เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๐ ก หน้า ๑ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติ
มาตรฐานทางจริยธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๒
สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู
ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปที ี่ ๔ ในรชั กาลปัจจบุ ัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยทเ่ี ปน็ การสมควรมกี ฎหมายวา่ ดว้ ยมาตรฐานทางจรยิ ธรรม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติข้ึนไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของ
สภานิติบญั ญตั แิ ห่งชาตทิ าหนา้ ทีร่ ัฐสภา ดงั ตอ่ ไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบญั ญตั ินเี้ รียกวา่ “พระราชบัญญัตมิ าตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เปน็ ตน้ ไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญตั ิน้ี
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐ
ในฝ่ายบริหาร แต่ไม่หมายความรวมถึง หน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และ
องค์กรอัยการ
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๒ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น
ในหน่วยงานของรัฐ
“องค์กรกลางบรหิ ารงานบุคคล” หมายความวา่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรอื น คณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึ กษา
และคณะกรรมการข้าราชการตารวจ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทน้ัน รวมท้ัง
คณะกรรมการกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าท่ีของรัฐในฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการมาตรฐาน
การบรหิ ารงานบคุ คลสว่ นทอ้ งถิน่ ตามกฎหมายวา่ ด้วยระเบยี บบริหารงานบุคคลส่วนท้องถ่ิน
“กรรมการ” หมายความวา่ กรรมการมาตรฐานทางจรยิ ธรรม
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบญั ญตั นิ ี้
หมวด ๑
มาตรฐานทางจรยิ ธรรมและประมวลจริยธรรม
มาตรา ๕ มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม
ของเจ้าหนา้ ที่ของรัฐ ซึง่ จะต้องประกอบด้วย
(๑) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมขุ
(๒) ซ่ือสัตย์สจุ ริต มีจิตสานกึ ที่ดี และรับผิดชอบต่อหนา้ ที่
(๓) กล้าตัดสนิ ใจและกระทาในสง่ิ ที่ถูกต้องชอบธรรม
(๔) คดิ ถึงประโยชนส์ ่วนรวมมากกวา่ ประโยชน์สว่ นตวั และมจี ติ สาธารณะ
(๕) มุ่งผลสมั ฤทธข์ิ องงาน
(๖) ปฏบิ ัตหิ นา้ ทอ่ี ย่างเป็นธรรมและไมเ่ ลอื กปฏิบตั ิ
(๗) ดารงตนเปน็ แบบอย่างท่ดี แี ละรักษาภาพลกั ษณ์ของทางราชการ
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เป็นหลักสาคัญในการจัดทาประมวลจริยธรรม
ของหนว่ ยงานของรฐั ท่ีจะกาหนดเปน็ หลักเกณฑ์ในการปฏบิ ัติตนของเจา้ หน้าทขี่ องรฐั เกย่ี วกบั สภาพคุณงาม
ความดีท่ีเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือสาหรับการปฏิบัติงาน การตัดสินความถูกผิด การปฏิบัติท่ีควรกระทา
หรอื ไมค่ วรกระทา ตลอดจนการดารงตนในการกระทาความดแี ละละเวน้ ความชัว่
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๓ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา
มาตรา ๖ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทาประมวล
จริยธรรมสาหรับเจ้าหนา้ ทีข่ องรฐั ทอี่ ยูใ่ นความรบั ผดิ ชอบ
ในกรณที เ่ี ป็นเจ้าหนา้ ทขี่ องรฐั ซ่ึงไมม่ ีองค์กรกลางบรหิ ารงานบคุ คลทรี่ บั ผิดชอบ ใหอ้ งค์กรต่อไปนี้
เปน็ ผจู้ ัดทาประมวลจริยธรรม
(๑) คณะรัฐมนตรี สาหรับข้าราชการการเมือง
(๒) สภากลาโหม สาหรบั ข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรอื นกลาโหม
(๓) สานกั งานคณะกรรมการนโยบายรัฐวสิ าหกิจ สาหรับผู้บรหิ ารและพนกั งานรฐั วิสาหกจิ
(๔) คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สาหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าท่ี และ
ผปู้ ฏิบัตงิ านขององคก์ ารมหาชน
ในกรณีท่ีมีปัญหาว่าองค์กรใดเป็นผ้จู ัดทาประมวลจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใด
ให้ ก.ม.จ. เปน็ ผมู้ ีอานาจวินจิ ฉยั
ท้ังน้ี หนว่ ยงานของรัฐอาจจัดทาข้อกาหนดจรยิ ธรรมเพอื่ ใชบ้ งั คับกบั เจ้าหนา้ ทข่ี องรฐั ในหน่วยงานนน้ั
เพิ่มเตมิ จากประมวลจริยธรรมใหเ้ หมาะสมแก่ภารกิจท่ีมลี กั ษณะเฉพาะของหนว่ ยงานของรฐั นั้นดว้ ยก็ได้
การจัดทาประมวลจริยธรรมและข้อกาหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไป
ตามหลกั เกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กาหนดตามมาตรา ๑๔ ดว้ ย
มาตรา ๗ เพื่อให้การจัดทาประมวลจริยธรรมในภาครัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมใน
ระดับเดียวกัน ในการจัดทาประมวลจริยธรรมขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลของศาลหรือองค์กรอัยการ
องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานธุรการของรัฐสภาและองค์กรอิสระ ให้นามาตรฐานทาง
จริยธรรมตามมาตรา ๕ ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทาประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐท่ีอยู่
ในความรับผิดชอบด้วย
หมวด ๒
คณะกรรมการมาตรฐานทางจรยิ ธรรม
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานทางจรยิ ธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ม.จ.”
ประกอบดว้ ย
(๑) นายกรฐั มนตรหี รอื รองนายกรัฐมนตรซี ่ึงนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผแู้ ทนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนท่ไี ดร้ บั มอบหมาย เปน็ รองประธานกรรมการ
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๔ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา
(๓) กรรมการโดยตาแหน่ง จานวนห้าคน ได้แก่ ผแู้ ทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
คณะกรรมการข้าราชการตารวจ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และ
สภากลาโหม อยา่ งละหน่งึ คน
(๔) กรรมการผู้ทรงคณุ วุฒิซ่ึงนายกรฐั มนตรีแต่งตั้งจานวนไมเ่ กินหา้ คนเปน็ กรรมการ
ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธกิ าร ก.พ. แต่งต้ังข้าราชการ
ในสานกั งาน ก.พ. เปน็ ผูช้ ่วยเลขานกุ ารได้ตามความจาเปน็
เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามหน้าที่และอานาจของ ก.ม.จ. ก.ม.จ. อาจมีมติ
ให้เชิญผู้แทนท่ีได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการที่ทาหนา้ ที่บริหารงานรัฐวสิ าหกิจหรือองค์การมหาชน
หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีหนา้ ท่ีและอานาจโดยตรงเก่ียวกบั เรื่องท่ีจะพิจารณา หรือผู้ซึ่งมีความรู้
ความเชยี่ วชาญและประสบการณ์ดา้ นจรยิ ธรรมให้เขา้ รว่ มประชมุ เปน็ ครัง้ คราวในฐานะกรรมการด้วยกไ็ ด้
ในกรณเี ชน่ น้ัน ใหผ้ ู้ท่ีไดร้ บั เชิญและมาประชมุ มฐี านะเป็นกรรมการสาหรับการประชมุ คร้ังทไี่ ด้รับเชิญนน้ั
ให้สานักงาน ก.พ. มีหน้าที่ปฏิบัติงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาหาข้อมูล
และกิจการต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องให้แก่ ก.ม.จ. คณะอนุกรรมการหรือคณะทางานที่แต่งต้ังโดย ก.ม.จ.
รวมทั้งให้มหี นา้ ทแ่ี ละอานาจอื่นตามท่กี าหนดในพระราชบญั ญัตนิ ี้
มาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์
ด้านการส่งเสริมจริยธรรม ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หรือด้านอื่นใดอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ม.จ. โดยมีผลงานเป็นท่ีประจักษ์ และ
ตอ้ งมคี ณุ สมบตั ิและไม่มีลกั ษณะต้องห้าม ดังต่อไปน้ี
(๑) มีสญั ชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ตา่ กว่าสส่ี ิบหา้ ปี
(๓) ไม่เปน็ บุคคลลม้ ละลายหรือเคยเปน็ บคุ คลลม้ ละลายทจุ รติ
(๔) ไม่เปน็ คนไรค้ วามสามารถหรอื คนเสมือนไรค้ วามสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงท่ีสุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด
ท่ไี ดก้ ระทาโดยประมาท
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๕ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา
(๖) ไม่เป็นผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิน่ กรรมการ
หรือผู้ซึ่งดารงตาแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าท่ี
พรรคการเมอื ง
(๗) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรือให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ
หรอื หนว่ ยงานของรฐั
(๘) ไม่เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลอันถึงท่ีสุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
เพราะร่ารวยผิดปกติ
(๙) ไม่เคยต้องคาพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าท่ีราชการหรือ
ต่อตาแหน่งหน้าท่ีในการยุติธรรม หรือกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงาน
ในองคก์ ารหรือหนว่ ยงานของรัฐ
(๑๐) ไมอ่ ยูใ่ นระหวา่ งต้องหา้ มมิให้ดารงตาแหนง่ ทางการเมอื ง
(๑๑) ไม่เคยพ้นจากตาแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดารงตาแหน่ง
ทางการเมอื งมคี าพิพากษาวา่ ฝา่ ฝนื หรือไมป่ ฏบิ ัตติ ามมาตรฐานทางจริยธรรมอยา่ งรา้ ยแรง
มาตรา ๑๐ กรรมการผู้ทรงคณุ วุฒมิ วี าระการดารงตาแหนง่ คราวละสามปี
เม่ือครบกาหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งต้ังกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตาแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตาแหน่งเพ่ือดาเนินงานต่อไปจนกว่า
กรรมการผทู้ รงคณุ วุฒซิ ่ึงได้รบั แต่งต้ังใหมเ่ ขา้ รับหน้าท่ี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตาแหน่งตามวาระอาจไดร้ ับแตง่ ตั้งอีกได้ แต่จะดารงตาแหนง่
ตดิ ตอ่ กนั เกนิ สองวาระไมไ่ ด้
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตาแหนง่ ตามวาระ กรรมการผูท้ รงคณุ วฒุ ิพน้ จากตาแหน่ง
เมอื่
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมลี กั ษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๙
(๔) ก.ม.จ. มีมติให้ออกจากตาแหนง่ ดว้ ยคะแนนเสยี งไม่น้อยกวา่ กึ่งหน่ึงของจานวนกรรมการ
เทา่ ทีม่ อี ยู่ เพราะบกพรอ่ งต่อหนา้ ท่ี มคี วามประพฤติเสอ่ื มเสีย หรอื หย่อนความสามารถ
เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๐ ก หน้า ๖ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒ ในกรณีท่ีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระหรือในกรณี
ที่นายกรัฐมนตรีแต่งต้ังกรรมการผู้ทรงคณุ วุฒิเพ่ิมข้ึนในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒซิ ่ึงแตง่ ตั้งไว้แลว้
ยังมีวาระอยู่ในตาแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งต้ังแทนตาแหน่งท่ีว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่
ในตาแหน่งเท่ากับวาระท่ีเหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทนหรือผู้ซึ่งแต่งต้ังไว้แล้ว เว้นแต่วาระท่ีเหลืออยู่ไม่ถึง
หนงึ่ รอ้ ยแปดสบิ วนั จะไม่แตง่ ตงั้ กรรมการผทู้ รงคณุ วุฒแิ ทนกไ็ ด้
ในกรณที ่กี รรมการผู้ทรงคณุ วุฒพิ ้นจากตาแหนง่ ก่อนวาระ ให้ ก.ม.จ. ประกอบดว้ ยกรรมการ
ทัง้ หมดเทา่ ทม่ี อี ยูจ่ นกวา่ จะมีการแต่งตง้ั ตามวรรคหนึง่
มาตรา ๑๓ ก.ม.จ. มีหนา้ ท่ีและอานาจ ดงั ตอ่ ไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คาปรึกษาเก่ียวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม
และการสง่ เสริมจรยิ ธรรมภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี
(๒) กาหนดแนวทางหรือมาตรการในการขับเคล่ือน การดาเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม
รวมท้ังกลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพ่ือให้องค์กรกลางบริหาร
งานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือผู้บังคับบัญชานาไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล
อยา่ งเป็นรูปธรรม
(๓) กาหนดแนวทางในการส่งเสรมิ และพัฒนาเพ่ือเสริมสร้างประสิทธภิ าพให้เจ้าหน้าทข่ี องรัฐ
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมและยึดถือแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม รวมทัง้
เสนอแนะมาตรการในการเพ่ิมพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมแก่
หน่วยงานของรัฐตอ่ คณะรัฐมนตรี
(๔) กากับ ติดตาม และประเมินผลการดาเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยอย่างน้อย
ต้องให้หนว่ ยงานของรัฐจัดให้มีการประเมนิ ความรคู้ วามเข้าใจเกี่ยวกบั มาตรฐานทางจรยิ ธรรม และใหม้ ี
การประเมนิ พฤตกิ รรมทางจริยธรรมสาหรับเจา้ หน้าท่ีของรัฐในหนว่ ยงานนนั้
(๕) ตรวจสอบรายงานประจาปีของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๙ (๓) และรายงานสรุปผล
การดาเนินงานดังกล่าวเสนอตอ่ คณะรฐั มนตรีเพื่อทราบอย่างน้อยปลี ะหนงึ่ ครั้ง
(๖) ตีความและวนิ จิ ฉัยปญั หาท่เี กิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญตั ิน้ี
(๗) ปฏิบัตหิ น้าท่อี น่ื ตามท่บี ญั ญตั ิไวใ้ นพระราชบญั ญัตินห้ี รอื ตามทคี่ ณะรฐั มนตรีมอบหมาย
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๗ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา
การประเมนิ ผลตาม (๔) ใหเ้ ปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์และวิธกี ารที่ ก.ม.จ. กาหนด โดยอาจจัดให้มี
องค์กรภายนอกเข้าร่วมการประเมนิ ผลดว้ ยก็ได้
มาตรา ๑๔ เพื่อให้การดาเนินการจัดทาประมวลจริยธรรมและข้อกาหนดจริยธรรม
ตามมาตรา ๖ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรม และเพ่ือประโยชน์ใน
การดาเนินการตามหน้าที่และอานาจตามมาตรา ๑๓ ให้ ก.ม.จ. มีอานาจกาหนดหลักเกณฑ์เป็นระเบียบ
คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบคุ คล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง และ
หน่วยงานของรฐั ใช้เปน็ หลกั เกณฑ์สาหรบั การจดั ทาประมวลจรยิ ธรรมและขอ้ กาหนดจรยิ ธรรม รวมทัง้
การกาหนดกระบวนการรกั ษาจรยิ ธรรมของเจา้ หนา้ ทข่ี องรัฐ ในการนี้ ให้ ก.ม.จ. มีหนา้ ทใี่ ห้คาแนะนาแก่
องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง และหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญตั ินี้
ในกรณีทีป่ รากฏแก่ ก.ม.จ. ว่า การจดั ทาประมวลจริยธรรมขององคก์ รกลางบรหิ ารงานบคุ คล
หรือองค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือข้อกาหนดจริยธรรมของหนว่ ยงานของรัฐแหง่ ใดไม่สอดคล้องกับ
มาตรฐานทางจริยธรรมหรือมีการปฏิบัติท่ีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กาหนดตามวรรคหน่ึง
ให้ ก.ม.จ. แจ้งให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือหน่วยงาน
ของรัฐแห่งน้ันดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และให้เป็นหน้าที่ขององค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กร
ตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือหน่วยงานของรัฐท่ีจะตอ้ งดาเนินการโดยเรว็
มาตรา ๑๕ ให้ ก.ม.จ. จดั ให้มีการทบทวนมาตรฐานทางจรยิ ธรรมตามมาตรา ๕ ทุกห้าปี
หรือในกรณีท่ีมีความจาเป็นหรือสถานการณ์เปล่ียนแปลงไป ก.ม.จ. จะพิจารณาทบทวนในรอบ
ระยะเวลาท่ีเร็วกว่านน้ั กไ็ ด้ โดยในการดาเนนิ การดงั กลา่ วให้เชิญผแู้ ทนจากองคก์ รกลางบริหารงานบคุ คล
และองค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง มาหารอื ร่วมกันด้วย
มาตรา ๑๖ การประชุม ก.ม.จ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจานวน
กรรมการท้งั หมดเทา่ ท่มี ีอยู่ จึงจะเปน็ องค์ประชมุ
ในการประชุม ก.ม.จ. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการปฏิบัติหน้าท่ีแทน ในกรณีท่ีไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติ
หน้าทีไ่ ด้ ให้ท่ปี ระชุมเลอื กกรรมการคนหน่ึงเปน็ ประธานในที่ประชมุ
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๘ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา
การวินิจฉัยช้ีขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหน่ึงให้มีเสียงหนึ่งใน
การลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากนั ใหป้ ระธานในทปี่ ระชุมออกเสียงเพิ่มข้นึ อกี เสียงหนึ่งเป็นเสียงชข้ี าด
มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติน้ี ก.ม.จ. มีอานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
หรือคณะทางานเพื่อพจิ ารณาหรอื ดาเนนิ การตามที่ ก.ม.จ. มอบหมายได้
ให้นาความในมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทางานด้วย
โดยอนโุ ลม
มาตรา ๑๘ ใหป้ ระธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ และอนกุ รรมการไดร้ บั
เบ้ยี ประชุมและประโยชนต์ อบแทนอ่นื ตามท่ีกระทรวงการคลงั กาหนด โดยความเห็นชอบของคณะรฐั มนตรี
หมวด ๓
การรกั ษาจริยธรรมของเจ้าหน้าทขี่ องรัฐ
มาตรา ๑๙ เพ่ือประโยชน์ในการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐ
ดาเนนิ การ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) กาหนดให้มีผู้รับผิดชอบเก่ียวกับการรักษาจริยธรรมประจาหน่วยงานของรัฐ ในการน้ี
อาจมอบหมายให้ส่วนงานท่ีมีหน้าท่ีและภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล หรือที่เกี่ยวกับ
การบริหารงานบุคคล หรือคณะกรรมการและกลุ่มงานจริยธรรมประจาหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้ว
เปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบก็ได้
(๒) ดาเนินกิจกรรมการสง่ เสรมิ สนบั สนนุ ให้ความรู้ ฝกึ อบรม และพฒั นาเจา้ หนา้ ที่ของรฐั
ในหน่วยงานของรัฐ และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติ
ตามประมวลจริยธรรม รวมท้ังกาหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมสี ่วนรว่ มในการตรวจสอบพฤติกรรม
ของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและ
ภาคเอกชน
(๓) ทุกสิ้นปีงบประมาณ ให้จัดทารายงานประจาปีตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กาหนดเสนอต่อ
ก.ม.จ. โดยให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานประจาปีผ่านองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กร
ตามมาตรา ๖ วรรคสอง แล้วแต่กรณี เพ่ือประเมินผลในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐเสนอต่อ ก.ม.จ.
ดว้ ย
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๙ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา
มาตรา ๒๐ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลแต่ละประเภทและองค์กรตามมาตรา ๖
วรรคสอง มีหน้าท่ีกากับดูแลการดาเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม และการประเมินผลการปฏิบัติ
ตามประมวลจรยิ ธรรม รวมท้ังให้มีหนา้ ที่และอานาจจัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพรค่ วามเขา้ ใจ
ตลอดจนการกาหนดมาตรการจูงใจเพ่ือพัฒนาและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ
มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการท่ีใช้บังคับแก่เจ้าหน้าท่ีของรัฐในหน่วยงาน
ของรัฐซ่ึงมีพฤติกรรมท่ีเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริ ยธรรม
โดยอาจกาหนดมาตรการเพ่ือใชใ้ นการบรหิ ารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทน้นั
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๑ เม่ือ ก.ม.จ. ได้ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์การจัดทาประมวลจริยธรรม
ตามมาตรา ๑๔ แล้ว ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง จัดทา
ประมวลจรยิ ธรรมใหแ้ ล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ ก.ม.จ. กาหนด
มาตรา ๒๒ บรรดาประมวลจริยธรรม กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจรยิ ธรรมของ
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันท่ีพระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับ ให้คงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป
เท่าท่ีไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติน้ี จนกว่าจะมีการกาหนดประมวลจริยธรรมหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ
จริยธรรมตามพระราชบญั ญัตนิ ี้
ผรู้ บั สนองพระราชโองการ
พลเอก ประยทุ ธ์ จันทร์โอชา
นายกรฐั มนตรี
เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๕๐ ก หน้า ๑๐ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ โดยที่มาตรา ๗๖ วรรคสาม
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพ่ือให้หน่วยงาน
ของรฐั ใช้เปน็ หลักในการกาหนดประมวลจรยิ ธรรมสาหรับเจา้ หนา้ ท่ีของรฐั ในหนว่ ยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ากว่า
มาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว ดังน้ัน เพ่ือให้การจัดทาประมวลจริยธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ
มีมาตรฐานเดียวกัน สมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมใช้เป็นหลักสาคัญในการจัดทาประมวล
จริยธรรมของหน่วยงานของรัฐเพ่ือใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ โดยมีหลักเกณฑ์
การจัดทาประมวลจริยธรรม กระบวนการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ รวมทั้งมาตรการและกลไก
ทมี่ ีประสทิ ธิภาพเพ่ือเสรมิ สร้างใหม้ กี ารปฏบิ ตั ติ ามประมวลจริยธรรม จงึ จาเปน็ ต้องตราพระราชบัญญตั ิน้ี