การใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศนำเสนอ
ผลงาน
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็ นส่วนหนึ่ งของวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ชั้นประกาศนียบัตรขั้น
สูง โดยมีจุดประสงค์ในการศึกษาและรวบรวมเนื้อหา
การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน เพื่อให้ผู้อ่านได้
ความรู้ รวมถึงสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
อย่างเหมาะสม
สารบัญ หน้ า
คำนำ 1
สารบัญ 2
จุดมุ่งหมายของการนำเสนอผลงาน 3
หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน 4-5
รุปแบบการนำเสนอผลงาน 6
อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน
แอพพลิเคชั่นสำหรับการนำเนอผลงาน
1
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1.เพื่อให้ผู้รับสาร รับทราบความคิดเห็นหรือความ
ต้องการ
2.เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่อง
3.เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น
ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา ใช้ในการบรรยายสรุป
ผลการดำเนินงานต่างๆ
4.เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
2
หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน
1) การดึงดูดความสนใจ
โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความ
สบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์
ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูป
ประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพ
ประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการ
สื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพย
ภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ
"ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ" แต่ประโยค
นี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับ
ความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใด
ประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อ
สื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้นสามารถทำหน้ าที่สื่อ
ความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่
เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการ
ของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือ
การใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของ
ฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบ
อะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้
สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบ
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่
สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้
เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความ
ต้องการว่าเป็นเครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้
ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่า
ซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะใน
ไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่ งเครื่ องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือ
ซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้ มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมาก
จนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป
ใหม่นั้น
3
รูปแบบการนำเสนอผลงาน
การนำเสนอมีได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบให้
เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ และความต้องการของ
ผู้รับการนำเสนอ โดยทั่วไปจะมีการใช้อยู่ สองรูปแบบได้แก่
1. แบบสรุปความ ( qutline )
2. แบบเรียงความ ( essay )
แบบสรุปความ คือ การนำเสนอเนื้อหาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง ความ
คิดเห็น และ ข้อพิจารณาเป็นข้อๆ
แบบเรียงความ คือ การนำเสนอด้วยการพรรณนา ถึงเนื้อหา
ละเอียด
การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
และ สถานการณ์ในการนำเสนอ การนำเสนอแบบสรุปความมักใช้ใน
การนำเสนอ ข้อมูลอันประกอบด้วย ข้อเท็จจริง สิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้
ผู้รับการนำเสนอรับรู้อย่างรวดเร็ว ส่วนการนำเสนอแบบเรียงความ
มักใช้ในการนำเสนอความคิดเห็น และการให้เหตุผลโน้ นน้ าวชักจูง
ใจ ซึ่งจะต้องมีการอรรถาธิบาย ในรายละเอียดต่างๆประกอบการนำ
เสนอ
การเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอ จะพิจารณาปริมาณของเนื้อหา
สาระ วัตถุประสงค์ และ จุดมุ่งหมายที่ต้องการบรรจุ การเร้าความ
สนใจ สถานการณ์ในการนำเสนอ และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับ
การนำเสนอกับผู้นำเสนอ
4
อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน
โพรเจกเตอร์ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับ
สัญญาณภาพจจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี
และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับ
ภาพช่วยให้มองเห็นภาพหรือข้อความข้อได้อย่างชัดเจน
วิชวลไลเซอร์ (Visualizer)
เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนา
มาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตและ
เอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์
นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่างๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์
ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพ
เคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส
และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุม
การทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต
กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera)
เป็ นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิ ล์มมาเป็ นอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงใน
หน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้
โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการสามารถย่อหรือ
ขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็
สามารถทำได และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิม
ได้เลย โดยไม่ต้องเสียงเงินซื้อฟิล์ม
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ ตบุ๊ก
อุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอเป็ นสื่ อกลางในการเชื่ อมโยง
อุปกรณ์อื่น เช่น โพกเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน เลิกใช้นำเสนอ
งานผ่านจอเครื่องคอมพิวเตอร์
5
เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่น MP3
เป็ นอุปกรณ์เครื่ องบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และ
สามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้
เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติ 12 เท่า แม้
ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพของเสียงไม่ได้เสียไปด้วย อย่างไร
ก็ตามหากเรานำข้อมูลเสียงมากจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นใน
คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย
โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟน
เป็ นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วย
ซอฟต์แวร์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการ
ติดตั้งเพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสาย
เคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ
นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว ยังมีส่วน
ประกอบที่สำคัญในการนำเสนองานคือ คำบรรยาย หรือบทพากย์ ซึ่ง
เป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง โดยมีวิธีการและหลักในการ
พิจารณาดังนี้
1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนา ที่
ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้ เป็นผู้ที่รู้เรื่องราว
เกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้ นตรงจุดใด และปฏิกิริยาจากผู้
ชม ทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตาม ทำความเข้าใจได้เพียงพอ
หรือไม่ รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้ อยเพียงใด
2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหา ที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่
ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดี คือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่
มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound
effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสีย คือไม่มีความยืดหยุ่น ไม่
สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
6
แอพพลิเคชั่นสำหรับการนำเนอผลงาน
Canva.
PowerPoint.
PicsArt.
Keynote.
Google Slide.
Chartistic.
Prezi
Voicethread
OfficeSuite Pro
Sliderocket
ผู้จัดทำ
นางสาว พนิดา กึ่งสอาด
ปวส1 ออกแบบนิเทศศิลป์
เลขที่2