The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanasakt, 2021-03-01 23:34:26

พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

พรบ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๕๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

พระราชบญั ญัติ

คมุ้ ครองข้อมลู ส่วนบคุ คล
พ.ศ. ๒๕๖๒

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดศี รีสนิ ทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกลา้ เจา้ อยู่หัว

ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปที ี่ ๔ ในรัชกาลปจั จบุ ัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มพี ระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ใหป้ ระกาศว่า

โดยทเ่ี ปน็ การสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลสว่ นบคุ คล
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเก่ียวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญ
แหง่ ราชอาณาจักรไทย บญั ญัตใิ ห้กระทาไดโ้ ดยอาศยั อานาจตามบทบญั ญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจาเป็นในการจากดั สิทธิและเสรภี าพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพ่ือให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจาก
การถูกละเมดิ สทิ ธใิ นข้อมลู สว่ นบุคคลทม่ี ีประสทิ ธภิ าพ ซึง่ การตราพระราชบญั ญตั นิ ส้ี อดคลอ้ งกบั เงอื่ นไข
ทีบ่ ญั ญตั ไิ วใ้ นมาตรา ๒๖ ของรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของ
สภานิติบัญญัตแิ หง่ ชาติทาหนา้ ทร่ี ัฐสภา ดังตอ่ ไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒”

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๕๓ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๒ พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ และความใน
มาตรา ๙๕ และมาตรา ๙๖ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เปน็ ตน้ ไป

มาตรา ๓ ในกรณีท่มี ีกฎหมายวา่ ด้วยการใดบัญญตั ิเก่ียวกับการคุ้มครองขอ้ มูลส่วนบุคคล
ในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
วา่ ดว้ ยการนนั้ เวน้ แต่

(๑) บทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติ
เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมท้ังบทกาหนดโทษท่ีเก่ียวข้อง ให้บังคับตามบทบัญญัติ
แหง่ พระราชบญั ญัตินเี้ ปน็ การเพ่มิ เติม ไมว่ ่าจะซา้ กบั บทบญั ญัตแิ หง่ กฎหมายวา่ ด้วยการนน้ั หรอื ไมก่ ต็ าม

(๒) บทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องเรียน บทบัญญัติท่ีให้อานาจแก่คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญ
ออกคาสง่ั เพ่ือค้มุ ครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญตั เิ ก่ียวกับอานาจหน้าที่ของพนกั งานเจ้าหน้าท่ี
รวมท้งั บทกาหนดโทษทเี่ ก่ยี วขอ้ ง ให้บงั คบั ตามบทบัญญัตแิ หง่ พระราชบญั ญตั นิ ี้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(ก) ในกรณที ่ีกฎหมายวา่ ดว้ ยการน้นั ไมม่ ีบทบัญญัติเก่ยี วกับการรอ้ งเรียน
(ข) ในกรณีท่กี ฎหมายว่าด้วยการน้ันมีบทบัญญัติทใี่ ห้อานาจแก่เจา้ หนา้ ทีผ่ ู้มอี านาจพจิ ารณา
เรื่องร้องเรียนตามกฎหมายดังกล่าวออกคาสั่งเพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่ไม่เพียงพอเท่ากับ
อานาจของคณะกรรมการผู้เช่ียวชาญตามพระราชบัญญัติน้ีและเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจตามกฎหมายดังกล่าว
รอ้ งขอต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือเจา้ ของขอ้ มูลส่วนบคุ คลผู้เสียหายย่นื คารอ้ งเรียนต่อคณะกรรมการ
ผูเ้ ชยี่ วชาญตามพระราชบญั ญัตินี้ แลว้ แต่กรณี
มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินไ้ี มใ่ ช้บังคบั แก่
(๑) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคุ คลของบคุ คลที่ทาการเก็บรวบรวมขอ้ มลู
สว่ นบุคคลเพอ่ื ประโยชน์ส่วนตนหรอื เพอ่ื กิจกรรมในครอบครวั ของบุคคลนั้นเทา่ นนั้
(๒) การดาเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซ่ึงรวมถึง
ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน้าท่ีเก่ียวกับ
การป้องกนั และปราบปรามการฟอกเงนิ นิตวิ ทิ ยาศาสตร์ หรือการรักษาความมนั่ คงปลอดภยั ไซเบอร์
(๓) บุคคลหรือนิติบุคคลซ่ึงใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลท่ีทาการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะ
เพ่ือกิจการสอ่ื มวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรมอนั เปน็ ไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ
หรอื เปน็ ประโยชน์สาธารณะเทา่ นนั้

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๕๔ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๔) สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมาธิการท่ีแตง่ ตั้งโดยสภาดังกล่าว
ซ่ึงเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยขอ้ มูลส่วนบคุ คลในการพจิ ารณาตามหน้าท่แี ละอานาจของสภาผูแ้ ทนราษฎร
วุฒสิ ภา รฐั สภา หรือคณะกรรมาธกิ าร แลว้ แตก่ รณี

(๕) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดาเนินงานของเจ้าหนา้ ทใ่ี นกระบวนการพิจารณาคดี
การบงั คับคดี และการวางทรัพย์ รวมทง้ั การดาเนินงานตามกระบวนการยตุ ธิ รรมทางอาญา

(๖) การดาเนินการกับข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วย
การประกอบธรุ กจิ ขอ้ มลู เครดติ

การยกเว้นไม่ให้นาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับแก่
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดทานองเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูล
สว่ นบุคคลตามวรรคหนง่ึ หรอื เพ่อื ประโยชนส์ าธารณะอ่ืนใด ให้ตราเปน็ พระราชกฤษฎีกา

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหน่ึง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) และผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคลของหน่วยงานท่ีได้รับยกเว้นตามท่ีกาหนดในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ต้องจัดให้มี
การรกั ษาความม่นั คงปลอดภัยของขอ้ มูลส่วนบคุ คลใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานดว้ ย

มาตรา ๕ พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล
ส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรอื ผู้ประมวลผลขอ้ มลู สว่ นบคุ คลซงึ่ อยู่ในราชอาณาจักร ไมว่ ่า
การเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยน้ัน ไดก้ ระทาในหรือนอกราชอาณาจกั รก็ตาม

ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล
ส่วนบุคคลซง่ึ อยู่ในราชอาณาจักรโดยการดาเนนิ กจิ กรรมของผู้ควบคุมขอ้ มูลส่วนบุคคลหรอื ผปู้ ระมวลผล
ขอ้ มูลส่วนบคุ คลดงั กลา่ ว เมือ่ เป็นกจิ กรรม ดงั ตอ่ ไปน้ี

(๑) การเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงอยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่า
จะมีการชาระเงินของเจ้าของข้อมลู สว่ นบุคคลหรือไมก่ ็ตาม

(๒) การเฝา้ ติดตามพฤตกิ รรมของเจา้ ของข้อมูลสว่ นบคุ คลที่เกิดขนึ้ ในราชอาณาจกั ร
มาตรา ๖ ในพระราชบัญญตั นิ ้ี
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเก่ียวกับบุคคลซ่ึงทาให้สามารถระบุตัวบุคคลนัน้ ได้
ไมว่ า่ ทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงขอ้ มูลของผู้ถงึ แก่กรรมโดยเฉพาะ
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซ่ึงมีอานาจหน้าท่ีตัดสินใจ
เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผยขอ้ มลู สว่ นบุคคล

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๕๕ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซ่ึงดาเนินการเกี่ยวกับ
การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคาส่ังหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ท้งั นี้ บคุ คลหรอื นิติบุคคลซ่งึ ดาเนนิ การดงั กล่าวไมเ่ ป็นผ้คู วบคุมขอ้ มลู ส่วนบุคคล

“บคุ คล” หมายความว่า บุคคลธรรมดา
“คณะกรรมการ” หมายความวา่ คณะกรรมการคุ้มครองขอ้ มูลสว่ นบคุ คล
“พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี” หมายความวา่ ผู้ซ่งึ รฐั มนตรีแต่งต้งั ใหป้ ฏบิ ัตกิ ารตามพระราชบญั ญัตนิ ี้
“สานักงาน” หมายความว่า สานกั งานคณะกรรมการคุม้ ครองขอ้ มลู ส่วนบคุ คล
“เลขาธกิ าร” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการค้มุ ครองข้อมูลสว่ นบุคคล
“รฐั มนตรี” หมายความวา่ รฐั มนตรีผ้รู ักษาการตามพระราชบัญญัตนิ ้ี
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม
พระราชบัญญตั ินี้ และให้มอี านาจแต่งต้งั พนกั งานเจ้าหน้าท่ี เพ่ือปฏิบตั กิ ารตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี

หมวด ๑
คณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มลู ส่วนบคุ คล

มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการค้มุ ครองขอ้ มลู สว่ นบุคคล ประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการ ซึ่งสรรหาและแต่งตงั้ จากผู้มคี วามรู้ ความเชย่ี วชาญ และประสบการณ์
เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือด้านอื่น ท้ังน้ี
ตอ้ งเกีย่ วข้องและเป็นประโยชนต์ อ่ การคมุ้ ครองขอ้ มลู ส่วนบุคคล
(๒) ปลดั กระทรวงดจิ ิทลั เพอ่ื เศรษฐกิจและสงั คม เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตาแหน่ง จานวนห้าคน ได้แก่ ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎกี า เลขาธกิ ารคณะกรรมการคมุ้ ครองผู้บรโิ ภค อธิบดกี รมคมุ้ ครองสทิ ธแิ ละเสรภี าพ
และอยั การสงู สดุ
(๔) กรรมการผทู้ รงคุณวุฒิ จานวนเก้าคน ซ่ึงสรรหาและแตง่ ตง้ั จากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน
หรือด้านอื่น ท้งั นี้ ตอ้ งเก่ียวข้องและเปน็ ประโยชนต์ ่อการคุ้มครองข้อมลู ส่วนบคุ คล

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๕๖ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งต้ังพนักงานของสานักงาน
เปน็ ผู้ช่วยเลขานกุ ารไดไ้ ม่เกินสองคน

หลักเกณฑ์และวธิ กี ารสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตง้ั เป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
รวมท้ังการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพ่ือดารงตาแหน่งแทนผู้ท่ีพ้นจากตาแหน่ง
ก่อนวาระตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามที่คณะรฐั มนตรปี ระกาศกาหนด ท้ังน้ี ต้องคานึงถึงความโปรง่ ใส
และความเป็นธรรมในการสรรหา

มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจานวนแปดคนทาหน้าท่ีคัดเลือกบุคคล
ที่สมควรได้รับการแต่งต้ังเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๘ (๔) ประกอบด้วย

(๑) บุคคลซึง่ นายกรฐั มนตรีแต่งต้งั จานวนสองคน
(๒) บคุ คลซ่งึ ประธานรฐั สภาแตง่ ต้งั จานวนสองคน
(๓) บคุ คลซ่งึ ผตู้ รวจการแผน่ ดนิ แตง่ ต้งั จานวนสองคน และ
(๔) บุคคลซึ่งคณะกรรมการสทิ ธมิ นษุ ยชนแหง่ ชาติแต่งต้งั จานวนสองคน
ในกรณีที่ผู้มีอานาจแต่งตั้งตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการสรรหา
ในส่วนของตนได้ภายในสีส่ บิ หา้ วันนับแตว่ นั ท่ีได้รับแจ้งจากสานักงาน ใหส้ านกั งานเสนอช่อื ใหน้ ายกรัฐมนตรี
พจิ ารณาแตง่ ตั้งบุคคลทเ่ี หมาะสมเปน็ กรรมการสรรหาแทนผู้มอี านาจแต่งต้ังน้นั
ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหน่ึงเป็นประธานกรรมการสรรหาและ
เลือกกรรมการสรรหาอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และให้สานักงานปฏิบัติหน้าท่ี
เป็นหนว่ ยธรุ การของคณะกรรมการสรรหา
ในกรณีที่ตาแหน่งกรรมการสรรหาว่างลง ให้ดาเนินการเพ่ือให้มีกรรมการสรรหาแทนใน
ตาแหน่งน้ันโดยเร็ว ในระหว่างท่ียังไม่ได้กรรมการสรรหาใหม่ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย
กรรมการสรรหาเท่าทีม่ ีอยู่
กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอช่ือเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือ
กรรมการผทู้ รงคุณวฒุ ติ ามมาตรา ๘ (๔)
มาตรา ๑๐ ในการสรรหาประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๘ (๔) ให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๘ (๑) หรือ
ตามมาตรา ๘ (๔) แล้วแต่กรณี รวมท้ังมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑ และ
ยินยอมให้เสนอชื่อเข้ารับคัดเลือกเท่ากับจานวนประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒติ ามมาตรา ๘ (๔) ที่จะได้รับแต่งตงั้

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๕๗ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

เมื่อได้คัดเลือกบุคคลเป็นประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๘ (๔) ครบจานวนแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาแจ้งรายช่ือประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑)
หรอื กรรมการผ้ทู รงคณุ วุฒิตามมาตรา ๘ (๔) พรอ้ มหลกั ฐานแสดงคุณสมบตั ิและการไม่มีลกั ษณะตอ้ งหา้ ม
รวมทงั้ ความยนิ ยอมของบคุ คลดงั กลา่ วตอ่ คณะรัฐมนตรเี พอ่ื แต่งต้งั เปน็ ประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑)
หรอื กรรมการผู้ทรงคุณวุฒติ ามมาตรา ๘ (๔)

ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายช่อื ประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) หรือกรรมการผู้ทรงคุณวฒุ ิ
ตามมาตรา ๘ (๔) ซ่ึงได้รับแต่งต้งั จากคณะรฐั มนตรใี นราชกิจจานเุ บกษา

มาตรา ๑๑ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวฒุ ิต้องมีคณุ สมบตั ิและไม่มลี ักษณะ
ต้องห้าม ดังตอ่ ไปน้ี

(๑) มีสญั ชาตไิ ทย
(๒) ไมเ่ ปน็ บคุ คลลม้ ละลายหรือเคยเปน็ บุคคลล้มละลายทุจรติ
(๓) ไมเ่ ปน็ คนไร้ความสามารถหรอื คนเสมือนไรค้ วามสามารถ
(๔) ไม่เคยตอ้ งคาพิพากษาถงึ ที่สดุ ใหจ้ าคกุ ไมว่ ่าจะไดร้ บั โทษจาคกุ จรงิ หรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษ
สาหรบั ความผดิ ทไ่ี ดก้ ระทาโดยประมาทหรอื ความผิดลหโุ ทษ
(๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรอื จากหน่วยงานของเอกชน เพราะทจุ ริตต่อหนา้ ท่หี รอื ประพฤติชว่ั อย่างรา้ ยแรง
(๖) ไม่เคยถกู ถอดถอนออกจากตาแหนง่ ตามกฎหมาย
(๗) ไม่เปน็ ผดู้ ารงตาแหนง่ ทางการเมอื ง สมาชิกสภาทอ้ งถิ่น หรือผ้บู รหิ ารท้องถ่นิ กรรมการ
หรือผู้ดารงตาแหน่งซ่ึงรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่
พรรคการเมือง
มาตรา ๑๒ ประธานกรรมการและกรรมการผทู้ รงคุณวฒุ มิ วี าระการดารงตาแหน่งคราวละสปี่ ี
เม่ือครบกาหนดตามวาระในวรรคหนงึ่ หากยงั มิได้มกี ารแตง่ ตงั้ ประธานกรรมการหรอื กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตาแหน่งตามวาระน้ัน
อยู่ในตาแหน่งเพ่ือดาเนินงานตอ่ ไปจนกว่าประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคณุ วุฒซิ ่งึ ได้รับแต่งต้ังใหม่
เข้ารบั หนา้ ที่
ประธานกรรมการและกรรมการผทู้ รงคุณวฒุ ซิ ง่ึ พ้นจากตาแหน่งตามวาระอาจไดร้ บั แตง่ ตัง้ อกี ได้
แตจ่ ะดารงตาแหนง่ เกินสองวาระไมไ่ ด้

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๕๘ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ ประธานกรรมการและ
กรรมการผู้ทรงคุณวฒุ พิ น้ จากตาแหนง่ เมือ่

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าท่ี มีความประพฤติเส่ือมเสีย หรือ
หยอ่ นความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรอื มลี กั ษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๑๑
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ที่ได้รับ
แต่งตัง้ แทนตาแหน่งท่ีว่างน้นั ดารงตาแหน่งไดเ้ ท่ากับวาระท่ีเหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซง่ึ ตนแทน เว้นแต่วาระท่ีเหลืออยู่ไม่ถงึ เก้าสิบวันจะไม่แตง่ ตั้งประธานกรรมการหรอื กรรมการ
ผู้ทรงคุณวฒุ ิแทนกไ็ ด้
ในกรณีทป่ี ระธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคณุ วฒุ พิ น้ จากตาแหน่งก่อนวาระ ใหค้ ณะกรรมการ
ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าท่ีมอี ย่จู นกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรอื กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามวรรคสอง และในกรณที ี่ประธานกรรมการพ้นจากตาแหนง่ ก่อนวาระ ให้รองประธานกรรมการทาหน้าที่
ประธานกรรมการเป็นการชัว่ คราว
มาตรา ๑๔ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าก่ึงหนึ่งของ
จานวนกรรมการที่มอี ยู่ จงึ จะเปน็ องคป์ ระชุม
ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในท่ีประชุม ในกรณีท่ีประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือ
ไมอ่ าจปฏิบัตหิ น้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทาหนา้ ที่เปน็ ประธานในทีป่ ระชมุ ในกรณที ่ีประธานกรรมการ
และรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏบิ ตั หิ น้าท่ีได้ ใหก้ รรมการซง่ึ มาประชมุ เลือกกรรมการ
คนหน่งึ เป็นประธานในท่ีประชุม
การวินจิ ฉยั ชขี้ าดของที่ประชมุ ใหถ้ ือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งใหม้ ีเสียงหน่งึ ในการลงคะแนน
ถา้ คะแนนเสียงเท่ากนั ให้ประธานในท่ีประชุมออกเสียงเพ่ิมข้ึนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสยี งชี้ขาด
การประชุมของคณะกรรมการอาจกระทาได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นได้ตามที่
คณะกรรมการกาหนด
มาตรา ๑๕ กรรมการผใู้ ดมีส่วนได้เสยี ไมว่ ่าโดยตรงหรือโดยออ้ มในเร่ืองท่ที ่ปี ระชุมพิจารณา
ให้แจง้ การมีส่วนไดเ้ สียของตนใหค้ ณะกรรมการทราบลว่ งหนา้ ก่อนการประชมุ และหา้ มมิให้ผ้นู ั้นเข้ารว่ ม
ประชมุ พิจารณาในเรอ่ื งดงั กล่าว

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๕๙ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๖ คณะกรรมการมหี น้าที่และอานาจ ดงั ตอ่ ไปน้ี
(๑) จัดทาแผนแม่บทการดาเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
ดิจิทลั เพอื่ เศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาตติ ามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดจิ ิทัลเพ่อื เศรษฐกิจและสังคม
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ดาเนินกิจกรรมตามแผนแม่บท
ตาม (๑) รวมทั้งจดั ให้มีการประเมนิ ผลการดาเนนิ งานตามแผนแม่บทดงั กล่าว
(๓) กาหนดมาตรการหรอื แนวทางการดาเนินการเกี่ยวกับการค้มุ ครองขอ้ มลู ส่วนบุคคลเพือ่ ให้
เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ออกประกาศหรือระเบยี บเพ่อื ให้การดาเนนิ การเปน็ ไปตามพระราชบญั ญัตนิ ี้
(๕) ประกาศกาหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลท่ีส่งหรือโอนไปยัง
ตา่ งประเทศ
(๖) ประกาศกาหนดข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นแนวทางให้ผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบคุ คลและผู้ประมวลผลข้อมลู สว่ นบคุ คลปฏบิ ัติ
(๗) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการตราหรือปรับปรุงกฎหมายหรือกฎที่ใช้บังคับอยู่ใน
ส่วนทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับการคุ้มครองขอ้ มูลส่วนบุคคล
(๘) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกาหรือทบทวนความเหมาะสมของ
พระราชบัญญัติน้อี ย่างน้อยทุกรอบห้าปี
(๙) ให้คาแนะนาและคาปรึกษาเก่ียวกับการดาเนินการใด ๆ เพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูล
สว่ นบุคคลของหน่วยงานของรฐั และภาคเอกชนในการปฏิบัตติ ามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) ตคี วามและวนิ จิ ฉัยชี้ขาดปญั หาทเี่ กดิ จากการบังคับใชพ้ ระราชบญั ญัตนิ ้ี
(๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดทักษะการเรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบคุ คลให้แก่ประชาชน
(๑๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีท่ีเก่ียวข้องกับการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบคุ คล
(๑๓) ปฏิบัติการอ่ืนใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอ่ืนกาหนดให้เป็นหน้าที่และอานาจ
ของคณะกรรมการ
มาตรา ๑๗ ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการได้รับเบี้ยประชุม
และประโยชน์ตอบแทนอน่ื ตามหลักเกณฑท์ ี่คณะรฐั มนตรีกาหนด

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และกรรมการผู้เชีย่ วชาญ
ท่ีคณะกรรมการแต่งต้ัง ให้ได้รับเบ้ียประชุมและประโยชน์ตอบแทนอ่ืนตามหลักเกณฑ์ท่ีคณะกรรมการ
กาหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลงั

มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
อยา่ งใดอย่างหน่งึ ตามทีค่ ณะกรรมการมอบหมายได้

การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นาความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับ
โดยอนโุ ลม

หมวด ๒
การคมุ้ ครองข้อมูลสว่ นบคุ คล

สว่ นท่ี ๑
บทท่วั ไป

มาตรา ๑๙ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทาการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล
ส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนหรือในขณะนั้น เว้นแต่บทบัญญัติ
แห่งพระราชบญั ญตั นิ ้ีหรือกฎหมายอื่นบัญญตั ใิ หก้ ระทาได้

การขอความยินยอมต้องทาโดยชัดแจ้ง เป็นหนังสือหรือทาโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่
โดยสภาพไมอ่ าจขอความยินยอมดว้ ยวธิ ีการดงั กลา่ วได้

ในการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้ง
วตั ถปุ ระสงคข์ องการเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผยขอ้ มูลสว่ นบุคคลไปดว้ ย และการขอความยนิ ยอมน้นั
ต้องแยกส่วนออกจากข้อความอื่นอย่างชัดเจน มีแบบหรือข้อความที่เข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจได้ รวมท้ัง
ใช้ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เปน็ การหลอกลวงหรือทาใหเ้ จ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจผิดในวัตถปุ ระสงค์
ดังกล่าว ทัง้ น้ี คณะกรรมการจะใหผ้ ู้ควบคมุ ข้อมูลส่วนบุคคลขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ตามแบบและขอ้ ความทค่ี ณะกรรมการประกาศกาหนดกไ็ ด้

ในการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องคานึง
อยา่ งถงึ ท่สี ุดในความเปน็ อิสระของเจ้าของขอ้ มูลสว่ นบคุ คลในการใหค้ วามยนิ ยอม ทั้งนี้ ในการเข้าทาสญั ญา
ซึ่งรวมถึงการให้บริการใด ๆ ต้องไม่มีเง่ือนไขในการให้ความยินยอมเพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
ข้อมลู ส่วนบุคคลทีไ่ มม่ ีความจาเป็นหรือเกย่ี วขอ้ งสาหรบั การเขา้ ทาสญั ญาซึง่ รวมถึงการใหบ้ ริการนั้น ๆ

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๖๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

เจ้าของข้อมูลส่วนบคุ คลจะถอนความยินยอมเสียเม่อื ใดก็ไดโ้ ดยจะต้องถอนความยินยอมได้งา่ ย
เช่นเดียวกับการให้ความยินยอม เว้นแต่มีข้อจากัดสิทธิในการถอนความยินยอมโดยกฎหมายหรือ
สัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท้ังน้ี การถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อ
การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมไปแล้ว
โดยชอบตามท่กี าหนดไวใ้ นหมวดนี้

ในกรณีที่การถอนความยินยอมส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเร่ืองใด ผู้ควบคุม
ขอ้ มูลส่วนบคุ คลตอ้ งแจ้งใหเ้ จา้ ของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถงึ ผลกระทบจากการถอนความยินยอมนัน้

การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมลู สว่ นบุคคลที่ไมเ่ ป็นไปตามทีก่ าหนดไว้ในหมวดนี้ ไมม่ ผี ล
ผูกพันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ทาให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทาการเก็บรวบรวม ใช้
หรือเปดิ เผยข้อมูลสว่ นบุคคลได้

มาตรา ๒๐ ในกรณีทเี่ จ้าของขอ้ มลู สว่ นบุคคลเป็นผเู้ ยาวซ์ ึง่ ยงั ไม่บรรลนุ ติ ิภาวะโดยการสมรส
หรือไมม่ ฐี านะเสมือนดงั บุคคลซึ่งบรรลุนติ ิภาวะแล้วตามมาตรา ๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การขอความยินยอมจากเจา้ ของข้อมูลส่วนบคุ คลดังกลา่ ว ใหด้ าเนินการ ดงั ต่อไปนี้

(๑) ในกรณีท่ีการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ไม่ใช่การใด ๆ ซ่ึงผู้เยาว์อาจให้ความยินยอม
โดยลาพังได้ตามท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณชิ ย์ ต้องได้รบั ความยนิ ยอมจากผู้ใชอ้ านาจปกครองทม่ี อี านาจกระทาการแทนผู้เยาว์ด้วย

(๒) ในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุไม่เกินสิบปี ให้ขอความยินยอมจากผู้ใช้อานาจปกครองที่มีอานาจ
กระทาการแทนผู้เยาว์

ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคนไร้ความสามารถ การขอความยินยอมจากเจ้าของ
ข้อมลู ส่วนบุคคลดงั กล่าว ใหข้ อความยินยอมจากผูอ้ นบุ าลท่มี อี านาจกระทาการแทนคนไร้ความสามารถ

ในกรณีท่ีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ การขอความยินยอมจาก
เจ้าของข้อมลู ส่วนบคุ คลดังกล่าว ให้ขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์ทมี่ ีอานาจกระทาการแทนคนเสมือนไร้
ความสามารถ

ให้นาความในวรรคหน่ึง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการถอนความยินยอมของ
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ การใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูล
ส่วนบุคคล การร้องเรียนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการอ่ืนใดตามพระราชบัญญัติน้ีในกรณีที่
เจ้าของข้อมูลสว่ นบุคคลเปน็ ผู้เยาว์ คนไรค้ วามสามารถ หรอื คนเสมอื นไรค้ วามสามารถ โดยอนุโลม

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๖๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

มาตรา ๒๑ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องทาการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล
สว่ นบคุ คลตามวตั ถปุ ระสงคท์ ีไ่ ด้แจ้งเจ้าของขอ้ มลู สว่ นบคุ คลไวก้ ่อนหรอื ในขณะที่เกบ็ รวบรวม

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ท่ีได้แจ้งไว้
ตามวรรคหนึง่ จะกระทามิได้ เว้นแต่

(๑) ได้แจ้งวัตถุประสงค์ใหม่น้ันให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและได้รับความยินยอมก่อน
เกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผยแล้ว

(๒) บทบญั ญตั แิ หง่ พระราชบญั ญัตนิ ห้ี รอื กฎหมายอน่ื บัญญตั ใิ ห้กระทาได้

ส่วนที่ ๒
การเกบ็ รวบรวมข้อมลู สว่ นบคุ คล

มาตรา ๒๒ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ให้เก็บรวบรวมได้เท่าที่จาเป็นภายใต้
วตั ถปุ ระสงคอ์ ันชอบด้วยกฎหมายของผคู้ วบคุมข้อมลู ส่วนบคุ คล

มาตรา ๒๓ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้ง
ให้เจ้าของข้อมูลสว่ นบคุ คลทราบกอ่ นหรือในขณะเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลส่วนบคุ คลถงึ รายละเอยี ด ดังตอ่ ไปน้ี
เวน้ แตเ่ จา้ ของขอ้ มลู สว่ นบุคคลได้ทราบถงึ รายละเอยี ดนั้นอยูแ่ ล้ว

(๑) วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมเพ่ือการนาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเปิดเผยซึ่งรวมถึง
วัตถุประสงค์ตามที่มาตรา ๒๔ ให้อานาจในการเก็บรวบรวมได้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
ข้อมูลส่วนบคุ คล

(๒) แจ้งให้ทราบถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพ่ือปฏิบัติ
ตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจาเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทาสัญญา รวมทั้งแจ้งถึง
ผลกระทบท่เี ป็นไปไดจ้ ากการไมใ่ ห้ขอ้ มลู ส่วนบคุ คล

(๓) ข้อมูลส่วนบคุ คลท่ีจะมีการเก็บรวบรวมและระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้ ทั้งน้ี ในกรณี
ท่ีไม่สามารถกาหนดระยะเวลาดังกล่าวไดช้ ัดเจน ให้กาหนดระยะเวลาที่อาจคาดหมายไดต้ ามมาตรฐาน
ของการเกบ็ รวบรวม

(๔) ประเภทของบุคคลหรือหนว่ ยงานซ่งึ ขอ้ มูลสว่ นบุคคลทเ่ี ก็บรวบรวมอาจจะถูกเปิดเผย
(๕) ข้อมูลเก่ียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สถานท่ีติดต่อ และวิธีการติดต่อในกรณี
ที่มีตัวแทนหรือเจ้าหนา้ ที่คุ้มครองขอ้ มูลส่วนบุคคล ให้แจ้งข้อมูล สถานท่ีติดต่อ และวิธีการติดต่อของ
ตวั แทนหรอื เจา้ หนา้ ท่คี มุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลดว้ ย

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๓ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๖) สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๑๙ วรรคห้า มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ วรรคหน่ึง มาตรา ๓๔ วรรคหน่ึง
มาตรา ๓๖ วรรคหน่ึง และมาตรา ๗๓ วรรคหนง่ึ

มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
โดยไมไ่ ด้รบั ความยนิ ยอมจากเจ้าของข้อมูลสว่ นบุคคล เวน้ แต่

(๑) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทาเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ
เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกีย่ วกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซงึ่ ไดจ้ ัดให้มมี าตรการปกป้องท่เี หมาะสม
เพอื่ คุ้มครองสทิ ธิและเสรีภาพของเจา้ ของข้อมลู ส่วนบุคคล ทงั้ น้ี ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด

(๒) เพื่อปอ้ งกนั หรอื ระงบั อนั ตรายต่อชวี ติ รา่ งกาย หรือสขุ ภาพของบคุ คล
(๓) เป็นการจาเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือ
เพื่อใชใ้ นการดาเนินการตามคาขอของเจ้าของขอ้ มลู สว่ นบุคคลกอ่ นเข้าทาสัญญานั้น
(๔) เปน็ การจาเปน็ เพื่อการปฏิบตั หิ น้าท่ีในการดาเนินภารกิจเพ่ือประโยชนส์ าธารณะของผู้ควบคุม
ข้อมลู ส่วนบคุ คล หรอื ปฏบิ ัติหนา้ ทใี่ นการใช้อานาจรฐั ท่ีได้มอบใหแ้ ก่ผคู้ วบคมุ ขอ้ มูลสว่ นบุคคล
(๕) เป็นการจาเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
หรือของบคุ คลหรือนติ ิบุคคลอนื่ ที่ไม่ใช่ผู้ควบคมุ ข้อมูลส่วนบุคคล เวน้ แต่ประโยชนด์ งั กล่าวมีความสาคัญ
น้อยกว่าสทิ ธขิ นั้ พืน้ ฐานในขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของเจ้าของข้อมลู สว่ นบคุ คล
(๖) เปน็ การปฏิบตั ิตามกฎหมายของผ้คู วบคุมขอ้ มลู สว่ นบุคคล
มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจาก
แหลง่ อ่ืนทไี่ ม่ใชจ่ ากเจ้าของข้อมลู ส่วนบคุ คลโดยตรง เวน้ แต่
(๑) ได้แจ้งถึงการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ส่วนบุคคลจากแหล่งอน่ื ใหแ้ กเ่ จ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ
โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันท่ีเก็บรวบรวมและได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
ส่วนบคุ คล
(๒) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลท่ีได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามมาตรา ๒๔
หรือมาตรา ๒๖
ให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับการแจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ตามมาตรา ๒๑ และการแจ้งรายละเอียด
ตามมาตรา ๒๓ มาใชบ้ ังคบั กับการเก็บรวบรวมข้อมลู สว่ นบคุ คลท่ีต้องไดร้ บั ความยนิ ยอมตามวรรคหนึ่ง
โดยอนโุ ลม เว้นแตก่ รณดี ังตอ่ ไปน้ี

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๔ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

(๑) เจ้าของข้อมูลสว่ นบคุ คลทราบวัตถุประสงค์ใหม่หรอื รายละเอยี ดนั้นอยแู่ ลว้
(๒) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลพิสูจน์ได้ว่าการแจ้งวัตถุประสงค์ใหม่หรือรายละเอียดดังกล่าว
ไม่สามารถทาได้หรือจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพ่ือให้
บรรลุวัตถปุ ระสงค์เกีย่ วกบั การศึกษาวิจัยทางวทิ ยาศาสตร์ ประวตั ศิ าสตร์ หรอื สถิติ ในกรณีนี้ผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีมาตรการทเ่ี หมาะสมเพื่อคุ้มครองสทิ ธิ เสรีภาพ และประโยชน์ของเจ้าของ
ขอ้ มลู ส่วนบคุ คล
(๓) การใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องกระทาโดยเร่งด่วนตามท่ีกฎหมายกาหนด
ซงึ่ ไดจ้ ัดให้มีมาตรการทเี่ หมาะสมเพ่อื ค้มุ ครองประโยชนข์ องเจา้ ของขอ้ มลู ส่วนบุคคล
(๔) เม่ือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้ซึ่งล่วงรู้หรือได้มาซ่ึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน้าที่
หรือจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพและต้องรักษาวัตถุประสงค์ใหม่หรือรายละเอียดบางประการ
ตามมาตรา ๒๓ ไวเ้ ปน็ ความลับตามทกี่ ฎหมายกาหนด
การแจ้งรายละเอียดตามวรรคสอง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูล
ส่วนบุคคลทราบภายในสามสบิ วันนบั แตว่ นั ทีเ่ ก็บรวบรวมตามมาตราน้ี เวน้ แตก่ รณีทนี่ าขอ้ มลู สว่ นบคุ คล
ไปใช้เพื่อการติดต่อกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งในการติดต่อคร้ังแรก และกรณีที่จะนาข้อมูล
ส่วนบุคคลไปเปิดเผย ต้องแจง้ กอ่ นทีจ่ ะนาขอ้ มูลสว่ นบุคคลไปเปิดเผยเปน็ ครง้ั แรก
มาตรา ๒๖ ห้ามมใิ หเ้ ก็บรวบรวมขอ้ มลู ส่วนบคุ คลเกย่ี วกบั เชื้อชาติ เผา่ พนั ธ์ุ ความคิดเหน็
ทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม
ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด
ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทานองเดียวกนั ตามท่ีคณะกรรมการประกาศกาหนด โดยไม่ได้รบั
ความยินยอมโดยชัดแจง้ จากเจา้ ของขอ้ มลู ส่วนบุคคล เว้นแต่
(๑) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูล
ส่วนบุคคลไมส่ ามารถให้ความยนิ ยอมได้ ไมว่ า่ ดว้ ยเหตุใดกต็ าม
(๒) เปน็ การดาเนินกิจกรรมโดยชอบดว้ ยกฎหมายทมี่ กี ารคุ้มครองที่เหมาะสมของมูลนิธิ สมาคม
หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากาไรท่ีมีวัตถุประสงค์เก่ียวกับการเมือง ศาสนา ปรัชญา หรือสหภาพแรงงาน
ให้แก่สมาชิก ผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ซึ่งมีการติดต่ออย่างสม่าเสมอกับมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กร
ที่ไม่แสวงหากาไรตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวโดยไม่ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นออกไปภายนอกมูลนิธิ
สมาคม หรือองคก์ รท่ไี ม่แสวงหากาไรนั้น

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๕ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๓) เป็นขอ้ มูลทีเ่ ปดิ เผยต่อสาธารณะดว้ ยความยินยอมโดยชดั แจง้ ของเจา้ ของข้อมลู ส่วนบคุ คล
(๔) เป็นการจาเป็นเพ่ือการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิ
เรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นตอ่ สู้สทิ ธเิ รียกร้องตามกฎหมาย
(๕) เป็นการจาเป็นในการปฏิบตั ติ ามกฎหมายเพอ่ื ใหบ้ รรลวุ ตั ถุประสงค์เกีย่ วกับ

(ก) เวชศาสตร์ปอ้ งกนั หรืออาชวี เวชศาสตร์ การประเมินความสามารถในการทางานของ
ลูกจ้าง การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ การให้บริการด้านสุขภาพหรือด้านสังคม การรักษาทางการแพทย์
การจัดการด้านสขุ ภาพ หรือระบบและการให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์ ทั้งน้ี ในกรณีท่ีไม่ใช่การปฏบิ ัติ
ตามกฎหมายและข้อมูลส่วนบุคคลน้ันอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือผู้มีหนา้ ท่ี
รักษาข้อมูลส่วนบุคคลน้ันไว้เป็นความลับตามกฎหมาย ต้องเป็นการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าของ
ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลกับผ้ปู ระกอบวชิ าชพี ทางการแพทย์

(ข) ประโยชน์สาธารณะดา้ นการสาธารณสุข เช่น การปอ้ งกนั ด้านสุขภาพจากโรคตดิ ต่อ
อันตรายหรือโรคระบาดท่ีอาจติดตอ่ หรือแพร่เข้ามาในราชอาณาจักร หรือการควบคุมมาตรฐานหรือคณุ ภาพ
ของยา เวชภัณฑ์ หรือเครอื่ งมอื แพทย์ ซ่ึงได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมและเจาะจงเพ่ือคมุ้ ครองสทิ ธิ
และเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะการรักษาความลับของข้อมลู ส่วนบุคคลตามหนา้ ท่ีหรอื
ตามจรยิ ธรรมแห่งวิชาชีพ

(ค) การคุ้มครองแรงงาน การประกนั สงั คม หลักประกนั สุขภาพแห่งชาติ สวัสดิการเกี่ยวกบั
การรกั ษาพยาบาลของผ้มู สี ิทธิตามกฎหมาย การคุ้มครองผปู้ ระสบภัยจากรถ หรือการคุ้มครองทางสงั คม
ซ่ึงการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นส่ิงจาเป็นในการปฏิบัติตามสิทธิหรือหน้าท่ีของผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคลหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้จัดให้มีมาตรการท่ีเหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน
และประโยชนข์ องเจา้ ของขอ้ มลู สว่ นบุคคล

(ง) การศึกษาวจิ ัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ หรอื สถิติ หรอื ประโยชนส์ าธารณะอื่น
ท้ังนี้ ต้องกระทาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวเพียงเท่าท่ีจาเป็นเท่าน้ัน และได้จัดให้มีมาตรการ
ทเ่ี หมาะสมเพ่ือคุ้มครองสิทธขิ ั้นพ้ืนฐานและประโยชนข์ องเจา้ ของข้อมูลสว่ นบุคคล ตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกาหนด

(จ) ประโยชน์สาธารณะท่ีสาคัญ โดยได้จัดให้มีมาตรการท่ีเหมาะสมเพ่ือคุ้มครอง
สิทธขิ ้นั พน้ื ฐานและประโยชนข์ องเจ้าของขอ้ มูลสว่ นบุคคล

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๖๖ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อมูลชีวภาพตามวรรคหน่ึงใหห้ มายถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เกดิ จากการใช้เทคนิคหรอื เทคโนโลยี
ท่ีเก่ียวข้องกบั การนาลักษณะเดน่ ทางกายภาพหรอื ทางพฤติกรรมของบคุ คลมาใชท้ าให้สามารถยืนยันตวั ตน
ของบุคคลน้ันท่ีไม่เหมือนกับบุคคลอื่นได้ เช่น ข้อมูลภาพจาลองใบหน้า ข้อมูลจาลองม่านตา หรือ
ข้อมูลจาลองลายนิ้วมอื

ในกรณีท่ีเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเก่ียวกับประวัติอาชญากรรมต้องกระทาภายใต้
การควบคุมของหน่วยงานท่ีมอี านาจหน้าท่ีตามกฎหมาย หรือได้จดั ให้มีมาตรการคมุ้ ครองขอ้ มูลส่วนบุคคล
ตามหลกั เกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด

สว่ นที่ ๓
การใชห้ รือเปดิ เผยข้อมูลสว่ นบคุ คล

มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้
รับความยนิ ยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบคุ คล เว้นแตเ่ ป็นข้อมูลสว่ นบุคคลที่เกบ็ รวบรวมไดโ้ ดยไดร้ บั ยกเว้น
ไม่ตอ้ งขอความยินยอมตามมาตรา ๒๔ หรอื มาตรา ๒๖

บคุ คลหรอื นติ ิบคุ คลท่ีไดร้ บั ข้อมูลสว่ นบุคคลมาจากการเปดิ เผยตามวรรคหน่ึง จะต้องไมใ่ ช้หรอื
เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพ่ือวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบคุ คลในการขอรบั ข้อมูลสว่ นบคุ คลนั้น

ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลท่ีได้รับยกเว้นไม่ต้องขอ
ความยินยอมตามวรรคหน่ึง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องบันทึกการใช้หรือเปิดเผยนั้นไว้ในรายการ
ตามมาตรา ๓๙

มาตรา ๒๘ ในกรณที ่ีผคู้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนขอ้ มูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
ประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศท่ีรับข้อมูลส่วนบคุ คลต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมลู
ส่วนบุคคลที่เพียงพอ ท้ังน้ี ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่
คณะกรรมการประกาศกาหนดตามมาตรา ๑๖ (๕) เวน้ แต่

(๑) เป็นการปฏิบัตติ ามกฎหมาย
(๒) ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบคุ คลโดยได้แจ้งให้เจา้ ของข้อมูลส่วนบคุ คลทราบถึง
มาตรฐานการคุ้มครองขอ้ มูลส่วนบุคคลท่ีไม่เพียงพอของประเทศปลายทางหรือองค์การระหวา่ งประเทศ
ทร่ี บั ขอ้ มูลส่วนบคุ คลแลว้

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๗ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

(๓) เป็นการจาเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือ
เพอ่ื ใช้ในการดาเนินการตามคาขอของเจา้ ของข้อมูลสว่ นบุคคลก่อนเข้าทาสญั ญานั้น

(๔) เป็นการกระทาตามสัญญาระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับบุคคลหรือนิติบุคคลอ่ืน
เพ่อื ประโยชน์ของเจ้าของขอ้ มลู ส่วนบุคคล

(๕) เพ่ือป้องกนั หรือระงับอันตรายตอ่ ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจา้ ของข้อมูลส่วนบุคคล
หรือบุคคลอนื่ เม่ือเจา้ ของข้อมูลส่วนบคุ คลไมส่ ามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้

(๖) เป็นการจาเป็นเพอ่ื การดาเนินภารกจิ เพ่ือประโยชน์สาธารณะท่ีสาคญั
ในกรณีท่มี ีปญั หาเกีย่ วกับมาตรฐานการค้มุ ครองขอ้ มูลสว่ นบคุ คลท่เี พียงพอของประเทศปลายทาง
หรือองค์การระหว่างประเทศท่ีรับข้อมูลส่วนบุคคล ให้เสนอต่อคณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัย ทั้งน้ี
คาวนิ ิจฉัยของคณะกรรมการอาจขอใหท้ บทวนไดเ้ ม่อื มีหลกั ฐานใหมท่ าให้เชื่อไดว้ ่าประเทศปลายทางหรือ
องค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีการพัฒนาจนมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่เพยี งพอ
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่
ในราชอาณาจักรได้กาหนดนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล
ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงอยู่ต่างประเทศและอยู่ในเครือกิจการ
หรือเครือธุรกิจเดียวกันเพื่อการประกอบกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน หากนโยบายในการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสานักงาน การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยัง
ต่างประเทศที่เป็นไปตามนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รบั การตรวจสอบและรับรองดังกลา่ ว
ให้สามารถกระทาได้โดยได้รบั ยกเว้นไมต่ อ้ งปฏบิ ัติตามมาตรา ๒๘
นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะของเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกัน
เพอื่ การประกอบกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน และหลักเกณฑแ์ ละวิธกี ารตรวจสอบและรบั รองตามวรรคหนง่ึ
ให้เปน็ ไปตามท่คี ณะกรรมการประกาศกาหนด
ในกรณที ย่ี ังไมม่ ีคาวินิจฉยั ของคณะกรรมการตามมาตรา ๒๘ หรือยงั ไมม่ นี โยบายในการค้มุ ครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหน่ึง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่ง
หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ เมื่อผู้ควบคุม
ข้อมลู ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลขอ้ มลู สว่ นบคุ คลได้จดั ให้มีมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมสามารถบังคับ
ตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาทางกฎหมายท่ีมีประสิทธิภาพ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่คี ณะกรรมการประกาศกาหนด

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๖๘ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

หมวด ๓
สทิ ธขิ องเจ้าของขอ้ มลู สว่ นบุคคล

มาตรา ๓๐ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสาเนาข้อมูลส่วนบุคคล
ท่ีเก่ียวกับตนซ่ึงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มา
ซง่ึ ขอ้ มูลสว่ นบุคคลดงั กลา่ วท่ตี นไม่ได้ใหค้ วามยินยอม

ผ้คู วบคุมขอ้ มลู สว่ นบุคคลต้องปฏิบัติตามคาขอตามวรรคหนง่ึ จะปฏิเสธคาขอไดเ้ ฉพาะในกรณี
ท่ีเป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคาส่ังศาล และการเข้าถึงและขอรับสาเนาข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
จะส่งผลกระทบทอี่ าจก่อใหเ้ กดิ ความเสียหายต่อสทิ ธิและเสรภี าพของบคุ คลอนื่

ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธคาขอตามวรรคหน่ึง ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
บันทึกการปฏิเสธคาขอดังกล่าวพร้อมด้วยเหตผุ ลไวใ้ นรายการตามมาตรา ๓๙

เม่ือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีคาขอตามวรรคหน่ึงและเป็นกรณีท่ีไม่อาจปฏิเสธคาขอได้
ตามวรรคสอง ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดาเนินการตามคาขอโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสบิ วนั
นบั แต่วันทีไ่ ดร้ บั คาขอ

คณะกรรมการอาจกาหนดหลักเกณฑ์เกยี่ วกับการเขา้ ถึงและการขอรบั สาเนาตามวรรคหนง่ึ รวมท้งั
การขยายระยะเวลาตามวรรคสี่หรือหลักเกณฑอ์ ่ืนตามความเหมาะสมกไ็ ด้

มาตรา ๓๑ เจ้าของข้อมูลสว่ นบุคคลมสี ิทธิขอรบั ข้อมูลส่วนบุคคลท่ีเกี่ยวกับตนจากผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบ
ที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยท่ัวไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทางานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้
หรอื เปดิ เผยขอ้ มูลส่วนบุคคลไดด้ ว้ ยวิธีการอตั โนมตั ิ รวมท้งั มสี ทิ ธิ ดังตอ่ ไปน้ี

(๑) ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนขอ้ มูลสว่ นบุคคลในรปู แบบดังกลา่ วไปยังผู้ควบคุม
ข้อมูลสว่ นบคุ คลอืน่ เมอ่ื สามารถทาไดด้ ้วยวธิ กี ารอัตโนมัติ

(๒) ขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ควบคุมขอ้ มูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบคุ คลในรปู แบบ
ดังกล่าวไปยงั ผูค้ วบคมุ ขอ้ มูลส่วนบคุ คลอืน่ โดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไมส่ ามารถทาได้

ขอ้ มูลส่วนบคุ คลตามวรรคหนึ่งตอ้ งเป็นข้อมลู สว่ นบุคคลท่ีเจ้าของขอ้ มูลสว่ นบุคคลได้ให้ความยนิ ยอม
ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผยข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์แห่งพระราชบัญญตั ินี้ หรือเป็นข้อมูล
ส่วนบุคคลทีไ่ ด้รบั ยกเวน้ ไมต่ ้องขอความยินยอมตามมาตรา ๒๔ (๓) หรือเป็นขอ้ มูลส่วนบุคคลอ่ืนท่ีกาหนด
ในมาตรา ๒๔ ตามทค่ี ณะกรรมการประกาศกาหนด

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๖๙ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

การใช้สิทธิของเจ้าของขอ้ มลู ส่วนบุคคลตามวรรคหน่ึงจะใช้กับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบคุ คล
ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงเป็นการปฏิบัติหน้าท่ีเพ่ือประโยชน์สาธารณะหรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
ตามกฎหมายไมไ่ ด้ หรอื การใช้สิทธนิ ้นั ต้องไม่ละเมิดสทิ ธหิ รือเสรภี าพของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ในกรณที ผี่ ู้ควบคมุ
ข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธคาขอด้วยเหตุผลดังกล่าว ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลบันทึกการปฏิเสธคาขอ
พรอ้ มด้วยเหตผุ ลไวใ้ นรายการตามมาตรา ๓๙

มาตรา ๓๒ เจา้ ของข้อมูลสว่ นบุคคลมสี ิทธคิ ดั คา้ นการเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผยขอ้ มลู
สว่ นบุคคลทีเ่ ก่ียวกบั ตนเมื่อใดก็ได้ ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมได้โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอม
ตามมาตรา ๒๔ (๔) หรอื (๕) เว้นแตผ่ คู้ วบคุมขอ้ มูลส่วนบุคคลพสิ ูจน์ไดว้ ่า

(ก) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลน้ัน ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ได้แสดงให้เห็นถงึ เหตุอันชอบด้วยกฎหมายทสี่ าคญั ยง่ิ กว่า

(ข) การเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลน้นั เปน็ ไปเพ่ือก่อตง้ั สิทธิเรียกรอ้ ง
ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้อง
ตามกฎหมาย

(๒) กรณีท่ีเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เก่ียวกับ
การตลาดแบบตรง

(๓) กรณีท่ีเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพ่ือวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่เป็นการจาเป็นเพ่ือการดาเนินภารกจิ
เพอ่ื ประโยชนส์ าธารณะของผูค้ วบคุมขอ้ มลู ส่วนบคุ คล

ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้สิทธิคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ไม่สามารถเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลน้ันต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ต้องปฏิบัติโดยแยกส่วนออกจากข้อมูลอ่ืนอย่างชัดเจนในทันทีเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้แจ้ง
การคดั ค้านให้ผูค้ วบคมุ ขอ้ มลู ส่วนบคุ คลทราบ

ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธการคัดด้านด้วยเหตุผลตาม (๑) (ก) หรือ (ข)
หรือ (๓) ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลบันทึกการปฏิเสธการคัดค้านพร้อมด้วยเหตุผลไว้ในรายการ
ตามมาตรา ๓๙

มาตรา ๓๓ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดาเนินการลบ
หรือทาลาย หรือทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลท่ีไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูล
สว่ นบคุ คลได้ ในกรณดี งั ตอ่ ไปน้ี

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๑) เม่ือข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจาเป็นในการเก็บรกั ษาไวต้ ามวัตถปุ ระสงค์ในการเกบ็ รวบรวม
ใช้ หรือเปิดเผยข้อมลู ส่วนบคุ คล

(๒) เม่ือเจ้าของขอ้ มูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยขอ้ มูล
ส่วนบุคคลและผู้ควบคุมขอ้ มลู ส่วนบคุ คลไม่มีอานาจตามกฎหมายท่ีจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยขอ้ มลู
ส่วนบคุ คลนัน้ ได้ต่อไป

(๓) เม่ือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ตามมาตรา ๓๒ (๑) และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อาจปฏิเสธคาขอตามมาตรา ๓๒ (๑) (ก)
หรอื (ข) ได้ หรือเปน็ การคดั คา้ นตามมาตรา ๓๒ (๒)

(๔) เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามท่ี
กาหนดไวใ้ นหมวดนี้

ความในวรรคหนึ่งมิให้นามาใช้บังคับกับการเก็บรักษาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในกา รใช้เสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น การเก็บรักษาไว้เพ่ือวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๒๔ (๑) หรือ (๔) หรือ
มาตรา ๒๖ (๕) (ก) หรือ (ข) การใช้เพื่อการก่อต้ังสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือ
การใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อการปฏิบัติ
ตามกฎหมาย

ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลถูกขอให้ลบหรือทาลายหรือทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นขอ้ มูลที่ไม่สามารถ
ระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามวรรคหน่ึง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็น
ผู้รับผิดชอบดาเนินการทั้งในทางเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายเพ่ือให้เป็นไปตามคาขอนั้น โดยแจ้งผู้ควบคุม
ข้อมูลสว่ นบคุ คลอนื่ ๆ เพื่อให้ไดร้ ับคาตอบในการดาเนนิ การให้เปน็ ไปตามคาขอ

กรณผี คู้ วบคุมข้อมลู ส่วนบุคคลไม่ดาเนินการตามวรรคหนงึ่ หรอื วรรคสาม เจ้าของขอ้ มูลสว่ นบุคคล
มสี ทิ ธริ อ้ งเรยี นต่อคณะกรรมการผู้เชย่ี วชาญเพือ่ ส่งั ใหผ้ ้คู วบคมุ ขอ้ มลู ส่วนบุคคลดาเนินการได้

คณะกรรมการอาจประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ในการลบหรือทาลาย หรือทาให้ข้อมูลส่วนบุคคล
เปน็ ข้อมลู ทไี่ มส่ ามารถระบุตัวบุคคลท่ีเป็นเจ้าของข้อมลู ส่วนบคุ คลตามวรรคหน่ึงก็ได้

มาตรา ๓๔ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้
ขอ้ มูลสว่ นบคุ คลได้ ในกรณีดังต่อไปน้ี

(๑) เม่ือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในระหว่างการตรวจสอบตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ร้องขอให้ดาเนนิ การตามมาตรา ๓๖

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

(๒) เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลท่ีต้องลบหรือทาลายตามมาตรา ๓๓ (๔) แต่เจ้าของข้อมูล
ส่วนบคุ คลขอใหร้ ะงบั การใช้แทน

(๓) เมอื่ ข้อมลู สว่ นบคุ คลหมดความจาเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวตั ถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคล แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความจาเป็นต้องขอให้เก็บรักษาไว้เพ่ือใช้ในการก่อตั้ง
สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกข้ึนต่อสู้
สทิ ธเิ รยี กรอ้ งตามกฎหมาย

(๔) เม่ือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบคุ คลอยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตามมาตรา ๓๒ (๑) หรือตรวจสอบ
ตามมาตรา ๓๒ (๓) เพ่ือปฏเิ สธการคัดค้านของเจา้ ของข้อมูลส่วนบคุ คลตามมาตรา ๓๒ วรรคสาม

กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิ
รอ้ งเรียนต่อคณะกรรมการผเู้ ชี่ยวชาญเพ่ือสัง่ ให้ผูค้ วบคมุ ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลดาเนินการได้

คณะกรรมการอาจประกาศกาหนดหลกั เกณฑใ์ นการระงับการใช้ตามวรรคหนึ่งกไ็ ด้
มาตรา ๓๕ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลน้ันถูกต้อง
เปน็ ปัจจบุ นั สมบรู ณ์ และไมก่ ่อให้เกิดความเขา้ ใจผิด
มาตรา ๓๖ ในกรณีทีเ่ จ้าของข้อมลู สว่ นบุคคลรอ้ งขอให้ผ้คู วบคุมข้อมูลสว่ นบคุ คลดาเนินการ
ตามมาตรา ๓๕ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบคุ คลไม่ดาเนินการตามคารอ้ งขอ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบคุ คล
ตอ้ งบันทกึ คารอ้ งขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบคุ คลพรอ้ มด้วยเหตผุ ลไวใ้ นรายการตามมาตรา ๓๙
ใหน้ าความในมาตรา ๓๔ วรรคสอง มาใชบ้ งั คับโดยอนโุ ลม
มาตรา ๓๗ ผคู้ วบคุมขอ้ มลู ส่วนบคุ คลมีหน้าที่ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) จดั ใหม้ มี าตรการรักษาความม่ันคงปลอดภัยท่ีเหมาะสม เพ่ือป้องกันการสูญหาย เขา้ ถงึ ใช้
เปล่ียนแปลง แกไ้ ข หรือเปดิ เผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอานาจหรอื โดยมชิ อบ และต้องทบทวน
มาตรการดังกล่าวเม่ือมคี วามจาเป็นหรือเมอื่ เทคโนโลยีเปลย่ี นแปลงไปเพ่ือให้มีประสิทธิภาพในการรักษา
ความมั่นคงปลอดภยั ที่เหมาะสม ทั้งน้ี ให้เปน็ ไปตามมาตรฐานขนั้ ตา่ ทคี่ ณะกรรมการประกาศกาหนด
(๒) ในกรณีที่ต้องใหข้ อ้ มูลส่วนบุคคลแกบ่ ุคคลหรือนติ ิบคุ คลอ่นื ท่ไี ม่ใชผ่ ู้ควบคมุ ขอ้ มูลสว่ นบุคคล
ต้องดาเนินการเพือ่ ปอ้ งกนั มใิ ห้ผนู้ น้ั ใช้หรือเปดิ เผยขอ้ มูลสว่ นบคุ คลโดยปราศจากอานาจหรือโดยมิชอบ
(๓) จัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อดาเนินการลบหรือทาลายข้อมูลส่วนบคุ คลเมื่อพ้นกาหนด
ระยะเวลาการเก็บรักษา หรือท่ีไม่เกี่ยวข้องหรือเกินความจาเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น หรือตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอ หรือที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ได้ถอนความยินยอม เว้นแต่เก็บรักษาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

การเก็บรักษาไว้เพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๒๔ (๑) หรือ (๔) หรือมาตรา ๒๖ (๕) (ก) หรือ (ข)
การใช้เพ่ือการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพ่ือการปฏิบัติตามกฎหมาย ท้ังนี้ ให้นาความใน
มาตรา ๓๓ วรรคห้า มาใช้บังคับกบั การลบหรือทาลายขอ้ มูลส่วนบุคคลโดยอนุโลม

(๔) แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สานักงานโดยไม่ชักช้าภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมง
นับแตท่ ราบเหตุเท่าท่ีจะสามารถกระทาได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มคี วามเส่ียงท่ีจะมผี ลกระทบต่อ
สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีท่ีการละเมิดมีความเสี่ยงสูงท่ีจะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยา
โดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีคณะกรรมการ
ประกาศกาหนด

(๕) ในกรณีที่เปน็ ผคู้ วบคุมขอ้ มลู สว่ นบุคคลตามมาตรา ๕ วรรคสอง ต้องแต่งต้งั ตวั แทนของ
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหนังสือซ่ึงตัวแทนต้องอยู่ในราชอาณาจักรและตัวแทนต้องได้รับมอบอานาจ
ให้กระทาการแทนผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีข้อจากัดความรับผิดใด ๆ ที่เก่ียวกับการเก็บรวบรวม
ใช้ หรือเปดิ เผยข้อมูลส่วนบคุ คลตามวัตถปุ ระสงค์ของผคู้ วบคมุ ขอ้ มูลส่วนบคุ คล

มาตรา ๓๘ บทบัญญัตเิ กย่ี วกบั การแตง่ ตงั้ ตัวแทนตามมาตรา ๓๗ (๕) มิให้นามาใช้บังคับแก่
ผู้ควบคุมข้อมลู ส่วนบุคคล ดงั ตอ่ ไปน้ี

(๑) ผคู้ วบคมุ ขอ้ มลู ส่วนบุคคลซ่ึงเปน็ หน่วยงานของรัฐตามท่คี ณะกรรมการประกาศกาหนด
(๒) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งประกอบอาชีพหรือธุรกิจในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
ข้อมูลสว่ นบคุ คลทไี่ มม่ ีลักษณะตามมาตรา ๒๖ และไมม่ ขี ้อมูลส่วนบคุ คลเปน็ จานวนมากตามทีค่ ณะกรรมการ
ประกาศกาหนดตามมาตรา ๔๑ (๒)
ในกรณีที่ผู้ควบคุมขอ้ มูลส่วนบคุ คลตามมาตรา ๕ วรรคสอง มีผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ให้นาความในมาตรา ๓๗ (๕) และความในวรรคหนึง่ มาใช้บังคับแก่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนน้ั
โดยอนโุ ลม
มาตรา ๓๙ ให้ผู้ควบคุมขอ้ มูลส่วนบุคคลบนั ทกึ รายการ อย่างนอ้ ยดงั ต่อไปนี้ เพ่อื ใหเ้ จ้าของ
ข้อมูลส่วนบุคคลและสานักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทกึ เป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์
ก็ได้
(๑) ข้อมลู สว่ นบคุ คลท่ีมกี ารเกบ็ รวบรวม
(๒) วตั ถปุ ระสงคข์ องการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ส่วนบคุ คลแต่ละประเภท

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๗๓ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๓) ข้อมลู เก่ียวกับผคู้ วบคุมขอ้ มูลสว่ นบคุ คล
(๔) ระยะเวลาการเก็บรักษาขอ้ มูลส่วนบคุ คล
(๕) สิทธิและวธิ กี ารเขา้ ถึงข้อมลู ส่วนบคุ คล รวมทั้งเง่อื นไขเก่ียวกับบุคคลท่มี ีสิทธิเขา้ ถึงขอ้ มูล
ส่วนบุคคลและเง่ือนไขในการเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ส่วนบคุ คลน้นั
(๖) การใชห้ รอื เปิดเผยตามมาตรา ๒๗ วรรคสาม
(๗) การปฏิเสธคาขอหรือการคัดค้านตามมาตรา ๓๐ วรรคสาม มาตรา ๓๑ วรรคสาม
มาตรา ๓๒ วรรคสาม และมาตรา ๓๖ วรรคหน่งึ
(๘) คาอธบิ ายเกย่ี วกับมาตรการรกั ษาความม่นั คงปลอดภัยตามมาตรา ๓๗ (๑)
ความในวรรคหนึ่งให้นามาใช้บังคับกับตัวแทนของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๕
วรรคสอง โดยอนโุ ลม
ความใน (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๘) อาจยกเว้นมิให้นามาใช้บังคับกับผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงเป็นกิจการขนาดเล็กตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด เว้นแต่
มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคุ คลท่ีมคี วามเส่ียงท่ีจะมีผลกระทบต่อสิทธแิ ละเสรภี าพ
ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือมิใช่กิจการที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็น
ครัง้ คราว หรือมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรอื เปดิ เผยขอ้ มลู ส่วนบคุ คลตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๔๐ ผ้ปู ระมวลผลข้อมูลสว่ นบุคคลมีหนา้ ท่ี ดังต่อไปนี้
(๑) ดาเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคาสั่งท่ีได้รับ
จากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าน้ัน เว้นแต่คาส่ังนั้นขัดต่อกฎหมายหรือบทบัญญัติในการคุ้มครอง
ข้อมูลสว่ นบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพ่ือป้องกันการสูญหาย เข้าถึง
ใช้ เปล่ียนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอานาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้ง
แจ้งให้ผคู้ วบคุมขอ้ มลู สว่ นบคุ คลทราบถึงเหตกุ ารละเมดิ ขอ้ มลู ส่วนบุคคลท่เี กดิ ข้นึ
(๓) จัดทาและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้
ตามหลกั เกณฑ์และวธิ กี ารทคี่ ณะกรรมการประกาศกาหนด
ผู้ประมวลผลข้อมลู ส่วนบคุ คลซ่งึ ไม่ปฏิบตั ติ าม (๑) สาหรับการเกบ็ รวบรวม ใช้ หรือเปดิ เผย
ข้อมูลส่วนบุคคลใด ให้ถือว่าผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสาหรับ
การเก็บรวบรวม ใช้ หรอื เปดิ เผยข้อมูลส่วนบคุ คลนั้น

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๔ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

การดาเนินงานตามหนา้ ท่ขี องผปู้ ระมวลผลขอ้ มูลสว่ นบุคคลตามทไี่ ดร้ ับมอบหมายจากผูค้ วบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนงึ่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีข้อตกลงระหวา่ งกัน เพื่อควบคุม
การดาเนนิ งานตามหน้าท่ขี องผปู้ ระมวลผลข้อมูลสว่ นบุคคลใหเ้ ปน็ ไปตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี

ความใน (๓) อาจยกเว้นมิให้นามาใช้บังคับกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงเป็นกิจการ
ขนาดเล็กตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด เว้นแต่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
ข้อมูลส่วนบุคคลท่ีมีความเสี่ยงท่ีจะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ
มิใช่กิจการท่ีเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นครั้งคราว หรือมีการเก็บรวบรวม ใช้
หรอื เปดิ เผยข้อมลู ส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๖

มาตรา ๔๑ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มี
เจา้ หนา้ ที่คมุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของตน ในกรณีดงั ตอ่ ไปนี้

(๑) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตามที่
คณะกรรมการประกาศกาหนด

(๒) การดาเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย จาเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่าเสมอ
โดยเหตทุ มี่ ีข้อมูลสว่ นบคุ คลเปน็ จานวนมากตามทีค่ ณะกรรมการประกาศกาหนด

(๓) กิจกรรมหลักของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็น
การเก็บรวบรวม ใช้ หรอื เปดิ เผยข้อมูลส่วนบคุ คลตามมาตรา ๒๖

ในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในเครือกิจการ
หรือเครือธุรกิจเดียวกันเพื่อการประกอบกิจการหรือธุรกิจร่วมกันตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด
ตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
อาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกันได้ ท้ังนี้ สถานที่ทาการแต่ละแห่งของผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกันดังกล่าว
ต้องสามารถตดิ ตอ่ กบั เจ้าหนา้ ที่คุ้มครองขอ้ มลู สว่ นบุคคลไดโ้ ดยงา่ ย

ความในวรรคสองให้นามาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล
ส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม (๑) ซ่งึ มขี นาดใหญ่หรือมสี ถานทที่ าการหลายแหง่ โดยอนโุ ลม

ในกรณีท่ผี ู้ควบคุมข้อมลู ส่วนบคุ คลหรือผู้ประมวลผลขอ้ มูลส่วนบคุ คลตามวรรคหนงึ่ ตอ้ งแต่งตั้ง
ตัวแทนตามมาตรา ๓๗ (๕) ให้นาความในวรรคหนงึ่ มาใชบ้ งั คบั แก่ตัวแทนโดยอนโุ ลม

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๕ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ
เจ้าหน้าท่ีคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถานท่ีติดต่อ และวิธีการติดต่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล ะ
สานักงานทราบ ท้ังนี้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อเจ้าหน้าท่ีคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกบั
การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ตามพระราชบัญญัติน้ีได้

ค ณ ะ ก รรม การอ าจป ระกาศ กาหนด คุณ สมบั ติของเจ้ าหน้า ที่ คุ้มค รองข้อ มูลส่วนบุคคลได้
โดยคานึงถงึ ความรู้หรอื ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคมุ้ ครองขอ้ มูลสว่ นบุคคล

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจเป็นพนักงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือ
ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือเป็นผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญากับผู้ควบคุมข้อมู ลส่วนบุคคลหรือ
ผปู้ ระมวลผลขอ้ มูลสว่ นบคุ คลก็ได้

มาตรา ๔๒ เจา้ หนา้ ทค่ี ้มุ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลมหี นา้ ที่ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) ให้คาแนะนาแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมท้ัง
ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี
(๒) ตรวจสอบการดาเนินงานของผคู้ วบคมุ ข้อมูลส่วนบคุ คลหรือผ้ปู ระมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
รวมท้ังลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเก่ียวกับ
การเก็บรวบรวม ใช้ หรอื เปดิ เผยข้อมูลส่วนบุคคลเพอ่ื ใหเ้ ป็นไปตามพระราชบัญญตั นิ ้ี
(๓) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับสานักงานในกรณีท่ีมีปัญหาเก่ียวกับการเก็บรวบรวม
ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
รวมท้ังลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคมุ ข้อมูลส่วนบคุ คลหรอื ผ้ปู ระมวลผลขอ้ มูลสว่ นบุคคลในการปฏิบัติ
ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้
(๔) รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนล่วงรู้หรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าท่ี
ตามพระราชบัญญตั ินี้
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่
ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์อย่างเพียงพอ รวมท้ังอานวย
ความสะดวกในการเขา้ ถึงขอ้ มูลสว่ นบคุ คลเพอื่ การปฏิบัติหนา้ ท่ี

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๖ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลออกจากงานหรือเลิกสัญญาการจ้างดว้ ยเหตุท่ีเจ้าหน้าท่คี ุ้มครองข้อมลู ส่วนบคุ คลปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี
ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ ทั้งน้ี ในกรณีท่ีมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าท่ี เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลต้องสามารถรายงานไปยังผบู้ ริหารสงู สุดของผู้ควบคมุ ขอ้ มูลส่วนบุคคลหรอื ผ้ปู ระมวลผลข้อมูล
สว่ นบคุ คลโดยตรงได้

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอื่นได้ แต่ผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องรับรองกับสานักงานว่าหน้าท่ีหรือภารกิจดังกล่าว
ตอ้ งไม่ขดั หรอื แยง้ ตอ่ การปฏบิ ตั ิหน้าท่ตี ามพระราชบญั ญัตนิ ี้

หมวด ๔
สานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู สว่ นบคุ คล

มาตรา ๔๓ ให้มีสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกบั
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบคุ คลของประเทศ

สานักงานเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย
ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือ
กฎหมายอ่นื

กิจการของสานักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมาย
ว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสานักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทน
ไม่น้อยกว่าที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และ
กฎหมายวา่ ด้วยเงนิ ทดแทน

ใหส้ านักงานเปน็ หนว่ ยงานของรฐั ตามกฎหมายวา่ ด้วยความรับผดิ ทางละเมดิ ของเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๔ นอกจากหน้าท่ีและอานาจในการดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึง่ ให้สานักงานมหี น้าที่ปฏิบัตงิ านวิชาการและงานธรุ การให้แก่คณะกรรมการ
คณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู ส่วนบุคคล คณะกรรมการผู้เชีย่ วชาญ และ
คณะอนุกรรมการ รวมทั้งใหม้ หี น้าทีแ่ ละอานาจ ดังตอ่ ไปนี้

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๗ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๑) จัดทาร่างแผนแม่บทการดาเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ท่ีสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง รวมท้ังร่างแผนแม่บทและ
มาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบตั กิ ารตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดบั ชาตดิ งั กลา่ ว
เพ่อื เสนอตอ่ คณะกรรมการ

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีท่ีเก่ียวข้องกับการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคล

(๓) วิเคราะห์และรับรองความสอดคล้องและความถูกต้องตามมาตรฐานหรือตามมาตรการหรือ
กลไกการกากับดูแลที่เกยี่ วขอ้ งกับการคมุ้ ครองขอ้ มูลสว่ นบุคคล รวมท้ังตรวจสอบและรับรองนโยบายใน
การค้มุ ครองขอ้ มูลส่วนบคุ คลตามมาตรา ๒๙

(๔) สารวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบคุ คล และแนวโนม้ การเปลี่ยนแปลงดา้ นการคุม้ ครองขอ้ มูลส่วนบุคคล รวมทง้ั วเิ คราะหแ์ ละ
วิจัยประเดน็ ทางดา้ นการคมุ้ ครองขอ้ มลู ส่วนบคุ คลท่มี ีผลต่อการพฒั นาประเทศเพ่ือเสนอต่อคณะกรรมการ

(๕) ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือ
หนว่ ยงานอ่นื ของรฐั เกยี่ วกบั การคุม้ ครองขอ้ มลู ส่วนบคุ คล

(๖) ให้คาปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนเก่ียวกับการปฏิบัติ
ตามพระราชบญั ญตั ินี้

(๗) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางวิชาการหรือให้บริการที่เก่ียวกับการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน และประชาชน รวมท้ังเผยแพร่และให้ความรู้
ความเขา้ ใจในเรอ่ื งการคมุ้ ครองข้อมลู สว่ นบุคคล

(๘) กาหนดหลักสูตรและฝึกอบรมการปฏบิ ัติหน้าท่ีของผู้ควบคุมข้อมูลสว่ นบคุ คล ผปู้ ระมวลผล
ข้อมูลสว่ นบุคคล เจา้ หน้าท่คี ุ้มครองขอ้ มลู ส่วนบุคคล ลกู จ้าง ผรู้ ับจา้ ง หรือประชาชนท่วั ไป

(๙) ทาความตกลงและร่วมมือกบั องคก์ ารหรอื หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการ
ทเ่ี ก่ียวกบั การดาเนินการตามหนา้ ทแ่ี ละอานาจของสานกั งาน เมอื่ ได้รบั ความเหน็ ชอบจากคณะกรรมการ

(๑๐) ติดตามและประเมนิ ผลการปฏิบัติตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อ่ืนตามท่ีคณะกรรมการ คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ขอ้ มลู สว่ นบคุ คล คณะกรรมการผเู้ ช่ียวชาญ หรอื คณะอนุกรรมการมอบหมาย หรือตามท่กี ฎหมายกาหนด

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๗๘ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

มาตรา ๔๕ ในการดาเนินงานของสานักงาน นอกจากหน้าท่ีและอานาจตามท่ีบัญญัติ
ในมาตรา ๔๔ แล้ว ให้สานักงานมหี น้าทแี่ ละอานาจท่ัวไป ดังต่อไปน้ดี ้วย

(๑) ถือกรรมสทิ ธิ์ มสี ทิ ธคิ รอบครอง และมีทรัพยสิทธติ ่าง ๆ
(๒) ก่อต้ังสิทธิ หรือทานิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนทานิติกรรมอ่ืนใด
เพื่อประโยชนใ์ นการดาเนนิ กจิ การของสานกั งาน
(๓) จดั ให้มแี ละใหท้ ุนเพื่อสนับสนนุ การดาเนินกจิ การของสานกั งาน
(๔) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดาเนินงานต่าง ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของสานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สานักงานกาหนดโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการกากบั สานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองขอ้ มลู สว่ นบุคคล
(๕) ปฏิบัติการอ่ืนใดท่ีกฎหมายกาหนดให้เป็นหน้าท่ีและอานาจของสานักงาน หรือตามท่ี
คณะกรรมการ คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะกรรมการ
ผู้เชีย่ วชาญ หรือคณะอนกุ รรมการมอบหมาย
มาตรา ๔๖ ทนุ และทรพั ย์สนิ ในการดาเนนิ งานของสานกั งานประกอบด้วย
(๑) ทุนประเดมิ ที่รัฐบาลจดั สรรใหต้ ามมาตรา ๙๔ วรรคหน่ึง
(๒) เงนิ อุดหนุนทวั่ ไปทรี่ ฐั บาลจัดสรรใหต้ ามความเหมาะสมเปน็ รายปี
(๓) เงินอุดหนนุ จากหนว่ ยงานของรัฐท้ังในประเทศและต่างประเทศ หรือองคก์ ารระหว่างประเทศ
ระดับรัฐบาล
(๔) ค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อันเกิดจากการดาเนินการ
ตามหนา้ ทแี่ ละอานาจของสานักงาน
(๕) ดอกผลของเงินหรือรายไดจ้ ากทรัพย์สนิ ของสานกั งาน
เงินและทรพั ย์สนิ ของสานกั งานตามวรรคหน่ึง ตอ้ งนาส่งคลังเปน็ รายไดแ้ ผ่นดนิ
มาตรา ๔๗ บรรดาอสงั หารมิ ทรัพย์ทสี่ านักงานได้มาจากการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้
ของสานกั งานตามมาตรา ๔๖ (๔) หรอื (๕) ใหเ้ ปน็ กรรมสิทธขิ์ องสานักงาน
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งสรรหาและแต่งต้ังจากผู้มคี วามรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม และเลขาธิการ
คณะกรรมการดิจิทลั เพ่ือเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคณุ วุฒิจานวน
หกคนซึง่ สรรหาและแตง่ ตง้ั จากผูม้ ีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านการคุ้มครองขอ้ มูล
สว่ นบุคคลอย่างน้อยสามคน และดา้ นอืน่ ท่เี กี่ยวข้องอนั เปน็ ประโยชนต์ อ่ การดาเนนิ งานของสานกั งาน

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๗๙ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งพนักงานของสานักงาน
เปน็ ผชู้ ่วยเลขานุการไดไ้ มเ่ กินสองคน

ให้นาความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับประธานกรรมการและกรรมการ
ผู้ทรงคุณวฒุ ิโดยอนุโลม

มาตรา ๔๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งประกอบด้วยบุคคลซ่ึงคณะกรรมการแต่งตั้ง
จานวนแปดคนทาหน้าท่ีคัดเลือกบุคคลท่ีสมควรได้รับการแต่งต้ังเป็นประธานกรรมการและกรรมการ
ผ้ทู รงคุณวุฒิตามมาตรา ๔๘

ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหาแล ะ
เลือกกรรมการสรรหาอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา และให้สานักงานปฏิบัติหน้าที่
เป็นหนว่ ยธุรการของคณะกรรมการสรรหา

ในกรณีท่ีตาแหน่งกรรมการสรรหาว่างลง ให้ดาเนินการเพื่อให้มีกรรมการสรรหาแทน
ในตาแหนง่ นัน้ โดยเรว็ ในระหว่างที่ยังไม่ไดก้ รรมการสรรหาใหม่ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย
กรรมการสรรหาเทา่ ท่ีมอี ยู่

กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอช่ือเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๔๘

หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกาหนด ทั้งนี้ ต้องคานึงถึง
ความโปรง่ ใสและความเป็นธรรมในการสรรหา

มาตรา ๕๐ ในการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๔๘
ให้คณะกรรมการสรรหาคดั เลือกบุคคลผมู้ ีคณุ สมบัตติ ามมาตรา ๔๘ วรรคหนึง่ รวมทงั้ มคี ณุ สมบตั แิ ละ
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ วรรคสาม และยินยอมให้เสนอช่ือเข้ารับคัดเลือกเท่ากับจานวน
ประธานกรรมการและกรรมการผ้ทู รงคณุ วุฒติ ามมาตรา ๔๘ ที่จะได้รับแตง่ ตั้ง

เม่ือได้คัดเลือกบุคคลเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๔๘
ครบจานวนแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาแจ้งรายช่ือประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๔๘ พร้อมหลักฐานแสดงคุณสมบัติและการไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งความยินยอม
ของบุคคลดังกล่าวต่อคณะกรรมการเพ่ือแต่งต้ังเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๔๘

ให้คณะกรรมการประกาศรายชื่อประธานกรรมการและกรรมการผทู้ รงคุณวุฒติ ามมาตรา ๔๘
ซึ่งไดร้ บั แต่งต้ังในราชกิจจานุเบกษา

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๕๑ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๔๘ มีวาระ
การดารงตาแหนง่ คราวละสป่ี ี

เมื่อครบกาหนดตามวาระในวรรคหน่ึง ให้ดาเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิข้ึนใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างท่ียังมิได้มีการแต่งต้ังประธานกรรมการหรือกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตาแหน่งตามวาระนั้น
อยู่ในตาแหน่งเพ่ือดาเนินงานตอ่ ไปจนกวา่ ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคณุ วุฒซิ ่งึ ไดร้ ับแต่งตั้งใหม่
เข้ารับหน้าท่ี

ประธานกรรมการและกรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ซิ ง่ึ พน้ จากตาแหนง่ ตามวาระอาจได้รบั แตง่ ตงั้ อกี ได้
แตจ่ ะดารงตาแหน่งเกินสองวาระไมไ่ ด้

มาตรา ๕๒ ในกรณีท่ีประธานกรรมการหรอื กรรมการผู้ทรงคุณวฒุ ติ ามมาตรา ๔๘ พ้นจาก
ตาแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคุ้มครองขอ้ มลู ส่วนบุคคลประกอบดว้ ย
กรรมการท้ังหมดเท่าทีม่ อี ยู่จนกว่าจะมีการแตง่ ตง้ั ประธานกรรมการหรือกรรมการผ้ทู รงคุณวฒุ ิแทน และ
ในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทาหนา้ ที่ประธานกรรมการเปน็ การช่ัวคราว

ให้ดาเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตาแหน่งท่ีว่างภายใน
หกสิบวันนับแต่วันที่ตาแหน่งว่างลง และให้ผู้ที่ได้รับแต่งต้ังให้ดารงตาแหน่งแทนอยู่ในตาแหน่งเท่ากับ
วาระท่ีเหลอื อยูข่ องผซู้ ่ึงตนแทน เว้นแตว่ าระของประธานกรรมการหรอื กรรมการผ้ทู รงคุณวฒุ ิเหลือไมถ่ งึ
เก้าสิบวนั จะไม่แตง่ ต้งั ประธานกรรมการหรอื กรรมการผูท้ รงคณุ วฒุ แิ ทนกไ็ ด้

มาตรา ๕๓ การประชุมคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูล
สว่ นบุคคลต้องมกี รรมการมาประชมุ ไมน่ ้อยกว่าก่งึ หน่งึ ของจานวนกรรมการท่มี ีอยู่ จงึ จะเป็นองคป์ ระชุม

ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในท่ีประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจ
ปฏบิ ตั ิหน้าที่ได้ ใหก้ รรมการซึง่ มาประชมุ เลือกกรรมการคนหน่ึงเปน็ ประธานในทปี่ ระชุม

การวินจิ ฉัยชขี้ าดของท่ีประชมุ ใหถ้ ือเสียงข้างมาก กรรมการคนหน่ึงให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเทา่ กัน ใหป้ ระธานในที่ประชมุ ออกเสียงเพ่มิ ข้นึ อกี เสยี งหนึ่งเป็นเสยี งช้ีขาด

กรรมการที่มสี ่วนไดเ้ สียในเรือ่ งทม่ี ีการพิจารณาจะเขา้ รว่ มประชุมมิได้
การประชุมของคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบคุ คลอาจกระทา
โดยวิธกี ารทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ตามที่คณะกรรมการกาหนดก็ได้

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๘๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

มาตรา ๕๔ คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู ส่วนบคุ คลมหี นา้ ที่
และอานาจ ดังต่อไปน้ี

(๑) กาหนดนโยบายการบรหิ ารงาน และใหค้ วามเหน็ ชอบแผนการดาเนนิ งานของสานักงาน
(๒) ออกข้อบังคับว่าดว้ ยการจัดองค์กร การเงนิ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทัว่ ไป
การตรวจสอบภายใน รวมตลอดท้ังการสงเคราะหแ์ ละสวัสดกิ ารตา่ ง ๆ ของสานักงาน
(๓) อนุมัติแผนการดาเนินงาน แผนการใช้จ่ายเงินและงบประมาณรายจ่ายประจาปีของ
สานักงาน
(๔) ควบคุมการบริหารงานและการดาเนินการของสานักงานและเลขาธิการให้เป็นไป
ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้และกฎหมายอนื่ ทเี่ ก่ียวขอ้ ง
(๕) แตง่ ตงั้ คณะกรรมการสรรหาเลขาธิการ
(๖) วินิจฉัยอุทธรณ์คาส่ังทางปกครองของเลขาธิการในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของ
สานักงาน
(๗) ประเมินผลการดาเนินการของสานักงาน และการปฏิบตั งิ านของเลขาธกิ าร
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามท่ีพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกาหนดให้เป็นหน้าที่และอานาจ
ของคณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคุ้มครองขอ้ มูลส่วนบคุ คลหรอื ตามที่คณะกรรมการหรือ
คณะรัฐมนตรมี อบหมาย
ข้อบังคับตาม (๒) ถ้ามีการจากัดอานาจเลขาธิการในการทานิติกรรมกับบุคคลภายนอก
ให้ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา
มาตรา ๕๕ คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มูลส่วนบุคคลมีอานาจ
แต่งต้ังคณะอนุกรรมการ เพ่ือปฏิบัติหน้าที่หรือกระทาการอย่างหน่ึงอย่างใดตามที่คณะกรรมการกากับ
สานกั งานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมลู ส่วนบคุ คลมอบหมายได้
คณะกรรมการกากับสานั กงานคณะกรรมการคุ้มครอ งข้อมูลส่วนบุคคลอาจแต่งต้ังบุคคล
ซ่ึงมีความเช่ียวชาญหรือประสบการณ์ท่ีจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกากับ
สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นท่ีปรึกษาคณะกรรมการกากับสานักงาน
คณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลได้
การปฏิบัติหน้าท่ีและจานวนของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งหรือบุคคลตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามท่คี ณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู ส่วนบคุ คลกาหนด
การประชมุ คณะอนุกรรมการ ใหน้ าความในมาตรา ๕๓ มาใช้บงั คบั โดยอนโุ ลม

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๕๖ ให้ประธานกรรมการและกรรมการกากบั สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองขอ้ มลู
ส่วนบุคคล ท่ีปรึกษาคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประธาน
อนุกรรมการและอนุกรรมการที่คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกาหนดโดยความเห็นชอบ
ของกระทรวงการคลงั

มาตรา ๕๗ ให้สานกั งานมีเลขาธกิ ารคนหน่งึ ซึ่งคณะกรรมการกากบั สานักงานคณะกรรมการ
คุม้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลแต่งตง้ั มหี น้าท่บี รหิ ารกิจการของสานักงาน

การแต่งต้ังเลขาธิการตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาตามท่ี
คณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการค้มุ ครองข้อมูลส่วนบคุ คลกาหนด

มาตรา ๕๘ ผู้ทีจ่ ะได้รบั การแต่งต้ังเป็นเลขาธกิ ารต้องมคี ุณสมบัติ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) มสี ญั ชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ากวา่ สามสบิ ห้าปีแต่ไม่เกินหกสิบปี
(๓) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านที่เก่ียวกับภารกิจของสานักงาน
และการบรหิ ารจัดการ
มาตรา ๕๙ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดงั ตอ่ ไปน้ี ต้องหา้ มมิให้เปน็ เลขาธิการ
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรอื เคยเป็นบุคคลลม้ ละลายทุจริต
(๒) เปน็ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมอื นไร้ความสามารถ
(๓) เคยต้องคาพิพากษาถึงท่ีสุดให้จาคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจาคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษ
สาหรับความผดิ ที่ไดก้ ระทาโดยประมาทหรือความผดิ ลหุโทษ
(๔) เป็นขา้ ราชการ พนกั งาน หรอื ลกู จ้าง ของส่วนราชการหรือรฐั วิสาหกิจหรือหน่วยงานอนื่
ของรัฐหรอื ของราชการสว่ นท้องถ่ิน
(๕) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผูบ้ รหิ ารท้องถ่ิน เวน้ แตจ่ ะได้พน้ จากตาแหนง่ มาแล้วไมน่ ้อยกวา่ หน่งึ ปี
(๖) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้ดารงตาแหน่งอ่ืนในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าท่ีของ
พรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พน้ จากตาแหน่งมาแล้วไมน่ อ้ ยกว่าหนง่ึ ปี
(๗) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานจากหน่วยงานที่เคย
ปฏิบตั หิ นา้ ที่ เพราะทจุ ริตต่อหน้าท่ีหรอื ประพฤตชิ ั่วอย่างรา้ ยแรง หรอื เคยถูกถอดถอนจากตาแหนง่
(๘) เคยถูกใหอ้ อกเพราะไมผ่ ่านการประเมนิ ผลการปฏิบตั งิ านตามมาตรา ๖๒ (๔)

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๘๓ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

(๙) เปน็ ผูม้ สี ่วนได้เสยี ในกจิ การทเี่ ก่ยี วข้องกับสานกั งานไมว่ า่ โดยทางตรงหรือทางออ้ ม
มาตรา ๖๐ เลขาธิการมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งต้ังอีกได้
แต่จะดารงตาแหนง่ เกินสองวาระไม่ได้
ก่อนครบกาหนดตามวาระการดารงตาแหน่งของเลขาธิการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสบิ วันแตไ่ ม่เกิน
หกสิบวัน หรือภายในสามสบิ วนั นับแต่วันทเ่ี ลขาธกิ ารพ้นจากตาแหน่งกอ่ นครบวาระ ให้คณะกรรมการ
กากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพ่ือสรรหาเลขาธิการ
คนใหม่ ทั้งน้ี ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายช่ือบุคคลที่เหมาะสมไม่เกินสามคนต่อคณะกรรมการ
กากับสานกั งานคณะกรรมการคุ้มครองขอ้ มูลสว่ นบุคคล
มาตรา ๖๑ ในแต่ละปีให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้เป็นไป
ตามระยะเวลาและวิธีการที่คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กาหนด
มาตรา ๖๒ นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖๐ เลขาธิการพ้นจาก
ตาแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคณุ สมบัตติ ามมาตรา ๕๘ หรือมีลกั ษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๕๙
(๔) คณะกรรมการกากบั สานักงานคณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มูลสว่ นบคุ คลให้ออก เพราะไม่ผา่ น
การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีความประพฤติเส่ือมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าท่ี หรือ
หยอ่ นความสามารถ
มาตรา ๖๓ ใหเ้ ลขาธกิ ารมีหน้าทีแ่ ละอานาจ ดงั ตอ่ ไปน้ี
(๑) บริหารงานของสานักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของสานักงาน และตามนโยบาย
และแผนระดับชาติ แผนยุทธศาสตร์ นโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ และคณะกรรมการ
กากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และระเบียบ ข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการ
กากับสานักงานคณะกรรมการค้มุ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
(๒) วางระเบียบเก่ียวกับการดาเนนิ งานของสานกั งานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย มติของ
คณะรัฐมนตรี และระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกาหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการกากบั
สานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู สว่ นบคุ คลกาหนด

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๔ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสานักงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของ
พนักงานและลกู จา้ งของสานกั งานตามระเบยี บหรือข้อบงั คับของสานักงาน

(๔) แต่งต้ังรองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกากับ
สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมลู ส่วนบุคคลเพ่อื เป็นผชู้ ่วยปฏบิ ัติงานของเลขาธกิ ารตามท่ีเลขาธกิ าร
มอบหมาย

(๕) บรรจุ แตง่ ตง้ั เล่ือน ลด ตัดเงนิ เดือนหรอื คา่ จา้ ง ลงโทษทางวนิ ัยพนักงาน และลกู จ้าง
ของสานักงาน ตลอดจนใหพ้ นักงานและลูกจ้างของสานกั งานออกจากตาแหนง่ ทั้งนี้ ตามระเบียบหรอื
ขอ้ บังคบั ทค่ี ณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลสว่ นบคุ คลกาหนด

(๖) ปฏิบัติการอ่ืนใดตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกาหนด นโยบาย มติ หรือประกาศของ
คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลสว่ นบุคคล

ให้เลขาธิการรับผิดชอบในการบริหารงานของสานักงานข้ึนตรงต่อคณะกรรมการกากับสานักงาน
คณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มูลส่วนบุคคล

มาตรา ๖๔ ในกิจการของสานักงานที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผูแ้ ทนของ
สานักงาน เพ่ือการนี้ เลขาธิการจะมอบอานาจให้บุคคลใดปฏิบัตงิ านเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไป
ตามขอ้ บงั คับที่คณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลกาหนด

มาตรา ๖๕ ให้คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เปน็ ผูก้ าหนดอตั ราเงนิ เดือนและประโยชนต์ อบแทนอนื่ ของเลขาธกิ ารตามหลักเกณฑท์ ี่คณะรัฐมนตรีกาหนด

มาตรา ๖๖ เพ่อื ประโยชน์ในการบรหิ ารงานของสานกั งาน เลขาธกิ ารอาจขอให้ขา้ ราชการ
พนักงาน เจ้าหน้าท่ี หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างเป็นการช่ัวคราวได้
ทั้งนี้ เม่ือได้รับอนุมัติจากผู้บงั คบั บญั ชาหรือนายจ้างของผู้นั้น และมีข้อตกลงที่ทาไว้ในการอนมุ ัติ และ
ในกรณีที่เจ้าหน้าท่ีของรฐั ได้รับอนุมัติใหม้ าปฏิบตั ิงานเปน็ พนักงานหรอื ลกู จา้ งเป็นการชวั่ คราว ให้ถือว่า
เปน็ การได้รบั อนญุ าตใหอ้ อกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏบิ ตั ิงานใด ๆ

เม่อื สิ้นสดุ ระยะเวลาทไ่ี ดร้ ับอนุมัติใหม้ าปฏบิ ตั งิ านในสานกั งาน ใหเ้ จา้ หน้าทข่ี องรฐั ตามวรรคหน่ึง
มีสิทธิไดร้ ับการบรรจแุ ละแต่งตง้ั ใหด้ ารงตาแหน่งและรบั เงินเดือนในส่วนราชการหรือหนว่ ยงานเดิมไมต่ ่ากวา่
ตาแหน่งและเงนิ เดอื นเดิมตามข้อตกลงทีท่ าไวใ้ นการอนมุ ัติ

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๕ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

ในกรณีท่ีเจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้น้ันกลับมาบรรจุและได้รับแต่งตั้งในส่วนราชการหรือหน่วยงานเดมิ
ตามวรรคสองแลว้ ให้นบั ระยะเวลาของเจา้ หน้าท่ีของรฐั ผู้นนั้ ระหวา่ งทม่ี าปฏิบัติงานในสานกั งานสาหรับ
การคานวณบาเหน็จบานาญหรือประโยชน์ตอบแทนอ่ืนทานองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติ ราชการหรือ
ปฏบิ ัติงานเตม็ เวลาดังกล่าว แล้วแตก่ รณี

มาตรา ๖๗ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติงานชดใช้ทุนการศึกษา
ที่ได้รับจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่ได้ย้ายมาปฏิบัตหิ นา้ ที่ที่สานกั งานโดยได้รบั ความเห็นชอบ
จากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ให้ถือเป็นการชดใช้ทุนตามสัญญา และให้นับระยะเวลาการปฏิบัติงาน
ในสานกั งานเปน็ ระยะเวลาในการชดใช้ทนุ

ในกรณที ่หี นว่ ยงานของรัฐแห่งใดประสงคจ์ ะขอให้พนกั งานของสานกั งานซ่งึ อยู่ระหว่างการปฏิบัติงาน
ชดใช้ทุนการศึกษาท่ีได้รับจากสานักงานไปเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐในหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการก่อน และให้ถือว่าการไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
เป็นการชดใช้ทุนตามสัญญา และให้นับระยะเวลาการปฏิบัตงิ านในหน่วยงานของรัฐแห่งนนั้ เปน็ ระยะเวลา
ในการชดใช้ทนุ

มาตรา ๖๘ การบัญชีของสานักงานให้จัดทาตามหลักสากล ตามแบบและหลักเกณฑ์
ทคี่ ณะกรรมการกากบั สานกั งานคณะกรรมการคมุ้ ครองข้อมลู สว่ นบคุ คลกาหนด

มาตรา ๖๙ ให้สานกั งานจดั ทางบการเงนิ และบัญชี แล้วสง่ ผู้สอบบญั ชีภายในหนง่ึ รอ้ ยย่สี ิบวนั
นับแต่วันสน้ิ ปีบัญชี

ให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่ีสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของสานักงาน และประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของ
สานกั งานทกุ รอบปแี ล้วทารายงานผลการสอบบญั ชีเสนอตอ่ คณะกรรมการกากบั สานักงานคณะกรรมการ
คุม้ ครองข้อมูลสว่ นบคุ คลเพ่ือรบั รอง

มาตรา ๗๐ ให้สานักงานจัดทารายงานการดาเนินงานประจาปีเสนอคณะกรรมการกากับ
สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่
วันส้ินปบี ญั ชี และเผยแพร่รายงานน้ีตอ่ สาธารณชน

รายงานการดาเนนิ งานประจาปตี ามวรรคหนง่ึ ให้แสดงรายละเอียดของงบการเงนิ ทผ่ี ูส้ อบบญั ชี
ให้ความเห็นแลว้ พรอ้ มท้ังผลงานของสานกั งานและรายงานการประเมนิ ผลการดาเนินงานของสานักงาน
ในปที ล่ี ว่ งมาแลว้

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๖ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานเุ บกษา

การประเมินผลการดาเนนิ งานของสานกั งานตามวรรคสอง จะต้องดาเนนิ การโดยบุคคลภายนอก
ท่คี ณะกรรมการกากับสานกั งานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลสว่ นบุคคลให้ความเห็นชอบ

หมวด ๕
การรอ้ งเรียน

มาตรา ๗๑ ใหค้ ณะกรรมการแต่งตง้ั คณะกรรมการผเู้ ชยี่ วชาญขึน้ คณะหนึ่งหรือหลายคณะกไ็ ด้
ตามความเช่ียวชาญในแต่ละเรอ่ื งหรอื ตามท่ีคณะกรรมการเห็นสมควร

คุณสมบัติและลกั ษณะตอ้ งหา้ ม วาระการดารงตาแหน่ง การพน้ จากตาแหนง่ และการดาเนินงานอนื่
ของคณะกรรมการผเู้ ชย่ี วชาญใหเ้ ปน็ ไปตามทีค่ ณะกรรมการประกาศกาหนด

มาตรา ๗๒ คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญมหี นา้ ที่และอานาจ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) พจิ ารณาเรอื่ งรอ้ งเรยี นตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี
(๒) ตรวจสอบการกระทาใด ๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูล
ส่วนบุคคล รวมท้ังลูกจ้างหรอื ผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลขอ้ มูลส่วนบุคคล
เกีย่ วกับข้อมลู ส่วนบุคคลทก่ี ่อใหเ้ กิดความเสยี หายแก่เจ้าของขอ้ มลู สว่ นบุคคล
(๓) ไกล่เกลี่ยขอ้ พิพาทเกย่ี วกบั ข้อมูลสว่ นบคุ คล
(๔) ปฏิบัติการอ่ืนใดตามท่ีพระราชบัญญัตินี้กาหนดให้เป็นหน้าท่ีและอานาจของคณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญหรอื ตามท่ีคณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๗๓ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนในกรณีท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
หรอื ผปู้ ระมวลผลข้อมูลสว่ นบคุ คล รวมทง้ั ลูกจา้ งหรือผู้รบั จา้ งของผ้คู วบคมุ ขอ้ มลู สว่ นบุคคลหรอื ผูป้ ระมวลผล
ข้อมลู สว่ นบุคคล ฝา่ ฝนื หรือไมป่ ฏบิ ตั ติ ามพระราชบัญญตั ิหรอื ประกาศทีอ่ อกตามพระราชบัญญตั ิน้ี
การยืน่ การไม่รับเร่อื ง การยตุ เิ ร่อื ง การพจิ ารณา และระยะเวลาในการพิจารณาคารอ้ งเรยี น
ให้เปน็ ไปตามระเบยี บท่คี ณะกรรมการประกาศกาหนดโดยคานึงถงึ การกาหนดให้ไมร่ บั เรอ่ื งรอ้ งเรียนหรือ
ยตุ เิ รือ่ งในกรณีท่ีมีผมู้ ีอานาจพิจารณาในเร่ืองน้นั อยแู่ ลว้ ตามกฎหมายอ่ืนดว้ ย
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผ้รู อ้ งเรียนไม่ไดป้ ฏิบตั ิใหถ้ ูกต้องตามระเบียบทีก่ าหนดไวใ้ นมาตรา ๗๓
วรรคสอง หรือเป็นเร่อื งร้องเรยี นที่ระเบยี บนนั้ ไดก้ าหนดไม่ให้รบั ไวพ้ ิจารณา ให้คณะกรรมการผเู้ ช่ียวชาญ
ไมร่ บั เร่อื งรอ้ งเรยี นไว้พจิ ารณา
เมื่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเร่ืองร้องเรียนตามมาตรา ๗๒ (๑) หรือตรวจสอบ
การกระทาใด ๆ ตามมาตรา ๗๒ (๒) แล้วรับฟังได้ว่า เร่ืองร้องเรียนหรือการกระทาน้ันไม่มีมูล
ให้คณะกรรมการผ้เู ชยี่ วชาญมีคาส่ังยตุ เิ รอ่ื ง

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๗ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

ในกรณีที่คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญพิจารณาหรือตรวจสอบตามวรรคสองแล้วรับฟังได้ว่า
เรื่องร้องเรียนหรือการกระทานั้นเป็นกรณีซึ่งอาจไกล่เกลี่ยได้และคู่กรณีประสงค์จะให้ไกล่เกล่ีย
ให้คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญดาเนินการไกล่เกลี่ย แต่หากเรื่องร้องเรียนหรือการกระทาน้ันไ ม่อาจ
ไกล่เกลีย่ ได้ หรือไกลเ่ กลยี่ ไม่สาเร็จ ใหค้ ณะกรรมการผ้เู ชี่ยวชาญมีอานาจออกคาส่งั ดงั ต่อไปน้ี

(๑) สั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลปฏิบัติหรือดาเนินการ
แกไ้ ขการกระทาของตนใหถ้ ูกต้องภายในระยะเวลาทกี่ าหนด

(๒) ส่ังห้ามผคู้ วบคมุ ขอ้ มูลส่วนบุคคลหรอื ผปู้ ระมวลผลข้อมูลสว่ นบคุ คลกระทาการทีก่ ่อให้เกิด
ความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือให้กระทาการใดเพื่อระงับความเสียหายนั้นภายในระยะเวลา
ท่ีกาหนด

ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไม่ยอมดาเ นินการ
ตามคาส่ังตามวรรคสาม (๑) หรือ (๒) ให้นาบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ท้ังนี้ ในกรณีท่ีต้องมีการยึด อายัด หรือ
ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้ อมูลส่วนบุคคลเพ่ือบังคับ
ตามหลักเกณฑ์ท่ีกาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ให้คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญ
เปน็ ผู้มอี านาจสง่ั ยดึ อายัด หรือขายทอดตลาดทรพั ย์สนิ เพ่ือการนัน้

การจัดทาคาสง่ั ตามวรรคหน่ึง วรรคสอง หรอื วรรคสาม (๑) หรอื (๒) ให้เป็นไปตามหลกั เกณฑ์
และวธิ กี ารท่ีคณะกรรมการประกาศกาหนด

คาสัง่ ของคณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ ให้ประธานกรรมการผเู้ ช่ยี วชาญเปน็ ผ้ลู งนามแทน
คาสัง่ ของคณะกรรมการผู้เชย่ี วชาญตามมาตราน้ีให้เปน็ ทีส่ ดุ
ในการดาเนินการตามมาตรานี้ เมื่อผลการพิจารณาเป็นประการใด ให้คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญ
แจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบพร้อมด้วยเหตุผล และในกรณีที่ไม่รับเรื่องร้องเรียนหรือยุติเร่ืองท่ีมีผู้มีอานาจ
พิจารณาในเร่ืองนั้นอยู่แล้วตามกฎหมายอ่ืน ให้แจ้งผู้ร้องเรยี นทราบ หากผู้ร้องเรียนประสงค์จะให้ส่งเรื่อง
ใหผ้ ูม้ ีอานาจพจิ ารณาในเรือ่ งนนั้ ตามกฎหมายอ่นื ให้ดาเนนิ การตามความประสงคด์ ังกล่าว และใหถ้ ือวา่
ผมู้ อี านาจพิจารณาได้รบั เรือ่ งร้องเรยี นนบั แต่วนั ที่คณะกรรมการผเู้ ชี่ยวชาญไดร้ บั เร่ืองรอ้ งเรียนนั้น
มาตรา ๗๕ คณะกรรมการผู้เชยี่ วชาญมอี านาจส่ังให้บุคคลใดสง่ เอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับ
เรื่องทม่ี ผี รู้ อ้ งเรียน หรือเร่อื งอืน่ ใดท่เี กยี่ วกบั การคมุ้ ครองข้อมลู ส่วนบุคคลตามพระราชบญั ญตั ินี้ รวมท้ัง
จะสง่ั ใหบ้ คุ คลใดมาชีแ้ จงข้อเท็จจรงิ ดว้ ยกไ็ ด้

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๘ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานเุ บกษา

มาตรา ๗๖ ในการปฏิบัตกิ ารตามพระราชบญั ญตั ินี้ พนกั งานเจา้ หนา้ ทมี่ ีหนา้ ที่และอานาจ
ดังต่อไปน้ี

(๑) มีหนังสือแจ้งให้ผู้ควบคุมขอ้ มูลส่วนบคุ คล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ใดมาให้
ข้อมูลหรอื ส่งเอกสารหรอื หลักฐานใด ๆ เกยี่ วกับการดาเนินการหรอื การกระทาความผิดตามพระราชบญั ญตั ินี้

(๒) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง แล้วรายงานต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ในกรณี
ท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ใดได้กระทาผิดหรือทาให้เกิด
ความเสยี หายเพราะฝา่ ฝืนหรอื ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญตั หิ รอื ประกาศที่ออกตามพระราชบญั ญตั ินี้

ในการดาเนินการตาม (๒) หากมีความจาเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล
ส่วนบคุ คลหรอื เพ่ือประโยชนส์ าธารณะ ใหพ้ นกั งานเจา้ หน้าท่ยี นื่ คารอ้ งตอ่ ศาลทม่ี ีเขตอานาจเพือ่ มีคาส่ัง
อนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปในสถานท่ีของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรอื ผู้ใดเกย่ี วกับการกระทา
ความผิดตามพระราชบัญญัติน้ี ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ข้ึนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทาการของ
สถานที่นั้น เพ่ือตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง ยึดหรืออายัดเอกสารหลักฐาน หรือส่ิงอื่นใด
ทีเ่ กยี่ วกับการกระทาความผดิ หรอื มีเหตอุ ันควรเชื่อได้วา่ มไี ว้หรือใชเ้ พ่อื กระทาความผดิ

ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้รัฐมนตรีพิจารณาแต่งต้ังจากข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีอ่ืน
ของรัฐซึ่งดารงตาแหนง่ ไม่ตา่ กวา่ ขา้ ราชการพลเรอื นระดับปฏิบัติการหรอื เทียบเท่าและมีคุณสมบตั ติ ามที่
คณะกรรมการประกาศกาหนด

ในการปฏิบัติหน้าท่ีของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตราน้ี ต้องแสดงบัตรประจาตัวต่อผูท้ ี่เกย่ี วข้อง
และใหผ้ ้ทู เี่ กี่ยวข้องอานวยความสะดวกตามสมควร

บตั รประจาตัวพนกั งานเจ้าหนา้ ที่ ให้เป็นไปตามแบบทคี่ ณะกรรมการประกาศกาหนด

หมวด ๖
ความรับผดิ ทางแพง่

มาตรา ๗๗ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซ่ึงดาเนินการใด ๆ
เก่ียวกับข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติน้ีทาให้เกิด
ความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการน้ันแก่เจ้าของข้อมูล
ส่วนบคุ คล ไมว่ ่าการดาเนนิ การน้ันจะเกิดจากการกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่กต็ าม เวน้ แต่
ผู้ควบคุมข้อมูลสว่ นบคุ คลหรอื ผู้ประมวลผลขอ้ มูลสว่ นบุคคลนน้ั จะพสิ ูจนไ์ ด้วา่

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๘๙ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

(๑) ความเสียหายน้ันเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือเกิดจากการกระทาหรือละเว้นการกระทาของ
เจ้าของขอ้ มูลสว่ นบุคคลน้นั เอง

(๒) เปน็ การปฏิบตั ิตามคาส่งั ของเจ้าหนา้ ทซ่ี ่ึงปฏบิ ัติการตามหนา้ ที่และอานาจตามกฎหมาย
ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหน่ึง ให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายท้ังหมดท่ีเจ้าของข้อมูล
สว่ นบุคคลไดใ้ ช้จา่ ยไปตามความจาเปน็ ในการป้องกนั ความเสียหายทก่ี าลงั จะเกิดข้ึนหรือระงับความเสียหาย
ทเ่ี กิดขนึ้ แล้วด้วย
มาตรา ๗๘ ให้ศาลมีอานาจสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล
ส่วนบุคคลจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพ่ิมขึ้นจากจานวนค่าสินไหมทดแทนท่ีแท้จริงท่ีศาล
กาหนดได้ตามท่ีศาลเหน็ สมควร แตไ่ มเ่ กินสองเท่าของคา่ สนิ ไหมทดแทนทีแ่ ท้จรงิ นนั้ ทง้ั น้ี โดยคานึงถงึ
พฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหายท่ีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ ผลประโยชน์
ที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การท่ีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลไดบ้ รรเทาความเสียหายทเี่ กิดขนึ้ หรือการที่เจ้าของขอ้ มลู ส่วนบคุ คลมสี ่วนในการก่อใหเ้ กดิ
ความเสยี หายดว้ ย
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้เป็นอัน
ขาดอายคุ วามเม่อื พน้ สามปนี บั แต่วันทผี่ ้เู สียหายรู้ถึงความเสียหายและรตู้ วั ผูค้ วบคมุ ข้อมูลสว่ นบุคคลหรือ
ผปู้ ระมวลผลขอ้ มูลส่วนบคุ คลที่ตอ้ งรับผิด หรอื เมือ่ พ้นสบิ ปนี ับแต่วนั ท่ีมีการละเมดิ ขอ้ มูลส่วนบคุ คล

หมวด ๗
บทกาหนดโทษ

สว่ นที่ ๑
โทษอาญา

มาตรา ๗๙ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ อันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๖ โดยประการที่น่าจะทาให้
ผู้อ่ืนเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหม่ิน ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษ
จาคุกไมเ่ กนิ หกเดือน หรอื ปรบั ไม่เกินหา้ แสนบาท หรือท้ังจาท้งั ปรบั

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๙๐ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกจิ จานุเบกษา

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหน่ึงหรือวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรา ๒๘ อันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๖ เพ่ือแสวงหาประโยชน์ท่ีมิควรได้โดยชอบ
ด้วยกฎหมายสาหรับตนเองหรือผู้อ่ืน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
หรือท้งั จาท้ังปรับ

ความผิดตามมาตรานเี้ ปน็ ความผิดอนั ยอมความได้
มาตรา ๘๐ ผู้ใดล่วงรขู้ อ้ มูลสว่ นบุคคลของผ้อู นื่ เนอื่ งจากการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ตี ามพระราชบัญญตั นิ ้ี
ถ้าผู้นัน้ นาไปเปดิ เผยแก่ผู้อน่ื ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดอื น หรือปรับไม่เกนิ หา้ แสนบาท หรือทง้ั จา
ทั้งปรับ
ความในวรรคหน่งึ มิใหน้ ามาใช้บังคบั แกก่ ารเปดิ เผย ในกรณีดงั ตอ่ ไปน้ี
(๑) การเปิดเผยตามหนา้ ที่
(๒) การเปิดเผยเพอ่ื ประโยชนแ์ กก่ ารสอบสวน หรอื การพจิ ารณาคดี
(๓) การเปิดเผยแก่หนว่ ยงานของรฐั ในประเทศหรือตา่ งประเทศทีม่ ีอานาจหนา้ ทีต่ ามกฎหมาย
(๔) การเปดิ เผยท่ไี ดร้ บั ความยินยอมเปน็ หนงั สือเฉพาะครัง้ จากเจ้าของขอ้ มูลส่วนบุคคล
(๕) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทเ่ี กย่ี วกบั การฟอ้ งร้องคดตี า่ ง ๆ ทเ่ี ปิดเผยตอ่ สาธารณะ
มาตรา ๘๑ ในกรณีที่ผู้กระทาความผิดตามพระราชบัญญตั ินเี้ ป็นนิตบิ คุ คล ถ้าการกระทา
ความผิดของนิติบุคคลน้ันเกิดจากการสั่งการหรือการกระทาของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด
ซึ่งรับผิดชอบในการดาเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีท่ีบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องส่ังการหรือ
กระทาการและละเว้นไมส่ ัง่ การหรอื ไม่กระทาการจนเปน็ เหตุใหน้ ิตบิ ุคคลนั้นกระทาความผดิ ผ้นู ้ันตอ้ งรบั โทษ
ตามท่ีบญั ญัติไวส้ าหรบั ความผดิ นน้ั ๆ ดว้ ย

ส่วนท่ี ๒
โทษทางปกครอง

มาตรา ๘๒ ผู้ควบคมุ ขอ้ มูลส่วนบคุ คลผู้ใดไม่ปฏิบัตติ ามมาตรา ๒๓ มาตรา ๓๐ วรรคส่ี
มาตรา ๓๙ วรรคหน่งึ มาตรา ๔๑ วรรคหนงึ่ หรือมาตรา ๔๒ วรรคสองหรอื วรรคสาม หรอื ไมข่ อ
ความยินยอมตามแบบหรือข้อความท่ีคณะกรรมการประกาศกาหนดตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม หรือ
ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอมตามมาตรา ๑๙ วรรคหก หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓
ซ่ึงได้นามาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน
หน่ึงล้านบาท

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๙๑ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๘๓ ผู้ควบคุมข้อมลู ส่วนบุคคลผู้ใดฝา่ ฝืนหรอื ไมป่ ฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒
มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ วรรคหนง่ึ มาตรา ๒๗ วรรคหน่ึงหรอื วรรคสอง มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒
วรรคสอง หรือมาตรา ๓๗ หรือขอความยินยอมโดยการหลอกลวงหรือทาให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เข้าใจผิดในวัตถปุ ระสงค์ หรอื ไมป่ ฏิบัตติ ามมาตรา ๒๑ ซงึ่ ไดน้ ามาใชบ้ งั คบั โดยอนุโลมตามมาตรา ๒๕
วรรคสอง หรือส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๙ วรรคหน่ึงหรือวรรคสาม
ตอ้ งระวางโทษปรบั ทางปกครองไมเ่ กนิ สามลา้ นบาท

มาตรา ๘๔ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือมาตรา ๒๘ อันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
ตามมาตรา ๒๖ หรือส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๖ โดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๙
วรรคหนึง่ หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรบั ทางปกครองไม่เกินห้าล้านบาท

มาตรา ๘๕ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง หรือ
มาตรา ๔๒ วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกนิ หนึ่งล้านบาท

มาตรา ๘๖ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลผูใ้ ดไม่ปฏิบตั ติ ามมาตรา ๔๐ โดยไมม่ ีเหตอุ ันควร
หรือส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรา ๓๗ (๕) ซ่ึงได้นามาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๓๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับ
ทางปกครองไมเ่ กินสามลา้ นบาท

มาตรา ๘๗ ผูป้ ระมวลผลข้อมูลสว่ นบคุ คลผู้ใดสง่ หรอื โอนข้อมลู ส่วนบคุ คลตามมาตรา ๒๖
วรรคหน่ึงหรือวรรคสาม โดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๙ วรรคหน่ึงหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับ
ทางปกครองไมเ่ กินห้าลา้ นบาท

มาตรา ๘๘ ตัวแทนผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือตัวแทนผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งได้นามาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๓๙ วรรคสอง
และมาตรา ๔๑ วรรคหน่ึง ซึ่งได้นามาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๔๑ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับ
ทางปกครองไมเ่ กนิ หน่ึงล้านบาท

มาตรา ๘๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคาส่ังของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรอื ไม่มาช้ีแจงข้อเท็จจริง
ตามมาตรา ๗๕ หรือไม่ปฏิบัตติ ามมาตรา ๗๖ (๑) หรือไม่อานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหนา้ ที่
ตามมาตรา ๗๖ วรรคส่ี ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไมเ่ กินหา้ แสนบาท

มาตรา ๙๐ คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญมีอานาจสั่งลงโทษปรับทางปกครองตามที่กาหนดไว้
ในส่วนน้ี ทง้ั น้ี ในกรณีท่ีเห็นสมควรคณะกรรมการผเู้ ช่ยี วชาญจะสั่งให้แกไ้ ขหรือตักเตอื นกอ่ นกไ็ ด้

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๙๒ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

ในการพิจารณาออกคาสั่งลงโทษปรับทางปกครอง ให้คณะกรรมการผู้เช่ียวชาญคานึงถึง
ความร้ายแรงแห่งพฤติกรรมที่กระทาผิด ขนาดกิจการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ขอ้ มูลสว่ นบคุ คล หรือพฤติการณต์ า่ ง ๆ ประกอบดว้ ย ท้ังนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกาหนด

ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองไมย่ อมชาระค่าปรับทางปกครอง ให้นาบทบัญญตั ิเก่ียวกบั
การบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และ
ในกรณีท่ีไม่มีเจ้าหนา้ ท่ีดาเนนิ การบงั คับตามคาสั่ง หรือมีแต่ไม่สามารถดาเนินการบังคับทางปกครองได้
ใหค้ ณะกรรมการผู้เชีย่ วชาญมีอานาจฟ้องคดีตอ่ ศาลปกครองเพอื่ บงั คบั ชาระคา่ ปรบั ในการน้ี ถา้ ศาลปกครอง
เหน็ ว่าคาสง่ั ใหช้ าระค่าปรบั น้ันชอบดว้ ยกฎหมาย ใหศ้ าลปกครองมอี านาจพจิ ารณาพิพากษา และบงั คบั ให้มี
การยึดหรืออายัดทรพั ย์สนิ ขายทอดตลาดเพือ่ ชาระคา่ ปรับได้

คาส่ังลงโทษปรับทางปกครองและคาสั่งในการบังคับทางปกครอง ให้นาความในมาตรา ๗๔
วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้นาความในมาตรา ๗๔ วรรคส่ี มาใช้บังคับกับการบังคับ
ทางปกครองตามวรรคสามโดยอนโุ ลม

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๙๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๘ (๒) (๓)
และใหเ้ ลขาธกิ ารคณะกรรมการคมุ้ ครองขอ้ มลู ส่วนบุคคลเปน็ กรรมการและเลขานุการ เพ่อื ปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ี
เท่าที่จาเป็นไปพลางก่อนแตไ่ ม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับ และให้รองประธาน
กรรมการทาหน้าทปี่ ระธานกรรมการเป็นการช่ัวคราว

ให้สานักงานดาเนินการให้มีการแต่งต้ังประธานกรรมการตามมาตรา ๘ (๑) และกรรมการ
ผู้ทรงคุณวฒุ ิตามมาตรา ๘ (๔) ภายในเก้าสิบวันนบั แต่วนั ทพี่ ระราชบญั ญัตินใี้ ชบ้ งั คับ

มาตรา ๙๒ ให้ดาเนินการเพื่อให้มีคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามมาตรา ๙๑

ให้ดาเนินการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติน้ี
ใหแ้ ล้วเสรจ็ ภายในเก้าสิบวนั นบั แต่วันท่ีจดั ตงั้ สานักงานแล้วเสร็จตามมาตรา ๙๓

มาตรา ๙๓ ให้ดาเนินการจดั ตง้ั สานักงานให้แล้วเสรจ็ เพ่ือปฏิบัตงิ านตามพระราชบัญญัตนิ ี้
ภายในหนงึ่ ปนี ับแต่วนั ท่ีพระราชบญั ญตั นิ ใี้ ชบ้ ังคบั

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๙๓ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

ในระหว่างที่การดาเนินการจัดต้ังสานักงานยังไม่แล้วเสร็จ ให้สานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัล
เพือ่ เศรษฐกิจและสงั คมทาหนา้ ที่สานักงานตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่งตง้ั รองปลัดกระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนหน่ึงทาหน้าท่ีเลขาธิการจนกว่าจะมกี ารแต่งต้ังเลขาธิการตามมาตรา ๙๒
วรรคสอง

มาตรา ๙๔ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สานักงาน
ตามความจาเปน็

ให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพ่ือพิจารณาให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ
ผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานของสานักงานเป็นการชั่วคราวภายใน
ระยะเวลาท่ีคณะรฐั มนตรกี าหนด

ให้ถือว่าขา้ ราชการ พนกั งาน เจา้ หน้าที่ หรือผู้ปฏบิ ัติงานอนื่ ใดในหนว่ ยงานของรฐั ทมี่ าปฏบิ ัตงิ าน
ในสานักงานเป็นการช่ัวคราวตามวรรคสองไม่ขาดจากสถานภาพเดิมและคงได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง
แล้วแต่กรณี จากสังกัดเดิม ท้ังน้ี คณะกรรมการอาจกาหนดค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการ
พนักงาน เจ้าหน้าท่ี หรือผู้ปฏิบัติงานอ่ืนใดในหน่วยงานของรัฐตามวรรคสอง ในระหว่างปฏิบัติงาน
ในสานักงานดว้ ยกไ็ ด้

ภายในหน่ึงร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งสานักงานแล้วเสร็จ ให้สานักงานดาเนินการคัดเลือก
ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอ่ืนใดในหน่วยงานของรัฐตามวรรคสองเพ่ือบรรจุ
เปน็ พนักงานของสานกั งานต่อไป

ข้าราชการ พนกั งาน เจ้าหน้าที่ หรอื ผู้ปฏิบตั งิ านอื่นใดในหน่วยงานของรฐั ผ้ใู ดไดร้ บั การคัดเลือก
และบรรจุตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับระยะเวลาทางานท่ีเคยทางานอยู่ในสังกัดเดิมต่อเนื่องรวมกับระยะเวลา
ทางานในสานกั งานตามพระราชบญั ญตั ินี้

มาตรา ๙๕ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บรวมรวมและใช้ข้อมูลส่วนบคุ คลนัน้
ต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์เดิม ท้ังนี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องกาหนดวิธีการยกเลิกความยินยอม
และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ใหเ้ จ้าของข้อมูลส่วนบคุ คลท่ีไม่ประสงค์ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวมรวม
และใชข้ อ้ มูลสว่ นบคุ คลดังกลา่ วสามารถแจง้ ยกเลิกความยินยอมได้โดยง่าย

การเปิดเผยและการดาเนนิ การอ่นื ที่มใิ ชก่ ารเกบ็ รวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหน่ึง
ใหเ้ ปน็ ไปตามบทบญั ญตั แิ ห่งพระราชบญั ญตั นิ ี้

เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก หน้า ๙๔ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๙๖ การดาเนินการออกระเบียบ และประกาศตามพระราชบัญญัตนิ ี้ ให้ดาเนนิ การ
ให้แล้วเสร็จภายในหน่ึงปีนบั แต่วันที่พระราชบญั ญตั ินใี้ ช้บังคบั หากไม่สามารถดาเนินการได้ให้รัฐมนตรี
รายงานเหตุผลทไี่ มอ่ าจดาเนนิ การไดต้ อ่ คณะรฐั มนตรเี พือ่ ทราบ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรฐั มนตรี

เล่ม ๑๓๖ ตอนท่ี ๖๙ ก หน้า ๙๕ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ราชกิจจานุเบกษา

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ เน่ืองจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิด
สิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจานวนมากจนสร้างความเดือดร้อนราคาญหรือความเสียหาย
ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทาให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือ
เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทาได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม สมควรกาหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นการท่ัวไปขึ้น เพ่ือกาหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกากับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูล
สว่ นบคุ คลที่เปน็ หลกั การทัว่ ไป จึงจาเปน็ ต้องตราพระราชบญั ญตั ินี้


Click to View FlipBook Version