The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prpidthong2, 2022-01-20 03:25:27

ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

Keywords: ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

คมู่ อื เกษตรกร...รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ

ชดุ ...ความรู้ในการ

เพาะเมล็ดพันธ์พุ ชื

คูม่ อื เกษตรกร “รู้ไว้ใช้จริง”

ชดุ ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธ์พุ ชื

พมิ พ์คร้ังท่ี 1 จำ�นวน 3,000 ชดุ

ปที ีพ่ มิ พ์ สงิ หาคม 2562

จดั พิมพ์โดย สถาบนั สง่ เสรมิ และพฒั นากจิ กรรมปดิ ทองหลงั พระ สบื สานแนวพระราชด�ำ ริ

อาคารสยามทาวเวอร์ ชนั้ 26 เลขท่ี 989 ถนนพระราม 1

แขวงปทุมวัน เขตปทุมวนั กรงุ เทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ : 0 2611 5009 โทรสาร : 0 2658 1413

Website : www.pidthong.org

twitter : www.twitter.com/pidthong

Facebook : www.facebook.com/pidthong

Youtube : www.youtube.com/pidthongchannel

#เชื่อมน่ั เศรษฐกิจพอเพยี ง

ความร้ใู นการเพาะเมลด็ พันธุพ์ ชื

หนังสือ “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช” เล่มนี้ เป็น 1 ใน 5 หนังสือชุดคู่มือเกษตรกร
“รู้ไว้ใช้จริง” ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมเสียงความต้องการของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบ
5 จังหวัดด�ำเนินงานของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนว
พระราชด�ำริ อนั ได้แก่ จังหวดั นา่ น อุดรธานี กาฬสินธุ์ อทุ ยั ธานี และเพชรบรุ ี ทั้งจากการพบปะ
โดยตรงและสะท้อนผ่านข้อเสนอแนะท้ายแบบสอบถามในการศึกษาต่างๆ ที่ต้องการทราบถึง
ขั้นตอน วิธีการป้องกันรักษา แก้ไขปัญหา ตลอดจนเทคนิคหรือวิธีการอื่นๆ ในการเก็บรักษา
อนุรักษ์ และเพิม่ โอกาสการเพาะเมลด็ พนั ธุพ์ ืชให้เจรญิ งอกงามขน้ึ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ เช่น
วิธีกระตุ้นการงอกของรากและลดการสูญเสียในช่วงระยะแรกของการเพาะปลูก รวมถึงวิธีการ
ขยายพนั ธุ์และเพิ่มอตั ราการรอดของพืช เปน็ ตน้

จากปัญหาและความต้องการข้างต้น จึงได้ท�ำการส�ำรวจและคัดกรองปัญหาและ
องค์ความรู้ที่เป็นท่ีต้องการ ทั้งในรูปวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากครูปราชญ์และ
หน่วยงานต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาน�ำเสนอ ในเนื้อหารูปแบบของการ์ตูน
ประกอบภาพ เพ่ือให้เข้าใจง่าย แต่มีข้อมูลท่ีครบถ้วนและเกษตรกรสามารถน�ำไปประยุกต์
ปรบั ใช้ไดอ้ ย่างแทจ้ รงิ

สารบัญ

58 11

การตรวจสอบคุณภาพ เทคนิคการเพาะเมล็ดผกั พชื ผักงอกแน่
เมล็ดพันธุเ์ บ้อื งต้น ให้งอกเรว็ สดุ ใน 1 วนั ถ้าท�ำ ตามขน้ั ตอนน้ี
สำ�หรบั เกษตรกร
19 24
14

เพาะเมลด็ พนั ธผ์ุ กั สลดั อนิ ทรยี ์ สตู รดนิ เพาะกล้าพนั ธุ์ เพาะเมล็ดพันธุ์ระบบปดิ
งา่ ยๆ ทำ�ได้ดว้ ยตวั เอง ทำ�งาน งอกไว กล้าแข็งแรง ไมต่ อ้ งใชด้ นิ งา่ ยๆ ดว้ ยตนเอง

28 35 38

หลากหลายวธิ ี คดั เลอื กพันธุ์ข้าวใหบ้ ริสุทธ์ิ เปดิ เคล็ดลบั
คดั พันธข์ุ ้าวกลอ้ งไว้ใช้ ไว้ใช้ มั่นใจ แทแ้ นน่ อน ผลิตเมล็ดพนั ธ์ุผักอินทรยี ์

44 หลากหลายวิธใี นการกำ� จัดโรคพืช
...ตดิ ตามอ่านกันไดเ้ ลยครับ...

เมลด็ พนั ธด์ุ ีหรอื ไม่?
ตรวจสอบได้ ง่ายนิดเดียว

การตรวจสอบคณุ ภาพ
เมลด็ พนั ธุเ์ บ้ืองต้น

สำ� หรบั เกษตรกร

การตรวจสอบคณุ ภาพเมลด็ พนั ธ์ุ มคี วามส�ำคญั
อย่างยิ่งต่อการผลิตและการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ต้ังแต่ระดับ
แปลงปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การนวด การลดความช้ืน
การท�ำความสะอาด การหีบห่อ การเก็บรักษา ทั้งนี้ วัตถุประสงค์
ส�ำคัญ คือ เพื่อต้องการทราบคุณภาพของเมล็ดเป็นข้อมูลในการ
ก�ำหนดอัตราเมล็ดท่ีใช้ปลูก ตลอดจนการวางแผนการเก็บรักษา
หรือการจ�ำหน่ายด้วย ข้อมูลท่ีได้จะน�ำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือ
การบรหิ ารจดั การเมลด็ ได้อยา่ งถูกตอ้ ง

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 5

ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธ์พุ ชื ”

การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดเพื่อการรับรองอย่างเป็นทางการ
จะมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เพ่ือให้ผู้ใช้เมล็ดพันธุ์
ไดร้ บั เมลด็ พนั ธท์ุ ม่ี คี ณุ ภาพดี หรอื การคมุ้ ครองผบู้ รโิ ภคหรอื เกษตรกร
ผู้ซื้อเมล็ดพันธุ์ไปปลูกน้ันเอง ซ่ึงเราจะเห็นว่าที่ข้างภาชนะบรรจุ
เมล็ดพนั ธุ์จะระบุขอ้ ความ อาทิ เปอรเ์ ซ็นต์การงอก ความบริสุทธ์ิ วัน
หมดอายุ หรือสถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ รวมถึงหน่วยงานหรือบริษัท
ผูจ้ �ำหน่ายดว้ ย

ในการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์นั้น มีหลากหลายวิธีตาม
วตั ถุประสงค์หรอื ขอ้ ก�ำหนดตา่ งๆ ทีก่ ฎหมายระบุ เช่น

ตรวจสอบเมล็ดพนั ธ์พุ ืชว่ามกี รวดทราย การตรวจสอบความบรสิ ทุ ธิ์
ปนเข้ามามากนอ้ ยเพยี งใด ว่าเมล็ดพันธุ์นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
เช่น มีเมล็ดพันธุ์พืชชนิดอ่ืน เมล็ดวัชพืช
หรือสิ่งอื่นๆ เช่น กรวด ทราย ปนเข้ามา
มากนอ้ ยเพียงใด

การตรวจสอบความชน้ื เพอ่ื
บอกความชื้นภายในเมล็ดว่ามีเท่าไหร่
เพอ่ื จดั การกบั เมลด็ ได้อยา่ งถกู ตอ้ ง

การตรวจสอบคณุ ภาพเมล็ดพันธพ์ุ ืช การทดสอบความงอกซงึ่ เปน็
ข้อบ่งช้ีถึงคุณภาพเมล็ดที่มีความส�ำคัญ
และเปน็ ท่ยี อมรบั

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

6 ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธพุ์ ชื ”

การงอกของเมล็ดพนั ธพ์ุ ชื

การทดสอบความแข็งแรงของเมล็ด ซึ่งมีหลายวิธี
เช่น การวัดอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า การวัดดัชนีการงอก
เป็นต้น เพราะการที่เมล็ดมีความงอกสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเมล็ดท่ีมี
ความแขง็ แรงเสมอไป

การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อรับรองมาตรฐานของ
คุณภาพเมล็ดจะด�ำเนินการโดยนักวิชาการ และจัดท�ำในสถานที่
ซึ่งมีเคร่ืองมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพ่ือให้ผล
การทดสอบคณุ ภาพเปน็ ไปอย่างมปี ระสิทธิภาพและเกิดประสิทธผิ ล
มากทสี่ ุด

ส�ำหรับเกษตรกรอินทรีย์ที่ต้องการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองน้ัน
สามารถด�ำเนินการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์เบ้ืองต้นด้วยตัวเอง
โดยวิธีการหมั่นสังเกต เรียนรู้ การบันทึกและทดลองแบบง่ายๆ ที่จะ
ท�ำให้ไดข้ ้อมูลคุณภาพของเมลด็ พนั ธไุ์ ด้

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 7

ชดุ “ความรูใ้ นการเพาะเมล็ดพนั ธุ์พืช”

เทคนิคการเพาะเมล็ดผกั

ใหง้ อกเรว็ สดุ ใน 1 วนั

หากเกษตรกรสามารถลดระยะเวลาในการเพาะปลูกได้
นบั เป็นสิ่งทีด่ ี ซึ่งเทคนคิ การเพาะเมลด็ ผกั ให้งอกเร็วสุดใน 1 วัน เป็น
อีกหนึ่งวิธีท่ีจะช่วยประหยัดเวลาในการเพาะเมล็ดพันธุ์ ซ่ึงใช้ได้กับ
เมล็ดพันธแ์ุ ทบทุกประเภทอกี ด้วย

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

8 ชุด “ความร้ใู นการเพาะเมล็ดพันธ์พุ ชื ”

อุปกรณ์ กระดาษทิชชู
1. ขวดโหล/กล่องพลาสติก
2. กระดาษทชิ ชู น�้ำ เปลา่
3. น�ำ้ เปลา่
4. เมลด็ ผัก เมลด็ ผกั กล่องพลาสติก

วิธที �ำ
1. น�ำกระดาษทิชชูใสใ่ นขวดโหล
2. เตมิ นำ้� ใหพ้ อชุ่มทวั่ กระดาษทิชชู
3. โรยเมลด็ ผักลงไป
4. ปดิ ฝาเพ่ือรักษาความชื้น

ข้อสงั เกต วางทิชชูใน เติมน้ำ�ให้พอชุ่ม
กล่องพลาติก
1. ระยะเวลาที่ใช้ ส�ำหรบั เมล็ดผกั ทว่ั ไป
จะงอกรากภายใน 1 วัน แตถ่ ้าหากเปน็ เมลด็ พชื โรยเมลด็ ผกั ลงไป
ทีง่ อกยากกอ็ าจใช้เวลาถึงสปั ดาห์ ปิดฝาใหส้ นทิ

2. เม่ือเมล็ดเร่ิมงอกแลว้ มลี ักษณะเปน็
ตุม่ รากเล็กน้อย ควรย้ายลงแปลงปลกู หรือถุงช�ำ
ไดเ้ ลย

3. ไม่ควรปล่อยให้รากงอกจนยาวมาก
เกินไป เพราะจะย้ายลงเพาะตอ่ ไดย้ าก

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 9

ชดุ “ความรูใ้ นการเพาะเมล็ดพนั ธพุ์ ืช”

หมายเหตุ เมล็ดทมี่ เี ปลือกแข็ง
วิธีการนี้สามารถน�ำไปใช้กับเมล็ด เมล็ดพนั ธุ์พชื ในต่างประเทศ
พันธุ์พืชได้ทุกชนิด ท้ังเมล็ดผักสวนครัว ผัก
ตา่ งประเทศ เมล็ดไม้ผล เมล็ดไมย้ นื ตน้ เมล็ด
ไมด้ อกไมป้ ระดับ
หากเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่งอกได้ยาก
หรือมีขนาดใหญ่ เช่น เมล็ดพันธุ์ไม้ผล เมล็ด
ที่มีเปลือกแข็ง เมล็ดพันธุ์พืชในต่างประเทศ
ควรน�ำไปแช่น้�ำอุ่น แล้วท้ิงไว้ประมาณ 1 คืน
เพ่ือเป็นการกระตุ้นระยะพักตัวของเมล็ดพืช
ใหง้ อกไดเ้ รว็ ข้ึน แลว้ คอ่ ยน�ำมาใสใ่ นขวดโหล

ควรน�ำ ไปแชน่ ำ้�อุ่น
แล้วท้งิ ไวป้ ระมาณ 1 คืน

ขอขอบคณุ www.blog-cocosth.com

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

10 ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธ์ุพืช”

พืชผักงอกแน่

ถา้ ทำ� ตามขน้ั ตอนนี้

การปลูกพืชผักสวนครัว หากต้องการผลผลิตท่ี
มีคุณภาพ เราจะต้องเร่ิมต้นจากการเพาะต้นกล้าท่ีสมบูรณ์ก่อน
นํามาปลูกลงแปลง เพ่ือให้ได้ผลผลิตท่ีมีคุณภาพตรงตามความ
ต้องการของตลาดและผู้บริโภคด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมล็ดพันธุ์
คืออีกหน่ึงต้นทุนที่หากเกษตรกรสามารถผลิตเองได้ ก็จะสามารถ
ลดตน้ ทนุ และยังมีเมล็ดพันธด์ุ ๆี เก็บไวใ้ ช้อกี ดว้ ย

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 11

ชุด “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพนั ธ์พุ ชื ”

ขนั้ ตอนการเพาะเมลด็ พันธุ์ แชเ่ มลด็ พันธุ์ด้วยน�้ำ หมักชวี ภาพ
1. แช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนเพาะปลูก
ด้วยน้�ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยเพ่ิมอัตราใน เตรยี มถงุ พลาสตกิ น�ำ ดนิ รว่ นผสมปยุ๋ คอก
การงอกของเมล็ด โดยใช้น�้ำหมักชีวภาพ 3 ลงบรรจใุ นถุง เกลย่ี ผิวดินใหเ้ รยี บ
ชอ้ นโต๊ะ ต่อน�้ำ 20 ลิตร แชเ่ มล็ดพันธ์ุไว้ 12
ชว่ั โมง ผึ่งลมใหแ้ หง้ ก่อนปลูก นําเมล็ดพันธุ์หยอดในถุงเพาะ

2. เตรียมวัสดุเพาะจากถุงพลาสติก
น�ำดนิ รว่ นผสมปยุ๋ คอกเกา่ ลา้ งแบบละเอยี ด
และขเ้ี ถา้ แกลบในอตั ราสว่ นเทา่ ๆกนั จากนนั้
น�ำลงบรรจใุ นถงุ พลาสติกประมาณ 2 ใน 3
ของถุง เกลีย่ ผิวดนิ ให้เรียบ

3. นําเมลด็ พนั ธท์ุ แี่ ชน่ ำ�้ หมกั ชวี ภาพ
หยอดในถงุ เพาะ2-3เมลด็ 1ถงุ ลกึ ประมาณ
0.5-1 เซนติเมตร จากนนั้ กลบด้วยดินเดมิ

4. น�ำถุงเพาะมาวางเรียงกันในที่ร่ม
ทําการรดน�้ำทุกวัน เช้า-เย็น น�ำฟางแห้งมา
ปกคลุมถุงเพาะไว้ เพื่อทําให้ดินมีความช้ืน
อย่ตู ลอดเวลา

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

12 ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พนั ธ์ุพชื ”

พืชตระกูลบวบ 5. เมื่อต้นกล้าเร่ิมเติบโตแข็งแรง
ดีแล้ว ทําการย้ายไปปลูกในแปลงต่อไป
ใช้เวลาเพาะเมลด็ พันธุ์ พชื ทนี่ ํามาเพาะกลา้ เพอื่ จะนําไปปลกู อาทิ
14 วนั
• พชื ตระกูลบวบ
พชื ตระกูลมะเขือ บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม
ใชเ้ วลาเพาะเมลด็ พนั ธ์ุ 14 วนั
ใช้เวลาเพาะเมล็ดพนั ธุ์ • พชื ตระกลู มะเขือ
27 วัน มะเขือเปราะ มะเขอื เทศ
ใชเ้ วลาเพาะเมลด็ พนั ธ์ุ 27 วนั
ฟักแฟง • ฟกั แฟง
ใชเ้ วลาเพาะเมลด็ พนั ธ์ุ 15 วนั
ใชเ้ วลาเพาะเมล็ดพนั ธุ์ • พริกหยวกเลก็
15 วัน ใชเ้ วลาเพาะเมลด็ พนั ธ์ุ 25 วนั

พริกหยวกเลก็

ใชเ้ วลาเพาะเมล็ดพนั ธ์ุ
25 วนั

น�ำ ถงุ เพาะวางในทร่ี ม่

รดน�ำ้ ทกุ วนั เชา้ -เยน็

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 13

ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพันธพ์ุ ืช”

เพาะเมล็ดพันธุ์
ผักสลดั อินทรีย์

งา่ ยๆ ทำ� ไดด้ ว้ ยตวั เอง

วธิ กี ารเพาะเมลด็ พนั ธผ์ุ กั สลดั นน้ั สามารถท�ำได้
หลายวิธี อาจจะเพาะในถาดก่อนหรือสามารถหว่านเมล็ดลงแปลง
เลยก็ได้ การหว่านเมล็ดพันธุ์ลงแปลงเลยน้ัน อัตราการงอกอาจจะ
ไม่ดีเท่าที่ควร เม่ือต้นกล้างอกแล้วก็อาจต้องเจอกับอากาศร้อนจัด
ฝนตก หรืออากาศหนาว ท�ำให้ตน้ กลา้ ที่ก�ำลงั จะโตตายได้ง่ายๆ

ส�ำหรับขั้นตอนการเพาะเมล็ดส�ำหรับผู้ท่ีเร่ิมต้นน้ัน แนะน�ำ
ให้เร่ิมเพาะในถาดก่อน เพื่อให้เมล็ดท่ีงอกออกมานั้นแข็งแรง
พอสมควรก่อนท่ีเราจะน�ำลงแปลง หมายถึงเรามีโอกาสคัดต้น
ท่ีอ่อนแอออก และเลือกต้นที่แข็งแรงไว้ส�ำหรับปลูกต่อไปเท่านั้น
การดูแลหลังจากนี้สามารถท�ำได้ง่ายกว่า เพราะผ่านการคัดมาแล้ว
ก่อนท่ีจะน�ำไปปลูกกลางแจ้ง และเราสามารถประยุกต์ใช้ได้กับ
เมลด็ พนั ธุ์อะไรกไ็ ด้

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

14 ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธ์ุพชื ”

โรงเรอื นที่มีแสงแดดสอ่ งถงึ วิธีเพาะเมลด็ พันธ์ุ

1. เลอื กสถานทใี่ นการเพาะในทน่ี ี้
อาจจะเป็นโรงเรือนที่มีแสงแดดส่องถึงใน
ตอนเชา้ เลอื กสถานทใ่ี หไ้ กลจากสตั วเ์ ลยี้ ง
เช่น เป็ด ไก่ หรือถ้าจ�ำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์
ไปด้วย ให้น�ำตาข่ายมาล้อมสถานท่ีเพาะ
กไ็ ด้ ควรเป็นทีอ่ ากาศถ่ายเทสะดวก

ดิน 1 สว่ น 2. เตรียมเมล็ดพันธุ์พืช ดิน และ
แกลบดำ� 1 สว่ น ถาดเพาะ หรืออาจเป็นหลุม กะละมังเล็ก
ถาดปลูก หรือถาดกระดาษใส่ไข่ก็ได้แล้ว
ขุยมะพร้าว แตส่ ะดวก ตรวจสอบวา่ สามารถระบายนำ้�
ละเอยี ด 1 สว่ น ไดด้ ี เมลด็ พนั ธห์ุ าซอ้ื ตามรา้ นเกษตรภณั ฑ์
ดูว่าเป็นชนิดท่ีต้องแช่น�้ำก่อนหรือเพาะ
คลุกเคล้าใหเ้ ขา้ กัน จากนนั้ เตรียมดนิ ได้เลย และใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว
ใสถ่ าดใหเ้ รยี บรอ้ ย นานเท่าใด สุดท้ายดินอาจจะซื้อจากร้าน
ขายต้นไม้หรือจะท�ำดินส�ำหรับเพาะเอง
กไ็ ด้ มีส่วนผสม คอื

• ดนิ 1 สว่ น
• แกลบด�ำ 1 ส่วน
• ขุยมะพรา้ วละเอียด 1 ส่วน
คลกุ เคลา้ ให้เขา้ กัน จากน้ันเตรยี มดนิ
ใส่ถาดให้เรยี บรอ้ ย

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 15

ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมล็ดพนั ธพ์ุ ืช”

3. การหยอดเมลด็ พนั ธ์ุ ใชว้ ธิ ีเพาะ หยอดเมลด็ พันธุใ์ นถาดปลกู แบบรวม
ในถาดปลูกแบบรวมๆ ก่อนที่จะย้ายลง
ถาดหลุม ใช้วิธีการโรยเมล็ดลงในถาดปลูก วางไวใ้ นทร่ี ่มท่แี สงสวา่ งสอ่ งถึง
โดยไม่ให้กระจุกหรือกระจายตัวมากไป รดน้�ำ เชา้ เยน็ พอใหช้ มุ่
ใช้มือตบเบาๆ ให้เมล็ดติดดินแล้วใช้ดิน
กลบบางๆ รดน�้ำเป็นฝอยพอชุ่ม วางไว้ที่ ปล่อยให้พืชโดนแสงแดดออ่ นๆ ตอนเช้า
อากาศถ่ายเทสะดวก ควรเขียนป้ายก�ำกับ ดแู ลเรอื่ งน้ำ� ตรวจสอบดินใหม้ คี วามช้ืน
วันทเ่ี รม่ิ เพาะ เพ่อื นบั เวลาเกบ็ เก่ยี ว

เคล็ดลับ: การรดน�้ำให้เป็นฝอย
อาจน�ำขวดมาเจาะรูด้วยเข็ม จะได้
ลักษณะนำ้� เปน็ ฝอยๆ

4. วางไวใ้ นทร่ี ม่ ทแี่ สงสวา่ งสอ่ งถงึ
รดน�้ำเช้าเย็นพอให้ชุ่ม ประมาณ 20-24
ชั่วโมง เมล็ดจะเร่ิมงอกบ้างแล้ว บางชนิด
อาจใชเ้ วลา 24-48 ชั่วโมง กว่าจะงอก

5. ปลอ่ ยใหพ้ ชื โดนแสงแดดอ่อนๆ
ตอนเช้า ช่วง 06.00-10.00 น. ซ่ึงแสงใน
ตอนเชา้ จะเหมาะกบั การเจรญิ เตบิ โตของพชื
การดแู ลเรอ่ื งนำ้� กเ็ ปน็ สงิ่ ส�ำคญั เชน่ เดยี วกนั
โดยตรวจสอบดินให้มีความช้ืนสม�่ำเสมอ
แตไ่ มเ่ ปยี กโชกเกนิ ไป

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

16 ชุด “ความร้ใู นการเพาะเมล็ดพันธพ์ุ ืช”

ผ่านไป 4-5 วนั เมื่อต้นกลา้ เร่มิ งอก 6. ต้นกล้าจะเร่ิมงอก เม่ือผ่านไป
ถงึ ขั้นตอนน้ีอาจใหป้ ยุ๋ นำ้�ได้ 4-5 วัน ถึงขั้นตอนน้ีอาจให้ปุ๋ยน้�ำได้ แต่ถา้
ไมม่ ีก็ไม่เป็นไร
วันท่ี 6-7 ย้ายกลา้ ลงถาดหลมุ
7. วันที่ 6-7 ท�ำการย้ายกล้าลง
ถาดหลุม คัดต้นท่ีอ่อนแอออก เหลือต้นท่ี
แข็งแรงไว้ น�ำดินใส่ถาดหลุมให้เรียบร้อย
โดยน�ำช้อนแกงมา โดยใช้หางช้อนขุดดิน
สว่ นรากขน้ึ มาใชม้ อื เกลย่ี ดนิ ใหเ้ หลอื แตร่ าก
การจับต้นกลา้ ควรระมดั ระวงั เพือ่ ไม่ให้ต้น
และรากขาดออกจากกัน วางรากไว้กลาง
หลุม แล้วใช้ไม้จ้ิมฟันกดส่วนรากลงไปใน
หลุมให้ต้นต้ังตรง ท�ำจนเสร็จครบ 1 ถาด
รดน�้ำพอชุ่มท้ิงไว้ 1 คืน และรดน�้ำเช้าเย็น
พอชุ่มจนผ่านสปั ดาห์ที่ 2

เคล็ดลับ: การย้ายกล้าควร
ท�ำตอนเย็น เพราะอากาศจะได้
ไม่ร้อนและต้นกล้าจะได้พักฟื้นใน
ช่วงกลางคืน ส่วนเมล็ดแบบเคลือบ
สามารถน�ำมาเพาะบนถาดหลุม
ได้เลย เพราะเปอร์เซ็นต์การงอกจะ
สูงกวา่ แบบไม่เคลอื บ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 17

ชุด “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ชื ”

8. น�ำออกมารบั แสง เขา้ สสู่ ปั ดาหท์ ี่ 3
จะเริ่มมีใบจริงออกมาแล้ว ตอนนี้สามารถ
น�ำออกมารับแดดได้ท้ังวันโดยมีผ้าสแลน
คลุมด้านบน ให้ปุ๋ยน�้ำวันเว้นวันสลับกับการ
ให้น�้ำเปล่า ปลายสัปดาห์ที่ 3 ก็สามารถน�ำ
กลา้ ผกั ลงสแู่ ปลงหรืออาจน�ำลงกระถางกไ็ ด้

น�ำ ออกมารับแสงโดยคลมุ ผา้ สแลนไว้ 9. ย้ายลงแปลง ปลายสัปดาห์ที่ 3
ท�ำการย้ายกล้าลงแปลง โดยเราเตรียมแปลง
ปลายสัปดาหท์ ี่ 3 ให้ทำ�การยา้ ยกล้า ใหพ้ รอ้ มท�ำเปน็ แถวขดุ หลมุ ไวก้ วา้ งพอส�ำหรบั
ลงแปลงปลูก ต้นกล้า ใช้หางช้อนจ้ิมต้นกล้าออกจากหลุม
น�ำไปลงในแปลง ใช้ดินกลบพอประมาณเพื่อ
พยุงต้นไม่ให้ล้มเป็นอันเสร็จ การจับต้นกล้า
ควรระมดั ระวงั เพ่อื ไมใ่ หต้ ้นและรากขาดออก
จากกัน รดน�้ำเชา้ เย็นพอช่มุ ตอ่

10. ดูแลอย่างใกล้ชิด รอวันเก็บเก่ียว
โดยให้ปุ๋ย 1-2 ครั้ง/อาทิตย์ ก�ำจัดวัชพืชและ
นับเวลาจนถึงเก็บเกี่ยว จากน้ีดูแลเรื่องแมลง
รบกวน โดยใช้น้�ำหมักไล่แมลง ส่วนสลัดท่ี
ปลกู ใชเ้ วลา 50-60 วัน กส็ ามารถเก็บได้ เท่าน้ี
เราก็มผี กั แสนอรอ่ ยไวร้ บั ประทานแล้ว

ขอขอบคณุ www.organicfarmthailand.com

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

18 ชุด “ความรูใ้ นการเพาะเมล็ดพนั ธุ์พชื ”

สูตรดินเพาะกล้าพนั ธุ์

ทำ� งาน งอกไว กลา้ แขง็ แรง

เกษตรกรทงั้ หลาย ทราบไหมวา่ การเพาะกลา้ ผกั ใหง้ อก
อย่างสมบูรณ์นั้น ต้องท�ำความเข้าใจในธรรมชาติของเมล็ดพันธุ์
แต่ละพันธุ์ท่ีมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่มีความหนาและบางเเตกต่างกัน
ภายในเมล็ดจะมีเเหล่งอาหารท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับต้นอ่อน หลังจาก
เมล็ดได้รับการกระตุ้นการงอก โดยความช้ืนของน้�ำและออกซิเจน
ที่เหมาะสม ซึ่งออกซิเจนท่ีเหมาะสมจะสัมพันธ์กับเทคนิคการ
กลบดินเพาะเมล็ด หากกลบดินลึกเกินไป จะท�ำให้ออกซิเจนน้อยลง
ส่งผลท�ำใหอ้ ตั ราการงอกลดลง เเต่หากกลบเมล็ดตืน้ เกินไป จะท�ำให้
เมล็ดมีความชื้น ไม่เพียงพอที่จะท�ำให้เปลือกและอาหารภายใน
เมลด็ อ่อนตัว อันมีผลให้อตั ราการงอกลดลงเชน่ กัน

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 19

ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พนั ธพุ์ ชื ”

ดังน้ัน ปัจจัยที่จะท�ำให้การเพาะกล้าผักงอกได้ด้วยอัตราสูง คือ
การเลือกใช้วัสดุเพาะกล้าที่เหมาะสม กลบดิน และรดน้�ำในปริมาณ
ที่พอเหมาะ รวมถึงรู้ลักษณะนิสัยและเเหล่งก�ำเนิดของพืชผักว่า
มีความชอบอากาศหนาวเย็นเเตกต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งปกติแล้ว
พืชผักสลัดมักจะงอกได้ดีในช่วงท่ีมีอากาศเย็น (เดือนธันวาคม-
มกราคม) เพราะเป็นพืชที่มีต้นก�ำเนิดในเขตอากาศหนาว ขณะที่
พืชผักของไทย เชน่ ผกั บงุ้ คะน้า สามารถปลูกได้ตลอดทงั้ ปี ส�ำหรบั
ปัจจยั ในการเพาะกล้าว่าจะได้ผลดหี รือไม่ มีดงั นี้

• เปลือกหุ้มเมล็ดของพืชผกั เเตล่ ะชนิด
• ระบบราก การระบายน้�ำของรากพชื เเตล่ ะชนดิ
• ลกั ษณะนสิ ยั ของพชื ผกั ตอ่ อากาศและความชนื้ ทเ่ี เตกตา่ งกนั
• ความลึก-ต้ืนในการกลบเมลด็ ดว้ ยวสั ดเุ พาะกลา้
• ธาตอุ าหารท่ีเหมาะสมกบั กล้าผกั (ไม่ใช้ปุ๋ยเคมสี งั เคราะห์)
• ไม่มโี รคพืชหรือเเมลงศัตรูพชื ในดนิ เพาะกล้า
(ไมฉ่ ีดยาฆ่าเเมลงสังเคราะห)์

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

20 ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ืช”

เเเกลบด�ำ เเห้ง สตู รดนิ สำ� หรบั เพาะกล้า

ขุยมะพรา้ ว วตั ถดุ บิ
ร่อนละเอียด
• เเกลบด�ำเเห้ง 1 ส่วน
ปุ๋ยหมกั • ป๋ยุ หมกั 1 ส่วน
• ขยุ มะพรา้ วรอ่ นละเอยี ด 1 สว่ น

นำ�วัสดุเพาะใส่ลงตะกรา้ พลาสตกิ วิธที �ำ

ใช้ไมท้ ำ�รอ่ งเปน็ แถว โรยเมลด็ ตามรอ่ ง 1. น�ำวสั ดเุ พาะใสล่ งตะกรา้ พลาสตกิ
กลบดินแลว้ รดน�ำ้ ให้ชมุ่ ความลึก 8-10 เซนติเมตร ประมาณ 3-4
ของตะกรา้

2. ใชไ้ มไ้ อศกรมี หรอื ไมบ้ รรทดั ท�ำรอ่ ง
เป็นแถว (ให้กะความลึกประมาณขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางเมลด็ คณู สอง)

3. โรยเมล็ดตามร่องบางๆ กลบดิน
แลว้ รดนำ้� ใหช้ มุ่ น�ำไปวางในทร่ี ม่ ควรคลมุ
ตาข่ายป้องกันสัตว์ท่ีจะมาคุ้ยเขี่ยหรือ
กดั กนิ เมลด็ ประมาณ 5-7 วนั เมลด็ จะงอก
เปน็ ต้นกลา้

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 21

ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ืช”

4. ย้ายกล้าท่ีมีใบเล้ียง 1 คู่ ลงถาดหลุมท่ีเตรียมวัสดุเพาะไว้เรียบร้อยแล้ว (หรือหาก
ปลูกลงตะกร้าในระยะไม่ถ่ีนัก ก็อาจปล่อยให้ต้นผักเติบโตต่อจนมีใบจริง แล้วจึงค่อยย้าย
ลงแปลงปลูกได้เลย) ต้องระมัดระวัง ย้ายกล้าอย่างเบามือ ให้จับท่ีปลายใบเล้ียงแล้วใช้ไม้
ปลายแหลมกดลงดา้ นข้าง คอ่ ยๆ ดงึ ตน้ ขน้ึ มา

5. เมื่อย้ายลงถาดเพาะ ให้วางไว้ในบริเวณท่ีแสงส่องถึง แต่ไม่แรงจนเกินไป ประมาณ
2 สปั ดาห์ เม่ือกล้าผกั มีใบจรงิ แลว้ จึงย้ายลงแปลงปลกู ต่อไป

ย้ายกลา้ ทม่ี ีใบเล้ยี ง 1 คู่
ลงถาดหลุมท่เี ตรียมวัสดเุ พาะไว้

วางไว้ในทีแ่ สงส่องถงึ
ประมาณ 2 สปั ดาห์

เมอ่ื กลา้ ผกั มใี บจริงแลว้
จึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป

การท�ำวัสดุเพาะกล้าน้ัน อินทรียวัตถุต่างๆ อาจมีเชื้อราท่ีท�ำให้เกิดโรคเน่าคอดิน ซึ่งมัก
เกิดกับพืชท่ีก�ำลังงอกในช่วง 7 วันเเรก อาการของพืชจะสังเกตเห็นต้นมีอาการหักงอ บริเวณ
โคนจะมสี ีด�ำของเชอ้ื ราชนิดนี้ วธิ ีการปอ้ งกันจะต้องท�ำการพาสเจอไรซด์ ินเพาะกล้า ดังน้ี

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

22 ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พนั ธุ์พชื ”

1. น�ำดินเพาะกล้าบรรจุใส่ถุง นำ�ดินเพาะกล้าบรรจใุ ส่ถงุ พลาสตกิ ใส
พลาสติกใส ถุงละ 10 กโิ ลกรัม ตากเเดดเป็นเวลา 7 วนั

2. น�ำถุงบรรจุดินเพาะกล้ามา ระหว่างตากเเดดใหพ้ ลิกกลบั ถงุ
ตากเเดดเป็นเวลา 7 วัน ใหโ้ ดนเเดดด้านละเทา่ ๆ กนั

3. ในช่วงระหวา่ ง 7 วนั ใหพ้ ลกิ เมื่อครบ 7 วัน น�ำ ดนิ
กลับถุงให้โดนเเดดด้านละเท่าๆ กัน เพาะกลา้ ไปใช้ หรือเกบ็
ให้เเสงเเดดฆ่าเชื้อราหรือเเบคทีเรีย
ที่อาจท�ำใหเ้ กดิ โรคเน่าคอดนิ ได้ ในท่ไี ม่โดนเเสงเเดด

4. เมอ่ื ครบ7วนั น�ำดนิ เพาะกลา้
ไปใช้หรือเกบ็ ในท่ไี มโ่ ดนเเสงเเดด

กล้าผักที่เริ่มมีใบจริงงอกมา
เมื่อใบจริงเริ่มเติบโตแข็งแรงและ
แทนใบจริงคู่ใหม่ จึงน�ำไปย้ายลง
แปลงปลูกได้ กล้าผักท่ีย้ายออกมา
จากถาดหลุมจะเห็นรากต้นกล้า
เต็มแน่นในวัสดุปลูก ย้ายกล้าผัก
ท่ีมีใบเล้ียง 1 คู่ จากตะกร้ามาลง
ถาดหลุม หลุมละ 1 ต้น ให้มีพื้นที่
เติบโตเป็นต้นกล้าที่พร้อมจะลง
แปลงปลูกต่อไป

ขอขอบคณุ www.baanlaesuan.com

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 23

ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พันธพ์ุ ืช”

เพาะเมล็ดพันธุร์ ะบบปดิ

ไมต่ ้องใช้ดิน งา่ ยๆ ดว้ ยตนเอง

ในการเพาะเมล็ดพันธุ์นั้น ท�ำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีเพาะ
โดยไมใ่ ชด้ นิ นี้มขี น้ั ตอนทง่ี า่ ยไมซ่ บั ซอ้ นน�ำไปดดั แปลงไดห้ ลากหลาย
ทง้ั ยงั ใช้อุปกรณ์ท่หี าได้ในบา้ นเรือนอกี ด้วย

กระดาษทิชชู

กลอ่ งพลาสติก
คีม

อุปกรณ์

• กระดาษทิชชู เลือกแบบไม่มีสารเจือปนใดๆ เช่น น�้ำหอม
สารฟอก อ่ืนๆ

• กล่องพลาสติกใสมีฝาปิด เน่ืองจากต้องเก็บกักความช้ืน
ไว้ด้วยฝาปดิ มดิ ชิด

• คมี ถ้าไม่มี ใช้มอื ท่สี ะอาดของตัวเอง
(เพ่ือป้องกนั เมลด็ พนั ธุ์เกดิ เช้ือรา)

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

24 ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ืช”

นาํ กล่องมาทําความสะอาด การเพาะเมล็ดในระบบปิดวิธีนี้ จะเน้นท่ี
แล้วใส่กระดาษทิชชูลงไป น้ำ� และกระดาษทิชชูเท่านนั้ ไม่มีปัจจัยอืน่ เขา้
มาเกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการเพาะวิธีนี้
ใส่น�ำ้ หรอื ฉดี น�ำ้ ใหช้ ่มุ หากไม่ศึกษาใหเ้ ข้าใจ จะทําให้เมลด็ พันธ์ุเกิด
เช้ือราหรือเน่าในภายหลังจากการปนเปื้อน
ไม่ว่าจากภายนอกหรือจากเน้ือที่ย่อยสลาย
ของพืชผักผลไม้ที่ทําการเพาะนั้นๆ อาจมา
จากการกําจัดท้ิงได้ไม่หมด แต่ปัญหาเช้ือรา
ทางออกง่ายมาก น่ันคือ การเพาะเมล็ดโดย
การแชน่ ้�ำ

วิธีทำ�

1. ให้นํากล่องมาทําความสะอาดแล้ว
ใช้กระดาษทิชชูหรือวัสดุเพาะอื่นๆ ก็ได้ เช่น
สําลี กระดาษ หนังสือพิมพ์ กาบใยมะพร้าว
หรือจะเป็น “วัสดุท่ีมีคุณสมบัติอุ้มน�้ำได้ดี”
และไมม่ เี ชอ้ื โรคหรือวสั ดทุ ่ียอ่ ยสลายได้ ใสล่ ง
ในกลอ่ งใหม้ คี วามสงู ประมาณ 1-2 เซนตเิ มตร
หรือหากไม่มีเลย ก็อาจใส่พอให้มีการรักษา
ความชนื้ ภายในกล่องได้นานๆ

2. ใส่น�้ำให้ท่วม กรณีมีสเปรย์ฉีดน�้ำ
หรือหัวฉีดฟอกก้ี ฉีดให้ชุ่ม หากกะไม่ได้ว่า
ต้องฉีดประมาณไหน แนะนําฉีดให้ชุ่มโชก
ไปเลย แลว้ ค่อยเทน้ำ� สว่ นเกินท้งิ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 25

ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธ์ุพชื ”

นาํ เมลด็ พนั ธ์ุลงเรยี งสําหรบั เพาะ 3. นําเมลด็ พนั ธต์ุ า่ งๆ ลงเรยี งสําหรบั เพาะ
กันเลย เสร็จแล้วตรวจดูส่ิงแปลกปลอม หาก
ไมม่ อี ะไรกป็ ดิ ฝาใหส้ นทิ กนั การระเหยของนำ�้
ในกล่อง หากกล่องปิดสนิท ยิ่งเป็นขวดหรือ
กล่องใสๆ จะสามารถดูการเปล่ียนแปลงได้
จากภายนอก ท้ิงไว้ไม่ต้องเปิดฝา เน่ืองจาก
การเปิดฝาอาจทําให้เกิดเชื้อรา หรือทําให้
กระทบกับระยะเวลาการงอกได้ ควรปิดฝา
วางไวใ้ นทไ่ี มโ่ ดนแสงแดด รอเมลด็ งอก

สําหรับผู้ท่ีทดลองแล้วประสบปัญหาข้ึนราหรือเน่า คําถามที่ว่ากินผลไม้เสร็จแล้ว
เอาเมล็ดมาเพาะเลยได้หรือไม่?...ตอบว่าได้ แต่ควรแกะเน้ือที่หุ้มเมล็ดออกให้หมดก่อน
เช่น อินทผลัม กระท้อน ทุเรียน พวกน้ีต้องเอาเน้ือหุ้มเมล็ดออกให้หมดก่อน ไม่อย่างนั้นหาก
ทําการเพาะเมลด็ โดยไมใ่ ช้ดินแบบนี้ ก็อาจจะเจอเชอ้ื ราชนิดตา่ งๆ ภายในกลอ่ งได้

ปจั จัยในการงอกของเมล็ด นำ�้

การมีชีวิตของเมล็ดนับเป็นปัจจัยสําคัญในการเพาะเมล็ด อุณหภูมิ แสง
การที่เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้น้อยอาจเน่ืองจากการเจริญเติบโตของเมล็ด
ไม่เหมาะสมขณะท่ียังอยู่บนต้นแม่ หรือเน่ืองจากได้รับอันตราย ออกซิเจน
ขณะทําการเก็บเกี่ยว หรือกระบวนการในการผลิตเมล็ดไม่ดีพอ
สภาพแวดลอ้ มในขณะเพาะเมลด็ ตอ้ งอยใู่ นทเ่ี หมาะสม ไมว่ า่ จะเปน็
นำ�้ แสง อณุ หภมู ิ ออกซเิ จน แตก่ ารเพาะเมลด็ แบบไมใ่ ชด้ นิ สามารถ
ควบคุมน้�ำ แสง และออกซิเจนได้ ซึ่งข้ันตอนการเพาะงอกน้ี พืชไม่
จําเปน็ ต้องใช้ออกซเิ จนและแสงในการเติบโตมากนกั

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

26 ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พันธพ์ุ ืช”

การนําเมลด็ ไปแชน่ ำ�้ จะชว่ ยใหเ้ มลด็ พชื งอกไดเ้ รว็ กวา่ ปกติ ทงั้ นี้
เพราะนำ้� จะทําใหเ้ ปลอื กหมุ้ เมลด็ ออ่ นตวั จงึ ชว่ ยใหเ้ มลด็ งอกไดเ้ รว็ ขนึ้
น้�ำท่ีใช้แช่อาจจะเป็นน�้ำอุ่นหรือน�้ำเย็น และช่วงเวลาการแช่จะช้า
หรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดพืช พืชบางชนิดใช้เวลานานถึง 1-2 วัน บาง
ชนดิ ใชเ้ วลาประมาณ 6-12 ชว่ั โมง ท้งั น้ี สังเกตจากขนาดของเมล็ดที่
ขยายใหญ่ เต่งขึ้น หรือเปลือกหุ้มเมล็ดนิ่มก็นําไปเพาะได้ พืชที่นิยม
ใช้วิธนี ี้ ได้แก่ นอ้ ยหนา่ มะขาม มะละกอ หนอ่ ไม้ฝรัง่ ขา้ ว ผักชี ฯลฯ

สําหรับเมล็ดที่มีรากงอกแล้วขนาดไหนถึงจะน�ำออกมาเพาะลง
ถงุ เพาะชําได้ ซง่ึ อยทู่ คี่ วามชอบ แตห่ ากใหต้ น้ ออ่ นโตในกลอ่ ง จําเปน็
ต้องมีสารอาหารและแสงแดด ซึ่งการเติบโตในภาชนะปิดสนิทนั้น
ไม่เหมาะต่อการเติบโตของต้นอ่อน จึงจําเป็นต้องมีการย้ายต้นอ่อน
ในกรณีที่มีรากยาวเกินขนาดความสูงของกล่อง หรือคิดว่ารากคงไม่
แทงทะลุวัสดุปลูกแล้ว หรือต้นอ่อนบิดเบี้ยวและพยายามที่จะชูยอด
ข้นึ สงู แลว้ จึงน�ำออกมาปลูกในถุงปลกู ได้

พืชที่ควรน�ำ เมล็ดแชน่ ้ำ�ก่อนนำ�ไปเพาะ

หน่อไมฝ้ ร่งั

มะละกอ

น้อยหนา่

นาํ เมลด็ ไปแชน่ �ำ้ จะชว่ ยใหเ้ มล็ด ขา้ ว มะขาม ผกั ชี
พชื งอกได้เรว็ กวา่ ปกติ

ขอขอบคุณ www.kasetorganic.com

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 27

ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธพ์ุ ืช”

หลากหลายวิธี

คดั พนั ธขุ์ า้ วกลอ้ งไวใ้ ช้

สถานการณ์ในปัจจุบัน บริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่
กําลังเข้ามามีบทบาทในการควบคุมเร่ืองการพัฒนาเทคโนโลยี
เมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวท่ีเป็นปัจจัยการผลิตท่ีสําคัญ
ของชาวนา ความรู้ต่างๆ เก่ียวกับพันธุ์ข้าวกําลังถูกถ่ายโอนไปสู่
ธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้น เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกถูกผลิตและจําหน่าย
โดยบริษัทเมลด็ พนั ธุ์ ชาวนาต้องซ้ือเมล็ดพันธใุ์ นราคาที่แพงขน้ึ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

28 ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พันธพ์ุ ืช”

นอกจากน้ี พันธุ์ข้าวท่ีพัฒนาขึ้นมักจะไม่เหมาะสมกับระบบการทํานาของชาวนา ทําให้
ชาวนาต้องปรับระบบการทํานาของตนไปตามพันธุ์ข้าวที่ตนเองปลูก กระทบต่อวิถีชีวิตของ
ชาวนา ในขณะท่ีพบว่าความหลากหลายของพันธุ์ข้าวท่ีชาวนาลดลง ทําให้การทํานามีความ
เส่ียงมากขึ้นท่ีจะเกิดโรคระบาดข้าวได้ง่าย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยสําคัญท่ีจะต้องส่งเสริม
และพฒั นาความรขู้ องชาวนาใหส้ ามารถพง่ึ ตนเองไดใ้ นเรอื่ งเมลด็ พนั ธ์ุ รวมทงั้ การสนบั สนนุ ให้
เกดิ ระบบการผลติ ท่ีเหมาะสม สอดคล้องกับวถิ ีชวี ติ ของชาวนา ทําอย่างไรจึงจะได้ข้าวพนั ธดุ์ ี

• จะตอ้ งมกี ารเกบ็ รวบรวมพนั ธใ์ุ หม้ ี
ความหลากหลาย โดยเฉพาะพันธุ์ท่ีมีการ
ปรบั ตวั ไดด้ ีในพ้นื ท่ีน้นั ๆ

• การเกบ็ รวบรวมจากภายนอกอาจ
ใช้วิธีการแลกเปล่ียนกับเครือข่ายชาวนา
หรอื จากธนาคารเชอื้ พันธ์ุ

• จะตอ้ งมกี ารปลกู ทดสอบพนั ธเ์ุ พอื่
ศกึ ษาลกั ษณะประจําพนั ธ์ุ คดั เลอื กไวเ้ ปน็
พอ่ แมพ่ นั ธ์ุต่อไป

• จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและ
มีทัศนคติท่ีดีต่อการปรับปรุงพันธุ์ ว่าจะ
ทําการปรับปรุงพันธไุ์ ปเพอื่ อะไร

• ตอ้ งเขา้ ใจวา่ การผสมพนั ธเ์ุ ปน็ การ
เตมิ ลกั ษณะตา่ งๆ เขา้ ไป เพอื่ สรา้ งตวั เลอื ก
ทจ่ี ะเกิดในชัว่ ลกู ชั่วหลานใหม้ ากขน้ึ

• จะตอ้ งมกี ารคดั เลอื กพนั ธห์ุ ลงั การ
ผสมเพ่ือหาพันธุ์ท่ีต้องการ ในข้ันตอนนี้
จะใช้เวลาพอสมควรในการคดั พันธข์ุ ้าว

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 29

ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมลด็ พันธ์พุ ชื ”

การคัดพันธุ์ข้าวมีหลายวิธี การคัด การแกะเปลอื กดว้ ยมอื โดยแกะจากดา้ นหาง
พันธุ์ข้าวแบบด้ังเดิมที่ชาวนาเคยทํา คือ ของเมลด็ ขา้ ว เพอ่ื ไมใ่ หจ้ มกู ขา้ วถกู ทาํ ลาย
การคัดเลือกข้าวจากแปลงนาที่ไม่มีโรค
และแมลงรบกวน ไมม่ ขี า้ วพันธอุ์ น่ื ขึน้ ปน เลอื กขา้ วกลอ้ งเมลด็ สมบรู ณ์
และการคัดเลือกเก็บรวงท่ีสมบูรณ์ไว้ ตรงตามสายพนั ธ์ุ
สําหรับทําพันธุ์ แต่วิธีการดังกล่าวก็ยัง
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพของ
เมลด็ ขา้ ว เชน่ ปญั หาทอ้ งไข่ ความมนั วาว
เมล็ดร้าว เมล็ดบิดเบ้ียว ข้าวปน เป็นต้น
จึงมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ข้ึนมาเพ่ือ
แก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเทคนิคการ
คัดพันธุ์ข้าวกล้องท่ีจะเรียนรู้เป็นเทคนิค
ใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิข้าวขวัญ
จากการทดลองในพ้ืนท่ีของมูลนิธิฯ และ
เครือข่ายชาวนากลุ่มแสงตะวัน จังหวัด
พิจิตร พบว่าสามารถแก้ไขปัญหาเร่ือง
คณุ ภาพขา้ ว และสามารถเพมิ่ ผลผลติ ขา้ ว
ต่อพน้ื ทไ่ี ด้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

เรามาดวู ธิ กี ารคดั พนั ธ์ุ
จากขา้ วกลอ้ งกนั เถอะ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

30 ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พันธพ์ุ ชื ”

น�ำ ขา้ วเปลอื กไปสดี ว้ ย วธิ กี ารคดั พนั ธจ์ุ ากขา้ วกลอ้ ง
เครอ่ื งสขี า้ วกลอ้ ง และ
น�ำ ขา้ วกลอ้ งทส่ี ไี ดม้ าฝดั 1. การแกะข้าวกลอ้ งด้วยมือ

มขี นั้ ตอนดงั น้ี

• น�ำเมล็ดข้าวเปลือกสายพันธุ์
ที่ต้องการมาประมาณคร่ึง
กิโลกรัม ฝัดทําความสะอาด
เพื่อให้เมล็ตลีบออกไป แกะ
เปลือกด้วยมือ โดยแกะจาก
ด้านหางของเมล็ดข้าวเพ่ือ
ไมใ่ ห้จมูกข้าวถกู ทําลาย

• เลือกข้าวกล้องเมล็ดสมบูรณ์
ตรงตามสายพันธุ์ และเมล็ด
มีความมันวาว ไม่เป็นท้องไข่
หรือท้องปลาซิว ให้ใต้ฐานวน
ประมาณ 100 เมล็ด และนํา
เมล็ดข้าวกล้องท่ีคัดเลือกใช้
ไปเพาะเป็นตน้ กล้า

2. การกะเทาะดว้ ยเคร่ืองสีข้าว

มีขน้ั ตอนดงั น้ี

• นําเอาเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์
ท่ีต้องการมา 1-2 กิโลกรัม
จากนนั้ ทําความสะอาด เพอื่ ให้
เมลด็ ลบี ออกไป น�ำขา้ วเปลอื ก
ไปสดี ว้ ยเครอื่ งสขี า้ วกลอ้ ง และ

น�ำข้าวกลอ้ งท่ีสไี ดม้ าฝดั

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 31

ชดุ “ความรูใ้ นการเพาะเมล็ดพันธพุ์ ชื ”

• เลอื กขา้ วกลอ้ งเมลด็ สมบรู ณ์ นําเมลด็ ข้าวกล้องที่
ตรงตามสายพนั ธ์ุ และเมล็ด คดั แลว้ ใส่ใน
มีความมันวาว ไม่เป็นโรค
ไม่เป็นโรค ท้องไข่หรือท้อง ถุงพลาสติกแบบซปิ
ปลาซวิ ใหไ้ ดจ้ ํานวนทตี่ อ้ งการ
เตมิ น�ำ้ ลงไป
• น�ำเมลด็ ขา้ วกลอ้ งทคี่ ดั เลอื ก 2 ใน 3 ส่วน
ได้ไปเพาะเป็นตน้ กล้า
เปลยี่ นถา่ ยน�ำ้
3. การเพาะกล้าจากขา้ วกลอ้ ง ทกุ ๆ 2 วัน
วันที่ 3-4 วนั จะสังเกตเหน็ รากงอก
สามารถทําได้ 3 วธิ ี คือ ออกมา จากนน้ั น�ำ เมลด็ ทงี่ อก
ไปเพาะในแปลงเพาะตอ่ ไป
การเพาะกลา้ ในถงุ พลาสตกิ
• นําเมลด็ ข้าวกลอ้ งที่คดั แลว้
ใส่ในถุงพลาสติกแบบซิป
ใส่น�้ำสะอาดลงไปในอัตรา
สว่ น 2 ใน 3
• เปล่ียนถ่ายน�้ำทุกๆ 2 วัน
ประมาณ 3-4 วัน จะสังเกต
เหน็ รากและขา้ วงอกออกมา
จากเมลด็ ข้าว
• หลังจากนั้นนําเมล็ดท่ีงอก
ไปเพาะในแปลงเพาะต่อไป

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

32 ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธุ์พชื ”

เเเกลบดำ�หรือทรายหยาบ การเพาะกลา้ ในกระถาง

• น�ำแกลบดําหรือทรายหยาบ

ใส่ในกระถาง 3 ใน 4 ส่วน

เกลย่ี ให้เสมอกัน

น�ำ แกลบดาํ หรอื ทรายหยาบ • นําเมล็ดข้าวท่ีคัดไว้มาเพาะ
ใส่กระถาง 3 ใน 4 ส่วน
เกล่ยี ใหเ้ สมอกนั โรยเมล็ดข้าวให้สม�่ำเสมอ

น�ำแกลบหรอื ทรายหยาบโรย

ทบั หนา 1-2 เซนตเิ มตร และ

พรมนำ้� ใหช้ ้ืนพอประมาณ

โรยเมลด็ ขา้ วทค่ี ดั ไว้ • นํากระถางวางลงบนถาดรอง
ใหส้ ม�ำ่ เสมอ ใส่น้�ำลงไปในถาดรองเพื่อ

รักษาความชื้นและป้องกัน

มดเขา้ ทําลาย

• หมั่นตรวจรักษาระดับน้�ำใน

ถาดรอง ประมาณ 3 วัน

น�ำ แกลบหรอื ทรายหยาบ เมล็ดข้าวกล้องจะเริ่มมีราก
โรยทบั เพม่ิ อกี 1-2 งอกและเจริญเป็นต้นกล้า

เซนตเิ มตร และพรมน�ำ้ ใหช้ น้ื หลังนั้นประมาณ 7-10 วัน

นําต้นกล้าที่ได้ไปเพาะใน

แปลงขยายต่อไป

นาํ ถาดองมาวาง

แลว้ ใสน่ �ำ้ ลงไปในถาดรอง

เพอ่ื รกั ษาความชน้ื

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 33

ชุด “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พนั ธพุ์ ืช”

การเพาะกล้าในแปลงนา การเตรยี มแปลงเหมอื นกบั แปลงตกกลา้ ทว่ั ไป
• การเตรียมแปลงเหมือนกับ โรยแกลบดาํ
การเตรียมแปลงตกกล้า โรยเมลด็ ขา้ วกลอ้ ง
ทั่วไป ปรับเทือกให้เรียบ
สม่�ำเสมอ โรยแกลบดาํ หรอื ทรายหยาบใหท้ ว่ั ทง้ั แปลง
• โรยแกลบดําหรือทราย แลว้ โรยเมลด็ ขา้ วกลอ้ ง จากนน้ั โรยทบั ดว้ ย
หยาบ หนาประมาณ 1 น้ิว
ให้ทั่วทั้งแปลง โรยเมล็ด แกลบด�ำ หรอื ทรายหยาบอกี ครง้ั
ข้าวกล้องท่ีคัดแล้วให้ทั่ว
ทง้ั แปลง โรยทบั ดว้ ยแกลบ
หรือทรายหยาบอีกคร้ัง
หนาประมาณ 1 เซนตเิ มตร
วดั น�ำ้ ให้ชุ่มทง้ั แปลง
• ทํารอ่ งนำ้� รอบๆ แปลงเพาะ
เพ่ือรักษาความชื้น และ
ป้องกนั มดเขา้ ทําลาย
• หลังจากการเพาะประมาณ
25 วนั สามารถถอนกลา้ ไป
ปกั ด�ำไดต้ ามปกติ

ขอขอบคณุ มลู นิธขิ ้าวขวญั ทาํ รอ่ งน�ำ้ รอบแปลงเพาะ เพอ่ื รกั ษาความชน้ื

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

34 ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพันธ์พุ ืช”

คดั เลอื กพนั ธข์ุ า้ วใหบ้ รสิ ทุ ธ์ิ

ไวใ้ ช้ มั่นใจ แทแ้ น่นอน

การคดั พนั ธบ์ุ รสิ ทุ ธิ์ เปน็ การคดั เลอื กพนั ธข์ุ า้ วจากพนั ธ์ุ
ที่มีอยู่เดิม โดยคัดเลือกจากต้นข้าวที่มีลักษณะตามสายพันธุ์ที่ดี
ท่สี ุด ขณะทีม่ ีรวงสกุ พร้อมเก็บเกีย่ ว โดยคดั เลือกมาจากตน้ ขา้ วเพียง
กอเดยี ว ซงึ่ วธิ กี ารนไ้ี มไ่ ดก้ อ่ ใหเ้ กดิ ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมใหม่ ๆ เพยี ง
แตเ่ ปน็ การคดั เลอื กหาลกั ษณะทางพนั ธกุ รรมทด่ี ที สี่ ดุ ทป่ี รากฏอยแู่ ลว้

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 35

ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพันธ์พุ ชื ”

• คดั เลอื กตน้ ขา้ วทม่ี ลี กั ษณะโดยรวม คัดเลือกตน้ ขา้ วทีม่ ลี กั ษณะตรงตาม
ตรงตามสายพันธุ์ที่คัดไว้จํานวนหน่ึง แล้ว สายพนั ธ์แุ ต่ละกอแยกกันไว้
เกบ็ เกย่ี วรวงขา้ วแตล่ ะตน้ หรอื แตล่ ะกอแยก
กนั ไว้ วดั ความยาวของรวงและนบั เมลด็ ขา้ ว นอกน้นั ถอนทงิ้ ไป
ในรวงไวด้ ว้ ย ผง่ึ เมลด็ ใหแ้ หง้ สนทิ เกบ็ ไวร้ อ
ฤดูกาลปลูกต่อไป เก็บรวงข้าวรวมกัน ผงึ่ เมลด็ ให้แหง้
เกบ็ ไวร้ อฤดกู าลปลกู ตอ่ ไป
• นําเมลด็ พนั ธข์ุ า้ วทเี่ กบ็ ไวม้ าปลกู -ด�ำ
เปน็ แถวในพน้ื ที่ 2X4 เมตร หรือกว้างกวา่ น้ี
รวงละแถวหรอื สองแถว (1 แปลง/รวง) คอย
คดั เลอื กตน้ ขา้ วทม่ี ลี กั ษณะโดยรวมตรงตาม
สายพนั ธท์ุ ด่ี ที ส่ี ดุ ไว้ นอกนนั้ ถอนทง้ิ ไป แลว้
เก็บรวงข้าวท้ังหมดรวมกัน ผ่ึงเมล็ดให้แห้ง
สนทิ เกบ็ ไว้รอฤดูกาลปลูกต่อไป

• นําเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดไปปลูกด�ำลง
ไปในแปลงคัดพันธุ์ขนาด 2x4 เมตร คอย
ดูแลและคัดเลือกต้นข้าวท่ีมีลักษณะโดย
รวมตรงตามสายพันธุ์ท่ีดีท่ีสุดไว้ นอกนั้น
ถอนทิ้งไป แล้วเก็บเกี่ยวข้าวทั้งหมดเอาไว้
ปลกู ขยายพนั ธใ์ุ หไ้ ดจ้ ํานวนมากพอทําพนั ธ์ุ
ต่อไป ดังนั้น เราก็จะได้พันธุ์ข้าวปลูกท่ีมี
คุณภาพและบรสิ ทุ ธ์ิ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

36 ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธพุ์ ชื ”

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวใหม่ให้มีลักษณะ
โดยรวมตรงตามสายพันธุ์ท่ีดีมีคุณภาพและ
บริสุทธิ์ ให้สงั เกตดังนี้

1. อัตราการเจริญเติบโตเร็ว ช้า แตกกอ
ออกมาน้อย หรือแตกกอไม่รู้จบจน
ตงั้ ทอ้ งกม็ ี

2. ต้นใหญ่ เล็ก ฟ้า สูง ปล้องยาว
ตน้ แขง็ ออ่ น

3. ใบยาว ส้ัน ต้ัง ตก กว้าง เขียวเข้ม
จาง กาบใบแน่นหลวม

4. ตอกใหญ่ เล็ก ออกพร้อมกันหรือ
ไมพ่ ร้อมกัน ห่าง ตัง้ เอยี ง

5. รวงใหญ่ เล็ก ยาว สนั้ เมลด็ ตก ไมต่ ก
6. เมล็ดใหญ่ เล็ก ยาว ส้ัน กลม แบน
สเี ปลอื กเมลด็ ตรงตามสายพนั ธ์ุ สขี อง
ฟางขา้ วเข้ม จาง อ่อน
7. อายุการเก็บเก่ียว เลือกต้นพันธุ์ที่มี
เมล็ดสุก แก่ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน
เอาไว้เท่าน้ัน ต้นไหนสุกก่อน-หลัง
ไม่พรอ้ มกัน ใหถ้ อนท้ิง

ขอขอบคณุ มลู นธิ ิขวญั ข้าว

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 37

ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธุ์พืช”

เปดิ เคล็ดลบั

ผลติ เมลด็ พนั ธผ์ุ กั อนิ ทรยี ์

การผลติ พชื ผกั ในระบบเกษตรอนิ ทรยี น์ นั้ ความตอ้ งการ
พนั ธพ์ุ ชื จะมลี กั ษณะไมแ่ ตกตา่ งจากปกตมิ ากนกั แตล่ กั ษณะของพนั ธ์ุ
พืชเพ่ือระบบเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องเป็นพันธุ์พืชท่ีหาอาหารเก่ง
ปรับตวั ตอ่ สภาพแวดลอ้ มท่เี ปล่ียนแปลง และต้านทานโรค-แมลงได้
มากกวา่ พนั ธ์พุ ืชปกติทว่ั ไป การไดม้ าซ่งึ พันธพุ์ ชื ทีม่ ีลกั ษณะดังกล่าว
จะมีขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ซ่ึงอาจจะต้องใช้เวลานาน ใช้งบ
ประมาณสงู อกี ทง้ั ตอ้ งใชบ้ คุ ลากรทมี่ คี วามรหู้ ลายดา้ นมาประกอบกนั
ซ่ึงสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการน�ำพันธุ์พืชพื้นถ่ินที่เกษตรกรใช้
อยู่เดมิ มาพฒั นาต่อยอดใหม้ ลี กั ษณะท่ีต้องการ

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

38 ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมลด็ พนั ธุ์พชื ”

ต้องรูว้ า่ เปน็ พืชผสมตวั เองหรอื ผสมขา้ ม การผลิตเมลด็ พันธ์ุ
พืชผสมตัวเอง
การผลติ เมลด็ พนั ธใ์ุ นระบบเกษตรอนิ ทรยี ์
ตระกลู พรกิ -มะเขอื -ถวั่ มีหลักการไม่แตกต่างจากการผลิตเมล็ดพันธุ์
โดยท่ัวไป เพียงแต่พื้นท่ีในการผลิตเป็นพื้นที่
ตระกูลแตงเป็นพชื ผสมข้าม เกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะมีปัจจัยบางอย่างโดย
เฉพาะธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในช่วง
ตอ้ งรวู้ า่ พชื ชนิดไหนออกดอกเม่อื ไหร่ ของการผลิตเมล็ดพันธุ์ การควบคุมโรคที่อาจ
จะติดไปกับเมล็ด การควบคุมแมลงท่ีจะท�ำ
สายพันธท์ุ ีผ่ ลติ เมลด็ ควรปลูกใหห้ ่างจาก อันตรายกับต้นพืช และต้องเตรียมดินให้อุดม
พนั ธอ์ุ น่ื เพอ่ื ปอ้ งกนั ไมใ่ หเ้ กดิ การผสมกนั สมบูรณท์ ีส่ ดุ

ถอนพนั ธ์ปุ นหรอื พันธุท์ ่ีมลี กั ษณะ การผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการเพิ่มปริมาณ
ผดิ เพย้ี นจากพันธเ์ุ ดิมออกจากแปลง เมลด็ พนั ธโ์ุ ดยคงพนั ธกุ รรมทต่ี อ้ งการ และผลติ
เมล็ดให้มีคุณภาพท่ีดี คือ เป็นเมล็ดที่มีความ
แข็งแรง มีความงอกสูง เก็บรักษาไว้ได้นาน
การที่จะท�ำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชใด จะต้อง
รูจ้ ักพชื ชนดิ น้ันใหด้ พี อสมควร อาทิ

• ลักษณะการผสมเกสร ต้องรู้ว่าเป็น
พืชผสมตัวเองหรือผสมข้าม เช่น พืชตระกูล
พริก-มะเขือ พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชผสมตัวเอง
พืชตระกูลแตง เปน็ พืชผสมขา้ ม เป็นต้น

• การออกดอก จะต้องรวู้ า่ พืชชนดิ น้ัน
ออกดอกเมอ่ื ไหร่ มปี จั จยั ใดบา้ งทที่ �ำใหพ้ ชื นน้ั
ออกดอกหรอื ไม่ออกดอก

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 39

ชุด “ความรูใ้ นการเพาะเมล็ดพันธ์ุพืช”

• การป้องกันมิให้สายพันธุ์อ่ืนๆ มาผสม ช่วงเวลาการปลกู ท่เี หมาะสม
กบั สายพนั ธท์ุ ที่ �ำการผลติ เมลด็ ซง่ึ สามารถท�ำได้ ควรหลีกเลี่ยงไม่ใหช้ ่วงเก็บเก่ียว
โดยการปลูกให้ห่างจากพันธุ์อ่ืนๆ ให้มากที่สุด
เท่าท่ีจะท�ำได้ หรืออาจจะใช้วิธีการปลูกเหล่ือม อยใู่ นช่วงฤดูฝน
เวลา เพ่ือไม่ให้ออกดอกพร้อมกัน หรือการกาง
ม้งุ การใชถ้ ุงครอบ เพื่อป้องกันลมและแมลง เลอื กชว่ งเวลาเกบ็ เกย่ี วเมลด็ ทเ่ี หมาะสม

• การถอนพันธุ์ปนหรือพันธุ์ที่มีลักษณะ
ผิดเพ้ียนไปจากพันธุ์เดิมออก ซึ่งต้องท�ำทุกๆ
ระยะของการเจรญิ เตบิ โต ตอ้ งน�ำออกจากแปลง
โดยวธิ กี ารถอน ซึ่งถ้าใช้วธิ ีการตัด อาจจะมีการ
แตกยอดออกมาใหมไ่ ด้อกี

การเกบ็ เกยี่ วเมลด็ พันธุ์

ซ่ึงเป็นขั้นตอนท่ีส�ำคัญขั้นตอนหนึ่งใน
ขบวนการผลติ เมลด็ พนั ธ์ุ จะตอ้ งเกบ็ เกยี่ วใหถ้ กู
เวลาและมวี ธิ กี ารทถ่ี กู ตอ้ ง ซงึ่ จะมผี ลตอ่ ปรมิ าณ
และคุณภาพของเมลด็ มีส่งิ ทคี่ วรค�ำนงึ ถงึ คือ

• ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม พืชหลาย
ชนิดปลูกเพ่ือผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ตลอดท้ังปี
แต่ควรหลีกเล่ียงท่ีจะให้ช่วงการเก็บเกี่ยวอยู่ใน
ชว่ งฤดฝู น เพราะนอกจากฝนจะเปน็ อปุ สรรคใน
การเก็บเก่ียวแล้ว ความชื้นยังมีผลต่อคุณภาพ
เมล็ด และกอ่ ใหเ้ กิดโรคกับเมล็ดได้งา่ ย

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

40 ชุด “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พันธุ์พชื ”

ฉีดพ่นหรอื ราดสารชีวภาพ • ชว่ งเวลาเกบ็ เกยี่ วเมลด็ ทเ่ี หมาะสมคอื
ควบคุมการแพรร่ ะบาด ช่วงที่มีปริมาณและคุณภาพเมล็ดดีที่สุด โดย
การเกบ็ ทไ่ี ม่ออ่ นหรอื แกจ่ นเกนิ ไป หรอื ช้าเกนิ
จนเมล็ดรว่ งหมด



โรคของเมลด็ พนั ธผุ์ ัก

เป็นปัญหาท่ีพบอยู่เสมอ ในกรณีการ
ผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์จะพบปัญหาจากการ
ที่โรคเข้าท�ำลายต้นพืช ท�ำให้ไม่สามารถผลิต
เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพได้ ดังน้ันจะต้องมีการ
ควบคมุ โรคตา่ งๆ ในแปลงผลติ เมลด็ พนั ธ์ุ โดย
มหี ลกั การปอ้ งกนั การเกดิ โรคในเมลด็ พนั ธ์ุ คอื

1. เลือกสถานท่ีผลิตเมล็ดให้เหมาะสม
ต่อการเจริญเติบโตของพืชและพัฒนาการ
ของเมลด็ ไม่เป็นแหลง่ ระบาดของโรค

2. หมนั่ ตรวจดแู ปลงถา้ พบอาการของโรค
ใหก้ �ำจัดออกทนั ที

3. ฉีดพ่นหรือราดสารชีวภาพควบคุม
การแพร่ระบาด เช่น เช้ือราบิวเวอเรียป้องกัน
แมลง หรือเช้ือราไตรโคเดอร์มาปอ้ งกันโรคพืช
เป็นตน้

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 41

ชดุ “ความรู้ในการเพาะเมลด็ พนั ธุพ์ ืช”

เคลด็ ลบั เมอ่ื เกบ็ เมลด็ พนั ธม์ุ าแลว้ กอ่ นการเกบ็ รกั ษาตอ้ งมกี ารลดความชน้ื
ให้เหมาะสมส�ำหรับพืชแต่ละชนิด โดยท่ัวไปควรลดความชื้นภายในเมล็ดให้เหลือ
ไม่เกิน 10% น�ำไปเก็บรักษาไว้ในภาชนะท่ีสะอาดและป้องกันความช้ืน ควรมี
ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 45-50% อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส
แต่อยา่ งไรก็ตาม การหาสถานทีซ่ ง่ึ มีความช้ืนและอุณหภูมิต่�ำเป็นไปได้ยาก ดงั น้ัน
เกษตรกรสามารถเก็บรกั ษาเมลด็ ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่ต้องผนึกภาชนะบรรจุ
ให้มดิ ชดิ อย่าใหอ้ ากาศผา่ นเข้าได้ จะท�ำใหส้ ามารถเกบ็ รกั ษาเมล็ดพนั ธ์ไุ ว้ไดน้ าน

การปรับปรุงสภาพเมลด็ พันธ์ุ

เมื่อท�ำการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์แล้ว จะ
ต้องท�ำการน�ำเมล็ดออกจากผลหรือฝัก เช่น
แตงกวา ถั่วฝักยาว คะน้า เป็นต้น ในพืชบาง
ชนิด เมล็ดสามารถหลุดร่วงได้ทันทีเม่ือแก่
เช่น ผักกาดหอม ตั้งโอ๋ เป็นต้น สิ่งที่ต้องการ
คือ การคัดแยกเมล็ดออกจากส่ิงเจือปนต่างๆ
เช่น เปลือก กิ่ง ก้านต่างๆ และจะต้องแยก
เมล็ดอ่อนออกด้วย เมล็ดพันธุ์พืชผักบางชนิด
ฝกั จะแหง้ เมอ่ื แกพ่ รอ้ มเกบ็ เกยี่ ว เชน่ ถวั่ ตา่ งๆ
ผกั กาดหอม คะน้า กวางตงุ้ และบางชนดิ เม่ือ
แก่เมล็ดจะเปียก เช่น แตงกวา มะเขือ มะระ
เปน็ ตน้ จงึ ท�ำใหก้ ารจดั การมคี วามแตกตา่ งกนั

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

42 ชดุ “ความร้ใู นการเพาะเมลด็ พันธุพ์ ืช”

นำ�มาบม่ ไวใ้ นรม่ 3-7 วัน กรณที เี่ มลด็ แหง้ อยา่ งถว่ั ฝกั ยาว จะท�ำ
และท�ำ การแคะเมล็ดออกจากผล การเก็บเก่ียวฝักท่ีแก่เต็มท่ี มีลักษณะพอง
เปล่ียนสีเป็นสีน้�ำตาลอ่อน แต่ฝักยังไม่แห้ง
น�ำ มาหมกั ไว้ 1 วนั ลา้ งเมลด็ ใหส้ ะอาด กรอบ น�ำมาตากแดด 2-3 วัน จากน้ันน�ำมา
โดยเมล็ดท่สี มบูรณ์จะจมน้�ำ นวดแยกเมล็ด โดยใส่กระสอบแล้วทุบเบาๆ
ท�ำความสะอาด แล้วน�ำไปตากอีกประมาณ
จากน้นั นำ�เมล็ดออกผึง่ ในร่มจนหมาด 1-2 วัน จนเมลด็ แหง้ ความช้ืนประมาณ 10%
จึงนำ�ออกตากแดดอีก 3-4 วนั น�ำไปเก็บไวใ้ นภาชนะอับลม

กรณีเมล็ดเปียกอย่างแตงกวา ผลที่
เกบ็ เก่ยี วไดจ้ ะมสี ีเหลอื ง ท�ำการเกบ็ เกย่ี วแล้ว
น�ำมาบม่ ไวใ้ นรม่ 3-7 วนั ท�ำการแคะเมลด็ ออก
จากผล น�ำมาหมกั ไว้ 1 วนั ลา้ งเมลด็ ใหส้ ะอาด
โดยเมล็ดท่ีสมบูรณ์จะจมน้�ำ ส่วนเมล็ดท่ีลอย
จะเป็นเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ให้ท้ิงไป จากน้ันน�ำ
เมล็ดออกผ่ึงในท่ีร่มหรือท่ีมีแสงแดดอ่อนๆ
จนหมาด จึงน�ำออกตากแดด 3-4 วัน และ
หม่ันพลิกกลับเมล็ด 2-3 ครั้งต่อวัน สิ่งท่ีต้อง
ระวงั คอื อยา่ ตากเมลด็ บนภาชนะทเ่ี ปน็ สงั กะสี
ในขณะเมลด็ เปยี กแลว้ น�ำไปตากแดดจดั ทนั ที
จะท�ำให้เมล็ดตายหรือเมล็ดไม่แข็งแรง ซ่ึงจะ
ท�ำใหเ้ กบ็ รกั ษาไวไ้ ด้ไม่นาน

ขอบคุณ เอกสารการคัดเลือกพนั ธุแ์ ละการผลิตเมลด็ พันธุ์ผักไว้ใช้เอง โดย ฉนั ทนา วชิ รัตน์

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 43

ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธุ์พชื ”

เมลด็ พนั ธด์ุ หี รอื ไม่

ตรวจสอบได้ ง่ายนดิ เดียว

เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญและจ�ำเป็นท่ีสุดชนิดหน่ึง
ในการเพาะปลูก ถึงแม้จะมปี จั จัยการผลติ อ่ืนๆ ท่ดี ีพร้อม แตถ่ ้าขาด
เมล็ดพันธุ์พืชท่ีดีแล้ว ปริมาณของผลผลิตที่ได้รวมถึงคุณภาพ
ส่งปัญหามากมายกับเกษตรกร การใช้เมล็ดพันธุ์ดีเพาะปลูกเป็น
การลดต้นทุนการผลิตเป็นอันดับหน่ึง เน่ืองจากเมล็ดพันธุ์ดีเม่ือ
ปลูกแล้วจะกอ่ ใหเ้ กิดประโยชน์มาก เช่น ใหผ้ ลผลิตสูง เป็นท่ตี ้องการ
ของตลาด ไดร้ าคาดี ตอบสนองการใส่ปยุ๋ ปรับตวั เข้ากบั สง่ิ แวดลอ้ ม
ได้ดี ทนทานตอ่ โรคแมลง เปน็ ต้น

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

44 ชดุ “ความรใู้ นการเพาะเมลด็ พันธพ์ุ ชื ”

ลกั ษณะของเมล็ดพันธ์ุทดี่ ี สะอาด ปราศจาก
สง่ิ เจอื ปนตา่ งๆ
1. สะอาดปราศจากส่ิงเจือปนต่างๆ
เช่น ฝุ่นละออง กรวด ทราย เศษผัก หรือ ตรงตามสายพนั ธ์ุ
เมลด็ พชื อ่นื
มคี วามสามารถในการงอกสงู
2. ตรงตามพนั ธ์ุ เปน็ เมลด็ ทไี่ มก่ ลาย
พันธ์ุ เช่น ตระกลู ของมนั มผี ลสีเขียวอมชมพู แขง็ แรง ทนทาน ไมม่ โี รคและแมลง
เมอ่ื น�ำมาปลกู ผลเปน็ สเี ขยี วอมชมพูตรงตาม
พันธ์เุ ดมิ

3. ไม่มีโรคและแมลง เมล็ดพันธุ์
บางชนิดอาจมีโรคหรือแมลงติดมากับเมล็ด
เม่ือน�ำไปเพาะ เช้ือโรคในเมล็ดอาจจะแพร่
ไปได้ เมล็ดพันธุ์ท่ีดีควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้
ผ่านการฆ่าเชื้อโรคและแมลงมาแล้ว

4. มาจากตระกูลท่ีดี คือ เมล็ดพันธุ์
ทม่ี าจากตระกลู ทมี่ ผี ลดกดี ขนาดและรปู รา่ ง
ดี มีสี มนี ำ�้ หนัก และรสดี

5. มีความสามารถในการงอกสูง
หมายถึง เมลด็ ทมี่ คี วามสามารถในการงอก
เจรญิ เตบิ โตมอี าหารทจี่ ะเลย้ี งล�ำตน้ จนเจรญิ
เติบโตได้

6. ทนทานต่อโรคและแมลง

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 45

ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธ์พุ ชื ”

วิธที ดสอบการงอกของเมล็ดผัก

ในการปลูกพืชผักมีปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรประสบอยู่เสมอๆ
น่ันคือ ปัญหาคุณภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรไม่มีโอกาส
แนใ่ จไดว้ า่ เมลด็ พนั ธพ์ุ ชื ผกั ทซ่ี อ้ื หามาปลกู ในแตล่ ะครงั้ นนั้ จะงอกได้
มากนอ้ ยเพียงใด หากเมล็ดพืชผักท่ปี ลกู ไปแล้วมปี ริมาณการงอกต�่ำ
หรอื มเี มลด็ พนั ธอ์ุ น่ื ปะปนอยมู่ าก เกษตรกรจะไดผ้ ลผลติ ตำ่� ไมค่ มุ้ คา่
กับการลงทุนลงแรงไปในแต่ละครั้ง รวมทั้งเสียเวลาของฤดูปลูกใน
แต่ละคร้ังไปอย่างน่าเสียดาย หรือบางทีเกษตรกรอาจจะต้องลงทุน
เพ่ิมเมล็ดพันธุ์พืชชนิดอ่ืนเพ่ือปลูกแซมลงไปให้เต็มพ้ืนท่ีท่ีเตรียม
เอาไว้แล้ว

ดังนั้น ก่อนการปลูกพืชผักแต่ละคร้ัง เกษตรกรควรจะให้ความ
ส�ำคัญในการทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์พืชผักด้วยวิธีง่ายๆ
เพ่ือให้ทราบถึงปริมาณการงอกของเมล็ดพันธุนั้นๆ และหากได้
ทดสอบเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อมาปลูกได้ ก็จะท�ำให้มีการ
ตัดสินใจเลือกซื้อได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ไม่ต้องเส่ียง
ซ้ือเมล็ดพันธุ์ไม่ดี ไม่ต้องเส่ียงลงทุนลงแรง และเสียเวลาไปแต่ได้
ผลตอบแทนทีไ่ มค่ มุ้ ค่า

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

46 ชุด “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ชื ”

น�ำ เมลด็ พนั ธใ์ุ สภ่ าชนะ วธิ ีทดลอง
แลว้ เตมิ นา้ํ ลงไป เมลด็
ทเ่ี สยี จะลอยนา้ํ ขน้ึ มา 1. เอาเมล็ดพันธุผักใส่ภาชนะ จะ
เป็นแกว้ น�ำ้ ขนั นำ�้ หรอื จานก็ได้ แลว้ เติมน้าํ
ใชก้ ระดาษฟางตดั ใหพ้ อดกี บั จาน ลงไป เมลด็ ทเ่ี สยี จะลอยนาํ้ สว่ นเมลด็ ทีด่ ีจะ
รดน�ำ้ พอใหช้ มุ่ จมนา้ํ หากสงั เกตเหน็ วา่ มเี มลด็ ทลี่ อยนำ�้ มาก
แสดงวา่ มเี มล็ดเสยี มาก ไม่ควรซ้อื มาปลูก
เอากระดาษฟางหรอื กระดาษซบั ปดิ ไวอ้ กี ที
เอาทรายใสใ่ นจานสงั กะสใี หเ้ ตม็ 2. ใช้กระดาษฟางหรือกระดาษซับ
ตดั ใหพ้ อดกี บั จาน วางไวก้ น้ จาน ใสน่ า้ํ พอชมุ่
ใสเ่ มลด็ ผกั ลงไป รดน�ำ้ พอใหช้ มุ่ นบั เมลด็ ใสล่ งไป 100 เมลด็ แลว้ เอากระดาษ
100 เมลด็ ฟางหรือกระดาษซับปิดไว้อีกที ภายในเวลา
1-3 วัน เมล็ดจะงอก นับเมล็ดท่ีงอกดู ถ้า
เมลด็ งอก 70-80% กน็ บั วา่ อยใู่ นเกณฑใ์ ชไ้ ด้
ถา้ เมลด็ งอก 90% ขนึ้ ไป ใชไ้ ดด้ ี แตถ่ า้ ตำ่� กวา่
60% ลงมา ไมค่ วรจะซือ้ หามาปลกู

3. เอาทรายใส่ในจานสังกะสีให้เต็ม
กน้ จาน นบั เมลด็ ผกั ใสล่ งไป 100 เมลด็ รดนำ�้
ให้พอชุ่ม เอาจานอีกใบครอบไว้ หม่ันรดน�้ำ
ใหช้ มุ่ ทุกวนั ภายใน 3 วนั เมลด็ จะงอก นับดู
เหมอื นวิธที ่ี 2

เอาจานอกี ใบครอบไว้ รดน�ำ้ ใหช้ มุ่ ทกุ วนั

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ” 47

ชุด “ความรู้ในการเพาะเมล็ดพนั ธุพ์ ืช”

ขอ้ ควรระวงั

1. ควรรดนํ้าให้ชุ่มอยู่เสมอ และต้องวางไว้ในท่ีปลอดภัย
อากาศถ่ายเทได้ดี เมล็ดที่ทดลองการงอกควรจะเป็นตัวแทนของ
เมล็ดทั้งหมด ไม่ควรเลือกเมล็ดเอามาทดลอง เพราะจะท�ำให้ได้
ผลการทดลองไม่ตรงตามความเปน็ จริง

2. เมล็ดท่ีทดลองการงอกได้ดี แต่เม่ือน�ำไปปลูกในแปลง
ปลูกจริงแล้ว เมล็ดกลับไม่ค่อยงอกน้ัน อาจจะเป็นเพราะสภาพดิน
ไม่เหมาะสม ในดินท่ีมีความเป็นกรด-ด่างมากเกินไป ดินขาดธาตุ
อาหารและความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ เกษตรกรจะต้องพิจารณาและ
แกไ้ ขขอ้ บกพร่องดังกลา่ ว

ขอบคุณ www.thaikasetsart.com

คมู่ อื เกษตรกร “รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ ”

48 ชุด “ความรใู้ นการเพาะเมล็ดพนั ธพุ์ ชื ”


Click to View FlipBook Version