The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

11รายงานประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by benya nitigrainon, 2023-04-25 03:53:53

รายงาน

11รายงานประจำปี 2565

ANNUAL REPORT 2022 รายงานประจำปี 2565 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค


ชื่อหนังสือ : รายงานประจำปี 2565 ที่ปรึกษา : นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร บรรณาธิการ : ดร. อัจฉรา บุญชุม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นายธีรวิทย์ ตั้งจิตไพศาล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นายอานุภาพ ไชยมี นักวิเคราะห์นโยบายและแผน คณะทำงาน : ฝ่ายอำนวยการและแผนงาน กลุ่มงานพัฒนาราชการ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ กลุ่มงานองค์กรและผลงานคุณภาพ โทรศัพท์ : 0 2590 3348 E-mail : [email protected]


ก คำนำ รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้แก่หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค และผู้สนใจทั่วไปทราบ โดยแสดงถึงข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานของหน่วยงาน นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงผลของการพัฒนากระบวนงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี คณะผู้จัดทำ มีความคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป รายงานฉบับนี้ดำเนินการ สำเร็จลุล่วง โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ที่ได้ร่วมรวบรวมและเรียบเรียง พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


ข สารบัญ คำนำ............................................................................................................................. .....................................ก สารบัญ............................................................................................................................. ..................................ข สารบัญภาพ........................................................................................................................................................ง สารบัญตาราง............................................................................................................................. ........................ฉ ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป ............................................................................................................................ .........2 ความเป็นมาของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร...........................................................................................................2 หน้าที่และอำนาจของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร……………………………………………………………………………….………2 วิสัยทัศน์.............................................................................................................................................................2 พันธกิจ............................................................................................................................. ..................................2 ประเด็นยุทธศาสตร์............................................................................................................................. ...............2 กลยุทธ์............................................................................................................................. ...................................3 เป้าประสงค์........................................................................................................................................................3 กรรมการบริหารกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร……………………………………………………………………………………………...3 ภารกิจในความรับผิดชอบหลักของแต่ละกลุ่มงาน/ฝ่าย.....................................................................................4 Strategy Map กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565………………………………………………………8 Value Chain กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ระยะ 5 ปี ( พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570 )….……………………………………8 ลักษณะสำคัญขององค์กร ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ. 2565………………………………9 ส่วนที่ 2 : ผลการดำเนินงานที่สำคัญกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565…………………………………………………………………………21 การพัฒนาระบบราชการ.................................................................................................................................21 คำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค……………………….……..….22 1. การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (Performance Agreement : PA) ของกรมควบคุมโรค ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565………………………..…………………………………………………………………………………………..22 2. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565…………………………………………………………………………………30 3. การดำเนินการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างกรมควบคุมโรค.........................................32 4. การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ กรมควบคุมโรค.........................34


ค สารบัญ(ต่อ) 5. การประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 …………………………………………………………………………………………………………………………………….…34 6. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ และติดตามประเมินผลคำรับรองการ ปฏิบัติราชการ................................................................................................................ ..................................36 7. จัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ......................37 8. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการ ปฏิบัติราชการหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565...............................................................................38 9. จัดทำกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและถ่ายทอดให้หน่วยงาน................39 10. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ 2566..............................................................................................................................39 การพัฒนาคุณภาพ..........................................................................................................................................42 1. การดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ (OG)…………………………………………..…42 2. การบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบ ราชการ 4.0 (PMQA 4.0)…………………………………………………………………………………………………………………..43 3. เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ PMQA 4.0 (DDC-PMQA 4.0)....…….….46 การพัฒนาองค์กรและเครือข่าย......................................................................................................................48 1.การพัฒนาผลงานคุณภาพ............................................................................................................49 2. การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค …………………………………………53 3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร...........................................................57 แนวทางการดำเนินงานปี พ.ศ. 2566…………………………………………………………………………………………..……..59


ง สารบัญภาพ ส่วนที่1 : ข้อมูลทั่วไป ภาพที่ 1-1 Strategy Map กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ.2565……………………………..………..8 ภาพที่ 1-2 Value Chain กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ระยะ 5 ปี ( พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570)………………..………8 ภาพที่ 1-3 ลักษณะโดยรวมของบุคลากร…………………………………………………………………………………………….10 ภาพที่ 1-4 โครงสร้างองค์กร...........................................................................................................................13 ส่วนที่ 2 : ผลการดำเนินงานที่สำคัญกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ภาพที่ 2-1 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) 20 ธ.ค. 2564...................31 ภาพที่ 2-2 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) 10 มี.ค. 2565...................31 ภาพที่ 2-3 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) 29 ส.ค. 2565………………..32 ภาพที่ 2-4 การประชุมปรึกษาหารือกับสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบ Webex Meeting…………………………….33 ภาพที่ 2-5 การประชุมพิจารณาคำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้าง กรมควบคุมโรค ร่วมกับผู้แทนจาก สำนักงาน ก.พ.ร……………………………………………………………………………………………………………………………….33 ภาพที่ 2-6 รายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565……………………………………………………………………………………………………………………………………….37 ภาพที่ 2-7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการ ปฏิบัติราชการของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565………………39 ภาพที่ 2-8 ประชุมเจรจารายตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566…………………………………………………………………………………………………………………….40 ภาพที่ 2-9 พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566……………………………………………………………………………………………………………………………………………….43 ภาพที่ 2-10 การประชุมคณะทำงานยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (รายหมวด)…………………………………………………………………………………………………………..…………45 ภาพที่ 2-11 พิธีมอบรางวัล “การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสู่การปฏิบัติ (OG)”………………………46 ภาพที่ 2-12 ภาพที่ 2-14 การรับมอบรางวัล UNPSA.....................................................................................49 ภาพที่ 2-13 จำนวน การรับการตรวจประเมิน ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) รางวัลเกียรติยศ ประจำปี พ.ศ. 2565…………………………………………………………………………………………………………….……………50 ภาพที่ 2-14 การรับมอบรางวัลเกียรติยศ ประจำปี พ.ศ. 2565 ……………..………………………………………………51 ภาพที่ 2-15 การรับการตรวจประเมิน ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site Visit) ………………………………………..…………51 ภาพที่ 2-16 การรับมอบรางวัลรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ..................................................................51 ภาพที่ 2-17 การรับมอบรางวัลรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ……………………………………………………………52


จ สารบัญภาพ(ต่อ) ภาพที่ 2-18 การรับมอบรางวัลรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ……………………………………………………………52 ภาพที่ 2-19 การรับมอบรางวัลรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ……………………………………………………….….52 ภาพที่ 2-20 การรับมอบรางวัลรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม……………………………...53 ภาพที่ 2-21 ภาพกิจกรรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค……………..53 ภาพที่ 2-22 ภาพกิจกรรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค.................54 ภาพที่ 2-23 ภาพกิจกรรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค…………..…55 ภาพที่ 2-24 ภาพกิจกรรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค……….…….58


ฉ สารบัญตาราง ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป ตารางที่ 1 พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย……………………………………………………………………………………………9 ตารางที่ 2 แสดงสินทรัพย์………………………………………………………………………………………………………………….12 ตารางที่ 3 แสดงกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ……………………………………………………………………………..12 ตารางที่ 4 แสดงความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อผลผลิตต่อการบริการและการปฏิบัติ………………14 ตารางที่ 5 แสดงการให้บริการหรือส่งมอบงานต่อกัน…………………………………………………………………………….15 ตารางที่ 6แสดงข้อมูลผลการเทียบเคียง ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ………………………………………………..16 ตารางที่ 7 แสดงปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาส สำหรับการสร้างนวัตกรรม และความร่วมมือ……………………………………………………………………………………………………………………………...18 ตารางที่ 8 แสดงแหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ……………………………………………………………………………….………19 ตารางที่ 9 แสดงความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์………………………………………19 ส่วนที่ 2 : ผลการดำเนินงานที่สำคัญกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ตารางที่ 2-1 องค์ประกอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงฯ ประจำปี พ.ศ. 2565…………….23 ตารางที่ 2-2ผลการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติราชการ และตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 .........................................................................................................................25 ตารางที่ 2-3 รางวัลการนำนโยบายการจัดการที่ดีสู่การปฏิบัติ........................................................................42


1 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร


2 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ส่วนที่ 1 ความเป็นมาของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่ออธิบดี ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหาร ของกรมควบคุมโรคให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และรองรับการนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ระบบราชการปรับตัว รู้เท่าทัน ตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยนำวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หน้าที่และอำนาจของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก วันที่ 28 ธันวาคม 2552) ข้อ 5 กรมควบคุมโรค ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ปัจจุบันอยู่ใน การกำกับดูแลของรองอธิบดีกรมควบคุมโรค โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม 2) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม 3) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และ หน่วยงานภายในกรม และ 4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนด้านพัฒนาระบบบริหารราชการกรมควบคุมโรค ในระดับมาตรฐาน ของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2580 พันธกิจ ส่งเสริม ประสาน และติดตาม การดำเนินงานการพัฒนาระบบราชการ ของกรมควบคุมโรคอย่างมี มาตรฐานสากลเป็นระบบและต่อเนื่อง ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 2. การขับเคลื่อนและพัฒนาบุคลากรและเครือข่าย ด้านบริหารจัดการภาครัฐให้มีสมรรถนะสูงและทันสมัย


3 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL กลยุทธ์ 1. พัฒนานโยบาย และแนวทางปฏิบัติงาน ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 2. ยกระดับการดำเนินการตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 3. พัฒนาประสิทธิภาพของการสื่อสาร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร 4. พัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสม 5. พัฒนาบุคลากร และเครือข่ายด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐของกรมควบคุมโรค ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน มีสมรรถนะสูงและทันสมัย 6. พัฒนาระบบการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ กรมควบคุมโรค มีระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน กรรมการบริหารกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร นางเบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร รองผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาระบบราชการ หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาระบบคุณภาพ นางนวพรรณ สันตยากร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นางสาวอัจฉรา บุญชุม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ


4 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ภารกิจในความรับผิดชอบหลักของแต่ละกลุ่มงาน/ฝ่าย ฝ่ายอำนวยการและแผนงาน (โทร. 0 2590 3379) นายอานุภาพ ไชยมี นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หัวหน้าฝ่ายอำนวยการและแผนงาน นางสาวณิชาภัทร สะอาดดี นักจัดการงานทั่วไป นางสาวณัฎฐภรณ์ เสือพิทักษ์ พนักงานธุรการ ส 4 นายนุชา กิจพัฒน์ เจ้าพนักงานธุรการ ฝ่ายอำนวยการและแผนงาน (สธ 0431.1) 1. พัฒนาการจัดทำแผนกลยุทธ์ ติดตาม และประเมินผลแผนงาน แผนปฏิบัติราชการ และแผนการ ใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน 2. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศ การสื่อสาร การเผยแพร่ผลงานของหน่วยงาน และงาน (IT) 3. ปฏิบัติงานบริหารทั่วไป ได้แก่ การเงิน บัญชี พัสดุ สารบรรณ งานการเจ้าหน้าที่ (HRM) และงานอาคารสถานที่ 4. ขับเคลื่อนงานคุณธรรมจริยธรรมของหน่วยงาน 5. ขับเคลื่อนงานสถานที่ทำงานปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุขของหน่วยงาน 6. ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการกรรมการบริหารของหน่วยงาน 7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


5 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL กลุ่มงานพัฒนาราชการ (โทร. 0 2590 3378) นางจุฑารัตน์ บุญผ่อง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาราชการ นางสาวศิรดา บุญเกิด นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นายศุภกร พึ่งฉิมรุจ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานพัฒนาราชการ (สธ 0431.2) 1. พัฒนาระบบกลไก และจัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการประจำปีของกรมควบคุมโรค และหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค 2. นิเทศ ติดตาม กำกับ และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรค และ หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค 3. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) การประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และการประเมินผู้บริหารของกรมควบคุมโรค 4. ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการของกรมควบคุมโรค (CCO) 5. ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาภารกิจ การจัดโครงสร้าง องค์การ ระบบงาน ปรับปรุงรูปแบบ กลไก บทบาท กระบวนการทำงานของกรมควบคุมโรค 6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


6 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ (โทร. 0 2590 3346) นางสาวอมรรัตน์ ศรีเจริญทรรศน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ นางกนกนารถ สงค์วอน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นางสาวเบญญา นิติไกรนนท์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ (สธ 0431.3) 1. ขับเคลื่อน ผลักดัน การยกระดับ และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA 4.0) 2. ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA 4.0) หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค 3. สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานตาม พรบ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของ ทางราชการ พ.ศ. 2558 4. พิจารณาเสนอควบคุม กำกับ นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (OG) ระดับกรมฯ และหน่วยงาน 5. จัดทำฐานข้อมูลหมวด 7 และ Dashboard หมวด 7 กรมควบคุมโรค 6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


7 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและผลงานคุณภาพ (โทร. 0 2590 3348) นายธีรวิทย์ ตั้งจิตไพศาล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาองค์กรและผลงานคุณภาพ นางสาวรุ้งทิพย์ นานาพัฒนผล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นางสาวอัญชลี สุทธิประภา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นางสาวฐิติรัตน์ คุ้มวงศ์ นักทรัพยากรบุคคล นางสาวสุภาวิตา ใคร่กระโทก นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและผลงานคุณภาพ (สธ 0431.4) 1. ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และยกระดับผลงาน รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ (TPSA) สาขา การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (TEPGA) และรางวัลคุณภาพอื่น ๆ 2. สนับสนุน ส่งเสริมการสมัครรางวัล UNPSA 3. พัฒนางานวิชาการ/วิจัย และนวัตกรรม ของหน่วยงาน 4. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค 5. พัฒนาทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน (HRD) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน (PMS) 6. พัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (OD) 7. ร่วมพัฒนาโปรแกรม DDC-PMQA 4.0 Version 2 และพัฒนานวัตกรรม กพร. 8. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย


8 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL Strategy Map กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 ภาพที่ 1-1 Strategy Map กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565 Value Chain กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570) ภาพที่1-2 Value Chain กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ระยะ 5 ปี


9 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ลักษณะสำคัญขององค์กร ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ. 2565 1. ลักษณะองค์กร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 มีภารกิจหลักในการพัฒนาระบบบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า เพื่อตอบสนองการบรรลุวิสัยทัศน์ของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และความท้าทาย เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จากการที่กรมควบคุมโรคต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายที่จะก้าวกระโดดให้ทันกับกระแส โลกาภิวัตน์ จึงต้องมีกลไกรองรับ และเสริมสร้างศักยภาพงานเชิงระบบ ให้พร้อมรับต่อบริบทของ การเปลี่ยนแปลงที่จะทวีความรุนแรง และซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงสอดคล้องกับแนวทางนโยบาย การกำกับดูแลองค์การที่ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2564 – 2565 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ อีกทั้งเป็น หน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบราชการสนับสนุนให้กรมควบคุมโรคดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพของประเทศ ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (1) พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย ตารางที่ 1 แสดงพันธกิจ ความสำคัญเชิงเปรียบเทียบ และกลไก/วิธีการที่ส่งมอบผลิตและบริการ พันธกิจ ความสำคัญเชิงเปรียบเทียบ กลไก/วิธีการที่ส่งมอบผลผลิตและบริการตามพันธกิจ ส่งเสริม ประสาน และ ติดตาม การดำเนินงานการ พัฒนาระบบบริหารจัดการ ภาครัฐของกรมควบคุมโรค อย่างมีมาตรฐานสากลเป็น ระบบและต่อเนื่อง กพร. มีพันธกิจที่สำคัญต่อความสำเร็จ ขององค์กร ในการพัฒนาระบบราชการ ติดตามประเมินผล โดยขับเคลื่อนและ พัฒนาให้กรมมีระบบบริหารจัดการ องค์การที่ดี ตามมาตรฐานสากล ส่งผล ให้การทำงานของกรมมีระบบ และ มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการ ดำเนินงานการป้องกัน ควบคุมโรคและ ภ ั ย ส ุ ข ภ า พ ไ ด ้ อ ย ่ า ง ร ว ด เร็ ว มี ประสิทธิภาพ ในการป้องกันการระบาด ของโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ กพร. มีวิธีการส่งมอบผลผลิตและบริการให้แก่ผู้บริหารและบุคลากร กรมควบคุมโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบราชการ โดยมีกระบวนการที่สำคัญ ดังนี้ 1.กระบวนการการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการองค์การ โดยการ ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และประสานงานในการพัฒนาองค์การ 2.กระบวนการพัฒนาระบบราชการกรมควบคุมโรค โดยการให้ คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรค และ หน่วยงานภายในกรมฯ 3.กระบวนการพัฒนาเครือข่ายพัฒนาองค์กร โดยการถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษา นิเทศติดตาม กำกับการดำเนินงานในเรื่องของการพัฒนา ระบบราชการและพัฒนาระบบคุณภาพของหน่วยงานภายในกรมฯ วิสัยทัศน์และค่านิยม กพร. มีการทบทวน วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และค่านิยม เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้ วิสัยทัศน์เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนด้านพัฒนาระบบบริหารราชการกรมควบคุมโรค ในระดับมาตรฐานของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2580


10 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL เป้าประสงค์คือ กรมควบคุมโรคมีระบบบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล ของวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ค่านิยม ของ กพร. คือ“MOPH” เพื่อให้บุคลากรของ กพร. ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4 ประเด็น ดังนี้M : Mastery เป็นนายตนเอง O : Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่ P : People centered ใส่ใจประชาชน H : Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม อัตลักษณ์ บุคลากรของกพร.ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เป็นหน่วยงานคุณธรรม และ ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดี โดยกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ 3 ประการ ดังนี้ “ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และประกาศเจตนารมณ์เพิ่มอีก 3 เรื่อง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คือ 1) การต่อต้านการทุจริต"กรมควบคุมโรคใสสะอาด ร่วมต้านทุจริต (DDC Zero Tolerance) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 2) การรวมพลังขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ3) การป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 สมรรถนะหลักขององค์กร เพื่อใช้เป็นรากฐานในการพัฒนากลุ่มพัฒนาระบบบริหารที่มีต่อ การพัฒนาระบบบริหารราชการของกรมควบคุมโรคให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และพัฒนาเชิงระบบ ทั้งระบบราชการและระบบคุณภาพ 2) ติดตาม กำกับ และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน และกรมควบคุมโรค เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงระบบงานให้มีประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิผลสูงสุดอย่างคุ้มค่า (2) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร องค์ประกอบที่สำคัญทำให้บุคลากรทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของ กพร. ได้แก่ บุคลากร มีความเชี่ยวชาญ และสามารถเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริหารราชการ รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน โดย กพร. มีบุคลากร รวมทั้งสิ้น 18คน ประกอบด้วย บุคลากรที่เป็นข้าราชการจำนวน 6คน ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบาย และแผน (คิดเป็นร้อยละ 33.33) พนักงานราชการจำนวน 10คน ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 7คน ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป จำนวน 1 คน ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน และตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล จำนวน 1 คน (คิดเป็นร้อยละ 55.55) ลูกจ้างประจำจำนวน 1 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.56) และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.56) มีระดับการศึกษาปริญญาเอก จำนวน 1 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.56) ปริญญาโท จำนวน 5 คน (คิดเป็นร้อยละ 27.78) ปริญญาตรีจำนวน 10 คน (คิดเป็นร้อยละ 55.55) และต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 2 คน (คิดเป็นร้อยละ 11.11) (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2564) ภาพที่ 1-3 ลักษณะโดยรวมของบุคลากร


11 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ข้อกำหนดพื้นฐานด้านการศึกษาสำหรับกลุ่มบุคลากรประเภทต่าง ๆ บุคลากรของ กพร. ได้รับการคัดเลือกตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของสำนักงาน ก.พ. การคัดเลือก โดยยึดตามข้อกำหนดด้านวุฒิการศึกษาตามที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนด ของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งได้มีการกำหนด เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) อีกด้วย องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของ กพร. คือ การให้ความสำคัญในด้านทุนมนุษย์ขององค์กร บุคลากรของกลุ่มพัฒนาระบบบริหารทุกคน (ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข) จะได้รับการดูแลอย่างให้เกียรติ และเสมอภาคทั้งในด้านของการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะ การพิจารณาความดีความชอบ ความก้าวหน้า ในการทำงาน สวัสดิการต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากที่ได้รับจากราชการ รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศในองค์กร เพราะ กพร. ตระหนักดีว่าบุคลากรเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานขององค์กรให้ประสบผลสำเร็จ การที่ ทำให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน นอกจากจะทำให้เกิดความรักความสามัคคี ความผูกพันเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันแล้ว ยังจะทำให้เกิดพลังขององค์กร (Synergy) ที่จะทำให้องค์กรเข้มแข็งและสามารถเพิ่มผลผลิต (Productivity) ให้แก่องค์กรได้ ข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและความเสี่ยงภัยของกพร. มีการนำนโยบาย Healthy workplace ส่งเสริมให้บุคลากรได้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน ที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย โดยใช้หลัก 5 ประการ "สะอาด ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา และสมดุลชีวิต” สู่การเป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยมีการมอบหมายหัวหน้ากลุ่มงานทุกกลุ่มและฝ่าย ติดตามการดำเนินการทุกเดือน และมีระบบการตรวจ สอบทาน ประเมินผลจากคณะกรรมการระดับหน่วยงานและร่วมกับกรม การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรที่สำคัญ คือ กพร. ได้เตรียมความพร้อมในการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ตามภารกิจหลักหรือกระบวนการสร้างคุณค่าของหน่วยงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและ เทคโนโลยีเพื่อก้าวไปสู่ DDC 4.0เช่น Digital Innovation Design Thinkingอีกทั้ง ได้จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร ในทุก ๆ ระดับ โดยวิธีการที่พอเหมาะกับองค์กรขนาดเล็กเช่นนี้ ได้แก่ 1) การส่งไปฝึกอบรม (Training and Workshops) 2) การให้ไปศึกษาด้วยตนเอง เช่น ศึกษาผ่าน E-learning คู่มือเอกสาร หนังสือที่เกี่ยวข้อง 3) การมอบหมาย งานใหม่หรือมอบหมายงานในโครงการ (Project Assignment) 4) การโอนย้ายงาน (Rotation) 5) การให้ไปดูงาน 6) การให้ไปทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และ 7) การสอนงาน (Coaching/Mentoring) ให้สามารถเป็นที่ปรึกษา ให้กับทุกหน่วยงานภายในสังกัดกรมฯ เรื่องการพัฒนาระบบราชการ


12 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL (3) สินทรัพย์ ตารางที่ 2 แสดงสินทรัพย์ 1) อาคาร สถานที่ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมโรค อาคาร 1 ชั้น 4 แบ่งเป็น 5 ห้อง มีพื้นที่รวม 230 ตารางเมตร 2) เทคโนโลยี (Hardware) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, Notebook, LCD Projector, เครื่องพิมพ์, Scanner, กล้องถ่ายรูป, เครื่องถ่ายเอกสาร, โทรทัศน์, โทรศัพท์, โทรสาร และเครื่องบันทึกเสียง เทคโนโลยี (Software) มี Application line กลุ่มพัฒนาระบบบริหารในการเวียนหนังสือราชการ มีWebsite และ QR Code สำหรับ ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2550 ระบบบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค (EstimatesSM : ESM), โปรแกรมระบบ DPIS, ระบบ GFMIS, ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์, โปรแกรม DDC-PMQA 4.0 [email protected], [email protected] และ [email protected] Website ของหน่วยงาน https://ddc.moph.go.th/psdg, Line Group ได้แก่ กลุ่มพัฒนาองค์กร กลุ่มเจ้าหน้าที่ กพร. เทคโนโลยีการสื่อสาร และการให้บริการ QR Code สำหรับดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร และแบบประเมิน / Line gr. พัฒนาองค์กร / Facebook : https://www.facebook.com/ddcopdc / Website : https://ddc.moph.go.th/psdg / E-mail : ([email protected]), [email protected] และ [email protected] 3) อุปกรณ์สำนักงานหรือ สิ่งอำนวยความสะดวก คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จำนวน 18 เครื่อง Notebook จำนวน 5 เครื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับการติดต่อ ประสานราชการนอกสถานที่ราชการ จำนวน 1 เครื่อง เครื่องพิมพ์ จำนวน 8 เครื่อง Scanner จำนวน 2 เครื่อง โทรศัพท์สำนักงาน จำนวน 16 เครื่อง เครื่องโทรสาร จำนวน 1 เครื่อง เครื่องบันทึกเสียง จำนวน 1 เครื่อง ตู้เย็น 1 ตู้ไมโครเวฟ 1 เครื่อง เครื่องทำน้ำร้อน –น้ำเย็น 1 เครื่อง (4) กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ การปฏิบัติงานของ กพร. ดำเนินการภายใต้กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 และมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่สำคัญ เป็นเครื่องมือเพื่อกำกับ และ จัดระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการทำงานอย่างคล่องตัว และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ ตารางที่ 3 แสดงกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ พันธกิจของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ส่งเสริม ประสาน และติดตาม การ ดำเนินงานการพัฒนาระบบบริหาร จัดการภาครัฐของกรมควบคุมโรค อย่างมีมาตรฐานสากลเป็นระบบ และต่อเนื่อง 1.กฎระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ปี พ.ศ. 2564 – 2565 3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่8) พ.ศ. 2553 4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และแผนการปฏิรูปประเทศ 13ด้าน 6. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580), แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของประเทศ (พ.ศ. 2561 – 2580) 7. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (13 ) ประเด็น การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (พ.ศ. 2561 –2580) 8. พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2564 10. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558


13 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (5) โครงสร้างองค์กร ภาพ 1-4 โครงสร้างองค์กร ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ระบบการรายงานระหว่างคณะกรรมการกำกับดูแลส่วนราชการ กพร. มีการดำเนินงานของหน่วยงาน ภายใต้คำสั่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ที่ 40/2564 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังนี้ 1) คณะกรรมการบริหารการดำเนินงานกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และหัวหน้ากลุ่มภารกิจฯ ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกเดือน และมีการแบ่งงาน เป็น 2 กลุ่มภารกิจ 3 กลุ่มงาน 1 ฝ่าย ประกอบด้วย 1) กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบราชการ ดูแลกลุ่มงานพัฒนาราชการ 2) กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบคุณภาพและนวัตกรรม ดูแลกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและ ผลงานคุณภาพ และฝ่ายอำนวยการและแผนงาน ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฯ โดยมีหัวหน้ากลุ่มภารกิจฯ ทั้ง 2 กลุ่ม เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาระบบราชการ ให้คำปรึกษาทางวิชาการ ในงาน HRM / งานคุณธรรมความโปร่งใส / งานพัฒนาองค์กรและหัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาระบบคุณภาพและนวัตกรรม ให้คำปรึกษา ทางวิชาการ ในงานแผนงาน / ระบบฐานข้อมูล IT กพร. โดยผู้อำนวยการมีการติดตามงานอย่างเป็นระบบผ่าน หัวหน้ากลุ่มภารกิจในทุกสัปดาห์ และผ่านการประชุม กพร. ทุกเดือน 2) คณะทำงานพัฒนาผลการดำเนินงานขององค์กร ประกอบด้วยคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ กพร. รับถ่ายทอดจากกรมฯ เพื่อเป็นประโยชน์ของ กพร. ในการดำเนินการพัฒนาภารกิจหลักและภารกิจ สนับสนุน ทั้งที่เป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการและงานประจำ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสถานที่ทำงานปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 5 ส.การดำเนินงานการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และต่อต้านการทุจริตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน


14 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL (6) ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้รับบริการ ได้แก่ บุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1) ผู้บริหารกรมควบคุมโรค 2) ผู้บริหารสำนักงาน ก.พ.ร. 3) บุคลากรกพร.ของทุกกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตารางที่ 4 แสดงความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อผลผลิตต่อการบริการและการปฏิบัติ กลุ่มผู้รับบริการ มีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มผู้รับบริการ ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อผลผลิตต่อการบริการและการปฏิบัติ บุคลากร ของหน่วยงานใน สังกัด กรมควบคุมโรค การพัฒนาระบบราชการ 1.การให้ความรู้กับบุคลากรใหม่ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลตัวชี้วัดของหน่วยงาน 2.ตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดควรมีคุณภาพ มีประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดการตรวจประเมินให้เร็วขึ้น เพื่อจะ สามารถนำไปพัฒนางานในไตรมาสแรกได้ 3. รายละเอียดตัวชี้วัดไม่ควรปรับเปลี่ยนบ่อย 4. ให้ผลการตรวจประเมินที่มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานจริง สามารถปิด Gap ได้จริงต้องการทราบข้อดี ข้อเด่น วิธีการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานที่ทำผลงานได้ดี 5.ควรมี Feedback เชิงคุณภาพ ในภาพรวม/รายตัวชี้วัด/รายหน่วยงาน หรือข้อแตกต่างจากการประเมินตนเอง ของหน่วยงาน และแจ้งให้หน่วยงานทราบเป็นระยะ การพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 1. ให้กพร. สื่อสารPMQA ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจงาน และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน และเครือข่าย 2. รวบรวมประเด็นที่สำคัญในแต่ละปีว่า PMQA จะวัดอะไร การ Approach วิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้ หน่วยงานมีมาตรฐานเดียวกัน 3. ให้ กพร. ปรับรายละเอียด template ให้ชัดเจน ไม่ซับซ้อน 4. หาวิธีการอื่นเพื่อใช้ PMQA ในการทำงานมากกว่าใช้เกณฑ์ PMQA ในการวัด 5. ให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับงาน PMQA ของหน่วยงานภายในกรม อย่างต่อเนื่องทุกปี การพัฒนาผลงานคุณภาพ 1. กพร. สนับสนุนหน่วยงานให้เขียนรางวัลผลงานคุณภาพเพื่อส่งขอรับรางวัลเลิศรัฐ 2. จัดเวทีให้คำปรึกษาการเขียนผลงานคุณภาพ ทุกสาขา อย่างต่อเนื่อง 3. กรม สนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานที่เสนอผลงานเด่นกับ UNPSA การพัฒนาเครือข่ายพัฒนาองค์การ 1.สร้างแหล่งความรู้/คลังความรู้ทั้งเนื้อหาและกระบวนการทำงาน และจัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ 2. มี/จัดหลักสูตรพัฒนาองค์การในการปฐมนิเทศน้องใหม่กรมฯ พัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านพัฒนาองค์การใหม่ และส่งเสริมการดำเนินงานบุคลากรเก่าทุกปีโดยช่วงการจัดอบรมไม่ควรตรงกับช่วงรายงานตัวชี้วัด 3. จัดทีมพี่เลี้ยงเป็นภาค เช่น Line group กลุ่มเฉพาะทีม 4. จัดการประชุมเครือข่ายฯ จัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประสบการณ์ของเครือข่ายพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง


15 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความต้องการและความคาดหวัง ดังนี้ กลุ่มผู้รับบริการ ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อผลผลิตต่อการบริการและการปฏิบัติ 1) ผู้บริหาร กรมควบคุมโรค 1. เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่อธิบดีกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม 2.ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในกรม 3.ยกระดับการดำเนินการตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.ยกระดับการพัฒนาระบบราชการของกรมควบคุมโรคให้เป็นที่ยอมรับระดับชาติ 5.ยกระดับการพัฒนาผลงานคุณภาพของกรมควบคุมโรคให้เป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติ 6. พัฒนาบุคลากร และเครือข่ายด้านการพัฒนาระบบการบริหารราชการของกรมควบคุมโรค ให้มีความพร้อมใน การปฏิบัติงาน มีสมรรถนะสูงและทันสมัย 7. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 2) ผู้บริหาร สำนักงาน ก.พ.ร. 1.ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในกรม 2.ผลการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามระยะเวลาที่กำหนด 3.กรมควบคุมโรค มีผลงานเด่นคุณภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้นทุกปี 4. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ 3) บุคลากรกพร.ของทุกกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1. พัฒนาระบบการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ 2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (7) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันในการให้บริการหรือส่งมอบงานต่อกัน ตารางที่ 5 แสดงการให้บริการหรือส่งมอบงานต่อกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการ/ส่งมอบงานต่อ กันหน่วยงานในระดับกรมฯ บทบาทหน้าที่ ในการสร้างนวัตกรรม กลไกที่สำคัญ ในการสื่อสารระหว่างกัน ข้อกำหนดที่สำคัญ การปฏิบัติงานร่วมกัน 1.กลุ่มพัฒนาองค์กร/กลุ่มแผนงาน/ กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล ในหน่วยงานของกรมควบคุมโรค 2.ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร / คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น CCO PMQA ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับปรุง ระบบบริหารจัดการและการ พัฒนาความร่วมมือ มีส่วนร่วมให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ 1.การดำเนินงานการบริหาร จัดการภาครัฐของหน่วยงานให้ เป็นระบบราชการ 4.0 โดย จัดทำระบบสนับสนุนการ ดำเนินงาน ได้แก่ โปรแกรม DDC-PMQA 4.0 2.การดำเนินการตามตัวชี้วัดตาม คำรับรองการปฏิบัติราชการให้ ได้สัมฤทธิ์ผล โดยการพัฒนา เครื่องมือ E-Learning การ จัดทำตัวชี้วัดคำรับรองการ ปฏิบัติราชการของหน่วยงาน 1. รูปแบบและช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ - การประชุมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการ - การเผยแพร่องค์ความรู้ แนวทาง และมาตรการผ่าน เอกสารทางวิชาการ การ มอบหมายสั่งการทาง - ติดตามประเมินผล และผล การดำเนินงาน 2. ร ู ป แ บ บ ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร / คณะทำงาน 3.ข้อตกลงร่วมกัน 4. ที่ปรึกษา/การสอนงาน 1. มีข้อตกลงร่วมกันตามกรอบ การประเมินผลตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน 2. จัดทำและดำเนินการตาม ตัวชี้วัดหน่วยงาน พร้อมทั้ง รายงานในระบบ 3. เกณฑ์คุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ 4.แนวทางการดำเนินงานปรับ บทบาท ภารกิจ 3. หน่วยงานภาครัฐทั้งภายในและ ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ประชุมแลกเปลี่ยนเรีย น รู้ ปรึกษาหารือ ในการพัฒนาระบบ ราชการ พัฒนาระบบบริหาร จัดการ พัฒนาผลงานคุณภาพของ ประเทศ และสนับสนุนการ ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง คู่มือ มาตรฐานและ แนวทางเดียวกัน


16 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้บริการ/ส่งมอบงานต่อ กันหน่วยงานในระดับกรมฯ บทบาทหน้าที่ ในการสร้างนวัตกรรม กลไกที่สำคัญ ในการสื่อสารระหว่างกัน ข้อกำหนดที่สำคัญ การปฏิบัติงานร่วมกัน ปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้อง โดย On site และ On line ตามความเหมาะสม 2. สภาวการณ์ขององค์กร ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน (8) สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตารางที่ 6แสดงข้อมูลผลการเทียบเคียง ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ(ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564) ประเภท การเทียบเคียง คู่เทียบ/คู่แข่ง ประเด็น การเทียบเคียง ผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรคในปัจจุบันเมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่ง การพัฒนาระบบ บริหารจัดการองค์กร ภายในประเทศ กล ุ ่ มพ ั ฒนาระบบ บร ิ หาร ภ า ย ใ น ก ร ะ ท ร ว ง สาธารณสุข ผลก าร พิจารณา รางวัลเลิศรัฐ - สาขาคุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด/PMQA 4.0 รางวัลเลิศรัฐ ระดับยอดเยี่ยม หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 61 62 63 64 กรมควบคุมโรค 1 1 - - กรมปศุสัตว์ - - - 1 กรมสรรพากร - - 1 1 สป. - 1 - - กรมการแพทย์ - - - - กรมสุขภาพจิต - - - - กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ - - - - กรมอนามัย - - - - กรมวิทย์ฯ - - - - กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ - - - - อย. - - - - รางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (รายหมวด) หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 57 58 59 60 61 62 63 64 กรมควบคุมโรค 2 1 1 1 1 - - - สป. - 1 1 2 - - 1 - กรมการแพทย์ - - - - - - 2 2 กรมสุขภาพจิต - - 1 1 1 - 1 - กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ - - - - 1 - - 2 กรมอนามัย - - 1 - 1 1 1 - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - - 1 1 - - 1 2 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ - - - - - - 1 1 อย. - - - - 1 1 1 2 รางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 62 63 64 กรมควบคุมโรค 1 (440) 1 (470) 1(458.99) สป. 1 - 1 กรมการแพทย์ - - - กรมสุขภาพจิต - 1 1 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ - - - กรมอนามัย - - - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - - -


17 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ประเภท การเทียบเคียง คู่เทียบ/คู่แข่ง ประเด็น การเทียบเคียง ผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรคในปัจจุบันเมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่ง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ - - - อย. - - - - สาขาบริการภาครัฐ แห่งชาติ รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 56 57 58 59 60 61 62 63 64 กรมควบคุมโรค 2 4 3 7 6 6 4 2 5 สป. - 9 4 16 6 16 14 13 4 กรมการแพทย์ 1 3 2 3 62 3 11 10 4 กรมสุขภาพจิต 1 2 4 6 - 5 6 2 1 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ - - - - - - - - - กรมอนามัย - - 1 1 2 6 2 1 5 กรมวิทย์ฯ - - 2 2 1 1 2 1 3 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ - - - - - - - 1 2 อย. - 1 1 1 - - - - 1 - สาขาบริหารราชการ แบบมีส่วนร่วม รางวัลเลิศรัฐ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 56 57 58 59 60 61 62 63 64 กรมควบคุมโรค - - 1 1 1 1 2 2 - สป. - - - - - 1 3 2 1 กรมการแพทย์ - - - - - - - 1 - กรมสุขภาพจิต - 1 - 1 - - 1 2 1 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ - - - - - - - - - กรมอนามัย 1 - - - - - - - - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - - - - - - - - - กรม สบส. - - 1 1 - - 1 1 - อย. - - - - - - - - - ประเภท การเทียบเคียง คู่เทียบ/คู่แข่ง ประเด็น การเทียบเคียง ผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรคในปัจจุบันเมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่ง ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น ผ ล ก า ร ป ฏ ิ บ ั ติ ราชการตาม ค ำ ร ั บ ร อ ง ระดับกรมฯ ผลคะแนนการ ประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ ของกรมฯ ส่วนราชการ ระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 57 58 59 60 ผลประเมิน ตามมาตรา 44 61 ผลประเมิน ตาม มาตรา 44 62 ผลประเมินตาม มาตรา 44 63 ผลประเมินส่วน ราชการตาม มาตราการปรับปรุงฯ กรมควบคุมโรค 4.6239 4.9136 4.8109 ระดับคุณภาพ ระดับ มาตรฐาน ระดับมาตรฐาน ขั้นต้น 70.09 สำนักงาน ก.พ.ร. ไม่มี การนำผลการดำเนินงาน ไปจัดประเภทตามเกณฑ์ การประเมินในระดับ คุณภาพ/ มาตรฐาน/ ปรับปรุงเนื่องจากเกิด สถานการณ์ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการ


18 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ประเภท การเทียบเคียง คู่เทียบ/คู่แข่ง ประเด็น การเทียบเคียง ผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรคในปัจจุบันเมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่ง หมายเหตุ การปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้จากการประเมินตนเอง ปฏิบัติราชการของทุก ส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข 3.6897 4.5984 4.2351 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง 77.37 กรมการแพทย์ 3.8200 4.4200 4.7298 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง 75.26 กรมสุขภาพจิต 3.9218 4.2949 4.8221 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง 86.15 กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยฯ 3.5206 4.7528 4.6174 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นต้น 74.87 กรมอนามัย 3.9739 3.7997 4.4949 - - ระดับคุณภาพ 93.42 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4.7297 4.9254 4.7696 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง 78.75 กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ 4.8030 4.7331 4.7639 - - ระดับคุณภาพ 90.00 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา 4.3111 4.6908 4.6398 - - ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง 86.94 ก า ร พ ั ฒ น า ระบบบริหาร จัดการองค์กร ภ า ย น อ ก ประเทศ หน ่ว ยงานที่ ส่งผลงานเข้า UNPSA ผ ล ก า ร พ ิ จ า ร ณ า รางวัลคุณภาพ - รางวัลการ บริการภาครัฐ แ ห่ ง สหประชาชาติ หน่วยงานในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลบริการแห่งสหประชาชาติ (UNPSA) หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 57 58 59 60 61 62 63 64 กรมควบคุมโรค 1 - - - - - - 1 โรงพยาบาลขอนแก่น 1 1 - - - - - - สถาบันเด็กราชนครินทร์ - 1 - - - - - - โรงพยาบาลพนมไพร - - - - 1 - - - สสจ. จังหวัดร้อยเอ็ด - - - - 1 - - - อบต. หนองตามแต้ม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - - - - - 1 - - (9) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน ตารางที่ 7 แสดงปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาส สำหรับการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ ปัจจัยแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ/การเปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาส ภายใน มีการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานของหน่วยงาน มีการวางโครงสร้างของหน่วยงานเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร คำนึงถึง ผลประโยชน์ของผู้รับบริการ และมีหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในการทำงานมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความสามัคคีให้ความร่วมมือในการทำงาน บุคลากรมีความรู้ทักษะ และความชำนาญเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ผู้บริหาร รับฟังความคิดเห็นและสนับสนุนการมีส่วนร่วม อีกทั้งมีวิสัยทัศน์ของหน่วยงานร่วมกันและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายนอก กพร. - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2561) ของสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นแนวทางในการขับเคลื่อน การดำเนินงานการปฏิรูประบบราชการ และกฎหมายต่าง ๆ - การเกษียณอายุราชการตามวาระของบุคลากรในสังกัดกรมฯ ที่มีความรู้ ประสบการณ์สูง ทำให้กรมฯขาดกำลังสำคัญในการปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้ทักษะด้านดิจิทัล ประสบการณ์ หรือความสามารถเฉพาะตัวสูง รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร ของภาคีเครือข่าย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง - ผู้รับผิดชอบงานการพัฒนาบุคลากรใหม่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิฯ ในการกำหนด ทิศทาง การดำเนินงานของกรมฯ และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การดำเนินงานโดยวัดผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญ - นโยบายการพัฒนากรมควบคุมโรคเข้าสู่ระบบราชการ 4.0


19 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL (10) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ตารางที่ 8 แสดงแหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ข้อมูล แหล่งข้อมูล 1. ผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรค 2. ผลการประเมินรางวัลคุณภาพ ได้แก่ รางวัลบริการแห่งสหประชาชาติ (UNPSA), รางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ราย หมวด/PMQA 4.0, รางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐแห่งชาติ, รางวัลเลิศรัฐ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 1.การประเมินผลจาก สำนักงาน ก.พ.ร. 2. เอกสารเผยแพร่ Website ของสำนักงาน ก.พ.ร. และประกาศผลงาน รางวัลคุณภาพ ข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูล : บางข้อมูลอาจได้รับล่าช้า ไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่ครบถ้วน ข. บริบทเชิงยุทธศาสตร์ (11) ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ตารางที่ 9 แสดงความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ด้าน ความท้าทาย ความได้เปรียบ ด้านพันธกิจ - การพัฒนาระบบราชการให้ก้าวทันต่อการ เปลี่ยนแปลงกระแสการปฏิรูปประเทศ - ผู้บริหารให้ความสำคัญ - มีเครือข่ายในการพัฒนาระบบราชการภายในกรม ด้านการปฏิบัติการ - การพัฒนาระบบราชการไปสู่ระบบราชการ 4.0 ที่มีประสิทธิภาพ - พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม - ขับเคลื่อนและพัฒนาหน่วยงานภายในกรมฯ ให้ บรรลุการดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแล องค์กรที่ดี ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม - การยอมรับและเชื่อถือจากหน่วยงานภายในและ ภายนอกกรมฯ ด้านบุคลากร - การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการเป็นที่ ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบราชการ - มีอัตรากำลังที่เพียงพอ ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ (12) ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ แนวทางและวิธีการในการปรับปรุงประสิทธิภาพของ กพร. เพื่อให้เกิดผลการดำเนินการที่ดี อย่างต่อเนื่อง กพร. มีระบบการกำกับการปฏิบัติงาน การประเมินองค์กร การบริหารจัดการ การจัดการความรู้ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี การถอดบทเรียน และการพัฒนาโปรแกรม 4.0 E-learning โดยนำเกณฑ์ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้เพื่อปรับปรุง พัฒนา และประเมินองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับหน่วยงานสู่ระดับบุคคล มีการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงตามวงจร PDCA ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนมีการปรับปรุงการปฏิบัติงานและการให้บริการต่าง ๆจากการสำรวจ ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


20 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานที่สำคัญ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร


21 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีภารกิจหลักในการพัฒนาระบบราชการขับเคลื่อนการยกระดับการพัฒนา แบบบริหารจัดการภาครัฐ อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการนำนโยบายของรัฐบาล สู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างมีประสิทธิผล ให้ระบบราชการปรับตัว รู้เท่าทัน ตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยนำวิธีการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA 4.0) เป็นทิศทาง ในการดำเนินงาน และยังได้จัดทำห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)ระยะ 5 ปี ( พ.ศ.2566 – พ.ศ.2570)กระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ การพัฒนาระบบราชการ การพัฒนาคุณภาพระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และการพัฒนาผลงานคุณภาพ เพื่อเป็นกรอบแนวทาง กิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้ การพัฒนาระบบราชการ 1. งานคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับกรมและระดับหน่วยงาน 2. งานปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้าง 3. งานคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) การพัฒนาระบบคุณภาพ 1. การดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดุแลองค์การที่ดี(Organization Governance : GO) 2. การบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 3. เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ PMQA 4.0 (DDC-PMQA 4.0) การพัฒนาองค์กรและเครือข่าย 1. การพัฒนาผลงานคุณภาพ 2. การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค 3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร


22 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL การพัฒนาระบบราชการ คำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้วางบทบัญญัติเพื่อสร้างเงื่อนไขของการบริหารราชการแนวใหม่ เช่น การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์ สุขของประชาชน การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ การบริหารราชการ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจภาครัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุง ภารกิจของส่วนราชการ การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน การประเมินผล การปฏิบัติราชการ เป็นต้น ในขณะเดียวกันได้มีการนํากระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ ในการที่จะช่วยในการพัฒนาระบบราชการอย่างเป็นรูปแบบและจริงจัง โดยครอบคลุมเชิงระบบ 3 ขั้นตอน ตั้งแต่การวางกรอบยุทธศาสตร์การนํายุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ ในการวางระบบการติดตามและประเมินผล ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของผลงานตามยุทธศาสตร์ ที่จะชี้ให้เห็นว่า ส่วนราชการได้ปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นไปตามพันธกิจเพียงใด ตลอดจนการติดตามการใช้ทรัพยากร เมื่อเทียบกับเวลา (Input Monitoring) และการติดตามความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับ เป้าหมายหรือแผนงานที่กำหนดไว้ (Performance Monitoring) เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้สามารถ ดำเนินการจนครบตามเงื่อนเวลา ดังนั้น การตรวจติดตามและประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภายใน กรมควบคุมโรค ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานสามารถปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามพันธกิจ และภารกิจตามอำนาจหน้าที่ได้มากน้อยเพียงใด โดยมี การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ (Performance Agreement : PA) ของผู้บริหาร การจัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการของหน่วยงานภายในสังกัด รวมทั้งมีการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน และ ประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งยกระดับและปรับปรุงการทำงาน ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ผลการดำเนินงานในภาพรวมสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด และมีประสิทธิภาพ 1. การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองฯ(Performance Agreement : PA) ของกรมควบคุมโรคประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ของ กรมควบคุมโรค ทางสำนักงาน ก.พ.ร. มุ่งเน้นให้กระทรวงมีบทบาทหลักในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและ ติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัด โดยพิจารณาจากประเด็นสำคัญ ในการบูรณาการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายรัฐบาล มากำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวง


23 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL และถ่ายทอดลงสู่ส่วนราชการภายในกรม สำหรับการกำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ มีการดำเนินการผ่านกลไกคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย รวมถึงกำกับ ติดตาม และให้การสนับสนุน การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงสาธารณสุข และส่วนราชการในสังกัดเป็นไปตาม แนวทางและเป้าหมายที่กำหนดรวมทั้งการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการบูรณาการ การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างกระทรวง (Joint KPIs) ตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทางสำนักงาน ก.พ.ร. มีการนำผลการประเมินส่วนราชการไปเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของ หัวหน้าส่วนราชการ โดยนำผลการประเมินตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ ไปใช้ในการประเมินผล การปฏิบัติงานรายบุคคลในระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า และ ผู้ว่าราชการจังหวัด) สำหรับตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีที่มาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่เห็นชอบให้มีการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ซึ่งมีกรอบการประเมินมีอยู่ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 และการประเมินศักยภาพ ในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตารางที่ 2-1 องค์ประกอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 องค์ประกอบการประเมิน ประเด็นการประเมิน 1. การประเมินประสิทธิผล การดำเนินงาน (Performance Base) น้ำหนักร้อยละ 70 1.1 ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติมติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะ นโยบายเร่งด่วน เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น (Agenda KPI) 1.2 ผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับส่วนราชการ 1.3 ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่เป็นการบูรณาการ การดำเนินงาน ร่วมกันหลายหน่วยงาน เช่น การขจัดความยากจน อุบัติเหตุทางถนน ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นต้น (Joint KPIs) 1.4 ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ หรือภารกิจในพื้นที่/ ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Function KPI /Area KPI) 1.5 ดัชนีชี้วัดสากลที่วัดผลการดำเนินงานตามภารกิจของ หน่วยงาน (International KPIs)


24 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL องค์ประกอบการประเมิน ประเด็นการประเมิน 2. การประเมินศักยภาพ ในการดำเนินงาน (Potential Base) น้ำหนักร้อยละ 30 ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย 2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (น้ำหนักร้อยละ 15) เลือก จากประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงาน และข้อมูลที่จะ เผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/ สาธารณะ เพื่อนำไปสู่ การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) (2) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) (3) การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานโดยการนำ เทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน (Digitalize Process) (4) การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงาน หรือ การให้บริการ (e-Service) 2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบ ราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 15) สำหรับเป้าหมายของการประเมินออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เป้าหมายขั้นต้น (50) เป้าหมายมาตรฐาน (75)และเป้าหมายขั้นสูง (100)และเกณฑ์การประเมินพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบ โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับคุณภาพ ระดับมาตรฐาน และระดับต้องปรับปรุง ดังนี้ - ระดับคุณภาพ มีคะแนนผลการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 90.00 – 100 คะแนน - ระดับมาตรฐาน + มาตรฐานขั้นสูง มีคะแนนผลการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 75.00 – 89.99 คะแนน + มาตรฐานขั้นต้น มีคะแนนผลการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 60.00 – 74.99 คะแนน - ระดับต้องปรับปรุง มีคะแนนผลการดำเนินงานต่ำกว่า 60.00 คะแนน ทั้งนี้กำหนดให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการปีละ 1 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน (รอบการประเมิน ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึง30 กันยายนของทุกปี) โดยรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมิน ส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report : e-SAR) เพื่อประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งนำผลการประเมินส่วนราชการไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน รายบุคคลของหัวหน้าส่วนราชการ และผู้รับการประเมิน คือ ส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารทั้งระดับกรม จังหวัด และผู้ทำการประเมิน คือ นายกรัฐมนตรีรองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ และเลขาธิการ ก.พ.ร. (ทำการประเมินในเบื้องต้น)


25 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL สำหรับการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายการดำเนินงานด้านสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนางานสาธารณสุข ตามแนวทางโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และมีนโยบายให้ผู้บริหารในทุกระดับจัดทำ ข้อตกลงการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) โดยให้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดตามนโยบายสำคัญ ของกระทรวง ตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงสาธารณสุข แผนบูรณาการ แผนงาน และ โครงการสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข และมีพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นพันธะสัญญาความสำเร็จของ การปฏิบัติราชการให้บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัด และมีความรับผิดชอบในผลสำเร็จตามข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้งมี การติดตามผลการปฏิบัติราชการ (Small Success) รายไตรมาส รอบ 3, 6, 9 และ 12 เดือน เพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของการปฏิบัติราชการตามข้อตกลงอยู่เป็นระยะ ๆ ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพ การให้บริการ ความคุ้มค่า และเป็นแนวทางที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ต่อไป อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ อธิบดีกรมควบคุมโรค มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งกลุ่มพัฒนาระบบริหาร ได้ประสาน กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดให้มีการรายงานผลการปฏิบัติราชการ รวมทั้งปัญหา และอุปสรรคที่ส่งผล กระทบต่อการดำเนินงานของตัวชี้วัดเสนอผู้บริหารรับทราบ ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการกรมควบคุมโรค ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 และส่งรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดให้กองบริหาร ทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผู้บริหารของส่วนราชการ ทั้งนี้พบว่า ทุกตัวชี้วัด มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตามรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 2-2 ผลการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 องค์ประกอบ/ตัวชี้วัด เป้าหมาย การประเมินรอบ 12 เดือน ผลการดำเนินงาน องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) 1. ร้อยละการตรวจติดตามยืนยัน วินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูง 1.1 ร้อยละการตรวจติดตามยืนยัน วินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ** เป้าหมายขั้นต้น (50) ร้อยละ 62.27 ร้อยละ 70.37 (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง)


26 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL องค์ประกอบ/ตัวชี้วัด เป้าหมาย การประเมินรอบ 12 เดือน ผลการดำเนินงาน เป้าหมายมาตรฐาน (75) ร้อยละ 65.00 เป้าหมายขั้นสูง (100) ร้อยละ 67.28 1.2ร้อยละการตรวจติดตามยืนยัน วินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดัน โลหิตสูง ** เป้าหมายขั้นต้น (50) ร้อยละ 76.13 เป้าหมายมาตรฐาน (75) ร้อยละ 77.93 เป้าหมายขั้นสูง (100) ร้อยละ 79.73 ร้อยละ 91.61 (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) 2. ความสำเร็จในการป้องกันและลด อุบัติเหตุทางถนน 2.1 อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางถนนต่อประชากรแสนคน เป้าหมายขั้นต้น (50) 28.89 คน/ประชากรแสนคน เป้าหมายมาตรฐาน (75) 28.37 คน/ประชากรแสนคน เป้าหมายขั้นสูง (100) 27.85 คน/ประชากรแสนคน 25.48 คน/ประชากรแสนคน (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) 2.2 ระดับความสำเร็จของการ ดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและ เสียชีวิต ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ** เป้าหมายขั้นต้น (50) 5 จังหวัด เป้าหมายมาตรฐาน (75) 6 จังหวัด เป้าหมายขั้นสูง (100) 7 จังหวัด 13 จังหวัด (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) 3. ความสำเร็จในการเตรียมพร้อม และตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.1 ความสำเร็จในการเตรียม พร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป้าหมายขั้นต้น (50) ร้อยละ 50 เป้าหมายมาตรฐาน (75) ร้อยละ 75 เป้าหมายขั้นสูง (100) ร้อยละ 100 ร้อยละ 100 (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง)


27 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL องค์ประกอบ/ตัวชี้วัด เป้าหมาย การประเมินรอบ 12 เดือน ผลการดำเนินงาน 3.2 ร้อยละของประชากรที่อาศัย อยู่ในราชอาณาจักรไทย ได้รับการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ป้องกันโรคโควิด 19 ** เป้าหมายขั้นต้น (50) ร้อยละ 27 เป้าหมายมาตรฐาน (75) ร้อยละ 50 เป้าหมายขั้นสูง (100) ร้อยละ 70 ร้อยละ 77.40 (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) 4. ระบบการออกบัตรสุขภาพ อิเล็กทรอนิกส์ (การพัฒนาระบบการ ออกหนังสือรับรองการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19) ** เป้าหมายขั้นต้น (50) มีระบบนัดหมายออนไลน์ เพื่อขอรับหนังสือรับรองการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 เป้าหมายมาตรฐาน (75) มีระบบการจ่ายเงินออนไลน์ เพื่อขอรับหนังสือรับรองการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 เป้าหมายขั้นสูง (100) สามารถให้บริการเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การนัดหมายออนไลน์ และหนังสือรับรองรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ ฯ (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) - พัฒนาระบบบริการออกหนังสือ รับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โควิด 19 และเปิดให้บริการแก่ผู้ขอ หนังสือรับรองฯ เรียบร้อยแล้วใน 4 ส่วนของระบบการทำงาน ได้แก่ ระบบ ลงทะเบียนนัดหมายออกหนังสือ รับรองฯ ผ่านออนไลน์ ระบบบันทึก ข้อมูลการให้บริการออกหนังสือรับรองฯ ระบบการออกหนังสือรับรองฯ รูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการขอขึ้น ทะเบียนผู้ที่มีอำนาจ ลงนามในหนังสือ รับรองฯ - ส่วนระบบชำระเงินออนไลน์ และ ระบบการจัดส่งเล่มทางไปรษณีย์ ได้มี การจัดเตรียมโครงสร้างระบบเชื่อมต่อ การชำระเงินระหว่างธนาคารกรุงไทย กับระบบการออกหนังสือรับรองฯ (INTERVAC) และทดสอบการใช้งาน ร่วมกันแล้ว (ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการ พิจารณาอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง) องค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) 5. การพัฒนาองค์กรสู่ดิจิทัล (e-Service) : การพัฒนาระบบการ ออกหนังสือรับรองการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคโควิด -19 เป้าหมายขั้นต้น (50) ออกเอกสารเป็นเอกสารรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-License/ e-Certificate/e-Document) ผ่านทาง Mobile หรือเว็ปไซต์ (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง) - การให้บริการออกหนังสือรับรองการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด -19 มี ผู้ขอรับบริการออกหนังสือรับรองฯ


28 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL องค์ประกอบ/ตัวชี้วัด เป้าหมาย การประเมินรอบ 12 เดือน ผลการดำเนินงาน เป้าหมายขั้นมาตรฐาน (75) ออกเอกสารเป็นเอกสารรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-License/ e-Certificate/e-Document) ตามมาตรฐาน ETDA ผ่านทาง Mobile หรือเว็ปไซต์ และผู้รับ บริการสามารถ print out ได้ เป้าหมายขั้นสูง (100) สามารถเริ่มบริการได้ และมี จำนวนผู้ใช้งานผ่านระบบไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของจำนวน ผู้รับบริการในปีนั้น (มากกว่า 500 ราย) รวมทั้งสิ้น จำนวน 958,938 คน แบ่งเป็น + รูปแบบเล่ม 409,194 คน + รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 549,744คน 6. การประเมินสถานะของหน่วยงาน ในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) เป้าหมายขั้นต้น (50) 380.00 คะแนน เป้าหมายมาตรฐาน (75) 458.99 คะแนน เป้าหมายขั้นสูง (100) 468.17 คะแนน 460.06 คะแนน (ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นมาตรฐาน) คะแนนรวม 96.666 สรุปผลการประเมิน : ระดับคุณภาพ หมายเหตุ: ** ตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement: PA) ประจำปี พ.ศ. 2565 ปัญหา/อุปสรรค และข้อค้นพบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีตัวชี้วัดที่ขอเสนอปรับค่าเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมีการปรับ รายละเอียดคำนิยาม และวิธีการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ทำให้บางพื้นที่ใช้ วิธีการตรวจยืนยันแบบเดิม จึงไม่นับเป็นผลงาน รวมทั้งการรายงานข้อมูลการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยเข้ามา ในระบบ HDC ล่าช้า ทำให้ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน และการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ประจำกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 เห็นว่า การตรวจติดตามยืนยัน วินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานเป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงเห็นควร ให้จัดทำ National Campaign ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกองโรคไม่ติดต่อ ได้จัดทำโครงการเร่งรัด


29 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ด้วยกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้ - จัดทำหนังสือขอความร่วมมือเร่งรัดการดำเนินงานฯ ให้กับ สคร. - จัดประชุมชี้แจงโครงการฯ ให้กับ สคร. เพื่อให้ สคร. ชี้แจงการดำเนินงานให้กับพื้นที่ต่อไป - ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างน้อย เพื่อเร่งรัด การดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขการดำเนินงาน - กำกับติดตามผลการดำเนินงานเป็นรายสัปดาห์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และคืนข้อมูลให้กับพื้นที่ ซึ่งจากการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว พบว่า ผลการดำเนินงานดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังไม่บรรลุ เป้าหมายตามที่กำหนด จึงขอปรับเป้าหมายตัวชี้วัด รอบ 12 เดือน ในเป้าหมายมาตรฐาน จากเดิม ร้อยละ 80.00 เป็นค่าเป้าหมายใหม่ ร้อยละ 65.00 และเป้าหมายขั้นสูง จากเดิม ร้อยละ 82.28 เป็นค่าเป้าหมายใหม่ ร้อยละ 67.28 สำหรับตัวชี้วัดระบบการออกบัตรสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (การพัฒนาระบบการออกหนังสือรับรอง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด -19) เนื่องจากการพัฒนาระบบบริการหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โรคโควิด -19 ได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการในแต่ละส่วนเสร็จเรียบร้อยและเปิดใช้งานแล้ว โดยเหลือเพียงขั้นตอนการได้รับอนุมัติให้รับชำระค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) จากกรมบัญชีกลาง จึงจะสามารถเปิดให้บริการจ่ายเงินออนไลน์ ได้อย่างสมบูรณ์ และเชื่อมต่อกับระบบจัดส่งเล่มทางไปรษณีย์ได้เต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตามมีการประสาน ไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อให้พิจารณาอนุมัติการรับชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2565 ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถให้บริการจ่ายเงินออนไลน์ได้ทันภายใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งส่งผลกระทบถึงระบบการจัดส่งทางไปรษณีย์ที่ต้องเชื่อมโยงกับการชำระเงิน ดังกล่าว จึงขอปรับลดเป้าหมายขั้นสูง ให้คงเหลือเฉพาะสามารถให้บริการเบ็ดเสร็จตั้งแต่การนัดหมายออนไลน์ และออกหนังสือรับรองฯ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้รับบริการ แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมชี้แจงกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้ส่วนราชการรับทราบ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผ่านระบบออนไลน์ ทางกรมควบคุมโรค โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้ดำเนินการ ประสานหน่วยงานผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการฯ จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมกำหนดค่าเป้าหมาย การดำเนินงานรอบ 6 และ 12 เดือน เกณฑ์การประเมินให้คะแนน และค่าน้ำหนัก ส่งให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอเข้าคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ กระทรวงพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งข้อมูลรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. นำเข้า อ.ก.พ.ร. รับทราบต่อไป โดยสำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ส่วนราชการรายงานผลการปฏิบัติราชการ ปีละ 1 ครั้ง (รอบ 12 เดือน : 1 ตุลาคม ถึง 30 กันยายนของทุกปี) โดยรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผล


30 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL การประเมินส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report : e-SAR) ทั้งนี้ผลการดำเนินงาน/ผลการประเมิน ส่วนราชการจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลในระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า) ต่อไป 2. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) กรมควบคุมโรค ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมควบคุมโรค มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ กรมควบคุมโรค ตามคำสั่งที่ 195/2564 สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม 2564 โดยคณะอนุกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจ ในการรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของกรมควบคุมโรค จัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี ผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดขึ้นให้เป็นรูปธรรม กำหนดแนวทางการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี ติดตามกำกับการประเมินผล การปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) และการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติราชการ กำหนดกรอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และแนวทางการติดตามประเมินผล การปฏิบัติราชการของหน่วยงานกรมควบคุมโรค ตลอดจน ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามกำกับ ดูแล และแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาระบบราชการของกรมควบคุมโรค รวมทั้งพิจารณาแต่งตั้ง คณะทำงานหรือบุคคล เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใดแทนคณะอนุกรรมการ ได้ตามความเหมาะสม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ กรมควบคุมโรค ดังนี้ 1) การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 เพื่อพิจารณาการปรับค่าเป้าหมายตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานการตรวจ คัดกรองไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มประชากรเป้าหมาย ของกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค รอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และผลการดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (OG) ของกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมข้อค้นพบการดำเนินงานภาพรวม ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้ที่ประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ รับทราบและให้ข้อคิดเห็น การพิจารณานโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (OG) ของกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565และตัวชี้วัดที่กรมควบคุมโรคใช้ขับเคลื่อน กำกับ และติดตาม ให้การดำเนินงานของส่วนราชการเป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (OG) ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านองค์การ และด้านผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต่อไป


ϯϭ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL  ภาพที่ 2-1 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 2) การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 ผ่านระบบ Cisco Webex เพื่อพิจารณาการปรับค่าเป้าหมายการดำเนินงานตรวจคัดกรองไวรัส ตับอักเสบซี ตามค่าเป้าหมายจุดเน้นของกรมควบคุมโรค โดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แผนการยกระดับการพัฒนากลไกการบริหารจัดการภาครัฐ ในการเป็นระบบราชการ 4.0 กรมควบคุมโรค ระยะ 3 ปี (ปี 2565-2567) และแผนปฏิบัติการเพื่อยกระดับการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค การดำเนินงานนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และผลการสำรวจ การเสริมสร้างความสุขและความผูกพันของบุคลากรกรมควบคุมโรค (Happinometer) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ภาพที่ 2-2 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 3) การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 เพื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ผลสำรวจการเสริมสร้างความสุขและความผูกพัน ของบุคลากร กรมควบคุมโรค (Happinometer) รวมทั้งปัญหาและข้อค้นพบของแต่ละหน่วยงาน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 กรอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรอบตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


32 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ภาพที่ 2-3 การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565 แนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ทำการทบทวนและจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนา ระบบราชการ (CCO) กรมควบคุมโรค เนื่องจากมีคณะอนุกรรมการฯ ที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งจัดประชุม คณะอนุกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (CCO) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 4 ครั้ง (ในทุกไตรมาส) 3. การดำเนินการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างกรมควบคุมโรค การขอจัดตั้งสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เป็นหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ กรมควบคุมโรค ที่ผ่านมาได้ดำเนินการดังนี้ โดยประชุมพิจารณารายละเอียดคำชี้แจง ประกอบคำขอปรับโครงสร้างกรมฯ ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 ครั้ง ประชุมคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในของกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 1) กลุ่มพัฒนาระบบบริหารส่งคำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้าง กรมควบคุมโรค ให้กลุ่ม พัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามความเห็นจากหน่วยงานกลาง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งความเห็น จากหน่วยงานกลางในการขอจัดตั้งส่วนราชการของกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 2) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้ทำหนังสือเสนออธิบดีกรมควบคุมโรค เกี่ยวกับความเห็นจาก หน่วยงานกลางในการขอจัดตั้งส่วนราชการของกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยความเห็น ของหน่วยงานกลางส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องในการขอจัดตั้งส่วนราชการของกรมควบคุมโรคดังกล่าว สำหรับ ความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่มีความสำคัญในการพิจารณาบทบาทภารกิจ ขอให้กรมควบคุมโรควิเคราะห์ และจัดทำรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ การเปรียบเทียบบทบาทภารกิจของกองที่มีอยู่เดิมกับกองที่จะจัด ตั้งใหม่ กับบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม (One-In, X-Out) ข้อมูลรายละเอียดที่แสดงผลการดำเนินงาน หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Base) ข้อมูลที่ แสดงผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เชิงประจักษ์ (Expected Outcomes) รวมทั้งการตั้งชื่อ หน่วยงาน ถ้ากรมควบคุมโรคจะใช้ชื่อสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จะต้องวิเคราะห์หน้าที่และอำนาจ ของกองที่มีอยู่ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการทั้งหมด โดยตัดงานโรคที่เกี่ยวกับเขตเมืองออกเพื่อไม่ให้ เกิดความซ้ำซ้อน ดังนั้น เห็นควรปรับชื่อหน่วยงาน เป็นชื่อหน่วยงานตามโครงสร้างกรม (รายโรค) และ มอบกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองโรคติดต่อทั่วไป สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์


33 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL บทบาทภารกิจให้ชัดเจน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และนำเข้าคณะทำงานแบ่งส่วนราชการภายในของ กรมควบคุมโรคพิจารณาก่อนอีกครั้ง ก่อนเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง สาธารณสุขต่อไป 3) ประชุมปรึกษาหารือกับสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบ Webex Meeting โดยมีนายแพทย์ อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน โดยมีนางพรทิพย์ แก้วมูลคำ รักษาการผู้อำนวยการ พัฒนาระบบราชการ 2 สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ในประเด็น การตั้งชื่อหน่วยงานให้สอดคล้องตามบทบาทและภารกิจของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เพื่อประกอบการขอจัดตั้งให้เป็นหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎกระทรวง 4) ประชุมหารือกับผู้บริหารและผู้แทนจากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และกองโรคติดต่อ ทั่วไป โดยมีนายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน เมื่อวันที่ 17ธันวาคม พ.ศ. 2564 เพื่อหารือแนวทางการถ่ายโอนภารกิจโรคติดต่ออุบัติใหม่ และการตั้งชื่อกองของ สปคม. โดยมติที่ประชุมเห็นควร ให้เสนอชื่อกองที่ขอจัดตั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณา 2 ชื่อ คือ กองโรคติดต่ออุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง และกองโรคอุบัติใหม่และเวชศาสตร์เขตเมือง 5) ประชุมพิจารณาคำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้าง กรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 19กันยายน 2565โดยนางมนัสสิรี เจียมวิจิตร นักพัฒนาระบบราชการชำนาญการพิเศษ ผู้แทนจาก สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงว่า จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในเล่มคำชี้แจงประกอบคำขอปรับ โครงสร้างฯ เนื่องจากไม่มี (One in – X out) กรมจึงต้องไปเพิ่มในเรื่องการถ่ายโอนภารกิจหลักให้ภาคส่วนอื่น หรือ อปท. โดยเพิ่มรายละเอียดที่แสดงให้เห็นว่าการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวนั้น ส่งผลให้ปริมาณงานลดลง และผลที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามข้อเสนอ รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประสานสถาบันป้องกันควบคุมโรคเมือง (เดิม) ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้อง กับการตั้งเป็นกองโรคอุบัติใหม่ ภาพที่ 2-4 การประชุมปรึกษาหารือกับสำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านระบบ Webex Meeting เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ภาพที่ 2-5 การประชุมพิจารณาคำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้าง กรมควบคุมโรค ร่วมกับผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565


34 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL 6) การปรับโครงสร้างภายในกรมควบคุมโรค ได้จัดทำคำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 67/2565 ลงวันที่ 14 มกราคม 2565 แก้ไขหน้าที่และอำนาจ และเปลี่ยนชื่อศูนย์สารสนเทศ เป็น “กองดิจิทัลเพื่อการควบคุมโรค” และ คำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 1/2565 ลงวันที่ 4 มกราคม 2565 เปลี่ยนชื่อกลุ่มคุ้มครองจริยธรรม เป็น “กลุ่มงานจริยธรรม” จัดทำคำสั่งตั้งศูนย์สาธิตเวชศาสตร์ป้องกันทางคลินิก เป็นหน่วยงานภายในของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี ดังนั้นโครงสร้างของกรมควบคุมโรค มีหน่วยงานถูกต้องตามกฎกระทรวง 31 หน่วยงาน หน่วยงานจัดตั้งเป็นการภายใน 12 หน่วยงาน รวม 43 หน่วยงาน 4. การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ กรมควบคุมโรค ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ที่กำหนด ให้การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงาน ที่ไม่จำเป็น กระจายภารกิจและทรัพยากรไปสู่ท้องถิ่นและให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการเป็นไปตามวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) และมีการบริหารที่เน้นการบริหารจัดการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การพัฒนาระบบติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ กรมควบคุมโรค มีการบริหารจัดการในระดับ ผู้บริหารและแต่งตั้งคณะบุคคล (Chief Change Officer : CCO) ติดตามผลการปฏิบัติงานไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4ตลอดจนให้องค์ความรู้แก่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค ได้รับการประเมินผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้องตามหลักการ เกิดการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล ให้สามารถกำกับ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ครบถ้วน สมบูรณ์ และทันเวลา ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของกรมควบคุมโรค ตลอดจน การพัฒนาปรับปรุงการทำงานที่มีคุณภาพในระดับที่สูงขึ้นในด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เริ่มจากการประเมินการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน แล้วนำผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ หาโอกาสพัฒนา ปิดช่องว่างในการดำเนินงาน โดยให้ ผู้กำกับตัวชี้วัดเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลและปรับปรุงระบบติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับหน่วยงาน 5. การประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผลการประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้ง 43 หน่วยงาน โดยเฉลี่ยผลการประเมินการปฏิบัติราชการ ในภาพรวมดีกว่าเป้าหมายมาก อยู่ที่ระดับคะแนน 4.6175 คะแนน มีผลการประเมินภาพรวมลดลง เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีหน่วยงานจัดทำ คำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน จำนวน 40 หน่วยงาน มีผลการประเมินอยู่ที่ระดับคะแนน 4.6419 คะแนน ภาพรวมทุกองค์ประกอบของ 43 หน่วยงาน พบว่า หน่วยงานที่มีคะแนนภาพรวมที่สูงที่สุด คือ กองโรคจาก การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.9900 คะแนน รองลงมา คือ กลุ่มตรวจสอบภายใน มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.9849 คะแนน


35 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.9788 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบผลคะแนน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีดังนี้ 1) สำนักงานป้องกันควบคุมโรค พบว่า ผลการปฏิบัติราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.8034 คะแนน ซึ่งมากกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.7667 คะแนน เมื่อเรียงลำดับผลการประเมิน คำรับรองการปฏิบัติราชการจากมากไปหาน้อย พบว่า หน่วยงานที่มีคะแนนภาพรวมสูงที่สุด คือ สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9145 คะแนน รองลงมาคือ สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8955 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8916 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8790คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12จังหวัดสงขลา มีผลการปฏิบัติราชการ เท่ากับ 4.8324 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8150 คะแนนเท่ากัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8090 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8040 คะแนนสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4จังหวัดสระบุรี มีผลการปฏิบัติราชการ เท่ากับ 4.6718 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1จังหวัดเชียงใหม่ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6619 คะแนน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6511 คะแนนตามลำดับ ซึ่งทุกหน่วยงาน มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก 2) สำนัก สถาบัน และกองวิชาการ พบว่า ผลการปฏิบัติราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผล การปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.5588 คะแนน ซึ่งมากว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มี ผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมาย เท่ากับ 4.4901 คะแนน เมื่อเรียงลำดับผลการประเมินคำรับรอง การปฏิบัติราชการจากมากไปหาน้อย พบว่า หน่วยงานที่มีผลการประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการมากที่สุด คือ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9900 คะแนน รองลงมา คือ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9775 คะแนน สถาบันราชประชาสมาสัย มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9725 คะแนน กองโรคไม่ติดต่อ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9640 คะแนน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8700 คะแนน สถาบัน บำราศนราดูร มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8350 คะแนน กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.7850 คะแนน กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ มีผล การปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.7326 คะแนน กองโรคติดต่อทั่วไป มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.7075 คะแนน กองโรคติดต่อนำโดยแมลง มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6588 คะแนน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง มีผล การปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6363 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 11 หน่วยงาน มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับ ดีกว่าเป้าหมายมาก มีเพียง 6 หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมาย ได้แก่ กองป้องกัน การบาดเจ็บ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.3763 คะแนน กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน มีผล การปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.3380 คะแนน สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ


36 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.1100 คะแนน กองวัณโรค มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.0584 คะแนน กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 3.9875 คะแนน และกองระบาดวิทยา มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 3.5099 คะแนนตามลำดับ 3) กองบริหารและหน่วยงานขนาดเล็ก พบว่า ผลการปฏิบัติราชการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผล การปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.5296 คะแนน ซึ่งน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มี ผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เท่ากับ 4.7019 คะแนน เมื่อเรียงลำดับผลการประเมิน คำรับรองการปฏิบัติราชการจากมากไปหาน้อย พบว่า หน่วยงานที่มีผลการประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการ มากที่สุด คือ กลุ่มตรวจสอบภายใน มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9849 คะแนน รองลงมาคือ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9788 คะแนน กองกฎหมาย มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9533 คะแนน สำนักงานเลขานุการกรม มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.9156 คะแนน กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีผล การปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8800 คะแนน สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.8285 คะแนน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.7008 คะแนน กลุ่มงานจริยธรรม มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6313 คะแนน สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.6275 คะแนนตามลำดับ ซึ่งทั้ง 9 หน่วยงาน มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก และมี 4 หน่วยงาน ที่มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมาย ได้แก่ สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา มีผลการปฏิบัติราชการ เท่ากับ 4.4888 คะแนน กองดิจิทัลเพื่อการควบคุมโรค มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.4275 คะแนน สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่อง กับพระบรมวงศานุวงศ์ ผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 4.1561 คะแนน และกองบริหารการคลัง มีผลการปฏิบัติราชการ เท่ากับ 3.5852 คะแนนตามลำดับ มีเพียง 1 หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติราชการเป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่ กองนวัตกรรมและวิจัย มีผลการปฏิบัติราชการเท่ากับ 3.2563 คะแนน หน่วยงานกรมควบคุมโรคส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติราชการอย่างเกิดผลสัมฤทธิ์ ผลจากการประเมิน มีค่าคะแนนสูง เนื่องจากมีการพัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหารร่วมกับผู้กำกับตัวชี้วัดติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคในแต่ละไตรมาส ผู้รับผิดชอบ และผู้รวบรวมข้อมูลของหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกลุ่มสำนักงานป้องกันควบคุมโรค มีการติดตาม ควบคุมกำกับตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำระบบติดตามตามแนวทางของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 6. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ และการติดตามประเมินผลคำรับรอง การปฏิบัติราชการ จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ และการติดตามประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติ ราชการ กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และสื่อสาร ให้หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรคได้เกิดความเข้าใจและประกอบการดำเนินการให้เกิดผลที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำหนังสือแจ้งเวียนหน่วยงาน และสื่อสารผ่านทางเว็บไซต์กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร รวมทั้งไลน์กลุ่มพัฒนาองค์กร


37 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ภาพที่ 2-6 รายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 7. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติ ราชการหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการปฏิบัติราชการ ที่ 1558/2564 ลงวันที่ 15 กันยายน 2564 โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1) ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน รอบ 6 และ 12 เดือน เพื่อรวบรวมข้อมูล ในการประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน สรุปวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แก่หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค 2) จัดทำเครื่องมือ (Check Sheet) ในการประเมินผลตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 3) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานประกอบรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติ ราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในระบบบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ (Estimates SM) 4) ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน


38 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL 8. จัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ กลุ่มพัฒนาระบบบริหารได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และ ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรมไมด้า โฮเทล งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 2) เพื่อให้ผู้ตรวจประเมินตัวชี้วัดมีความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้ได้มาตรฐาน 3) หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค ได้รับการตรวจติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงานด้วยเครื่องมือการประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามหลักวิชาการ4) เพื่อให้ผู้ตรวจประเมินตัวชี้วัดมีความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้ได้มาตรฐาน จากการสำรวจระดับการมีพื้นฐานองค์ความรู้ของผู้กำกับตัวชี้วัดที่เข้าร่วมการประชุม เชิงปฏิบัติการการจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พบว่า ก่อนการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในภาพรวมผู้กำกับตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ มีระดับความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Check Sheet) อยู่ในระดับปานกลาง โดยคิดเป็นร้อยละ 62.14 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 และหลังการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในภาพรวมผู้กำกับตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ มีระดับความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำเครื่องมือประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Check Sheet) อยู่ในระดับมาก โดยคิดเป็นร้อยละ 79.29 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 ความพึงพอใจในจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และ ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 คิดเป็น ร้อยละ 85.54 โดยเมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิทยากร มีระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.5 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 90.00 รองลงมา คือ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่จัดประชุม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 89.29 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่จัดประชุม มีระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 82.86 และด้านเนื้อหา การประชุม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 80.00 ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเครื่องมือ การตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งทางกลุ่มพัฒนาระบบบริหารจะนำไปปรับปรุงและพัฒนาในลำดับต่อไป ฉะนั้นการจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของหน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จึงเป็นการผลักดัน และส่งเสริม ให้ผู้กำกับตัวชี้วัดมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อจัดทำเครื่องมือในการตรวจประเมินผลการปฏิบัติราชการ


ϯϵ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL  ให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และ เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นกลุ่มพัฒนาระบบบริหารร่วมกับผู้กำกับตัวชี้วัดจึงได้จัดทำเครื่องมือประเมินผลคำรับรอง การปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค (Check sheet) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งตัวชี้วัดบังคับ และตัวชี้วัดภารกิจหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ ภาพที่ 2-7 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำเครื่องมือการตรวจติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของ หน่วยงาน (Check Sheet) กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 9. จัดทำกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและถ่ายทอดให้หน่วยงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้จัดทำกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการ ที่มีความ สอดคล้องกับนโยบาย/จุดเน้นการดำเนินงานของกรมควบคุมโรค สอดคล้องกับตัวชี้วัดระดับกรม และถ่ายระดับตัวชี้วัด สู่หน่วยงาน และบุคคลเป็นลำดับชั้น โดยมีการลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระหว่างกรมควบคุมโรค กับหน่วยงานในสังกัด และถ่ายทอดรายละเอียดตัวชี้วัด ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งหน่วยงานจะจัดส่ง รายละเอียดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ของตัวชี้วัดทุกตัวที่ได้ทำความตกลงให้กลุ่มพัฒนาระบบบริหารตรวจสอบ (KPI Audit) และปรับแก้ โดยยึดเป็นแนวทางการดำเนินการตามรายละเอียดที่ได้ทำความตกลงไว้ ซึ่งเป็นกลวิธี การทำงานที่ใช้ผลักดัน ขับเคลื่อนภารกิจของส่วนราชการเพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ 10. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน ได้เชิญผู้กำกับตัวชี้วัดกรอบตาม คำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากหน่วยงานส่วนกลาง จำนวน 13 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template) คำรับรอง การปฏิบัติราชการหน่วยงาน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหารให้หน่วยงานผู้กำกับ ตัวชี้วัดฯ จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดฯ ส่งมายัง กพร. ระหว่างวันที่ 2 – 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการ ตรวจสอบรายละเอียดตัวชี้วัด (Audit KPI Template) และแจ้งหน่วยงานแก้ไข จากนั้นวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2565 มีการเจรจาตัวชี้วัดผ่านระบบ VDO Conference ความพึงพอใจต่อการประชุมเจรจาตัวชี้วัด คำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 75.19 อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก


40 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ภาพที่ 2-8 ประชุมเจรจารายตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อค้นพบด้านการดำเนินการภาพรวม 1. การรายงานผลการดำเนินงานในระบบ Estimate SM ยังขาดการให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลได้ 2. บุคลากรยังขาดความรู้ความข้าใจในการเขียนรายงานผลการดำเนินงานที่มุ่งเน้นวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อการปรับปรุงมาตรการ รวมถึงการเขียนรายงานเชิงคุณภาพ 3. บางหน่วยงานไม่มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานก่อนรายงานในระบบ Estimate SM ทำให้ เกิดข้อผิดพลาดในการรายงาน 4. หน่วยงานควรทำความเข้าใจรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการเพื่อไม่ให้ เกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค 1. หน่วยงานรวบรวมหลักฐานไม่เป็นระบบ การรายงานในระบบ Estimate SM ไม่มีคุณภาพเพียงพอ เป็นผลให้ผู้กำกับตัวชี้วัดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ยาก 2. บางหน่วยงานมีการหมุนเวียนผู้รับผิดชอบงานด้านงานพัฒนาองค์กรทำให้การดำเนินงาน ขาดความเข้าใจ ขาดความคล่องตัว และไม่มีความต่อเนื่อง 3. จากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ พบว่าการเขียนรายงานผลการดำเนินงานของ หน่วยงานยังต้องได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะการวิเคราะห์สถานการณ์ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลตัวเลขลงตาราง ขาดการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่สามารถ อภิปรายผลหรืออภิปรายผลไม่ตรงประเด็นการวิเคราะห์ที่นำเสนอ มักจะรายงานเพียงกิจกรรม


41 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL ผลการดำเนินงานตามขั้นตอน ขาดปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และการเสนอผู้บริหาร ทำให้ถูกหักคะแนน อีกทั้งการให้ข้อเสนอแนะไม่ตรงกับผลการวิเคราะห์ และประเด็นสาเหตุ ส่งผลให้การประเมินผล การดำเนินงานในภาพรวมไม่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อการปรับปรุงมาตรการต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ 1. กำหนดให้การแนบเอกสารประกอบการประเมินตัวชี้วัดในการรายงานในระบบ Estimate SM โดยการ Zip file แนบเป็นรายไตรมาส และแนบเป็นขั้นตอน 2. ควรมีการพัฒนาบุคลากรในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึง การเขียนรายงานผลการดำเนินงานที่มุ่งเน้นวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อการปรับปรุงมาตรการ มีข้อนพบหรือประเด็น ข้อสังเกต ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร ทั้งนี้การปฏิบัติงานควรต้องมีการพัฒนาและ ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 3. ควรจัดอบรมให้บุคลากรที่ยังไม่เคยอบรมการใช้งานระบบ Estimate SM


42 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมโรค PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT GROUP. DEPARTMENT OF DISEASE CONTROL การพัฒนาระบบคุณภาพ ดำเนินการโดยกลุ่มพัฒนาคุณภาพ มีภารกิจ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่สำคัญ ภารกิจหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ (Organizational Governance : OG) 2. การบริหารจัดการภาครัฐตามเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) 3. เครื่องมือการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ PMQA 4.0 (DDC-PMQA 4.0) 1. การดำเนินงานตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ (Organizational Governance : OG) กรมควบคุมโรค ประกาศนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้สื่อสารให้หน่วยงานในสังกัดกรมฯ นำมาเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่สอดรับกับนโยบายการกำกับดูแล องค์การที่ดี โดยหน่วยงานคัดเลือกเพียง 1 เรื่อง เช่น คัดเลือกจากงานที่ยังพบปัญหาในการดำเนินงาน (ปรับ Process, ลดขั้นตอน, นำเทคโนโลยีมาใช้) หรืองานที่ต้องการจะปรับเปลี่ยน (Change) เพื่อนำมากำหนดนโยบาย แนวทาง จุดเน้นการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จากนโยบาย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม 2) ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) ด้านองค์การ สำหรับนโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน ให้หน่วยงานนำผลจากการสำรวจ Happinometer ซึ่งกองบริหารทรัพยากรบุคคลได้ให้หน่วยงานสำรวจ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาภายในหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากร มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข เป้าหมาย : หน่วยงานได้รับรางวัล OG อย่างน้อย ด้านละ 1 หน่วยงาน ผลการดำเนินงาน : หน่วยงาน ได้รับรางวัล “การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสู่การปฏิบัติ” (Organization Governance for Change) จำนวน 6 หน่วยงาน ดังนี้ ตารางที่ 2-3 รางวัลการนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสู่การปฏิบัติ”(Organization Governance for Change) นโยบายด้าน หน่วยงาน ผลงาน/โครงการ ด้านรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม 1. สคร. 1 เชียงใหม่ การประหยัดพลังงานและคัดแยกขยะ ด้านผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคลินิกบางรัก กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้านองค์การ 3.กองโรคจากการประกอบ อาชีพและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 4. สคร. 12 สงขลา พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อก้าวสู่ การเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)


Click to View FlipBook Version