The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by suphasuta2541, 2021-08-20 04:55:19

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี

Keywords: แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี



คำนำ

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๒ วนั ท่ี ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้สว่ นราชการจัดทำแผนปฏิบัตริ าซการของสว่ นราชการนน้ั โดยจัดทำเป็น
แผนระยะ ๕ ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ นโยบายของคณะรัฐนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นท่ี
เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย โดยการบริหารงบประมาณเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติราชการ ตามนโยบายได้อย่างถูกต้อง
รวดเร็ว

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ และ
กฎหมายวา่ ดว้ ยวิธกี ารงบประมาณ ทำให้มีความจำเปน็ ต้องจดั ทำแผนปฏิบัตริ าชการตาม มาตรา ๑๖ ตามพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ การนี้ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏ ๓๘ แห่ง จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ตามมติเห็นชอบ
ของ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการประชุมครั้งท่ี๓/๒๕๖๔ เมื่อวันท่ี ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ซง่ึ แผนฯท่ไี ดร้ ่วมกนั จดั ทำฉบบั น้ีมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับยุทธศาสตรช์ าติ ๒๐ ปี แผนแมบ่ ทภายใต้ยุทธศาสตร์
ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) นโยบาย
และยุทธศาสตร์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐) และ
แพลตฟอร์มที่มุ่งสู่เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ ตลอดจนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนา
ท้องถิ่น ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) รวมถึงแผนปฏบิ ัติการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกบั มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ทั้งน้ีเพื่อให้การบริหารราชการและการดำเนินงาน โดยเฉพาะงานการจัดการเรียนการสอนตามพันธกิจของ
มหาวทิ ยาลัยฯ เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธท์ิ ่ีกำหนดไว้

มหาวิทยาลยั ราชภัฏ



สารบญั

หนา้
คำนำ

สารบญั ........................................................................................................................................................๓

ส่วนท่ี ๑ บทสรปุ ผู้บรหิ าร............................................................................................................................๔

ทม่ี าและความสำคญั .......................................................................................................................๕
กรอบแนวคดิ (Conceptual Framework) ...................................................................................๖
ส่วนท่ี ๒ ความสอดคลอ้ งกับแผน ๓ ระดบั ..................................................................................................๑๔
แผนระดบั ๑ ยทุ ธศาสตร์ชาติ.........................................................................................................๑๕
แผนระดับ ๒ แนวทางการขับเคลื่อน...............................................................................................๒๒

- แผนแมบ่ ทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ...........................................................................๒๒
- แผนการปฏริ ปู ประเทศ...........................................................................................๒๖
- แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๓ ..............................................๒๖
แผนระดบั ๓ แผนทเี่ กี่ยวขอ้ ง.............................................................................................................๒๗
สว่ นที่ ๓ สาระสำคัญแผนปฏบิ ัตริ าชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลยั ราชภัฏ……....๒๘
ภาพรวม..................................................................................................................................................๒๙
แผนปฏิบตั ริ าชการ...................................................................................................................................๓๓
ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………………………………………………………..๔๖



ส่วนที่ ๑ บทสรปุ ผู้บรหิ าร



สว่ นที่ ๑
บทสรปุ ผบู้ ริหาร

๑. ทีม่ าและความสำคญั
รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อให้ประเทศ

ไทย บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนตาม
แนวทางที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาตินั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความรู้ และความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนากำลังคนที่เหมาะสมเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการนำพาประเทศ
ให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ยุทธศาสตร์ชาติได้ระบุวาระการพัฒนาที่เนันการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven Economy)
รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย ตลอดจนรองรับ
ผลกระทบจากพลวัตของกระบวนการโลกาภิวัตน์รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) จากการ
พัฒนาอยา่ งกา้ วกระโดดทางเทคโนโลยี และนวตั กรรม

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราซการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทำเป็นแผน
ระยะ ๕ ปี โดยในระยะเร่ิมแรกใหจ้ ดั ทำ ๓ ปีกอ่ น (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) และจัดทำเป็นแผนปฏิบตั ริ าชการรายปี

ทั้งนี้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะต้องมี
ความสอดคล้องกบั แผนระดับ ๑ (ยทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๐ ป)ี แผนระดับที่ ๒ ซง่ึ มคี วามเกี่ยวข้องกับแผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ นโยบายของ
คณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง และแผนระดับ ๓ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายและ
ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ ยทุ ธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏั เพื่อการพัฒนาท้องถน่ิ ตามพระบรมราโชบาย
ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)

ดังนั้น เพื่อนำพามหาวิทยาลัยราชภัฏ เข้าสู่ยุคแห่งการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง ตามบริบทของ
สังคมในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเทคโนโลยีล้ำสมัยและ
ความท้าทายจากนโยบายของผนู้ ำท้ังในระดับนานาชาติ ระดับชาติและระดับหนว่ ยงาน จึงต้องจัดทำแผนปฏบิ ัติราซ
การระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้มีความเข้มแข็ง ภายใต้กรอบทิศทาง แนว
ทางการดำเนินงานในการตอบสนองต่อนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ
นวัตกรรม ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งใช้แผนฯเป็นกรอบแนวทางในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
ของหน่วยงานในมหาวทิ ยาลัยราชภัฏ ให้บรรลุตามเป้าหมายทีก่ ำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดไว้เปน็



กรอบการดำเนินงานระยะ ๕ ปี (พ ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อรองรับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงสนับสนุนการ
ดำเนินงานของแผนระดับที่ ๑ และแผนระดับที่ ๒ สู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือจัดทำขึ้นตาม
กฎหมายที่กำหนด หรือจัดทำขึ้นตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ และนำข้อมูลบันทึกลงในระบบ
ติดตามและประเมินผลแหง่ ชาติ (eMENSCR)
๒. กรอบแนวคิด (Conceptual Framework)

กรอบแนวคิดการจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั กำหนดความสมั พนั ธใ์ ห้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนแมบ่ ทภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ชาติ
กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) แผนการปฏิรปู ประเทศ นโยบาย
และยุทธศาสตร์การอุคมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐ และแผนด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ รวมทั้งยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ ๒๐
ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -๒๕๗๙) ตลอดจนแผนปฏิบัตกิ ารด้านต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ซ่ึงจะส่งผล
ต่อการบริหารราชการ และการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เกิดผลสัมฤทธิ์ และนำข้อมูลบันทึกใน
ระบบติดตามและประเมนิ ผลแห่งชาติ (MENSCR) โดยกรอบแนวคดิ ประกอบดว้ ย แผนระดบั ชาตทิ เี่ กี่ยวข้อง ดงั นี้

๒.๑ ทิศทางเชงิ ยทุ ธศาสตร์ในการพฒั นาระบบอดุ มศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวตั กรรม
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) กำหนดวิสัยทศั นใ์ ห้ประเทศมคี วาม "มั่นคง มั่ง

คัง่ ยงั่ ยืน" เปน็ ประเทศพฒั นาแลว้ ด้วยการพฒั นาตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficient economy)
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาว รวมทั้งโจทย์ท้าทายที่สำคัญของประเทศ
ดังนี้

๒.๑.๑ ยุทธศาสตรช์ าตริ ะยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ประกอบดว้ ย ๖ ดา้ น ดงั น้ี
๑) ยทุ ธศาสตรช์ าติด้านความมน่ั คง
๒) ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ ้านการสรา้ งความสามารถในการแขง่ ชนั
๓) ยุทธศาสตร์ชาติดา้ นการพฒั นาและเสริมสร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์
๔) ยุทธศาสตรช์ าติดา้ นการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
๕) ยทุ ธศาสตร์ชาติดา้ นการสรา้ งการเตบิ โตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรตอ่ สงิ่ แวคลอ้ ม
๖) ยทุ ธศาสตร์ชาติดา้ นการปรับสมดลุ และ พัฒนาระบบการบริหารจดั การภาครฐั
ทั้งนี้ แผนปฎิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖- ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สอดคลอ้ งกับยทุ ธศาสตร์ชาติ สนบั สนนุ การขบั เคลือ่ น ๔ ยทุ ธศาสตร์ชาติ ใน ๔ ด้าน ดังน้ี
๑) ดา้ นการพฒั นาและเสรมิ สร้างศักยภาพทรพั ยากรมนุษย์
๒) ดา้ นการสร้างความสามารถในการแข่งขนั
๓) ดา้ นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
๔) ดา้ นการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจดั การภาครฐั



โดยสรุปความสอดคล้องกับแผน ระดบั ๓ ดงั นี้
๑. ยุทธศาสตรช์ าตทิ ่ี ๓ ด้านการพฒั นาและเสริมสร้างศักยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์
(๑) เปา้ หมาย
เป้าหมายท่ี ๑ คนไทยเปน็ คนดี คนเก่ง พร้อมสำหรับวถิ ชี วี ิตในศตวรรษที่ ๒๑
เป้าหมายที่ ๒ สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดชว่ ง
ชวี ิต
(๒) ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (การบูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัย
คณุ ธรรม จริยธรรม ในการจดั การเรยี นการสอนในสถานศึกษา/ปลกู ฝงั คำนยิ มและวัฒนธรรมโดยใชช้ ุมชนเป็นฐาน/
การส่งเสรมิ ใหค้ นไทยมีจติ สาธารณะและมีความรบั ผิดชอบต่อสว่ นรวม)
ประเด็นที่ ๒ : พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (ช่วงปฐมวัย/ วัยเรียน/วัยรุ่น/วัย
แรงงาน/วยั สูงอาย)ุ
ประเด็นที่ ๓ : ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่
๒๑ (ปรับเปลี่ยนระบบการเรยี นรู้ให้เอ้ือต่อการพฒั นาทักษะสำหรับศตวรรษท่ี ๒๑ /เปลยี่ นโฉมบทบาท "คร"ู ให้เป็น
ครูยคุ ใหม/่ เพิ่มประสทิ ธภิ าพระบบบริหารจัดการศึกษาทกุ ระดับ ทกุ ประเภท/ พฒั นาระบบการเรยี นรู้ตลอดชวี ติ )
ประเด็นที่ ๗ : เสริมสร้างศักยภาพด้านการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนา
ประเทศ (สง่ เสรมิ การออกกำลงั กาย และกีฬาขน้ั พืน้ ฐานให้กลายเป็นวิถีชวี ิต/ สง่ เสริมกีฬาเพ่อื ความเป็นเลิศต่อยอด
สู่ระดบั อาชพี )
(๓) ความสอดคล้องของแผนระดบั ๓
แผนปฏิบตั ริ าชการ ด้านการยกระดบั คุณภาพการศกึ ษา
แผนปฏิบัติราชการ ด้านการผลิตและพัฒนาครู
๒. ยทุ ธศาสตร์ชาติท่ี ๒ ดา้ นการสร้างความสามารถในการแข่งขนั
(๑) เปา้ หมาย
เป้าหมายที่ ๑ ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
และยัง่ ยืน
เป้าหมายท่ี ๒ ประเทศไทยมขี ีดความสามารถในการ แขง่ ขนั สงู ข้นึ
(๒) ประเด็นยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๕ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจบนพ้นื ฐานผปู้ ระกอบการยุคใหม่
(๓) ความสอดคลอ้ งของแผนระดบั ๓
แผนปฏิบัติราชการ ดา้ นการพฒั นาทอ้ งถ่นิ



๓. ยทุ ธศาสตรช์ าติท่ี ๔ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(๑) เปา้ หมาย
เป้าหมายที่ ๑ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุก
ภาคส่วนเข้ามาเปน็ กำลังของการพัฒนาประเทศ ในทกุ ระดับ
เป้าหมายที่ ๒ เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและ
การจดั การตนเองเพอื่ สรา้ งสงั คมคณุ ภาพ
(๒) ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ : การลดความเหล่ือมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ (สร้างความเป็นการ
เขา้ ถึงบรกิ ารการศึกษา โดยเฉพาะผมู้ รี ายไดน้ อ้ ยและกลมุ่ ผู้ด้อยโอกาส)
ประเด็นที่ ๒ : การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
(สนับสนนุ การพฒั นาพนื้ ทบ่ี นฐานขอ้ มลู ความรู้ เทคโนโลยีและนวตั กรรม)
ประเด็นท่ี ๓ : การเสริมสร้างพลังทางสังคม (การรองรับสงั คมสงู วยั อยา่ งมคี ณุ ภาพ)
ประเด็นที่ ๔ : การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเอง
และการจัดการตนเอง (ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในระดับครัวเรือนให้มีขีดความสามารถในการจัดการ
วางแผนชีวิต สุขภาพ ครอบครัว การเงินและอาชีพ /เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตนเองและการพึ่งพา
กันเอง /สร้างการมีสว่ นร่วมของภาคสว่ นต่าง ๆ เพื่อสร้างประชาธปิ ไตยชมุ ชน)
(๓) ความสอดคล้องของแผนระดบั ๓
แผนปฏบิ ตั กิ าร ด้านการพัฒนาทอ้ งถิ่น
๔. ยทุ ธศาสตร์ชาติท่ี ๖ ดา้ นการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบรหิ ารจัดการภาครฐั
(๑) เป้าหมาย
เป้าหมายที่ ๑ ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม
ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเรว็ โปร่งใส
เปา้ หมายท่ี ๒ ภาครัฐมคี วามโปร่งใส ปลอดการทุจรติ และประพฤติมชิ อบ
(๒) ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ ภาครัฐมีความทันสมัย (มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการพัฒนา
ประเทศ /พัฒนาและปรับระบบวธิ ีการปฏิบัติราชการ ใหท้ ันสมัย)
ประเด็นที่ ๒ บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม มีจิตสำนึก มี
ความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพ (ภาครัฐมีการบริหารกำลังคนที่มีความคล่องตัว ยึดระบบคุณธรรม /
บคุ ลากรภาครัฐยึดคา่ นิยมในการทำงานเพ่ือประชาชน มีคุณธรรมและมีการพฒั นาตามความกา้ วหนา้ ในอาชีพ)
ประเดน็ ที่ ๓ ภาครัฐมคี วามโปรง่ ใส ปลอดการทุจรติ และประพฤติมิชอบ ทุกภาคส่วนร่วม
ต่อต้านการทุจริต (บุคลากรภาครัฐยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต /การปราบปรามการ
ทุจรติ ประพฤติมชิ อบมปี ระสทิ ธภิ าพ มีความเดด็ ขาดเปน็ ธรรมและตรวจสอบได้)



(๓) ความสอดคล้องของแผนระดบั ๓
แผนปฏบิ ตั กิ าร ด้านการพฒั นาระบบการบริหารจัดการ
๒.๑.๒ แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๓ ฉบบั
แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าตริ ะยะ ๒๐ ปี ประกอบด้วย
๑) ความมน่ั คง
๒) การตา่ งประเทศ
๓) การเกษตร
๔) อตุ สาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
๕) การทอ่ งเทย่ี ว
๖) พื้นท่แี ละเมืองนา่ อยอู่ ัจฉรยิ ะ
๗) โครงสรา้ งพ้ืนฐานระบบโลจสิ ตกิ สแ์ ละดิจทิ ลั
๘) ผ้ปู ระกอบการและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาตยอ่ มยุคใหม่
๙) เขตเศรษฐกิจพิเศษ
๑๐) การปรับเปลีย่ นค่านยิ ม และวฒั นธรรม
๑๑) ศกั ยภาพคนตลอดช่วงชีวติ
๑๒) การพัฒนาการเรยี นรู้
๑๓) การเสรมิ สร้างใหค้ นไทยมีสุขภาวะทด่ี ี
๑๔) ศกั ยภาพการกีฬา
๑๕).พลังทางสังคม
๑๖) เศรษฐกิจฐานราก
๑๗) ความเสมอภาคและหลักประกนั ทางสงั คม
๑๘) การเตบิ โตอยา่ งยง่ั ยนื
๑๙) การบริหารจดั การนำ้ ท้ังระบบ
๒๐) การบรกิ ารประชาชนและประสทิ ธภิ าพภาครฐั
๒๑) การต่อต้านการทจุ รติ และประพฤตมิ ิขอบ
๒๒) กฎหมายและกระบวนการยุตธิ รรม
๒๓) การวจิ ยั และพฒั นานวัตกรรม
ทั้งน้ี แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖- ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สอดคล้องกับยทุ ธศาสตร์ชาติ สนบั สนุนแผนแม่บท ดงั น้ี

๑๐

๑. ประเด็นท่ี ๑๑ ศักยภาพคนตลอดชว่ งชีวิต (หลกั )
เปา้ หมายระดับประเดน็ ของแผนแมบ่ ท
เปา้ หมายท่ี ๑๑๐๓๐๑ วัยเรยี น/วยั ร่นุ มคี วามรูแ้ ละทกั ษะในศตวรรษท่ี ๒๑ ครบถว้ น รู้จักคิด

วิเคราะห์รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว
สื่อสารและทำงานรว่ มกบั ผู้อื่นได้อย่างมีประสทิ ธผิ ลตลอดชวี ิตดีขนึ้

เป้าหมายที่ ๑๑๐๔๐๑ แรงงานมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต มีทักษะ อาชีพสูง ตระหนักใน
ความสำคัญทจี่ ะพฒั นาตนเองให้เต็มศักยภาพ สามารถปรับตวั และเรยี นรู้สง่ิ ใหมต่ ามพลวัตของโครงสร้างอาชีพและ
ความต้องการของตลาดแรงงานเพมิ่ ขนึ้

เปา้ หมายท่ี ๑๑๐๕๐๑ ผสู้ ูงอายุมีคณุ ภาพชวี ติ ท่ีดี มีความมั่นคงในชวี ติ มที กั ษะการดำรงชีวิต
มีสว่ นร่วมในกจิ กรรมสังคม สร้างมูลค่าเพิม่ ใหแ้ ก่สังคมเพ่มิ ขน้ึ

๒. ประเดน็ ท่ี ๑๒ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับประเดน็ ของแผนแม่บท
เป้าหมายที่ ๑๒๐๑๐๑ คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มีทักษะท่ี

จำเปน็ ของโลกศตวรรษท่ี ๒๑ สามารถในการแก้ปัญหา ปรบั ตัว สอื่ สาร และทำงานร่วมกบั ผู้อน่ื ได้อย่างมีประสิทธิผล
เพมิ่ ขน้ึ มีนสิ ัย ใฝ่เรยี นรู้อยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดชีวติ

เป้าหมายที่ ๑๒๐๒๐๑ ประเทศไทยมีระบบขอ้ มลู เพอ่ื การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ
ตามพหปุ ัญญาเพอ่ื ประโยชนใ์ นการพฒั นาและการสง่ ตอ่ การพฒั นาให้เตม็ ตามศักยภาพเพ่มิ ข้ึน

๔. ประเดน็ ท่ี ๑๕ พลงั ทางสงั คม
เป้าหมายระดับประเดน็ ของแผนแม่บท
เป้าหมายท่ี ๑๕๐๑๐๑ ภาคีการพฒั นามบี ทบาทในการพัฒนาสงั คมมากขึน้ อยา่ งต่อเน่ือง
เป้าหมายที่ ๑๕๐๒๐๑ การรองรบั สงั คมสงู วัยเชงิ รกุ

๓. ประเดน็ ที่ ๑๖ เศรษฐกิจฐานราก
เป้าหมายระดบั ประเด็นของแผนแม่บท
เปา้ หมายที่ ๑๖๐๑๐๑ ศักยภาพและขีดความสามารถเศรษฐกิจฐานรากเพิม่ ขึน้
เปา้ หมายท่ี ๑๖๐๒๐๑ ผูป้ ระกอบการเศรษฐกจิ ฐานรากมีรายได้เพม่ิ ขน้ึ อย่างต่อเน่ือง

๔. ประเดน็ ท่ี ๒๓ การวิจยั และพัฒนานวัตกรรม
เป้าหมายระดบั ประเด็นของแผนแมบ่ ท
เปา้ หมายท่ี ๒๓๐๑๐๑ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการสร้างมูลค่าเพิ่ม สูงขึ้นจากการ

วิจัยและนวัตกรรม สง่ ผลใหเ้ กิดการขยายตวั เพิ่มขึ้นจากปจั จุบนั
เป้าหมายที่ ๒๓๐๑๐๒ วิสาหกจิ ในกลมุ่ เป้าหมายดา้ นเศรษฐกิจท่มี ีนวัตกรรมเพ่มิ ขนึ้
เป้าหมายที่ ๒๓๐๒๐๒ คุณภาพชีวิต ศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ และความเสมอภาคทาง

สงั คม ได้รับการยกระดบั เพมิ่ ขน้ึ จากผลการวจิ ยั และพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม

๑๑

๒.๑.๓ นโยบายอ่ืน ๆ ทส่ี ำคญั ของรฐั บาล
นโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญชองรัฐบาล อาทิ การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประซาชน การ

ยกระดับศักยภาพของแรงงาน การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การวางรากฐานระบบ
เศรษฐกจิ ของประเทศสู่อนาคต การเตรยี มคนไทยสู่ศตวรรษท่ี ๒๑ การปรับปรงุ ระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การแก้ไขปัญหาทุจริต และ
ประพฤติมิซอบในวงราชการท้ังฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำ การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบ
สุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและ
อทุ กภัย และการสนับสนนุ ใหม้ ีการศกึ ษา และการรับฟงั ความเห็นของประชาชน

จากกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ข้างตัน สามารถสรุปประเด็นการพัฒนาเพื่อจัดทำแผน
ระดับท่ี ๓ เพือ่ สนบั สนนุ ให้โจทย์ทาั ทายสำคญั ของประเทศส่กู ารปฏบิ ตั ิใหบ้ รรลุเปา้ หมายที่กำหนด ดังนี้

๑. การสร้างคน มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
และมที ักษะทีจ่ ำเป็นตอ่ การพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมของประเทศ

๒. การสร้างองคค์ วามรู้ มุ่งเนันการวิจัยเพื่อสะสมความรู้เพ่ือเป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคต และการ
พัฒนาต่อยอดองค์ความรไู้ ปสู่ขีคความสามารถและความเขม้ แขง็ ของประเทศในด้านตา่ ง ๆ

๓. การสร้างนวัตกรรม มุ่งเน้นการบ่มเพาะและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ นวัตกรรม การ
พัฒนาระบบนิเวศทางนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการสร้างและแปลงนวัตกรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจและ
คุณค่าทางสังคม

๔. การปรบั บทบาทมหาวิทยาลยั ตามจุดเน้นยทุ ธศาสตรข์ องกลมุ่ การพฒั นาเชิงพน้ื ที่ (Area-based
Community) เพื่อตอบโจทย์การพฒั นาประเทศเชงิ พ้นื ท่ี

๓. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)
มหาวิทยาลยั ราชภัฏ

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ และวันที่ ๑๕ ธันวาคม
๒๕๖๓ เหน็ ชอบการจำแนกแผนออกเป็น ๓ ระดบั ประกอบด้วย

(๑) ยุทธศาสตร์ชาติ
(๒) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน

ความมนั่ คง
(๓) แผนปฏิบัตริ าชการของสว่ นราชการ แผนปฏบิ ัตกิ ารดา้ น... แผนปฏิบัติราชการราย ๕ ปี และรายปี
๓.๑ พระราชกฤษฎกี าวา่ ด้วยหลักเกณฑ์และวธิ ีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์การ
บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๙๖ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๑๖ ให้ส่วนราชการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทำเป็นแผนห้าปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท

๑๒

แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และ
แผนอื่นที่เกีย่ วขอ้ ง"

มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้เป็นแผนห้าปี ตาม
มาตรา ๑๖ แหง่ พระราชกฤษฎีกาวา่ ดว้ ยหลักเกณฑแ์ ละวิธีการบริหารกิจการบา้ นเมืองทีด่ ีซึ่งแก้ไขเพ่ิมเติม โดยพระ
ราชกฤษฎกี านี้ ให้จัดทำเปน็ แผนสามปโี ดยมีหว้ งเวลาตงั้ แต่ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕
๔. องค์ประกอบ

สาระสำคญั ของแผนปฏบิ ัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีองค์ประกอบ
ดังนี้

วิสยั ทศั น์ (Vision)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นสถาบันหลักที่
บรู ณาการองค์ความรูส้ ู่นวัตกรรมในการพัฒนาทอ้ งถิน่ เพ่อื สรา้ งความมนั่ คงใหก้ ับประเทศ
พนั ธกจิ (Mission) ของมหาวทิ ยาลยั ราชภฏั

๑. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม และมีสมรรถนะตามต้องการของ
ผใู้ ช้บณั ฑติ

๒. วิจยั เพ่อื สรา้ งองคค์ วามรู้และนวัตกรรมท่ีมีคุณภาพและได้มาตรฐานเปน็ ทีย่ อมรบั มุง่ เนน้ การบูรณา
การ เพ่ือนำไปใช้ประโยชนไ์ ดอ้ ย่างเปน็ รปู ธรรม

๓. พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมน ด้วยศักยภาพโดย
การถ่ายทอดองคค์ วามรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ

๔. สร้างเครือข่ายความรว่ มมือกับทุกภาคส่วนในการพฒั นาท้องถ่ิน และเสริมสร้างความเขม้ แข็งของ
ชมุ ชนให้มคี วามสามารถในการบรหิ ารงานเพ่อื ประโยชน์ต่อสว่ นรว่ ม

๕. บริหารจัดการทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล พร้อม
รองรับบริบทการเปล่ียนแปลงเพอื่ ใหเ้ กดิ การพฒั นาอยา่ งต่อเนื่องและยั่งยนื

๕. แผนปฏบิ ัตริ าชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)
แผนปฏบิ ัตริ าชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวทิ ยาลัยราชภัฏ ประกอบดว้ ย ๔ เร่อื ง คือ
๕.๑ แผนปฏบิ ัติราชการเรือ่ งที่ ๑ การพฒั นาท้องถ่ิน มเี ปา้ หมายเพ่ือพฒั นาและแก้ไขปัญหาของ

ทอ้ งถน่ิ โดยใหน้ กั ศึกษา อาจารย์ และบุคลากร เขา้ ไปมีส่วนร่วมในการบรู ณาการศาสตร์ เพอื่ ยกระดับดา้ นเศรษฐกิจ
ยกระดับดา้ นสงั คม แก้ไขปัญหาดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม และยกระดบั คณุ ภาพดา้ นการศกึ ษา ให้แกป่ ระชาชน ชุมชนท้องถิน่
โรงเรยี น ในเขตพน้ื ทที่ ี่มหาวิทยาลยั ราชภฏั รับผิดชอบ

๕.๒ แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู โดยมีเป้าหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้มีอัตลักษณ์ และสมรรถนะเป็นเลิศ เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สร้างบัณฑิตครูของ

๑๓

มหาวิทยาลัยราชภัฏสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ และถ่ายทอด/บ่มเพาะให้ศิษย์แต่ละช่วงวัย ส่งเสริมและ
สนับสนนุ ให้บัณฑติ ครูมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏท่เี ขา้ สูว่ ิชาชีพใดร้ บั การเสรมิ สมรรถนะเพื่อรองรบั การเปลี่ยนแปลง

๕.๓ แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้
มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความเป็นเลิศ ในการพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของบัณฑิตให้สอดรับความต้องการของ
ประเทศ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตให้เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ด้วยอัตลักษณ์ด้านสมรรถะและคุณลักษณะ ๔
ประการ พร้อมรองรับบริบทที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงส่งเสริมอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทุกสาขาวิชาเป็นมอื
อาชีพ มีสมรรถะเป็นที่ยอมรบั ในระดับชาตแิ ละนานาชาติ

๕.๔ แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้
มหาวิทยาลัยราชภัฏได้รับการยอมรับระดับชาติ และนานาชาติด้านการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อท้องถิ่นที่สร้าง
ความมั่งคงให้กับประเทศ มีระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ และคล่องตัว มุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาล ความพร้อม
และความสามารถปรับตวั ในการก้าวส่กู ารเปน็ มหาวทิ ยาลยั ในกำกับของรฐั อย่างมีประสทิ ธภิ าพและประสิทธิผล

๑๔

ส่วนที่ ๒
ความสอดคลอ้ งกับแผนระดับ ๓
ตามนัยยะของมตคิ ณะรัฐมนตรีเมอื่ วนั ที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๖๐

๑๕

สว่ นที่ ๒
ความสอดคล้องกับแผน ๓ ระดบั

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เห็นชอบการจำแนกแผนออกเป็น ๓ ระดับประกอบด้วย
แผนระดับท่ี ๑ ยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนระดับ ๒ เป็นแผนทีใ่ ช้เป็นแนวทางในการขับเคล่ือนประเทศ เพื่อให้บรรลุตาม
เปา้ หมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซึง่ กำหนดประเดน็ การพัฒนา และถ่ายทอดไปสู่แนวทางในการปฏิบัติในแผนระดับท่ี
๓ ประกอบด้วย เชน่ แผนแมบ่ ทภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ชาติ ๒๓ แผนแม่บท แผนการปฏริ ูปประเทศ ๑๓ ด้าน และ แผน
ระดับ ๓ เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนระดับที่ ๑ และแผนระดับที่ ๒ สู่การปฏิบัติให้
บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรอื จดั ทำขึ้นตามกฎหมายที่กำหนด หรอื จดั ทำขน้ึ ตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่าง
ประเทศ ทั้งนี้แผนระดับที่ ๓ หมายรวมถึงแผนปฏิบัติการทุกระดับ โดยรายละเอียดของแผนแต่ละระดับ ดัง
แผนภาพท่ี ๑-๑
รูป

แผนภาพท่ี ๑ ภาพรวมความเช่ือมโยงของแผน ๓ ระดบั
ท่มี า : สคช. (๒๕๖๒)
๒.๑ แผนระดับ ๑ ยทุ ธศาสตร์ชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดบั ที่ ๑) ประกอบดว้ ย ๖ ยุทธศาสตร์ ดงั น้ี
ยทุ ธศาสตร์ที่ ๑ ดา้ นความม่นั คง
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๒ ดา้ นการสร้างความสามารถในการแขง่ ขนั

๑๖

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ด้านการพัฒนาและเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์
ยทุ ธศาสตร์ท่ี ๔ ดา้ นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
ยุทธศาสตรท์ ่ี ๕ ด้านการสรา้ งการเติบโตบนคณุ ภาพชวี ติ ที่เปน็ มติ รตอ่ ส่ิงแวคลอ้ ม
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๖ ดา้ นการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบรหิ ารจดั การภาครัฐ

ทั้งนี้ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สนบั สนนุ การขับเคล่อื นยทุ ธศาสตร์ชาติ ใน ๔ ด้าน คือ
๑) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์
๒) ด้านการสรา้ งความสามารถในการแขง่ ขนั
๓) ดา้ นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
๔) ดา้ นการปรับสมดลุ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครฐั
โดยสรปุ ความสอดคลอ้ งกบั แผน ระดบั ๓ ดงั นี้
๒.๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติที่ ๓ ด้านการพฒั นาและเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพทรพั ยากรมนุษย์
(๑) เป้าหมาย
เปา้ หมายท่ี ๑ คนไทยเป็นคนดี คนเกง่ พร้อมสำหรับวถิ ชี ีวติ ในศตวรรษท่ี ๒๑
เป้าหมายที่ ๒ สังคมไทยมีสภาพแวดลอ้ มที่เออ้ื และสนับสนุนต่อการพฒั นาคนตลอดช่วงชีวิต
(๒) ประเด็นยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ ปรับเปล่ียนค่านิยมและวัฒนธรรม (การบรู ณาการเร่อื งความซ่ือสัตย์ วินัย คุณธรรม จรยิ ธรรม
ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา/ปลูกฝังคำนิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน/การส่งเสริมให้คน
ไทยมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบตอ่ ส่วนรวม)
ประเดน็ ท่ี ๒ : พัฒนาศกั ยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (ช่วงปฐมวยั / วัยเรียน/วยั รุ่น/วยั แรงงาน/วัยสูงอายุ)
ประเด็นที่ ๓ : ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ (ปรับเปลี่ยน
ระบบการเรียนรู้ให้เอ้ือต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ /เปลี่ยนโฉมบทบาท "ครู" ให้เป็นครูยุคใหม่/เพมิ่
ประสทิ ธิภาพระบบบรหิ ารจัดการศึกษาทกุ ระดับ ทกุ ประเภพ/ พัฒนาระบบการเรยี นร้ตู ลอดชีวติ )
ประเด็นที่ ๗ : เสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ (ส่งเสริมการ
ออกกำลังกาย และกฬี าขนั้ พนื้ ฐานให้กลายเปน็ วถิ ีชวี ติ / ส่งเสรมิ กีฬาเพือ่ ความเป็นเลิศต่อยอดสูร่ ะดบั อาชพี )
(๓) การบรรลุเปา้ หมายตาม ยทุ ธศาสตร์ชาติ
ประเดน็ ท่ี ๑ : ปรับเปลีย่ นคำนยิ มและวฒั นธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาให้มีอัตลักษณการเป็น
"วิศวกรสังคม" เข้าใจกระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ เกิดสำนึกรักบ้านเกิดและถิ่นกำเนิดของตนเอง รวมท้ัง
คุณลักษณะของคนไทย ๔ ประการตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมหาวิทยาลัยได้
ดำเนินโครงการส่งเสริมความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย เข้าใจคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ ๔
ประการ หนา้ ทีส่ ิทธชิ องตนเองและผู้อ่นื และมีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตอยา่ งต่อเน่ือง

๑๗

ประเดน็ ท่ี ๒ : พัฒนาศกั ยภาพคนตลอดชว่ งชวี ิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
ประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย รวมถึงมีการจัดการเรียนการสอนใน
ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดจนมี
หลักสูตรระยะสั้นเพือ่ ตอบสนองการเรียนรู้ทุกช่วงวัย ตอบสนองความต้องการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Reskil!
– Upskill) เพอ่ื พฒั นาให้มที ักษะตรงความตอ้ งการของตลาดแรงงาน
ประเด็นที่ ๓ : ปฏิรปู กระบวนการเรียนรทู้ ีต่ อบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑
มหาวิทาลัยราชภัฏมีการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal มี
การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านนักศึกษา ตลอดจน
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และเทคโนโลยที ตี่ อบสนองต่อการเปลย่ี นแปลง
ประเดน็ ที่ ๔ : เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพการดา้ นกฬี าในการสร้างคณุ ค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ
มหาวิทยาลัยราชภฏั มีการส่งเสริมให้นักเรียน นกั ศกึ ษา และประชาชนมีส่วนรว่ มในกจิ กรรมออกกำลังกาย
กีฬาและนันทนาการ โดยเน้นการจัดกิจกรรมกีฬา สร้างโอกาสและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาอย่าง
ต่อเนอ่ื ง การปลูกฝังให้มีคุณธรรมของความเป็นนกั กีฬา มีระเบยี บ วนิ ยั รู้แพ้ รูซ้ นะ ร้อู ภยั และรู้จักการขอโทษ โดย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลยั ราชภฏั มีศนู ย์กีฬา จึงมีความพรอ้ มด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬา
และนันทนาการ ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ
ทกุ วยั
(๔) แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สามารถส่งผลต่อการ
บรรลเุ ป้าหมาย ดังน้ี
แผนปฏิบัติราชการ ด้านการผลิตและพัฒนาครู โดยมีเป้าหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มีอัตลักษณ์ และสมรรถนะเป็นเลิศ เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต สร้างบัณฑิตครูของมหาวิทยาลัยราชภฏั สมบูรณ์
ด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการและถ่ายทอด/บ่มเพาะให้ศิษย์แต่ละช่วงวัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้บัณฑิตครู
มหาวิทยาลัย ราชภัฏท่ีเขา้ สูว่ ิชาชพี ใด้รับการเสริมสมรรถนะเพอื่ รองรบั การเปล่ียนแปลง
แผนปฏิบัติราชการ ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ มี
ความเป็นเลิศ ในการพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของบัณฑิตให้สอดรับความต้องการของประเทศ ยกระดับ
คุณภาพบัณฑิตให้เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ด้วยอัตลักษณ์ด้านสมรรถะและคุณลักษณะ ๔ ประการ พร้อม
รองรับบรบิ ทท่เี ปล่ยี นแปลง รวมถงึ สง่ เสรมิ อาจารยแ์ ละบุคลากรทางการศึกษาทุกสาขาวชิ าเป็นมืออาชีพ มสี มรรถะ
เปน็ ทีย่ อมรบั ในระดับชาติและนานาชาติ
๒.๑.๒ ยทุ ธศาสตร์ชาติที่ ๒ ดา้ นการสรา้ งความสามารถในการแขง่ ขัน
(๑) เป้าหมาย
เปา้ หมายที่ ๑ ประเทศไทยเป็นประเทศทพี่ ัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอยา่ งมเี สถยี รภาพและย่ังยืน
เปา้ หมายท่ี ๒ ประเทศไทยมขี ีดความสามารถในการ แขง่ ขันสูงขน้ึ

๑๘

(๒) ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเดน็ ที่ ๕ ด้านการพัฒนาเศรษฐกจิ บนพืน้ ฐานผปู้ ระกอบการยุคใหม่
(๓) การบรรลุเปา้ หมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีคุณภาพ
ชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการสร้างมูลค่าสินค้าทางการเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น การเกษตร
ปลอดภัย และการเกษตรแปรรูป ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าและหวงแหนแหล่ง
ทอ่ งเท่ยี วในท้องถ่ินตน สง่ เสริมการทอ่ งเที่ยวเชงิ สร้างสรรค์และวัฒนธรรม /เชิงธรุ กิจ /เช่ือมโยงภูมิภาค โดยการมี
ส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ ด้วยการสร้างโอกาสให้ ผู้ประอบการ
เข้าถงึ ตลาดและข้อมูล ปรบั บทบาทและโอกาสการเข้าถงึ บริการภาครฐั โดยมรี ายละเอียดดังนี้
ประเดน็ ที่ ๑ การเกษตรสร้างมูลคา่
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เข้าไปมีส่วนในการการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับการเกษตร
แปรรูป ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ให้มี
มูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น พร้อมทดสอบความต้องการทางการตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ และ
กระตนุ้ ให้เกิดการวิจยั และพฒั นาผลิตภัณฑร์ ปู แบบใหม่ พฒั นาเกษตรแปรรูปสอู่ อร์แกนิคใหเ้ กิดผลติ ภณั ฑ์ใหม่ ๆ ที่
มีมูลค่าเพ่ิมสงู ขึน้
ประเด็นท่ี ๒ อุตสาหกรรมและบรกิ ารแหง่ อนาคต (ขนสง่ และโลจิสติกส)์
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยบูรณาการหน่วยงานของรัฐ ภาค
เอกซน และสถาบนั การศึกษาในระดบั ภมู ภิ าคใหเ้ กดิ การทำงานร่วมกนั รว่ มแก้ปัญหาดา้ นความเหล่ือมล้ำของรายได้
โดยหาแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการประเทศ ซึ่งเป็น
หัวใจสำคัญของกระบวนการพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุน เพื่อรองรับแผนงานด้านการขนส่งโดยเฉพาะระบบ
ราง ขนสง่ ทางอากาศ ขนสง่ ทางบก และขนส่งในเมือง ตลอดจนระบบโลจิสติกสใ์ นอตุ สาหกรรม
ประเด็นที่ ๓ ด้านการสร้างความหลากหลายด้านการทอ่ งเทย่ี ว
มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีส่วนร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว โดยส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวผ่านการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น การออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์และ
นวัตกรรมให้มีมูลค่าเพิ่มและเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุ ตสาหกรรม
ท่องเที่ยวรวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการใหม่และพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา
ตลอดห่วงโซอ่ ปุ ทาน และเชือ่ มโยงเครอื ข่ายธรุ กิจการลงทุนสรา้ งโอกาสการคา้ การลงทนุ ในตลาดสากล
ประเด็นท่ี ๔ ด้านการพฒั นาเศรษฐกจิ บนพ้นื ฐานผู้ประกอบการยุคใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ส่งเสริมผู้ประกอบการครบวงจรต้ังแตก่ ารเสรมิ สรา้ งความรู้และทักษะในการดำเนิน
ธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการใหม่ การบ่มเพาะโดยผ่านศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลิต
ภาพให้กับ SMEs โดยการพัฒนาองค์ความรู้และการให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการพัฒนามาตรฐานต่าง ๆ
นวัตกรรม และ Digital หรือ IT มาใช้ในการบริหารจัดการที่ทันสมัย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพ

๑๙

สินค้า เพ่ิมชอ่ งทางการคา้ และเพิม่ มลู ค่าใหก้ ับสนิ ค้าและบรกิ าร และพฒั นาไปส่ผู ู้ประกอบการ SMEs แบบอัจฉรยิ ะ
(Smart SMEs) ควบคู่กบั การพัฒนาปจั จยั แวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการประกอบธุรกิจ เพ่ือส่งเสริมและพัฒนาประชาชนใน
พืน้ ท่เี ป้าหมายมคี ุณภาพชวี ิตท่ีดี ทั้งในด้านสงั คม เศรษฐกจิ และส่งิ แวดลอ้ มตามบรบิ ทและความต้องการของชุมชน
ท้องถิ่น โดยการให้ความช่วยเหลือผ่านศูนย์นวัตกรรมเพื่อแก้ใขปัญหาและสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นโดยมี
โครงการรองรับ ตลอดจนร่วมพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการตลาดรวมถึงการส่งออกสินค้าไปยัง
ตา่ งประเทศดว้ ย

(๔) แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สามารถส่งผลต่อการ
บรรลเุ ปา้ หมาย ดังน้ี

แผนปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น โดยให้
นกั ศกึ ษา อาจารย์ และบคุ ลากร เข้าไปมีส่วนร่วมในการบรู ณาการศาสตร์ เพอ่ื ยกระดบั ดา้ นเศรษฐกิจ ยกระดับด้าน
สังคม แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และยกระดับด้านการศึกษา ให้แก่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น โรงเรียน ในเขต
พน้ื ทก่ี ารศึกษาที่มหาวทิ ยาลัยราชภัฏรับผิดชอบ

๒.๑.๓ ยุทธศาสตรช์ าติท่ี ๔ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
(๑) เปา้ หมาย
เป้าหมายที่ ๑ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเปน็
กำลงั ของการพฒั นาประเทศ ในทกุ ระดับ
เป้าหมายที่ ๒ เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง
เพือ่ สรา้ งสงั คมคุณภาพ
(๒) ประเด็นยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ : การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ (สร้างความเป็นการเข้าถึงบริการ
การศึกษา โดยเฉพาะผูม้ รี ายได้นอ้ ยและกลุ่มผูด้ ้อยโอกาส)
ประเด็นที่ ๒ : การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกจิ สังคมและเทคโนโลยี (สนับสนุนการพัฒนา
พื้นทีบ่ นฐานขอ้ มลู ความรู้ เทคโนโลยแี ละนวัตกรรม)
ประเดน็ ท่ี ๓ : การเสรมิ สร้างพลงั ทางสังคม (การรองรับสังคมสงู วยั อย่างมีคุณภาพ)
ประเด็นที่ ๔ : การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการ
ตนเอง (ส่งเสริมการปรับพฤติกรรม ในระดับครัวเรือนให้มีขีดความสามารถในการจัดการวางแผนชีวิต สุขภาพ
ครอบครวั การเงนิ และอาชีพ /เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพของชุมชนในการพ่ึงตนเองและการพึ่งพากันเอง /สร้างการมีส่วน
รว่ มของภาคส่วนต่าง ๆ เพอ่ื สรา้ งประชาธิปไตยชมุ ชน)
(๓) การบรรลเุ ปา้ หมายตาม ยทุ ธศาสตร์ชาติ
ประเดน็ ท่ี ๑ การลดความเหล่อื มล้ำ สรา้ งความเป็นธรรมในทุกมิติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง เปิดให้โอกาสทางการศึกษาโดยมีการรับสมัครนักศึกษาประเภทโควตาต่าง ๆ
ที่ให้โอกาสแก่นักเรียนในท้องถิ่น การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีการพัฒนาด้าน

๒๐

โครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อคนทุกวัย รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และดำเนินโครงการ
บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพือ่ แก้ไขปญั หาโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพืน้ ที่การศึกษาท่ีมหาวิทยาลัยราชภฏั แต่ละแห่ง
รับผิดชอบด้วย

ประเดน็ ที่ ๒ : การกระจายศูนยก์ ลางความเจรญิ ทางเศรษฐกิจ สงั คม และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนคนของพระราชา ทั้งระบบออฟไลน์
และระบบออนไลน์ และมีการบูรณาการพันธกิจทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิซาการ และการทำนุ
บำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ของคนในท้องถนิ่ โดยปัจจบุ นั มหาวิทยาลยั ราชภัฏได้กำหนดพื้นท่ีเป้าหมายในการเขา้ ไปพัฒนาในพื้นที่ท่ีประชาชน
มีรายได้ตำ่ กว่าเกณฑ์ และดำเนินโครงการอยา่ งตอ่ เน่ือง ภาคเี ครือข่ายระดบั จังหวัด ตง้ั แต่ปี ๒๕๖๒ เปน็ ต้นมา
ประเดน็ ท่ี ๓ : การเสริมสรา้ งพลงั ทางสังคม
มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น โดยศึกษาหาแนวทางการ
พัฒนา สร้างนวัตกรรมเกษตร และนำนวัตกรรมไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมายและ
พื้นที่ตามบริบท เพื่อถ่ายทอดความรู้ สร้างรายได้มีเศรษฐกิจ เพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนในท้องถิ่น และ
ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ผู้สงู อายไุ ด้รับปจั จัยพนื้ ฐานในการดำรงชวี ติ อย่างมีคุณค่าและศกั ด์ศิ รี ได้รบั การพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจาก
การถูกทอดทิ้ง ผู้สูงอายุได้เรียนรูใ้ นการดูแลสุขภาพอนามยั ของตนเอง ผู้สูงอายคุ วรได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้
และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนอื่ ง
ประเด็นท่ี ๔ การเพมิ่ ขดี ความสามารถของชุมชนท้องถน่ิ ในการพัฒนา การพึง่ ตนเองและการจดั การตนเอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น (OTOP) สู่ Market Place โครงการ
พฒั นาคณุ ภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กบั คนในชมุ ชนฐานราก โครงการสง่ เสรมิ ความรักความสามัคคี เข้าใจสิทธิ
หน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้พื้นฐานของสังคมอธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โครงการพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลตำบลอย่างต่อเนือ่ งตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ ซึ่งดำเนินการทั้ง ๓๘ มหาวิทยาลัย ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ
การศึกษาทั้ง ๓๖ จงั หวดั ทัว่ ประเทศไทย
(๔) แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สามารถส่งผลต่อการ
บรรลุเปา้ หมาย ดังน้ี
แผนปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น โดยให้
นกั ศกึ ษา อาจารย์ และบุคลากร เข้าไปมีส่วนร่วมในการบูรณาการศาสตร์ เพ่อื ยกระดับด้านเศรษฐกิจ ยกระดับด้าน
สังคม แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และยกระดับด้านการศึกษา ให้แก่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น โรงเรียน ในเขต
พืน้ ทก่ี ารศกึ ษาทมี่ หาวทิ ยาลัยราชภฏั รบั ผิดชอบ
๒.๑.๔ ยุทธศาสตรช์ าตทิ ี่ ๖ ดา้ นการปรับสมดลุ และพัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การภาครฐั
(๑) เปา้ หมาย

๒๑

เป้าหมายที่ ๑ ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวมตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเรว็ โปร่งใส

เปา้ หมายท่ี ๒ ภาครฐั มคี วามโปรง่ ใส ปลอดการทจุ รติ และประพฤตมิ ชิ อบ
(๒) ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์
ประเด็นที่ ๑ ภาครัฐมีความทันสมัย (มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประเทศ /พัฒนาและ
ปรับระบบวิธกี ารปฏบิ ัตริ าชการ ให้ทนั สมยั )
ประเด็นที่ ๒ บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่นและ
เป็นมืออาชพี (ภาครัฐมีการบริหารกำลังคนท่ีมคี วามคล่องตัว ยึดระบบคุณธรรม /บุคลากรภาครัฐยึดค่านิยมในการ
ทำงานเพื่อประชาชน มีคุณธรรมและมีการพัฒนาตามความก้าวหนา้ ในอาชพี )
ประเด็นที่ ๓ ภาครัฐมีความโปรง่ ใส ปลอดการทุจรติ และประพฤติมิชอบ ทุกภาคส่วนรว่ มตอ่ ต้านการทุจริต
(บคุ ลากรภาครัฐยดึ ม่นั ในหลักคณุ ธรรม จริยธรรมและความซอ่ื สตั ย์สุจรติ /การปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
มปี ระสทิ ธภิ าพ มีความเด็ดขาดเปน็ ธรรมและตรวจสอบได้)
(๓) การบรรลุเป้าหมายตามยทุ ธศาสตร์ชาติ
ประเด็นที่ ๔ ภาครฐั มีความทันสมัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมียุทธศาสตร์การดำเนินงานที่ชัดเจน ในด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
บรหิ ารจดั การตามหลกั ธรรมาภบิ าล ดว้ ยความโปรง่ ใสยดื หยนุ่ และคลอ่ งตวั สูง นำนวตั กรรม เทคโนโลยี ข้อมลู ขนาค
ใหญ่ ระบบการทำงานทีเ่ ปน็ ดจิ ทิ ัล มาใช้ในการบรหิ ารและการตัดสินใจ บคุ ลากรเป็นคนดแี ละเก่ง ยดึ หลักคุณธรรม
จริยธรรม มีจิตสำนึกมีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ ในการปฏิบัติหน้าที่และขับเคลื่อนพันธกิจของ
มหาวทิ ยาลยั
ประเด็นที่ ๒ บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่นและ
เป็นมอื อาชพี
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีระบบการบริหารจัดการบุคลากร ตามหลักธรรมาภิบาลโดยส่งเสริมให้บุคลากรเป็น
คนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่นและเป็นมืออาชีพ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้
บุคลากรพัฒนาคุณวุฒิ และพัฒนาขีดความสามารถที่เหมาะสมกับเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ ส่งเสริมและ
พัฒนาให้มีสมรรถะใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบ ผู้บริหารมี
ความเป็นมืออาชีพ เป็นทั้งผู้นำทางความรู้และความคิด ผลักดันพันธกิจ นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนานโยบายและ
ยุทธศาสตร์
ประเด็นท่ี ๓ ภาครฐั มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมชิ อบ ทุกภาคส่วนร่วมต่อตา้ นการทจุ รติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปลอดการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบ มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างวัฒนธรรมแยกแยะ
ประโยชน์ส่วนบคุ คลและประโยชนส์ ว่ นรวมของบุคลากร รวมทั้งสร้างจิตสำนกึ และค่านยิ มให้ตื่นตัว และละอายต่อ

๒๒

การทุจริตประพฤติมิชอบ ทุกรูปแบบ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง เข้ารับการประเมินคุณธรรมและความ
โปร่งใสในการดำเนินงานของหนว่ ยงานภาครัฐ (ITA) ตามประกาศของสำนักงาน ป.ป.ช.
๒.๒ แผนระดับท่ี ๒ แนวทางการขบั เคลอ่ื น

แผนระดับที่ ๒ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซ่ึง
กำหนดประเด็นการพัฒนา และถ่ายทอดไปสู่แนวทางในการปฏิบัติในแผนระดับที่ ๓ เช่น แผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๓ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ ๑๓ ด้าน กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ นโยบายและแผนระดบั ชาติว่าด้วยความม่ันคงแห่งขาติ ดงั แผนภาพท่ี ๒ แผนระดบั ๒

แผนภาพท่ี ๒ แผนระดับท่ี ๒
ทมี่ า : สคช. (๒๕๖๒)

๒.๒.๑ แผนแมบ่ ทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ที่สอดคล้องต่อแผน
แม่บทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ มคี วามสอดคลอ้ งกับแผนแม่บทภายใตย้ ุทธศาสตรช์ าติ ดังน้ี
(๑) ประเดน็ ที่ ๑๑ ศักยภาพคนตลอดชว่ งชวี ิต (หลกั )

(๑.๑) เป้าหมายระดบั ประเด็นของแผนแมบ่ ท
เป้าหมายที่ ๑๑๐๓๐๑ วัยเรียน/วัยรุ่นมีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ครบถ้วน รู้จักคิด

วิเคราะห์รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว
ส่อื สารและทำงานร่วมกบั ผู้อ่ืนได้อยา่ งมีประสทิ ธผิ ลตลอดชีวติ ดีขนึ้

๒๓

เป้าหมายที่ ๑๑๐๔๐๑ แรงงานมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต มีทักษะ อาชีพสูง ตระหนักใน
ความสำคญั ทจ่ี ะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ สามารถปรบั ตวั และเรียนรสู้ งิ่ ใหมต่ ามพลวัตของโครงสร้างอาชีพและ
ความตอ้ งการของตลาดแรงงานเพ่มิ ขึน้

เป้าหมายที่ ๑๑๐๕๐๑ ผู้สงู อายมุ ีคุณภาพชวี ติ ที่ดี มคี วามม่ันคงในชีวติ มที ักษะการดำรงชวี ติ มี
สว่ นรว่ มในกจิ กรรมสังคม สร้างมูลค่าเพ่มิ ให้แก่สังคมเพ่ิมข้ึน

(๑.๒) การบรรลุเปา้ หมายตามแผนย่อยของแผนแม่บท
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้านการพัฒนา

และยกระดับคุณภาพการศึกษ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทดังกล่าว โดยในปี พ.ศ.
๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง ๓๘ แห่ง ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรจำนวนทั้งส้ิน ๙๔๐ หลักสูตร เพื่อความ
ทันสมัย รองรับกับความต้องการของภาคธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงในยุค New normal ซึ่งการพัฒนาหลักสูตร
อาศัยภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ใช้แรงงาน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อกำหนด
สมรรถนะหลักของบัณฑิตตามทักษะท่ีสถานประกอบการต้องการ และกำหนดเป็นรายวิชาให้สอดรับกับสมรรถนะ
และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงพัฒนาหลักสูตรแบบ WIL (Work Integrated Learning) ให้นักศึกษาเรียนรู้
ควบคู่ไปกับการทำงานกับสถานประกอบการจริง ซึ่งจะให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับสถานประกอบการจริง
และมโี อกาสในการทำงานไดท้ ันทีเมื่อจบการศึกษา

นอกจากนั้น แผนปฏิบัตราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านการพัฒนาทอ้ งถิ่น วัตถุประสงค์เพ่ือยกระดับด้านการศกึ ษา ยังมีเปา้ หมายการเพิ่มศักยภาพแรงงาน และกลุ่ม
ผู้สูงอายุ โดยได้กำหนดเป็นหลักสูตรระยะสั้น จัดโครงการอบรมพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้กับศิษย์เก่า และ
ประชาชน และผู้สูงอายุในเขตพื้นที่การศึกษา ที่สนใจเพิ่มทักษะเดิม (Re Skill) ตลอดจนโครงการเพิ่มทักษะใหม่
(Up Skill) ทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทักษะด้านการบริหารการเงิน การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจของ
ตนเอง และการปรับตัว เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในวิถีปกติใหม่ /วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้นใน
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-๑๙) รวมถึงจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กิจกรรม
นันทนาการ และการมีสว่ นร่วมในการพฒั นาชมุ ชนและสังคม ตลอดจนการสร้างเครือข่ายการดแู ลผ้สู ูงอายุ

(๒) ประเดน็ ๑๒ การพฒั นาการเรยี นรู้ (หลัก)
(๒.๑) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแมบ่ ท
เป้าหมายที่ ๑๒๐๑๐๑ คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น มี

ทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ ๒๑ สามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ประสทิ ธิผลเพิม่ ข้นึ มีนิสยั ใฝ่เรียนร้อู ย่างต่อเนอ่ื งตลอดชีวติ

เปา้ หมายท่ี ๑๒๐๒๐๑ ประเทศไทยมีระบบขอ้ มลู เพอื่ การส่งเสริมการพฒั นาศักยภาพ
ตามพหุปัญญาเพ่ือประโยชน์ในการพฒั นาและการสง่ ตอ่ การพฒั นาใหเ้ ตม็ ตามศักยภาพเพ่ิมขนึ้

๒๔

(๒.๒) การบรรลุเป้าหมายตามแผนแมบ่ ท
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้านการ

ผลิตและพัฒนาครู และด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา มีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผน
แม่บทดงั กลา่ ว โดยกระบวนการจดั การเรยี นการสอนของมหาวทิ ยาลัยราชภัฏ มงุ่ เนน้ การพัฒนาทกั ษะของนกั ศึกษา
ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพิ่มข้ึน อีกทั้ง ยังพัฒนาหลักสูตรแบบ WIL (Work Integrated Learning) คือให้
นักศึกษาเรียนควบคู่ไปกับการทำงานกับสถานประกอบการจริง ซึ่งจะให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีกับสถาน
ประกอบการจริง และมีโอกาสในการทำงานได้ทนั ทเี มื่อจบการศึกษา บณั ฑิตทีส่ ำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลยั ราช
ภัฏจึงมีทักษะสอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันจรงิ อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จากการได้เรียนรู้ควบคู่กับการทำงานในสถานประกอบการจริงอีกด้วย
นอกจากนั้น ยังมีการจัดระบบสนับสนุนสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ
นักศึกษาตามพหุปัญญา ประเมินทักษะความสามารถพิเศษของนักศึกษารายบุคคลและจัดกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรม
สง่ เสริมพฒั นาศักยภาพทเ่ี ชอื่ มโยงกบั การสรา้ งงานสร้างอาชีพ

(๓) ประเด็นที่ ๑๕ พลังทางสงั คม
เป้าหมายระดบั ประเดน็ ของแผนแม่บท
(๓.๑) เปา้ หมายระดับประเดน็ ของแผนแมบ่ ท
เป้าหมายที่ ๑๕๐๑๐๑ ภาคีการพัฒนามบี ทบาทในการพัฒนาสังคมมากขน้ึ อย่างต่อเน่ือง
เป้าหมายที่ ๑๕๐๒๐๑ การรองรับสังคมสงู วัยเชิงรุก
(๓.๒) การบรรลุเปา้ หมายตามแผนแมบ่ ท
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้าน

การพัฒนาท้องถิ่น มีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทดังกล่าว โดยได้กำหนดกิจกรรม
และตัวชี้วัด ในการยกระดับคุณภาพผู้สูงอายุอยู่ในโครงการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดย
มุ่งเน้นการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความสุขทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต นอกจากนั้น ยังส่งเสริมความรู้ในการดูแล
ตนเอง เพอ่ื ปอ้ งกนั และลดการเกดิ โรค และมีกจิ กรรมสง่ เสริมทกั ษะอาชพี ผสู้ ูงอายเุ พอ่ื สรา้ งคุณคา่ เพ่มิ และสรา้ งให้
ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อครอบครัว ต่อสังคม และในแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี ยังมีโครงการพัฒนา
หุ้นสว่ นทางสงั คมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นท่ี โดยไดพ้ ัฒนากลไกการทำงานเชงิ พน้ื ที่ของแตล่ ะมหาวิทยาลัยให้
มีรูปธรรมและนำสู่การปฏิบัติจริง ด้วยการประกาศเป็นนโยบายมหาวิทยาลัย จัดทำแผนงานการวิจัย แผนงาน
การบริการวิชาการ แผนงานการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ/
หน่วยงาน ปรับปรุงวิธีการจัดสรรงบประมาณ จัดสรรทุนการวิจยั และการพัฒนาเชิงพื้นที่ แสวงหา สร้างพันธมิตร
และหุ้นส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณ วิชาการ ทรัพยากรบุคคลในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเชิงพื้นที่กับ
หน่วยงานภาครฐั เอกชนและองค์กรปกครองท้องถ่ินอย่างครบถว้ น รวมถงึ ได้ดำเนินโครงการยกระดับคณุ ภาพชีวิต
ของคนในชุมชน ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล โดยกำหนด

๒๕

พ้นื ทใ่ี นการดำเนนิ การร่วมกนั และกำหนดกจิ กรรมในการแกไ้ ขปัญหาและยกระดบั คณุ ภาพชวี ิตจากความต้องการ
ของคนในชุมชนท้องถน่ิ ส่งผลให้ภาคกี ารพฒั นามบี ทบาทในการพฒั นาสงั คมมากขึน้ อย่างตอ่ เนอ่ื ง

(๔) ประเดน็ ที่ ๑๖ เศรษฐกิจฐานราก (รอง)
(๔.๑) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บท
เป้าหมายท่ี ๑๖๐๑๐๑ ศกั ยภาพและขดี ความสามารถเศรษฐกิจฐานรากเพม่ิ ข้นึ
เป้าหมายที่ ๑๖๐๒๐๑ ผู้ประกอบการเศรษฐกจิ ฐานรากมีรายไดเ้ พม่ิ ขึ้นอยา่ งต่อเนอื่ ง
(๔.๒) การบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บท
แผนปฏบิ ตั ิราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ด้านการ

พัฒนาท้องถิ่น มีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทดังกล่าว โดยได้กำหนดกิจกรรม/
โครงการที่สอดรับการกับส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น โดย
ระบบและกลไกของหน่วยงานสนับสนนุ ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย อทุ ยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ศูนย์ Talent Center Mobility ที่ทำหน้าท่ีในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านนวัตกรรมให้กับ
ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
รวมถึงกิจกรรมและโครงการในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การตลาดเชิงพาณิชย์ สร้างแพลตฟอร์มการตลาด
ใหก้ บั สนิ ค้าชมุ ชน เพอื่ จำหนา่ ยสินคา้ และสรา้ งมูลค่าเพ่ิม สร้างรายไดใ้ หก้ บั ผ้ปู ระกอบการในชุมชนท้องถน่ิ

(๔) ประเดน็ ๒๓ การวิจยั และพฒั นานวัตกรรม (รอง)
(๔.๑) เปา้ หมายระดับประเด็นของแผนแม่บท
เปา้ หมายท่ี ๒๓๐๑๐๑ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการสร้างมูลค่าเพิ่ม สูงข้ึน

จากการวิจยั และนวัตกรรม ส่งผลให้เกิดการขยายตวั เพมิ่ ขึ้นจากปจั จบุ ัน
เป้าหมายที่ ๒๓๐๑๐๒ วิสาหกิจในกลุ่มเป้าหมายด้านเศรษฐกิจท่มี นี วัตกรรมเพ่มิ ขึ้น
เป้าหมายท่ี ๒๓๐๒๐๒ คุณภาพชีวิต ศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ และความเสมอภาค

ทางสังคม ได้รบั การยกระดบั เพ่มิ ขึ้นจากผลการวจิ ัยและพฒั นานวัตกรรมเชงิ สังคม
(๔.๒) การบรรลเุ ปา้ หมายตามแผนยอ่ ยของแผนแมบ่ ท
แผนปฏิบตั ิราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้านการ

พัฒนาท้องถิ่น มีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทดังกล่าว โดยมีระบบและกลไกการ
ทำงานวจิ ยั เชิงพน้ื ทใ่ี นการแกไ้ ขปัญหาของชมุ ชน ท้องถิน่ โดยมสี ถาบนั วจิ ยั และพัฒนาเป็นหนว่ ยงานในการสง่ เสริม
และสนับสนนุ ทำหน้าทปี่ ระสานงานการวิจยั ภายใน และระหว่างมหาวทิ ยาลยั โดยสร้างภาคีเครือข่ายในการทำงาน
มุ่งเน้นการพัฒนาและการวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพ่ือ
ยกระดับและสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วย โดยจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและ
เพิ่มรายได้ให้กับ ประชาชนในเขตพื้นที่การศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรับผิดชอบ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา รวมถึงการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มี
กจิ กรรมดา้ นการจัดการขยะและการสรา้ งนวัตกรรมในการอนุรักษ์ฟนื้ ฟทู รัพยากรธรรมชาติ

๒๖

๒.๒.๓ แผนการปฏิรปู ประเทศ ด้านการศึกษา
(๑) ประเด็นการปฏิรปู ดา้ นการศกึ ษา
(๑.๑) เปา้ หมายการปฏริ ปู ดา้ นการศึกษา
ให้มีการยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา มุ่งความเป็นเลิศและ

สรา้ งขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และปรบั ปรงุ ระบบการศึกษาให้มีประสทิ ธภิ าพในการใช้ทรัพยากร
เพ่ิมความคลอ่ งตวั ในการรองรับความหลากหลายของการจดั การศึกษา และสรา้ งเสรมิ ธรรมาภบิ าล

(๑.๒) การบรรลเุ ป้าหมายการปฏิรูป ด้านการศึกษา
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความ

สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเด็นการปฏิรูปด้านการศึกษา โดยมุ่งเน้นการปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัด
กรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์การจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน
ศตวรรษที่ ๒๑ สร้างภาคเี ครอื ข่ายท้ังโรงเรยี นขนาดเล็ก และหน่วยงานจดั การศกึ ษาในจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนและ
พัฒนาหลักสูตรการผลิตบัณฑิตครูและแผนงาน หลักสูตรการพัฒนาครูประจำการให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ ที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเน้นการสร้างครูนวัตกรพร้อมปรับการเรียนเปลี่ยน
การสอนให้แก่บัณฑติ ครู พัฒนาสมรรถนะของครูท่ียืดหย่นุ ตรงกบั ความต้องการของครูและสถานศึกษาในเชิงพ้ืนที่
และแผนการศึกษาชาติ รวมถึงยกระดับสมรรถนะของครูของครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งครูผู้สอนใน
สถานศึกษา ให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มีมาตรฐาน จิตวิญญาณความเป็นครู ผลิตครูที่เป็น
เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่สามารถสร้างพหุปัญญา/สร้างความรู้แบบสหวิทยาการ มีความรอบรู้ด้าน
ดิจิตอลเพื่อการศึกษา การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และการ
พัฒนาพน้ื ทีน่ วัตกรรมการศึกษาที่ตรงกับสภาพปญั หาและความตอ้ งการของแต่ละพ้ืนท่ี จัดตั้งศูนยบ์ ม่ เพาะ พัฒนา
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การยกระดับทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตในศตวรรษที่ ๒๑ ตามมาตรฐาน
สมรรถนะบัณฑิตครู สรา้ งเครอื ขา่ ยการการพัฒนาโรงเรยี นรว่ มผลิตบัณฑติ ครู เพือ่ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

๒.๔ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ ๑๓
๑. ปัจจัยสนับสนุนการพลกิ โฉมของประเทศ
(๑.๑) เป้าหมาย
เพอ่ื เปน็ ปจั จยั ขบั เคลื่อนทเ่ี อื้อต่อการเปลยี่ นผา่ นประเทศไปสู่การเป็น Hi-Value and

Sustainable Thailand โดยเฉพาะกลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท้ังระบบการศึกษา และการยกระดับ
และปรบั ทักษะแรงงาน ท่ีมคี ุณภาพได้มาตรฐาน สอดคลอ้ งกบั ความต้องการของตลาดแรงงานและโลกยคุ ใหม่
และสง่ เสริมการเคลอ่ื นยา้ ยแรงงานไปสภู่ าคการผลติ และบริการท่ีมผี ลิตภาพและมลู คา่ สูง และกลไกการ
บริหารจัดการภาครัฐ ทั้งระเบียบกฎหมาย ระบบงบประมาณ โครงสร้างพืน้ ฐาน การใหบ้ ริการสาธารณะ
ตลอดจนการตดิ ตามประเมนิ ผล ท่ที นั สมัย เท่าทนั ต่อการเปลย่ี นแปลง ตอบสนองความต้องการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกบั ทิศทางการพัฒนาประเทศ

๒๗

(๑.๒) การบรรลุเป้าหมาย
แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความ

สอดคล้องกับการขับเคลื่อนปัจจัยการพลิกโฉมของประเทศ โดยกำหนดแผนปฏิบัติการ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการ
พัฒนาทอ้ งถน่ิ มงุ่ เนน้ เร่อื งการยกระดับคณุ ภาพชวี ิตคนในชมุ ชน ยกระดบั เศรษฐกิจของคนในชุมชน ดา้ นการศกึ ษา
มุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับทักษะคนในชุมชน ปรับทักษะแรงงานให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้านการผลิตและ
พัฒนาครู ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา
พฒั นาระบบการเรยี นการสอนใหท้ ันสมยั และส่งเสรมิ การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี ๒๑ ใหเ้ ปน็ บัณฑติ พรอ้ มใช้ และด้าน
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มุ่งเน้นการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล สร้างระบบนิเวศ ของ
มหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ วิจัย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน สร้างนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตของชุมชน
มหาวทิ ยาลยั และผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย

๒.๕ แผนระดบั ท่ี ๓ ทีเ่ กีย่ วข้อง
๒.๕.๑. นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ -

๒๕๗๐ และแผนด้านวทิ ยาศาสตร์ วจิ ัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕
แผนระดับ ๓ ที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์และส่งเสริมในการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติราชการ

ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ อยู่ภายใต้การบริหาร
จัดการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนั้นในการกำหนดแผนการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัยจึงต้องวิเคราะห์ความสอดคล้อง และความสัมพันธ์ กับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา
วทิ ยาศาสตร์ วจิ ัยและนวตั กรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐ และแผนดา้ นวทิ ยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓
– ๒๕๖๕ เพื่อนำมาเป็นกรอบในการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อนโยบายฯ ดงั กลา่ ว

๒.๕.๒ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -
๒๕๗๘)

ยุทธศาสตร์มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๘) เป็น
แผนระดับ ๓ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง ๓๘ แห่ง ใช้เป็นเป้าหมายใหญ่ในการดำเนินงานตามทิศทางและเป้าหมาย
ระยะ ๒๐ ปี เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงตาม พรบ.การจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ดังนั้น ในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงต้อง
ดำเนินการภายใต้เป้าหมายและตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถ่ินที่กำหนดไว้ เพื่อ
พจิ ารณาความสอดคลอ้ ง ความสัมพันธ์ มุ่งไปส่เู ปา้ หมายเดียวกนั ตามทไ่ี ด้กำหนดวิสยั ทัศน์ พนั ธกิจ และเป้าหมายไว้
ดังทีจ่ ะได้นำเสนอในส่วนที่ ๓ ตอ่ ไป

๒๘

สว่ นที่ ๓
สาระสำคัญแผนปฏบิ ตั ริ าชการระยะ ๕ ปี

(พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)
ของมหาวิทยาลัยราชภฏั

๒๙

สว่ นท่ี ๓
สาระสำคัญแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

ของมหาวิทยาลยั ราชภฏั

๓.๑ ภาพรวม
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง

และส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม
"ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระ
ราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบั น มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น ๓๘ แห่ง
ทั่วประเทศ

ยุคมหาวทิ ยาลัยเพอื่ พฒั นาท้องถ่นิ
เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระ
ปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่งผลให้สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น
“มหาวิทยาลัยราชภัฏ” ต้ังแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา และมีภารกิจและปณิธานตาม
พระราชบัญญัตมิ หาวทิ ยาลยั ราชภฏั พ.ศ. ๒๕๔๗ ดังนี้
มาตรา ๗ “ให้มหาวิทยาลัยเปน็ สถาบนั อุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญา
ของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่าง
มั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
สิง่ แวดลอ้ มอยา่ งสมดลุ และยงั่ ยืน โดยมวี ัตถปุ ระสงคใ์ ห้การศกึ ษา ส่งเสริมวชิ าการและวิชาชีพช้นั สูง ทำการสอน วิจัย
ให้บริการทางวชิ าการแก่สงั คม ปรับปรุง ถา่ ยทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนบุ ำรุง ศลิ ปะและวฒั นธรรม ผลติ ครูและ
สง่ เสริมวิทยฐานะครู”
ต่อมามหาวิทยาลัยราชภัฏ น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อ
การพัฒนาท้องถิ่น โดยจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -
๒๕๗๙) ข้ึน และได้มกี ารทบทวนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐
-๒๕๗๙) เมื่อวันท่ี ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ โดยการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง ๓๘ แห่ง ประกอบด้วย ๔
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู ยุทธศาสตร์ที่ ๓
การยกระดับคุณภาพการศึกษา และยุทธศาสตร์ท่ี ๔ การพัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การ

๓๐

สถานการณ์ปัจจุบัน
ตามประกาศ พระราชบัญญัติ การอดุ มศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๒ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ หมวดที่ ๑
บททั่วไป มาตรา ๕ การจัดการอุดมศึกษาต้องเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ข้อ (๓) ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนการอุดมศึกษา และต้อง
เชื่อมโยงกับการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทรัพยากรบุคคลของประเทศใ นการเข้ารับ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้มีการศึกษาอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบกาชีพของ
บุคคลและการศึกษาตลอดชีวติ หมวด ๓ ประเภทและกลมุ่ ของสถาบนั อดุ มศึกษา มาตรา ๒๔ เพอื่ ประโยชน์ในการ
ส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา รัฐมนตรีจะ
ประกาศกำหนดใหจ้ ัดสถาบันอุดมศึกษาเปน็ กลุ่มได้ โดยคำนงึ ถึงจุดมงุ่ หมาย พันธกจิ ยทุ ธศาสตร์ ศกั ยภาพ และผล
การดำเนินงานที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม โดยต้องกำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ประเมิน
คณุ ภาพ กำกบั ดแู ล และจัดสรรงบประมาณใหส้ อดคลอ้ งกบั การจัดกล่มุ ดังกลา่ วดว้ ย
ดังนั้น ประกาศราชกกิจจานุเบกษา กฎกระทรวง การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ หมวด ๑ ประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดกลุ่ม ข้อ ๓ ให้จัด
สถาบนั อุดมศกึ ษาเปน็ กลมุ่ ดงั ตอ่ ไปนี้
๑) กลุม่ พัฒนาการวิจยั ระดบั แนวหน้าของโลก
(๒) กลมุ่ พฒั นาเทคโนโลยแี ละสง่ เสริมการสร้างนวัตกรรม
(๓) กลุ่มพัฒนาชุมชนทอ้ งถิ่นหรอื ชมุ ชนอ่ืน
(๔) กลมุ่ พฒั นาปัญญาและคุณธรรมดว้ ยหลักศาสนา
(๕) กล่มุ ผลิตและพฒั นาบคุ ลากรวชิ าชีพและสาขาจำเพาะ
(๖) กลมุ่ อื่นตามท่ีรฐั มนตรีประกาศกำหนด
นอกจากนั้น จากนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เปิด
โอกาสให้มหาวิทยาลัยราชภัฏประเมินตนเองในการ พลิกโฉมมหาวิทยาลัย ( Re-inventing) และจัดกลุ่ม
มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติ การอุดมศึกษา พ.ศ ๒๕๖๒ มาตรา ๒๔ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๒ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา
รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้จัดสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลุ่มได้โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์
ศักยภาพและผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม โดยต้องกำหนดมาตรการส่งเสริม
สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการจดั กลุ่มดังกลา่ วด้วย รวมถึงใน
มาตรา ๔๕ (๓) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเปน็ เลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการ
ผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายวา่ ด้วยสภานโยบายการอุดมศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วจิ ัยและนวตั กรรมแหง่ ชาติ เพื่อใช้
ในการพฒั นาวิทยาศาสตร์ การวจิ ัยและการสรา้ งนวัตกรรม

๓๑

จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น รวมถึงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-๑๙)
พฤติกรรมของประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนที่เรียกว่า วิถีชีวิตใหม่ (New normal) สถานการณ์ดังกล่าวทำให้
บุคลากร เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานในรูปแบบเดิม ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการ
จัดการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ (Online) ซ่งึ มหาวิทยาลยั ราชภัฏทุกแห่งพฒั นาไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ และเพมิ่ ศกั ยภาพ
การเรยี นการสอนให้กับบุคลากรทงั้ สายวิชาการ และสายสนับสนุน เพือ่ สง่ เสริมการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียุคดิจทิ ัลดังกล่าว ทำให้คนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีเข้าถึงการศึกษาได้
ทกุ ทที่ ุกเวลาตามความต้องการ เป็นโอกาสทม่ี หาวิทยาลยั ราชภฏั สามารถปรับปรุงและพฒั นาหลักสูตร เพื่อจัดการ
เรยี นการสอนใหส้ อดคล้องกบั ความต้องการของผูเ้ รียน นอกจากนั้น การกา้ วเขา้ สูส่ ังคมผ้สู ูงวัยทำให้มหาวิทยาลัย
ได้พัฒนาหลักสตู รตามความตอ้ งการของสังคมผ้สู งู วยั ได้อย่างหลากหลาย

จากเหตุผลดังกล่าวถือได้ว่าเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการพัฒนาและยกระดับตนเอง
เพอ่ื การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยของตนเอง ในการเป็น มหาวิทยาลยั กลุม่ ที่ ๓ กลมุ่ พัฒนาชมุ ชนท้องถ่นิ หรือชมุ ชนอื่น
เป็นไปตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๗ ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการ
พัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์
ศลิ ปวทิ ยา เพ่อื ความเจริญก้าวหน้าอยา่ งม่ันคงและย่งั ยนื ของปวงชน มสี ว่ นรว่ มในการจัดการ การบำรุงรกั ษา การใช้
ประ โยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริม
วชิ าการและวิชาชีพชนั้ สงู ทำการสอน วิจยั ให้บรกิ ารทางวิชาการแก่สังคม ปรบั ปรงุ ถา่ ยทอด และพฒั นาเทคโนโลยี
ทะนบุ ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครแู ละส่งเสริมวิทยฐานะครู

ในส่วนของวิกฤติที่เกิดขึ้น มาจากการหยุดชะงัก (Disruption) ด้านการศึกษาที่ส่งผลรูปแบบการ
เรียนการสอนของนักเรียนในปัจจุบันที่สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา จากสถาบันการศึกษาใดก็ ได้ในโลกใบน้ี
ตลอดจนโครงสร้างของประชากรทีเ่ ปลี่ยนแปลง จำนวนนักเรียนในระดับมหาวทิ ยาลัยมีจำนวนน้อยลง นอกจากน้ี
คา่ นิยมการเรียนของนักศกึ ษาในปัจจุบนั ทย่ี งั ยึดติดกับช่ือเสยี งของมหาวทิ ยาลัยขนาดใหญ่ และ/หรือต้องการเรียนท่ี
สามารถจบมาแล้วสามารถปฏบิ ัตงิ านได้ทันที จึงใหค้ วามสนใจกับการเรยี นสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากยิง่ ขึ้น เป็นวิกฤต
ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง ๓๘ แห่ง ต่างตระหนักถึง จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ -
๒๕๗๐) ภายใต้กรอบทิศทาง ของยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีความเชื่อมโยง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๓(พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา
วทิ ยาศาสตร์ วิจัย และนวตั กรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจยั และนวตั กรรม พ.ศ. ๒๕๖๓
- ๒๕๗๐ โดยรายละเอยี ดสรปุ ไดด้ งั น้ี

๓.๑.๑ วิสัยทศั น์ (Vision)
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเปน็ สถาบันผลติ บณั ฑิตทีม่ ีอตั ลักษณ์ มคี ุณภาพ มสี มรรถนะและเปน็ สถาบัน
หลักทบ่ี รู ณาการองค์ความรสู้ ู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถ่ิน เพือ่ สร้างความม่นั คงให้กบั ประเทศ
อตั ลกั ษณข์ องบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ

๓๒

“เปน็ นกั พัฒนา/แกไ้ ขปญั หาดว้ ยหลักวิศวกรสังคม”

หมายเหตุ
ความม่ันคง หมายถงึ ความม่ันคงด้านการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
สมรรถนะของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ การเป็นนักคิดวิเคราะห์ นักแก้ไขปัญหา
นักพฒั นา ท้องถน่ิ ชมุ ชน และสังคม
๓.๑.๒ พันธ์กจิ (Mission)
๑. ผลติ บัณฑิตใหม้ ีคณุ ภาพ มีทศั นคตทิ ี่ดี เปน็ พลเมอื งดีในสังคม และมีสมรรถนะตามต้องการของ
ผใู้ ชบ้ ัณฑติ
๒. วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับมุ่งเน้นการ
บูรณาการเพอ่ื นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรปู ธรรม
๓. พฒั นาทอ้ งถ่นิ ตามศักยภาพ สภาพปญั หา และความต้องการที่แท้จริงของชมุ ชน ด้วยศักยภาพ
โดยการถา่ ยทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนอ้ มนำแนวพระราชดำรสิ ู่การปฏบิ ตั ิ
๔. สร้างเครือขา่ ยความรว่ มมือกับทุกภาคสว่ นเพ่ือการพัฒนาท้องถ่นิ และเสรมิ สร้างความเข้มแข็ง
ของผู้นำชุมชนให้มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพอ่ื ประโยชนต์ อ่ ส่วนรวม
๕. บริหารจัดการทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอยา่ งมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล พร้อม
รองรบั บรบิ ทการเปลี่ยนแปลงเพื่อใหเ้ กิดการพฒั นาอยา่ งต่อเนื่องและย่ังยนื
การจดั ทำแผนปฏบิ ัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ –๒๕๗๐) ของมหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพอ่ื การ
พัฒนาท้องถิน่ สอดคลอ้ งกบั วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ และยทุ ธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภฏั เพื่อการพัฒนาท้องถ่ิน ดัง
แผนภาพแผนที่ความเช่อื มโยงวิสยั ทศั น์ พนั ธกจิ และแผนปฏิบัติการ ดงั นี้

๓๓

วสิ ยั ทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภฏั เปน็ สถาบนั ท่ีผลิตบณั ฑิตที่มีอตั ลักษณ์ มีคุณภาพ มสี มรรถนะและเป็นสถาบันหลกั
ท่บี รู ณาการองคค์ วามรสู้ ่นู วัตกรรมในการพัฒนาท้องถ่นิ เพื่อสร้างความมน่ั คงให้กับประเทศ

พนั ธกิจ ผลิตบัณฑติ วิจัยสร้างองคค์ วามรู้ พัฒนาท้องถ่นิ สรา้ งเครอื ข่าย บริหารจัดการ
คุณภาพ

แผนปฏิบตั ิการ ๑ ๒ ๓ ๔
การพฒั นา การผลิตและ การยกระดบั การพัฒนาระบบ
ทอ้ งถนิ่ พัฒนาครู คณุ ภาพ บริหารจัดการ
การศึกษา

๓.๒ แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของมหาวทิ ยาลัยราชภัฏ
๓.๒.๑ แผนปฏบิ ตั ริ าชการ ดา้ น การพัฒนาท้องถ่ิน
แผนปฏบิ ัติราชการ เรอ่ื ง พัฒนาท้องถิ่น มสี ว่ นขับเคล่ือนยทุ ธศาสตรด์ งั น้ี
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ ๒ การสร้างความสามารถทางการแขง่ ขนั
ยุทธศาสตรท์ ี่ ๓ การพฒั นาและเสรมิ สร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ยุทธศาสตรท์ ี่ ๔ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ ๖ การปรับสมดลุ และพฒั นาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ ๑๕ พลังทางสังคม, เป้าหมายที่ ๑๕.๑ การเสริมสร้างทุนทางสังคม

เปา้ หมายท่ี ๑๕.๒ การรองรับสังคมสงู วยั เชิงรุก
สอดคล้องกับแผนแมบ่ ทท่ี ๑๖ เศรษฐกิจฐานราก, เปา้ หมายแผนแมบ่ ทย่อยท่ี ๑๖.๑ การยกระดับ

ศักยภาพการเปน็ ผปู้ ระกอบการธรุ กจิ
สอดคล้องกับแผนแม่บทท่ี ๒๓ การวิจยั และพัฒนานวตั กรรม, เป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ ๒๓.๒ การ

วิจัยและพัฒนานวตั กรรมด้านสังคม

๓๔

๑) เป้าหมาย

มหาวิทยาลยั ราชภฏั สามารถนำองค์ความรตู้ ามพันธกิจของมหาวิทยาลัยสกู่ ารปฏิบตั ิให้ชมุ ชน
ทอ้ งถน่ิ เกดิ การพัฒนาอย่างยั่งยนื โดยเน้น ด้านเศรษฐกิจ สงั คม การศึกษา และ สงิ่ แวดลอ้ ม

๒) คา่ เป้าหมาย และตัวชี้วดั

ตวั ชีว้ ัด ๒๕๖๖ ๒๕๖๗ คา่ เปา้ หมาย ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
ร้อยละ ๕๐ เพิ่มขึ้นรอ้ ยละ ๒๕๖๘ เพม่ิ ขน้ึ รอ้ ยละ เพ่ิมข้ึนร้อยละ
รอ้ ยละของ
ประชาชนใน ไม่นอ้ ยกวา่ ๒๐ เพิม่ ข้ึนรอ้ ยละ ๒๐ ๒๐
ทอ้ งถิ่นทเ่ี ขา้ รว่ ม ๓ หนว่ ยงาน ร้อยละ ๗๐ ๒๐ รอ้ ยละ ๗๐ รอ้ ยละ ๗๐
โครงการมีรายได้
เพมิ่ สงู ขึ้น ร้อยละ ๖๐ ไมน่ อ้ ยกวา่ ร้อยละ ๗๐ ไม่น้อยกว่า ไมน่ ้อยกว่า
จำนวน ๓ หน่วยงาน ๓ หนว่ ยงาน ๓ หน่วยงาน
หนว่ ยงาน ไมน่ อ้ ยกว่า ไมน่ ้อยกวา่
ภาครัฐและ ๒๐ โรงเรยี น เพมิ่ ขึน้ รอ้ ยละ ๓ หน่วยงาน เพิม่ ขึ้นรอ้ ยละ เพม่ิ ขนึ้ ร้อยละ
เอกชน ทีมีสว่ น ๑๐ ๑๐ ๑๐
ร่วมในการ เพิม่ ข้นึ ร้อยละ
ดำเนนิ โครงการ รอ้ ยละ ๗๐ ๑๐ รอ้ ยละ ๗๐ ร้อยละ ๗๐
พัฒนาท้องถิน่
รอ้ ยละของ ไมน่ ้อยกว่า รอ้ ยละ ๗๐ ไมน่ อ้ ยกว่า ไม่นอ้ ยกว่า
บคุ ลากรใน ๒๐ โรงเรยี น ๒๐ โรงเรียน ๒๐ โรงเรยี น
มหาวิทยาลัย ไม่นอ้ ยกวา่
ได้รบั การพัฒนา ๒๐ โรงเรียน
สมรรถนะเพอื่
การพฒั นาชุมชน
ท้องถนิ่
จำนวนโรงเรียน
ขนาดเลก็ ท่ีเข้า
ร่วมโครงการ

๓๕

จำนวนหมบู่ า้ นที่ ไม่นอ้ ยกวา่ ๓ ไมน่ อ้ ยกว่า ๔ ไม่น้อยกวา่ ๕ ไม่น้อยกวา่ ๖ ไมน่ ้อยกว่า ๗
มหาวิทยาลยั ราช หม่บู า้ น หมู่บ้าน หม่บู า้ น
ภัฏเขา้ ไปมีส่วน หม่บู ้าน หมู่บ้าน
ร่วมในการ ๒๕๖๖ ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
พฒั นาเชงิ พน้ื ที่ ร้อยละ ๒๐ ๒๕๖๗ คา่ เป้าหมาย เพิม่ ข้นึ ร้อยละ เพ่มิ ขน้ึ ร้อยละ
เพ่มิ ข้นึ ร้อยละ ๒๕๖๘
ตวั ช้ีวัด ๒๐ ๒๐
๒๐ เพิม่ ขนึ้ ร้อยละ ร้อยละ ๔๐ ร้อยละ ๔๐
รอ้ ยละของ ร้อยละ ๔๐ ๒๐
ประชาชนใน
ทอ้ งถน่ิ ท่ีเขา้ ร่วม ร้อยละ ๔๐
โครงการได้รับ
การพฒั นาและมี
คณุ ภาพชีวติ
สูงขนึ้ ในด้าน
เศรษฐกจิ สงั คม
การศึกษา และ
สิ่งแวดล้อม

๓) แนวทางการดำเนนิ งาน
๑. พัฒนากลไกการทำงานเชิงพื้นที่ของแต่ละมหาวิทยาลัยให้มีรูปธรรมและนำสู่การปฏิบัติจริง

ด้วยการประกาศเป็นนโยบายมหาวิทยาลัย จัดทำแผนงานการวิจัย แผนงานการบริการวิชาการ แผนงานการจัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ/หน่วยงาน ปรับปรุงวิธี การจัดสรร
งบประมาณ จัดสรรทุนการวิจัยและการพัฒนาเชิงพื้นที่ แสวงหา สร้างพันธมิตรและหุ้นส่วนร่วมสนับสนุน
งบประมาณ วิชาการ ทรัพยากรบุคคลในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเชิงพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและ
องคก์ รปกครองท้องถิ่นอย่างครบถ้วน

๒. พัฒนาการทำงานแบบบูรณาการศาสตร์ด้วยการจัดตั้งผู้จัดการพื้นที่ คณะทำงานที่เป็นทีม
ทำงานข้ามศาสตร์ รับผิดชอบการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นปัญหา และปรับกระบวนงานการ
พัฒนาท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ การพัฒนานวัตกรรม และการฉายภาพในอนาคต การ
วางแผนพฒั นาพน้ื ท่ีเชงิ บรู ณาการ การบรหิ ารโครงการแบบมสี ว่ นรว่ ม การประเมนิ ผลลัพธ์ทางสงั คม เพ่อื สังเคราะห์
โจทยแ์ ละกำหนดเป้าหมายและขับเคลอ่ื นการพัฒนาท้องถิน่ ร่วมกนั

๓๖

๓. พัฒนาสมรรถนะของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ คณะทำงาน ทีมงานข้ามศาสตร์
ผู้จัดการพื้นที่ คณาจารย์ บุคลากรอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจากการทำงานร่วมกับชุมชน การ
สอนงาน รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียนผลงานพัฒนาเชิงพื้นที่ในระหว่าง
มหาวทิ ยาลยั และชุมชน ท้องถ่ินในภาพรวม

๔. ระดมทรัพยากร จัดกิจกรรมประสานงานขับเคลื่อนงานการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับ
หน่วยงานภาคีเครือข่าย พันธมิตรทั้งภาครัฐภายในกระทรวง ต่างกระทรวง ภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรปกครอง
ทอ้ งถน่ิ อย่างตอ่ เน่ืองและเสริมพลงั ซ่ึงกนั และกนั

๕. พัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ที่ภายในมหาวิทยาลัยและในพื้นที่ให้มีความพร้อม
รองรับการขับเคลื่อนงานการพัฒนาเชิงพื้นที่และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นทั้งในด้านระบบฐานข้อมูลการพัฒนา
ชุมชนท้องถิ่น ศนู ย์การเรียนรูภ้ ายในมหาวิทยาลยั และในชมุ ชนท้องถ่ิน หอ้ งปฏิบัติการเฉพาะด้าน หน่วยงานบริหาร
ตลาดกลางและชมุ ชนแลกเปลี่ยนผลติ ภัณฑแ์ ละความรู้ ฯลฯ

๖. ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ร่วมกับ
ภาคเี ครอื ข่าย ในระดับจงั หวดั อำเภอ ตำบล โดยกำหนดพ้ืนที่ในการดำเนินการรว่ มกนั และกำหนดกจิ กรรมในการ
แก้ไขปญั หาและยกระดับคุณภาพชวี ติ จากความตอ้ งการของคนในชุมชนทอ้ งถน่ิ

๗. ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข และจัดทำเป็นองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best
Practice) ในการวางแผนการดำเนนิ โครงการเพือ่ แกไ้ ขปัญหาให้กบั ชุมชนอ่นื ต่อไป

๔) แผนงาน/โครงการสำคัญ
๑. โครงการพัฒนาหนุ้ สว่ นทางสังคมสกู่ ารเป็นมหาวิทยาลัยเชงิ พ้นื ท่ี
๒. โครงการบรู ณาการพันธกิจสัมพันธเ์ พ่ือการพัฒนาชุมชนท้องถน่ิ อย่างยัง่ ยนื
๓. โครงการพฒั นาสมรรถนะบุคลากรเพ่ือการพัฒนาชมุ ชน ทอ้ งถิน่
๔. โครงการพัฒนาระบบนิเวศนใ์ นมหาวิทยาลยั เพ่ือการเป็นศนู ย์กลางของชมุ ชนท้องถิ่น
๕. โครงการยกระดบั และพฒั นาคุณภาพชวี ิตของคนในชุมชน

3.2.2 แผนปฏบิ ัติราชการ ด้านการผลิตและพฒั นาครู
แผนปฏบิ ตั ริ าชการ ดา้ นการผลิตและพฒั นาครู มสี ว่ นขบั เคล่ือนยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตรท์ ่ี ๓ การพฒั นาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์
สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ ๑๒ การพัฒนาการเรียนรู้, เป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ ๑๒.๑ การปฏิรูป

กระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ ๑๒.๒ การ
ตระหนักถึงพหปุ ญั ญาของมนษุ ยท์ ่ีหลากหลาย

๑) เป้าหมาย (เป้าหมายหลกั ) ผลิตบัณฑิตครู และบณั ฑติ ครูมหาวิทยาลัยราชกัฎที่เข้าสู่วชิ าชีพ
(ครูประจำการของมหาวิทยาลยั ราชภฏั ) ท่สี ามารถจดั การเรียนรู้ทต่ี อบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษท่ี ๒๑
และสอดคล้องตามสภาพแวดล้อมบริบทพ้นื ที่

๓๗

(เปา้ หมายย่อย ตามยทุ ธศาสตรม์ หาวิทยาลยั ราชภฏั เพ่ือการพฒั นาห้องถน่ิ ระยะ ๒๐ ป)ี
๑. บณั ฑิตครูมหาวิทยาลัยราชภฏั มอี ตั ลักษณแ์ ละสมรรถนะเป็นเลศิ เป็นท่ตี ้องการของผ้ใู ชบ้ ณั ฑิต
๒. บัณฑิตครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ และถ่ายทอด/บ่มเพาะลูกศษิ ย์
ในแต่ละช่วงวัยได้
๓. บัณฑิตครูมหาวิทยาลยั ราชภัฏท่ีเขา้ สู่วิชาชีพ ไดร้ ับการส่งเสริมสมรรณนะ เพ่ือรองรับการ
เปลี่ยนแปลง
๔. ครขู องครูมีศกั ยภาพในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี ๒๑
๕. มีระบบบรหิ ารจัดการบ่มเพาะและสร้างเสรมิ สมรรถนะนกั ศึกษาครู และมหาวิทยาลัยราชภัฏทีเ่ ขา้ สู่
วิชาชีพ
๖. มีเครือข่ายความร่วมมอื ในการพัฒนาวิชาชีพครูทั้งในและต่างประเทศ

* บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เขา้ สู่วชิ าชีพ หมายถงึ ครปู ระจำการที่สำเรจ็ การศึกษาจาก
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏ

๒) ค่าเป้าหมาย และตัวชว้ี ดั

ตัวชี้วัด ๒๕๖๖ ๒๕๖๗ คา่ เปา้ หมาย ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
รอ้ ยละ ๕๐ เพิม่ ขึ้นรอ้ ยละ ๒๕๖๘ เพ่มิ ข้นึ รอ้ ยละ เพม่ิ ขึ้นร้อยละ
สัดส่วนบณั ฑิต
ครผู ่านการ รอ้ ยละ ๓๐ ๑๐ เพิม่ ขน้ึ ร้อยละ ๓๐ ๔๐
ทดสอบราย รอ้ ยละ ๖๐ ๒๐ รอ้ ยละ ๘๐ รอ้ ยละ ๙๐
สมรรถนะดา้ น
จดั การเรยี นรู้ที่ ร้อยละ ๗๐
ตอบสนองต่อ
กาเปลยี่ นแปลง เพ่มิ ขนึ้ ร้อยละ เพิ่มข้นึ รอ้ ยละ เพม่ิ ขึ้นรอ้ ยละ เพ่มิ ขน้ึ ร้อยละ
ในศตวรรษท2่ี 1 ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐

รอ้ ยละของ ร้อยละ ๕๐ ร้อยละ ๕๐ รอ้ ยละ ๕๐ รอ้ ยละ ๕๐
หลักสูตรการ
พฒั นาครู
ประจำการให้
เปน็ หลักสตู ร
ฐานสมรรถนะ
ตอบสนอง
บรบิ ทเชิงพ้นื ท่ี

ร้อยละของ ไม่น้อยกวา่ ไมน่ ้อยกวา่ ๓๘ ไม่นอ้ ยกว่า ร้อยละ
อาจารยผ์ ู้สอน รอ้ ยละ๖๐ ร้อยละ ๗๐ ร้อยละ ๙๐ ๑๐๐
หลักสตู ร ไมน่ ้อยกว่า
ครศุ าสตร์ไดร้ บั รอ้ ยละ ๘๐ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
การยกระดบั ละ ๑ ศนู ย์ ละ ๑ ศูนย์
สมรรถนะครู มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ของครูใน
มหาวทิ ยาลัย ละ ๑ ศูนย์ ละ ๑ ศนู ย์ ละ ๑ ศูนย์
ราชภฏั
ศูนย์บม่ เพาะครู
ราชภฏั

สดั ส่วนบณั ฑติ รอ้ ยละ ๕๐ เพ่มิ ขึ้นรอ้ ยละ เพมิ่ ข้นึ รอ้ ยละ เพิม่ ข้ึนร้อยละ เพิม่ ขน้ึ ร้อยละ
ครผู า่ นการ ๑๐ ๒๐ ๓๐ ๔๐
ทดสอบราย
สมรรถนะด้าน ร้อยละ ๖๐ ร้อยละ ๗๐ รอ้ ยละ ๘๐ ร้อยละ ๙๐
จัดการเรยี นร้ทู ่ี
ตอบสนองต่อ
การ
เปลย่ี นแปลงใน
ศตวรรษที่ ๒๑

๓) แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนากลไกการผลิตและพัฒนาครโู ดยสร้างภาคเี ครือขา่ ยมหาวิทยาลยั ราชภฏั และสรา้ ง
รว่ มมอื กบั หน่วยงานหลักทเ่ี ก่ียวขอ้ งในการพฒั นาระบบฐานข้อมูล การแลกเปลย่ี นข้อมูลความตอ้ งการอัตรากำลงั
ครู ความตอ้ งการในการพัฒนาครูประจำการ การกำหนดนโยบาย แผนงานการผลิตบณั ฑิตและแผนการพัฒนาครู
ประจำการร่วมกับหนว่ ยงานต้นสังกัด หนว่ ยงานมาตรฐานและวชิ าการทเี่ กี่ยวข้อง รวมท้งั การกำหนดอตั ลกั ษณแ์ ละ
มาตรฐานของบณั ฑติ ครมู หาวิทยาลัยราชภัฏ
๒. พัฒนาหลักสูตรการผลิตบัณฑิตครูและแผนงาน หลักสูตรการพัฒนาครูประจำการให้เป็น

หลกั สูตรฐานสมรรถนะ ตอบสนองบรบิ ทเชงิ พ้นื ที่ ทีม่ ีรปู แบบการจัดการเรยี นการสอนเนน้ การสร้างครนู วัตกรพร้อม

๓๙

ปรบั การเรียนเปลย่ี นการสอนให้แก่บณั ฑติ ครู การพฒั นาสมรรถนะของครทู ีย่ ืดหยนุ่ ตรงกับความต้องการของครูและ

สถานศกึ ษาในเชงิ พน้ื ทแ่ี ละแผนการศึกษาชาติ

๓. ยกระดบั สมรรถนะของครูของครูในมหาวิทยาลัยราชภฏั รวมท้งั ครผู ู้สอนในสถานศึกษา ด้วย

กระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุมชนวิชาชีพ การร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อ

ยกระดับคณุ ภาพสถานศึกษา ใหค้ รูของครู ครใู นสถานศกึ ษามีทักษะการจัดการเรียนรใู้ นศตวรรษที่ ๒๑ มมี าตรฐาน

จติ วิญญาณความเป็นครู และการพฒั นาระบบประเมนิ และพัฒนาสมรรถนะผ้ปู ระกอบวชิ าชีพครู

๔. พฒั นารูปแบบและระบบการจัดการการเรียนรูเ้ พ่ือผลิตครูท่ีเปน็ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏ ทส่ี ามารถสร้างพหุปญั ญา/สร้างความรู้แบบสหวทิ ยาการ มคี วามรอบรูด้ า้ นดจิ ิตอลเพือ่ การศึกษา การเรยี นรู้
เชิงปฏิบัติ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่
ตรงกบั สภาพปัญหา สามารถจดั การเรยี นรู้ท่ตี อบสนองต่อการเปล่ยี นแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และความต้องการของ
แตล่ ะพนื้ ที่

๕. พัฒนาระบบบริหารการจดั การเรยี นรู้สนบั สนุนการผลติ และพฒั นาครู โดยจัดตง้ั ศูนย์บม่ เพาะ
๖. พัฒนาสภาพแวดล้อมท่ีเอือ้ ต่อการเรียนรู้
๔) แผนงาน/โครงการสำคัญ
๑.โครงการพัฒนาเครือขา่ ยมหาวิทยาลยั ราชภัฏเพอ่ื สร้างอัตลักษณบ์ ัณฑติ ครูราชภฏั
๒.โครงการพฒั นาครูนวัตกรเพื่อตอบสนองบริบทเชิงพ้นื ท่ี
๓. โครงการพฒั นานวัตกรรมการจดั การเรยี นรูเ้ พอื่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา
๔. โครงการพัฒนาศนู ยบ์ ่มเพาะครรู าชภฏั
๕. โครงการยกระดับส่งิ สนบั สนนุ การเรียนรูท้ ่ีเอ้ือต่อการจัดการเรยี นรใู้ นยคุ New Normal

๔๐

๓.๒.๓ แผนปฏบิ ตั ิการ ด้านการยกระดบั คุณภาพการศึกษา
แผนปฏิบตั ริ าชการ ดา้ นการยกระดบั คณุ ภาพการศึกษา มีส่วนขับเคลอ่ื นยุทธศาสตรด์ ังน้ี
ยทุ ธศาสตร์ท่ี ๓ การพัฒนาและเสรมิ สรา้ งศักยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์
สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ ๑๑ ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต, เป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ ๑๑.๓

การพฒั นาเดก็ ตง้ั แตช่ ว่ งวยั รุ่น/วัยเรียน, แผนแมบ่ ทยอ่ ยที่ ๑๑.๔ การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน และ
แผนแม่บทยอ่ ยท่ี ๑๑.๕ การส่งเสริมศักยภาพผ้สู ูงอายุ

สอดคล้องกับแผนแม่บทที่ ๑๒ การพัฒนาการเรียนรู้, เป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ ๑๒.๑
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และแผนแม่บทย่อยที่ ๑๒.๒
การตระหนกั ถงึ พหปุ ญั ญาของมนุษย์ท่หี ลากหลาย

๑) เป้าหมาย (เป้าหมายหลัก) บณั ฑิตมหาวทิ ยาลัยราชภัฏมคี วามรมู้ ีทักษะในศตวรรษท่ี ๒๑
ครบถ้วน รู้จักคดิ วิเคราะห์รักการเรียนรู้ มสี ำนึกความเป็นพลเมอื ง มีความสามารถในการปรบั ตวั สอื่ สารและ
ทำงานกับผู้อนื่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(เปา้ หมายยอ่ ย ตามยุทธศาสตรม์ หาวิทยาลัยราชภฏั เพื่อการพฒั นาท้องถิ่น ระยะ ๒๐ บ)ิ
๑. มหาวทิ ยาลัยราชภัฏมีความเปน็ เลิศ ในการสรา้ งความม่นั คงให้กบั ประเทศ ด้วยการบรู ณาการ
องค์ความรสู้ ูน่ วตั กรรม เพ่อื การพัฒนาเชงิ พน้ื ท่ี
๒. ยกระดบั คณุ ภาพบัณฑติ ใหเ้ ปน็ ทตี่ อ้ งการของผู้ใชบ้ ัณฑิด ด้วยอัตลกั ษณด์ า้ นสมรรถนะและ
คณุ ลักษณะสป่ี ระการ พร้อมรองรบั บรบิ ทท่ีเปลีย่ นแปลง
๓. อาจารยแ์ ละบคุ ลากรทางการศึกษาทุกสาขาวิชาเป็นมืออาชีพ มสี มรรถนะเป็นทีย่ อมรบั ใน
ระดับชาติและนานาชาติ
๓) ตัวชี้วดั และคา่ เป้าหมาย

ตัวช้ีวดั ๒๕๖๖ ๒๕๖๗ คา่ เปา้ หมาย ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
รอ้ ยละ ๔๐
ร้อยละของ เพ่ิมขึ้นรอ้ ยละ ๒๕๖๘ เพ่มิ ขึ้นรอ้ ยละ เพิ่มข้นึ ร้อยละ
หลักสูตรได้รบั การ ๒๐ ๔๐ ๕๐
พฒั นา ให้มรี ูปแบบ เพม่ิ ขึน้ ร้อยละ
การจัดการเรียนรทู้ ี่ ร้อยละ ๖๐ ๓๐ รอ้ ยละ ๘๐ รอ้ ยละ ๙๐
เน้นการปฏบิ ตั การ
จรงิ (Cooperative ร้อยละ ๗๐
and Work
Integrated

ตัวชวี้ ดั ๒๕๖๖ ๔๑ ค่าเปา้ หมาย ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
๒๕๖๘
Education : ไมน่ ้อยกว่า ๒๕๖๗
CIWIE รอ้ ยละ ๖๐
ร้อยละของอาจารย์ ไม่นอ้ ยกวา่ ไมน่ ้อยกว่า ไมน่ ้อยกว่า ร้อยละ
และบุคลากรสาย ไม่น้อยกว่า รอ้ ยละ ๗๐ รอ้ ยละ ๘๐ รอ้ ยละ ๙๐ ๑๐๐
สนบั สนุนไดร้ บั การ ๒ องค์กร
พฒั นาสมรรถนะ ไม่นอ้ ยกว่า ไมน่ ้อยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไม่นอ้ ยกว่า
การจัดการการ ไม่นอ้ ยกว่า ๔ องคก์ ร ๖ องค์กร ๘ องค์กร ๑๐ องคก์ ร
เรียนรูใ้ นศตวรรษท่ี รอ้ ยละ ๕๐
๒๑ (ทกุ ชน้ั ปี) ไม่น้อยกวา่ ไม่น้อยกวา่ ไม่น้อยกว่า ไมน่ ้อยกว่า
ความรว่ มมือทาง รอ้ ยละ ๖๐ รอ้ ยละ ๗๐ รอ้ ยละ ๘๐ ร้อยละ ๙๐
วชิ าการกบั ไม่น้อยกว่า
หนว่ ยงานภาครฐั รอ้ ยละ ๓๐ ไม่น้อยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไมน่ อ้ ยกว่า ไม่น้อยกว่า
และภาคเอกชนใน (ทุกชั้นปี) ร้อยละ ๔๐ รอ้ ยละ ๕๐ รอ้ ยละ ๖๐ รอ้ ยละ ๗๐
การพฒั นาหลักสตู ร รอ้ ยละ ๒๐
ร้อยละของ เพิ่มขนึ้ รอ้ ยละ เพ่ิมขน้ึ รอ้ ยละ เพ่มิ ขึ้นรอ้ ยละ เพิม่ ขน้ึ ร้อยละ
นักศึกษาไดร้ ับการ ๒๐ ๓๐ ๔๐ ๕๐
พฒั นาสมรรถนะ
การเป็นวิศวกร ร้อยละ ๔๐ ร้อยละ ๕๐ ร้อยละ ๖๐ ร้อยละ ๗๐
สังคม
ร้อยละของ
นกั ศกึ ษาสอบผ่าน
สมรรถนะทางด้าน
ดิจทิ ัล
คะแนน
ความสามารถใน
การแข่งขนั การ
พฒั นาทุน มนุษย์
ดา้ นทกั ษะ (Skill)
ของ World

ตัวช้ีวดั ๒๕๖๖ ๔๒ ค่าเปา้ หมาย ๒๕๖๙ ๒๕๗๐
๒๕๖๘
Economic ไม่น้อยกวา่ ๒๕๖๗ ไมน่ ้อยกว่า ไม่นอ้ ยกวา่
Forum (WEF) รอ้ ยละ ๔๐ รอ้ ยละ ๕๕ ร้อยละ ๖๐
สมรรถนะทางดา้ น ไม่นอ้ ยกว่า ไมน่ ้อยกว่า
ภาษาของนกั ศึกษา รอ้ ยละ ๔๕ ร้อยละ ๕๐
มหาวทิ ยาลยั
ราชภัฏ ในปี
พ.ศ. ๒๕๖๖

๓) แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนาศักยภาพอาจารยแ์ ละบุคลากรสายสนบั สนนุ ความรู้ ให้มีสมรรถนะด้านการจัดการ

เรยี นรใู้ นศตวรรษที่ ๒๑ การทำงานพัฒนาเชงิ พืน้ ที่ การพัฒนานวตั กรรม การพัฒนาผ้ปู ระกอบการ และการสร้าง

วศิ วกรสังคม

๒. พัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและนโยบายกำลังของ
ประเทศ โดยพัฒนาหลักสูตรร่วมกับพันธมิตรที่มีรูปแบบการจัดการเรียนรูท้ ี่เน้นการปฏิบัติการจริง (Cooperative
and Work Integrated Education : CIWIE) หลักสตู รการพัฒนาบคุ ลากรในท้องถิ่น หลกั สตู รเสริมทักษะชีวิตและ
ภูมิคมุ้ กันทางสังคม ที่มีความยดื หยนุ่ และสง่ เสริมการเรยี นรตู้ ลอด และปรับกระบวนการเรียนรใู้ หเ้ ป็นการเรียนรู้เชิง
รกุ แบบผสานวิธใี ห้ผเู้ รยี นได้รบั ประสบการณ์จรงิ มีความรู้และทกั ษะที่เหมาะสม การสรา้ งนวัตกรรมที่จำเปน็ สำหรับ
การประกอบอาชพี และดำเนินชีวิตในสังคมยุคดิจิตอลและภาวะปกติใหม่ โดยเฉพาะการเปน็ ผู้ประกอบการ วิศวกร
สังคม

๓. พัฒนาความเป็นเลศิ ของมหาวทิ ยาลยั ราชภฏั ใหม้ รี ะบบกลไกการบรหิ ารงานวิชาการ อนั ได้แก่
ระบบและกระบวนการพัฒนาอาจารย์มืออาชีพ ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน และระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียนและการเรียนรู้ ระบบทะเบียนและบริหารวิชาการ รวมทั้งแสวงหาพันธมิตร ความร่วมมือทางวิชาการใน
การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ และการเสริมสร้างประสบการณ์ทางอาชีพให้แก่นักศึกษาและบัณฑิตของ
มหาวิทยาลยั ราชภัฏ

๔. พฒั นาสิ่งสนับสนุนการจัดการเรยี นการสอนเพอ่ื เสรมิ สร้างบรรยากาศการเรียนรเู้ ชงิ รกุ การ
เรยี นรูต้ ลอดชีวติ เกย่ี วกบั ห้องปฏิบตั กิ าร ศนู ยก์ ารเรยี นรู้ พื้นท่เี พื่อการเรียนรู้ ส่ือประสม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เพ่ือการเรยี นรูแ้ ละเข้าถึงแหล่งความรใู้ นลักษณะของการเรียนรูแ้ บบผสมผสาน (Online-Onsite)

๔) แผนงาน/โครงการสำคัญ
๑. โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรใหท้ ักษะใหมส่ ่กู ารเป็นมหาวิทยาลัยเชงิ พนื้ ท่ี

๔๓

๒. โครงการพฒั นาศักยภาพบณั ฑติ ใหม้ ีทักษะสอดคล้องกบั สังคมยุคดิจิทัลและภาวะปกติใหม่
๓. โครงการพัฒนาความร่วมมอื ทางวชิ ากับหนว่ ยงานภาครัฐและภาคเอกชนสู่ความเปน็ เลศิ
๔. โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
๕. โครงการพฒั นาและเพิ่มขดี ความสามารถใน การแขง่ ขันการพัฒนาทนุ มนษุ ย์ด้านทักษะ

(Skill)

๓.๒.๔ แผนปฏบิ ัติราชการ ดา้ นการพฒั นาระบบบริหารจัดการ
แผนปฏบิ ัตริ าชการ ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ มีสว่ นขบั เคล่อื นยุทธศาสตร์ดังนี้
ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๖ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบรหิ ารจัดการภาครฐั
สอดคล้องกบั แผนแม่บทที่ ๒๐ การบรกิ ารประชาชนและประสิทธิภาพภาครฐั , เปา้ หมายแผน

แม่บทย่อยที่ ๒๐๐๑ บริการภาครัฐได้รับการปรับเปล่ียนใหเ้ ป็นดจิ ิทลั เพมิ่ ข้นึ , เปา้ หมายแผนแม่บทย่อยที่ ๒๐๐๓
การปรบั สมดุลภาครัฐ และ เป้าหมายแผนแมบ่ ทยอ่ ยที่ ๒๐๐๔ การพัฒนาระบบรหิ ารงานภาครัฐ

สอดคล้องกบั แผนแม่บทที่ ๒๑ การตอ่ ต้านการทุจรติ และประพฤตมิ ชิ อบ เปา้ หมายแผนแมบ่ ท
ย่อย การป้องกนั การทุจริตและประพฤตมิ ิชอบ

๑) เป้าหมาย
พฒั นาระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลยั ราชภัฏให้รองรับการเปน็ มหาวิทยาลยั ใน

กำกบั ของรัฐ และเป็นมหาวทิ ยาลัยดิจทิ ลั เพิ่มขึ้น
๒) ตวั ช้ีวดั และค่าเปา้ หมาย

ตวั ชวี้ ัด ๒๕๖๖ ค่าเปา้ หมาย ๒๕๗๐
๒๕๖๗ ๒๕๖๘ ๒๕๖๙

สัดสว่ น รอ้ ยละ ๖๐ รอ้ ยละ ๗๐ รอ้ ยละ ๘๐ รอ้ ยละ ๙๐ รอ้ ยละ ๑๐๐

ความสำเร็จของ

กระบวนงานท่ี

ได้รับการ

ปรบั เปล่ยี นเป็น

ดิจิทลั

ผลการประเมนิ คะแนนการ คะแนนการ คะแนนการ คะแนนการ คะแนนการ

คณุ ธรรมและ ประเมนิ ไม่นอ้ ย ประเมินไม่นอ้ ย ประเมินไมน่ ้อย ประเมินไมน่ ้อย ประเมินไม่น้อย

ความโปรง่ ใส กว่า ๘๐ กวา่ ๘๐ กว่า ๘๐ กว่า ๘๐ กว่า ๘๐

การบรหิ ารงาน

ภาครฐั

ความพงึ พอใจ ไมน่ ้อยกว่า ๔๔ ไม่น้อยกว่า ไมน่ อ้ ยกว่าร้อย
ของผรู้ บั รกิ ารท่ี รอ้ ยละ ๘๐ รอ้ ยละ ๙๐ ละ ๙๐
มีตอ่ ไม่นอ้ ยกว่า ไมน่ ้อยกวา่
มหาวิทยาลัย ไม่นอ้ ยกว่า ๑ รอ้ ยละ ๘๕ รอ้ ยละ ๙๐ เพิม่ ข้นึ รอ้ ยละ เพิ่มข้ึนร้อยละ
หนว่ ยงาน ๑๐ ๑๐
หน่วยงานท่ีเขา้ เพม่ิ ขนึ้ ร้อยละ เพ่ิมขนึ้ รอ้ ยละ
สกู่ ารประเมิน ร้อยละ ๖๐ ๑๐ ๑๐ ร้อยละ ๙๐ รอ้ ยละ ๑๐๐
เป็น
มหาวทิ ยาลยั สี ไมน่ อ้ ยกว่า รอ้ ยละ ๗๐ ร้อยละ ๘๐ ไม่นอ้ ยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ รอ้ ย
เขียว รอ้ ยละ ๕๐ รอ้ ยละ ๘๐ ละ ๙๐
สัดสว่ น ไม่น้อยกว่า ไม่นอ้ ยกวา่
ความสำเร็จของ ร้อยละ ๖๐ รอ้ ยละ ๗๐
กระบวนงานท่ี
ไดร้ ับการ
ปรบั เปลย่ี นเป็น
ดจิ ทิ ัล
ร้อยละของ
บุคลากรใน
มหาวทิ ยาลยั
ยอมรบั การเปน็
มหาวทิ ยาลัยใน
กำกบั

๓) แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนารปู แบบการบริหารจดั การภาครฐั เพ่อื อำนวยความสะดวกแก่บัณฑิต และผมู้ าตดิ ต่อขอใช้

บริการ ให้มคี วามสะดวกรวดเร็ว และสามารถใหบ้ รกิ ารแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร
๒. พัฒนาการให้บริการผ่านระบบดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้

และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง เพื่อให้การบริการภาครัฐเป็นไปอย่างปลอดภัย โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และเกิดประโยชน์
สูงสดุ

๓. พัฒนาระบบนิเวศน์ของมหาวิทยาลัยใหเ้ ปน็ มหาวทิ ยาลยั สีเขยี ว ลดการใชก้ ระดาษ โดยมุ่งเน้น
การใช้ดิจิทัล ทดแทน เพอ่ื ประหยัดงบประมาณ และการบริหารทรพั ยากรของมหาวิทยาลยั ใหเ้ กิดประโยชนส์ งู สุด

๔๕

๔. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจกับประชาคมในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการเป็นมหาวิทยาลัยใน
กำกบั ของรัฐ

๔) แผนงาน/โครงการสำคญั
๑. พฒั นามหาวทิ ยาลยั เชงิ นิเวศนเ์ พ่อื รับการจัดอันดับระดับสากล
๒. พฒั นาระบบการบริหารจดั การอาคารสถานท่ี อุปกรณ์ การเขา้ ถึงระบบอนิ เทอร์เนต็ ระบบ

ฐานขอ้ มลู , ระบบงานทเ่ี หมาะสมสง่ เสรมิ การเรยี นรู้ การบริการ การบรหิ ารงาน โดยใช้ระบบดิจิทลั เข้ามาประยุกต์
ในกระบวนการทำงาน

๓. พัฒนามหาวิทยาลยั สู่การเปน็ มหาวทิ ยาลยั แหง่ การประกอบการโดย การจดั ต้งั พื้นทีน่ วัตกรรม
จัดตัง้ กองทุนเรม่ิ ต้นการประกอบการ จัดหาพนื้ ท่ใี ห้นักศึกษามีโอกาสในการแสดงผลงาน

๔. พัฒนามหาวทิ ยาลยั ที่มีการบริหารงานตามหลกั ธรรมาภิบาล และการพัฒนาอย่างย่ังยนื
๕. พฒั นามหาวิทยาลยั สู่ความเป็นมหาวิทยาลยั ทมี่ ีความเป็นเลศิ มงุ่ เนน้ การทำงานโดยมุ่งผลลพั ธ์
บรหิ ารจดั การท่ีอยบู่ นพนื้ ฐานค่านยิ มที่สรา้ งความยง่ั ยืนให้กับมหาวิทยาลยั
๖. พฒั นามหาวทิ ยาลยั แหง่ ความสขุ โดยสร้างบรรยากาศมหาวิทยาลัย ท่ีส่งเสรมิ ใหบ้ คุ ลากรมี
คณุ ภาพชวี ิตทด่ี ี มีความรักความผกู พันต่อองค์กร มีความสุข ทำงานอยา่ งมีคณุ ภาพ
๗. กิจกรรมสรา้ งความรูค้ วามเข้าใจการเป็นมหาวิทยาลยั ในกำกับของรฐั

๔๖

ภาคผนวก

๔๗

บรบิ ทมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ยุคโรงเรียนฝกึ หดั ครู (wikipedia)
มหาวิทยาลัยราชภฏั มีพัฒนามาจาก "โรงเรียนฝึกหดั " อาทิเช่น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์, โรงเรียนฝึกหัดครู
ประจำมณฑล ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์แห่งแรกเปิดสอนเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งตั้งขึ้นบริเวณ
โรงเล้ียงเดก็ ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จงั หวดั พระนคร (ปัจจบุ ัน คอื มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) หลังจาก
นั้น จึงได้ขยายไปตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เริ่มจัดต้ังโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในมณฑลนครราชสีมา ชื่อ
โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครู
กสิกรรมมณฑลนครราชสีมา” (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา) ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้จัดต้ัง
"โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑล" ขึ้น เพื่อผลิตครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา เรียกว่า "ครู
ประกาศนียบัตรมณฑล" ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ธรรมการมณฑลได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลขึ้น
โดยเฉพาะ เรยี กวา่ "โรงเรียนฝกึ หัดครมู ลู ประจำมณฑลนครศรีธรรมราช" (ปัจจบุ นั คือ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสงขลา)
และ “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร” เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งตั้งขึ้นบริเวณ
สโมสรเสือป่ามณฑลอุดร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี) และ"โรงเรียน
ฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ" เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ บ้านเวียงบัว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง
จังหวัดเชยี งใหม่ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) หลังจากมีการยกเลกิ การปกครองแบบมณฑลแลว้
ทำให้โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑล จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัด" และ
เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนฝึกหัดครู(ต่อท้ายด้วยจังหวัดที่ตั้ง)" พร้อมขยายการก่อตั้งโรงเรียน ออกไปยังภูมิภาค
มากข้ึน
ยคุ วทิ ยาลัยครู (wikipedia)
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะ โรงเรียนฝึกหัดครู
เป็น "วิทยาลัยครู" พร้อมกับเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตร
ปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู โดยกำหนดในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ ๒๕๑๘ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอน
นกั ศึกษาถงึ ระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์ หลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู โดยมีวทิ ยาลัยครู จำนวน ๑๗ แห่ง
ได้แก่
๑. วิทยาลยั ครูจนั ทรเกษม กรุงเทพมหานคร
๒. วทิ ยาลยั ครูเชียงใหม่ จงั หวัดเชียงใหม่
๓. วทิ ยาลยั ครูเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
๔. วทิ ยาลยั ครนู ครราชสีมา จงั หวัดนครราชสีมา
๕. วิทยาลัยครนู ครศรธี รรมราช จงั หวดั นครศรีธรรมราช

๔๘

๖. วิทยาลัยครูนครสวรรค์ จงั หวัดนครสวรรค์
๗. วทิ ยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรงุ เทพมหานคร
๘. วิทยาลยั ครูพระนคร กรุงเทพมหานคร
๙. วทิ ยาลยั ครูพระนครศรีอยธุ ยา จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
๑๐.วิทยาลยั ครูพิบูลสงคราม จังหวัดพษิ ณุโลก
๑๑.วิทยาลยั ครูมหาสารคาม จงั หวัดมหาสารคาม
๑๒.วทิ ยาลยั ครยู ะลา จงั หวดั ยะลา
๑๓.วิทยาลยั ครูสงขลา จังหวดั สงขลา
๑๔.วทิ ยาลยั ครูสวนดุสิต กรงุ เทพมหานคร
๑๕.วทิ ยาลัยครสู วนสนุ นั ทา กรงุ เทพมหานคร
๑๖.วทิ ยาลยั ครอู ดุ รธานี จังหวดั อุดรธานี
๑๗.วทิ ยาลัยครูอบุ ลราชธานี จงั หวัดอุบลราชธานี

ยคุ นามพระราชทาน “สถาบันราชภฏั ” (wikipedia)
ในเวลาต่อมา วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครู
เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏตั้งบัดนั้น ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นลน้ พ้นด้วยทรงพระเมตตา ทรงรพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็น “สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ” นับเป็นมหา
สิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏท้ังมวลจักได้ภาคภูมิใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรณุ าธิคณุ ให้เตม็
ความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้
การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒน า
เทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครูและทำให้สถาบันราชภัฏ เปิดทำการสอนใน
สาขาวชิ าอื่นๆ นอกจากสาขาการศึกษาต้งั แต่น้นั มา

ตอ่ มาในระหวา่ งปีงบประมาณ ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ สำนกั งานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ได้มี
โครงการจัดตั้งสถาบนั ราชภฏั เพม่ิ ข้ึนจำนวน ๕ แห่งตามโครงการ ๑ ใน ๕ โครงการสถาบนั ราชภัฏเพิม่ ในระยะแรก
โดยได้รบั การจัดตงั้ ข้ึนเพ่ือตอบสนองความต้องการและกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชากรในระดับภมู ิภาค
ไดแ้ ก่

๑. สถาบนั ราชภัฏชัยภมู ิ
๒. สถาบันราชภฏั ศรสี ะเกษ

๔๙

๓. สถาบนั ราชภัฏนครพนม
๔. สถาบันราชภฏั กาฬสนิ ธ์ุ
๕. สถาบันราชภัฏรอ้ ยเอด็

จำนวนมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏทง้ั หมดจำนวน ๔๑ แหง่ แต่มีจำนวน ๓ แหง่ ทมี่ ีการปรบั เปล่ียน
ไปคือ

๑. มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครพนม - ไดค้ วบรวมเขา้ เป็นส่วนหนึง่ ของ มหาวิทยาลยั นครพนม เมือ่ วันที่ ๒
กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

๒. มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสวนดสุ ิต - ไดแ้ ปรสภาพเปน็ มหาวทิ ยาลัยในกำกบั ของรฐั บาลและเปลยี่ นชอ่ื เปน็
มหาวิทยาลัยสวนดสุ ิต เม่ือวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

๓. มหาวิทยาลยั ราชภฏั กาฬสินธ์ุ - ได้ควบรวมเข้าเป็นสว่ นหนึ่งของ มหาวิทยาลยั กาฬสินธุ์ เม่อื วันท่ี ๙
กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ดงั น้ันในปัจจบุ ันจงึ มีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด จำนวน ๓๘ แห่งดงั ตอ่ ไปนี้
กลุ่มภาคเหนือ

๑. มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่
๒. มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งราย
๓. มหาวิทยาลยั ราชภฏั ลำปาง
๔. มหาวิทยาลยั ราชภฏั อตุ รดิตถ์
๕. มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั พบิ ูลสงคราม
๖. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
๗. มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์
๘. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

กลุม่ ภาคกลาง
๙. มหาวิทยาลยั ราชภฏั จันทรเกษม
๑๐.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
๑๑.มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏธนบุรี
๑๒.มหาวทิ ยาลัยราชภัฏบา้ นสมเดจ็ เจ้าพระยา
๑๓.มหาวิทยาลยั ราชภัฏสวนสนุ ันทา
๑๔.มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์
๑๕.มหาวทิ ยาลัยราชภัฏพระนครศรอี ยุธยา
๑๖.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

๕๐

๑๗.มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั นครปฐม
๑๘.มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏกาญจนบรุ ี
๑๙.มหาวทิ ยาลัยราชภฏั หม่บู า้ นจอมบึง
๒๐.มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบุรี
๒๑.มหาวิทยาลัยราชภฏั ราชนครนิ ทร์
๒๒.มหาวิทยาลยั ราชภัฏรำไพพรรณี

กลุ่มภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ
๒๓.มหาวิทยาลยั ราชภัฏชยั ภมู ิ
๒๔.มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๒๕.มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั บุรีรัมย์
๒๖.มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สุรนิ ทร์
๒๗.มหาวิทยาลัยราชภฏั ศรีสะเกษ
๒๘.มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อุบลราชธานี
๒๙.มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏมหาสารคาม
๓๐.มหาวิทยาลยั ราชภัฏรอ้ ยเอ็ด
๓๑.มหาวิทยาลัยราชภฏั เลย
๓๒.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
๓๓.มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร

กลมุ่ ภาคใต้
๓๔.มหาวิทยาลัยราชภฏั สรุ าษฎรธ์ านี
๓๕.มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏภูเก็ต
๓๖.มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครศรธี รรมราช
๓๗.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
๓๘.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โดยทงั้ ๓๘ แห่งมีการแบ่งพื้นท่กี ารให้บริการการศกึ ษาท่วั ประเทศดังต่อไปน้ี


Click to View FlipBook Version