The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานอาชีพ เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Preeyada Psl, 2023-09-13 12:13:31

โครงงานอาชีพ เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า

โครงงานอาชีพ เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย

ก โครงงานอาชีพ เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า จัดทำโดย เด็กหญิงกฤติญาภรณ์ โคตรนายูง เด็กหญิงพิชญาภา บุตรพรม เด็กหญิงวรินทิรา อรรคปัญญา ครูที่ปรึกษา นางสาวคีรีบูน วิผาลา นางสาวปรียะดา โพธิ์สูงเหลา รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานอาชีพ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน


ก กิตติกรรมประกาศ ในการจัดทำโครงงานอาชีพเรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า ของกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย ขอขอบพระคุณ คณะวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขุ่น ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนวิธีการถักหรือสานพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า ขอขอบพระคุณ คุณครูคีรีบูน วิผาลา และ คุณครูปรียะดา โพธิ์สูงเหลา ซึ่งเป็นคุณครูที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นในการดำเนินโครงงานตลอดจน ข้อแนะนำ ในการจัดทำโครงงานนี้ ขอขอบคุณคณะครูโรงเรียนสาธิต ดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย ผู้ปกครองและครอบครัวของพวกเราทุกคนที่คอยให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือและ ข้อเสนอแนะ จนโครงงานสำเร็จลุล่วงด้วยดีในการจัดทำโครงงานนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ชื่น ชอบผลงานประเภท ถักหรือสาน และการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากห่วงถุงเท้า คณะผู้จัดทำ


ข ชื่อโครงงาน พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า ชื่อผู้จัดทำโครงงาน 1. เด็กหญิงกฤติญาภรณ์ โคตรนายูง 2. เด็กหญิงพิชญาภา บุตรพรม 3. เด็กหญิงวรินทิรา อรรคปัญญา ระดับชั้น ประถมศึกษา ครูที่ปรึกษา นางสาวคีรีบูน วิผาลา นางสาวปรียะดา โพธิ์สูงเหลา โรงเรียน สาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย ปีการศึกษา 2566 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน บทคัดย่อ โครงงานอาชีพ เรื่อง พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้าเป็นโครงงานอาชีพระดับประถมศึกษา ที่จัดทำขึ้น เพื่อสร้างชิ้นงานเป็นของใช้ และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน วัสดุหลักที่ใช้คือเศษห่วงถุงเท้าจาก โรงงาน ซึ่งเราสามารถนำมาประดิษฐ์และสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย เพิ่มมูลค่าและสร้างอาชีพให้กับ ผู้สนใจที่มีทักษะในการในถักพรมเช็ดเท้า ซึ่งสามารถสร้างงาน มีความคิดสร้างสรรค์ในการประยุกต์ผลงานให้ เป็นที่ต้องการของตลาด และเกิดการสร้างคน หมายถึง นำกลุ่มนักเรียนที่มีความสนใจมาร่วมทำโครงงาน เป็น การให้โอกาสและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยใช้กระบวนการทำงานให้เกิดสมาธิจากชิ้นงานที่ลงมือกระทำ


1 สารบัญ เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน .............................................................................. 1 1.2 วัตถุประสงค์……………………………………………………………...................………………….. 1 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ……………………………………………………….....................……. 1 1.4 ขอบเขตของการศึกษา ……………………………………………………...................……………… 1 1.5 สมมุติฐานในการดำเนินงาน …………………………………………………………………………….. 2 1.6 ระยะเวลาในการในการทำโครงงาน ............................................................................ 2 1.7 สถานที่ดำเนินโครงงาน ............................................................................................... 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1 ห่วงถุงเท้า ……………………………………………………………………………………………………… 3 2.2 กรรไกร …………………………………………………………………………………………………………. 3 2.3 พรมเช็ดเท้า …………………………………………………………………………………………………… 5 บทที่ 3 วิธีดำเนินโครงงาน 3.1 อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา ............................................................................... 8 3.2 วิธีการทำ …………………………………………………………………....................................……. 8 3.3 แผนปฏิบัติงาน ………………………………………………………………….....................……....... 12 บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา 4.1 อภิปรายผลการศึกษา …………………………………………………………...............……………… 13 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา 5.1 สรุปผลการศึกษา ……………………………………………….................……………..…………….. 14 5.2 ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน …………………………………….................……………..…….……. 14 5.3 ปัญหา/ อุปสรรคในการทำโครงงาน …………………………………………………………………. 14 5.4 ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………….…...............……….. 14 เอกสารอ้างอิง ...................................................................................................................................... 15 ภาคผนวก ……………………………………………………………………………………………………………………………. 16


1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าบริเวณชุมชนมักจะมีเศษผ้าที่เหลือจากการผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น กางเกง เสื้อ ถุงเท้า หรือสินค้าอื่น ๆ ที่มีการใช้ผ้าเป็นวัสดุในการผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเศษ ผ้าเหลือใช้เหล่านั้นมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น กระเป๋า ผ้ากันเปื้อน ผ้าปูโต๊ะ หรือผ้าคลุมสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงพรมเช็ดเท้า ซึ่งพรมเช็ดเท้าเป็นของใช้ที่ทุก ๆ ครัวเรือนจะต้องมี โดยพรม เช็ดเท้าจะมีลวดลายและรูปแบบต่าง ๆ มากมายให้เลือกใช้ และมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งสามารถ นำไปประกอบเป็นอาชีพอิสระได้อีกด้วย ถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการลงทุนน้อยและมีขั้นตอนที่ไม่ ยุ่งยาก ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการถักพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อสร้างประสบการณ์จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ในการทำโครงงานใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่โลกของงานอาชีพและการศึกษาต่อไปในอนาคต 1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตชิ้นงานที่หลากหลาย 3. เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด นำไปสู่การทำอาชีพเสริมระหว่างเรียน 4. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 5. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าเศษวัสดุเหลือใช้ 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า 2. นักเรียนเกิดทักษะในการออกแบบ มีความคิดที่สร้างสรรค์ 3. นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงาน และเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานอาชีพ สามารถนำไป ต่อยอดพัฒนาเป็นอาชีพได้ 4. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 5. นักเรียนสามารถใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด 1.4 ขอบเขตการศึกษา เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย เป้าหมายเชิงคุณภาพ ได้ผลงานที่มีรูปแบบหลากหลาย สวยงาม สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสร้าง รายได้เสริมให้กับนักเรียน


2 1.5 สมมุติฐานในการดำเนินงาน 5.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ 5.2 ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบหลากหลาย สวยงาม จากความคิดสร้างสรรค์ 1.6 ระยะเวลาในการทำโครงงาน เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 1.7 สถานที่ดำเนินโครงงาน โรงเรียนสาธิตดวงฤทัย ทัยกมลวิชชาลัย


3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาขั้นตอนการทำ พรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้าดังต่อไปนี้ 2.1 ห่วงถุงเท้า ห่วงถุงเท้า คือ ส่วนที่เหลือทิ้งของถุงเท้า มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายหนังยางที่รัดของ แต่เส้นรอบวง ใหญ่กว่า 4 เท่า และตัววัสดุมีความแข็งแรงกว่า หาซื้อได้จากโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งอาจจะมีการแยก เป็นสีที่หลากหลายไว้ให้เลือก หรืออาจจะมีการคละสีต่าง ๆ รวมกันมา นิยมขายโดยการชั่งกิโลกรัม 2.2 กรรไกร กรรไกร คือ อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาใช้สำหรับตัดวัสดุ ชิ้นงานที่มีความอ่อนและความแข็งหลาย รูปแบบได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น กระดาษ พลาสติก ผ้า เชือกฟาง เส้นด้าย สายไฟ กิ่งไม้ และวัสดุอื่นอีกมากมาย กรรไกร มีลักษณะคล้ายกับใบมีดสองใบประกบเข้าหากัน โดยมีน็อตยึดใบมีดไว้ตรงกลางและมีด้าม สำหรับใช้มือจับหรือสอดนิ้วมือเข้าไปทำให้เบาแรงในการตัดได้ง่ายยิ่งขึ้น ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ แข็งแรง ทนทาน กรรไกรมีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ทั้งกรรไกรมาตรฐานทั่วไป กรรไกรอเนกประสงค์ กรรไกร ตัดผม กรรไกรก้ามปู กรรไกรตัดผ้า เป็นต้น นิยมนำมาใช้งานทั้งในครัวเรือน อุตสาหกรรม และงานช่างทั่วไป กันเป็นจำนวนมาก ประเภทของกรรไกร โดยทั่วไป สามารถจำแนกประเภทของกรรไกรเป็น 4 ประเภท หลัก ๆ ดังนี้ 1. กรรไกรมาตรฐานทั่วไป กรรไกรมาตรฐานทั่วไป ถือเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันได้หลากหลากสามารถตัดได้ทั้ง ผ้า กระดาษ พลาสติก เชือกฟาง หลอด ริบบิ้น หรือวัสดุอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ใบมีดผลิตจากวัสดุสแตนเลส ที่มีความคมแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม ทำให้ตัดวัสดุชิ้นงานได้เรียบและเที่ยงตรง ส่วนด้ามจับเป็นพลาสติก ออกแบบมาให้มีด้ามตรงสามารถจับได้ถนัดมือ ใช้งานง่าย ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการตัดวัสดุต่าง ๆ ได้เป็น อย่างดีโดยทั่วไปปากกรรไกรจะโค้งมนมีขนาดยาวประมาณ 5 – 8 นิ้ว


4 2. กรรไกรใบมีดขนาดยาว กรรไกรใบมีดขนาดยาว มีลักษณะคล้ายกรรไกรมาตรฐานทั่วไป เพียงแต่ปากกรรไกรจะแหลมคมมี ขนาดยาวประมาณ 8 – 12 นิ้ว ใบมีดผลิตจากวัสดุสแตนเลสที่มีความคมสูง แข็งแรงทนทาน ด้ามจับจะมีให้ เลือกใช้งานทั้งแบบด้ามตรงและด้ามโค้ง สามารถใช้งานได้ทั้งมือซ้ายและขวา ทำให้ตัดชิ้นงานได้แม่นยำ รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับ นำมาใช้ตัดวัสดุชิ้นงานที่มีขนาดความยาวเป็นพิเศษ เช่น ตัดผ้า ตัด กระดาษแผ่นใหญ่ และแผ่นโลหะบางทั่วไป 3. กรรไกรอเนกประสงค์ กรรไกรอเนกประสงค์ มีลักษณะใบมีดคล้ายปากเป็ด ใบมีดทำจากเหล็กแข็งหรือสแตนเลสสตีลที่มี ความคมสูง แข็งแรงทนทาน และรักษาคมได้ดีส่วนด้ามจับเป็นพลาสติกหุ้มยางอย่างดี พร้อมกับออกแบบมา พิเศษ ให้มีสปริงยึดใบมีดไว้ระหว่างกลาง ใช้งานได้ง่าย จับถนัดมือ จึงทำให้สามารถตัดของแข็ง ได้ยาวนาน ไม่ เมื่อยมือ เหมาะนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่างในการตัดสายไฟ ตัดลวด ตัดพรม ตัดพลาสติกแข็ง สังกะสีแผ่นบาง หรือใช้ตัดตกแต่งกิ่งไม้ได้อีกด้วย


5 4. กรรไกรก้ามปู กรรไกรก้ามปู เป็นกรรไกรขนาดเล็กพกพาใช้งานได้สะดวก ออกแบบมาสำหรับใช้ในงานฝีมือ DIY โดยเฉพาะ เช่น ใช้ตัดเส้นดาย ตัดเส้นไหม หรือขลิบริมผ้า เป็นต้น มีลักษณะใบมีดคล้ายก้ามปู ใบมีดผลิตจาก วัสดุสเเตนเลสมีความคมกริบ แข็งแรงทนทาน ส่วนด้ามจับออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถบีบกำได้ด้วยมือ เดียวหรือบีบเข้าหากันโดยไม่ต้องใช้นิ้วมือสอดเข้าไป มีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ บางรุ่นด้ามจับมีพลาสติก ห่อหุ้ม จึงช่วยในการถนอมมือระหว่างบีบใช้งาน ทำให้ตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง วิธีดูแลรักษาหลังใช้งาน 1. หลังการใช้น้ำสะอาดและผ้าสะอาดเช็ดตัดแห้งร่างกายและผ้าขนหนูห่อกรรไกรไปมาหมุนกรรไกร เช็ดทำความสะอาดแล้ววางเบา ๆ 2. กรรไกรควรอยู่ในการระบายอากาศไม่มีกรดและการกัดกร่อนด่างที่ 3. กรรไกรปากคมควรเก็บให้พ้นมือเด็ก 4. ถ้ากรรไกรไม่คม แก้ปัญหาโดยใช้กรรไกรไปตัดกระดาษทรายละเอียดหลาย ๆ ครั้ง กรรไกรก็จะคม เหมือนเดิม 5. ควรแยกประเภทการใช้งานกรรไกรจะดีที่สุด ไม่ควรนำกรรไกรตัดผ้าไปตัดวัสดุอื่น จะทำให้ความ คมลดลง การเก็บรักษา หลังจากใช้งาน ควรเก็บในซองใส่กรรไกรโดยเฉพาะ ระวังอย่าให้ตกหรือหล่น เพราะจะทำให้กรรไกรสึก ตัดผมไม่ขาด ก่อนนำกรรไกรเก็บเข้าซองควรเช็ดด้วยผ้าแห้งหรือเช็ดด้วยน้ำมันจักร เพราะจะเป็นการถนอม และยืดอายุการใช้งาน และป้องกันการเกิดสนิมของกรรไกรได้ 2.3 พรมเช็ดเท้า พรมเช็ดเท้า (Doormat) คือ สิ่งทอที่มาจากวัสดุผ้าเป็นส่วนใหญ่ เชื่อกันว่าที่มาของชื่อ “doormat” มาจากคำภาษาละติน “doormata” ซึ่งแปลว่า “ผู้เฝ้าประตู” มีการค้นพบในยุคกลางในคริสตจักร Skog ใน ประเทศสวีเดน ปี ค.ศ. 1912 และด้วยความเก่าแก่ของพรมที่ค้นพบ ปัจจุบันถูกจัดวางเก็บรักษาเอาไว้ใน พิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ของประเทศ ในเมืองสตอกโฮล์ม ลักษณะของพรมเช็ดเท้าเก่าแก่ผืนนี้ถือว่าเป็น การค้นพบงานศิลปะและภูมิปัญญา วัสดุทำมาจากผ้าลินินใช้วางกับพื้นเพื่อเช็ดทำความสะอาดรองเท้า อยู่ตรง ทางเชื่อมระหว่างประตูเข้าออก เพื่อกำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกใต้พื้นรองเท้าก่อนเข้าบ้าน ความเป็นมาของพรมเช็ดเท้านั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายศตวรรษ เริ่มต้นจากการใช้เป็นหนึ่งในวิธีการทำความสะอาดพื้นและป้องกันไม่ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกไม่ให้ตกลงบน


6 พื้นบ้าน และหากย้อนกลับไปนานกว่านั้น มนุษย์ยุคแรกใช้ประโยชน์จากหญ้า เปลือกไม้ และสมุนไพรเป็นวัสดุ ปูพื้นเพื่อป้องกันฝุ่น และบางผืนที่ตัดแบ่งให้มีขนาดเล็กเพื่อเช็ดทำความสะอาดเท้าจากสิ่งสกปรก ซึ่งพรมเช็ด เท้านี้ได้รับความนิยมและมีขนาดที่หลากหลายตั้งแต่แบบปูพื้นขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางสำหรับวางใต้โต๊ะ และขนาดเล็กวางหน้าประตูทางเข้าบ้านก็มีให้เลือกตามการใช้งาน ประโยชน์ของพรมเช็ดเท้า 1. ใช้เพื่อเช็ดทำความสะอาดเท้าก่อนเดินเข้าที่พัก ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน และ ส่วนสำคัญสุดของการทำความสะอาดเท้าคือการวางพรมเอาไว้ระหว่างประตูทางเข้าบ้าน 2. ช่วยดักจับฝุ่นละออง สิ่งสกปรก รวมถึงเชื้อโรคที่อาจติดมากับเท้าให้หลุดออกไปก่อนที่จะปะปน เข้ามาในตัวบ้าน 3. หากวางเอาไว้ตรงตำแหน่งหน้าห้องน้ำ จะใช้เป็นพรมสำหรับซับน้ำหลังอาบน้ำเสร็จแล้วได้ดี ช่วยให้เท้าแห้งไว ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการลื่นหกล้ม 4. พรมเช็ดเท้าบางชนิดถูกวางเอาไว้ภายในห้องน้ำ วัสดุผลิตจากพลาสติกหรือแผ่นพลาสวูด ช่วยขัด ทำความสะอาดเท้าและกันลื่นไปในตัว 5. ใช้เป็นของตกแต่งบ้านที่ดูสวยงาม ทำให้พื้นห้องดูไม่จืดชืด ซึ่งมีหลากหลายลวดลาย รูปทรง และ สีสันให้เลือกอย่างหลากหลาย 6. ใช้เป็นผ้าคลุมพื้นที่อาจมีเสี้ยนหนามจากไม้ทะลุขึ้นมา ป้องกันไม่ให้สมาชิกในบ้านมาเหยียบจนเกิด อันตรายได้ 7. ใช้ปิดช่องบนพื้นที่ชำรุดเสียหายชั่วคราวได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเด็กและ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านตามลำพัง 8. สามารถนำมาตัดเย็บให้เป็นรูปทรงขนาดเล็กแล้วใช้รองขาโต๊ะหรือขาเก้าอี้ป้องกันการขูดขีดกับพื้น จนเป็นรอยได้ 9. ช่วยปกป้องพื้นด้านล่างพรมเช็ดเท้าให้สะอาดจากสิ่งสกปรกได้อยู่เสมอ 10. พรมเช็ดเท้าแบบนุ่มและหนา สามารถนำไปใช้เป็นที่นอนสัตว์เลี้ยงภายในบ้านในราคาประหยัดได้ อย่างดีเยี่ยม วิธีดูแลทำความสะอาดผ้าเช็ดเท้า 1. หากเป็นวัสดุผ้าทั่วไป ควรทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ด้วยการซักด้วยแปรงขัดผ้าเพื่อ กำจัดเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ติดอยู่ให้หลุดออกไป 2. เมื่อตากผ้าเช็ดเท้า ควรตากในช่วงเวลาที่แดดจัด เพื่อที่แสงแดดจะได้ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคอื่น ๆ ที่เป็นตัวการทำให้คนในบ้านเจ็บป่วยได้อย่างหมดจด 3. หากเป็นวัสดุพลาสติกหรือแผ่นแข็งซับน้ำ ควรนำมาขัดด้วยแปรงทำความสะอาดด้วยน้ำยาซักผ้าให้ ทั่วทุกซอกมุม แล้วตากแดดให้แห้งสนิทก่อนนำกลับมาใช้งานใหม่ 4. ไม่ควรตากพรมเช็ดเท้าในที่ร่ม เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา เสี่ยงที่เชื้อโรคจะเติบโตมากขึ้น 5. หากเป็นพรมเช็ดเท้าที่ใช้งานเช็ดทำความสะอาดเท้าทุกวัน และอยู่ในตำแหน่งที่จะเจอกับสิ่ง สกปรกได้ง่าย ควรทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ถ้าหากไม่มีเวลาซัก อย่างน้อยควรนำไป ตากแดดอย่างสม่ำเสมอ


7 อันตรายจากพรมเช็ดเท้าที่ต้องระวัง 1. พรมเช็ดเท้าที่ไม่ถูกดูแลทำความสะอาด เปรียบเสมือนแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นเลิศที่ทำให้คนในบ้าน เสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้ง่าย 2. การนำเอาเสื้อผ้า กางเกงเก่าไม่ใช้แล้ว หรือผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาประยุกต์เป็นพรมเช็ดเท้า อาจเสี่ยง อันตราย เหยียบแล้วลื่นล้มได้ เนื่องจากวัสดุผ้าไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนกันลื่นด้านล่าง 3. พรมเช็ดเท้าราคาถูก อาจมีฝุ่นผงจากเศษผ้าและการตัดเย็บที่ไม่ดีทำให้ด้ายหลุดลุ่ยและกลายเป็น สิ่งสกปรกภายในบ้านเพิ่มขึ้น แทนที่จะช่วยทำความสะอาดกลับนำพาสิ่งสกปรกเข้ามาในบ้านแทน 4. พรมเช็ดเท้าที่ไม่มีคุณภาพจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม และอาจมีสารหรือวัสดุอันตรายขนาด เล็กปลิวหลุดออกมา โดยที่คนในบ้านไม่ทันได้สังเกต เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้


8 บทที่ 3 วิธีดำเนินโครงงาน 3.1 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 1. เศษห่วงถุงเท้าจากโรงงาน 2. กรรไกร 3.2 ขั้นตอนการทำ 1. เตรียมวัสดุ– อุปกรณ์สำหรับการถักพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า 2. คัดแยกสีของห่วงถุงเท้าที่คละกันมา เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน


9 3. เริ่มลงมือถักพรมเช็ดเท้า โดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.1 ชั้นที่ 1 - เลือกห่วงถุงเท้ามา 13 ห่วง เพื่อทำแกนกลางพรมเช็ดเท้า แล้วหยิบ 1 ห่วง มาคล้องใส่นิ้วโป้งกับ นิ้วก้อยในมือข้างใดข้างหนึ่ง ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 - ห่วงที่ 2 ให้บิดเป็นลักษณะคล้ายเลข 8 แล้วพับห่วงประกบกัน และนำห่วงที่ได้ไปสอดใส่ห่วงที่ 1 ทำ ไปเหมือนเดิมจนครบทั้ง 12 ห่วง แล้วปลดปลายห่วงที่ 1 ทั้ง 2 ด้านแล้วมัดปมให้แน่น ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2


10 - จากนั้นจับปลายห่วงที่มัดเสร็จโดยให้นับเป็นหลักที่ 1 แล้วใช้นิ้วชี้อีกข้างหนึ่งดันขึ้นมา 2 ห่วง นับเป็น หลักที่ 2และรวบหลักที่ 2 ลอดผ่านหลักที่ 1 ในของส่วนหลักที่ 3 ถึง 12 ให้ทำเหมือนกันไปเรื่อยๆดังภาพที่ 3 ภาพที่ 3 3.2 ชั้นที่ 2 - ให้ใช้ห่วงช่องละ 1 ห่วง ถักทีละห่วงและคล้องกันเหมือนกับชั้นที่ 1 โดยในชั้นนี้จะใช้ทั้งหมด 12 ห่วง ข้อแนะนำคือควรใช้สีที่ต่างกันกับชั้นที่ 1 เพื่อง่ายต่อการนับชั้น ดังภาพที่ 4 ภาพที่ 4


11 3.3 ชั้นที่ 3 - ใช้ห่วงช่องละ 2 ห่วง โดยถักเข้าทีละห่วง เรียกว่า “การขึ้นแคร่” เพื่อป้องกันไม่ให้พรมเช็ดเท้าโค้ง ตัวขึ้นกลายเป็นหมวก โดยจะใช้ทั้งหมด 24 เส้น จะได้ดังภาพที่ 5 ภาพที่ 5 3.4 ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 5 - ให้ทำเหมือนกันโดยถักห่วงถุงเท้าลงช่องละ 1 ห่วง ควรใช้สีที่ต่างกันกับชั้นที่ 3 เพื่อให้เป็นลวดลาย ดังภาพที่ 6 ภาพที่ 6


12 3.5 ชั้นที่ 6 - ถักห่วงถุงเท้าลงช่องละ 2 ห่วง เพื่อทำการขึ้นแคร่เหมือนชั้นที่ 3 ดังภาพที่ 7 ภาพที่ 7 3.6 ชั้นที่ 7 ถึงชั้นที่ 10 - ให้ทำเหมือนกันกับชั้นที่ 4 และ 5 จากนั้นให้ปิดชิ้นงานโดยการมัดปมให้แน่นและซ่อนปมให้ เรียบร้อย ข้อแนะนำคือ ชั้นที่ 10 ควรใช้สีที่เข้มเพื่อทำเป็นขอบจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามดังภาพที่ 8 ภาพที่ 8 3.3 แผนการปฏิบัติงาน 1. เลือกหัวข้อการทำโครงงานและนำเสนอครูที่ปรึกษา พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลในการทำโครงงาน ศึกษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย โดยของบสนับสนุนจาก โรงเรียน ซึ่งครูที่ปรึกษาทำบันทึกเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน 3. คณะผู้จัดทำโครงงานศึกษารูปแบบ ขั้นตอนการถักพรมเช็ดเท้าจากครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และลงมือปฏิบัติ 4. นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ ให้เพื่อนนักเรียน คณะครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ทดลองใช้ 5. ปรับปรุงผลงานตามข้อเสนอแนะ และทำผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ที่สนใจ 6. นำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่าย สรุปผลการดำเนินงาน


13 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา การทำโครงงานพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า ทำให้ได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ สำคัญในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานได้หลากหลาย ผลงานผลิตภัณฑ์ที่ นำเสนอได้รับความสนใจจากผู้ที่พบเห็น ซึ่งรูปแบบมีความสวยงาม ผลงานมีความละเอียด ประณีต ใช้งานได้ จริง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อตนเองที่สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน และเป็นการนำเสนอผลงานที่นำ เศษวัสดุจากชุมชนมาเพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาถักให้เป็นพรมเช็ดเท้า มีการออกแบบลวดลายและปรับเปลี่ยน รูปแบบผลงานให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ตลอดจนการฝึกทักษะทางด้านการพัฒนาอาชีพ โดยนักเรียนกลุ่มที่เข้า ร่วมทำโครงงานสามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพเสริมระหว่างเรียนหรือประกอบเป็นอาชีพหลักได้ต่อไปใน อนาคต


14 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา 5.1 สรุปผลการศึกษา จากการศึกษาขั้นตอนและรูปแบบการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากห่วงถุงเท้า ซึ่งเป็นการฝึกทักษะ กระบวนการทำงานตามขั้นตอน และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตชิ้นงานที่หลากหลาย เพื่อพัฒนา รูปแบบชิ้นงานออกสู่ท้องตลาด นำไปสู่การทำอาชีพเสริมระหว่างเรียนได้ตลอดจนเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเห็นคุณค่าของเศษวัสดุเหลือใช้ 5.2 ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน 1. นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า 2. นักเรียนเกิดทักษะในการออกแบบ มีความคิดที่สร้างสรรค์ 3. นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงาน และเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานอาชีพ สามารถนำไป ต่อยอดพัฒนาเป็นอาชีพได้ 4. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 5. นักเรียนสามารถใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5.3 ปัญหา/ อุปสรรคในการทำโครงงาน 1. ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะต้องทำด้วยความประณีตทุกขั้นตอน โดยจะข้ามชั้นในการถักไม่ได้ เพราะจะทำ ให้ลวดลายของผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ 2. ต้องใช้เวลาในการทดลองออกแบบลวดลายต่าง ๆ 5.4 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาโครงงานอาชีพ เรื่องพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า นอกจากผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้าแล้วยัง สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้มีความหลากหลายตามสมัยนิยม เป็นที่ต้องการของผู้สนใจ


15 เอกสารอ้างอิง Thaiapply.com. (2566). ประโยชน์ของพรมเช็ดเท้า. สืบค้นจาก https://thaiapply.com/1582/ Office Ace Shop. รู้เรื่องกรรไกร เลือกใช้ให้ถูกงาน.สืบค้นจาก https://officeaceshop.com/aboutscissors/ Bloggang. พรมเช็ดเท้าบ้านคลองแม่ลายเหนือ OTOP. สืบค้นจาก https://www.bloggang.com /m/viewdiary.php?id=prommaijashop&month=12-2018&date=21&group=1&gblog=9


16 ภาคผนวก ภาพกิจกรรม คณะผู้จัดทำศึกษาค้นคว้าข้อมูล และศึกษาขั้นตอนการถักพรมเช็ดเท้าจากครูที่ปรึกษาโครงงาน เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์และลงมือถักพรมเช็ดเท้าจากห่วงถุงเท้า นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ร้านค้าในชุมชน


Click to View FlipBook Version