลุนใต, “การศึกษาทัศนคติของอาจารย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนคร เหนือเกี่ยวกับการนําระบบอีเลิรนิ่ง (e-Learning) มาใช ในการจัดการเรียนการ สอน”, ครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนคร เหนือ, ๒๕๕๐, หนา ๑๘. ยอดนภา เกษเมือง, “การพัฒนาบทเรียนการสอน บนเว็ปไซตเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ของนักศึกษา”, วิศวกรรม อุตสาหการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี, ๒๕๕๔, หนา ๗. รัชนี ทีปกากร. (2556). การศึกษาความพึงพอใจ ของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการ บริหารงานของโรงเรียนเทศบาล 1 (สถาวร) สังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัย บูรพา ภัทรา นิคมานนท์. (2539). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การวิจัย. กรุงเทพ : อักษรการพิมพ์. สามมิติ สุขบรรจง, “การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาการแสดงและสื่อ”, วิทยาลัย นวัตกรรมสื่อสารสังคม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๔, หนา ๑๙. วันเพ็ญ ธูปอินทร์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง การใช้อํานาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอน โรงเรียน มัธยมศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพืนที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สหวิทยาเขต ร ะ ย อ ง 1. งานนิพนธ์ปริ ญ ญา การศ ึ ก ษ า มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. วรายุทธ แก้วประทุม. (2556). การศึกษาความพึง พอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการ บริหารงานของโรงเรียนบ้านหินแร่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอน คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพ วิชาการ. สถาพร ส่องแสง. (2554). ความพึงพอใจต่อการจัด การศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน วัดกระเฉท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งาน นิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัย บูรพา.
The 9 th Student Symposium of Computer Education SSCED 2023 | Department of Computer Education | Faculty of Education | Udon Thani Rajabhat University | 23 March 2023 Computer Education 10 สุพรรษา ทองเปลว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่าง การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับความ พึงพอใจใน การปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดการบริหารส่วน จังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา เสมา สอนประสม. (2559). การศึกษาความพึง พอใจในการใช้คลาสรูมในวิชาฟิสิกส์1 สําหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. อภิรักษ์ ทูลธรรม และอุมาพร จันโสภา. (2559). ความพึงพอใจระบบบริการจัดการเรียน การสอน แบบออนไลน์มูเดิ้ลและกูเกิ้ล คลาสรูมในบทบาทของผู้สอน (The Satisfaction towards Learning Management System of Moodle and Google Classroom in Teacher Role). การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12”. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8-9 กันยายน 2559. หน้า 78-85. อรทัย จันใด. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อลิสา วานิชดี และคณะ, “การพัฒนาแบบทดสอบวัด ความสามารถดานการใชภาษาอังกฤษโดย ใชสื่อ อิเล็กทรอนิกส ในการ ศึ กษาทางไ กล ”, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, พ.ศ.๒๕๕๑, หนา ๑๖. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแหงชาติ, “การสอบ ดวยระบบอิเล็กทรอนิกส e-testing”,[ ออนไลน]แหลงที่มา: http://www.niets.or.th/th/catalog/vie w/310, [๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร, “ระบบการสอบ ทางอิเล็กทรอนิกส (e-Testing)”, [ออนไลน], แหลงที่มา: http://www.nida.ac.th/th/index.php/n ida-personnel/, [๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑]. สุนีย ศีลพิพัฒน และคณะ, “การเรียนการสอนผาน ระบบอิเล็กทรอนิกส ชุดวิชาเศรษฐศาสตร ระหวางประเทศโดยใช T5 Model”, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๐, หนา ๙-๑๐. สามมิติ สุขบรรจง, “การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาการแสดงและสื่อ”, วิทยาลัย นวัตกรรมสื่อสารสังคม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๔, หนา ๑๙.