The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความรู้เรื่องปศุสัตว์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prpidthong2, 2022-01-20 03:23:33

ความรู้เรื่องปศุสัตว์

ความรู้เรื่องปศุสัตว์

Keywords: ความรู้เรื่องปศุสัตว์

คมู่ อื ...รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ

ปศสุ ตั ว์ชดุ ...

คู่มือเกษตรกร “รู้ไว้ ใชจ้ รงิ ”

ชดุ ปศสุ ตั ว์

พมิ พค์ รัง้ ท่ี 1 จ�ำ นวน 3,000 ชดุ

ปที พ่ี มิ พ์ สิงหาคม 2562

จดั พมิ พโ์ ดย สถาบันสง่ เสริมและพัฒนากิจกรรมปดิ ทองหลงั พระ สบื สานแนวพระราชดำ�ริ

อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขท่ี 989 ถนนพระราม 1

แขวงปทมุ วนั เขตปทุมวนั กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ : 0 2611 5009 โทรสาร : 0 2658 1413

Website : www.pidthong.org

twitter : www.twitter.com/pidthong

Facebook : www.facebook.com/pidthong

Youtube : www.youtube.com/pidthongchannel

#เชอ่ื ม่นั เศรษฐกจิ พอเพียง

“ความรดู้ ้านปศสุ ตั ว”์

ตลอดท้งั กระบวนการดแู ล

หนังสือ “ความรู้ด้านปศุสัตว์ ตลอดท้ังกระบวนการดูแล” เล่มนี้ เป็น 1 ใน 5 เล่ม
หนังสือชุดคู่มือเกษตรกร “รู้ไว้ ใช้จริง” ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมเสียงความต้องการของพ่ีน้อง
เกษตรกรในพื้นท่ีต้นแบบ 5 จังหวัดด�ำเนินงานของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม
ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชด�ำริ อันได้แก่ น่าน อุดรธานี กาฬสินธุ์ อุทัยธานี และ
เพชรบุรี ท้ังจากการพบปะโดยตรงและสะท้อนผ่านข้อเสนอแนะท้ายแบบสอบถามใน
การศึกษาต่างๆ ที่ต้องการทราบถึงขั้นตอน วิธีการป้องกันรักษา แก้ไขปัญหา และเทคนิค
ในการเสริมศักยภาพการจัดการด้านปศุสัตว์ เช่น สูตรอาหารลดต้นทุนและอาหารเสริมเพิ่ม
ภูมิต้านทานในไก่ หมู และโค เทคนิคการจ�ำแนกเพศ การผสมพันธุ์ และการลดความเครียด
ในสัตว์ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้แม้มีต้นทุนต�่ำ ขณะเดียวกันก็สามารถประยุกต์
ปรบั ใช้ไดจ้ รงิ และกอ่ ใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพสูงสดุ

จากปญั หาและความตอ้ งการขา้ งตน้ จงึ ไดท้ �ำการส�ำรวจและคดั กรองปญั หาและองคค์ วามรู้
ท่ีเปน็ ทต่ี ้องการ ท้งั ในรูปวชิ าการและภูมปิ ัญญาทอ้ งถิน่ ทัง้ จากครูปราชญแ์ ละหนว่ ยงานต่างๆ
ท่ีมีองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาน�ำเสนอในเนื้อหารูปแบบของการ์ตูนประกอบภาพ เพื่อง่าย
ต่อความ “เข้าใจ” “เข้าถึง” ข้อมูลที่มาของสาเหตุ และสามารถน�ำไป “พัฒนา” ต่อยอดเป็น
แนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง ชุมชน และสังคม ผ่านการ “พ่ึงตนเอง”
ได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพในท้ายท่ีสุด

สารบัญ

5 8 11

โคขนุ โตไวดว้ ย สูตรอาหารเสรมิ วัว เปิดสูตร (ไม)่ ลบั
มนั หมกั ยสี ต์ แบบไมต่ อ้ งหมัก ผลติ อาหารสตั วล์ ดตน้ ทนุ

16 19 23

อาหารเสรมิ ไกไ่ ข่ หลายวธิ ี แกโ้ รค เปิดเคล็ดลับสูตรอาหาร
รับประกนั ทงั้ ดก แดง และใหญ่ ไกพ่ ้นื เมอื ง ดว้ ยสมนุ ไพรไทย สร้างภมู ิคมุ้ กันสตั ว์ปีก

26 28 31

วิธคี ัดเพศลกู ไก่ หมูน�ำ้ ลดกลน่ิ คอกหมูสดุ ย้ี
งา่ ยๆ ใครก็ทำ�ได้ เลีย้ งง่าย โตไว ไรก้ ลิ่น ไดด้ ว้ ยพชื สมนุ ไพรท้องถิ่น

34 42 45

องคค์ วามรู้ทสี่ ำ�คญั ใน เพม่ิ อัตราการรอดของ ขยายพันธ์ุกบงา่ ยๆ
การเลี้ยงแพะ “ลูกออ๊ ด” ด้วยทางมะพร้าว ได้ดว้ ยตัวเอง

โคขนุ โตไวดว้ ย มนั หมกั ยสี ต์

ในปัจจุบัน อาชีพการเลี้ยงโคขุนในประเทศไทยมีแนวโน้ม
เพม่ิ มากขึน้ เนอื่ งจากให้ผลตอบแทนสูง ตลาดโคเน้ือมคี วามต้องการ
เน้ือโคขุนสูงข้ึน ผู้บริโภคมีความรู้และเลือกซ้ือเนื้อคุณภาพดีมากขึ้น
เนื่องจากเน้ือโคขุนจะมีความนุ่มและชุ่มฉ�่ำกว่าเน้ือโคท่ัวไป เพราะมี
ไขมนั แทรกตามเส้นใยกลา้ มเน้ือมาก ซงึ่ เปน็ ที่ต้องการของตลาดเนื้อ
คณุ ภาพสงู เพอ่ื น�ำไปประกอบอาหาร เชน่ สเตก๊ เนอื้ อบ เปน็ ตน้ อกี ทง้ั
พน้ื ทที่ เี่ ลย้ี งโคขนุ ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งใชพ้ นื้ ทกี่ วา้ งมาก ซง่ึ แตกตา่ งจากการ
เลี้ยงโคแบบปล่อยแปลง ประกอบกับปัจจุบันมีการพัฒนา คัดเลือก
ปรบั ปรงุ พนั ธโ์ุ คใหม้ โี ครงรา่ งใหญ่ โตเรว็ ซงึ่ เหมาะกบั การขนุ มากยงิ่ ขนึ้

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 5

ชุด “ปศุสตั ว”์

แน่นอนว่าการเลี้ยงโคขุน หากโคมีขนาดใหญ่ วัตถุดิบในการทำ�มันหมักยสี ต์
ก็จะขายได้ในราคาที่สูงกว่า เร่ืองของอาหารนั้นมี
ส่วนส�ำคัญ หากโคขุนไดอ้ าหารเสรมิ ทดี่ ี กท็ �ำใหโ้ ตไว กากมนั 3 ตนั
นำ้� หนกั เยอะ เนอ้ื มคี ณุ ภาพดี และเกษตรกรท�ำเองได้
ตน้ ทุนไมส่ ูงอีกดว้ ย ยีสต์ขนมปงั 2 กอ้ น
กอ้ นละ ½ กิโลกรัม
มันหมักยีสต์เป็นอาหารที่โคชอบกิน และเป็น
อาหารท่ีให้พลังงานสูง ซ่ึงจะส่งผลให้เติบโตรวดเร็ว น�ำ้ ตาลทราย 2 กโิ ลกรัม
หากกินอย่างต่อเน่ือง และนอกจากมันหมักยีสต์แล้ว
ก็ต้องมีอาหารจ�ำพวกหญ้าด้วย เน่ืองจากหากกิน
แต่มันหมักยีสต์เพียงอย่างเดียว เนื้อของโคจะมีมัน
มากจนเกินไป ฉะนั้นจึงต้องเสริมด้วยหญ้า โดยให้
กินประมาณตัวละ 1 กิโลกรัม/วัน สลับกับฟางข้าว
การเลย้ี งโคดว้ ยอาหารแบบนจ้ี ะท�ำให้โคโตเรว็ ข้นึ

วัตถุดิบในการทำ� มนั หมักยสี ต์
- กากมนั 3 ตนั
- ยีสต์ขนมปงั 2 ก้อน ก้อนละ ½ กิโลกรมั
- น�ำ้ ตาลทราย 2 กิโลกรมั
- กากน�้ำตาล 25 ลติ ร
- น�ำ้ 500 ลติ ร
- ปยุ๋ ยูเรยี 20 กิโลกรัม

วิธีการท�ำ น�ำส่วนผสมท้ังหมดเทลงบ่อ
แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ 20 วัน ก็สามารถ
น�ำไปเป็นอาหารเสริมให้โคกินได้แล้ว ซ่ึงสูตรนี้จะ
สามารถใช้เลยี้ งโคได้ 20 ตวั ตอ่ 15 วนั และเก็บไว้ได้
นานถงึ 4 เดอื น เลยทเี ดียว

6 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสตั ว์”

วธิ กี ารทำ�มันหมกั ยสี ต์

หมกั ท้งิ ไว้ สตู รนส้ี �ำ หรบั

20 วัน เลย้ี งโค 20 ตวั
ตอ่ 15 วนั
؉»Â Ùà ÕÃÂ

เกบ็ ไดน้ าน
4 เดอื น

กากน�้ำ ตาล 25 ลติ ร น้�ำ 500 ลติ ร ปุ๋ยยูเรยี 20 กิโลกรมั

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 7

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

สูตรอาหารเสรมิ วัว

แบบไม่ตอ้ งหมัก

วัว ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจส�ำคัญของเกษตรกรในประเทศเรา
แต่บางครั้งการให้อาหารวัวเพียงฟางข้าวหรือหญ้าแห้งนั้น ก็ท�ำให้
วัวขาดสารอาหาร น�้ำหนักลดลง ส่งผลกระทบด้านราคาจ�ำหน่าย
หากวัวมีการดูแลที่ถูกสุขลักษณะ ได้อาหารเสริมท่ีตรงตามความ
ตอ้ งการ ก็จะท�ำใหว้ วั เจริญเติบโตสมำ่� เสมอ ไดเ้ นอ้ื ท่มี ีคณุ ภาพดว้ ย

เกษตรกรส่วนใหญ่มักให้ฟางข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจาก
เป็นอาหารท่ีต้นทุนต�่ำ และเป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรท่ีนิยม
น�ำมาเปน็ อาหารส�ำหรบั เลยี้ งววั ควาย ซง่ึ หางา่ ย ราคาถกู และสามารถ
เกบ็ ไวไ้ ด้นาน ดว้ ยคุณสมบัตขิ องฟางขา้ วท่ีมีเยื่อใยสงู เหมาะกบั สัตว์
เคี้ยวเอื้อง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต�่ำ หากใช้ฟางข้าวเพียงอย่าง
เดียว วัวก็จะได้รับสารไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องน�ำมา
เพมิ่ โปรตนี และเพม่ิ พลงั งานเสรมิ เขา้ ไปในฟางขา้ ว โดยไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ ง
ใชเ้ วลาในการหมกั นาน เพยี งแคพ่ กั ไวก้ ส็ ามารถน�ำไปใหว้ วั กนิ ไดเ้ ลย

8 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสตั ว์”

วตั ถุดิบ วตั ถดุ บิ ทใ่ี ชเ้ สรมิ ในฟางขา้ ว

ฟางขา้ ว - ฟางขา้ ว 10 กิโลกรัม
10 กโิ ลกรมั - กากน้ำ� ตาล 1 กโิ ลกรมั
- ปุ๋ยยูเรยี 150 กรัม
- นำ้� 6 ลิตร
- ถังนำ้�

กากนำ�้ ตาล
1 กิโลกรัม

ปุย๋ ยูเรยี 150 กรัม

น้�ำ 6 ลิตร
ถงั น้�ำ

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 9

ชดุ “ปศสุ ตั ว์”

วิธีการทำ�

ใส่ฟางข้าวลงในรางหรือท่ีใส่
อาหารสัตว์ จากน้ันละลายกากน้�ำตาล
ปยุ๋ ยเู รยี และนำ�้ ใสใ่ นถงั กอ่ นน�ำไป
รดบนฟางข้าวที่เตรียมไว้ให้ท่ัว
ทง้ิ ไว้สักครู่ จึงน�ำไปใหว้ วั กินได้

ละลายกากน้ำ�ตาล
ปุ๋ยยูเรยี และนำ้�ลงในถัง

น�ำ ไปรดบนฟางข้าว ทิ้งไว้สักครู่

จงึ น�ำ ไปใหว้ วั กนิ

10 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสัตว”์

เปิดสตู ร (ไม่) ลบั

ผลิตอาหารสตั ว์ลดต้นทนุ

อาหารสัตว์ นับเป็นปัจจัยท่ีส�ำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการ
เล้ียงสัตว์และเป็นหนึ่งในต้นทุนท่ีส�ำคัญ ซ่ึงในวันนี้เกษตรกรเป็น
จ�ำนวนมากต้องประสบกับภาวะราคาต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้น และ
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยจ�ำนวนไม่น้อย
ทไ่ี ม่สามารถแบกรบั ภาระตน้ ทุนคา่ อาหารที่เพ่มิ ขน้ึ ได้

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เพ่ือเป็นการแก้ไขปัญหาและท�ำให้
เกษตรกรสามารถเล้ียงสัตว์เพื่อสร้างรายได้ต่อไปได้ จึงได้มีการน�ำ
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถ่ินมาผสมขึ้นเป็น
อาหารใช้เอง ทดแทนการซื้ออาหารส�ำเรจ็ รปู

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 11

ชุด “ปศุสตั ว์”

ศนู ยก์ ารเรยี นรชู้ มุ ชนสวนแสงประทปี ต�ำบลกลางเวยี ง
อ�ำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นศูนย์ท่ีมีการสอนให้เรียนรู้อย่าง
หลากหลาย ทั้งให้ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ การปรับกระบวนทัศน์
เพอื่ การพฒั นาอยา่ งยงั่ ยนื หลกั และระบบการจดั การเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ตามแนวพระราชด�ำริ ซ่ึงนอกจากการส่งเสริมให้ความรู้เก่ียวกับการ
เลยี้ งสตั วใ์ นระบบตา่ งๆแลว้ ทศี่ นู ยแ์ หง่ นยี้ งั เนน้ ใหแ้ นวคดิ เกย่ี วกบั การ
ผลติ อาหารสตั วข์ นึ้ ใชเ้ อง ภายใตช้ อื่ วา่ อาหารสตั วแ์ บบธรรมชาติ

วันชัย เกิดอ้น ปราชญ์ชาวบ้านและวิทยากรสวนแสงประทีป
กล่าวว่า การท่เี กษตรกรจะสามารถยนื หยดั ในอาชพี น้ไี ด้น้นั ควรที่จะ
กลบั มามองถงึ การใชว้ ตั ถดุ บิ อาหารสตั วท์ ม่ี อี ยใู่ นทอ้ งถนิ่ มาใชใ้ หเ้ กดิ
ประโยชน์ เช่น ข้าวโพด ต้นกล้วย เป็นต้น ที่ส�ำคัญอีกประการ คือ
การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ถ้าจะให้อยู่รอดได้และประสบความส�ำเร็จ
จะตอ้ งไมใ่ ชอ่ ยใู่ นลกั ษณะของการใหเ้ ทวดาเลยี้ ง เกษตรกรตอ้ งมกี าร
ศึกษาวิจัย วิเคราะห์รูปแบบการเล้ียงของตนเอง ศึกษาว่าสัตว์กิน
อาหาร สัตว์ป่วย เป็นอย่างไร และรักษาอย่างไร ต้องท�ำให้อยู่ใน
รูปแบบท่ีว่า คนเล้ียงสัตว์และสัตว์น้ันเลี้ยงคนได้ โดยเน้นยึดหลัก
ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง

12 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสัตว์”

อาหารสัตว์แบบธรรมชาติ คือ หลักสูตรการเรียนรู้ที่ทางศูนย์
แสงประทปี ไดเ้ ผยแพร่ แนะน�ำให้เกษตรกรน�ำไปปรับใช้ โดยวัตถุดบิ
ท่ีน�ำมาท�ำอาหารสัตว์จะประกอบด้วย สิ่งท่ีเกษตรกรปลูกได้เอง
และมีอยู่ในไรน่ าของตนเอง เช่น ข้าวโพด ผกั สด ต้นกล้วย เปน็ ต้น

อย่างเช่นในพ้ืนท่ีของเกษตรกรที่มีการปลูกกล้วยน�้ำว้า ก็จะได้
ประโยชน์ทั้งตัดใบขาย ขายปลีกล้วย และเครือกล้วย ส่วนต้นกล้วย
กเ็ อามาสบั เปน็ อาหารเลยี้ งหมไู ดด้ ว้ ย เพยี งแคพ่ ชื ชนดิ เดยี ว เกษตรกร
ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ สามารถปลูกผัก
แล้วเอาเศษผกั ที่เหลอื มาเลยี้ งหมู เลีย้ งไก่ ไดอ้ กี ด้วย

สตู รอาหารไกพ่ ้นื เมือง สูตรแรก ใชส้ �ำหรับการเลี้ยงไก่พน้ื เมอื ง
ที่อายุ 6 สปั ดาห์ถึงจ�ำหน่าย

วัตถดุ บิ ประกอบด้วย

• ขา้ วโพด 68 กโิ ลกรัม
• รำ� ละเอียด 15 กิโลกรัม
• ปลาปน่ 5 กิโลกรมั
• กากถวั่ เหลอื ง 10 กโิ ลกรมั
• เปลือกหอยป่น 1 กโิ ลกรมั
• ฟรีมิกซ์ 1 กโิ ลกรัม
• สมนุ ไพร 0.25 กิโลกรัม

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 13

ชดุ “ปศสุ ตั ว์”

ส่วน สูตร 2 เปน็ อาหารส�ำเร็จรูปส�ำหรับไกพ่ ื้นเมอื ง โดยมีการซอื้ หวั อาหารมาใช้ผสม

วตั ถดุ ิบ ประกอบด้วย

• หวั อาหารไก่พน้ื เมือง 10 กิโลกรมั
• ปลายขา้ วหรอื ขา้ วโพด 20 กโิ ลกรมั
• ร�ำละเอียด 10 กิโลกรัม
• สมนุ ไพร 0.25 กก.

วธิ ีการใช้
น�ำส่วนผสมท้ังหมดมาผสมกัน และน�ำไปให้ไก่กิน
ควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน แล้วค่อยผสมใหม่ เพื่อให้ได้
อาหารท่สี ดใหมเ่ สมอ
ส�ำหรบั สมนุ ไพรทใี่ ชม้ ขี มนิ้ ไพล ฟา้ ทลายโจร บดเปน็ ผง
โดยใช้ขมิ้นและไพลอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนฟ้าทลายโจร
ใหใ้ ช้ประมาณ 1 ชอ้ นชา

14 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสัตว”์

สูตรอาหารหมู

ควรน�ำอาหารหมักเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ผกั สด
หรือต้นกลว้ ย
ในการน�ำไปผสมกบั สว่ นผสมอน่ื ๆ เชน่ นำ�้ และ
สมนุ ไพรหวั อาหาร(ถา้ ม)ี ขา้ วบดหรอื ปลายขา้ ว

และแกลบออ่ น ซงึ่ จะเปน็ สตู รอาหารทมี่ คี ณุ คา่

และช่วยให้หมูเจริญเติบโตได้ดี โดยวิธีการ

ท�ำอาหารหมักน้ัน จะประกอบด้วยวัตถุดิบ ถังพลาสติก
ท่สี �ำคัญ คอื ขนาดใหญ่

• ผักสด หรือตน้ กล้วย

จ�ำนวน 100 กิโลกรมั

• น้�ำตาลทรายแดง 4 กิโลกรัม

• ถงั พลาสติกขนาดใหญ่ Brown น้�ำตาลทรายแดง
Sugar

ข้ันตอนการทำ�

น�ำผักหรือต้นกล้วยมาสับให้ละเอียด
น�ำน�้ำตาลทรายแดงคลุกกับผักหรือต้นกล้วย
ที่สับให้เข้ากัน แล้วใส่ในถังพลาสติก ปิดฝา
ทิ้งไว้ประมาณ 2-5 วัน แล้วน�ำมาผสมกับ
อาหารส�ำเรจ็ รปู ให้หมูกนิ

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 15

ชุด “ปศสุ ตั ว์”

อาหารเสรมิ ไก่ไข่

รบั ประกนั ท้งั ดก แดง และใหญ่

อาหาร เปน็ องคป์ ระกอบที่สําคญั ทส่ี ุด ทจ่ี ะทําให้การเลีย้ งไก่ไข่มีคณุ ภาพ ไดผ้ ลผลติ ดี
และจะก�ำไรหรือขาดทนุ กอ็ ยทู่ ี่อาหารเปน็ หลัก เน่อื งจากตน้ ทุนการผลิตประมาณ 60-70% ของ
ต้นทนุ ทัง้ หมดเป็นค่าอาหาร

16 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศสุ ตั ว”์

ไก่ไข่ นั้น นอกจากต้องการอาหารเพื่อการดํารงชีพ การเจริญ
เติบโตแล้ว ยังต้องนําไปใช้ในการผลิตไข่อีกด้วย การท่ีผู้เล้ียงจะลด
ต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าอาหารลงน้ัน สามารถทําได้โดยการ
ประกอบสูตรอาหารทีร่ าคาถกู คณุ ภาพดี เลอื กใช้วตั ถดุ ิบอาหารสัตว์
ที่มีราคาถูกตามฤดูกาล และให้อาหารแก่ไก่กินอย่างมีประสิทธิภาพ
เพอื่ ใหไ้ ด้ไข่ทม่ี คี ุณภาพและต้นทนุ ต่ำ�

หากเกษตรกรผู้เล้ียงไก่ไข่อยากให้ไก่มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตสูง
ฟองใหญ่ ไข่แดงได้คุณภาพ และเป็นท่ีต้องการของตลาด ลองหา
อาหารเสรมิ ทส่ี ามารถหาไดใ้ นทอ้ งถน่ิ มาเปน็ สว่ นผสมในอาหารหลกั
ที่ใช้อยู่เป็นประจ�ำ รับรองได้ว่าผลผลิตออกมาเป็นที่พึงพอใจอย่าง
แนน่ อน และที่ส�ำคัญยังช่วยลดต้นทุนคา่ อาหารไดอ้ ีกทางหนึ่งดว้ ย

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 17

ชดุ “ปศสุ ัตว”์

วตั ถดุ บิ ที่น�ำเสนอใหเ้ กษตรกรผเู้ ลีย้ งไกไ่ ข่
น�ำมาผสมในอาหารหลกั มี 4 ชนดิ

น�้ำมะขามป้อม

ซง่ึ จะชว่ ยใหไ้ กส่ ขุ ภาพดี ไมเ่ ครยี ด
และฟักไข่ได้สมำ�่ เสมอต่อเนื่อง

หยวกกล้วย

แค่สบั หยวกกลว้ ยผสมลงในอาหาร
จะชว่ ยใหไ้ ขไ่ กส่ แี ดงสด นา่ รบั ประทานมากยง่ิ ขนึ้

น�้ำส้มควันไม้

จะช่วยให้ไข่แดงทไ่ี ด้นัน้ ข้นเหนียว
อร่อย และลดคอเลสเตอรอลดว้ ย

ต�ำลึง

ช่วยท�ำใหไ้ ข่
ฟองใหญ่ขนึ้

18 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศสุ ตั ว์”

หลายวิธี

แกโ้ รคไก่พืน้ เมืองด้วยสมุนไพรไทย

ข้อดขี องไก่พนั ธ์ุพน้ื เมอื งนน้ั ดว้ ยความที่เป็นไก่พื้นถ่ิน จงึ เลี้ยงงา่ ย มคี วาม
ทนทานต่อโรคและเจริญเติบโตได้ดีทุกสภาพแวดล้อม ท้ังยังต้นทุนต�่ำ ราคาจ�ำหน่ายสูงและ
ตลาดมีความต้องการสูง แต่พฤติกรรมของไก่พันธุ์พื้นเมืองโดยธรรมชาติท่ัวไปแม่ไก่จะออกไข่
คร้ังละ 10-15 ฟอง เมื่อออกไขแ่ ลว้ จะกกไขฟ่ กั และเลยี้ งลูกดว้ ยตวั เอง และจะผสมพนั ธอุ์ ีกครง้ั
เมือ่ ลูกไกเ่ จริญเติบโต หาอาหารไดเ้ องตามธรรมชาติ สง่ ผลใหแ้ ม่ไก่จะออกไข่ได้น้อย

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 19

ชุด “ปศสุ ัตว์”

ปัจจุบันไก่พ้ืนเมือง หากไกท่ อ้ งเสีย ใช้ บานไมร่ ูโ้ รยป่า ทข่ี นึ้
ยังคงเป็นท่ีต้องการของตลาด ตามขา้ งทางบอระเพด็ น�ำมาตม้ รอใหเ้ ยน็ แลว้
เนื่องจากมีเนื้อท่ีเหนียว นุ่ม ก็น�ำไซริงก์มาฉีดหยอดใส่ให้ไก่กิน ทั้งเช้าเย็น
แน่น อร่อย มีรสชาติดี เม่ือ จะแกท้ อ้ งเสยี ใหไ้ กไ่ ด้ บอระเพด็ มสี รรพคณุ แก้
เปรียบเทียบกับไก่เน้ือท่ัวไป ไขด้ ว้ ย เป็นยาประจ�ำแก้ท้องเสยี และแก้ไข้ได้
แต่ทว่าเกษตรกรส่วนใหญ่
จ ะ เ ลี้ ย ง ใ น ร ะ ดั บ ค รั ว เ รื อ น ส�ำหรับไก่ที่หน้าซีดๆ ใช้ ลูกยอ ช่วยได้
รายละไม่เกิน 20-30 ตัว ซ่ึง สุกๆ ดิบๆ ผ่าให้กิน ไก่จะสดช่ืน หน้าตาจะ
การเล้ียงแบบปล่อยให้หากิน เร่มิ แดงข้ึนมา
เองตามธรรมชาติ ท�ำให้แม่ไก่
จะออกไข่ได้น้อย เพียงไม่
กี่คร้ัง/ปีเท่านั้น ส่งผลให้มี
ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความ
ตอ้ งการของตลาด

โดยการคิดค้นภูมิปัญญา
ชาวบา้ นของเกษตรกรบางราย
ในการน�ำสมุนไพรทห่ี าไดต้ าม
ทอ้ งถนิ่ บรเิ วณรอบบา้ นมาชว่ ย
ลดความส้ินเปลือง เพื่อปราบ
โรคตา่ งๆ ในไก่ ไดผ้ ลชะงดั นกั
ทั้งยังบ�ำรุงไก่ให้แข็งแรง และ
ทนต่อโรคไดด้ ว้ ย

20 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศสุ ตั ว์”

แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน
หรือ ไพล เปน็ ยาประจ�ำท้อง แก้ทอ้ งอืด
ทอ้ งเฟอ้ สว่ นไพลสามารถตม้ แลว้ อาบนำ้�
ใหไ้ ก่ได้ ไก่จะรู้สึกสบาย

เมอ่ื ตอ้ งการถา่ ยพยาธไิ ก่ใช้หมากเปน็
ยาถ่ายพยาธิ ให้กินไปประมาณ 10 นาที
กรอกน�้ำตามไปเยอะๆ พยาธจิ ะออกแล้ว

หากตอ้ งการบ�ำรงุ ก�ำลงั ใหใ้ ช้ กระชาย
ถอื เปน็ โสมของบา้ นเรา กนิ เพอ่ื บ�ำรงุ ก�ำลงั ได้

หากไกท่ อ้ งเสยี หรอื ขข้ี าว ใชก้ ลว้ ยดบิ น�ำมาหน่ั
แล้วน�ำไปตากแดด จากนั้นน�ำมาป่นผสมกับน้�ำอุ่น
ใหไ้ ก่กนิ อาการท้องเสยี ขีข้ าวจะหยุดได้

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 21

ชุด “ปศุสตั ว์”

ฟา้ ทลายโจร มคี ณุ ประโยชนห์ ลายอยา่ ง ถา้ กนั ตวั ไรใหใ้ ช้ ใบมะขาม
แกไ้ ข้แกโ้ รคไดห้ ลายอยา่ งโดยน�ำไปผสมกบั นำ�้ ตะไคร้ ขม้ิน ไพล มะกรูด แล้ว
ให้กิน ไมต่ ้องต้ม บดิ ใส่น�ำ้ ได้เลย เป็นผงกม็ ี ต้มรวมกัน เอามากาดน้�ำให้ไก่
จะกันไรได้

ส�ำหรับไก่ชน มะกรูด จะแก้อาการท่ีไก่
โดนกระทบ โดนเดือยตีท่ีตา ให้เอาน�้ำมะกรูด
บีบเข้าที่ตาเลย แล้วตาไก่จะดีข้ึน แต่ถ้าไก่
ตาแตก อาจจะช่วยเหลือไม่ได้ ถ้าห้อเลือด
ยังสามารถช่วยได้อยู่ บีบไปพอประมาณ
เท่าน้ัน ตัวไหนที่โดนชกตา ใช้น้�ำมะกรูดช่วย
ตาจะไม่บอด จะกลบั มาเหมือนเดมิ

22 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศสุ ตั ว”์

เปิดเคล็ดลบั สูตรอาหาร

สรา้ งภูมิคุ้มกันสตั ว์ปกี

อยา่ งทเ่ี กษตรกรทราบกนั ดี สตั วเ์ ลยี้ งประเภท
สัตว์ปีก อย่างไก่ เป็ด นกนั้น มักพบว่ามีโรคระบาด
เกดิ ขนึ้ เปน็ ประจ�ำ จะเหน็ ไดจ้ ากขา่ วการสญู เสยี ทเี่ กษตรกร
จ�ำเป็นต้องฆา่ เป็ด ไก่ นก ท่ีป่วยดว้ ยโรคไขห้ วัดนก H5N1
กันยกเล้า ที่ไม่เพียงจะติดต่อกันโดยสัตว์เท่าน้ัน ยังแพร่
เชอื้ สคู่ นอกี ดว้ ย การท�ำลายทง้ิ จงึ เปน็ วธิ รี บั มอื ทชี่ ว่ ยยบั ยงั้
การแพรร่ ะบาดได้ดีท่สี ุด

นอกจากโรคไข้หวัดนก H5N1 แล้ว ยังมีโรคอหิวาต์
โรคนวิ คาสเซลิ โรคฝดี าษ โรคกลอ่ งเสยี งอกั เสบ โรคมาเรก็ ส์
ฯลฯ ท่ีคอยสร้างความเจ็บป่วยให้สัตว์ปีกล้มตายได้อีก
มากมาย ดงั นน้ั “การเสรมิ ภมู คิ มุ้ กนั ใหส้ ตั วเ์ ลยี้ ง” จงึ เปน็
วิธีที่เกษตรกรควรน�ำมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อเป็น
การปอ้ งกนั ไว้ดกี ว่าแก้

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 23

ชดุ “ปศสุ ัตว”์

วตั ถดุ บิ สับหวั ขมิน้ ชนั และไพลให้ละเอียด

ขมิ้นชันสบั 1 กิโลกรมั

น�ำสว่ นผสมท้งั หมดรวมกนั

หวั ไพลสบั 1 กโิ ลกรัม

ปลายข้าว 2 กโิ ลกรัม เติมนำ�้ ลงไป
คลกุ เคลา้ ใหเ้ ขา้ กนั

ร�ำขา้ ว 3 กโิ ลกรมั

24 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศสุ ัตว”์

เริ่มด้วยการเตรียมส่วนผสมท้ังหมด สตู รนใี้ ห้เปด็ -ไก่
แล้วสับหัวขมิ้นชันและไพลให้ละเอียด กินไดป้ ระมาณ
ก่อนน�ำไปผสมกบั ปลายข้าว ร�ำข้าว ตาม
สตู ร ระหวา่ งผสมต้องคอ่ ยๆ เตมิ นำ�้ ลงไป 200 ตวั
คลกุ เคลา้ ให้เข้ากนั ไปเรือ่ ยๆ จนกวา่ สว่ น
ผสมทุกอย่างจะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ถา้ มีนอ้ ย
เม่ือผสมเสร็จแล้วต้องให้ส่วนผสมน้ัน หรือมากกวา่ นี้
มีความหนืดอยู่บ้าง ก�ำแล้วเป็นก้อน
ไม่เละเหลวจึงจะดี และน�ำไปให้สัตว์ปีก ให้ปรบั ลด
กนิ เพยี งมอ้ื เดยี วในชว่ งเยน็ ทกุ 10-15 วนั เอาตามสดั สว่ น
จะท�ำให้สัตว์ปีกท่ีเลี้ยงไว้ไม่ค่อยเป็นโรค
เป็ด-ไก่โตดี ไม่มีพยาธิ ลดอัตราการตาย
จากโรคลงได้ ท้ังยังจะได้คุณภาพเนื้อ
ดีกว่าการเลีย้ งดว้ ยอาหารปกติอกี ดว้ ย

จากนั้นน�ำไปใหส้ ตั วป์ กี กิน

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 25

ชดุ “ปศุสตั ว”์

วธิ ีคัดเพศลกู ไก่

งา่ ยๆ ใครกท็ �ำได้

ปัจจุบัน การเล้ียงไก่น้ัน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ท้ัง
ไก่ไข่ ไก่เน้ือ เล้ียงขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ซ่ึงก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของ
เกษตรกรแต่ละราย แต่ในบางครั้ง การเร่ิมต้นที่ส�ำคัญก็คือการคัด
เลอื กพนั ธล์ุ กู ไก่ บางทา่ นอาจสงสยั วา่ ท�ำไมการคดั เลอื กเพศถงึ ส�ำคญั
เน่ืองจากเป็นเหตุผลในการซื้อหรือขาย ท่ีจะได้เพศลูกไก่ตามความ
ต้องการ อาทิ ลูกเจี๊ยบที่เป็นตัวเมียก็จะถูกขายให้กับผู้ท่ีต้องการไป
เปน็ แมพ่ นั ธ์ุออกไขต่ อ่ ไป สว่ นลูกเจีย๊ บตัวผู้ เส้นทางของพวกเขาก็คือ
การเป็นอาหาร หรืออาจเป็นพ่อพันธุ์ท่ีดีได้ในอนาคต เพราะฉะนั้น
หากมคี วามรใู้ นการคดั แยกเพศลูกเจ๊ยี บได้กด็ ไี ม่น้อย

26 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสตั ว”์

วิธีแยกเพศลูกเจ๊ียบนั้นมีหลายวิธี ไก่ไข่ เพศผู้
บางสายพันธุ์สามารถดูได้เลยว่าตัวผู้หรือ เพศเมยี
ตวั เมยี ตงั้ แตอ่ อกจากไข่ 1-2 วัน แต่บางสาย
ตอ้ งรอดู 2-3 เดือน บางสายกร็ อ 3 เดอื นขน้ึ ไป นี่คือวิธีการดูเพศลูกไก่ 2 วิธีง่ายๆ
เกษตรกรสามารถน�ำไปฝกึ ดไู ด้ ซึ่งใน
หากจะวา่ กนั ไปแลว้ การแยกเพศลกู เจยี๊ บ ขั้นช�ำนาญการจะมีการดูอีกวิธี คือ
มีด้วยการ 3 แนวทาง คือ ดูจากสีของลูกไก่ การปลิ้นทวารของลูกเจ๊ียบเพื่อดูเพศ
ลูกไก่สีขาวจะเป็นตัวผู้ สีแดงปนขาวจะเป็น แตต่ ้องอาศยั ความช�ำนาญ เนอื่ งจาก
ตวั เมยี หรอื ความยาวของปกี ซงึ่ ใหเ้ ราอมุ้ ลกู ไก่ ทวารมีขนาดเลก็ นนั่ เอง
มาคล่ีปลายปีกดู ที่ปลายปีกของลูกไก่จะมี
แถวขนปีกอยู่สองแถว ถ้าเป็นเพศเมีย ขนปีก
แถวท่ีสอง (แถวด้านใน) จะสน้ั ไมย่ าวเท่ากัน
หรือยาวกว่าแถวแรก (แถวนอกสุด) ถ้าเป็น
เพศผู้ จะเห็นว่าปลายขนปีกแถวท่ีสองจะ
ยาวเท่ากันหรือยาวกว่าปลายขนปีกแถวแรก
นน่ั เอง

ขนปีกดา้ นในจะยาว
เท่ากนั หรอื ยาวกว่า

เพศผู้

เพศเมีย

ขนปีกด้านในจะสน้ั กว่า
ไมย่ าวเท่ากัน

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 27

ชดุ “ปศสุ ตั ว์”

หมูนำ้� เลยี้ งงา่ ย โตไว ไรก้ ลน่ิ

การเล้ียงหมู ในประเทศเรา ได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์
อาหารสัตว์ การจัดการ และการสุขาภิบาล จนทัดเทียมต่างประเทศ
การเล้ียงหมูภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ๆ หลายแห่ง แต่ก็ยัง
มีเกษตรกรรายย่อยท่ีเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามชุมชนอยู่เป็น
จ�ำนวนมาก เกษตรกรรายย่อยดังกล่าวจ�ำเป็นจะต้องได้รับความรู้
ในด้านการเล้ียงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้น�ำไปพัฒนาการเล้ียง
สกุ รของตนได้อยา่ งถูกต้องและมปี ระสิทธิภาพ ซงึ่ จะท�ำรายได้ใหก้ ับ
ครอบครวั และยังจะได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดี

วิธีการเล้ียงหมูนั้นมีเทคนิคมากมายหลายวิธี แต่การเล้ียงหมู
แบบใหม่ หรือที่เรียกกันว่า “เล้ียงหมูน้�ำ” เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้หมู
ท่ีเล้ียงไว้โตเร็ว เจริญอาหาร ไม่เครียด เกษตรกรประหยัดแรงงาน
โดยไม่ต้องกวาดพื้นคอก ช่วยก�ำจัดขี้หมูไม่ให้มีกล่ินเหม็นรบกวน
เพ่ือนบา้ น พืน้ คอกไมเ่ ฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม

28 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสัตว์”

ขน้ั ตอนแรก "การสรา้ งโรงเรอื น"
การสร้างโรงเรือน (คอก) บนคันบ่อเล้ียงปลา ด้านบนมุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก ส่วนพ้ืน
เทคอนกรตี แตท่ �ำเปน็ สองระดบั คอื ระดบั ปกติ (นำ้� ไมท่ ว่ มขงั ) กบั อกี ระดบั หนง่ึ ท�ำใหต้ ำ่� กวา่ ปกติ
ประมาณ 1 ฟุต ผนงั คอกท�ำดว้ ยอฐิ บลอ็ กกอ่ เรียงกันในแนวนอนสงู 4 ก้อน สว่ นผนังคอกด้านที่
ติดกับสระ (บ่อ) จะท�ำเป็นช่องเล็กๆ ขนาด 10x15 เซนติเมตร เป็นระยะๆ เพ่ือให้น�้ำและปลา
เขา้ มาในคอกได้ โดยจะสรา้ งคอกขนาดพน้ื ที่ 6x6 เมตร จ�ำนวน 3 คอก เลย้ี งหมคู อกละประมาณ
15-20 ตวั โดยจะเลีย้ งใหม้ ผี ลผลิตออกสตู่ ลาดตลอดท้งั ปี

หลงั คาหญ้าแฝก

สระ (บ่อปลา)

พ้ืนต่างระดับ

ผนงั อฐิ บล็อก สูง 4 ก้อน

6คxอ6 เกขมนตารดพ้ืนที่

ทำ�ชอ่ งสำ�หรับให้น้ำ�ในบ่อ
ไหลเขา้ มาในคอก
ขนาด 10x15 เซนติเมตร

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 29

ชดุ “ปศสุ ตั ว์”

ข้นั ตอนที่สอง การเล้ียง
น�ำลกู หมพู นั ธด์ุ ี อายปุ ระมาณ 30 วนั มาเลย้ี งใหอ้ าหารส�ำเรจ็ รปู โดยใสใ่ นรางอาหาร
ใหห้ มกู ินตลอดเวลา ให้อาหารเวลาเช้า เยน็ ในระยะแรกจะไมใ่ หล้ ูกหมลู งเลน่ นำ้� เนอื่ งจาก
ลูกหมูยังเล็กอยู่อาจท�ำให้ปอดบวมได้ โดยจะใช้ไม้กั้นไว้ แต่หลังจากเลี้ยงไว้ประมาณ
45-60 วนั ก็เปดิ ใหล้ กู หมูลงอาบน�ำ้ ได้ เล้ียงไปจนกวา่ จะจบั ขายได้

ขอ้ ดี คือ หมูท่ีเล้ียงจะไม่เครียด เพราะเม่ือหมูร้อน

ของการ ก็จะลงเล่นน�้ำได้ตลอดเวลา ท�ำให้โตเร็ว ตัวหมูก็จะ

เลี้ยงหมนู ้�ำ สะอาด งา่ ยตอ่ การดแู ลความสะอาดภายในโรงเรอื น
และที่ส�ำคัญไม่มีกลิ่นเหม็นออกไปรบกวนชาวบ้าน

ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง นอกจากน้ันยังได้ผลพลอยได้

คือ มูลหมสู ามารถเล้ียงปลาได้ด้วย เพราะปลาจะเข้ามากิน

เศษอาหารและมลู หมทู อ่ี ยใู่ นคอก เมอื่ เกดิ การถา่ ยเทนำ้� จาก

ในคอกออกไปยงั บอ่ เลย้ี งปลา กจ็ ะกลายเปน็ อาหารของปลา

ผเู้ ลี้ยงไมจ่ �ำเป็นตอ้ งจ่ายคา่ อาหารปลาแต่อย่างใด

มลู หมู ปลาในบอ่

ถา่ ยเทน�ำ้ ไปยงั บอ่ เลย้ี งปลา
30 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสตั ว์”

ลดกลิน่ คอกหมสู ุดยี้

ไดด้ ้วยพืชสมนุ ไพรทอ้ งถ่ิน

ส่ิงท่ีเป็นปัญหา หนักอกหนักใจส�ำหรับเกษตรกรผู้เล้ียงหมู
คงหนีไม่พ้นกล่ินมูล กลิ่นหมักหมมในคอกหมู คงไม่ใช่เร่ืองง่ายที่จะ
ท�ำให้กล่ินนั้นหายไป หากไม่ก�ำจัดอย่างถูกวิธี นอกจากน้ี ปัญหา
กลิ่นเหม็นจากคอกหมูมักถูกเพื่อนบ้านหรือพื้นท่ีบริเวณใกล้เคียง
ร้องเรียนบ่อยๆ เหตุเพราะส่งกล่ินแรงมาก ทั้งกลิ่นมูลและกล่ิน
เน่าเหม็นจากอาหารสร้างมลภาวะและมลพิษทางอากาศโดยรอบ
บริเวณฟาร์ม ของเสียที่ส่งกล่ินเน่าเหม็นในฟาร์มสุกร ส่วนใหญ่จะ
เป็นสารอินทรีย์ที่ยังย่อยสลายไม่สมบูรณ์ จึงท�ำให้เกิดกลิ่นเหม็นขึ้น
ตามมาด้วยนำ�้ เสยี จากฟารม์ หมู

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 31

ชุด “ปศสุ ตั ว์”

มีเกษตรกรหลายรายได้เร่ิมต้นน�ำน้�ำหมักสมุนไพรมาช่วยลด
กล่ินในคอกหมู ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี อีกท้ังยังประหยัดและหาวัตถุดิบ
ได้ง่ายในท้องถิ่นอีกด้วย น้�ำหมักสมุนไพรที่น�ำมาใช้ นอกจากจะลด
กลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังท�ำให้คอกหมูไม่มีกล่ินเหม็น
และไม่มแี มลงวนั อีกด้วย โดยมีข้ันตอนการท�ำงา่ ยๆ ดงั นี้

32 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสตั ว”์

วสั ดุและอปุ กรณ์

1. ตะไคร้ จ�ำนวน 1 กิโลกรัม
2. ใบมะกรดู จ�ำนวน 1 กิโลกรัม
3. ข่า จ�ำนวน 1 กโิ ลกรัม
4. บอระเพด็ จ�ำนวน 1 กโิ ลกรัม
5. ใบเตย จ�ำนวน 1 กิโลกรมั
6. น้ำ� ตาลทรายแดง จ�ำนวน 7 กิโลกรมั
7. ถงั หมกั ขนาดบรรจุ 100 ลติ ร
พรอ้ มฝาปดิ จ�ำนวน 1 ใบ

วธิ ีการท�ำน�้ำหมัก

1. น�ำสมนุ ไพรทง้ั หมดมาสบั เปน็ ชน้ิ เลก็ ๆ

ใหไ้ ด้ 5 กโิ ลกรัม

2. ใส่ถังหมกั แลว้ ผสมน�้ำตาลทรายแดง

Brown 5 กิโลกรัม
Sugar
3. คลกุ เคลา้ ใหเ้ ขา้ กนั แลว้ ปดิ ฝาใหส้ นทิ

หมักท้งิ ไว้ 1 เดือน

น้ำ� หมกั สมุนไพร วธิ ีการน�ำมาใช้
5 ช้อนโต๊ะ น�้ำสะอาด 40 ลติ ร
ใชน้ ำ�้ หมกั สมนุ ไพร 5 ชอ้ นโตะ๊ ผสม
น�้ำสะอาด 40 ลิตร รดบริเวณพื้นคอก
หมหู ลมุ เพือ่ ลดกลนิ่ มลู สกุ ร

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 33

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

องคค์ วามรู้ทสี่ �ำคัญใน

การเล้ียงแพะ

แพะ เปน็ สตั วเ์ ลย้ี งไมย่ าก หากรแู้ ละเขา้ ใจในธรรมชาตขิ องแพะ
ท้ังยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจท่ีก�ำลังได้รับความนิยมในบ้านเรามากข้ึน
โดยเฉพาะในกลมุ่ ชาวไทยมสุ ลมิ หากผเู้ ลย้ี งมคี วามเขา้ ใจและใหแ้ พะ
กนิ อาหารเสริมดๆี ก็จะสง่ ผลใหแ้ พะมรี าคาสูงมากขึน้

ในการเล้ียงแพะได้มีผู้คิดค้นวิธีทางธรรมชาติ เพ่ือมาช่วยใน
การดูแลและการจัดการในการเล้ียงแพะ เพื่อเป็นการลดต้นทุนใน
การเลีย้ ง และเปน็ วธิ ที ป่ี ลอดภยั ทง้ั คนเล้ยี งและผบู้ ริโภค

34 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสตั ว”์

1. พันธแ์ุ พะ

การผสมพันธุ์แพะ การฝึกพ่อพันธุ์แพะให้ผสมพันธุ์ โดย
การจับแม่พันธุ์แพะมาผูกล่ามให้พ่อพันธุ์ฝึกผสมพันธุ์เป็นประจ�ำ
จนกวา่ พอ่ พนั ธจ์ุ ะช�ำนาญ เพอื่ ไมใ่ หพ้ อ่ พนั ธแ์ุ พะเลอื กแมแ่ พะในการ
ผสมพันธุ์ สามารถผสมพันธุ์ได้ทุกตัวและตลอดเวลา ไม่ว่าแม่พันธุ์
จะเป็นสัดหรือไม่ ท�ำให้สามารถควบคุมการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์ได้
และสามารถก�ำหนดฤดูกาลการผสมพันธุ์ได้ ท�ำให้สามารถจัดการ
ฟาร์มได้ง่ายข้นึ

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 35

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

2. อาหารแพะ

การใชท้ างปาล์มมาเปน็ อาหารแพะ

ปาล์มน้�ำมันท่ีเป็นวัสดุเหลือใช้จากการตกแต่งต้นปาล์ม
น�ำ้ มนั ท้ิงไว้ วิธีการใหแ้ พะกนิ คือ ให้กนิ ทง้ั ทางปาล์มสดเลย และน�ำ
ทางปาล์มน้�ำมันมาย่อยบดให้แพะกิน ท�ำวิธีน้ีให้แพะกินทุกวัน
จากนนั้ น�ำทางปาลม์ นำ�้ มนั กบั ลกู ปาลม์ ดบิ มายอ่ ยบดในอตั รา 70 : 30
ผสมกับกากนำ้� ตาล หมักไว้ 30 วัน น�ำมาเสริมให้แพะกิน 2 วันตอ่ 1
คร้งั โดยให้กนิ ประมาณตัวละ 2 กิโลกรัม

หมกั ท้งิ ไว้

30 วนั

¡Ò¡ Óµé ÒÅ

น�ำทางปาล์มนำ�้ มันกับลกู ปาลม์ ดิบมาบด
แล้วผสมกบั กากน�้ำตาลในอัตรา 70 : 30

การใชน้ ำ� หมักชีวภาพ

น�ำน้ำ� หมักชีวภาพจากผลไม้มาใหแ้ พะกิน โดยน�ำผลสบั ปะรด จ�ำนวน 40 กิโลกรมั
กับกากนำ�้ ตาล จ�ำนวน 20 กิโลกรัม และหวั เช้อื พ.ด. 2 จ�ำนวน 2 ซอง หมักไว้ในถงั เปน็ เวลา 1
เดือน จากนน้ั น�ำน้ำ� หมักมาจ�ำนวน 10 ซีซี ผสมกับนำ้� 20 ลิตร น�ำไปให้กิน 2 วัน ต่อ 1 คร้งั ท�ำให้
คอกแพะมกี ลนิ่ นอ้ ยลง และกลน่ิ ของแพะลดนอ้ ยลง สขุ ภาพแพะดขี น้ึ ปอ้ งกนั ไมใ่ หแ้ พะทอ้ งอดื

36 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศุสตั ว์”

การให้อาหารแพะ

จากการสังเกตพบว่า แพะจะกินอาหารท่ีแตกต่างกันใน
แต่ละฤดู โดยเห็นว่าในฤดูแล้งแพะจะกินกลางคืนมากกว่ากลางวัน
และในฤดูฝนแพะจะกินกลางวันได้มากกว่ากลางคืน จึงคิดว่าหาก
แพะกินอาหารในเวลาที่อากาศเย็น แพะจะกินได้มากกว่าในช่วงท่ี
อากาศร้อน จึงควรให้อาหารแพะในเวลาตอนเย็น เพ่ือแพะจะได้กิน
ในเวลากลางคืน จะท�ำใหแ้ พะกนิ ได้มากและโตเร็ว

3. โรงเรือนสำ� หรบั เล้ียงแพะ

แพะเปน็ สตั วท์ ีไ่ ม่ชอบนอนทอ่ี บั ชนื้ หรอื บนพน้ื ดนิ โดยทวั่ ไป
โรงเรือนท่ีใช้ส�ำหรับเล้ียงแพะจะเป็นโรงเรือนยกพื้น และพ้ืนคอกจะ

ท�ำเปน็ ไมร้ ะแนง เพอื่ ใหม้ ลู และปสั สาวะลงดนิ และสะดวก
ในการท�ำความสะอาด แต่โรงเรือนแบบน้ีมีราคา
สูง จึงมีองค์ความรู้ที่ท�ำแคร่ให้แพะนอน
แคร่ 1 ตัว ขนาดกวา้ ง 1.5 เมตร
ยาว 2 เมตร ราคาตัวละ
1,000 บาท แพะข้ึนนอน
ได้ 5-7 ตัว ท�ำให้ลดต้นทุนใน
การสร้างโรงเรือนได้มากทีเดียว
แตถ่ งึ อยา่ งไรกต็ าม กค็ วรท�ำคอก
อนบุ าลใหก้ บั ลกู แพะอายุ 4-5
เดือนด้วย เพราะแพะยังเล็ก
มาก อาจจะท�ำใหเ้ กิดปัญญาเรื่อง
สขุ ภาพของลูกแพะได้

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 37

ชุด “ปศสุ ตั ว์”

รางอาหาร

โดยท่ัวไปรางอาหารของแพะมักจะท�ำ
เป็นรางไม้ ท�ำให้เกิดการอับชื้น เป็นแหล่งหมักหมม
ของเชื้อโรคและมีกลิ่น แนะน�ำให้น�ำท่อ PVC เก่าๆ
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว มาแบ่งคร่ึง น�ำมา
เปน็ รางอาหาร ซึง่ ท�ำความสะอาดงา่ ย ลดการอับช้ืน
และลดแหลง่ เพาะพนั ธ์ุของเชือ้ โรค

วสั ดรุ องพ้ืนคอก

ส�ำหรับพ้ืนคอกให้น�ำทางปาล์มน้�ำมันย่อยบดมารองพื้นคอก เมื่อแพะถ่ายมูลหรือ
ปัสสาวะลงมา พื้นจะได้ไม่แฉะ ส�ำหรับทางปาลม์ น้ำ� มันที่น�ำมาเป็นวสั ดรุ องพ้นื เมอ่ื ผสมกบั มูล
และปสั สาวะของแพะแลว้ กน็ �ำมาเป็นปุย๋ ใสใ่ นสวนยางและสวนปาลม์ นำ�้ มันไดอ้ กี ดว้ ย

น�ำทางปาลม์ น�ำ้ มันย่อยบด มารองพ้นื

38 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสัตว”์

4. การจดั การเลีย้ งดู
การเล้ยี งดูลกู แพะก่อนหยา่ นม

แยกแม่แพะกบั ลกู แพะออกจากกัน ไมใ่ หล้ กู แพะเดินตาม
เพอ่ื ดดู นมแมแ่ พะ โดยเลย้ี งลกู แพะไวใ้ นคอกแยกไว้ เมอื่ ถงึ เวลาใหน้ ม
ก็ปล่อยแม่แพะเข้าไปในคอกลูกแพะ เม่ือลูกอิ่มแล้วก็ปล่อยแม่แพะ
ออกไป วธิ นี ้ีท�ำให้ลูกแพะได้กนิ นมอยา่ งเตม็ ที่ และกนิ นมเป็นเวลา

การเล้ียงสตั วป์ ีกผสมผสานในคอกแพะ

การเลี้ยงไก่และเป็ดในคอกแพะ เพ่ือให้ไก่และเป็ดช่วย
คยุ้ เขยี่ ทางปาลม์ นำ้� มนั ยอ่ ยบดทรี่ องพนื้ คอกและชว่ ยจกิ กนิ แมลงปรสติ
เศษอาหารที่ตกหล่นอยู่ตามพ้ืนคอก ลดการสูญเสียอาหารโดยเปล่า
ประโยชน์

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 39

ชุด “ปศสุ ัตว”์

5. การดแู ลสุขภาพสัตว์ ใบร้า
การใชส้ มนุ ไพรในการรกั ษาแพะ
½ กโิ ลกรัม
ยาบ�ำรุง - ใบร้า (ลักษณะคล้ายใบขมิ้น)
มีกล่ินคล้ายกับแมงดา น�ำใบร้าประมาณครึ่งกิโลกรัม หวั มะวาน
มาทบุ พอแหลก น�ำไปต้มกับนำ้� 5 ลิตร แลว้ น�ำมาผสม
กับน้�ำอีก 15 ลิตร น�ำไปให้แพะกิน จะช่วยท�ำให้แพะ ½ กโิ ลกรัม
รสู้ กึ สดชืน่ กระปรก้ี ระเปร่า
หัวงอ
ทอ้ งอดื - หวั มะวาน (กระวาน) มลี กั ษณะ (ว่านนำ้� )
คล้ายข่า โดยน�ำหัวกระวานประมาณ ½ กิโลกรัม
ตม้ กบั นำ้� 5 ลติ ร แลว้ น�ำมาผสมนำ�้ อกี 15 ลติ ร น�ำไปให้ ½ กิโลกรัม
แพะกนิ 1 เดอื น ต่อ 1 ครั้ง เพ่ือขับลมและแกท้ ้องอดื

โรคพยาธิ - หัวงอหรือว่านน้�ำ น�ำหัวงอ
ประมาณ ½ กิโลกรัมมาต�ำให้แหลก และผสมกับน้�ำ
2 ลิตร หมักไว้ 1 คืน แล้วน�ำมากรอกให้แพะกิน เป็น
การถ่ายพยาธิภายใน และสามารถน�ำมาทาท่ีตัวแพะ
เพอื่ ฆา่ พยาธิภายนอกไดเ้ ชน่ กนั

40 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศสุ ตั ว”์

ทบุ ใบรา้ ให้แหลก
แล้วน�ำไปตม้ กับน้�ำ 5 ลิตร

แลว้ น�ำมาผสมกับนำ้� อีก 15 ลติ ร
แล้วน�ำมาผสมกับนำ�้ อีก 15 ลิตร

น�ำหัวกระวานไปตม้ กบั น้ำ� 5 ลิตร ใหแ้ พะกนิ 1 เดือนตอ่ 1 คร้ัง

แลว้ ผสมกับน�้ำ 2 ลติ ร

น�ำวา่ นน�้ำมาต�ำใหแ้ หลก หมกั ทิง้ ไว้ 1 คนื

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 41

ชุด “ปศุสัตว์”

เพมิ่ อตั ราการรอดของ

“ลกู ออ๊ ด” ดว้ ยทางมะพรา้ ว

ปญั หาใหญ่ ทเ่ี กษตรกรผเู้ ลย้ี งกบตอ้ งประสบ คอื ชว่ งทล่ี กู ออ๊ ด
เปลี่ยนไปเป็นลูกกบ มักไม่มีชีวิตรอด เกษตรกรจ�ำนวนมากจึงมีวิธี
แก้ปัญหาด้วยการน�ำทางมะพร้าวมาใช้ ซ่ึงจะช่วยลดอัตราการตาย
ของลูกอ๊อดได้มาก ทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนและไม่ท�ำให้เสียเวลา
ชว่ งลูกอ๊อดไมร่ อดอกี ด้วย

42 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสัตว์”

วิธีการ คือ การเตรียมท�ำบ่อกบ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว
1 เมตร ก้ันสังกะสีสูง 0.8 เมตร น�ำสแลนมาคลุมล้อมรอบเพื่อกัน
สนุ ขั หรอื แมวเขา้ ไป จากนนั้ ใหน้ �ำลกู ออ๊ ดระยะปลายมาปล่อยลงใน
บ่อดิน แล้วใช้ทางมะพร้าวพาดทแยงตรงกลางของบ่อดิน วิธีการน้ี
ช่วยให้ลูกอ๊อดที่ขาเร่ิมงอกใช้เป็นจุดทรงตัวได้ดีกว่าการใช้แผ่นโฟม
ลอยน�้ำ เพราะไม่ว่าระดับน�้ำจะเพ่ิมหรือลดลง ลูกอ๊อดระยะขาเริ่ม
งอกเป็นลูกกบจะมีที่เกาะ เพ่ิมโอกาสรอดชีวิตของลูกกบมากกว่า
รอ้ ยละ 90

คลมุ ด้วยสแลน บอ่ กว้าง 1 เมตร

กนั้ สงั กะสี
สงู 0.8 เมตร

ยาว 1 เมตร

ใชท้ างมะพร้าวพาดทแยง
ตรงกลางของบ่อดิน

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 43

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

เมื่อลูกอ๊อดขางอกเต็มที่กลายเป็นลูกกบแล้ว น�ำกะละมังกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
60เซนตเิ มตรมาวางไวข้ า้ งบอ่ ใสน่ ำ้� ใหเ้ ตม็ ใหอ้ าหารแบบเดยี วกบั ปลาดกุ และปลานลิ คอื ไสป้ ลา
สบั ละเอยี ด บ่อละ 3 ขดี โดยใหว้ นั ละคร้งั ช่วงพลบค่ำ� กบจะกระโดดเข้าไปกินในกะละมังเอง

น�ำไปวางข้างบ่อ ใส่นำ�้ ใหเ้ ต็ม
ใสอ่ าหาร (ไส้ปลาสบั ละเอียด)

กะละมังกลม
60 เซนติเมตร

น�ำกระเบ้ืองลอนคมู่ าวางไว้ ด้านข้างบ่อดินน�ำกระเบ้ืองลอนคู่
มาวางไว้ เพอื่ ใหล้ กู กบหลบซอ่ นตวั ตาม
เปดิ ไฟล่อแมลง สญั ชาตญาณ แตต่ อ้ งระมดั ระวงั อยา่ ให้
44 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " กบอยอู่ ยา่ งแออดั เกนิ ไป เพราะกบอาจ
จะกินกันเอง และให้เปิดไฟนีออนเพ่ือ
ชุด “ปศุสัตว์” ล่อแมลงมาเป็นอาหารในช่วงกลางคืน
แตไ่ มค่ วรเปดิ ทง้ิ ไวท้ งั้ คนื เหมอื นบอ่ ปลา
เน่ืองจากกบไม่ชอบแสงไฟ ถ้าเปิดไฟ
ท้ิงไว้ กบจะไม่ออกมาจากทห่ี ลบมากนิ
อาหาร ท�ำใหต้ ายได้ ควรเปดิ ไว้ 1 ชว่ั โมง
ชว่ งหัวค่ำ� ท่ีมแี มลงมากก็พอ

ขยายพนั ธก์ุ บงา่ ยๆ

ไดด้ ้วยตัวเอง

เม่ือ “กบ” กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจท่ีมีคนบริโภคกันมากขึ้น
การจับกบในวิถีชีวิตแบบด้ังเดิมจึงกลายมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้
เปน็ ล�ำ่ เป็นสนั ใหก้ บั ผ้เู พาะเล้ียง

ตน้ ทนุ ส�ำคญั สว่ นหนง่ึ มาจากการทตี่ อ้ งซอ้ื ลกู กบมาเพาะเลย้ี งตอ่
ซ่ึงถ้าเกษตรกรสามารถขยายพันธุ์กบได้เอง ก็จะช่วยลดต้นทุน
ลงไปได้มาก การขยายพันธุ์ลูกกบต้องอาศัยความช�ำนาญในทุก
ขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การปล่อยกบลงผสมและ
การวางไข่ การเพาะฟักไข่กบ และการอนุบาลลูกอ๊อด แต่ก็ไม่ยาก
เกนิ ไป เพยี งแคห่ มัน่ สงั เกตและฝกึ ฝนเท่าน้ัน

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 45

ชุด “ปศสุ ตั ว”์

วิธที ำ� การหลอกให้ผสมพันธ์ุ

เร่ิมจากคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ ฉดี น�้ำท่ีผนงั บ่อใหช้ ุม่
น้�ำหนักตัว 30-70 กรัม อายุ 12-16 เดือน ระบายน�้ำออก รอใหแ้ ห้ง
กบแม่พันธุ์ต้องมีไข่แก่และสมบูรณ์เต็มท่ี
พร้อมผสมพันธ์ุ สังเกตไดจ้ ากส่วนทอ้ งเปง่ นนู ล่วงหนา้ 2 วนั
อุ้ยอ้าย เห็นได้ชัด ด้านข้างล�ำตัวที่กบตัวผู้
เกาะระหว่างผสมพันธุ์จะสากมือกว่าปกติ เม่อื ไขผ่ สมกบั อสุจิ
ในบางตัวที่มีไข่แก่จัดเต็มท่ี เม่ือรีดส่วนท้อง น�ำกบออกจากบอ่
เบาๆ จะมีเม็ดไข่สีขาวด�ำไหลออกมาให้เห็น เพม่ิ ระดับน้�ำ และปั๊มลม
ส่วนกบพ่อพันธุ์ ต้องมีน้�ำเช้ือและร่างกายที่ พน่ ฟองอากาศ
แข็งแรง บริเวณปากล่างมีสีเหลืองส้มจางๆ
ใต้ขามีสีเหลือง ล�ำตัวมีสีอ่อนเห็นได้ชัด รอไขฟ่ กั ตวั
หัวแม่มือและเทา้ หน้าสากกว่าปกติ
 ฉีดพ่นน้ำ� ช่วงเชา้ มืด
เม่ือเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้แล้ว น�ำมา ชว่ ง 04.00-05.00 น.
ปล่อยในบ่อเลี้ยงที่มีระดับน้�ำประมาณ 2 น้ิว
ให้กบเลือกคู่ เม่ือกบเลือกคู่แล้วจับไปปล่อย จากนั้น
ในบ่อผสมพนั ธแ์ุ ละวางไข่ บอ่ ละ 1-5 คู่ จัดหา รอผสมพนั ธแ์ุ ละวางไข่
หญ้า วัชพืชใส่ให้ทั่ว และใส่น�้ำใหม่อีกคร้ัง
นำ้� ควรมอี ณุ หภมู ติ ำ่� หรอื เยน็ ซง่ึ จะท�ำใหไ้ ขก่ บ แยกเลย้ี ง
แก่จัดในเวลาแค่คืนเดียว ช่วยให้กบแม่พันธุ์ น�ำกบพอ่ พันธแ์ุ ม่พนั ธ์ุ
ผสมพนั ธแ์ุ ละวางไขไ่ ดด้ ยี งิ่ ขน้ึ กบจะผสมพนั ธ์ุ แยกเล้ยี งราว 1 เดือน
และวางไขใ่ นรงุ่ เชา้ ประมาณ 04.00-05.00 น. โดยเลย้ี งบอ่ ละคเู่ ท่าน้นั

46 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

ใส่วชั พชื ฉดี นำ้� ลงบ่อ การหลอกให้ผสมพันธุ์เม่ือสิ้นสุดฤดูกาล
สรา้ งฝนเทียม ผสมพันธุ์ท�ำได้ด้วยวิธีฉีดน้�ำที่ผนังบ่อเล้ียง
5-7 วนั กบให้ชุ่มล่วงหน้า 2 วัน ระบายน�้ำออก รอให้
บ่อแห้ง ใส่วัสดุให้กบใช้หลบซ่อนตัว และ
แลว้ หยุดฉีดนำ�้ อีก ฉีดน�้ำลงบ่อเป็นการสร้างฝนเทียมประมาณ
5-7 วัน 5-7 วนั หยดุ ฉดี อีก 5-7 วัน วนั ตอ่ มาชว่ งเวลา
ราว 16.00-07.00 น. ฉีดพ่นน�้ำอีกประมาณ
วนั ตอ่ มา 15-20 นาที รุ่งขึ้นอีกวันฉีดน้�ำเวลาเท่ียงวัน
ชว่ ง 16.00-07.00 น. และบ่าย ครั้งละ 30 นาที เมื่อได้ยินเสียงกบ
 ฉีดพ่นน�ำ้ อีกประมาณ ร้องหาคู่ในเวลากลางวัน ก็น�ำกบพ่อพันธุ์มา
ปล่อยลงบ่อกบแม่พันธุ์ให้กบเลือกคู่กันเอง
15-20 นาที แล้วน�ำมาปล่อยลงในบ่อผสมพันธุ์วางไข่
บ่อละคู่เท่านั้น จากนั้นฉีดน�้ำในเวลาเช้ามืด
วันต่อมา ราว 04.00-05.00 น. กบก็จะผสมพันธ์วุ างไข่
ชว่ งเทย่ี งวนั และบา่ ย
 ฉีดพ่นน�ำ้ อกี ประมาณ กบพ่อแม่พันธุ์หลังจากแยกเลี้ยงราว
1 เดือน สามารถน�ำมาผสมพนั ธว์ุ างไข่ได้ใหม่
ครง้ั ละ 30 นาที ปหี นง่ึ จะผสมพนั ธไ์ุ ด้ 6-7 ครง้ั แตต่ อ้ งจบั คเู่ ดมิ
เสมอดว้ ย
เมอ่ื กบรอ้ งเรียกคู่
น�ำกบพ่อพันธุ์ เมอ่ื ไขก่ บทผ่ี สมกบั นำ�้ อสจุ ถิ กู นำ�้ จะพองตวั
เป็นวุ้นห่อหุ้มไว้ เมื่อจับกบพ่อแม่พันธุ์ออก
ปลอ่ ยลงบอ่ กบแม่พันธ์ุ จากบ่อแล้วให้เพ่ิมระดับน้�ำให้สูงขึ้นอีก
ใหก้ บเลอื กคู่กนั เอง เล็กน้อย และน�ำปั๊มลมพ่นฟองอากาศใส่ใน
บ่อฟักไข่กบด้วย จะท�ำให้ไข่ฟักตัวและกลาย
เป็นลกู ออ๊ ดไดร้ าวรอ้ ยละ 80-90

คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ " 47

ชดุ “ปศสุ ัตว์”

บ่อฟักไข่ ท�ำความสะอาดด้วยน�้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้ด่างทับทิม
ในอัตรา 10 มิลลิกรัม ต่อน้�ำ 1 ลิตร หรือยาเหลือง 15 มิลลิกรัม
ต่อนำ้� 1 ลิตร ราว 20 นาที แล้วล้างให้สะอาด กอ่ นเติมน�ำ้ สูง 3-4 นวิ้
หรืออาจเติมยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลินไฮโดรคลอไรด์ลงใน
บ่อเพาะฟักด้วยก็ได้ จากน้ันน�ำไข่กบที่ผสมแล้วมาเพาะฟักอย่าง
ระมัดระวัง ใช้ภาชนะตักไข่และน�้ำพร้อมกันใส่ลงในบ่อ อุณหภูมิน้�ำ
ประมาณ 21-24 องศาเซลเซยี ส ไขก่ บจะฟกั ตวั ภายใน 1 วัน

เพยี งเท่าน.้ี ..ผ้เู พาะเล้ยี ง
กส็ ามารถลดคา่ ใชจ้ า่ ย หรือ
สรา้ งรายไดเ้ สริมใหต้ ัวเองไดแ้ ล้ว

48 คมู่ อื เกษตรกร "รไู้ วใ้ ชจ้ รงิ "

ชุด “ปศุสัตว์”


Click to View FlipBook Version